Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

ธันวาคม 24, 2024, 12:44:29 ก่อนเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
  • สมาชิกทั้งหมด: 1,718
  • Latest: Haroldsmolo
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 3,708
  • หัวข้อทั้งหมด: 778
  • Online today: 11
  • Online ever: 200
  • (กันยายน 14, 2024, 01:02:03 ก่อนเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 10
Total: 10

วิจัยหะดีษมันกุนตุเมาลาฮุ ฟะอะลียุนเมาลาฮุ แบบสุดๆ

เริ่มโดย L-umar, พฤศจิกายน 11, 2009, 11:30:03 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar

สืบเนื่องจากกระทู้ที่แล้ว ท่านสามารถอ่านได้จากบทความนี้

http://www.q4sunni.com/believe/index.php?option=com_kunena&Itemid=71&func=view&catid=2&id=1174&limit=6&limitstart=24#1212




ฟะดีลัตที่  สิบ


เราเดินทางมาถึงหะดีษ 10 ฟะดีลัต (ความประเสริฐของท่านอะลี ) ที่ท่านอิบนุอับบาสเล่า


ฟะดีลัตสุดท้ายท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า :  ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า :

مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ
 
บุคคลใดที่ฉันคือ " เมาลา " ของเขา อะลี ก็คือ" เมาลา " ของเขา
  •  

L-umar


หะดีษ เฆาะดีร

หรือหะดีษ มันกุนตุเมาลาฮุ ฟะอะลียุนเมาลาฮุ





ตำราชีอะฮ์รายงานว่า    ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า :

مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ

บุคคลใดที่ฉันเป็นเมาลาของเขา ดังนั้นอะลีก็คือเมาลาของเขา



สถานะหะดีษ : เศาะหิ๊หฺ   ดูอัลกาฟี  โดยเชคกุลัยนี เล่ม 1: 286 หะดีษ 1
ตรวจทานโดยมัรกะซุล บุฮูซ คอมพิวเตอร์ ลิลอุลูมิลอิสลามียะฮ์ เมืองกุม อิหร่าน




ตำราอะฮ์ลุสสุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์รายงานว่า  ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)กล่าวว่า :

مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ
 
บุคคลใดที่ฉันคือ " เมาลา " ของเขา อะลี ก็คือ" เมาลา " ของเขา



สถานะหะดีษ : เศาะหิ๊หฺ   ดูซอฮีฮุต - ติรมิซี เล่ม 3 : 213 หะดีษ 2930
ตรวจทานโดยเชคมุฮัมมัด นาศิรุดดีน อัลบานี



อิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานีกล่าวว่า :

وَأَمَّا حَدِيث \\\" مَنْ كُنْت مَوْلَاهُ فَعَلِيّ مَوْلَاهُ \\\" فَقَدْ أَخْرَجَهُ التِّرْمِذِيّ وَالنَّسَائِيّ ، وَهُوَ كَثِير الطُّرُق جِدًّا ، وَقَدْ اِسْتَوْعَبَهَا اِبْن عُقْدَة فِي كِتَاب مُفْرَد ، وَكَثِير مِنْ أَسَانِيدهَا صِحَاح وَحِسَان
فتح الباري لابن حجر  ج 11 ص 5 ح 3430

ส่วนหะดีษ " มันกุนตุเมาลาฮุ ฟะอะลียุนเมาลาฮุ "   นั้นท่านติรมิซีและท่านนะซาอีได้รายงานเอาไว้  เป็นหะดีษที่มีสายรายงานมากมายจริงๆ  ท่านอิบนุอุกดะฮ์ได้รวมรวมหะดีษทั้งหมดนี้ไว้ในหนังสือชื่อมุฟร็อด  และส่วนมากจากสายรายงานต่างๆของหะดีษนี้ มีทั้งเศาะหิ๊หฺและฮาซัน    

ดูหนังสือฟัตฮุลบารี  เล่ม  11 : 5 หะดีษ 3430



ที่ผมเอาหะดีษ (( มันกุนตุเมาลาฮุ ฟะอะลียุนเมาลาฮุ )) ที่ได้รายงานตรงกันและนักวิชาการให้การรับรองว่าเป็น หะดีษที่ มีสายรายงานเชื่อถือได้ และถูกต้อง
ก็เพื่อต้องการให้ข้อสรุปเบื้องต้นสำหรับท่านผู้อ่านทั้งหลายว่า

1.   ทั้งซุนนี่ – ชีอะฮ์   มีรายงานหะดีษไว้ทั้งสองฝ่าย
2.   นักวิชาการทั้งสองฝ่ายตรวจทานแล้วและรับรองว่า  เป็นหะดีษเศาะหิ๊หฺ

เมื่อเราผ่านขั้นตอนแรกแล้ว   ต่อไปเราจะมาวิจัยถึงความหมายของคำว่าเมาลาหรือวะลีว่า   ตามความเป็นจริงและความถูกต้องแล้ว  เมาลาในหะดีษนี้ควรจะให้ความหมายว่าอะไรที่เหมาะสมที่สุด


ดังจะได้กล่าวต่อไป  อินชาอัลลอฮ์...
  •  

L-umar


การที่ชีอะฮ์เชื่อว่า  

ท่านอะลี คือคอลีฟะฮ์สืบต่อจากท่านนบีมุฮัมมัด(ศ) มิใช่มาจากนัฟซูตามที่ชาวอะฮ์ลุสสุนนะฮ์บางส่วนประณามใส่ร้าย  แต่ชีอะฮ์มีหลักฐานระบุไว้ในตำราของเขาเองเช่น



بَابُ مَا نَصَّ اللَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ وَ رَسُولُهُ عَلَى الْأَئِمَّةِ ع وَاحِداً فَوَاحِداً

عَلِيُّ بْنُ إِبْرَاهِيمَ عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ عِيسَى عَنْ يُونُسَ وَ عَلِيُّ بْنُ مُحَمَّدٍ عَنْ سَهْلِ بْنِ زِيَادٍ أَبِي سَعِيدٍ عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ عِيسَى عَنْ يُونُسَ عَنِ ابْنِ مُسْكَانَ عَنْ أَبِي بَصِيرٍ قَالَ سَأَلْتُ أَبَا عَبْدِ اللَّهِ ع عَنْ قَوْلِ اللَّهِ عَزَّ وَ جَلَّ أَطِيعُوا اللَّهَ وَ أَطِيعُوا الرَّسُولَ وَ أُولِي الْأَمْرِ مِنْكُمْ (النساء -: 59 -) فَقَالَ نَزَلَتْ فِي عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ وَ الْحَسَنِ وَ الْحُسَيْنِ ع فَقُلْتُ لَهُ إِنَّ النَّاسَ يَقُولُونَ فَمَا لَهُ لَمْ يُسَمِّ عَلِيّاً وَ أَهْلَ بَيْتِهِ ع فِي كِتَابِ اللَّهِ عَزَّ وَ جَلَّ قَالَ فَقَالَ قُولُوا لَهُمْ إِنَّ رَسُولَ اللَّهِ ص نَزَلَتْ عَلَيْهِ الصَّلَاةُ وَ لَمْ يُسَمِّ اللَّهُ لَهُمْ ثَلَاثاً وَ لَا أَرْبَعاً حَتَّى كَانَ رَسُولُ اللَّهِ ص هُوَ الَّذِي فَسَّرَ ذَلِكَ لَهُمْ وَ نَزَلَتْ عَلَيْهِ الزَّكَاةُ وَ لَمْ يُسَمِّ لَهُمْ مِنْ كُلِّ أَرْبَعِينَ دِرْهَماً دِرْهَمٌ حَتَّى كَانَ رَسُولُ اللَّهِ ص هُوَ الَّذِي فَسَّرَ ذَلِكَ لَهُمْ وَ نَزَلَ الْحَجُّ فَلَمْ يَقُلْ لَهُمْ طُوفُوا أُسْبُوعاً حَتَّى كَانَ رَسُولُ اللَّهِ ص هُوَ الَّذِي فَسَّرَ ذَلِكَ لَهُمْ وَ نَزَلَتْ أَطِيعُوا اللَّهَ وَ أَطِيعُوا الرَّسُولَ وَ أُولِي الْأَمْرِ مِنْكُمْ (النساء -: 59 -) وَ نَزَلَتْ فِي عَلِيٍّ وَ الْحَسَنِ وَ الْحُسَيْنِ فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ ص فِي عَلِيٍّ مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ وَ قَالَ ص أُوصِيكُمْ بِكِتَابِ اللَّهِ وَ أَهْلِ بَيْتِي فَإِنِّي سَأَلْتُ اللَّهَ عَزَّ وَ جَلَّ أَنْ لَا يُفَرِّقَ بَيْنَهُمَا حَتَّى يُورِدَهُمَا عَلَيَّ الْحَوْضَ فَأَعْطَانِي ذَلِكَ وَ قَالَ لَا تُعَلِّمُوهُمْ فَهُمْ أَعْلَمُ مِنْكُمْ وَ قَالَ إِنَّهُمْ لَنْ يُخْرِجُوكُمْ مِنْ بَابِ هُدًى وَ لَنْ يُدْخِلُوكُمْ فِي بَابِ ضَلَالَةٍ فَلَوْ سَكَتَ رَسُولُ اللَّهِ ص فَلَمْ يُبَيِّنْ مَنْ أَهْلُ بَيْتِهِ لَادَّعَاهَا آلُ فُلَانٍ وَ آلُ فُلَانٍ وَ لَكِنَّ اللَّهَ عَزَّ وَ جَلَّ أَنْزَلَهُ فِي كِتَابِهِ تَصْدِيقاً لِنَبِيِّهِ ص إِنَّما يُرِيدُ اللَّهُ لِيُذْهِبَ عَنْكُمُ الرِّجْسَ أَهْلَ الْبَيْتِ وَ يُطَهِّرَكُمْ تَطْهِيراً (الأحزاب -: 33 -) فَكَانَ عَلِيٌّ وَ الْحَسَنُ وَ الْحُسَيْنُ وَ فَاطِمَةُ ع فَأَدْخَلَهُمْ رَسُولُ اللَّهِ ص تَحْتَ الْكِسَاءِ فِي بَيْتِ أُمِّ سَلَمَةَ ثُمَّ قَالَ اللَّهُمَّ إِنَّ لِكُلِّ نَبِيٍّ أَهْلًا وَ ثَقَلًا وَ هَؤُلَاءِ أَهْلُ بَيْتِي وَ ثَقَلِي فَقَالَتْ أُمُّ سَلَمَةَ أَ لَسْتُ مِنْ أَهْلِكَ فَقَالَ إِنَّكِ إِلَى خَيْرٍ وَ لَكِنَّ هَؤُلَاءِ أَهْلِي وَ ثِقْلِي فَلَمَّا قُبِضَ رَسُولُ اللَّهِ ص كَانَ عَلِيٌّ أَوْلَى النَّاسِ بِالنَّاسِ لِكَثْرَةِ مَا بَلَّغَ فِيهِ رَسُولُ اللَّهِ ص وَ إِقَامَتِهِ لِلنَّاسِ وَ أَخْذِهِ بِيَدِهِ فَلَمَّا مَضَى عَلِيٌّ لَمْ يَكُنْ يَسْتَطِيعُ عَلِيٌّ وَ لَمْ يَكُنْ لِيَفْعَلَ أَنْ يُدْخِلَ مُحَمَّدَ بْنَ عَلِيٍّ وَ لَا الْعَبَّاسَ بْنَ عَلِيٍّ وَ لَا وَاحِداً مِنْ وُلْدِهِ إِذاً لَقَالَ الْحَسَنُ وَ الْحُسَيْنُ إِنَّ اللَّهَ تَبَارَكَ وَ تَعَالَى أَنْزَلَ فِينَا كَمَا أَنْزَلَ فِيكَ فَأَمَرَ بِطَاعَتِنَا كَمَا أَمَرَ بِطَاعَتِكَ وَ بَلَّغَ فِينَا رَسُولُ اللَّهِ ص كَمَا بَلَّغَ فِيكَ وَ أَذْهَبَ عَنَّا الرِّجْسَ كَمَا أَذْهَبَهُ عَنْكَ فَلَمَّا مَضَى عَلِيٌّ ع كَانَ الْحَسَنُ ع أَوْلَى بِهَا لِكِبَرِهِ فَلَمَّا تُوُفِّيَ لَمْ يَسْتَطِعْ أَنْ يُدْخِلَ وُلْدَهُ وَ لَمْ يَكُنْ لِيَفْعَلَ ذَلِكَ وَ اللَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ يَقُولُ وَ أُولُوا الْأَرْحامِ بَعْضُهُمْ أَوْلى‏ بِبَعْضٍ فِي كِتابِ اللَّهِ (الأنفال -: 75 -) فَيَجْعَلَهَا فِي وُلْدِهِ إِذاً لَقَالَ الْحُسَيْنُ أَمَرَ اللَّهُ بِطَاعَتِي كَمَا أَمَرَ بِطَاعَتِكَ وَ طَاعَةِ أَبِيكَ وَ بَلَّغَ فِيَّ رَسُولُ اللَّهِ ص كَمَا بَلَّغَ فِيكَ وَ فِي أَبِيكَ وَ أَذْهَبَ اللَّهُ عَنِّي الرِّجْسَ كَمَا أَذْهَبَ عَنْكَ وَ عَنْ أَبِيكَ فَلَمَّا صَارَتْ إِلَى الْحُسَيْنِ ع لَمْ يَكُنْ أَحَدٌ مِنْ أَهْلِ بَيْتِهِ يَسْتَطِيعُ أَنْ يَدَّعِيَ عَلَيْهِ كَمَا كَانَ هُوَ يَدَّعِي عَلَى أَخِيهِ وَ عَلَى أَبِيهِ لَوْ أَرَادَا أَنْ يَصْرِفَا الْأَمْرَ عَنْهُ وَ لَمْ يَكُونَا لِيَفْعَلَا ثُمَّ صَارَتْ حِينَ أَفْضَتْ إِلَى الْحُسَيْنِ ع فَجَرَى تَأْوِيلُ هَذِهِ الْآيَةِ وَ أُولُوا الْأَرْحامِ بَعْضُهُمْ أَوْلى‏ بِبَعْضٍ فِي كِتابِ اللَّهِ (الأنفال -: 75 -) ثُمَّ صَارَتْ مِنْ بَعْدِ الْحُسَيْنِ لِعَلِيِّ بْنِ الْحُسَيْنِ ثُمَّ صَارَتْ مِنْ بَعْدِ عَلِيِّ بْنِ الْحُسَيْنِ إِلَى مُحَمَّدِ بْنِ عَلِيٍّ ع وَ قَالَ الرِّجْسُ هُوَ الشَّكُّ وَ اللَّهِ لَا نَشُكُّ فِي رَبِّنَا أَبَداً  


