Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

เมษายน 28, 2024, 06:29:36 ก่อนเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 2,625
  • หัวข้อทั้งหมด: 650
  • Online today: 65
  • Online ever: 153
  • (เมษายน 26, 2024, 05:40:09 ก่อนเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 50
Total: 50

วิจัย ศาสนา วาฮาบี ยะฮูดีกับความญาเฮ้ลเรื่องเตาฮีด

เริ่มโดย L-umar, กันยายน 23, 2009, 11:23:02 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar


ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้สั่งเสียว่า
 
أَنَّ أَخْوَفَ مَا أَخَافُ عَلَيْكُمْ الْأَئِمَّةُ الْمُضِلُّونَ

แท้จริงสิ่งที่ฉันเป็นห่วงมากที่สุดต่อพวกท่านคือ    อุลามาอ์(ผู้รู้)ที่ชักนำให้หลงผิด


สถานะหะดีษ เศาะหิ๊หฺ  

ดูมุสนัดอิหม่ามอะหมัด หะดีษ 27525 ตรวจทานโดยเชคชุเอบ อัลอัรนะอูฏี
  •  

L-umar


อุลามาอ์ชั่ว และ อุลามาอ์ที่ชักนำให้หลงผิด

มีความน่ากลัว และเป็นตรายสำหรับสังคมมุสลิม


ท่านอบูษัรได้ถามว่า

يَا رَسُولَ اللَّهِ أَيُّ شَيْءٍ أَخْوَفُ عَلَى أُمَّتِكَ مِنْ الدَّجَّالِ قَالَ الْأَئِمَّةَ الْمُضِلِّينَ

ยา รอซูลุลลอฮ์  สิ่งใดน่ากลัวที่สุดสำหรับอุมมัตของท่านยิ่งกว่าเจ้ามารดัจญาน ?

ท่านรอซู้ล(ศ)ตอบว่า  ผู้นำ ที่ชักนำให้หลงทาง



สถานะหะดีษ เศาะหิ๊หฺ

ดูมุสนัดอิหม่ามอะหมัด หะดีษ 21335 ตรวจทานโดยเชคชุเอบ อัลอัรนะอูฏี
  •  

L-umar


ท่านรอซูล( ศ ) กล่าวว่า  

آفَةُ الدِّيْنِ ثلاثة فقيه فاجر وإمام جائر ومجتهد جاهل

โชคร้ายของศาสนา มีสามประการ  1. ผู้รู้ ที่ชั่วช้า 2. ผู้นำที่อธรรมกดขี่  3.  นักวิเคราะห์หลักการศาสนา ที่โง่เขลา

รายงานโดยอัด-ดัยละมี


ท่านรอซูล( ศ ) กล่าวว่า  

رب عابد جاهل ، ورب عالم فاجر ، فاحذروا الجهال من العباد والفجار من العلماء

บางส่วนของผู้ที่อิบาดะฮ์ ที่โง่เขลา  และบางส่วนของผู้รู้ ที่เลวทราม
ดังนั้นพวกท่านจงระวังจากพวกทำอิบาดะฮ์ที่โง่เขลา และพวกอุลามาอ์ที่ชั่วช้า

รายงานโดยอัด-ดัยละมี


ท่านรอซูล( ศ ) กล่าวว่า  

يكون في آخر الزمان عباد جهال و قراء فسقة

ต่อไปในยุคสุดท้ายจะมีพวกนักทำอิบาดะฮ์ที่โง่เขลา และผู้รู้ ที่ทำตัวชั่ว(ฟาซิก)

อัลมุสตัดร็อก อัลฮากิม หะดีษ 7883


ท่านนบี (ศ)กล่าวว่า

إنما أخاف على هذه الأمة كل منافق يتكلم بالحكمة و يعمل بالجور

แท้จริงฉันนั้นเป็นห่วงต่อประชาชาตินี้คือ พวกมุนาฟิกทั้งหลาย(ที่มีวิชาความรู้) ซึ่งเขานั้นพูดจาด้วยมีวิทยปัญญา แต่เขาจะประพฤติชั่ว

ชะอ์บุลอีหม่าน โดยอัลบัยฮะกี หะดีษ 1777
  •  

L-umar


นักกวี ชาวอาหรับ กล่าวว่า


وكنا نستطب إذا مرضنا         فصار هلاكنا بيد الطبيب

และพวกเราจะไปหาหมอเมื่อพวกเราเจ็บไข้ไม่สบาย    

แน่แท้ความหายนะของพวกเราก็ขึ้นอยู่กับมือของหมอ

( เปรียบคนมีความรู้ศาสนา คือ หมอ )

