Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

เมษายน 28, 2024, 08:58:33 ก่อนเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 2,625
  • หัวข้อทั้งหมด: 650
  • Online today: 65
  • Online ever: 153
  • (เมษายน 26, 2024, 05:40:09 ก่อนเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 26
Total: 26

เมื่อบิสมิลลาฮ์ ฯ ตกเป็นจำเลย(ของวาฮาบี)

เริ่มโดย L-umar, กันยายน 25, 2009, 03:08:37 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar


เมื่อบิสมิลลาฮ์ ฯ ตกเป็นจำเลย

ญิน,ตุละกออ์,(เชลยที่ถูกขับไส)และแนวร่วม หวาดกลัว บิสมิลลาฮ์ !!
บิสมิลลาฮ์ฯ เป็นอาวุธชนิดหนึ่งจากอัลลอฮ์ที่ทรงประทานให้แก่ท่านนบี(ศ)เพื่อขับไล่ชัยฏอนหรืออันธพาลในหมู่ชาวกุเรช
ครั้งหนึ่ง ในขณะที่พวกเขาชุมนุมกันที่ประตูบ้านของท่าน เพื่อพ่นคำผรุสวาท บริภาษ ด่าทอหรือทำร้ายท่าน และแล้ว ท่านได้เปล่งเสียงดังออกมาว่า บิสมิลลาฮ์ฯ !! ปรากฏว่าพวกเขาเหล่านั้น พากันวิ่งหนีเตลิดเปิดเปิง !

ในหนังสืออัลกาฟีย์ ๘/๒๖๖ มีรางานจากอิมามศอดิก(อ) ได้กล่าวว่า

 عن هارون ، عن أبي عبد الله ( عليه السلام ) قال : قال لي : كتموا بسم الله الرحمن الرحيم فنعم والله الأسماء كتموها ، كان رسول الله ( صلّى الله عليه واله ) إذا دخل إلى منزله واجتمعت عليه قريش يجهر ببسم الله الرحمن الرحيم ، ويرفع بها صوته ، فتولي قريش فراراً فأنزل الله عزّ وجلّ في ذلك : ( وإذا ذكرت ربّك في القران وحده ولّوا على أدبارهم نفورا ) سورة الإسراء: 46
"พวกเขาปิดบัง บิสมิลลาฮิรเราะห์มานิรรอฮีม ใช่แล้ว ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ พระนามเหล่านั้น พวกเขาได้ปิดบัง ครั้งหนึ่ง ขณะที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)จะเดินเข้าบ้าน พวกกุเรชรวมตัวกันมาหาท่าน ท่านจึงเปล่งเสียงดังขึ้นว่า บิสมิลลาฮิรฯ จึงทำให้พวกกุเรชวิ่งหนีเตลิด! และอัลลอฮ์ทรงประทานโองการหนึ่งมาในขณะนั้นว่า "และเมื่อเจ้าเอ่ยถึงพระผุ้อภิบาลของเจ้าในอัลกุรอานองค์เดียว พวกเขาก็หันกลับไปยังด้านหลังของพวกเขาในสภาพวิ่งหนี"(อัลอิซรออ์/๔๖)
 
ในอัลกาฟีย์ ๒/๖๒๔ รายงานจากอิมามญะอ์ฟัร(อ)อีกเช่นกัน ท่านได้กล่าวกับอัลมุฟัฎฎ็อล บิน อัมร์ว่า

 يا مفضل احتجز من الناس كلهم ببسم الله الرحمن الرحيم وبقل هو الله أحد اقرأها عن يمينك وعن شمالك ومن بين يديك ومن خلفك ومن فوقك ومن تحتك، فإذا دخلت على سلطان جائر فاقرأها حين تنظر إليه ثلاث مرات واعقد بيدك اليسرى ثم لاتفارقها حتى تخرج من عنده.
โอ้มุฟัฎฎ็อล จงป้องกันตัวจากมนุษย์ทั้งหลายด้วยบิสมิลลาฮ์ฯ,และกุลฮูวัลอฮุอะฮัดฯ จงอ่านทางขวามือและซ้ายมือ ทั้งข้างหน้าและข้างหลัง อ่านขณะแหงนขึ้นข้างบน และก้มลงข้างล่าง ดังนั้นเมื่อเจ้าเข้าหาผู้ปกครองที่เลวร้าย ก็จงอ่านสิ่งเหล่านี้พลางจ้องมองไปยังเขาสามครั้ง และจงผูกมัดไว้กับมือซ้ายของเจ้า แล้วจงอย่าแยกจากสิ่งนั้นเลย จนกว่าเจ้าออกพ้นมาจากเขา"

ในปีฮิจเราะฮ์ที่แปด ท่านนบี(ศ)ได้นำทหารจำนวน ๑๐,๐๐๐ นาย ไปเผชิญหน้ากับพวกมุชริกชาวมักกะฮ์ และบังคับพวกเขาให้วางอาวุธและมอบตัว ท่านนบี(ศ)ให้พวกเขาเลือกเอาระหว่างการนับถือศาสนาอิสลาม กับการประหารชีวิต
 
ปรากฏว่าพวกเขายอมเข้ารับนับถือศาสนาอิสลามด้วยความจำใจ ท่านได้ประกาศยกโทษประหารและเรียกพวกเขาว่า ตุละกออ์ (เชลยที่ถูกขับไส)!

หลังจากอิสลามเอาชนะเมืองมักกะฮ์สำเร็จแล้ว พวกตุละกออ์ก็ได้เป็นประชากรของเมืองมะดีนะฮ์และพยายามจะเข้าไปมีอิทธิพลต่อคนส่วนใหญ่ และในหลังจากท่านนบี(ศ)เสียชีวิต เสียงข้างมากของพวกเขาก็สามารถพิชิตตำแหน่งคอลีฟะฮ์ของท่านได้ที่ซะกีฟะฮ์
 แต่ทว่าความกลัว "บิสมิลลาฮ์" ของพวกเขายังมีอยู่ !
 
ผู้ที่เคยกลั่นแกล้งท่านนบี(ศ)แต่ก่อนนี้ ซึ่งถูกท่านนบี(ศ)อ่านบิสมิลลาฮ์เพื่อขับไล่จนวิ่งหนีเตลิด ที่ยังคงความรู้สึกลำบากใจมาตลอดที่ได้ยินเสียงบิสมิลลาฮ์จากท่านนบี(ศ)ในมัสยิดของท่านที่มะดีนะฮ์!
 
เขายังหนักใจอยู่กับเสียงอ่านบิสมิลลาฮ์ฯนั้น ที่ยังถูกอ่านออกเสียงดังอยู่ ภายหลังจากท่านนบี(ศ)ได้วะฟาตไปแล้ว
 
การชำระความแค้นอันดับแรกของพวกตุละกออ์ต่อบิสมิลลาฮ์ที่พวกเขาแสดงออกมา หลังจากท่านนบี(ศ)สิ้นชีวิตแล้ว คือ ห้ามมิให้อ่านออกเสียงดัง นั่นก็หมายความว่า พวกเขาได้ยกเลิกมันออกไปจากการนมาซอย่างเป็นกิจลักษณะ!
 
นื่คือ ความหมายจากคำพูดของอิมามศอดิก(อ)ที่ว่า

كتموا بسم الله الرحمن الرحيم فنعم والله الأسماء كتموها  
 "พวกเขาปิดบัง บิสมิลลาฮิรเราะห์มานิรรอฮีม ใช่แล้ว ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ พระนามเหล่านั้น พวกเขาได้ปิดบัง"!
พวกเขาได้พยายามทำให้อะบูบักร์และอุมัรเห็นชอบในเรื่องนั้น จนในที่สุด ทั้งสองท่านก็ยอมละเว้นไม่ยอมอ่านบิสมิลลาฮ์ฯ ดังมีรายงานจากบุคคลทั้งสองว่า ท่านทั้งสองละเว้นการอ่านบิสมิลลาฮ์ฯในนมาซ!

หลังจากนั้น พวกเขาก็แพร่ข่าวว่า ท่านนบี(ศ)ไม่เคยอ่านบิสมิลลาฮ์เสียงดัง !
ต่อมาพวกเขาทำจนถึงขั้นให้ปฏิเสธว่า บิสมิลลาฮ์ ฯ มิใช่โองการหนึ่งของอัลกุรอาน ดังจะแสดงหลักฐานให้เห็นต่อไป !

ท่านนะวาวีย์ได้กล่าวในอัลมัจมูอ์ เล่ม ๓/๓๔๓ "พวกเขากล่าวว่า และเนื่องจากการอ่าน(บิสมิลลาฮ์)ออกเสียงดังได้ถูกยกเลิก สะอีด บิน ญุบัยร์ กล่าวว่า

قال سعيد بن جبير: كان رسول الله (ص) يجهر ببسم الله الرحمن الرحيم بمكة، وكان أهل مكة يدعون مسيلمة الرحمن، فقالوا إن محمداً يدعو إلى إله اليمامة، فأمر رسول الله (ص) فأخفاها فما جهر بها حتى مات.
 
ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์เคยอ่านบิสมิลลาฮ์ฯที่มักกะฮ์ออกเสียงดัง ปรากฏว่าชาวเมืองมักกะฮ์นั้นเคยวิงวอนขอต่อ "มุซัยละมะตุรเราะห์มาน" ดังนั้น พวกเขากล่าวว่า มุฮัมมัด วิงวอนขอต่อพระเจ้าของอัลยะมามะฮ์ ดังนั้น ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)จึงอ่านบิสมิลลาฮ์ฯเสียงค่อย โดยไม่ออกเสียงบิสมิลลาฮ์ฯดังอีกเลยจนกระทั่งเสียชีวิต

พวกเขากล่าวว่า ท่านดาร่อกุฏนีย์ เคยถูกถามที่อียิปต์ในขณะที่กำลังรวบรวม "กิตาบุลญะฮร์" เขากล่าวว่า
 "การอ่านบิสมิลลาฮ์เสียงดังไม่ถูกต้อง" พวกเขากล่าวว่า มีบรรดาตาบิอีนบางท่านกล่าวว่า การอ่านบิสมิลลาฮ์เสียงดังเป็นบิดอะฮ์!(อุตริกรรม)พวกเขากล่าวว่า เป็นการกิยาส(เปรียบเทียบ)กับการอ่านอะอูซุบิลลาฮิฯ
 
ขอให้สังเกตว่า พวกเขายอมรับว่า ท่านนบี(ศ)อ่านบิสมิลลาฮ์ฯ เสียงดังที่เมืองมักกะฮ์ ! และพวกเขาแอบอ้างว่า วะห์ยูลงมายกเลิกบิสมิลลาฮ์ฯ ด้วยเหตุผลว่าไปพ้องกับเทพเจ้าองค์หนึ่งในความเชื่อของพวกกุเรช นั่นคือ "มุซัยละมะฮ์"  ซึ่งตอนนั้นยังเป็นช่วงเวลาก่อนจะมีบทบาทของคนชื่อ มุซัยละมะฮ์
 
ส่วน "ตาบิอีนบางคน"ที่กล่าวว่า การอ่านบิสมิลลาฮ์ฯเสียงดังเป็นบิดอะฮ์! จะเป็นใครเสียอีก นอกเหนือจากพวกตุละกออ์ บางคน?!!
 
ตามคำอธิบายของ "ดารุกุฏนีย์"นั้น เป็นได้สองอย่าง คือตอนนั้น ยังไม่ได้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องนี้อย่างครบถ้วน หรือไม่ก็เพราะยึดมั่นกับการถือฝักฝ่าย ขอให้สังเกตด้วยว่า มัซฮับชาฟิอีย์และอื่นๆที่มิใช่ ต่างก็รายงานฮะดีษศอฮีฮ์หลายบท ที่มาจาก อะบูฮุร็อยเราะฮ์และอะนัส ผู้อาศัยในเมืองมะดีนะฮ์ ว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)อ่านบิสมิลลาฮ์ฯเสียงดัง!
 
การขัดแย้งกับอะฮ์ลุลบัยต์(อ) จะทำให้สับสนในทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ "บิสมิลลาฮ์ฯ"!!
 
บรรดานักวิชาการศาสนาทางด้านมัซฮับอะฮ์ลุบัยต์(อ) กล่าวว่า บิสมิลลาฮ์ฯ เป็นอายะฮ์อันทรงเกียรติยิ่ง ในคัมภีร์ของอัลลอฮ์ ผู้ทรงสูงสุด และเป็นอายะฮ์หนึ่งของซูเราะฮ์อัลฮัมด์ และเป็นส่วนหนึ่งของทุกๆซูเราะฮ์ ยกเว้นซูเราะฮ์อัลบะรออะฮ์ และในซูเราะฮ์อันนัมล์ ก็เป็นส่วนหนึ่งของอายะฮ์
 
จากการค้นคว้าและศึกษาเรื่องนี้ พบว่า ชาฟิอีย์,ซุฮ์รีย์,อะฏออ์และอิบนุลมุบาร็อก เพียงเท่านั้น ที่ถือว่าการอ่านบิสมิลลาฮ์ฯออกเสียงของเรา ทั้งในนมาซที่อ่านดังและอ่านค่อย เป็นมุสตะฮับ(การกระทำที่ชอบ)
 
(ดูหนังสือ ตัซกิรอตุลฟุกอฮาอ์ ของอัลลามะฮ์ อัลฮุลลีย์ ๑/๑๑๔)
 
ส่วนบรรดาผู้ปฏิบัติศาสนกิจตามมัซฮับอื่นๆ แม้กระทั่งพวกวาฮาบีย์ที่ประกาศว่าไม่ตามมัซฮับใด แต่พวกเขาต่างพากันสับสนในทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับบิสมิลลาฮ์ฯ พวกเขาจะมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องบิสมิลลาฮ์ฯอย่างมากมาย

เช่น
 
 บิสมิลลาฮ์ฯเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอานหรือไม่?
 
บิสมิลลาฮ์ฯเป็นวรรคที่ถูกนำเข้ามาเพิ่ม เพื่อแบ่งระหว่างซูเราะฮ์ต่างๆเท่านั้นหรือ ?
 
บิสมิลลาฮ์ฯเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอานอย่างเที่ยงแท้แน่นอน ?
 
 หรือว่า ยังอยู่ระหว่างความสงสัย?
 
บิสมิลลาฮ์ฯเป็นส่วนหนึ่งของซูเราะฮ์อัลฮัมด์หรือไม่ ?
 
บิสมิลลาฮ์ฯเป็นส่วนหนึ่งของทุกซูเราะฮ์หรือไม่ ?
 
โดยหลักการจริงๆแล้ว วาญิบจะต้องอ่านบิสมิลลาฮ์ฯในนมาซหรือไม่ ?
 
ถ้าต้องอ่านบิสมิลลาฮ์ฯ วาญิบจะต้องอ่านดังหรือค่อย ?
 
ในแต่ละประเด็นจากปัญหาปลีกย่อยเหล่านี้ พวกเขาจะมีความเห็นขัดแย้งกันมากมาย!
 
จนกระทั่งว่า มีการให้ทัศนะ มีการออกคำฟัตวากันอย่างมากมายหลายสิบทัศนะและหลายฟัตวาในเรื่องบิสมิลลาฮ์ฯ เรื่องเดียว !
 
ซึ่งหากเราจะศึกษาดูในแต่ละทัศนะ ก็จะพบว่า มีหลักฐานฮะดีษท่านนบี(ศ)ด้วยกันทั้งนั้น และทุกฮะดีษต่างก็มีสารบบนักรายงานถูกต้อง ชัดเจนเป็นหลักฐานยืนยัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายให้อ่านดัง หรือไม่ก็ตาม ไม่มีของใครหยิ่งหย่อนกว่าใคร !!
 
                ต่างฝ่ายต่างสงสัย ต่างฝ่ายต่างเห็นว่าดี และแยกแยะชัดเจนแล้ว ทั้งๆที่หลักฐานข้อมูล ในเรื่องนั้นๆของแต่ละฝ่ายคับแคบมาก แต่ในความเห็นที่แตกต่างกันนั้น กลับไม่มีผลกระทบที่นำไปเป็นเรื่องเป็นราวให้เดือดร้อนค่อนแคะระหว่างกัน !
 
เช่น พวกเขาได้แสดงหลักฐานฮะดีษว่า บิสมิลลาฮ์ฯ มิใช่ส่วนหนึ่งของกุรอาน โดยฮะดีษที่กล่าวว่า อัลลอฮ์ มหาสูงสุด ทรงแบ่งซูเราะฮ์อัลฮัมดุฯออกเป็นสองส่วน ระหว่างส่วนของพระองค์กับส่วนของบ่าวของพระองค์
 

อะบูฮะนีฟะฮ์ กล่าวว่า แท้จริงท่านนบี(ศ)ได้เริ่มต้นจากอายะฮ์"อัลฮัมดุลิลลาฮ์" ในฮะดีษที่อธิบายอายะฮ์ต่างๆของอัลฮัมด์ฯ  โดยไม่ได้กล่าวถึงบิสมิลลาฮ์ฯ ดังนั้น นี่คือ หลักฐานยืนยันว่า ไม่มี บิสมิลลาฮ์ฯ และให้ปฏิเสธบิสมิลลาฮ์ฯ ออกไปจากอัลกุรอาน !
 
ท่านอะบูฮะนีฟะฮ์อธิบายว่า การแบ่งอัลฮัมด์ออกเป็นสองส่วน จำเป็นจะต้องแบ่งออกให้เท่ากัน และอัลฮัมด์ฯต้องมีหกอายะฮ์ ถ้านับรวมบิสมิลลาฮ์ฯเข้าไป ก็จะเป็นเจ็ดอายะฮ์ จะทำให้การแบ่งอัลฮัมดุฯออกเป็นสองส่วน จะไม่ได้เป็นสองส่วนที่มีจำนวนอายะฮ์เท่าๆกัน !
 
ดังนั้น บิสมิลลาฮ์จึงมิใช่อายะฮ์ และคำว่า  وَالسَّبْعُ الْمَثَانِي ( เจ็ดที่ซ้ำสอง) ก็ไม่ใช่ซูเราะฮ์อัลฮัมด์ !
 
