Q4wahabi.com (Question for Wahabi)

หมวดหมู่ทั่วไป => อะลุ้ลบัยต์ อ. ในทัศนะของวาฮาบี ซุนนี่ และชีอะฮ์ => หัวข้อที่ตั้งโดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 11, 2009, 11:57:21 ก่อนเที่ยง

ชื่อ: ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 11, 2009, 11:57:21 ก่อนเที่ยง
ประวัติศาสตร์การก่อกำเนิดมัซฮับ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ  

เราจะมาวิเคราะห์กันสองประเด็นคือ

หนึ่ง -  ซุนนี่มีความสัมพันธ์อย่างไรกับผู้ปกครอง ผู้มีอำนาจ นับตั้งแต่ท่านนบีมุฮัมมัดวะฟาต  เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

สอง-  มัซฮับซุนนี่  แตกออกเป็นกี่  นิกาย



ทุกท่านต่างประจักษ์แจ้งดีว่า การแบ่งออกเป็นกลุ่มๆนั้น ส่งผลให้สังคมแตกออกเป็นเสี่ยงๆ  สร้างความอ่อนแอและความเสียหายมาสู่สังคม  ซึ่งบั้นปลายของมันคือ การสูญเสียเวลาไปกับการทะเลาะวิวาท การต่อสู้เพื่อช่วงชิงชัยชนะกัน


น่าเสียใจเป็นอย่างยิ่งที่สังคมมุสลิมเราได้เผชิญกับโรคภัยนี้มาโดยตลอด นับตั้งแต่ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)จากไป   ประวัติศาสตร์อิสลามคือพยานยืนยันว่า  อุมมัตอิสลามหลังการสูญเสียท่านศาสดาได้ถูกอารมณ์ใฝ่ต่ำครอบงำ จนเกิดสถานการณ์วุ่นวายมากมาย ในที่สุดยุคญาฮิลียะฮ์ได้หวลคืนสู่สังคมมุสลิม  

นับแต่นั้นฟิรเกาะฮ์และญะมาอัต(กลุ่ม)ต่างๆที่แต่ละฝ่ายต่างก็มีความเห็นไม่ตรงกันหรือขัดแย้งกันก็ปรากฏตัว  

เพื่อสร้างฐานรองรับให้กับอำนาจของบรรดาผู้ปกครอง(ซุลตอน,ฮากิม) ที่ฉกฉวยความแตกแยกนี้เป็นผลประโยชน์ให้กับตัวเอง เพราะฉะนั้นภารกิจแรกที่บรรดาผู้ปกครองในยุคนั้นต้องดำเนินการก็คือ การรวบรวมฟิร็อก(กลุ่ม)ต่างๆที่ให้การสนับสนุน เสริมสร้างบารมีให้กับอำนาจของพวกเขา

และต้องกำจัดกลุ่มต่างๆที่มีแนวความคิดต่อต้านอำนาจการปกครองหรือไม่เป็นผลประโยชน์ต่อพวกเขาให้สิ้นซาก  ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เห็นกันอยู่ในโลกปัจจุบัน เมื่อพรรคหนึ่งขึ้นเป็นรัฐบาลก็ต้องกระทำเช่นนั้น
   เมื่อกล่าวถึงตรงนี้ จะเห็นได้ว่าผู้ปกครองรัฐอิสลามต่างๆมักจะให้การอุปถัมภ์  โอบอุ้มมัซฮับอะฮ์ลุสสุนนะฮ์เอาไว้  เพราะซุนนี่เป็นเพียงมัซฮับเดียวที่สมารถตอบสนองในสิ่งที่ผู้ปกครองต้องการได้  

มัซฮับนี้จึงได้รับการต้อนรับทุกประการจากผู้ปกครอง และถูกปูทางให้คงอยู่เรื่อยมา  

การดำรงอยู่ของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อค้ำจุนอำนาจผู้ปกครองให้คงอยู่อย่างมิเสื่อมสลายนั่นเอง  

ดังนั้นอะฮ์ลุสสุนนะฮ์จึงเป็นมัซฮับเดียวในโลกที่คอยรับใช้ฐานอำนาจทางการเมืองของผู้ปกครอง    

ดั่งเช่นที่บรรดาผู้ปกครองรัฐอิสลามได้พยายามประกาศโฆษณาให้สาธารณชนเชื่อว่า " อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ " เป็นมัซฮับเดียวที่ปฏิบัติตามซุนนะฮ์ของศาสดามุฮัมมัด  

ในทางกลับกันมัซฮับซุนนี่ก็ได้พยายามดำเนินนโยบายทางการเมืองเหมือนพวกผู้ปกครองรัฐเช่นกันคือ พวกเขาพยายามชี้แจงต่อมวลมุสลิมว่า  มัซฮับ(กลุ่ม)ต่างๆที่มีความเชื่อไม่สอดคล้องตรงกับซุนนี่ ถือว่า " ผิด " หมด

กุศโลบายหนึ่งที่นักการศาสนาของซุนนี่ใช้โฆษณาชวนเชื่อกับประชาชนคือ การวาดภาพให้มุสลิมเห็นว่า  มัซฮับต่างๆที่ขัดแย้งต่อมัซฮับซุนนี่นั้นตั้งอยู่บนกิเลสอารมณ์และอุตริกรรม(อะฮ์ลุลฮาวาและอะฮ์ลุลบิดอะฮ์)ทั้งสิ้น  อีกทั้งยังสร้างความแตกแยกเสมอ
   
อีกกุศโลบายหนึ่งที่อุละมาอ์ซุนนี่นำมาใช้คือ พยายามอธิบายว่า มัซฮับซุนนี่ยังเป็นมัซฮับเดียวที่ปฏิบัติตาม "  กิตาบและซุนนะฮ์  "

   " มัซฮับอะฮ์ลุลบัยต์ หรือ มัซฮับชีอะฮ์อะลี "  จึงเป็นมัซฮับที่ถูกโจมตีหนักที่สุดในประวัติศาสตร์อิสลาม  

โลกซุนนี่ตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบัน ได้ทุ่มเทเขียนตำรับตำรามากมายเกี่ยวกับมัซฮับอะฮ์ลุลบัยต์ว่า ชีอะฮ์ได้แตกออกเป็นกลุ่มย่อยๆมากมาย อันมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางด้าน"อุศูลอะกีดะฮ์ "
   แต่ในขณะเดียวกันนักการศาสนาซุนนี่กลับหลีกเลี่ยงที่จะบอกเล่าให้โลกมุสลิมได้รับรู้ว่า  มัซฮับซุนนี่เองก็แตกแยกออกเป็นกลุ่มต่างๆมากมายเช่นกัน  (ฟิร็อก อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ )

จะเห็นได้ว่า ซุนนี่ ชอบวางมาตรการให้กับมุสลิมกลุ่มอื่นๆและชอบวิจารณ์มุสลิมกลุ่มอื่นๆมาโดยตลอด  ดังนั้นต่อไปนี้เราจะมาวิจารณ์เรื่องกลุ่มต่างๆของซุนนี่ทั้งในอดีตและปัจจุบันกันบ้างว่า พวกซุนนี่เขาแตกแยกกันเพราะอะไร ตามหลักฐานของพวกเขาเอง  เพื่อเป็นอนุสติเตือนใจแก่พี่น้องมุสลิม      อินชาอัลเลาะฮ์...


คำถามสำหรับซุนนี่

1-  มัซฮับซุนนี่ ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน แตกออกเป็นกี่กลุ่ม  เพราะอะไร


2- หากมัซฮับท่านถูกต้องจริง   ทำไมถึงแตกแยกกัน
[/color][/color]
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 12, 2009, 09:40:12 ก่อนเที่ยง
ตอนสอง


ประวัติศาสตร์อิสลาม ได้เกิดความขัดแย้ง(คิล๊าฟ)ต่างๆนานาอันนำไปสู่การแบ่งพรรคแบ่งฝ่าย ตามแนวความคิดมากมาย เริ่มตั้งแต่ท่านนบีมุฮัมมัดเสียชีวิตจนถึงปัจจุบัน

บรรดาผู้ที่เฝ้าจับตามองสภาพความขัดแย้งนี้ในอดีต จากบรรดานักวิชาการศาสนาและนักประวัติศาสตร์อิสลาม พวกเขาได้ยอมจำนนต่อปัจจัยเหตุทางการเมืองและมัซฮับที่ตนสังกัดเป็นหลักในการพิจารณาสาระเนื้อหา   พวกเขาพิจารณาไปตามทัศนะของมัซฮับอะฮ์ลุสสุนนะฮ์(ซุนนี่)  แต่พวกเขาไม่ได้พิจารณาว่าไปตามหลักฐาน

พวกเขาพิจารณาเหตุการณ์นั้นตามผู้ปกครองทั้งหลาย ไม่ใช่ตามความเป็นจริง

อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ได้สร้างความเชื่อว่า พวกตนคือกลุ่มที่อยู่บนสัจธรรม ถูกทั้งดุนยาและอาคิเราะฮ์  

ส่วนผู้ปกครองก็ถือว่าพวกข้าคือผู้นำประชาชาติมุสลิมซุนนี่ที่ถูกต้องที่สุด เพราะฮากิมทั้งหลายได้รับข้อมูลมาจากนักการศาสนาฝ่ายซุนนี่  จนพวกนักปกครองเหล่านั้นจึงมีทัศนะแบบเผด็จการขึ้น คือกลุ่มใดที่ขัดแย้งกับซุนนี่ถือว่าพวกเขาผิด และเป็นเช่นนี้เรื่อยมา...

จากนั้นจึงมีกฎหมายห้ามกล้ำกลายหรือแตะต้องมัซฮับอะฮ์ลุสสุนนะฮ์หรือชาวซุนนี่ในเชิงลบ   ถัดต่อมาก็ออกตำรานิกายต่างๆหรือสำนักคิดต่างๆในอิสลาม  ที่เขียนขึ้นด้วยปากกาของชาวซุนนี่เพื่อประกาศสงครามกับกลุ่มมุสลิมอื่นๆที่ขัดแย้งกับอะกีดะฮ์ของพวกเขา อีกทั้งยังโจมตีและกล่าวหากลุ่มอื่นๆว่า เฉไฉออกจากแนวทางที่เที่ยงตรงและหลงทาง

แต่กลับไม่มีนักเขียนซุนนี่คนใดหันไปมองความขัดแย้งภายในของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์เอง  และไม่มีนักเขียนซุนนี่คนใดสงสัยในอะกีดะฮ์  และแนวความคิดของกลุ่มต่างๆของพวกเขาเองที่ขัดแย้งกันภายใน  พวกซุนนี่มองว่าพวกตนวิเศษกว่าคนกลุ่มอื่น  

แล้วท่านจะได้ประจักษ์ถึงความจริงในข้อนี้ เมื่อถึงตอนที่ได้อ่านเรื่องราวกลุ่มต่างๆของซุนนี่ทั้งในอดีตและปัจจุบันว่า พวกซุนนี่ไม่ได้มีความพิเศษอะไรมากไปกวามุสลิมกลุ่มอื่นเลยสักสิ่งหนึ่ง  เพียงแค่พวกซุนนี่พยายามนำเสนอจุดบกพร่องของมัซฮับอื่นๆจนมองข้ามจุดบกพร่องของตัวเองก็เท่านั้น

ในหมู่ซุนนี่ได้เกิดกรณีพิพาท ขัดแย้งกันมากมายหลายเรื่องท่ามกลางพวกเขาเอง จนถึงขั้นตักฟีรกันเอง(คือฮุก่มกันเองว่าเป็นกาเฟร) และเลยเถิดไปจนถึงหลั่งเลือดฆ่าฟันกัน ซึ่งเราจะนำเสนอเรื่องราวเหล่านี้ในตอนต่อไป

แล้วเราจะให้ท่านได้ประจักษ์ถึงอะกีดะฮ์และความคิดของคนกลุ่มนี้ว่า มีความเลยเถิดและสุดโต่งต่อหลักฐานทางศาสนาและสติปัญญาขนาดไหน  อีกทั้งจะนำเสนอเรื่องราวของบรรดานักปกครองในขอบข่ายของคนกลุ่มนี้ที่ปฏิบัติอย่างไรกับมุสลิมกลุ่มอื่นที่ไม่เห็นด้วยกับพวกเขา


จุดประสงค์หลักของบทความนี้คือ  

เปิดโปงความจริงให้ท่านได้ทราบว่าโลกซุนนี่ได้เล่นการเมืองอย่างไรกับมุสลิมกลุ่มอื่นๆ และต้องการเสริมสร้างความเข้าใจให้กับพี่น้องมุสลิมว่า เราควรอยู่กันอย่างพี่น้อง  ควรมีความสมานฉันท์ ควรให้ความเคารพในสิทธิทางความคิดและความเชื่อของทุกฝ่าย  ควรพูดคุยและแลกเปลี่ยนแนวคิดในเชิงสร้างสรรค์   ควรรับฟังความเชื่อของผู้อื่นอย่างมีใจเป็นธรรม  ซึ่งประโยชน์ทั้งมวลก็คือ  ความเข้มแข็งสามัคคีในอุมมัตอิสลามนั้นเอง.
[/size][/color][/b]
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 12, 2009, 10:27:00 ก่อนเที่ยง
ตอนสาม

ความคิดเรื่อง " ผู้นำ " ( الإمَامَةُ )


คือเมล็ดพันธ์แห่งความขัดแย้งหลักในหมู่ประชาชาติอิสลาม   ถ้าหากบรรดาฮากิม(พวกผู้กุมอำนาจ)ไม่เข้ามาก้าวก่าย เรื่องต่างๆก็จะดำรงอยู่อย่างเที่ยงตรง และปัญหาคิลาฟียะฮ์ก็จะไม่เกิดขึ้น

แต่เรื่องมันกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะพวกผู้ปกครองผู้มีอำนาจทั้งหลายดันไปหยิบเอาเครื่องแบบของผู้นำอิสลามมาสวมใส่  และพวกนักการศาสนาก็ให้การสนับสนุนความผิดพวกฮากิมเหล่านั้น เรื่องมันจึงบานปลาย  
นับจากนั้นเรื่อยมาเมล็ดพันธ์ของความขัดแย้งมันจึงถูกหว่านลงไปบนดินและเจริญเติบโตแตกกิ่งก้านสาขา ออกดอกออกผลมาเป็นมุสลิมกลุ่มต่างๆ(ฟิรเกาะฮ์และญะมาอัต)มากมายห้ำหั่นกันเอง ส่งผลทำให้โลกมุสลิมล้าหลัง เสื่อมถอยลงไป  

สรุปความได้ว่า บทบาทและภาพลักษณ์ของทุกกลุ่มที่เกิดความขัดแย้งและห้ำหั่นกันเองนับจากวันที่ท่านนบีมุฮัมมัดวะฟาตไป สาเหตุหลักของมันคือเพราะ  

[size=1]พวกเขาขาด " ผู้นำที่แท้จริง " และถูกต้องตามหลักการอิสลาม


ในเมื่ออิสลามเป็นศาสนาสุดท้าย และมุฮัมมัดก็เป็นนบีคนสุดท้าย  ดังนั้นเมื่อท่านจากไป  ก็จำเป็นต้องมีเครื่องมือหรืออุปกรณ์อะไรสักอย่างหนึ่งมาควบคุมอิสลามและการเคลื่อนไหวของโลกมุสลิมหลังจากท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ)
และตัวควบคุมที่ว่านี้ก็คือ  ผู้นำอิสลาม (อัลอิมามะฮ์).

แต่เรากลับไม่ค่อยมีผู้นำอิสลามที่แท้จริงขึ้นมาดูแลอิสลามและควบคุมโลกมุสลิมเลยหลังการวะฟาตของท่านรอซูล(ศ)  

มีแต่พวกฮากิมหรือซุลตอนตอฆูต ที่ทำตัวไม่อยู่ในครรลองอิสลามขึ้นมาควบคุมดูแลโลกมุสลิมเสียส่วนมาก อีกทั้งยังมีพวกนักการศาสนา(อุละมาอ์ดุนยา)ให้การสนับสนุนฮากิมโฉดเหล่านั้นมาโดยตลอดนั่นเอง


เพราะฉะนั้น หากพี่น้องมุสลิมถามว่า  ทำไม มุสลิมต้องทะเลาะกันต้องขัดแย้งกัน ?


คำตอบสัจธรรมคือ  พวกฮากิม(นักปกครองชั่ว)กับอุละมาอ์ดุนยา คือต้นกำเนิดของการแบ่งพวกแบ่งเหล่า และคือสาเหตุของความขัดแย้งในหมู่มุสลิมนั่นเอง.  



เพราะการรายงานและคำฟัตวาของพวกฮากิมตอฆูตและอุละมาอ์ดุนยาคือต้นเหตุที่แท้จริงของเรื่องคิลาฟียะฮ์ในโลกมุสลิม  

ด้วยเหตุนี้เราจึงจำเป็นต้องย้อนกลับไปศึกษาสิ่งที่พวกเขาเหล่านั้นก่อไว้ในอดีตที่ส่งผลมาถึงเราในยุคปัจจุบัน
ที่ต้องมาห้ำหั่นกัน มาถกเถียงกัน

และผลสุดท้ายต้องแตกกันเป็นมัซฮับต่างๆมากมาย และนี่คือสิ่งที่เราต้องการนำเสนอให้ท่านทราบต่อไป  

อินชาอัลเลาะฮ์ ตะอาลา  
[/size][/b][/b][/size]
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 15, 2009, 12:33:48 หลังเที่ยง
ตอนสี่

จากตรงนี้ จึงจำเป็นตรงนำเสนอประเด็นที่เกิดความขัดแย้งกัน ที่ปรากฏหลังจากที่ท่านนบีมุฮัมมัดวะฟาตแล้ว และผลลัพท์ที่แตกออกมาเป็นกลุ่มเป็นก๊กต่างๆ อันควรกล่าวถึงมัน

เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจปัจจัยเหตุต่างๆ    ที่ผลักดันให้อุบัติเป็นกลุ่มอะฮ์ลุสสุนนะฮ์มากมาย และปรากฏกลุ่มอื่นๆที่ไม่ลงรอยกับอะฮ์ลุสสุนนะฮ์   ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้เกิดปัญหาการกระทบกระทั่งกันเรื่อยมา

เพราะปัญหาขัดแย้งในสมัยแรกๆ จนมาถึงปัจจุบันนั้นคือ ปัญหาเดียวกันที่เคยเกิดขึ้นในอดีตมาแล้ว

เราทราบดีว่า ในสมัยท่านนบีมุฮัมมัด มีพวกมุชริกที่ประกาศตัวชัดและพวกมุนาฟิกแฝงกายเข้ามาในอิสลามเพื่อหวังทำลายอิสลาม แต่อัลกุรอ่านได้ประกาศชัดถึงจุดยืนของพวกเหล่านั้น

ในเมื่อในยุคท่านนบียังมีคนจำนวนหนึ่งทำตัวเช่นนั้น แล้วหลังจากท่านนบีจากไปล่ะ  ท่านคิดว่า จะไม่มีคนประพฤติตัวเช่นนั้นอีกหรือ    มันต้องมีอย่างแน่นอน   เพียงแต่โลกซุนนี่ได้วางเงื่อนไขเอาไว้ว่า
ห้ามวิพากษ์วิจารณ์ถึงพฤติกรรมของเศาะหาบะฮ์และตาบิอีนในเชิงลบ   ต่อมาก็รวมทั้งพวกผู้ปกครองราชวงศ์อุมัยยะฮ์และอับบาซียะฮ์
เมื่อห้ามเปิดเผยความจริงและห้ามวิพากษ์ ประชาชนก็ไม่อาจรับรู้ความจริงได้ ตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น   แต่ช้างตายทั้งตัวใบบัวย่อมปิดไม่มิด   ดังนั้นเราจึงยังพบเรื่องราวความขัดแย้งและความประพฤติของคนรุ่นก่อนถูกบันทึกไว้ในตำราของซุนนี่เองมากมาย

ชะฮ์รอสตานีได้สรุปเรื่องขัดแย้งหลักๆเอาไว้ในหนังสืออัลมิลัลวันนิฮัล ดังนี้คือ


1. เรื่องที่ท่านนบีขอกระดาษกับหมึกมาบันทึกวะซียัตของท่าน เพื่อจะได้ไม่หลงทางหลังจากท่านอีกต่อไป แต่เศาะหาบะฮ์ที่อยู่ตรงนั้นเกิดขัดแย้งกันเองโดยแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งให้ไปเอามา อีกฝ่ายหนึ่งบอกท่านป่วยหนักไม่ต้องไปเอามา สุดท้ายท่านนบีขอให้ออกไปจากท่านให้หมดเพราะมาขึ้นเสียงกันเอ็ดอึงต่อหน้าท่าน
2. เรื่องขัดแย้งที่สอง เมื่อท่านนบีสั่งให้เศาะหาบะฮ์ออกไปรบกับพวกโรมที่ซีเรีย ภายใต้การบังคับบัญชาของแม่ทัพอุซามะฮ์ บุตรเซด เศาะหาบะฮ์ได้แตกออกเป็นสองฝ่ายเหมือนเดิมคือ ฝ่ายหนึ่งบอกว่าเราจำเป็นต้องทำตามคำสั่งนบี อีกฝ่ายหนึ่งบอกว่า ท่านนบีป่วย พวกเขาไม่มีใจออกไปรบจะรอดูอาการของท่านก่อน
3. เรื่องที่ท่านนบีเสียชีวิต เศาะหาบะฮ์ก็แตกออกเป็นสองความคิดคือ ฝ่ายหนึ่งไม่เชื่อว่านบีตายและห้ามใครพูดว่านบีตาย ส่วนอีกฝ่ายยืนยันว่านบีได้ตายแล้วจริงๆ
4. เรื่องการฝังร่างท่านนบี เศาะหาบะฮ์ได้แตกออกเป็นสามความคิดคือ ฝ่ายมุฮาญิรีนเห็นว่าควรเอาไปฝังที่มักกะฮ์ ฝ่ายอันศ็อรบอกว่าควรฝังไว้ที่มะดีนะฮ์ และฝ่ายที่สามบอกว่าควรนำร่างท่านไปฝังที่บัยตุลมักดิสเพราะเป็นที่ฝังบรรดานบี
5. เรื่องผู้นำ ที่จะขึ้นมาปกครองอาณาจักรอิสลามต่อท่านนบีมุฮัมมัด ตัวชะฮ์รอสตานีเองกล่าวว่าเรื่องผู้นำนั้นนับเป็นเรื่องที่มุสลิมหลั่งเลือดกันมากที่สุด ซึ่งฝ่ายมุฮาญิรีนกับอันศ็อรก็เคยขัดแย้งกันมาแล้วหลังนบีวะฟาต
6. เรื่องที่ดินสวนฟะดักและมรดกของท่านนบี ซึ่งฟาติมะฮ์บุตรสาวนบีได้มาร้องขอสิทธินี้กับท่านอบูบักร แต่ไม่ได้รับเพราะท่านอบูบักรยกหะดีษมาว่า นบีทุกคนไม่มีมรดก สิ่งของที่เหลืออยู่ทั้งหมดคือเศาะดะเกาะฮ์ ผลลงเอยทั้งสองต้องขัดแย้งจนนางฟาติมะฮ์โกรธไม่พูดกับท่านอบูบักรจนเสียชีวิต
7. เรื่องปราบปรามผู้ที่ไม่ยอมจ่ายซะกาต เศาะหาบะฮ์ได้ขัดแย้งกันสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งกล่าวว่าพวกเขาจะไม่รบกับพวกนี้ในฐานะกาเฟร อีกฝ่ายหนึ่งกล่าวว่าเราจะรบกับพวกไม่จ่ายซะกาตในฐานะมุรตัด
8. เศาะหาบะฮ์ขัดแย้งกันเรื่องที่ท่านอบูบักรได้แต่งตั้งท่านอุมัรเป็นคอลีฟะฮ์สืบต่อหลังจากท่าน ซึ่งมีเศาะหาบะฮ์ส่วนหนึ่งที่ไม่ยอมรับการแต่งตั้งนี้
9. เศาะหาบะฮ์ได้เกิดขัดแย้งกันอีกครั้งในเรื่องที่ท่านอุมัรแต่งตั้งคณะชูรอไว้เพื่อคัดเลือกคอลีฟะฮ์สืบต่อจากท่าน ซึ่งผลลงเอยคือท่านอุษมานได้เป็นคอลีฟะฮ์ที่สาม
10. หลังจากท่านอุษมานถูกเศาะหาบะฮ์บางคนสังหาร ท่านอะลีก็ได้รับคัดเลือกให้เป็นคอลีฟะฮ์ เศาะหาบะฮ์บางคนคือท่านต็อลหะฮ์กับซุเบรซึ่งได้ให้บัยอัตกับท่านอะลีในตอนแรก แต่ต่อมาได้ตระบัดสัตย์ หันไปเข้าร่วมกับท่านหญิงอาอิชะฮ์ยกทัพออกมารบกับคอลีฟะฮ์อะลี เรียกสงครามนี้ว่า ฮัรบุ ญะมัล – สงครามอูฐ ต่อมามุอาวียะฮ์กับชาวซีเรียก็ต่อต้านคอลีฟะฮ์อะลีก้เกิดการรบกันอีกเรียกสงครามนี้ว่า ซิฟฟีน หลังการยุติสงครามนี้ก็เกิดคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่พอใจท่านอะลีและมุอาวียะฮ์ จึงแยกตัวออกไปตางหากมีชื่อว่า พวกเคาะวาริจญ์ในที่สุดท่านคอลีฟะฮ์อะลีต้องยกทัพไปปราบ

ชะฮ์รอสตานีถือว่า เรื่อง" ผู้นำ " นั้นคือสาเหตุหลักของความขัดแย้งในอุมมัตอิสลาม จนก่อกำเนิดก๊ก,กลุ่มหรือสำนัดคิดต่างๆขึ้นมาในโลกอิสลาม

             เมื่อศาสดามุฮัมมัด(ศ)จากไป  เศาะหาบะฮ์ได้แบ่งออกเป็น  3  ก๊ก  เหตุผลของพวกเขาคือ

1.   ต้องการให้คนในเผ่าของตนเป็นผู้นำ(คอลีฟะฮ์)  
ฝ่ายมุฮาญิรีน  สนับสนุนให้ท่านอบูบักรเป็นคอลีฟะฮ์เพราะมาจากเผ่ากุเรช
ฝ่ายอันศ็อร ต้องการให้ท่านสะอัด บินอุบาดะฮ์เป็นคอลีฟะฮ์  เพราะมาจากเผ่าคอซร็อจญ์

2.   ฝ่ายบนีฮาชิม กล่าวว่า ท่านอะลีต้องเป็นคอลีฟะฮ์  เพราะท่านนบีแต่งตั้งไว้

เรื่องก็สรุปลงด้วยการที่ท่านอุมัรชิงให้บัยอัตต่อท่านอบูบักรคนแรกและตามมาด้วยคนที่อยู่ในสะกีฟะฮ์ โดยที่ท่านสะอัดไม่ยอมให้บัยอัตในวันนั้น  
การเลือกผู้นำที่สะกีฟะฮ์วันนั้น ไม่มีอะฮ์ลุลบัยต์แห่งบนีฮาชิมเข้าร่วม   นับจากวันนั้นเศาะหาบะฮ์จึงเกิดความบาดหมางกัน และแบ่งออกเป็นสองฝ่ายคือ
- ฝ่ายมุฮาญิรีนกับอันศ็อรสนับสนุนท่านอบูบักรเป็นคอลีฟะฮ์
- ฝ่ายนบีฮาชิมและเศาะหาบะฮ์บางส่วนถือว่า ท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์ที่แท้จริง

ซุนนี่ได้เล่าถึงเหตุการณ์เลือกตั้งที่กระท่อมสะกีฟะฮ์นบีซาอิดะฮ์ไว้ดังนี้

ท่านอิบนุ ฮะญัรได้กล่าวว่า "ฉนั้นจึงเป็นที่ทราบกันดีถึงสิ่งที่เราได้ยืนยันไว้จากการอิจมาอฺของบรรดาสาวกและชนรุ่นหลังจากพวกท่านต่อการมีสิทธิสมควรที่สุดในการเป็นค่อลีฟะห์ของท่านอบูบักรและกรณีดังกล่าวก็ย่อมพอเพียงแล้วถึงแม้ว่าจะไม่มีตัวบทระบุถึงการแต่งตั้งท่าน ยิ่งไปกว่านั้นการอิจมาอฺของเหล่าสาวกยังมีน้ำหนักมากกว่าบรรดาตัวบททั้งหลายที่มิใช่มุตะวาติรอีกด้วยทั้งนี้เพราะการมีผลของอิจมาอฺนั้นมีความแน่นอนส่วนการมีผลของบรรดาตัวบทที่มิใช่มุตะวาติรนั้นเป็นเพียงการคาดคะเนที่มิแน่นอน"

ชาวอันซ๊อร (ชาวนครม่าดีนะห์ที่ให้การช่วยเหลือท่านศาสดาและเหล่าสาวกจากนครมักกะห์) ได้ร่วมชุมนุมหารือกัน ณ กระโจมแห่งตระกูลบ่านีซาอิดะฮฺ (ซ่ากีฟะห์) เพื่อทำการเลือกท่านสะอฺด์ อิบนุ อุบาดะห์ (รฎ.) ให้ดำรงตำแหน่งค่อลีฟะห์สืบต่อจากท่านศาสดา (ซ.ล.) ซึ่งต่อมาในช่วงท้ายของการประชุมก็ได้มีมติเห็นพ้องจากทั้งสองฝ่ายคือฝ่ายชาวอันซ๊อร และฝ่ายมุฮาญีรีน (บรรดาผู้อพยพจากนครมักกะห์) ที่มาสมทบในการประชุมในช่วงหลังให้เลือกท่านอบูบักร อัซซิดดิ๊ก (รฎ.) ดำรงตำแหน่งค่อลีฟะห์สืบต่อจากท่านศาสดา (ซ.ล.)

อ้างอิงจากเวป ชมรมนักวิชาการมุสลิมปทุมธานี
http://gangland-dota.is.in.th/?md=content&ma=show&id=53

เมื่อได้อ่านบทความของนักวิชาการซุนนี่แห่งจังหวัดปทุมธานีแล้ว  สามารถสรุปได้ว่า

หนึ่ง - การขึ้นดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ์ของท่านอบูบักร  ไม่มีตัวบทหลักฐานระบุถึงการแต่งตั้งท่าน  เพราะฉะนั้นท่านอัน-นะวาวี เจ้าของหนังสือชะเราะฮ์ เศาะฮีฮุลมุสลิมจึงกล่าวว่า
قال النووي : وَفِي هَذَا الْحَدِيث : دَلِيل أَنَّ النَّبِيّ صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وسَلَّمَ لَمْ يَنُصّ عَلَى خَلِيفَة ، وَهُوَ إِجْمَاع أَهْل السُّنَّة وَغَيْرهَا ،
شرح النووي على صحيح مسلم بن الحجاج  ج 6  ص 291 ح : 3399
ในหะดีษนี้(คือหะดีษที่ 3399 ) คือดะลีล(หลักฐาน)ที่ระบุว่า  : ท่านนบี(ศ)ไม่ได้แต่งตั้งใครเป็นคอลีฟะฮ์
อ้างอิงจากชัรฮุล นะวาวี เล่ม  6 : 291 หะดีษที่ 3399

สอง –ฝ่ายนบีฮาชิมและเศาะหาบะฮ์ที่สนับสนุนท่านอะลี  กล่าวว่ามีหลักฐานการแต่งตั้งท่านอะลีจากปากของท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ)ก่อนอำลาจากโลกนี้ไปเช่น หะดีษบทนี้
21618 - حَدَّثَنَا عَبْدُ اللهِ حَدَّثَنِيْ أَبِيْ  حَدَّثَنَا الْأَسْوَدُ بْنُ عَامِرٍ حَدَّثَنَا شَرِيكٌ عَنِ الرُّكَيْنِ عَنِ الْقَاسِمِ بْنِ حَسَّانَ عَنْ زَيْدِ بْنِ ثَابِتٍ قَالَ
قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِنِّي تَارِكٌ فِيكُمْ خَلِيفَتَيْنِ كِتَابُ اللَّهِ حَبْلٌ مَمْدُودٌ مَا بَيْنَ السَّمَاءِ وَالْأَرْضِ أَوْ مَا بَيْنَ السَّمَاءِ إِلَى الْأَرْضِ وَعِتْرَتِي أَهْلُ بَيْتِي وَإِنَّهُمَا لَنْ يَتَفَرَّقَا حَتَّى يَرِدَا عَلَيَّ الْحَوْضَ
ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ็อลฯ)กล่าวว่า : แท้จริงฉันได้มอบสองคอลีฟะฮ์ไว้ในหมู่พวกท่าน (คอลีฟะฮ์แรกคือ) คัมภีร์ของอัลเลาะฮ์คือเชือกทอดอยู่ระหว่างฟ้ากับดิน
และ(คอลีฟะฮ์ที่สอง) อิตเราะตี คืออะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน และแท้จริงสองสิ่งนี้จะไม่มีวันแยกจากกัน จนกว่าจะกลับมายังฉันที่อัลเฮาฎ์(สระเกาซัร)
อ้างอิงจาก  มุสนัดอิหม่ามอะหมัด
เชคอัลบานีกล่าวว่า เป็นหะดีษเศาะหิ๊หฺ  ดูซอฮีฮุล ญามิอิซ-ซอฆีร หะดีษที่ 2457  
เชคชุเอบ อัลอัรนะอูฏีกล่าวว่า  เป็นหะดีษเศาะหิ๊หฺ  ดูมุสนัดอิหม่ามอะหมัด หะดีษที่ 21618
 

ท่านผู้อ่านอาจแปลกใจว่า ทำไมเศาะหาบะฮ์ในวันนั้น  ไม่รู้หะดีษบทนี้หรือหะดีษทำนองนี้  ตอบง่ายๆก็คือ เพราะท่านอะลีและนบีฮาชิมไม่ได้อยู่ที่กระท่อมในวันนั้น  หากอยู่ท่านอะลีคงได้ยกหะดีษทำนองนี้ให้ชาวมุฮาญิรีนและอันศ็อรได้สดับฟัง

ศาสนาอิสลามตั้งเค้าแห่งการแตกแยกเป็นสามก๊ก  ทำสงครามหลั่งเลือดระหว่างก๊กหรือเผ่าพันธุ์กันมาอีกหลายศตวรรษ  เริ่มต้นจากที่กระท่อมสะกีฟะฮ์นบีซาอิดะฮ์แห่งนี้เอง    นับเป็นจุดกำเนิดลัทธิ (มัซฮับ,ฟิรเกาะฮ์,ญะมาอะฮ์)ของอิสลามและดินแดนอาหรับ  ซึ่งส่งผลสะท้อนขยายไปอีกหลายประเทศทั่วโลกตั้งแต่บัดนั้นสืบมาตราบกระทั่งถึงปัจจุบัน  

มาถึงยุคที่ท่านคอลีฟะฮ์อุษมานถูกเศาะหาบะฮ์บางคนสังหาร ความขัดแย้งระหว่างมุอาวียะฮ์แห่งตระกูลอุมัยยะฮ์ กับท่านคอลีฟะฮ์อะลีแห่งบนีฮาชิมเริ่มรุนแรงและเด่นชัดขึ้น.

ติดตามตอนต่อไป
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 15, 2009, 02:31:14 หลังเที่ยง


ตอนห้า


กลุ่มอุมาวีย์       มีผู้นำกลุ่มชื่อ มุอาวียะฮ์ บุตรอบูสุฟยาน ได้ประกาศตนต่อต้านคำสั่งจากคอลีฟะฮ์อะลี ผู้นำที่มวลมุสลิมในยุคนั้นได้มอบบัยอัตให้กับท่าน  โดยเอาเรื่องการตายของท่านอุษมานมาเป็นเรื่องบังหน้า
แล้วมุอาวียะฮ์คนนี้คือคนที่ท่านอุมัร บินคอตตอบได้แต่งตั้งเขาให้ไปปกครองที่ซีเรีย ได้มอบอำนาจให้กับเขาเพื่อให้ชายผู้นี้ก่อสร้างพรรคพวกสร้างกลุ่มของตนเองขึ้นมา
 

จะเห็นได้ว่า    ในยุคที่ท่านอะลีขึ้นเป็นคอลีฟะฮ์ปกครองอาณาจักรอิสลาม ได้ปรากฏกลุ่มต่อต้านการปกครองของท่านขึ้นสามกลุ่มคือ
1.   ท่านหญิงอาอิชะฮ์ โดยมีเศาะหาบะฮ์ชื่อท่านตอลหะฮ์ บุตรอุบัยดุลลอฮ์กับท่านซุเบรบินเอาวามและพวก ได้ยกทัพมารบกับท่านอะลีเรียกสงครามญะมัล

2.   มุอาวียะฮ์และพวกของเขา โดยมีเศาะหาบะฮ์บางคนให้การสนับสนุนเขาเช่น ท่านอัมรู บินอาศ , ท่านอบูฮุรอยเราะฮ์ , มุฆีเราะฮ์ บินชุอ์บะฮ์ รวมทั้งชาวเมืองช่าม คนกลุ่มนี้ได้ยกทัพมารบกับท่านอะลี เรียกสงครามซิฟฟีน

3.   พวกเคาะวาริจญ์  ซึ่งแยกตัวออกไปจากท่านอะลีและไม่เห้นด้วยกับมุอาวียะฮ์ สุดท้ายถูกท่านอะลียกทัพไปปราบ แต่คนกลุ่มนี้ยังหลงเหลือและในที่สุดก็กลับมาลอบสังหารท่านอะลีได้สำเร็จ


หลังจากคอลีฟะฮ์อะลีถูกลอบสังหาร  มุอาวียะฮ์สามารถรวบรวมอำนาจการปกครองอาณาจักรอิสลามไว้ในกำมือ  และเขาได้ประกาศการปกครองระบอบกษัตริย์ขึ้น (มะลิก -  ملك ) เป็นคนแรกในประวัติศาสตร์อิสลาม และสถาปนาตัวเองขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์อุมัยยะฮ์ โดยมีซีเรียเป็นศูนย์กลาง มีเมืองหลวงชื่อดามัสกัส
และปีนั้นคือปีที่มุอาวียะฮ์ เรียกมันว่า อามุล- ญะมาอะฮ์ – عام الجماعة  ปีแห่งการรวมพลเมืองมาไว้ภายใต้การปกครองของเขา


แล้วมุอาวียะฮ์ก็ได้เริ่มกุหะดีษต่างๆนานาขึ้นมา   โดยได้รับการสนับสนุนจากเศาะหาบะฮ์บางคน  บัดนี้เองศิลาฤกษ์ได้ถูกวางลงสำหรับการก่อกำเนิดกลุ่มอะฮ์ลุสสุนนะฮ์    จากนั้นพวกที่อยู่กับราชวงศ์อุมัยยะฮ์ก็เรียกประชาชนที่ให้การสนับสนุนอะฮ์ลุลบัยต์นบีว่า  " พวกชีอะฮ์ " เป็นอันจบยุคสมัยความแตกแยกระหว่างกลุ่มมุฮาญิรีนกับอันศ็อร  ยกเว้น " กลุ่มเคาะวาริจญ์ " ที่ยังหลงเหลืออยู่อีกหนึ่งกลุ่ม

สรุปได้ว่า ในช่วงฮ.ศ.ที่ 41 เป็นต้นมา มุสลิมได้แบ่งออกเป็นกลุ่มหลักๆสามกลุ่มคือ

1.   กลุ่มฝ่ายรัฐ ซึ่งปกครองโดยราชวงศ์อุมัยยะฮ์  และให้การสนับสนุนกลุ่มอะฮ์ลุสสุนนะฮ์
2.   กลุ่มชีอะฮ์  ซึ่งต่อต้านการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์
3.   กลุ่มเคาะวาริจญ์

ต่อมาไม่นานก็ปรากฏกลุ่มที่มีชื่อว่า " มุรญิอะฮ์ " ขึ้นหลังจากนั้น ซึ่งคนกลุ่มนี้ไม่ฝักใฝ่ไปกับคนสามกลุ่มแรก เพราะมองเป็นปัญหาการเมือง


กลุ่มมุอาวียะฮ์ ก็ไม่ยอมรับ ชีอะฮ์ กับเคาะวาริจญ์
กลุ่มชีอะฮ์ ก็ไม่ยอมรับมุอาวียะฮ์และเคาะวาริจญ์
ส่วนพวกเคาะวาริจญ์ก็ฮุก่มว่า ทั้งกลุ่มชีอะฮ์และกลุ่มมุอาวียะฮ์นั้นเป็นกาเฟร[/c


ติดตามตอนต่อไป
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 15, 2009, 05:23:28 หลังเที่ยง

ตอนหก


" กลุ่มมุรญิอะฮ์ "

ประกอบไปด้วยเศาะหาบะฮ์และตาบิอีนจำนวนหนึ่งซึ่งนิ่งเฉยไม่เข้าไปพัวพันกับความขัดแย้งของคนสามกลุ่มที่กล่าวมาแต่ต้น


ต่อมามีชายชื่อ " ฮาซัน อัลบัศรี "(ค.ศ. 642-728)

ปรากฏตัวขึ้นพร้อมกับมีศานุศิษย์ที่ร่ำเรียนกับเขาจนก่อตัวเป็นอีกกลุ่มหนึ่ง(คือพวกซูฟี)  โดยคนกลุ่มนี้เน้นเรื่องความสมถะและการถือสันโดษไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง


ถัดมาก็ปรากกฏสำนักมุอฺตะซิละฮ์ (معتزلة) จัดตั้งขึ้นโดย วาศิล บินอะฏออ์ (ค.ศ. 699-749)

ศิษย์ที่มีความคิดแตกต่างไปจากฮาซัน อัลบัศรีผู้เป็นอาจารย์ในเรื่อง คนทำบาปใหญ่ ( อัลกะบีเราะฮ์)  


เรื่องมีอยู่ว่าครั้งหนึ่งมีคนเข้ามาพบฮาซัน อัลบัศรี (เป็นตาบิอี) เขาถามว่า

โอ้ท่านผู้นำศาสนา   ในสมัยของเราปรากฏคนกลุ่มหนึ่งไปฮุก่มบรรดาผู้ที่ทำบาปใหญ่ในอิสลามว่าเป็นกาเฟร  บาปใหญ่ในทัศนะของพวกเขาคือการกุโฟ้ร ทำให้หลุดพ้นจากอิสลาม คนที่มีทัศนะเช่นนี้คือ  " พวกเคาะวาริจญ์ "  

ส่วนอีกพวกหนึ่งก็บอกว่า         การทำบาปใหญ่ไม่ได้มีโทษส่งผลให้อีหม่านของเขาเสียหาย กล่าวคือมะอ์ซิยัต(บาป)ไม่อาจทำอันตรายต่ออีหม่านของเขาได้คนพวกนี้คือ \\\" พวกมุรญิอะฮ์ \\\"

ชายผู้นั้นได้ถามฮะซัน บัศรีว่า ท่านจะตัดสินให้พวกเราอย่างไรกับอะกีดะฮ์เช่นนั้น ?

ในขณะที่อาซันบัศรีกำลังคิดใคร่ครวญก่อนที่จะให้คำตอบ     วาศิล บินอะฏออ์ก็ชิงตอบแทนอาจารย์ว่า  

ฉันไม่เห็นว่า คนทำบาปใหญ่เป็นผุ้มีอีหม่านและเขาก็ไม่ใช่กาเฟร แต่เขานั้นอยู่ในสถานะระหว่างทั้งสอง(منزلة بين المنزلتين : لا مؤمن ولا كافر) คือไม่ใช่มุอ์มินและไม่ใช่กาเฟร

จากนั้นวาศิลได้ลุกขึ้นไปนั่งที่เสาต้นหนึ่งในมัสญิดตางหาก และเขายังยืนกรานต่อคำตอบที่ได้ให้กับกลุ่มลูกศิษย์ที่นั่งอยู่กับท่านฮาซันบัศรี

ท่านฮาซันบัศรีจึงกล่าวว่า
فقال الحسن : اعتزل عنا واصل فسمي هو وأصحابه : معتزلة .
วาศิลได้แยกตัวออกไปจากพวกเราแล้ว ดังนั้นวาศิลกับพวกของเขาจึงถูกเรียกว่า มุอ์ตะซิละฮ์  


ความจริงคนทำบาปใหญ่ที่ฮาซัน บัศรีถูกถามถึงนั้นหมายถึง บรรดาพวกผู้ปกครองในยุคนั้นที่ละเมิดบทบัญญัติอิสลามและสิทธิของบรรดามุสลิม  ซึ่งไม่ค่อยจะมีใครออกมาชี้แจงต่อต้านการกระทำของพวกฮากิมชั่วเหล่านั้นเลย  

พฤติกรรมตั้งแต่ยุคมุอาวียะฮ์ปกครองจนมาถึงสมัยของวาศิล คือสิ่งที่คลุกกรุ่นอยู่ในจิตใจของวาศิลมาโดยตลอด วาศิลจึงต้องการปลุกผู้คนในสมัยนั้นให้กล้าแสดงความคิด(العقلي)       จนทำให้เขากล่าวเช่นนั้นและต้องสร้างกลุ่มมุอ์ตะซิละฮ์นี้ขึ้นมา
ซึ่งเอกลักษณ์ของพวกมุอ์ตะซิละฮ์คือ เน้นที่เรื่องการใช้สติปัญญา(อักลี) มากกว่าการใช้ตัวบทศาสนา(นักลี)


   แน่นอนแนวคิดของกลุ่มมุอ์ตะซิละฮ์นี้ไม่เป็นผลดีต่อฝ่ายรัฐที่ปกครองโดยราชวงศ์อุมัยยะฮ์  ดังนั้นพวกอุมัยยะฮ์จึงต้องคิดอ่านทำอะไรสักอย่างเพื่อกำจัดคนกลุ่มนี้ออกไปจากเส้นทางการครองบัลลังค์ของพวกเขา.


เหมือนที่ราชวงศ์ซาอูด มีความพอใจต่อแนวทางวาฮาบีของเชคมุฮัมมัด บินอับดุลวาฮาบที่ค้ำจุนราชวงศ์นี้มาโดยตลอด

ดังนั้นคนในราชวงศ์แห่งซาอุดิอารเบียจึงให้การอุปถัมค้ำจุนคนกลุ่มวาฮาบีมาโดยตลอด  

ในทางกลับกันราชวงศ์ซาอูดไม่เคยพอใจต่อแนวทางอะฮ์ลุลบัยต์และพวกชีอะฮ์  เพราะพวกชีอะฮ์มีความคิดว่า ผู้นำ ผู้ปกครองที่มีความเคร่งครัดในศาสนาเท่านั้นจึงสมควรเป็นผู้ปกครองประเทศ เหมือนที่ชาวอิหร่านช่วยกันโค่นล้มกษัตริย์ชาฮ์ลง และหันมาปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐอิสลามซึ่งนำโดยผู้นำทางจิตวิญญาณคือท่านอยาตุลเลาะฮ์ โคมัยนี่  และสืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบันคือท่านอยาตุเลาะฮ์ คอเมเนอี  

แต่ประเทศซาอุดิอารเบีย เมืองแม่ของศาสนาอิสลาม ไม่เคยมีวาฮาบีคนใดตั้งแต่ระดับอุละมาอ์จนถึงชนชั้นรากหญ้ามีความคิดที่จะโค่นล้มกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซาอูดที่ทำตัวไม่อยู่ในครรลองอิสลาม  เพื่อฟื้นฟูระบอบที่ท่านรอซูลุลเลาะฮ์นำมายังดินแดนฮิญาซเมื่อพันสี่ร้อยปีที่แล้ว
จนถุกมุอาวียะฮ์เปลี่ยนแปลงมันไป

เพราะฉะนั้นชีอะฮ์จึงเป็นศัตรูของกษัตริย์แห่งซาอุดิอารเบียและวาฮาบี เพระพวกเขาทั้งสองฝ่ายคือพันธ์มิตรกันมาตั้งแต่แรก

ดังที่ท่านจะเห็นได้ว่า  ทำไม วาฮาบี จึงพยายาม โจมตี ชีอะฮื ทุกวิถีทาง เท่าที่จะทำได้ เหมือนที่บรรพบุรุษของพวกเขาเคยทำมาโดยตลอดนั่นเอง  

 
ติดตามตอนต่อไป  
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 16, 2009, 11:26:33 ก่อนเที่ยง
ตอนเจ็ด

วาศิล บินอะฏออ์

ผู้ก่อตั้งมัซฮับมุอ์ตะอ์ซิละฮ์  (เกิด ฮ.ศ.80 - 131 / 700  -748  ค.ศ.)อยู่ในยุคการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์ดังนี้

685-705   อับดุลมะลิก
705-715   อัลวะลีด ที่ 1
715-717   สุไลมาน
717-720   อุมัร บินอับดุลอะซีซ
720-724   ยะซีด ที่ 2
724-743   ฮิช่าม
743-744   อัลวะลีดที่ 2
744-744   ยะซีดที่ 3
744-744   อิบรอฮีม
744-750   มัรวาน อัลฮิมาร (มัรวานที่ 2)

เมื่อราชวงศ์อุมัยยะฮ์ต้องเผชิญกับวาศิลและพวกมุอ์ตะซิละฮ์  ดังนั้นในเวลาเดียวกันก็ปรากฏมัซฮับฮานาฟีขึ้นที่ประเทศอิรัค และมัซฮับมาลิกีขึ้นที่เมืองมะดีนะฮ์  

เพื่อมาตอบโต้กับกลุ่มมุอ์ตะซิละฮ์  และยังปรากฏกลุ่มอะฮ์ลุลหะดีษขึ้นมาอีกหนึ่งกลุ่มในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ซึ่งคนกลุ่มนี้เน้นที่เรื่องริวายะฮ์(การรายงานหะดีษ)เป็นประเด็นหลัก และโจมตีมุสลิมที่เน้นเรื่องการใช้สติปัญญา(อักล์)  แล้วพวกอะฮ์ลุลหะดีษก็มารวมกันเป็นมัซฮับฮัมบาลีในเวลาต่อมานั่นเอง


ถึงตอนนี้ซุนนี่แตกออกมาเป็นมัซฮับดังนี้คือ  ชาฟิอี , ฮัมบาลี , ซุฟยานียะฮ์ , อัลเอาซาอี
มัซฮับชาฟิอี / มัซฮับฮานาฟี / ซุฟยานียะฮ์อยู่ที่อิรัค  ส่วนมัซฮับเอาซาอีอยู่ที่เมืองช่าม

   ในขณะที่กลุ่มซุนนี่ต่างๆเหล่านี้กำลังเผชิญหน้ากัน  พลันก็ปรากฏ " กลุ่มญับบะรียะฮ์ " และ " กลุ่มก็อดรียะฮ์ " ขึ้นและซุนนี่ทั้งสองกลุ่มนี้ยืนอยู่คนละมุมคนละด้าน  
ฝ่ายหนึ่งบอกว่าพระเจ้าสร้างมนุษย์มาเพื่อให้เดินไปตามสิ่งที่พระองค์กำหนด อีกฝ่ายบอกว่า พระเจ้าสร้างมนุษย์มาแล้วให้มนุษย์มีอิสระทำในสิ่งที่ตนเลือกเอง


   ต่อมาซุนนี่อีกกลุ่มก็ปรากฏขึ้นมีชื่อว่า  " อะชาอิเราะฮ์ " ผู้ก่อตั้งชื่ออบูฮาซัน อัลอัชอะรี เกิดปีฮ.ศ. 270 ที่เมืองบัศเราะฮ์ อิรัค ปัจจุบันฐานวิชาการของคนกลุ่มนี้อยู่ที่อียิปต์ซึ่งกำลังต่อสู้ทางความคิดกับซุนนี่ฝ่ายวาฮาบีอย่างเป็นล่ำเป็นสัน  ท่านสามารถเข้าไปอ่านแนวคิดของอะชาอิเราะฮ์โดยตรงจากเจ้าตัวมัซฮับได้ที่เวป

http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php

กลุ่มอะชาอิเราะฮ์นี้ได้พยายามรวมระหว่างการใช้นักลีกับอักลี(ตัวบทศาสนาและสติปัญญา)เข้าไว้ด้วยกัน  


และเวลาไม่ห่างกันนั้นก็ปรากฏกลุ่มซุนนี่อีกหนึ่งขึ้นมาคือ " มาตูริดียะฮ์ " ผู้ก่อตั้งชื่ออบูมันศูร อัลมาตูริดี ไม่ทราบวันเกิด แต่มรณะปีฮ.ศ.333  ที่มาตุรีดตั้งอยู่ใกล้กับเมืองซะมัรกอนด์

ผู้ปกครองในรัฐหรือแว่นแคว้นที่อยู่ทางฝากตะวันออกกลาง(หรือเอเชียกลางเช่นอุซเบกิซตาน,เตอร์กมะนิซตาน) เรื่องอะกีดะฮ์จะยึดมัซฮับมาตูรีดี ส่วนฟิกฮ์จะตามมัซฮับฮานาฟี

ผู้ปกครองในรัฐหรือแว่นแคว้นที่อยู่ในเมืองช่ามและอียิปต์ เรื่องอะกีดะฮ์จะยึดมัซฮับอะชาอิเราะฮ์ ส่วนฟิกฮ์จะตามมัซฮับชาฟีอี

ผู้ปกครองในรัฐหรือแว่นแคว้นที่อยู่ในเมืองโมรอคโคและอันดาลุส(สเปน) เรื่องอะกีดะฮ์จะยึดมัซฮับอะชาอิเราะฮ์ ส่วนฟิกฮ์จะตามมัซฮับมาลิกี



จะเห็นได้ว่า อำนาจของฝ่ายผู้ปกครองรัฐต้องพึ่งพาอาศัยการชี้นำของบรรดามัซฮับซุนนี่ดังกล่าวในทางการเมือง ทั้งสองฝ่ายได้แผ่ขยายอำนาจทางอาณาจักรและศาสนจักรต่อกลุ่มหรือแนวคิดอื่นๆ โดยอาศัยความร่วมมือร่วมใจและความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างแยกกันออกมิได้มาตลอด.


ติดตามตอนต่อไป
[/color]
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 17, 2009, 11:07:07 ก่อนเที่ยง
ตอน แปด


ชาวซุนนี่ที่แตกออกเป็นมัซฮับต่างๆนั้น มันมิได้อุบัติขึ้นในเรื่องอะกีดะฮ์อันเกี่ยวข้องโดยตรงกับแนวทางอะฮ์ลุสสุนนะฮ์เลย  ยกเว้นเพราะโดยการกดดันของพวกผู้ปกครองที่ขับเคลื่อนอุละมาอ์ซุนนี่ให้เดินตามเกมการเมืองของพวกเขา  ซึ่งนั้นคือประเด็นหลักประการหนึ่ง

จนในที่สุดท่ามกลางสังคมมุสลิมก็ได้ปรากฏกลุ่มซุนนี่นาม \\\" อิบนุตัยมียะฮ์ \\\" ขึ้น ในศตวรรษที่แปดแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช แล้วก็มลายไปช่วงหนึ่ง  

จากนั้นก็หวลกลับมาใหม่ในนามกลุ่มที่ได้ชื่อว่า \\\" วาฮาบี \\\" ที่แตกหน่อออกมาจากมัน และนับเป็นซุนนี่อีกหนึ่งกลุ่มในยุคปัจจุบัน
ยังมีมัซฮับหรือกลุ่มขบวนการของซุนนี่ที่แตกกิ่งก้านสาขาออกมาจากมัซฮับวาฮาบีอีก เช่น

1.   ขบวนการอิควาน
2.   กลุ่มอันซอริส ซุนนะฮ์
3.   กลุ่มสะละฟียีน
4.   กลุ่มอัลญิฮ๊าด
5.   กลุ่มตอลีบอน(ทาเลบัน)
6.   ญุนดุส เศาะหาบะฮ์(กองทัพเศาะหาบะฮ์)
7.   กลุ่มชะรีอะฮ์ มุฮัมมะดียะฮ์
8.   กลุ่มอัต-ตับลีฆ
9.   กลุ่ม ญีฮะมาน (جيهمان)
10.   กลุ่มอัลบานี
11.   กลุ่มอะฮ์ลุลหะดีษ

กลุ่มวาฮาบีนี้ได้เข้ามาในประเทศและเกิดความขัดแย้งกันซุนนี่ฝ่ายอะชาอิเราะฮ์ ซึ่งต่างฝ่ายต่างแย่งกันเป็นอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ตัวจริง
ทั้งสองฝ่ายต่างก้มีชื่อโดยทั่วไปตามประสาซุนนี่ชาวบ้าน เรียกวาฮาบีว่า พวกคณะใหม่  และเรียกอะชาอิเราะฮ์ว่า คณะเก่า
ท่านสามารถอ่านแนวคิดของกลุ่มวาฮาบีโดยตรงได้ที่เวปของพวกเขาดังต่อไปนี้


http://www.tarbiah.ac.th/webTarbiah  เวปของ ดอกเตอร์.อิสมาแอล ลุตฟี
www.islaminthailand.com/  เวปของเชคริฎอ
http://www.mureed.com/   เวปของ อ.มุรีด
http://www.fareed-fendy.com เวปของ อ.ฟารีด
http://www.moradokislam.org/


ยังมีซุนนี่กลุ่มอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องหรืออยู่นอกขอบข่ายของพวกวะฮาบียะฮ์อีกเช่น

1.   พวกซูฟี
2.   ฮิซบุล ตะรีร(พรรคเสรีภาพ)
3.   ยะมาอะฮ์ ตักฟีร  ดูข้อมูลซุนนี่กลุ่มนี้ได้ที่เวป
http://www.iqraforum.com/forum2/index.php?topic=347.0

4.   กลุ่มกุตุบียีน(สัยยิดกุตุบ)
5.   กลุ่ม ญัมอียะฮ์ อัช-ชัรอียะฮ์
6.   กลุ่มอะซาฮิเราะฮ์ ที่อียิปต์
เวปในไทยของซุนนี่กลุ่มเช่น

http://www.miftahcairo.com/ เวปมิฟตะห์ไคโร
http://www.sunnahstudent.com/fiq/fiq02.html สุนนะฮ์สติวเด็นท์

7.   นูรุซียะฮ์ ที่ตุรกี
8.   ญะมาอัต อิสลามียัต ที่ปากีสถานและอียิปต์



พวกเขาเหล่านี้แตกออกจากกันเหมือนกลุ่มซุนนี่ในอดีต สาเหตุคือ " คิล๊าฟ- ขัดแย้ง "  ดังที่ซุนนี่ในปัจจุบันแตกกัน
และคิลาฟของซุนนี่ในปัจจุบันอาจมีรายละเอียดซับซ้อนมากกว่าซุนนี่ในอดีตด้วยซ้ำ


แต่ถึงกระนั้น พวกเขาก็ยังพยายาม บอกว่า เราคือ " อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ "

และดูเหมือนหนทางเดียวที่พวกเขาจะอยู่รอดได้ ซึ่งนั่นก็คือ การพิทักษ์กษัตริย์ เพื่อกษัตริย์จะได้อุปถัมภ์พวกเขาให้มั่นคงปลอดภัย
ติดตามตอนต่อไป
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 17, 2009, 12:20:09 หลังเที่ยง
ตอน เก้า


            ตามที่นำเสนอผ่านมานั้นอาจกล่าวได้ว่า  สาเหตุโดยตรง  ในการอุบัติเป็นนิกายต่างๆหรือกลุ่มต่างๆ รวมทั้งเกิดความขัดแย้ง(คิล๊าฟ)ในประชาชาติมุสลิมนั้น มีมูลเหตุมาจาก

                                        " การเบี่ยงเบนทางความคิดความเข้าใจเรื่องอิหม่ามผู้นำที่ถูกต้อง "  


ซึ่งการเบี่ยงเบนครั้งแรกเริ่มตั้งแต่คนสองเผ่าคือ " มุฮาญิรีน " กับ " อันศ็อร "      ได้เลือกตั้งผู้นำกันเอง

            จากนั้นพวกเขาก็เอาตำแหน่งผู้นำนี้ไปมอบให้คนตระกูลอุมัยยะฮ์    เพราะผลพวงมาจากหะดีษทำนองนี้เช่น

عَنْ إبْنِ عُمَرَ  قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : وَإِنَّ مِنْ طَاعَتِي أَنْ تُطِيعُوا أَئِمَّتَكُمْ ...