และ

وراعي الشاة يحمي الذئب عنها         فكيف إذا الرعاة لها ذئاب؟

คนเลี้ยงแกะคือ ผู้ที่คอยปกป้องคุ้มครองแกะจากหมาป่า

ฉะนั้นจะเป็นอย่างไร ? เมื่อบรรดาคนเลี้ยงแกะนั้นเป็นหมาป่าเสียเอง

(เปรียบคนมีความรู้ศาสนา คือ คนเลี้ยงแกะ )

และ

مثل علماء السوء كمثل صخرة وقعت على فم النهر لا هي تشرب الماء

                                    ولا هي تترك الماء يخلص إلى الزرع


อุปมาคนมีวิชาความรู้ที่ชั่ว อุปมัยดั่งก้อนหินใหญ่ ที่ตกอยู่บนปากแม่น้ำ

ซึ่งมันนั้นไม่ได้ดูดซึมน้ำ และมันไม่ปล่อยให้น้ำผ่านไปยังเรือกสวนไร่นา.

(อย่างนี้เขาเรียกว่า ขวางลำ (( ถ่วงความเจริญ )) มีความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด)
  •  

L-umar


ขอให้ท่านผู้อ่านอย่าลืมประเด็นที่เรากำลังวิจัยคือ  

(( ระหว่างเรื่องชีรีก กับเรื่องอุละมาอ์ชั่ว ผู้รู้ที่ชักนำให้มุสลิมหลง )) อย่างไหน  อันตรายกว่ากัน



ประวัติศาสตร์อิสลามบันทึกว่า  

มีชาวอาหรับตกมุรตัดหลังท่านรอซูล(ศ)วะฟาต  ท่านจะต้องแยกแยะรายละเอียดให้ดี  กล่าวคือ  
กรณีมีซอฮาบะฮ์ชื่อ  มาลิก บินนุวัยเราะฮ์กับหมู่ชนของเขา ไม่ยอมส่งมอบซะกาตให้กับท่านอบูบักร ในฐานะคอลีฟะฮ์  จนถูกฮุก่มว่า เขาและพวกพ้อง

"ตกมุรตัด "

ทุกวันนี้มาลิก บินนุวัยเราะฮ์กับหมู่ชนของเขา ยังรอคอยความเป็นธรรมจากอัลเลาะฮ์อยู่ ความจริงมาลิก บินนุวัยเราะฮ์และพวกของเขาไม่ได้ปฏิเสธเรื่องจ่ายซะกาต   แต่ที่พวกเขาไม่ยอมส่งมอบซะกาตไปให้ท่านอบูบักร เพราะพวกเขาสงสัยว่าตำแหน่งคอลีฟะฮ์ของท่านอบูบักรนั้นได้มาอย่างชอบธรรมหรือไม่ต่างหาก

เรื่องดังกล่าวแตกต่างไปจากพวกอาหรับบางคนหรือบางเผ่าที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม พวกนี้มีอีหม่านยังไม่แน่นแฟ้นต่ออัลเลาะฮ์และรอซูล(ศ)ดีเท่าไหร่   ดังนั้นเมื่อท่านรอซูล(ศ)เสียชีวิต ชาวอาหรับบางคนจึงหันกลับไปบูชาเจว็ด และกลับไปทำการตั้งภาคีอีกครั้ง ด้วยเหตุนี้อัลลอฮ์ตะอาลาทรงตรัสว่า

قَالَتِ الْأَعْرَابُ آمَنَّا قُل لَّمْ تُؤْمِنُوا وَلَكِن قُولُوا أَسْلَمْنَا وَلَمَّا يَدْخُلِ الْإِيمَانُ فِي قُلُوبِكُمْ

ชาวอาหรับชนบทกล่าวว่า เราได้ศรัทธาแล้ว  จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด)ว่า พวกท่านยังมิศรัทธา(อีหม่าน)  

แต่จงกล่าวเถิดว่า เราเข้ารับอิสลามแล้ว  เพราะอีหม่าน(ที่แท้จริง)ยังมิได้เข้าสู่หัวใจของพวกท่านเลย


