Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

ธันวาคม 31, 2024, 01:01:43 ก่อนเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
  • สมาชิกทั้งหมด: 1,718
  • Latest: Haroldsmolo
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 3,735
  • หัวข้อทั้งหมด: 780
  • Online today: 12
  • Online ever: 200
  • (กันยายน 14, 2024, 01:02:03 ก่อนเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 16
Total: 16

ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ

เริ่มโดย L-umar, มิถุนายน 11, 2009, 11:57:21 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar

ประวัติศาสตร์การก่อกำเนิดมัซฮับ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ  

เราจะมาวิเคราะห์กันสองประเด็นคือ

หนึ่ง -  ซุนนี่มีความสัมพันธ์อย่างไรกับผู้ปกครอง ผู้มีอำนาจ นับตั้งแต่ท่านนบีมุฮัมมัดวะฟาต  เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

สอง-  มัซฮับซุนนี่  แตกออกเป็นกี่  นิกาย




ทุกท่านต่างประจักษ์แจ้งดีว่า การแบ่งออกเป็นกลุ่มๆนั้น ส่งผลให้สังคมแตกออกเป็นเสี่ยงๆ  สร้างความอ่อนแอและความเสียหายมาสู่สังคม  ซึ่งบั้นปลายของมันคือ การสูญเสียเวลาไปกับการทะเลาะวิวาท การต่อสู้เพื่อช่วงชิงชัยชนะกัน


น่าเสียใจเป็นอย่างยิ่งที่สังคมมุสลิมเราได้เผชิญกับโรคภัยนี้มาโดยตลอด นับตั้งแต่ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)จากไป   ประวัติศาสตร์อิสลามคือพยานยืนยันว่า  อุมมัตอิสลามหลังการสูญเสียท่านศาสดาได้ถูกอารมณ์ใฝ่ต่ำครอบงำ จนเกิดสถานการณ์วุ่นวายมากมาย ในที่สุดยุคญาฮิลียะฮ์ได้หวลคืนสู่สังคมมุสลิม  

นับแต่นั้นฟิรเกาะฮ์และญะมาอัต(กลุ่ม)ต่างๆที่แต่ละฝ่ายต่างก็มีความเห็นไม่ตรงกันหรือขัดแย้งกันก็ปรากฏตัว  

เพื่อสร้างฐานรองรับให้กับอำนาจของบรรดาผู้ปกครอง(ซุลตอน,ฮากิม) ที่ฉกฉวยความแตกแยกนี้เป็นผลประโยชน์ให้กับตัวเอง เพราะฉะนั้นภารกิจแรกที่บรรดาผู้ปกครองในยุคนั้นต้องดำเนินการก็คือ การรวบรวมฟิร็อก(กลุ่ม)ต่างๆที่ให้การสนับสนุน เสริมสร้างบารมีให้กับอำนาจของพวกเขา

และต้องกำจัดกลุ่มต่างๆที่มีแนวความคิดต่อต้านอำนาจการปกครองหรือไม่เป็นผลประโยชน์ต่อพวกเขาให้สิ้นซาก  ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เห็นกันอยู่ในโลกปัจจุบัน เมื่อพรรคหนึ่งขึ้นเป็นรัฐบาลก็ต้องกระทำเช่นนั้น
   เมื่อกล่าวถึงตรงนี้ จะเห็นได้ว่าผู้ปกครองรัฐอิสลามต่างๆมักจะให้การอุปถัมภ์  โอบอุ้มมัซฮับอะฮ์ลุสสุนนะฮ์เอาไว้  เพราะซุนนี่เป็นเพียงมัซฮับเดียวที่สมารถตอบสนองในสิ่งที่ผู้ปกครองต้องการได้  

มัซฮับนี้จึงได้รับการต้อนรับทุกประการจากผู้ปกครอง และถูกปูทางให้คงอยู่เรื่อยมา  

การดำรงอยู่ของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อค้ำจุนอำนาจผู้ปกครองให้คงอยู่อย่างมิเสื่อมสลายนั่นเอง  

ดังนั้นอะฮ์ลุสสุนนะฮ์จึงเป็นมัซฮับเดียวในโลกที่คอยรับใช้ฐานอำนาจทางการเมืองของผู้ปกครอง    

ดั่งเช่นที่บรรดาผู้ปกครองรัฐอิสลามได้พยายามประกาศโฆษณาให้สาธารณชนเชื่อว่า " อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ " เป็นมัซฮับเดียวที่ปฏิบัติตามซุนนะฮ์ของศาสดามุฮัมมัด  

ในทางกลับกันมัซฮับซุนนี่ก็ได้พยายามดำเนินนโยบายทางการเมืองเหมือนพวกผู้ปกครองรัฐเช่นกันคือ พวกเขาพยายามชี้แจงต่อมวลมุสลิมว่า  มัซฮับ(กลุ่ม)ต่างๆที่มีความเชื่อไม่สอดคล้องตรงกับซุนนี่ ถือว่า " ผิด " หมด

กุศโลบายหนึ่งที่นักการศาสนาของซุนนี่ใช้โฆษณาชวนเชื่อกับประชาชนคือ การวาดภาพให้มุสลิมเห็นว่า  มัซฮับต่างๆที่ขัดแย้งต่อมัซฮับซุนนี่นั้นตั้งอยู่บนกิเลสอารมณ์และอุตริกรรม(อะฮ์ลุลฮาวาและอะฮ์ลุลบิดอะฮ์)ทั้งสิ้น  อีกทั้งยังสร้างความแตกแยกเสมอ
   
อีกกุศโลบายหนึ่งที่อุละมาอ์ซุนนี่นำมาใช้คือ พยายามอธิบายว่า มัซฮับซุนนี่ยังเป็นมัซฮับเดียวที่ปฏิบัติตาม "  กิตาบและซุนนะฮ์  "

   " มัซฮับอะฮ์ลุลบัยต์ หรือ มัซฮับชีอะฮ์อะลี "  จึงเป็นมัซฮับที่ถูกโจมตีหนักที่สุดในประวัติศาสตร์อิสลาม  

โลกซุนนี่ตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบัน ได้ทุ่มเทเขียนตำรับตำรามากมายเกี่ยวกับมัซฮับอะฮ์ลุลบัยต์ว่า ชีอะฮ์ได้แตกออกเป็นกลุ่มย่อยๆมากมาย อันมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางด้าน"อุศูลอะกีดะฮ์ "
   แต่ในขณะเดียวกันนักการศาสนาซุนนี่กลับหลีกเลี่ยงที่จะบอกเล่าให้โลกมุสลิมได้รับรู้ว่า  มัซฮับซุนนี่เองก็แตกแยกออกเป็นกลุ่มต่างๆมากมายเช่นกัน  (ฟิร็อก อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ )

จะเห็นได้ว่า ซุนนี่ ชอบวางมาตรการให้กับมุสลิมกลุ่มอื่นๆและชอบวิจารณ์มุสลิมกลุ่มอื่นๆมาโดยตลอด  ดังนั้นต่อไปนี้เราจะมาวิจารณ์เรื่องกลุ่มต่างๆของซุนนี่ทั้งในอดีตและปัจจุบันกันบ้างว่า พวกซุนนี่เขาแตกแยกกันเพราะอะไร ตามหลักฐานของพวกเขาเอง  เพื่อเป็นอนุสติเตือนใจแก่พี่น้องมุสลิม      อินชาอัลเลาะฮ์...


คำถามสำหรับซุนนี่

1-  มัซฮับซุนนี่ ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน แตกออกเป็นกี่กลุ่ม  เพราะอะไร


2- หากมัซฮับท่านถูกต้องจริง   ทำไมถึงแตกแยกกัน
[/color][/color]
  •  

L-umar

ตอนสอง


ประวัติศาสตร์อิสลาม ได้เกิดความขัดแย้ง(คิล๊าฟ)ต่างๆนานาอันนำไปสู่การแบ่งพรรคแบ่งฝ่าย ตามแนวความคิดมากมาย เริ่มตั้งแต่ท่านนบีมุฮัมมัดเสียชีวิตจนถึงปัจจุบัน

บรรดาผู้ที่เฝ้าจับตามองสภาพความขัดแย้งนี้ในอดีต จากบรรดานักวิชาการศาสนาและนักประวัติศาสตร์อิสลาม พวกเขาได้ยอมจำนนต่อปัจจัยเหตุทางการเมืองและมัซฮับที่ตนสังกัดเป็นหลักในการพิจารณาสาระเนื้อหา   พวกเขาพิจารณาไปตามทัศนะของมัซฮับอะฮ์ลุสสุนนะฮ์(ซุนนี่)  แต่พวกเขาไม่ได้พิจารณาว่าไปตามหลักฐาน

พวกเขาพิจารณาเหตุการณ์นั้นตามผู้ปกครองทั้งหลาย ไม่ใช่ตามความเป็นจริง

อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ได้สร้างความเชื่อว่า พวกตนคือกลุ่มที่อยู่บนสัจธรรม ถูกทั้งดุนยาและอาคิเราะฮ์  

ส่วนผู้ปกครองก็ถือว่าพวกข้าคือผู้นำประชาชาติมุสลิมซุนนี่ที่ถูกต้องที่สุด เพราะฮากิมทั้งหลายได้รับข้อมูลมาจากนักการศาสนาฝ่ายซุนนี่  จนพวกนักปกครองเหล่านั้นจึงมีทัศนะแบบเผด็จการขึ้น คือกลุ่มใดที่ขัดแย้งกับซุนนี่ถือว่าพวกเขาผิด และเป็นเช่นนี้เรื่อยมา...

จากนั้นจึงมีกฎหมายห้ามกล้ำกลายหรือแตะต้องมัซฮับอะฮ์ลุสสุนนะฮ์หรือชาวซุนนี่ในเชิงลบ   ถัดต่อมาก็ออกตำรานิกายต่างๆหรือสำนักคิดต่างๆในอิสลาม  ที่เขียนขึ้นด้วยปากกาของชาวซุนนี่เพื่อประกาศสงครามกับกลุ่มมุสลิมอื่นๆที่ขัดแย้งกับอะกีดะฮ์ของพวกเขา อีกทั้งยังโจมตีและกล่าวหากลุ่มอื่นๆว่า เฉไฉออกจากแนวทางที่เที่ยงตรงและหลงทาง

แต่กลับไม่มีนักเขียนซุนนี่คนใดหันไปมองความขัดแย้งภายในของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์เอง  และไม่มีนักเขียนซุนนี่คนใดสงสัยในอะกีดะฮ์  และแนวความคิดของกลุ่มต่างๆของพวกเขาเองที่ขัดแย้งกันภายใน  พวกซุนนี่มองว่าพวกตนวิเศษกว่าคนกลุ่มอื่น  

แล้วท่านจะได้ประจักษ์ถึงความจริงในข้อนี้ เมื่อถึงตอนที่ได้อ่านเรื่องราวกลุ่มต่างๆของซุนนี่ทั้งในอดีตและปัจจุบันว่า พวกซุนนี่ไม่ได้มีความพิเศษอะไรมากไปกวามุสลิมกลุ่มอื่นเลยสักสิ่งหนึ่ง  เพียงแค่พวกซุนนี่พยายามนำเสนอจุดบกพร่องของมัซฮับอื่นๆจนมองข้ามจุดบกพร่องของตัวเองก็เท่านั้น

ในหมู่ซุนนี่ได้เกิดกรณีพิพาท ขัดแย้งกันมากมายหลายเรื่องท่ามกลางพวกเขาเอง จนถึงขั้นตักฟีรกันเอง(คือฮุก่มกันเองว่าเป็นกาเฟร) และเลยเถิดไปจนถึงหลั่งเลือดฆ่าฟันกัน ซึ่งเราจะนำเสนอเรื่องราวเหล่านี้ในตอนต่อไป

แล้วเราจะให้ท่านได้ประจักษ์ถึงอะกีดะฮ์และความคิดของคนกลุ่มนี้ว่า มีความเลยเถิดและสุดโต่งต่อหลักฐานทางศาสนาและสติปัญญาขนาดไหน  อีกทั้งจะนำเสนอเรื่องราวของบรรดานักปกครองในขอบข่ายของคนกลุ่มนี้ที่ปฏิบัติอย่างไรกับมุสลิมกลุ่มอื่นที่ไม่เห็นด้วยกับพวกเขา