อะลี บินอิบรอฮีม จากมุฮัมมัด บินอีซา จากยูนุส,และอะลี บินมุฮัมมัด บินซะฮัล บินซิยาด อบีสะอีด จากมุฮัมมัด บินอีซา จากยูนุส จาก อิบนิมุสกาน จากอบูบะศีร เล่าว่า :


ฉันได้ถามท่านอบูอับดุลลอฮ์ ( อิม่ามศอดิก ) ถึงพระดำรัสของอัลลอฮ์ อัซวะวะญัลที่ตรัสว่า  

( พวกเจ้าจงเชื่อฟังอัลลอฮ์และจงเชื่อฟังรอซูลและผู้ปกครองจากหมู่พวกเจ้า ) บทที่ 4 : 59  
อิม่ามกล่าวว่า : โองการนี้ประทานให้กับท่านอะลี บินอบีตอลิบ, อัลฮาซันและอัลฮูเซน


อบูบะศีรกล่าวว่า :  
แท้จริงผู้คนกล่าวกันว่า มันเกิดอะไรขึ้นกับเขา  ทำไมชื่ออะลีและอะฮ์ลุลบัยต์ของเขาจึงไม่มีกล่าวไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน  ?



อิม่ามกล่าวว่า :  พวกเจ้าจงถามพวกเขาซิว่า :

แท้จริงท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) ได้รับบัญญัติการนมาซลงมาแก่ท่าน  อัลลอฮ์มิได้บอกว่า (นมาซ ) มี 3 หรือ 4 ร่อกะอะฮ์ จนท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้เป็นผู้อธิบายสิ่งนั้น, และ

การจ่ายซะกาตได้บัญญัติลงมา และพระองค์มิได้บอกกับพวกเขาว่า(ใครมีทรัพย์)ทุกสี่สิบดิรฮัม ต้องจ่ายซะกาตหนึ่งดิรฮัม จนท่านรอซูลลุลลอฮ์ (ศ) ต้องเป็นผู้อธิบายสิ่งนั้นแก่พวกเขา, และ

การประกอบพิธีฮัจญ์ได้บัญญัติลงมา แล้วพระองค์มิได้บอกกับพวกเขาว่า  พวกเจ้าจงตอว๊าฟเดินเวียน(รอบกะอ์บะฮ์) เจ็ดรอบ จนท่านรอซูลลุลลอฮ์(ศ)ได้เป็นผู้อธิบายสิ่งนั้นแก่พวกเขา

เมื่อโองการ ( พวกเจ้าจงเชื่อฟังอัลลอฮ์ และจงเชื่อฟังรอซูลและผู้ปกครองจากหมู่พวกเจ้า ) ประทานลงมา  โองการนี้ประทานให้กับท่านอะลี,อัลฮาซันและอัลฮูเซน  
ดังนั้นท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) ได้กล่าวเกี่ยวกับท่านอะลี (อ) ว่า :

บุคคลใดที่ฉันเป็นผู้ปกครอง (เมาลา) ของเขา ดังนั้นอาลีก็คือเมาลาของเขา

ท่านรอซูล(ศ)ยังได้กล่าวอีกว่า : ฉันขอสั่งเสียพวกท่าน ( ให้ปฏิบัติตาม) กิตาบุลเลาะฮ์และอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน  แท้จริงฉันได้วิงวอนขอต่ออัลลอฮ์ว่า อย่าให้ระหว่างสองสิ่งนั้นแยกจากกัน จนกว่าจะนำสองสิ่งนั้นกลับคืนมายังฉันที่อัลเฮาฎ์ แล้วพระองค์ได้ตอบรับคำขอนั้นแก่ฉัน

ท่านรอซูล(ศ)กล่าวว่า : พวกเจ้าจงอย่าสอนความรู้กับพวกเขา(อะฮ์ลุลบัยต์) เพราะพวกเขารู้มากกว่าพวกเจ้า  และท่านรอซูล(ศ)กล่าวว่า  แท้จริงพวกเขาจะไม่มีวันพาพวกเจ้าออกจากประตูแห่งทางนำ และพวกเขาจะไม่มีวันพาพวกเจ้าเข้าสู่ประตูแห่งการหลงผิด

หากท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)นิ่งเงียบไม่เคยอธิบายว่า ใครคืออะฮ์ลุลบัยต์ของท่าน จะต้องมีคนตระกูลนั้นตระกูลนี้อ้างว่า ตนคืออะฮ์ลุลบัยต์ของท่านนบีอย่างแน่นอน,
แต่อัลลอฮ์ทรงประทาน(โองการหนึ่ง)ไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ เพื่อให้เชื่อมั่นต่อศาสดาของพระองค์ว่า
( อันที่จริง อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ที่จะขจัดความโสมมออกจากพวกเจ้า โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ของนบี  และ(ทรงประสงค์ที่จะ)ชำระพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์ ) (บทที่ 33:33)
ปรากฏว่าท่านอะลี ฟาติมะฮ์ ฮาซันและฮูเซน พวกเขาได้ถูกท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)นำเข้ามาอยู่ภายใต้ผ้าคลุมกีซา ในบ้านของท่านหญิงอุมมุสะละมะฮ์
จากนั้นท่านรอซูล(ศ)ได้กล่าวว่า  :
โอ้อัลลอฮ์ แท้จริงนบีทุกคนล้วนมีครอบครัวและคนสำคัญและบุคคลเหล่านี้คือครอบครัวของข้าพเจ้าและเป็นคนสำคัญของข้าพเจ้า

ท่านหญิงอุมมุสะละมะฮ์ ถามว่า :  แล้วดิฉันไม่ใช่ครอบครัวของท่านดอกหรือ ?
ท่านรอซูล(ศ)ตอบว่า : แท้จริงเธออยู่ตรงที่ๆดีอยู่แล้ว  แต่บุคคลเหล่านี้คือครอบครัวของฉันและเป็นคนสำคัญของฉัน,

ต่อมาเมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)มรณกรรม  ปรากฏว่า ท่านอะลีคือบุคคลที่มีสิทธิด้านการปกครองประชาชนมากที่สุด
เพราะท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้ประกาศถึงสิทธิของเขาไว้มากมายและท่าน(ศ)ได้แต่งตั้งเขาต่อหน้าสาธารณชนท่าน(รอซูลได้จับมืออะลีชูขึ้น

เมื่อท่านอะลี(อ)สิ้นชีพ  ท่านอะลีไม่สามารถทำได้ – ท่านไม่เคยคิดที่จะทำคือ- นำเอาท่านมุฮัมมัด บินอะลีและไม่ว่าจะเป็นท่านอับบาส บินอะลีหรือแม้แต่บุตรชายคนใดของท่าน (เข้ามาเป็นอิม่ามแทนตัวท่านได้)
ฉะนั้นแน่นอนท่านฮาซันและฮูเซนจะต้องกล่าว(กับบิดา)ว่า  แท้จริงอัลลอฮ์ ตะบาร่อกะ วะตะอาลาได้ประทาน (ตำแหน่งอิม่าม) แก่เราดังที่ทรงประทานแก่ท่าน ดังนั้นพระองค์ทรงสั่ง(ประชาชน)ให้เชื่อฟังพวกเรา เหมือนที่เคยสั่งให้เชื่อฟังท่าน  และทรงประกาศถึงสิทธิของพวกเราไว้เหมือนที่เคยประกาศไว้ในเรื่องสิทธิของท่าน
และทรงขจัดความโสมมออกไปจากพวกเรา ดังที่ทรงขจัดความโสมมนั้นออกไปจากท่าน  
ต่อมาเมื่อท่านอะลีสิ้นชีพ   ปรากฏว่าท่านฮาซันคือผู้ที่มีสิทธิต่อตำแหน่ง (อิม่าม) มากที่สุดเพราะท่านเป็นบุตรชายคนโตของเขา  เมื่อท่านฮาซันสิ้นชีพ   ท่านก็ไม่สามารถเอาบุตรชายของท่านเข้ามา(เป็นอิม่ามแทนท่านได้) และท่านก็ไม่เคยคิดจะทำเช่นนั้น  
อัลลอฮ์อัซซะ วะญัลได้ตรัสว่า ( บรรดาผู้ที่เป็นเครือญาติ บางคนของพวกเขามีสิทธิเหนือกว่าบางคนในคัมภีร์ของอัลลอฮ์) บทที่ 8 : 75 และบทที่  33 : 33
(ถ้า)ท่านฮาซันจะมอบตำแหน่ง(อิม่าม)ไว้ในบุตรชายของท่าน..
ฉะนั้น ท่านฮูเซนจะต้องกล่าว(กับพี่ชาย)ว่า  แท้จริงอัลลอฮ์ ทรงสั่ง(ประชาชน)ให้เชื่อฟังฉัน เหมือนที่เคยสั่งให้เชื่อฟังท่านและบิดาท่าน  และทรงประกาศถึงสิทธิของท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ไว้เหมือนที่เคยประกาศเรื่องสิทธิของท่านและบิดาท่านไว้  และทรงขจัดความโสมมออกไปจากตัวฉัน ดั่งที่ทรงขจัดความโสมมนั้นออกไปจากท่านและบิดาของท่าน  
ต่อมาเมื่อตำแหน่งอิม่ามได้มาเป็นของท่านฮูเซน  ไม่มีอะฮ์ลุลบัยต์ของท่านคนใดอ้างถึงสิทธินี้  เหมือนเช่นที่เคยเป็นของพี่ชายและบิดาของท่าน  แม้นว่าทั้งสองคนนี้ต้องการบิดเบือนคำบัญชานี้(ที่จะ)ไม่มอบให้แก่เขา(ฮูเซน)  แน่นอนเขาทั้งสองก็ไม่อาจจะทำเช่นนั้นได้   เมื่อตำแหน่งอิม่ามได้มาเป็นของท่านฮูเซน ฉะนั้นการตีความของโองการที่ว่า ( บรรดาผู้ที่เป็นเครือญาติ บางคนของพวกเขามีสิทธิเหนือกว่าบางคนในคัมภีร์ของอัลลอฮ์ ) ยังคงดำเนินต่อไปภายหลังจากอิม่ามฮูเซน ( มันได้ถูกถ่ายทอด)สู่ท่านอะลี บินฮูเซน จากนั้นจากท่านอะลีบินฮูเซน (ได้ถ่ายทอด) สู่ท่านมุฮัมมัด บินอะลี

แล้วท่าน(อิม่ามศอดิก)กล่าวว่า :  ความโสมม(อัล-ริจญ์สุ)ในที่นี้คือ ความสงสัย(อัช-ชักกุ) ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ว่า  พวกเราไม่มีวันสงสัยในเรื่องของพระเจ้าของพวกเรา  ตลอดกาล.    