บท 49 : 14


อายะฮ์ข้างต้นกล่าวชัดว่า อีหม่านที่แท้จริงยังมิได้เข้าสู่หัวใจของชาวอาหรับชนบทเลย  ด้วยเหตุนี้อัลบุคอรีจึงกล่าวไว้ในบทที่ชื่อว่า


باب إِذَا لَمْ يَكُنِ الإِسْلاَمُ عَلَى الْحَقِيقَةِ وَكَانَ عَلَى الاِسْتِسْلاَمِ أَوِ الْخَوْفِ مِنَ الْقَتْلِ . لِقَوْلِهِ تَعَالَى ( قَالَتِ الأَعْرَابُ آمَنَّا قُلْ لَمْ تُؤْمِنُوا وَلَكِنْ قُولُوا أَسْلَمْنَا ) . فَإِذَا كَانَ عَلَى الْحَقِيقَةِ فَهُوَ عَلَى قَوْلِهِ جَلَّ ذِكْرُهُ ( إِنَّ الدِّينَ عِنْدَ اللَّهِ الإِسْلاَمُ ) ( وَمَنْ يَبْتَغِ غَيْرَ الإِسْلاَمِ دِينًا فَلَنْ يُقْبَلَ مِنْهُ )
صحيح البخارى  ج 1 / ص 54

เมื่อเขายังมิได้เป็นอัลอิสลามอย่างแท้จริง แต่แค่การยอมจำนน หรือเพราะความกลัวจากการถูกฆ่า ด้วยเหตุนี้อัลลอฮ์จึงตรัสว่า (ชาวอาหรับชนบทกล่าวว่า เราได้ศรัทธาแล้ว  จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด)ว่า พวกท่านยังมิศรัทธา(อีหม่าน)  แต่จงกล่าวเถิดว่า เราเข้ารับอิสลามแล้ว  เพราะอีหม่าน(ที่แท้จริง)ยังมิได้เข้าสู่หัวใจของพวกท่านเลย) ฉะนั้นถ้าหากเขาเป็นอิสลามจริงๆแล้ว เขาจะอยู่บนพระดำรัสของอัลลอฮ์ที่ตรัสว่า ( แท้จริง ศาสนา ณ. อัลเลาะฮ์คือ อัลอิสลาม ) และผู้ใดแสวงหาศาสนาอื่นจากอัลอิสลาม เขาจะไม่ถูกยอมรับจากพระองค์อย่างเด็ดขาด

อ้างอิงจาก เศาะหิ๊หฺบุคอรี เล่ม 1 : 54 บาบที่ 19



สรุปความได้ว่า  
ในเมื่อระดับอุละมาอ์วาฮาบียังไม่เข้าใจว่า ระหว่างเรื่องชีรีกกับเรื่องผู้นำมุสลิม เรื่องใดที่มีความสำคัญมากที่สุด  

เมื่อจัดลำดับความสำคัญไม่ถูก   จะเห็นได้ว่า ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน


" รัฐอิสลามของวาฮาบี " จึงอยู่ภายใต้การปกครอง " ระบอบกษัตริย์ "  ซึ่งมีชาวอาหรับแห่งราชวงศ์ซาอู๊ดปกครอง


มีเชคมุฮัมมัด บินอับดุลวาฮาบ ตั้งหน้าตั้งตาโจมตีมุสลิมเป็นหลักอยู่เรื่องเดียวคือ " เรื่องชีรีก "  


เมื่อระดับหัวหน้าวาฮาบีเองก็ยังเข้าใจความหมายของ " เตาฮีด กับ ชีรีก " ได้ไม่ถูกต้องตามหลักกิตาบและซุนนะฮ์  แล้วนับประสาอะไรกับวาฮาบีระดับรากหญ้าที่จะเข้าใจ

ฉะนั้นโลกทัศน์ของพวกวาฮาบี จึงสร้างความล้าหลังให้ทั้งวิชาการอิสลามและการจัดสร้างรัฐอิสลาม



โปรดติดตามตอนต่อไป

หัวข้อ -  โลกทัศน์วาฮาบีกับเรื่องเตาฮีด
  •  

L-umar


โลกทัศน์วาฮาบีกับเรื่องเตาฮีด

เตาฮีด   คือ รากฐานของศาสนาอิสลาม



ผู้อ่านต้องให้ความสนใจสาระสำคัญของเรื่องและเนื้อหาที่ท่านกำลังอ่านอยู่นี้ให้ดี

ต้องขอย้ำอีกครั้งว่า เนื่องจากเรากำลังสนทนาถึงเรื่อง

ชีรีก  และ เตาฮีด

(( เรื่องการตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์และเรื่องการให้เอกภาพแก่อัลลอฮ์ ))