อิบนุอุมัรรายงาน ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า แท้จริงจากการเชื่อฟังฉันคือ การที่ท่านต้องเชื่อฟังบรรดาผู้นำของพวกท่าน

มุสนัดอิหม่ามอะหมัด  หะดีษที่ 5421


                     แล้วหะดีษแบบนี้ยังส่งอิทธิพลไปให้กับพวกราชวงศ์อับบาซียะฮ์อีกที   เนื่องจากอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ที่ยึดมั่นต่อหะดีษแบบนี้ ซึ่งได้รับมรดกตกทอดมาจากสมัยที่ราชวงศ์อุมัยยะฮ์ปกครอง


ดังนั้นขอบข่ายของ \\\"  อิหม่ามผู้นำ \\\" จึงถูกจำกัดให้อยู่ในมือของ \\\" พวกนักปกครอง \\\" (ฮากิม) เท่านั้น

                   หากโลกซุนนี่ยืนยันว่า " อิหม่ามผู้นำ "  นั้นไม่ใช่ " ฮากิม "   หรืออธิบายให้ชัดว่า ฮากิมนั้นไม่ใช่อิหม่ามผู้นำ               และไม่อนุญาตให้เขาใช้อำนาจของอิหม่ามผู้นำ       มวลมุสลิมย่อมจะไม่เกิดความขัดแย้งขึ้นมาอย่างแน่นอน  

          มุสลิมทั้งหมดก็จะมุ่งไปที่อิหม่ามตัวจริง พวกเขาก็จะสอบถามปรึกษากิจการศาสนาของพวกเขากับอิหม่ามตัวจริงเท่านั้น และปัญหาคิลาฟก็จะหมดไป


เพราะอิหม่ามตัวจริง   จะตัดสินปัญหาต่างๆจตามชะรีอะฮ์ที่อัลลอฮ์และรอซูลวางไว้    มิใช่เพื่อรักษาฐานอำนาจของผู้ปกครองหรือเพื่อใครบางคน

อิหม่ามที่แท้จริงจะเป็นหลักฐานของพวกเขา จะไม่มีใครในหมู่พวกเขาขัดแย้งอิหม่ามเลย
เพราะเขาคืออิหม่ามที่แท้จริง ที่มีหลักฐานเด็ดขาด มีเหตุผลชัดเจนจากพระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่าน มิใช่จากนัฟซูหรือชะฮ์วัตของตนเอง
ติดตามตอนต่อไป
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 17, 2009, 03:35:19 หลังเที่ยง
ตอนสิบ

          จะเห็นได้ว่า เมื่ออะฮ์ลุสสุนนะฮ์ขาดผู้นำที่แท้จริง(อิมามุลฮั๊ก –إمام الحق)ไป   อุมมัตอิสลามในช่วงศตวรรษที่หนึ่งและสอง( คือตั้งแต่ 100 - 200 ปีแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช )  ขอบข่ายการถ่ายทอดและรับข้อมูลบทบัญญัติอิสลามนั้นพวกเขาล้วนได้รับมาจากฮากิม(ผู้ปกครองรัฐอิสลาม) ซึ่งผู้ปกครองเหล่านั้นได้ทำให้ภาพลักษณ์ของอิสลามเสื่อมเสีย
ส่วนฟุเกาะฮาอ์ของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ก็ก้มหัวอยู่ใต้หะดีษเรื่องจำเป็นต้องเชื่อฟังผู้ปกครอง ซึ่งหะดีษเหล่านั้นถูกอุปโลกน์ขึ้นจากบรรดาฮากิม(นักปกครอง) ที่ต้องการควบคุมฝูงชนเอาไว้

         แนวคิดเรื่องเชื่อฟัง(ตออัต)ต่อผู้ปกครองนี้ ได้กลายเป็นบทบัญญัติชะรีอัตอิสลามในสังคมซุนนี่ไปโดยปริยาย และถ่ายทอดกันมาชั่วลูกชั่วหลานในสังคมมุสลิม เป็นมรดกที่ต้องตักลีด และถือเป็นซุนนะฮ์ของชาวสะลัฟ(บรรพชนคนรุ่นก่อน)
หากใครละเมิดฝ่าฝืน หรือไม่ยอมรับแนวคิดนี้  ก็จะถูกตราหน้าว่าเป็น พวกซินดี๊ก(นอกรีต), พวกบิดอะฮ์และพวกหลงทาง.

พวกซุนนี่ (อะฮ์ลุสสุนนะฮ์) จะถือว่า
       ใครเรียกร้องแนวคิดเรื่องอิมามะฮ์ อัลฮักเกาะฮ์ - فكرة الإمامة الحقة (ผู้นำมุสลิมแท้จริงตามหลักชัรอีย์) ผู้นั้นคือฝ่ายตรงข้ามกับซุนนี่และเป็นศัตรู ที่ต้องกำจัดเช่น ชีอะฮ์  

หรือใครเรียกร้องให้ฟื้นฟูการใช้อักล์(สติปัญญาหรือความคิด) เช่น พวกมุอ์ตะซิละฮ์
 
หรือถ้าเรียกร้องให้มุสลิมมีอิสระทางความเชื่อที่เกี่ยวกับเรื่อง ซิฟัต(คุณลักษณะ)ของอัลเลาะฮ์ เช่นพวกญะฮ์มียะฮ์  
ที่ไม่แปลซิฟัตของอัลลอฮ์โดยเอามาเปรียบให้เหมือนหรือคล้ายกับมัคลู๊ก  กลุ่มเหล่านั้นก็จะถูกซุนนี่ตราหน้าว่า หลงทางทั้งสิ้น


สาเหตุที่กลุ่มอื่นถูกตราหน้าว่าเป็นพวกซินดี๊ก, บิดอะฮ์และหลงทางคือ  มีอะกีดะฮ์หรือแนวคิดไม่ตรงกับซุนนี่  

ซึ่งนับได้ว่าซุนนี่เป็นพวกที่มีความคิดหรือทัศนะแคบที่สุด และพยายามยัดเหยียดสิ่งนี้ให้กับโลกมุสลิม ด้วยอำนาจที่ซุนนี่ได้รับจากบรรดาผู้ปกครองรัฐ


ติดตามตอนต่อไป
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 17, 2009, 05:19:51 หลังเที่ยง
ตอน 11


                 พวกผู้ปกครอง(ฮากิม)ไม่เคยปฏิบัตหรือให้ความสนิทสนมกับพวกเคาะวาริจญ์ , ชีอะฮ์,มุอ์ตะซิละฮ์หรือกลุ่มอื่นๆที่ขัดแย้งกับพวกอะฮ์ลุสสุนนะฮ์เลย  

สาเหตุเพราะอะกีดะฮ์ตลอดจนการนำเสนอแนวคิดของกลุ่มคนเหล่านั้นไปขัดกับอำนาจและผลประโยชน์ของพวกเขานั่นเอง
ในทางกลับกันบรรดาผู้ปกครองจะให้ความสนิทสนมชิดเชื้อกับพวกอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ เพราะคนกลุ่มนี้ได้เอื้ออำนวยเรื่องอำนาจและผลประโยชน์ให้กับพวกเขา

             ดังนั้นทั้งสองฝ่าย คือฮากิมกับอะฮ์ลุสสุนนะฮ์จึงต้องร่วมหัวชนโรงกัน เพื่อสร้างความมั่นคงให้กันและกันในอุมมัตอิสลาม ทั้งสองฝ่ายต้องร่วมมือร่วมใจกันทำลายกลุ่มต่างๆในโลกอิสลามให้หมดไปจากการแผ่อำนาจของเขาทั้งสอง
ฝ่ายซุนนี่อาจแย้งว่า ในยุคที่มะอ์มูนบินฮารูนแห่งราชวงศ์อับบาซียะฮ์ปกครองนั้นพระองค์เคยเชิดชูมัซฮับมุอ์ตะซิละฮ์และชีอะฮ์เพื่ออำนาจและผลประโยชน์ให้กับพระองค์ในช่วงเวลาหนึ่งเช่นกัน
แต่ประวัติศาสตร์อิสลามได้ระบุว่า หลังจากนั้นพระองค์ได้ทำลายคนสองกลุ่มนี้ลง ด้วยเหตุผลเดียวคือ ชีอะฮ์และมุอ์ตะซิละฮ์นั้นเป็นภัยต่ออำนาจการปกครองของพระองค์

             กาหลิบมะอ์มูนเชื่อว่า  คัมภีร์กุรอ่านนั้นเป็นมัคลู๊ก    ฝ่ายอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ตั้งแต่ระดับอุละมาอ์จนถึงรากหญ้าก็ขานตอบอะกีดะฮ์ของมะอ์มูน  ทั้งๆที่ในใจซุนนี่เชื่อว่ากุรอ่านนั้นกิดัมคือมีมาแต่เดิม

ทำไมซุนนี่ไม่ลุกฮือขึ้นต่อต้านกาหลิบมะอ์มูน หรืออุละมาอ์ซุนนี่ยุคนั้นฮุก่มว่า มะอ์มูนเป้นกาเฟร     คำตอบคือเพราะพวกเขาไม่ต้องการถูกทำร้ายหรือได้รับความเดือดร้อน  ซุนนี่ยุคนั้นจึงใช้วิธีตะกียะฮ์ คืออำพรางความเชื่อของตนไว้ข้างใน

               แม้ว่ากษัตริย์ในราชวงศ์ซาอู๊ด     จะประพฤติตัวช้าช้าปานใด พวกอุละมาอ์วาฮาบีโดยส่วนมากก็จะไม่กล้าประณามการกระทำของกษัตริย์ซาอูด

             กลุ่มวาฮาบีในประเทศซาอุฯออกฟัตวาว่า ห้ามซิยาเราะฮ์กุโบร์เอาลิยาอ์ , ห้ามจูบกุโบร์นบีมุฮัมมัด ห้ามตะบัรรุก ห้ามตะวัซซุลกับท่านนบีฯลฯ


ฮุจญ๊าจญ์ซุนนี่ ที่เดินทางประกอบพิธีหัจญ์ก็นิ่งเงียบไม่ประท้วงหรือต่อต้าน ทั้งๆที่ในใจพวกเขาไม่ยอมรับคำฟัตวาของวาฮาบี


             ทำไมชีอะฮ์จึงเป็นภัยต่อกาหลิบมะอ์มูน เพราะอะลี บินมูซาอัลริฏอ อิหม่ามผู้นำที่แท้จริงของอิสลามไม่ก้มหัวให้กับความผิดของราชวงศ์อับบาซียะฮ์

             ดังนั้นกาหลิบมะอ์มูนจึงต้องสังหารอิหม่ามริฎอ เหมือนที่ลูกหลานนบีก่อนหน้านี้เคยถูกสังหารมาแล้วมากมาย ส่วนชีอะฮ์ก็ถูกจับขัง ถูกประหารชีวิต ถูกตามล่าและเนรเทศ กลายเป็นมัซฮับที่ผิดกฎหมายของรัฐต่อไป

             ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ฝ่ายซุนนี่ก็ได้ประโยชน์ไปใช้คือ มัซฮับของตนสามารถเผยแผ่อย่างมีอิสระเสรีภาพ เพราะไม่เป็นภัยคุกคามความมั่นคงของกษัตริย์  ดังนั้นมะอ์มูนจึงหันมาอยู่ข้างซุนนี่      

ติดตามตอนต่อไป
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 18, 2009, 04:21:33 หลังเที่ยง

ตอน 12

   ถ้าสังเกตให้ดีท่านจะเข้าใจว่า ซุนนี่ทุกกลุ่มนั้นมีจุดยืนต่อพวกนักปกครอง(คอลีฟะฮ์,มาลิก,ซุลตอน,ฮากิม,อิหม่ามหรืออะมีร) เหมือนกันหมดนั่นคือ   السَّمْعُ وَالطَّاعَةُ " เชื่อฟังและปฏิบัติตามฮากิมในทุกสภาวะ "  ไม่ว่าสถานะการณ์ทางการเมืองการปกครองและศาสนาของพวกผู้ปกครองจะเป็นอย่างไรก็ตาม
จริงอยู่ซุนนี่อาจอ้างว่า เราจำเป็นต้องตามผู้นำ เพราะท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ)กล่าวว่า
مَنْ أَطَاعَنِى فَقَدْ أَطَاعَ اللَّهَ وَمَنْ عَصَانِى فَقَدْ عَصَى اللَّهَ وَمَنْ أَطَاعَ أَمِيرِى فَقَدْ أَطَاعَنِى وَمَنْ عَصَى أَمِيرِى فَقَدْ عَصَانِى ».

ผู้ใดตออัต(เชื่อฟัง)ฉัน ผู้นั้นเชื่อฟังอัลเลาะฮ์  และผู้ใดไม่เชื่อฟังฉัน ผู้นั้นฝ่าฝืนอัลเลาะฮ์
ผู้ใดเชื่อฟังผู้นำของเขา  เท่ากับผู้นั้นเชื่อฟังฉัน และผู้ใดขัดคำสั่งผู้นำของเขา เท่ากับเขาขัดคำสั่งของฉัน
เศาะหิ๊หฺมุสลิม หะดีษที่ 4854

ปัญหาคือ  อะมีร(ผู้นำ)ที่ท่านรอซูลสั่งให้เราเชื่อฟังนั้นคือใคร และมีบุคลิกอย่างไร ?

ชีอะฮ์  หลังยุคฆ็อยบัตกุบรอ ยอมรับเฉพาะ ผู้นำที่มีคุณธรรมและเป็นคนเคร่งครัดศาสนาเท่านั้น  เพราะฉะนั้นบรรดาผู้ปกครองรัฐในอดีตที่ทำตัวเสเพลจึงชิงชังพวกชีอะฮ์  สาเหตุเพราะความชั่วของพวกเขาเอง

ซุนนี่  ยอมรับผู้นำทุกประเภท ไม่ว่ามนุษย์คนใดสามารถไต่เต้าขึ้นมากุมบังเหียรอำนาจการปกครอง  คนนั้นคืออะมีรของซุนนี่ทั้งหมด และจำเป็นต้องเชื่อฟัง ไม่ว่าฮากิมคนนั้นจะดีหรือเลว

หากถามว่า ทำไมซุนนี่จึงมีอะกีดะฮ์เช่นนั้น ?  คำตอบคือ
1.   ผู้ปกครองยุคนั้นได้จ้างวานให้อุละมาอ์ดุนยากุหะดีษเก๊มอมเมาประชาชนให้ตออัตจำนนต่อพวกเขา เช่นหะดีษแบบนี้
4891 - وَحَدَّثَنِى مُحَمَّدُ بْنُ سَهْلِ بْنِ عَسْكَرٍ التَّمِيمِىُّ حَدَّثَنَا يَحْيَى بْنُ حَسَّانَ ح وَحَدَّثَنَا عَبْدُ اللَّهِ بْنُ عَبْدِ الرَّحْمَنِ الدَّارِمِىُّ أَخْبَرَنَا يَحْيَى - وَهُوَ ابْنُ حَسَّانَ - حَدَّثَنَا مُعَاوِيَةُ - يَعْنِى ابْنَ سَلاَّمٍ - حَدَّثَنَا زَيْدُ بْنُ سَلاَّمٍ عَنْ أَبِى سَلاَّمٍ قَالَ قَالَ حُذَيْفَةُ بْنُ الْيَمَانِ قُلْتُ
يَا رَسُولَ اللَّهِ إِنَّا كُنَّا بِشَرٍّ فَجَاءَ اللَّهُ بِخَيْرٍ فَنَحْنُ فِيهِ فَهَلْ مِنْ وَرَاءِ هَذَا الْخَيْرِ شَرٌّ قَالَ نَعَمْ. قُلْتُ هَلْ وَرَاءَ ذَلِكَ الشَّرِّ خَيْرٌ قَالَ « نَعَمْ ». قُلْتُ فَهَلْ وَرَاءَ ذَلِكَ الْخَيْرِ شَرٌّ قَالَ « نَعَمْ ». قُلْتُ كَيْفَ قَالَ « يَكُونُ بَعْدِى أَئِمَّةٌ لاَ يَهْتَدُونَ بِهُدَاىَ وَلاَ يَسْتَنُّونَ بِسُنَّتِى وَسَيَقُومُ فِيهِمْ رِجَالٌ قُلُوبُهُمْ قُلُوبُ الشَّيَاطِينِ فِى جُثْمَانِ إِنْسٍ ». قَالَ قُلْتُ كَيْفَ أَصْنَعُ يَا رَسُولَ اللَّهِ إِنْ أَدْرَكْتُ ذَلِكَ قَالَ « تَسْمَعُ وَتُطِيعُ لِلأَمِيرِ وَإِنْ ضُرِبَ ظَهْرُكَ وَأُخِذَ مَالُكَ فَاسْمَعْ وَأَطِعْ ».
จากมุฮัมมัด บินสะฮัล บินอัสกัร ยะห์ยา บินหัสซาน จากอับดุลเลาะฮ์ บินอับดุลเราะห์มาน อัด-ดาริมี จากมุอาวียะฮ์ บินสัลลาม จากเซด บินสัลลาม จากอบี สัลลามเล่าว่า  ท่านฮุซัยฟะฮ์ บินยามานเล่าว่า  :
ฉันได้กล่าวว่า  โอ้ท่านรอซูลุลเลาะฮ์ แท้จริงพวกเราเคยอยู่กับความชั่วร้าย แล้วอัลลอฮ์ได้นำความดีงามมาให้ เราจึงได้อยู่ใน(ความดีงาม)นั้น  แล้วหลังจากความดีนี้ยังจะมีความชั่วร้ายมาอีกไหม ?  ท่านตอบว่า ใช่  ฉันถามว่า แล้วหลังจากความชั่วนั้นยังจะมีความดีมาอีกไหม ? ท่านตอบว่า ใช่   ฉันถามอีกว่า แล้วหลังจากความดีนี้ยังจะมีความชั่วร้ายมาอีกไหม ?  ท่านตอบว่า ใช่  ฉันจึงถามว่า มันเป็นอย่างไรหรือ ?  ท่านกล่าวว่า หลังจากฉันจากไป จะมีบรรดาผู้นำ ที่ไม่ชี้นำ(ประชาชน)ด้วยทางนำของฉัน  และไม่ดำเนินตามซุนนะฮ์ของฉัน  แล้วยังจะมีบรรดาบุรุษในหมู่พวกเขาเหล่านี้ที่หัวใจของพวกเขา มีหัวใจของบรรดาชัยตอนมารร้ายอยู่ในคราบของมนุษย์  
(ฮุซัยฟะฮ์)เล่าว่า ฉันถามว่า  : แล้วฉันจะทำอย่างไร โอ้ท่านรอซูลุลเลาะฮ์ หากฉันอยู่ทันคนพวกนั้น ?  

ท่านตอบว่า เจ้าจะต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้นำคนนั้น แม้ว่าหลังของเจ้าจะถูกตี  ทรัพย์สินของเจ้าจะถูกเขาเอาไป  จงเชื่อฟังและปฏิบัติตาม(ผู้นำคนนั้น)    

เศาะหิ๊หฺมุสลิม หะดีษที่ 4891


เมื่อหะดีษนี้ถูกบันทึกอยู่ในเศาะหิ๊หฺมุสลิม  ซุนนี่ทุกคนก็เชื่อ  แต่ทำไมไม่เข้าไปตรวจสอบว่านักรายงานหะดีษข้างต้นอยู่ในยุคสมัยการปกครองของใครบ้าง

มุฮัมมัดบินสะฮัล ตายปีฮ.ศ.251 เป็นคนคูรอซานย้ายมาอยู่ที่แบกแดด เขาอยู่ในยุคกาหลิบมะอ์มูนจนถึงกาหลิบอัลมุตะวักกิล  ทั้งมะอ์มูนและมุตะวักกิลล้วนชิงชังตระกูลอะลีและชีอะฮ์อะลี

เวปซุนนี่ชื่อมุสลิมเมืองชนบุรีเขียนบทความไว้ว่า
อัล – มะมูน  ( ฮศ. 192 – 218 , คศ. 813 – 933 )
   เมื่อพระเชษฐา(อามีน)สิ้นชีพลงแล้ว เคาะลีฟะห์มะมูนก็เข้าถือบังเหียน การปกครองราชอาณาจักร
ในปีต่อมาได้เกิดการกบฎอย่างรุนแรงขึ้น อิบนุ ฏอบาฏอบา ได้ปรากฎเมืองขึ้นที่ กูฟะฮ์ และเกลี้ยกล่อมประชาชน ให้จงรักภักดีต่อเชื้อสายของท่านศาสดา เขาได้รับสนับสนุนจาก อบูสะรอยา ซึ่งเป็นนักผจญภัยที่รู้จักกันดี เขาได้ส่งกองทัพภายใต้การนำของอบูสะรอยาไปโจมตีกองทัพหลวงเสียแหลกลานแต่สะรอยาไม่เต็มใจที่จะแสดงบทบาทเป็นตัวรองอีกต่อไปจึงได้วางยาพิษอิบนุฏอบาฏอบาตายและตั้งมูฮัมมัดบินมุฮัมมัดซึ่งเป็นคนในตระกูลของท่านอะลีแทน ชัยชนะของอบูสะรอยาดำเนินต่อไปจนเมืองบัศเราะห์ ,วาซิฏ และมะดาอินตกอยู่ในมือของเขา มักกะห์ มะดีนะห์ และยะมัน ก็ตกอยู่ในมือของพวกอะลี
เมื่ออบูสะรอยาเริ่มจะรุกเข้ามาที่เมืองหลวง ฮะซันบินซาฮัลก็รีบส่งฮัรษะมะฮ์ บินอัยยันมาต่อสู้ เหตุการณ์ก็กลับกลายไปอย่างไม่คาดฝัน   กองทัพฝ่ายอะลีถูกขับไล่กลับไปทั่วทุกหนแห่ง และอิรักทั้งประเทศก็ตกอยู่ในมือของราชวงศ์อับบาซียะฮ์อีกครั้งหนึ่ง กูฟะห์ยอมจำนนและบัศเราะห์กลับคืนมาด้วยการถูกโจมตี   อบูสะรอยาหนีไปอยู่ที่เมโสโปเตเมียแต่ภายหลังถูกจับได้และถูกตัดศรีษะ การกบฎในอารเบียก็ยุติลง
   
   ในระหว่างนั้นที่เมืองเมิร์ฟ  กาหลิบมะอ์มูนได้ตัดสินใจที่เป็นเสมือนสายฟ้าฟาดแรงบนราชวงศ์อับบาซียะฮ์ นั่นคือ ในปี ฮศ. 202 หรือ คศ. 817 ได้ทรงแต่งตั้งให้อิหม่ามอะลีอัร – ริฏอ บุตรของอิหม่ามมูซาอัลกาซิม  ซึ่งอยู่ในตระกูลของท่านอะลี เป็นเคาะลีฟะฮ์สืบต่อท่านและทรงให้เปลี่ยนสีประจำราชอาณาจักรจากสีดำเป็นสีประจำราชวงศ์อับบาซียะฮ์มาเป็นสีเขียว ซึ่งเป็นสีประจำตระกูลของท่านอะลี   การตัดสินใจนี้ก่อให้เกิดการคัดค้านไปในหมู่พวกอับบาซียะฮ์ ประชาชน(ซุนนี่)ปฏิเสธไม่ยอมให้สัตย์ปฏิญาณต่อท่านอิหม่ามอะลีอัลริฎอ  ประกาศให้ถอดมะอ์มูนออกจากตำแหน่งและแต่งตั้งอิบรอฮีม บินมะฮ์ดีเป็นเคาะลีฟะฮ์แทน   แว่นแค้วนอื่น ๆ ก็ทำตาม กรุงบัฆดาด...
   และหลังจากนั้นไม่นานอิหม่ามอะลี อัรริฎอ ก็ตายลงอย่างกะทันหัน
อ้างอิงจาก
http://www.muslimchonburi.com/index.php?page=show&id=724

อัล-มุตะวักกิล   (Al-Mutawakkil)  (คศ.233-297 -  คศ.847-911)อัล-มุตะวักกิลมีความเกลียดชังพวกชีอะฮ์จึงทรงสั่งให้ล้อมอนุสรณ์ที่สร้างไว้เหนือที่ฝังศพท่านอิหม่ามฮูเซน บินอะลีที่เมืองกัรบาลา พร้อมด้วยอาคารอื่น ๆ รอบ ๆ นั้นเสีย และสั่งห้ามมิให้ผู้ใดไปเยี่ยมเยียนสถานที่นั้น...
   ความประพฤติในตอนหลัง ๆ ของท่าน เป็นเหตุให้มีผู้คิดล้างชีวิตท่าน กล่าวกันว่าในขณะที่ท่านบรรทมอยู่ในพระราชวัง ทหารองค์รักษ์ชาวเตอรกีที่ท่านโปรดปรานพร้อมทั้งอัล มุนตะซิรโอรสของท่านผู้ซึ่งไม่พอใจในความประพฤติของราชบิดาก็ได้ลอบเข้าไปสังหารท่าน รัชสมัยอันมีระยะยาว 15 ปี ของท่านเต็มไปด้วยการแบ่งแยกของราชอาณาจักร ความโหดร้ายทารุณ และไม่สนพระทัยของท่าน  ทำให้ท่านนำราชอาณาจักรไปสู่ความพินาศในที่สุด
   หลังจากอัล มุตะวักกิลสิ้นชีพแล้ว อาณาจักรมุสลิมตกต่ำลงอย่างรวดเร็ว
อ้างอิงจากเวป
http://www.muslimchonburi.com/index.php?page=show&id=725

เมื่อท่านได้อ่านแล้ว คงไม่แปลกใจว่าทำไมมุฮัมมัดบินสะฮัลจึงต้องรายงานหะดีษให้ประชาชนยอมจำนนต่อกาหลิบอับบาซี
 

ส่วนมุอาวียะฮ์ บินสัลลาม รายงานจากพี่ชายคือเซด บินสัลลาม ซึ่งเอาหะดีษมาจากบิดาคือ อบีสัลลาม ทั้งสามเป็นชาวเมืองช่ามที่ราชวงศ์อุมัยยะฮ์ปกครองคนรายงานทั้งสองกลุ่มล้วนอยู่ในอำนาจการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์และอับบาซียะฮ์ เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกใจที่พวกเขาจะรายงานหะดีษเช่นนี้เพื่อเอาใจกษัตริย์ของสองราชวงศ์

2.   อุละมาอ์ซุนนี่ให้การสนับสนุนผู้ปกครอง ด้วยการอธิบายว่า ไม่ว่าผู้ปกครองรัฐจะชั่วจะเลวปานใดประชาชนก็ต้องอดทน ห้ามก่อกบฏหรือการปฏิวัติ ต้องอดทนยอมอยู่ภายใต้การปกครองของคนชั่วไปจนกว่าอัลลอฮ์จะคลี่คลายปัญหาให้เอง

ท่านอะหมัด บินฮัมบัล อิหม่ามแห่งอะฮ์ลุลหะดีษกล่าวว่า

الخلافة في قريش ما بقي من الناس إثنان ليس لأحد من الناس أن ينازعهم فيها ولا يخرج عليهم ولا يقر لغيرهم بها إلى قيام الساعة
 والجهاد ماض قائم مع الأئمة بروا أو فجروا لا يبطله جور جائر ولا عدل عادل
والجمعة والعيدان والحج مع السلطان وإن لم يكونوا بررة ولا أتقياء ولا عدولا ودفع الصدقات والخراج والأعشار والفيء والغنائم إلى الأمراء عدلوا فيها أم جاروا
والإنقياد إلى من ولاه الله أمركم لا تنزعوا يدا من طاعته ولا تخرج عليه بسيفك حتى يجعل الله لك خرجا ومخرجا ولا تخرج على السلطان وتسمع وتطيع ولا تنكث بيعة فمن فعل ذلك فهو مبتدع مخالف مفارق للجماعة
الكتاب : العقيدة  أحمد بن محمد بن حنبل   ج 1  ص 76
الناشر : دار قتيبة – دمشق  الطبعة الأولى ، 1408  تحقيق : عبد العزيز عز الدين السيروان
ตำแหน่งคิลาฟะฮ์(ผู้ปกครอง)นั้นอยู่ในเผ่ากุเรช แม้ว่าเหลือเพียงสองคนจากมนุษย์  สำหรับคนหนึ่งคนใดจากประชาชนไม่มีสิทธิถอดถอนพวกเขาในตำแหน่งคิลาฟะฮ์นั้น  และต้องไม่กบฏต่อพวกเขา และต้องไม่รับรอง(ผู้อื่น)จากพวกเขาต่อตำแหน่งนั้น จนถึงวันกิยามัต
การญิฮาดในอดีตนั้นต้องยืนอยู่กับบรรดาผู้นำนั้น (ไม่ว่า)พวกเขาได้ทำดีหรือทำชั่ว การอธรรมของผู้กดขี่และความเที่ยงธรรมของคนยุติธรรมจะไม่ทำให้มันเป็นโมฆะ และ(ต้อง)นมาซญุมอะฮ์  นมาซอีดทั้งสองและการทำหัจญ์กับซุลตอน(ผู้ปกครอง) แม้ว่าพวกเขาจะไม่ใช่คนดี คนยำเกรงพระเจ้า คนมีคุณธรรมก็ตาม
ต้องจ่ายเศาะดะเกาะฮ์ ภาษี หนึ่งชักสิบ ทรัพย์สินรายได้ หรือที่ริบมาจากสงครามให้กับบรรดาอะมีร(ผู้นำผู้ปกครอง)ไม่ว่าพวกเขาจะดีหรือเลว
การจำนนเชื่อฟังต่อผู้ที่อัลลอฮ์ให้เขาได้เป็นผู้ปกครองกิจการของพวกท่าน พวกท่านจะต้องไม่กระชากมือหนึ่งออกจากการเชื่อฟังเขา และต้องไม่ออกจาก(อำนาจ)เขาด้วยดาบของท่าน จนกว่าอัลลอฮ์จะทำให้เข้าได้รับทางออก  และห้ามเป็นกบฏต่อซุลตอน ท่านต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตาม ท่านต้องไม่ยกเลิกทำลายสัตยาบัน ถ้าใครกระทำสิ่งนั้น ถือว่าเขาคนนั้นคือ คนทำบิดอะฮ์ คนฝ่าฝืน และแยกตัวออกจากญะมาอะฮ์

อ้างอิงจากหนังสือ อัลอะกีดะฮ์ ของอิหม่ามอะหมัด บินฮัมบัล เล่ม 1 : 76


ซุนนี่ที่ยึดมั่นต่อมัซฮับฮัมบาลีในสมัยนั้น ย่อมฟังคำฟัตวาของหัวหน้ามัซฮับตน ดังนั้นใครไม่พอใจผู้ปกครองหรือกษัตริย์ เขาก็ถูกตราหน้าว่า เป็นกบฏและหลุดพ้นจากญะมาอะฮ์ซุนนี่แล้ว
[/color]
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 19, 2009, 08:54:57 ก่อนเที่ยง


ตอน 13

ท่านอบูฮาซัน อัลอัชอะรี อิหม่ามของชาวอะชาอิเราะฮ์กล่าวว่า


وأجمعوا على السمع والطاعة لأئمة المسلمين وعلى أن كل من ولي شيئا من أمورهم عن رضى أو غلبة وامتدت طاعته من بر وفاجر لا يلزم الخروج عليهم بالسيف جار أو عدل وعلى أن يغزوا معهم العدو ويحج معهم البيت وتدفع إليهم الصدقات إذا طلبوها ويصلي خلفهم الجمع والأعياد.

الكتاب : رسالة إلى أهل الثغر للإمام أبي الحسن الأشعري  ج 1 ص 279
الناشر : مكتبة العلوم والحكم - دمشق
الطبعة الأولى ، 1988       تحقيق : عبدالله شاكر محمد الجنيدي


                        พวกเขา ( ชาวอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ทั้งหลาย )  มีมติให้เชื่อฟังและปฏิบัติตามบรรดาผู้นำมวลมุสลิม   และต่อผู้ที่ปกครองดูแลกิจการใดกิจาการหนึ่งของพวกเขา ไม่ว่าจะพอใจหรือโดยถูกบังคับ(ก็ตาม ) การเชื่อฟังเขา(ผู้นำ)ยังดำเนินต่อไปจากคนดีและคนเลว  ไม่จำเป็นต้องก่อกบฏต่อพวกเขาด้วยดาบ (ไม่ว่าจะเป็น)คนกดขี่หรือมีคุณธรรม และจะต้องสู้รบกับศัตรูอยู่(เคียงข้าง)กับพวกเขา(ผู้นำ)  ต้องไปทำหัจญ์ที่บัยตุลเลาะฮ์กับพวกเขา  ต้องจ่ายทานเศาะดะเกาะฮ์ให้กับพวกเขาเมื่อพวกเขา(ผู้นำ)ต้องการมัน   และต้องทำนมาซญะมาอัตและนมาซอีดต่างๆหลังพวกเขา


อ้างอิงจาก  ริซาละฮ์ อิลา อะฮ์ลิษ-ษุฆูร  ของท่านอิหม่ามอบูฮาซัน อัลอัชอะรี เล่ม 1 : 279
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 19, 2009, 09:17:23 ก่อนเที่ยง

ตอน 14

อาเล่มผู้โด่งดังในเมืองช่ามหลังจากอัลเอาซาอี สังกัดฮัมบาลีนาม


อิบนุกุดามะฮ์(ตายฮ.ศ.541)กล่าวว่า

ومن السنة السمع والطاعة لأئمة المسلمين وأمراء المؤمنين برهم وفاجرهم، ومن ولي الخلافة واجتمع عليه الناس ورضوا به أو غلبهم بالسيف حتى صار خليفة وسمى أمير المؤمنين وجبت طاعته وحرمت مخالفته والخروج عليه وشق عصا المسلمين.
:
الكتاب : لـمعة الاعتقاد   لابن قدامة المقدسي  ج 1 ص 32
الناشر : وزارة الشؤون الإسلامية والأوقاف والدعوة والإرشاد - المملكة العربية السعودية
تاريخ النشر : 1420هـ - 2000م

และส่วนหนึ่งจากความเป็นสุนนะฮ์ก็คือ  การเชื่อฟังและปฏิบัติตามบรรดาผู้นำมวลมุสลิมและบรรดาหัวหน้าผู้ปกครองบรรดาผู้ศรัทธา (ทั้ง)คนดีและคนเลวของพวกเขา  และผู้ที่ครองตำแหน่งคอลีฟะฮ์  หรือที่ประชาชนได้มีมติต่อเขา(ให้เป็นผู้ปกครอง) ทั้งที่พวกเขามีความพอใจต่อเขา หรือผู้นำ(คนนั้นได้)ใช้กำลังกับพวกเขาด้วยดาบ จนกระทั่งได้มาเป็นผู้ปกครอง และได้รับการขนานนามว่า อมีรุลมุอ์มินีน   ก็จำเป็นต้องตออัตต่อเขาและห้ามขัดขืนกับเขา หรือทำการก่อกบฏต่อเขา หรือสร้างความแตกแยกในหมู่มุสลิม

อ้างอิงจาก  

ละมะตุล อิ๊อฺติกอด  โดยอิบนุ กุดามะฮ์  เล่ม 1 : 32
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 19, 2009, 09:58:20 ก่อนเที่ยง

ตอน 15

ท่านอัฏ-เฏาะฮาวี อิหม่ามแห่งอะห์น๊าฟกล่าวว่า


وَالْحَجُّ وَالْجِهَادُ مَاضِيَانِ مَعَ أُولِي الْأَمْرِ مِنَ الْمُسْلِمِينَ، بَرِّهِمْ وَفَاجِرِهِمْ إِلَى قِيَامِ السَّاعَةِ، لَا يُبْطِلُهُمَا شَيْءٌ وَلَا يَنْقُضُهُمَا
العقيدة الطحاوية  ج 1  ص 49

การทำหัจญ์และญิฮ๊าดที่ผ่านมาในอดีตกับผู้ปกครองบรรดามุสลิม ทั้งที่พวกเขาเป็นคนดีและคนเลว ตราบถึงวันสิ้นโลกนั้น จะไม่มีสิ่งใดมาทำให้มันทั้งสอง(หัจญ์กับญิฮาด)โมฆะ หรือทำให้มันทั้งสองบกพร่อง

อ้างอิงจาก

หนังสือ อัลอะกีดะฮ์ อัฏ-เฏาะอาวียะฮ์  เล่ม 1 : 49

               
                   การที่มุสลิมจะมีอะกีดะฮ์เรื่องวาญิบต้องเชื่อฟังผู้ปกครองรัฐที่ดีมีคุณธรรมนั้น ถูกต้องอยู่แล้ว และคงไม่มีมนุษย์คนใดในโลกมาเสียเวลาวิพากษ์เรื่องนี้

              แต่การที่อุละมาอ์ซุนนี่ออกมาฟัตวาว่า  วาญิบต้องเชื่อฟังผู้ปกครองที่เป็นคนเลว  โดยยกหะดีษที่ถูกกุขึ้นมาจากพวกอุมัยยะฮ์และอับบาซียะฮ์มากำกับ    
             ตรงนี้ ทำให้มุสลิมที่มีสติปัญญา และมีอิสระทางความคิดยอมรับไม่ได้และสงสัยว่าทำไม ?

แต่เมื่อพวกเขาถูกปิดประตูด้วยหะดีษที่สั่งให้ตออัต  พวกเขาต้องยอมจำนนโดยดุษฎี มิฉะนั้นก็จะโดนประณามว่า  

เป็นพวกชีอะฮ์หรือไม่ก็เป็นพวกมุอ์ตะซิละฮ์  เพราะชีอะฮ์กับมุอ์ตะซิละฮ์ ไม่ยอมให้คนชั่วมาครอบงำชีวิตพวกเขานั่นเอง
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 19, 2009, 11:38:37 ก่อนเที่ยง

ตอน 16

ท่านอิบนุ ตัยมียะฮ์ ชัยคุลอิสลามของวาฮาบีกล่าวว่า

إِقَامَةَ الْحَجِّ وَالْجِهَادِ وَالْجُمَعِ وَالأَعْيَادِ مَعَ الأُمَرَاءِ أَبْرَارًا كَانُوا أَوْ فُجَّارًا،
متن العقيدة الواسطية  لإبن تيمية  ج 1  ص 33

(อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ วัลญะมาอะฮ์นั้น) จะต้อง(ปฏิบัติอิบาดะฮ์ดังต่อไปนี้คือ) ทำหัจญ์  ทำการญิฮ๊าด ทำนมาซญะมาอะฮ์และนมาซอีดกับบรรดาผู้ปกครองที่เป็นคนดีหรือคนเลว

อ้างอิงจาก
อัลอะกีดะฮ์ อัลวาซีตียะฮ์ โดยอิบนุตัยมียะฮ์ เล่ม 1 : 33

ซึ่งคำนำของหนังสือเล่มนี้ หน้าหนึ่งท่านอิบนุตัยมียะฮ์กล่าวว่า

أَمَّا بَعْدُ؛ فَهَذَا اعْتِقَادُ الْفِرْقَةِ النَّاجِيَةِ الْمَنْصُورَةِ إِلَى قِيَامِ السَّاعَةِ: أَهْلِ السُّنَّةِ وَالْجَمَاعَةِ:

ต่อไปนี้  นี่คือหลักความเชื่อของกลุ่มที่ปลอดภัย ได้รับความช่วยเหลือจนถึงวันกิยามะฮ์ นั่นคือกลุ่มอะฮ์ลุสสุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

เราต้องขอยอมรับว่า กลุ่มที่เชคอิบนุตัยมียะฮ์กล่าวถึงนั้น ปลอดภัยจริงๆ และมีชัยชนะเหนือกลุ่มอื่นจริงๆ หากยังมีอุดมการณ์ยึดมั่นตามที่ท่านกล่าวไว้ นั่นคือ
                                                            (((  วายิบต้องเชื่อฟังผู้ปกครองเลวๆ  )))

ซุนนี่ได้อาศัยอะกีดะฮ์แบบนี้เอาตัวรอดปลอดภัยมาโดยตลอดในอดีต  เหมือนที่สุนทรภู่กวีไทยกล่าวว่า  เอาตัวรอดเป็นยอดดี

ในทางกลับกัน หากลองหันไปมองสภาพชีวิตของพวกชีอะฮ์ในยุคการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์ โดยเฉพาะสมัยของมุอาวียะฮ์ ,ยะซีดและพวกมัรวานียีน    ยุคราชวงศ์อับบาซียะฮ์ , พวกซิลญูก ราชวงศ์อัยยูบีน  เรื่อยมาจนมาถึงยุคการปกครองของพวกออตโตมาน(อุษมานียีน)  

พวกชีอะฮ์ถูกเข่นฆ่าเหมือนผักเหมือนปลา จนพวกเขาต้องหันมาใช้วิธี " ตะกียะฮ์ " เพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของพวกเขา    

ซุนนี่กลับหยิบยกเรื่องตะกียะฮ์นี้มาโจมตี  ชีอะฮ์ว่า ชอบตะกียะฮ์ โดยที่ซุนนี่มองข้ามความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ว่า

พวกชีอะฮ์ในอดีตต้องตายไปมากมาย ด้วยความผิดข้อหาเดียวคือ อิหม่ามผู้นำที่แท้จริงของพวกเขาคือ อะฮ์ลุลบัยต์นบี


บรรพบุรุษของซุนนี่เองในอดีต เคยใช้วิธีการตะกียะฮ์นี้เก่งยิ่งกว่าชีอะฮ์เสียอีก  ลองย้อนกลับไปศึกษาเรื่องนี้สิว่า จริงหรือไม่

               สมัยที่กาหลิบมะอ์มูน อับบาซีปกครองพระองค์เป็นมุอ์ตะซิละฮ์ ดังนั้นพระองค์จึงมีอะกีดะฮ์เชื่อว่า คัมภีร์กุรอ่านคือมัคลู๊ก ( สิ่งถูกสร้างหรือของใหม่ ) และพระองค์ก็เรียกร้องเชิญชวนให้อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ในสมัยนั้นเชื่อตามพระองค์  
อุละมาอ์ซุนนี่โดยส่วนมากต่างตอบรับพระองค์ ทั้งๆที่ในใจพวกเขาไม่เชื่อแบบนั้น เนื่องจากซุนนี่เชื่อว่ากุรอ่านนั้นกิดัม(คือเก่า,มีมาแต่ดั้งเดิม)  พวกซุนนี่ต้องยอมใช้วิธีตะกียะฮ์

พวกซุนนี่ใช้วิธีตะกียะฮ์นี้หนักที่สุดก็คือยุคที่ราชวงศ์ฟาตีมียะฮ์ปกครองที่อียิปต์เพราะราชวงศ์นี้เป็นชีอะฮ์อิสมาอิลียะฮ์


ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่อัลเลาะฮ์ตะอาลาสอนให้มนุษย์ใช้สติปัญญา  โองการกุรอ่านมากมายที่กล่าวว่า

كَذَلِكَ يُبَيِّنُ اللَّهُ لَكُمْ آَيَاتِهِ لَعَلَّكُمْ تَعْقِلُونَ

เช่นนั้นแหล่ะ อัลเลาะฮ์จะทรงอธิบายบรรดาโองการของพระองค์แก่พวกเจ้า เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ใช้สติปัญญา          

บทที่ 2 :242

อัลลอฮ์ไม่เคยสั่งให้เชื่อฟังผู้ปกครองชั่วเหมือนที่ซุนนี่พูด  มีแต่อัลลอฮ์ตำหนิผู้ปกครองชั่ว

وَمَنْ لَمْ يَحْكُمْ بِمَا أَنْزَلَ اللَّهُ فَأُولَئِكَ هُمُ الْكَافِرُونَ
وَمَنْ لَمْ يَحْكُمْ بِمَا أَنْزَلَ اللَّهُ فَأُولَئِكَ هُمُ الظَّالِمُونَ
وَمَنْ لَمْ يَحْكُمْ بِمَا أَنْزَلَ اللَّهُ فَأُولَئِكَ هُمُ الْفَاسِقُونَ


ผู้ใด ที่มิได้ตัดสิน (หรือปกครอง) ด้วยสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงประทานลงมา ชนเหล่านั้นคือ
กาฟิรูน (ผู้ไร้ศรัทธา)   ซอลิมูน (ผู้อธรรม) และ ฟาซิกูน (ผู้ฝ่าฝืน)  

บทที่ 5 : 44,45,47

และโองการเหล่านี้คืออะกีดะฮ์ชีอะฮ์ในเรื่องผู้ปกครอง  ที่ซุนนี่รับไม่ได้และถือว่าขัดกับซุนนี่.
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 22, 2009, 05:06:55 หลังเที่ยง

ตอน 17


                 อะฮ์ลุสสุนนะฮ์กับพวกผู้ปกครองรัฐได้ให้การร่วมมือกันเป็นอย่างดีมาโดยตลอด เป็นการปกป้องผลประโยชน์ของกันและกันมิให้เสียหาย และการร่วมมือนี้มีมาจนถึงยุคปัจจุบัน

             ในยามที่อะฮ์ลุสสุนนะฮ์อยู่อย่างสงบสุขและปลอดภัยเคียงข้างฝ่ายผู้ปกครองรัฐ ขณะเดียวกันกลุ่มอื่นๆกลับต้องใช้ชีวิตอยู่ในความหวาดกลัว และกระจัดกระจายไปทั่วทิศ พวกเขาต้องหนีการจับกุมของฝ่ายรัฐ  บางพวกถูกทำร้ายถูกเนรเทศ และบางพวกถูกตัดสินประหารชีวิต

             ในสมัยที่อาณาจักรอิสลามอยู่ภายใต้การปกครองของมุอาวียะฮ์ บินอบีสุฟยาน   มุอาวียะฮ์ชิงชังท่านอะลีและชีอะฮ์อะลีมาก เขาทั้งเนรเทศชีอะฮ์อะลี ทั้งทำร้ายและสังหารชีวิตพวกชีอะฮ์อะลีเหมือนผักเหมือนปลา



ในปีฮ.ศ.ที่ 51 เศาะหาบะฮ์ที่ชื่อ หะญัรบินอะดี อัลกินดีได้ถูกมุอาวียะฮ์สังหาร เพราะหะญัรมีความจงรักภักดีต่อท่านอะลีและไม่ยอมรับการปกครองของมุอาวียะฮ์

อัลฮากิม  อันนัยซาบูรี เจ้าของหนังสืออัลมุสตัดร็อก อะลัซเศาะฮีฮัยนิ บันทึกว่า

 حدثنا أبو بكر محمد بن أحمد بن بالويه ، ثنا إبراهيم الحربي ، حَدَّثَنَا مُصْعَبُ بْنُ عَبْدِ اللَّهِ الزُّبَيْرِيُّ قَالَ: « حُجْرُ بْنُ عَدِيٍّ الكندي يكنى أبا عبد الرحمن ، كان قد وفد إلى النبي صلى الله عليه وسلم ، وشهد القادسية ، وشهد الجمل ، وصفين مع علي رضي الله عنه قتله معاوية بن أبى سفيان بمرج عذراء ، وكان له ابنان : عبد الله ، وعبد الرحمن قتلهما مصعب بن الزبير صبرا (1) ، وقتل حجر سنة ثلاث وخمسين »

มุศอับ บินอับดุลลอฮ์ อัซ-ซุบัยรีเล่าว่า    

           หะญัรบินอะดี อัลกินดี ฉายาอบูอับดุลเราะห์มานเคยส่งคณะตัวแทนไปหาท่านนบี(ศ) เขาเคยร่วม(ออกศึก)กอดีซียะฮ์,สงครามญะมัล(อูฐ)และการรบที่ซิฟฟีนกับท่านอะลี  
มุอาวียะฮ์ บินอบีสุฟยานได้สังหารเขาตาย...

อ้างอิงจาก   อัลมุสตัดร็อก อะลัซเศาะฮีฮัยนิ   หะดีษที่ 6007

 سمعت أبا علي الحافظ ، يقول : سمعت ابن قتيبة ، يقول : سَمِعْتُ إِبْرَاهِيمَ بْنِ يَعْقُوبَ ، يقول : « قَدْ أَدْرَكَ حُجْرُ بْنُ عَدِيٍّ الجاهليةَ ، وأكل الدم فيها ، ثم صحب رسول الله صلى الله عليه وسلم وسمع منه ، وشهد مع علي بن أبي طالب رضي الله عنه الجمل ، وصفين ، وقتل في موالاة علي »


อิบรอฮีม บินยะอ์กูบเล่าว่า  

หะญัรบินอะดีอยู่ทันยุคสมัยญาฮิลียะฮ์ และเขากินเลือดในสมัยนั้น ต่อมาเขาได้มาร่วมอยู่กับท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ)และได้สดับฟังจากท่าน  และเขาได้ร่วมรบกับท่านอะลีในสงครามญะมัล สงครามซิฟฟีนและเขาถูกฆ่าตายใน(คดี)จงรักภักดีที่มีต่อท่านอะลี  

อ้างอิงจาก  อัลมุสตัดร็อก อะลัซเศาะฮีฮัยนิ   หะดีษที่ 6016


               นี่คือหลักฐานที่ซุนนี่ระบุชัดว่า  

สมัยที่ราชวงศ์อุมัยยะฮ์เรืองอำนาจนั้น พวกเขาได้ใช้อำนาจทางทหารกำจัดทุกคนที่ขัดขวางเส้นทางอำนาจของพวกเขา  ยกเว้นซุนนี่ที่อยู่อย่างสบาย  เพราพวกเขาได้สร้างอะกีดะฮ์เป็นเกราะปกป้องพวกเขาเอาไว้แล้วนั่นคือ  ซุนนี่ทุกคนจะต้องเชื่อฟังผู้ปกครองทั้งดีและเลว

เพราะฉะนั้นพวกอุมัยยะฮ์จึงไม่แตะต้องพวกซุนนี่  เนื่องจากไม่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของราชบัลลังค์นั่นเอง.

 
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 23, 2009, 10:55:37 ก่อนเที่ยง


ตอน 18

หลังจากกษัตริย์มุอาวียะฮ์สิ้นชีพ   บุตรชายของเขาคือ ยะซีด บินมุอาวียะฮ์ได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากบิดา

กษัตริย์ยะซีดแห่งราชวงศ์อุมัยยะฮ์ผู้นี้ได้ส่งคนของเขาไปหาท่านฮูเซนบินอะลีที่เมืองมะดีนะฮ์เพื่อให้เขามอบสัตยาบันต่อยะซีดในฐานะผู้ปกครองอันชอบธรรม    แต่ฝ่ายท่านฮูเซนได้ปฏิเสธและตัดสินออกเดินทางไปเมืองมักกะฮ์  หลังจากนั้นก็เดินทางมุ่งไปที่ประเทศอิรัก  

ยะซีดจึงส่งกองทัพติดตามไปคุมตัวท่านฮูเซน บุตรฟาติมะฮ์ บุตรีศาสดามุฮัมมัด  ทหารยะซีดได้ปิดล้อมท่านฮูเซนไว้ที่กัรบาลา ประเทศอิรัก ในปีฮ.ศ.60  

วันศุกร์ที่ 10 เดือนมุหัรร็อม ปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 61  กษัตริย์ยะซีดได้ส่งกองทัพไปล้อมท่านฮูเซนหลานชายท่านศาสดามุฮัมมัดที่แผ่นดินกัรบาลา ประเทศอิรัก และได้ลงมือสังหารท่านอย่างโหดเหี้ยมในสภาพกระหายน้ำ
โดยอ้างเหตุผลว่า ท่านฮูเซนไม่ยอมมอบสัตยาบันให้เขาในฐานะผู้ปกครอง ส่วนลูกหลานของศาสดามุฮัมมัดที่รอดชีวิต ถูกทหารคุมตัวเป็นเชลยส่งไปให้ยะซีดที่กรุงดามัสกัส ประเทศซีเรีย
พวกซุนนี่ลืมสิ่งที่ตระกุลอุมัยยะฮ์เหยียดหยามลูกหลานนบี ดังที่ซุนนี่เล่าไว้เอง
عن السديّ، عن أبي الديلم قال : لَمَّا جِيْءَ بِعَلِيِّ بْنِ الْحُسَيْنِ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ أَسِيْراً، فَأُقِيْمَ عَلَى دَرَجِ دِمَشْق، قَامَ رَجُلٌ مِنْ أَهْلِ الشَّامِ فَقَالَ : اَلْحَمْدُ لِلَّهِ الَّذِيْ قَتَلَكُمْ وَاسْتَأْصَلَكُمْ، وَقَطَعَ قَرْنَ الْفِتْنَةِ، فَقَالَ لَهُ عَلِيُّ بْنُ الْحُسَيْنِ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ : أَقَرَأْتَ الْقُرْآنَ ؟  قَالَ: نَعَمْ، قَالَ: أَقَرَأْتَ آلَ حم ؟  قَالَ : قَرَأْتُ الْقُرْآنَ وَلَمْ أَقْرَأْ آلَ حم ؟   قَالَ : مَا قَرَأْتَ : { قُل لاَّ أَسْـئَلُكُمْ عَلَيْهِ أَجْراً إِلاَّ ٱلْمَوَدَّةَ فِى ٱلْقُرْبَىٰ }  قَالَ : وَإِنَّكُمْ لَأَنْتُمْ هُمْ ؟   قَالَ : نَعَمْ .
อัซ-ซุดดีรายงานจากท่านอบี อัด-ดัยลัมเล่าว่า :   ตอนที่ท่านอะลี บุตรชายของท่านฮูเซนถูกคุมตัวเป็นเชลยมายืนอยู่ที่ถนนเมืองดามัสกัส  มีชายชาวเมืองซีเรียคนหนึ่งด่าท่านว่า : ขอบคุณอัลลอฮ์ที่ทรงสังหารพวกเจ้าและตัดเขาแห่งความวุ่นวาย
ท่านอะลี บุตรฮูเซนได้ถามชายชาวเมืองซีเรียคนนั้นว่า   : ท่านอ่านอัลกุรอ่านบ้างไหม ?  
ชายชาวเมืองซีเรีย :  เคยอ่านสิ    
ท่านอะลีบุตรฮูเซน : แล้วท่านเคยอ่านซูเราะฮ์อัชชูรอ(บทที่43)บ้างไหม
ชายชาวเมืองซีเรีย   :  ฉันเคยอ่านอัลกุรอ่าน แต่ไม่เคยอ่านซูเราะฮ์อัชชูรอ
ท่านอะลี บุตรฮูเซน  : ท่านคงไม่เคยอ่านโองการที่อัลลอฮฺทรงตรัสว่า  
จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัดต่อมุสลิมทั้งหลายว่า) ฉันไม่ขอค่าตอบแทนใด ๆ เพื่อการประกาศอิสลามนี้ ยกเว้น ให้แสดงความรักต่อญาติสนิท ) นี้ใช่ไหม ?  
ชายชาวเมืองซีเรียถามว่า   :  พวกท่านคืออัลกุรบา(ญาติสนิท)ของท่านศาสดามุฮัมมัดกระนั้นหรือ ?
ท่านอะลี บุตรฮูเซน ตอบว่า  :  ใช่แล้ว          
อ้างอิงจาก  
ตัฟสีรอัต-ต็อบรี   อิบนุ ญะรีร เล่ม 21 หน้า 528  ดูบทอัช-ชูรอ : 23
 
ญะลาลุดดีน อัสสิยูตีเล่าว่า
ولما قتل الحسين وبنو أبيه بعث ابن زياد برؤوسهم إلى يزيد فسر بقتلهم أولا ثم ندم لما مقته المسلمون على ذلك وأبغضه الناس وحق لهم أن يبغضوه.
تاريخ الخلفاء  للسيوطي   ج 1  ص 85
เมื่อท่านฮูเซนถูกสังหาร  อิบนุซิยาดได้ส่งศรีษะทั้งหลายของพวกเขา(ที่ตัด)ไปให้กับยะซีด  เขาแสดงความดีใจต่อการตายของพวกเขาในตอนแรก  ต่อมายะซีดเริ่มเสียใจ เมื่อบรรดามุสลิมโกรธเคืองที่เขาทำเช่นนั้น และประชาชนชิงชังเขา และเป็นความถูกต้องแล้วสำหรับประชาชนที่จะชิงชังยะซีด
อ้างอิงจากหนังสือ ตารีคุลคุละฟาอ์ โดยสิยูตี เล่ม  1 : 85

ถ้าพิจารณาตามความจริง  ยะซีดจำเป็นต้องแสแสร้งสำนึกผิดต่อการตายของหลานท่านศาสดาและหันมาทำดีกับญาติที่หลงเหลือ  เพราะมิเช่นนั้น  บัลลังค์ของเขาอาจไม่ยั่งยืนต่อไปนั่นเอง

ต่อมาเมื่อลูกหลานท่านศาสดามุฮัมมัดที่รอดชีวิตถูกส่งตัวกลับมายังเมืองมะดีนะฮ์อันเป็นบ้านเกิดของพวกเขา ท่านอะลี ซัยนุลอาบิดีน บุตรชายท่านฮูเซน และซัยนับน้องสาวของท่านฮูเซนได้จัดสถานที่บรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า ทหารยะซีดได้ทำอย่างไรกับท่านฮูเซนและครอบครัวของเขาให้ชาวเมืองมะดีนะฮ์ได้รับรู้ความจริง
 
عَنْ عَلِيِّ بْنِ الْحُسَيْنِ : أَنَّهُمْ حِيْنَ قَدَمُوْا الْمَدِيْنَةَ مِنْ عِنْدَ يَزِيْدِ بْنِ مُعَاوِيَّة مَقْتَلِ الْحُسَيْنِ ابْنِ عَلِيٍّ رَضِيَ اللهُ عنهما لَقِِيَهُ الْمِسْوَرُ بْنُ مخرمة فَقَالَ لَهُ هَلْ لَكَ إِلَيَّ مِنْ حَاجَةٍ تَأْمُرُنِيْ بِهَا قَالَ فَقُلْتُ لَهُ لاَ
ท่านอะลี บุตรฮูเซน เล่าว่า  : เมื่อพวกท่านเข้ามาที่เมืองมะดีนะฮ์ จากกษัตริย์ยะซีด(ที่ส่งตัวกลับมาหลังจากที่)ท่านฮูเซน บินอะลีถูกสังหาร    
อัลมิสวัร บินมัคร่อมะฮ์ได้เข้ามาพบท่านแล้วกล่าวกับท่านว่า  ท่านมีความเดือดร้อนอันใดที่จะให้ข้าพเจ้าช่วยเหลือไหม โปรดสั่งข้าพเจ้าให้ทำสิ่งนั้นเถิด   ท่านอะลี บิน ฮูเซนกล่าวกับเขาว่า  ไม่มี....
อ้างอิงจาก
ซอฮีฮุ อบีดาวูด  เล่ม 2 หน้า 390 หะดีษที่ 1821  เชคอัลบานีกล่าวเป็นหะดีษเศาะหิ๊หฺ

นับจากนั้นมาการบรรยายเรื่องราวของท่านฮูเซนในเดือนมุหัรร็อมจึงได้จัดมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน อันเป็นที่รู้จักกันในนาม
มัจญ์ลิสอาชูรอ ,   ชะอาเอ็ร ฮูซัยนียะฮ์   หรือที่ชาวไทยเรียกกันว่า  "  พิธีมุหัรร็อม  "

ซึ่งอุละมาอ์ซุนนี่ที่เข้าข้างราชวงศ์อุมัยยะฮ์ได้พยายามต่อต้านเรื่องงานไว้อาลัยให้กับท่านฮูเซนมาโดยตลอด โดยอ้างว่าท่านนบี(ศ)ไม่เคยทำ ดังนั้นจึงเป็นบิดอะฮ์
หากท่านนบีมุฮัมมัดยังมีชีวิตอยู่หลังหลานชายของท่านถูกสังหาร  เราคงได้เห็นท่านจัดงานไว้อาลัยนี้อย่างแน่นอน   พวกซุนนี่ไม่เคยใส่ใจกับคำพูดเหล่านี้
‏حُسَـيْنٌ ‏ ‏مِنِّيْ وَأنَا مِنْ ‏ ‏حُسَـيْنٍ ‏ ‏أحَبَّ اللهُ مَنْ أحَبَّ حُسَـيْناً  ‏
ท่านรอซูลุลลอฮ์กล่าวว่า  : ฮูเซนมาจากฉันและฉันมาจากฮูเซน  ขออัลลอฮ์โปรดรักบุคคลที่รักฮูเซน
หนังสือ ซิลซิละตุซ-ซอฮีฮะฮ์ มุคตะศ็อร เล่ม 3 หน้า 229 หะดีษที่ 1227  เชคอัลบานีกล่าวว่าเป็นหะดีษเศาะหิ๊หฺ
‏ ‏الحَسَـنُ ‏ ‏وَالْحُسَـيْنُ ‏ ‏سَـيِّدَا شَـبَابِ أهْلِ الْجَـنَّةِ
ท่านรอซูลุลลอฮ์ กล่าวว่า  : ฮาซันและฮูเซนคือหัวหน้าบรรดาชายหนุ่มแห่งสรวงสวรรค์
หนังสือ ซิลซิละตุซ-ซอฮีฮะฮ์ มุคตะศ็อร เล่ม 2 หน้า 423 หะดีษที่ 796  เชคอัลบานีกล่าวว่าเป็นหะดีษฮาซัน เศาะหิ๊หฺ
 
พวกซุนนี่ไม่ยอมฟังสิ่งที่ท่านศาสดาเตือนไว้ล่วงหน้าว่า
قَالَ رَسُوْلُ الله (ص) : أوَّلُ مَنْ يُغَيِّرُ سُنَّتِيْ رَجُلٌ مِنْ بَنِيْ أُمَيَّة
ท่านรอซูลุลลอฮ์กล่าวว่า : บุคคลแรกที่จะทำการเปลี่ยนแปลงซุนนะฮ์ของฉัน คือชายที่มาจากตระกูลอุมัยยะฮ์
หนังสือ  ซิลซิละตุล อะฮาดีษ อัซ-ซอฮีฮะฮ์ เล่ม 4 หน้า 329   หะดีษที่ 1749  
เชคอัลบานีกล่าวว่า : สายรายงานหะดีษนี้ ฮาซันคือดี / นักรายงานหะดีษนี้ เชื่อถือได้

ทั้งๆที่ซุนนี่บอกเล่าความชั่วร้ายของยะซีดลูกหลานตระกูลอุมัยยะฮ์ว่า เขาคือคนทำลายกะอ์บะฮ์
عَنْ عَطَاء  قَالَ :  لَمَّا احْتَرَقَ الْبَيْتُ زَمَنَ يَزِيْدِ بْنِ مُعَاوِيَّة حِيْنَ غَزَاهَا أَهْلُ الشَّامِ
ท่านอะตออ์เล่าว่า : บัยตุลเลาะฮ์ได้ถูกไฟเผาไหม้ในสมัยของกษัตรย์ยะซีด บิน มุอาวียะฮ์ ตอนที่ชาวเมืองช่ามยกทัพมารบกับชาวเมืองมักกะฮ์
อ้างอิงจากหนังสือ  
ซิลซิละตุล อะฮาดีษอัซ-ซอฮีฮะฮ์ เล่ม 1 : 42   หะดีษที่ 4  เชคอัลบานีกล่าวว่าเป็นหะดีษเศาะหิ๊หฺ  


ซุนนี่ลืมแม้กระทั่งเหตุการณ์ที่ยะซีดส่งทหารไปล้อมเมืองมะดีนะฮ์
وقال الشيخ شمس الدين الذهبي: لما فعل يزيد بأهل المدينة ما فعل، وقتل الحسين رضي الله عنه وإخوته، وأكثر من شرب الخمر وارتكب أشياء منكرة أبغضه الناس وخرج عليه غير واحد ولم يبارك الله تعالى في عمره.