สถานะหะดีษ  : เศาะหิ๊หฺ ดูอัลกาฟี เชคกุลัยนี  เล่ม 1 : 286 หะดีษ 2
ตรวจทานโดยมัรกะซุล บุฮูซ คอมพิวเตอร์ ลิลอุลูมิลอิสลามียะฮ์ เมืองกุม อิหร่าน

 


วิเคราะห์


1, หากตำแหน่งอิม่ามผู้นำมีความสำคัญมาก ทำไมอัลกุรอานจึงไม่บอกรายชื่อบุคคลเหล่านี้ไว้ให้ชัดเจน ทำไมอัลกุรอานถึงไม่กล่าวชื่ออะลีและชื่อบรรดาอิม่าม เพื่อจะได้ขจัดข้อสงสัยออกไป ด้วยรูปแบบที่เด็ดขาด ? มุสลิมจะได้ไม่ต้องหลงทาง ?
ตอบ ตามที่อัลกุรอานประทานลงมาว่า การนมาซ,ซะกาตและการถือศีลอดแม้จะเป็นเรื่องวาญิบก็จริงอยู่ แต่อัลกุรอานก็มิได้ชี้แจงกฏเกณฑ์เหล่านี้ไว้อย่างละเอียด  เรื่องอิม่ามผู้นำก็เช่นกัน แม้ว่าอัลกุรอานได้ลงมาว่า จำเป็นต้องเชื่อฟังบรรดาอิม่ามหรืออุลุล อัมริ(ผู้นำ,ผู้ปกครอง) แต่อัลลอฮ์ทรงมอบหมายให้ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)เป็นผู้ประกาศรายชื่อของพวกเขาเหล่านั้นแทนอัลลอฮ์  และท่านนบี(ศ)ได้ทำหน้าที่นั้นอย่างสมบูรณ์แล้ว
2, เรื่องตำแหน่งอิม่ามผู้นำและการแต่งตั้งผู้นำคือกิจการงานของอัลลอฮ์    มิได้เกี่ยวข้องกับเรื่องการสืบทอดมรดกทางเชื้อสาย หรือเป็นความต้องการของอิม่ามคนก่อนที่จะแต่งตั้งอิม่ามคนต่อไปตามอำเภอใจได้ เพราะมนุษย์ไม่มีสิทธิทำเช่นนั้นตามอำเภอใจได้  ดังนั้นการแต่งตั้งอิม่ามทั้ง 12 คนจึงเป็นการแต่งตั้งจากอัลลอฮ์โดยผ่านคำพูดของท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)



หะดีษรายชื่อ 12  อิม่ามของชีอะฮ์ :

 
بَابُ اسْتِحْبَابِ الدُّعَاءِ فِي سَجْدَتَيِ الشُّكْرِ وَ بَيْنَهُمَا بِالْمَأْثُور
ِ
عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ جُنْدَبٍ عَنْ مُوسَى بْنِ جَعْفَرٍ (ع) أَنَّهُ قَالَ :

تَقُولُ فِي سَجْدَةِ الشُّكْرِ اللَّهُمَّ إِنِّي أُشْهِدُكَ وَ أُشْهِدُ مَلَائِكَتَكَ وَ أَنْبِيَاءَكَ وَ رُسُلَكَ وَ جَمِيعَ خَلْقِكَ أَنَّكَ أَنْتَ اللَّهُ رَبِّي وَ الْإِسْلَامَ دِينِي وَ مُحَمَّداً نَبِيِّي وَ عَلِيّاً وَ الْحَسَنَ وَ الْحُسَيْنَ وَ عَلِيَّ بْنَ الْحُسَيْنِ وَ مُحَمَّدَ بْنَ عَلِيٍّ وَ جَعْفَرَ بْنَ مُحَمَّدٍ وَ مُوسَى بْنَ جَعْفَرٍ وَ عَلِيَّ بْنَ مُوسَى وَ مُحَمَّدَ بْنَ عَلِيٍّ وَ عَلِيَّ بْنَ مُحَمَّدٍ وَ الْحَسَنَ بْنَ عَلِيٍّ وَ الْحُجَّةَ بْنَ الْحَسَنِ بْنِ عَلِيٍّ أَئِمَّتِي بِهِمْ أَتَوَلَّى وَ مِنْ أَعْدَائِهِمْ أَتَبَرَّأُ ... ‏

อับดุลลอฮ์ บินญุนดุบรายงานจาก : อิม่ามมูซา บินญะอ์ฟัร (อิม่ามที่ 7 )  ว่า : ท่านจะต้องกล่าว(ดุอาอ์)ในการทำสัจญ์ดะฮ์ชุกูรว่า :
 
โอ้อัลลอฮ์  แท้จริงข้าพระองค์ขอปฏิญาณตนต่อพระองค์  ต่อบรรดามลาอิกะฮ์ของพระองค์  ต่อบรรดานบีของพระองค์  ต่อบรรดารอซูลของพระองค์และต่อสิ่งถูกสร้างทั้งหลายของพระองค์ว่า  แท้จริงพระองค์คืออัลลอฮ์ ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของข้าพระองค์   อัลอิสลาม(เป็นศาสนาของข้าพระองค์)  มุฮัมมัดเป็นนบีของข้าพระองค์   และ

1,ท่านอะลี
2,อัลฮาซัน
3,อัลฮูเซน
4,อะลี บินฮูเซน
5,มุฮัมมัด บินอะลี
6,ญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด
7,มูซา บินญะอ์ฟัร
8,อะลี บินมูซา
9,มุฮัมมัด บินอะลี
10,อะลี บินมุฮัมมัด
11,อัลฮาซัน บินอะลี และ
12,อัลฮุจญะฮ์ บินอัลฮาซัน


(พวกเขา) คือบรรดาอิม่ามผู้นำของข้าพระองค์  
ซึ่งข้าพระองค์จะรักและปฏิบัติตามพวกเขา  และจะไม่ข้องเกี่ยวกับบรรดาศัตรูของพวกเขา  


สถานะหะดีษ : เศาะหิ๊หฺ
ดูวะซาอิลุช-ชีอะฮ์  โดยอัลฮุรรุลอามิลี เล่ม 7 : 15 หะดีษ 8585  
ตรวจทานโดยอยาตุลเลาะฮ์ ญะวาด ตับรีซี




วิเคราะห์

หะดีษนี้ได้ปิดประตูบรรดาชีอะฮ์กลุ่มต่างๆที่แยกตัวออกไปจากแนวทางชีอะฮ์ 12  อิม่าม หรือชีอะฮ์อิษนา อะชะรียะฮ์
และปิดประตูผู้ที่ใส่ร้ายชีอะฮ์ว่า อุปโลกน์รายชื่ออิม่ามทั้งสิบสองขึ้นมาเอง


(( อันมัซฮับหนึ่งที่พิสูจน์ตัวเอง จากตำราของฝ่ายตรงข้าม สมควรอย่างยิ่งที่ต้องปฏิบัติตาม

ส่วนมัซฮับหนึ่งที่ถูกอ้างอิงหลักฐานในสิ่งที่อยู่ในตำราของเขา แต่เขากลับพยายามตีความหลีกเลี่ยงเป็นอื่น ก็สมควรอย่างยิ่งที่ต้องออกห่างจากมัซฮับนั้น ))



นับเป็นเรื่องแปลกแต่จริงคือ  
ความเชื่อของชีอะฮ์มีกล่าวไว้ในตำราของชีอะฮ์เอง และยังมีกล่าวไว้ในตำราของฝ่ายซุนนี่

ในทางตรงกันข้ามคือ
ความเชื่อของซุนนี่มีกล่าวไว้ในตำราของซุนนี่เอง แต่ไม่มีกล่าวไว้ในตำราของฝ่ายชีอะฮ์

เช่น

การแต่งตั้งท่านอบูบักรเป็นคอลีฟะฮ์
มีกล่าวไว้ในตำราของซุนนี่เอง แต่ไม่มีกล่าวไว้ในตำราของฝ่ายชีอะฮ์
แต่การแต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์
มีกล่าวไว้ในตำราของชีอะฮ์เอง และยังมีกล่าวไว้ในตำราของฝ่ายซุนนี่อีกด้วย

ปัญหาคือพวกเขาพยายามตีความหลีกเลี่ยงเป็นอื่นเช่น  คำว่า  " เมาลา "  ในหะดีษเฆาะดีร
  •  

L-umar


ด้วยพระนามแห่งอัลเลาะฮ์  ผู้ทรงเราะห์มานแก่อะฮ์ลิดดุนยา ผู้ทรงเราะฮีมแก่อะฮ์ลุลอาคิเราะฮ์

เมาลา -  นับได้ว่าเป็นถ้อยคำที่สำคัญยิ่งในขอบข่ายการวิจัยเรื่อง " ผู้นำ  " ( อิมามะฮ์ หรือ คิลาฟะฮ์ )


เนื่องจากท่านรอซูลุลลออ์(ศ)ได้กล่าวถึงถ้อยคำนี้เอาไว้ใน " หะดีษ เฆาะดีร คุม " หรือ " หะดีษ มันกุนตุเมาลาฮุ ฟะอะลียุนเมาลาฮุ "  ซึ่งพี่น้องมุสลิมโดยส่วนมากที่ยอมเปลี่ยนจากมัซฮับที่ตนสังกัดมาเป็นชีอะฮ์อะลี ก็เพราะเขาเข้าใจคำนี้อย่างชัดเจนนั่นเอง

มัซฮับชีอะฮ์ได้พิสูจน์เหตุผลต่อมัซฮับต่างๆว่า การที่เขายอมรับว่า ท่านอะลีคือ คอลีฟะฮ์สืบต่อจากท่านรอซูลุลลอฮ์ ก็ด้วยหะดีษนี้และคำนี้ นั่นก็แสดงว่าคำนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

อุละมาอ์โลกอิสลามได้ทุ่มเทค้นคว้า  รวบรวมหะดีษเฆาะดีรคุมไว้หลากหลายรูปแบบ  จนพวกเขาได้ให้บทสรุปยอมรับว่า  หะดีษเฆาะดีรคุม มีสะนัด(สายรายงาน) จนบรรลุสู่สถานะ " มุตะวาติร "  

มุตะวาติร ยังแบ่งออกเป็น

1.   ลัฟซี  ( คำตรงกัน )
2.   มะอ์นาวี  ( มีความหมายตรงกัน )

ซึ่งนั่นหมายถึงเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องจริงร้อยเปอร์เซ็น หากใครสงสัยหรือปฏิเสธ  ย่อมแสดงว่า เขาคนนั้น มีอคติต่อสถานะของท่านอะลี

ด้วยเหตุที่ท่านรอซูล(ศ)ได้กล่าวถ้อยคำเมาลานี้แก่ท่านอะลี  ชีอะฮ์ตั้งแต่วันนั้นจนมาถึงวันนี้จึงมีอะกีดะฮ์ว่า  อะลีคือเมาลาของพวกเขามาโดยตลอด  

อุละมาอ์ซุนนี่บางส่วนได้พยายามบิดเบือนความหมายเมาลาที่ชัดเจนให้คลุมเครือมาโดยตลอด
อุละมาอ์ชีอะฮ์ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันก็ทุ่มเทอธิบายความหมายที่แท้จริงของเมาลา มาโดยตลอดเช่นกัน.
  •  

L-umar



เนื่องจากหะดีษเฆาะดีร  

เป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่ออะกีดะฮ์ของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ทุกมัซฮับ

ดังนั้นนักวิชาการบางส่วนของพวกเขาจึงใช้กลยุทธวิธีทำลายคุณค่าของหะดีษนี้ทุกรูปแบบเช่น

1- กล่าวว่า  เป็นหะดีษเมาฎู๊อฺ  ใส่ร้ายชีอะฮ์ว่า กุขึ้นมาเอง  

2- กล่าวว่า  หะดีษนี้มีจริง  แต่สะนัดของมัน ดออีฟ  

3- กล่าวว่า เป็นหะดีษเศาะหิ๊หฺ  แต่ " เมาลา " ในที่นี้แปลว่า((คนรัก)) ไม่ใช่แปลว่า (( ผู้ปกครอง ))