เพราะเรากำลังจะทำการวิจารณ์ทัศนะของอิบนุตัยมียะฮ์และกลุ่มวาฮาบีในเรื่องเตาฮีดและชีรีก

เนื่องจาก " ชาววาฮาบี " ชอบฮุก่มพี่น้องมุสลิมว่า เป็นพวกทำชีรีกที่ส่งผลให้ต้องหลุดออกจากอิสลาม  

เราจึงจำเป็นต้องรวบรวมกระทู้คำถามต่างๆมานำเสนอต่อพวกวาฮาบีเสียก่อน
จากนั้นจึงจะโต้แย้งและชี้แจงให้พวกวาฮาบีรับรู้ถึง " ข้อบกพร่อง " ของวาฮาบีในเรื่องเตาฮีดและชีรีก
 
โดยส่วนมากแล้ว พวกที่มีทัศนะตักฟีรมุสลิมเช่นนี้ มักถูกเรียกขานกันว่า  " พวกวาฮาบี "  เนื่องจากหัวหน้าใหญ่ของพวกเขามีชื่อว่า " อิบนุลวะฮาบ "
ถึงแม้ว่ารากเหง้าของคนกลุ่มนี้จะมีที่มาจาก " อิบนุตัยมียะฮ์ " ก็ตาม

ชาววาฮาบีมักเรียกตัวเองด้วยชื่ออันสวยหรูเช่น  สะลัฟ / อะฮ์ลุลหะดีษ และ อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ วัลญะมาอะฮ์

แต่ดูแล้ว ชื่อสุดท้าย วาฮาบีคงห่างไกลจากความจริงมาก  เพราะทัศนะวาฮาบีเป็นสิ่งบิดอะฮ์ที่ปรากฏโฉมขึ้นมาใหม่ในวงการของชาวซุนนี่  
จนชาวซุนนี่กล่าวว่า วาฮาบีนั้นไม่ใช่ส่วนหนึ่งของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ และไม่มีรากเหง้าใดๆจากชาวซุนนี่เลยแม้แต่น้อย


กลับมาที่เรื่องหลัก

ต้องขอกล่าวว่า พระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่านได้ประกาศชัดว่า  

บรรดาศาสดา (อะลัยฮิมุสสลาม) ทั้งหมด ถูกส่งมาเพื่อปฏิบัติภารกิจเดียวเท่านั้น

นั่นคือประกาศเรื่อง " เตาฮีด "  



พวกเขาประกาศกับชนทุกรุ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า


อัลเลาะฮ์คือ พระเจ้า , ผู้สร้าง ผู้ดูแลควบคุม และคือผู้ควรได้รับการสักการะเพียงองค์เดียวเท่านั้น

พระองค์ทรงเป็น " ร็อบ- พระผู้อภิบาล "  โดยที่ไม่มี " ร็อบ " อื่นจากพระองค์อีกแล้ว ดังที่ทรงตรัสว่า

أَأَرْبَابٌ مُّتَفَرِّقُونَ خَيْرٌ أَمِ اللّهُ الْوَاحِدُ الْقَهَّارُ

ร็อบ(พระเจ้า)หลายองค์ดีกว่า หรือว่า อัลเลาะฮ์ ผู้ทรงเอกะหนึ่งเดียว ผู้ทรงอานุภาพ (นั้นดีกว่า )

บท 12 : 39

พระองค์ทรงเป็น " อิลาฮฺ  - พระผู้เป็นเจ้า "   โดยที่ไม่มี  " อิลาฮฺ "  อื่นจากพระองค์อีกแล้ว ดังที่ทรงตรัสว่า

وَمَا أَرْسَلْنَا مِن قَبْلِكَ مِن رَّسُولٍ إِلَّا نُوحِي إِلَيْهِ أَنَّهُ لَا إِلَهَ إِلَّا أَنَا فَاعْبُدُونِ )الأنبياء /