فوات الوفيات ج 4  ص 328
المؤلف : محمد بن شاكر الكتبي  المحقق : إحسان عباس  الناشر : دار صادر - بيروت

อัซ-ซะฮะบี เล่าว่า  :  ตอนที่ยะซีดกระทำกับชาวเมืองมะดีนะฮ์ในสิ่งที่เขาทำลงไป และสังหารท่านฮูเซนกับพี่น้องของเขา และยะซีดได้ดื่มสุราอย่างมากมาย และก่อบาปกรรมไว้หลายสิ่งหลายอย่างอันน่ารังเกียจ  ประชาชนจึงชิงชังเขามาก
อ้างอิงจากหนังสือ ฟะวาตุล วัฟยาต  เล่ม 4 : 328
ความชั่วของทหารยะซีดที่ทำกับชาวเมืองมะดีนะฮ์คือ พวกทหารได้ข่มขืนผู้หญิงที่เมืองนั้นจนท้องไม่มีพ่อไปหลายร้อยคน


ท่ามกลางการปราบปรามประชาชนที่ต่อต้านยะซีดอย่างหฤโหด  แต่ซุนนี่ก็อยู่อย่างสุขสบาย เพราะพวกเขาสร้างกฎว่า   ซุนนี่ทุกคนจำเป็นต้องเชื่อฟังผู้ปกครองทั้งดีและเลว
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 24, 2009, 05:16:03 หลังเที่ยง


ตอน  19


ปีฮ.ศ. 65- 67 ที่เมืองกูฟะฮ์  

(คือช่วงที่กษัตริย์อับดุลมะลิก บินมัรวานบินฮะกัมปกครอง  ฮ.ศ. 65- 86 = ค.ศ.685 -705 )

อัลมุคต้าร อิบนิอบีอุบัยดฺ  อัษ-ษะเกาะฟี

เขาได้ชักชวนประชาชนลุกฮือขึ้นต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาลอุมัยยะฮ์ มุคต้ารได้สังหารทุกคนที่มีส่วนร่วมในการสังหารท่านฮูเซนบินอะลีเช่น
อุบัยดุลเลาะฮ์ บินซิยาดผู้ปกครองเมืองกูฟะฮ์
อุมัร บินสะอัด บุตรอบีวักกอศ
ชิมร์ บินซิลเญาชัน  

และในที่สุดมุคต้ารกับพวกก็โดนประหาร  นางอัมเราะฮ์ บินตินุอ์มานภรรยามุคต้ารก็โดนมุศอับบินอัซ-ซุบัยรฺสมุนรับใช้ราชวงศ์อุมัยยะฮ์สังหารนางหลังสามีตาย

ผลลัพท์ของผู้ที่รักอะฮ์ลุลบัยต์คือ

1.   ถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยม
2.   หรือไม่ก็ถูกใส่ร้ายว่าเป็นคนชั่ว


قال ابن حجر : كَانَ أَوَّل مَنْ خَرَجَ مِنْهُمْ الْمُخْتَار بْن أَبِي عُبَيْد الثَّقَفِيّ غَلَبَ عَلَى الْكُوفَة فِي أَوَّل خِلَافَة اِبْن الزُّبَيْر فَأَظْهَرَ مَحَبَّة أَهْل الْبَيْت وَدَعَا النَّاس إِلَى طَلَب قَتَلَة الْحُسَيْن فَتَبِعَهُمْ فَقَتَلَ كَثِيرًا مِمَّنْ بَاشَرَ ذَلِكَ أَوْ أَعَانَ عَلَيْهِ فَأَحَبَّهُ النَّاس ، ثُمَّ زَيَّنَ لَهُ الشَّيْطَان أَنْ اِدَّعَى النُّبُوَّة
فتح الباري لابن حجر ج 10 ص 410 ح : 3340

อิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานีกล่าวว่า :

บุคคลแรกที่ออกมา(ต่อสู้) จากในหมู่พวกเขาคือ อัลมุคต้าร บินอบีอุบัยดฺ อัษ-ษะเกาะฟี เขาสามารถครอบครองเมืองกูฟะฮ์ไว้ได้ในช่วงแรกของการปกครองของอิบนุซ-ซุบัยรฺ แล้วมุคต้ารได้สำแดงความจงรักภักดีต่ออะฮ์ลุลบัยต์ เขาเรียกร้องประชาชนไปสู่การทวงสิทธิเรื่องการสังหารท่านฮูเซน มีคนตามพวกเขา แล้วมุคต้ารไดสังหารไปมากมายจากผู้ที่มีส่วนร่วมโดยตรงกับการสังหารนั้นหรือมีส่วนให้ความช่วยเหลือในการสังหารฮูเซน  ประชาชนจึงมีความรักชมชอบมุคต้าร  ต่อมาชัยตอนได้ล่อลวงมุคต้ารให้ประกาศตนเป็นศาสดา

อ้างอิงจาก
ฟัตฮุลบารี โดยอิบนุหะญัร เล่ม 10 : 410 หะดีษที่ 3340

มุคต้าร ผู้มีความรักต่ออะฮ์ลุลบัยต์นบี ได้ต่อสู้จนตัวตายเพื่อแก้แค้นให้กับฮูเซนหลานชายศาสดามุฮัมมัด  เขากลับกลายเป็นปีศาจในสายตาตระกูลอุมัยยะฮ์และถูกซุนนี่ยุคราชวงศ์อุมัยยะฮ์กุหะดีษใส่ร้ายว่า  เขาเป็นจอมโกหกเพราะอ้างตนเป็นศาสดา เช่นหะดีษแบบนี้


عَنِ ابْنِ عُمَرَ قَالَ  قَالَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- « فِى ثَقِيفٍ كَذَّابٌ وَمُبِيرٌ ».
قَالَ أَبُو عِيسَى يُقَالُ الْكَذَّابُ الْمُخْتَارُ بْنُ أَبِى عُبَيْدٍ وَالْمُبِيرُ الْحَجَّاجُ بْنُ يُوسُفَ.  

จากอิบนุอุมัรเล่าว่า :  ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) กล่าวว่า (กาลข้างหน้า) ในเผ่าษะกีฟ (เผ่าหนึ่งจากเมืองตออิฟ) จะมีจอมโกหกและผู้ทำลายล้าง(คร่าชีวิตคนบริสุทธิ์)

อบูอีซา(คืออัต-ติรมิซี)อธิบายว่า
กัซซ๊าบคือ อัลมุคต้าร บินอบีอุบัยดิน
ผู้สร้างความเสียหายคือ หัจญ๊าจญ์ บินยูสุฟ
สุนัน ติรมิซี  หะดีษที่    2381
เชคอัลบานีกล่าวว่าเป็นหะดีษ   เศาะหิ๊หฺ ดูเศาะฮีฮุต- ติรมิซี  หะดีษที่ 3090
เศาะหิ๊หฺมุสลิม หะดีษที่ 6660

ท่านว่ามันจะกินกับปัญญาไหม  ที่คนดีอย่างมุคต้ารอุตส่าจับดาบล้างแค้นให้กับลูกหลานนบี  เพราะความรักที่มีต่อศาสดามุฮัมมัด เขาเจ็บปวดแทนศาสดาของอิสลาม ขณะที่เขาญิฮ๊าดเพื่ออะฮ์ลุลบัยต์และก็อ้างว่าข้าคือศาสดาไปในเวลาเดียวกันกระนั้นหรือ ?

การที่ฝ่ายซุนนี่ใส้ร้ายมุคต้าร ว่าเขาประกาศตนเป็นศาสดานั้น เป็นคำพูดที่ไร้หลักฐานซึ่งมาจากพวกซุนนี่เองทั้งสิ้น

หรือว่าบุคคลที่ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) กล่าวว่า ในเผ่าษะกีฟ จะมีจอมโกหกและผู้ทำลายล้างชีวิตคนคือ คนๆเดียวกัน ซึ่งนั่นคือ หัจญ๊าจญ์ บินยูสุฟ

อิบนุตัยมียะฮ์กล่าวว่า

المختار بن أبي عبيد الذي أظهر الإنتصار للحسين وقتل قاتله بل كان هذا أكذب وأعظم ذنبا من عمر بن سعد فهذا الشيعي شر

อัลมุคต้าร บินอบีอุบัยดฺที่แสดงความช่วยเหลือให้กับฮูเซนและสังหารคนที่ฆ่าฮูเซน  แต่ว่าชายคนนี้คือจอมโกหกและมีบาปใหญ่มหันต์ยิ่งกว่าอุมัรบินสะอัด(แม่ทัพที่ยกทัพไปล้อมฮูเซน) ชายคนนี้เป็นชีอะฮ์ คนเลว

อ้างอิงจากหนังสือ
มินฮาญุซ-ซุนนะฮ์  โดยอิบนุ ตัยมียะฮ์  เล่ม  2 : 70  


อิบนุตัยมียะฮ์ยังกล่าวอีกว่า

ويزيد خير من غيره خير من المختار بن أبي عبيد الثقفي

และยะซีดนั้นประเสริฐกว่าชีอะฮ์และมุคต้าร บินอบีอุบัยดฺ อัษษะเกาะฟี

จากหนังสือ   มินฮาญุซ-ซุนนะฮ์  โดยอิบนุ ตัยมียะฮ์  เล่ม 4 : 567  


ซุนนี่มักยกย่องคนชั่ว

หรือคนที่ชิงชังอะฮ์ลุลบัยต์ของนบีมุฮัมมัดว่า เป็นคนดี และเชื่อถือได้ในการรายงาน


قال الذهبي : حدثنا محمد بن الضحاك، عن أبيه قال: خرج الحسين، فكتب يزيد إلى بن زياد نائبه إن حسينا صائر إلى الكوفة، وقد ابتلي به زمانك من بين الازمان، وبلدك من بين البلدان، وأنت من بين العمال، وعندها تعتق، أو تعود عبدا.  فقتله ابن زياد، وبعث برأسه إليه.
سير أعلام النبلاء للذهبي  ج 3  ص 305

อัซ-ซะฮะบีกล่าวว่า  

มุฮัมมัด บินอัฎ-เฎาะฮ๊ากรายงานจากบิดาเขาว่า เมื่อฮูเซนออกไป(ที่อิรัก) ยะซีดได้เขียนสารไปยัง(อุบัยดุลเลาะฮ์)อิบนิซิยาดตัวแทนของเขาว่า แท้จริงฮูเซนได้เดินไปที่เมืองกูฟะฮ์ และเวลาของเจ้านี้นับเป็นช่วงแห่งการทดสอบมากว่าช่วงเวลาทั้งหลายและมากว่าบ้านเมืองใดๆทั้งสิ้น และเจ้าอยู่ท่ามกลางคนงานทั้งหลาย ซึ่งที่นั่นเจ้าต้องปล่อยและนำกลับมาอย่างทาส  แล้วอิบนุซิยาดได้สังหารเขา(ฮูเซน)และส่งศรีษะฮูเซนไปให้ยะซีด

อ้างอิงจากหนังสือ
สิยัร อะอ์ลามุน-นุบะลาอ์ โดยอัซซะฮะบี เล่ม 3 : 305

قال العجلي :
حسين بن على بن أبي طالب وقُتِلَ الحسينُ بن على بن أبي طالب بكربلاء قتله عبيد الله بن زياد
الثقات للعجلي  ج 1  ص 301  رقم : 310

อัลอิจญ์ลี อุละมาอ์ซุนนี่กล่าวว่า :

ฮูเซน บุตรอะลีบินอบีตอลิบ และฮูเซนถูกสังหารที่กัรบาลา อุบัยดุลเลาะฮ์คือคน(บงการ)สังหารเขา

อ้างอิงจากหนังสือ
อัษ-ษิกอต  โดยอัลอิจญ์ลี เล่ม 1 : 301 อันดับที่ 310

قال إبن حبان :
والذي تولى في ذلك اليوم حز رأس الحسين بن على بن أبى طالب شمر بن ذي الجوشن ثم أنفذ عبيد الله بن زياد رأس الحسين بن على إلى الشام مع أسارى النساء والصبيان من أهل بيت رسول الله صلى الله عليه وسلم على أقتاب مكشفات الوجوه والشعور فكانوا إذا نزلوا منزلا أخرجوا الرأس من الصندوق وجعلوه في رمح وحرسوه إلى وقت الرحيل ثم أعيد الرأس إلى الصندوق ورحلوا فبيناهم كذلك إذ نزلوا بعض المنازل وإذا فيه دير راهب فأخرجوا الرأس على عادتهم وجعلوه في الرمح وأسندوا الرمح إلى الدير فرأى الديرانى بالليل نورا ساطعا من ديره إلى السماء فأشرف على القوم وقال لهم من أنتم قالوا نحن أهل الشام قال وهذا رأس من هو قالوا رأس الحسين بن على قال بئس القوم أنتم
ثقات ابن حبان  ج 2  ص 312

ในวันนั้น(วันอาชูรอ) ผู้ที่ตัดศรีษะท่านฮูเซนบุตรอะลีคือชิมร์ บินซิลเญาชัน จากนั้นอุบัยดุลเลาะฮ์บินซิยาดได้สั่งให้ส่งศรีษะของฮูเซนบินอะลีไปที่เมืองช่าม พร้อมกับเชลยที่เป็นสตรีกับเด็กๆที่เป็นอะฮ์ลุลบัยต์ของท่านรอซูลุลเลาะฮ์ (โดยทหารได้ให้เชลย)นั่งบนอานอูฐในสภาพเปิดใบหน้าและเส้นผม(คือไม่มีฮิญาบคลุมศรีษะ)  
เมื่อพวกทหารแวะพักลงแห่งใด พวกเขาจะเอาศรีษะ(ฮูเซนปออกมาจากหีบ และเอาศรีษะนั้นไปเสียบไว้ที่ปลายหอก และคอยเฝ้าศรีษะนั้นไว้จนได้เวลาออกเดินทาง จากนั้นก็นำศรีษะกลับไปเก็บไว้ในหีบ  พวกทหารเดินทางต่อไปในขณะที่พวกเขาได้แวะพักในที่แห่งหนึ่ง ซึ่งตรงนั้นมีโบสถ์ของบาทหลวงคริสต์คนหนึ่ง  
พวกทหารได้เอาศรีษะออกมาอีกตามเดิมและเอาไปเสียบไว้ที่หอก แล้วเอาหอกนั้นไปวางพิงไว้ที่ข้างกำแพงโบสถ์   บาทหลวงได้แลเห็นแสงสว่างปรากฏขึ้นมาจากที่โบสถ์ของเขาสู่ท้องฟ้า  เขาจึงเข้ามาหาพวกทหารนั้น
และได้ถามพวกเขาว่า    พวกท่านเป็นใคร  ?
พวกทหารตอบว่า     พวกเราเป็นชาวเมืองช่าม
บาทหลวงถามว่า    และนี่เป็นศรีษะของผู้ใด ?  
พวกทหารตอบว่า   คือศรีษะของฮูเซน บุตรของอะลี
บาทหลวงจึงกล่าวว่า  พวกท่านช่างเป็นกลุ่มชนที่ชัวช้าเลวทรามยิ่งนัก

อ้างอิงจากหนังสือ
อัษ-ษิกอต โดยอิบนุ หิบบาน  เล่ม 2 : 312


แม้ว่าอุละมาอ์ซุนนี่จะบอกให้ชาวซุนนี่ทราบว่า  อุบัยดุลเลาะฮ์ บินซิยาดร่วมมือในการสังหารท่านฮูเซน บุตรอะลี  แต่ถึงกระนั้นพวกเขาก็ยอมรับว่า บุคคลคนนี้น่าเชื่อในการรายงานหะดีษและมุหัดดิษซุนนี่จึงบันทึกหะดีษของเขาไว้มากมาย ซึ่งถ้าเรามีโอกาสจะนำเสนอในคราวต่อไป


คำถามสำหรับซุนนี่

ตามสามัญสำนึกของท่าน  ท่านคิดว่า คนที่สังหารท่านฮูเซน หลานศาสดามุฮัมมัด  อย่างอุบัยดุลลเฮ บินซิยาด ยังมีความน่าเชื่อถือในการายงานหะดีษอีกหรือ  และยังเป้นคนที่ควรให้การยกย่องอีกหรือ
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 25, 2009, 12:40:34 หลังเที่ยง

ตอน 20


หัจญ๊าจญ์บินยูสุฟ มือสังหารประจำตระกูลอุมัยยะฮ์


ต่อมากษัตริย์อับดุลมาะลิกแห่งราชวงศ์อุมัยยะฮ์ได้แต่งตั้งหัจญ๊าจญ์บินยูสุฟ ให้เป็นหน่วยปราบปรามพิเศษพิทักษ์บัลลังค์     หัจญ๊าจญ์ผู้นี้มีจิตใจโหดเหี้ยมอำมหิต  เขาสังหารทุกคนที่ทำตัวต่อต้านต่อราชวงศ์อุมัยยะฮ์  

มีรายงานว่าหัจญาจญ์สังหารมุสลิมไปจำนวนนับแสนคน
عَنْ هِشَامِ بْنِ حَسَّانَ قَالَ أَحْصَوْا مَا قَتَلَ الْحَجَّاجُ صَبْرًا فَبَلَغَ مِائَةَ أَلْفٍ وَعِشْرِينَ أَلْفَ قَتِيلٍ.

จากฮิช่าม บินหัสซานเล่าว่า พวกเขาได้นับ(จำนวนคน)ที่หัจญ๊าจญ์ได้สังหาร  มีจำนวนถึง หนึ่งแสนสองหมื่นคน
สุนันติรมิซี หะดีษที่ 2382
เชคอัลบานี กล่าวว่าเป็นหะดีษ  เศาะหิ๊หฺ  ดูเศาะหิ๊หฺ วะดออีฟ สุนันติรมิซี หะดีษที่ 2220

หัจญาจญ์ได้สังหารคนดีโดยส่วนมากเช่น   ท่านสะอีด บินญุเบร

سعيد بن جبير أسدى كوفى تابعي ثقة
عن مغيرة قال ما كان يفتى الناس بالكوفة قبل الجماجم إلا سعيد بن جبير
كتاب : الثقات للعجلي  ج 1  ص 395 رقم : 578
อัลอิจญ์ลีกล่าวว่า  :
สะอีด บินญุเบร อะซะดี เป็นชาวเมืองกูฟะฮ์ เป็นตาบิอี  การรายงานเชื่อถือได้  จากมุฆีเราะฮ์เล่าว่า ไม่เคยมีผู้ใครให้คำฟัตวา(ทางศาสนา)แก่ประชาชนที่เมืองกูฟะฮ์ ก่อนที่จะเกิดการสู้รบที่ญะมาญิม นอกจากสะอีด
กิตาบ อัษ-ษิกอต  โดยอัลอิจญ์ลี เล่ม 1 : 395 อันดับ 578



سعيد بن جبير بن هشام :  كان فقيها عابدا ورعا فاضلا
خرج مع بن الأشعث في جملة القراء فلما هزم بن الأشعث بدير الجماجم هرب سعيد بن جبير إلى مكة فاخذه خالد بن عبد الله القسري بعد مدة وكان واليا لعبد الملك على مكة
وبعث به إلى الحجاج فقال له الحجاج اختر لنفسك أي قتلة شئت فقال اختره أنت فان القصاص أمامك فقتله الحجاج بن يوسف
الثقات لابن حبان  ج 4  ص 275  رقم : 2883
อิบนุ หิบบานกล่าวว่า :
สะอีดเป็นฟะกีฮฺ(ผู้รู้) เป็นอาบิ๊ด(คงแก่การทำอิบาดัต) เป็นคนวะเราะอ์(ยำเกรงอัลลอฮ์มาก) เป็นคนฟาฎิ้ล(ดีมีคุณธรรม)
สะอีดได้ออกไป(สู้รบต่อต้านพวกราชวงศ์อุมัยยะฮ์)กับอิบนุ อัชอัษในกลุ่มบรรดานักอ่านกุรอ่าน เมื่ออิบนุ อัชอัษพ่ายแพ้ที่ดีรุลญะมาญิม  สะอีดบินญุเบรจึงได้หลบหนีไปที่เมืองมักกะฮ์
คอลิด บินอับดุลเลาะฮ์ อัลก็อสรีได้จับกุมสะอีดไว้พักหนึ่ง คอลิดเป็นข้าหลวงของกษัตริย์อับดุลมะลิก บินมัรวาน (ที่แต่งตั้งให้คอลิดเป็นผู้ปกครอง)เมืองมักกะฮ์
คอลิดส่งตัวสะอีดไปให้หัจญาจญ์    หัจญาจญ์ได้กล่าวกับสะอีดว่า เจ้าจงเลือกสำหรับตัวเจ้าเองว่าจะตายแบบไหนที่เจ้าต้องการ  
สะอีดกล่าวว่า ท่านจงเลือกเองเถิด เพราะคนที่จะถูกสำเร็จโทษนี้อยู่ต่อหน้าเจ้า  แล้วหัจญาจญ์บินยูสุฟได้ฆ่าเขา
กิตาบ อัษ-ษิกอต โดยอิบนุหิบบาน  เล่ม 4 :275 อันดับที่  2883

อิบนุ หะญัรเล่าว่า :
كان ابن عباس إذا أتاه أهل الكوفة يستفتونه يقول أليس فيكم ابن أم الدهماء يعني سعيد بن جبير وقال عمرو بن ميمون عن أبيه لقد مات سعيد بن جبير وما على ظهر الارض أحد إلا وهو محتاج إلى علمه
มีชาวกูฟะฮ์ได้มาหาท่านอิบนุอับบาส เพื่อขอคำฟัตวา(คำวินิจฉัยทางศาสนา)จากเขา
อิบนุอับบาสกล่าวว่า  ในหมู่พวกท่านไม่มีอิบนุ อุมมุด- ดะฮ์มาอ์(คือสะอีดบินญูเบร)อยู่หรือไง ?



قال هشيم حدثني عتبة مولى الحجاج قال حضرت سعيد بن جبير حين أتى به الحجاج بواسط فجعل الحجاج يقول له ألم أفعل بك ألم أفعل بك فيقول بلى قال فما حملك على ما صنعت من خروجك علينا قال بيعة كانت علي قال فغضب الحجاج وصفق بيديه وقال فبيعة أمير المؤمنين كانت أسبق وأولى وأمر به فضربت عنقه.
ฮุชัยมุนเล่าว่า อุตบะฮคนรับใช้หัจญาจ์เล่าให้ฉันฟังว่า
เมื่อสะอีดบินญุเบรถูกนำตัวมาให้หัจญาจญ์ที่เมืองวาซิฏ(ประเทศอิรักซึ่งตอนนั้นกษัตริย์อับดุลมะลิกแต่งตั้งหัจญาจญ์ให้เป็นผู้ปกครองที่นั่น)
หัจญาจญ์เริ่มถามกับเขาว่า :  ข้าไม่เคยทำกับเจ้าหรือๆ  
สะอีดตอบว่า :  ใช่แล้ว
หัจญาจญ์กล่าวว่า  : อะไรพาเจ้าให้ทำการก่อกบฏต่อพวกเรา
สะอีดตอบว่า : การมอบสัตยาบัน (ที่ถูกต้องนั้น) คือท่านอะลี
อุตบะฮ์เล่าว่า  หัจญาจญ์โกรธมากและตบมือทั้งสองของเขา และหัจจญาจญ์กล่าวว่า  สัตยาบันของท่านอมีรุลมอ์มินีน(อับดุลมะลิก)นั้นต้องมาก่อนและมีสิทธิมากที่สุด (จากนั้น)หัจญาจญ์จึงได้สั่งให้ตัดคอสะอีด.
قال أبو قاسم الطبري هو ثقة إمام حجة على المسلمين قتل في شعبان وهو ابن (49) سنة وقال أبو الشيخ قتله الحجاج صبرا سنة (59).
تهذيب التهذيب لابن حجر  ج 4  ص 11  رقم : 14
อบู กอซิม อัฏ-ฏ็อบรีกล่าวว่า  เขา(คือท่านสะอีดบินญูเบร)นั้นมีความน่าเชื่อถือในการรายงานหะดีษ เขาเป็นอิหม่ามเป็นหลักฐานของปวงมุสลิม  เขาถูกสังหารในเดือนชะอ์บาน ตอนอายุ 49ปี   หัจญาจญ์คือคนสังหารเขาตายในปีฮ.ศ. 59  

อ้างอิงจากหนังสือ

ตะฮ์ซีบุต-ตะฮ์ซีบ เล่ม 4 : 11 อันดับที่ 14


ท่านจะเห็นได้ว่า  คดีที่หัจญาจญ์บินยูสุฟประหารชีวิตท่านสะอีดบินญุเบรอุลละมาอ์ในยุคนั้นที่หาตัวจับได้ยากคือ  

                                             สะอีด บินญูเบรเป็นชีอะฮ์อะลี

และเขาไม่ยอมรับว่า อับดุลมะลิก บินมัรวานแห่งตระกุลอุมัยยะฮ์ผู้ปกครองในเวลานั้นคืออิหม่ามที่เขาต้องให้สัตยาบัน
ส่วนหัจญาจญ์ก็บอกชัดว่า  อับดุลมะลิกคือ อมีรุลมุอ์มินีนของเขาอันชอบธรรม

แน่นอนอำนาจอยู่ในมือของคนชั่ว จะพูดจะทำอะไรก้ได้ตามใจชอบ และซุนนี่เองก็สนับสนุนคนชั่วแบบนี้ พวกเขาจึงครองอำนาจร่วมกันมาโดยตลอด.


แม้ว่า หัจจญาจญ์ บินยูสุฟจะชั่วช้าปานใด แต่ซุนนี่ในยุคนั้นก็ยอมนมาซตามหลังเขา ยอมฟังเขาคุฏบะฮ์เทศนา


เรื่องที่ผู้ปกครองรัฐ กับนักการศาสนาฝ่ายซุนนี่ที่มีอาชีพช่างทาสี คือชอบใส่ร้ายป้ายสีคนกลุ่มอื่นว่า มีอะกีดะฮ์ไม่ถูกต้อง เพราะไม่ตรงกับซุนนี่  

มุสลิมมากมายในอดีตจนปัจจุบันต้องโดนพวกเขาพิพากษาโทษตามอำนาจที่พวกเขามีมาโดยตลอดทุกยุคทุกสมัย
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 26, 2009, 11:32:55 ก่อนเที่ยง

ตอนที่ 21

ญะฮัม บิน ศ็อฟวาน


เขาพำนักอยู่ที่กูฟะฮ์ อยู่สมัยเดียวกับวาศิล บินอะฏออ์หัวหน้าพวกมุอ์ตะซิละฮ์
ญะฮัม บินศ็อฟวานถูกใส่ร้ายว่า

หนึ่ง -  ปฏิเสธ ซิฟาตของอัลเลาะฮ์  

สอง -  เชื่อว่า คัมภีร์กุรอ่าน คือ มัคลู๊ก

สาม -  มนุษย์ทุกคน ถูกลิขิตให้เดินตามที่อัลเลาะฮ์ประสงค์

 
[ ش ( الجهمية ) هم الطائفة من المبتدعة يخالفون أهل السنة في كثير من الأصول كمسئلة الرؤية وإثبات الصفات . ينسبون إلى جهم بن صفوأن من أهل الكوفة ]
سنن ابن ماجه  باب فيما أنكرت الجهيمة  ج 1  ص 62


มุหัดดิษซุนนี่ชื่อ อิบนุมาญะฮ์กล่าวว่า  อัลญะฮ์มียะฮ์ คือคนกลุ่มหนึ่งจากพวกบิดอะฮ์  พวกเขาขัดแย้งกับอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ในเรื่องอุศูลมากมาย  เช่นเรื่องการเห็นอัลเลาะฮ์ การยืนยันซิฟัตของอัลลอฮ์   คนกลุ่มนี้เกิดมาจากญะฮัม บินศ็อฟวาน เป็นชาวกูฟะฮ์

อ้างอิงจาก สุนัน อิบนิมาญะฮ์   บาบ ปฏิเสธพวกญะฮ์มียะฮ์  เล่ม 1 : 62


ปีฮ.ศ.  128  

ซาลิม บินอะห์วัซ อัลมาซินีได้สังหารญะฮัมที่เมืองเมรูในช่วงปลายการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์  ด้วยคดีญะฮัมคือเป็น   " มุรญิอะฮ์ "




ฆีลาน บินมัรวาน  อัด-ดิมัชกี


ต่อมาฆีลาน อัด-ดิมัชกี ก็ถูกฆ่าตาย  เพราะมีอะกีดะฮ์  ก็อดรียะฮ์

บิดาฆีลานคือคนรับใช้ท่านอุษมาน บินอัฟฟาน   ฮิช่าม บินอับดุลมะลิกคือผู้สั่งประหารชีวิตเขา

หลังจากนั้นเจ็ดปี  ราชวงศ์อุมัยยะฮ์ก็ล่มสลาย
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 26, 2009, 03:23:26 หลังเที่ยง

ตอนที่ 22

พฤติกรรมของผู้ปกครองในราชวงศ์อุมัยยะฮ์

ครองราชย์ระหว่างปี ฮ.ศ. 41-132 / ค.ศ. 661-750
ศูนย์กลางการปกครองที่ซีเรีย

ปีครองราชย์   รายชื่อกษัตริย์
ฮิจเราะฮ์ศักราช   คริสต์ศักราช  

41-60   661-680   มุอาวิยะห์ อิบนุ อบีสุฟยาน (มุอาวิยะห์ที่ 1)
60-64   680-683   ยะซีด ที่ 1
64-64   683-684   มุอาวิยะห์ ที่ 2
64-65   684-685   มัรวาน อิบนุ อัลหากัม (มัรวานที่ 1)
65-86   685-705   อับดุลมะลีก
86-96   705-715   อัลวะลีด ที่ 1
96-99   715-717   สุไลมาน
99-101   717-720   อุมัร อิบนุ อับดุลอะซีซ
101-105   720-724   ยะซีด ที่ 2
105-125   724-743   ฮิช่าม บินอับดุลมะลิก บินมัรวาน
125-126   743-744   อัลวะลีดที่ 2
126-126   744-744   ยะซีดที่ 3
126-127   744-744   อิบรอฮีม
127-132   744-750   มัรวาน อิลหิมาร์ (มัรวานที่ 2)

อ้างอิงจากเวป

http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php?topic=1214.0


1- มุอาวียะฮ์ บินอบีสุฟยาน บินหัรบ์ บินอุมัยยะฮ์  
 
1.   เปลี่ยนการปกครองจากระบอบคอลีฟะฮ์อิสลามไปเป็นระบอบกษัตริย์
2.   สั่งการให้ด่าทอสาปแช่งท่านอะลี บินอบีตอลิบบน มิมบัรทั่วทุกหัวเมือง
3.   วางยาพิษท่านฮะซัน บุตรท่านอะลี


เชิญท่านอ่านบทความที่ซุนนี่วิจารณ์ความประพฤติของราชวงศ์นี้เองเถิด

เวปไซต์ของโรงเรียนศาสนูปถัมภ์ปากพะยูนมูลนิธิ

http://ansor-ansunnah.tripod.com/pawatisa.htm

ราชวงศ์อุมัยยะฮ.

ก่อนหน้าท่านคอลีฟะฮ์อะลีจะสิ้นชีวิต มุอาวิยะฮ.ได้อ้างว่าตนเองเป็นเคาะลีฟะฮ.ที่ถูกต้อง หลังจากนั้น ตระกูลอุมัยยะฮ.ของเขาได้มีเคาะลีฟะฮ.ปกครองมุสลิมสืบทอดต่อกันมาถึง 14 คน จนถึง ค.ศ. 750 มุอาวิยะฮ.ได้ย้ายเมืองหลวงของแผ่นดินอิสลามจากมะดีนะฮ.ไปที่ดามัสกัส ซึ่งเป็นเมืองหลวงของซีเรีย เพราะเขาเคยเป็นผู้ปกครองอยู่ที่นั่นมาตั้งแต่สมัยของเคาะลีฟะฮ.อุษมาน และผู้สนับสนุนเขาก็อยู่ที่นั่นด้วย เคาะลีฟะฮ.ในสมัยราชวงศ์อุมัยยะฮ.แต่ละคนจะใช้วิธีการแต่งตั้งญาติใกล้ชิดของตัวเองเป็นผู้สืบทอดอำนาจต่อจากตน ก่อนที่จะเสียชีวิต ทั้งนี้เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการโต้แย้ง แต่ขณะเดียวกัน การทำเช่นนั้นก็เป็นการสร้างระบบการปกครองด้วยวงศ์ตระกูลขึ้นมา

แต่ขณะเดียวกัน ราชวงศ์อุมัยยะฮ.ก็เริ่มละทิ้งกฎระเบียบของอิสลาม คัมภีร์กุรอานมิได้ถูกนำมาใช้เป็นพื้นฐานของกฎหมาย และผู้ปกครองในราชวงศ์นี้มิได้เป็นมุสลิมที่ดีเหมือนกับเคาะลีฟะฮ.ในยุคต้น พวกเขาเริ่มสร้างวังหรูหราไว้นอกเมืองหลายแห่ง เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับการล่าสัตว์หรือการดื่มสิ่งมึนเมา และเต้นรำท่ามกลางผู้หญิงสวยงาม กวีและนักดนตรี สภาพเช่นนี้ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เริ่มไม่พอใจต่อการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ. ท้องพระโรงภายในวังของผู้ปกครองในสมัยนี้ปูด้วยหินอ่อนสีขาว กำแพงของมัสญิดถูกตกแต่งด้วยหินอ่อนสีสรรตระการตาและเหนือขึ้นไปก็จะประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีทองและสีอื่น ๆ ที่ตกแต่งเป็นรูปต้นไม้ เมืองต่าง ๆ และตัวอักษรอย่างวิจิตรงดงาม ภาพต้นไม้และเมืองที่มีชื่อเสียงทั้งหลายสามารถพบได้บนผนังสิ่งก่อสร้างเหล่านี้

ไม่นานนัก ได้มีชาวอาหรับกลุ่มหนึ่งใช้ความไม่พอใจนี้สร้างความปั่นป่วนวุ่นวายให้แก่ราชวงศ์อุมัยยะฮ. คนกลุ่มนี้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแผ่นดินที่ยึดมาจากอาณาจักรเปอร์เซียและเป็นลูกหลานของอับบาสซึ่งเป็นลุงของท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล) คนกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า อับบาซี คนกลุ่มนี้ได้เริ่มต่อต้านราชวงศ์อุมัยยะฮ.ด้วยการประณามความเลวทรามของผู้ปกครองก่อน หลังจากนั้นก็รวมคนที่สนับสนุนพวกตนขึ้นเป็นกองทัพและโค่นอำนาจการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ. ในการทำสงครามครั้งใหญ่ใน ค.ศ. 750 พวกอับบาซีได้รับชัยชนะและเมื่อเคาะลีฟะฮ.ถูกฆ่า อำนาจการปกครองมุสลิมของราชวงศ์อุมัยยะฮ.ก็ต้องสิ้นสุด

เวปไซต์ซุนนี่ชื่อมุสลิมชลบุรี

http://www.muslimchonburi.com/index.php?page=show&id=144

ได้ลงบทความวิจารณ์ความชั่วของมุอาวียะฮ์และตระกูลอุมัยยะฮ์ว่า

มุอาวียะฮ์(Mu awiyah)

ลักษณะพิเศษของสมัยอุมัยยะฮ์

การเข้าครอบครองอาณาจักรอิสลามของราชวงศ์อุมัยยะฮ์ไม่ได้หมายถึงแค่การเปลี่ยนราชวงศ์เท่านั้น แต่ยังหมายถึงการเปลี่ยนหลักการและกำเนิดขององค์ประกอบใหม่ๆ ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากมายต่อชะตากรรมของอาณาจักรอิสลามและพัฒนาการของประเทศอีกด้วย ดังจะเห็นได้คือในสมัยของคอลีฟะฮ์ทั้งสี่ ตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ถูกเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากในเมืองมะดีนะฮ์ และชาวอาหรับนอกเมืองมะดีนะฮ์ก็เคารพต่อการเลือกตั้งนั้นด้วย แต่ในสมัยมุอาวิยะฮ์เป็นต้นมา กษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดเป็นผู้แต่งตั้งผู้สืบต่อโดยท่านเอง และผู้ได้รับแต่งตั้งก็ทำสัตย์สาบานต่อหน้าท่าน ระบบการแต่งตั้งนี้เป็นการถอนรากถอนโคนลักษณะแบบสาธารณรัฐของอิสลามเสียสิ้น ในสมัยเคาะลีฟะฮ์ทั้งสี่บัยตุลมาลหรือกองคลัง สาธารณะเป็นสมบัติของประชาชน ประชาชนทุกคนในอาณาจักรมีสิทธิ์ในเงินนี้เท่าๆกัน แต่ทว่านับตั้งแต่สมัยมุอาวิยะฮ์มา กองคลังนี้ได้กลายเป็นสมบัติของราชวงศ์อุมัยยะฮ์ เคาะลีฟะฮ์ทุกท่านในราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ถือว่าบัยตุลมาลเป็นสมบัติส่วนตัวของตนและใช้จ่ายเงินทองในนั้นตามความประสงค์ของท่านเว้นแต่ อุมัรบินอับดุลอาซีซเท่านั้น
ในสมัยเคาะลีฟะฮ์สี่ท่าน เคาะลีฟะฮ์มีสภาอาวุโสเป็นผู้ช่วย เรื่องราวที่สำคัญทั้งหลายได้รับการอภิปรายปรึกษาหารือกันอย่างเปิดเผย คนธรรมดาสามัญก็มีเสียงในการปกครองนั้นด้วย ลักษณะสำคัญที่สุดของสมัยนั้นก็คือมีการคิดอย่างอิสระ และวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของรัฐบาลได้อย่างเสรี แต่ในสมัยอุมัยยะฮ์สภาอาวุโสได้ถูกล้มเลิกไปและไม่ยอมให้มีการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของรัฐบาลได้โดยเสรีอีกต่อไป
ในสมัยสาธารณรัฐอิสลาม คำสั่งสอนของท่านศาสดาได้กวาดล้างความอิจฉาริษยาระหว่างเผ่าพันธ์ออกไป ถึงแม้จะยังมีอยู่มันก็ถูกหักห้ามไว้ แต่ในสมัยอุมัยยะฮ์ได้มีการรื้อฟื้นความเป็นปรปักษ์ระหว่างเผ่าขึ้นมาใหม่เพื่อผลประโยชน์ของราชวงศ์นั่นเอง ความอิจฉาริษยาระหว่างพวกมุฏอรีย์(Mudarith)กับพวกฮิมยะรีย์(Himyarith) ซึ่งเกือบจะหมดไปแล้วในสมัยสาธารณรัฐอิสลามได้ทำให้กำลังของอิสลามอ่อนแอลง และเป็นองค์ประกอบสำคัญในการโค่นล้มราชวงศ์อุมัยยะฮ์ในตอนหลัง
เคาะลีฟะฮ์ทั้งสี่ทำตัวให้ราษฏร์แม้ที่ต่ำต้อยที่สุดก็เข้าถึงได้ ท่านมักจะออกมาเดินเที่ยวในยามกลางคืนเพื่อดูสภาพของประชาชนโดยไม่มีองค์รักษ์คุ้มครอง ท่านมีความเป็นอยู่ตามหลักการของอิสลาม ไม่เคยมีราชวังใหญ่โตอยู่ ตรงกันข้ามกับเคาะลีฟะฮ์ในสมัยอุมัยะฮ์ ซึ่งจะอยู่ในปราสาทราชวังและมีทหารองค์รักษ์ การดื่มสุรา การพนัน การแข่งม้า ฯลฯ ถูกนำมาในสังคม จึงนับได้ว่าศักราชใหม่ในประวัติศาสตร์ของอิสลามได้มาถึงพร้อมกับการเข้าครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์


จากบทความที่ซุนนี่เขียนสรุปความชั่วได้ดังนี้

1.   มุอาวิยะฮ.ได้อ้างว่าตนเองเป็นเคาะลีฟะฮที่ถูกต้อง
2.   ราชวงศ์อุมัยยะฮละทิ้งกฎระเบียบของอิสลาม คัมภีร์กุรอานมิได้ถูกนำมาใช้เป็นพื้นฐานของกฎหมาย และผู้ปกครองในราชวงศ์นี้มิได้เป็นมุสลิมที่ดีเหมือนกับเคาะลีฟะฮในยุคต้น
3.   สร้างวังหรูหราไว้นอกเมืองหลายแห่ง เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับการล่าสัตว์หรือการดื่มสิ่งมึนเมา และเต้นรำท่ามกลางผู้หญิงสวยงาม กวีและนักดนตรี
4.   ท้องพระโรงภายในวังของผู้ปกครองในสมัยนี้ปูด้วยหินอ่อนสีขาว กำแพงของมัสญิดถูกตกแต่งด้วยหินอ่อนสีสรรตระการตาและเหนือขึ้นไปก็จะประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีทองและสีอื่น ๆ ที่ตกแต่งเป็นรูปต้นไม้ เมืองต่าง ๆ และตัวอักษรอย่างวิจิตรงดงาม ภาพต้นไม้และเมืองที่มีชื่อเสียงทั้งหลายสามารถพบได้บนผนังสิ่งก่อสร้างเหล่านี้
5.   ราชวงศ์อุมัยยะฮ์ได้เปลี่ยนระบออคอลีฟะฮ์เป็นระบอบกษัตริย์ ระบบการแต่งตั้งนี้เป็นการถอนรากถอนโคนลักษณะแบบสาธารณรัฐของอิสลามเสียสิ้น
6.   ในสมัยเคาะลีฟะฮ์ทั้งสี่บัยตุลมาลหรือกองคลังสาธารณะ เป็นสมบัติของประชาชน ประชาชนทุกคนในอาณาจักรมีสิทธิ์ในเงินนี้เท่าๆกัน แต่ทว่านับตั้งแต่สมัยมุอาวิยะฮ์มา กองคลังนี้ได้กลายเป็นสมบัติของราชวงศ์อุมัยยะฮ์ พวกราชวงศ์อุมัยยะฮ์ทุกคนถือว่าบัยตุลมาลเป็นสมบัติส่วนตัวของตนและใช้จ่ายเงินทองในนั้นตามความประสงค์ เว้นท่านอุมัรบินอับดุลอะซีซเท่านั้น
7.   ในสมัยเคาะลีฟะฮ์สี่ท่าน เคาะลีฟะฮ์มีสภาอาวุโสเป็นผู้ช่วย เรื่องราวที่สำคัญทั้งหลายได้รับการอภิปรายปรึกษาหารือกันอย่างเปิดเผย คนธรรมดาสามัญก็มีเสียงในการปกครองนั้นด้วย ลักษณะสำคัญที่สุดของสมัยนั้นก็คือมีการคิดอย่างอิสระ และวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของรัฐบาลได้อย่างเสรี แต่ในสมัยอุมัยยะฮ์สภาอาวุโสได้ถูกล้มเลิกไปและไม่ยอมให้มีการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของรัฐบาลได้โดยเสรีอีกต่อไป
8.   ในสมัยสาธารณรัฐอิสลาม คำสั่งสอนของท่านศาสดาได้กวาดล้างความอิจฉาริษยาระหว่างเผ่าพันธ์ออกไป ถึงแม้จะยังมีอยู่มันก็ถูกหักห้ามไว้ แต่ในสมัยอุมัยยะฮ์ได้มีการรื้อฟื้นความเป็นปรปักษ์ระหว่างเผ่าขึ้นมาใหม่เพื่อผลประโยชน์ของราชวงศ์นั่นเอง ความอิจฉาริษยาระหว่างพวกมุฏอรีย์(Mudarith)กับพวกฮิมยะรีย์(Himyarith) ซึ่งเกือบจะหมดไปแล้วในสมัยสาธารณรัฐอิสลามได้ทำให้กำลังของอิสลามอ่อนแอลง
9.   เคาะลีฟะฮ์ทั้งสี่ทำตัวให้ราษฏร์แม้ที่ต่ำต้อยที่สุดก็เข้าถึงได้ ท่านมักจะออกมาเดินเที่ยวในยามกลางคืนเพื่อดูสภาพของประชาชนโดยไม่มีองค์รักษ์คุ้มครอง ท่านมีความเป็นอยู่ตามหลักการของอิสลาม ไม่เคยมีราชวังใหญ่โตอยู่  แต่กษัตริย์ในสมัยราชวงศ์อุมัยะฮ์ จะอยู่ในปราสาทราชวังและมีทหารองค์รักษ์ การดื่มสุรา การพนัน การแข่งม้า ฯลฯ ถูกนำมาในสังคม



คำถามสำหรับซุนนี่


อัลเลาะฮ์และระซูลสอนให้ท่านศรัทธาและยอมรับผู้ปกครองที่ทำตัวละเมิดบทบัญญัติอิสลามเหล่านี้เป็นผู้ปกครองกระนั้นหรือ

หรือเป็นเพราะพวกท่าน  เลือกเองเพื่อประโยชน์แก่ตัวพวกท่านเอง  จะได้อยู่อย่างสุขสบาย
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 26, 2009, 03:51:31 หลังเที่ยง

ตอน  23


2- ยะซีด บินมุอาวียะฮ์


1.   บงการสังหารท่านฮูเซน บุตรท่านอะลี ด้วยคดีไม่ยอมให้สัตยาบันแก่เขา
2.   เผาทำลายอัลกะอ์บะฮ์กิบละฮ์ของมุสลิมด้วยปืนมันญานี๊ก
3.   บุกล้อมนครมะดีนะฮ์สามวัน กองทหารได้ขืนใจสตรีนับร้อย



3- มุอาวียะฮ์  บินยะซีด


1.   ขึ้นเป็นกษัตริย์ได้สี่สิบวัน บ้างบอกสองเดือนและบ้างบอกสามเดือน จากนั้นได้ประกาศถอดถอนตัวเองจากบัลลังค์ และตายในปีฮ.ศ. 64  รวมอายุได้ 21 ปี
2.   สนับสนุนท่านอะลี ซัยนุลอาบิดีน บุตท่านฮูเซนเป็นผู้ปกครอง แต่ถูกพวกอุมัยยะฮ์ต่อต้าน
3.   ประณามการกระทำของปู่และบิดาต่อหน้าสาธารณชนว่าทั้งสองได้แย่งชิงอำนาจการปกครองอันชอบธรรมมาจากอะฮ์ลุลบัยต์นบี จนมารดาต่อว่าเขาว่า ข้าไม่น่าให้เจ้าเกิดมาเลย  มุอาวียะฮ์บินยะซีดตอบมารดาว่า ฉันก็คิดเช่นนั้น
4.   ก่อนตาย เขาถูกถามว่า ท่านจะแต่งตั้งใครเป็นกษัตริย์คนต่อไป เขาตอบว่า ข้าไม่เคยได้ลิ้มรสความหวานของมันเลยแล้วทำไมข้าจะต้องแบกรับความขมของมันไว้ด้วยล่ะ
มุอาวียะฮ์ บินยะซีด  ไม่มีบุตรและไม่ได้แต่งตั้งใครเป็นรัชทายาท ฝ่ายราชสำนักจึงแต่งตั้งให้มัรวาน  บินอัลฮะกัมเป็นกษัตริย์องค์ที่ 4  แห่งราชวงศ์อุมัยยะฮ์


4- มัรวาน บินอัลฮะกัม บินอบิลอาศ บินอุมัยยะฮ์


1.   ชายผู้นี้ต่อต้านท่านอะลีทั้งในสงครามญะมัลและซิฟฟีน
2.   ปีที่ ฮ.ศ.64 มุอาวียะฮ์บินยะซีดตาย การเมืองของตระกูลอุมัยยะฮ์และชาวเมืองช่ามเกิดสับสนโกลาหน  สุดท้ายชาวช่ามจึงได้ให้สัตยาบันกับมัรวาน และเขาเป็นคนแรกที่ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้ปกครองด้วยการใช้ดาบแย่งชิงอำนาจมา
มัรวานครองราชย์อยู่ได้ไม่ถึงปีก็ตายและได้แต่งตั้งบุตรชื่ออับดุลมะลิกเป็นกษัตริย์ต่อไป


ตระกูลมัรวานียีนที่ครองราชย์ต่อจากมัรวาน บินอัลฮะกัม บินอบิลอาศ บินอุมัยยะฮ์

5- อับดุลมะลิก บินมัรวาน
6-อัลวะลีด บินอับดุลมะลิก
7-สุไลมาน บินอับดุลมะลิก
8-อุมัร  บินอับดุลอะซีซ บินมัรวาน บินฮะกัม
9-ยะซีด บินอับดุลมะลิก
10-ฮิช่าม บินอับดุลมะลิก
11-อัลวะลีด บินยะซีด บินอับดุลมะลิก
12-ยะซีด บินอัลวะลีด
13-อิบรอฮีม บินอัลวะลีด
14-มัรวาน บินมุฮัมมัด บินมัรวาน บินอัลฮะกัม อัลฮิมาร



ราชวงศ์อุมัยยะฮ์ละทิ้งบทบัญญัติอิสลาม มิได้นำคัมภีร์กุรอ่านมาใช้เป็นพื้นฐานของกฎหมายปกครองประเทศ
ผู้ปกครองมิได้ทำตัวเป็นมุสลิมที่ดีแก่ประชาชน
สร้างวังหรูหราไว้นอกเมืองหลายแห่ง
ใช้วังเหล่านั้นเป็นสถานที่สำหรับการล่าสัตว์หรือการดื่มสิ่งมึนเมา และเต้นรำท่ามกลางผู้หญิงสวยงาม กวีและนักดนตรี
ท้องพระโรงภายในวังของผู้ปกครองในสมัยนี้ปูด้วยหินอ่อนสีขาว กำแพงของมัสญิดถูกตกแต่งด้วยหินอ่อนสีสรรตระการตาและเหนือขึ้นไปก็จะประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีทองและสีอื่น ๆ ที่ตกแต่งเป็นรูปต้นไม้ เมืองต่าง ๆ และตัวอักษรอย่างวิจิตรงดงาม ภาพต้นไม้และเมืองที่มีชื่อเสียงทั้งหลายสามารถพบได้บนผนังสิ่งก่อสร้างเหล่านี้


หากท่านผู้อ่าน มีความเคร่งครัดต่ออัลอิสลามอย่างแท้จริง  คงมองภาพออกว่า พวกตระกูลอุมัยยะฮ์โดยส่วนมากนั้นชั่วช้าฟาซิกแค่ไหน   แต่เรื่องแปลกอย่างหนึ่งก็คือ  ชาวซุนนี่ยังรักและเทิดทูนเอาไว้เหนือหัว
ส่วนสาเหตุเพราะอะไรนั้น  ท่านคงต้องใช้วิจารณญานกันเอาเอง...
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 29, 2009, 11:21:10 ก่อนเที่ยง

ตอน 24

ราชวงศ์อับบาซียะฮ์  ค.ศ.  750 - 1258

ดูสาแหรกตระกูลอับบาซียะฮ์ ได้ที่เวป

http://www.bawazir.com/abbasid-caliphs-lineage.htm
http://www.bawazir.com/abbasid-caliphs-arabic.htm


                    ในที่สุดคนในตระกูลอับบาส บุตรอับดุลมุตตอลิบ   ก็ได้โค่นล้มพวกบนูอุมมัยยะฮ์ลง และสถาปนาราชวงศ์อับบาซียะฮ์ขึ้นมาปกครองอาณาจักรอิสลาม มีศูนย์การปกครองอยู่ที่กรุงแบกแดด
ราชวงศ์นี้มีระยะการปกครองยาวนานถึง 524  ปี  ระหว่างปี ฮิจเราะฮ์ศักราช 132-247 เป็นช่วงแรกแห่งการเรืองอำนาจมากที่สุดของราชวงศ์นี้โดยกาหลิบ  10 คนแรก     ส่วนพวกอุมัยยะฮ์ที่เหลือก็ไปรวมตัวกันอยู่ที่อันดาลุส ประเทศสเปน

รายชื่อกาหลิบราชวงศ์อับบาซียะฮ์

خلفاء بني العباس (في بغداد)
ملاحظات    مدة الحكم    اللقب    الخليفة
     132-136    أبو العباس السفّاح    عبد الله بن محمد بن علي
     136-158    أبو  جعفر المنصور    عبد الله بن محمد
     158-169    المهدي    محمد بن عبد الله المنصور
     169-170    الهادي    موسى بن محمد المهدي
     170-193    الرشيد    هارون بن محمد المهدي
     193-198    الأمين    محمد بن هارون الرشيد
     198-218    المأمون    عبد الله بن هارون الرشيد
     218-227    المعتصم    محمد بن هارون الرشيد
     227-232    الواثق    هارون بن محمد المعتصم
     232-247    المتوكّل    جعفر بن محمد المعتصم
حكام العباسيين في دور سيطرة العسكريين
 
 
 