ท่านลองคิดดูสิว่า  
อุละมาอ์ชีอะฮ์ในอดีตกว่าจะทำให้โลกมุสลิมเข้าใจว่า อะลีคือเมาลาของมวลผู้ศรัทธาได้ นั่นหมายถึงพวกเขาต้องหาทางพิสูจน์ว่า
1- มันไม่ได้เป็นหะดีษเมาฎู๊อฺ   และชีอะฮ์ไม่ได้กุขึ้นมา  

2- หะดีษนี้มีรายงานไว้จริงๆ  และสะนัดของมัน เชื่อถือได้ด้วย  

3- เมาลา ต้องแปลว่า ผู้ปกครอง ไม่ใช่ คนรัก

อะฮ์ลุสสุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์จะทำทุกอย่างเพื่อพิสูจน์ว่า  ท่านนบี(ศ)ไม่ได้แต่งตั้งท่านอะลีไว้ที่เฆาะดีรคุม

ชีอะฮ์ก็จะทำทุกอย่างเพื่อพิสูจน์ว่า  ท่านนบี(ศ)ได้แต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์ไว้ที่เฆาะดีรคุม

และนี่คือจุดคิล๊าฟหลัก  ของคนสองมัซฮับมาถึง 1,400 ปี
  •  

L-umar


มุฟัสสิรและมุหัดดิษทั้งสองฝ่ายกล่าวว่า :  


วันที่ 18 เดือนซุลฮิจญะฮ์ ฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 10   ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ อายะฮ์ที่ 67 นี้ได้ถูกประทานลงมา


ชื่อสถานที่ประทานลงมา  :  เฆาะดีรคุม  ( ตั้งอยู่ระหว่างมักกะฮ์กับมะดีนะฮ์ )

หลังจากท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ได้ประกอบพิธีฮัจญ์เสร็จ  ซึ่งเรียกการทำฮัจญ์ครั้งนั้นว่า " ฮัจญะตุลวิดาอ์ "  แปลว่าฮัจญ์แห่งการอำลา

ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ)เดินทางออกจากนครมักกะฮ์มุ่งหน้ากลับสู่นครมะดีนะฮ์   ระหว่างทางท่านญิบรออีล(อ)ได้นำโองการดังกล่าวลงมายังท่านนบี(ศ)   ท่านนบี(ศ)จึงสั่งให้กองคาราวานหยุดพักลงที่ " เฆาะดีรคุม "  ช่วงเวลาเที่ยง ซึ่งอากาศกลางทะเลทรายตอนนั้นร้อนจัดมาก เนื่องญิบรออีล(อ)ได้นำวะห์ยูจากอัลลอฮ์มายังท่านให้ประกาศแต่งตั้งท่านอะลี(อ)เป็นคอลีฟะฮ์

อัลลอฮ์ ตะอาลาตรัสว่า

يَا أَيُّهَا الرَّسُولُ بَلِّغْ مَا أُنزِلَ إِلَيْكَ مِن رَّبِّكَ وَإِن لَّمْ تَفْعَلْ فَمَا بَلَّغْتَ رِسَالَتَهُ

وَاللّهُ يَعْصِمُكَ مِنَ النَّاسِ إِنَّ اللّهَ لاَ يَهْدِي الْقَوْمَ الْكَافِرِينَ

โอ้รอซูลเอ๋ย ! จงประกาศสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้า จากพระผู้อภิบาลของเจ้า และถ้าเจ้ามิได้ปฏิบัติ ก็จะถือว่าเจ้ามิได้ประกาศสาส์นของพระองค์เลย
และอัลลอฮ์จะทรงคุ้มครองเจ้าให้พ้นจากมนุษย์(ที่คิดร้าย) แท้จริงอัลลอฮ์จะไม่ทรงนำทางแก่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา



ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์   บทที่  5  โองการที่  67
  •  

L-umar



ท่านสามารถติดตามอ่านรายละเอียดของ  อัสบาบุลนุซูลซูเราะฮ์อัลมาอิดะอ์ โองการที่  67


รวมทั้ง หะดีษเศาะหิ๊หฺของทั้งสองฝ่าย ได้ที่นี่


http://www.q4sunni.com/believe/index.php?option=com_kunena&Itemid=71&func=view&catid=2&id=1082&limit=6&limitstart=12



ที่เราไม่นำบทวิจัยดังกล่าวมาลงซ้ำตรงนี้อีกครั้ง ก็เพื่อให้ท่านผู้อ่านสามารถแบ่ง การศึกษาออกเป็นสองประเด็นคือ


หนึ่ง - ความถูกต้องของตัวบทหลักฐาน

สอง -  การพิสูจน์ถึงหมายของ   วะลี  และ เมาลา  ที่แท้จริง
  •  

L-umar


พิจารณาความหมายตัวบท  หะดีษเฆาะดีรคุม

عَنْ أَبِي الطُّفَيْلِ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ :
لَمَّا دَفَعَ النَّبِيُّ صَلَّي اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّم مِنْ حَجَّةِ الْوِدَاعِ وَنَزَلَ غَدِيْرَ خُمٍّ
أَمَرَ بِدَوْحَاتٍ فَقُمِمْنَ ثُمَّ قَالَ : كَأَنِّيْ دُعِيْتُ فَأَجِبْتُ وَإِنِّيْ تَارِكٌ فِيْكُمُ الثَّقَلَيْنِ أَحَدَهُمَا أَكْبَرُ مِنَ الْآخَرِ : كِتَابُ اللهِ وَعِتْرَتِيْ أَهْلُ بَيْتِيْ فَانْظُرُوْا كَيْفَ تُخْلِفُوْنِيْ فِيْهِمَا  فَإِنَّهُمَا لَنْ يَتَفَرَقَا حَتَّي يَرِدَا عَلَيَّ الْحَوْضَ    
ثُمَّ قَالَ : إِنَّ اللهَ مَوْلاَيَ وَأَنَا وَلِيُّ كُلِّ مُؤْمِنٍ  ثُمَّ إِنَّهُ أَخَذَ بِيَدِ عَلِيٍّ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ فَقَالَ : مَنْ كُنْتُ وَلِيَّهُ فَهَذَا وَلِيَّهُ  اللّهُمَّ وَالِ مَنْ وَالاَهُ وَعَادِ مَنْ عَادَاهُ

سِلْسِلَةُ الْأَحَادِيْثِ الصَّحِيْحَةِ  ج : 4 ص: 330  ح : 1750  مُحَمَّد نَاصِرُ الدِّيْنِ الأَلْبَانِيّ نَوْعُ الْحَدِيْثِ : صَحِيْح


ท่านอบู ตุเฟล ( อามิร บินวาษิละฮ์) เล่าว่า :

เมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กลับจากการทำฮัจญ์ครั้งสุดท้าย ท่านได้แวะพักที่ " เฆาะดีร คุม "

ท่านสั่งให้(พักตรง)ต้นไม้ใหญ่ แล้วสั่งให้กวาด(ลานให้สะอาด) แล้วท่านได้ปราศัยว่า :

ดูเหมือนว่าฉันถูกเรียก(กลับแล้ว) และฉันได้ตอบรับแล้ว

แท้จริงฉันได้มอบไว้แก่พวกท่านสิ่งหนักสองสิ่ง สิ่งแรกใหญ่กว่าอีกสิ่งหนึ่งคือ

1. คัมภีร์ของอัลลอฮ์ (อัลกุรอาน)และ

2. อิตเราะตี คืออะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน


ดังนั้นพวกท่านจงดูเถิดว่า พวกท่านจะขัดแย้งกับฉันในสองสิ่งนี้อย่างไร เพราะแท้จริงสองสิ่งนี้จะไม่แยกจากกัน จนกว่าทั้งสองจะกลับมาหาฉันที่อัลเฮาฎ์(สระเกาษัร)

จากนั้นท่าน(รอซูล ) ได้กล่าวว่า :

แท้จริงอัลลอฮ์ทรงเป็น เมาลา (ผู้คุ้มครอง )  ของฉัน และฉันเป็น วะลี (ผู้ปกครอง ) ของผู้ศรัทธาทุกคน

จากนั้นท่านนบีได้จับมือท่านอะลี ( ชูขึ้นเหนือศรีษะ) แล้วกล่าวว่า :

บุคคลใดก็ตามที่ฉันเป็น วะลี (ผู้ปกครอง)ของเขา ดังนั้น อะลี ก็เป็นวะลี (ผู้ปกครอง ) ของเขา


โอ้อัลลอฮ์โปรดรักผู้ที่เป็นมิตรต่อเขา และโปรดชิงชังผู้ที่เป็นศัตรูต่อเขา

สถานะหะดีษ : เศาะหิ๊หฺ

ดูซิลซิละตุลอะฮาดีษิซ-ซอฮีฮะฮ์ เล่ม 4 : 330 หะดีษที่ 1750 ตรวจทานโดยเชคอัลบานี
  •  

L-umar


สิ่งที่เราได้รับจากหะดีษนี้คือ


1.   ซอฮาบะฮ์ชื่อ อบู ตุเฟล  อามิร บินวาษิละฮ์รายงาน
2.   เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตอนท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กลับจากการทำฮัจญะตุลวิดาอ์
3.   ท่านรอซูล(ศ)ได้แวะพักระหว่างทางมักกะฮ์กับมะดีนะฮ์ สถานที่นั้นมีชื่อว่า เฆาะดีร คุม  
4.   ท่านรอซูล(ศ)ได้ปราศรัยกับบรรดาซอฮาบะฮ์ที่เฆาะดีรคุมว่า ฉันใกล้จะเสียชีวิตแล้วจึงขอสั่งเสียต่อพวกท่านให้ยึดมั่นต่อคัมภีร์อัลกุรอานและอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน
5.   ท่านรอซูล(ศ)ย้ำเตือนประชาชาติของท่านว่า อย่าพยายามทำตัวขัดแย้งต่ออัลกุรอ่านและอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน
6.   ท่านรอซูล(ศ)ย้ำว่า อัลกุรอ่านและอะฮ์ลุลบัยต์ของฉันจะไม่แยกจากกัน คือจะอยู่คู่กันตรายจนถึงวันกิยามะฮ์
7.   ท่านรอซูล(ศ)ได้ตอกย้ำต่อประชาชาติของท่านในเรื่องสถานะว่า  อัลลอฮ์ทรงเป็นเมาลา(ผู้คุ้มครอง)ของฉัน ฉะนั้นพระองค์ก็ทรงเป็นเมาลาของผู้ศรัทธาทุกคน
8.   ท่านรอซูล(ศ)ยังได้บอกสถานะของตัวเองว่า  ฉันเป็นวะลี (ผู้ปกครอง ) ของพวกท่านทุกคน
9.   หลังจากที่ทุกคนเข้าใจแล้วว่า  ท่านรอซูล(ศ)คือผู้ปกครองของพวกเขา  ท่าน(ศ)ได้เสริมต่อทันทีโดยไม่ให้ขาดจังหวะ โดยจับมือท่านอะลีชูขึ้นเหนือศรีษะแล้วกล่าวว่า :  บุคคลใดก็ตามที่ฉันเป็น วะลีของเขา ดังนั้น อะลี ก็เป็นวะลีของเขา
10.   เป็นหะดีษที่อยู่ในสถานะ : เศาะหิ๊หฺ  (ถูกต้อง) บันทึกอยู่ในหนังสือซิลซิละตุลอะฮาดีษิซ-ซอฮีฮะฮ์ เล่ม 4 : 330 หะดีษที่ 1750
11.   เชคมุฮัมมัด นาศิรุดดีน อัลบานี คือผู้ตรวจทานและให้การรับรองว่า ถูกต้อง




ท่านจะเห็นได้ว่า  ระหว่างซุนนี่ กับ ชีอะฮ์ ได้รายงานหะดีษเฆาะดีรคุมไว้เหมือนกัน  


แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ อุละมาอ์ซุนนี่ได้ให้ความหมายคำ " เมาลา "  กับ " วะลี " ว่า  (( คนรัก )) ดังนี้  


จากนั้นท่าน(รอซูล ) ได้กล่าวว่า :

แท้จริงอัลลอฮ์ทรงเป็น เมาลา (ที่รักยิ่ง ) ของฉัน และฉันเป็น วะลี ( ที่รัก ) ของผู้ศรัทธาทุกคน

จากนั้นท่านนบีได้จับมือท่านอะลี ( ชูขึ้นเหนือศรีษะ) แล้วกล่าวว่า :

บุคคลใดก็ตามที่ฉันเป็น วะลี (คนรัก ) ของเขา ดังนั้น อะลี ก็เป็นวะลี (คนรัก ) ของเขา




ทำไมเขาต้องบิดเบือนความหมายคำ " เมาลา " จาก " ผู้ปกครอง "  ไปเป็น  " คนรัก"  ???