ท่านซัรคอซีย์ ได้กล่าวใน "อัลมับซูฏ" ๑/๑๕เพื่อสนับสนุนอะบูฮะนีฟะฮ์ว่า "ในความเป็นจริงก็คือ ให้ถือว่า บิสมิลลาฮ์นั้น มิใช่อายะฮ์แรกของฟาติหะฮ์ และมิใช่ประโยคขึ้นต้นซูเราะฮ์ใด ในทัศนะของเรา คำอธิบายที่ดีที่สุด คือ ให้นับ "อียากะนะอ์บุดุ วะอียากานัสตะอีน" เป็นอายะฮ์หนึ่ง
 
หลักฐานของเรา คือฮะดีษของอะบูฮุร็อยเราะฮ์ที่รายงานว่า ท่านนบี(ศ)กล่าวว่า อัลลอฮ์ ทรงตรัสว่า ฉันได้แบ่งการนมาซระหว่างฉันกับบ่าวของฉันเป็นสองส่วน คือเมื่อบ่าวของฉันกล่าวว่า อัลฮัมดุลิลลาฮิ์ร็อบบิลอาละมีน อัลลอฮ์ จะทรงตรัสว่า บ่าวของฉัน สรรเสริญข้าแล้ว....
 
การเริ่มต้นด้วยการกล่าวว่า อัลฮัมดุลิลลาฮิ ร็อบบิลอาละมีน เป็นหลักฐานที่แสดงว่า บิสมิลลาฮ์ฯ มิใช่อายะฮ์แรกของอัลฟาติหะฮ์ เพราะถ้าหากนับให้บิสมิลลาฮ์ฯเป็นอายะฮ์แรกของอัลฟาติหะฮ์ ก็ไม่สามารถแบ่งครึ่งซูเราะฮ์ให้สมจริงได้
 
 กล่าวคือ ครึ่งแรกจะมี ๔ อายะฮ์ ฉะนั้นต้องแบ่งออกเป็นส่วนละครึ่ง และตัวบทฮะดีษก็ระบุว่า แบ่งครึ่ง บรรดาสะลัฟ มีความเห็นตรงกันว่า ซูเราะฮ์อัลเกาซัรนั้นมี ๓ อายะฮ์ นั่นคือ สามอายะฮ์ล้วนๆ โดยไม่นับบิสมิลลาฮ์ฯ
 
เพราะว่าความขัดแย้งของรายงานบอกเล่าและของบรรดาอุละมามีมากมายหลายระดับ จึงก่อให้เกิดผลลัพท์ที่นำไปสู่ความคลางแคลงสงสัย ในขณะที่อัลกุรอานเป็นคัมภีร์ที่ไม่สอดรับกับความเคลือบแคลงสงสัย แนวทางของคัมภีร์ จะต้องเป็นแนวทางที่เที่ยงแท้แน่นอน มั่นใจได้ และพิถีพิถัน รอบคอบ ถี่ถ้วน
 
 
  •  

L-umar


มีรายงานบอกเล่าว่า ทั้งอะบูฮะนีฟะฮ์ และซัรคอซีย์ สานุศิษย์ผู้ตักลีดตามได้เสียชีวิตไป ในสภาพที่ถือว่า ท่านนบี(ศ)เริ่มต้นการอ่านด้วยอายะฮ์ อัลฮัมด์ฯ แน่นอน เขาคงลืมรายงานต่างๆที่เล่าว่า ท่านนบี(ศ)ได้อ่านบิสมิลลาฮ์ฯ ซึ่งถ้าเป็นเรื่องจริง ก็หมายความว่า เขาคือคนที่ตัดบิสมิลลาฮ์ฯออกไป
 
เขาคือผู้ปฏิเสธฮะดีษต่างๆที่กล่าวว่า บิสมิลลาฮ์ฯเป็นส่วนหนึ่งของซูเราะฮ์อัลฮัมด์ และเรื่องนี้ก็มีบันทึกเป็นหลักฐานในตำราศอฮีฮ์ซึ่งเป็นที่ยอมรับในหมู่พวกเขา !
 
ทั้งสองท่านได้เสียชีวิตไปในขณะยังมีความเชื่อว่า มีการแบ่งซูเราะฮ์อัลฮัมด์ออกเป็นสองส่วนคือ เป็นของอัลลอฮ์ ๑ ส่วน และเป็นของบ่าวของพระองค์ ๑ ส่วน
 
เดิมที คือการแบ่งในแง่ความหมายทางด้านจิตวิญญาณ แล้วได้ค่อยๆพัฒนาไปเป็นการแบ่งจำนวนประโยค คำ และตัวอักษรในคราวต่อมา!
 
เป็นอันว่า ในทัศนะของพวกเขา บิสมิลลาฮ์ ที่อยู่ในตอนต้นของซูเราะฮ์ต่างๆนั้น ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน และใครที่กล่าวว่า เป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน ก็จะกล่าวไปในลักษณะที่สงสัยมากกว่าจะเชื่อถือจริงจังอย่างเด็ดขาด
 
อิบนุกุดดามะฮ์ อัลฮัมบะลี ได้กล่าวไว้ใน อัลมุฆนีย์ ๑/๕๒๒ ว่า มีรายงานจากท่านอะห์มัดว่า บิสมิลลาฮ์ มิใช่ส่วนหนึ่งของฟาติหะฮ์ และมิใช่อายะฮ์ของซูเราะฮ์อื่นด้วย จึงไม่วาญิบต้องอ่านในนมาซ และนี่คือ เรื่องที่ได้รับการสนับสนุนจากมิตรสหายของท่าน และเป็นคำพูดของอะบูฮะนีฟะฮ์,มาลิก,เอาซาอีย์และอับดุลลอฮ์ บิน สะอีด อัรรอมานีย์ด้วยเช่นกัน
 
                รายงานริวายะฮ์ที่แตกต่างกันจากอะห์มัดในเรื่องบิสมิลลาฮ์ฯนั้น มีกระแสหนึ่งระบุว่า อะห์มัด บิน ฮัมบัลกล่าวว่า บิสมิลลาฮ์ฯเป็นอายะฮ์หนึ่งต่างหาก ที่ถูกประทานลงมาคั่นกลางระหว่างสองซูเราะฮ์ เพื่อแบ่งแยกซูเราะฮ์ต่างๆออกจากกัน
 
                มีรายงานจากอิมามท่านนี้อีกด้วยว่า บิสมิลลาฮ์ฯที่เป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน มีก็เพียงอายะฮ์หนึ่งของซูเราะฮ์อันนัมล์เท่านั้น อับดุลลอฮ์ บิน มุอับบัด,และเอาซาอีย์กล่าวว่า อัลลอฮ์มิได้ประทานบิสมิลลาฮ์ฯลงมาเลย นอกจากในซูเราะฮ์ อันนัมลุ

 إِنَّهُ مِنْ سُلَيْمَانَ وَإِنَّهُ بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ
 
แต่อันนะวาวีย์ อัชชาฟิอีย์ได้กล่าวในอัลมัจมูอ์๓/๓๓๓ ว่า  
 
มีคำถามว่า บิสมิลลาฮ์ในฟาติหะฮ์ และในซูเราะฮ์อื่นๆเป็นกุรอานหรือไม่
 
เพื่อจะได้แนวทางที่ยืนยันอย่างแน่ชัดต่ออัลกุรอานว่า บิสมิลลาฮ์ก็เป็นเหมือนกับอายะฮ์อื่นๆของอัลกุรอาน หรือเพื่อจะได้แนวทางด้านฮุกม์ที่บรรดาอุละมาอ์มีความเห็นขัดแย้งกันอยู่ ?
 
ในเรื่องบิสมิลลาฮ์ฯนี้ มีความเห็นที่แพร่หลายอยู่สองประการในหมู่มิตรสหายของเรา ทั้งสองประการนี้ บอกเล่าโดยอัลมุฮามะลี,ศอฮิบอัลฮาวีย์,บันดะนีญีย์ ว่า ๑-ในแนวทางด้านฮุก์มนั้น ให้เราถือว่า การนมาซจะไม่สมบูรณ์ นอกจากจะได้อ่านบิสมิลลาฮ์ตอนเริ่มต้นฟาติหะฮ์ และไม่มีอะไรนอกเหนือจากบิสมิลลาฮ์ฯ ที่จะช่วยยืนยันว่าแต่ละซูเราะฮ์ได้จบสมบูรณ์ลงแล้ว ฉะนั้นทุกซูเราะฮ์ที่อ่านกัน จะต้องเริ่มต้นด้วยบิสมิลลาฮ์
 
                ที่ถูกต้องก็คือว่า บิสมิลลาฮ์ฯไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ตัดสินขั้นเด็ดขาด ในขณะที่มุสลิมฝ่ายซุนนะฮ์ยังมีความเห็นขัดแย้งกันว่า การปฏิเสธบิสมิลลาฮ์ฯว่ามิใช่อัลกุรอาน ยังไม่ถือว่าเป็นการปฏิเสธศาสนา(กุฟร์) แต่ถ้าหากมีหลักฐานขั้นเด็ดขาดว่า บิสมิลลาฮ์ เป็นกุรอาน แน่นอน ที่จะต้องถือว่า เป็นการปฏิเสธศาสนา(กุฟร์)เช่นเดียวกับผู้ที่ปฏิเสธอายะฮ์อื่นๆ....
 