 
عصر سيطرة العسكريين الأتراك
(247-334)    274-248    المنتصر بالله    محمد بن جعفر المتوكل [1]
   248-252    المستعين بالله   أحمد بن محمد المعتصم
   252-255    المعتز بالله    محمد بن جعفر المتوكل [2]
   255-256    المهتدي بالله    محمد بن هارون ا لواثق
   256-279    المعتمد على الله   أحمد بن جعفر المتوكل
   279-289    المعتضد بالله    أحمد بن طلحة بن جعفر المتوكل
   289-295    المكتفي بالله   علي بن أحمد المعتضد
   295-320    المقتدر بالله    جعفر بن أحمد المعتضد
   320-322    القاهر بالله    محمد بن أحمد المعتضد
   322-329    الراضي بالله    محمد بن جعفر المقتدر
   329-333    المتقي لله    إبراهيم بن جعفر المقتدر
   333-334    المستكفي بالله    عبد الله بن علي المكتفي
عصر سيطرة الفرس البويهيين الشيعة
(334-447)    334-363    المطيع لله    الفضل بن جعفر المقتدر
   363-381    الطائع لله    عبد الكريم بن الفضل المطيع
   381-422    القادر بالله    أحمد بن إسحاق بن جعفر المقتدر
   422-467    القائم بأمر الله    عبد الله بن أحمد القادر
 
 
 
 
عصر سيطرة السلاجقة الأتراك
(447-656)
     467-487    المقتدي بأمر الله    عبد الله بن محمد بن عبد الله القائم
   487-512    المستظهر بالله    أحمد بن عبد الله المقتدي
   512-529    المسترشد بالله    الفضل بن أحمد المستظهر
   529-530    الراشد بالله    منصور بن الفضل المسترشد
   530-555    المقتفي لأمر الله   محمد بن أحمد المستظهر
   555-566    المستنجد بالله   يوسف بن محمد المقتفي
   566-575    المستضيء بأمر الله    الحسن بن يوسف المستنجد
   575-622    الناصر لدين الله   أحمد بن الحسن المستضيء
   622-623    الظاهر بأمر الله    محمد بن أحمد الناصر لدين الله
   623-640    المستنصر بأمر الله    منصور بن محمد الظاهر بأمر الله
   640-656    المستعصم بالله   عبد الله بن منصور المستنصر بالله



กาหลิบอัลมุตะวักกิล อับบาซี่

ได้ลงโทษอย่างรุนแรงต่อคู่กรณีของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์หรือซุนนี่ เช่นพวกชีอะฮ์และพวกมุอ์ตะซิละฮ์

   อัลมุตะวักกิลประกาศยกเลิกความเชื่อเรื่องคัมภีร์กุรอ่านคือมัคลู๊ก เขาเนรเทศพวกมุอ์ตะซิละฮ์ที่ก่อนหน้านี้กาหลิบมะอ์มูนให้การอุปถัมภ์  อัลมุตะวักกิลมีใจให้กับมัซฮับฮัมบาลีและทำร้ายวพวกที่ถือมัซฮับชีอะฮ์อย่างไร้ความปรานี  เขามอบทรัพย์สินและให้ความช่วยเหลือต่อพวกฮัมบาลี และยกย่องผู้ที่อยู่ในมัซฮับอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ มอบอำนาจการดูแลควบคุมกิจการศาสนาให้กับคนกลุ่มนี้
จากนั้นอัลมุตะวักกิลได้หันมาจัดการกับพวกมุอ์ตะซิละฮ์และพวกชีอะฮ์อย่างเลวทรามต่ำช้า  และเขาให้นักการศาสนาฝ่ายซุนนี่ออกประกาศฟัตวาว่า มุอ์ตะซิละฮ์กับชีอะฮ์คือพวกหลงทาง หลังจากนั้นอัลมุตะวักกิลก็ถูกสังหาร

ยุคการปกครองของอัลกอดิร บิลลาฮ์แห่งราชวงศ์อับบาซี่
ก็ให้การอุปถัมภ์ชาวซุนนี่ มีการให้ซุนนี่แต่งตำราอุศูลุดดีนขึ้นมา ซึ่งในตำรานี้ได้บรรจุเรื่อง ความประเสริฐของเศาะหาบะฮ์ (فضائل الصحابة) และฮุก่มพวกมุอ์ตะซิละฮ์เป็นกาเฟร(สิ้นสภาพความเป็นมุสลิม) และพวกที่กล่าวว่ากุรอ่านคือมัคลูกก้ตกเป้นกาเฟร  หนังสืออุศูลเล่มนี้ถูกนำมาอ่านทุกวันศุกร์ในหมู่นักวิชาการสาขาหะดีษที่มัสญิดอัลมะฮ์ดี ในกรุงแบกแดด


หากท่านพิจารณาการเมืองของผู้ปกครองอาณาจักรอิสลามตัวปลอมทั้งหลาย จะเห็นได้ว่า พวกฮากิมหรือซุลตอนจะหยิบยกนักการศาสนาในมัซฮับต่างๆที่มีผลประโยชน์ต่ออาจการปกครองของพวกเขามาอุปถัมภ์อยู่เคียงข้างบัลลังค์ของพวกเขาทุกยุค เช่น

กาหลิบมะอ์มูน อับบาซี่ได้เอาพวกมุอ์ตะซิละฮ์และพวกชีอะฮ์มาต่อต้านโจมตีอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ และแม่แต่อัลมุอ์ตะซิมกับอัลาษิกก็เดินเกมการเมืองนี้เช่นกันหลังจากมะอ์มูน

ที่อันดาลุส ประเทศสเปน พวกอุมัยยะฮ์ตั้งอัลหะกัม บินฮิชามเป็นอมีรุลอันดาลุส มีหน้าที่ออกฟัตวาและพิพากษาคดีตามมัซอับมาลิกี

ยุคที่พวกมะมาลีก
ขึ้นมาเรื่องอำนาจ พวกเขาก็อาศัยผลประโยชน์ทางการเมืองจากอิบนุตัยมียะฮ์และกลุ่มของเขาในการโจมตีมุสลิมแนวคิดกลุ่มอื่นๆ  และอิบนุตัยมียะฮ์และกลุ่มของเขาก็ได้ใช้อำนาจที่ผู้ปกครองให้นี้มาทำลายพวกชีอะฮ์ในซีเรีย
ต่อมาเมื่อแผนของพวกมะมาลีกล้มเหลว พวกเขาก็หันมาทำลายล้างอิบนุตัยมียะฮ์และคนกลุ่มนี้

เฉกเช่นยุคปัจจุบันที่พวกราชวงศ์ซาอู๊ด ผู้ปกครองประเทศซาอุดิอารเบียที่ได้รับผลประโยชน์ทางการเมืองจากคนกลุ่มวาฮาบียะฮ์ในการค้ำชูบัลลังค์อำนาจของพวกเขาเอาไว้ทั้งในประเทศและนอกประเทศ

ยุคที่เศาะลาหุดดีน อัลอัยยูบี
สามารถโค่นล้มราชวงศ์ฟาตีมียะฮ์ที่อียิปต์ได้สำเร็จ เขาก็กำหนดมัซฮับชาฟิอีและอะชาอิเราะฮ์ขึ้นเป็นทางการ และลงโทษพวกชีอะฮ์อย่างรุนแรงเช่น เนรเทศ และประหารชีวิต เหมือนที่พวกมะมาลีกและพวกออตโตมานก่อนหน้านี้ทำมาแล้ว โดยมีมาตรฐานที่อยู่ที่ว่า มุสลิมคนใดมีอะกีดะฮ์ไม่ตรงกับซุนนี่ มีโทษสถานเดียวคือตาย.
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 29, 2009, 11:49:38 ก่อนเที่ยง
ตอน  25  


ก่อนหน้าที่คำว่า   " อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ "  จะปรากฏในสังคมมุสลิมนั้น  

พวกผู้ปกครองในราชวงศ์อุมัยยะฮ์ได้ใช้ประโยชน์จากกลุ่มมุรญิอะฮ์และกลุ่มญับรียะฮ์ ในการปิดประตูทางความคิดของประชาชนเรื่องผู้นำที่ถูกต้องตามหลักการอิสลามมาแล้ว
เพราะตอนนั้นประชาชนกำลังพิจารณาระหว่าง อะฮ์ลุลบัยต์นบีและชีอะฮ์ของอะฮ์ลุลบัยต์  กับพวกราชวงศ์อุมัยยะฮ์ และพวกเคาะวาริจญ์ที่ตั้งตนเป็นศัตรูต่อทั้งสองฝ่าย
มุรญิอะฮ์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อมอมเมาประชาชนยุคนั้นให้มองความขัดแย้งทางการเมืองการปกครองระหว่างตระกูลอุมัยยะฮ์กับตระกูลอะละวี(ลูกหลานของท่านอะลี)เป็นเรื่องที่ต้องมอบหมายให้อัลลอฮ์เป็นผู้ตัดสินชะตาชีวิตเอง เพราะฉะนั้นประชาชนที่มีความคิดแบบมุรญิอะฮ์จึงไม่ลุกขึ้นต่อสู้หรือให้ความช่วยเหลือฝ่ายชีอะฮ์หรือฝ่ายเคาะวาริจญ์ทั้งทางกองทหารหรือทางการเมืองทำให้พวกตระกุลอุมัยยะฮ์เบามือลงไป


เพราะพวกมุรญิอะฮ์ถือว่า

บุคคลใดกล่าวว่า ลาอิลาฮะ อิลัลเลาะฮ์ เขาคนนั้นเป็นมุอ์มิน อีหม่านคือความเชื่อไม่ใช้การปฏิบัติ ไม่ใช่อิบาดัตที่ต้องทำ ดังนั้นเมื่อมุอาวียะฮ์ก็มีกะลิมะฮ์ ท่านอะลีก็มีกะลิมะฮ์ ทั้งสองเป็นมุอ์มิน เมื่อมุอ์มินกับมุอ์มินรบกันพวกเขาจึงไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว พวกเขามุ่งหวังให้อัลเลาะฮ์เป็นผู้จัดการเรื่องนี้เอง


ส่วนพวกญับรียะฮ์

ก็มีแนวคิดปฏิเสธซิฟัตต่างๆของอัลเลาะฮ์ และยืนยันรับรองไว้แค่สองซิฟัตเท่านั้นคือ ซิฟะตุลฟิ๊อฺลิกับซิฟะตุลค็อลกิ(إثبات صفتي الفعل والخلق)ด้วยพื้นฐานความคิดแบบนี้ พวกญับรียะฮ์จึงถือว่าไม่ถูกต้องที่จะไปอธิบายบรรดามัคลูกของอัลเลาะฮ์ ด้วยสองซิฟัตดังกล่าวมา  ดังนั้นมนุษย์จึงไม่มีทางเลือกอิสระที่จะทำหรือไม่ทำด้วยตัวเอง จึงกลายเป็นว่ามนุษย์ถูกบังคับถูกคอนโทรลในการกระทำของพวกเขา




ความคิดของ พวกญับรียะฮ์จึงนำมารับใช้พวกผู้ปกครองได้เป็นอย่างดี  เพราะคนกลุ่มนี้ก็จะปฏิเสธความรับชอบการกระทำหรือความผิดของตัวพวกเขาเอง  ตราบใดที่พวกเขามีอะกีดะฮ์ว่า พวกเขาถูกบังคับให้เดินอย่างไร้ทางเลือกไร้อิสระ
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 29, 2009, 03:01:13 หลังเที่ยง

ตอน  26

อะฮ์ลุสสุนนะฮ์เอามาอะไรมาวัดว่า  พวกเขาคือมัซฮับที่ถูกต้อง

 

เราจำเป็นต้องวิเคราะห์เจาะหาสาเหตุว่า ทำไมอะฮ์ลุสสุนนะฮ์หรือพวกซุนนี่จึงกล่าวว่า หลักศรัทาของตนเองถูกและหลักศรัทธาที่ตรงข้ามกับพวกเขานั้นผิด


ทำไมซุนนี่จึงคิดว่า พวกตนคือกลุ่มรอดปลอดภัย  (الفرقة الناجية) ตามความนึกคิดของพวกซุนนี่เพียงฝ่ายเดียว
อะฮ์ลุสสุนนะฮ์จะประณามกลุ่มอื่นๆว่าเป็น พวกบิดอะฮ์ พวกเฎาะลาละฮ์


อัลบัฆดาดี นักวิชาการซุนนี่กล่าวว่า

สิ่งที่ถูกต้องตามทัศนะของเรา(ทัศนะของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์)กล่าวคือ แท้จริงอุมมัตอิสลาม จะมีมติยืนยันตรงกันในเรื่อง  โลกคือสิ่งที่อุบัติใหม่  ผู้สร้างโลกมีเพียงองค์เดียว  พระองค์มีมาแต่เดิม  เรื่องซิฟัตของพระองค์  ความยุติธรรมของพระองค์  ฮิกมะฮ์ของพระองค์ ปฏิเสธการเปรียบความเหมือนออกไปจากพระองค์  เรื่องนุบูวะฮ์ของมุฮัมมัด(ศ)  เรื่องสาส์นของเขาที่มีไปยังประชาชาติทั้งหลาย การให้การสนับสนุนรับรองชะรีอะฮ์ของเขา  ทุกสิ่งที่เขานำมานั้นคือสัจธรรม  แท้จริงคัมภีร์กุรอ่านคือต้นกำเนิดของอะห์กามชะรีอะฮ์  แท้จริงกะอ์บะฮ์คือกิบลัตที่จำเป็นต้องนมาซหันหน้าไปยังมัน  ดังนั้นทุกคนที่ยืนยันต่อสิ่งเหล่านั้นทั้งหมด และไม่นำมันไปเปรียบกับสิ่งทีเป็นบิดอะฮ์(อุตริกรรม)อันส่งผลไปสู่การกุฟร์(ไร้ศรัทธา)  เพราะฉะนั้นเขาคนนั้นก็คือชาวซุนนี่ มุวะห์ฮิด

อ้างอิงจากหนังสือ

อัลฟิร็อก บัยนัลฟิร็อก บาบุษ-ษานี อัลฟัศลุลเอาวัล  

โลดหนังสือเล่มนี้ได้ที่เวป

http://majles.alukah.net/showthread.php?t=8287


จากคำพูดของอัลบัฆดาดีข้างต้น ซุนนี่คิดว่าตนเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้นหรือที่เชื่อเช่นนั้น


สาเหตุหลักคือ  " หะดีษ หรือ ริวายะฮ์ "    พวกซุนนี่ได้ยึดรายงานของพวกเขาฝ่ายเดียวเป็นหลักเกณฑ์และกำหนดเป็นพื้นฐานความเชื่อเอามาฮุก่มมุสลิมกลุ่มอื่นๆว่า ผิด


ต่อมาซุนนี่ก็เริ่มอุปโลกน์สร้างทฤษฎีต่างๆดังต่อไปนี้เช่น
 
-   เศาะหาบะฮ์ทุกคนเป็นคนดีมีคุณธรรม(อะดาละฮ์ เศาะหาบะฮ์)
-   ทฤษฎีที่ว่าจำเป็นต้องเชื่อฟังผู้ปกครอง
-   ทฤษฎีที่ต้องยกย่องบรรดาผู้ปกครอง
-   ความเชื่อที่ว่า อัลเลาะฮ์มีการเสด็จขึ้น เสด็จลง มีหัวเราะและอื่นๆอันเป็นเรื่องราวที่ได้มาจากหะดีษต่างๆ


ผลลัพท์ของอะกีดะฮ์ที่ซุนนี่สร้างขึ้นมาจากหะดีษเหล่านั้นก็คือ  อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ถือว่า ใครก็ตามที่ไม่ยอมรับอะกีดะฮ์ของซุนนี่  ถือว่าเขาคือฝ่ายค้านของซุนนี่


อะฮ์ลุสสุนนะฮ์อาศัยอำนาจการสนับสนุนที่ฝ่ายผู้ปกครองมอบให้ ยัดเหยียดอะกีดะฮ์ของตนให้ประชาชนยอมรับ และนักการศาสนาซุนนี่ประณามมุสลิมกลุ่มอื่นว่าผิดหมดเช่น

มุรญิอะฮ์  /  ก็อดรียะฮ์  /  มุอ์ตะซิละฮ์ /  ญะฮ์มียะฮ์ / ชีอะฮ์ และมุสลิมกลุ่มอื่นๆอีกมากมาย

ปัจจบันพวกอุละมาอ์วาฮาบี  ที่รับใช้ผู้ปกครองประเทศซาอุดิอารเบีย ถึงกับออกมาประกาศว่า  พวกอะชาอิเราะฮ์และมาตูริดียะฮ์ ไม่ใช่ อะฮ์ลุสสุนนะฮ์   ทั้งๆที่ทั้งสองกลุ่มคือซุนนี่

قال الشيخ ابن عثيمين في شرحه لـ ((الواسطية)) (1/53): ((عُلِمَ من كلام المؤلف رحمه الله أنه لا يدخل فيهم من خالفهم في طريقتهم، فالأشاعرة مثلاً والماتريدية لا يُعَدُّون من أهل السنة والجماعة
لأنهم مخالفون لما كان عليه النبي - صلى الله عليه وسلم - وأصحابه في إجراء صفات الله سبحانه وتعالى على حقيقتها،
لهذا يخطئ من يقول: إن أهل السنة والجماعة ثلاثة: سلفيُّون، وأشعريُّون، وماتريديُّون، فهذا خطأ؛ نقول: كيف يكون الجميع أهل سنة وهم مختلفون؟!
شرح العقيدة الواسطية   لِمُحمد بن صالح العثيمين   ج 1 ص 25

เชคอิบนุอุษัยมีนกล่าวไว้ในหนังสือชัรฮุลอะกีดะติลวาซิฏียะฮ์ของเขาเล่ม 1 หน้า 25 ว่า :   จึงเข้าใจได้จากคำพูดของผู้เขียน(คือท่านอิบนุตัยมียะฮ์) ว่าไม่ได้เข้าอยู่ร่วมในพวกเขา ผู้ที่ขัดแย้งกับพวกเขาในแนวทางของพวกเขาเช่น อะชาอิเราะฮ์และมาตูรีดียะฮ์ ทั้งสองไม่ถูกนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
เพราะพวกเขา(อะชาอิเราะฮ์และมาตูรีดียะฮ์) มีความเชื่อขัดแย้งกับสิ่งที่ท่านนบีและบรรดาเศาะหาบะฮ์กล่าวไว้ในรายละเอียดเรื่องซิฟาตุลเลาะฮ์บนฮะกีกัตของมัน
ด้วยเหตุนี้จึงเป็นความผิดพลาดของผู้ที่พูดว่า แท้จริงของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์นั้นมีสามกลุ่มคือ สะละฟีย์  อะชาอิเราะฮ์ และมาตูรีดียะฮ์  คำกล่าวเช่นนี้ถือว่าผิด
เราขอกล่าวว่า ทั้งสามกลุ่มนั้นจะเป็นอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ได้อย่างไรในเมื่อพวกเขามีความเชื่อขัดแย้งกัน ?
หนังสือชัรฮุลอะกีดะติลวาซิฏียะฮ์ โดยเชคอิบนุอุษัยมีน เล่ม 1หน้า 25

อัลลามะฮ์มุหัมมัด บินศอและห์ อัลอุษัยมีน เกิด 1347 มรณะ 1421 ฮ.ศ. รวมอายุ 74 ปี
http://www.ibnothaimeen.com/all/Shaikh.shtml

อัลลามะฮ์มุหัมมัด บินศอและห์ อัลอุษัยมีนนักปราชญ์ผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูงแห่งประเทศซาอุดิอารเบียได้ประกาศชัดว่า :
มัซฮับอะชาอิเราะฮ์และมาตูรีดียะฮ์  ไม่ใช่อะฮ์ลุสสุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์  
เพราะ อะกีดะฮ์ของอะชาอิเราะฮ์ขัดแย้งกับท่านนบีมุหัมมัดและเศาะหาบะฮ์.
ส่วนพวกอะชาอิเราะฮ์ ก็พยายามปกป้องตนเองว่า เขานั่นแหล่ะคืออะฮ์ลุสสุนนะฮ์ที่แท้จริง ส่วนวาฮาบีนั้นไม่ใช่

พวกอะชาอิเราะฮ์เองก็ต่อต้านพวกวาฮาบีแบบสุดๆ  ซ฿งท่านสามารถอ่านบทความดจมตีของฝ่ายอะชาอิเราะฮ์ได้ที่เวป


http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php?action=printpage;topic=3911.0

 

ยิ่งกว่านั้นนักการศาสนาฝ่ายซุนนี่บางคนที่มีอาการขั้นโคม่า มีความตะอัซซุบและฆุล๊าตหนักเกินความพอดียังกล่าวเกินหะดีษโดยฟันะงฮุก่มมุสลิมกลุ่มอื่นๆว่า เป็น " กาเฟ็ร "


หากท่านอยากรู้ว่า ซุนนี่มีนิสัยชอบฮุก่มมุสลิมกลุ่มอื่นๆอย่างไร ก็ต้องลองไปอ่านหนังสืออะกีดะฮ์ของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ได้จากหนังสือดังต่อไปนี้

อัลอะกีดะฮ์ อัต-ต่อฮาวียะฮ์ (  العقيدة الطحاوية)
ดูเวป
http://www.al-eman.com/islamlib/viewchp.asp?BID=133&CID=1

อะกีดะฮ์ อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ ของอิหม่ามอิบนิฮัมบัล (عقيدة أهل السنة لابن حنبل )

อัลอะกีดะฮ์ อัลวาซีตียะฮ์ ของอิบนุตัยมียะฮ์ (العقيدة الواسطية لابن تيمية )
ดูเวป
http://www.islamhouse.com/tp/27132

หนังสืออะกีดะฮ์ข้างต้นจะกล่าวว่า อะไรคือความเชื่อของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ หลังจากนั้นเจ้าของตำราก็จะประณามว่า หากใครมีอะกีดะฮ์ตรงกันข้ามกับอะกีดะฮ์ตามที่เจ้าของตำราระบุไว้  เขาคนนั้นคือพวกบิดอะฮ์ พวกเฎาะลาละฮ์ พวกกาเฟร พวกซินดีก


และนี่คือความเห็นแก่ตัวของพวกเขา ที่พูดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียวนมมานานหลายศตวรรษ แต่ถ้าหากพวกซุนนี่ค้นพบตำราจากฝ่ายอื่นที่เขียนในทำนองนี้บ้างพวกเขาก็ยิ่งหยิบเอามาโจมตี โดยพวกเขาลืมสิ่งที่ตัวเองทำมาก่อนและยังทำอยู่จนปัจจุบัน.
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 29, 2009, 03:10:45 หลังเที่ยง

ตอน  27

จากการที่อุละมาอ์ฝ่ายวาฮาบี ออกมาประกาศว่า  อะชาอิเราะฮ์  ไม่ใช่ อะฮ์ลุสสุนนะฮ์  

จึงทำให้ฝ่ายอะชาอิเราะฮ์ออกมตอบโต้ว่า     วาฮาบี  ก็ไม่ใช่   อะฮ์ลุสสุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ เหมือนกันถ้ามาฮุก่มพวกเขาเช่นนั้น

อ้างอิงจากเวป

http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php?action=printpage;topic=3638.0



หัวข้อ    วะฮาบีย์คืออะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์หรือไม่ ?


(อาจารย์อัซฮะรี นักวิชาการมัซฮับอะชาอิเราะฮ์ในเมืองไทยกล่าวว่า ) :

ปราชญ์แห่งโลกอิสลามได้นำเรื่องอะกีดะฮ์มาเป็นตัวตัดสินว่า  กลุ่มใดคือกลุ่มอะฮ์ลิสซุนนะฮ์และกุล่มใดคือกลุ่มบิดอะฮ์  อนึ่ง  คำถามนี้ผมถือว่าไม่จำเป็นต้องตอบเพราะได้นำเสนอหลักการในกระทู้ต่าง ๆ ไว้เรียบร้อยแล้ว  แต่ยังมีวะฮาบีย์บางคนเร่งเร้าให้ผมตอบ  ดังนั้นผมจึงขอตอบด้วยใจเป็นธรรมและปราศจากความอคิต  ซึ่งผมจะไม่ตอบแบบเจาะจง  แต่จะบ่งถึงคุณลักษณะของผู้ที่อยู่ในแนวทางบิดอะฮ์เบี่ยงเท่านั้น  และผมก็หวังอย่างยิ่งว่าพี่น้องบางส่วนจะอยู่ในกลุ่มที่หนึ่ง  กล่าวคือ

กลุ่มวะฮาบีย์นั้นแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม :


1. กลุ่มวะฮาบียะฮ์ที่มั๊วะตะดิละฮ์  

หมายถึงกลุ่มวะฮาบีย์ที่เป็นกลาง  ไม่กล่าวหาฮุกุ่มบิดอะฮ์ต่อกลุ่มอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์และอัลมะตูรีดียะฮ์แบบเหมารวมว่าเป็นกลุ่มที่บิดอะฮ์เบี่ยงเบน  ซึ่งวะฮาบีย์กลุ่มนี้ถือว่าอยู่ในแนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์โดยความหมายรวม โปรดดูกระทู้ ตัวอย่างของจุดยืนนี้ (http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php?topic=3423.0) จากกลุ่มที่หนึ่ง


2. กลุ่มวะฮาบียะฮ์ฆุลาฮ์  

หมายถึงกลุ่มวะฮาบีย์สุดโต่ง  ซึ่งกลุ่มนี้จะทำการฮุกุ่มบิดอะฮ์ต่อทุกแนวทางที่ไม่เหมือนกับตน  เช่น  ฮุกุ่มแนวทางอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์และอัลมะตูรีดียะฮ์และแนวทางอื่น ๆ ที่ต่างจากแนวทางของตนเองว่าเป็นพวกบิดอะฮ์เบี่ยงเบน  ซึ่งวะฮาบีย์กลุ่มนี้จะพรรณาคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์โดยมีหลักการที่ตัชบีห์(พรรณาคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์คล้ายกลับมัคโลค) และมีหลักการตัจญ์ซีม(พรรณาคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์โดยเป็นรูปร่าง)  แน่นอนพวกเขาที่มีคุณลักษณะเช่นนี้ถือว่าเป็นกลุ่มบิดอะฮ์เบี่ยงเบนไม่ใช่อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ โปรดดูกระทู้ ตัวอย่างที่1  (http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php?topic=754.0) , ตัวอย่างที่2  (http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php?topic=2953.0) จากกลุ่มที่สองนี้

ดังนั้นแนวทางใดที่ฮุกุ่มตัดสินอะฮ์ลิสซุนนะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์ว่าบิดอะฮ์  ผู้นั้นย่อมอยู่ในแนวทางบิดอะฮ์ , ผู้ใดฮุกุ่มพวกเขากลุ่มหลง  ผู้นั้นคือผู้ที่ลุ่มหลง , และผู้ใดที่ฮุกุ่มพวกเขากาเฟร  ผู้นั้นย่อมเป็นกาเฟรกลับไปหาตัวเขา  ตามคำฟัตวาของนักปราชญ์ผู้มีคุณธรรมดังต่อไปนี้

ท่านอิมาม อะบุลมุซ็อฟฟัร  อัลอิสฟิรอยีนีย์  ร่อฮิมะฮุลลอฮ์  กล่าวว่า  \\\"และท่านจะทราบว่า  ทุกคนที่ยอมรับด้วยกับหลักการของศาสนานี้ที่เราได้พรรณามันไว้จากหลักศรัทธาของกลุ่มที่ปลอดภัย(คือกลุ่มอะฮ์ลิสซุนนะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์และอัลมะตูรียะฮ์) เขาย่อมอยู่บนสัจธรรมและอยู่บนหนทางที่เที่ยงตรง  ดังนั้นผู้ใดที่ฮุกุ่มบิดอะฮ์ต่อเขา(ผู้อยู่แนวทางดังกล่าว)  ผู้นั้นย่อมเป็นคนบิดอะฮ์ , และผู้ใดฮุกุ่มเขาว่าลุ่มหลง  ผู้นั้นย่อมเป็นคนลุ่มหลง , และผู้ใดฮุกุ่มเขาเป็นกาเฟร  ผู้นั้นย่อมเป็นคนกาเฟรด้วย\\\"  
หนังสืออัตตับซีร ฟิดดีน หน้า 111 ของท่านอิมามอัลอัสฟิรอยีนีย์

ท่าน อิมาม อิบนุ รุชดฺ อัลมาลิกีย์ (ผู้เป็นปู่) (รอฮิมะฮุลลอฮ์) ที่ได้รับฉายานามว่า ชัยค์อัลมัซฮับ (ปรมาจารย์แห่งมัซฮับมาลิกีย์) ฟัตวาว่า \\\"ปราชญ์อัลอะชาอิเราะฮ์เหล่านั้น ที่ท่านได้กล่าวชื่อพวกเขามา เป็นส่วนหนึ่งจากนักปราชญ์ที่เป็นแกนนำของนักปราชญ์แห่งความดีงามและอยู่ในทางนำ  และเป็นบรรดาบุคคลที่จำเป็นต้องดำเนินตามพวกเขา  เนื่องจากพวกเขาเป็นผู้ยืนหยัดช่วยเหลือหลักชาริอะฮ์(บทบัญญัติแห่งอิสลาม) และทำลายสิ่งคลุมเครือต่าง ๆ ของพวกเบี่ยงเบนและลุ่มหลง  พวกเขาได้ทำให้ประเด็นปัญหาต่าง ๆ มีความคลี่คลายและชัดเจน  พวกเขายังอธิบายถึงสิ่งที่จำเป็นต้องยอมรับจากบรรดาหลักการศรัทธา  ดังนั้น  ด้วยการรอบรู้ถึงบรรดาหลักพื้นฐาน(อุซูล)ของศาสนา จึงทำให้พวกเขาเป็นนักปราชญ์ที่แท้จริง  เนื่องจากพวกเขารู้ดียิ่งเกี่ยวกับอัลเลาะฮ์  ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่วายิบสำหรับพระองค์  สิ่งที่อนุญาติต่อพระองค์ และสิ่งที่(มุสตะฮีล)เป็นไปไม่ได้จากพระองค์  เพราะประเด็นนิติบัญญัติข้อปลีกย่อยจะไม่สามารถรู้ได้นอกจากต้องรู้หลักอุ ศูล(หลักศรัทธา)เสียก่อน   เพราะฉะนั้น  จึงมีความจำเป็นที่จะต้องรู้ถึงความประเสริฐและยอมรับถึงสถานะความเป็นแกนนำ ของพวกเขา  ฉะนั้น  พวกเขาย่อมเป็นจุดมุ่งหมายของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ที่ว่า  \\\"ความรู้นี้  ได้แบกรับจากทุก ๆ ผู้สืบทอด(ต่อ ๆ กันมา)  โดยบรรดาผู้ทรงคุณธรรม  ซึ่งพวกเขาจะทำการปฏิเสธจากการบิดเบือนของผู้ที่เลยเถิด  , (ปฏิเสธ)การประกาศศาสนาของบรรดาผู้ที่อธรรม และจากการตีความของบรรดาบุคคลโง่เขลา\\\"  ดังนั้น จะไม่มีการเชื่อว่าพวกเขา(อัลอะชาอิเราะฮ์)ได้อยู่บนความลุ่มหลงและความโง่เขลา นอกจากผู้ที่เขลาเบาปัญญาหรือผู้ที่อุตริกรรมอีกทั้งเบี่ยงเบนออกจากสัจจะธรรมเท่านั้น  และคนหนึ่งจะไม่ประณามอัลอะชาอิเราะฮ์และพาดพิงกล่าวหาไปยังพวกเขาด้วยกับสิ่งที่ไม่พวกเขาไม่ได้ยึดถืออยู่  นอกจาก(คนกล่าวหานั้น)เขาคือคนชั่ว  แท้จริงอัลเลาะฮ์ อัซซะวะญัลล่า ทรงตรัสว่า \\\"บรรดาบุคคลที่สร้างความเดือนร้อนแก่บรรดาผู้ศรัทธาชายและบรรดาผู้ศรัทธา หญิง  ด้วยกับสิ่งที่พวกเขาไม่ได้พากเพียรไว้  แน่นอน พวกเขาย่อมแบกรับความมุสาและบาปอันชัดแจ้ง\\\" ฟะตาวา อิบนุ รุชด์ เล่ม 2 หน้า 802  ตีพิมพ์ ดารุลฆ่อร่อบิลอิสลามีย์ เบรุต ฮ.ศ. 1407

ท่านชัยคุลิสลาม อิบนุ ฮะญัร อัลฮัยตะมีย์ ตอบฟัตวาความว่า \\\"บรรดาปวงปราชญ์(อัลอะชาอิเราะฮ์)เหล่านั้น  มิได้เป็นเฉกเช่นที่ผู้ที่แหวกแนวทาง  ออกนอกหลักศาสนา  คาดเดา  ลุ่มหลง  เลยเถิด  โง่เขลา  และเอนเอียงออกจากสัจธรรมเลย  ยิ่งกว่านั้น  พวกเขาเป็นนักปราชญ์แห่งศาสนา  เป็นนักปราชญ์มุสลิมีนที่ยิ่งใหญ่  ดังนั้น  จึงจำเป็นต้องเจริญรอยตาม  เนื่องจากพวกเขาได้ยืนหยัดช่วยเหลือชะรีอะฮ์ (อิสลาม) และแจกแจงบรรดาข้อสงสัยต่าง ๆ  และทำการโต้ตอบความคลุมเครือจากพวกที่เบี่ยงเบน  และทำการชี้แจงสิ่งที่จำเป็นของหลักความเชื่อ(เอี๊ยะติก๊อต)และหลักการต่าง ๆ ของศาสนา  เนื่องจากพวกเขามีความรู้เกี่ยวกับอัลเลาะฮ์  ในสิ่งที่จำเป็นสำหรับพระองค์  สิ่งที่มุสตะฮีล(เป็นไปไม่ได้)ต่อพระองค์  และสิ่งที่อนุญาตในสิทธิของพระองค์  และจะไม่สามารถบรรลุถึงเป้าหมายได้นอกจากรู้จักถึงหลักศรัทธาพื้นฐานเสีย ก่อน  และจำเป็นต้องยอมรับถึงความประเสริฐของบรรดานักปราชญ์ที่ถูกกล่าวมาข้างต้น และนักปราชญ์ก่อนหน้าพวกเขาด้วย  และพวกเขาก็คือกลุ่มเป้าหมายจากคำกล่าวของท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้กล่าวว่า \\\"ความรู้นี้  ได้แบกรับจากทุก ๆ ผู้สืบทอด(ต่อ ๆ กันมา)  โดยบรรดาผู้ทรงคุณธรรม  ซึ่งพวกเขาจะทำการปฏิเสธจากการบิดเบือนของผู้ที่เลยเถิด  , การประกาศศาสนาของบรรดาผู้ที่อธรรม และจากการตีความของบรรดาบุคคลโง่เขลา\\\"  ดังนั้นจะไม่กล่าวหาว่าอัลอะชาอิเราะฮ์ลุ่มหลงนอกจากผู้ที่โฉดเขลาหรือผู้ทำบิดอะฮ์ ที่เบี่ยงเบนจากสัจธรรม  ดังนั้น  จึงจำเป็นให้คนไม่รู้ได้ประจักษ์ถึงพวกเขา  คนชั่วต้องถูกลงโทษ  ผู้บิดอะฮ์ที่เบี่ยงเบนจากสัจธรรมที่กระทำมักง่ายด้วยบิดอะฮ์ต้องถูกใช้ให้ เตาบะฮ์\\\" อัลฟะตาวา อัลฮะดีษียะฮ์ อัลกุบรอ หน้า 227  ตีพิมพ์ เอี๊ยะห์อุษตุร๊อษ เบรุต  

ท่านชัยค์  อะบุล  หะซัน  อัลนัดวีย์  ได้กล่าวถึงแนวทางอัลอะชาอิเราะฮ์  ความว่า  \\\"ทั่วทุกมุมโลกอิสลาม  ต้องน้อมรับให้กับวิชาความรู้และและความสำเร็จของปวงปราชญ์อัลอะชาอิเราะฮ์...และด้วยความประเสริฐของพวกเขาเหล่านั้น  ทำให้แกนนำเชิงแนวคิดแห่งโลกอิสลามมีการขับเคลื่อน  และสามารถชี้นำกลุ่มมั๊วะตะซิละฮ์ให้กลับไปสู่แนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์\\\"  หนังสือ ริญาลุล ฟิกร์วัดดะอฺวะฮ์ ฟีลอิสลาม หน้า 137 ของท่านอะบุลฮะซัน อัลนัดวีย์

ดังนั้น  ผม(อัซฮะรี)จึงอยากจะสรุปให้พี่น้องทราบว่า  วะฮาบีย์ที่ฮุกุ่มอะฮ์ลิสซุนนะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์บิดอะฮ์  ผู้นั้นแหละอยู่ในแนวทางบิดอะฮ์  ตามที่บรรดาปราชญ์ผู้มีคุณธรรมได้ฟัตวาเอาไว้นั่นเอง  ส่วนกลุ่มพี่น้องวะฮาบีย์ที่มั๊วะตะดิ้ลเป็นกลาง  พวกเขาคืออะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ถึงหากแม้นว่าบางประเด็นที่ต่างกันแต่เราไม่ฮุกุ่มว่าเป็นแนวทางบิดอะฮ์หรือฮุกุ่มกาเฟรต่อกัน  นี่คือเอกลักษ์ของแนวทางอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์


เมื่อท่านอ่านแล้ว จึงสรุปความได้ว่า

หากฝ่ายวาฮาบีย์หุกุ่มว่า    อะชาอิเราะฮ์ไม่ใช่อะฮ์ลุสสุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

ฝ่ายอะชาอิเราะฮ์จึงถือว่า   วาฮาบีย์ก็ไม่ใช่อะฮ์ลุสสุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์


น่าแปลกทั้งๆที่คำอะฮ์ลุสสุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์เป็นชื่อบิดอะฮ์ไม่มีในกิตาบและสุนนะฮ์
 แต่ทั้งสองกลุ่มก็พยายามแย่งชิงความเป็นผู้นำกลุ่มชื่อบิดอะฮ์  ?
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 29, 2009, 04:30:15 หลังเที่ยง

ตอน 28


ต่อไปนี้เราจะกล่าวถึงหะดีษต่างๆที่ชาวอะฮ์ลุสสุนนะฮ์
ได้นำมาใช้เป็นอาวุธทำลายล้างฝ่ายตรงข้าม

หรืออาศัยหะดีษเหล่านี้ประณามกลุ่มอื่นๆว่า  
หลงทาง - เฎาะลาละฮ์  / นอกรีต – ซินดีก / ตกเป็นผู้ไร้ศรัทธา - กุฟร์  ตามหลักการศาสนาของพวกเขา


หะดีษที่ 1

حَدَّثَنَا وَاصِلُ بْنُ عَبْدِ الأَعْلَى الْكُوفِىُّ حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ فُضَيْلٍ عَنِ الْقَاسِمِ بْنِ حَبِيبٍ وَعَلِىِّ بْنِ نِزَارٍ عَنْ نِزَارٍ عَنْ عِكْرِمَةَ عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- « صِنْفَانِ مِنْ أُمَّتِى لَيْسَ لَهُمَا فِى الإِسْلاَمِ نَصِيبٌ الْمُرْجِئَةُ وَالْقَدَرِيَّةُ »
ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า มีคนสองประเภทจากอุมมัตของฉัน ซึ่งสำหรับพวกเขาไม่ได้ส่วนใดๆเลยในอิสลามนั่นคือ  พวกมุรญิอะฮ์และพวกก็อดรียะฮ์

สุนัน ติรมิซี หะดีษที่ 2301
เชคอัลบานี กล่าวว่า : สะนัด ดออีฟ  ดูหนังสือ ดออีฟุต-ติรมิซี หะดีษที่ 380

حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ إِسْمَاعِيلَ الرَّازِىُّ أَنْبَأَنَا يُونُسُ بْنُ مُحَمَّدٍ حَدَّثَنَا عَبْدُ اللَّهِ بْنُ مُحَمَّدٍ اللَّيْثِىُّ حَدَّثَنَا نِزَارُ بْنُ حَيَّانَ عَنْ عِكْرِمَةَ عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ وَعَنْ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ قَالاَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- « صِنْفَانِ مِنْ أُمَّتِى لَيْسَ لَهُمَا فِى الإِسْلاَمِ نَصِيبٌ أَهْلُ الإِرْجَاءِ وَأَهْلُ الْقَدَرِ ».
ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า มีคนสองประเภทจากอุมมัตของฉัน ซึ่งสำหรับพวกเขาไม่ได้ส่วนใดๆเลยในอิสลามนั่นคือ  พวกมุรญิอะฮ์และพวกก็อดรียะฮ์

สุนัน อิบนิมาญะฮ์ หะดีษที่ 77
เชคอัลบานี กล่าวว่า : สะนัด ดออีฟ  ดูหนังสือ ดออีฟ อิบนิมาญะฮ์  หะดีษที่ 72


ประวัติศาสตร์อิสลามกล่าวว่า  บุคคลสองกลุ่มปรากฏขึ้นในช่วงปลายการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 29, 2009, 04:59:45 หลังเที่ยง

ตอน 29


หะดีษที่ 2

51 - حَدَّثَنَا دَاوُدُ بْنُ سُلَيْمَانَ الْعَسْكَرِىُّ حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ عَلِىٍّ أَبُو هَاشِمٍ بْنُ أَبِى خِدَاشٍ الْمَوْصِلِىُّ قَالَ حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ مِحْصَنٍ عَنْ إِبْرَاهِيمَ بْنِ أَبِى عَبْلَةَ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ الدَّيْلَمِىِّ عَنْ حُذَيْفَةَ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- « لاَ يَقْبَلُ اللَّهُ لِصَاحِبِ بِدْعَةٍ صَوْمًا وَلاَ صَلاَةً وَلاَ صَدَقَةً وَلاَ حَجًّا وَلاَ عُمْرَةً وَلاَ جِهَادًا وَلاَ صَرْفًا وَلاَ عَدْلاً يَخْرُجُ مِنَ الإِسْلاَمِ كَمَا تَخْرُجُ الشَّعَرَةُ مِنَ الْعَجِينِ ».

ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า  อัลเลาะฮ์จะไม่รับ(อิบาดัต)ของพวกทำบิดอะฮ์ ไม่ว่าจะเป็นการถือศีลอด การนมาซ การจ่ายทานซอดะเกาะฮ์ การทำหัจญ์  การทำอุมเราะฮ์ การทำญิฮ๊าด การเตาบัตหรือการฟิดยะฮ์...

สุนัน อิบนิมาญะฮ์ หะดีษที่ 51
เชคอัลบานี กล่าวว่า : สะนัด ดออีฟ  ดูหนังสือ ดออีฟ อิบนิมาญะฮ์  หะดีษที่ 48

เพราะฉะนั้นอะฮ์ลุสสุนนะฮ์จึงมักเรียกมุสลิมฝ่ายตรงข้ามกับพวกเขาว่า " อะฮ์ลุลบิดอะฮ์ "


หะดีษที่ 3

97 - حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ الْمُصَفَّى الْحِمْصِىُّ حَدَّثَنَا بَقِيَّةُ بْنُ الْوَلِيدِ عَنِ الأَوْزَاعِىِّ عَنِ ابْنِ جُرَيْجٍ عَنْ أَبِى الزُّبَيْرِ عَنْ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- « إِنَّ مَجُوسَ هَذِهِ الأُمَّةِ الْمُكَذِّبُونَ بِأَقْدَارِ اللَّهِ إِنْ مَرِضُوا فَلاَ تَعُودُوهُمْ وَإِنْ مَاتُوا فَلاَ تَشْهَدُوهُمْ وَإِنْ لَقِيتُمُوهُمْ فَلاَ تُسَلِّمُوا عَلَيْهِمْ ».

ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า  แท้จริงพวกมะญูซีแห่งประชาชาตินี้คือ พวกที่ปฏิเสธต่อการเกาะดัรต่างๆของอัลเลาะฮ์    หากพวกเขาเจ็บป่วย  พวกเจ้าจงอย่าไปเยี่ยมพวกเขา  หากพวกเขาตาย พวกเจ้าจงอย่าเดินไปร่วม(งานศพของ)พวกเขา และหากพวกเจ้าพบเจอพวกเขา ก็จงอย่างให้สลามพวกเขา

สุนัน อิบนิมาญะฮ์ หะดีษที่ 97
เชคอัลบานี กล่าวว่า : สะนัด ฮะซัน(ดี)  ดูหนังสือ ดออีฟ อิบนิมาญะฮ์  หะดีษที่ 89



อะฮ์ลุสสุนนะฮ์จะถือว่า หะดีษต่างๆในตำราหะดีษฝ่ายของเขาที่รายงานบอกเล่าเกี่ยวกับเรื่องอีหม่านความศรัทธาคือ หะดีษที่ปฏิเสธต่อแนวความคิดของมุรญิอะฮ์ ดังนั้นพวกเขาจึงใช้หะดีษนั้นมาต่อต้านพวกมุรญิอะฮ์


ท่านสามารถตรวจดูว่า คำพูดนี่จริงเท็จแค่ไหนได้ที่ " กิตาบุลอีหม่าน - บทว่าด้วยเรื่องความเชื่อความศรัทธา " ในหนังสือเศาะหิ๊หฺมุสลิมที่อันนะวาวีทำการอธิบายหรือหนังสือฟัตฮุลบารีที่อธิบายเศาะหิ๊หฺบุคอรี.
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 29, 2009, 05:31:37 หลังเที่ยง

ตอน 30

เช่นเดียวกันกับกรณีมีหะดีษต่างๆในตำราเศาะหิ๊หฺบุคอรี เศาะหิ๊หฺมุสลิมและตำราหะดีษของฝ่ายอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ที่รายงานบอกเล่าถึงความประเสริฐของเศาะบะฮ์ ( فضائل الصحابة )  พวกเขาก็จะนำเอาประเด็นนี้มาตำหนิโจมตีใส่ร้ายพวกชีอะฮ์


และชาวอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ก็ได้หยิบยกหะดีษของพวกเขาที่รายงานไว้โดยเฉพาะเกี่ยวกับการลงโทษในสุสานกับพวกที่ใช้ทัศนะความคิดและใช้สติปัญญา มาโจมตีต่อต้านพวกมุอ์ตะซิละฮ์ พวกนักปรัชญามุสลิมและพวกปัญญาชนมุสลิม


ซึ่งท่านสามารถไปตรวจสอบได้ที่หนังสือดังต่อไปนี้

สุนันอิบนิมาญะฮ์ บทว่าด้วยเรื่องให้ออกห่างจากการใช้ทัศนะความคิดและการกิยาส อนุมานเปรียเทียบ (باب اجتناب الرأي والقياس) หรือบทที่ว่าด้วยการปฏิเสธพวกญะฮ์มียะฮ์(باب فيما أنكرت الجهمية)

หนังสือ นักฎิล มันติก(ข้อแย้งเรื่องตรรกะ)ของอิบนุตัยมียะฮ์(نقض المنطق)
หนังสือ ดัรอุ ตะอารุฎิลอักลิ วันนักลิ ของอิบนุตัยมียะฮ์(درء تعارض العقل والنقل)
หนังสือ ตัลบีส อิบลีส ของอิบนุลเญาซี (تلبيس إبليس)
หนังสือ อัลอิอ์ติศอม ของอัชชาติบี (الاعتصام للشاطبي)
หนังสือ อัลอิอ์ติกอดของอัลบัยฮะกี (الاعتقاد للبيهقي)


หรือหนังสืออะกีดะฮ์ต่างๆตามแนวทางของชาวอะฮ์ลุสสุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ที่เรียบเรียงขึ้นมาเพื่อโจมตีใส่ร้ายมัซฮับอื่นๆอย่างเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว  ทั้งนี้เพราะส่วนมากผู้ปกครองรัฐให้การสนับสนุนฝ่ายอะฮ์ลุสสุนะฮ์แนวทางแห่งผลประโยชน์ของรัฐ


ในขณะที่มัซฮับอื่นๆไร้ผลประโยชน์ต่อรัฐ จึงไม่มีสิทธิมีเสียงออกมาแถลงการณ์ตอบโต้คำครหาของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม ดังนั้นพวกอะฮ์ลุสสุนนะฮ์จึงมีภาพในเชิงได้เปรียบกลุ่มอื่นๆมาโดยตลอด.
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 30, 2009, 11:18:46 ก่อนเที่ยง

ตอนที่ 31
 

ในขณะที่อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ยึดถือหะดีษดังกล่าว และหยิบยกนำมาเป็นประเด็นฮุก่มมุสลิมที่มีแนวคิดอื่นจากพวกเขาว่าผิด เฉไฉบิดเบือน หรือหลงทาง


ปัญหาหลักคือ อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ ยึดถือหะดีษเหล่านั้น และบอกว่า มันถูกต้อง ตามหลักการและแนวทางของพวกเขาเอง  แต่มันไม่ใช่ความถูกต้องของคนกลุ่มอื่นหรือคนที่มีแนวคิดอื่น กล่าวคือคนกลุ่มอื่นไม่ได้ยอมรับหะดีษเหล่านั้นว่าถูกต้อง และไม่มีสิทธิได้ชี้แจง

แต่สภาพของฝ่ายอะฮ์ลุสสุนนะฮ์นั้นได้เปรียบ เพราะพวกเขาอยู่ในความคุ้มครองของผู้ปกครอง พวกเขาสามารถเผยแผ่หะดีษของตนและชักนำประชาชนให้คล้อยตามสิ่งที่พวกเขาเชื่อถือได้อย่างมีเสถียรภาพ  ดังนั้นมันจึงเป็นการสะดวกสำหรับพวกเขาที่กักศาสนาอิสลามเอาไว้ตามอะกีดะฮ์ของพวกเขาเองเท่านั้น


ถ้าจะเปรียบสถานะภาพของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ในอดีตกับยุคปัจจุบันก็คือ อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ได้รับอำนาจครอบครองการจัดรายการทีวีและรายการวิทยุทั้งหมดเอาไว้แต่เพียงมัซฮับเดียว   พวกเขาทำการถ่ายทอดสิ่งที่พวกเขาเชื่อให้กับประชาชน  
แล้วปิดกั้นความคิดของประชาชนด้วยการโฆษณาว่า  นี่คือความเชื่อที่ถูกต้องตามกฎหมาย   ส่วนความเชื่อของคนกลุ่มอื่นนั้นผิดกฎหมาย  มันจึงเป็นการปิดโลกทัศน์ของประชาชนในการรับฟังแนวคิดหรือความเชื่อของคนกลุ่มอื่นไปโดยปริยาย

ที่ยิ่งกว่านั้นก็คือ เมื่อประชาชนซึมซับนานวันเข้า  พวกเขาจึงเชื่อเช่นนั้นและหันมาต่อต้านแนวคิดของคนกลุ่มอื่น เหตุเพราะเข้าใจเป็นแนวทางผิดกฎหมาย ที่ต้องต่อต้าน

ท่านลองมองภาพบรรดามุสลิมที่มีความคิดเห็นหรือความเชื่อที่ไม่ตรงกับอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ในอดีตที่ผ่านมาพันกว่าปี  พวกเขาได้กลายเป็น อะฮ์ลุลบิดอะฮ์  พวกเฎาะลาละฮ์  พวกทำตามอารมณ์  พวกซินดีก  พวกเขาโดนกีดกันออกไปจากสังคม และถูกตราหน้าว่าเป็นพวกทำบิดอะฮ์มาโดยตลอด  พวกเขาไม่สามารถปกป้องเลือดเนื้อและทรัพย์สินของพวกเขาได้เลย
กล่าวคือชีวิตและทรัพย์สินของพวกเขามันกลายเป็นที่ฮะล้าลในทัศนะของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์และผู้ปกครอง ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้เกิดขึ้นมาแล้วในอดีตจนถึงวันนี้


ท่านคงได้เห็นและรับฟังมาบ้างว่า   พวกโต๊ะครูวาฮาบี ในบ้านเรา ก็ติดนิสัยสันดานประเภท  กูถูกคนอื่นผิด แบบไร้เหตุผลมาใช้ในในเวทีบรรยายของพวกเขา

ส่วนประชาชนก็ฟังเอามันเอาสนุก   ทุกครั้งที่โต๊ะคูวาฮาบีขึ้นปราศัย  ท่านมักจะได้ยิน พวกเขาประณามโจมตีมุสลิมกลุ่มอื่นๆ เช่น

พวกอะชาอิเราะฮ์  (คณะเก่า)

พวกตอรีกัต    

พวกกลุ่ม ญะมาอัต ตับล๊ฆ

พวกวาฮาบี จะฮุก่มว่า ซุนนี่ทัง้สามกลุ่มนี้ เป็นพวก บิดอะฮ์

และพวกเขาจะโจมตีชีอะฮ์ หนักกว่ากลุ่มใดๆ ทั้งสิ้น  เพราะ พวกเขารู้ดีว่า  แนวทางอะฮ์ลุลบัยต์เท่านั้นที่ สามารถลบล้างอะกีดะฮ์จอมปลอมของพวกเขาได้

เราจะสังเกตุได้ว่า  พวกวาฮาบีจะพยายายป่าวประกาศโฆษณาต่อประชาชนของพวกเขาว่า  อย่า เรียนชีอะฮืกับชีอะฮ์ หรืออย่าฟังคำอธิบายของชีอะฮ์    ซึ่งดูแล้วเหมือนอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ในอดีตที่อาศัยอำนาจจากผู้ปกครอง

แต่บังเอิญปัจจุบันเป้นยุคของ วิชาการ  เป็นยุคแห่งความเสรีทางความคิด ดังนั้นพวกเขาจึงไม่อาจครอบงำประชาชนมุสลิมได้หมด ยกเว้นพวกที่ตะอัซซุบเท่านั้น
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 30, 2009, 11:55:35 ก่อนเที่ยง

ตอน 32


ต่อไปนี้คืออะกีดะฮ์ความเชื่อที่อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ สร้างขึ้นสำหรับมัซฮับของพวกเขาเอง   มีดังนี้


1.   วายิบต้องยึดมั่นต่อรายงานหะดีษ
2.   วายิบต้องเชื่อ(มีอีหม่าน)ต่อเรื่องการมองเห็นอัลเลาะฮ์ในวันกิยามัต และต้องเชื่อต่อเรื่องซิฟัตต่างๆของพระองค์ดังที่ได้มีรายงานกล่าวไว้ ว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆ(ฮะกีกี) ไม่เป็นการอุปมาอุปมัย( ลามะญาซี) เช่น ถ้ามีรายงานว่าอัลเลาะฮ์หัวเราะ ก็ต้องเชื่อว่าอัลเลาะฮ์หัวเราจริงๆ
3.   ต้องเชื่อว่า เศาะหาบะฮ์ทุกคนเป็นคนดีมีคุณธรรมทั้งหมด และต้องไม่เข้าไปวิพากษ์สภาพความเป็นอยู่หรือเรื่องราวของพวกเขา
4.   ต้องเชื่อเรื่องการถุกอะซาบในกุโบร์
5.   การตออัตเชื่อฟังต่อผู้ปกครองนั้นเป็นวายิบ  และไม่อนุญาตให้แยกตัวออกจากเขา(คือต่อต้านหรือคิดโค่นล้มผู้ปกครอง) เพราะถือว่าเป้นการแยกตัวออกจาก ญะมาอะฮ์ มุสลิมีน
6.   ต้องนมาซตามหลังทั้งคนดีและคนชั่ว  และต้องทำญิฮ๊าด ต้องนมาซวันศุกร์ ต้องไปทำหัจญ์ และนามาซอีดทั้งสองพร้อมกับผู้ปกครองทั้งดีหรือชั่ว
7.   ต้องตัดขาดไม่ข้องเกี่ยวกับบุคคลที่มีอะกีดะฮ์ไม่ตรงกับอะฮ์ลุสสุนนะฮ์
8.   ต้องยึดมั่นแนวทางของสะลัฟที่มาจากมัซฮับอะฮ์ลุสสุนะฮ์เป็นหลัก
9.   คนทำบาปใหญ่และการฝ่าฝืนคำสั่งอัลเลาะฮ์ ยังถือว่าเป็นมุสลิม
10.   ผู้นำหรือผู้ปกครอง อยู่ในคนเผ่ากุเรช
11.   วายิบต้องส่งมอบซะกาตและทรัพย์สินให้ผู้ปกครองทั้งดีและชั่ว
12.   อัลเลาะฮ์ อยู่บนฟ้าจริงๆ
13.   ต้องอีหม่านต่อเรื่องชะฟาอัต
14.   ความศรัทธานั้น มีเพิ่มมีลดลง
15.   คนเราจะหลงทาง หรือได้รับการชี้นำทาง มันขึ้นอยู่ที่ประสงค์ของอัลเลาะฮ์
16.   การงานหรือการกระทำของมนุษย์ อยู่ภายใต้การเกาะฎอแลพการเกาะดัรของอัลเลาะฮ์
17.   คัมภีร์กุรอ่าน นั้นไม่ใช่ มัคโล๊ก(สิ่งใหม่)
18.   ประชาชาติที่ประเสริฐที่สุดหลังจากศาสดามุฮัมมัดคือ  อบูบักร /  อุมัร / อุษมาน / อะลี  



อะกีดะฮ์ความเชื่อของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์เหล่านี้ ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่า   ไม่มีตัวบทกุรอ่านกำกับเอาไว้แบบนั้น

แต่เป็นอะกีดะฮ์ที่ตั้งอยู่บนการรายงานหะดีษจากตำราของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์เองทั้งสิ้น   ซึ่งมันไม่ได้เป็นที่ยอมรับของคนกลุ่มอื่น  แต่ฝ่ายอะฮ์ลุสสุนนะฮ์กลับนำมันมาใช้ตัดสินคนกลุ่มอื่น



อะฮ์ลุสสุนนะฮ์จะหยิบยกหะดีษที่ฝ่ายเขารายงานมาตำหนิฝ่ายตรงกันข้ามกับพวกเขา

และขนานนามตัวของพวกเขาเองด้วยชื่อ  อะฮ์ลุสสุนนะฮ์    เพราะพวกเขายึดถือต่อหะดีษเหล่านั้นเป็นสโลแกนกลุ่มของพวกเขา


แท้จริงกลุ่มต่างๆมากมายในหมู่ของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์เอง ซึ่งอันที่จริงกลุ่มเหล่านั้นก็ยึดมั่นถือมั่นต่อรายงานหะดีษเหล่านั้น  แต่พวกเขาก็ยังแตกเป็นมัซฮับทางอะกีดะฮ์และฟิกฮ์มากมายหลายแขนงดังจะได้กล่าวชี้แจงต่อไป
[/color][/b][/size]
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 30, 2009, 02:30:29 หลังเที่ยง

ตอน 33


ปัจจุบัน ประเทศซาอุดิอารเบีย    ได้ให้การสนับสนุนพวกอุละมาอ์วาฮาบีแต่งตำรับตำราอะกีดะฮ์ขึ้นมาใหม่ๆหลายร้อยเล่ม    และเช่นเดิม กล่าวคือ   แม้กระทั่งกลุ่มอะชาอิเราะฮ์ที่เป็นอะฮ์ลุสสุนนะฮ์พวกเดียวกัน ก็หนีไม่พ้นฟัตวาของอุละมาอ์วาฮาบี     เรามาฟังพวกวาฮาบีออกฟัตวาฮุก่มพวกอะชาอิเราะฮ์ดังต่อไปนี้  



เชคอับดุลอะซีซ  อิบนุอับดุลลอฮฺ  อิบนุ บาซ  มุฟตีแห่งประเทศซาอุดิอารเบีย  กล่าวว่า :

ومن العقائد المضاده للعقيدة الصحيحة في باب الأسماء والصفات عقائد أهل البدع من الجهمية والمعتزلة ومن سلك سبيلهم في نفي صفات الله عز وجل وتعطيله سبحانه من صفات الكمال ووصفه عز وجل بصفة المعدومات والجمادات والمستحيلات ، تعالى الله عن قولهم علواً كبيراً
ويدخل في ذلك من نفي بعض الصفات وأثبت بعضها كالأشاعرة

العقيدة الصحيحة وما يضادها   ج 1  ص 16
مؤلف : عبدالعزيز بن عبدالله بن باز    عالم وفقيه سعودي، والرئيس العام لإدارات البحوث العلمية والإفتاء والدعوة والإرشاد منذ عام 1395هـ، 1975م. ثم أصبح مفتيًا عامًا للبلاد.