ตอบ -

เพื่อลดคุณค่าของหะดีษเฆาะดีรคุม   ให้โลกมุสลิมมองว่า   ศาสดามุฮัมมัด (ศ) ได้ประกาศต่อหน้าซอฮาบะฮ์ที่เฆาะดีรคุม กลางทะเลทราย ในยามบ่ายที่มีแสงแดดอันร้อนระอุว่า

อะลีคือ  คนรักของฉัน และของพวกท่าน  เท่านั้นเอง ไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น

พวกเขาทำราวกับว่า  ตลอดระยะเวลา 23 ปี แห่งการประกาศอัลอิสลามนั้น  บรรดาซอฮาบะฮ์ไม่เคยรู้ว่า  ท่านศาสดารักท่านอะลี   ด้วยเหตุนี้จึงต้องมาป่าวประกาศความรักกลางทะเลทรายตอนบ่ายหลังกลับจากฮัจญะตุลวิดาอ์...


หรือว่า  ความจริงมิได้เป็นเช่นนั้น ???
  •  

L-umar



เรื่องที่ตลกกว่านั้นอีกคือ  มุหัดดิษซุนนี่ได้บันทึกว่า  


หลังจากที่ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ประกาศว่า
 
บุคคลใดก็ตามที่ฉันเป็น วะลี (คนรัก ) ของเขา ดังนั้น อะลี ก็เป็นวะลี (คนรัก ) ของเขา
(ตามที่อุละมาอ์ซุนนี่แปล)

ท่านอุมัร บินคอตตอบ ได้เดินเข้ามาอวยพรกับท่านอะลีหลังจากท่านนบี(ศ)ประกาศความรักจบว่า :


فَلَقِيَهُ عُمَرُ بَعْدَ ذَلِكَ فَقَالَ هَنِيئًا يَا ابْنَ أَبِي طَالِبٍ أَصْبَحْتَ وَأَمْسَيْتَ مَوْلَى كُلِّ مُؤْمِنٍ وَمُؤْمِنَةٍ
السلسلة الصحيحة  ج 4  ص 249  ح 1750

ขอแสดงความยินดีด้วยนะ โอ้บุตรของอบูตอลิบ  ทั้งยามเช้ายามเย็นท่านได้กลายเป็นคนรักของมุอ์มินชายและมุอ์มินหญิงทุกคนแล้ว


ดูซิลซิละตุซ ซ่อฮีฮะฮ์  โดยเชคอับานี หะดีษที่  1750



เรายังพบอีกรายงานหนึ่งกล่าวไว้ดังนี้


فَقاَلَ : \\\" أَلَسْتُ وَلِيَّ الْمُؤْمِنِيْنَ ؟ \\\" قاَلُوْا بَلَى ياَ رَسُوْلَ اللهِ قاَلَ : \\\" مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ \\\" فَقَالَ عُمَرُ بْنُ الْخَطَّابِ بَخٍ بَخٍ لَكَ يَا ابْنَ أَبِي طَالِبٍ أَصْبَحْتَ مَوْلاَيَ وَمَوْلَى كُلِّ مُسْلِمٍ فَأَنْزَلَ اللهُ : \\\" الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ \\\" المائدة :3
تاريخ بغداد  للخطيب البغدادي  ج 3  ص 498

ท่านรอซูล(ศ)ได้ถามว่า :  ฉันมิใช่ วะลีของบรรดามุอ์มิน ดอกหรือ ?  พวกเขากล่าวว่า ใช่ขอรับ ยารอซูลุลลอฮ์   ท่านจึงกล่าวว่า  :

บุคคลใดก็ตามที่ฉันเป็น เมาลา (คนรัก ) ของเขา ดังนั้น อะลี ก็เป็นเมาลา (คนรัก ) ของเขา
(ตามที่อุละมาอ์ซุนนี่แปล)

ท่านอุมัร บินคอตตอบได้กล่าวว่า  : ต้องขอแสดงความยินดีกับท่านด้วยนะ โอ้บุตรของอบูตอลิบ  ท่านได้กลายเป็นคนรักของฉัน และของมุสลิมทุกคนแล้ว  แล้วอัลลอฮ์ได้ทรงประทานโองการลงมาว่า  วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของสูเจ้าสมบูรณ์แล้ว

ดูตารีคบัฆด๊าด  โดยอัลคอตีบ บัฆดาดี เล่ม 3 : 498




ท่านลองใช้ปัญญาที่อัลลอฮ์ประทานให้ คิดให้สอดคล้องกับหะดีษดังกล่าวสิครับว่า  

การแปลคำวะลีและเมาลาว่า " คนรัก " ตามที่อุละมาอ์ซุนนี่แปลนั้น    มันกินกับสติปัญญาของท่านหรือไม่ ???
  •  

L-umar


เรามีประเด็นและแง่มุมต่างๆมากมายที่พิสูจน์ว่า  หะดีษเฆาะดีร
เป็นหลักฐานที่ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ประกาศแต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์สืบต่อจากท่าน



หะดีษเฆาะดีร  ได้กล่าวถึงตำแหน่งผู้นำ(อิมามัต)ของท่านอะลี  
หะดีษเฆาะดีรได้ระบุชัดเจนว่า ท่านอะลีคือ วะลีคือผู้ปกครองอุมมัตอิสลามต่อจากท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)
หะดีษเฆาะดีร บ่งบอกว่า ท่านอะลีคือ ผู้บริหาร (มุดีร)  ผู้ควบคุมดูแล (มุดับบิร) กิจการต่างๆเกี่ยวกับศาสนา และเรื่องของดุนยาของประชาชาติมุสลิมต่อจากท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)จริงๆ


ปัญหาที่ฝ่ายซุนนี่แย้งชีอะฮ์กับหะดีษเฆาะดีรก็คือการให้ความหมายคำแปลไม่เหมือนกัน ซึ่งมีดังต่อไปนี้คือ
1.   คำว่า   เอาลา
2.   คำว่า เมาลา
3.   คำว่า  วะลี



ซึ่งฝ่ายซุนนี่ให้ความหมายคำเหล่านี้ว่า  คนใกล้ชิดที่สุด คนเหมาะสมที่สุด  คนรัก  ผู้ช่วยเหลือ เป็นต้น



ตัวอย่างหะดีษเฆาะดีร  อาทิเช่น

อิบนุ มาญะฮฺ  รายงาน

عَنِ الْبَرَاءِ بْنِ عَازِبٍ قَالَ :
أَقْبَلْنَا مَعَ رَسُولِ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- فِى حَجَّتِهِ الَّتِى حَجَّ فَنَزَلَ فِى الطَّرِيقِ فَأَمَرَ الصَّلاَةَ جَامِعَةً فَأَخَذَ بِيَدِ عَلِىٍّ فَقَالَ « أَلَسْتُ أَوْلَى بِالْمُؤْمِنِينَ مِنْ أَنْفُسِهِمْ ». قَالُوا بَلَى. قَالَ « أَلَسْتُ أَوْلَى بِكُلِّ مُؤْمِنٍ مِنْ نَفْسِهِ ». قَالُوا بَلَى. قَالَ « فَهَذَا وَلِىُّ مَنْ أَنَا مَوْلاَهُ اللَّهُمَّ وَالِ مَنْ وَالاَهُ اللَّهُمَّ عَادِ مَنْ عَادَاهُ ».

صحيح ابن ماجة  ج 1  ص 26 ح 94  قال شيخ الالباني : صحيح

ท่านอัลบัรรออ์ บินอาซิบเล่าว่า :

พวกเรากับท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้มุ่งหน้ากลับ ในการประกอบพิธีหัจญ์ของท่านที่ท่านได้ทำ แล้วท่านได้แวะพักลงในระหว่างทาง   ท่านสั่งให้ทำนมาซญะมาอะฮ์รวมกัน  แล้วท่านได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้น) พลางกล่าวว่า :

ฉันมิใช่เป็นผู้ใกล้ชิดกับบรรดามุอ์มินยิ่งกว่าตัวของพวกเขาเองดอกหรือ ?
 
พวกเขากล่าวว่า : ใช่ขอรับ (พวกเราขอยืนยัน)

ท่านกล่าวว่า : ฉันมิใช่เป็นผู้ใกล้ชิดกับมุอ์มินทุกคนยิ่งกว่าตัวของเขาเองดอกหรือ ?  
พวกเขากล่าวว่า : ใช่ขอรับ (พวกเราขอยืนยัน)

ท่านจึงกล่าวว่า : เพราะฉะนั้นชายคนนี้(อะลี)คือ  " วะลี " สำหรับผู้ที่ตัวฉันคือ " เมาลา "ของเขา

โอ้อัลลอฮ์โปรดรักผู้ที่เป็นมิตรต่อเขา และโปรดชิงชังผู้ที่เป็นศัตรูต่อเขา


สถานะหะดีษ  : เศาะหิ๊หฺ
ดูซอฮีฮุต ติรมิซี  เล่ม 1 : 26 หะดีษ 94 ฉบับตรวจทานโดยเชคอัลบานี  





วิเคราะห์ความหมายหะดีษ

จะเห็นได้ว่า  ประการแรก ท่านรอซูล(ศ)ถามบรรดาซอฮาบะฮ์ก่อนว่า

أَلَسْتُ أَوْلَى بِالْمُؤْمِنِينَ مِنْ أَنْفُسِهِمْ

ตัวฉัน " เอาลา - اَوْلَي "  เป็นผู้ใกล้ชิดกับบรรดาผู้ศรัทธา ยิ่งกว่าตัวของพวกเขาเองใช่ไหม ?  

เมื่อบรรดาซอฮาบะฮ์ตอบว่า « قاَلُوْا بَلَي »  ใช่ขอรับ (พวกเราขอยืนยัน)

ท่านรอซูล(ศ)จึงกล่าวประโยคนี้ทันทีว่า

فَهَذَا وَلِىُّ مَنْ أَنَا مَوْلاَهُ

เพราะฉะนั้นชายคนนี้(อะลี) คือ« วะลี »ของบุคคลที่ฉันคือ « เมาลา »ของเขา




วิธีพิสูจน์และให้เหตุผลต่อชาวซุนนี่ว่า วะลี และ เมาลา ในหะดีษเฆาะดีร มีความหมายว่า ผู้ปกครอง

เราขอนำเสนอให้ท่านเข้าใจดังต่อไปนี้


อัลบุคอรีรายงานว่า

أَنَّ النَّبِىَّ (ص) قَالَ « مَا مِنْ مُؤْمِنٍ إِلاَّ وَأَنَا أَوْلَى بِهِ فِى الدُّنْيَا وَالآخِرَةِ اِقْرَءُوْا إِنْ شِئْتُمْ ( النَّبِىُّ أَوْلَى بِالْمُؤْمِنِينَ مِنْ أَنْفُسِهِمْ ) فَأَيُّمَا مُؤْمِنٍ مَاتَ وَتَرَكَ مَالاً فَلْيَرِثْهُ عَصَبَتُهُ مَنْ كَانُوا ، وَمَنْ تَرَكَ دَيْنًا أَوْ ضَيَاعًا فَلْيَأْتِنِى فَأَنَا مَوْلاَهُ » .

ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)กล่าวว่า  :

ไม่มีมุอ์มินคนใด เว้นแต่ ฉัน (เอาลา- أولي ) มีความใกล้ชิดมากที่สุดกับเขา ทั้งในโลกนี้และในปรโลก พวกท่านจงอ่าน(โองการนี้)ถ้าพวกท่านต้องการคือ  ۞นะบีนั้นเป็นผู้ใกล้ชิดกับบรรดาผู้ศรัทธายิ่งกว่าตัวของพวกเขาเอง ۞

ดังนั้นหากมุอ์มินคนใดได้ตาย  และเขาทิ้งทรัพย์สินเอาไว้  ก็ให้ญาติสนิทของเขาที่พวกเขายังอยู่ มารับมรดกของเขาไป  

และถ้าผู้ตายทิ้งหนี้สินหรือผู้เสียหาย(เช่นภรรยาบุตรที่เดือดร้อน)เอาไว้ ก็ให้เขามาหาฉัน เพราะฉันคือ«เมาลาของผู้ตาย »



อ้างอิงจาก  เศาะหิ๊หฺบุคอรี  หะดีษ 2399



ในเศาะหิ๊หฺมุสลิมรายงานไว้เช่นกันว่า

عَنِ النَّبِىِّ (ص) قَالَ « وَالَّذِى نَفْسُ مُحَمَّدٍ بِيَدِهِ إِنْ عَلَى الأَرْضِ مِنْ مُؤْمِنٍ إِلاَّ أَنَا أَوْلَى النَّاسِ بِهِ فَأَيُّكُمْ مَا تَرَكَ دَيْنًا أَوْ ضَيَاعًا فَأَنَا مَوْلاَهُ وَأَيُّكُمْ تَرَكَ مَالاً فَإِلَى الْعَصَبَةِ مَنْ كَانَ ».

ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)กล่าวว่า  :
ขอสาบานด้วยชีวิตของมุฮัมมัดที่อยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ว่า แท้จริงบนโลกนี้  ไม่มีมุอ์มินคนใด เว้นแต่ ฉันมีความใกล้ชิดมากที่สุดกับเขาคนนั้น ดังนั้นพวกท่านคนใดก็ตาม(ที่ตาย) เขาได้ทิ้งหนี้สินหรือความเสียหาย(ที่ต้องชดใช้)เอาไว้  ฉะนั้นฉันคือ «เมาลาของผู้ตาย » และพวกท่านคนใด(ที่ตาย) เขาทิ้งทรัพย์สินเอาไว้  ก็ให้ญาติสนิทที่ยังอยู่ (มารับมรดกนั้นไป)  

อ้างอิงจาก เศาะหิ๊หฺ มุสลิม หะดีษ 4244




ความหมายซอเฮ็รคำ  « เมาลาของผู้ตาย » ในสองหะดีษข้างต้นนั้นคือ « วะลีของผู้ตาย » เพราะวะลีนั้นจะเป็นผู้รับผิดชอบกิจการงานของผู้ตายในฐานะตัวแทน

หากท่านแปลคำ «เมาลาของผู้ตาย » ว่าหมายถึง  « คนรัก »


หะดีษที่บุคอรีรายงาน ก็จะออกมาแบบนี้คือ
ท่านนบี(ศ)กล่าวว่า  : ไม่มีมุอ์มินคนใด เว้นแต่ ฉันมีความใกล้ชิดมากที่สุดกับเขา ทั้งในโลกนี้และในปรโลก พวกท่านจงอ่าน(โองการนี้)ถ้าพวกท่านต้องการคือ  ۞นะบีนั้นเป็นผู้ใกล้ชิดกับบรรดาผู้ศรัทธายิ่งกว่าตัวของพวกเขาเอง ۞


ดังนั้นหากมุอ์มินคนใดได้ตาย  และเขาทิ้งทรัพย์สินเอาไว้  ก็ให้ญาติสนิทของเขาที่พวกเขายังอยู่ มารับมรดกของเขาไป   และถ้าผู้ตายทิ้งหนี้สินหรือผู้เสียหายเอาไว้ ก็ให้เขามาหาฉัน เพราะฉันคือ « คนรัก » ของผู้ตาย

มีหะดีษเล่าว่า เคยมีคนตายลงในสมัยท่านรอซูล(ศ) แล้วมีเจ้าหนี้มาทวงหนี้คนตายที่ติดค้างไว้กับเขา เจ้าหนี้ได้ถามว่า ผู้ตายได้บอกกล่าวให้ใครทำหน้าที่ชำระหนี้ของเขาไว้หรือไม่  หากเขาบอกกล่าวเอาไว้  จึงจะนมาซญะนาซะฮ์ได้ หากมิได้สั่งเสียบอกกล่าวไว้ก็จะยังนมาซให้ไม่ได้ ต่อมาเมื่อมุสลิมได้พิชิตเมืองต่างๆ จนพอมีทรัพย์สิน ท่านรอซูล(ศ)จึงกล่าวว่า

أَنَا أَوْلَى بِالْمُؤْمِنِينَ مِنْ أَنْفُسِهِمْ فَمَنْ تُوُفِّىَ وَعَلَيْهِ دَيْنٌ فَعَلَىَّ قَضَاؤُهُ وَمَنْ تَرَكَ مَالاً فَهُوَ لِوَرَثَتِهِ

ฉันเป็นผู้ใกล้ชิดกับบรรดาผู้ศรัทธายิ่งกว่าตัวของพวกเขาเอง ฉะนั้นผู้ใดเสียชีวิต และเขามีหนี้สินค้างไว้ การใช้หนี้นั้นตกเป็นหน้าที่ของฉันเอง  และผู้ใด(คนตาย)ทิ้งทรัพย์สินไว้ มันเป็นสิทธิสำหรับผู้รับมรดกของเขา
ดูเศาะหิ๊หฺมุสลิม หะดีษที่ 4242


อันนะวาวีได้อธิบายหะดีษข้างต้นว่า


وَمَعْنَى هَذَا الْحَدِيث : أَنَّ النَّبِيّ صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : أَنَا قَائِم بِمَصَالِحِكُمْ فِي حَيَاة أَحَدكُمْ وَمَوْته . وَأَنَا وَلِيّه فِي الْحَالَيْنِ
ความหมายหะดีษนี้คือ ท่านนบี(ศ)กล่าวว่า ฉันคือผู้ทำหน้าที่รับผิดชอบต่อผลประโยชน์ต่างๆของพวกท่าน ทั้งในยามที่คนหนึ่งคนใดของพวกท่านยังมีชีวิตอยู่หรือตายแล้วก็ตาม และฉันคือ « วะลีของเขา » ทั้งสองสภาพ

ดูอันมินฮาจญ์ ชัรฮุ ซอฮีฮุมุสลิม โดยอันนะวาวี เล่ม 6 : 2 หะดีษ 3040


ด้วยเหตุนี้คำ วะลี หรือ เมาลา จึงต้องแปลว่า ผู้รับผิดชอบ ผู้ดูแล ผู้รับภาระหน้าที่แทน ไม่ไช่แปลว่า « คนรัก »


อัลฮุมัยดีอธิบายว่า

فَأَناَ مَوْلاَهُ : أَي وَلِيُّهُ الَّذِيْ يَقُوْمُ بِهِ وَيُرَاعِيهِ
تفسير غريب ما فى الصحيحين البخارى ومسلم  ج 1 ص 137

(คำที่ท่านนบีกล่าวว่า) ฉันคือเมาลาของผู้ตาย  หมายถึง ฉันคือวะลีของเขา ที่จะดำเนินการแทนเขา และดูแลรับผิดชอบต่อกิจของเขา

ดูตัฟสีร เฆาะรีบ มาฟิซ ซ่อฮีฮัยนิ  เล่ม 1 : 137


อินนุลอะษีรกล่าวว่า คำเมาลานั้นมีถึง 16 ความหมาย เช่น

الأقرب ، والمالك ، والسيد ، والمعتق والمنعم والناصر والمحب ، والتابع ، والخال ، وابن العم ، والحليف ، والعقيل ، والصهر والعبد ، والمنعم عليه والمعتق وكل من ولي أمرا أو قام به فهو مولاه ووليه
 

ผู้ที่ใกล้ชิดที่สุด / ผู้มีกรรมสิทธิ์ครอบครอง / ผู้ปล่อยทาส / ผู้ให้ความเกื้อกูล / ผู้ช่วยเหลือ / ผู้ให้ความรัก / ผู้ตาม / ลุงทางแม่ / ลูกของลุง / ผู้เป็นพันธมิตร / ผู้มีเกียรติ / ลูกเขย / ทาส / ผู้ได้รับการเกื้อกูล / ผู้ถูกปล่อยให้เป็นไท

และทุกคนผู้รับผิดชอบดูแลกิจการงานหนึ่งๆ หรือทำหน้าที่ดำเนินงานแทนต่อเขา(ใครคนหนึ่ง) ฉะนั้นเขาผู้นั้นก็คือเมาลาของเขาและเป็นวะลีของเขา




จากที่เราอธิบายผ่านมา ทุกท่านที่ได้อ่านสาระเนื้อหาของหะดีษเหล่านี้ จึงไม่เหลือข้อสงสัยใดๆอีก  ต่อความหมายของคำ« เมาลาและวะลี » ในหะดีษดังกล่าวมา  

เราจึงแน่ใจว่า  ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)มิได้นำคำว่า « เมาลาของเขา »  นี้มาใช้ นอกจากความหมายตามที่เราได้ชี้แจงไปแล้วตามที่นักวิชาการได้อธิบายถึงคำนี้

และอำนาจอัลวิลายะฮ์นี้ที่ท่านรอซูล(ศ)ได้มอบให้กับอะลีที่มีเหนืออุมมะฮ์อิสลาม นั่นหมายถึงอะลีคือ « วะลีของเขา »  ที่คอยดูแลรับผิดต่อกิจการงานของพวกเขา  

ซึ่งท่านรอซูล(ศ)ได้แต่งตั้งอำนาจหน้าที่นี้ให้กับท่านอะลีในวันที่ 18 ซุลฮิจญะฮ์ ฮ.ศ.ที่10 ณ.เฆาะดีรคุม โดยท่านรอซูล(ศ)ได้กล่าวต่อหน้าซอฮาบะฮ์ทั้งหลายว่า

مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ

ผู้ใดที่ฉันคือ « เมาลาของเขา »  อะลีก็คือ « เมาลาของเขา »

กล่าวคือท่านรอซูล(ศ)ได้มอบหมายการดูแลกิจการของบรรดามุสลิมไว้ให้ท่านอะลีดูแลแทนท่านนั่นเอง.

เมื่อท่านรอซูล(ศ)กล่าวว่า  ท่านคือวะลีหรือเมาลาที่มีสิทธิมากที่สุดต่อมุอ์มินทั้งหมดทุกคน
ท่าน(ศ)ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบต่อการชดใช้หนี้สินแทนมุอ์มินทุกคนที่เสียชีวิตในสภาพมีหนี้สินต้องชำระ
ท่าน(ศ)ยังได้ทำหน้าที่ดูแลต่อครอบครัวของผู้ตายโดยท่านจะจ่ายค่านะฟะเกาะฮ์(เลี้ยงดู)ให้กับพวกเขา

สรุปท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)คือ วะลีหรือเมาลา คือผู้ปกครอง ผู้ดูแล ผู้ให้ความรัก ผู้ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลต่อมุอ์มินทั้งหลายในยามที่ท่านมีชีวิต  เพราะท่านเอาลา คือบุคคที่เหมาะสมที่สุดต่ออำนาจหน้าที่เหล่านี้ ตามที่อัลลอฮ์ตะอาลามอบหมายให้ท่านปฏิบัติภารกิจแห่งเราะห์มะตัน ลิลอาละมีน


คำถามสำหรับซุนนี่
ก่อนท่านรอซูล(ศ)จะเสียชีวิต ท่านแต่งตั้งใครให้เป็นผู้รับผิดชอบใช้หนี้สินแทนท่าน  ?

ขอให้ท่านตอบสั้นๆก่อนว่า

1.   ท่านรอซูล(ศ)ไม่ได้มอบหมายการชดใช้หนี้สินของท่านไว้กับใคร
2.   ท่านรอซูล(ศ)ได้มอบหมายการชดใช้หนี้สินของท่านไว้


คำถามที่ตามคือ


คนที่ท่านรอซูล(ศ)มอบหมายหน้าที่นี้เอาไว้ชื่ออะไร ?

คำถามที่ตามมาคือ

ถ้าท่านรอซูล(ศ)ได้มอบหมายหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของท่านเอาไว้กับคนๆนั้น
จะกินกับปัญญาหรือ ที่ท่านรอซูล(ศ)จะไม่มอบหมายหน้าที่การปกครองอุมมัตอิสลามเอาไว้ให้กับคนใดคนหนึ่ง ?


ปล่าวเลยหากเราค้นคว้าหะดีษกันจริงๆเราจะพบหลักฐานมากมายดังจะได้กล่าวถึงรายละเอียดของมันต่อไป
อินชาอัลลอฮ์

والحمد لله أوّلا وآخراً، وصلّى الله وسلّم على سيّدنا ونبيّنا محمّد وآله الطيّبين الطاهرين المعصومين المنتجَبين.
  •  

L-umar



คำถาม

ก่อนท่านรอซูล(ศ)จะเสียชีวิต ท่านแต่งตั้งใครให้เป็นผู้รับผิดชอบใช้หนี้สินแทนท่าน  ?