และเรามิได้ส่งรอซูลคนใดมาก่อนหน้าเจ้า นอกจากเราได้มีวะฮีแก่เขาว่า แท้จริงไม่มีอิลาฮ์(พระเจ้า)อื่นใดที่เที่ยงแท้นอกจากข้า ดังนั้นพวกเจ้าจงอิบาดะฮ์(เคารพภักดี)ต่อข้า

บท 21 : 25

إِنَّنِي أَنَا اللَّهُ لَا إِلَهَ إِلَّا أَنَا فَاعْبُدْنِي

แท้จริงข้า คืออัลเลาะฮฺ  ไม่มีอิลาฮฺ(พระเจ้า)อื่นใดที่เที่ยงแท้นอกจากข้า  ดังนั้นเจ้าจงอิบาดะฮ์(เคารพภักดี)ต่อข้า

บท 20 : 14


มีโองการอีกมากมายที่กล่าวซ้ำ ย้ำถึงคำพูดของบรรดาศาสดาแห่งอัลลอฮ์ที่ว่า

يَا قَوْمِ اعْبُدُوا اللَّهَ مَا لَكُم مِّنْ إِلَهٍ غَيْرُهُ

โอ้ประชาชาติของฉัน  จงอิบาดะฮ์(เคารพสักการะ) อัลเลาะฮ์เถิด  ไม่มี(อิลาฮฺ)ผู้ควรได้รับการเคารพสักการะใดๆสำหรับพวกท่านอีกแล้ว อื่นจากพระองค์

บท 7 : 59


จะสังเกตได้ว่า  ในคัมภีร์อัลกุรอ่านได้กล่าวถึง 3 คำหลักๆดังนี้

1.   ร็อบ - พระผู้อภิบาล  -  الرَبُّ

2.   อิลาฮ์ – พระผู้เป็นเจ้า – الإِلَـهُ

3.   มะอ์บู๊ด - ผู้ได้รับการเคารพสักการะ - المَعْبُوْدُ


สำหรับคำ " อิลาฮ์ กับ ร็อบ " ตามปกตินั้นบรรดามุสลิมมีความเข้าใจชัดเจนดีอยู่แล้ว แม้ว่าที่มาในทางภาษาศาสตร์ของสองคำนี้จะแตกต่างกันอยู่ก็ตาม

แต่ถึงกระนั้นก็สรุปได้ว่า ทั้งสองคำนี้ได้บ่งชี้ไปยัง " เมาญู๊ด-สิ่งมี "  ที่ดำรงอยู่ในฐานะพระเจ้า ผู้สร้าง ผู้ควบคุมในกิจการงานต่างๆและความเป็นไปของโลกโดยพระองค์เอง และไม่มีใครมีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องกับพระองค์เลยแม้แต่น้อยนิด

สติปัญญาและธรรมชาติของมนุษย์ได้ส่งผลให้สำนึกว่า  การดำรงอยู่อย่างบริสุทธ์เพียงพระองค์เดียวนี้ คืออัลเลาะฮ์ ผู้ทรงเป็นพระเจ้าเพียงหนึ่งเดียว และทรงคู่ควรที่จะได้รับการอิบาดะฮ์เพียงองค์เดียวเท่านั้น จากบรรดาสิ่งที่มีอยู่ทั้งหลายในสากลโลก


นี่คือบทสรุปความหมายของคำว่า  " เตาฮีด " กับการปฏิญาณตนว่าด้วยคำว่า  

لَا إِلَهَ إِلَّا اللَّهُ

ลาอิลาฮะ  อิลัลเลาะฮ์  -  ไม่มีพระเจ้าอื่นใด  นอกจาก อัลเลาะฮ์ เท่านั้น.
  •  

L-umar



เตาฮีด  ความหมายทางภาษา

التوحيد : هو مصدر وحد يوحد توحيداً وهو : جعل الشيء واحداً

เตาฮีด : เป็นมัศดัร(อาการนาม) มาจากคำว่า

ว๊ะหะด่ะ - เขาได้ทำให้เหลือแค่หนึ่ง
ยุวะฮุดุ - เขากำลังทำให้เหลือแค่หนึ่ง
เตาฮีดัน – การทำให้เหลือแค่หนึ่ง


นิยาม เตาฮีด

والتوحيد اصطلاحاً : إفراد الله عز وجل بما يختص به

หมายถึง  การทำให้อัลเลาะฮ์ เป็นพระเจ้าเพียงองค์เดียวเท่านั้น
  •  

L-umar


สาเหตุที่คนทำชีรีก กับทัศนะของวาฮาบี


ความหลงผิดของคน เนื่องจากเขาคิดว่า พระเจ้ามีหลายองค์ พวกเขาจึงได้ตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์