และส่วนหนึ่งของการเชื่อมั่นที่ตรงกันข้ามกับหลักการเชื่อมั่นที่ถูกต้อง  ในเรื่องบรรดาพระนามและคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์นั้น  ก็ได้แก่หลักการเชื่อมั่นของอะฮ์ลุลบิดอะฮ์ เช่น    พวกญะฮ์มียะฮ์    พวกมุอ์ตะซิละฮ์  และผู้ที่ดำเนินตามแนวทางของพวกเขาเหล่านั้น  ในการปฏิเสธคุณลักษณะของพระองค์และลบล้างคุณษณะที่สมบูรณืของพระองค์ และได้ให้คุณลักษณะแก่พระองค์ด้วยคุณลักษณะของสิ่งที่ไม่มี  หรือสิ่งที่เป็นวัตถุ  หรือสิ่งที่เป็นไปไม่ได้  มหาบริสุทธิ์อัลลอฮฺและทรงสูงส่งเหนือคำกล่าวหาใดๆทั้งสิ้น  รวมถึงบางคนที่ติดเข้าไปอยู่ในกลุ่มบุคคลดังกล่าว  ซึ่งได้แก่ผู้ที่ปฏิเสธบางคุณลักษณะ และยืนยันในบางคุณลักษณะเช่น  พวกอะชาอิเราะฮ์   เป็นต้น.

อ้างอิงจากหนังสือ
หลักการศรัทธาที่ถูกต้อง และที่ตรงกันข้าม  หน้า 49 – 50  
โดยเชคอับดุลอะซีซ  อิบนุอับดุลลอฮฺ  อิบนุ บาซ

ท่านสามารถโลดหนังสือเล่มนี้ ฉบับแปลไทยโดย อิมรอน  มะกูดี  ได้ที่เวป

http://www.islamhouse.com/p/47447


เพียงสาเหตุที่พวกอะชาอิเราะฮ์มีอะกีดะฮ์เรื่อง "  ซิฟัตของอัลเลาะฮ์ "  ที่แตกต่างไปจากพวกวาฮาบี  

อุละมาอ์วาฮาบีก็อาศัยอำนาจที่รัฐบาลซาอุดิอารเบียให้การสนับสนุนมัซฮับของพวกเขา ประกาศว่า มัซฮับอะชาอิเราะฮ์เป็นมัซฮับของพวกบิดอะฮ์    ไม่ใช่พวกอะฮ์ลุสสุนนะฮ์
พวกอะชาอิเราะฮ์นั้นมีอะกีดะฮ์ตรงกันข้ามกับอะฮ์ลุสสุนนะฮ์  


นั่นหมายความว่านับแต่นี้ต่อไป  อะชาอิเราะฮ์ก็ไม่ใช่ อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ วัลญะมาอะฮ์ในสายตาวาฮาบีอีกต่อไป  มหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร ที่เมืองไคโร ประเทศอียิปต์   ที่ท่านเศาะลาฮุดดีน อัลอัยยูบี อุตส่าห์สู้รบโค่นล้มราชวงศ์ฟาติมียะฮ์ยึดเอามาให้พวกซุนนี่ และเปลี่ยนแปลงการสอนที่มหาลัยอัซฮัรให้เป็นการเรียนการสอนตามแนวทางมัซฮับอะฮ์ลุสสุนนะฮ์    มาบัดนี้รัฐบาลซาอุดิอารเบียกลับให้อุละมาอ์วาฮาบีออกฟัตวาว่า  การเรียนการสอนที่มหาลัยอัซฮัรเป็นการเรียนการสอนของพวกบิดอะฮ์  ไม่ใช่เป็นการศึกษาของแนวทางอะฮ์ลุสสุนนะฮ์อีกต่อไป
   

แน่นอนคำฟัตวาของชายตาบอดผู้นี้ รวมทั้งอุละมาอ์วาฮาบีคนอื่นๆที่ฟัตวาในทำนองนี้ย่อมสร้างความโกรธเคืองให้กับพวกซุนนี่อะชาอิเราะฮ์   ดังนั้นอุละมาอ์อะชาอิเราะฮ์จึงออกมาตอบโต้พวกวาฮาบีว่า

อะกีดะฮ์พวกวาฮาบี คืออะกีดะฮ์ของพวกยะฮูดี (พวกยิว)  ท่านสามารถอ่านบทความตอบโต้ต่างๆของฝ่ายอะชาอิเราะฮ์ได้ที่เวปนี้

http://www.sunna.info/books/exposed.php


หากซุนนี่ฝ่ายอะชาอิเราะฮ์ได้วิพากษ์วิจารณ์อะกีดะฮ์พวกวาฮาบีว่า เป็นอะกีดะฮ์ยิว  ไม่ใช่เป็นอะกีดะฮ์อิสลามที่แท้จริง  


ในสายตาของพี่น้องมุสลิมก็คงต้องพิจารณากันเอาเองแล้วว่า  

ท่านจะเลือกเป็น               พวกบิดอะฮ์ หรือ   พวกยิว  
[/color]
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 03, 2009, 02:23:41 หลังเที่ยง


ตอน 34


กลุ่มอะฮ์ลุสสุนนะฮ์มีทัศนะต่อมุสลิมกลุ่มอื่นๆแค่เพียงว่า  เป็นพวกดื้อดึง ตะอัซซุบ  ไม่ยอมเชื่อตามอะกีดะฮ์ของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์เท่านั้น


พวกซุนนี่ได้ยึดทัศนะโลกแคบนี้ มาเป็นบรรทัดฐานวัดมุสลิมทั้งโลก   ซึ่งตอนต่อๆไปเราจะลองเอาบรรทัดฐานนี้มาใช้กับพวกอะฮ์ลุสสุนนะฮ์บ้าง


ท่านจะสังเกตได้ว่า  หนังสือเกี่ยวกับ ฟิร็อก(กลุ่มต่างๆใน)อิสลาม ที่เขียนขึ้นมาใหม่ๆในยุคหลังนี้  มักจะหลีกเลี่ยงหรือไม่ค่อยกล่าวถึงอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ที่แตกออกเป็นกลุ่มต่างๆ สาเหตุเพราะ ผู้แต่งตำราเหล่านั้นเป็นอะฮ์ลุสสุนนะฮ์นั่นเอง


นักการศาสนาฝ่ายซุนนี่มักใช้ภาษาเดียวกัน มาจัดการกับมุสลิมกลุ่มอื่นที่มีอะกีดะฮ์ไม่ตรงกับพวกเขาเช่น   พวกตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ  พวกบิดอะฮ์  พวกเฎาะลาละฮ์  และท้ายสุดคือฮุก่มว่า ตกเป็นกาเฟ็รเสียแล้ว


นักการศาสนาซุนนี่ติดเชื้อโรคร้ายนี้มาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันเช่น  อัลบัฆดาดี   ชะฮ์ร็อสตานี  อิบนุหัซมิน  อิบนุตัยมียะฮ์  มุฮัมมัด บินอับดุลวาฮาบ   บินบาซ  อุษัยมีน  อัลบานี    

ซึ่งมูลเหตุการฮุก่มนี้มีที่มาจากหะดีษที่พวกเขาพูดเอง เออเองทั้งสิ้นอาทิเช่น   หะดีษ 73 จำพวก


พวกซุนนี่มักชอบยกหะดีษบทนี้มาอ้างว่า  ท่านนบีกล่าวว่า อุมมัตของฉันจะแตกออกเป็น 73  กลุ่ม   และทุกกลุ่มจะลงนรกหมด  ยกเว้นหนึ่งกลุ่ม ซึ่งในหะดีษใช้ค่า( ฟิรเกาะฮ์ - فرقة )


จากนั้นพวกอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ วัลญะมาอะฮ์ก็จะอ้างว่า  ข้านี่แหล่ะคือกลุ่มที่รอด  ทั้งๆที่ท่านนบีไม่เคยเอ่ยชื่อคนกลุ่มนี้เลย แม้แต่หะดีษสักบทหนึ่ง  



เมื่อซุนนี่ชอบอ้างหะดีษ 73 จำพวกมาอ้างอิง  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมาศึกษาหะดีษบทนี้กันให้ถึงแก่น  

ซึ่งเราจะขอวิจัยหะดีษประเภทนี้ด้วยกัน  2  ประเด็นคือ


1.   หะดีษนี้อยู่ระดับใดเช่น  เศาะหิ๊หฺ  ฮาซัน  ดออีฟ  หรือเมาฎู๊อฺ


2.   ศึกษาความหมายของหะดีษบทนี้ว่า เป็นอย่างไร  
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 03, 2009, 02:32:28 หลังเที่ยง

ตอน 35



                                                                                 หะดีษ  73 กลุ่ม

รายงานที่ 1


อบูฮุร็อยเราะฮ์รายงาน


4598 - حَدَّثَنَا وَهْبُ بْنُ بَقِيَّةَ عَنْ خَالِدٍ عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ عَمْرٍو عَنْ أَبِى سَلَمَةَ
عَنْ أَبِى هُرَيْرَةَ قَالَ :  قَالَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- « افْتَرَقَتِ الْيَهُودُ عَلَى إِحْدَى أَوْ ثِنْتَيْنِ وَسَبْعِينَ فِرْقَةً وَتَفَرَّقَتِ النَّصَارَى عَلَى إِحْدَى أَوْ ثِنْتَيْنِ وَسَبْعِينَ فِرْقَةً وَتَفْتَرِقُ أُمَّتِى عَلَى ثَلاَثٍ وَسَبْعِينَ فِرْقَةً ».


ท่านรอซูลุลเลาะฮ์กล่าวว่า    :  ยะฮูดได้แตกออก 71หรือ72 กลุ่ม  และนะศอรอได้แตกออก 71หรือ72 กลุ่ม และอุมมะฮ์ของฉันได้แตกออก 73 กลุ่ม


สุนันอบูดาวูด หะดีษเลขที่ 4598


มุหัดดิษที่รายงานหะดีษนี้คือ  อบูดาวูด,อัตติรมิซีย์,อิบนุมาญะฮ์,อิบนุหิบบานในเศาะหี๊หฺของเขา,อัลอาญุรรีย์ในอัชชะรีอะฮ์,อัลหากิม,อะหมัด,อบูยะอ์ลาในมุสนัดของเขา  จากสายรายงานของมุหัมมัดบินอัมรูว์จากอบีสะละมะฮ์จากอบีฮุร็อยเราะฮ์ เป็นหะดีษมัรฟู๊อฺ.


ศึกษา สถานะของผู้รายงานหะดีษ (รอวี)

อบูสะละมะฮ์ บินอับดุลเราะหฺมาน บินอับดุเอาฟ์ซึ่งเป็นทั้งชื่อและฉายา
มุหัมมัด บินอัมรูว์  คือใคร ?
เขาเป็นบุตรชายของอัมรูว์ คือบุตรของสะอีด / สะอีดคือบุตรของอาศ / อาศเป็นบุตรของอุมัยยะฮ์
872 - عمرو بن سعيد بن العاص بن أمية
الكتاب : الثقات  المؤلف : إبن حبان

อัษษิกอต  โดยอิบนุหิบบาน  อันดับที่  872

แน่นอน ผู้ปกครองรัฐและนักปราชญ์อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ย่อมถือว่าบุคคลผู้นี้เป็นนักรายงานที่เชื่อถือได้อยู่แล้ว เพราะเขานามสกุลอุมัยยะฮ์ ซึ่งเวลานั้นราชวงศ์อุมัยยะฮ์ปกครอง


มุหัมมัด บินอัมรูว์

3248 - محمد بن عمرو : وكان يحيى بن سعيد يُضَعِّفُهُ جِدًّا
العلل ومعرفة الرجال  لأحمد بن حنبل  ج 2 ص 49

อะหมัด บินหัมบัลกล่าวว่า  :  ยะห์ยาบินสะอีด อัลก็อฏฏอนได้ตัฏอี๊ฟมุหัมมัดบินอัมรูว์อย่างมาก (คือถือว่าการรายงานหะดีษของเขาอ่อนแอมากๆ)

อัลอิละลุ วะมะอ์ริฟะตุลริญาล โดยอะหมัดบินหัมบัล  อันดับที่ 3248
 

เชคมุหัมมัด นาศิรุดดีน อัลบานีย์กล่าวว่า  รายงานของมุหัมมัด บินอัมรูว์ต้องพิจารณาให้ดี

قُلْتُ : وَ فِيْهِ نَظَر فَإِنَّ مُحمد بن عمرو ، فِيْهِ كَلاَم و لذلك لَم يَحْتَجّ بِهِ مُسلم ، و إنما
روى له متابعة ، و هو حسن الحديث ،

ผม(อัลบานีย์)ขอกล่าวว่า  : ในหะดีษนี้ต้องพิจารณา เพราะว่ามุหัมมัดบินอัมรูว์นั้นมีคำพูดวิจารณ์ ด้วยเหตุนี้มุสลิม(เจ้าของฌศาะห๊หฺมุสลิม)จึงไม่ยึดรายงานของเขาเป็นหลักฐาน  อันที่จริงมุสลิมได้รับรายงานของเขามาในลักษณะมุตาบะอะฮ์  (แต่สุดท้ายอัลบานีย์ก็สรุปว่า ) หะดีษของเขาดี

หนังสืออัส-สิลสิละตุศ-เศาะฮีหะฮ์ เล่ม 1 หน้า 356 หะดีษเลขที่  203


อัลเกาษะรีย์วิจารณ์มุหัมมัดบินอัมรูว์ว่า เป็นนักมุฆอละเฏาะฮ์ (นักตบตา )
قال الكوثري في مقدمة \\\" التبصير في الدين \\\" ص 5  أنه لا يحتج به إذا لم يتابع ، فمن مغالطاته ، أو مخالفاته المعروفة ،
อัลเกาษะรีย์กล่าวในคำนำอัตตับศีร ฟิดดีนว่า  จะเอารายงานของมุหัมมัดบินอัมรูว์มาเป็นหลักฐานไม่ได้หากไม่มีมุตาบะอะฮ์   เพราะการมุฆอละเฏาะฮ์และมุคอละฟะฮ์ต่างๆของเขาเป็นที่รู้กันดี

หนังสืออัตตับศีร ฟิดดีน โดยอัลเกาษะรีย์  หน้า  5  



สรุป


สะนัดหะดีษบทนี้มีนักรายงานที่ดออีฟรวมอยู่ด้วย  จึงมีสถานะหะดีษ  : ดออีฟ (อ่อน)

 
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 03, 2009, 04:18:00 หลังเที่ยง

ตอน  36



รายงานที่  2



มุอาวียะฮ์ บินอบีสุฟยานรายงาน :



مسند أحمد : 16329 -  حَدَّثَنَا أَبُو الْمُغِيرَةِ قَالَ حَدَّثَنَا صَفْوَانُ قَالَ حَدَّثَنِي أَزْهَرُ بْنُ عَبْدِ اللَّهِ الْهَوْزَنِيُّ قَالَ أَبُو الْمُغِيرَةِ فِي مَوْضِعٍ آخَرَ الْحَرَازِيُّ عَنْ أَبِي عَامِرٍ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ لُحَيٍّ قَالَ
حَجَجْنَا مَعَ مُعَاوِيَةَ بْنِ أَبِي سُفْيَانَ  
فَلَمَّا قَدِمْنَا مَكَّةَ قَامَ حِينَ صَلَّى صَلَاةَ الظُّهْرِ فَقَالَ إِنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ إِنَّ أَهْلَ الْكِتَابَيْنِ افْتَرَقُوا فِي دِينِهِمْ عَلَى ثِنْتَيْنِ وَسَبْعِينَ مِلَّةً وَإِنَّ هَذِهِ الْأُمَّةَ سَتَفْتَرِقُ عَلَى ثَلَاثٍ وَسَبْعِينَ مِلَّةً يَعْنِي الْأَهْوَاءَ كُلُّهَا فِي النَّارِ إِلَّا وَاحِدَةً وَهِيَ الْجَمَاعَةُ

อบุลมุฆีเราะฮ์เล่าให้เราฟัง เขากล่าวว่า ศ็อฟวานเล่าให้เราฟัง เขากล่าวว่า อัซฮัรบินอับดุลเลาะฮ์ อัลเฮาซะนีย์เล่าให้ฉันฟัง อีกที่หนึ่งคืออัลหะรอซีย์ จากอบีอามิร อับดุลเลาะฮ์ บินลุหัยย์เล่าว่า พวกเราได้ทำหัจญ์พร้อมกับท่านมุอาวียะฮ์ บินอบีสุฟยาน  เมื่อพวกเราเข้าเมืองมักกะฮ์  เขา(มุอาวียะฮ์)ได้ยืนขึ้นขณะละหมาดซุฮ์ริแล้วเขากล่าวว่า  :   แท้จริงท่านรอซูลุลเลาะฮ์กล่าวว่า  แท้จริงชาวคัมภีร์ทั้งสอง(คือยะฮูดและนอศอรอ)ได้แตกแยกในศาสนาของพวกเขาเป็น 72 มิลละฮ์
และแท้จริงในประชาชาตินี้จะแตกออกเป็น 73 มิลละฮ์ หมายถึงบรรดาผู้ตามอารมณ์ ทั้งหมดจะอยู่ในไฟนรก  ยกเว้นหนึ่งมิลละฮ์ และนั่นคือ อัลญะมาอะฮ์


มุสนัดอิหม่ามอะหมัด หะดีษที่ 16329




ศึกษา สถานะของผู้รายงานหะดีษ (รอวี)

อบุลมุฆีเราะฮ์ อัลเคาลานีย์

ชื่อจริงคืออับดุลกุดดูส บินอัลหัจญ๊าจญ์ ชาวหิมศ์เป็นจังหวัดหนึ่งของเมืองช่าม มรณะที่หิมศ์ ฮ.ศ. 212
708 - عبد القدوس بن الحجاج الخولاني أبو المغيرة الحمصي.
روى عن صفوان بن عمرو...وغيرهم.   وعنه البخاري وأحمد
تهذيب التهذيب لابن حجر  ج 6  ص 329
รายงานหะดีษจากศ็อฟวาน บินอัมรูว์และคนอื่นๆ  อัลบุคอรีย์และอะหมัดรายงานหะดีษจากเขา

ตะฮ์ซีบุตตะฮ์ซีบ  โดยอิบนุหะญัร อันดับที่ 708


ศ็อฟวาน
764 - صفوان بن عمرو السكسكي شامي ثقة
الثقات للعجلي ج 1 ص 467

อัลอิจญ์ลีย์กล่าวว่า ศ็อฟวาน ชาวเมืองช่าม เชื่อถือได้
อัษษิกอต  โดยอัลอิจญ์ลีย์ อันดับที่ 764


อัซฮัรบินอับดุลเลาะฮ์ อัลหะรอซีย์
3395 - ( عَنْ أَزْهَرَ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ )
الْحِرَازِيِّ الْحِمْصِيِّ يُقَالُ هُوَ أَزْهَرُ بْنُ سَعِيدٍ تَابِعِيٌّ حَسَنُ الْحَدِيثِ لَكِنَّهُ نَاصِبِيٌّ يَنَالُ مِنْ عَلِيٍّ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ
الكتاب : تحفة الأحوذي بشرح جامع الترمذي  ج 8 ص 372  رقم الحديث : 3395
المؤلف : محمد عبد الرحمن بن عبد الرحيم المباركفوري أبو العلا

มุหัมมัด อับดุลเราะหฺมาน บินอับดุลเราะฮีม อัลมุบาร็อก เฟารีย์ อบุลอะลา เจ้าของหนังสือตุห์ฟะตุลอะห์วะซีย์ บิชัรหิ ญามิอิตติรมิซีย์กล่าวว่า
อัซฮัร บินอับดุลเลาะฮ์ อัลหิรอซีย์ อัลหิมศีย์ เรียกกันว่า อัซฮัร บินสะอีด ตาบิอีย์  หะดีษดี
แต่ว่าเขาเป็นนาศิบีย์(คือชิงชังท่านอะลี)  เขาได้ตำหนิด่าว่าท่านอะลี  เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ

หนังสือตุห์ฟะตุลอะห์วะซีย์ บิชัรหิ ญามิอิตติรมิซีย์  โดยอัลมุบาร็อก เฟารีย์ เล่ม 8 หน้า 372 หะดีษที่ 3395


เราไม่แปลกใจหรอกว่า   ทำไมอะฮ์ลุสสุนนะฮ์จึงเชื่อถือการรายงานของอัซฮัรเพราะ

1.   อัซฮัรคือคนเมืองช่ามย่อมอยู่ฝ่ายราชวงศ์อุมัยยะฮ์

2.   อัซฮัรยังประณามด่าทอท่านอะลี ในฐานะศัตรูของตระกูลอุมัยยะฮ์ ดังนั้นผู้ปกครองจึงให้การนับน่าถือตาเขาและยกย่องว่าเขาเชื่อถือได้


แต่ที่แปลกใจคือ อะฮ์ลุสสุนนะฮ์อ้างว่า พวกตนนั้นรักเศาะหาบะฮ์มาก ดังนั้นใครด่าเศาะหาบะฮ์ คนนั้นเชื่อถือไม่ได้   แล้วทำไมอัซฮัรด่าท่านอะลีกลับเชื่อถือได้  

สงสัยกฎข้อนี้คงถูกยกเว้นไว้หนึ่งเศาะหาบะฮ์คือ ถ้าด่าท่านอะลีนั้นการรายงานของรอวีย์คนนั้นยังคงเชื่อถือได้      

ท่านเห็นแล้วใช่ไหมว่า อิทธิพลของตระกูลอุมัยยะฮ์กับอุละมาอ์อะฮ์ลุสสุนนะฮ์นั้นเข้ากันได้ดีขนาดไหน


อบีอามิร อับดุลเลาะฮ์ บินลุหัยย์
681 - عبد الله بن لحى أبو عامر الهوزنى شامى
روى عن معاوية  روى عنه ازهر بن عبد الله الحرازى
الجرح والتعديل لابن أبي حاتم   ج 5 ص 145
อิบนุอบีหาติมกล่าวว่า :  อับดุลเลาะฮ์ บินลุหัยย์ อบุลอามิร ชาวเมืองช่าม
รายงานหะดีษจากมุอาวียะฮ์
อัซฮัรบินอับดุลเลาะฮ์ อัลหะรอซีย์รายงานหะดีษจากเขา

หนังสืออัลญะเราะหฺ วัตตะอ์ดีล โดยอิบนุอบีหาติม  อันดับที่ 681  


สรุป –

หากสังเกตสายรายงานหะดีษบทนี้ให้ดี  จะพบว่า นักรายงานทุกคนเป็นชาวช่าม(ซีเรีย)
ซึ่งที่นั่นราชวงศ์อุมัยยะฮ์มีอิทธิพล  

แน่นอนรอวีย์ทุกคนต้องได้รับความไว้วางใจจากผู้ปกครองและอุละมาอ์อะฮ์ลุสสุนนะฮ์
ส่วนผู้บันทึกหะดีษบทนี้คือท่านอิหม่ามอะหมัด ก็มีความตะอัศศุบอย่างรุนแรงอยู่แล้วต่อแนวทางอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ คงให้การสนับสนุนอยู่แล้วต่อหะดีษทำนองนี้

ด้วยเหตุนี้ อุละมาอ์อะฮ์ลุสสุนนะฮ์จึงให้เครดิตหะดีษบทนี้ว่ามีสถานะ "  ฮาซัน "

قال شعيب الأرنؤوط : إسناده حسن
الكتاب : مسند الإمام أحمد بن حنبل  رقم الحديث : 16979
الناشر : مؤسسة قرطبة - القاهرة
الأحاديث مذيلة بأحكام شعيب الأرنؤوط عليها

เชคชุเอบอัลอัรนะอูฏกล่าวว่า   อิสนาดของหะดีษนี้  :  หะสัน

ดูมุสนัดอิหม่ามอะหมัด ฉบับตรวจทานโดยเชคชุเอบอัลอัรนะอูฏ หะดีษที่ 16979



อะฮ์ลุสสุนนะฮ์เลือกยกย่องรอวีย์อย่างอัซฮัรบินอับดุลเลาะฮ์อัลหะรอซีย์ว่าเชื่อถือได้

และทำเมินเฉยต่อหะดีษที่ท่านรอซูลุลเลาะฮ์กล่าวว่า

1299 - \\\" من أحب عليا فقد أحبني و من أحبني فقد أحب الله عز وجل و من أبغض عليا فقد
أبغضني و من أبغضني فقد أبغض الله عز وجل \\\" .
قال الألباني في \\\" السلسلة الصحيحة \\\" 3 / 288 :

ผู้ใดมีความรักต่ออะลี เท่ากับเขามีความรักต่อฉัน และผู้ใดมีความรักต่อฉัน เท่ากับเขามีความรักต่ออัลเลาะฮ์ อัซซะวะญัล

ส่วนผู้ชิงชังอะลี เท่ากับชิงชังต่อฉัน และผู้ใดชิงชังฉัน เท่ากับเขาชิงชังอัลเลาะฮ์ อัซซะวะญัล

เชคอัลบานีย์กล่าวไว้ในหนังสืออัสสิลสิละตุศเศาะฮีหะฮ์ เล่ม 3 หน้า  288 หะดีษที่ 1299


เมื่อท่านอ่านแล้วคงเข้าใจสินะว่า    อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ไม่ได้รักอัลเลาะฮ์และรอซูลจริงหรอก
พวกเขารักดุนยามากกว่า  หากพวกเขารักอิสลามจริง  อย่างน้อยพวกเขาจะต้องกล่าวว่า    

อัซฮัรบินอับดุลเลาะฮ์อัลหะรอซีย์ เชื่อถือไม่ได้  เพราะด่าทอเศาะหาบะฮ์  
แต่กฎข้อนี้มีการยกเว้น กล่าวคือถ้าด่าท่านอะลี ไม่เป็นไร



สรุป


สะนัดหะดีษบทนี้มีนักรายงานที่ดออีฟรวมอยู่ด้วย  จึงมีสถานะหะดีษ  : ดออีฟ (อ่อน)
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 03, 2009, 04:23:42 หลังเที่ยง

ตอน  37


รายงานที่ 3

เอาฟ์ บินมาลิกรายงาน

อิบนุมาญะฮ์  หะดีษเลขที่ 4127

سنن إبن ماجة :  4127 - حَدَّثَنَا عَمْرُو بْنُ عُثْمَانَ بْنِ سَعِيدِ بْنِ كَثِيرِ بْنِ دِينَارٍ الْحِمْصِىُّ حَدَّثَنَا عَبَّادُ بْنُ يُوسُفَ حَدَّثَنَا صَفْوَانُ بْنُ عَمْرٍو عَنْ رَاشِدِ بْنِ سَعْدٍ عَنْ عَوْفِ بْنِ مَالِكٍ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- « افْتَرَقَتِ الْيَهُودُ عَلَى إِحْدَى وَسَبْعِينَ فِرْقَةً فَوَاحِدَةٌ فِى الْجَنَّةِ وَسَبْعُونَ فِى النَّارِ وَافْتَرَقَتِ النَّصَارَى عَلَى ثِنْتَيْنِ وَسَبْعِينَ فِرْقَةً فَإِحْدَى وَسَبْعُونَ فِى النَّارِ وَوَاحِدَةٌ فِى الْجَنَّةِ وَالَّذِى نَفْسُ مُحَمَّدٍ بِيَدِهِ لَتَفْتَرِقَنَّ أُمَّتِى عَلَى ثَلاَثٍ وَسَبْعِينَ فِرْقَةً فَوَاحِدَةٌ فِى الْجَنَّةِ وَثِنْتَانِ وَسَبْعُونَ فِى النَّارِ ». قِيلَ يَا رَسُولَ اللَّهِ مَنْ هُمْ قَالَ « الْجَمَاعَةُ ».

อัมรูว์ บินอุษมานเล่า บินสะอีด บินกะษีร บินดีนาร อัลหิมศีย์เล่าให้เราฟัง   อับบ๊าดบินยูสุฟเล่าให้เราฟัง  ศ็อฟวานบินอัมรูว์เล่าให้เราฟัง  จากรอชิดบินสะอัด จากเอาฟ์บินมาลิกเล่าว่า :
ท่านรอซูลุลเลาะฮ์กล่าวว่า  : พวกยะฮูดได้แตกออกเป็น 71 ฟิรเกาะฮ์ มีหนึ่งฟิรเกาะฮ์จะอยู่ในสวรรค์อีกเจ็ดสิบจะอยู่ในไฟนรก
และพวกนะศอรอได้แตกออกเป็น 72 ฟิรเกาะฮ์  มีหนึ่งฟิรเกาะฮ์จะอยู่ในสวรรค์อีกเจ็ดสิบเอ็ดจะอยู่ในไฟนรก
และขอสาบานต่อผู้ที่ชีวิตของมุหัมมัดอยู่ในอำนาจของพระองค์ว่า  แน่นอนอุมมะฮ์ของฉันจะแตกออกเป็น 73 ฟิรเกาะฮ์   มีหนึ่งฟิรเกาะฮ์จะอยู่ในสวรรค์อีกเจ็ดสิบสองจะอยู่ในไฟนรก
มีคนถามว่า โอ้ท่านรอซูลุลเลาะฮ์ พวกเขาคือใคร ?  ท่านกล่าวว่า คือ " อัลญะมาอะฮ์ "


ศึกษา สถานะของผู้รายงานหะดีษ (รอวี)

อัมรูว์ บินอุษมาน บินสะอีด บินกะษีร บินดีนาร อัลหิมศีย์
ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นชาวหิมศ์ เมืองหนึ่งของประเทศซีเรีย ตายฮ.ศ.250

อับบ๊าด บินยูสุฟ ชาวหิมศ์
4150 - عباد بن يوسف الحمصى، صاحب الكرابيس.
عن صفوان ابن عمرو [ بن عثمان ] (1) وغيره.
ذكره ابن عدى فقال: روى أحاديث ينفرد بها.
روى عنه عمرو بن عثمان، وغيره.
وقد وثقه ابن ماجة، وابن أبى عاصم، قالا: حدثنا عمرو بن عثمان، حدثنا عباد بن يوسف، حدثنى صفوان بن عمرو، عن راشد بن سعد، عن عوف بن مالك - مرفوعا: افترقت اليهود على إحدى وسبعين فرقة..الحديث.
وفي آخره: قيل: من هم يا رسول الله ؟ قال: الجماعة.
لم يخرج له ابن ماجة سواه.

มีซานุลอิ๊อฺติดาล  โดยอัซซะฮะบีย์  อันดับที่ 4150  

ศ็อฟวาน บินอัมรูว์  ชาวเมืองช่าม ตายฮ.ศ.255
8625 - صفوان بن عمرو بن هرم السكسكي من أهل الشام كنيته أبو عمرو
يروى عن راشد بن سعيد مات سنة خمس وخمسين ومائة
อัษษิกอต โดยอิบนุหิบบาน อันดับที่ 8625

รอชิด บินสะอัด ตาบิอีย์ ชาวหิมศ์ ตายฮ.ศ.108
2706 - راشد بن سعد الحمصى.
قيل: مات سنة ثمان ومائة.
มีซานุลอิ๊อฺติดาล  โดยอัซซะฮะบีย์  อันดับที่ 2706  
เอาฟ์ บินมาลิก เศาะหาบะฮ์ อาศัยอยู่ที่เมืองช่าม มรณะฮ.ศ. 73 ในตอนต้นสมัยการปกครองของกษัตริย์อับดุลมะลิก
1040 - عوف بن مالك الأشجعي كنيته أبو عبد الرحمن ويقال أبو حماد سكن الشام مات سنة ثلاث وسبعين في أول ولاية عبد الملك

อัษษิกอต โดยอิบนุหิบบาน อันดับที่ 1040

อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ก็บอกว่า หะดีษบทนี้อยู่ในระดับ ฮาซัน ( ดี )  

ก็สายรายงานหะดีษทุกคนล้วนเป็นชาวเมืองช่าม(ซีเรีย) แน่นอนผู้ปกครองตระกูลอุมัยยะฮ์และอุละมาอ์อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ต้องให้เครดิตว่า เป็นอิสนาดที่ษิเกาะฮ์ เชื่อถือได้
ซึ่งเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว อีกทั้งยังมีรอวีย์คนหนึ่งชื่อรอชิดบินสะอัดอยู่ฝ่ายมุอาวียะฮ์ออกไปรบในสงครามซิฟฟีนต่อต้านท่านเคาะลีฟะฮ์อะลีด้วยชาวช่ามยิ่งรักชอบคนที่ชิงชังท่านอะลีเป็นพิเศษอยู่แล้ว


สรุป

สะนัดหะดีษบทนี้มีนักรายงานที่ดออีฟรวมอยู่ด้วย  จึงมีสถานะหะดีษ  : ดออีฟ (อ่อน)
ชื่อ: Re:มัซฮับซุนนี่แตกออกเป็นกี่กลุ่ม และทำไม ?
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 06, 2009, 11:14:15 ก่อนเที่ยง


ตอน  38


รายงานที่ 4อะนัส บินมาลิกรายงาน

อิบนุมาญะฮ์  หะดีษเลขที่ 4128

سنن إبن ماجة : 4128 –  حَدَّثَنَا هِشَامُ بْنُ عَمَّارٍ حَدَّثَنَا الْوَلِيدُ بْنُ مُسْلِمٍ حَدَّثَنَا أَبُو عَمْرٍو حَدَّثَنَا قَتَادَةُ عَنْ أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- « إِنَّ بَنِى إِسْرَائِيلَ افْتَرَقَتْ عَلَى إِحْدَى وَسَبْعِينَ فِرْقَةً وَإِنَّ أُمَّتِى سَتَفْتَرِقُ عَلَى ثِنْتَيْنِ وَسَبْعِينَ فِرْقَةً كُلُّهَا فِى النَّارِ إِلاَّ وَاحِدَةً وَهِىَ الْجَمَاعَةُ ».

ฮิชาม บินอัมมารเล่าให้เราฟัง  อัลวะลีด บินมุสลิมเล่าให้เราฟัง  อบูอัมรูว์เล่าให้เราฟัง  เกาะตาดะฮ์เล่าให้เราฟัง จากอะนัส บินมาลิกเล่าว่า

ท่านรอซูลุลเลาะฮ์กล่าวว่า   แท้จริงบนีอิสรออีลได้แตกออกเป็น 71 ฟิรเกาะฮ์ และแท้จริงอุมมะฮืของฉันจะแตกออกเป็น 72 ฟิรเกาะฮ์ ทุกฟิรเกาะฮ์จะอยู่ในไฟนรก ยกเว้นหนึ่งฟิรเกาะฮ์ และฟิรเกาะฮ์นั้นคือ อัลญะมาอะฮ์

ศึกษา สถานะของผู้รายงานหะดีษ (รอวี)

ฮิชาม บินอัมมาร ชาวดามัสกัส
255 - هشام بن عمار السلمي الدمشقي
روى عن الوليد بن مسلم
روى عنه أبو عبيد القاسم بن سلام سمعت أبى يقول ذلك قال أبو محمد
อัลญะเราะหฺ วัตตะอ์ดีล โดยอิบนุอบีหาติม อันดับที่ 255

อัลวะลีด บินมุสลิม
9405 - [ صح ] الوليد بن مسلم [ ع ]، أبو العباس الدمشقي، مولى بنى أمية.
أحد الاعلام، وعالم أهل الشام.
ميزان الاعتدال  للذهبي ج 4 / ص 347


อบุลอับบาส  ชาวดามัสกัส  คนรับใช้ของบนูอุมัยยะฮ์   อาเล่มของชาวเมืองช่าม(ซีเรีย)
มีซานุลอิ๊อฺติดาล โดยอัซซะฮะบี  เล่ม  4 : 347




หมายเหตุ -


สะนัดหะดีษบทนี้มีนักรายงานที่เป็นข้ารับใช้ของพวกราชวงศ์อุมัยยะฮ์ และยังเป็นอาเล่มของชาวช่าม


สรุป

สะนัดหะดีษบทนี้มีนักรายงานที่ดออีฟรวมอยู่ด้วย  จึงมีสถานะหะดีษ  : ดออีฟ (อ่อน)



ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: sandee เมื่อ กรกฎาคม 06, 2009, 11:27:10 ก่อนเที่ยง


ตอน  39


รายงานที่ 5



อิบนุมัสอูดรายงาน


معجم الكبير : 10357 –  حَدَّثَنَا إِسْحَاقُ بْنُ إِبْرَاهِيمَ بْنِ أَبِي حَسَّانَ الْأَنْمَاطِيُّ ثَنَا هِشَامُ بْنُ عَمَّارٍ (الدِّمَشْقِىُّ) ثَنَا الْوَلِيدُ بْنُ مُسْلِمٍ حَدَّثَنِي بُكَيْرُ بْنُ مَعْرُوفٍ عَنْ مُقَاتِلِ بْنِ حَيَّانَ عَنِ الْقَاسِمِ بْنِ عَبْدِ الرَّحْمَنِ عَنْ أَبِيهِ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ (بن مسعود) قَالَ : قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: يَا ابْنَ مَسْعُودٍ هَلْ عَلِمْتَ أَنَّ بَنِي إِسْرَائِيلَ افْتَرَقُوا عَلَى اثْنَتَيْنِ وَسَبْعِينَ فِرْقَةً لَمْ يَنْجُ مِنْهاَ إِلَّا ثَلَاثَ فِرَقٌ

อิสฮ๊าก  บินอิบรอฮีม   บินอบีหัสซาน อัลอันมาฏี  จาก
ฮิช่าม  บินอัมมาร อัด-ดิมัชกี จาก
อัลวะลีด บินมุสลิม  จาก
บุกัยรฺ บินมะอ์รูฟ  จาก
มุกอติล บินหัยยาน จาก
อัลกอซิม บินอับดุลเราะห์มาน   จากบิดาเขา  จาก
อิบนุมัสอูดเล่าว่า
ท่นรอซูลุลเลาะฮ์(ศ)กล่าวว่า     โอ้อิบนิมัสอูด  ท่านรู้ไหมว่า  แท้จริง  บนีอิสรออีลได้แตกออกเป็น 72 กลุ่ม  ไม่มีกลุ่มใดรอด  ยกเว้นสามกลุ่มเท่านั้น

อัลมุอ์ญะมุลกะบีร   หะดีษที่  10357


ศึกษา สถานะของผู้รายงานหะดีษ (รอวี)


เชคอัลบานี  วิจารณ์ว่า สถานะหะดีษ  ดออีฟ  ที่ฮิช่าม บินอัมมารกับอัลวะลีดบินมุสลิม

ดูหนังสือซิลาลุลญันนะฮ์  โดยเชคอัลบานี  เล่ม 1 :29 หะดีษที่ 71    


71 - ( ضعيف )
 حدثنا هشام بن عمار ثنا الوليد بن مسلم أخبرني بكير بن معروف عن مقاتل بن حيان عن القاسم بن عبد الرحمن عن أبيه عن جده عبدالله بن مسعود أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال إن بني إسرائيل افترقت على اثنتين وسبعين فرقة لم ينج منها إلا ثلاث
 إسناده ضعيف رجاله ثقات على ضعف في هشام بن عمار والوليد بن مسلم يدلس تدليس التسوية ولم يصرح بالتحديث في غير شيخه بكير
 والحديث أخرجه الطبراني في الكبير حدثنا إسحاق بن إبراهيم بن أبي حسان الأنماطي نا هشام بن عمار به

ظلال الجنة   ج 1  ص 29

 
الكتاب : ظلال الجنة في تخريج السنة لابن أبي عاصم
المؤلف : محمد ناصر الدين الألباني
الناشر : المكتب الإسلامي - بيروت
الطبعة : الثالثة - 1413-1993
عدد الأجزاء : 2



สรุป

สะนัดหะดีษบทนี้มีนักรายงานที่ดออีฟรวมอยู่ด้วย  จึงมีสถานะหะดีษ  : ดออีฟ (อ่อน)
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 06, 2009, 02:14:11 หลังเที่ยง


ตอน   40



รายงานที่ 6



อับดุลเลาะฮ์ บินอัมรูว์บินอาศรายงาน



سن الترمذي : 2853 –  حَدَّثَنَا مَحْمُودُ بْنُ غَيْلاَنَ حَدَّثَنَا أَبُو دَاوُدَ الْحَفَرِىُّ عَنْ سُفْيَانَ الثَّوْرِىِّ عَنْ عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ زِيَادِ بْنِ أَنْعُمَ الإِفْرِيقِىِّ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ يَزِيدَ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ عَمْرٍو قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ –صلى الله عليه وسلم-
« وَإِنَّ بَنِى إِسْرَائِيلَ تَفَرَّقَتْ عَلَى ثِنْتَيْنِ وَسَبْعِينَ مِلَّةً وَتَفْتَرِقُ أُمَّتِى عَلَى ثَلاَثٍ وَسَبْعِينَ مِلَّةً كُلُّهُمْ فِى النَّارِ إِلاَّ مِلَّةً وَاحِدَةً قَالُوا وَمَنْ هِىَ يَا رَسُولَ اللَّهِ قَالَ مَا أَنَا عَلَيْهِ وَأَصْحَابِى ».

قَالَ أَبُو عِيسَى هَذَا حَدِيثٌ مُفَسَّرٌ حَسَنٌ غَرِيبٌ لاَ نَعْرِفُهُ مِثْلَ هَذَا إِلاَّ مِنْ هَذَا الْوَجْهِ.


ท่านรอซูลุลเลาะฮ์กล่าวว่า  :  แท้จริงบนีอิสรออีลได้แตกออกเป็น 72 มิลละฮ์ และอุมมะฮ์ของฉํนจะแตกออกเป็น73 มิลละฮ์  พวกเขาทั้งหมดจะอยู่ในไฟนรก ยกเว้นหนึ่งมิลละฮ์  พวกเขากล่าวว่า และมิลละฮ์ที่ว่านั้นคือใคร โอ้ท่านรอซูลุลเลาะฮ์ ?   ท่านกล่าวว่า สิ่งที่ฉันและเศาะหาบะฮ์ของฉันดำรงอยู่

สุนัน อัต ติรมิซีย์  หะดีษที่ 2853


ศึกษา สถานะของผู้รายงานหะดีษ (รอวี)

จากอับดุลเราะห์มาน บินซิยาด บินอัมอัม อัลอิฟรีกีย์ จากอับดุลเลาะฮ์ บินซัยดฺ จากอับดุลเลาะฮ์ บินอัมรูว์

อับดุลเราะห์มาน บินซิยาด บินอันอัม อัลอิฟรีกีย์

1111 - عبد الرحمن بن زياد بن انعم الإفريقي
إبن المديني قال سمعتُ يحيى يعنى القطان ضَعَّفَ الإفريقي

ยะห์ยา บินกอฏฏอน  ได้ตัฏอีฟอัลอิฟรีกี

كان يحيى بن سعيد وعبد الرحمن بن مهدى لا يحدثان عن عبد الرحمن بن زياد بن انعم

ยะห์ยา บินสะอีดกับอับดุลเราะห์มาน บินมะฮ์ดี จะไม่รายงานหะดีษจากอับดุลเราะห์มาน บินซิยาด บินอันอัม

قال احمد بن حنبل عبد الرحمن بن زياد بن انعم الإفريقي ليس بشيء
 
อิหม่ามอะหมัดกล่าวว่า  อับดุลเราะห์มาน บินซิยาด บินอันอัม อัลอิฟรีกี ไม่มีสิ่งใดเลย

سئل يحيى بن معين عن الإفريقي فقال ضعيف
نا عبد الرحمن نا محمد بن إبراهيم قال سمعت
عبد الرحمن قال سألت أبى عن عبد الرحمن بن زياد بن انعم فقال يكتب حديثه ولا يحتج به
عبد الرحمن قال سألت أبى وأبا زرعة عن الإفريقي وابن لهيعة أيهما أحب اليكما قالا جميعا ضعيفين
الجرح والتعديل - أبو حاتم الرازي

อ้างอิงจากอัลญัรฮุ วัตตะอ์ดีล  โดยอบูฮาติมอัลรอซี   อันดับที่ 1111


207 - عبد الرحمن بن زياد حدثنا محمد قال ثنا المقري عن عبد الرحمن بن زياد في حديثه بعض المناكير
الضعفاء الصغير – البخاري

มุฮัมมัดเล่าจากอัลมุก รีย์ ได้เล่าถึงอับดุลเราะห์มาน บินซิยาด บินอันอัมเกี่ยวกับหะดีษของเขาว่า มีบางส่วนมุงกัร

อ้างอิงจาก อัฎ-ฎุอะฟาอุซ- ซอฆีร โดยอัลบุคอรี  อันดับที่ 207

3862 - عبد الرحمن بن زياد بن أنعم الإفريقي قاضيها ضعيف في حفظه
تقريب التهذيب - ابن حجر
43 - د ت ق عبد الرحمن بن زياد بن أنعم الأفريقي قال بن حبان كان يدلس.
الكتاب : التبيين لأسماء المدلسين
المؤلف : أبو الوفا إبراهيم بن محمد بن خليل سَبْط ابن العجمي الشافعي
37 ـ د ت ق: عبد الرحمن بن زياد بن أنعم الإفريقي قال ابن حبان كان يدلس
الكتاب : المدلسين
المؤلف : أبو زرعة أحمد بن عبد الرحيم العرقي

361 - عبد الرحمن بن زياد بن أنعم الإفريقي ضعيف
الضعفاء والمتروكين – النسائي


قال الألباني في سلسلة الأحاديث الضعيفة  ج 1 ص 108 رقم الحديث :35  :
و هذا سند ضعيف من أجل الإفريقى هذا ، قال الحافظ في \\\" التقريب \\\" : ضعيف في
حفظه ، و ضعفه الترمذي فقال عقب الحديث : إنما نعرفه من حديث الإفريقى ، و هو
ضعيف عند أهل الحديث
وقال مرة اخري
عبد الرحمن بن زياد الإفريقي، وأكثر أهل العلم لا يحتج بحديثه،

อัลบานีกล่าวไว้ในหนังสือซิลซิละตุล อะฮาดีษ  อัด-เดาะอีฟะฮ์  เล่ม 1 : 108 หะดีษที่ 35
สะนัดหะดีษนี้ ดออีฟ(อ่อน) เนื่องจากมีอัลอิฟรีกีคนนี้   อัลฮาฟิซ(อิบนุหะญัร)กล่าวไว้ในหนังสือตักรีบุต-ตะฮ์ซีบว่า   ดออีฟในความจำของเขา  
อัตติรมิซี ถือว่าเขาดออีฟ  และยังกล่าวในท้ายหะดีษว่า  เรารู้จักมันจากหะดีษของอัลอิฟรีกี  และเขาผู้นี้มีสถานะ ดออีฟ ในทัศนะของอะฮ์ลุลหะดีษ  
และกล่าวอีกครั้งหนึ่งว่า อับดุลเราะห์มาน บินซิยาด อัลอิฟรีกี ส่วนมากนักวิชาการจะไม่นำหะดีษของเขามาอ้างอิงเป็นหลักฐาน

อัลบานียังกล่าวว่าหะดีษนี้ ดออีฟ
171 - [ 32 ] ( ضعيف )
 وعن عبد الله بن عمرو قال قال رسول الله صلى الله عليه وسلم : \\\" ليأتين على أمتي ما أتى على بني إسرائيل حذو النعل بالنعل حتى إن كان منهم من أتى أمه علانية لكان في أمتي من يصنع ذلك وإن بني إسرائيل تفرقت على ثنتين وسبعين ملة وتفترق أمتي على ثلاث وسبعين ملة كلهم في النار إلا ملة واحدة قالوا ومن هي يا رسول الله قال ما أنا عليه وأصحابي \\\" . رواه الترمذي

الكتاب : مشكاة المصابيح  ج 1  ص 37
المؤلف : محمد بن عبد الله الخطيب التبريزي
الناشر : المكتب الإسلامي - بيروت
الطبعة : الثالثة - 1405 - 1985
تحقيق : تحقيق محمد ناصر الدين الألباني
عدد الأجزاء : 3


มิชกาตุล มะซอบี๊หฺ   เล่ม  1 : 37 หะดีษที่ 171 ฉบับตรวจทานโดยเชคอัลบานี



สรุป

สะนัดหะดีษบทนี้มีนักรายงานที่ดออีฟรวมอยู่ด้วย  จึงมีสถานะหะดีษ  : ดออีฟ (อ่อน)
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 06, 2009, 02:52:06 หลังเที่ยง


ตอน   41


รายงานที่  7


สะอัด บินอบีวักก็อศรายงาน



حَدَّثَنَا يُوسُفُ بْنُ مُوسَى ، قَالَ : حَدَّثَنَا أَحْمَدُ بْنُ عَبْدِ اللهِ بْنِ يُونُسَ ، قَالَ : حَدَّثَنَا أَبُو بَكْرِ بْنُ عَيَّاشٍ ، عَنْ مُوسَى بْنِ عُبَيْدَةَ ، عَنْ أَخِيهِ عَبْدِ اللهِ بْنِ عُبَيْدَةَ ، عَنْ عَائِشَةَ ابْنَةِ سَعْدٍ ، عَنْ أَبِيهَا(سَعْدِ بْنِ أَبِي وَقَّاصٍ) ، قَالَ :
قَالَ رَسُولُ اللهِ صلى الله عليه وسلم : افْتَرَقَتْ بَنُو إِسْرَائِيلَ عَلَى إِحْدَى وَسَبْعِينَ مِلَّةً ، وَلَنْ تَذْهَبَ اللَّيَالِي وَالأَيَّامُ حَتَّى تَفْتَرِقَ أُمَّتِي عَلَى مِثْلَهَا.
وَهَذَا الْحَدِيثُ لاَ نَعْلَمُهُ يُرْوَى عَنْ سَعْدٍ إِلاَّ مِنْ هَذَا الْوَجْهِ ، وَلاَ نَعْلَمُ رَوَى عَبْدُ اللهِ بْنُ عُبَيْدَةَ ، عَنْ عَائِشَةَ ، عَنْ أَبِيهَا إِلاَّ هَذَا الْحَدِيثَ.