ตอบ
ท่านได้มอบหน้าที่ให้ท่านอะลี เป็นผู้รับผิดชอบใช้หนี้สินแทนท่าน



หลักฐาน

قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : لاَ يَقْضِي دَيْنِيْ غَيْرِيْ أَوْ عَلِيٌّ
المعجم الكبير للطبراني   ج 4  ص 16 ح 3512

ท่านรอซูล(ศ)กล่าวว่า :  ไม่มีใครจะมาชดใช้หนี้สินของฉัน นอกจากตัวฉันหรืออะลี

ดูมุอ์ญัมกะบีร โดยอัฏฏ็อบรอนี หะดีษที่ 3512    


عَلِيٌّ يَقْضِيْ دَيْنِيْ
قال الألباني في \\\" السلسلة الصحيحة ج 4 ص 631 ح 1980

ท่านรอซูล(ศ)กล่าวว่า :  อะลี คือผู้ทำหน้าที่ชดใช้หนี้สินของฉัน

ดูซิลซิละตุซ ซ่อฮีฮะฮ์  โดยเชคอัลบานี หะดีษที่ 1980


เพราะฉะนั้น
ท่านอะลี บินอบีตอลิบ คือผู้รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับภารกิจส่วนตัวของท่านรอซูล(ศ)

ในเมื่อท่านรอซูล(ศ)ได้มอบหมายหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของท่านเอาไว้กับท่านอะลี  


จะกินกับปัญญาหรือ ?

ที่ท่านรอซูล(ศ)จากไปโดยทอดทิ้งประชาชาติมุสลิมเอาไว้แบบไร้ผู้นำ

จะกินกับปัญญาหรือ ?

ที่ท่านรอซูล(ศ)ละเลยมองข้าม จากไปโดยไม่ยอมแต่งตั้งวะลี ผู้ดูแลดีนอิสลามและผู้นำอาณาจักรอิสลามเอาไว้ ?



มันเป็นไม่ได้อย่างแน่นอนที่ท่านจะทำเช่นนั้น  ทำไม ? เพราะ
ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)คือผู้มีสติปัญญาสุดยอดที่สุดแห่งมวลมนุษยชาติ ท่านคือมนุษย์ผู้ประเสริฐสุด ท่านคือศาสดาผู้สูงส่งที่สุดแห่งบรรดาศาสดา


ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้บอกกล่าวถึงผู้นำ ที่จะมาทำหน้าที่ดูแลดีนอิสลามและอุมมัตอิสลามเอาไว้แล้วเช่น


حَدَّثَنَا يَحْيَى بْنُ آدَمَ وَابْنُ أَبِي بُكَيْرٍ قَالَا حَدَّثَنَا إِسْرَائِيلُ عَنْ أَبِي إِسْحَاقَ عَنْ حُبْشِيِّ بْنِ جُنَادَةَ قَالَ يَحْيَى بْنُ آدَمَ السَّلُولِيُّ وَكَانَ قَدْ شَهِدَ يَوْمَ حَجَّةِ الْوَدَاعِ قَالَ

قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَلِيٌّ مِنِّي وَأَنَا مِنْهُ وَلَا يُؤَدِّي عَنِّي إِلَّا أَنَا أَوْ عَلِيٌّ وَقَالَ ابْنُ أَبِي بُكَيْرٍ لَا يَقْضِي عَنِّي دَيْنِي إِلَّا أَنَا أَوْ عَلِيٌّ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ
مسند أحمد ج 35 ص 374  ح 16853
السلسلة الصحيحة للشيخ الالباني  ج 4  ص 479 ح 1980

ยะห์ยา บินอาดัมและอิบนุอบีบุกัยรฺเล่าให้เราฟัง ทั้งสองกล่าวว่า อิสรออีลเล่าให้เราฟัง จากอบีอิสฮ๊าก จากฮุบชี บินญุนาดะฮ์กล่าวว่า :

ยะห์ยา บินอาดัม อัสสะลูลีเล่าว่า เขาเคยอยู่ในวันฮัจญะตุลวิดาอ์ เขาเล่าว่า  :

ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า  : อะลีมาจากฉัน และฉันมาจากเขา และไม่มีใครจะทำหน้าที่แทนฉันได้ นอกจากฉัน หรือ อะลี

และอิบนุบุกัยรฺได้เล่าต่อว่า  :  ไม่มีใครจะชดใช้หนี้สินของฉันแทนฉัน นอกจากฉันหรืออะลี



ดูมุสนัดอะหมัด เล่ม 35 : 374 หะดีษ 16853  และ

ซิลซิละตุซ ซ่อฮีฮะฮ์ เล่ม 4 : 479 หะดีษ 1980  ตรวจทานโดยเชคอัลบานี





เราลองอ่านมาทบทวนคำพูดของท่านรอซูล(ศ)อีกสักครั้งนะครับ

« ไม่มีใครจะทำหน้าที่แทนฉันได้ นอกจาก ฉัน หรือ อะลี  »


วิเคราะห์หะดีษ

หน้าที่หลักของท่านรอซูล(ศ)คือ ผู้ชี้นำดีนอิสลามและปกครองประชาชาติมุสลิม

ท่านรอซูล(ศ)กล่าวว่า
« ไม่มีใครจะทำหน้าที่แทนฉันได้ นอกจากฉัน หรือ อะลี  »


เพราะฉะนั้นตามหลักฐานหะดีษ หลังจากที่ท่านรอซูลฯวะฟาต

ท่านอะลีก็ต้องเข้าทำหน้าที่หลักแทนท่านรอซูล(ศ)คือชี้นำดีนอิสลามและปกครองประชาชาติมุสลิม   ใช่ไหมครับ ???

แต่ถ้าจะเอาตามประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้น หลังจากที่ท่านรอซูลฯวะฟาต
ท่านอบูบักรได้เข้าไปทำหน้าที่แทนท่านรอซูล(ศ)คือชี้นำดีนอิสลามและปกครองประชาชาติมุสลิม   ใช่ไหมครับ ???


คำถามคือ

ท่านรอซูล(ศ)เคยกล่าวแบบนี้ไหม ???

« ไม่มีใครจะทำหน้าที่แทนฉันได้ นอกจากฉัน หรือ อบูบักร  »




เนื่องจากอะฮ์ลุสสุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ให้การยกย่องบุคคลมากกว่าหลักฐาน

ดังนั้นหะดีษที่ท่านรอซูล(ศ)แต่งตั้งท่านอะลีให้ทำหน้าที่ต่อจากท่าน มันจึงถูกบิดเบือนไปเป็นอื่น

ถ้านักวิชาการซุนนี่ไม่ทำเช่นนั้น  หะดีษเรื่องอิมามัตของท่านอะลีก็จะมาขัดแย้งกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้งผู้นำที่สะกีฟะฮ์นั่นเอง

เพราะ  ท่านอบูบักรเป็นคอลีฟะฮ์จากซอฮาบะฮ์บางส่วนเป็นผู้เลือก

แต่ท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์จากการแต่งตั้งโดยท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)

ความแตกต่างอันนี้  คือปัญหาหลักที่นักวิชาการซุนนี่ยอมรับไม่ได้


เมื่อยอมรับไม่ได้ ทางออกของซุนนี่คือ



1.   พยายามบิดเบือนข้อมูลหลักฐาน
2.    พยายามตีความหลักฐานไปเป็นอื่น
3.   ห้ามหยิบเรื่องความขัดแย้งในหมู่ซอฮาบะฮ์มาพูด
4.   ห้ามนำเรื่องซอฮาบะฮ์มาวิจารณ์
5.   เมื่อห้ามไม่อยู่ ก็หันมาใช้วิธีประณามทุกคนที่ขุดคุ้ย หยิบเรื่องสะกีฟะฮ์ขึ้นมาเป็นประเด็น
6.   ประโคมข่าวใส่ร้ายชีอะฮ์ว่า อคติกับซอฮาบะฮ์
7.   ใส่ร้ายชีอะฮ์ว่า  กุหลักฐานขึ้นมา
8.   สุดท้ายหาเรื่องฮุก่มชีอะฮ์เป็นกาเฟ็ร ข้อหาชอบขุดคุ้ยเรื่องซอฮาบะฮ์


ทั้งหมดคือแนวทางแก้ไขของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์
การยกย่องบุคคลนั้นถูกต้อง
การหลบหลู่หลักฐานเศาะหิ๊หฺนั้นถูกต้อง

การหลบหลู่บุคคลที่เขายกย่องนั้นผิด
การอธิบายหลักฐานเศาะหิ๊หฺตามความจริงนั้นผิด

อะไรๆที่ซุนนี่เชื่อนั้นถูกหมด
อะไรๆที่ชีอะฮ์ไม่เชื่อตามซุนนี่นั้นผิดหมด

ถามว่า ทำไมพวกเขาจึงเป็นเช่นนั้น ?
ตอบ เพราะพวกเขาคิดว่า  อัลลอฮ์และรอซูลทรงลงพระปรมาภิทัยว่า ซุนนี่ถูกกระมัง
หรือไม่  ก็คงเหมาสัมปะทานซื้อดีนอิสลามไปเป็นของพวกเขาคนเดียวเรียบร้อยแล้วกระมัง    
  •  

L-umar



ตัวบทหะดีษเศาะหิ๊หฺ คือหลักฐานตัดสินว่า  อะลีคือ คอลีฟะฮ์ต่อจากท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)


ตัวบทหะดีษที่สร้างความมั่นใจมากที่สุดเกี่ยวกับเรื่องตำแน่งคอลีฟะฮ์  คือสิ่งที่ท่านอะลีเองเป็นผู้รายงายไว้ โดยมีซอฮาบะฮ์ส่วนหนึ่งให้การรับรองถึงหลักฐานนั้น จนทำให้ความสงสัยต้องมลายหายไป

ตอนท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)วะฟาตใหม่   ซอฮาบะฮ์ส่วนหนึ่งรีบทำการแต่งตั้งผู้นำขึ้นอย่างกระทันหันโดยอ้างว่า มีความจำเป็นต้องมอบบัยอะฮ์(สัตยาบัน)ให้แก่ท่านอบูบักรอย่างเร่งด่วน

อิบนุกุตัยบะฮ์บันทึกว่า

فلما قبض رسول الله صلى الله عليه وسلم قال العباس لعلي بن أبي طالب كرم الله وجهه: أبسط يدك أبايعك، فيقال: عم رسول الله بايع ابن عم رسول الله صلى الله عليه وسلم، ويبايعك أهل بيتك، فإن هذا الامر إذا كان لم يقل (2)، فقال له علي كرم الله وجهه: وَمَن يَطْلُب هَذَا الْاَمْرَ غَيْرَناَ ؟ وقد كان العباس رضي الله عنه لقي أبا بكر فقال: هل أوصاك رسول الله بشئ ؟ قال: لا. ولقى العباس أيضا عمر، فقال له مثل ذلك. فقال عمر: لا. فقال العباس لعلي رضي الله عنه: ابسط يدك أبايعك ويبايعك أهل بيتك.
الامامة والسياسة - ابن قتيبة الدينوري، تحقيق الزيني   ج 1 ص 9
الامامة والسياسة - ابن قتيبة الدينوري، تحقيق الشيري ج 1  ص 18

เมื่อท่านรอซูล(ศ)วะฟาต ท่านอับบาสกล่าวกับท่านอะลีว่า โปรดยื่นมือท่านออกมาสิ ฉันจะมอบบัยอัตให้ท่าน เขาจะได้กล่าวว่า ลุงของท่านรอซูล(ศ)ได้บัยอัตให้กับบุตรของลุงรอซูล(ศ)แล้ว และอะฮ์ลุลบัยต์ของท่านก็จะมอบบัยอัตให้ท่านด้วย  เพราะแท้จริงเรื่อง(ผู้นำ)นี้เมื่อเป็นไปแล้ว จะได้ไม่มีใครมาพูดอีก  ท่านอะลีกล่าวกับท่านอับบาสว่า

وَمَن يَطْلُب هَذَا الْاَمْرَ غَيْرَناَ ؟

แล้วใคร จะเรียกร้องในเรื่อง(ผู้นำ)นี้ อื่นไปจากพวกเราล่ะ ?