อิมามมุลฮะรอมัยน์ และท่านอื่นๆให้ความเห็นว่า คำกล่าวที่ว่า บิสมิลลาฮ์ฯเป็นกุรอานอย่างแน่นอนโดยเด็ดขาดนั้น อ่อนหลักฐาน! เขากล่าวว่า นี่คือความคลุมเครืออันยิ่งใหญ่ สำหรับผู้ที่กล่าวอย่างนี้ เพราะเป็นการแอบอ้างความรู้ที่ไม่มีหลักฐานชี้ขาด
 
 เจ้าของ "อัลฮาวีย์" กล่าวว่า เหล่าบรรดามิตรสหายของเรากล่าวว่า บิสมิลลาฮ์ เป็นอายะฮ์หนึ่งในแง่ของฮุกม์ แต่ไม่มีหลักฐานขั้นเด็ดขาด...ท่านมาลิก,อัลเอาซาอีย์,อะบูฮะนีฟะฮ์และดาวูด ได้กล่าวว่า ไม่มี บิสมิลลาฮ์ฯ ในตอนต้นของซูเราะฮ์ต่างๆทั้งหมดในอัลกุรอาน ไม่มีทั้งในฟาติหะฮ์และซูเราะฮ์อื่นๆด้วย
 
 ส่วนอะห์มัดนั้นกล่าวว่า บิสมิลลาฮ์เป็นอายะฮ์หนึ่งในตอนต้นของฟาติหะฮ์ แต่ที่อยู่ในตอนต้นของทุกๆซูเราะฮ์นั้น มิใช่อัลกุรอาน และยังมีรายงานที่มาจากท่านอีกอย่างหนึ่งด้วยว่า บิสมิลลาฮ์ มิใช่ส่วนหนึ่งของฟาติหะฮ์อีกด้วย...!
 
มีคำโต้แย้งแก่ผู้ที่ปฏิเสธบิสมิลลาฮ์ฯว่า มิใช่อายะฮ์แรกของฟาติหะฮ์ และซูเราะฮ์อื่นๆ เพราะว่า การจะยืนยันว่า อะไรเป็นอัลกุรอานหรือไม่เป็น ด้วยความสงสัยนั้น จะกระทำไม่ได้
 
แต่ก็ไม่มีอะไรยืนยันนอกจากความเห็นที่สอดคล้องตรงกันและฮะดีษหนึ่งของอะบูฮุร็อยเราะฮ์  ที่ว่ามีรายงานจากท่านนบี(ศ็อล)ว่า
 
قَالَ اللَّهُ تَعَالَى قَسَمْتُ الصَّلاَةَ بَيْنِى وَبَيْنَ عَبْدِى نِصْفَيْنِ وَلِعَبْدِى مَا سَأَلَ فَإِذَا قَالَ الْعَبْدُ ( الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ )
إلى آخر الحديث ، ولم يذكر البسملة. رواه مسلم
 
( อัลลอฮ์ทรงตรัสว่า)"ฉันได้แบ่งการนมาซระหว่างฉันกับบ่าวของฉัน ออกเป็นสองส่วน กล่าวคือ เมื่อบ่าวกล่าวว่า อัลฮัมดุลิลลาฮิ ร็อบบิล อาละมีน".... ไปจนจบฮะดีษนี้ ซึ่งมิได้กล่าวประโยค บิสมิลลาฮ์ฯแต่อย่างใด ตามที่ปรากฏในศอฮีฮ์มุสลิม หะดีษที่ 904

อิมามนะวาวีย์ ยังได้กล่าวในอัลมัจมูอ์ ๑๖/๒๓๕ อีกว่า "ประการที่ ๒ บิสมิลลาฮ์ฯมิใช่พจานารถของอัลลอฮ์ หากแต่เป็นวะห์ยูหนึ่งจากพระองค์ ซึ่งเป็นวะห์ยูประเภทที่มิใช่อัลกุรอาน ดังมีรายงานจากท่านนบี(ศ)ว่า
 
روي عن النبي (ص) أنه قال: أتاني جبريل يأمرني أن أجهر ببسم الله الرحمن الرحيم، ولم يكن ذلك قرآناً وكلاماً من الله تعالى
 
ท่านได้กล่าวว่า ญีบรออีลได้ลงมาหาฉันและสั่งฉันว่า ให้ออกเสียงดังด้วยบิสมิลลาฮ์ฯ แต่มันมิได้เป็นกุรอานและพจนารถใดๆจากอัลลอฮ์ ผู้ทรงสูงสุด!!
 
ในหน้า ๓๓๗ เขากล่าวว่า ในหนังสือสุนัน บัยฮะกีย์ มีรายงานจากอะลี,อะบูฮุร็อยเราะฮ์,อิบนุอับบาสและท่านอื่นๆอีกว่า ฟาติหะฮ์ คือ เจ็ดโองการที่อ่านซ้ำสอง นั่นคือ ฟาติหะฮ์มีเจ็ดอายะฮ์และแท้จริง บิสมิลลาฮ์ เป็นอายะฮ์ที่เจ็ด ส่วนในหนังสือสุนันดารุกุฏนีย์ มีรายงานจากอะบูฮุร็อยเราะฮ์กล่าวว่า
 
عن أبي هريرة قال قال رسول الله (ص): إذا قرأتم الحمد فاقرأوا بسم الله الرحمن الرحيم، إنها أمُّ القرآن وأم الكتاب والسبع المثاني، وبسم الله الرحمن الرحيم إحدى آياتها. قال الدارقطني رجال إسناده كلهم ثقاة.
 
ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า เมื่อพวกท่านอ่านอัลฮัมด์ ก็จงอ่านบิสมิลลาฮ์ฯด้วย เพราะมันคือแม่ของอัลกุรอานและเป็นแม่ของคัมภีร์ และเป็นเจ็ดอายะฮ์ที่อ่านซ้ำสอง และบิสมิลลาฮ์ฯคืออายะฮ์หนึ่งของมัน(ฟาติหะฮ์) อัดดารุกุฏนีย์กล่าวว่า บรรดาบุคคลที่รายงานฮะดีษนี้ทั้งหมดล้วน เป็นที่เชื่อถือได้
 
ท่านซัยยิดคุอีย์(ร.ฮ)กล่าวไว้ในอัลบะยาน หน้า ๔๔๕ ว่า มีนักพูดกลุ่มหนึ่งให้เหตุผลว่า บิสมิลลาฮ์ณ มิใช่ส่วนหนึ่งของซูเราะฮ์ใดๆ ดังนี้
 
ประการแรก การยืนยันรับรองว่า ประโยคไหน ส่วนใดบ้าง เป็นอัลกุรอาน มีเพียงวิธีการเดียวเท่านั้น คือ การยืนยันที่สอดคล้องตรงกันเป็นเอกฉันท์ (มุตะวาติร) วรรคหนึ่งตอนใดที่เกิดปัญหาขัดแย้งในการยืนยันรับรอง ให้ถือว่า วรรคนั้นตอนนั้น มิใช่ส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน และประโยค บิสมิลลาฮ์ คือประโยคหนึ่งที่มีปัญหาข้อขัดแย้งในการยืนยันรับรอง
 
คำตอบที่ ๑- การถือว่า บิสมิลลาฮ์ คือส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน เป็นความเชื่อถือที่สอดคล้องตรงกัน(มุตะวาติร)เป็นเอกฉันท์จากบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์(อ) และไม่ถือว่าเป็นข้อแตกต่างระหว่างการรายงานสอดคล้องตรงกัน(มุตะวาติร)จากท่านนบี(ศ) กับการรายงานสอดคล้องตรงกันจากอะฮ์ลุลบัยต์ ผู้บริสุทธิ์(อ) หลังจากมีหลักฐานยืนยันว่า วาญิบต้องเชื่อฟังปฏิบัติตามบุคคลเหล่านั้น
 
คำตอบที่ ๒ การให้ทัศนะของกลุ่มบุคคลจำนวนเล็กน้อยกลุ่มหนึ่ง ที่ไม่เชื่อถือว่าบิสมิลลาฮ์ฯเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอานนั้น เป็นความเคลือบแคลงสงสัย ไม่มีผลกระทบต่อความเชื่อถือที่สอดคล้องตรงกัน(มุตะวาติร)แต่อย่างใด เพราะยังมีหลักฐานยืนยันจากบรรดาสาวกจำนวนมากที่เชื่อถือว่า บิสมิลลาฮ์ฯ เป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน และหลักฐานจากบทรายงานต่างๆที่สอดคล้องตรงกัน ก็ให้ความหมายเดียวกัน
 
(ดู อัล-บะยานฉบับแปลเป็นภาษาไทยโดย อัยยูบ ยอมใหญ่ หน้า ๑๕๐ เป็นต้นไป)
 
อันนะวาวีย์ ได้กล่าวในอัลมัจมูอ์ ๓/๓๔๒ อีกว่า "ในหนังสือ อัลคิลาฟียาต ของบัยฮะกีย์ มีรายงานจากญะอ์ฟัร บิน มุฮัมมัด กล่าวว่า บรรดาวงศ์วานของมุฮัมมัด(ศ)มีความเชื่อตรงกันทั้งหมดว่าให้ออกเสียงอ่านบิสมิลลาฮ์ฯ...อะบูญะอ์ฟัร มุฮัมมัด บิน อะลี กล่าวว่า ไม่สมควรนมาซยืนตามหลังคนที่ไม่ออกเสียงอ่านบิสมิลลาฮ์ฯ
 
ปมปริศนาก็คือ ตราบใดยังมีหลักฐานยืนยันในตำราที่ถูกยอมรับของฝ่ายซุนนะฮ์อย่างเป็นเอกฉันท์ว่า อะฮ์ลุลบัยต์ ออกเสียงอ่านบิสมิลลาฮ์ฯ ขณะที่นักปราชญ์กลุ่มอื่นยังขัดแย้งกันอยู่ในเรื่องนี้ ถามว่า ท่านจะพิจารณาอย่างไร ?
 