مسند البزار : 1199ـ

ท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ)กล่าวว่า   บนูอิสรออีล(ยิว)ได้แตกออกเป็น  71 มิลละฮ์  และกลางคืนกับกลางวันทั้งหลายจะไม่มีวันผ่านไป  จนกว่าอุมมะฮ์ของฉัน  จะแตกออกเหมือนเช่นมัน

มุสนัด อัลบัซซ้าร   หะดีษที่   1199    







ศึกษา สถานะของผู้รายงานหะดีษ (รอวี)


มูซา  บินอุบัยดะฮ์  ถูกนักวิชาการวิจารณ์ว่า  

مُوسَى بْنِ عُبَيْدَةَ  توفي 253هـ. ، عَنْ أَخِيهِ(عَبْدِ اللهِ بْنِ عُبَيْدَةَ)
345 - موسى بن عبيدة أبو عبد العزيز الربذي فال أحمد بن حنبل منكر الحديث
الضعفاء الصغير – البخاري

อิหม่ามอะหมัดกล่าวว่า   มูซา บินอุบัยดะฮ์     มุงกัร หะดีษ

อ้างอิงจาก  
อัด-ดุอะฟาอุซ- ซอฆีร  โดยอัลบุคอรี  อันดับที่  345      


เชคอัลบานี ได้วิจารณ์  มูซา บินอุบัยดะฮ์ไว้ดังนี้

\\\"إسناده ضعيف ؛ لضعف موسى بن عبيدة الربذي ، وقد تركه كثير من أهل العلم ، وشيخه وشيخ شيخه لم أعرفهما\\\" !
السلسلة الضعيفة - (ج 211 / ص 2
อิสนาดของมัน  ดออีฟ  เพราะความดออีฟของมูซา บินอุบัยดะฮ์ อัลร็อบซี  ส่วนมากจากนักวิชาการนั้นทิ้ง(การรายงานของ)เขา   เชคของเขา และเชคของเชคของเขา  ฉันไม่เคยรู้จักทั้งสอง

อ้างอิงจาก
ซิลซิละฮ์ อัด-เดาะอีฟะฮ์   หะดีษที่  5204

สรุป

สะนัดหะดีษบทนี้มีนักรายงานที่ดออีฟรวมอยู่ด้วย  จึงมีสถานะหะดีษ  : ดออีฟ (อ่อน)
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 06, 2009, 03:22:36 หลังเที่ยง

ตอน   42  



รายงานที่ 8



อบีอุมามะฮ์รายงาน



(أخبرنا) أبو الحسن على بن احمد بن عبدان أنبأ احمد بن عبيد الصفار ثنا اسمعيل بن اسحاق القاضى ثنا محمد بن أبى بكر ثنا حماد هو ابن زيد
عَنْ أَبِي غَالِبٍ عَنْ أَبِي أُمَامَةَ قَالَ سَمِعْتُهُ مِنْ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ
ان بنى اسرائيل تفرقوا على احدى وسبعين فرقة وان هذه الامة تزيد عليهم فرقة كلها في النار الا السواد الاعظم
السنن الكبرى للبيهقي  ج 8  ص 188

จากอบีฆอลิบ จากอบีอุมามะฮ์เล่าว่า  ฉันได้ยินมันจากท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ)กล่าวว่า  
แท้จริงบนีอิสรออีลได้แตกออกเป็น  71 ฟิรเกาะฮ์ และแท้จริงอุมมะฮ์นี้ จะมีฟิรเกาะฮ์เพิ่มขึ้นมากกว่าพวกเขา(ยิว)   ทั้งหมดนั้นอยู่ในไฟนรก   ยกเว้น  อัส-สะวาดุล อะอ์ซ็อม

สุนัน  กุบรอ โดยอัลบัยฮะกี   เล่ม  8  หน้า 188



ศึกษา สถานะของผู้รายงานหะดีษ (รอวี)

5048 - أبو غالب يروى عن أبى أمامة روى عنه عبد الرحمن بن المبارك العيشي ربما أخطأ
الثقات - ابن حبان

อิบนิฮิบบานกล่าวว่า    อบูฆอลิบ รายงานจากอบีอุมามาฮ์ และอับดุลเราะห์มาน บินมุบารอกรายงานจากเขา บางทีผิดพลาด

อัษ – ษิกอต  อิบนิฮิบบาน   อันดับที่  5048  

665 - أبو غالب يروي عن أبي أمامة ضعيف
الضعفاء والمتروكين – النسائي

อัน-นะซาอีกล่าวว่า    อบูฆอลิบ สหายของอบีอุมามะฮ์    (เขา) ดออีฟ

อัด –ดุอะฟาอุ วัลมัตรูก  โดยอันนะซาอี  อันดับที่  665

8298 - أبو غالب صاحب أبي أمامة بصري نزل أصبهان قيل اسمه حزور وقيل سعيد بن الحزور وقيل نافع صدوق يخطىء
تقريب التهذيب - ابن حجر
อิบนิหะญัรกล่าวว่า    อบูฆอลิบ สหายของอบีอุมามะฮ์ ชาวบัศเราะฮ์   บ้างว่าชื่อ หะรูซ หรือ สะอีดบินหะรูซ หรือ นาฟิ๊อฺ     เชื่อได้ มีผิดพลาด

ตักรีบุต ตะฮ์ซีบ  อันดับที่  8298  

7561 - أبو غالب البصري
ذكره محمد بن سعد من أهل البصرة وقال منكر الحديث
มุฮัมมัด บินสะอัดกล่าวว่า    เขา(อบูฆอลิบ) เป็นชาวบัศเราะฮ์  และกล่าวว่า  มุงกัรหะดีษ  

وقال أبو حاتم ليس بالقوي
อบูหาติมกล่าวว่า   เขาไม่แข็งแรง(ในการรายงาน)

ตะฮ์ซีบุลกะมาล  โดยอัลมมิซซี  อันดับที่  7561



สรุป

สะนัดหะดีษบทนี้มีนักรายงานที่ดออีฟรวมอยู่ด้วย  จึงมีสถานะหะดีษ  : ดออีฟ (อ่อน)
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 06, 2009, 03:32:14 หลังเที่ยง



ตอน  43


รายงานที่ 9


ญาบิร บินอับดุลเลาะฮ์รายงาน


وعن جابر بن عبد الله قال: قال رسول الله(صلى الله عليه وآله وسلم) تفرقت اليهود على واحد وسبعين فرقة كلها في النار، وتفرقت النصارى على ثنتين وسبعين فرقة كلها في النار، وإن امتي ستفترق على ثلاث وسبعين فرقة كلها في النار إلاّ واحدة فقال عمر بن الخطاب: يا رسول الله أخبرنا من هم ؟ قال: السواد الأعظم
السَّوادِ الأعْظَم : أي جُمْلة النَّاس
 ท่านรอซูลุลเลาะฮ์ (ศ)กล่าวว่า   พวกยะฮูดีได้แตกออกเป็น 71 ฟิรเกาะฮ์  ทุกกลุ่มนั้นอยู่ในไฟนรก
พวกนะซอรอได้แตกออกเป็น  72 ฟิรเกาะฮ์ ทุกกลุ่มนั้นอยู่ในไฟนรก
และแท้จริงอุมมะฮ์ของฉันจะแตกออกเป็น   73  ฟิรเกาะฮ์  ทุกกลุ่มนั้นอยู่ในไฟนรก  ยกเว้น หนึ่งกลุ่ม  
ท่านอุมัรบินคอตตอบกล่าวว่า  โอ้ท่านรอซูลุลเลาะฮ์  โปรดแจ้งเราด้วยเถิดว่า พวกเขาเป็นใคร ?
ท่านตอบว่า   อัส-สะวาดุล อะอ์ซ็อม

หมายเหตุ  -  คำ  (  อัส-สะวาดุล อะอ์ซ็อม ) แปลว่า  คนส่วนหนึ่ง

ศึกษา สถานะของผู้รายงานหะดีษ (รอวี)

หะดีษไม่ได้รายงานไว้ในกุตุบสุนนัน  แต่ถูกบันทึกไว้ในหนังสือดังต่อไปนี้

1.   ตารีค แบกแดด  เล่ม 9 : 247

2.   ตะฮ์ซีบุต ตะฮ์ซีบ โดยอิบนุหะญัร  เล่ม 9 : 498

3.   ตักรีบุต ตะฮ์ซีบ โอยอิบนุหะญัร เล่ม 2 : 215


หะดีษนี้มีสายรายงานมาจาก มุหัมมัด บินอัลฮัยษัม ( محمد بن الهيثم )

กลุ่มหนึ่งกล่าวว่า เขาษิเกาะฮ์     ในขณะที่   อิบนุหะญัรถือว่าเขาดออีฟ



انظر المجروحين لابن حبان ج2/225


อ้างอิงจาก
อัลมัจญ์รูฮีน   โดยอิบนฮิบบาน  เล่ม 2  :  225
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 06, 2009, 03:36:18 หลังเที่ยง


ตอน  44


รายงานที่ 10


อบูดัรดาอ์,อบูอุมามะฮ์,วาษิละฮ์และอะนัสรายงาน



المعجم الكبير : 7659 - عن عبد الله بن يزيد بن آدم الدمشقي قال حدثني أبو الدراء و أبو أمامة و واثلة بن الأسقع و أنس بن مالك قالوا : خرج علينا رسول الله صلى الله عليه و سلم يوما ونحن نتمارى في شيء من أمر الدين فغضب غضبا شديدا لم يغضب مثله ثم انتهرنا فقال : مهلا يا أمة محمد إنما هلك من كان قبلكم بهذا أخذوا المراء لقلة خيره
ذروا المراء فإن بني إسرائيل افترقوا على إحدى وسبعين فرقة والنصارى على ثنتين وسبعين كلهم على الضلالة إلا السَّوَادُ الْأَعْظَمُ قالوا : يا رسول الله ومَن السَّوَادُ الْأَعْظَمُ ؟ قال : من كان على ما أنا عليه وأصحابي من لم يمار في دين الله ومن لم يكفر أحدا من أهل التوحيد بذنب غفر له


อับดุลเลาะฮ์ บินยะซีด บินอาดัม อัด ดิมัชกีย์กล่าวว่า  อบู ดัรดาอ์, อบูอุมามะฮ์, วาษิละฮ์ บินอัสเกาะอ์และอะนัสบินมาลิกพวกเขาได้เล่าให้ฉันฟังว่า

วันหนึ่ง ท่านรอซูลุลเลาะฮ์ออกมายังพวกเรา และเรากำลังโต้เถียงกันในเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องศาสนา  ท่านโกรธจัดท่านไม่เคยโกรธเช่นนี้มาก่อน จากนั้นพวกเราจึงห้ามปรามกันให้ยุติ  ท่านกล่าวว่า ช้าก่อนโอ้อุมมะฮ์ของมุหัมมัดเอ๋ย !  อันที่จริงได้ประสบความหายนะมาแล้วคนในยุคก่อนพวกท่านด้วยการที่พวกเขายึดเอาการทะเลาะวิวาทนี้(เป็นที่ตั้ง) เนื่องจากความดีงามของมันมีเพียงน้อยนิด
พวกเจ้าจงทิ้งการทะเลาะวิวาทนี้เสียเถิด เพราะพวกบนีอิสรออีลได้แตกออกเป็น 71 ฟิรเกาะฮ์  และพวกนะศอรอก็แตกออกเป็น 72 ฟิรเกาะฮ์ พวกเขาอยู่บนความหลงผิด(เฎาะลาละฮ์)ทั้งหมด
ยกเว้น อัส สะวาดุลอะอ์ซ็อม  พวกเขากล่าวว่า โอ้ท่านรอซูลุลเลาะฮ์ และใครล่ะคือ อัส สะวาดุลอะอ์ซ็อม ?   ท่านกล่าวว่า   คือสิ่งที่ฉันและเศาะหาบะฮ์ของฉันดำรงอยู่  ผู้ที่ไม่เคยวิวาทโต้เถียงในศาสนาของอัลเลาะฮ์ และผู้ที่ไม่เคยหุกุ่มอะฮ์ลุตเตาฮีดด้วยความผิดหนึ่งที่เขาจะได้รับการอภัยว่า เป็นกาฟิร


อ้างอิงจาก

อัลมุอ์ญะมุลกะบีร โดยอัฏ ฏ็อบรอนีย์ อันดับที่ 7659




ศึกษา สถานะของผู้รายงานหะดีษ (รอวี)

4698 - عبدالله بن يزيد بن آدم الدمشقي.
عن واثلة، وأبى أمامة.
وعنه كثير بن مروان ، و أَبُو الْعَطُوفِ وَاسْمُهُ الْجَرَّاحُ بْنُ الْمِنْهَالٍ ، وأهل الرقة.
قال أحمد: أحاديثه موضوعة.
وقال الجوزجانى: أحاديثه منكرة.
الكتاب : ميزان الاعتدال للذهبي


อับดุลเลาะฮ์ บินยะซีด บินอาดัม อัด ดิมัชกีย์
รายงานหะดีษจาก วาษิละฮ์และอบีอุมามะฮ์
กะษีร บินมัรวาน,อบุลอะฏู๊ฟและชาวเมืองริกเกาะฮ์รายงานหะดีษจากเขา
อะหมัด บินหัมบัลกล่าวว่า   : หะดีษต่างๆของเขาเป็น หะดีษเมาฎู๊อฺ (กุ,เก๊)
อัลเญาซะญานีย์กล่าวว่า  : หะดีษต่างๆของเขานั้นมุงกัร (ถูกปฏิเสธ ไม่เป็นที่ยอมรับ)


อ้างอิงจาก

มีซานุลอิ๊อฺติดาล โดยอัซซะฮะบีย์ อันดับที่  4698



สรุป


สะนัดหะดีษบทนี้มีนักรายงานที่ดออีฟรวมอยู่ด้วย  จึงมีสถานะหะดีษ  : ดออีฟ (อ่อน)
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 06, 2009, 04:10:31 หลังเที่ยง

ตอน  45



รายงานที่ 11




12435 - حدثنا يحيى بن عبد الباقي ثنا يوسف بن عبد الرحمن المروروذي ثنا أبو تقي عبد الحميد بن إبراهيم الحمصي ثنا معدان بن سليم الحضرمي عن عبد الرحمن بن نجيح عن أبي الزاهرية عن جبير بن نفير عَنْ عَوْفِ بْنِ مَالِكٍ الْأَشْجَعِيِّ قال : قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : كَيْفَ أَنْتَ يَا عَوْفُ إِذَا افْتَرَقَتْ هَذِهِ الْأُمَّةُ عَلَى ثَلاَثَ وَسَبْعِيْنَ فِرْقَةٌ وَاحِدَةٌ فِي الْجَنَّةِ وَسَائِرُهُنَّ فِي النَّارِ
رواه الطبراني وفيه عَبْدُ الْحَمِيدِ بن إبراهيم وثقه ابن حبان وهو ضعيف وفيه جماعة لم أعرفهم
الكتاب : مجمع الزوائد ومنبع الفوائد  الهثمي   ج 7 ص 626  ح : 12435
المؤلف : نور الدين علي بن أبي بكر الهيثمي   الناشر : دار الفكر، بيروت - 1412 هـ


เอาฟ์ บินมาลิก อัลอัชญะอีย์รายงานว่า :

ท่านรอซูลุลเลาะฮ์กล่าวว่า : ท่านจะเป็นอย่างไร โอ้เอาฟ์ เมื่ออุมมะฮ์นี้ได้แตกออกเป็น 73 ฟิรเกาะฮ์  มีพวกหนึ่งจะอยู่ในสวรรค์ ส่วนพวกทั้งหลายจะอยู่ในไฟนรก


มัจญ์มะอุซ ซะวาอิด  โดยอัลฮัยษะมี   หะดีษที่ 12435


อัลฮัยษะมีย์กล่าวว่า :

อัฏ ฏ็อบรอนีย์รายงานหะดีษนี้  ซึ่งในหะดีษบทนี้มีอับดุลหะมีด บินอิบรอฮีม    อิบนุหิบบานถือว่า ษิเกาะฮ์ และเขานั้นดออีฟ และในหะดีษบทนี้ยังมีสายรายงานกลุ่มหนึ่งที่ฉันไม่รู้จักพวกเขา




ศึกษา สถานะของผู้รายงานหะดีษ (รอวี)

41 - عبد الحميد بن إبراهيم الحضرمي الحمصي
نا عبد الرحمن قال سألتُ محمد بن عوف الحمصي عنه فقال كان شيخا ضريرا لا يحفظ
الجرح والتعديل - أبو حاتم الرازي

อบูหาติม อัลรอซีย์กล่าวว่า  อับดุลเราะห์มานเล่าว่า  ฉันถามมุหัมมัด บินเอาฟ์อัลหิมศ์ถึงอับดุลหะมีด เขากล่าวว่า  คือเชคตาบอด ไม่จดจำ(หะดีษ)

อัลญะเราะหฺ วัต ตะอ์ดีล โดยอบูหาติม อันดับที่ 41

3704 - عبد الحميد بن إبراهيم الحضرمي أبو تقي الحمصي
وقال النسائي ليس بشيء وقال في موضع آخر ليس بثقة
تهذيب الكمال – الْمِزِّيّ

อัลมิซซีย์กล่าวว่า  อัน นะสาอีย์กล่าวว่า  (อับดุลหะมีด) ไม่มีสิ่งใดเลย และเขากล่าวในอีกที่หนึ่งว่า เขาไม่ษิเกาะฮ์ (คือเชื่อถือไม่ได้)

ตะฮ์ซีบุลกะมาล  โดยอัมมิซซีย์ อันดับที่  3704

3751 - عبد الحميد بن إبراهيم الحمصي  : صدوق إلا أنه ذهبت كتبه فساء حفظه
تقريب التهذيب - ابن حجر

อิบนุหะญัรกล่าวว่า  อับดุลหะมีด  คำพูดเชื่อได้ เว้นแต่ว่าตำราเขาสูญหายไป แล้วความจำเขาก็ไม่ดี

ตักรีบุต ตะฮ์ซีบ  โดยอิบนุหะญัร  อันดับที่  3751
 

สรุป

สะนัดหะดีษบทนี้มีนักรายงานที่ดออีฟรวมอยู่ด้วย  จึงมีสถานะหะดีษ  : ดออีฟ (อ่อน)
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 06, 2009, 04:16:50 หลังเที่ยง



ตอน  46  


รายงานที่ 12



เอาฟ์บินมาลิกรายงาน




6389 - أَخْبَرَنَا أَبُو جَعْفَرٍ مُحَمَّدُ بْنُ مُحَمَّدٍ الْبَغْدَادِىُّ بِنِيْسَابُوْر ، ثَنَا يَحْيَى بْنُ عُثْمَانَ ، ثَنَا صَالِحٌ السَّهْمِيُّ ، ثنا نُعَيْمُ بْنُ حَمَّادٍ ، ثَنَا عِيسَى بْنُ يُونُسَ ، عَنْ جَرِيرِ بْنِ عُثْمَانَ ، عَنْ عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ جُبَيْرِ بْنِ نُفَيْرٍ ، عَنْ أَبِيْهِ ، عَنْ عَوْفِ بْنِ مَالِكٍ رضي الله عنه ،
عَنْ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : « تَفْتَرِقُ أُمَّتِي عَلَى بِضْعِ وَسَبْعِيْنَ فِرْقَةً ، أَعْظَمُهَا فِتْنَة عَلَى أُمَّتِيْ قَوْمٌ يَقيْسُوْنَ الْأُمُوْرَ بِرَأْيِهِمْ فَيَحِلُّوْنَ الْحَرَامَ وَيُحَرِّمُوْنَ الْحَلاَلَ »
المستدرك علي الصحيحين   : 6389

อบูญะอ์ฟัร มุหัมมัด บินมุหัมมัด อัลบัฆดาดีย์ได้เล่าให้เราฟังที่เมืองนัยซาบูรีย์(ประเทศอิหร่าน)
จากยะห์ยาบินอุษมาน จากศอและห์ อัสสะฮ์มีย์ จากนุอัยม์ บินหัมมาด จากอีสา บินยูนุส จากญะรีร บินอุษมาน จากอับดุลเราะห์มาน บินญุบัยรฺ บินนุฟัยรฺ จากบิดาเขา จากเอาฟ์บินมาลิกรายงาน :
 จากท่านนบี ศ.กล่าวว่า : อุมมะฮ์ของฉันจะแตกออกเป็น 70 กว่าพวก(ฟิรเกาะฮ์) พวกใหญ่ที่สุดที่จะสร้างฟิตนะฮ์ให้กับอุมมะฮ์ของฉันคือกลุ่มชนที่ทำการ(กิยาส)เปรียบเทียบกิจการต่างๆโดยอาศัยความคิดของพวกเขาเป็นหลักเกณฑ์ แล้วพวกเขาทำให้สิ่งหะรอมเป็นที่อนุญาต และทำให้สิ่งหะล้าลเป็นที่ต้องห้าม

อัลมุสตัดร็อก อะลัศ เศาะฮีหัยนิ  โดยอัลหากิม อันนัยสาบูรีย์  หะดีษที่ 6389


ศึกษา สถานะของผู้รายงานหะดีษ (รอวี)

ยะห์ยา บินอุษมาน บินศอและห์
721 - يحيى بن عثمان بن صالح المصري  : وتكلموا فيه
الجرح والتعديل - أبو حاتم الرازي
อบูหาติมอัลรอซีย์กล่าวว่า   ยะห์ยาบินอุษมาน ชาวอียิปต์ (บรรดานักปราชญ์)ได้วิจารณ์เกี่ยวกับเขา

อัลญะเราะหฺ วัต ตะอ์ดีล โดยอบูหาติม  อันดับที่ 721


นุอัยมฺ บินหัมมาด ตายฮ.ศ. 228
589 - نُعَيْمُ بْنُ حَمَّادٍ  ضَعِيْفٌ
كتاب : الضعفاء والمتروكين - النسائي
อัน-นะสาอีย์กล่าวว่า นุอัยม์ บินหัมมาดนั้น  ดออีฟ

อัฎ ฎุอะฟาอุ วัลมัตรูกีน โดยอันนะสาอีย์ อันดับที่ 589

قال الألباني  : نُعَيْمُ بْنُ حَمَّادٍ  ضَعِيْفٌ
السلسلة الضعيفة و الموضوعة  ج 2 ص 374  ح : 957

เชคอัลบานีย์กล่าวว่า  นุอัยมฺ บินหัมมาดนั้น   ดออีฟ

สิลสิละตุฎ เฎาะอีฟะฮ์  เล่ม  2 หน้า  357 หะดีษที่  957

7166 - نعيم بن حماد بن معاوية  : صدوق يخطىء كثيرا
كتاب : تقريب التهذيب - ابن حجر

อิบนุหะญัรอัลอัสเกาะลานีย์กล่าวว่า นุอัยม์ บินหัมมาด  เชื่อได้  แต่ผิดพลาดมาก

ตักรีบุต ตะฮ์ซีบ  โดยอิบนุหะญัร  อันดับที่  7166

16099 - نعيم بن حماد الْمَرْوَزِيُّ : ربما أخطأ ووهم مات سنة ثمان وعشرين ومائتين
كتاب : الثقات - ابن حبان

อิบนุหิบบานกล่าวว่า   นุอัยม์ บินหัมมาดอัลมัรวะซีย์    บางครั้งผิดพลาดและหลงลืม  

อัษษิกอต โดยอิบนุหิบบาน  อันดับที่ 16099

738 - نعيم بن حماد أبو عبد الله الرفاء الفارض المروزي سكن مصر
وقال النسائي هو ضعيف الحديث قال عبد الله أخرج له البخاري حديثين
وقد ضعفه أبو عبد الرحمن وغيره
الكتاب : التعديل والتجريح , لمن خرج له البخاري في الجامع الصحيح
المؤلف : سليمان بن خلف بن سعد أبو الوليد الباجي

อันนะสาอีย์กล่าวว่า  เขา(นุอัยมฺ) ดออีฟในหะดีษ   อับดุลเลาะฮ์กล่าวว่า อัลบุคอรีย์รายงานหะดีษของเขาสองบท และแน่นอนอบูอับดุลเราะห์มานกับบุคคลอื่นได้ตัฏอีฟเขา(คือถือว่าเขานั้น ดออีฟ)

อัต ตะอ์ดีล วัต ตัจญ์รี๊หฺ  ลิมันเคาะเราะญะ ละฮุลบุคอรีย์ โดยอัลบาญีย์  อันดับที่  738


 [ 1959 ] نعيم بن حماد المروزي خزاعى
أحمد بن شعيب قال بن حماد قال غيره كان يضع الحديث في تقوية السنة
 
อะหมัด บินชุอัยบฺและคนอื่นกล่าวว่า (นุอัยมฺ) บินหัมมาด เคยกุหะดีษในการทำให้สุนนะฮ์แข็งแกร่ง
يحيى فقال انه يروى عن غير الثقات
ยะห์ยากล่าวว่า  เขา(นุอัยมฺ บินหัมมาด) รายงานหะดีษจากผู้ที่เชื่อถือไม่ได้


อิบนุอะดีย์ ได้บันทึกหะดีษฟิรเกาะฮ์ของนุอัยม์ไว้ในหนังสือหะดีษดออีฟของเขา

ثنا بن حماد ثنا عصام بن رواد ثنا نُعَيْمُ بْنُ حَمَّادٍ ، ثَنَا عِيسَى بْنُ يُونُسَ ، عَنْ جَرِيرِ بْنِ عُثْمَانَ ، عَنْ عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ جُبَيْرِ بْنِ نُفَيْرٍ ، عَنْ أَبِيْهِ ، عَنْ عَوْفِ بْنِ مَالِكٍ سَمِعْتُ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ  افْتَرَقَتِ بَنُو إِسْرَائِيلَ عَلَى سَبْعِينَ فِرْقَةً وَتَزِيْدُ اُمَّتِىْ عَلَيْهَا فِرْقَةً لَيْسَ فِيْهَا أَضَرَّ عَلَى اُمَّتِىْ مِنْ قَوْمٍ يقيسون الدين برأيهم فيَحِلُّوْنَ به ما حَرَّمَ اللهُ وَيُحَرِّمُوْنَ به ما أَحَلَّ اللهُ
اتهم بهذا الحديث أيضا حيث حدث ورواه عن عمه عن عيسى

หะดีษบทนี้ถูกตำหนิเช่นกัน ตามที่เขาได้รายงานมันมาจากลุงของเขาจากอีสา บินยูนุส

وقال لنا الْفِرْيَابِىُّ لما أردت الخروج الى سُوَيْدٍ قال لي أبى بكر الاعين سل سويد عن هذا الحديث فوقفه عليه

อัลฟิรยาบีย์กล่าวกับเรา ตอนที่เราต้องการออกไปหาสุวัยดฺ,  อบูบักรฺอัลอะอ์ยุนกล่าวกับฉันว่า จงถามสุวัยดฺถึงหะดีษบทนี้ และเขาได้นิ่งเฉยต่อมัน

(قال ابن عدي)ولنعيم بن حماد غير ما ذكرت وقد اثنى عليه قوم وضعفه قوم
الكتاب : الكامل في الضعفاء   لإبن عدي

อิบนุอะดีย์กล่าวว่า  :  สำหรับนุอัยมฺ บินหัมมาดนอกเหนือจากที่ข้าพเจ้ากล่าวถึง  แน่นอนมีกลุ่มหนึ่งยกย่องเขาและอีกกลุ่มหนึ่งถือว่าเขาดออีฟ

อ้างอิงจาก

อัลกามิล ฟิฎ ฎุอะฟาอ์ โดยอิบนุอะดีย์ อันดับที่ 1959


นักปราชญ์อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ได้ให้การยกย่องอิบนุอะดีย์ว่า เป็นนักวิจารณ์ที่เที่ยงธรรม ดูข้อมูลที่เวป
http://www.ibnamin.com/Manhaj/Udai.htm




สรุป

เมื่ออุละมาอ์อะฮ์ลุสสุนนะฮ์มากมายได้วิจารณ์ว่า  นุอัยม์บินหัมมาดคือนักรายงานที่จัดอยู่ในระดับ ดออีฟ  

ดังนั้นหะดีษบทนี้จึงดออีฟ  ยกเว้นอุละมาอ์อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ที่ตะอัศศุบเข้าข้างตนเองจึงกล่าวว่า หะดีษบทนี้หะสัน อันเป็นความขัดแย้งของพวกเขาเอง
[/color]
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 10, 2009, 05:11:52 หลังเที่ยง


ตอน  47


วิจารณ์ ตัวบทหะดีษทั้งสิบสองบท ดังนี้


เมื่อท่านได้อ่านตัวหะดีษสิบสองบทที่ผ่านมา  จะสังเกตเห็นได้ว่า  

หะดีษดังกล่าวได้จำกัดกลุ่มที่รอดปลอดภัย (  ฟิรเกาะฮ์ นาญียะฮ์ ) ไว้สามคำคือ


1.   อัลญะมาอะฮ์

2.   อัศ – เศาะหาบะฮ์

3.   อัส-สะวาดุล อะอ์ซ็อม



อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ได้ให้นิยามคำ  " ญะมาอะฮ์ "   ไว้ดังนี้คือหมายถึง  


หนึ่ง –
ญะมาอะฮ์ของเศาะหาบะฮ์  
เพราะพวกเขาเป็นผู้มีความรู้    และมีความเห็นพ้องที่ตั้งอยู่บนความถูกต้อง ไม่แตกแยกกัน  


สอง-
มุสลิมที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มญะมาอะฮ์


สาม-
อะฮ์ลุลฮัลลิวัลอักดิ (พวกที่แก้และมัด หมายถึงแก้ไขกฎและสร้างกฎขึ้นมาผูกมัด)




นักวิชาการฝ่ายอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ได้จำกัดความนิยามเหล่านี้ไว้ว่า จำเป็นจะต้องอยู่ในแนวทางของซุนนี่

เพราะคนกลุ่มนี้อยู่บนแนวทางของเศาะหาบะฮ์  โดยอ้างว่า พวกเขาคือผู้ถ่ายถอดซุนนะฮ์ คือผู้ปกป้องรักษาและยึดมั่นต่อซุนนะฮ์อย่างแท้จริง




ท่านจะเห็นได้ว่า  หากอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ได้ปล่อยให้นิยามเหล่านี้เอาไว้โดยไม่ได้ทำการจำกัดความเอาไว้เช่นนั้น  

ก็คงจะมีมุสลิมกลุ่มอื่นๆฉกฉวยหะดีษเหล่านี้เอาไปอ้างเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มของพวกเขาอย่างแน่นอน


เพราะฉะนั้นอะฮ์ลุสสุนนะฮ์จึงรีบกักความเข้าใจต่อคำเหล่านี้เอาไว้ว่า หมายถึงพวกตนเท่านั้น เพื่อปกป้องตนเองและพรรคพวกของตน



แต่โปรดรับทราบเอาไว้ว่า   ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ) ไม่เคยกล่าวว่า  

อุมมัตของฉันจะแตกออกเป็น 73 ฟิรเกาะฮ์  ทุกกลุ่มลงนรกหมด  ยกเว้น  อะฮ์ลุสสุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์เท่านั้นที่จะได้เข้าญันนะฮ์    
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 13, 2009, 10:57:34 ก่อนเที่ยง

ตอน  48


อะฮ์ลุสสุนนะฮ์     ฉลาดในการวางหมาก  โดยอ้างกับชาวโลกว่า   กลุ่มของพวกเขาถูกต้อง  

และใส่ร้ายมุสลิมกลุ่มอื่นๆว่า เป็นพวกทำตามอารมณ์นัฟซู  เป็นพวกสร้างอุตริกรรม บิดอะฮ์ในศาสนา   จากนั้นพวกเขาก็ปิดประตูว่า  มุสลิมคนใดก็ตามที่ไม่ยอมมาเข้าร่วมอยู่ในญะมาอะฮ์เดียวกับพวกเขา หรือแยกตัวออกไปจากญะมาอะฮ์ของพวกเขา  คนนั้นหรือพวกนั้นคือพวกหลงผิด ( เฎาะลาละฮ์ )

พวกเขาได้กุหะดีษนี้มาเป็นตัวกำหนดญะมาอะฮ์อื่นว่า  หลงผิด  (เฎาะลาละฮ์) ไม่ได้อยู่บนสัจธรรม   หะดีษนั้นคือ  


ท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ)กล่าวว่า

لَنْ يَجْمَعَ أُمَّتِي عَلَى ضَلَالَةٍ أبدا ، ويد الله على الجماعة


ประชาชาติของฉันจะไม่รวมกันบนความหลงผิด (เฎาะลาละฮ์)

และพระหัตถ์ของอัลเลาะฮ์อยู่บนญะมาอะฮ์


อัลมุสตัดรอก อัลฮากิม  หะดีษที่ 361


พวกเขาถือว่าตัวเองคือความของคำว่า  " อุมมะตี " และ " ญะมาอะฮ์ " ในหะดีษบทนี้  ดังนั้นพวกเขาคือกลุ่มที่อยู่บนสัจธรรม  

และ


قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مَنْ أَحْدَثَ فِي أَمْرِنَا مَا لَيْسَ مِنْهُ فَهُوَ رَدٌّ

ท่านรอซูล(ศ)ยังกล่าวว่า :

ผู้ใดที่กระทำขึ้นมาใหม่ ในการงาน(ศาสนา)ของเรานี้ กับสิ่งที่ไม่มีมาจากมัน(คือจากการงานของเรา)แล้ว สิ่งนั้นย่อมถูกปฏิเสธ


ซอฮีฮุล บุคอรี หะดีษที่ 2697  และซอฮีฮุ มุสลิม หะดีษที่ 1718



อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ได้สร้างหะดีษทำนองนี้ขึ้นมาปกป้องกลุ่มของพวกเขาเอง  ทำอย่างกับว่า กลุ่มของพวกเขานั้นได้รับความคุ้มครองชนิดที่เรียกว่า เป็นกลุ่มมะอ์ซูม ที่จะทำผิดไม่ได้อีกแล้ว



จากหะดีษเหล่านี้ อะฮ์ลุสสุนนะฮ์จึงเอามายึดเป็นหลักฐานว่า กลุ่มของตน คือกลุ่มที่รอดปลอดภัย ( ฟิรเกาะฮ์ นาญียะฮ์ )  ซึ่งตัวอย่างเหล่านี้เปรียบดั่งใยแมงมุมอันเป็นบ้านที่อ่อนแอยิ่งนัก


ทำไมเราจึงกล่าวเช่นนี้  


กล่าวคือ   ถ้ามุสลิมกลุ่มอื่นๆจะยึดเอาทัศนะโลกแคบแบบนี้มาใช้บ้างกับอะฮ์ลุสสุนนะฮ์   แล้วจะเป็นเช่นไร  สมมุติว่า ทุกกลุ่มต่างนำมาตรการนี้มาใช้กันหมดทุกกลุ่มล่ะ  โลกมุสลิมจะเกิดอะไรขึ้น เช่น



ถ้าพวกมุอ์ตะซิละฮ์กล่าวว่า   พวกเขาถูก ส่วนพวกอื่นผิด

ถ้าพวกมาตูริดียะฮ์กล่าวว่า   พวกเขาถูก ส่วนพวกอื่นผิด

ถ้าพวกอะชาอิเราะฮ์กล่าวว่า   พวกเขาถูก ส่วนพวกอื่นผิด

ถ้าพวกชีอะฮ์กล่าวว่า   พวกเขาถูก ส่วนพวกอื่นผิด

ถ้าพวกญับรียะฮ์กล่าวว่า   พวกเขาถูก ส่วนพวกอื่นผิด

ถ้าพวกมุรญิอะฮ์กล่าวว่า   พวกเขาถูก ส่วนพวกอื่นผิด

ถ้าพวกเคาะวาริจญ์กล่าวว่า   พวกเขาถูก ส่วนพวกอื่นผิด

ท่านลองนึกสิว่า  บนโลกใบนี้จะยังหลงเหลือมุสลิมอยู่อีกไหม    




ท่านลองมองเรื่องๆหลักที่มุสลิมทุกกลุ่มมีความเชื่อความศรัทธาเหมือนกันคือ



1.   เตาฮีด  คือเชื่อว่า  อัลเลาะฮ์คือพระเจ้าเพียงองค์เดียวเท่านั้น และไม่มีภาคีใดทั้งสิ้น

2.   นุบูวะฮ์  คือเชื่อ มุฮัมมัด  คือนบีคนสุดท้าย

3.   กิยามะฮ์ คือเชื่อว่า  วันสิ้นโลกมีจริง  



ส่วนเรื่องหลักๆที่มุสลิมขัดแย้งกัน แตกแยกกันคือ

1.   เรื่องเกี่ยวกับคุณลักษณะ(ซิฟัต)ของอัลเลาะฮ์

2.   เรื่องผู้นำ  ต่อจากท่านนบีมุฮัมมัด

แต่อะอ์ลุสสุนนะฮ์ก็ชอบหยิบยกสองเรื่องนี้มาเป็นประเด็นกล่าวหาคนกลุ่มอื่นว่า  หลงผิด  
เช่น


พวกวาฮาบีกล่าวว่า  

"  ยะดุลเลาะฮ์ -  يَدُ اللهِ "  แปลว่า  มือของอัลเลาะฮ์  แสดงว่า  อัลเลาะฮ์มีมือจริงๆ แต่ห้ามเอามือของอัลเลาะฮ์ไปเปรียบเทียบตีความเป็นอื่นเด็ดขาด


หากอะชาอิเราะฮ์หรือชีอะฮ์ แปลคำ ยะดุลเลาะฮ์ว่าหมายถึง "  อำนาจของอัลเลาะฮ์ "  พวกวาฮาบีจะฮุก่มทันทีว่า อะชาอิเราะฮ์และชีอะฮ์นั้นเป็นพวกบิดอะฮ์


หรือวาฮาบีกับอะชาอิเราะฮ์ถือว่า  ท่านอบูบักรคือคอลีฟะฮ์ที่หนึ่ง    

แต่ฝ่ายชีอะฮ์เชื่อว่า  ท่านอะลีคือคอลีฟะฮ์ที่หนึ่ง  ทั้งวาฮาบีและอะชิเราะฮ์ก็จะร่วมกันประณามชีอะฮ์ว่า  เป็นพวกสร้างความแตกแยก   ทั้งๆที่วาฮาบีและอะชาอิเราะฮ์ถือว่า เรื่องผู้นำเป็นเรื่องฟุรู๊อฺ ไม่ใช่เรื่องอุศูล.
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 13, 2009, 12:32:25 หลังเที่ยง

ตอน 49  


กลุ่มมุสลิมที่จะรอดปลอดภัยจากไฟนรก  ต้องสังกัดตนอยู่ในหะดีษบทนี้จริงหรือ ?


مَا أَنَا عَلَيْهِ وَأَصْحَابِى

((  สิ่งที่ฉัน  ยืนหยัดอยู่บนมัน  -  และ   - บรรดาเศาะหาบะฮ์ของฉัน  ))



ตัวบทหะดีษ :


حَدَّثَنَا مَحْمُودُ بْنُ غَيْلاَنَ

حَدَّثَنَا أَبُو دَاوُدَ الْحَفَرِىُّ
 
عَنْ سُفْيَانَ الثَّوْرِىِّ
 
عَنْ عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ زِيَادِ بْنِ أَنْعُمَ الإِفْرِيقِىِّ

عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ يَزِيدَ

عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ عَمْرٍو قَالَ

قَالَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- « لَيَأْتِيَنَّ عَلَى أُمَّتِى مَا أَتَى عَلَى بَنِى إِسْرَائِيلَ حَذْوَ النَّعْلِ بِالنَّعْلِ حَتَّى إِنْ كَانَ مِنْهُمْ مَنْ أَتَى أُمَّهُ عَلاَنِيَةً لَكَانَ فِى أُمَّتِى مَنْ يَصْنَعُ ذَلِكَ وَإِنَّ بَنِى إِسْرَائِيلَ تَفَرَّقَتْ عَلَى ثِنْتَيْنِ وَسَبْعِينَ مِلَّةً وَتَفْتَرِقُ أُمَّتِى عَلَى ثَلاَثٍ وَسَبْعِينَ مِلَّةً كُلُّهُمْ فِى النَّارِ إِلاَّ مِلَّةً وَاحِدَةً قَالُوا وَمَنْ هِىَ يَا رَسُولَ اللَّهِ قَالَ مَا أَنَا عَلَيْهِ وَأَصْحَابِى ».

سنن الترمذي   ح : 2853


ท่านรอซูลุลเลาะฮ์ (ศ)กล่าวว่า

พวกยะฮูดีจะแตกออกเป็น 71 พวก ,พวกนะซอรอจะแตกออกเป็น 72 พวก

และอุมมะฮ์ของฉันจะแตกออกเป็น 73 พวก  ทั้งหมดจะอยู่ในนรก นอกจากพวกเดียว

พวกเขากล่าวว่า  :   พวกนั้นเป็นใคร  โอ้ท่านรอซูลุลเลาะฮ์    ?

ท่านกล่าวตอบว่า  คือ :  

สิ่งที่ฉัน  ยืนหยัดอยู่บนมัน    และ    บรรดาเศาะหาบะฮ์ของฉัน

สุนัน ติรมิซี   หะดีษที่  2853



ท่านจะพบว่าเวปฝ่ายวาฮาบีมากมายนำหะดีษประเภทนี้มาอ้างอิงเข้าข้างตัวเองเช่น

http://www.moradokislam.org/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=564


http://www.azsunnah.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=33


http://www.muslimnakhon.com/view/index.php?topic=67.0


http://www.oknation.net/blog/print.php?id=137050

http://www.muslimthai.com/mnet/content.php?bNo=45&qNo=1674&kword=


วิจารณ์


อัตติรมิซีรายงานหะดีษบทนี้ด้วยสะนัดตามที่กล่าวไว้ข้างต้น  ซึ่งทั้งวาฮาบีและอะชาอิเราะฮ์ได้หยิบหะดีษบทนี้มาอ้างอิงเป็นหลักฐานว่า พวกเขาคือกลุ่มที่ถูกต้อง    


พิเคราะห์สะนัดหะดีษ


สายรายงานหะดีษนี้ปรากฏชื่อรอวีย์คนหนึ่งคือ  

อัลดุลเราะห์มาน บินซิยาด อัลอิฟริกี


และนักวิชาการฝ่ายซุนนี่ได้วิจารณ์รอวีย์ผู้นี้แตกต่างกันไปดังนี้
 
عن أحمد بن حنبل: ليس بشيء.  وقال: منكر الحديث.

อิหม่ามอะหมัดกล่าวว่า  เขาไม่มีสิ่งใดเลย และยังกล่าว  มุงกัร หะดีษ

وعن يحيى بن معين: ضعيف.

ยะห์ยา บินมะอีนกล่าวว่า  เขา ดออีฟ

وقال الترمذي: ضعيف عند أهل الحديث، ضعفه يحيى القطان وغيره

อัตติรมิซีกล่าวว่า   เขา ดออีฟ ในทัศนะของอะฮ์ลุลหะดีษ   ยะห์ยา อัลกอฏฏอนและคนอื่นๆได้ตัฏอี๊ฟเขา

สรุปจากหนังสือ  ตะฮ์ซีบบุลกะมาล เล่ม  17 : 102  อันดับที่ 3817


قال النسائي ضعيف

อันนะซาอี กล่าวว่า  เขา  ดออีฟ

 وقال ابن خزيمة لا يحتج به

อิบนุคุซัยมะฮ์ กล่าวว่า  จะเอาเขามาอ้างอิงเป็นหลักฐานไม่ได้

 وقال ابن خراش متروك

อิบนุคิรอช กล่าวว่า  เขามัตรู๊ก

สรุปจากหนังสือ  ตะฮ์ซีบุต-ตะฮ์ซีบ โดยอิบนุหะญัร เล่ม  6 : 159  อันดับที่ 338



อย่างไรก็ตามรอวีย์ผู้นี้ยังมีนักวิชาการคนอื่นๆให้ความเชื่อถืออยู่เช่นกัน  

แต่ที่เรายกคำวิจารณ์ในทางลบมากล่าวก็เพื่อได้ทราบว่า  เมื่อนักวิชาการมีทัศนะต่อรอวีย์ผู้นี้แบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ    

เชื่อได้ กับ  รายงานของเขานั้น ดออีฟ  


แล้วพวกเขาเอาอะไรมากำหนดว่า  หะดีษบทดังกล่าว ถูกต้อง  

แน่นอนเพราะมัน ถูกใจพวกเขานั่นเอง  

ติตตามตอนต่อไป
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 14, 2009, 11:54:08 ก่อนเที่ยง

ตอน 50



พิเคราะห์ความหมายหะดีษ


((  สิ่งที่ฉัน  ยืนหยัดอยู่บนมัน  -  และ   - บรรดาเศาะหาบะฮ์ของฉัน  ))



มันคือความถูกต้องจริงหรือที่จะเชื่อว่า  

เศาะหาบะฮ์ทุกคนสามารถนำพามุสลิมให้รอดปลอดภัย  


เพราะมีหะดีษกล่าวว่า เศาะบะฮ์บางส่วนนั้นถูกนำไปลงนรก  


عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ - رضى الله عنهما - عَنِ النَّبِىِّ - صلى الله عليه وسلم - قَالَ « إِنَّكُمْ مَحْشُورُونَ حُفَاةً عُرَاةً غُرْلاً - ثُمَّ قَرَأَ - ( كَمَا بَدَأْنَا أَوَّلَ خَلْقٍ نُعِيدُهُ وَعْدًا عَلَيْنَا إِنَّا كُنَّا فَاعِلِينَ ) وَأَوَّلُ مَنْ يُكْسَى يَوْمَ الْقِيَامَةِ إِبْرَاهِيمُ ، وَإِنَّ أُنَاسًا مِنْ أَصْحَابِى يُؤْخَذُ بِهِمْ ذَاتَ الشِّمَالِ فَأَقُولُ أَصْحَابِى أَصْحَابِى . فَيَقُولُ ، إِنَّهُمْ لَمْ يَزَالُوا مُرْتَدِّينَ عَلَى أَعْقَابِهِمْ مُنْذُ فَارَقْتَهُمْ


อิบนุอับบาสรายงาน :

ท่านนบี (ศ) กล่าวว่า  :

แท้จริงพวกท่าน จะถูกนำมารวมกัน สภาพเท้าปล่าว กายเปลือย แล้วท่านอ่านโองการ

كَمَا بَدَأْنَا أَوَّلَ خَلْقٍ نُعِيدُهُ وَعْدًا عَلَيْنَا إِنَّا كُنَّا فَاعِلِينَ

ดังเช่นที่เราได้เริ่มให้มีการบังเกิดครั้งแรก เราจะให้มันกลับเป้นขึ้นมาอีก เป็นสัญญาผูกพันกับเรา แท้จริงเราเป็นผู้กระทำอย่างแน่นอน (21 : 104)

และบุคคลแรกที่จะถูกสวมอาภรณ์ให้ในวันกิยามะฮ์คือ (ท่านนบี)อิบรอฮีม

และแท้จริงมีคนกลุ่มหนึ่งจาก " อัศฮาบของฉัน "  พวกเขาถูกพาไปทางซ้าย(ไปนรก)

ฉันจึงกล่าวว่า : (พวกเขาเหล่านี้คือ) อัศฮาบของฉัน (พวกเขาเหล่านี้คือ) อัศฮาบของฉัน
มีผู้กล่าวว่า : แท้จริงพวกเขา ยังคงตกมุรตัดตั้งแต่ท่านได้จากพวกเขาไป



เศาะหิ๊หฺบุคอรี  หะดีษที่ 3349



عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ - رضى الله عنهما - قَالَ خَطَبَ النَّبِىُّ - صلى الله عليه وسلم - فَقَالَ « إِنَّكُمْ مَحْشُورُونَ إِلَى اللَّهِ حُفَاةً عُرَاةً غُرْلاً ( كَمَا بَدَأْنَا أَوَّلَ خَلْقٍ نُعِيدُهُ وَعْدًا عَلَيْنَا إِنَّا كُنَّا فَاعِلِينَ ) ثُمَّ إِنَّ أَوَّلَ مَنْ يُكْسَى يَوْمَ الْقِيَامَةِ إِبْرَاهِيمُ ، أَلاَ إِنَّهُ يُجَاءُ بِرِجَالٍ مِنْ أُمَّتِى ، فَيُؤْخَذُ بِهِمْ ذَاتَ الشِّمَالِ ، فَأَقُولُ يَا رَبِّ أَصْحَابِى فَيُقَالُ لاَ تَدْرِى مَا أَحْدَثُوا بَعْدَكَ فَأَقُولُ كَمَا قَالَ الْعَبْدُ الصَّالِحُ ( وَكُنْتُ عَلَيْهِمْ شَهِيدًا مَا دُمْتُ ) إِلَى قَوْلِهِ ( شَهِيدٌ ) فَيُقَالُ إِنَّ هَؤُلاَءِ لَمْ يَزَالُوا مُرْتَدِّينَ عَلَى أَعْقَابِهِمْ مُنْذُ فَارَقْتَهُمْ » .


จากอิบนุอับบาส :  

ท่านนบี (صلى الله عليه وسلم) ได้คุฏบะฮ์ ท่านกล่าวว่า  : แท้จริงพวกท่าน จะถูกนำมารวมกันยังอัลลอฮฺ สภาพเท้าปล่าว กายเปลือย...

كَمَا بَدَأْنَا أَوَّلَ خَلْقٍ نُعِيدُهُ وَعْدًا عَلَيْنَا إِنَّا كُنَّا فَاعِلِينَ

ดังเช่นที่เราได้เริ่มให้มีการบังเกิดครั้งแรก เราจะให้มันกลับเป้นขึ้นมาอีก เป็นสัญญาผูกพันกับเรา แท้จริงเราเป็นผู้กระทำอย่างแน่นอน (21 : 104)

จากนั้นแท้จริงบุคคลแรกที่จะถูกสวมอาภรณ์ให้ในวันกิยามะฮ์คือ (ท่านนบี)อิบรอฮีม

พึงรู้เถิดว่า แท้จริงมีชายกลุ่มหนึ่งจาก " อุมมะฮ์ของฉัน "  ถูกพามา แล้วพวกเขาถูกนำไปทางซ้าย
ฉันจึงกล่าวว่า : โอ้ร็อบของฉัน ! (พวกเขาเหล่านี้คือ) อัศฮาบของฉัน

มีผู้กล่าวว่า : ท่านไม่รู้หรอกว่า พวกเขาได้สร้างอุตริกรรมอะไรลงไป ภายหลังจากท่าน


เศาะหิ๊หฺบุคอรี  หะดีษที่ 4740




อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ได้อธิบายคำ " อัศฮาบี - เศาะหาบะฮ์ของฉัน  "

ในที่นี้ว่า ไม่ได้หมายถึง  สาวกของท่านรอซูลุลเลาะฮ์   แต่หมายถึงประชาชาติของท่าน



แน่นอน  หะดีษนี้ได้ทำลายสโลแกนที่อะฮ์ลุสสุนนะฮ์สร้างไว้สวยหรูว่า  

เศาะหาบะฮ์ ทุกคนเป็นคนดี


เพราะฉะนั้นหากทุกคนเป็นคนดีย่อมต้องขึ้นสวรรค์ จะตกนรกได้อย่างไร  
เมื่อพวกเขาต้องเผชิญกับหะดีษแบบนี้ พวกเขาจึงต้องพยายามตีความคำ " อัศฮาบี  - สาวกของฉัน " ให้เป็นอื่น


เพื่อพิสูจน์ว่าคำ (( อัศฮาบี – สาวกของฉัน ))   ในที่นี้คือ (( สาวกของท่านรอซูลุลเลาะฮ์ ))


โปรดอ่านหะดีษต่อไปนี้  

 
عَنْ أَبِي بَكْرَةَ :

أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ لَيَرِدَنَّ عَلَيَّ الْحَوْضَ رِجَالٌ مِمَّنْ صَحِبَنِي وَرَآنِي

حَتَّى إِذَا رُفِعُوا إِلَيَّ وَرَأَيْتُهُمْ اخْتُلِجُوا دُونِي فَلَأَقُولَنَّ رَبِّ أَصْحَابِي أَصْحَابِي

فَيُقَالُ إِنَّكَ لَا تَدْرِي مَا أَحْدَثُوا بَعْدَكَ)


อบีบักเราะฮ์รายงาน :

แท้จริงท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ)กล่าวว่า :


จะมีบรรดาบุรุษ จากผู้ที่อยู่ร่วมกับฉัน และได้พบเห็นฉัน เข้ามาหาฉันที่อัลเฮาฎ์(สระเกาษัร)  


จนเมื่อพวกเขาถูกยกมายังฉันและฉันเห็นพวกเขา   แล้วพวกเขาก็ถูกดึงออกไปจากฉัน  


ดังนั้นฉันกล่าวว่า  :  โอ้องค์อภิบาล (พวกเขาเหล่านี้คือ )  อัศฮาบของฉัน  (คือ)สาวกของฉัน


มีผู้กล่าวว่า  : แท้จริงท่าน  ไม่รู้หรอกว่า  พวกเขาได้ก่ออุตริกรรมอันใดไว้หลังจากท่านจากไป



สถานะหะดีษ  :  เศาะหิ๊หฺ

ดูมุสนัดอิหม่ามอะหมัด   หะดีษเลขที่ 19590

ฉบับตรวจทานโดยเชคชุเอบ อัลอัรนะอูฏี




อิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานีกล่าวว่า

مِنْ حَدِيث أَبِي بَكْرَةَ رَفَعَهُ \\\" لَيَرِدَنَّ عَلَى الْحَوْضِ رِجَالٌ مِمَّنْ صَحِبَنِي وَرَآنِي \\\" وَسَنَده حَسَنٌ

فتح الباري لابن حجر   ج 18  ص 370  ح : 6045


จากหะดีษของอบีบักเราะฮ์  ( จะมีบรรดาบุรุษ จากผู้ที่อยู่ร่วมกับฉัน และได้พบเห็นฉัน เข้ามาหาฉันที่อัลเฮาฎ์ )   และสายรายงานหะดีษนี้อยู่ในสถานะ  ฮาซัน (ดี).

อ้างอิงจาก ฟัตฮุลบารี เล่ม  18 : 370 หะดีษที่ 6045



الكتاب : تحفة الأحوذي بشرح جامع الترمذي
المؤلف : محمد عبد الرحمن بن عبد الرحيم المباركفوري أبو العلا

มุฮัมมัด อับดลุเราะห์มาน อัลมุบาร็อกเฟารีกล่าวว่า  สายรายงานหะดีษนี้อยู่ในสถานะ  ฮาซัน (ดี)


อ้างอิงจาก ตุห์ฟะตุล อะห์วะซี บิชัรฮิ ญามิอิต-ติรมิซี เล่ม  6 : 214 หะดีษที่ 2347



หะดีษบทนี้ได้อธิบายชัดว่าคำ (( อัศฮาบี ))  ที่บันทึกอยู่ในเศาะหิ๊หฺบุคอรี จะแปลเป็นอื่นไปไม่ได้ นอกจากเศาะหาบะฮ์ที่อยู่ในยุคท่านรอซูล(ศ)
เพราะอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ได้นิยามคำ เศาะหาบะฮ์ – สาวก ว่าคือ  มุสลิมที่เคยใช้ชีวิตร่วมกับท่านรอซูลและเคยเห็นท่าน

แต่ปัญหาคือ  อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ วัลญะมาอะฮ์ได้สร้างอะกีดะฮ์ไว้ว่า  เศาะหาบะฮ์ ทุกคนเป็นคนดี  ซึ่งนี่คือความฆูล๊าต เกินเลยจนถึงขั้นเชื่อว่า เศาะหาบะฮ์ทุกคนเป็นมะอ์ซูม ทำผิดอีกไม่ได้แล้ว  
ดังนั้นหากใครก็ตามนำเรื่องของบรรดาเศาะหาบะฮ์ออกมาวิพากษ์วิจารณ์  บุคคลคนนั้นจะถูกประณามว่า  เป็นคนด่าว่า เศาะหาบะฮ์นบี



ประวัติศาสตร์อิสลามบันทึกว่า  ท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ)วะฟาตปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่  11

ชนสามรุ่นนี้ได้กระทำสิ่งใดไว้บ้าง

1.   เศาะหาบะฮ์  (สาวก-นบี)  
2.   ตาบิอีน ( ลูกศิษย์-เศาะหาบะฮ์ )
3.   ตาบิ๊อฺ ตาบิอีน  (ลูกศิษย์-ตาบิอี )

ท่านลองศึกษาดูสิว่า  นับจากปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่   12  จนถึง ฮ.ศ. 100

จากฮิจเราะฮ์ศักราชที่   101  จนถึง ฮ.ศ. 200

จากฮิจเราะฮ์ศักราชที่   201  จนถึง ฮ.ศ. 300



มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง  แน่นอนท่านจะพบว่า  พวกเขาได้ทะเลาะกัน ขัดแย้งกัน  ได้สู้รบฆ่าฟันกันเองอย่างมากมาย

สะอัด บินอุบาดะฮ์หัวหน้าชาวอันศ็อรขัดแย้งกับท่านอบูบักรและท่านอุมัรฝ่ายมุฮาญิรีนในเรื่องเลือกตั้ง คอลีฟะฮ์ที่สะกีฟะฮ์

ท่านอะลีไม่ยอมรับการเป็นคอลีฟะฮ์ของท่านอบูบักร จนภรรยาเสียชีวิต

ท่านหญิงฟาติมะฮ์บุตรสาวท่านนบี(ศ) ไปขอสวนฟาดักมรดกของนางจากท่านอบูบักร แต่ท่านไม่ให้นาง จนนางโกรธ และไม่ยอมพูดด้วยจนเสียชีวิตไป

ท่านอบูบักรส่งคอลิดบินวาลีดไปปราบมาลิก บินนุวัยเราะฮ์ และคอลิดลอบสังหารเขาในข้อหาที่ยังไม่ชัดเจนว่า เขาและพวกไม่ยอมส่งมอบซะกาตมายังคอลีฟะฮ์

ท่านอุมัรถูกอบูลุอ์ลุอ์ลอบแทงจนเสียชีวิต  และประวัติศาสตร์กล่าวว่า อบูลุอ์ลุอ์ไม่ใช่มุสลิม ซึ่งก็ยังไม่ได้รับพิสูจน์อย่างชัดเจนในเรื่องนี้และทำไมเขาจึงต้องสังหารท่านอุมัร

ท่านอุษมานถูกเศาะหาบะฮ์ส่วนหนึ่งสังหารท่านภายในบ้านของท่านเอง  และเพราะอะไรจึงต้องสังหารท่าน

ท่านอะลีขึ้นเป็นคอลีฟะฮ์

ท่านหญิงอาอิชะฮ์  มีฏ็อลฮะฮ์กับซุเบรยกทัพมารบกับท่านอะลี  เรียกสงคราม " ญะมัล- อูฐ "  

ต่อมาท่านอะลีสั่งปลดมุอาวียะฮ์ผู้ปกครองซีเรีย  ฝ่ายมุอาวียะฮ์ไม่ยอมรับคำสั่งนี้  และมุอาวียะฮ์ได้ยกทัพมารบกับคอลีฟะฮ์อะลีเรียกสงคราม  " ซิฟฟีน "
ต่อมามีชนกลุ่มหนึ่งแยกตัวออกจากท่านอะลี  เรียกพวกนี้มา เคาะวาริจญ์ และท่านอะลีได้ยกทัพไปปราบเรียกสงครามนี้ว่า   " นะฮ์รอวาน "

ต่ออิบนุมุลยิมก็ได้ลอบสังหารท่านอะลีในมัสญิดกูฟะฮ์จนเสียชีวิต

ท่านฮาซัน บินอะลีขึ้นเป็นคอลีฟะฮ์ต่อจากบิดา     ฝ่ายมุอาวียะฮ์ยกทัพจากซีเรียมาล้อม และจบลงด้วยการประนีประนอม ท่านฮาซันยอมลงจากบัลลังค์เพื่อสันติและความสงบ และในที่สุดท่านฮาซันก็ถูกวางยาพิษตายในเวลาต่อมา

ท่านฮูเซน บินอะลีถูกกองทัพยะซีด บินมุอาวียะฮ์สังหารโหดที่กัรบาลา

ราชวงศ์อุมัยยะฮ์เปลี่ยนการปกครองระบบรัฐอิสลามเป็นระบบกษัตริย์

ราชวงศ์อับบาซียะฮ์ใช้ชีวิตเสเพลในฮาเร็ม มีความเป็นอยู่อย่างหรูหราฟุ่มเฟือย


แล้วจะไม่ให้คนรุ่นหลังต้องศึกษาวิจัยหรือว่า  ใครคือชาวสวรรค์  และใครคือชาวนรก ตามที่หะดีษกล่าวไว้  ?

 
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 16, 2009, 05:14:04 หลังเที่ยง


เพราะฉะนั้น


หะดีษ  73   ฟิรเกาะฮ์   ที่รายงานว่า  ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ)  กล่าวว่า



(((สิ่งที่ฉัน ยืนหยัดอยู่บนมัน และ บรรดาเศาะหาบะฮ์ของฉัน    )))


คำนี้  


( (   สิ่งที่ฉัน ยืนหยัดอยู่บนมัน  ))    


มุสลิมทั้งโลกยอมรับอยู่แล้ว  ว่า  แนวทางของท่านศาสดามุฮัมมัด  คือแนวทางที่รอดปลอดภัยแน่นอน  



ส่วนวรรคหลังที่รายงานว่า

(( และ บรรดาเศาะหาบะฮ์ของฉัน  ))


อันนี้  คือปัญหา  


และปัญหานี้ยัง  สะท้อนออกมาให้เกิดแนวคิดของมุสลิมที่จะเลือกตาม  ได้ดังนี้คือ


อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ จะเลือกตาม  เศาะหาบะฮ์


อะฮ์ลุช- ชีอะฮ์  จะเลือกตาม  อะฮ์ลุลบัยต์


 
แต่การเลือกตามเพียงอะฮ์ลุลบัยต์กลับกลายเป็น สิ่งที่ทำให้อีกฝ่าย  หยิบเอามาประณามมาโดยตลอดเวลา

ซึ่งประเด้นนี้น่าคิด    อินชาอัลเลาะฮ์ จะมาวิจัยกันต่อคราวหน้า.
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 17, 2009, 09:57:12 ก่อนเที่ยง


ขอให้ทุกท่านย้อนกลับมาพิจารณา   ความหมายหะดีษ ที่อะฮ์ลุสสุนนะฮ์   ชอบยกมาอ้างกับชาวโลกกันอีกครั้ง  คือ



ท่านรอซูลุลเลาะฮ์ (ศ)กล่าวว่า  :  


ประชาชาติของฉัน   จะแตกออกเป็น 73 พวก   ทั้งหมดจะอยู่ในนรก  ยกเว้น  พวกเดียว



พวกเขาถามว่า  :


โอ้ท่านรอซูลุลเลาะฮ์  พวกนั้นคือใคร   ?


ท่านกล่าวตอบว่า คือ :


สิ่งที่ฉัน ยืนหยัดอยู่บนมัน               และ    เศาะหาบะฮ์ของฉัน



อ้างอิงจากหนังสือ

สุนัน ติรมิซี     หะดีษที่    2853




เรากล่าวแล้วว่า          เรื่องยึดแนวทางของท่านรอซูล(ศ)   นั้นเป็นยอมรับแน่นอน



แต่เรื่องที่  อะอ์ลุสสุนนะฮ์  พยายาม  เอาแนวทางของท่านรอซูลไป  ผูกกับ  แนวทางของ  เศาะหาบะฮ์   อันนี้คือปัญหา



หากท่านมีสมอง และคิดเป็น   ท่านลองนึกสิว่า


จะกินกับปัญญา  ไหม  ที่   แนวทางของเศาะหาบะฮ์ ทั้งหมดทุกคน   คือแนวทาง  ที่ปลอดภัย   ?



วิธีพิสูจน์  ความจริงในเรื่องนี้คือ    


เราทุกคน   คงต้องเสียเวลา    นั่งไทม์แมชชีน   ย้อนกลับไป   ดู  ชีวประวัติของ  เศาะหาบะฮ์   กันว่า


พวกเขาใช้ชีวิต   สอดคล้อง ตรงกับ  คำสั่งของอัลเลาะฮ์  และ  รอซูล  ทุกกระเบียดนิ้ว  จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต  จริงหรือไม่  ?

ถ้าใช่     แสดงว่า   อะฮ์ลุสสุนนะฮ์   พูดจริง   แต่ถ้า   เศาะหาบะฮ์ ไม่เป็นเช่นนั้นจริง    แล้วเราจะว่าอย่างไร ?



เชิญนั่งไทม์แมชชีนไปดูพร้อมกัน  ครับ................  
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 17, 2009, 10:01:06 ก่อนเที่ยง


ตอน 51



เรื่องราวของ      เศาะหาบะฮ์    ล้วนๆ
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 17, 2009, 11:58:12 ก่อนเที่ยง


ท่านเคยสังเกตไหมว่า  

อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ชอบยกแต่  อายัตกุรอ่านและหะดีษ  ที่กล่าวยกย่องเศาะหาบะฮ์แบบรวมๆ

แต่พวกเขาจะหลีกเลี่ยง  อายัตกุรอ่านและหะดีษที่กล่าวตำหนิเศาะหาบะฮ์ทั้งแบบโดยรวมและเฉพาะรายบุคคล

สาเหตุเพราะ  มันจะทำลายสโลแกนที่พวกเขาสร้างไว้อย่างสวยหรูว่า  


เศาะหาบะฮ์   ทุกคน  เป็น  " คนดี "  


ดังนั้นหากใครนำเรื่องราวของเศาะหาบะฮ์ที่ประพฤติตัวขัดต่ออัลเลาะฮ์และรอซูลมากล่าว  

พวกเขาจะกล่าวว่า    อย่าประณาม   อย่าด่าว่า  เศาะหาบะฮ์  


หากใครนำเรื่องราวของเศาะหาบะฮ์ที่อยู่ในขอบข่ายมุนาฟิกมากล่าว    

พวกเขาก็จะแก้ต่างว่า   คนยุคท่านนบี(ศ) ที่เป็น " มุนาฟิก "  เราไม่นับว่าเป็น " เศาะหาบะฮ์ "



สรุปก็คือ  พวกเขาไม่กล้ายอมรับความจริง    เพราะฉะนั้นสิ่งที่พวกเขาทำได้คือ สั่งปิดประตูเรื่องเศาะหาบะฮ์  ด้วยการออกกฎออกฟัตวาว่า  

ห้ามมุสลิม ขุดคุ้ยเรื่องเศาะหาบะฮ์
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 17, 2009, 12:57:23 หลังเที่ยง


โองการที่อัลลอฮ์ตรัสถึง   คนยุคท่านนบีมุฮัมมัด(ศ) ว่าเป็น \\\" มุนาฟิก \\\"    แบบรวมๆไม่เจาะจง   เช่น


อัลเลาะฮ์ ตรัสว่า


ومِمَّنْ حَوْلَكُم مِنَ الاَعرابِ مُنَافِقُونَ وَمِن أهلِ المدينةِ مَردُوا على النِّفاقِ لا تَعْلَمُهُمْ نَحْنُ نَعلَمُهُمْ


และส่วนหนึ่งจากผู้ที่อยู่รอบๆพวกเจ้า ที่เป็นชาวอรับชนบทนั้น เป็นพวกกลับกลอก(มุนาฟิก)


และส่วนหนึ่งจากชาวเมืองมะดีนะฮ์ก็เช่นเดียวกัน    พวกเขาเหล่านั้นดื้อรั้นในความกลับกลอก  


เจ้า ( มุฮัมมัด) ไม่รู้จักธาตุแท้ของพวกเขาดอก      เรา ( อัลลอฮฺ ) รู้จักพวกเขาดี  


ซูเราะฮ์  อัต-เตาบะฮ์   :  101
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 17, 2009, 01:26:01 หลังเที่ยง


หะดีษที่ขยายความ โองการข้างต้นคือ



حدثنا أحمد بن يحيى الحلواني قال حدثنا الحسين بن محمد بن عمرو  العنقري قال حدثنا أبي قال حدثنا أسباط بن نصر عن السدي عن أبي مالك

عن بن عباس : في قوله { وممن حولكم من الأعراب منافقون ومن أهل المدينة مردوا على النفاق لا تعلمهم نحن نعلمهم سنعذبهم مرتين ثم يردون إلى عذاب عظيم }

قال قام رسول الله يوم جمعة خطيبا فقال قم يا فلان فاخرج فإنك منافق اخرج يا فلان فإنك منافق

فأخرجهم بأسمائهم ففضحهم...