ที่จริงแล้วการทำชีรีก คือการที่คนๆหนึ่งเชื่อว่า พระเจ้าที่สร้างสรรพสิ่งต่างๆนั้นมีมากกว่าหนึ่งองค์

เขาจึงคิดว่า พระเจ้าแต่ละองค์ก็มีอานุภาพ มีอิทธิฤทธิ์เป็นของตัวเองในกิจการทางโลก

ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงมุ่งไปสักการะ(อิบาดะฮ์)และขอพร(ดุอา)กับพระเจ้าองค์นั้นๆ

ซึ่งโดยส่วนมากมุชริกเหล่านั้นก็เชื่อว่า อัลเลาะฮ์เป็นพระเจ้าที่ยิงใหญ่ที่สุด แต่ขณะเดียวกันพวกเขาก็เชื่อว่า มีพระเจ้าองค์อื่นๆที่ใหญ่รองลงมาจากอัลเลาะฮ์ ซึ่งพวกเขาถือว่าพระเจ้าย่อยๆเหล่านั้นอยู่ในฐานะ  " บุตร ของ อัลเลาะฮ์ "

พวกเขาจึงทำการกราบไหว้ไปพร้อมกับอัลเลาะฮ์ด้วย เพราะคิดว่า พระเจ้าองค์อื่นๆก็มีอิทธิฤทธิ์ที่ได้รับมาจากอัลเลาะฮ์อีกที่หนึ่งนั่นเอง
  •  

L-umar

แต่พวกวาฮาบีไม่ได้มีความคิดสำหรับเรื่องชีรีกเหมือนที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

วาฮาบีมีมุมมองต่างออกไปจากนี้ เป็นทัศนะโดยเฉพาะของวาฮาบีในเรื่องชีรีกกับประชาชาติมุสลิมและประชาชาติที่มิใช่มุสลิม

วาฮาบีได้แบ่งเตาฮีดออกเป็น 3 ชนิดคือ

1.   เตาฮีด อุลูฮียะฮ์

2.   เตาฮีด รุบูบียะฮ์

3.   เตาฮีด อัสมาอ์ วัซซิฟาต
  •  

L-umar


วิเคราะห์ -

ทัศนะของวาฮาบีในเรื่องชีรีกมีสองประเด็น



หนึ่ง-  จำแนกเตาฮีดออกเป็นสองชนิด

1.   รุบูบียะฮ์ (อัลลอฮ์ในฐานะผู้สร้างและดูแล)

2.   อุลูฮียะฮ์ (อัลลอฮ์ในฐานะ ผู้ที่ควรให้การเคารพสักการะ)



สอง – ปัญหาหลักของคนทำชีรีกนั้น ตั้งอยู่ในเรื่องที่สอง คือปฏิเสธเรื่องเตาฮีดอุลูฮียะฮ์

คนทั่วไปมักตกอยู่ในเรื่อง ชีรีกอุลูฮียะฮ์ ไม่ใช่ ชีรีก " รุบูบียะฮ์ "

กล่าวคือ เขาจะสักการะ(อิบาดะฮ์) สิ่งอื่นไปพร้อมกับการอิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์

แต่มุชริกในอิบาดะฮ์ผู้นั้นก็เชื่อว่า  อัลเลาะฮ์คือ ผู้สร้าง  ผู้ดูแล ควบคุมสรรพสิ่งต่างในจักรวาล    ฉะนั้นเขาจึงมีเตาฮีดต่ออัลลอฮ์ในเรื่อง " รุบูบียะฮ์ "
  •  

L-umar


วาฮาบีมีทัศนะว่า  การกระทำสองประการนี้คือ การชีรีกต่ออัลลอฮ์


1.   การอาศัยสื่อกลาง(วะซีละฮ์)ในการทำอิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์

2.   การวิงวอน (ดุอาอ์) ผ่านสื่อวะซีละฮ์ไปยังอัลลอฮ์



หนึ่ง – หากมุสลิมคนหนึ่งมุ่งทำอิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์ โดยมีคนเอาลิยาอ์เป็นสื่อกลาง  
= มุสลิมคนนั้นได้ทำชีรีกแล้ว  ถึงแม้ว่าเขาจะไม่เคยเชื่อว่า สื่อวะซีละฮ์คือ ผู้สร้าง(คอลิก) และผู้ควบคุมดูแลก็ตาม