أَفَمَنْ يَهْدِي إِلَى الْحَقِّ أَحَقُّ أَنْ يُتَّبَعَ أَمْ مَنْ لَا يَهِدِّي إِلَّا أَنْ يُهْدَى فَمَا لَكُمْ كَيْفَ تَحْكُمُونَ
سورة يونس : 35
 
 "ดังนั้นผู้ที่ชี้แนะทางสู่สัจธรรมสมควรกว่าที่จะได้รับการปฏิบัติตาม(อิบาดะฮ์)หรือว่าผู้ที่ไม่อาจจะชี้แนะผู้อื่นได้ เว้นแต่จะถูกชี้แนะ ทำไมพวกท่านจึงตัดสินใจเช่นนั้น?"
 
(คัดจาก-ฉบับแปลโดยสมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ)
 
ในหนังสือ มับซูฏ ของซัรคอซีย์ ๑/๑๕ กล่าวว่า "ท่านมาลิกกล่าวว่า
 
وكان مالك يقول لايأتي المصلي بالتسمية لاسراً ولا جهراً، لحديث عائشة أن النبي عليه الصلاة والسلام كان يفتتح القراءة بالحمد لله رب العالمين
 
ผู้นมาซต้องไม่นำพา บิสมิลลาฮ์ ไม่มีทั้งที่อ่านค่อยและอ่านดัง เพราะมีฮะดีษจากอาอิชะฮ์กล่าวว่า ท่านนบี(ศ)เริ่มต้นอ่านด้วย อัลฮัมดุลลิลลาฮิฯ......
 
เรายังมีฮะดีษของอะนัส ที่กล่าวว่า ข้าพเจ้าเคยนมาซตามหลังท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)และตามหลังอะบูบักร์และอุมัร พวกเขาเริ่มต้นอัลกุรอาน(นมาซ)ด้วย บิสมิลลาฮ์ฯ และมีหลักการตีความฮะดีษที่รายงานโดยอาอิชะฮ์ว่า ท่านนบีอ่านบิสมิลลาฮ์ฯเงียบๆ และนี่คือ หลักปฏิบัติในมัซฮับของเรา....
 
وقال الشافعي يجهر بها الإمام في صلاة الجهر، وهو قول ابن عباس وأبي هريرة. وعن عمر فيه روايتان.
 
واحتج بحديث أبي هريرة أن النبي (ص) كان يجهر بالتسمية ولما صلى معاوية بالمدينة ولم يجهر بالتسمية أنكروا عليه وقالوا أسرقت من الصلاة أين التسمية؟! فدل أن الجهر بها كان معروفاً عندهم.
 
อัชชาฟิอีย์กล่าวว่า ให้อิมามอ่านบิสมิลลาฮ์ดัง ในนมาซที่อ่านดัง และนี่คือ คำพูดของอิบนุอับบาสและอะบูฮุร็อยเราะฮ์ และจากสองริวายะฮ์ของอุมัร
 
เขาได้ตอบโต้ด้วยฮะดีษของอะบูฮุร็อยเราะฮ์ว่า ท่านนบี(ศ)ออกเสียงอ่านบิสมิลลาฮ์ฯ ครั้นเมื่อมุอาวียะฮ์ทำนมาซที่มะดีนะฮ์ เขาไม่ออกเสียงอ่านบิสมิลลาฮ์ ประชาชนพากันคัดค้านเขาโดยกล่าวว่า ท่านขโมยนมาซไปแล้วหรือ ไหนล่ะ บิสมิลลาฮ์ ?! นั่นแสดงว่า การอ่านบิสมิลลาฮ์ฯออกเสียง เป็นที่รู้กันในหมู่พวกเขา (ข้อความในหนังสือของซัรคอซีย์ กล่าวต่อไปว่า)
 
ولنا حديث عبد الله بن المغفل عنه أنه سمع ابنه يجهر بالتسمية في الصلاة فنهاه عن ذلك فقال يا بني إياك والحدث في الاسلام فإني صليت خلف رسول الله (ص) وخلف أبي بكر وعمر فكانوا لايجهرون بالتسمية. وهكذا روي عن أنس
 
เรายังมีฮะดีษของอับดุลลอฮ์ บิน มุฆฟัล ที่เขาได้ยินบุตรชายอ่านบิสมิลลาฮ์ฯออกเสียงในนมาซ เขาจึงสั่งห้ามมิให้ทำอย่างนั้น โดยเขากล่าวว่า โอ้ลูกเอ๋ย เจ้าจงระวังการอุตริสิ่งใหม่ๆในอิสลาม แท้จริงฉันเคยนมาซตามหลังท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)ตามหลังอะบูบักร์และอุมัร ปรากฏว่าพวกเขาไม่เคยอ่านออกเสียงกับบิสมิลลาฮ์ฯ และริวายะฮ์จากอะนัส ก็เป็นอย่างนี้
 
  •  

L-umar


อันนะวาวีย์ กล่าวในหนังสืออัลมัจมูอ์ ๓/๓๓๒ ว่า
 
(ويجب أن يبتدئها ببسم الله الرحمن الرحيم فإنها آية منها، والدليل عليه ما روته أم سلمة أن النبي (ص) قرأ بسم الله الرحمن الرحيم فعدها آية، ولأن الصحابة أثبتوها فيما جمعوا من القرآن، فدل على أنها آية منها، فإن كان في صلاة يجهر فيها جهر بها كما يجهر بسائر الفاتحة، لما روى ابن عباس أن النبي (ص) جهر ببسم الله الرحمن الرحيم، ولأنها تقرأ على أنها آية من القرآن، بدليل أنها تقرأ بعد التعوذ، فكان سنتها الجهر كسائر الفاتحة).
 
วาญิบจะต้องเริ่มต้น(ซูเราะฮ์อัลฮัมด์) ด้วยการอ่านบิสมิลลาฮ์ฯเพราะที่แท้ บิสมิลลาฮ์ คืออายะฮ์หนึ่งของมัน หลักฐานในข้อนี้ คือริวายะฮ์ที่บอกเล่าโดยอุมมุสะละมะฮ์ว่า ท่านนบี(ศ)อ่านบิสมิลลาฮ์ฯแล้วท่านนับมันเป็นหนึ่งอายะฮ์ และเพราะว่าบรรดาศอฮาบะฮ์ยืนยันบันทึกบิสมิลลาฮ์ในครั้งที่พวกเขารวบรวมอัลกุรอาน จึงแสดงให้เห็นว่า บิสมิลลาฮ์เป็นอายะฮ์หนึ่งของฟาติหะฮ์ ฉะนั้น ถ้าหากในนมาซที่ต้องอ่านดัง ก็ให้อ่านบิสมิลลาฮ์ฯดัง เช่นเดียวกับที่อ่านดังในส่วนอื่นๆของฟาติหะฮ์ เนื่องจากยังมีรายงานโดยอิบนุอับบาสกล่าวว่า ท่านนบี(ศ)อ่านบิสมิลลาฮ์ฯออกเสียง เพราะว่ามันถูกอ่าน แสดงว่า มันคืออายะฮ์หนึ่งของอัลกุรอาน โดยหลักฐานก็คือว่า มันต้องถูกอ่านหลังจากอัตตะเอาวุซ(อะอูซุบิลลาฮ์ฯ) ดังนั้นกฎเกณฑ์ของบิสมิลลาฮ์ฯก็คือ ต้องอ่านออกเสียเหมือนกับส่วนอื่นๆของฟาติหะฮ์
 
เห็นไหมครับว่า ปรัชญาคำสอนที่อยู่นอกแนวทางของบรรดาอิมามแห่งอะฮ์ลุบัยต์(อ) เป็นไปด้วยอุปสรรคเพียงไร  ในการไขคำตอบทางศาสนาเพื่อให้ออกมาเป็นหลักปฏิบัติ พวกเขาใช้ความพยายามกันอย่างสาหัสสากรรจ์ ในการแสดงหลักฐานและการตัฟซีร จนกระทั่งได้ผลลัพท์ออกมาอย่างนี้?!
 
กล่าวคือ บิสมิลลาฮ์ ในทัศนะของนักปราชญ์ฝ่ายซุนนะฮ์แต่ละกลุ่ม จะเชื่อถือแตกต่างกันดังนี้
 
บิสมิลลาฮ์มิใช่ส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน !
 
แต่ใครที่ค้านว่า บิสมิลลาฮ์ เป็นอายะฮ์หนึ่งของอัลกุรอาน ก็ยังถือว่า เป็นมุสลิม เป็นอิสลามที่สมบูรณ์!
 
บิสมิลลาฮ์ฯ วรรคเดียว มีทั้งพวกที่เชื่อว่า เป็นกุรอานตามฮุกม์,
 
มีทั้งพวกที่ยังอยู่ในความสงสัย,
 
มีทั้งพวกที่เชื่อมั่นเด็ดขาดว่าเป็นกุรอาน !
 
