Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

เมษายน 28, 2024, 04:46:37 หลังเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 2,627
  • หัวข้อทั้งหมด: 650
  • Online today: 67
  • Online ever: 153
  • (เมษายน 26, 2024, 05:40:09 ก่อนเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 49
Total: 49

ทำไมจึงกอดอก และทำไมจึงปล่อยมือในนมาซ ?

เริ่มโดย L-umar, กันยายน 23, 2009, 03:55:58 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar




ทำไมจึงกอดอกในนมาซ ?



หลักฐานการกอดอกในนมาซแข็งแรง ศอฮีฮ์ เชื่อถือได้จริงหรือ ? ไม่เลย เพราะอะไร โปรดอ่าน !

 

เป็นที่รู้กันว่า ๑ใน ๔ มัซฮับ ของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์นั้นจะยืนนมาซปล่อยมือเหยียดตรงตามระนาบขาเหมือนกับชีอะฮ์ อิมามียะฮ์ เพราะฉะนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลก เมื่อเราไปเห็นคนยืนนมาซปล่อยมือในเทศกาลฮัจญ์ค่อนข้างจะหนาตากว่าพวกที่ยืนกอดอก แต่ก็เอาเถอะ แบบไหนจะมากกว่ากัน บางครั้ง ก็มิใช่สิ่งชี้วัดความถูกผิดในหลักการได้เสมอไป

 แต่ในสังคมของพี่น้องอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ในบ้านเมืองของเรานี่ซิ จะมีเสียงซุบซิบถามกันอยู่บ่อยว่า ทำไมพวกชีอะฮ์จึงนมาซปล่อยมือ ? ทั้งนี้ เพราะพวกเขาลืมไปว่า ในทำนองเดียวกันนี้ สังคมของชีอะฮ์ อิมามียะฮ์ ก็จะซุบซิบถามกันอยู่เหมือนกันว่า ทำไมพวกซุนนีจึงนมาซกอดอก ?

ถ้าเราลองเปิดตำราฮะดีษอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ จะมีอยู่ฮะดีษหนึ่ง ที่บรรดาท่านครูสายอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ถือว่า เป็นฮะดีษหนึ่งที่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือมากที่สุด และเป็นหลักฐานที่มาของการเอามือกอดอกในเวลายืนนมาซของคนจำนวนหลายพันล้านคนสืบต่อมา ทั้งในอดีตและปัจจุบัน

จริงๆแล้ว ในสังคมพี่น้องอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ จะมีความแตกต่างและขัดแย้งกันเอง ในเรื่องการยืนนมาซกอดอก เพราะถึงแม้ว่าดูเผินๆจะเห็นว่า กอดอกด้วยกันก็จริงอยู่ แต่ในความเป็นจริง ท่ากอดของแต่ละกลุ่ม แต่ละคณะ แต่ละครู จะแตกต่างคลาดเคลื่อนกันไป ทำให้มองดูแล้วไม่มีความเป็นเอกภาพ

และนี่คือ สิ่งบ่งชี้ว่า การเอามือกอดอกในนมาซ ต้องมิใช่ซุนนะฮ์ของท่านนบี(ศ)อย่างแน่นอน

บางคนเอามือกอดอก แล้วถ่างขาออกกว้าง แล้วเผยอยกไหล่ ยกข้อศอกให้ขนานกับพื้น บางคนหย่อนข้อศอกให้ราบลงหน่อย ฯลฯ ในแต่ละมัสยิดของพี่น้องอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ เราจะพบท่ายืนกอดอกในนมาซของพี่น้องของเราสารพัดรูปแบบ และล้วนมีวิธีการที่แตกต่างและขัดแย้งกัน ราวกับพวกเขามิใช่มัซฮับเดียวกัน

จากหนังสือ "สุบุลุสสลาม" รวบรวมโดย "ซัยยิด อิมาม มุฮัมมัด บิน อิสมาอีล อัล กะห์ลานี –อัศศ็อนอานีย์ มะอ์รูฟ บิล อะมีร (ฮ.ศ ๑๐๕๙-๑๑๘๒)บันทึกรายงานฮะดีษบทหนึ่งจาก วาอิล อิบนุ ฮุจญร์ กล่าวว่า ข้าพเจ้าเคยได้นมาซร่วมกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ) ท่านได้วางมือขวาลงบนมือซ้าย แล้ววางลงบนทรวงอกของท่าน" บันทึกฮะดีษนี้โดยอิบนุคุซัยมะฮ์ ส่วนทางด้านหนังสือ "สุนันอะบูดาวูด" และ "อันนะซาอีย์" บันทึกว่า "หลังจากนั้นท่าน(นบี ศ็อลฯ)ได้วางมือขวาของท่านลงบนหลังฝ่ามือซ้ายและข้อต่อของข้อมือ"

เจ้าของหนังสือ สุบุลุสสลาม ระบุต่อไปว่า ฮะดีษนี้แหละเป็นหลักฐานในการวางกฎเกณฑ์ดังกล่าวขึ้นในนมาซและตำแหน่งที่วางมือก็คือ ทรวงอก ตามที่ฮะดีษนี้ให้ความหมาย

อิมามอันนะวาวีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ "อัลมินฮาจญ์"ว่า มีรายงานฮะดีษระบุให้ วางมือลงที่ข้างล่างทรวงอก เขาได้กล่าวไว้ใน "ชะเราะฮ์อันนัจมุลซะฮาจญ์"ว่า ตามรูปประโยคของบรรดาอัศฮาบ คือ ให้วางมือข้างล่างทรวงอก ส่วนฮะดีษที่ใช้ประโยคว่า "ให้วางบนทรวงอก" นั้น เขากล่าวว่า คนเหล่านี้ใช้คำพูดคลาดเคลื่อนเล็กน้อย ทั้งนี้มีท่านเซด บิน อะลีและอะห์มัด บิน อีซาให้ทัศนะไปตามกฎเกณฑ์นี้ด้วย  

ส่วนอะหมัด บิน อีซานั้นได้นำรายงานฮะดีษของวาอิลบทนี้ บันทึกต่อไป ในหนังสือ "อัลอามาลี" จากนั้น พวกที่ตักลีดมัซฮับชาฟิอีย์และฮะนะฟีย์ ก็ได้นำไปปฏิบัติตาม และนี่คือ ที่มาสำหรับการกอดอกในนมาซ สำหรับพี่น้องชาวอะห์ลิซซุนนะฮ์บ้านเรา

อย่างไรก็ตาม ในหนังสือสุบุลุสสลาม เล่ม ๑ หน้า ๑๖๙ ระบุว่า  นักปราชญ์ซุนนะฮ์ท่านหนึ่ง ชื่อ "อัลฮาดูวียะฮ์" ได้ให้ทัศนะแย้งว่า ในความเป็นจริงไม่มีกฎเกณฑ์ข้อนี้แต่อย่างใด และถือว่า การเอามือกอดอกจะทำให้นมาซบาฏิล(โมฆะ)ด้วยซ้ำไป

 เนื่องจากการเอามือขึ้นไปวางในตำแหน่งใดๆตามร่างกาย ถือเป็นการทำงานอย่างหนึ่งในนมาซ ซึ่งการทำงานใดๆในเวลานมาซนั้น ทำให้นมาซเป็นโมฆะ และการเอามือขึ้นไปวางไว้บนทรวงอก ถือเป็นการทำงาน "ประเภทที่กระทำมาก" (นำส่วนที่มิใช่แบบอย่างของท่านนบี(ศ)เข้ามาเพิ่มเติมในนมาซ)

ส่วนอิบนุอับดุลบัร กล่าวว่า ถ้าเป็นหลักปฏิบัติจากท่านนบี(ศ)จริงๆ จะต้องไม่มีความขัดแย้งกันแบบนี้  แต่รายงานนี้ มีการขัดแย้งกันอย่างเห็นได้ชัด (วางข้างบน – วางข้างล่างทรวงอก)และนี่คือ คำกล่าวของญุมฮูรทั้งศอฮาบะฮ์และตาบิอีน

อิบนุอับดุลบัร ได้กล่าวต่อไปว่า และนี่คือ สิ่งที่อิมามมาลิกกล่าวไว้ในหนังสือ \\\"อัลมุวัฏเฏาะอ์\\\" ทั้งอิบนุอัลมันซุรและท่านอื่น ก็มิได้อ้างจากท่านอิมามมาลิกไปเล่าเป็นอย่างอื่น แต่มีรายงานจากท่านอิมามมาลิก ระบุว่าให้ปล่อยมือ และได้มีผู้ปฏิบัติตามท่านเป็นจำนวนมาก

แต่ถึงกระนั้น ก็ยังมีการเขียนฮะดีษปลอมอีกจำนวนหนึ่งเพื่อสนับสนุน โดยระบุว่า รายงานจากศอฮาบะฮ์บางท่าน เรื่องนมาซกอดอก ทำราวกับว่า หลังจากสิ้นสมัยท่านศาสดา(ศ)แล้ว พวกเขาหยุดนมาซกันจนลืม ไปนานหลายปี แล้วเพิ่งมารื้อฟื้น ทบทวนความจำกันใหม่ ในเรื่องการทำนมาซ ! เลยต้องสืบสวนกันว่า ทำนมาซกันอย่างไร !

  หลักการปลีกย่อย(ฟุรูอ์)จากฝ่ายอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ มักจะเป็นมาแบบนี้ทั้งสิ้น เพราะไม่มีการยอมรับบรรดาอิมามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์(อ)ซึ่งเป็นเจ้าของแนวทางที่แท้จริง  

ส่วนในสายรายงานของนักปราชญ์ชีอะฮ์อิมามียะฮ์ ได้อธิบายเรื่องนี้ตรงกันเป็นเอกฉันท์ เหมือนกับทุกเรื่องในหลักการศาสนา เพราะไม่มีอะไรมืดมน และสับสนสำหรับบรรดาอิมามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์(อ) ยิ่งเป็นเรื่องนมาซด้วยแล้ว จะมีความชัดเจน และยิ่งใหญ่เกินกว่าจะเป็นปัญหาให้คนรุ่นหลังเกิดความเคลือบแคลง สงสัย และคลุมเครือได้

ฉะนั้น เรื่องนมาซในสายรายงานของชีอะฮ์ อิมามียะฮ์ จะไม่มีทัศนะของฟุกอฮาอ์ท่านใดเข้ามาก้าวก่าย เพราะมิใช่เรื่องที่จำเป็นต่อการให้ทัศนะ และไม่ขึ้นอยู่กับการใช้ความคิดเห็นของนักปราชญ์คนใด

เพราะการนมาซ เป็นสิ่งปรากฏในสายตาของบรรดาอิมามแห่งอะห์ลุลบัยต์(อ)ตั้งแต่อ้อนออก ท่านอะลี บิน อะบี ฏอลิบ(อ)อยู่กับท่านนบี(ศ)ตั้งแต่เด็ก ท่านไม่เคยขาดนมาซแม้เวลาเดียว ท่านนมาซตามหลังท่านศาสดาตั้งแต่เยาว์วัย

ฉะนั้น ชีอะฮ์อิมามียะฮ์ จึงไม่อาศัยรายงานบอกเล่าจากวาอิล คนเพิ่งมาเข้าอิสลามใหม่ทีหลัง หรือจากการรายงานของศอฮาบะฮ์คนใดเกี่ยวกับวิธีการทำนมาซของท่านศาสดา(ศ)

บรรดานักปราชญ์ของชีอะฮ์ อิมามียะฮ์จึงมีคำฟัตวาเป็นบรรทัดฐานเดียวกัน ในกรอบเดียวกันมาทุกสมัยว่า ต้องยืนตรง ตามรูปแบบที่เป็นข้อกำหนดจากอัล-กุรอาน ที่ใช้คือว่า กิยาม คือ การยืนตรง หมายถึง ทุกอวัยวะในเรือนร่างจะต้องเหยียดตรง ทั้งยังมีหลักฐานประกอบจากฮะดีษที่รายงานโดยอิมามญะอ์ฟัร ศอดิก(อ)ด้วยบทหนึ่ง เป็นฮะดีษสั้นๆ ตามที่มีบันทึกใน ฟุรูอุลกาฟีย์ บอกว่า "ให้ยืนนมาซโดยปล่อยมือเหยียดตรงตามระนาบขาทั้งสองข้าง"    

แม้ในกลุ่มผู้รู้อะฮ์ลิซซุนนะฮ์เอง(นอกจากกลุ่มวะฮาบีย์)ในสมัยหลังมานี้ เราจะเห็นว่า นอกจากกลุ่มวะฮาบีย์แล้ว ไม่ค่อยจะยึดติดกับการกอดอกในนมาซกันเท่าไหร่นัก และนักปราชญ์ระดับมุฟตีของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์หลายฝ่าย หันมายอมรับหลักฐานการปล่อยมือในนมาซมากขึ้น สังเกตเห็นได้ชัดในเวลาที่เราไปประกอบพิธีฮัจญ์

แล้ว"วาอิล อิบนุ ฮุจญร์" เจ้าของรายงาน หรือบุคคลต้นเรื่อง "เอามือกอดอก" นั้นเป็นใคร ?