จุดประสงค์หลักของบทความนี้คือ  

เปิดโปงความจริงให้ท่านได้ทราบว่าโลกซุนนี่ได้เล่นการเมืองอย่างไรกับมุสลิมกลุ่มอื่นๆ และต้องการเสริมสร้างความเข้าใจให้กับพี่น้องมุสลิมว่า เราควรอยู่กันอย่างพี่น้อง  ควรมีความสมานฉันท์ ควรให้ความเคารพในสิทธิทางความคิดและความเชื่อของทุกฝ่าย  ควรพูดคุยและแลกเปลี่ยนแนวคิดในเชิงสร้างสรรค์   ควรรับฟังความเชื่อของผู้อื่นอย่างมีใจเป็นธรรม  ซึ่งประโยชน์ทั้งมวลก็คือ  ความเข้มแข็งสามัคคีในอุมมัตอิสลามนั้นเอง.
[/size][/color][/b]
  •  

L-umar

ตอนสาม

ความคิดเรื่อง " ผู้นำ " ( الإمَامَةُ )


คือเมล็ดพันธ์แห่งความขัดแย้งหลักในหมู่ประชาชาติอิสลาม   ถ้าหากบรรดาฮากิม(พวกผู้กุมอำนาจ)ไม่เข้ามาก้าวก่าย เรื่องต่างๆก็จะดำรงอยู่อย่างเที่ยงตรง และปัญหาคิลาฟียะฮ์ก็จะไม่เกิดขึ้น

แต่เรื่องมันกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะพวกผู้ปกครองผู้มีอำนาจทั้งหลายดันไปหยิบเอาเครื่องแบบของผู้นำอิสลามมาสวมใส่  และพวกนักการศาสนาก็ให้การสนับสนุนความผิดพวกฮากิมเหล่านั้น เรื่องมันจึงบานปลาย  
นับจากนั้นเรื่อยมาเมล็ดพันธ์ของความขัดแย้งมันจึงถูกหว่านลงไปบนดินและเจริญเติบโตแตกกิ่งก้านสาขา ออกดอกออกผลมาเป็นมุสลิมกลุ่มต่างๆ(ฟิรเกาะฮ์และญะมาอัต)มากมายห้ำหั่นกันเอง ส่งผลทำให้โลกมุสลิมล้าหลัง เสื่อมถอยลงไป  

สรุปความได้ว่า บทบาทและภาพลักษณ์ของทุกกลุ่มที่เกิดความขัดแย้งและห้ำหั่นกันเองนับจากวันที่ท่านนบีมุฮัมมัดวะฟาตไป สาเหตุหลักของมันคือเพราะ  

[size=1]พวกเขาขาด " ผู้นำที่แท้จริง " และถูกต้องตามหลักการอิสลาม


ในเมื่ออิสลามเป็นศาสนาสุดท้าย และมุฮัมมัดก็เป็นนบีคนสุดท้าย  ดังนั้นเมื่อท่านจากไป  ก็จำเป็นต้องมีเครื่องมือหรืออุปกรณ์อะไรสักอย่างหนึ่งมาควบคุมอิสลามและการเคลื่อนไหวของโลกมุสลิมหลังจากท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ)
และตัวควบคุมที่ว่านี้ก็คือ  ผู้นำอิสลาม (อัลอิมามะฮ์).

แต่เรากลับไม่ค่อยมีผู้นำอิสลามที่แท้จริงขึ้นมาดูแลอิสลามและควบคุมโลกมุสลิมเลยหลังการวะฟาตของท่านรอซูล(ศ)  

มีแต่พวกฮากิมหรือซุลตอนตอฆูต ที่ทำตัวไม่อยู่ในครรลองอิสลามขึ้นมาควบคุมดูแลโลกมุสลิมเสียส่วนมาก อีกทั้งยังมีพวกนักการศาสนา(อุละมาอ์ดุนยา)ให้การสนับสนุนฮากิมโฉดเหล่านั้นมาโดยตลอดนั่นเอง


เพราะฉะนั้น หากพี่น้องมุสลิมถามว่า  ทำไม มุสลิมต้องทะเลาะกันต้องขัดแย้งกัน ?


คำตอบสัจธรรมคือ  พวกฮากิม(นักปกครองชั่ว)กับอุละมาอ์ดุนยา คือต้นกำเนิดของการแบ่งพวกแบ่งเหล่า และคือสาเหตุของความขัดแย้งในหมู่มุสลิมนั่นเอง.  



เพราะการรายงานและคำฟัตวาของพวกฮากิมตอฆูตและอุละมาอ์ดุนยาคือต้นเหตุที่แท้จริงของเรื่องคิลาฟียะฮ์ในโลกมุสลิม  

ด้วยเหตุนี้เราจึงจำเป็นต้องย้อนกลับไปศึกษาสิ่งที่พวกเขาเหล่านั้นก่อไว้ในอดีตที่ส่งผลมาถึงเราในยุคปัจจุบัน
ที่ต้องมาห้ำหั่นกัน มาถกเถียงกัน

และผลสุดท้ายต้องแตกกันเป็นมัซฮับต่างๆมากมาย และนี่คือสิ่งที่เราต้องการนำเสนอให้ท่านทราบต่อไป  

อินชาอัลเลาะฮ์ ตะอาลา  
[/size][/b][/b][/size]
  •  

L-umar

ตอนสี่

จากตรงนี้ จึงจำเป็นตรงนำเสนอประเด็นที่เกิดความขัดแย้งกัน ที่ปรากฏหลังจากที่ท่านนบีมุฮัมมัดวะฟาตแล้ว และผลลัพท์ที่แตกออกมาเป็นกลุ่มเป็นก๊กต่างๆ อันควรกล่าวถึงมัน

เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจปัจจัยเหตุต่างๆ    ที่ผลักดันให้อุบัติเป็นกลุ่มอะฮ์ลุสสุนนะฮ์มากมาย และปรากฏกลุ่มอื่นๆที่ไม่ลงรอยกับอะฮ์ลุสสุนนะฮ์   ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้เกิดปัญหาการกระทบกระทั่งกันเรื่อยมา

เพราะปัญหาขัดแย้งในสมัยแรกๆ จนมาถึงปัจจุบันนั้นคือ ปัญหาเดียวกันที่เคยเกิดขึ้นในอดีตมาแล้ว

เราทราบดีว่า ในสมัยท่านนบีมุฮัมมัด มีพวกมุชริกที่ประกาศตัวชัดและพวกมุนาฟิกแฝงกายเข้ามาในอิสลามเพื่อหวังทำลายอิสลาม แต่อัลกุรอ่านได้ประกาศชัดถึงจุดยืนของพวกเหล่านั้น

ในเมื่อในยุคท่านนบียังมีคนจำนวนหนึ่งทำตัวเช่นนั้น แล้วหลังจากท่านนบีจากไปล่ะ  ท่านคิดว่า จะไม่มีคนประพฤติตัวเช่นนั้นอีกหรือ    มันต้องมีอย่างแน่นอน   เพียงแต่โลกซุนนี่ได้วางเงื่อนไขเอาไว้ว่า
ห้ามวิพากษ์วิจารณ์ถึงพฤติกรรมของเศาะหาบะฮ์และตาบิอีนในเชิงลบ   ต่อมาก็รวมทั้งพวกผู้ปกครองราชวงศ์อุมัยยะฮ์และอับบาซียะฮ์
เมื่อห้ามเปิดเผยความจริงและห้ามวิพากษ์ ประชาชนก็ไม่อาจรับรู้ความจริงได้ ตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น   แต่ช้างตายทั้งตัวใบบัวย่อมปิดไม่มิด   ดังนั้นเราจึงยังพบเรื่องราวความขัดแย้งและความประพฤติของคนรุ่นก่อนถูกบันทึกไว้ในตำราของซุนนี่เองมากมาย

ชะฮ์รอสตานีได้สรุปเรื่องขัดแย้งหลักๆเอาไว้ในหนังสืออัลมิลัลวันนิฮัล ดังนี้คือ


1. เรื่องที่ท่านนบีขอกระดาษกับหมึกมาบันทึกวะซียัตของท่าน เพื่อจะได้ไม่หลงทางหลังจากท่านอีกต่อไป แต่เศาะหาบะฮ์ที่อยู่ตรงนั้นเกิดขัดแย้งกันเองโดยแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งให้ไปเอามา อีกฝ่ายหนึ่งบอกท่านป่วยหนักไม่ต้องไปเอามา สุดท้ายท่านนบีขอให้ออกไปจากท่านให้หมดเพราะมาขึ้นเสียงกันเอ็ดอึงต่อหน้าท่าน
2. เรื่องขัดแย้งที่สอง เมื่อท่านนบีสั่งให้เศาะหาบะฮ์ออกไปรบกับพวกโรมที่ซีเรีย ภายใต้การบังคับบัญชาของแม่ทัพอุซามะฮ์ บุตรเซด เศาะหาบะฮ์ได้แตกออกเป็นสองฝ่ายเหมือนเดิมคือ ฝ่ายหนึ่งบอกว่าเราจำเป็นต้องทำตามคำสั่งนบี อีกฝ่ายหนึ่งบอกว่า ท่านนบีป่วย พวกเขาไม่มีใจออกไปรบจะรอดูอาการของท่านก่อน
3. เรื่องที่ท่านนบีเสียชีวิต เศาะหาบะฮ์ก็แตกออกเป็นสองความคิดคือ ฝ่ายหนึ่งไม่เชื่อว่านบีตายและห้ามใครพูดว่านบีตาย ส่วนอีกฝ่ายยืนยันว่านบีได้ตายแล้วจริงๆ
4. เรื่องการฝังร่างท่านนบี เศาะหาบะฮ์ได้แตกออกเป็นสามความคิดคือ ฝ่ายมุฮาญิรีนเห็นว่าควรเอาไปฝังที่มักกะฮ์ ฝ่ายอันศ็อรบอกว่าควรฝังไว้ที่มะดีนะฮ์ และฝ่ายที่สามบอกว่าควรนำร่างท่านไปฝังที่บัยตุลมักดิสเพราะเป็นที่ฝังบรรดานบี
5. เรื่องผู้นำ ที่จะขึ้นมาปกครองอาณาจักรอิสลามต่อท่านนบีมุฮัมมัด ตัวชะฮ์รอสตานีเองกล่าวว่าเรื่องผู้นำนั้นนับเป็นเรื่องที่มุสลิมหลั่งเลือดกันมากที่สุด ซึ่งฝ่ายมุฮาญิรีนกับอันศ็อรก็เคยขัดแย้งกันมาแล้วหลังนบีวะฟาต
6. เรื่องที่ดินสวนฟะดักและมรดกของท่านนบี ซึ่งฟาติมะฮ์บุตรสาวนบีได้มาร้องขอสิทธินี้กับท่านอบูบักร แต่ไม่ได้รับเพราะท่านอบูบักรยกหะดีษมาว่า นบีทุกคนไม่มีมรดก สิ่งของที่เหลืออยู่ทั้งหมดคือเศาะดะเกาะฮ์ ผลลงเอยทั้งสองต้องขัดแย้งจนนางฟาติมะฮ์โกรธไม่พูดกับท่านอบูบักรจนเสียชีวิต
7. เรื่องปราบปรามผู้ที่ไม่ยอมจ่ายซะกาต เศาะหาบะฮ์ได้ขัดแย้งกันสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งกล่าวว่าพวกเขาจะไม่รบกับพวกนี้ในฐานะกาเฟร อีกฝ่ายหนึ่งกล่าวว่าเราจะรบกับพวกไม่จ่ายซะกาตในฐานะมุรตัด
8. เศาะหาบะฮ์ขัดแย้งกันเรื่องที่ท่านอบูบักรได้แต่งตั้งท่านอุมัรเป็นคอลีฟะฮ์สืบต่อหลังจากท่าน ซึ่งมีเศาะหาบะฮ์ส่วนหนึ่งที่ไม่ยอมรับการแต่งตั้งนี้
9. เศาะหาบะฮ์ได้เกิดขัดแย้งกันอีกครั้งในเรื่องที่ท่านอุมัรแต่งตั้งคณะชูรอไว้เพื่อคัดเลือกคอลีฟะฮ์สืบต่อจากท่าน ซึ่งผลลงเอยคือท่านอุษมานได้เป็นคอลีฟะฮ์ที่สาม
10. หลังจากท่านอุษมานถูกเศาะหาบะฮ์บางคนสังหาร ท่านอะลีก็ได้รับคัดเลือกให้เป็นคอลีฟะฮ์ เศาะหาบะฮ์บางคนคือท่านต็อลหะฮ์กับซุเบรซึ่งได้ให้บัยอัตกับท่านอะลีในตอนแรก แต่ต่อมาได้ตระบัดสัตย์ หันไปเข้าร่วมกับท่านหญิงอาอิชะฮ์ยกทัพออกมารบกับคอลีฟะฮ์อะลี เรียกสงครามนี้ว่า ฮัรบุ ญะมัล – สงครามอูฐ ต่อมามุอาวียะฮ์กับชาวซีเรียก็ต่อต้านคอลีฟะฮ์อะลีก้เกิดการรบกันอีกเรียกสงครามนี้ว่า ซิฟฟีน หลังการยุติสงครามนี้ก็เกิดคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่พอใจท่านอะลีและมุอาวียะฮ์ จึงแยกตัวออกไปตางหากมีชื่อว่า พวกเคาะวาริจญ์ในที่สุดท่านคอลีฟะฮ์อะลีต้องยกทัพไปปราบ