ปรากฏว่าท่านอับบาสได้พบกับท่านอบูบักร จึงถามเขาว่า ท่านรอซูล(ศ)ได้สั่งเสียท่านไว้ด้วยสิ่งใดไหม ?  ท่านอบูบักรตอบว่า ไม่มี
ท่านอับบาสได้พบกับท่านอุมัรเช่นกัน จึงถามเขาเหมือนที่ถามท่านอบูบักร  ท่านอุมัรตอบว่า ไม่มี
ท่านอับบาสจึงกล่าวกับท่านอะลีว่า โปรดยื่นมือท่านออกมาสิ ฉันจะมอบบัยอัตให้ท่าน และอะฮ์ลุลบัยต์ของท่านก็จะมอบบัยอัตให้ท่านด้วย

อ้างอิงจากหนังสือ
อัลอิมามะฮ์ วัส-สิยาซะฮ์ โดยอิบนุกุตัยบะฮ์ อัดดัยนูรี เล่ม 1 : 9 ฉบับตรวจทานโดยอัซซัยนี
อัลอิมามะฮ์ วัส-สิยาซะฮ์ โดยอิบนุกุตัยบะฮ์ อัดดัยนูรี เล่ม 1 : 18 ฉบับตรวจทานโดยอัชชีรี




แต่ว่า เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นช่างรวดเร็ว โดยคนกลุ่มหนึ่งได้สร้างความแข็งแกร่งให้กับอำนาจของตัวเอง
พวกเขาไม่ยอมปล่อยทิ้งร่องรอยใดๆเกี่ยวกับหลักฐานที่ท่านรอซูล(ศ)แต่งตั้งท่านอะลีไว้เลย


นับจากวันที่ท่านอบูบักรขึ้นเป็นคอลีฟะฮ์ วันเวลาดำเนินไปจนเมื่อเขาใกล้เสียชีวิต  จากระบบเลือกตั้งคอลีฟะฮ์โดยซอฮาบะฮ์  ได้เปลี่ยนไปเป็นระบบวะซียัตโดยท่านอบูบักรได้สั่งเสียให้ท่านอุมัรเป็นคอลีฟะฮ์สืบแทน
วันเวลาผ่านไปจนก่อนที่ท่านอุมัรจะสิ้นใจได้มอบระบบเลือกคอลีฟะฮ์ใหม่ขึ้นมาอีก  ซึ่งเรียกระบบใหม่นี้ว่า ระบบชูรอ
โดยท่านอุมัรได้มอบอำนาจให้ซอฮาบะฮ์หกคนทำหน้าที่เลือกเฟ้นหาคอลีฟะฮ์คนต่อไปกันเอง

ผลลัพท์ของคณะชูรอหกคนคือ ท่านอุษมานได้รับตำแหน่งคอลีฟะฮ์ไปครอง  จนถึงวาระที่ท่านอุษมานเสียชีวิต


เป็นเวลา 25 ปี ที่ประชาชนไม่เคยคิดจะเอาท่านอะลีมาเป็นคอลีฟะฮ์  แต่บัดนี้พวกเขาเดินไปหาท่านอะลีและพวกเขาได้มอบบัยอัตให้ท่านอะลีขึ้นดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ์


บัดนี้จึงถึงเวลาที่ท่านอะลี บินอบีตอลิบ ได้ทวงถามกับประชาชนถึงสิทธิที่ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้มอบไว้ให้กับท่านนานแล้ว    ไม่ใช่ว่าประชาชนจะมาเป็นผู้มอบตำแหน่งคอลีฟะฮ์นี้ให้กับท่าน



ท่านอะลี บินอบีตอลิบ  ต้องการชี้แจงกับประชาชนให้เข้าใจระบบคอลีฟะฮ์อย่างถูกต้องว่า

คอลีฟะฮ์ต้องมาจากการแต่งตั้งโดยท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ) เท่านั้น และท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์จากระบบที่ศาสดาคนสุดท้ายวางไว้
  •  

L-umar



หะดีษที่ระบุว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)แต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์


หนึ่ง -


ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า  « مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ »

ผู้ใดที่ฉันคือ « เมาลาของเขา »  อะลีก็คือ « เมาลาของเขา »




عَنْ عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ أَبِي لَيْلَى قَالَ :
شَهِدْتُ عَلِيًّا رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ فِي الرَّحَبَةِ يَنْشُدُ النَّاسَ أَنْشُدُ اللَّهَ مَنْ سَمِعَ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُولُ يَوْمَ غَدِيرِ خُمٍّ مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ لَمَّا قَامَ فَشَهِدَ
قَالَ عَبْدُ الرَّحْمَنِ : فَقَامَ اثْنَا عَشَرَ بَدْرِيًّا كَأَنِّي أَنْظُرُ إِلَى أَحَدِهِمْ فَقَالُوا نَشْهَدُ أَنَّا سَمِعْنَا رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُولُ يَوْمَ غَدِيرِ خُمٍّ : أَلَسْتُ أَوْلَى بِالْمُؤْمِنِينَ مِنْ أَنْفُسِهِمْ وَأَزْوَاجِي أُمَّهَاتُهُمْ فَقُلْنَا بَلَى يَا رَسُولَ اللَّهِ قَالَ فَمَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ اللَّهُمَّ وَالِ مَنْ وَالَاهُ وَعَادِ مَنْ عَادَاهُ
مسند أحمد  ج 2 ص 421 ح 915

อับดุลเราะห์มาน บินอบีลัยลาเล่าว่า :

ฉันเห็นท่านอะลีในวันเราะห์บะฮ์ ( ได้ปราศรัยกับประชาชน ) ท่านให้ประชาชนสาบานว่า
จงสาบานต่ออัลลอฮ์ ผู้ที่เคยได้ยินท่านรอซูล(ศ)กล่าวในวัน(ที่อยู่กัน ณ.) เฆาะดีรคุมว่า  ผู้ใดที่ฉันคือ « เมาลาของเขา »  อะลีก็คือ « เมาลาของเขา »  ให้เขายืนขึ้นเป็นพยานด้วย

อับดุลเราะห์มานเล่าว่า :

มีชายสิบสองคนได้ยืนขึ้น ซึ่งพวกเขาเคยร่วมรบในสงครามบะดัร อย่างกับฉันมองไปยังคนหนึ่งของพวกเขา  
แล้วพวกเขากล่าวว่า  : พวกเราขอเป็นพยานว่าพวกเราเคยได้ยินท่านรอซูล(ศ)กล่าวในวัน(ที่อยู่กัน ณ.) เฆาะดีรคุมว่า
ฉันมิใช่เป็นผู้ใกล้ชิดกับบรรดามุอ์มินยิ่งกว่าตัวของพวกเขาเองดอกหรือ และภรรยาของฉันคือมารดาของพวกเขาใช่ไหม ?
พวกเรากล่าวว่า : ใช่ขอรับ (พวกเราขอยืนยัน) โอ้ท่านรอซูลุลลอฮ์
ท่านจึงกล่าวว่า :

เพราะฉะนั้นผู้ใดที่ฉันคือ « เมาลาของเขา »  อะลีก็คือ « เมาลาของเขา »

โอ้อัลลอฮ์โปรดรักผู้ที่เป็นมิตรต่อเขา และโปรดชิงชังผู้ที่เป็นศัตรูต่อเขา

อ้างอิงจากมุสนัดอะหมัด เล่ม 2 : 421 หะดีษ 915



สำหรับคำแปลหะดีษ :

ผู้ใดที่ฉันคือ « เมาลาของเขา »  อะลีก็คือ « เมาลาของเขา »

ถ้าพี่น้องซุนนี่อึดอัดใจรับไม่ได้ที่ชีอะฮ์แปลว่า

เพราะฉะนั้นผู้ใดที่ฉันคือ « ผู้ปกครองของเขา »  อะลีก็คือ « ผู้ปกครองของเขา »


เราจะลดความเสียดทานให้พี่น้องซุนนี่ครึ่งหนึ่งเป็น

ผู้ใดที่ฉันคือ « ผู้ดูแลรับผิดชอบของเขา »  อะลีก็คือ « ผู้ดูแลรับผิดชอบของเขา »


ตามที่อัลบุคอรีรายงานไว้ว่า

أَنَّ النَّبِىَّ (ص) قَالَ « مَا مِنْ مُؤْمِنٍ إِلاَّ وَأَنَا أَوْلَى بِهِ فِى الدُّنْيَا وَالآخِرَةِ اِقْرَءُوْا إِنْ شِئْتُمْ ( النَّبِىُّ أَوْلَى بِالْمُؤْمِنِينَ مِنْ أَنْفُسِهِمْ ) فَأَيُّمَا مُؤْمِنٍ مَاتَ وَتَرَكَ مَالاً فَلْيَرِثْهُ عَصَبَتُهُ مَنْ كَانُوا ، وَمَنْ تَرَكَ دَيْنًا أَوْ ضَيَاعًا فَلْيَأْتِنِى فَأَنَا مَوْلاَهُ » .

ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)กล่าวว่า  :  

ไม่มีมุอ์มินคนใด เว้นแต่ ฉัน (เอาลา- أولي ) มีความใกล้ชิดมากที่สุดกับเขา ทั้งในโลกนี้และในปรโลก พวกท่านจงอ่าน(โองการนี้)ถ้าพวกท่านต้องการคือ  
۞ นะบีนั้นเป็นผู้ใกล้ชิดกับบรรดาผู้ศรัทธายิ่งกว่าตัวของพวกเขาเอง ۞

ดังนั้นหากมุอ์มินคนใดได้ตาย  และเขาทิ้งทรัพย์สินเอาไว้  ก็ให้ญาติสนิทของเขาที่พวกเขายังอยู่ มารับมรดกของเขาไป  

และถ้าผู้ตายทิ้งหนี้สินหรือผู้เสียหาย(เช่นภรรยาบุตรที่เดือดร้อน)เอาไว้

ก็ให้เขามาหาฉัน เพราะฉันคือ«เมาลา - ผู้ดูแลรับผิดชอบของผู้ตาย »

อ้างอิงจาก  เศาะหิ๊หฺบุคอรี  หะดีษ 2399


และเราหวังว่า คงไม่มีซุนนี่ท่านใด ยังแหวกแนวแปลคำ วะลีหรือเมาลาว่า คนรักหรือผู้ช่วยเหลือ อีกนะครับ  ยกเว้นพวกตะอัซซุบที่ยึดบุคคลทิ้งหลักฐานที่ชัดเจนเท่านั้น.

หมายเหตุ –

ความถูกต้องของหะดีษเฆาะดีรคุมนี้ เราจะกล่าวถึงรายชื่อบรรดาอุละมาอ์อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ที่รับรองว่า  หะดีษเฆาะดีรนี้มีสายรายงานตั้งแต่ระดับ

1.   ฮาซัน
2.   เศาะหิ๊หฺ
3.   จนถึงขั้นมุตะวาติร



ในคราวต่อๆไปอินชาอัลลอฮ์
  •  

L-umar

หะดีษเฆาะดีรคุม

นับว่าเป็นหลักฐานที่สำคัญหลักฐานหนึ่ง ที่ชีอะฮ์ใช้อ้างอิงพิสูจน์ว่า ท่านอะลีได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคือ คอลีฟะฮ์  เป็นอิหม่ามผู้นำประชาชาติ และท่านคือวะลี(ผู้รับผิดชอบดูแล)บรรดามุสลิม ต่อจากท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)
 
มีอุละมาอ์ส่วนหนึ่งได้แต่งตำราต่างๆเกี่ยวกับหะดีษเฆาะดีรนี้เอาไว้โดยเฉพาะ เช่นอัลลามะฮ์อะมีนี่ (เราะฮิมะฮุลลอฮุ)  เขาได้เขียนตำราขนาดใหญ่ขึ้นมาชุดหนึ่งจำนวนสิบเอ็ดเล่ม หนังสือชุดนี้มีชื่อว่า  
" อัลเฆาะดีร  ฟิลกิตาบ วัสซุนนะติ วัลอะดับ "

หากอุละมาอ์อะฮ์ลุสสุนนะฮ์คนใดก็ตาม ต้องการจะตอบโต้ชีอะฮ์ในเรื่องหะดีษเฆาะดีรนี้ เราก็หวังว่าเขาจะตอบโต้เช่นที่อัลลามะฮ์อะมีนี่ได้นำเสนอเรื่องนี้ในเชิงวิชาการอย่างที่ไม่เคยมีอุละมาอ์คนใดทำเหมือนเขาก่อน

เพราะส่วนมากเราจะพบว่าอุละมาอ์ซุนนี่จะตอบโต้เรื่องหะดีษเฆาะดีรในลักษณะที่เรียกว่า มีการหมกเม็ด สร้างความไขว้เขวตบตาผู้ศึกษาแสวงหาสัจธรรม  และสิ่งที่พวกเขาบางส่วนถนัดที่สุดคือโยนผิดที่พวกเขาทำมาให้ฝ่ยชีอะฮ์แทน และปิดท้ายลงด้วยการปรธณามชีอะฮ์ว่า ชอบกุหลักฐานเท็จ
ซึ่งแน่นอนมันเป้นงานง่ายๆสำหรับผู้ที่ต้องการปฏิเสธความจริงของฝ่ายตรงข้าด้วยการบอกว่า  เขาโกหก
มันคือความอ่อนแอที่ อ่อนแอยิ่งกว่าบ้านของแมงมุม
สำหรับหะดีษเฆาะดีรนี้ เราจะพยายามทำให้พวกท่านได้รับความเข้าใจอย่างชัดเจนที่สุด ต่อไป อินชาอัลลอฮ์ และขอวิงวอนต่อเองกองค์อัลลอฮ์ตะอาลาโปรดประทานเตาฟีกให้กับเราทุกคนด้วย อามีน.
  •  

10 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้