ปู่ของวาอิลชื่อ รอบีอะฮ์ เป็นชาวฮัฎรอมีย์ บิดาของเขา มาจากเชื้อสายกษัตริย์แห่งเมืองฮัฎรอเมาต์ "วาอิล" เข้ามาเป็นแขกของท่านนบี(ศ)แล้วเข้ารับอิสลาม อย่างไรก็ตาม ชีวประวัติของเขาได้ถูกเขียนขึ้นอย่างเลิศหรู สาเหตุเพราะเขาเป็นคนที่สวามิภักดิ์ต่อมุอาวียะฮ์  นักบันทึกฮะดีษกลุ่มหนึ่งจะยอมรับรายงานจากคนผู้นี้ ยกเว้นบุคอรี

แต่อย่างไรก็ตาม รายงานการเอามือกอดอก ยังมีที่มาสับสนหลายกระแส ไม่คงที่ เพราะไม่มีหลักฐานแน่นอน บ้างก็ว่า ได้มาจากท่ายืนกอดมือแสดงทำความเคารพของพวกเชลยสงครามเมื่อสมัยไปบุกพิชิตเปอร์เซีย

 บ้างก็ว่าเป็น "บิดอะฮ์ฮะซะนะฮ์" ของอุมัร บิน ค็อฏฏ็อบ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อครั้งที่ท่านรู้สึกประทับใจ ที่ได้เห็นท่าทำความเคารพของทหารเชลยเหล่านั้น

 ท่านจึงสั่งให้มุสลิมเอามือกอดอกในเวลานมาซ และก็คงทำนองคล้ายๆกับเรื่องนมาซตะรอวีฮ์ ที่ท่านเป็นคนคิดทำเป็นรูปแบบญะมาอะฮ์(แต่ท่านเองมิได้ทำด้วย) รวมถึงการเติมประโยคทองของท่านเข้าไปใน "อะซาน\\\" บอกเวลานมาซศุบฮ์ นั่นคือ ประโยคบิดอะฮ์ที่เราได้ฟังกันจนชินหู ตามประโยคนั้นท่านได้ประเมินค่าการนมาซ ว่า "ดีกว่านอน"

 อนึ่ง ขอขอบคุณคุณน่าชมเชยจาก mureed.com สำหรับข้อมูลความสับสนเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักฐานเรื่องตำแหน่งการวางมือ(หน้าอก-สะดือ) ที่ได้ส่งเข้ามาร่วมเสนอ ดังนี้

รายงานจากก่อบีเซาะฮ์ บิน ฮุลบ์ จากบิดาของเขา ซึ่งเขาได้กล่าวว่า \\\"ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้เป็นอิมามนำละหมาดพวกเรา โดยท่านได้เอามือขวาจับมือซ้าย\\\" ท่านติรมีซีย์กล่าวว่า ในเรื่องนี้ได้รายงานจาก วาอิล บิน ฮุจญฺร์ , ฆู่ฏัยฟ์ บิน อัลฮาริษ , อิบนุอับบาส , อิบนุมัสอูด , ซะฮ์ บิน สะอัด และท่านอัตติรมีซีย์กล่าวว่า ฮะดิษของ ฮุลบ์ นี้ ฮะซัน และการปฏิบัติกรณีนี้ เป็นทัศนะของนักวิชาการจากบรรดาซอฮาบะฮ์ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม , บรรดาตาบิอีน , และบรรดาปราชญ์หลังจากพวกเขา ได้เห็นชายผู้ละหมาดคนหนึ่งทำการเอามือขวาวางบนมือซ้ายในละหมาด พวกเขาบางส่วนเห็นเขาเอามือทั้งสองวางเหนือสะดือ และพวกเขาบางส่วนเอามือทั้งสองวางใต้สะดือ ซึ่งสิ่งดังกล่าวทั้งหมดนั้น เป็นเรื่องที่กว้างขวางตามทัศนะของพวกเขา\\\" ดู สุนันอัตติรมีซีย์ ฮะดิษลำดับที่ (253)


เท่ากับเป็นการยืนยันความถูกต้องให้กับชีอะฮ์อิมามียะฮ์ ในการปล่อยมือมากขึ้น เพราะเนื่องจากเหตุผลที่ฝ่ายมีหลักฐานปล่อยมือ ไม่มีความขัดแย้งกันในเรื่องนี้เลย




(๒)





หลังจาก www.yomyai.com นำเสนอ \\\"ทำไมจึงกอดอกในนมาซ\\\" ตอนแรกผ่านไปไม่กี่ชั่วยาม ก็ปรากฏว่า มีผู้พบ
ข้อความภาษาอาหรับตามปรากฏข้างล่างนี้จากกระดานสนทนาเว็บไซต์ของพวกวะฮาบีย์ โดยบุคคลผู้ใช้ชื่อ ว่า อาจารย์ยูซุฟ ศรีมาลา ซึ่งท่านอาจคัดลอกมาจากเว็บไซต์ใดก็เป็นได้ แต่น่าสังเกตว่า ท่านนำมาวางทิ้งไว้เฉยๆโดยไม่ทราบสาเหตุ และก็มิได้แปลให้เป็นภาษาไทยให้ชาวบ้านได้รู้ความหมายด้วยแต่อย่างใด อาจด้วยเหตุผลความจำเป็นเฉพาะตัวบางประการของท่านเอง หรือหวังแค่ให้คนที่พอรู้ภาษาอาหรับอยู่บ้าง อ่านเอาเอง แล้วให้เขาเหมาเข้าใจเอาเองว่า นี่คือหลักฐานการกอดมือที่ศอฮีฮ์ มาจากท่านนบีศ็อลฯอย่างแท้จริง  

แต่สำหรับคนที่อ่านและหาความรู้ด้วยวิจารณญาณ ก็จะสามารถเข้าใจนะครับว่า ที่แท้คำอธิบายเหล่านี้ เป็นความรู้ ความเข้าใจของคนเขียนเอง ที่บอกเล่าสืบต่อกันมาในฝ่ายของตนเอง โดยไม่เคยนำพาต่อหลักฐานแย้ง และไม่เคยนำหลักฐานนี้ไปพิสูจน์กับการวิพากษ์ การตรวจสอบ วิเคราะห์อย่างจริงจัง ทั้งในด้านสายสืบ(สะนัด)และในด้านตัวบทที่มา(มะตัน)และ ยังไม่เคยเปรียบเทียบ,ชั่งน้ำหนักกับริวายะฮ์ บทรายงานที่ให้นมาซปล่อยมือ เพื่อจะได้พิจารณาดูกันอย่างอิสระว่า อันไหนน่าจะมีน้ำหนักกว่า อันไหน น่าจะให้ความน่าเชื่อถือมากกว่า

ผมจะขออาสาแปลให้ เอาแค่พอรู้เรื่องก็พอนะครับ ตั้งแต่ประโยคเริ่มต้นเลยทีเดียว  เราลองมาดูกันนะครับ

قبض اليدين في الصلاة يعني : وضع اليد اليمنى على اليسرى في حال القيام سنة من سنن الصلاة ثابتة عن النبي صلى الله عليه وسلم ، وقال بها جماهير أهل العلم . قال ابن قدامة رحمه الله : \\\" أما وضع اليمنى على اليسرى في الصلاة : فمن سنتها في قول كثير من أهل العلم , يروى ذلك عن علي وأبي هريرة والنخعي وأبي مجلز وسعيد بن جبير والثوري والشافعي وأصحاب الرأي , وحكاه ابن المنذر عن مالك

การกอดมือในนมาซ หมายถึง การวางมือขวาบนมือซ้าย ในเวลายืนตรง เป็นสุนัตอย่างหนึ่ง จากส่วนที่เป็นสุนัตต่างๆของนมาซที่ยืนยันมาจากท่านนบี(ศ) และบรรดาผู้รู้หลายกลุ่ม(ของชาวซุนนะฮ์)ได้กล่าวอย่างนี้  อิบนุกุดดามะฮ์(ร.ฮ)กล่าวว่า สำหรับการวางมือขวาบนมือซ้ายในนมาซ นั้น เป็นแบบอย่างหนึ่งของนมาซ

คำพูดของผู้รู้ส่วนมาก รายงานเรื่องนี้จากอะลี และอะบีฮุร็อยเราะฮ์และนัคอีย์และอิบนุมัจลิซ และสะอีด บิน ญุบัยร์ และอัษเษารี,อัชชาฟิอีย์และบรรดาเจ้าของทัศนะต่างๆ และอิบนุมันซุรบอกเล่าเรื่องนี้มาจากมาลิก,

\\\"المغني\\\" (1/281) . وقال علماء اللجنة الدائمة : \\\" القبض في الصلاة وضع كف اليد اليمنى على اليد اليسرى ، والسدل في الصلاة إرسال اليدين مع الجانبين ، وقد ثبت عن النبي صلى الله عليه وسلم أنه وضع يده اليمنى على اليسرى في الصلاة حال القيام للقراءة ، وحال القيام بعد الرفع من الركوع ، وذلك فيما رواه أحمد ومسلم عن وائل بن حجر رضي الله عنه ( أنه رأى النبي صلى الله عليه وسلم رفع يديه حين دخل في الصلاة وكبر ، ثم التحف بثوبه ، ثم وضع اليمنى على اليسرى ، فلما أراد أن يركع أخرج يديه ثم رفعهما وكبر فركع فلما قال سمع الله لمن حمده رفع يديه فلما سجد سجد بين كفيه ) وفي رواية لأحمد وأبي داود : ( ثم وضع يده اليمنى على كفه اليسرى والرسغ والساعد )

อัลมุฆนีย์(หน้า 281/1) อุละมาอ์กรรมการถาวร กล่าวว่า การกอดมือในนมาซ คือวางมือขวาบนมือซ้าย และการปล่อยมือในนมาซคือการเหยียดตรงมือทั้งสองตามขนาบขาทั้งสอง แน่นอนมียืนยันจากท่านนบี(ศ)ว่าท่านวางมือขวาบนมือซ้ายในนมาซในเวลายืนอ่าน และเวลายืนหลังจากขึ้นจากรุกูอ์(คือกอดทั้งก่อนและหลังรุกูอ์) และนี่คือที่รายงานมาโดยอะห์มัด และมุสลิม จากวาอิล บิน ฮุจร์ (ร.ฎ)ที่ว่า เขาได้เห็นท่านนบี(ศ)ยกมือแล้วตักบีรในเวลาเข้าพิธีนมาซ จากนั้นท่านได้คลุมกับผ้าของท่าน แล้ววางมือขวาบนมือซ้าย เมื่อท่านจะรุกูอ์ท่านก็เอามือออกมา แล้วยกขึ้นพลางกล่าวตักบีร แล้วรุกูอ์ เมื่อท่านกล่าว สะมิอัลลอฮุ มันฮะมิดะฮ์ ท่านได้ยกมือขึ้น เมื่อท่านสุญูด ก็สุญุดลงระหว่างฝ่ามือทั้งสอง" ในรายงานริวายะฮ์ของอะห์มัดและอะบูดาวูด กล่าวว่า "จากนั้น ท่านได้วางมือขวาบนมือซ้ายและข้อมือและแขน"