ชะฮ์รอสตานีถือว่า เรื่อง" ผู้นำ " นั้นคือสาเหตุหลักของความขัดแย้งในอุมมัตอิสลาม จนก่อกำเนิดก๊ก,กลุ่มหรือสำนัดคิดต่างๆขึ้นมาในโลกอิสลาม

             เมื่อศาสดามุฮัมมัด(ศ)จากไป  เศาะหาบะฮ์ได้แบ่งออกเป็น  3  ก๊ก  เหตุผลของพวกเขาคือ

1.   ต้องการให้คนในเผ่าของตนเป็นผู้นำ(คอลีฟะฮ์)  
ฝ่ายมุฮาญิรีน  สนับสนุนให้ท่านอบูบักรเป็นคอลีฟะฮ์เพราะมาจากเผ่ากุเรช
ฝ่ายอันศ็อร ต้องการให้ท่านสะอัด บินอุบาดะฮ์เป็นคอลีฟะฮ์  เพราะมาจากเผ่าคอซร็อจญ์

2.   ฝ่ายบนีฮาชิม กล่าวว่า ท่านอะลีต้องเป็นคอลีฟะฮ์  เพราะท่านนบีแต่งตั้งไว้

เรื่องก็สรุปลงด้วยการที่ท่านอุมัรชิงให้บัยอัตต่อท่านอบูบักรคนแรกและตามมาด้วยคนที่อยู่ในสะกีฟะฮ์ โดยที่ท่านสะอัดไม่ยอมให้บัยอัตในวันนั้น  
การเลือกผู้นำที่สะกีฟะฮ์วันนั้น ไม่มีอะฮ์ลุลบัยต์แห่งบนีฮาชิมเข้าร่วม   นับจากวันนั้นเศาะหาบะฮ์จึงเกิดความบาดหมางกัน และแบ่งออกเป็นสองฝ่ายคือ
- ฝ่ายมุฮาญิรีนกับอันศ็อรสนับสนุนท่านอบูบักรเป็นคอลีฟะฮ์
- ฝ่ายนบีฮาชิมและเศาะหาบะฮ์บางส่วนถือว่า ท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์ที่แท้จริง

ซุนนี่ได้เล่าถึงเหตุการณ์เลือกตั้งที่กระท่อมสะกีฟะฮ์นบีซาอิดะฮ์ไว้ดังนี้

ท่านอิบนุ ฮะญัรได้กล่าวว่า "ฉนั้นจึงเป็นที่ทราบกันดีถึงสิ่งที่เราได้ยืนยันไว้จากการอิจมาอฺของบรรดาสาวกและชนรุ่นหลังจากพวกท่านต่อการมีสิทธิสมควรที่สุดในการเป็นค่อลีฟะห์ของท่านอบูบักรและกรณีดังกล่าวก็ย่อมพอเพียงแล้วถึงแม้ว่าจะไม่มีตัวบทระบุถึงการแต่งตั้งท่าน ยิ่งไปกว่านั้นการอิจมาอฺของเหล่าสาวกยังมีน้ำหนักมากกว่าบรรดาตัวบททั้งหลายที่มิใช่มุตะวาติรอีกด้วยทั้งนี้เพราะการมีผลของอิจมาอฺนั้นมีความแน่นอนส่วนการมีผลของบรรดาตัวบทที่มิใช่มุตะวาติรนั้นเป็นเพียงการคาดคะเนที่มิแน่นอน"

ชาวอันซ๊อร (ชาวนครม่าดีนะห์ที่ให้การช่วยเหลือท่านศาสดาและเหล่าสาวกจากนครมักกะห์) ได้ร่วมชุมนุมหารือกัน ณ กระโจมแห่งตระกูลบ่านีซาอิดะฮฺ (ซ่ากีฟะห์) เพื่อทำการเลือกท่านสะอฺด์ อิบนุ อุบาดะห์ (รฎ.) ให้ดำรงตำแหน่งค่อลีฟะห์สืบต่อจากท่านศาสดา (ซ.ล.) ซึ่งต่อมาในช่วงท้ายของการประชุมก็ได้มีมติเห็นพ้องจากทั้งสองฝ่ายคือฝ่ายชาวอันซ๊อร และฝ่ายมุฮาญีรีน (บรรดาผู้อพยพจากนครมักกะห์) ที่มาสมทบในการประชุมในช่วงหลังให้เลือกท่านอบูบักร อัซซิดดิ๊ก (รฎ.) ดำรงตำแหน่งค่อลีฟะห์สืบต่อจากท่านศาสดา (ซ.ล.)

อ้างอิงจากเวป ชมรมนักวิชาการมุสลิมปทุมธานี
http://gangland-dota.is.in.th/?md=content&ma=show&id=53

เมื่อได้อ่านบทความของนักวิชาการซุนนี่แห่งจังหวัดปทุมธานีแล้ว  สามารถสรุปได้ว่า

หนึ่ง - การขึ้นดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ์ของท่านอบูบักร  ไม่มีตัวบทหลักฐานระบุถึงการแต่งตั้งท่าน  เพราะฉะนั้นท่านอัน-นะวาวี เจ้าของหนังสือชะเราะฮ์ เศาะฮีฮุลมุสลิมจึงกล่าวว่า
قال النووي : وَفِي هَذَا الْحَدِيث : دَلِيل أَنَّ النَّبِيّ صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وسَلَّمَ لَمْ يَنُصّ عَلَى خَلِيفَة ، وَهُوَ إِجْمَاع أَهْل السُّنَّة وَغَيْرهَا ،
شرح النووي على صحيح مسلم بن الحجاج  ج 6  ص 291 ح : 3399
ในหะดีษนี้(คือหะดีษที่ 3399 ) คือดะลีล(หลักฐาน)ที่ระบุว่า  : ท่านนบี(ศ)ไม่ได้แต่งตั้งใครเป็นคอลีฟะฮ์
อ้างอิงจากชัรฮุล นะวาวี เล่ม  6 : 291 หะดีษที่ 3399

สอง –ฝ่ายนบีฮาชิมและเศาะหาบะฮ์ที่สนับสนุนท่านอะลี  กล่าวว่ามีหลักฐานการแต่งตั้งท่านอะลีจากปากของท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ)ก่อนอำลาจากโลกนี้ไปเช่น หะดีษบทนี้
21618 - حَدَّثَنَا عَبْدُ اللهِ حَدَّثَنِيْ أَبِيْ  حَدَّثَنَا الْأَسْوَدُ بْنُ عَامِرٍ حَدَّثَنَا شَرِيكٌ عَنِ الرُّكَيْنِ عَنِ الْقَاسِمِ بْنِ حَسَّانَ عَنْ زَيْدِ بْنِ ثَابِتٍ قَالَ
قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِنِّي تَارِكٌ فِيكُمْ خَلِيفَتَيْنِ كِتَابُ اللَّهِ حَبْلٌ مَمْدُودٌ مَا بَيْنَ السَّمَاءِ وَالْأَرْضِ أَوْ مَا بَيْنَ السَّمَاءِ إِلَى الْأَرْضِ وَعِتْرَتِي أَهْلُ بَيْتِي وَإِنَّهُمَا لَنْ يَتَفَرَّقَا حَتَّى يَرِدَا عَلَيَّ الْحَوْضَ
ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ็อลฯ)กล่าวว่า : แท้จริงฉันได้มอบสองคอลีฟะฮ์ไว้ในหมู่พวกท่าน (คอลีฟะฮ์แรกคือ) คัมภีร์ของอัลเลาะฮ์คือเชือกทอดอยู่ระหว่างฟ้ากับดิน
และ(คอลีฟะฮ์ที่สอง) อิตเราะตี คืออะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน และแท้จริงสองสิ่งนี้จะไม่มีวันแยกจากกัน จนกว่าจะกลับมายังฉันที่อัลเฮาฎ์(สระเกาซัร)
อ้างอิงจาก  มุสนัดอิหม่ามอะหมัด
เชคอัลบานีกล่าวว่า เป็นหะดีษเศาะหิ๊หฺ  ดูซอฮีฮุล ญามิอิซ-ซอฆีร หะดีษที่ 2457  
เชคชุเอบ อัลอัรนะอูฏีกล่าวว่า  เป็นหะดีษเศาะหิ๊หฺ  ดูมุสนัดอิหม่ามอะหมัด หะดีษที่ 21618
 

ท่านผู้อ่านอาจแปลกใจว่า ทำไมเศาะหาบะฮ์ในวันนั้น  ไม่รู้หะดีษบทนี้หรือหะดีษทำนองนี้  ตอบง่ายๆก็คือ เพราะท่านอะลีและนบีฮาชิมไม่ได้อยู่ที่กระท่อมในวันนั้น  หากอยู่ท่านอะลีคงได้ยกหะดีษทำนองนี้ให้ชาวมุฮาญิรีนและอันศ็อรได้สดับฟัง

ศาสนาอิสลามตั้งเค้าแห่งการแตกแยกเป็นสามก๊ก  ทำสงครามหลั่งเลือดระหว่างก๊กหรือเผ่าพันธุ์กันมาอีกหลายศตวรรษ  เริ่มต้นจากที่กระท่อมสะกีฟะฮ์นบีซาอิดะฮ์แห่งนี้เอง    นับเป็นจุดกำเนิดลัทธิ (มัซฮับ,ฟิรเกาะฮ์,ญะมาอะฮ์)ของอิสลามและดินแดนอาหรับ  ซึ่งส่งผลสะท้อนขยายไปอีกหลายประเทศทั่วโลกตั้งแต่บัดนั้นสืบมาตราบกระทั่งถึงปัจจุบัน  

มาถึงยุคที่ท่านคอลีฟะฮ์อุษมานถูกเศาะหาบะฮ์บางคนสังหาร ความขัดแย้งระหว่างมุอาวียะฮ์แห่งตระกูลอุมัยยะฮ์ กับท่านคอลีฟะฮ์อะลีแห่งบนีฮาชิมเริ่มรุนแรงและเด่นชัดขึ้น.