الكتاب : المعجم الأوسط    ح : 792
المؤلف : أبو القاسم سليمان بن أحمد الطبراني
الناشر : دار الحرمين - القاهرة ، 1415
تحقيق : طارق بن عوض الله بن محمد , عبد المحسن بن إبراهيم الحسيني
عدد الأجزاء


อิบนุอับบาสรายงาน  :

เขาอธิบายถึงพระดำรัสของพระองค์ที่ว่า

(( และส่วนหนึ่งจากผู้ที่อยู่รอบๆพวกเจ้า ที่เป็นชาวอรับชนบทนั้น เป็นพวกกลับกลอก(มุนาฟิก)

และส่วนหนึ่งจากชาวเมืองมะดีนะฮ์ก็เช่นเดียวกัน พวกเขาเหล่านั้นดื้อรั้นในความกลับกลอก

เจ้า ( มุฮัมมัด) ไม่รู้จักธาตุแท้ของพวกเขาดอก เรา ( อัลลอฮฺ ) รู้จักพวกเขาดี

เราจะลงโทษพวกเขาสองครั้ง แล้วจากนั้นพวกเขาจะถูกนำกลับไปสู่การลงโทษอันยิ่งใหญ่ต่อไป ))

อิบนุอับบาสเล่าว่า  :

ท่านรอซูลุลเลาะฮ์ (ศ) ได้ยืนคุฏบะฮ์ในวันศุกร์   แล้วท่านกล่าวว่า   :

โอ้นายฟูลาน(นามสมุติ) จงลุกขึ้นแล้วออกไป  เพราะแท้จริงเจ้าคือ มุนาฟิก    

โอ้นายฟูลาน(นามสมมุติ) จงออกไป  เพราะแท้จริงเจ้าคือ มุนาฟิก

แล้วท่านได้ไล่พวกเขาออกไป พร้อมกับเอ่ยชื่อพวกเขาเหล่านั้น  แล้วท่านยังได้ประจานพวกเขา...


อ้างอิงจาก  

มุอ์ญัม เอาซัฏ   โดย อัฏ – ฏ็อบรอนี   หะดีษที่   792
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 17, 2009, 02:09:22 หลังเที่ยง


ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ได้เปิดเผยรายชื่อพวกมุนาฟิกที่อยู่ในเมืองมะดีนะฮ์  หลายครั้งหลายหนด้วยกัน  

ท่านได้ไล่เศาะหาบะฮ์   36 คนที่เป็นมุนาฟิกออกจากมัสญิด



ท่านอิบนุ ญะรีร อัฏ-ฏ็อบรี รายงานว่า


حدثنا الحسين بن عمرو العنقزي قال، حدثنا أبي قال، حدثنا أسباط، عن السدي، عن أبي مالك،
عن ابن عباس في قول الله:(وممن حولكم من الأعراب منافقون ومن أهل المدينة مردوا على النفاق)، إلى قوله:(عذاب عظيم)، قال: قام رسول الله صلى الله عليه وسلم خطيبًا يوم الجمعة، فقال: اخرج يا فلان، فإنك منافق. اخرج، يا فلان، فإنك منافق. فأخرج من المسجد ناسًا منهم، فضحهم.
فلقيهم عمر وهم يخرجون من المسجد، فاختبأ منهم حياءً أنه لم يشهد الجمعة، وظنّ أن الناس قد انصرفوا، واختبأوا هم من عمر، ظنّوا أنه قد علم بأمرهم. فجاء عمر فدخل المسجد، فإذا الناس لم يصلُّوا، فقال له رجل من المسلمين: أبشر، يا عمر، فقد فضح الله المنافقين اليوم ! فهذا العذاب الأول، حين أخرجهم من المسجد. والعذاب الثاني، عذاب القبر
تفسير الطبري     لإبن جرير   ج 14  ص 442  رقم : 17122


อิบนุอับบาสรายงาน :

เขาอธิบายถึงพระดำรัสของพระองค์ที่ว่า  (( และส่วนหนึ่งจากผู้ที่อยู่รอบๆพวกเจ้า ที่เป็นชาวอรับชนบทนั้น เป็นพวกกลับกลอก(มุนาฟิก)  

และส่วนหนึ่งจากชาวเมืองมะดีนะฮ์ก็เช่นเดียวกัน พวกเขาเหล่านั้นดื้อรั้นในความกลับกลอก     เจ้า ( มุฮัมมัด) ไม่รู้จักธาตุแท้ของพวกเขาดอก

 เรา ( อัลลอฮฺ ) รู้จักพวกเขาดี    เราจะลงโทษพวกเขาสองครั้ง แล้วจากนั้นพวกเขาจะถูกนำกลับไปสู่การลงโทษอันยิ่งใหญ่ต่อไป ))


อิบนุอับบาสเล่าว่า :

ท่านรอซูลุลเลาะฮ์ (ศ) ได้ยืนคุฏบะฮ์ในวันศุกร์ แล้วท่านกล่าวว่า :

โอ้นายฟูลาน(นามสมุติ) จงลุกขึ้นแล้วออกไป เพราะแท้จริงเจ้าคือ มุนาฟิก

โอ้นายฟูลาน(นามสมมุติ) จงออกไป เพราะแท้จริงเจ้าคือ มุนาฟิก

แล้วท่านได้ไล่คนกลุ่มหนึ่งจากพวกเขา  ออกไปจากมัสญิด  แล้วท่านได้ประจานพวกเขา...


อ้างอิงจาก

ตัฟสีร อัฏ-ฏ็อบรี  โดย อิบนุญะรีร   เล่ม   14 :  442  อันดับที่  17122
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 17, 2009, 02:34:46 หลังเที่ยง


ท่านอิบนุกะษีร   ก็ได้รับเอาหะดีษบทนี้จากท่านอิบนุญะรีรมาบันทึกไว้ในตัฟสีรของท่านคือ

ตัฟสีรอิบนุกะษีร  เล่ม  4  หน้า  205



ท่านอิม่ามอะหมัด บินหัมบัลบันทึกว่า


حَدَّثَنَا وَكِيعٌ حَدَّثَنَا سُفْيَانُ عَنْ سَلَمَةَ عَنْ عِيَاضِ بْنِ عِيَاضٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ أَبِي مَسْعُودٍ قَالَ
خَطَبَنَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ خُطْبَةً فَحَمِدَ اللَّهَ وَأَثْنَى عَلَيْهِ ثُمَّ قَالَ إِنَّ فِيكُمْ مُنَافِقِينَ فَمَنْ سَمَّيْتُ فَلْيَقُمْ ثُمَّ قَالَ قُمْ يَا فُلَانُ قُمْ يَا فُلَانُ قُمْ يَا فُلَانُ حَتَّى سَمَّى سِتَّةً وَثَلَاثِينَ رَجُلًا

ثُمَّ قَالَ إِنَّ فِيكُمْ أَوْ مِنْكُمْ فَاتَّقُوا اللَّهَ قَالَ فَمَرَّ عُمَرُ عَلَى رَجُلٍ مِمَّنْ سَمَّى مُقَنَّعٍ قَدْ كَانَ يَعْرِفُهُ قَالَ مَا لَكَ قَالَ فَحَدَّثَهُ بِمَا قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَقَالَ بُعْدًا لَكَ سَائِرَ الْيَوْمِ
حَدَّثَنَا أَبُو نُعَيْمٍ حَدَّثَنَا سُفْيَانُ عَنْ سَلَمَةَ عَنْ رَجُلٍ عَنْ أَبِيهِ قَالَ سُفْيَانُ أُرَاهُ عِيَاضَ بْنَ عِيَاضٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ أَبِي مَسْعُودٍ قَالَ خَطَبَنَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَذَكَرَ مَعْنَاهُ




อิย๊าฎ  บิน อิย๊าฎ    รายงานจาก    อบีมัสอู๊ดรายงาน   :


ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้คุฏบะฮ์ให้เราฟังคุฏบะฮ์หนึ่ง    ท่านสรรเสริญอัลลอฮฺและยกย่องพระองค์  

จากนั้นท่านกล่าวว่า  :

แท้จริงในหมู่พวกท่านนั้นมีพวกมุนาฟิก  ดังนั้นคนใดก็ตามที่ฉันเอ่ยชื่อให้เขาจงยืนขึ้น  

จากนั้นท่านกล่าวว่า  :

โอ้นายฟูลาน(นามสมมุติ)จงลุกขึ้น  โอ้นายฟูลาน(นามสมมุติ)จงลุกขึ้น  จนกระทั่งครบชาย 36 คน    

จากนั้นท่านกล่าวว่า  :

แท้จริงในหมู่พวกท่านหรือส่วนหนึ่งจากพวกท่าน     ขอให้พวกท่านจงมีตักวาต่ออัลลอฮ์

เขาเล่าว่า   :  แล้วท่านอุมัรเดินผ่านชายคนหนึ่ง จากผู้ที่เรียกกันว่า มุกอนน๊ะอ์  ซึ่งเขาเคยรู้จักเขามาก่อน  
เขากล่าวว่า   ท่านมีอะไร  ?    เขาจึงเล่าให้เขา(อุมัร)ฟังสิ่งที่ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวไป  

เขากล่าวว่า   :   มันห่างไกลสำหรับท่าน กว่าบรรดาวันทั้งหลาย


มุสนัดอะหมัด  หะดีษที่  21317
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 17, 2009, 03:24:53 หลังเที่ยง


สิ่งที่น่าแปลกใจก็คือ  

หะดีษบทนี้   ถูกอุละมาอ์ซุนนี่บางคน วิจารณ์ว่า     " ดออีฟ "



โดยให้เหตุผลว่า  เพราะเขาค้นหาประวัติของชายที่ชื่อ  อิย๊าฎ บิน อิย๊าฏ (عِيَاضِ بْنِ عِيَاضٍ  )ไม่พบ


เชคชุเอบ อัลอัรนะอูฏี  ได้ตรวจสอบหะดีษบทนี้แล้วกล่าวว่า

قال الشيخ :  شعيب الأرنؤوط   :   إسناده ضعيف لجهالة عياض الراوي عن أبي مسعود  


(( อิสนาดของมัน   ดออีฟ  เนื่องจากไม่รู้จัก นักรายงานที่ชื่อ อิย๊าฎ ที่รายงานจากท่านอบีมัสอู๊ด  ))


ดูมุสนัดอิหม่ามอะหมัด  หะดีษที่ 22402    ฉบับที่ตรวจทานโดยเชคชุเอบ อัลอัรนะอูฏี



ไม่น่าเชื่อว่า    

นักวิจัยหะดีษระดับ " เชคชุเอบอัลอัรนะอูฏ "  เนี้ยนะหรือที่ค้นหาประวัตินักรายงานหะดีษชื่อ


อิย๊าฎ บิน อิย๊าฏ (عِيَاضِ بْنِ عِيَاضٍ  )ไม่พบ



อุละมาอ์ซุนนี่  มากมายได้กล่าวถึง  อิย๊าฎ   ไว้ดังนี้



ท่านอิบนุหิบบาน  


ให้การยอมรับ " อิย๊าฎ "ว่ าการรายงานของเขาเชื่อถือได้  ดู

عياض بن عياض يروى عن أبى مسعود الأنصاري روى عنه الثوري وابنه عياض بن عياض بن عياض
كتاب : الثقات لابن حبان   ج 5 ص 267  رقم : 4770

อิย๊าฏ  บินอิยาฎ    รายงานหะดีษจาก  อบีมัสอูด อัลอันศอรี     คนที่รายงานหะดีษจากอิยาฎคือ อัษ-เษารี และบุตรชายของเขาชื่อ อิยาฎ

อ้างอิงจากหนังสือ


อัษ-ษิกอต  โดยอิบนุหิบบาน    อันดับที่  4770



อิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานี กล่าวว่า


عيّاض بن عياض بن عمر بن جبلة بن هانىء بن بُقيل أبو قيلة التنعي، عن أبيه، عن أبي مسعود

الكتاب : تبصير المنتبه بتحرير المشتبه     المؤلف : ابن حجر العسقلاني  ج 1 ص 326


อิยาฎ บินอิยาฎ    รายงานจากบิดาเขา  จากอบีมัสอูด


อ้างอิงจากหนังสือ

ตับศีรุลมุนตะบิฮฺ  บิตะห์รีริลมุชตะบิฮฺ  โดยอิบนหะญัร    อันดับที่   4770



อิบนิอบีหาติมกล่าวว่า

عياض بن عياض أبو قيلة كوفى روى عن أبيه عن أبى مسعود الأنصاري روى عنه سلمة بن كهيل وموسى بن قيس الحضرمي سمعت أبى يقول ذلك
الجرح والتعديل   لابن أبي حاتم  ج 6  ص 409  رقم : 2289

อิย๊าฏ  บินอิยาฎ    รายงานหะดีษจาก บิดาเขาจาก อบีมัสอูด อัลอันศอรี     คนที่รายงานหะดีษจากอิยาฎคือ สะละมะฮ์ บินกุฮัยลฺ และมูซา บินกอยสฺ

อ้างอิงจากหนังสือ

อัลญัรฮุวัต-ตะอ์ดีล  โดยอิบนิ อบีหาติม    อันดับที่   2289




นั่นแสดงให้รู้ว่า "  อิยาฎ  "  ผู้นี้ มีตัวตนจริงอยู่โลกใบนี้  ไม่ใช่  มัจญ์ฮูล  และท่านอิบนิหิบบานยังวิจารณ์ว่า เขาเชื่อถือได้ในการรายงาน.
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 17, 2009, 03:51:17 หลังเที่ยง

หะดีษนี้ได้ถูกบันทึกไว้ในตำราอะฮ์ลุสสุนนะฮ์หลายเล่ม  


คำถามที่สำคัญคือ  
ชายสองคน ที่ท่านนบี(ศ)กล่าวว่า  ฟูลาน  ฟูลาน (นามสมมุติ) ที่นักรายงานหะดีษไม่ยอมเอ่ยชื่อคือใคร?

บรรดามุสลิมในสมัยท่านนบี(ศ)ไม่รู้จักพวกเขาเหล่านั้นเลยหรือ  ?
 
บุคคลเหล่านั้นเคยได้เป็นผู้ปกครองหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ๆมีอำนาจในทางการหรือปล่าว ?

ทำไมนักรายงานหะดีษจึงเปลี่ยนรายชื่อจริงของพวกเขาเป็น  นามสมมุติ  ?

ท่านอุมัรไปเกี่ยวข้องอะไรกับมุกอนนะอ์  และพวกมุนาฟิกสามสิบหกคนเหล่านั้น

ทำไมท่านอุมัรจึงไม่อยู่ในมัสญิดตอนที่ท่านนบี(ศ)กล่าวหะดีษบทนี้  แต่เมื่อจบเหตุการณ์ท่านอุมัรกลับเดินเข้ามา ?

หรือว่า  ภายหลังการวะฟาตของท่านรอซูล(ศ)    พวกมุนาฟิกเหล่านี้สามารถควบคุมอำนาจไว้ในมือได้

พวกเขาจึงลบรายชื่อพวกเขาออกไปจากหะดีษบทดังกล่าว  เพื่อคนยุคปัจจุบันจะได้ไม่รู้ว่าพวกเขาเป็นใคร

เราไม่ทราบว่ารายชื่อเหล่านั้นมันลบเลือนไปท่ามกลางสังคมมุสลิมได้อย่างไร    
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 17, 2009, 04:29:12 หลังเที่ยง


ท่านมุสลิม บินหัจญ๊าจญ์บันทึกว่า

กอยส์ได้สนทนากับท่านอัมมาร บินยาซิรเรื่องที่คนกลุ่มหนึ่งออกมาสู้รบต่อต้านท่านอะลี ว่าคิดเห็นเป็นอย่างไร

ท่านอัมมารได้กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้เคยย้ำถึงพันธะสัญญานี้ไว้อย่างมาก  และท่านอัมมารได้เล่าว่า


ท่านฮูซัยฟะฮ์รายงานว่า


قَالَ النَّبِىُّ -صلى الله عليه وسلم- « فِى أَصْحَابِى اثْنَا عَشَرَ مُنَافِقًا فِيهِمْ ثَمَانِيَةٌ لاَ يَدْخُلُونَ الْجَنَّةَ حَتَّى يَلِجَ الْجَمَلُ فِى سَمِّ الْخِيَاطِ ثَمَانِيَةٌ مِنْهُمْ تَكْفِيكَهُمُ الدُّبَيْلَةُ وَأَرْبَعَةٌ ». لَمْ أَحْفَظْ مَا قَالَ شُعْبَةُ فِيهِمْ.



ท่านนบี(ศ)กล่าวว่า


ในหมู่เศาะหาบะฮ์ของฉันนั้นมีคนมุนาฟิกสิบสองคน  ในหมู่พวกเขามีแปดคนที่จะไม่ได้เข้าสวรรค์ จนกว่าอูฐจะมุดลงไปที่รูเข็ม....

เศาะหิ๊หฺ  มุสลิม หะดีษที่  7242


ใช่พวกมุนาฟิกสิบสองคนนี้หรือไม่  ที่คิดลอบสังหารท่านนบี(ศ)

นี่ก็อีกหนึ่งหะดีษที่  อยากถามว่า  พวกเศาะหาบะฮ์มุนาฟิกนี้เป็นใคร  อยู่ที่ไหน   พวกเขาเคยเป็นหนึ่งจากนักรายงานหะดีษที่ถ่ายทอดมายังเราหรือปล่าว  
แล้วคนพวกนี้มีรายงานหะดีษเกี่ยวข้องกับอะห์กามชะรีอะฮ์ที่มากำหนดให้บรรดามุสลิมทำอามัลอิบาดะฮ์หรือไม่
ดังนั้นเราจะรู้ได้อย่างไรว่า  รายงานในตำราอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ปลอดจากพวกมุนาฟิกเหล่านั้น
เพราะเป็นที่น่าสงสัยว่า  การวางแผนลอบสังหารท่านนบี(ศ)ไม่ใช่มีแค่คนเดียว แต่ต้องร่วมมือกันหลายคน
เมื่อเราไม่อาจรู้จักตัวตนของพวกเขาได้   เราจึงไม่กล้าไปรับเอาศาสนามาจากพวกเขา  เพราะบางทีสิ่งที่พวกเขารายงานอาจเป็นสิ่งที่มาทำลายศาสนาของอัลเลาะฮ์


เมื่อไม่มีมุสลิมคนใดรู้จักรายชื่อพวกมุนาฟิกเหล่านี้ แล้วเราจะแยกแยะเศาะหาบะฮ์ที่ดี กับเศาะหาบะฮ์เป็นมุนาฟิกได้อย่างไร ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่มากและค่อนข้างซับซ้อน


ดังนั้นทางที่ดีเราขอเบนเข็มทิศไปปฏิบัติตามอะฮ์ลุลบัยต์ดีกว่า  เพราะดูแล้วจะปลอดภัยกว่าแน่นอน เนื่องจากไม่มีหะดีษรายงานว่า  ในหมู่อะฮ์ลุลบัยต์ของฉันมีมุนาฟิก    แต่เรากลับพบแต่หะดีษที่ระบุว่า การยึดมั่นอยู่กับแนวทางของพวกเขานั้นจะไม่หลงทางตลอดกาล เช่น  
   

หะดีษกิตาบุลเลาะฮ์วะอิตเราะฮ์
 

   ก่อนที่ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ็อลฯ)จะจากโลกนี้ไป  ท่านได้สั่งเสียหลายครั้ง หลายวาระ หลายสถานที่ว่า  ท่านได้มอบสิ่งมีค่ายิ่งและสำคัญมากไว้ให้แก่ประชาชาติอิสลาม สองประการ  ซึ่งท่านได้ย้ำว่า สองสิ่งนี้ต้องอยู่คู่กันไปตราบจนถึงวันกิยามะฮ์   หากมุสลิมคนใดได้ยึดมั่นปฏิบัติตามสองสิ่งนี้อย่างมั่นคง   ท่านนบีมุฮัมมัดรับรองว่า  บุคคลนั้นจะไม่หลงทางเด็ดขาด   สิ่งหนักสองประการที่ว่านั้นคือ


1.   คัมภีร์ของอัลลอฮ์   คืออัลกุรอาน

2.   อิตเราะฮ์  คืออะฮ์ลุลบัยต์ของท่านนบีมุฮัมมัด


رِوَايَةُ زَيْدِ بْنِ أَرْقَمَ :

ثُمَّ قَالَ قَامَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- يَوْمًا فِينَا خَطِيبًا بِمَاءٍ يُدْعَى خُمًّا بَيْنَ مَكَّةَ وَالْمَدِينَةِ فَحَمِدَ اللَّهَ وَأَثْنَى عَلَيْهِ وَوَعَظَ وَذَكَّرَ ثُمَّ قَالَ « أَمَّا بَعْدُ أَلاَ أَيُّهَا النَّاسُ فَإِنَّمَا أَنَا بَشَرٌ يُوشِكُ أَنْ يَأْتِىَ رَسُولُ رَبِّى فَأُجِيبَ وَأَنَا تَارِكٌ فِيكُمْ ثَقَلَيْنِ أَوَّلُهُمَا كِتَابُ اللَّهِ فِيهِ الْهُدَى وَالنُّورُ فَخُذُوا بِكِتَابِ اللَّهِ وَاسْتَمْسِكُوا بِهِ ». فَحَثَّ عَلَى كِتَابِ اللَّهِ وَرَغَّبَ فِيهِ ثُمَّ قَالَ « وَأَهْلُ بَيْتِى أُذَكِّرُكُمُ اللَّهَ فِى أَهْلِ بَيْتِى أُذَكِّرُكُمُ اللَّهَ فِى أَهْلِ بَيْتِى أُذَكِّرُكُمُ اللَّهَ فِى أَهْلِ بَيْتِى »


เซด บิน อัรกอมรายงาน :

ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ็อลฯ)ได้ยืนปราศรัยในหมู่พวกเราวันหนึ่งที่แหล่งน้ำชื่อว่า (เฆาะดีร) คุม อยู่ระหว่างเมืองมักกะฮ์กับเมืองมะดีนะฮ์ ท่านได้สรรเสริญอัลลอฮ์ สดุดีพระองค์ และได้ตักเตือน ย้ำให้ระลึก จากนั้นท่านกล่าวว่า : อัมมาบะอ์ดุ  พึงทราบเถิดท่านทั้งหลาย  อันที่จริงฉันเป็นมนุษย์คนหนึ่ง รอซูลแห่งพระผู้อภิบาลของฉัน(คือมลาอิกัลมูต)นั้นใกล้จะมา(รับชีวิตฉันไป)แล้ว และฉันก็ตอบรับแล้ว  

และฉันได้มอบสิ่งหนักสองสิ่งไว้ในหมู่พวกท่าน  สิ่งแรกคือกิตาบุลเลาะฮ์(อัลกุรอาน)

ในนั้นคือทางนำและแสงสว่าง  ดังนั้นพวกท่านจงจับคัมภีร์ของอัลลอฮ์ไว้ และจงยึดมันให้มั่น   แล้วท่านได้แนะนำให้ปฏิบัติตามคัมภีร์   ถัดจากนั้นท่านกล่าวว่า  

และ(สอง)อะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน  

ฉันขอเตือนพวกท่านให้รำลึกถึงอัลลอฮ์ในอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน  ฉันขอเตือนพวกท่านให้รำลึกถึงอัลลอฮ์ในอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน   ฉันขอเตือนพวกท่านให้รำลึกถึงอัลลอฮ์ในอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน  


เศาะหิ๊หฺมุสลิม กิตาบฟะฎออิลุซ- เศาะหาบะฮ์   หะดีษที่ 4425
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 17, 2009, 04:32:25 หลังเที่ยง

عَنْ حَبِيبِ بْنِ أَبِى ثَابِتٍ عَنْ زَيْدِ بْنِ أَرْقَمَ رَضِىَ اللَّهُ عَنْهُمَا قَالاَ :

قَالَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم-

« إِنِّى تَارِكٌ فِيكُمْ مَا إِنْ تَمَسَّكْتُمْ بِهِ لَنْ تَضِلُّوا بَعْدِى أَحَدُهُمَا أَعْظَمُ مِنَ الآخَرِ كِتَابُ اللَّهِ حَبْلٌ مَمْدُودٌ مِنَ السَّمَاءِ إِلَى الأَرْضِ وَعِتْرَتِى أَهْلُ بَيْتِى وَلَنْ يَتَفَرَّقَا حَتَّى يَرِدَا عَلَىَّ الْحَوْضَ فَانْظُرُوا كَيْفَ تَخْلُفُونِى فِيهِمَا ».

หะบีบ บินอบีษาบิต จากเซด บินอัรก็อมรายงาน :

ท่านรอซูลุลลอฮฮ์ (ศ็อลฯ)กล่าวว่า : แท้จริงฉันได้มอบไว้ให้กับพวกท่าน หากพวกท่านยึดมั่นต่อสิ่งนั้นแล้ว  พวกท่านจะไม่หลงทางหลังจากฉันเด็ดขาด  สิ่งแรกใหญ่กว่าอีกสิ่งหนึ่งนั่นคือ


1.   กิตาบุลเลาะฮ์(อัลกุรอาน)คือเชือกที่ทอดจากชั้นฟ้ามายังโลกและ

2.   อิตเราะตี คืออะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน  

และทั้งสองสิ่งจะไม่แยกจากกัน จนกว่าจะกลับมาหาฉันที่อัลเฮาฎ์(สระเกาษัร)  
ดังนั้นพวกท่านจงดูเถิดว่า พวกท่านจะขัดแย้งกับฉันในสองสิ่งที่ฉันมอบไว้ให้อย่างไร  


สถานะหะดีษ  :   เศาะหิ๊หฺ  

ดูซอฮีฮุต-ติรมีซี  หะดีษที่ 2980    ตรวจทานโดยเชคอัลบานี



อธิบาย


1.   ท่านรอซูลุลลอฮฮ์(ศ็อลฯ)กล่าวว่า : หากพวกท่านยึดมั่นต่ออัลกุรอานและอิตเราะฮ์ของท่าน  พวกท่านจะไม่หลงทางเด็ดขาด หลังจากท่านจากไป  
2.   อัลกุรอานและอิตเราะฮ์จะไม่แยกจากกันตราบจนถึงวันสิ้นโลฏ
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 17, 2009, 04:33:54 หลังเที่ยง




عَنْ جَعْفَرِ بْنِ مُحَمَّدٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ قَالَ :
رَأَيْتُ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- فِى حَجَّتِهِ يَوْمَ عَرَفَةَ وَهُوَ عَلَى نَاقَتِهِ الْقَصْوَاءِ يَخْطُبُ فَسَمِعْتُهُ يَقُولُ « يَا أَيُّهَا النَّاسُ إِنِّى قَدْ تَرَكْتُ فِيكُمْ مَا إِنْ أَخَذْتُمْ بِهِ لَنْ تَضِلُّوا كِتَابَ اللَّهِ وَعِتْرَتِى أَهْلَ بَيْتِى ».

ญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด จากบิดาเขา(มุฮัมมัดบินอะลี)จากญาบิร บินอับดุลลอฮฺ รายงาน :
ฉันได้เห็นท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ็อลฯ)ในการประกอบพิธีฮัจญ์ของท่านในวันอะเราะฟะฮ์ ซึ่งท่านอยู่บนหลังอูฐกำลังปราศรัย แล้วฉันได้ยินท่านกล่าวว่า
โอ้ประชาชนทั้งหลาย แท้จริงฉัน ทิ้งไว้ให้แก่พวกท่านถึงสิ่งซึ่งหากพวกท่านยึดมั่นต่อสิ่งนั้น  พวกท่านจะไม่หลงทางโดยเด็ดขาด สิ่งนั้นคือ


1.   คัมภีร์ของอัลลอฮฺ(อัลกุรอาน) และ

2.   อิตเราะตี คืออะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน



สถานะหะดีษ  :   เศาะหิ๊หฺ  

ดูซอฮีฮุต-ติรมีซี  หะดีษที่ 2978    ตรวจทานโดยเชคอัลบานี
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 17, 2009, 04:37:38 หลังเที่ยง




عَنْ زَيْدِ بْنِ ثَابِتٍ قَالَ :
قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِنِّي تَارِكٌ فِيكُمْ خَلِيفَتَيْنِ كِتَابُ اللَّهِ حَبْلٌ مَمْدُودٌ مَا بَيْنَ السَّمَاءِ وَالْأَرْضِ أَوْ مَا بَيْنَ السَّمَاءِ إِلَى الْأَرْضِ وَعِتْرَتِي أَهْلُ بَيْتِي وَإِنَّهُمَا لَنْ يَتَفَرَّقَا حَتَّى يَرِدَا عَلَيَّ الْحَوْضَ



เซด บินษาบิตรายงาน :


ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ็อลฯ)กล่าวว่า : แท้จริงฉันได้มอบ  สองคอลีฟะฮ์  ไว้ในหมู่พวกท่าน


1.   คัมภีร์ของอัลลอฮ์(อัลกุรอาน)คือเชือกที่ทอดอยู่ระหว่างชั้นฟ้าและแผ่นดิน และ

2.   อิตเราะตี คืออะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน


และแท้จริงทั้งสองสิ่งจะไม่แยกจากกัน จนกว่าจะกลับมาพบฉันที่อัลเฮาฎ์(สระเกาษัร)


สถานะหะดีษ  :   เศาะหิ๊หฺ  


ดูมุสนัดอิหม่ามอะหฺมัด   หะดีษที่ 21618 ตรวจทานโดยเชคชุเอบ อัลอัรนะอูฏ
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 17, 2009, 05:00:17 หลังเที่ยง

ขอทบทวนอีกครั้งว่า   เรากำลังสนทนาอยู่ในหัวข้อเรื่อง


หะดีษ 73 ฟิรเกาะฮ์ ที่รายงานว่า ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ) กล่าวว่า



(((สิ่งที่ฉัน ยืนหยัดอยู่บนมัน และ บรรดาเศาะหาบะฮ์ของฉัน )))


คำนี้


( ( สิ่งที่ฉัน ยืนหยัดอยู่บนมัน ))


มุสลิมทั้งโลกยอมรับอยู่แล้ว ว่า แนวทางของท่านศาสดามุฮัมมัด คือแนวทางที่รอดปลอดภัยแน่นอน



ส่วนวรรคหลังที่รายงานว่า

(( และ บรรดาเศาะหาบะฮ์ของฉัน ))


อันนี้ คือปัญหา


และปัญหานี้ยัง สะท้อนออกมาให้เกิดแนวคิดของมุสลิมที่จะเลือกตาม ได้ดังนี้คือ


อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ จะเลือกตาม เศาะหาบะฮ์


อะฮ์ลุช- ชีอะฮ์ จะเลือกตาม อะฮ์ลุลบัยต์



แต่การเลือกตามเพียงอะฮ์ลุลบัยต์กลับกลายเป็น สิ่งที่ทำให้อีกฝ่าย หยิบเอามาประณามมาโดยตลอดเวลา

ซึ่งประเด้นนี้น่าคิด อินชาอัลเลาะฮ์ จะมาวิจัยกันต่อคราวหน้า.
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 21, 2009, 04:56:39 หลังเที่ยง


ในยุคที่ท่าน  อะลี  บินอบีตอลิบ  ดำรงตำแหน่ง  คอลีฟะฮ์     ประชาชนแบ่งออกเป็น   3   กลุ่มคือ


หนึ่ง   -    กลุ่มหนึ่งอยู่กับท่านคอลีฟะฮ์อะลี  และให้การสนับสนุนท่าน


สอง  -    อีกกลุ่มหนึ่งอยู่กับ มุอาวียะฮ์  


สาม  -    กลุ่มที่สาม  ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด   ทำตัวอยู่แบบเฉยๆ



ทีนี้ท่านลอง เอาหะดีษบทที่อะฮ์ลุสสุนนะฮ์  วัลญะมาอะฮ์ กล่าวว่า



มา  อ้านา อะลัยฮิ  วะอัศฮาบี   -  คือสิ่งที่ฉันอยู่บนมัน   และเศาะหาบะฮ์ของฉัน



มาใช้ในภาคปฏิบัติจริงๆ สิว่า    ท่านจะอยู่กับเศาะหาบะฮ์กลุ่มไหน    ?


หรือว่า  เศาะหาบะฮ์ทั้งสามกลุ่ม  ทำถูกต้องหมด  


ถ้าเศาะหาบะฮ์ทั้งสามกลุ่ม  ทำถูกต้องหมด     แล้วทำไมเวลาชีอะฮ์เลือกทำตามท่านอะลีกับชีอะฮ์ของท่าน


จึงต้องถูกพวกอะฮ์ลุสสุนนะฮ์   ประณาม   ?


 
 
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 21, 2009, 05:11:25 หลังเที่ยง


ที่กล่าวมาเป็นเรื่อง ความขัดแย้งระหว่างเศาะหาบะฮ์    ทางการเมือง และ  การปกครอง



ท่านลองย้อนมาพิจารณาความขัดแย้งในเรื่อง   \\\"  ฟิกฮฺ  - นิติศาสตร์อิสลาม  \\\"  บ้าง ว่า


บรรดาเศาะหาบะฮ์ มีความคิดเห็นเหมือนกันหมดทุกคนหรือ  ?



เรื่อง  \\\" อัคล๊าก -  จริศาสตร์อิสลาม \\\"


บรรดาเศาะหาบะฮ์ มีความคิดเห็นเหมือนกันหมดทุกคนหรือ  ?



เรื่อง  \\\"  ญิฮ๊าด -  การเสียสละต่อสู้ด้วยชีวิตและทรัพย์สิน เพื่ออิสลาม \\\"  


บรรดาเศาะหาบะฮ์ มีความคิดเห็นเหมือนกันหมดทุกคนหรือ  ?



ท่านจะพบว่า  

บรรดาเศาะหาบะฮ์ มีความคิดเห็นไม่เหมือนกัน  และไม่อาจรวมกันเป็นหนึ่งเดียว



ในเมื่อพวกเขาไม่เดินไปในทางเดียวกัน   ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง    อะกีดะฮ์  /  การปกครองบริหารประเทศ  /   เรื่องบทบัญญัติอิสลาม  /  

เรื่องจริยธรรม  /   เรื่องญิฮ๊าด


แล้วจะกินกับปัญญาหรือ    


ที่ท่านนบีมุฮัมมัด  (ศ)     จะสั่งประชาชาติของท่าน  ให้ปฏิบัติตามบรรดาเศาะหาบะฮ์เหล่านี้ทั้งหมด  


โดยที่ท่านนบี(ศ)ไม่ได้กำหนดเจาะจงลงไปที่เศาะกลุ่มหนึ่งหลุ่มใดเป็นการเฉพาะ  จากในหมู๋เศาะหาบะฮ์ทั้งหมด  ???
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 23, 2009, 02:37:28 หลังเที่ยง


หะดีษ  73   ฟิรเกาะฮ์   ที่อะฮ์ลุสสุนนะฮ์รายงานว่า  ทุกกลุ่มตกลงนรกยกเว้น  หนึ่ง  ฟิรเกาะฮ์  



และเขายังรายงานกลุ่มที่รอดจากนรกไว้  สามลักษณะคือ


หนึ่ง  -   อัลญะมาอะฮ์


สอง -    สะวาดุล  อะอ์ซ็อม


สาม  -   อัศฮาบ ของนบี



 ถ้าหากเราจะวิจารณ์อย่างเป็นธรรม  ก็คือ


 หะดีษเหล่านี้อาจเป็นหลักฐานสำหรับมัซฮับของท่าน  แต่ไม่ได้เป็นหลักฐานสำหรับมัซฮับอื่น   และในทางกลับกัน  ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก



ไม่ทราบว่า    หะดีษ  73   ฟิรเกาะฮ์ บทไหน  ที่ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ) กล่าวว่า  อะฮ์ลุสสุนนะฮ์  คือ  ฟิรเกาะฮ์  ที่ขึ้นสวรรค์


   

หากอะฮ์ลุสสนะฮ์  จะมีทัศนะเรื่อง   อะดาละฮ์  เศาะหาบะฮ์   ( บรรดาเศาะหาบะฮ์  ดีหมดทุกคน )  ก็เป็นสิทธิของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์


แต่อะฮ์ลุสสุนนะฮ์  ก็ไม่มีสิทธิจะไปบังคับ ฟิรเกาะฮ์อื่นให้เขาเชื่อ ตามนั้น



อะฮ์ลุสสุนนะฮ์เชื่อว่า   อะกีดะฮ์ของตนถูกต้อง   ก็เป็นสิทธิของเขาที่จะกล่าวจะเชื่อแบบนั้น


แต่ถ้ามัซฮํบอื่นๆ ก็ไม่ได้ให้การรับรองว่าอะกีดะฮ์ของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ถูกหมด  ซึ่งก็เป็นสิทธิส่วนบุคคลที่คนอื่นจะคิดเช่นนั้น



แต่ปัญหาคือ    อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ วัลญะมาอะฮ์จะใช้เผด็จประกาศว่า   ต้องเชื่อแบบนี้   ต้องตามแบบนี้





แล้วถ้ามัซฮับอื่นๆ  เขาเชื่อแบบของเขา   ทำไมอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ต้อง   ฮุก่ม  ต้องประณาม   ต้องตักฟีร



และนี่แหล่ะที่เรา  พยายามบอกท่านผู้อ่านทั้งหลายว่า


พวกเขามีทัศนะแคบ   และเผด็จการ    

 

   
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 23, 2009, 03:37:52 หลังเที่ยง


เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ท่านผู้อ่านในเรื่องอะกีดะฮ์และฟิกฮ์ของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์  


ที่มัซฮับอื่นๆเขามีความเห็นไม่ตรงกับอะฮ์ลุสสุนนะฮ์เช่น



เรื่องอะกีดะฮ์



อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ถือว่า


วายิบจะต้องตออะฮ์  ( เชื่อฟัง ) ต่อฮากิม ( ผู้ปกครอง ) ที่เป็นคนกดขี่หรือคนอธรรมต่อผู้อื่น   และถือว่าฮากิมเหล่านั้นคือ อิหม่ามของพวกเขา

อนุญาติ ให้มุสลิมทำญิฮ๊าด ภายใต้การนำของผู้ปกครองซอเล็ม


ต้องส่งมอบซะกาตทรัพย์สินให้กับผู้ปกครองซอเล็ม


ต้องไปประกอบพิธีหัจญ์ภายใต้การนำหัจญ์ของผู้ปกครองอธรรม




เรื่องฟิกฮฺ  ( ศาสนบัญญัติ )



อะฮ์ลุสสุนนะฮ์อนุญาติ ให้ทำวุฎุอ์กับนะบีซ(เบียร์) ได้

อนุญาติ ให้นมาซย่อได้ในการเดินทางไปทำสิ่งที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติอิสลาม

อนุญาตทำวุฎุอ์ โดยมะซะห์ (เช็ด ) บนรองเท้าหุ้มข้อได้  โดยไม่ต้องสัมผัสกับหลังฝ่าเท้า

อนุญาติ ให้ผู้ครองผ้าอิหฺรอม ออกล่าสัตว์ได้

อนุญาตให้สามีหย่าภรรยาขณะมีประจำเดือนได้

ถือว่า น้ำมะนี  - น้ำอสุจิ  นั้นสะอาด ไม่นะยิส

อนุญาตให้ขายสุราแก่มุสลิมได้ เพราะกาเฟรซิมมีได้มอบหมายหน้าที่ไว้กับเขาในการขาย

การอิ๊อฺติกาฟของมุรตัดนั้นจะไม่บาเต้ล หลังจากเขาตกมุรตัดแล้ว

การหย่า(เตาะล๊าก)ของคนที่ถูกบังคับให้หย่านั้นเกิดขึ้นจริง

อนุญาติให้นมาซตามหลังคนฟาญิร(ทำชั่ว ทำบาป)

อนุญาติให้สตรีรีดน้ำนมให้ชายบาเล็ฆที่ไม่ใช่ญาติพี่น้องดื่ม เพื่อจะได้เกี่ยวดองเป็นญาติทางการดื่มนมได้

อนุญาติให้นมาซบนแผ่นดินที่ได้มาโดยมิชอบธรรมทางชัรอีย์ได้



เรื่องฟิกฮ์ที่อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ห้าม


ห้ามนมาซ(เช่นซุฮ์ริกับอัศริ)รวมกันในยามปกติ (คือไม่ได้อยู่ในการเดินทาง)

ห้ามสตรีไปทำหัจญ์โดยปราศจากญาติมุห์ริม หรือไม่ได้รับอนาติจากสามี

ห้ามรับมรดกจากนบีมุฮัมมัด (ศ) เพราะมรดกนบีถือเป็นเศาะดะเกาะฮ์ทั้งหมด

ยกเลิกเรื่องการจ่ายคุมส์ในทรัพย์สิน หลังจากท่านรอซูล(ศ)วะฟาต

ห้ามนิก๊ะฮ์มุตอะฮ์

ฮัด(กางลงโทษ)มิได้ตกไปกับการเตาบะฮ์สำนึกในความผิด

ห้ามเตรียมพาหนะในการเดินทางไปยังมัสญิดต่างๆ

ห้ามปลุกระดมประชาชนลุกฮือขึ้นต่อสู้กับผู้ปกครองตอฆูตหรือกดขี่ชั่วช้า

ห้ามอ่านตำรับตำรามุคอลิฟีน คือผู้ที่มีความเชื่อไม่ตรงกับอะฮ์ลุสสุนนะฮ์

ห้ามนำคนละทิ้งนมาซไปฝังไว้ในสุสานของมุสลิม

ห้ามนิก๊ะห์กับมุคอลิฟีน คือผู้ที่มีความเชื่อไม่ตรงกับอะฮ์ลุสสุนนะฮ์

ห้ามเข้าไปพูดไปวิจารณ์เรื่องของเศาะหาบะฮ์




เราสามารถสรุปได้ว่า  


ตัวอย่างอะกีดะฮ์และฟิกฮ์ทั้งหมดนี้ เป็นการปิดประตูทางสติปัญญาโลกมุสลิมไว้ตั้งแต่ต้น


โดยเป้าหมายเพื่อต้องการเบนประชาชาติอิสลามให้ละเลยสิทธิของอะฮ์ลุลบัยต์นบีนั่นเอง.
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 31, 2009, 02:28:18 หลังเที่ยง


แม้ว่าท่านศาสดาแห่งอิสลามจะประกาศชัดว่า  การปฏิบัติตาม  กิตาบ และ  อะฮ์ลุลบัยต์  


คือสิ่งที่ท่านมุ่งหวังให้อุมมะตุลอิสลามดำเนินตาม    แต่อุมมะฮ์ของท่านส่วนหนึ่งก็พยายามสร้างข้อมูลลบเลือนวะซียัตนี้มาโดยตลอดเช่น




หะดีษ  ฏออิฟะฮ์  มันศูเราะฮ์


เวลาต่อมาอะฮ์ลุสุสนะฮ์เริ่มนำหะดีษรูปแบบใหม่ มาใช้สนับสนุนเสริมบารมีของพวกเขา  ซึ่งถือว่าเป็นหะดีษที่เหนือยิ่งกว่าหะดีษ   الفرقة الناجية -กลุ่มที่รอด  -  ฟิรเกาะฮ์  นาญียะฮ์  เสียอีก   นั่นคือ  หะดีษ  الطائفة المنصورة - กลุ่มที่ได้รับความช่วยเหลือ -  ฏออิฟะฮ์  มันศูเราะฮ์

ซึ่งดูเหมือนว่าพวกเขาต้องการที่โปรโมทกับชาวโลกว่า  พวกฉันคือกลุ่มชนที่ได้รับความช่วยเหลือ   สรุปคือ  พวกเขาประสบความสำเร็จทั้งดุนยาและอาคิเราะฮ์คู่กันไปเลยว่างั้น

แนวคิดที่ว่าพวกเขาคือ   กลุ่มที่ได้รับความช่วยเหลือ -  ฏออิฟะฮ์  มันศูเราะฮ์  นับได้ว่าหะดีษประเภทนี้  ใช้ได้ผลเป็นอย่างมากในทางการเมืองของพวกเขา

ตัวอย่างหะดีษตออิฟะฮ์มันซูเราะฮ์เช่น

มุฆีเราะฮ์เล่าว่า

لاَ يَزَالُ نَاسٌ مِنْ أُمَّتِى ظَاهِرِينَ حَتَّى يَأْتِيَهُمْ أَمْرُ اللَّهِ وَهُمْ ظَاهِرُونَ

ท่านนบี(ศ)กล่าวว่า   :  มนุษย์ส่วนหนึ่งจากอุมมะฮ์ของฉัน ยังคงเป็นพวกซอฮิรีน  จนกว่า  อัมรุลเลาะฮ์(วันสิ้นโลก)  จะมาถึงพวกเขา  ในขณะที่พวกเขาคือพวกซอฮิรีน (จะแปลคำนี้ในภายหลัง)

ดูเศาะหิ๊หฺบุคอรี  หะดีษที่  3640

มุอาวียะฮ์รายงานว่า

لاَ يَزَالُ مِنْ أُمَّتِى أُمَّةٌ قَائِمَةٌ بِأَمْرِ اللَّهِ ، لاَ يَضُرُّهُمْ مَنْ خَذَلَهُمْ وَلاَ مَنْ خَالَفَهُمْ حَتَّى يَأْتِيَهُمْ أَمْرُ اللَّهِ وَهُمْ عَلَى ذَلِكَ » . قَالَ عُمَيْرٌ فَقَالَ مَالِكُ بْنُ يُخَامِرَ قَالَ مُعَاذٌ وَهُمْ بِالشَّأْمِ . فَقَالَ مُعَاوِيَةُ هَذَا مَالِكٌ يَزْعُمُ أَنَّهُ سَمِعَ مُعَاذًا يَقُولُ وَهُمْ بِالشَّامِ .

ท่านนบี(ศ)กล่าวว่า   :    ประชาชาติส่วนหนึ่งจากอุมมะฮ์ของฉัน ยังคงเป็นผู้ดำรงอยู่ตามพระบัญชาของอัลเลาะฮ์   จะไม่เป็นอันตรายต่อพวกเขา ผู้ที่ละทิ้งพวกเขาและผู้ที่ขัดแย้งกับพวกเขา    จนกว่าอัมรุลเลาะฮ์(วันสิ้นโลก)จะมาถึงพวกเขา  และพวกเขาจะตั้งอยู่บนสภาพนั้น
อุมัยรุนกล่าวว่า  แล้วมาลิก บินยุคอมิรกล่าวว่า  มุอ๊าซกล่าวว่า  และพวกเขาอยู่ที่เมืองช่าม
มุอาวียะฮ์จึงกล่าวว่า  มาลิกผู้นี้อ้างว่าเขาได้ยินมุอาซกล่าวว่า และพวกเขาอยู่ที่เมืองช่าม

เศาะหิ๊หฺบุคอรี  หะดีษที่  3641,7460

จากนั้นหะดีษทำนองนี้ได้ทยอยตามมาสมทบอีก  เษาบานเล่าว่า

لاَ تَزَالُ طَائِفَةٌ مِنْ أُمَّتِى ظَاهِرِينَ عَلَى الْحَقِّ لاَ يَضُرُّهُمْ مَنْ خَذَلَهُمْ حَتَّى يَأْتِىَ أَمْرُ اللَّهِ وَهُمْ كَذَلِكَ

ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า  คนกลุ่มหนึ่งจากอุมมะฮ์ของฉัน ยังคงเป็นพวกซอฮิรีนอยู่บนสัจธรรม  จะไม่เป็นอันตรายต่อพวกเขา ผู้ที่ทอดทิ้งพวกเขา  จนกว่าบัญชาของอัลเลาะฮ์จะมาถึงพวกเขา และพวกเขาจะอยู่ในสภาพเช่นนั้น

เศาะหิ๊หฺมุสลิม  หะดีษที่  5059

สะอัดบินอบีวักกอศเล่าว่า

لاَ يَزَالُ أَهْلُ الْغَرْبِ ظَاهِرِينَ عَلَى الْحَقِّ حَتَّى تَقُومَ السَّاعَةُ

ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า  อะฮ์ลุลมัฆริบ(ชาวที่อยู่ทางทิศตะวันตก)จะยังคงพวกซอฮิรีน บนสัจธรรม จนกว่าวันอวสานจะมาถึง

เศาะหิ๊หฺมุสลิม  หะดีษที่  5067

มุอาวียะฮ์เล่าว่า

لَا تَزَالُ طَائِفَةٌ مِنْ أُمَّتِي عَلَى الْحَقِّ ظَاهِرِينَ وَإِنِّي لَأَرْجُو أَنْ تَكُونُوا هُمْ يَا أَهْلَ الشَّامِ

ท่านรอซูล(ศ)กล่าวว่า  คนกลุ่มหนึ่งจากอุมมะฮ์ของฉัน ยังคงอยู่บนสัจธรรม คือพวก " ซอฮิรีน "     และฉันหวังว่า คงจะเป็นพวกท่าน พวกเขา(ในที่นี้) โอ้ชาวเมืองช่าม

มุสนัดอะหมัด  หะดีษที่ 18487

กุรเราะฮ์ บินอิยาศ อัลมิซนีเล่าว่า

إِذَا فَسَدَ أَهْلُ الشَّامِ فَلاَ خَيْرَ فِيكُمْ لاَ تَزَالُ طَائِفَةٌ مِنْ أُمَّتِى مَنْصُورِينَ لاَ يَضُرُّهُمْ مَنْ خَذَلَهُمْ حَتَّى تَقُومَ السَّاعَةُ

ท่านรอซูล(ศ)กล่าวว่า  เมื่อชาวเมืองช่ามเสียหาย ดังนั้นจะไม่มีความดีใดในหมู่พวกท่าน   คนกลุ่มหนึ่งจากอุมมะฮ์ของฉันจะยังคงเป็น " พวกที่ได้รับความช่วยเหลือ "  ( มันศูรูน )  จะไม่เป็นอันตรายใดต่อพวกเขา ผู้ที่ทอดทิ้งพวกเขา จนกระทั่งวันอวสานมาถึง  

สุนัน ติรมิซี  หะดีษที่ 2351

ซอฮิรีน  ในหะดีษข้างต้น หมายถึง   " อะฮ์ลุลหะดีษ "
ตามที่นักวิชาการอะฮ์ลุสสุนนะฮ์อธิบายไว้เช่น

قال عبد الله بن المبارك: هم عندي أصحاب الحديث

อับดุลลอฮ์ บินอัลมุบาร็อกกล่าวว่า   พวกเขา(ซอฮิรีน)ในทัศนะของฉันหมายถึง  " อัศฮาบุลหะดีษ "

قال يزيد بن هارون: إن لم يكونوا أصحاب الحديث فلا أدري من هم؟

ยะซีด บินฮารูนกล่าวว่า  หากไม่ใช่อัศอาบุลหะดีษ  ฉันก็ไม่รู้ว่า ใครคือพวกเขา(ซอฮิรีน)ได้อีก ?

وقال المديني: هم أصحاب الحديث
อัลมะดีนีกล่าวว่า  พวกเขาคือ  อัศฮาบุลหะดีษ

وقال أحمد بن سنان: هم أهل العلم وأصحاب الأثر

อะหมัด บินสินานกล่าวว่า  พวกเขาคือ อะฮ์ลุลอิลมิ และอัศฮาบุลอะษัร

وقال البخاري: لا تزال طائفة من أمتي... يعني أصحاب الحديث
อัลบุคอรีกล่าวว่า
มนุษย์ส่วนหนึ่งจากอุมมะฮ์ของฉัน ยังคงเป็นพวกซอฮิรีน  คืออัศฮาบุลหะดีษ  ดูเศาะหิ๊หฺบุคอรี เล่ม 8  : 149  


ท่านจะสังเกตได้ว่า หะดีษทำนองนี้มาจากมุอาวียะฮ์ บินอบีสุฟยานและพวกเมืองช่ามเป็นคนรายงานทั้งสิ้น  และพวกช่ามพยายามตะอ์วีล ตีความหมายหะดีษเหล่านี้ให้แปลว่าคือ " ชาวเมืองช่าม " ( ซีเรีย ) อันเป็นเมืองที่มุอาวียะฮ์และราชวงศ์อุมัยยะฮ์ปกครอง  

หะดีษเหล่านี้ปรากฏออกมาในยุคราชวงศ์มุอาวียะฮ์ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนที่ให้การสนับสนุนช่วยเหลือเขาต่อต้านท่านคอลีฟะฮ์อะลีและชาวเมืองกูฟะฮ์ ในสมัยนั้น  กล่าวคือ

มุอาวียะฮ์และพวกเขาคือ  ฏออิฟะฮ์  มันศูเราะฮ์ - الطائفة المنصورة – กลุ่มที่ได้รับความช่วยเหลือ

ดีนะที่หะดีษเหล่านี้ปรากฏขึ้นในช่วงที่ราชวงศ์อุมัยยะฮ์ปกครอง  ถ้าหากหะดีษเหล่านี้ไปปรากฏในยุคที่ราชวงศ์อับบาซียะฮ์เรืองอำนาจ  อุละมาอ์อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ก็คงตีความคำว่า  ฏออิฟะฮ์  มันศูเราะฮ์  ( กลุ่มที่ได้รับความช่วยเหลือ ) ในที่นี้เป็นเมือง " แบกแดด "  แน่เลย

ถ้าจะกำกับความหมายคำ " ฏออิฟะฮ์  มันศูเราะฮ์  ( กลุ่มที่ได้รับความช่วยเหลือ ) ว่าหมายถึง   " อะฮ์ลุลหะดีษ " เท่านั้นตามประวัติศาสตร์อิสลามคำ  " อะฮ์ลุลหะดีษ "  ก็ปรากฏขึ้นในยุคอับบาซียะฮ์ ซึ่งคำนี้ไม่มีปรากฏในยุคราชวงศ์อุมัยยะฮ์
เพราะฉะนั้นหะดีษเหล่านี้จึงจะตีความเป้นชาวเมืองช่ามไปไม่ได้

เราสามารถวิเคราะห์ได้ว่า  
หะดีษเหล่านี้เป็นหะดีษการเมือง ( ซียาซี่ )ที่ประสบความสำเร็จ เพราะจะไม่มีใครกล้าแตะสายรายงาน(สะนัด)หะดีษเหล่านี้เลย  โดยเฉพาะเมื่อถูกบันทึกอยู่ในตำราเศาะหิ๊หฺบุคอรีและมุสลิม และมีนักรายงานชื่อมุฆีเราะฮ์บินชุอ์บะฮ์,มาลิกบินยุคอมิรและอบูฮุร็อยเราะฮ์ที่ร่วมกันอุปโลกน์หะดีษเหล่านี้มาเพื่อช่วยเหลือมุอาวียะฮ์และพวกโดยเฉพาะ

แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม

ทั้งหะดีษ" ฟิรเกาะฮ์นาญียะฮ์ " และหะดีษ " ฏออิฟะฮ์มันศูเราะฮ์ " ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อปกป้องมัซฮับอะฮ์ลุสสุนนะฮ์เองทั้งสิ้น  

เพราะพวกเขาได้อธิบายว่า  ความหมายหะดีษทั้งสองบทนั้นคือ  

พวกซุนนี่  หรือเรียกอย่างทางการว่า  อะฮ์ลุสสุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์


ซึ่งนั่นคืออุปนิสัยปกติของพวกเขาอยู่แล้วที่ชอบอ้างว่า ตนถูกและคนอื่นผิด



เพราะ "  ชีอะฮ์ "


คือคู่ปรับที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับอะฮ์ลุสสนะฮ์ตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาในอดีตจนปัจจุบัน  

อุละมาอ์สุหนี่จึงต้องใช้หะดีษเหล่านี้เป็นอาวุธปกป้องตัวเอง โดยมีผู้ปกครองรัฐในยุคนั้นให้การอุปถัมภ์พวกเขามาโดยตลอด.
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ สิงหาคม 10, 2009, 01:15:48 หลังเที่ยง

เพื่อทำให้เรื่องนี้แนบเนียนยิ่งขึ้น บางครั้งชาวอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ถึงกับกล้ามุสาใส่ท่านคอลีฟะฮ์อะลีว่า ท่านอะลีได้กล่าวหะดีษตำหนิชีอะฮ์ของท่าน

เพื่อพวกเขาจะได้เอามาเป็นหลักฐานสร้างความมั่นใจให้พวกพ้องของพวกเขาเอง

ทั้งๆที่หะดีษเหล่านี้มีความขัดแย้งและสับสน และเป็นหะดีษที่มิได้ถูกบันทึกอยู่ในตำราซิฮ๊าฮฺหรือมะซานีดที่เชื่อถือได้ของพวกเขา  

แต่ผู้ปกครองรัฐและอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ในสมัยก่อนมีอำนาจอยู่ในมือ พวกเขาจึงใช้หะดีษเก๊เหล่านั้นมาใช้อ้างอิงเพื่อให้ประชาชนเพื่อประณามชีอะฮ์

และนี่คือพฤติกรรมที่พวกวาฮาบีกำลังนำมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน.
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ สิงหาคม 10, 2009, 03:04:48 หลังเที่ยง


กลุ่มซุนนี่ต่างๆในอดีต (ฟิร็อก มาฎี – فرق الماضي )



นับได้ว่าการที่เศาะหาบะฮ์ทั้งหลายได้แยกย้ายไปอาศัยอยู่ตามหัวเมืองต่างๆหลังจากท่านรอซูล(ศ)วะฟาตแล้วนั้นคือ สาเหตุโดยตรงในการปรากฏกลุ่ม (ฟิรเกาะฮ์)ต่างๆขึ้นในสังคมมุสลิม

เศาะหาบะฮ์แต่ละคนต่างรายงานหะดีษและซุนนะฮ์นบีแตกต่างไปจากเศาะหาบะฮ์คนอื่น    

เนื่องจากบรรดาเศาะหาบะฮ์มิได้ใช้ชีวิตอยู่กับท่านรอซูล(ศ)เป็นประจำทุกวัน  พวกเขาแต่ละคนจะได้พบเจอท่านตามวาระเวลาที่ไม่แน่นอน จึงทำให้เศาะหาบะฮ์แต่ละคนได้รับการถ่ายทอดความรู้แตกต่างกันไป

ฉะนั้นแต่ละเมืองที่เศาะหาบะฮ์ไปอยู่ จึงปรากฏกลุ่มแนวคิดอิสลามบนพื้นฐานของหะดีษและซุนนะฮ์ที่เศาะหาบะฮ์เป็นผู้ถ่ายทอดให้ยึดถือเป็นอะกีดะฮ์อิสลาม ประชาชนแต่ละหัวเมืองจึงมีความรู้อิสลามผิดแผกแตกต่างกันไปจากเมืองอื่นๆนั่นเอง


เมื่อท่านนบี(ศ)วะฟาต  จะเห็นได้ว่ามุสลิมแตกออกเป็นสองกลุ่มชัดๆคือ

1.   กลุ่มที่ยอมมอบบัยอะฮ์ให้ท่านอบูบักรเป็นคอลีฟะฮ์  ซึ่งตอนนั้นคนกลุ่มนี้ยังไม่มีชื่อเรียก

2.   อีกกลุ่มหนึ่งไม่ยอมรับท่านอบูบักรเป็นคอลีฟะฮ์  แต่ถือว่าท่านอะลีคือคอลีฟะฮ์ที่ถูกต้อง  คนกลุ่มนี้มีชื่อว่า  " ชีอะฮ์ อะลี "



ต่อจากนั้นได้ปรากฏกลุ่ม" ค่อวาริจญ์ "


และตามมาด้วยกลุ่ม  " มุอ์ตะซิละฮ์ "


ยุคที่ราชวงศ์อุมัยยะฮ์ปกครอง ปรากฏกลุ่มต่างๆดังต่อไปนี้

1.   บะเศาะรียะฮ์

2.   ฮานาฟียะฮ์

3.   มาลิกียะฮ์

4.   เอาซาอียะฮ์



ยุคที่ราชวงศ์อับบาซียะฮ์ปกครอง ปรากฏกลุ่มต่างๆดังต่อไปนี้

1.   ชาฟีอียะฮ์

2.   ซอฮิรียะฮ์

3.   อะชาอิเราะฮ์

4.   มาตูรีดียะฮ์


หลังจากยุคการปกครองของสองราชวงศ์นี้  กลุ่มของซุนนี่ยังได้ปรากฏขึ้นที่อันดาลุส  (สเปน) คือ กลุ่มหัซมียะฮ์

และกลุ่มอิบนุตัยมียะฮ์   ที่เมืองช่าม ซึ่งปรากฏในยุคการปกครองของพวกมัมลูกี
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ สิงหาคม 10, 2009, 03:10:28 หลังเที่ยง


ชีวประวัติกลุ่มของชาวซุนนี่ ในอดีต  


ความแตกแยกของพวกซุนนี่ในอดีตแบ่งออกเป็น 2  กลุ่มดังนี้คือ


1.   กลุ่มทางฟิกฮ์ และอะกีดะฮ์ (فرق الفقة والعقائد)

2.   กลุ่มทางรุว๊าต (การรายงานหะดีษ – فرق الرواة)
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ สิงหาคม 13, 2009, 05:31:39 หลังเที่ยง

อัลบะเศาะรียะฮ์  (البصرية )


ฮาซัน อัลบัศรี่  เกิดฮ.ศ. 21 มรณะ110รวมอายุ 89 ปี


           ฮาซัน อัลบัศรี่  ได้ยึดมัสญิดบัศเราะฮ์เป็นที่สอนหนังสือสำหรับเขา ในรูปแบบนั่งล้อมวงเรียน  โดยเขาได้ทำการตักเตือน  

สอนหิกมะฮ์ต่างๆ  ให้คำแนะนำ  ติลาวะฮ์กุรอ่าน  สอนเรื่องความสมถะ  อัคล๊าก(จรรยามารยาท)   และเขาได้ตำหนิการฝักใฝ่กิจการทางโลก
เขาสอนผู้คนให้ห่างไกลการเมืองการปกครอง   และออกห่างจากการตัดสินด้วยวิธีตรรกะและปรัชญา


ฮาซันบัศรี่ได้กระตุ้นให้ประชาชนอย่าเข้าไปข้องเกี่ยวกับการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์  และเรื่องสิทธิของอะฮ์ลุลบัยต์นบีที่ถูกละเมิดจากฝ่ายปกครองรัฐ


วันหนึ่งมีศิษย์ของเขาคนหนึ่งได้ไต่ถามเขาถึงฮุก่มของคนทำบาปใหญ่ว่า  บุคคลนั้นคือ  มุอ์มิน หรือ กาเฟ็ร ?