สอง-
 หากมุสลิมคนหนึ่งได้วอนขอความช่วยเหลือกับบ่าวคนหนึ่งหรือสิ่งหนึ่งอื่นจากอัลลอฮ์    
= มุสลิมคนนั้นได้ทำชีรีกแล้ว เพราะดุอาอ์คืออิบาดะฮ์ และอิบาดะฮ์ต้องมอบให้อัลลอฮ์เท่านั้น
ถึงแม้ว่าเขาจะไม่เคยเชื่อว่า ผู้ที่เขาร้องขอความช่วยเหลือคือ ร็อบ – ผู้ควบคุมดูแลก็ตาม


จะเห็นได้ชัดว่า การปฏิญานตนด้วยกะลิมะฮ์ชาฮะดะตัยนฺ การทำนมาซวาญิบและการทำอิบาดะฮ์วาญิบอื่นๆมิสามารถผลักไสความเป็นชีรีกออกไปจากมุสลิมคนนั้นได้ ในทัศนะของพวกวาฮาบี
  •  

L-umar



แต่ท่านอิบนุ อับดุลวาฮาบ หัวหน้าวาฮาบีมีทัศนะว่า  

บรรดามุสลิมที่มีกะลิมะฮ์ชาฮะดะตัยนฺนั้นได้ทำชีรีกหนักยิ่งกว่าพวกมุชริกอาหรับก่อนเข้ารับอิสลามเสียอีก
  •  

L-umar


ท่านเชคมุฮัมมัด บิน อับดุลวาฮาบ  กล่าวว่า


فاعلم أن شرك الأولين أخف من شرك أهل زماننا بأمرين :
أحدهما : أن الأولين لا يشركون ولا يدعون الملائكة والأولياء والأوثان مع الله إلا في الرخاء ، وأما الشدة فيخلصون لله الدعاء كما قال تعالى ( وَإِذَا مَسَّكُمُ الْضُّرُّ فِي الْبَحْرِ ضَلَّ مَن تَدْعُونَ إِلاَّ إِيَّاهُ فَلَمَّا نَجَّاكُمْ إِلَى الْبَرِّ أَعْرَضْتُمْ وَكَانَ الإِنْسَانُ كَفُورًا ) ...
الأمر الثاني : إن الأولين يدعون مع الله أناسا مقربين عند الله إما أنبياء وإما أولياء وإما ملائكة أو يدعون أشجارا أو أحجارا مطيعة لله ليست عاصية ، وأهل زماننا يدعون مع الله أناسا من أفسق الناس ، والذين يدعونهم هم الذين يحكون عنهم الفجور من الزنا والسرقة وترك الصلاة وغير ذلك
الكتاب : كشف الشبهات   المؤلف : محمد بن عبد الوهاب
ج 1 ص 27 الفصل الحادي عشر
المؤلف : الإمام محمد بن عبد الوهاب

พึงรู้เถิดว่า  แท้จริงการทำชีรีกของคนรุ่นก่อนนั้นเบากว่าการทำชีรีกของคนในสมัยของพวกเราทำกัน ด้วยสองประการคือ

ประการที่หนึ่ง-
คนสมัยก่อน ไม่ได้ตั้งภาคี และไม่ได้ขอดุอากับบรรดามลาอิกะฮ์, คนเอาลิยาอ์และรูปเจว็ดไปพร้อมกับอัลลอฮ์ ยกเว้นในยามมีสุข  ส่วนในยามเดือดร้อน พวกเขาจะมีความอิคล๊าศต่ออัลลอฮ์ในการขอดุอาอ์  ตามที่อัลลอฮ์ตะอาลาตรัสว่า

และเมื่อทุกขภัยประสบแก่พวกเจ้าในท้องทะเล  ผู้ที่พวกเจ้าวิงวอนขอก็จะสูญหายไป เว้นแต่พระองค์เท่านั้น  ต่อมาเมื่อพระองค์ทรงช่วยให้พวกเจ้ารอดพ้นขึ้นบก  พวกเจ้าก็จะหันหลังออกไป และมนุษย์นั้นเป็นผู้เนรคุณเสมอ    บท 17 : 67