ติดตามตอนต่อไป
  •  

L-umar



ตอนห้า


กลุ่มอุมาวีย์       มีผู้นำกลุ่มชื่อ มุอาวียะฮ์ บุตรอบูสุฟยาน ได้ประกาศตนต่อต้านคำสั่งจากคอลีฟะฮ์อะลี ผู้นำที่มวลมุสลิมในยุคนั้นได้มอบบัยอัตให้กับท่าน  โดยเอาเรื่องการตายของท่านอุษมานมาเป็นเรื่องบังหน้า
แล้วมุอาวียะฮ์คนนี้คือคนที่ท่านอุมัร บินคอตตอบได้แต่งตั้งเขาให้ไปปกครองที่ซีเรีย ได้มอบอำนาจให้กับเขาเพื่อให้ชายผู้นี้ก่อสร้างพรรคพวกสร้างกลุ่มของตนเองขึ้นมา
 

จะเห็นได้ว่า    ในยุคที่ท่านอะลีขึ้นเป็นคอลีฟะฮ์ปกครองอาณาจักรอิสลาม ได้ปรากฏกลุ่มต่อต้านการปกครองของท่านขึ้นสามกลุ่มคือ
1.   ท่านหญิงอาอิชะฮ์ โดยมีเศาะหาบะฮ์ชื่อท่านตอลหะฮ์ บุตรอุบัยดุลลอฮ์กับท่านซุเบรบินเอาวามและพวก ได้ยกทัพมารบกับท่านอะลีเรียกสงครามญะมัล

2.   มุอาวียะฮ์และพวกของเขา โดยมีเศาะหาบะฮ์บางคนให้การสนับสนุนเขาเช่น ท่านอัมรู บินอาศ , ท่านอบูฮุรอยเราะฮ์ , มุฆีเราะฮ์ บินชุอ์บะฮ์ รวมทั้งชาวเมืองช่าม คนกลุ่มนี้ได้ยกทัพมารบกับท่านอะลี เรียกสงครามซิฟฟีน

3.   พวกเคาะวาริจญ์  ซึ่งแยกตัวออกไปจากท่านอะลีและไม่เห้นด้วยกับมุอาวียะฮ์ สุดท้ายถูกท่านอะลียกทัพไปปราบ แต่คนกลุ่มนี้ยังหลงเหลือและในที่สุดก็กลับมาลอบสังหารท่านอะลีได้สำเร็จ


หลังจากคอลีฟะฮ์อะลีถูกลอบสังหาร  มุอาวียะฮ์สามารถรวบรวมอำนาจการปกครองอาณาจักรอิสลามไว้ในกำมือ  และเขาได้ประกาศการปกครองระบอบกษัตริย์ขึ้น (มะลิก -  ملك ) เป็นคนแรกในประวัติศาสตร์อิสลาม และสถาปนาตัวเองขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์อุมัยยะฮ์ โดยมีซีเรียเป็นศูนย์กลาง มีเมืองหลวงชื่อดามัสกัส
และปีนั้นคือปีที่มุอาวียะฮ์ เรียกมันว่า อามุล- ญะมาอะฮ์ – عام الجماعة  ปีแห่งการรวมพลเมืองมาไว้ภายใต้การปกครองของเขา


แล้วมุอาวียะฮ์ก็ได้เริ่มกุหะดีษต่างๆนานาขึ้นมา   โดยได้รับการสนับสนุนจากเศาะหาบะฮ์บางคน  บัดนี้เองศิลาฤกษ์ได้ถูกวางลงสำหรับการก่อกำเนิดกลุ่มอะฮ์ลุสสุนนะฮ์    จากนั้นพวกที่อยู่กับราชวงศ์อุมัยยะฮ์ก็เรียกประชาชนที่ให้การสนับสนุนอะฮ์ลุลบัยต์นบีว่า  " พวกชีอะฮ์ " เป็นอันจบยุคสมัยความแตกแยกระหว่างกลุ่มมุฮาญิรีนกับอันศ็อร  ยกเว้น " กลุ่มเคาะวาริจญ์ " ที่ยังหลงเหลืออยู่อีกหนึ่งกลุ่ม

สรุปได้ว่า ในช่วงฮ.ศ.ที่ 41 เป็นต้นมา มุสลิมได้แบ่งออกเป็นกลุ่มหลักๆสามกลุ่มคือ

1.   กลุ่มฝ่ายรัฐ ซึ่งปกครองโดยราชวงศ์อุมัยยะฮ์  และให้การสนับสนุนกลุ่มอะฮ์ลุสสุนนะฮ์
2.   กลุ่มชีอะฮ์  ซึ่งต่อต้านการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์
3.   กลุ่มเคาะวาริจญ์


ต่อมาไม่นานก็ปรากฏกลุ่มที่มีชื่อว่า " มุรญิอะฮ์ " ขึ้นหลังจากนั้น ซึ่งคนกลุ่มนี้ไม่ฝักใฝ่ไปกับคนสามกลุ่มแรก เพราะมองเป็นปัญหาการเมือง


กลุ่มมุอาวียะฮ์ ก็ไม่ยอมรับ ชีอะฮ์ กับเคาะวาริจญ์
กลุ่มชีอะฮ์ ก็ไม่ยอมรับมุอาวียะฮ์และเคาะวาริจญ์
ส่วนพวกเคาะวาริจญ์ก็ฮุก่มว่า ทั้งกลุ่มชีอะฮ์และกลุ่มมุอาวียะฮ์นั้นเป็นกาเฟร[/c


ติดตามตอนต่อไป
  •  

L-umar


ตอนหก


" กลุ่มมุรญิอะฮ์ "

ประกอบไปด้วยเศาะหาบะฮ์และตาบิอีนจำนวนหนึ่งซึ่งนิ่งเฉยไม่เข้าไปพัวพันกับความขัดแย้งของคนสามกลุ่มที่กล่าวมาแต่ต้น


ต่อมามีชายชื่อ " ฮาซัน อัลบัศรี "(ค.ศ. 642-728)

ปรากฏตัวขึ้นพร้อมกับมีศานุศิษย์ที่ร่ำเรียนกับเขาจนก่อตัวเป็นอีกกลุ่มหนึ่ง(คือพวกซูฟี)  โดยคนกลุ่มนี้เน้นเรื่องความสมถะและการถือสันโดษไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง


ถัดมาก็ปรากกฏสำนักมุอฺตะซิละฮ์ (معتزلة) จัดตั้งขึ้นโดย วาศิล บินอะฏออ์ (ค.ศ. 699-749)

ศิษย์ที่มีความคิดแตกต่างไปจากฮาซัน อัลบัศรีผู้เป็นอาจารย์ในเรื่อง คนทำบาปใหญ่ ( อัลกะบีเราะฮ์)  


เรื่องมีอยู่ว่าครั้งหนึ่งมีคนเข้ามาพบฮาซัน อัลบัศรี (เป็นตาบิอี) เขาถามว่า

โอ้ท่านผู้นำศาสนา   ในสมัยของเราปรากฏคนกลุ่มหนึ่งไปฮุก่มบรรดาผู้ที่ทำบาปใหญ่ในอิสลามว่าเป็นกาเฟร  บาปใหญ่ในทัศนะของพวกเขาคือการกุโฟ้ร ทำให้หลุดพ้นจากอิสลาม คนที่มีทัศนะเช่นนี้คือ  " พวกเคาะวาริจญ์ "  

ส่วนอีกพวกหนึ่งก็บอกว่า         การทำบาปใหญ่ไม่ได้มีโทษส่งผลให้อีหม่านของเขาเสียหาย กล่าวคือมะอ์ซิยัต(บาป)ไม่อาจทำอันตรายต่ออีหม่านของเขาได้คนพวกนี้คือ \\\" พวกมุรญิอะฮ์ \\\"

ชายผู้นั้นได้ถามฮะซัน บัศรีว่า ท่านจะตัดสินให้พวกเราอย่างไรกับอะกีดะฮ์เช่นนั้น ?

ในขณะที่อาซันบัศรีกำลังคิดใคร่ครวญก่อนที่จะให้คำตอบ     วาศิล บินอะฏออ์ก็ชิงตอบแทนอาจารย์ว่า  

ฉันไม่เห็นว่า คนทำบาปใหญ่เป็นผุ้มีอีหม่านและเขาก็ไม่ใช่กาเฟร แต่เขานั้นอยู่ในสถานะระหว่างทั้งสอง(منزلة بين المنزلتين : لا مؤمن ولا كافر) คือไม่ใช่มุอ์มินและไม่ใช่กาเฟร

จากนั้นวาศิลได้ลุกขึ้นไปนั่งที่เสาต้นหนึ่งในมัสญิดตางหาก และเขายังยืนกรานต่อคำตอบที่ได้ให้กับกลุ่มลูกศิษย์ที่นั่งอยู่กับท่านฮาซันบัศรี

ท่านฮาซันบัศรีจึงกล่าวว่า
فقال الحسن : اعتزل عنا واصل فسمي هو وأصحابه : معتزلة .
วาศิลได้แยกตัวออกไปจากพวกเราแล้ว ดังนั้นวาศิลกับพวกของเขาจึงถูกเรียกว่า มุอ์ตะซิละฮ์  


ความจริงคนทำบาปใหญ่ที่ฮาซัน บัศรีถูกถามถึงนั้นหมายถึง บรรดาพวกผู้ปกครองในยุคนั้นที่ละเมิดบทบัญญัติอิสลามและสิทธิของบรรดามุสลิม  ซึ่งไม่ค่อยจะมีใครออกมาชี้แจงต่อต้านการกระทำของพวกฮากิมชั่วเหล่านั้นเลย  

พฤติกรรมตั้งแต่ยุคมุอาวียะฮ์ปกครองจนมาถึงสมัยของวาศิล คือสิ่งที่คลุกกรุ่นอยู่ในจิตใจของวาศิลมาโดยตลอด วาศิลจึงต้องการปลุกผู้คนในสมัยนั้นให้กล้าแสดงความคิด(العقلي)       จนทำให้เขากล่าวเช่นนั้นและต้องสร้างกลุ่มมุอ์ตะซิละฮ์นี้ขึ้นมา
ซึ่งเอกลักษณ์ของพวกมุอ์ตะซิละฮ์คือ เน้นที่เรื่องการใช้สติปัญญา(อักลี) มากกว่าการใช้ตัวบทศาสนา(นักลี)


   แน่นอนแนวคิดของกลุ่มมุอ์ตะซิละฮ์นี้ไม่เป็นผลดีต่อฝ่ายรัฐที่ปกครองโดยราชวงศ์อุมัยยะฮ์  ดังนั้นพวกอุมัยยะฮ์จึงต้องคิดอ่านทำอะไรสักอย่างเพื่อกำจัดคนกลุ่มนี้ออกไปจากเส้นทางการครองบัลลังค์ของพวกเขา.


เหมือนที่ราชวงศ์ซาอูด มีความพอใจต่อแนวทางวาฮาบีของเชคมุฮัมมัด บินอับดุลวาฮาบที่ค้ำจุนราชวงศ์นี้มาโดยตลอด

ดังนั้นคนในราชวงศ์แห่งซาอุดิอารเบียจึงให้การอุปถัมค้ำจุนคนกลุ่มวาฮาบีมาโดยตลอด  

ในทางกลับกันราชวงศ์ซาอูดไม่เคยพอใจต่อแนวทางอะฮ์ลุลบัยต์และพวกชีอะฮ์  เพราะพวกชีอะฮ์มีความคิดว่า ผู้นำ ผู้ปกครองที่มีความเคร่งครัดในศาสนาเท่านั้นจึงสมควรเป็นผู้ปกครองประเทศ เหมือนที่ชาวอิหร่านช่วยกันโค่นล้มกษัตริย์ชาฮ์ลง และหันมาปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐอิสลามซึ่งนำโดยผู้นำทางจิตวิญญาณคือท่านอยาตุลเลาะฮ์ โคมัยนี่  และสืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบันคือท่านอยาตุเลาะฮ์ คอเมเนอี  

แต่ประเทศซาอุดิอารเบีย เมืองแม่ของศาสนาอิสลาม ไม่เคยมีวาฮาบีคนใดตั้งแต่ระดับอุละมาอ์จนถึงชนชั้นรากหญ้ามีความคิดที่จะโค่นล้มกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซาอูดที่ทำตัวไม่อยู่ในครรลองอิสลาม  เพื่อฟื้นฟูระบอบที่ท่านรอซูลุลเลาะฮ์นำมายังดินแดนฮิญาซเมื่อพันสี่ร้อยปีที่แล้ว
จนถุกมุอาวียะฮ์เปลี่ยนแปลงมันไป

เพราะฉะนั้นชีอะฮ์จึงเป็นศัตรูของกษัตริย์แห่งซาอุดิอารเบียและวาฮาบี เพระพวกเขาทั้งสองฝ่ายคือพันธ์มิตรกันมาตั้งแต่แรก

ดังที่ท่านจะเห็นได้ว่า  ทำไม วาฮาบี จึงพยายาม โจมตี ชีอะฮื ทุกวิถีทาง เท่าที่จะทำได้ เหมือนที่บรรพบุรุษของพวกเขาเคยทำมาโดยตลอดนั่นเอง  


 
ติดตามตอนต่อไป  
  •  

L-umar

ตอนเจ็ด

วาศิล บินอะฏออ์

ผู้ก่อตั้งมัซฮับมุอ์ตะอ์ซิละฮ์  (เกิด ฮ.ศ.80 - 131 / 700  -748  ค.ศ.)อยู่ในยุคการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์ดังนี้

685-705   อับดุลมะลิก
705-715   อัลวะลีด ที่ 1
715-717   สุไลมาน
717-720   อุมัร บินอับดุลอะซีซ
720-724   ยะซีด ที่ 2
724-743   ฮิช่าม
743-744   อัลวะลีดที่ 2
744-744   ยะซีดที่ 3
744-744   อิบรอฮีม
744-750   มัรวาน อัลฮิมาร (มัรวานที่ 2)