وفيما رواه أبو حازم عن سهل بن سعد الساعدي قال : ( كان الناس يؤمرون أن يضع الرجل اليد اليمنى على ذراعه اليسرى في الصلاة ) ، وقال أبو حازم : لا أعلمه إلا ينمي – أي : رفعه وينسبه - ذلك إلى النبي صلى الله عليه وسلم . رواه أحمد والبخاري . ولم يثبت عن النبي صلى الله عليه وسلم في حديثٍ أنه سدل يديه وأرسلهما مع جنبيه في القيام في الصلاة \\\" انتهى . \\\"فتاوى اللجنة الدائمة\\\" (6/365، 366) . ثانياً : وأما مكان وضعهما فعلى الصدر . روى ابن خزيمة (479) عن وائل بن حجر رضي الله عنه قال : صليت مع رسول الله صلى الله عليه وسلم ووضع يده اليمنى على يده اليسرى على صدره . صححه الألباني في \\\"تحقيق صحيح ابن خزيمة\\\" . وقال الألباني في \\\"صفة صلاة النبي صلى الله عليه وسلم\\\" (ص 69) : \\\" وضعهما على الصدر هو الذي ثبت في السنة ، وخلافه إما ضعيف أو لا أصل له

ในรายงานของอะบูฮาซิม จาก ซะฮ์ล บิน สะอัด อัซซาอิดีย์ กล่าวว่า "คนทั้งหลายถูกสั่งว่า ให้ผู้ชายวางมือขวาบนแขนซ้ายในนมาซ" อะบูฮาซิม กล่าวว่า ฉันไม่รู้เกี่ยวกับเขา นอกจากเขาได้ส่งเสริมมัน หมายถึง ยกเรื่องนี้ขึ้น และอ้างไปถึงท่านนบี(ศ็อลฯ)เลย รายงานโดย อะห์มัดและบุคอรี

"และไม่มีการยืนยันจากท่านนบี(ศ)ในฮะดีษใดว่าท่านปล่อยมือเหยียดมือสองข้างตามขนาบขาทั้งสองในเวลายืนในนมาซ" (การฟัตวาของกรรมการถาวร เล่ม 6/365,366)

หมายเหตุผู้แปล-กรรมการถาวร ในที่นี้ ผมเองไม่ทราบครับว่า เป็นใคร จากประเทศไหน ถาวรไปจนถึงเมื่อไหร่ก็ไม่ทราบ ข้อนี้ไม่ทราบจริงๆ

2 ส่วนตำแหน่งที่วางมือ ก็คือบนทรวงอก อิบนุคุซัยมะฮ์รายงาน(479)จากวาอิล บิน ฮุจร์(ร.ฎ)ว่า ฉันได้นมาซกับศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)และท่านได้วางมือขวาบนมือซ้ายบนทรวงอกของท่าน อัลอาบานีให้ความเชื่อถือว่าถูกต้องใน "การวิเคราะห์เพื่อความถุกต้องของอิบนุคุซัยมะฮ์" และอัลบานี ได้กล่าวใน "ซิฟะตุศศอลาติรรอซูลฯ"(ลักษณะการนมาซของท่านนบี(ศ็อลฯ)"หน้า 69ว่า การวางทั้งสองมือบนทรวงอก เป็นสิ่งที่ยืนยันในซุนนะฮ์ ความขัดแย้งเรื่องนี้ เป็นเรื่องฎออีฟ(หลักฐานอ่อน)และไม่มีรากฐานที่มา  

وقال السندي في حاشية ابن ماجه : \\\" وَبِالْجُمْلَةِ فَكَمَا صَحَّ أَنَّ الْوَضْع هُوَ السُّنَّة دُون الإِرْسَال ثَبَتَ أَنَّ مَحَلّه الصَّدْر لا غَيْر ، وَأَمَّا حَدِيث : ( أَنَّ مِنْ السُّنَّة وَضْع الأَكُفّ عَلَى الأَكُفّ فِي الصَّلاة تَحْت السُّرَّة ) فَقَدْ اِتَّفَقُوا عَلَى ضَعْفه \\\" انتهى . وقال الشيخ ابن عثيمين : \\\" وهذه الصفة – أعني : وَضْع اليدين تحت السُّرَّة - هي المشروعة على المشهور مِن المذهب ، وفيها حديث علي رضي الله عنه أنه قال : ( مِن السُّنَّةِ وَضْعُ اليدِ اليُمنى على اليُسرى تحت السُّرَّةِ ) – رواه أبو داود وضعفه النووي وابن حجر وغيرهما - . وذهب بعضُ العلماء : إلى أنه يضعها فوق السُّرة ، ونصَّ الإِمام أحمد على ذلك . وذهب آخرون مِن أهل العِلم : إلى أنه يضعهما على الصَّدرِ ، وهذا هو أقرب الأقوال ، والوارد في ذلك فيه مقال

อัซซะนะดีย์กล่าวไว้ในภาคผนวกอิบนุมาญะฮ์ว่า กล่าวโดยสรุป ก็คือ การวางมือ คือซุนนะฮ์ มิใช่ปล่อยมือ เขายืนยันว่า ตำแหน่งของมันคือ ทรวงอกมิใช่ที่อื่น ส่วนฮะดีษหนึ่งที่ว่า ส่วนหนึ่งจากซุนนะฮ์ คือวางฝ่ามือประกบบนการประกบมือในนมาซที่ใต้สะดือ" แน่นอน มีความเห็นตรงกันว่า เรื่องนี้อ่อนหลักฐาน ท่านเชคอิบนุอะซีมัยน์ กล่าวว่า และลักษณะนี้ หมายถึง การวางมือสองข้างบนสะดือ คือ หลักการที่ถูกยอมรับของมัซฮับที่มีชื่อเสียง และในเรื่องนี้มีฮะดีษของอะลี(ร.ฎ)รายงานว่า "ส่วนหนึ่งจากซุนนะฮ์ คือ การวางมือขวาบนมือซ้าย ใต้สะดือ"อะบูดาวูดรายงาน และนาวาวีย์, อิบนุฮะญัร และท่านอื่นๆว่า หลักฐานอ่อน อุละมาอ์บางส่วนให้ทัศนะว่า จะต้องวางมือลงเหนือสะดือ และนี่คือ คำพูดที่ใกล้ความจริงมากกว่า แต่การรายงานเรื่องนี้ยังมีคำกล่าวแย้ง

                แต่ทว่า ฮะดีษของซะฮ์ลุ บิน ซะอัด ซึ่งบุคอรี เปิดเผยว่าสนับสนุนให้วางบนอก ตัวอย่างฮะดีษต่างๆที่รายงานเรื่องราวเหล่านี้ มาจากคำพูดของฮะดีษท่านวาอิล บิน ฮุจร์ที่ว่า "ท่านนบี(ศ)วางมือสองข้างลงบนทรวงอก" "อัชชัรฮุลมุมัตตุอ์" 3/36-37 บทที่ 3 กล่าวว่า ส่วนลักษณะการวางมือทั้งสองข้างคือ มีสองลักษณะ 1-ต้องวางฝ่ามือด้านขวาบนมือด้านซ้ายและทาบข้อมือและแขน 2-จะต้องกอดมือขวาบนมือซ้าย และให้ดูหลักฐานเรื่องนี้ใน ญะวาบ-ซุอาล(41675)  

ความหมายของข้อความภาษาอาหรับที่โปรยลงในกระดานเสวนาของเว็บฯวาฮาบี ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว ก็มีเพียงแค่นี้ ต่อไปผมจะนำเสนอข้อความสนับสนุนการนมาซปล่อยมือของฝ่ายซุนนะฮ์ให้ดูบ้าง  

หลักฐานการปล่อยมือนมาซของซุนนะฮ์

 

أما المالكية فقد ذهب جمهور أصحاب الامام مالك إلى الإرسال‏

أي ارسالهما دون قبض ، حيث سئل مالك عن وضع اليمين على اليسرى في الصلاة فقال‏:‏ لا أعرف ذلك في الفريض

 ولكن في النوافل إذا طال القيام فلا بأس بذلك يعين به على نفسه‏.‏

ส่วนแนวทางของมาลิกีย์ นั้น สานุศิษย์จำนวนหนึ่งของท่านอิมามมาลิกให้ทัศนะว่าต้องปล่อยมือ หมายถึงปล่อยมือสองข้างเลย ไม่มีการกอด เพราะเมื่ออิมามาลิกถูกถามถึงเรื่องการวางมือขวาบนมือซ้ายในนมาซ เขาตอบว่า ฉันไม่ยอมรับเรื่องนี้ในนมาซฟัรฎู แต่ถ้าหากในนมาซนะวาฟิลต่างๆ ถ้าต้องยืนนานๆ ก็ไม่เป็นไร ให้เป็นเรื่องที่ตัวของเขาเองตัดสินใจ

อิบนุ อัลกอซิม มีรายงานจากมาลิกเรื่องการปล่อยมือ ขณะเดียวกันเรื่องนี้ มีการปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย นักปราชญ์ชาวมอร็อคโคทั้งหมดที่เป็นสหายของเขายอมรับตามนี้

وحكى ابن المنذر عن عبد الله بن الزبير والحسن البصرى والنخعى أنه يرسل يديه ولايضع إحداهما على الآخرى وحكاه القاضى أبو الطيب أيضا عن سيرين وقال الليث بن سعد‏:‏ يرسلهما فإن طال ذلك عليه وضع اليمنى على اليسرى للاستراحة

อิบนุอัลมันซุร ได้เล่าเรื่องราวที่ได้รับฟังมาจากอับดุลลอฮ์ บิน ซุเบร และฮะซัน อัลบัศรีย์ และอันนัคอีย์ ว่า ท่านปล่อยมือทั้งสองข้าง และไม่วางมือข้างใดบนมือข้างใด  และอัลกอฎี อะบู อัฏฏ็อยยิบ ก็บอกเล่าอย่างนี้อีกเช่น จากซีรีน และอัลลัยษ์ บิน สะอัด กล่าวว่า :ท่านปล่อยมือสองข้าง แต่ถ้าหากยืนนานๆ ท่านจะเอามือขวาวางบนมือซ้าย เพื่อพักผ่อน

قال ابن العربى المالكة في أحكام القرأن‏:‏ اختلف في ذلك علماؤنا على ثلاثة أقوال‏:‏ الأول‏:‏ لا توضع في فريضة ولا نافلة لأن ذلك من باب الاعتماد ولا يجوز في الفرض و يستحب في النفل

อิบนุอัลอะรอบีย์ อัลมาลิกี กล่าวใน "อะห์กามุลอุรอาน"ว่า "นักปราชญ์ของพวกเรามี 3 ความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องนี้ คือ1-ไม่ให้วางมือ(ที่ทรวงอก)ทั้งในนมาซฟัรฎูและนาฟิละฮ์  เพราะการกระทำเช่นนั้น เป็นการยึดถือ  2-อีกทัศนะหนึ่งไม่อนุญาตให้ทำในนมาซฟัรฎู แต่ชอบให้กระทำในนมาซนาฟิละฮ์  

وعد الامام إبن عبد البر كلا الأمرين جائز وسنة ، فالمسلم بالخيار فقال رحمه الله :‏ وضع اليمين على اليسرى أو إرسالهما كل ذلك سنة في الصلاة‏.

ومن هنا فإن الامر يسير ويحرص المسلم على عدم مخالفة جمهور الناس إن كانوا لا يرتضون ذلك حرصا على وحدة القلوب والصفوف

อิมามอิบนุอับดุลบัร ถือว่า การกระทำทั้งสองอย่าง ถือว่าอนุญาตและเป็นซุนนะฮ์ ดังนั้น มุสลิม สามารถจะเลือกปฏิบัติได้ ท่าน(ขอให้อัลลอฮ์ทรงเมตตา)กล่าวว่า การวางมือขวาบนมือซ้าย หรือการปล่อยมือสองข้าง เป็นซุนนะฮ์ในนมาซด้วยกันทั้งสิ้น

ฟัตวาของ "เชควะนีซ อัลมับรูก อัลฟะซียี ประเทศบุลกาเรีย 1965"

จบการศึกษามหาวิทยาลัยอัดดะอ์วะตุ วะอุศูลุดดีน กรุงอุมมาน จอร์แดน

ปัจจุบัน อาจารย์วิชาฟิกฮ์มหาวิทยาลัยยุโรปอิสลามศึกษาแห่งเวลล์

http://www.ikhwan.net/vb/showthread.php?t=4823

ยังครับ ! อย่าเพิ่งสรุปว่าจบแค่นี้ ยังไม่จบง่ายๆ โปรดคอยติดตามตอนต่อไปนะครับ  อินชาอัลลอฮ์ ผมจะค้นคว้าหาหลักฐานและข้อมูลทางวิชาการเชิงลึก ในเรื่องกอดกับปล่อย มานำเสนออย่างเป็นธรรม ครบถ้วนทุกด้าน เท่าที่ความสามารถมีพอจะทำได้ เพื่อเป็นความรู้ และสารประโยชน์ทางวิชาการต่อเพื่อน พี่น้องได้ทบทวนส่วนการตัดสินใจเลือกข้างนั้น เป็นเสรีภาพและสัญชาตญาณอิสระของทุกคน ขอให้ศึกษาและย่างก้าวต่อไปด้วยความมั่นใจเถิดครับ......