มีทั้งพวกที่เชื่อว่า ใครยืนยันอย่างเด็ฅขาดให้ บิสมิลลาฮ์ฯ เป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน ต้องถือว่า ผู้นั้นเป็นกาฟิร ทั้งนี้ ถ้าหากผู้นั้นเป็นอุละมาอ์ !
 
แต่ถ้าเป็นคนอะวาม ยังมีความเห็นไม่ตรงกันอยู่ บ้างก็ว่า เป็นกาฟิร บ้างก็ว่า ไม่ !
 
มีทั้งพวกที่ให้ทัศนะว่า ใครอ่านบิสมิลลาฮ์ฯในนมาซ ถือเป็น มักรูฮ์(พึงรังเกียจ)ไม่ว่าจะอ่านค่อย อ่านดัง
 
มีทั้งอนุญาตให้อ่านค่อย แต่ถือเป็นมักรูฮ์ ถ้าอ่านดัง
 
มีทั้งถือว่า เป็นมุสตะหับ(การกระทำที่ชอบ) ถ้าอ่านดัง และมีทั้งถือว่า จะเป็นการดีที่สุด ถ้าไม่อ่านเสียเลย !
 
สรุปว่า การฟัตวาของบรรดานักปราชญ์เหล่านี้กระทบกระทั่งกันเอง
 
ตำหนิติเตียนกันเองทั้งสิ้น !!
 
รากเหง้าแห่งทุกขภัยเช่นนี้ของพวกเขาก็คือ มีประโยคบิสมิลลาฮ์ฯปรากฏอยู่ในอัลกุรอาน และประโยคนี้ จำเป็นต้องได้รับการอธิบาย!
 
ในเรื่องบิสมิลลาฮ์ มีหลายฮะดีษศอฮีฮ์ ระบุว่า เป็นอายะฮ์หนึ่ง แต่ก็มีอีกหลายฮะดีษศอฮีฮ์ที่บอกว่า ไม่ใช่อายะฮ์ !
 
นั่นคือ หลายฮะดีษที่ขัดแย้งกันเองจากริวายะฮ์ของอะนัสคนเดียว ซึ่งมี ๖ ฮะดีษที่พกพาปัญหาที่น่าสงสัย จึงจำเป็นจะต้องพิจารณา ตรวจตราดูฮะดีษต่างๆเหล่านี้ทั้งหมด
 
ทำไม การอ่านบิสมิลลาฮ์ฯออกเสียงดัง เป็นสิ่งพึงรังเกียจหนักหนา สำหรับชนเผ่ากุเรช มันเพราะอะไร ?
 
 ก็เป็นอีกปมปริศนาหนึ่ง ซึ่งโลกแห่งวิชาการศาสนาต้องการคำตอบ !
 
นักปกครองของอิสลามครั้งประวัติศาสตร์บางคนอ่านบิสมิลลาฮ์ฯ แต่บางคนไม่อ่าน บางคนอ่านบิสมิลลาฮ์ฯเสียงดัง บางคนอ่านค่อย ส่วนบางคนกระทำทั้งสองอย่าง ผสมผสานกันไปกับความคลางแคลงสงสัย !
 
แต่ผู้รู้ทั้งฝ่ายซุนนะฮ์และวาฮาบีย์กลับถือว่า การกระทำของคนทั้งหมดนั้น ถือว่า ถูกต้อง ! เพราะได้ผ่านด่านตรวจสอบแล้ว นั่นคือ อาศัยคำฟัตวา ที่มีหลักฐานอ้างอิงแล้ว !
 
ด้วยเหตุนี้เราจะเห็นได้ว่า บรรดานักวิชาการศาสนาเหล่านั้น ไม่มีทางออกอยู่เบื้องหน้าของพวกเขาเลย นอกจากทางเดียวเท่านั้น คือ จะต้องละทิ้งการใช้สติปัญญา และแก้ไขปัญหาที่ยากเย็นนี้ ด้วยวิธีการรวมเอาสิ่งต่างๆที่ขัดแย้งและคัดค้านกันเหล่านี้มาคละเค้ลาเข้าด้วยกัน
 
 แล้วเรียกแต่ละอย่างว่า เป็นหลักปฏิบัติของชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ วัลญะมาอะฮ์
 
ทำให้วะฮาบีย์ที่ปฏิเสธมัซฮับ ก็พลอยได้รับอานิสงฆ์จากหลักเกณฑ์ดังกล่าวนั้นตามไปด้วย
 
พวกเขาจึงร่วมใจเป็นเอกภาพ ในการรักษาและคงไว้ซึ่งหลักปฏิบัติเหล่านี้ บนความขัดแย้งและคัดค้านกันเองอย่างเงียบเชียบ ขอเพียงอย่างเดียว อย่าใครไปหลงเชื่อตามบรรดาอิมามแห่งอะฮ์ลุบัยต์(อ) เท่านั้นพอ
 
 เช่นนี้แหละ ที่พี่น้องซุนนะฮ์ของเราทำกันอยู่ (แต่...ใครจะไปว่าอะไรพวกเขาได้ !! )
 
  •  

L-umar



                                                                                              15 คำถามเจาะใจ สำหรับวาฮาบี
  •  

L-umar


15 คำถามเจาะใจ สำหรับวาฮาบี


อะฮฺลุลบัยต์(อ)กับยุทธศาสตร์แห่งสมรภูมิ "บิสมิลลาฮ์ฯ"
บิสมิลลาฮ์ฯ คืออายะฮ์อันยิ่งใหญ่ในอัลกุรอาน
ซูเราะฮ์ฟาติหะฮ์ คือ เจ็ดอายะฮ์ที่ซ้ำสอง(السبع المثاني)

ในตัฟซีรอะยาชีย์ ๑/๒๑ มีรายงานจากอิมามศอดิก(อ) กล่าวว่า


ما لهم قاتلهم الله عمدوا إلى أعظم آية في كتاب الله ، فزعموا انها بدعة اذا اظهروها ، وهى بسم الله الرحمن الرحيم
 

สาเหตุที่ อัลลอฮ์สังหาร(ลงโทษ)พวกเขา ก็เพราะพวกเขาเจตนาไม่ดีต่ออายะฮ์อันยิ่งใหญ่ในคัมภีร์ของอัลลอฮ์ เพราะพวกเขาแอบอ้างว่า บิสมิลลาฮ์ฯเป็นบิดอะฮ์ ยามเมื่อพวกเขาแสดงมันออกมา นั่นคือ บิสมิลลาฮ์ฯ
 
ในหนังสือ "วะซาอิลุชชีอะฮ์"(อาลิลบัยต์)  ๖/๕๙ มีรายงานจากอิมามฮะซัน อัสกะรีย์ จากปวงบิดาของท่านตามลำดับ รายงานมาจากอะมีรุลมุมินีน(อ)กล่าวว่า :
 
عن أمير المؤمنين ( عليهم السلام ) أنّه قال : بسم الله الرحمن الرحيم آية من فاتحة الكتاب وهي سبع آيات تمامها بسم الله الرحمن الرحيم.
 
บิสมิลลาฮ์ฯ เป็นอายะฮ์หนึ่งของฟาติหะฮ์แห่งคัมภีร์ และมี ๗ อายะฮ์ด้วยกัน ความสมบูรณ์ของมัน(ฟาติหะฮ์) อยู่ที่ บิสมิลลาฮ์ฯ...
 
มีคนถามท่านอะมีรุลมุมินีน(อ)ว่า
 
  قال : قيل لأمير المؤمنين ( عليه السلام ) : أخبرنا عن بسم الله الرحمن الرحيم ، أهي من فاتحة الكتاب ؟ قال : فقال : نعم ، كان رسول الله ( صلّى الله عليه وآله ) يقرأها ويعدّها آية منها ، ويقول : فاتحة الكتاب هي السبع المثاني..
 
"โปรดบอกฉันเกี่ยวกับบิสมิลลาฮ์ฯ เถิด มันเป็นส่วนหนึ่งของฟาติหะฮ์แห่งคัมภีร์หรือไม่ ? อิมามอัสกะรีย์ กล่าวว่า แล้วท่าน(อะลี)ตอบว่า "ใช่แล้ว ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ) เคยอ่านบิสมิลลาฮ์ และท่านนับบิสมิลลาฮ์ฯเป็นอายะฮ์หนึ่งของฟาติหะฮ์" และท่านกล่าวว่า : "ฟาติหะฮ์แห่งคัมภีร์นั้นคือ เจ็ดโองการที่ซ้ำสอง"
 
ในหนังสือ มะอานียุลอัคบาร หน้า๑๒๑มีรายงานว่า :
وكان على عليه السلام يؤم الناس ويجهر بالقراء ة

"ท่านอะลี(อ)เคยเป็นอิมามนำคนนมาซ แล้วท่านได้อ่านออกเสียง"
 
อัลกุลัยนีย์(ขออัลลอฮ์ทรงพิทักษ์คุ้มครอง)ได้รางานไว้ในอัลกาฟีย์ ๘/๕๘ เรื่องคำเทศนาอันลึกซึ้งของท่านอะลี(อ)โดยสารบบนักรายงานที่ถูกต้อง(ศอฮีฮ์)จากอะลี บิน อิบรอฮีม,จากบิดาของเขา,จากฮัมมัด บิน อีซา จากอิบรอฮีม บิน อุษมาน(บิน อุมัร อัลยะมานีย์)จากซะลีม บิน กีส อัลฮิลาลีย์ รายงานว่า
 