เมื่อราชวงศ์อุมัยยะฮ์ต้องเผชิญกับวาศิลและพวกมุอ์ตะซิละฮ์  ดังนั้นในเวลาเดียวกันก็ปรากฏมัซฮับฮานาฟีขึ้นที่ประเทศอิรัค และมัซฮับมาลิกีขึ้นที่เมืองมะดีนะฮ์  

เพื่อมาตอบโต้กับกลุ่มมุอ์ตะซิละฮ์  และยังปรากฏกลุ่มอะฮ์ลุลหะดีษขึ้นมาอีกหนึ่งกลุ่มในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ซึ่งคนกลุ่มนี้เน้นที่เรื่องริวายะฮ์(การรายงานหะดีษ)เป็นประเด็นหลัก และโจมตีมุสลิมที่เน้นเรื่องการใช้สติปัญญา(อักล์)  แล้วพวกอะฮ์ลุลหะดีษก็มารวมกันเป็นมัซฮับฮัมบาลีในเวลาต่อมานั่นเอง


ถึงตอนนี้ซุนนี่แตกออกมาเป็นมัซฮับดังนี้คือ  ชาฟิอี , ฮัมบาลี , ซุฟยานียะฮ์ , อัลเอาซาอี
มัซฮับชาฟิอี / มัซฮับฮานาฟี / ซุฟยานียะฮ์อยู่ที่อิรัค  ส่วนมัซฮับเอาซาอีอยู่ที่เมืองช่าม


   ในขณะที่กลุ่มซุนนี่ต่างๆเหล่านี้กำลังเผชิญหน้ากัน  พลันก็ปรากฏ " กลุ่มญับบะรียะฮ์ " และ " กลุ่มก็อดรียะฮ์ " ขึ้นและซุนนี่ทั้งสองกลุ่มนี้ยืนอยู่คนละมุมคนละด้าน  
ฝ่ายหนึ่งบอกว่าพระเจ้าสร้างมนุษย์มาเพื่อให้เดินไปตามสิ่งที่พระองค์กำหนด อีกฝ่ายบอกว่า พระเจ้าสร้างมนุษย์มาแล้วให้มนุษย์มีอิสระทำในสิ่งที่ตนเลือกเอง


   ต่อมาซุนนี่อีกกลุ่มก็ปรากฏขึ้นมีชื่อว่า " อะชาอิเราะฮ์ " ผู้ก่อตั้งชื่ออบูฮาซัน อัลอัชอะรี เกิดปีฮ.ศ. 270 ที่เมืองบัศเราะฮ์ อิรัค ปัจจุบันฐานวิชาการของคนกลุ่มนี้อยู่ที่อียิปต์ซึ่งกำลังต่อสู้ทางความคิดกับซุนนี่ฝ่ายวาฮาบีอย่างเป็นล่ำเป็นสัน  ท่านสามารถเข้าไปอ่านแนวคิดของอะชาอิเราะฮ์โดยตรงจากเจ้าตัวมัซฮับได้ที่เวป

http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php

กลุ่มอะชาอิเราะฮ์นี้ได้พยายามรวมระหว่างการใช้นักลีกับอักลี(ตัวบทศาสนาและสติปัญญา)เข้าไว้ด้วยกัน  


และเวลาไม่ห่างกันนั้นก็ปรากฏกลุ่มซุนนี่อีกหนึ่งขึ้นมาคือ " มาตูริดียะฮ์ " ผู้ก่อตั้งชื่ออบูมันศูร อัลมาตูริดี ไม่ทราบวันเกิด แต่มรณะปีฮ.ศ.333  ที่มาตุรีดตั้งอยู่ใกล้กับเมืองซะมัรกอนด์

ผู้ปกครองในรัฐหรือแว่นแคว้นที่อยู่ทางฝากตะวันออกกลาง(หรือเอเชียกลางเช่นอุซเบกิซตาน,เตอร์กมะนิซตาน) เรื่องอะกีดะฮ์จะยึดมัซฮับมาตูรีดี ส่วนฟิกฮ์จะตามมัซฮับฮานาฟี

ผู้ปกครองในรัฐหรือแว่นแคว้นที่อยู่ในเมืองช่ามและอียิปต์ เรื่องอะกีดะฮ์จะยึดมัซฮับอะชาอิเราะฮ์ ส่วนฟิกฮ์จะตามมัซฮับชาฟีอี

ผู้ปกครองในรัฐหรือแว่นแคว้นที่อยู่ในเมืองโมรอคโคและอันดาลุส(สเปน) เรื่องอะกีดะฮ์จะยึดมัซฮับอะชาอิเราะฮ์ ส่วนฟิกฮ์จะตามมัซฮับมาลิกี




จะเห็นได้ว่า อำนาจของฝ่ายผู้ปกครองรัฐต้องพึ่งพาอาศัยการชี้นำของบรรดามัซฮับซุนนี่ดังกล่าวในทางการเมือง ทั้งสองฝ่ายได้แผ่ขยายอำนาจทางอาณาจักรและศาสนจักรต่อกลุ่มหรือแนวคิดอื่นๆ โดยอาศัยความร่วมมือร่วมใจและความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างแยกกันออกมิได้มาตลอด.


ติดตามตอนต่อไป
[/color]
  •  

L-umar

ตอน แปด


ชาวซุนนี่ที่แตกออกเป็นมัซฮับต่างๆนั้น มันมิได้อุบัติขึ้นในเรื่องอะกีดะฮ์อันเกี่ยวข้องโดยตรงกับแนวทางอะฮ์ลุสสุนนะฮ์เลย  ยกเว้นเพราะโดยการกดดันของพวกผู้ปกครองที่ขับเคลื่อนอุละมาอ์ซุนนี่ให้เดินตามเกมการเมืองของพวกเขา  ซึ่งนั้นคือประเด็นหลักประการหนึ่ง

จนในที่สุดท่ามกลางสังคมมุสลิมก็ได้ปรากฏกลุ่มซุนนี่นาม \\\" อิบนุตัยมียะฮ์ \\\" ขึ้น ในศตวรรษที่แปดแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช แล้วก็มลายไปช่วงหนึ่ง  

จากนั้นก็หวลกลับมาใหม่ในนามกลุ่มที่ได้ชื่อว่า \\\" วาฮาบี \\\" ที่แตกหน่อออกมาจากมัน และนับเป็นซุนนี่อีกหนึ่งกลุ่มในยุคปัจจุบัน
ยังมีมัซฮับหรือกลุ่มขบวนการของซุนนี่ที่แตกกิ่งก้านสาขาออกมาจากมัซฮับวาฮาบีอีก เช่น

1.   ขบวนการอิควาน
2.   กลุ่มอันซอริส ซุนนะฮ์
3.   กลุ่มสะละฟียีน
4.   กลุ่มอัลญิฮ๊าด
5.   กลุ่มตอลีบอน(ทาเลบัน)
6.   ญุนดุส เศาะหาบะฮ์(กองทัพเศาะหาบะฮ์)
7.   กลุ่มชะรีอะฮ์ มุฮัมมะดียะฮ์
8.   กลุ่มอัต-ตับลีฆ
9.   กลุ่ม ญีฮะมาน (جيهمان)
10.   กลุ่มอัลบานี
11.   กลุ่มอะฮ์ลุลหะดีษ


กลุ่มวาฮาบีนี้ได้เข้ามาในประเทศและเกิดความขัดแย้งกันซุนนี่ฝ่ายอะชาอิเราะฮ์ ซึ่งต่างฝ่ายต่างแย่งกันเป็นอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ตัวจริง
ทั้งสองฝ่ายต่างก้มีชื่อโดยทั่วไปตามประสาซุนนี่ชาวบ้าน เรียกวาฮาบีว่า พวกคณะใหม่  และเรียกอะชาอิเราะฮ์ว่า คณะเก่า
ท่านสามารถอ่านแนวคิดของกลุ่มวาฮาบีโดยตรงได้ที่เวปของพวกเขาดังต่อไปนี้


http://www.tarbiah.ac.th/webTarbiah  เวปของ ดอกเตอร์.อิสมาแอล ลุตฟี
www.islaminthailand.com/  เวปของเชคริฎอ
http://www.mureed.com/   เวปของ อ.มุรีด
http://www.fareed-fendy.com เวปของ อ.ฟารีด
http://www.moradokislam.org/


ยังมีซุนนี่กลุ่มอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องหรืออยู่นอกขอบข่ายของพวกวะฮาบียะฮ์อีกเช่น

1.   พวกซูฟี
2.   ฮิซบุล ตะรีร(พรรคเสรีภาพ)
3.   ยะมาอะฮ์ ตักฟีร  ดูข้อมูลซุนนี่กลุ่มนี้ได้ที่เวป
http://www.iqraforum.com/forum2/index.php?topic=347.0

4.   กลุ่มกุตุบียีน(สัยยิดกุตุบ)
5.   กลุ่ม ญัมอียะฮ์ อัช-ชัรอียะฮ์
6.   กลุ่มอะซาฮิเราะฮ์ ที่อียิปต์
เวปในไทยของซุนนี่กลุ่มเช่น

http://www.miftahcairo.com/ เวปมิฟตะห์ไคโร
http://www.sunnahstudent.com/fiq/fiq02.html สุนนะฮ์สติวเด็นท์

7.   นูรุซียะฮ์ ที่ตุรกี
8.   ญะมาอัต อิสลามียัต ที่ปากีสถานและอียิปต์




พวกเขาเหล่านี้แตกออกจากกันเหมือนกลุ่มซุนนี่ในอดีต สาเหตุคือ " คิล๊าฟ- ขัดแย้ง "  ดังที่ซุนนี่ในปัจจุบันแตกกัน
และคิลาฟของซุนนี่ในปัจจุบันอาจมีรายละเอียดซับซ้อนมากกว่าซุนนี่ในอดีตด้วยซ้ำ


แต่ถึงกระนั้น พวกเขาก็ยังพยายาม บอกว่า เราคือ " อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ "

และดูเหมือนหนทางเดียวที่พวกเขาจะอยู่รอดได้ ซึ่งนั่นก็คือ การพิทักษ์กษัตริย์ เพื่อกษัตริย์จะได้อุปถัมภ์พวกเขาให้มั่นคงปลอดภัย

ติดตามตอนต่อไป
  •  

L-umar

ตอน เก้า


            ตามที่นำเสนอผ่านมานั้นอาจกล่าวได้ว่า  สาเหตุโดยตรง  ในการอุบัติเป็นนิกายต่างๆหรือกลุ่มต่างๆ รวมทั้งเกิดความขัดแย้ง(คิล๊าฟ)ในประชาชาติมุสลิมนั้น มีมูลเหตุมาจาก

                                        " การเบี่ยงเบนทางความคิดความเข้าใจเรื่องอิหม่ามผู้นำที่ถูกต้อง "


ซึ่งการเบี่ยงเบนครั้งแรกเริ่มตั้งแต่คนสองเผ่าคือ " มุฮาญิรีน " กับ " อันศ็อร "      ได้เลือกตั้งผู้นำกันเอง

            จากนั้นพวกเขาก็เอาตำแหน่งผู้นำนี้ไปมอบให้คนตระกูลอุมัยยะฮ์    เพราะผลพวงมาจากหะดีษทำนองนี้เช่น

عَنْ إبْنِ عُمَرَ  قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : وَإِنَّ مِنْ طَاعَتِي أَنْ تُطِيعُوا أَئِمَّتَكُمْ ...