(๓)





 

 

             หลังจากนำเสนอหลักฐานที่ค่อนข้างจะครบถ้วนของการกอดมือตอนที่ ๒ ผ่านไปแล้ว ก็ยังคงเหลือ แต่ข้อสรุป ด้วยการนำข้อมูลที่เป็นหลักฐานเหล่านั้น มาประมวลเพื่อชั่งหาน้ำหนักเพื่อตรวจสอบดูว่าระหว่าง ข้อมูลด้านที่มาของฮะดีษ เนื้อหาของฮะดีษว่าด้วยกอดมือ จะให้น้ำหนักความเชื่อถือมากแค่ไหน

                ความจริง หลักฐานการกอดมือตามที่นำเสนอเป็นตอนที่ ๒ ไปแล้วนั้น น่าจะเรียกว่า เป็นหลักฐานยืนยันความยุ่งยาก สับสนและคลุมเครือในเรื่องการกอดอก หรือกอดมือมากกว่า เพราะมีประเด็นคำถาม แทรกซ้อนเข้ามามากมายว่า สรุปแล้ว การกอดมือเป็นสุนัต(การกระทำที่ชอบ ประเภทถ้าทำ=ได้บุญ, ไม่ทำ=ไม่บาป) หรือฮะรอม(ต้องห้าม ถ้าทำ=ผิด) กันแน่ ? จะขอให้พิจารณาดังนี้ครับ

๑.มัซฮับฮะนาฟีย์ : กล่าวว่า เป็นสุนัต ไม่ถือว่า เป็นวาญิบ แต่จะให้ดี สำหรับเพศชาย จะต้องวางฝ่ามือขวาบนหลังมือซ้ายตรงตำแหน่งใต้สะดือ ส่วนผู้หญิงให้วางมือที่ทรวงอก( จากหนังสือมัจมูอ์ เล่ม ๓หน้า ๓๑๑, "อัลลุบบาบ เล่ม ๑ หน้า ๗๑,อันมุฆ็อนนีย์ เล่ม ๑ หน้า ๔๗๓ และอัลฟัลลาฮ์ หน้า ๔๑)

๒.มัซฮับชาฟิอีย์ กล่าวว่า : การกอดมือ ไม่เป็นวาญิบ แต่เป็นสุนัตทั้งผู้ชายและผู้หญิง แต่ดีที่สุด คือวางฝ่ามือขวาบนหลังมือซ้ายใต้ทรวงอก และเหนือสะดือขึ้นไป และให้เหลื่อมไปทางซ้าย โดยมีซุฟยาน อัซซารีย์ และดาวูด อัซซอฮิรีย์ ยึดถือตามพวกเขาด้วย(อัลฮิดายะฮ์ เล่ม๑ หน้า ๔๗,อัลมัจมูอ์ เล่ม ๓ หน้า ๓๑๑,อับลุบบาบ เล่ม ๑ หน้า ๗๑,ชัรฮุลฆอดีร เล่ม ๑ หน้า ๒๐๑

๓.มัซฮับมาลิกีกล่าวว่า การกอดอกอนุญาตให้ทำได้ แต่เป็นสิ่งที่ชอบให้ปล่อยมือทั้งสองในนมาซฟัรฎู (อัลมัจมูอ์ เล่ม ๓ หน้า ๓๑๑,อัลลุบบาบ เล่ม ๑ หน้า ๗๑,นัยลุลเอาฏอร เล่ม ๒ หน้า ๒๐๓

                ๔.มัซฮับฮัมบะลีย์ กล่าวว่า การกอดอกเป็นซุนัตทั้งผู้ชายและผู้หญิง แต่ดีที่สุด ให้วางฝ่ามือขวาบนหลังมือซ้ายแล้วนำไปวางใต้สะดือ(อัลมุฆ็อนนีย์ เล่ม ๑ หน้า ๔๗๙,อัลมัจมูอ์ เล่ม ๓ หน้า ๓๑๑,ฟัตฮุลกอดีร เล่ม ๑หน้า ๒๐๑)

                ส่วนวะฮาบีย์ นั้นเป็นอิสระไม่ขึ้นตรงต่อมัซฮับใดอย่างชัดเจน  หากการกอดมือนั้น บ้างก็ใช้ทัศนะของชาฟิอีย์ และบ้างก็ยึดหลัการตามฮัมบะลีย์

                บางทัศนะในหมู่พวกเขาจะถือว่า ฮะรอม ดังนั้น ถ้าใครกอดมือจะเป็นบาป แต่การนมาซนั้นไม่โมฆะ

                บางทัศนะ ถือว่า การกอดมือเป็นมักรูฮ์ (สิ่งต้องรังเกียจ)แต่ไม่ถึงกับฮะรอม

หลักฐานของมัซฮับทั้งสี่ เกี่ยวกับการกอดมือ โดยสรุปมีดังนี้

ฮะดีษในศอฮีฮ์มุสลิมว่าكان (ص) يضع يده اليمنى على اليسرى

ท่านนบี(ศ)วางมือขวาของท่านบนมือซ้าย

ฮะดีษในซุนันอะบูดาวูด وكان (ص) يضع اليمنى على ظهر كفه اليسرى والرسغ والساعد.  

ท่านนบี(ศ)วางมือขวาบนหลังมือซ้าย ข้อมือ และแขน

ฮะดีษในอันนะซาอีย์ وكان (ص) أحيانا يقبض باليمنى على اليسرى.

ท่านนบี(ศ)กอดอกด้วยมือขวาบนมือซ้าย

ฮะดีษที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นหลักของการกอดมือ ก็คือ ฮะดีษของวาอิล บิน ฮุจร์ ศอฮาบะฮ์คนหนึ่งของท่านนบี(ศ็อลฯ)ซึ่งมีทั้งหมด ๑๘ ริวายะฮ์ด้วยกัน

ท่านมุสลิมได้บันทึกในศอฮีฮ์ ๑ ริวายะฮ์(ศอฮีฮ์มุสลิม ฮะดีษที่๖๐๘)ซึ่งเป็นเพียงริวายะฮ์เดียวเท่านั้นที่มุสลิมได้บันทึกเฉพาะเรื่องนี้

ท่านนะซาอีย์ได้บันทึกไว้ในสุนัน ๓ ริวายะฮ์(สุนะนุน นะซาอีย์)ฮะดีษที่๘๗๗,๘๗๙,๑๒๔๘)

อะบูดาวูดได้บันทึกไว้ในสุนันของท่าน ๓ ริวายะฮ์(สุนันอะบูดาวูดฮะดีษที่๖๒๑,๖๒๔,๘๒๐)

อิบนุมาญะฮ์ บันทึกในสุนัน ๑ ริวายะฮ์

(สุนัน อิบนุมาญะฮ์ ฮะดีษที่ ๘๐๒)

อะห์มัด บิน ฮัมบัลบันทึกไว้ในมุสนัด ๘ ริวายะฮ์(มุสนัดอะห์มัด ฮะดีษที่ ๑๘๐๙๑,๑๘๐๙๗,๑๘๐๙๙,๑๘๑๑๑,๑๘๑๑๕,๑๘๑๑๖,๑๘๑๑๘,๑๘๑๒๐) และอัดดารอมีย์ ได้บันทึกไว้ในสุนัน ๒ ริวายะฮ์(สุนันอัดดารอมีย์ ฮะดีษที่ ๑๒๑๓,๑๓๒๓) ฮะดีษที่ถูกนำมาบันทึก คือ

عن وائل بن حجر أنه رأى النبي صلى الله عليه و سلم رفع

يديه حين دخل في الصلاة، كبر (و صف همام حيال أذنيه)

ثم التحف بثوبه، ثم وضع يده اليمنى على اليسرى،

فلما أراد أن يركع أخرج يديه من الثوب

ثم رفعهما فكبر فركع

ตามที่ได้แปลไว้แล้วในตอนที่สอง  จากวาอิล บิน ฮุจร์ (ร.ฎ)ที่ว่า เขาได้เห็นท่านนบี(ศ)ยกมือแล้วตักบีรในเวลาเข้าพิธีนมาซ จากนั้นท่านได้คลุมกับผ้าของท่าน แล้ววางมือขวาบนมือซ้าย เมื่อท่านจะรุกูอ์ท่านก็เอามือออกมาจากผ้า แล้วยกขึ้นพลางกล่าวตักบีร แล้วรุกูอ์....." ฮะดีษนี้ยังมีใจความต่ออีก แต่ในที่นี้จะนำมาเฉพาะประเด็นนี้เท่านั้น ซึ่งเป็นประเด็นความขัดแย้งอย่างมากมายระหว่างริวายะฮ์ต่างๆ ซึ่งเราจะถกในรายละเอียดถัดจากนี้ไป และตัวบทตามที่นำมาเสนอนี้ ได้คัดมาจากศอฮีฮ์มุสลิม ประเด็นแรกคือ สารบบผู้รายงานฮะดีษ(สะนัดของฮะดีษ)

แผนภูมิอธิบายสารบบผู้รายงานฮะดีษนี้ทุกริวายะฮ์ จะเป็นดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ถ้าสังเกตสารบบผู้รายงาน(สะนัด)เหล่านี้ให้ดี จะเห็นว่ามีปัญหาหลายประการ

ประการแรก มีสามคนที่ได้ยินฮะดีษนี้จากวาอิล บิน ฮุจร์ แต่คนหนึ่งไม่รู้ว่าเป็นใคร(มัจฮูล) แต่ได้รับการอธิบายบางริวายะฮ์ว่า เป็นคนรับใช้ของตระกูลวาอิล ส่วนในริวายะฮ์อื่น อธิบายว่า เป็นสมาชิกครอบครัวคนหนึ่ง เมื่อลักษณะของนักรายงานไม่รู้ว่าเป็นใคร(มัจฮูล) เมื่อสารบบผู้รายงาน(สะนัด)ขาดตอนอย่างนี้ ตามหลักวิชาฮะดีษถือว่า ต้องยกเลิกฮะดีษทั้งสองบทที่ถูกนำมาบันทึกโดยนักรายงานที่ไม่รู้ว่าเป็นใคร

ประการที่สอง มีความสับสนเป็นพิเศษระหว่างวาอิล บิน ฮุจร์กับบุตรทั้งสองคือ อุลกอมะฮ์ และอับดุลญับบาร อยู่ประการหนึ่ง เพราะมีอุละมาอ์สาขาประวัติบุคคลที่เป็นนักรายงาน(ริญาล)กล่าวว่าในขณะที่วาอิล ผู้เป็นบิดาเสียชีวิตนั้น อับดุลญับบารยังอยู่ในครรภ์ และนี่คือ คำพูดของอิบนุฮิบบานและบุคอรีด้วย สายสืบนี้จึงไม่มีผลด้วยประการฉะนี้

เพราะทุกๆริวายะฮ์ที่ถูกบันทึกจะมีชื่อของ อับดุลญับบาร เป็นผู้เชื่อมต่อกับบิดา และผู้เชื่อมต่ออีกคนคือ อุลกอมะฮ์ พี่ของเขา และนี่คือ ปัญหาที่เด่นชัดอีกประการหนึ่ง