วาศิล  บินอะฏออ์ลูกศิษย์คนหนึ่งของฮาซันบัศรี่ได้ชิงตอบก่อนอาจารย์ว่า

صاحب الكبيرة في منزلة بين المنزلتين، أي بين الإيمان والكفر.

คนทำบาปใหญ่นั้นอยู่ในฐานะภาพระหว่างสองสถานะคือ ระหว่างอีหม่านกับกุโฟ้ร

ส่วนคำตอบของฮาซันบัศรี่ในเรื่องนี้ เขาถือว่า บุคคลใดทำบาปใหญ่คือ คนมุนาฟิก

ฮาซันบัศรี่ได้ให้คำตอบในเชิงปฏิเสธ เพราะเป้าหมายของผู้ถามเรื่องคนทำบาปใหญ่ในที่นี้นั้น มุ่งไปที่พวกนักปกครองแห่งราชวงศ์อุมัยยะฮ์


แนวคิดของฮาซัน อัลบัศรี่


1.   เชิญชวนให้ผู้คนมีความสมถะและอดทนต่อสิ่งที่ไม่พึงปรารานาต่างๆ

2.   ประนีประนอมอย่างสันติกับบรรดาผู้ปกครอง

3.   เผยแผ่วิชาความรู้ท่ามกลางหมู่มุสลิม

แนวคิดและกลุ่มของฮาซันบัศรี่ ตาบิอีผู้นี้ ไม่ค่อยเป็นที่นิยมแพร่หลายมากนักในหมู่อะฮ์ลุสสุนนะฮ์จึงค่อยๆจางหายไป  และก็ออกมาปรากฏขึ้นอีกในภายหลัง
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ สิงหาคม 14, 2009, 11:43:07 ก่อนเที่ยง


อัลอะห์น๊าฟ (الأحناف) หรือมัซฮับฮะนะฟี


อิมามอบูหะนีฟะฮฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ (ผู้ก่อตั้งมัซฮับหะนะฟี)

ชื่อเต็ม : อันนุอฺมาน บิน ษาบิต บิน ซูฏีย์

เกิด ฮ.ศ.80 (ค.ศ.699) ที่เมืองกูฟะฮฺ Kufa (ประเทศอิรัก)

เสียชีวิต ฮ.ศ.150 (ค.ศ.767) ที่เมืองบัฆดาด Baghdad (แบกแดด) ประเทศอิรัก

รวมอายุ  70  ปี


แนวคิดของซุนนี่กลุ่มนี้ตั้งอยู่บน

1.   กิตาบ
2.   ซุนนะฮ์
3.   อิจญ์ติฮ๊าด
4.   อัลเราะอ์ยุ (การใช้ความคิดเห็น )


ข้อแตกต่างของมัซฮับฮะนะฟีที่แตกต่างไปจากซุนนี่กลุ่มอื่นๆมีสังเขปดังนี้

1.   กิรออะฮ์ช๊าษ(การอ่านกุรอ่านที่ค้าน)กับสายรายงานอื่น ใช้เป้นหลักฐานอ้างอิงได้
2.   อนุญาติให้อ่านในนมาซ อื่นจากภาษาอาหรับได้
3.   สงสัยในหะดีษชนิดอาฮ๊าด
4.   อนุญาติให้เอาค่าจ้างต่อการสอนคัมภีร์กุรอ่านและการอะซานได้
5.   การนมาซญุมอะฮ์ในมัสญิดญามิ๊อฺในเมืองๆหนึ่งที่มีมากกว่าหนึ่งแห่ง ถือว่าถูกต้อง
6.   อนุญาตให้ทำวุฎุอ์กับนะบีซ(เบียร์)ได้
7.   ไม่อนุญาตให้คนมีญุนุบเดินผ่านไปในมัสญิดต่างๆ
8.   อนุญาตให้พวกมุชริกเข้ามาในมัสญิดต่างๆได้
9.   อนุญาติให้จ่ายซะกาตฟิตเราะฮ์และกัฟฟาเราะฮ์กับพวกยะฮู๊ดและนะซอรอได้
10.   อีหม่านความศรัทธานั้นจะไม่เพิ่มขึ้นหรือลดลง
11.   คนที่ถูกบังคับให้หย่า ถือว่าการหย่านั้นเกิดขึ้นจริง และอนุญาติ
12.   ทารกที่ดื่มน้ำนมร่วมกับทารกอื่นแม้เพียงหนึ่งหยด ทั้งสองหะร่ามที่จะสมรสกัน
13.   อนุญาติให้มุสลิมสังหารคนกาเฟ็รได้
14.   อนุญาติให้สตรีดำรงตำแหน่งหน้าที่ผู้พิพากษาได้

เหล่านี้คือแนวคิดของมัซฮับฮะนะฟีที่อะฮ์ลุสสุนนะฮ์กลุ่มอื่นมีความเห็นไม่ตรงกับพวกเขา


มัซฮับฮะนะฟีนับได้ว่าเป็นกลุ่มแรกๆที่ปรากฏตัวในแวดวงของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ ซึ่งในช่วงนั้นยังไม่ค่อยมีซุนนี่กลุ่มอื่นๆมาแข่งขันกับพวกเขา จึงทำให้คนกลุ่มนี้สามารถแพร่แนวคิดของตัวเองไปได้อย่างกว้างขวาง และกลายเป็นมัซฮับใหญ่มัซฮับหนึ่งของชาวซุนนี่

อิทธิพลของมัซฮับฮะนะฟีได้แพร่ขยายเข้าไปยังบ้านเมืองทางฝั่งตะวันออกทั้งหมด เริ่มจากที่ประเทศอิรัก  ตุรกี จนถึงเมืองจีน  


สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะพวกผู้ปกครองแห่งอาณาจักรออตโตมาน(อุษมานียะฮ์)มีความเลื่อมใสศรัทธาและปฏิบัติตามมัซฮับนี้ มันจึงกลายเป็นมัซฮับทางการ  และยังขยายตัวเข้าสู่เมืองช่าม(ซีเรีย)และมิศรี่(อียิปต์)อีกด้วย

ซึ่งทั้งสองประเทศนี้(คือซีเรียและอียิปต์) ถือได้ว่ามีอิทธิพลทำให้มัซฮับฮะนะฟีดำรงคงอยู่มาจนถึงวันนี้ได้นั่นเอง.
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ สิงหาคม 14, 2009, 12:02:14 หลังเที่ยง

ตำราอันโด่งดังที่สุดของอบูหะนีฟะฮ์ที่แต่งไว้เกี่ยวกับเรื่องอะกีดะฮ์คือ  กิตาบ  " อัลฟิกฮุลอักบัร - كتاب الفقه الأكبر "  

เป็นหนังสือที่นำเสนอเรื่องดังต่อไปนี้

التوحيد والإيمان والقضاء والقدر وصفات الله وأفعال العباد والنبوة وعصمة الأنبياء وكرامات الأولياء والشفاعة والجنة والنار وعذاب القبر والخلفاء الأربعة: أبو بكر وعمر وعثمان وعلي وعلامات الساعة.

เตาฮีด, อีหม่าน, เกาะฎอเกาะดัร, ซิฟาตุลลอฮฺ, อัฟอ้าลของปวงบ่าว, นุบูวะฮฺ , อิศมะตุลอันบิยาอฺ, กะรอม๊าตของเอาลิยาอฺ, ชะฟาอะฮฺ , ญันนะฮ์ ,

น้าร, กุโบร์ , บรรดาคุละฟาอฺทั้งสี่คือ อบูบักร อุมัร อุษมาน อะลี และอะลาม๊าตะวันสิ้นโลก


เรื่องเหล่านี้ที่บรรจุอยู่ในหนังสือฟิกฮุลอักบัร คือประเด็นขัดแย้งท่ามกลางหมู่ชาวอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ด้วยกัน  และคือพื้นฐานหลักที่เกิดแนวคิดแตกแยก

กันเอง ที่ต่างฝ่ายต่างมีจุดยืนเป็นของตัวเองโดยเฉพาะ
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ สิงหาคม 14, 2009, 05:06:04 หลังเที่ยง


นักวิชาการที่โด่งดังของมัซฮับหะนะฟี :
 
زُفَر بْن الْهُذَيْلِ التميمي
ซุฟัร บินอัลฮุซัยลฺ อัตตะมีมี

อุละมาอ์สาขาหะดีษมีความเชื่อถือเขา และเขาเป็นหนึ่งจากอัศฮาบหะดีษ  เขาไปมาหาสู่อยู่ในมัจญ์ลิสอบูหะนีฟะฮฺเป็นประจำ  นับว่าเขาคือผู้ตามมัซฮับหะนะฟีที่มีชื่อเสียงที่สุดและมีความรู้เรื่องฟิกฮฺมากที่สุด  

سُفْيَان الثَّوْرِيّ
สุฟยาน อัษ-เษารี

ฉายาหัวหน้ามุอฺมินีนในเรื่องหะดีษ ได้รับความน่าเชื่อถือจากอุละมาอ์หะดีษ  เขาได้รวมระหว่างฟิก์กับหะดีษ ความสมถะและวะเราะฮ์เข้าไว้ด้วยกัน

عَبْد اللَّه بْن يَزِيد الْمُقْرِي
อับดุลลอฮฺ บินยะซีด อัลมุกรี

หนึ่งจากริญาลุลหะดดีษที่น่าเชื่อถือ  เขารายงานจากอิบนุ หัมบัล ,อัลบุคอรีและคนอื่นๆ

مُحَمَّد بْن الْحَسَن الشَّيْبَانِيُّ
มุฮัมมัด บินฮาซัน อัชชัยบานี

เจ้าของกุตุบอัลฟิรเกาะฮ์  ดำรงตำแหน่งกอฎีในสมัยฮารูนรอชีด เขาแต่งตำราไว้มากมาย

وَكِيعُ بْنُ الْجَرَّاحِ
วะกี๊อฺ บินอัลญัรร๊อหฺ

เป็นมุหัดดิษชาวอิรัก หนึ่งในผู้ทรงความรู้  เจ้าของตำราสุนันรายงานหะดีษจากเขา อิม่ามชาฟิอีคือลูกศิษย์ของเขาคนหนึ่ง

عَبْدُ اللَّهِ بْنُ الْمُبَارَكِ
อับดุลลอฮฺ บินอัลมุบาร็อก

มีชื่อเสียงมาก เขารวบรวมวิชาความรู้ต่างๆมากมายหลากหลายศาสตร์ มีนักรายงานหะดีษมากมายรายงานจากเขา

يَعْقُوبُ بْنُ إِبْرَاهِيمَ الْأَنْصَارِيِّ
ยะอ์กู๊บ บินอิบรอฮีม อัลอันศอรี

คือ กอฎี อบูยูสุฟ เป็นอะห์นาฟที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง  ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาในสมัยอัลมะฮ์ดี  อัลฮาดี และฮารูนรอชีด

يَزِيدُ بْنُ هَارُونَ
ยะซีด บินฮารูน

คือนักฮาฟิซกุรอ่านคนหนึ่ง อิบนุหัมบัลและบุคคลอื่นรายงานหะดีษจากเขา



ยังมีนักวิชาการคนอื่นๆที่สังกัดอยู่ในมัซฮับนี้ที่ไม่ได้กล่าวชื่ออีกมาก
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ สิงหาคม 17, 2009, 05:33:34 หลังเที่ยง


อัลเอาซาอี ( الأوزاعية )

ผู้ก่อตั้งมัซฮับนี้ชื่อ " อับดุลเราะหฺมาน บินอัมรู อัลเอาซาอี "  

เกิดฮ.ศ. 88  มรณะ 157  รวมอายุ 69   ปี

อัลเอาซ๊าอฺ คือสถานที่แห่งหนึ่งอยู่ที่เมืองดามัสกัส ประเทศซีเรีย

ฉายา  อิหม่ามแห่งเมืองช่าม  และ มุหัดดิษแห่งราชสำนักอุมะวีย์


ในศตวรรษที่สองร้อยแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช ชื่อเสียงของอัลเอาซาอี โด่งดังขึ้นที่ซีเรีย  ซึ่งเป็นสมัยของตาบิอีน  

เขารายงานหะดีษจาก อะฏออ์ บินเราะบ๊าหฺ   มักฮู้ล  อัซซุฮ์รี  มุฮัมมัด บินซีรีน  นาฟิ๊อฺ เมาลาของอิบนิอุมัร และคนอื่นๆ

อัลเอาซาอี สามารถสร้างมัซฮับของเขาเองได้สำเร็จ และแพร่หลายอยู่ที่ซีเรีย อันดาลุส(สเปน) จากนั้นประชาชนก็ค่อยๆละทิ้งจนสูญหายไปในที่สุด  


แนวคิดและอะกีดะฮฺของกลุ่มอัลเอาซาอี มีดังต่อไปนี้


1.   อัลลอฮฺ ตะอาลาทรงนั่งอยู่บนบัลลังค์ของพระองค์

2.   ต้องมีอีหม่านต่อบรรดาคุณลักษณะของอัลลอฮฺตามที่มีรายงานไว้ในหะดีษ

3.   ความรู้ต้องได้รับมาจากเศาะหาบะฮ์นบีเท่านั้น

4.   ยึดหะดีษเป็นหลักในการออกฟัตวา(คำวินิจฉัยความทางศาสนา)

5.   สัญลักษณ์ของอีหม่านคือต้องรักท่านอะลีและท่านอุษมาน

6.   ต้องยึดมั่นอยู่กับกลุ่มญะมาอะฮ์และกลุ่ม(ที่ยึด)ซุนนะฮ์


อัลเอาซาอีมิได้ทิ้งตำราไว้ให้ชนรุ่นหลังเลย  บ้างกล่าวกันว่าตำราของเขาถูกเผาหมดในเหตุการณ์ " อัลร็อจญ์ฟะฮ์  "     ซึ่งเกิดขึ้นกับเมือง

ช่ามและบัยตุลมักดิส ในปีฮ.ศ. 130


อัลเอาซาอีเคยกล่าวถึงอิหม่ามอบูหะนีฟะฮฺว่า   :

إنا لا ننقم على أبي حنيفة أنه رأى، كلنا نرى
ولكن ننقم عليه أنه رأى الشيء عن النبي صلى الله عليه وسلم فخالفه.
تاريخ الإسلام للذهبي - (ج 3 / ص 140

แท้จริงเราจะไม่แก้แค้นต่ออบูหะนีฟะฮ์ที่เขาได้ใช้ความคิดเห็นของเขา(กับศาสนา)  เพราะว่าพวกเราทุกคนล้วนใช้ความคิดเห็น(ส่วนตัวกับศาสนาด้วยกันทั้งนั้น )
แต่เราจะล้างแค้นเขา ที่เขาเห็นสิ่งหนึ่งที่มาจากท่านนบี(ศ) แล้วเขาได้ขัดแย้งกับท่าน(ศ)

อ้างอิงจาก  ตารีคุลอิสลาม โดยอัซซะฮะบี เล่ม 3 : 140


อัลเอาซาอีได้รับการยกย่องจากกษัตริย์แห่งราชวงศ์อุมัยยะฮ์และราชวงศ์อับบาซียะฮ์เพราะเขามีอะกีดะฮฺในเชิงอินฮิรอฟต่ออะฮ์ลุลบัยต์นบีนั่นเอง.
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ สิงหาคม 20, 2009, 08:49:30 ก่อนเที่ยง


อัลมาลิกียะฮ์ (المالكية)


ผู้ก่อตั้งมัซฮับนี้ชื่อ  มาลิก บินอะนัส

ชื่อเต็ม : มาลิก บินอะนัส บินมาลิก บินอบีอามิรฺ อัลอัศบะฮี

เกิด ฮ.ศ.93 (ค.ศ.712) ที่เมืองมะดีนะฮฺ

เสียชีวิต ฮ.ศ.179 (ค.ศ.795) ที่เมืองมะดีนะฮฺ

รวมอายุ 83 ปี

อิม่ามมาลิกเริ่มการศึกษาด้วยการท่องจำอัลกุรอาน หลังจากนั้นก็เริ่มท่องจำหะดีษ เขาได้ให้ความสำคัญกับหะดีษและวิชานิติศาสตร์อิสลาม(ฟิกฮฺ)

            เขาได้ศึกษากับอาจารย์รวมทั้งสิ้น 900 คน อาจารย์ที่อิมามมาลิกได้ศึกษาอยู่กับเขานานที่สุดคือ อับดุลเราะหฺมาน บินฮุรมุก อัล-อะอฺร๊อจญ์  ซึ่งอิมามมาลิกใช้เวลาในการศึกษานานถึง 7 ปี
เขาได้ใช้ชีวิตที่เมืองมะดีนะฮฺเป็นเวลานานพอสมควร และได้ทำการสอนหนังสือที่นั่น ดังนั้นเขาจึงมีลูกศิษย์เป็นจำนวนมาก และศิษย์ของอิมามมาลิกที่สำคัญและเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดก็คือ  อิม่ามชาฟีอี

             เขาต้องโทษถูกทรมานอย่างหนักในสมัยของกาหลิบอบูญะฟัร อัล-มันซูร แห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺ   สาเหตุที่ถูกทรมานนั้นมีหลายบันทึกด้วยกัน
บันทึกหนึ่งรายงานว่า  เขาได้บันทึกหะดีษที่ว่า " ผู้ถูกบังคับนั้นไม่ทำให้การกล่าวหาหย่าร้างภรรยาของเขามีผล "  " แต่กาหลิบอบูญะอฺฟัร อัล-มันศูร ไม่ต้องการให้  หะดีษนั้นถูกบันทึกไว้  เนื่องจากเกรงว่าประชาชนจะไม่ให้การสนับสนุนกาหลิบ  หากประชาชนได้รับหะดีษบทนี้ เพราะหะดีษดังกล่าวจะเป็นหลักฐานสำคัญ ที่ใช้ในการอ้างอิง อาจจะทำให้กาหลิบอับบาซี่มีผู้สนับสนุนน้อยลง
อิม่ามมาลิกเป็นปราชญ์ที่ตรงไปตรงมา เขาไม่ยินยอมและยืนยันที่จะให้หะดีษนี้ถูกบันทึกไว้ ทำให้คอลีฟะฮฺไม่พอใจจึงต้องตัดสินลงโทษเขา ด้วยการเฆี่ยนตี  

             อิมามมาลิกเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 796 (ฮ.ศ. 179) รวมอายุได้ 83 ปี หลังการจากไป ได้มีผู้สืบทอดแนวนิติศาสตร์ที่เขาได้วางรากฐานไว้ จนก่อตัวเป็นสำนักใหญ่เรียกว่า มัซฮับ มาลิกี

จุดเด่นของมัซฮับนี้คือ ยึดริวายะฮฺ(รายงานหะดีษ)เป็นข้อมูลหลักในการอิจญืติฮ๊าดและฟัตวาเรื่องฟิกฮฺ และอาศัยแนวทางนี้ปกป้องตนเองจากกลุ่มมุสลิมอื่นๆที่ใช้แนวกะลาม  ความคิดและประเพณี


แนวคิดของซุนนี่กลุ่มนี้คือ


1-   อีหม่านมีเพิ่มขึ้นได้  แต่อิม่ามมาลิกนิ่งไม่ให้ทัศนะต่อเรื่องอีหม่านนั้นลดลงได้

2-   อัลกุรอ่านคือ  กะลามุลลอฮฺ (คำพูดของอัลลอฮฺ)  ไม่ใช่มัคลู๊ก

3-   คนทำบาปใหญ่และบาปทั่วไปคือ มุอฺมิน

4-   คำพูดของบรรดาซอฮาบะฮฺและคำฟัตวาของพวกเขานั้นมาจากซุนนะฮ์นบี

5-   สุนัขนั้นสะอาด (ไม่นะยิส)

6-   อนุญาตให้นมาซย่อได้ ในการเดินทางเพื่อไปทำบาป

7-   ไม่อนุญาตให้จัดการนมาซวันศุกร์ ยกเว้นเฉพาะในมัสญิดญามิ๊อฺเท่านั้น

8-   ผู้ใดกินหรือดื่มโดยหลงลืมในเดือนรอมฎอน ให้เขาละศีลอดและวาญิบต้องชดใช้ในภายหลัง

และอื่นๆอีกมากมาย


ฟิกฮ์มัซฮับมาลิกีนี้มีทั้งตำราที่แต่งในสมัยอิม่ามมาลิกและที่แต่งขึ้นจากบรรดาลูกศิษย์หลังจากเขาเสียชีวิตแล้ว
มัซฮับนี้แพร่หลายอยู่ในหิญาซ (ซาอุดิอารเบีย)  และบริเวณอ่าว  ที่อียิปต์และโมรอคโค

ตำราที่โด่งที่สุดของอิม่ามมาลิกคือ   " อัลมุวัฏเฏาะอฺ "  
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ สิงหาคม 20, 2009, 09:39:02 ก่อนเที่ยง


อัช- ชาฟิอียะฮฺ (الشافعية )  
อิมามชาฟิอีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ (ผู้ก่อตั้งมัซฮับชาฟิอี)

ชื่อเต็ม : มุหัมมัด บิน อิดรีส บิน อัลอับบาส บิน อุษมาน อัชชาฟิอี

เกิด ฮ.ศ.150 (ค.ศ.767) ที่เมืองฆ็อซซะฮฺ Gaza ปาเลสไตน์

เสียชีวิต ฮ.ศ.204 (ค.ศ.820) ที่อิยิปต์

รวมอายุ 54 ปี

มุฮัมมัด บินอิดรีสอัชชาฟิอีมีชีวิตอยู่ท่ามกลางมัซฮับฮะนะฟี ซึ่งเป็นพวกที่ใช้ทัศนะความคิดกับศาสนาเรียกว่า อัศฮาบุลเราะอ์ยุ  กับมัซฮับมาลิกี ซึ่งเป็นพวกใช้หะดีษ เรียกว่าอัศฮาบุลหะดีษ  แต่อย่างไรก็ตามเขาก็มีหลักการด้านอะกีดะฮ์  ฟิกฮฺ  การเมืองการปกครองและแนวคิดเป้นของตัวเอง


แนวคิดที่สำคัญของอิม่ามชาฟิอีมีดังนี้

1-   ละทิ้งอิลมุลกะลาม ( เทววิทยา เชิงวิพาษ )
2-   อัลกุรอ่านคือ กะลามุลลอฮฺ  เป็นของเก่า (เกาะดีม) ไม่ใช่มัคลู๊ก
3-   หะดีษคือฮุจญะฮ์ (หลักฐานที่สอง) รองจากอัลกุรอ่าน
4-   รวมนิติศาสตร์(ฟิกฮฺ)ระหว่างแนวฮะนะฟีและมาลิกีเข้าไว้ด้วยกัน
5-   ออกกฏเกณฑ์เรื่องฟิกฮฺและอุศูลุลฟิกฮฺ
6-   อิมามะฮ์ ตำแหน่งผู้นำผู้ปกครองต้องมาจากเผ่ากุเรชเท่านั้น
7-   มะนี (น้ำอสุจิ)  สะอาดไม่นะยิส
8-   อนุญาตให้พวกมุชริกเข้าไปในบรรดามัสญิดได้ ยกเว้นมัสญิดิลฮะรอมเท่านั้นที่ห้ามเข้า
9-   อนุญาตให้เอานมาซอัศรี่นำหน้าซุฮ์รี่ได้ ในกรณีรวมระหว่างสองนมาซ
10-   ไม่อนุญาตให้นมาซญะนาซะฮ์แก่ผู้ตายชะฮีด
11-   วาญิบ(จำเป็น)ต้องจ่ายทานซะกาตแก่เด็ก
12-   การมุรตัด ไม่เป็นเหตุให้การอิ๊อฺติกาฟของเขาโมฆะ
13-   อนุญาตให้ชายสามารถนิก๊ะหฺ(สมรส)กับลูกสาวของเขาที่มาจากการทำซีนาได้
14-   อนุญาตให้ซุลตอน(ผู้ปกครอง)สามารถทำการหย่าแทนสามีได้
15-   อนุญาตให้กินสัตว์ถูกเชือดที่ไม่ได้เอ่ยนามอัลลอฮฺโดยเจตนาได้
16-   ฆินาอ์(เพลง) ไม่ใช่สิ่งฮะร่าม ผู้ร้องก็ไม่บาป และไม่ถูกปฏิเสธ  และอื่นๆอีกมากมาย


กลุ่มชาฟิอีเป็นมัซฮับที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกซุนนี่แพร่หลายไปทั่วทุกมุมโลก ยกเว้นที่อินเดียและยุโรป
ด้วยเหตุนี้ตัวอิม่ามชาฟิอีและมัซฮับของเขาจึงต้องเผชิญกับศัตรูมากมายจากซุนนี่กลุ่มอื่น


ลูกศิษย์ของอิม่ามชาฟิอีและผู้ที่มีชื่อของมัซฮับนี้

ที่เมืองมักกะฮ์
อบูบักร อัลฮิมยะรี (أبو بكر الحميري) เป็นนักรายงานหะดีษ  และนักนิติศาสตร์
อิบนิ อบิลญารู๊ด(ابن أبي الجارود)  เป็นนักนิติศาสตร์

ที่เมืองแบกแดด
อบูอะลี อัลกะรอบีส (أبو علي الكرابيس)
อบูเษารฺ อัลกัลบี (أبو ثور الكلبي)
อิม่ามอะหมัด บินหัมบัล (أحمد بن حنبل)
อิสฮ๊าก บินรอหะวัยฮฺ(اسحاق بن راهوية) เขาคือครูของอัลบุคอรี

ที่เมืองมิศรี่ (อียิปต์)
หัรมะละฮฺ บินยะห์ยา (حرملة بن يحيى )
อิสมาอีล บินยะห์ยา อัลมิซี (إسماعيل بن يحيى المزني)  ผู้แต่งตำรามากมายในมัซฮับชาฟิอี


หนังสืออันโด่งดังของอิม่าม ชาฟิอี ด้าน ฟิกฮฺ  คือ   " อัลอุม "
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ สิงหาคม 20, 2009, 10:41:42 ก่อนเที่ยง

มัซฮับหะนาบะละฮ์  (الحنابلة ) หรือมัซฮับหัมบะลี

อิมามอะหฺมัด เราะหิมะฮุลลอฮฺ (ผู้ก่อตั้งมัซฮับหัมบะลี)

ชื่อเต็ม : อะหฺมัด บิน มุหัมมัด บิน หัมบัล บิน ฮิลาล อัชชัยบานี

เกิด ฮ.ศ.164 (ค.ศ.780) ที่เมืองแบกแดด (ประเทศอิรัก)

เสียชีวิต ฮ.ศ.241 (ค.ศ.855) ที่เมืองแบกแดด

รวมอายุ 77 ปี


มัซฮับนี้ก่อตัวขึ้นที่เมืองแบกแดด ในช่วงศตวรรษที่สามแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช

อิม่ามอะหมัดมุ่งเน้นให้ความสำคัญไปที่เรื่องหะดีษ ฟัตวาของบรรดาซอฮาบะฮ์และทัศนะความคิดของของซอฮาบะฮ์เป็นหลัก และไม่มีรสนิยมในการอิจญ์ฮ๊าดกับศาสนาโดยใช้ความคิดเห็นของตนเอง เหมือนอิม่ามฮะนะฟี


เนื่องจากคนมัซฮับนี้ค่อนข้างตะอัซซุบอย่างรุนแรงต่อเรื่องหะดีษ เพราะฉะนั้นคนมัซฮับนี้จึงเป็นผู้เริ่มหว่านเมล็ดพันธ์แห่งความร้าวฉานและสร้างความขัดแย้งขึ้นในสังคมของชาวซุนนี่ ด้วยสาเหตุของความตะอัซซุบอย่างหนักต่อเรื่องหะดีษนั่นเอง

คนมัซฮับนี้จึงได้ก่อเรื่องอย่างมากมายต่อชาวซุนนี่กลุ่มอื่นๆในอดีตตามที่ตำราประวัติศาสตร์อิสลามได้บันทึกไว้

อิม่ามอะหมัด บินหัมบัลได้ใช้เวลาทั้งชีวิตของเขาทำการรวบรวมหะดีษไว้ถึงสี่หมื่นบท โดยเป็นรายงานที่มาจากตัวเขาเอง


ดังนั้นจึงนับได้ว่าฐานข้อมูลหลักของมัซฮับหัมบะลีคือหนังสือ " อัลมุสนัด "


แนวคิดของมัซฮับหัมบะลีคือ


1-   อีหม่านคือคำพูด และการกระทำ มีเพิ่มและลดได้
2-   คนทำบาปใหญ่ เรื่องของเขาต้องมอบหมายให้อัลลอฮฺตัดสิน
3-   ต้องตอบโต้พวกนักโต้เถียง และละทิ้งอิลมุลกะลามและพวกนักกะลาม
4-   ต้องเชื่อเรื่องซิฟัตของอัลลอฮฺตามที่กล่าวรายงานไว้ในอัลกุรอ่านและหะดีษ
5-   อัลกุรอ่าน ไม่ใช่มัคลู๊ก (القرآن غير مخلوق )
6-   ในวันกิยามะฮ์สามารถมองเห็นอัลลอฮฺด้วยตาเปล่าได้
7-   ไม่อนุญาตให้ต่อต้านหรือปฏิวัติต่อผู้ปกครอง ถึงแม้ว่าเขาจะเป็นคนซอเล่มและฟาซิกก็ตาม
8-   ซอฮาบะฮ์ดีหมดทุกคน (عدالة جميع الصحابة )
9-   ดี / ชั่ว ล้วนมาจากการเกาะฎอเกาะดัรของอัลลอฮฺ
10-   ตำแหน่งคิลาฟะฮ์ ต้องมาจากเผ่ากุเรชเท่านั้น
11-   การญิฮ๊าดต่อสู้ต้องดำเนินไปด้วยการยืนเคียงคู่อยู่กับอิม่ามผู้นำไม่ว่าจะเป็นคนดีหรือเลวก็ตาม และต้องนมาซวันศุกร์ ประกอบพิธีหัจญ์และนมาซอีดทั้งสองกับอิม่ามผู้นำดังกล่าว
12-   ต้องส่งมอบทานซ่อดะเกาะต่างๆ เช่น ผลกำไรจากการประกอบอาชีพ  ภาษีและทรัพย์ที่ได้จากการรบให้กับบรรดาผู้ปกครองไม่ว่าจะเป็นคนดีหรือคนชั่วก็ตาม
13-   ไม่อนุญาตให้ทำนมาซตามหลังอะฮ์ลุลบิดอะฮ์ และไม่อนุญาติให้นมาซญะนาซะฮ์แก่คนตายที่เป็นพวกทำบิดอะฮ์
14-   คนทิ้งนมาซถือว่าเป็นกาเฟ็ร ไม่อนุญาตให้นมาซญะนาซะฮ์แก่เขาและไม่อนุญาตให้นำร่างเขามาฝังในสุสานมุสลิม

นี่คือแนวความคิดของอิม่ามอะหมัดและยังมีอื่นอีกที่มิได้นำมากล่าว


เพราะความคิดเช่นนี้ ทำให้มีชาวซุนนี่ยึดถือในมัซฮับหัมบะลีน้อยมาก ถึงแม้ว่าคนในสังกัดมัซฮับนี้ได้ปรากฏตัวใหม่ในนาม " พวกวาฮาบี " ที่ได้ขึ้นมามีอำนาจอิทธิพลปกครองคาบสมุทรอาหรับและได้แพร่ขยายแนวคิดของกลุ่มตนเองไปทั่วโลก โดยอาศัยน้ำมันดิบเป็นทุนก็ตาม

นักประวัติศาสตร์อิสลามกับนักนิติศาสตร์อิสลามมีทัศนะไม่ตรงในเรื่องที่ว่า มัซฮับหัมบะลีและตำราของพวกเขานั้นเป็นคนกลุ่ม(ฟิรเกาะฮ์)ใดระหว่างฟิรเกาะฮ์หะดีษ หรือฟิรเกาะฮ์ฟิกฮฺ ?
ความจริงแล้วคนนกลุ่มน่าจะเป็นทั้งฟิรเกาะฮ์หะดีษ  ฟิกฮ์และอะกีดะฮ์พิกลไม่เหมือนซุนนี่กลุ่มอื่นด้วย


นักวิชาการที่มีชื่อเสียงโด่งดังของมัซฮับหัมบะลีคือ


ศอและห์ บุตรอิม่ามอะหมัดบินหัมบัล  และน้องชายคือ

อับดุลเลาะฮ์  บุตรอิม่ามอะหมัดบินหัมบัล  

บุตรชายทั้งสองได้ทำหน้าที่ถ่ายทอดเรื่องอะกีดะฮ์ เรื่องนิติศาสตร์อิสลาม(ฟิกฮ์)และความคิดของบิดาให้กับประชาชน
อับดุลเลาะฮ์ บินอะหมัดบินหัมบัลคือผู้รายงานหะดีษในหนังสือมุสนัดทั้งหมดจากบิดา และเขามรณะในปีฮ.ศ.290

อะหมัด บินอัลหัจญ๊าจญ์ อัลมัรวะซี (وأحمد بن الحجاج المروزي)เป้นคนถ่ายทอดกิตาบอัลวะเราะฮ์จากอิม่ามอะหมัด และเป็นศิษย์เอกคนหนึ่ง มรณะปีฮ.ศ.275


อะหมัด บินฮารูน ฉายาอบูบักร อัลค็อลล้าล (أَبُو بَكْر الْخَلَّال) เป็นคนทำหน้าที่รวบรวมฟิกฮ์ของอิม่ามอะหมัดทั้งหมด เขามรณะปีฮ.ศ. 311
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ สิงหาคม 20, 2009, 11:19:30 ก่อนเที่ยง


อัลอะชาอิเราะฮ์(الأشاعرة)

คือกลุ่มที่อ้างถึง ท่านอบุลหะซัน  อัลอัชอะรีในมัซฮับทางความเชื่อของเขา (อัลอิอฺติกอดฺ)  

ชื่อเต็มคือ อบุลหะซัน  อะลี  อิบนุอิสมาอีล  อิบนิอบีบิชฺร์  อิสหาก  อิบนิซาลิม  อิบนิอิสมาอีล  อิบนิอับดิลลาฮฺ  อิบนิมูซา  อิบนิบิล้าล  อิบนิอบีบุรดะฮฺ  อามิร  อิบนิอบี  มูซา  อัลอัชอะรีย์  สาวกของท่านรอซูลุลลอฮฺ  (ศ)  

เกิดในปีฮ.ศ.260  เมืองบัศเราะฮฺ  บ้างกล่าวว่า  :  เกิดในปีฮ.ศ.270  
ปีที่มรณะ  มีระบุเอาไว้ต่างกันคือ  ปีฮ.ศ.333,  324  และ  330  ที่เมืองแบกแดด  และถูกฝังอยู่ระหว่างเมืองอัลกัรฺค์และประตูเมืองอัลบัศเราะฮฺ  

อ้างอิงจากหนังสืออัลบะยาน  ลิมา  ยุชฆิลุลอัซฺฮานฺ,  ดร.อะลี  ญุมอะฮฺ  หน้า  131

กลุ่มอะชาอิเราะฮฺคือ  กลุ่มนักวิชาการที่สังกัดอยู่ในมัซฮับทั้ง  4  นั่นเอง  กล่าวคือ  ในส่วนของอะกีดะฮฺนั้นสังกัดตามมัซฮับของอบุลหะซัน  อัลอัชอะรี แต่ในส่วนของฟิกฮฺนั้นก็มีทั้งที่เป็นนักวิชาการสังกัดมัซฮับฮะนะฟี,  มาลิกี,  ชาฟิอี  และฮัมบะลี  นอกจากนี้ยังมีอะฮฺลุ้ลหะดีษและกลุ่มซูฟีบางส่วนที่สังกัดกลุ่มอัลอะชาอิเราะฮฺอีกด้วย

อ้างอิงจาก

http://www.alisuasaming.com/qa/index.php?topic=962.0
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ กันยายน 21, 2009, 09:12:38 ก่อนเที่ยง

ตัวอย่างอะกีดะฮ์ของอะชาอิเราะฮ์ เช่น

กะลามุลเลาะฮ์(คำพูดของอัลลอฮ์) นั้นคือของเก่า (เกาะดีม)
อีหม่านต่อบรรดาซิฟัตของอัลลอฮ์ โดยไม่ตัชบี๊หฺและตักยี๊ฟ(แสดงวิธีการ)
ซิฟัตของอัลลอฮ์ เป็นฮะกีกัต ไม่ใช่มะญ๊าซ
อัลลอฮ์สร้างมนุษย์ออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งเป็นชาวญันนะฮ์และอีกกลุ่มเป็นชาวนรก
อีหม่านมีเพิ่ม มีลดได้
การทำบาปใหญ่ จะไม่ทำให้หลุดออกไปจากอีหม่าน
การลงโทษในหลุมฝังศพนั้นเป็นเรื่องจริง
ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)จะขอชะฟาอัตให้แก่คนทำบาปใหญ่จากอุมมัตของท่าน
ต้องเชื่อฟังบรรดาผู้นำมุสลิม ทั้งที่พอใจเขา หรือไม่พอใจ  ทั้งคนดีและคนชั่ว ต้องช่วยเขาสู้รบ ต้องไปทำหัจญ์กับเขา ต้องส่งมอบทานซะกาตให้เขา
ตำหนิพวกบิดอะฮ์และไม่ข้องเกี่ยวกับคนพวกนี้   ฯลฯเป็นต้น
 
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ กันยายน 25, 2009, 09:33:45 ก่อนเที่ยง

อะชาอิเราะฮ์กับเรื่องเกาะฎอ เกาะดัร

อ้างอิงจากเวบ
http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php?topic=4514.0

อ.ริฎอ พูดบรรยายว่า

\\\"เช่น พวกอะชาอิเราะฮ์และพวกญับบะรียะฮ์  บอกว่ามนุษย์เหมือนใบไม้ที่พายุหรือลมมันพัดไปปลิวโดยไม่มีเจตนารมณ์  เขายกตัวอย่างมนุษย์เหมือนใบไม้  ไปใหนไปที่ใหนมีสิทธิ์เลือกอะไรเลย  อันนี้หลงผิดดอลาละฮ์\\\"  
ในชั่วโมงที่  01 :  นาทีที่  06  วินาทีที่ : 41  


วิภาษ โดยอัลอัซฮะรี

بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْم
الحمد لله ربّ العالمين ، و الصلاة و السلام على سيدنا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين  وبعد :

หลังจากที่ได้โทรศัพท์คุยกับ อ.ริฎอ สะมะดีย์ ปรากฏว่าท่านไม่ได้ค้นคว้าข้อเท็จจริงจากตำราของปราชญ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์เลยแม้แต่น้อย ความบกพร่องและความผิดพลาดเชิงวิชาการจึงเกิดขึ้น  บรรดาลูกศิษย์ของ อ.ริฎอ บางส่วนที่ไม่สามารถแยกแยะถูกผิดระหว่างแนวทางได้ ก็จะหลงเชื่อตามอย่างสิโรราบและหมดใจ  ซึ่งอย่างนี้ถือว่าเป็นความลุ่มหลงอันตราย  ดังนั้นเจตนาที่ผมชี้แจงนั้น เพื่อให้ อ.ริฎอ และผู้รับฟังการบรรยายของ อ.ริฏอ ได้เรื่องก่อฎอก่อดัรมีความเข้าใจอันถูกต้องต่อแนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์ในเรื่องก่อฏออฺและก่อดัรครับ

ต่อไปนี้ผม(อัลอัซฮะรี)จะทำการอ้างอิงคำพูดของอุลามาอฺอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์ เกี่ยวกับเรื่องก่อฏออฺและก่อดัร ตามที่มหาชนอะฮ์ลิสซุนนะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์แห่งโลกอัลอิสลามได้ยึดถือมาเป็นหลักอะกีดะฮ์


ท่านชัยคุลอิสลาม อิมามอัลบาญูรีย์ ปราชญ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์ได้กล่าวว่า

\\\"ในประเด็นนี้มีอยู่ 3 มัซฮับด้วยกัน  มัซฮับอะฮ์ลิสซุนนะฮ์(อัลอะชาอิเราะฮ์และอัลมะตูรีดียะฮ์) คือไม่มีให้แก่บ่าว ที่อยู่ในการกระทำต่าง ๆ ของเขาที่เลือกเฟ้นได้นั้นนอกจากเป็นการอุตสาหะ اَلْكَسْبُ   เท่านั้น (ความอุตสาหะหมายถึงการเจตนาและความพยายามอันเกิดขึ้นจากจิตใจ)
ดังนั้นบ่าวจะไม่ถูกบังคับเหมือนกับที่พวกญับรียะฮ์ได้กล่าวไว้  
และบ่าวจะไม่เป็นผู้สร้างการกระทำของเขาเองเหมือนที่พวกมั๊วะตะซิละฮ์ได้กล่าวไว้ ,

ส่วนมัซฮับอัลญับรียะฮ์นั้น  คือบ่าวจะไม่มีการอุตสาห์ใด ๆ แก่เขา  แต่ว่าเขานั้นถูกบังคับ หมายถึง ถูกบังคับเหมือนขนนกที่ลอยอยู่บนอากาศ  ซึ่งลมได้พัดพามันตามที่ต้องการ ,

ส่วนมัซฮับมั๊วะตะซิละฮ์นั้น  บ่าวเป็นผู้ที่สร้างบรรดาการกระทำของเขาที่เลือกเฟ้นขึ้นมา ด้วยกุดเราะฮ์ของอัลเลาะฮ์ที่พระองค์ทรงสร้างไว้ในบ่าวคนนั้น ,  และคำพูดของพวกมั๊วะตะซิละฮ์ที่ว่า (มนุษย์สร้างการกระทำของเขา)ด้วยกุดเราะฮ์ที่อัลเลาะฮ์ทรงสร้างไว้ในตัวเขานั้น  ถือว่าพวกเขาไม่เป็นกาเฟรตามทัศนะที่ชัดเจนยิ่ง ,
ดังนั้นพวกญับรียะฮ์จึงมีความเลยเถิด , และพวกมั๊วะตะซิละฮ์มีความละเลย  และอะฮ์ลิสซุนนะฮ์(อัลอะชาอิเราะฮ์และอัลมะตูรีดียะฮ์) มีความเป็นกลาง  และบรรดาสิ่งที่ดีที่สุดนั้นคือมันความเป็นกลาง\\\"

หนังสือตั๊วะห์ฟะตุลมุรีด ชัรห์ เญาฮะเราะฮ์ อัตเตาฮีด หน้า 61


ท่านชัยคุลอิสลาม อิบนุ อัศศุบกีย์  ได้กล่าวว่า

\\\"สิ่งที่ทำให้เกิดความละเอียดละออแก่เราก็คือ  แท้จริงการเลือกเฟ้นหรือการมีความอุตสาหะ(แก่มนุษย์นั้น)  เป็นสำนวนที่มีความเป้าหมายเดียวกัน  

แต่อิมามอัลอัชอะรีย์นั้น  นิยมใช้คำว่า اَلْكَسْبُ  \\\"อัลกัสบ์\\\"

(มนุษย์มีความอุตสาหะในการกระทำหมายถึงการเจตนาและความพยายามอันเกิดขึ้นจากจิตใจ)

เนื่องจากมันเป็นถ้อยคำที่ถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอาน  

และกลุ่มชน(อัลมะตูรีดียะฮ์)นั้นพวกเขานิยมใช้คำว่า \\\"อัลอิคตะยาร\\\"

(มนุษย์มีการเลือกเฟ้นในการกระทำ) เนื่องจากในการใช้ถ้อยคำที่ว่า \\\"เลือกเฟ้น\\\" นั้นบ่งให้รู้ว่าความสามารถนั้น(อัลเลาะฮ์ทรงสร้างไว้)ให้แก่บ่าว(ให้มีการเลือกเฟ้นในการกระทำได้)\\\"

หนังสือ เฏาะบะก็อต อัชชาฟิอียะฮ์ ของท่านอิบนุ อัศศุบกีย์ 3/386


ท่านอิมาม อัชชะรีฟ อัซซัยิด อัลญุรญานีย์  ได้กล่าวว่า

\\\"แท้จริงบรรดาการกระทำของบ่าวที่เลือกเฟ้นได้นั้น มันจะเกิด(ผล)ขึ้นได้ด้วยเดชานุภาพของอัลเลาะฮ์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น  และในการกระทำของบ่าวนั้นความสามารถของพวกเขามิได้ทำการบังเกิดผลขึ้นแต่ประการใด  แต่ทว่าอัลเลาะฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา จะทำให้ดำเนินตามที่วิถีที่พระองค์ทรงวางไว้  ก็คือพระองค์จะสร้างให้บ่าวมีพลังความสามารถและเลือกเฟ้น(คิดไตร่ตรอง)ได้  ดังนั้นเมื่อ(พลัง ความสามารถและการเลือกเฟ้น)นั้นไม่มีสิ่งใดมาขวาง(เช่นไม่ป่วยและไม่สลบเป็นลมหรือวิกลจริต) บ่าวก็จะสร้างการกระทำที่สามารถกระทำได้โดยอยู่พร้อมกับ(พลังความสามารถและการเลือกเฟ้น)ทั้งสอง(ที่พระองค์ทรงมอบให้แก่บ่าว)\\\"

หนังสือ ชัรหุลมะวากิฟ 2/379


ท่านอัลลามะฮ์ มุฮัมมัด บิน มันซูร อัลฮุดฮุดีย์  ได้กล่าวว่า

\\\"ด้วยกุดเราะฮ์(ความเดชานุภาพของอัลเลาะฮ์)นั้น  ทำให้บังเกิดทุก ๆ สิ่งที่มุมกิน(คือสิ่งที่มีขึ้นมาก็ได้และไม่มีขึ้นมาก็ได้) และการทำให้บังเกิด(หรือการสร้าง)ก็คือการนำสิ่งที่มุมกินออกมาจากการไม่มีไปสู่การมี  และทุก ๆ สิ่งที่มุมกินนั้นครอบคลุมถึงบรรดาการกระทำที่เราเลือกเฟ้นได้ (หมายถึงการกระทำของเราที่เลือกเฟ้นตั้งใจกระทำนั้น อัลเลาะฮ์ทรงใช้กุดเราะฮ์ความสามารถทำให้มันบังเกิดผลขึ้นมา) เช่น บรรดาการเคลื่อนไหวและการนิ่งของเรา...และนี่ก็คือมัซฮับที่ถูกเลือกเฟ้นแล้ว\\\"

หนังสือฮาชียะฮ์ อัชชัรกอวีย์ หน้า 67


นั่นคือหลักอะกีดะฮ์ของมัซฮับอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์ที่แท้จริง   กล่าวคือมนุษย์นั้นอัลเลาะฮ์ทรงทำให้พวกเขาบังเกิดมา   และพระองค์ทรงมอบหรือเปิดโอกาสให้พวกเขามีพลังความสามารถและมีเจตนาการเลือกเฟ้นอุสาหะได้  เมื่อบ่าวมีเรี่ยวแรงและเจตนาตัดสินใจหรือตั้งใจจะทำความดีหนึ่ง  พวกเขาก็จะกระทำด้วยเรี่ยวแรงที่อัลเลาะฮ์ทรงมอบให้(โดยที่การกระทำการเคลื่อนไหวหรือหยุดนิ่งได้อัลเลาะฮ์ทรงสร้างขึ้นมา)ตามที่พวกเขาได้ตั้งใจเจตนาเอาไว้  ส่วนผลของการกระทำที่จะเกิดขึ้นนั้น  อัลเลาะฮ์เป็นผู้ทำให้บังเกิดขึ้นมาแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น  มนุษย์มีสิทธิ์ในการพยายามอุตสาหะและเจตนาในการกระทำความดีงาม  เขาก็จะได้รับผลบุญตอบแทนจากความตั้งใจของเขานั่นเอง  แต่หากเขาเจตนากระทำความชั่ว  เขาก็จะได้ผลการตอบแทนด้วยการลงโทษนั่นเอง

ตัวอย่าง  เช่น  การละหมาด  มุสลิมคนหนึ่งเกิดมาในโลกนี้  อัลเลาะฮ์ทรงให้เขามีพละกำลังและมีสติปัญญา  เมื่อเขาได้ร่ำเรียนหลักการอิสลามขัดเกลาสติปัญญาและจิตใจของเขาแล้ว  เมื่อเวลาละหมาดมาถึง  อัลเลาะฮ์ให้เขามีสุขภาพดีมีพละกำลังวังชา  จิตใจของเขาก็มีความอุตสาหะตั้งใจเลือกเฟ้นในการไปละหมาดโดยไม่ยอมทิ้งละหมาด(อัลเลาะฮ์ได้ให้ผลบุญแก่เขาตรงนี้แล้ว) เมื่อเขามีกำลังในการกระทำละหมาด  เช่น  ยืน , ก้ม , หยุดนิ่งหลังเงยหน้าขึ้นมา , สุยูด , นั่งระหว่างสองสุยูด , เป็นต้น  การที่เขาได้เคลื่อนไหวหรือหยุดนิ่งในการยืนละหมาดนั้น  อัลเลาะฮ์ผู้ทรงสร้างให้บังเกิดผลการกระทำขึ้นตามที่เราได้เจตนาหรืออุตสาหะในการกระทำละหมาดนั่นเอง


นี่คืออะกีดะฮ์ของมัซฮับอะชาอิเราะฮ์ในเรื่องเกาะฎอ เกาะดัร  
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ พฤศจิกายน 25, 2009, 03:53:40 หลังเที่ยง
Θ ความเป็นมาของสำนักคิด อัชอะรี


ยุคการปกครองของราชวงศ์อับบาซียะฮ์  บทบาททางการปกครองแบ่งออกเป็นสองลักษณะคือ

1. ในช่วงการปกครองของกาหลิบมะอ์มูน  กาหลิบมุอ์ตะซิมและกาหลิบวาษิก    บทบาททางศาสนาเป็นของพวกมุอ์ตะซิละฮ์  กล่าวคือผู้ปกครองเหล่านี้ให้การอุปถัมภ์มัซฮับมุอ์ตะซิละฮ์ จนมีความรุ่งเรืองมากและเป็นมัซฮับประจำราชสำนักของกาหลิบ

2. เมื่อยุคของกาหลิบทั้งสามผ่านไป    อัลมุตะวักกิลได้ขึ้นครองราชย์และมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านศาสนา     เนื่องจากกาหลิบมุตะวักกิลนิยมชมชอบในมัซฮับอะฮ์ลุลหะดีษ(จารีตนิยม)  พระองค์ทรงต่อต้านพวกสำนักคิดมุอ์ตะซิละฮ์ และยังกลั่นแกล้งประชาชนที่ถือมัซฮับนี้     มุตะวักกิลได้ห้ามการถกหรือปาฐกถาในเรื่องศาสนาที่เคยมีมาก่อน   และสั่งให้อุละมาอ์มัซฮับอะฮ์ลุลหะดีษออกทำการเผยแพร่และนำหลักการต่างๆมาสอนสั่งประชาชน    

สำนักคิดมุอ์ตะซิละฮ์โดนคว่ำบาตรและถูกต่อต้านอย่างหนัก จนคนในมัซฮับนี้ระส่ำระส่ายต้องอพยพไปคนละทิศคนละทาง  ไม่มีอำนาจอะไรเหลืออยู่อีกต่อไป   ดังนั้นมัซฮับที่รุ่งเรืองในยุคการปกครองของกาหลิบมุตะวักกิลคือ  อะฮ์ลุลหะดีษ

สถานการณ์เช่นนี้มีมาอย่างต่อเนื่อง  จนถึงสมัยของ " อบุลฮาซัน อัลอัชอะรี " เดิมเป็นนักปราชญ์คนหนึ่งของมัซฮับมุอ์ตะซิละฮ์ และเป็นลูกศิษย์ของ " อะบูอาลี อัลญุบบาอี "

จากสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างมุอ์ตะซิละฮ์ กับ อะฮ์ลุลหะดีษ  ความขัดแย้งของทั้งสองฝ่ายมีมานาน  ทำให้อบุลฮาซัน อัชอะรี( เกิดฮ.ศ. 260 มรณะ 324 ) มีความคิดใหม่เกิดขึ้นและได้นำเสนอต่อประชาชน  โดยเขาได้ประยุกต์ประสานระหว่างสำนักคิดอะฮ์ลุลหะดีษ กับ มุอ์ตะซิละฮ์   จนทำให้ประชาชนจำนวนมากขานรับแนวคิดของเขา  จึงเรียกผู้ที่ยึดถือปฏิบัติตามอิม่ามอบุลฮาซันอัชอะรีว่า  " มัซฮับอัชอะรี หรือ พวกอะชาอิเราะอ์ "

หลังจากท่านอบุลฮาซันเสียชีวิต  อุละมาอ์อะชาอิเราะฮ์ได้นำคำพูดและตำราของท่านอบุลฮาซันออกเผยแพร่   จนกลายเป็นมัซฮับที่ยิ่งใหญ่มัซฮับหนึ่ง และมีผู้คนยึดถือมัซฮับนี้เป็นจำนวนมาก และมีต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ กุมภาพันธ์ 24, 2010, 11:03:49 ก่อนเที่ยง
สัจธรรมประการหนึ่ง  ที่เกี่ยวข้องกับความรุ่งเรืองหรือความตกต่ำของสำนักคิด(มัซฮับ)ต่างๆในอิสลามนับตั้งแต่อดีต แต่ละยุคเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันคือ


หากมัซฮับใดได้รับการอุปถัมภ์จากผู้ปกครอง มัซฮับนั้นก็จะสามารถขยายตัวและรุ่งเรื่อง

แต่ถ้าผู้ปกครองไม่ชอบหรือต่อต้านมัซฮับใด  มัซฮับนั้นก็จะตกต่ำและถูกลบเลือนออกไปจากประชาชนในที่สุด
ชื่อ: Re:ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 26, 2010, 10:54:09 ก่อนเที่ยง
:)