อิบนุอุมัรรายงาน ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า แท้จริงจากการเชื่อฟังฉันคือ การที่ท่านต้องเชื่อฟังบรรดาผู้นำของพวกท่าน

มุสนัดอิหม่ามอะหมัด  หะดีษที่ 5421



                     แล้วหะดีษแบบนี้ยังส่งอิทธิพลไปให้กับพวกราชวงศ์อับบาซียะฮ์อีกที   เนื่องจากอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ที่ยึดมั่นต่อหะดีษแบบนี้ ซึ่งได้รับมรดกตกทอดมาจากสมัยที่ราชวงศ์อุมัยยะฮ์ปกครอง


ดังนั้นขอบข่ายของ \\\"  อิหม่ามผู้นำ \\\" จึงถูกจำกัดให้อยู่ในมือของ \\\" พวกนักปกครอง \\\" (ฮากิม) เท่านั้น

                   หากโลกซุนนี่ยืนยันว่า " อิหม่ามผู้นำ "  นั้นไม่ใช่ " ฮากิม "   หรืออธิบายให้ชัดว่า ฮากิมนั้นไม่ใช่อิหม่ามผู้นำ               และไม่อนุญาตให้เขาใช้อำนาจของอิหม่ามผู้นำ       มวลมุสลิมย่อมจะไม่เกิดความขัดแย้งขึ้นมาอย่างแน่นอน  

          มุสลิมทั้งหมดก็จะมุ่งไปที่อิหม่ามตัวจริง พวกเขาก็จะสอบถามปรึกษากิจการศาสนาของพวกเขากับอิหม่ามตัวจริงเท่านั้น และปัญหาคิลาฟก็จะหมดไป


เพราะอิหม่ามตัวจริง   จะตัดสินปัญหาต่างๆจตามชะรีอะฮ์ที่อัลลอฮ์และรอซูลวางไว้    มิใช่เพื่อรักษาฐานอำนาจของผู้ปกครองหรือเพื่อใครบางคน

อิหม่ามที่แท้จริงจะเป็นหลักฐานของพวกเขา จะไม่มีใครในหมู่พวกเขาขัดแย้งอิหม่ามเลย
เพราะเขาคืออิหม่ามที่แท้จริง ที่มีหลักฐานเด็ดขาด มีเหตุผลชัดเจนจากพระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่าน มิใช่จากนัฟซูหรือชะฮ์วัตของตนเอง

ติดตามตอนต่อไป
  •  

L-umar

ตอนสิบ

          จะเห็นได้ว่า เมื่ออะฮ์ลุสสุนนะฮ์ขาดผู้นำที่แท้จริง(อิมามุลฮั๊ก –إمام الحق)ไป   อุมมัตอิสลามในช่วงศตวรรษที่หนึ่งและสอง( คือตั้งแต่ 100 - 200 ปีแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช )  ขอบข่ายการถ่ายทอดและรับข้อมูลบทบัญญัติอิสลามนั้นพวกเขาล้วนได้รับมาจากฮากิม(ผู้ปกครองรัฐอิสลาม) ซึ่งผู้ปกครองเหล่านั้นได้ทำให้ภาพลักษณ์ของอิสลามเสื่อมเสีย
ส่วนฟุเกาะฮาอ์ของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ก็ก้มหัวอยู่ใต้หะดีษเรื่องจำเป็นต้องเชื่อฟังผู้ปกครอง ซึ่งหะดีษเหล่านั้นถูกอุปโลกน์ขึ้นจากบรรดาฮากิม(นักปกครอง) ที่ต้องการควบคุมฝูงชนเอาไว้

         แนวคิดเรื่องเชื่อฟัง(ตออัต)ต่อผู้ปกครองนี้ ได้กลายเป็นบทบัญญัติชะรีอัตอิสลามในสังคมซุนนี่ไปโดยปริยาย และถ่ายทอดกันมาชั่วลูกชั่วหลานในสังคมมุสลิม เป็นมรดกที่ต้องตักลีด และถือเป็นซุนนะฮ์ของชาวสะลัฟ(บรรพชนคนรุ่นก่อน)
หากใครละเมิดฝ่าฝืน หรือไม่ยอมรับแนวคิดนี้  ก็จะถูกตราหน้าว่าเป็น พวกซินดี๊ก(นอกรีต), พวกบิดอะฮ์และพวกหลงทาง.

พวกซุนนี่ (อะฮ์ลุสสุนนะฮ์) จะถือว่า
       ใครเรียกร้องแนวคิดเรื่องอิมามะฮ์ อัลฮักเกาะฮ์ - فكرة الإمامة الحقة (ผู้นำมุสลิมแท้จริงตามหลักชัรอีย์) ผู้นั้นคือฝ่ายตรงข้ามกับซุนนี่และเป็นศัตรู ที่ต้องกำจัดเช่น ชีอะฮ์  

หรือใครเรียกร้องให้ฟื้นฟูการใช้อักล์(สติปัญญาหรือความคิด) เช่น พวกมุอ์ตะซิละฮ์
 
หรือถ้าเรียกร้องให้มุสลิมมีอิสระทางความเชื่อที่เกี่ยวกับเรื่อง ซิฟัต(คุณลักษณะ)ของอัลเลาะฮ์ เช่นพวกญะฮ์มียะฮ์  

ที่ไม่แปลซิฟัตของอัลลอฮ์โดยเอามาเปรียบให้เหมือนหรือคล้ายกับมัคลู๊ก  กลุ่มเหล่านั้นก็จะถูกซุนนี่ตราหน้าว่า หลงทางทั้งสิ้น


สาเหตุที่กลุ่มอื่นถูกตราหน้าว่าเป็นพวกซินดี๊ก, บิดอะฮ์และหลงทางคือ  มีอะกีดะฮ์หรือแนวคิดไม่ตรงกับซุนนี่  

ซึ่งนับได้ว่าซุนนี่เป็นพวกที่มีความคิดหรือทัศนะแคบที่สุด และพยายามยัดเหยียดสิ่งนี้ให้กับโลกมุสลิม ด้วยอำนาจที่ซุนนี่ได้รับจากบรรดาผู้ปกครองรัฐ



ติดตามตอนต่อไป
  •  

L-umar

ตอน 11


                 พวกผู้ปกครอง(ฮากิม)ไม่เคยปฏิบัตหรือให้ความสนิทสนมกับพวกเคาะวาริจญ์ , ชีอะฮ์,มุอ์ตะซิละฮ์หรือกลุ่มอื่นๆที่ขัดแย้งกับพวกอะฮ์ลุสสุนนะฮ์เลย  

สาเหตุเพราะอะกีดะฮ์ตลอดจนการนำเสนอแนวคิดของกลุ่มคนเหล่านั้นไปขัดกับอำนาจและผลประโยชน์ของพวกเขานั่นเอง
ในทางกลับกันบรรดาผู้ปกครองจะให้ความสนิทสนมชิดเชื้อกับพวกอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ เพราะคนกลุ่มนี้ได้เอื้ออำนวยเรื่องอำนาจและผลประโยชน์ให้กับพวกเขา

             ดังนั้นทั้งสองฝ่าย คือฮากิมกับอะฮ์ลุสสุนนะฮ์จึงต้องร่วมหัวชนโรงกัน เพื่อสร้างความมั่นคงให้กันและกันในอุมมัตอิสลาม ทั้งสองฝ่ายต้องร่วมมือร่วมใจกันทำลายกลุ่มต่างๆในโลกอิสลามให้หมดไปจากการแผ่อำนาจของเขาทั้งสอง
ฝ่ายซุนนี่อาจแย้งว่า ในยุคที่มะอ์มูนบินฮารูนแห่งราชวงศ์อับบาซียะฮ์ปกครองนั้นพระองค์เคยเชิดชูมัซฮับมุอ์ตะซิละฮ์และชีอะฮ์เพื่ออำนาจและผลประโยชน์ให้กับพระองค์ในช่วงเวลาหนึ่งเช่นกัน
แต่ประวัติศาสตร์อิสลามได้ระบุว่า หลังจากนั้นพระองค์ได้ทำลายคนสองกลุ่มนี้ลง ด้วยเหตุผลเดียวคือ ชีอะฮ์และมุอ์ตะซิละฮ์นั้นเป็นภัยต่ออำนาจการปกครองของพระองค์

             กาหลิบมะอ์มูนเชื่อว่า  คัมภีร์กุรอ่านนั้นเป็นมัคลู๊ก    ฝ่ายอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ตั้งแต่ระดับอุละมาอ์จนถึงรากหญ้าก็ขานตอบอะกีดะฮ์ของมะอ์มูน  ทั้งๆที่ในใจซุนนี่เชื่อว่ากุรอ่านนั้นกิดัมคือมีมาแต่เดิม

ทำไมซุนนี่ไม่ลุกฮือขึ้นต่อต้านกาหลิบมะอ์มูน หรืออุละมาอ์ซุนนี่ยุคนั้นฮุก่มว่า มะอ์มูนเป้นกาเฟร     คำตอบคือเพราะพวกเขาไม่ต้องการถูกทำร้ายหรือได้รับความเดือดร้อน  ซุนนี่ยุคนั้นจึงใช้วิธีตะกียะฮ์ คืออำพรางความเชื่อของตนไว้ข้างใน

               แม้ว่ากษัตริย์ในราชวงศ์ซาอู๊ด     จะประพฤติตัวช้าช้าปานใด พวกอุละมาอ์วาฮาบีโดยส่วนมากก็จะไม่กล้าประณามการกระทำของกษัตริย์ซาอูด

             กลุ่มวาฮาบีในประเทศซาอุฯออกฟัตวาว่า ห้ามซิยาเราะฮ์กุโบร์เอาลิยาอ์ , ห้ามจูบกุโบร์นบีมุฮัมมัด ห้ามตะบัรรุก ห้ามตะวัซซุลกับท่านนบีฯลฯ


ฮุจญ๊าจญ์ซุนนี่ ที่เดินทางประกอบพิธีหัจญ์ก็นิ่งเงียบไม่ประท้วงหรือต่อต้าน ทั้งๆที่ในใจพวกเขาไม่ยอมรับคำฟัตวาของวาฮาบี


             ทำไมชีอะฮ์จึงเป็นภัยต่อกาหลิบมะอ์มูน เพราะอะลี บินมูซาอัลริฏอ อิหม่ามผู้นำที่แท้จริงของอิสลามไม่ก้มหัวให้กับความผิดของราชวงศ์อับบาซียะฮ์

             ดังนั้นกาหลิบมะอ์มูนจึงต้องสังหารอิหม่ามริฎอ เหมือนที่ลูกหลานนบีก่อนหน้านี้เคยถูกสังหารมาแล้วมากมาย ส่วนชีอะฮ์ก็ถูกจับขัง ถูกประหารชีวิต ถูกตามล่าและเนรเทศ กลายเป็นมัซฮับที่ผิดกฎหมายของรัฐต่อไป

             ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ฝ่ายซุนนี่ก็ได้ประโยชน์ไปใช้คือ มัซฮับของตนสามารถเผยแผ่อย่างมีอิสระเสรีภาพ เพราะไม่เป็นภัยคุกคามความมั่นคงของกษัตริย์  ดังนั้นมะอ์มูนจึงหันมาอยู่ข้างซุนนี่      

ติดตามตอนต่อไป
  •  

L-umar


ตอน 12

   ถ้าสังเกตให้ดีท่านจะเข้าใจว่า ซุนนี่ทุกกลุ่มนั้นมีจุดยืนต่อพวกนักปกครอง(คอลีฟะฮ์,มาลิก,ซุลตอน,ฮากิม,อิหม่ามหรืออะมีร) เหมือนกันหมดนั่นคือ   السَّمْعُ وَالطَّاعَةُ " เชื่อฟังและปฏิบัติตามฮากิมในทุกสภาวะ "  ไม่ว่าสถานะการณ์ทางการเมืองการปกครองและศาสนาของพวกผู้ปกครองจะเป็นอย่างไรก็ตาม
จริงอยู่ซุนนี่อาจอ้างว่า เราจำเป็นต้องตามผู้นำ เพราะท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ)กล่าวว่า
مَنْ أَطَاعَنِى فَقَدْ أَطَاعَ اللَّهَ وَمَنْ عَصَانِى فَقَدْ عَصَى اللَّهَ وَمَنْ أَطَاعَ أَمِيرِى فَقَدْ أَطَاعَنِى وَمَنْ عَصَى أَمِيرِى فَقَدْ عَصَانِى ».

ผู้ใดตออัต(เชื่อฟัง)ฉัน ผู้นั้นเชื่อฟังอัลเลาะฮ์  และผู้ใดไม่เชื่อฟังฉัน ผู้นั้นฝ่าฝืนอัลเลาะฮ์
ผู้ใดเชื่อฟังผู้นำของเขา  เท่ากับผู้นั้นเชื่อฟังฉัน และผู้ใดขัดคำสั่งผู้นำของเขา เท่ากับเขาขัดคำสั่งของฉัน
เศาะหิ๊หฺมุสลิม หะดีษที่ 4854


ปัญหาคือ  อะมีร(ผู้นำ)ที่ท่านรอซูลสั่งให้เราเชื่อฟังนั้นคือใคร และมีบุคลิกอย่างไร ?