ด้วยเหตุนี้ นักปราชญ์สาขาประวัติบุคคลฯ(ริญาล)จำนวนหนึ่ง ถือว่า ริวายะฮ์ของอุลกอมะฮ์ จากบิดาของตนจัดเป็นประเภท مرسلة  (ข้ามช่วง) เช่นยะห์ยา บิน มุอีน (อิบนุฮะญัร อัลอัสก็อลลีย์กล่าวไว้ใน ตะฮ์ซีบุตตะฮ์ซีบ หมวดที่ ๗ หน้า ๒๔๗)

 

 و قد ورد في إحدى الروايات أن \\\" عبد الجبار بن وائل بن حجر قال: كنت غلاما لا أعقل صلاة أبي، فحدثني علقمة بن وائل عن أبي وائل بن حجر

 

ยังมีบันทึกในริวายะฮ์หนึ่งว่า "อับดุลญับบาร บุตรของวาอิล บิน ฮุจร์กล่าวว่า "ฉันเป็นเด็กที่ยังจำการนมาซของบิดาไม่ได้" ดังนั้น อุลกอมะฮ์ บิน วาอิลได้เล่าฮะดีษจาก วาอิล บิน ฮุจร์ บิดาของฉันให้แก่ฉัน(จากสุนันอะบีดาวูด ฮะดีษที่ ๖๒๑)
  •  

L-umar



ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่อับดุลญับบาร จะกล่าวประโยคนี้ออกมา เพราะว่าในตอนที่บิดาเสียชีวิตนั้น เขายังไม่เกิดเลย ดังนั้นผู้ที่กล่าวก็คือ อุลกอมะฮ์ และอะบูบักร์ อัลบัซซาร ก็บันทึกไว้ว่า คนที่พูดว่า "ฉันเป็นเด็กที่ยังจำการนมาซของบิดาไม่ได้" ที่แท้คือ อุลกอมะฮ์ บิน วาอิล นั่นเอง มิใช่อับดุลญับบาร น้องชาย(อิบนุฮะญัร อัลอัศก็อลลานีย์,ตะฮ์ซีบุตตะฮ์ซีบ หมวดที่ ๖ หน้า ๙๕)

ดังนั้น ริวายะฮ์ของอุลกอมะฮ์ ที่ได้จากบิดา ก็คือ ริวายะฮ์ ของเด็กที่ยังจำการนมาซของบิดาไม่ได้ หรือเป็นริวายะฮ์ประเภทข้ามช่วง(มุรซัล) เป็นเหตุให้เราต้องตั้งเครื่องหมายปรัศนี เพื่อถามหาความเข้าใจสำหรับทุกริวายะฮ์ที่ถูกบันทึกมาในสายรายงานของอุลกอมะฮ์

ด้วยเหตุนี้ จึงไม่มีรายงานบทใดเหลือความน่าเชื่อถืออยู่เลย ยกเว้นรายงานที่ถูกบันทึกมาจากสายของอาศิม บิน กะลีบ จากบิดาของเขา จากวาอิล บิน ฮุจร์

แต่ถึงกระนั้น ก็ยังไม่แคล้วจากปัญหา ทั้งๆที่บรรดานักปราชญ์สาขาประวัติบุคคล(ริญาล)ทั่วไป จัดให้อาศิม บิน กะลีบ เป็นคนที่เชื่อถือได้  เว้นแต่อิบนุมะดีนี ที่กล่าวว่า จะยึดเขาเป็นหลักฐานไม่ได้ เมื่อมีเขาเพียงคนเดียว(อิบนุฮะญัร อัลอัสก็อลลานี,ตะฮ์ซีบุตตะฮ์ซีบ,หมวด ๕ หน้า ๔๙)

ที่ผ่านไปนั้น เรียกว่า เป็นบทวิเคราะห์สารบบนักรายงาน(สะนัด)ฮะดีษของวาอิล บิน ฮุจร์และต่อไปนี้ จะเป็นการวิเคราะห์มะตัน(เนื้อหาที่มา)ของฮะดีษนี้

ประการแรก จะกล่าวถึงความเกี่ยวข้องของวาอิล บิน ฮุจร์กับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ) เป็นที่รู้กันว่า วาอิลได้เข้ามาหาท่านศาสนทูคแห่งอัลลอฮ์(ศ)ในปีที่มีแขกเมืองต่างๆมาเข้าพบ จนกระทั่งเขาได้เข้ารับอิสลาม และได้อาศัยอยู่ในเมืองมะดีนะฮ์เพียงระยะสั้นๆ หลังจากนั้นก็เดินทางกลับไปยังเยเมน

แล้วเขาก็ไม่ได้เห็นท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)อีกเลย นอกจากช่วงเวลาดังกล่าวนี้ที่เขาได้มาเป็นแขกของเมืองมะดีนะฮ์(ข้อมูลจาก คอลีล อับดุลการีม หนังสือ เดาละตุลยัษริบ เรื่องผู้เข้ารับทางนำในปีที่บรรดาแขกเมืองเข้ามา หน้า๓๑๖-๓๒๓) ผู้เรียบเรียงหนังสือ ได้ทำการตรวจสอบวิเคราะห์เหตุการณ์ตอนที่วาอิล บิน ฮุจร์ เดินทางมาเป็นแขกของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ็อล)อย่างละเอียด)

ให้สังเกตด้วยว่า เราจะยึดถือริวายะฮ์ที่บอกเล่าโดยบุคคลที่มีฐานภาพเช่นนี้กันแค่ไหน ?

หลายริวายะฮ์ของฮะดีษนี้ กล่าวถึงการกระทำของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)ในลักษณะต่างๆกันดังนี้  "....จากนั้นท่านก็คลุมด้วยกับผ้าของท่าน แล้ววางมือขวาบนมือซ้าย เมื่อท่านจะรุกูอ์ท่านก็เอามือออกมาจากผ้า..." (ศอฮีฮ์มุสลิม,ฮะดีษที่ ๖๐๘,สุนันอะบีดาวูด ฮะดีษที่ ๖๒๑,มุสนัดอะห์มัด ฮะดีษที่ ๑๘๑๑

ซึ่งเรายังนึกภาพไม่ออกว่า วาอิล บิน ฮุจร์จะเห็นมือของท่านนบี(ศ)ได้อย่างไร ในเมื่อมือทั้งสองข้างของท่านอยู่ในผ้าที่ท่านคลุม! และยังมีริวายะฮ์ต่างๆที่บันทึกเรื่องนี้ในลักษณะที่หักล้างกันทั้งสิ้น

เช่น ความขัดแย้งกันระหว่างริวายะฮ์ต่างๆที่อธิบายวิธีวางมือขวาบนมือซ้าย ในหลายริวายะฮ์ระบุว่า ท่านวางมือขวาบนมือซ้าย (ศอฮีฮ์มุสลิมฮะดีษที่ ๖๐๘,มุสนัดอห์มัด ฮะดีษที่ ๑๘๐๙๑,๑๘๐๙๗,๑๘๐๙๙,๑๘๑๑๑)

หรือ ท่านได้เอามือขวากอดมือซ้าย(สุนันนะซาอีย์ฮะดีษที่ ๘๗๗,มุสนัดอะห์มัด๑๘๑๑๖)หรือยึดมือซ้ายกับมือขวา(สุนันนะซาอีย์ฮะดีษที่ ๑๒๔๘ สุนันอะบีอาวูด ฮะดีษที่๖๒๑,๖๒๔,๘๒๐,สุนันอิบนุมาญะฮ์ ฮะดีษที่ ๘๐๒,มุสนัดอะห์มัด ฮะดีษที่ ๑๘๑๒๐)

ทุกริวายะฮ์เหล่านี้มีความหมายเดียวกัน แต่ขัดแย้งกันจนเห็นได้ชัด ในตอนเริ่มบริบทของริวายะฮ์อื่นๆอย่างมาก เช่นกล่าวว่า "วางมือขวาของท่านบนหลังมือซ้ายและข้อมือและแขน"(สุนันนะซาอีย์ ฮะดีษที่ ๘๗๙,มุสนัดอะห์มัด ฮะดีษที่ ๑๘๑๑๕,

ในขณะที่บางริวายะฮ์กล่าวสั้นๆว่า "ท่านวางมือขวาบนมือซ้ายใกล้กับข้อมือในเวลานมาซ"(มุสนัดอะห์มัด, ฮะดีษที่ ๑๘๑๑๘,สุนันอัดดารอมีย์ ฮะดีษที่ ๑๒๑๓)หรือ "ท่านได้วางมือขวาบนหลังมือซ้าย"(สุนันอัดดารอมีย์ฮะดีษที่ ๑๓๒๓)

ในริวายะฮ์กลุ่มที่หนึ่ง จะบอกเล่าเกี่ยวกับมือ ซึ่งทั้งหมดนั้นระบุถึงฝ่ามือ,แขนทาบต่อไปจนถึงข้อศอก

ส่วนริวายะฮ์กลุ่มที่สอง จะบอกเล่าเกี่ยวกับฝ่ามือและทาบไปถึงข้อมือเท่านั้น


 

ทีแรกตั้งใจว่าจะเขียนให้จบในตอนนี้ แต่ยังครับ ดูเหมือนว่า กอดกับปล่อยนี่ ยังไงก็ไม่จบลงได้ง่ายๆ  เราเพียงแต่นำเสนอหลักฐานข้อมูลวิชาการ ประเด็นปัญหาในเชิงลึกและบทวิเคราะห์ เพื่อการตรวจสอบ หลังจากนั้น เป็นหน้าที่ของผู้ศึกษาค้นคว้าที่จะใช้วิจารณญาณ





(๔)



เป็นอันว่า จากการพิจารณาตรวจสอบข้อมูลต่างๆ จาก 3 ตอนที่ผ่านมาของการนำเสนอบทความ หัวข้อ "ทำไมจึงกอดอกในนมาซ ?" ก็พอสรุปได้ว่า นักปราชญ์ของฝ่ายซุนนะฮ์ทั้งหมดลงมติเป็นเอกฉันท์ว่า การกอดอกตามรูปแบบที่กำหนดกันว่า ให้วางมือขวาบนมือซ้ายหรือเกาะไว้ที่อก หรือกอดทับอกนั้น ไม่ได้เป็นคำสั่งจากท่านนบี(ศ)ที่ต้องกระทำ หรือที่เรียกว่า วาญิบ ตามหลักการศาสนาแต่อย่างใด

กล่าวเฉพาะหลักฐานของชีอะฮ์ อิมามียะฮ์นั้น เป็นที่รู้กันอย่างแพร่หลายว่า การกอดอก เป็นฮะรอม(สิ่งต้องห้าม) และทำให้นมาซเป็นโมฆะ มีฮะดีษบทหนึ่ง จากอะบีญะอ์ฟัร(อ)กล่าวว่า : ข้าพเจ้าได้อ่านให้ท่านฟังว่า فصل لربك وانحر  "ดังนั้น จงนมาซต่อพระผู้อภิบาลของเจ้าและจงเชือดพลี"ท่านได้อธิบายคำว่า انحر (การเชือด)ตรงนี้ หมายถึง การยืนในท่าตรง คือให้กระดูกสันหลังเหยียดตรงและอย่าทับซ้อน(ตักฟัร) หมายถึง"อย่าวางมือขวาทับมือซ้าย เพราะที่จริงแล้ว นั่นคือการกระทำของพวกมะยูซีย์เท่านั้น(อัลกาฟีย์ เล่ม ๓ หน้า ๓๓๖)

                ฮะดีษของมุฮัมมัด บิน มุสลิม จากอิมาม(อ) กล่าวว่า ข้าพเจ้าถามท่านว่า การที่ผู้ชายวางมือขวาบนมือซ้ายในนมาซจะเป็นอย่างไร ท่านตอบว่า : "นั่นคือ การปิดทับซ้อน (ตักฟีร) "หมายถึง การวางมือขวาบนมือซ้าย" ท่านจงอย่าได้กระทำเลย"(อัตตะฮ์ซีบ เล่ม ๒ หน้า ๘๔ ฮะดีษที่ ๓๑๐)

                รูปแบบการนมาซนั้น จำเป็นจะต้องยืนยันให้ได้อย่างชัดเจนเสียก่อน หลังจากนั้นจึงปฏิบัติ โดยหลักอิห์ติยาฏ(ความพิถีพิถันอย่างรอบคอบ)จะต้องเป็นเช่นนั้น การตัดสินว่า สิ่งใดเป็นสุนัตหรือวาญิบ จำเป็นต้องมาจากหลักฐานที่ชัดเจน แต่จากการตรวจสอบความเห็นและหลักฐานต่างๆ ในเรื่องการกอดอก ทีแรก น่าจะเป็นวาญิบมากกว่า แต่พออธิบายกันไปมา บรรดานักปราชญ์ส่วนหนึ่งหยุดเรื่องนี้ไว้ที่สุนัต ในขณะที่อีกส่วนหนึ่ง ถือว่า เป็นมักรูฮ์ และอีกบางส่วน เช่นนักปราชญ์ชีอะฮ์ ถือว่า เป็นฮะรอม แล้วเราจะมั่นใจกับหลักฐานการกอดอกที่อ้างกันมานั้นได้อย่างไร ?!