อิมาม(อ) ต้องอาดูรยิ่งนักกับเรื่องของมัน(บิสมิลลาฮ์ฯ)เพราะท่านไม่สามารถขจัดการดัดแปลง(ตะห์รีฟ) ที่นักปกครองทำอุตริขึ้นมาในหลักความเชื่อและบทบัญญัติอิสลามให้หมดสิ้นได้ พวกเราได้รายงานบทเทศนาเกี่ยวกับเรื่องนี้(บิสมิลลาฮ์)มากกว่าพยานคนเดียว เพื่อเป็นประโยชน์ของมัน(บิสมิลลาฮ์) อัลกุลัยนีย์ กล่าวว่า
ท่านอะมีรุลมุมินีน(อ)ได้กล่าวเทศนาโดยท่านได้กล่าวสรรเสริญแด่อัลลอฮ์  ศอลาวาตท่านนบี(ศ) แล้วได้กล่าวว่า :

ألا إن أخوف ما أخاف عليكم خلتان: اتباع الهوى وطول الأمل، أما اتباع الهوى فيصد عن الحق، وأما طول الأمل فينسي الآخرة

แน่นอน มีสองอย่างที่ฉันกลัวที่สุด ว่าจะเกิดขึ้นกับพวกท่านคือ การทำตามอารมณ์ฝ่ายต่ำและการตั้งความหวังอันยาวไกล การทำตามอารมณ์ คือ การขัดขวางสัจธรรม การตั้งความหวังอันยาวไกล คือ พวกเขาจะลืมคิดถึงปรโลก

قد عملت الولاة قبلي أعمالاً خالفوا فيها رسول الله (صلى الله عليه وآله وسلم) متعمدين لخلافه ناقضين لعهده مغيرين لسنته! ولو حملت الناس على تركها وحولتها إلى مواضعها وإلى ما كانت في عهد رسول الله (صلى الله عليه وآله وسلم) لتفرق عني جندي، حتى أبقى وحدي أو في قليل من شيعتي الذين عرفوا فضلي وفرض إمامتي من كتاب الله عز وجل وسنة رسول الله (صلى الله عليه وآله وسلم)!!
 
.........................แน่นอน ผู้ปกครองก่อนหน้าฉันได้กระทำในสิ่งที่ขัดแย้งกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ โดยเจตนาจะทำการขัดแย้ง เปลี่ยนแปลงซุนนะฮ์ของท่าน ถ้าหากฉันนำประชาชนให้ละทิ้งสิ่งนั้นๆและปรับเปลี่ยนกลับไปสู่แบบแผนเดิม ตามที่เคยถือปฏิบัติกันมาในสมัยท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ) แน่นอนขุนทหารของฉันจะแยกตัวออกจากฉัน จนกระทั่งเหลือฉันคนเดียว หรือจะเหลือจำนวนน้อยที่มาจากพวกชีอะฮ์ของฉัน ที่รู้จักเกียรติยศของฉันและรู้จักบทบัญญัติตำแหน่งของฉันจากคัมภีร์ของอัลลอฮ์ และซุนนะฮ์ของศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)!!
 
بالتكبير على الجنائز خمس تكبيرات، وألزمت الناس الجهر ببسم الله الرحمن الرحيم  أرأيتم لو أمرت
 
....................... พวกท่านรู้ไหม ถ้าฉันสั่งให้กล่าวตักบีรในนมาซญะนาซะฮ์ ๕ ครั้ง และ(ถ้า)ฉันจะบังคับให้ประชาชนอ่านบิสมิลลาฮ์ฯเสียงดัง............

والله لقد أمرت الناس أن لايجتمعوا في
شهر رمضان إلا في فريضة، وأعلمتهم أن اجتماعهم في النوافل بدعة، فتنادى بعض أهل عسكري ممن يقاتل معي: يا أهل الإسلام غيرت سنة عمر، ينهانا عن الصلاة في شهر رمضان تطوعاً! ولقد خفت أن يثوروا في ناحية جانب عسكري!!
 
และขอสาบานต่อัลลอฮ์ แน่นอนยิ่ง (ถ้า)ฉันจะสั่งประชาชนว่าอย่าทำนมาซญะมาอะฮ์(ตะรอวีห์)ในเดือนรอมฎอน นอกจากนมาซฟัรฎู" แล้วฉันจะสอนพวกเขาว่า การนมาซญะมาอะฮ์ในนมาซนาฟิละฮ์นั้น เป็นบิดอะฮ์ แน่นอน(ถ้าฉันสั่งอย่างนี้)บรรดาทหารของฉันบางคนที่ออกรบพร้อมกับฉัน จะตะโกนขึ้นว่า : โอ้ชาวอิสลาม แบบอย่างของอุมัร ถูกเปลี่ยนแปลงแล้ว เขากำลังห้ามพวกเรามิให้นมาซด้วยความสมัครใจในเดือนรอมฎอน ! แล้วเมื่อนั้น ฉันกลัวว่า จะเกิดการต่อสู้กันเองในบรรดาทหารของฉัน !!

ما لقيت من هذه الأمة من الفرقة وطاعة أئمة الضلالة، والدعاة إلى النار... مالقي أهل بيت نبي من أمته مالقينا بعد نبينا (صلى الله عليه وآله وسلم)!

สิ่งที่ฉันได้ประสบจากประชาชาตินี้ก็คือ ความแตกแยกและการเชื่อฟังผู้นำที่หลงผิด และผู้เชิญชวนสู่ไฟนรก...ไม่เคยมีสมาชิกครอบครัว(อะฮ์ลุลบัยต์)ของนบีท่านใดจะพบสิ่งใดจากประชาชาติของนบีนั้นๆ เหมือนกับที่เราได้พบหลังจากนบีของเรา(ศ).... "
จากคำเทศนาของท่านอะลี(อ)ที่ผ่านมา เราสามารถมองเห็นประโยคหนึ่งได้อย่างชัดเจนว่า และ(ถ้า)ฉันจะบังคับให้ประชาชนอ่านบิสมิลลาฮ์ฯเสียงดัง แสดงว่า บิสมิลลาฮ์ฯ คือสิ่งหนึ่งที่ผู้ปกครองก่อนสมัยของท่านได้ทำการเปลี่ยนแปลงให้สูญเสียรูปแบบที่แท้จริงไป !
 
ปรากฏหลักฐานจากอิมามชาฟิอีย์ด้วยว่า ชาวเมืองมะดีนะฮ์ในสมัยมุอาวียะฮ์ อ่านบิสมิลลาฮ์ฯ เสียงดังอย่างเคร่งครัดตามซุนนะฮ์ของท่านนบี(ศ) ยามนั้น เป็นช่วงที่ชาวอันศอรและบรรดาสมาชิกครอบครัวของท่านศาสดา(ศ)เป็นคนส่วนใหญ่ ส่วนพวกตุละกออ์เป็นคนส่วนน้อย เพราะพวกเขาจะถูกส่งไปเป็นผู้ปกครองตามหัวเมืองต่างๆ และบ้างก็โยกย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่ซีเรีย

ด้วยเหตุนี้ ชาวเมืองมะดีนะฮ์จึงปฏิเสธการนมาซของมุอาวียะฮ์ ในยามที่ทำนมาซร่วมกัน เพราะมุอาวียะฮ์ไม่อ่านบิสมิลลาฮ์ ฯ พวกเขาจึงกล่าวว่า โอ้มุอาวียะฮ์ เจ้าขโมยนมาซของเจ้าเสียแล้ว!ไหนล่ะ บิสมิลลาฮ์ฯ..ดังนั้นเมื่อมุอาวียะฮ์นมาซร่วมกับพวกเขาในคราวต่อไป เขาก็ได้อ่านบิสมิลลาฮ์ฯในนมาซ ซึ่งเป็นเรื่องที่คนเหล่านั้นตำหนิเขามาแล้ว"!! (ดูหนังสืออัลอุมของอิมามชาฟิอีย์ ๑/๑๒๙)

ในหนังสือดะอาอิมุลอิสลาม ๑/๑๑๐ บันทึกว่า

وقال جعفر بن محمد صلوات الله عليه: التقية ديني ودين آبائي إلا في ثلاث: في شرب المسكر والمسح على الخفين وترك الجهر ببسم الله الرحمن الرحيم).
 