ชีอะฮ์ หลังยุคฆ็อยบัตกุบรอ ยอมรับเฉพาะ ผู้นำที่มีคุณธรรมและเป็นคนเคร่งครัดศาสนาเท่านั้น  เพราะฉะนั้นบรรดาผู้ปกครองรัฐในอดีตที่ทำตัวเสเพลจึงชิงชังพวกชีอะฮ์  สาเหตุเพราะความชั่วของพวกเขาเอง

ซุนนี่
 ยอมรับผู้นำทุกประเภท ไม่ว่ามนุษย์คนใดสามารถไต่เต้าขึ้นมากุมบังเหียรอำนาจการปกครอง  คนนั้นคืออะมีรของซุนนี่ทั้งหมด และจำเป็นต้องเชื่อฟัง ไม่ว่าฮากิมคนนั้นจะดีหรือเลว

หากถามว่า ทำไมซุนนี่จึงมีอะกีดะฮ์เช่นนั้น ?  คำตอบคือ
1.   ผู้ปกครองยุคนั้นได้จ้างวานให้อุละมาอ์ดุนยากุหะดีษเก๊มอมเมาประชาชนให้ตออัตจำนนต่อพวกเขา เช่นหะดีษแบบนี้
4891 - وَحَدَّثَنِى مُحَمَّدُ بْنُ سَهْلِ بْنِ عَسْكَرٍ التَّمِيمِىُّ حَدَّثَنَا يَحْيَى بْنُ حَسَّانَ ح وَحَدَّثَنَا عَبْدُ اللَّهِ بْنُ عَبْدِ الرَّحْمَنِ الدَّارِمِىُّ أَخْبَرَنَا يَحْيَى - وَهُوَ ابْنُ حَسَّانَ - حَدَّثَنَا مُعَاوِيَةُ - يَعْنِى ابْنَ سَلاَّمٍ - حَدَّثَنَا زَيْدُ بْنُ سَلاَّمٍ عَنْ أَبِى سَلاَّمٍ قَالَ قَالَ حُذَيْفَةُ بْنُ الْيَمَانِ قُلْتُ
يَا رَسُولَ اللَّهِ إِنَّا كُنَّا بِشَرٍّ فَجَاءَ اللَّهُ بِخَيْرٍ فَنَحْنُ فِيهِ فَهَلْ مِنْ وَرَاءِ هَذَا الْخَيْرِ شَرٌّ قَالَ نَعَمْ. قُلْتُ هَلْ وَرَاءَ ذَلِكَ الشَّرِّ خَيْرٌ قَالَ « نَعَمْ ». قُلْتُ فَهَلْ وَرَاءَ ذَلِكَ الْخَيْرِ شَرٌّ قَالَ « نَعَمْ ». قُلْتُ كَيْفَ قَالَ « يَكُونُ بَعْدِى أَئِمَّةٌ لاَ يَهْتَدُونَ بِهُدَاىَ وَلاَ يَسْتَنُّونَ بِسُنَّتِى وَسَيَقُومُ فِيهِمْ رِجَالٌ قُلُوبُهُمْ قُلُوبُ الشَّيَاطِينِ فِى جُثْمَانِ إِنْسٍ ». قَالَ قُلْتُ كَيْفَ أَصْنَعُ يَا رَسُولَ اللَّهِ إِنْ أَدْرَكْتُ ذَلِكَ قَالَ « تَسْمَعُ وَتُطِيعُ لِلأَمِيرِ وَإِنْ ضُرِبَ ظَهْرُكَ وَأُخِذَ مَالُكَ فَاسْمَعْ وَأَطِعْ ».
จากมุฮัมมัด บินสะฮัล บินอัสกัร ยะห์ยา บินหัสซาน จากอับดุลเลาะฮ์ บินอับดุลเราะห์มาน อัด-ดาริมี จากมุอาวียะฮ์ บินสัลลาม จากเซด บินสัลลาม จากอบี สัลลามเล่าว่า  ท่านฮุซัยฟะฮ์ บินยามานเล่าว่า  :
ฉันได้กล่าวว่า  โอ้ท่านรอซูลุลเลาะฮ์ แท้จริงพวกเราเคยอยู่กับความชั่วร้าย แล้วอัลลอฮ์ได้นำความดีงามมาให้ เราจึงได้อยู่ใน(ความดีงาม)นั้น  แล้วหลังจากความดีนี้ยังจะมีความชั่วร้ายมาอีกไหม ?  ท่านตอบว่า ใช่  ฉันถามว่า แล้วหลังจากความชั่วนั้นยังจะมีความดีมาอีกไหม ? ท่านตอบว่า ใช่   ฉันถามอีกว่า แล้วหลังจากความดีนี้ยังจะมีความชั่วร้ายมาอีกไหม ?  ท่านตอบว่า ใช่  ฉันจึงถามว่า มันเป็นอย่างไรหรือ ?  ท่านกล่าวว่า หลังจากฉันจากไป จะมีบรรดาผู้นำ ที่ไม่ชี้นำ(ประชาชน)ด้วยทางนำของฉัน  และไม่ดำเนินตามซุนนะฮ์ของฉัน  แล้วยังจะมีบรรดาบุรุษในหมู่พวกเขาเหล่านี้ที่หัวใจของพวกเขา มีหัวใจของบรรดาชัยตอนมารร้ายอยู่ในคราบของมนุษย์  
(ฮุซัยฟะฮ์)เล่าว่า ฉันถามว่า  : แล้วฉันจะทำอย่างไร โอ้ท่านรอซูลุลเลาะฮ์ หากฉันอยู่ทันคนพวกนั้น ?  

ท่านตอบว่า เจ้าจะต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้นำคนนั้น แม้ว่าหลังของเจ้าจะถูกตี  ทรัพย์สินของเจ้าจะถูกเขาเอาไป  จงเชื่อฟังและปฏิบัติตาม(ผู้นำคนนั้น)    

เศาะหิ๊หฺมุสลิม หะดีษที่ 4891



เมื่อหะดีษนี้ถูกบันทึกอยู่ในเศาะหิ๊หฺมุสลิม  ซุนนี่ทุกคนก็เชื่อ  แต่ทำไมไม่เข้าไปตรวจสอบว่านักรายงานหะดีษข้างต้นอยู่ในยุคสมัยการปกครองของใครบ้าง

มุฮัมมัดบินสะฮัล ตายปีฮ.ศ.251 เป็นคนคูรอซานย้ายมาอยู่ที่แบกแดด เขาอยู่ในยุคกาหลิบมะอ์มูนจนถึงกาหลิบอัลมุตะวักกิล  ทั้งมะอ์มูนและมุตะวักกิลล้วนชิงชังตระกูลอะลีและชีอะฮ์อะลี

เวปซุนนี่ชื่อมุสลิมเมืองชนบุรีเขียนบทความไว้ว่า
อัล – มะมูน  ( ฮศ. 192 – 218 , คศ. 813 – 933 )

   เมื่อพระเชษฐา(อามีน)สิ้นชีพลงแล้ว เคาะลีฟะห์มะมูนก็เข้าถือบังเหียน การปกครองราชอาณาจักร
ในปีต่อมาได้เกิดการกบฎอย่างรุนแรงขึ้น อิบนุ ฏอบาฏอบา ได้ปรากฎเมืองขึ้นที่ กูฟะฮ์ และเกลี้ยกล่อมประชาชน ให้จงรักภักดีต่อเชื้อสายของท่านศาสดา เขาได้รับสนับสนุนจาก อบูสะรอยา ซึ่งเป็นนักผจญภัยที่รู้จักกันดี เขาได้ส่งกองทัพภายใต้การนำของอบูสะรอยาไปโจมตีกองทัพหลวงเสียแหลกลานแต่สะรอยาไม่เต็มใจที่จะแสดงบทบาทเป็นตัวรองอีกต่อไปจึงได้วางยาพิษอิบนุฏอบาฏอบาตายและตั้งมูฮัมมัดบินมุฮัมมัดซึ่งเป็นคนในตระกูลของท่านอะลีแทน ชัยชนะของอบูสะรอยาดำเนินต่อไปจนเมืองบัศเราะห์ ,วาซิฏ และมะดาอินตกอยู่ในมือของเขา มักกะห์ มะดีนะห์ และยะมัน ก็ตกอยู่ในมือของพวกอะลี
เมื่ออบูสะรอยาเริ่มจะรุกเข้ามาที่เมืองหลวง ฮะซันบินซาฮัลก็รีบส่งฮัรษะมะฮ์ บินอัยยันมาต่อสู้ เหตุการณ์ก็กลับกลายไปอย่างไม่คาดฝัน   กองทัพฝ่ายอะลีถูกขับไล่กลับไปทั่วทุกหนแห่ง และอิรักทั้งประเทศก็ตกอยู่ในมือของราชวงศ์อับบาซียะฮ์อีกครั้งหนึ่ง กูฟะห์ยอมจำนนและบัศเราะห์กลับคืนมาด้วยการถูกโจมตี   อบูสะรอยาหนีไปอยู่ที่เมโสโปเตเมียแต่ภายหลังถูกจับได้และถูกตัดศรีษะ การกบฎในอารเบียก็ยุติลง
   
   ในระหว่างนั้นที่เมืองเมิร์ฟ  กาหลิบมะอ์มูนได้ตัดสินใจที่เป็นเสมือนสายฟ้าฟาดแรงบนราชวงศ์อับบาซียะฮ์ นั่นคือ ในปี ฮศ. 202 หรือ คศ. 817 ได้ทรงแต่งตั้งให้อิหม่ามอะลีอัร – ริฏอ บุตรของอิหม่ามมูซาอัลกาซิม  ซึ่งอยู่ในตระกูลของท่านอะลี เป็นเคาะลีฟะฮ์สืบต่อท่านและทรงให้เปลี่ยนสีประจำราชอาณาจักรจากสีดำเป็นสีประจำราชวงศ์อับบาซียะฮ์มาเป็นสีเขียว ซึ่งเป็นสีประจำตระกูลของท่านอะลี   การตัดสินใจนี้ก่อให้เกิดการคัดค้านไปในหมู่พวกอับบาซียะฮ์ ประชาชน(ซุนนี่)ปฏิเสธไม่ยอมให้สัตย์ปฏิญาณต่อท่านอิหม่ามอะลีอัลริฎอ  ประกาศให้ถอดมะอ์มูนออกจากตำแหน่งและแต่งตั้งอิบรอฮีม บินมะฮ์ดีเป็นเคาะลีฟะฮ์แทน   แว่นแค้วนอื่น ๆ ก็ทำตาม กรุงบัฆดาด...
   และหลังจากนั้นไม่นานอิหม่ามอะลี อัรริฎอ ก็ตายลงอย่างกะทันหัน
อ้างอิงจาก
http://www.muslimchonburi.com/index.php?page=show&id=724

อัล-มุตะวักกิล   (Al-Mutawakkil)  (คศ.233-297 -  คศ.847-911)อัล-มุตะวักกิลมีความเกลียดชังพวกชีอะฮ์จึงทรงสั่งให้ล้อมอนุสรณ์ที่สร้างไว้เหนือที่ฝังศพท่านอิหม่ามฮูเซน บินอะลีที่เมืองกัรบาลา พร้อมด้วยอาคารอื่น ๆ รอบ ๆ นั้นเสีย และสั่งห้ามมิให้ผู้ใดไปเยี่ยมเยียนสถานที่นั้น...
   ความประพฤติในตอนหลัง ๆ ของท่าน เป็นเหตุให้มีผู้คิดล้างชีวิตท่าน กล่าวกันว่าในขณะที่ท่านบรรทมอยู่ในพระราชวัง ทหารองค์รักษ์ชาวเตอรกีที่ท่านโปรดปรานพร้อมทั้งอัล มุนตะซิรโอรสของท่านผู้ซึ่งไม่พอใจในความประพฤติของราชบิดาก็ได้ลอบเข้าไปสังหารท่าน รัชสมัยอันมีระยะยาว 15 ปี ของท่านเต็มไปด้วยการแบ่งแยกของราชอาณาจักร ความโหดร้ายทารุณ และไม่สนพระทัยของท่าน  ทำให้ท่านนำราชอาณาจักรไปสู่ความพินาศในที่สุด
   หลังจากอัล มุตะวักกิลสิ้นชีพแล้ว อาณาจักรมุสลิมตกต่ำลงอย่างรวดเร็ว
อ้างอิงจากเวป
http://www.muslimchonburi.com/index.php?page=show&id=725