ส่วนการปล่อยมือในนมาซ จึงเป็นทางออกตามหลักอิห์ติยาฏ กล่าวคือ จะไม่กอดอก ถึงแม้จะมีนักปราชญ์บางกลุ่มกล่าวว่า การกอดอกเป็นสุนัตก็ตาม เพราะมีนักปราชญ์อีกบางส่วนถือว่า เป็นมักรูฮ์และฮะรอมอยู่ ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า การกอดอก จะเป็นการกระทำที่สุ่มเสี่ยง ผลีผลาม และประมาท ซึ่งขัดต่อหลักอิห์ติยาฎ (กฎว่าด้วย ความพิถีพิถันและรอบคอบ) บรรดาแกนนำในมัซฮับทั้งสี่ ได้แสดงให้เห็นความขัดแย้งของพวกเขาในเรื่องการกอดมือ ดังนั้น การปล่อยมือในนมาซ จึงมีความน่าเชื่อถือกว่า ยิ่งเมื่อพิจารณาฮะดีษต่างๆที่นำเสนอมาประกอบ

อันที่จริงแล้ว หลักฐานจากตำราฝ่ายซุนนะฮ์เอง ที่อ้างว่า บรรดาตาบิอีนนมาซปล่อยมือ ก็มีเป็นจำนวนมาก ส่วนหนึ่งได้แก่

๑"อิบนุซุเบร"  ดังมีรายงานจากยะซีด บิน อิบรอฮีม กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านอัมรุ บิน ดีนาร กล่าวว่า อิบนุซุเบร นั้น เมื่อเขานมาซ เขาจะปล่อยมือ (المصنف: ج 1، ص 428.)

๒"อิบนุซีรีน" รายงานจาก อิบนุอะลัยฮิ,จากอิบนุเอาน์,อินุซีรีนว่า เขาได้ถามชายคนหนึ่งถึงเรื่องเอามือขวากุมมือซ้าย เขากล่าวว่า ที่เขาทำเช่นนี้ ก็เพราะมีเลือด (  المصنف: ج 1، ص 428 )

๓"อิบนุ อัลมุซัยยิบ" มีรายงานจากอุมัร บิน ฮารูน จากอับดุลลอฮ์ บิน ยะซีด กล่าวว่า ฉันไม่เคยเห็นอิบนุอัลมุซัยยิบกอดมือในนมาซเลย คือเขาปล่อยมือตลอด (المصنف: ج 1، ص 42

 ๔."สะอีด บิน ญุบัยร์" มีรายงานจากยะห์ยา บิน สะอีด จากอับดุลลอฮ บิน อัลอีซาร กล่าวว่า ฉันไปฏอวาฟกับท่านสะอีด บิน ญุบัยร์ แล้วเขาได้เห็นชายคนหนึ่งนมาซวางมือทับซ้อนกัน โดยเอามือข้างนี้ ทับบนมือข้างนี้ ด้วยเขาได้ออกไปหาแล้วจับมือสองข้างของชายคนนั้นแยกออกจากกัน แล้วท่านก็เดินกลับมา (المصنف: ج 1، ص 428.)

                มีฮะดีษมากมายที่สายสืบเล่าอ้างถึงรูปแบบการนมาซของท่านนบี(ศ) และมิได้เล่าอ้างว่า ท่านวางมือขวาบนมือซ้าย แต่ผลที่สุดฮะดีษกอดมือทับกัน กลับถูกนำมากล่าวถึงซ้ำๆในตำรามากกว่า ทั้งๆที่มันมิใช่รูปแบบการกระทำของนมาซ หากแต่มีความเห็นของพวกนักปราชญ์บางท่านบอกว่า ลักษณะของท่ากอดมือ คือการวิงวอนขอ และด้วยเหตุนี้เอง ท่านมา ลิกจึงอนุญาตให้กอดมือได้เฉพาะในนมาซนาฟิละฮ์ แต่จะไม่อนุญาตให้กอดมือในนมาซฟัรฎู ดังได้กล่าวไปแล้ว ถามว่า เราจะยืนยันตะพึดตะพือไม่ฟังเสียงอิมามมาลิกเลยว่า การกอดอกเป็นสุนัตได้อย่างไร ?

ด้วยเพราะตระหนักในหลักฐานฮะดีษ ว่าด้วยการกอดมืออย่างชัดเจนแล้วว่า  เป็นรายงานฮะดีษที่มีปัญหา ไม่ผ่านมาตรฐานการตรวจสอบเชิงลึก ฉะนั้น การกอดมือ จึงมิใช่รูปแบบการกระทำของท่านนบี(ศ)

แต่ด้วยเหตุผลของการอยู่ร่วมกัน จึงมีการออมชอม สมานฉันท์ อิบนุอับดุลบัร จึงกล่าวว่า จะวางมือขวาบนมือซ้าย หรือจะปล่อยมือ ทุกอย่างล้วนเป็นสุนัตในนมาซด้วยกันทั้งสิ้น แต่ก็ยังเป็นที่กังขา ว่าจริงๆแล้ว อิบนุอับดุลบัร คิดเช่นนั้นจริงหรือ ?(الكافي في فقه أهل المدينة: ج 1 ص 206)

อิบนุอัลกอซิม ได้เล่ารายงานจากมาลิก เรื่องการปล่อยมือว่า เป็นเรื่องที่แพร่หลายมากกว่า และชาวเมืองมอร็อคโคทั้งหมดปฏิบัติกันอย่างนั้นจากส่วนที่เป็นพรรคพวกหรือกลุ่มนักปราชญ์ของพวกเขา(المجموع: ج 3 ص 212  )

แม้แต่อิบนุก็อยยิม ก็ยังได้กล่าวหลังจากแสดงฮะดีษการกอดมือในนมาซอย่างชัดเจนว่า ที่มาของเรื่องนี้ ได้ถูกหักล้างด้วยรายงานของอิบนุอัลกอซิม จากท่านมาลิกที่กล่าวว่า "ให้งดเว้นเสียซึ่งการกอดมือ นั่นเป็นที่ชอบสำหรับฉัน" และฉันไม่รู้อะไรเลย"(เกี่ยวกับรายงานการกอดมือ) แต่ก็ได้ใช้หลักฐานอื่นตอบโต้เขาไป( أعلام الموقعين: ج 2،402)

สรุป มีเรื่องที่ถูกบอกเล่ามาจากท่านมาลิก สามประการ คือ

1-ได้ถือปฏิบัติ(แบบปล่อยมือ)จนรู้กันอย่างแพร่หลายจากท่าน คือปล่อยมือ

2-ท่านเคยวางมือใต้ทรวงอก เหนือสะดือ(ذكر العيني في شرح الهداية: ج 1، ص 102

3-ท่านให้เลือกได้ระหว่างการกอดมือกับการปล่อย ในหนังสืออุกดุลญะวาฮิร ระบุว่า เป็นคำสอนของบรรดาสานุศิษย์ของท่านมาลิก อัลเอาซาอีย์ได้กล่าวว่า พวกเขาถูกสั่งให้พิจารณาไปตามสภาพการณ์ของพวกเขาเองได้ เพราะบางคนที่มีบาดแผลที่หัวแม่มือ ถ้ายืนนมาซปล่อยมือนานๆ ปรากฏว่า จะมีเลือดไหลจากหัวแม่มือ จึงอนุญาตให้เขากอดมือได้ โดยยึดหลักการตามโองการที่ว่า "เพื่อมิให้เกิดอันตรายแก่พวกเจ้า" المبسوط: ج 1، ص 23 و 42.

พวกเขากล่าวว่า การวางมือทับกัน ย่อมขัดแย้งกับความสำรวม เพราะท่านนบี(ศ)รู้ถึงข้อเสียของการนมาซของท่าน ท่านจึงไม่สั่งสอนให้วางมือข้างใดทับกับมือข้างใดเลย ท่านนะวาวีย์กล่าวว่า เรื่องอะไรที่ท่านนบี(ศ)สั่งสอน แน่นอนเรื่องนั้น เป็นหน้าที่ต้องกระทำ(วาญิบ)เท่านั้นالمجموع: ج 3، ص 313 و

โดยสรุปแล้ว ท่านนบี(ศ)ไม่ได้สั่งสอนเรื่องการกอดมือด้วยตัวของท่านเอง เราจะถือมาเป็นสุนัต หรือเป็นวาญิบได้อย่างไร ? จึงมีข้อสรุปว่า การกอดมือในนมาซ มีทางเป็นได้อย่างเดียวเท่านั้น คือ บิดอะฮ์(อุตริกรรม)

อันที่จริงแล้ว มัซฮับทั้งสี่ รวมทั้งพวกวาฮาบีย์ที่อ้างตนไม่สังกัดมัซฮับ(แต่ยึดหลักฐานเดียวกัน) ล้วนแต่ขัดแย้งและมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการกอดมือทั้งสิ้น และมีวิธีปฏิบัติที่แตกต่างระหว่างกันและกัน ในการกอดมืออย่างมากมาย

ส่วนหนึ่งจะกล่าวว่า วางใต้สะดือ เช่น มัซฮับในเครือฮะนะฟีย์ ตามที่เจ้าของหนังสือ อัลฮิดายะฮ์,กันซุดดะกออิก,หนังสือตับยีนุลฮะกออิก,และหนังสืออัลบะห์รุร รออิกเล่าอ้าง

ส่วนหนึ่งจะกล่าวว่า ใต้ทรวงอก บนสะดือ นั่นคือ มัซฮับในเครือชาฟิอีย์ ดังที่ เจ้าของหนังสืออัลวะซีฏ,อัลบัฆวีย์,ในชะเราะฮ์ อัซซุนนะฮ์ อันนะวาวีย์ในมัจมูอ์ได้กล่าวไว้

ส่วนหนึ่งจะกล่าวว่า เหนือทรวงอก นั่นคือ มัซฮับในเครือฮัมบะลีและในเครือชาฟิอีย์บางกลุ่ม ตามที่อิบนุคุซัยมะฮ์และอะห์มัด บิน ฮัมบัล ได้รายงานไว้

                จะเหลืออยู่ก็คือ การปล่อยมือ ที่ไม่มีปัญหาขัดแย้งในระหว่างกลุ่มต่างๆว่าปล่อยแค่ไหน ปล่อยอย่างไร ฯลฯ ถ้าการกอดมือ เป็นหลักปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยท่านนบีมีชีวิตอยู่ โดยวิสัยของบรรดาศอฮาบะฮ์ท่านนบี (ศ) ที่เรามักจะพบในประวัติของพวกเขา ยามที่พบกับประเด็นปัญหา ข้อปลีกย่อยที่อ่อนไหว ไม่ว่าจะยากจะง่ายแก่การสงสัยก็ตาม พวกท่านล้วนแต่จะซักไซร้ ไถ่ถาม และต้องมีหลักฐานว่าบรรดาศอฮาบะฮ์ได้ถามท่านนบี(ศ)ในเรื่องละเอียดอ่อนอย่างนี้ให้เห็นบ้าง แต่ปรากฎว่าไม่มีเลย ปัญหาการซักไซ้ไล่เลียงเรื่องการกอดมือ มีขึ้นในหมู่ประชาชนกันเองหลังจากสมัยท่านนบี(ศ)ทั้งนั้น  