ประการที่สอง –
แท้จริงคนสมัยก่อน จะวิงวอนขอ(ความช่วยเหลือ)กับผู้คนไปพร้อมอัลลอฮ์ (ซึ่งผู้ถูกวอนเหล่านั้น) เป็นผู้ที่มีความใกล้ชิด ณ.องค์อัลลอฮ์ เช่น คนเอาลิยาอ์ หรือมลาอิกะฮ์  หรือพวกเขาจะขอวิงวอน(ดุอา)กับต้นไม้ หรือก้อนหิน(รูปปั้น) อันเป็นการตออัต(เชื่อฟัง)ต่ออัลลอฮ์ ไม่ใช่เป็นการม๊ะอ์ซิยัต(ฝ่าฝืนต่อพระองค์)

ส่วนคนในยุคของพวกเรา จะวอนขอ(ความช่วยเหลือ)กับพวกชั่วช้าไปพร้อมกับอัลลอฮ์ ทั้งๆที่พวกเขาวอนขอกับพวกคนชั่ว พวกคนชั่วก็บอกเล่าถึงบาปของพวกเขาเองว่า เป็นคนที่ทำซีนา, ลักขโมย, ละทิ้งนมาซและอื่นๆ

อ้างอิงจากหนังสือกัชฟุช-ชุบฮ๊าต เล่ม 1 : 27 บทที่ 11


อะกีดะฮ์ของวาฮาบีคือคำพูดของพวกเขาเอง

สิ่งที่อิบนุ อับดุลวาฮาบกล่าวและเขียนไว้นี้คือ ความคิดหรืออุดมคติที่อิบนุตัยมียะฮ์ได้วางศิลาฤกษ์ไว้ แล้วอิบนุ อับดุลวาฮาบหัวหน้าขบวนการวาฮาบี ตลอดจนอุละมาอ์วาฮาบีได้มาสร้างสานมันอีกทีหนึ่ง  โดยพวกเขาได้วางรูปแบบโดยเฉพาะไว้ให้กับความหมายสำหรับคำว่า   " เตาฮีด และชีรีก "
  •  

L-umar


สิ่งสำคัญในการวิจารณ์อะกีดะฮ์ของพวกวาฮาบีคือ

 
จำเป็นต้องนำคำพูดของอุละมาอ์วาฮาบีที่อธิบายถึงอะกีดะฮ์(ความเชื่อ)ของพวกวาฮาบีเองมาตีแผ่ และมาวิจารณ์

เพื่อท่านผู้อ่านทั้งหลาย  จะได้ไม่คิดว่า   ทางเวบนี้ได้กุเรื่องขึ้นมาใส่ร้ายหรือโจมตีพวกวาฮาบี  แบบไร้หลักฐาน



โดยเราจะเน้นเฉพาะคำพูดของท่านเชคทั้งสองคือ

1.    อิบนุ ตัยมียะฮ์

2.   มุฮัมมัด บินอับดุลวาฮาบ


มาเป็นหลักฐานในการวิจารณ์ถึงอะกีดะฮ์ของวาฮาบีเท่านั้น


บางครั้งอาจจำเป็นต้องนำคำพูดของอุละมาอ์วาฮาบีคนอื่นๆมากล่าวบ้างในตอนที่เราจะทำการโต้แย้งกับพวกวาฮาบี
  •  

L-umar


อุละมาอ์วาฮาบีได้เน้นย้ำว่า ชีรีก(การตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์) แบ่งออกเป็น


1.   ชีรีก รุบูบียะฮ์

2.   ชีรีก อุลูฮียะฮ์



อุละมาอ์วาฮาบียังกล่าวอีกว่า เดิมทีพวกมุชริก(ในยุคก่อนประกาศอิสลาม)นั้นเชื่อว่า อัลลอฮ์เป็นผู้สร้างโลกเพียงองค์เดียว   พวกเขาไม่เคยเป็นผู้ตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์ในเรื่อง" รุบูบียะฮ์ "

อันที่จริงแล้วพวกเขาตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์ในเรื่อง" อุลูฮียะฮ์ "เท่านั้น  หมายถึง ให้การเคารพสักการะ(อิบาดะฮ์)ต่อสิ่งอื่น ในฐานะที่สิ่งเหล่านั้นเป็น" สื่อกลาง " ระหว่างพวกเขากับอัลลอฮ์ พวกเขาจึงวิงวอนกับสิ่งนั้นและทำการอิบาดะฮ์ต่อสิ่งนั้น
  •  

50 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้