เมื่อท่านได้อ่านแล้ว คงไม่แปลกใจว่าทำไมมุฮัมมัดบินสะฮัลจึงต้องรายงานหะดีษให้ประชาชนยอมจำนนต่อกาหลิบอับบาซี
 

ส่วนมุอาวียะฮ์ บินสัลลาม รายงานจากพี่ชายคือเซด บินสัลลาม ซึ่งเอาหะดีษมาจากบิดาคือ อบีสัลลาม ทั้งสามเป็นชาวเมืองช่ามที่ราชวงศ์อุมัยยะฮ์ปกครอง
คนรายงานทั้งสองกลุ่มล้วนอยู่ในอำนาจการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์และอับบาซียะฮ์ เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกใจที่พวกเขาจะรายงานหะดีษเช่นนี้เพื่อเอาใจกษัตริย์ของสองราชวงศ์

2.   อุละมาอ์ซุนนี่ให้การสนับสนุนผู้ปกครอง ด้วยการอธิบายว่า ไม่ว่าผู้ปกครองรัฐจะชั่วจะเลวปานใดประชาชนก็ต้องอดทน ห้ามก่อกบฏหรือการปฏิวัติ ต้องอดทนยอมอยู่ภายใต้การปกครองของคนชั่วไปจนกว่าอัลลอฮ์จะคลี่คลายปัญหาให้เอง

ท่านอะหมัด บินฮัมบัล อิหม่ามแห่งอะฮ์ลุลหะดีษกล่าวว่า

الخلافة في قريش ما بقي من الناس إثنان ليس لأحد من الناس أن ينازعهم فيها ولا يخرج عليهم ولا يقر لغيرهم بها إلى قيام الساعة
 والجهاد ماض قائم مع الأئمة بروا أو فجروا لا يبطله جور جائر ولا عدل عادل
والجمعة والعيدان والحج مع السلطان وإن لم يكونوا بررة ولا أتقياء ولا عدولا ودفع الصدقات والخراج والأعشار والفيء والغنائم إلى الأمراء عدلوا فيها أم جاروا
والإنقياد إلى من ولاه الله أمركم لا تنزعوا يدا من طاعته ولا تخرج عليه بسيفك حتى يجعل الله لك خرجا ومخرجا ولا تخرج على السلطان وتسمع وتطيع ولا تنكث بيعة فمن فعل ذلك فهو مبتدع مخالف مفارق للجماعة
الكتاب : العقيدة  أحمد بن محمد بن حنبل   ج 1  ص 76
الناشر : دار قتيبة – دمشق  الطبعة الأولى ، 1408  تحقيق : عبد العزيز عز الدين السيروان
ตำแหน่งคิลาฟะฮ์(ผู้ปกครอง)นั้นอยู่ในเผ่ากุเรช แม้ว่าเหลือเพียงสองคนจากมนุษย์  สำหรับคนหนึ่งคนใดจากประชาชนไม่มีสิทธิถอดถอนพวกเขาในตำแหน่งคิลาฟะฮ์นั้น  และต้องไม่กบฏต่อพวกเขา และต้องไม่รับรอง(ผู้อื่น)จากพวกเขาต่อตำแหน่งนั้น จนถึงวันกิยามัต
การญิฮาดในอดีตนั้นต้องยืนอยู่กับบรรดาผู้นำนั้น (ไม่ว่า)พวกเขาได้ทำดีหรือทำชั่ว การอธรรมของผู้กดขี่และความเที่ยงธรรมของคนยุติธรรมจะไม่ทำให้มันเป็นโมฆะ และ(ต้อง)นมาซญุมอะฮ์  นมาซอีดทั้งสองและการทำหัจญ์กับซุลตอน(ผู้ปกครอง) แม้ว่าพวกเขาจะไม่ใช่คนดี คนยำเกรงพระเจ้า คนมีคุณธรรมก็ตาม
ต้องจ่ายเศาะดะเกาะฮ์ ภาษี หนึ่งชักสิบ ทรัพย์สินรายได้ หรือที่ริบมาจากสงครามให้กับบรรดาอะมีร(ผู้นำผู้ปกครอง)ไม่ว่าพวกเขาจะดีหรือเลว
การจำนนเชื่อฟังต่อผู้ที่อัลลอฮ์ให้เขาได้เป็นผู้ปกครองกิจการของพวกท่าน พวกท่านจะต้องไม่กระชากมือหนึ่งออกจากการเชื่อฟังเขา และต้องไม่ออกจาก(อำนาจ)เขาด้วยดาบของท่าน จนกว่าอัลลอฮ์จะทำให้เข้าได้รับทางออก  และห้ามเป็นกบฏต่อซุลตอน ท่านต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตาม ท่านต้องไม่ยกเลิกทำลายสัตยาบัน ถ้าใครกระทำสิ่งนั้น ถือว่าเขาคนนั้นคือ คนทำบิดอะฮ์ คนฝ่าฝืน และแยกตัวออกจากญะมาอะฮ์

อ้างอิงจากหนังสือ อัลอะกีดะฮ์ ของอิหม่ามอะหมัด บินฮัมบัล เล่ม 1 : 76



ซุนนี่ที่ยึดมั่นต่อมัซฮับฮัมบาลีในสมัยนั้น ย่อมฟังคำฟัตวาของหัวหน้ามัซฮับตน ดังนั้นใครไม่พอใจผู้ปกครองหรือกษัตริย์ เขาก็ถูกตราหน้าว่า เป็นกบฏและหลุดพ้นจากญะมาอะฮ์ซุนนี่แล้ว
[/color]
  •  

L-umar



ตอน 13

ท่านอบูฮาซัน อัลอัชอะรี อิหม่ามของชาวอะชาอิเราะฮ์กล่าวว่า



وأجمعوا على السمع والطاعة لأئمة المسلمين وعلى أن كل من ولي شيئا من أمورهم عن رضى أو غلبة وامتدت طاعته من بر وفاجر لا يلزم الخروج عليهم بالسيف جار أو عدل وعلى أن يغزوا معهم العدو ويحج معهم البيت وتدفع إليهم الصدقات إذا طلبوها ويصلي خلفهم الجمع والأعياد.

الكتاب : رسالة إلى أهل الثغر للإمام أبي الحسن الأشعري  ج 1 ص 279
الناشر : مكتبة العلوم والحكم - دمشق
الطبعة الأولى ، 1988       تحقيق : عبدالله شاكر محمد الجنيدي


                       พวกเขา ( ชาวอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ทั้งหลาย )  มีมติให้เชื่อฟังและปฏิบัติตามบรรดาผู้นำมวลมุสลิม   และต่อผู้ที่ปกครองดูแลกิจการใดกิจาการหนึ่งของพวกเขา ไม่ว่าจะพอใจหรือโดยถูกบังคับ(ก็ตาม ) การเชื่อฟังเขา(ผู้นำ)ยังดำเนินต่อไปจากคนดีและคนเลว  ไม่จำเป็นต้องก่อกบฏต่อพวกเขาด้วยดาบ (ไม่ว่าจะเป็น)คนกดขี่หรือมีคุณธรรม และจะต้องสู้รบกับศัตรูอยู่(เคียงข้าง)กับพวกเขา(ผู้นำ)  ต้องไปทำหัจญ์ที่บัยตุลเลาะฮ์กับพวกเขา  ต้องจ่ายทานเศาะดะเกาะฮ์ให้กับพวกเขาเมื่อพวกเขา(ผู้นำ)ต้องการมัน   และต้องทำนมาซญะมาอัตและนมาซอีดต่างๆหลังพวกเขา


อ้างอิงจาก  ริซาละฮ์ อิลา อะฮ์ลิษ-ษุฆูร  ของท่านอิหม่ามอบูฮาซัน อัลอัชอะรี เล่ม 1 : 279
  •  

L-umar


ตอน 14

อาเล่มผู้โด่งดังในเมืองช่ามหลังจากอัลเอาซาอี สังกัดฮัมบาลีนาม


อิบนุกุดามะฮ์(ตายฮ.ศ.541)กล่าวว่า


ومن السنة السمع والطاعة لأئمة المسلمين وأمراء المؤمنين برهم وفاجرهم، ومن ولي الخلافة واجتمع عليه الناس ورضوا به أو غلبهم بالسيف حتى صار خليفة وسمى أمير المؤمنين وجبت طاعته وحرمت مخالفته والخروج عليه وشق عصا المسلمين.
:
الكتاب : لـمعة الاعتقاد   لابن قدامة المقدسي  ج 1 ص 32
الناشر : وزارة الشؤون الإسلامية والأوقاف والدعوة والإرشاد - المملكة العربية السعودية
تاريخ النشر : 1420هـ - 2000م

และส่วนหนึ่งจากความเป็นสุนนะฮ์ก็คือ  การเชื่อฟังและปฏิบัติตามบรรดาผู้นำมวลมุสลิมและบรรดาหัวหน้าผู้ปกครองบรรดาผู้ศรัทธา (ทั้ง)คนดีและคนเลวของพวกเขา  และผู้ที่ครองตำแหน่งคอลีฟะฮ์  หรือที่ประชาชนได้มีมติต่อเขา(ให้เป็นผู้ปกครอง) ทั้งที่พวกเขามีความพอใจต่อเขา หรือผู้นำ(คนนั้นได้)ใช้กำลังกับพวกเขาด้วยดาบ จนกระทั่งได้มาเป็นผู้ปกครอง และได้รับการขนานนามว่า อมีรุลมุอ์มินีน   ก็จำเป็นต้องตออัตต่อเขาและห้ามขัดขืนกับเขา หรือทำการก่อกบฏต่อเขา หรือสร้างความแตกแยกในหมู่มุสลิม

อ้างอิงจาก  

ละมะตุล อิ๊อฺติกอด  โดยอิบนุ กุดามะฮ์  เล่ม 1 : 32
  •  

L-umar


ตอน 15

ท่านอัฏ-เฏาะฮาวี อิหม่ามแห่งอะห์น๊าฟกล่าวว่า



وَالْحَجُّ وَالْجِهَادُ مَاضِيَانِ مَعَ أُولِي الْأَمْرِ مِنَ الْمُسْلِمِينَ، بَرِّهِمْ وَفَاجِرِهِمْ إِلَى قِيَامِ السَّاعَةِ، لَا يُبْطِلُهُمَا شَيْءٌ وَلَا يَنْقُضُهُمَا
العقيدة الطحاوية  ج 1  ص 49

การทำหัจญ์และญิฮ๊าดที่ผ่านมาในอดีตกับผู้ปกครองบรรดามุสลิม ทั้งที่พวกเขาเป็นคนดีและคนเลว ตราบถึงวันสิ้นโลกนั้น จะไม่มีสิ่งใดมาทำให้มันทั้งสอง(หัจญ์กับญิฮาด)โมฆะ หรือทำให้มันทั้งสองบกพร่อง

อ้างอิงจาก

หนังสือ อัลอะกีดะฮ์ อัฏ-เฏาะอาวียะฮ์  เล่ม 1 : 49


               
                   การที่มุสลิมจะมีอะกีดะฮ์เรื่องวาญิบต้องเชื่อฟังผู้ปกครองรัฐที่ดีมีคุณธรรมนั้น ถูกต้องอยู่แล้ว และคงไม่มีมนุษย์คนใดในโลกมาเสียเวลาวิพากษ์เรื่องนี้

              แต่การที่อุละมาอ์ซุนนี่ออกมาฟัตวาว่า  วาญิบต้องเชื่อฟังผู้ปกครองที่เป็นคนเลว  โดยยกหะดีษที่ถูกกุขึ้นมาจากพวกอุมัยยะฮ์และอับบาซียะฮ์มากำกับ    
             ตรงนี้ ทำให้มุสลิมที่มีสติปัญญา และมีอิสระทางความคิดยอมรับไม่ได้และสงสัยว่าทำไม ?

แต่เมื่อพวกเขาถูกปิดประตูด้วยหะดีษที่สั่งให้ตออัต  พวกเขาต้องยอมจำนนโดยดุษฎี มิฉะนั้นก็จะโดนประณามว่า  

เป็นพวกชีอะฮ์หรือไม่ก็เป็นพวกมุอ์ตะซิละฮ์  เพราะชีอะฮ์กับมุอ์ตะซิละฮ์ ไม่ยอมให้คนชั่วมาครอบงำชีวิตพวกเขานั่นเอง
  •  

16 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้