                ฉะนั้น ใครก็ตามที่มีความประสงค์จะได้ข้อมูลทางวิชาการ และพิสูจน์หลักฐานการปล่อยมือ ก็จำเป็นจะต้องศึกษาหลักฐานต่างๆและรายงานริวายะฮ์ต่างๆที่ถูกบันทึกมาจากบรรดาอิมามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์ (อ) ชีอะฮ์อิมามียะฮ์ทั้งหมดนั้นจะปฏิบัติตามคำสั่งห้ามกอดอกอย่างเคร่งครัดจากบรรดาอิมาม(อ)  

พวกเขาจึงปล่อยมือในเวลานมาซ ทำให้บรรดาคนทั่วไป(อะวาม)ฝ่ายซุนนะฮ์ที่ไม่มีความรู้มองว่าพวกชีอะฮ์เป็นพวกบิดอะฮ์ เพราะไม่กอดมือ ทั้งๆที่บรรดานักปราชญ์ของพวกเขาระบุเพียงว่า การกอดมือเป็นเพียงสุนัตเท่านั้น และไม่ให้ถือว่า คนที่ไม่ทำสิ่งสุนัต เป็นพวกบิดอะฮ์ พร้อมกันนั้น มัซฮับมาลิกีย์ ยังถือเป็นมักรูฮ์ ประกอบกับบรรดาอิมามแห่งอะฮ์ลุบัยต์(อ)ที่ได้สั่งห้าม ฉะนั้น หลักฐานการกอดอก ยังไม่มีความชัดเจนพอจะเป็นสุนัตแต่อย่างใด

แต่อย่างไรก็ตาม เป็นหน้าที่ของบรรดาผู้มีความบริสุทธิ์ใจอย่างหนึ่ง คือต้องแสวงหาความสมานฉันท์อย่างเต็มกำลังเพื่อมิให้เรื่องการปล่อยมือหรือกอดมือ เป็นประเด็นสร้างความแตกแยก และร้าวฉาน เจตนารมณ์ของบทความนี้ที่เขียนขึ้นมาทั้ง ๔ ตอน ก็เพียงเพื่อนำเสนอข้อมูลทางวิชาการประกอบการพิจารณา และใช้วิจารณญาณของผู้มีใจเป็นธรรมเท่านั้น

จุดสำคัญที่สุดก็คือ บรรดาพวกวาฮาบีย์ที่ให้ทัศนะว่า การกอดอกเป็นซุนนะฮ์หนึ่งของท่านนบี(ศ) ที่ไม่กระทำไม่ได้ ในขณะที่ผู้รู้อีกด้านหนึ่งถือว่า ซุนนะฮ์ที่แท้จริงของท่านนบี(ศ) คือปล่อยมือ

อีกประการหนึ่ง เราจะตำหนิคนทั่วไป(อะวาม)ที่ทะเลาะเบาะแว้งกันเพราะความไม่รู้ว่า พวกเขาบกพร่องไม่ได้ เพราะผู้ที่บกพร่องจริงๆในปัญหาขัดแย้งข้อนี้ คือบรรดาผู้รู้และนักแสดงธรรมทางศาสนานั่นเอง ที่พวกเขาถือปฏิบัติในสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า เป็นสุนัต ราวกับการถือปฏิบัติในสิ่งที่เป็นวาญิบ

พวกเขาสั่งสอนประชาชนให้กระทำสิ่งสุนัต เฉกเช่นการสั่งสอนให้กระทำสิ่งที่เป็นวาญิบ จึงทำให้คนทั่วไป(อะวาม)ที่ไม่ใช่ผู้รู้ เข้าใจผิดกับสิ่งที่ป็นสุนัตอีกมากมายหลายเรื่อง ว่าเป็นฟัรฎู(ข้อบังคับ)ทางศาสนา

 เพราะฉะนั้น การที่บรรดาผู้รู้พยายามสร้างภาพ สร้างมโนภาพให้คนทั้งหลายคิดว่าสิ่งสุนัต เป็นฟัรฎู ก็เป็นบิดอะฮ์อย่างหนึ่งเช่นกัน

 จึงจำเป็นต้องทบทวนหาความเป็นจริงร่วมกันว่า สิ่งที่เป็นซุนนะฮ์ท่านนบี(ศ)แท้ๆนั้นเป็นอย่างไร โดยเฉพาะเรื่องการกอดอกในนมาซ จำเป็นจะต้องศึกษาอย่างเจาะลึกให้ถ่องแท้ในอีกสามฮะดีษด้วยกันเป็นอย่างน้อย คือ

 ๑.ฮะดีษที่รายงานโดยซะฮัล บิน สะอัด ที่บันทึกในศอฮีฮ์บุคอรี

๒.ฮะดีษของวาอิล บิน ฮุจร์ ที่รายงานในศอฮีฮ์มุสลิม

๓.ฮะดีษของอับดุลลอฮ์ บิน มัสอูด ที่บันทึกในสุนันบัยฮะกีย์

روى البخاري عن أبي حازم عن سهل بن سعد، قال:

(كان الناس يؤمرون أن يضع اليد اليمنى على ذراعه اليسرى

في الصلاة) قال أبو حازم: لا أعلمه إلا يَنمي ذلك إلى النبي

(   صلى الله عليه وآله)

 

ฮะดีษที่รายงานโดยซะฮัล บิน สะอัด ที่บันทึกในศอฮีฮ์บุคอรี

บุคอรีได้รับรายงานมาจาก อะบีฮาซิม เป็นรายงานมาจากซะฮัล บิน สะอัด กล่าวว่า : ปรากฏว่าคนทั้งหลายถูกสั่งให้วางมือขวาบนมือซ้ายบนแขนซ้ายของตนในนมาซ อะบูฮาซิมได้กล่าวว่า : ฉันไม่รู้เรื่องมันเลย นอกจากรู้ว่า เรื่องนั้นได้ถูกเสริมขึ้นมาแล้วอ้างไปหาท่านนบี(ศ็อลฯ)

บทรายงานริวายะฮ์ต่างๆที่อธิบายวิธีการกอดอก มุ่งจะแสดงหลักฐานว่า มาจากท่านนบี(ศ)แต่มีอยู่สองประการที่มิได้อธิบายให้ชัดเจน

ประการที่ ๑-ถ้าหากท่านนบี(ศ)เป็นผู้ออกคำสั่งให้กอดอกไว้ก่อนแล้วจริงในสมัยของท่าน จำเป็นอะไรที่ผู้รายงานจะกล่าวว่า "ประชาชนทั้งหลายถูกสั่งให้ทำ ?" เพราะเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับประเด็นอย่างนี้ที่ผู้รายงานจะใช้ประโยคคำพูดว่า "ท่านนบี(ศ)ได้สั่งให้ทำ" จะไม่ชัดเจนกว่าหรือ ? เป็นไปได้ไหม ว่านี่คือ หลักฐานหนึ่งที่แสดงว่า การกอดอกเป็นกฎเกณฑ์ที่ถูกกำหนดขึ้นภายหลังจากท่านนบี(ศ)ได้วายชนม์ไปแล้ว ต่อมาได้มีบรรดาคอลีฟะฮ์ และผู้ปกครองออกคำสั่งให้ประชาชนกอดมือแนบอก โดยมโนภาพว่า ทำให้มีความนอบน้อมมากยิ่งขึ้น ? จึงมีรายงานนี้ปรากฏในศอฮีฮ์บุคอรีว่า ประชาชนทั้งหลายถูกสั่งให้ทำ แล้วต่อมาหลังจากนั้น ท่านบุคอรีได้ตั้งบทหนึ่งขึ้นมาในตำรา ใช้ชื่อเรียกบทนั้นว่า บทว่าด้วย ความนอบน้อม(บาบุลคุชูอ์)

อิบนุฮะญัร ก็ยังได้กล่าวสนับสนุนการกอดอกว่า วิทยะปัญญาประการหนึ่งในการกระทำลักษณะนี้ คือ การวิงวอนขอของผู้ต่ำต้อย มันมิได้เป็นเรื่องเสียหายและนำไปสู่ความนอบน้อมทางจิตใจ ซึ่งแน่นอนอย่างยิ่ง ถ้าการกอดมือเป็นคำสั่งมาจากท่านนบี (ศ) ไม่จำเป็นต้องมีการอธิบายให้เหตุผลทำนองนี้จากบรรดานักปราชญ์ เพราะอย่างไรเสีย จะส่งผลให้นอบน้อมจริงหรือไม่ ก็เป็นวาญิบที่ทุกคนต้องกระทำอยู่แล้ว !

ประการที่ ๒- หลักฐานในตอนท้ายของบทรายงาน ได้ให้เหตุผลอย่างชัดเจนว่า การกอดอก มาจากการกระทำของผู้ออกคำสั่งเอง มิใช่มาจากท่านศาสนทูตผู้ทรงเกียรติ (ศ) นั่นคือ ประโยคที่อิสมาอีลได้กล่าวว่า "ฉันไม่เคยรู้เรื่องมันเลย นอกจากรู้ว่า เรื่องนั้นได้ถูกเสริมขึ้นมา แล้วอ้างไปหาท่านนบี(ศ็อลฯ) ความหมายก็คือ เขาไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า การกอดอกเป็นสุนัตในนมาซ จะรู้ก็เพียงว่า เป็นเรื่องถูกอ้างขึ้นมาว่า เป็นการกระทำของท่านนบี(ศ) ดังนั้น ริวายะฮ์ที่รายงานโดยซะฮัล บิน สะอัด จึงเป็น รายงานประเภท "มัรฟูอ์" อิบนุฮะญัร ได้กล่าวไว้ว่า จากหลักเกณฑ์การตรวจสอบของบรรดานักฮะดีษ เมื่อผู้รายงานกล่าวว่า ينميه ถูกเสริมขึ้นมา ความหมายก็คือ เรื่องนั้น ถูกยกขึ้นมาอ้างถึงท่านนบี(ศ)ดู            นี่คือ ความเข้าใจที่เกิดขึ้นในทันทีที่อ่าน แม้จะไม่รู้เบื้องลึกของเรื่องนี้มาก่อนเลยก็ตาม แต่ถ้าเราอ่านประโยคนี้ทวนอีกครั้งหนึ่ง ในฐานะที่รู้ถึงเบื้องลึกที่มาของหลักฐาน เราจะรู้ได้ทันทีว่า ซะฮัล คือผู้รายงานเรื่องการกอดอก แล้วอ้างถึงท่านนบี(ศ) เนื่องจากคำพูดของอิสมาอีลที่ว่า "ฉันไม่เคยรู้เรื่องมันเลย นั่นเอง แสดงให้เห็นว่า รายงานการกอดอก ถูกจัดเป็นประเภทฎออีฟ(อ่อน)ที่เขาได้ฟังมาจากบุคคลหนึ่งโดยไม่เอ่ยชื่อ !