ท่านญะอ์ฟัร บิน มุฮัมมัด (ศ)กล่าวว่า การปกป้องตนให้พ้นภัย(ตะกียะฮ์) เป็นส่วนหนึ่งในหลักศาสนาของฉัน และศาสนาแห่งบรรพบุรุษของฉัน ยกเว้นในสามกรณี คือ การดื่มเครื่องเมา(บริโภคสิ่งต้องห้าม)การลูบบนรองเท้า,และละเว้นการอ่านบิสมิลลาฮ์ฯออกเสียง

ในหนังสืออุยูนุลอัคบาร อัรริฎอ ๑/๑๙๖ บอกเล่าถึงรูปแบบการนมาซของอิมามริฎอ(อ)ว่า

وكان عليه السلام يجهر ببسم الله الرحمن الرحيم في جميع صلاته بالليل والنهار
 
"ท่านอ่านบิสมิลลาฮ์ฯออกเสียงดังในนมาซต่างๆทั้งหมด ทั้งกลางคืนและกลางวัน"
ในหนังสืออัลกาฟีย์ ๓/๓๑๓ มีรายงานจากยะห์ยา บิน อะบี อิมรอน อัลฮัมดานีย์ กล่าวว่า

: عن يحيى بن أبي عمران الهمداني قال: كتبت إلى أبي جعفر (عليه السلام) (1): جعلت فداك ما تقول في رجل ابتدأ ببسم الله الرحمن الرحيم في صلاته وحده في ام الكتاب فلما صار إلى غير ام الكتاب من السورة تركها، فقال العباسي: ليس بذلك بأس؟ فكتب بخطه يعيدها مرتين على رغم أنفه يعني العباسي
 
 ฉันได้เขียนจดหมายถามอะบีญะอ์ฟัร(อ)(อิมามญะวาด)ว่า ท่านจะว่าอย่างไร กับคนที่เริ่มนมาซด้วยการอ่านบิสมิลลาฮ์ฯในฟาติหะฮ์อย่างเดียว แต่ยามเมื่ออ่านซูเราะฮ์อื่นนอกเหนือจากฟาติหะฮ์แล้ว เขากลับละเว้น(บิสมิลลาฮ์)เสีย คนตระกูลอับบาซีย์กล่าวว่า การทำอย่างนั้นไม่ผิดใช่ไหม ? อิมามได้เขียนด้วยลายมือของท่านตอบว่า :ไม่ว่าเขาจะมีอุปสรรคเพียงใด ก็ให้เขาย้อนกลับไปทำใหม่สองครั้ง(คนตระกูลอับบาซีย์)
  •  

L-umar



คำถามสำหรับบิสมิลลาฮ์


๑-บิสมิลลาฮ์ฯเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอานหรือ  หรือว่า เป็นส่วนเกินที่เพิ่มเข้ามาเพื่อแบ่งส่วนระหว่างซูเราะฮ์ต่างๆเท่านั้น ?

๒-เชื่อถือได้โดยเด็ดขาดว่าเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน หรือว่า ยังสงสัย ?

๓-เป็นส่วนหนึ่งของซูเราะฮ์อัลฮัมดุ หรือไม่ ?

๔-เป็นส่วนหนึ่งของทุกซูเราะฮ์หรือไม่ ?

๕-ท่านถือว่าต้องอ่านบิสมิลลาฮ์ฯในนมาซหรือไม่ ?

๖-จะต้องอ่านเสียงดังหรือไม่ ?ท่านมีความเห็นอย่างไรกับคำพูดของอุละมาอ์บางท่าน ดังปรากฏในหนังสืออัลมัจมูอ์๓/๓๔๓ที่ว่า การอ่านดังถูกยกเลิกไปแล้ว การอ่านบิสมิลลาฮ์ถือว่า ไม่ถูกต้อง และนั่นคือ บิดอะฮ์?

๗-ฮะดีษของอะบูฮุร็อยเราะฮ์ที่รายงานจากท่านนบี(ศ)ที่ว่า อัลลอฮ์ได้ตรัสว่า  ฉันแบ่งการนมาซออกเป็นสองส่วนระหว่างฉันกับบ่าวของฉัน ดังนั้น เมื่อบ่าวของฉันกล่าวว่า อัลฮัมดุลิลลาฮิ ฯ อัลลอฮ์ทรงตรัสว่า บ่าวของฉันสรเสริญฉันแล้ว...แสดงเป็นหลักฐานว่า บิสมิลลาฮ์ฯมิใช่ส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน ได้หรือไม่ ?

๘-ท่านมีความเห็นอย่างไรกับคำกล่าวของอิบนุกุดดามะฮ์ในหนังสืออัลมุฆ์นี ๑/๕๒๒ รายงานจากอะห์มัดว่า บิสมิลลาฮ์มิใช่ส่วนหนึ่งของฟาติหะฮ์และมิใช่อายะฮ์ของซูเราะฮ์อื่นๆแต่อย่างใด จึงไม่วาญิบต้องอ่านในนมาซ เป็นเรื่องที่ได้รับการสนับสนุนจากบรรดาศอฮาบะฮ์ ?

๙-ท่านจะอธิบายอย่างไร สำหรับโองการของอัลลอฮ์ ต่อไปนี้


 (وَلَقَدْ آتَيْنَاكَ سَبْعاً مِنَ الْمَثَانِي وَالْقُرْآنَ الْعَظِيمَ) (سورة الحجر: 87)

"โดยแน่นอนยิ่ง เราได้ประทานเจ็ดที่ซ้ำสองและอัลกุรอานอันทรงเกียรติยิ่งใหญ่ ให้แก่เจ้า" ความหมายของคำว่า เจ็ดที่ซ้ำสอง หมายความว่ากระไร ?

๑๐-ท่านถือเงื่อนไขว่าต้องมีรายงานสอดคล้องตรงกัน(มุตะวาติร)เพื่อยืนยันความชัดเจนของอายะฮ์ใดๆของอัลกุรอาน หรือไม่ ? และรายงานสอดคล้องตรงกัน(มุตะวาติร)ในเรื่องบิสมิลลาฮ์ฯสำหรับท่าน อยู่ตรงไหน ?

๑๑-ตราบใดที่มีหลักฐานยืนยันอยู่ที่พวกท่านว่า มติโดยรวมของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์(อ) คือให้อ่านบิสมิลลาฮ์ฯออกเสียง ถึงแม้จะมีความเห็นอื่นแตกต่างกันบ้าง ทว่าทำไม พวกท่านจึงไม่ยอมรับมติโดยรวมของคนในครอบครัวนบีของพวกท่าน(ศ)เอง ซึ่งพวกท่านถูกสั่งเสียว่าให้ปฏิบัติตามท่านเหล่านั้น พร้อมกับอัลกุรอาน ว่า "แท้จริงฉันได้ละทิ้งสิ่งหนักสองประการไว้ในหมู่พวกท่านคัมภีร์ของอัลลอฮ์ และเชื้อสายของฉัน ?

๑๒-ท่านมีความเห็นอย่างไร กับถ้อยคำของฟัครุร รอซีย์ในตัฟซีรของท่าน ๑/๑๐๕ หลังจากอ้างรายงานของอัลบัยฮะกีย์ในเรื่องให้อ่านบิสมิลลาฮ์อออกเสียงจากอุมัร, อิบนุอับบาส,อิบนุอุมัร,และอิบนุซุเบร เขาได้กล่าวเป็นประโยคว่า แต่ในส่วนของอะลี บิน อะบี ฏอลิบ(ร.ฎ)นั้น ท่านจะอ่านบิสมิลลาฮ์ฯดัง แน่นอนสามารถยืนยันอย่างสอดคล้องตรงกันได้(มุตะวาติร)และผู้ใดปฏิบัติศาสนกิจของตน ตามอะลี บิน อะบีฏอลิบ ก็เท่ากับได้รับทางนำ หลักฐานข้อนี้ก็คือ คำพูดของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)ที่ว่า

 رَحِمَ اللَّهُ عَلِيًّا اللَّهُمَّ أَدِرِ الْحَقَّ مَعَهُ حَيْثُ دَارَ
 
โอ้อัลลอฮ์ โปรดให้สัจธรรมดำเนินไปกับอะลีเถิด ไม่ว่าเขาจะดำเนินไปอย่างไร ?
 
๑๓-ท่านมีความเห็นอย่างไร กับคำพูดของฟัครุร รอซีย์ ๑/๑๐๖ เกี่ยวกับหลายริวายะฮ์ที่ขัดแย้งกันในเรื่องบิสมิลลาฮ์ฯที่ว่า

وأيضاً ففيها تهمة أخرى، وهي أن علياً كان يبالغ في الجهر بالتسمية، فلما وصلت الدولة إلى بني أمية بالغوا في المنع من الجهر بها سعياً في إبطال آثار علي

 "ยังมีข้อหาอื่นในเรื่องบิสมิลลาฮ์ฯอยู่อีก นั่นคือ แท้จริงอะลืถือปฏิบัติอย่างหนักแน่นยิ่งนักกับการอ่านออกเสียงบิสมิลลาฮ์ฯ ครั้นเมื่อ อำนาจรัฐตกไปถึงพวกบะนีอุมัยยะฮ์ พวกเขากลับถือปฏิบัติอย่างหนักแน่นในการห้ามมิให้อ่านดัง นับเป็นความพยายามอย่างยิ่งในการลบร่องรอยคำสอนของอะลี"?

๑๔-ท่านยึดหลักการอะไร อธิบายแก้ปัญหายุ่งยาก ความสลับซับซ้อนในกฎเกณฑ์เกี่ยวกับบิสมิลลาฮ์ฯ ทั้งแก้ปัญหาความขัดแย้ง การคัดค้าน บั่นทอนกันและกันของคำฟัตวาจากบรรดานักปราชญ์ของพวกท่านเอง

๑๕-ท่านจะว่าอย่างไร ในอุตริกรรม(บิดอะฮ์)เรื่องนมาซตะรอวีห์ ศาสนาอนุญาตให้นักปครองสมัยหลังจากท่านนบีฯ(ศ)กระทำการอุตริเรื่องเช่นนี้ขึ้นมาได้กระนั้นหรือ ?

อ้างอิงจากเวบ

http://yomyai.igetweb.com/index.php?mo=3&art=346809
  •  

26 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้