ابن حجر، فتح الباري في شرح صحيح البخاري:

ج 2 ص 224، باب وضع اليمنى على اليسرى

 

ฮะดีษที่รายงานโดย วาอิล บิน ฮุจร์ ในศอฮีฮ์มุสลิม

                ประเด็นหลักในการพิจารณาฮะดีษที่รายงานโดยวาอิล บิน ฮุจร์ ได้มีการอธิบายไปแล้วในตอนที่ ๓ ค่อนข้างละเอียด แต่ยังมีตกค้างอยู่บางแง่มุม จึงขอนำมาอธิบายเพิ่มเติมให้ครบถ้วน ณ ที่นี้ ฮะดีษของวาอิลระบุว่า "เขาได้เห็นท่านนบียกมือตักบีรในเวลาท่านเข้านมาซ  จากนั้นท่านได้คลุมด้วยผ้าของท่าน แล้วท่านได้วางมือขวาบนมือซ้าย ครั้นเมื่อท่านต้องการจะรุกูอ์ ท่านก็เอามืออกจากผ้า จากนั้น ท่านยกสองมือขึ้น จากนั้นท่านได้ตักบีร แล้วรุกูอ์"

                การยึดหลักปฏิบัติใดๆจากฮะดีษ จะจำได้ต่อเมื่อได้หลักฐานอย่างเป็นกิจจะลักษณะ ถ้าไม่มีความชัดเจน จะยึดมาเป็นหลักฐานไม่ได้ และฮะดีษนี้ยังไม่มีความชัดเจน เพราะความหมายของฮะดีษยืนยันว่า ท่านนบี(ศ)ได้รวบชายผ้าของท่านแล้วปกคลุมหน้าอกของท่าน(จากนั้นท่านได้คลุมด้วยผ้าของท่าน) แล้วท่านได้วางมือขวาลงบนมือซ้าย ถามว่า การกระทำอย่างนี้ ถึงขั้นจะต้องถือเป็นหลักการว่า เป็นสุนัตในนมาซกระนั้นหรือ ? หรือว่า ที่ท่านทำเช่นนั้น ก็เพราะไม่ให้ชายผ้าร่วงลง ท่านจึงแนบชายผ้าไว้กับตัว เพื่อป้องกันมิให้ตัวท่านกระทบกับความเย็น กันแน่ ? การกระทำใดๆของท่านนบี(ศ)ที่ผู้เห็นไม่รู้แน่ชัดถึงเหตุผล จะเอามาเป็นหลักฐานมิได้  เว้นแต่ว่า ถ้าสาวกผู้นั้น รู้แน่ชัดจริงๆว่า การกระทำนั้น ๆ เป็นแบบอย่างของท่าน ที่ท่านต้องการแสดงออกมาเพื่อเป็นต้นแบบอย่างแท้จริง

แน่นอน ท่านนบี(ศ)ปรากฏตัวอยู่ท่ามกลางบรรดามุฮาญิรีนและบรรดาชาวอันศอรมาโดยตลอดนานกว่า 10 ปี ถ้าหากการกระทำเช่นนั้นของท่านนบี(ศ) เป็นเรื่องของหลักปฏิบัติที่แท้จริงแล้ว แน่นอน จะต้องเป็นเรื่องที่ถูกเล่าขานกันอย่างแพร่หลาย ไม่จำกัดอยู่ที่การเล่าอ้างของวาอิล บิน ฮุจร์ตามลำพัง กระทั่งทำให้เกิดข้อสัณนิษฐานต่างๆขึ้นหลายประการ ทั้งนี้ยังมีรายงานในลักษณะอื่นอีกด้วย ที่ไม่ตรงกับคำพูดของวาอิล ที่ว่า "จากนั้นท่านได้คลุมด้วยผ้าของท่าน" นั่นคือ รายงานที่บันทึกโดยท่านบัยฮะกี  จากสารบบผู้รายงานของท่าน จากมูซา บิน อะมีร กล่าวว่า อุลกอมะฮ์ บิน วาอิล ได้เล่ารายงานมาจากบิดาของเขาว่า แท้จริง ท่านนบี(ศ)นั้น เมื่อท่านยืนตรงในการทำนมาซ ท่านได้กอดอกโดยมือซ้ายถูกทับด้วยมือขวา และฉันได้เห็นอุลกอมะฮ์กระทำเช่นนั้น โปรดดู سنن البيهقي: ج 2 ص 28  
นี่คือหลักฐานแสดงให้เห็นการรายงานที่มีความบกพร่อง กล่าวคือ มีขาด มีเกินอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งถ้าหากเป็นเรื่องที่ท่านนบี(ศ)ถือปฏิบัติเช่นนั้นเป็นเนืองนิตย์แล้วไซร้ จะต้องเป็นเรื่องที่รู้กันอย่างแพ่รหลายในหมู่ประชาชน ประโยคที่ว่า "และฉันได้เห็นอุลกอมะฮ์กระทำเช่นนั้น" แสดงว่า ก่อนหน้านั้น ผู้รายงานไม่เคยเห็นใครกระทำเช่นนั้นมาก่อนเลย เพิ่งจะมารู้จักซุนนะฮ์ข้อนี้จากอุลกอมะฮ์

มีริวายะฮ์ที่รายงานโดยบัยฮะกีย์อีกบทหนึ่ง ดังนี้

 

روى البيهقي مسنداً عن ابن مسعود - رضي الله عنه - أنه

كان يصلي فوضع يده اليسرى على اليمنى فرآه النبي

(صلى الله عليه وآله) فوضع يده اليمنى على اليسرى

 

(อัลบัยฮะกีย์ได้รายงานโดยสารบบนักรายงาน(มุสนัด)จำนวนหนึ่ง ที่ได้รับรายงานมาจากอิบนุมัสอูด(ร.ฎ)ว่า เขากำลังนมาซอยู่โดยวางมือซ้ายบนมือขวา ครั้นท่านนบี(ศ)เห็นเขา ดังนั้น ท่านจึงวางมือขวาของเขาบนมือซ้าย

(โปรดดู

                ที่น่าสังเกตเพิ่มเติมก็คือว่า เป็นเรื่องที่ห่างไกลความจริงเสียเหลือเกิน ที่คนอย่างท่านอับดุลลอฮ์ บิน มัสอูด ศอฮาบะฮ์ผู้ทรงทรงเกียรติ จะไม่รู้จักว่า อะไรเป็นสุนัตในนมาซ ทั้งที่ท่านเป็นอัซซาบิกูน(คนรุ่นแรก)ในอิสลาม  กับอีกประการหนึ่ง ในสารบบนักรายงานริวายะฮ์นี้ มีคนชื่อฮะชีม บิน บะชีร เป็นที่รู้กันว่า บุคคลผู้นี้เป็นนักปลอมฮะดีษโปรดดู  14- هدى الساري: ج 1 ص 449

                ด้วยเหตุนี้ เราจะเห็นได้ว่า บรรดาอิมามแห่งอะฮ์ลุลบัย์(อ)ได้สั่งให้ระมัดระวัการรับฟังริวายะฮ์ของคนผู้นี้ และพวกท่านเห็นว่า การกระทำเช่นนี้เป็นพิธีการของชาวมะญูซีย์(ศาสนาบูชาไฟ)เวลาเข้าเฝ้ากษัตริย์

روى محمد بن مسلم عن الصادق أو الباقر (عليهما السلام)

قال: قلت له: الرجل يضع يده في الصلاة - وحكى

- اليمنى على اليسرى؟ فقال: ذلك التكفير، لا يفعل

.

รายงานโดยมุฮัมมัด บิน มุสลิมว่า "อิมามศอดิก(อ) หรือจากอิมามบากิร (อ)ได้กล่าว เมื่อฉันได้พูดกับท่านว่า คนที่วางมือ(ลงกอดอก)ในนมาซเป็นอย่างไร?(หมายถึง การวางมือขวาบนมือซ้าย) ท่านตอบว่า นั่นคือ การทับซ้อน(ตักฟีร) จงอย่ากระทำเลย"

 

وروى زرارة عن أبي جعفر (عليه السلام) أنه قال:

وعليك بالإقبال على صلاتك،

ولا تكفّر، فإنما يصنع ذلك المجوس

ซิรอเราะฮ์ ได้รายงานจากอะบีญะอ์ฟัร(อ)ว่า พวกท่านจงหันหน้าตรงยังทิศกิบละฮ์ในนมาซ และอย่าทำ(มือ)ทับซ้อนกัน(ตุกัฟฟุร) เพราะมีแต่พวกมะญูซเท่านั้นที่กระทำ"

وروى الصدوق بإسناده عن علي (عليه السلام) أنه قال:

لا يجمع المسلم يديه في صلاته وهو قائم بين يدي الله

عز وجل يتشبّه بأهل الكفر - يعني المجوس

ท่านศ็อดดูกได้รับริวายะฮ์โดยสารบบนักรายงาน ที่สืบจากอะลี(อ) แท้จริงท่านกล่าวว่า : คนมุสลิมอย่าได้รวมมือสองข้างเข้าด้วยกันในการนมาซของตน และในขณะที่ยืนตรงต่อเบื้องพระพักตร์แห่งอัลลอฮ์ ผู้ทรงอานุภาพ สูงสุด ที่คล้ายคลึงกับชนชาวกาฟิร(หมายถึง พวกบูชาไฟ)

โปรดดู الحر العاملي: الوسائل 4/ الباب الخامس عشر

من أبواب قواطع الصلاة، الحديث 1 و2 و7.




 

ในที่สุด จะขอกล่าวถึงพี่น้องต่างมัซฮับด้วยความห่วงใย ชีอะฮ์อิมามียะฮ์ มิใช่พวกนอกศาสนา และมิใช่พวกออกนอกกรอบของศาสนาอิสลาม ใครก็ตามที่ใส่ร้ายป้ายสี ชีอะฮ์อิมามียะอ์ว่า ไม่ใช่อิสลาม หรือไม่ใช่มุสลิม การใส่ร้ายนั้น หาได้มีผลในความเป็นจริงไม่ แต่การณ์กลับตรงข้าม ที่เขาผู้นั่นเอง จะไม่ใช่อิสลามและจะไม่ใช่มุสลิมตามความเป็นจริง เพราะเขาเหล่านั้น ตัดสินเรื่องศาสนาด้วยอารมณ์แห่งโมหจริต คลั่งไคล้โดยปราศจากหลักเกณฑ์ และหลักฐานข้อมูลที่ถูกต้องตามหลักวิชาการด้านศาสนา

เราบรรดาชีอะฮ์ อิมามียะฮ์ มิได้ตัดสินใครผู้ใดว่าเป็นอย่างไรด้วยอารมณ์ความรู้สึก หรือด้วยโมหคติ และเรายึดถือแนวทางแห่งศาสนาโดยปราศจากความคลั่งไคล้ในมัซฮํบนิยม التعصّب المذهبي) แต่อย่างใด

ไม่ได้เป็นความบาปและความผิดของชีอะฮ์อิมามียะฮ์ แต่อย่างใด ในการใช้สิทธิของตนทำการเผยแพร่หลักการของตนเองไม่ว่า โดยหลักอิจญ์ติฮาด หรือ ตรวจสอบข้อมูลจากคัมภีร์ของอัลลอฮ์และตำราทั้งหลายที่บันทึกซุนนะฮ์ท่านนบีศ็อลฯ แล้วระบุออกมาว่า การกอดอกในนมาซ เป็นอุตริกรรมอย่างหนึ่งที่มีขึ้นหลังจากสมัยของท่านนบี ผู้ทรงเกียรติ(ศ) และเป็นเรื่องที่ประชาชนถูกสั่งให้กระทำในสมัยของบรรดาคอลีฟะฮ์

ดังนั้นผู้ใดที่แอบอ้างว่า การกอดอก เป็นกฎเกณฑ์อย่างหนึ่งของการนมาซ จะว่าเป็นฟัรฎู หรือเป็นสุนัต แน่นอนเท่ากับผู้นั้นได้บัญญัติสิ่งใหม่ หรือสร้างอุตริกรรมขึ้นในศาสนา

ถ้าจะกล่าวว่า การพูดเช่นนี้ เป็นความผิดมหันต์ ก็ขอถามว่า จะว่าอย่างไรกับการที่อิมามมาลิกพูดถึงเรืองการกอดอกไว้ด้วยตัวของท่านเอง เพราะท่านเป็นคนหนึ่งที่ตั้งข้อรังเกียจอย่างสิ้นเชิงโดยไม่มีข้อแม้(مطلقاً) กับการกอดอก จะถูกต้องหรือไม่ ถ้าจะกล่าวหาอิมามแห่งดารุลฮิจเราะฮ์อย่างท่านมาลิก ด้วยถ้อยคำเดียวกับที่กล่าวหาชีอะฮ์อิมามียะฮ์

ข้อมูลทั้งหมดที่นำเสนอมานี้ ตั้งแต่ตอนแรกจนถึงตอนที่ ๔ ซึ่งเป็นตอนจบ ผมหวังเพียงให้เป็นกรณีศึกษา วิเคราะห์เชิงลึกในวิชาการที่สังคมของเรามีความเห็นขัดแย้งกันอยู่ และไม่ต้องการจะให้การเสนอข้อมูลทางวิชาการชิ้นนี้  เป็นเหตุให้เกิดความแตกแยกและร้าวฉานในสังคมระหว่างพี่น้องซุนนีกับชีอะฮ์ อิมามียะฮ์ แต่ประการใด

ด้วยความหวังจากความเมตตาของเอกองค์อัลลอฮ์ ผมเชื่อแน่ว่า พวกเราทั้งหลายจะอยู่ร่วมกันฉันท์พี่น้องที่สมัครสมาน กลมเกลียวกันอย่างราบรื่นยืนนานตลอดไป  


อ้างอิงจากเวบ

http://yomyai.igetweb.com/index.php?mo=3&art=346813
  •  

49 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้