Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

ธันวาคม 23, 2024, 12:27:46 ก่อนเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
  • สมาชิกทั้งหมด: 1,718
  • Latest: Haroldsmolo
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 3,703
  • หัวข้อทั้งหมด: 778
  • Online today: 102
  • Online ever: 200
  • (กันยายน 14, 2024, 01:02:03 ก่อนเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 59
Total: 59

หนึ่งวัน หนึ่งอายัต 5

เริ่มโดย L-umar, สิงหาคม 26, 2009, 09:53:52 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar


หนึ่งวัน หนึ่งอายัต 5


อัลเลาะฮ์  ญัลละ ญะลาล๊ะฮฺ ทรงตรัสว่า

وَالسَّابِقُونَ الْأَوَّلُونَ مِنَ الْمُهَاجِرِينَ وَالْأَنْصَارِ وَالَّذِينَ اتَّبَعُوهُمْ بِإِحْسَانٍ
رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمْ وَرَضُوا عَنْهُ وَأَعَدَّ لَهُمْ جَنَّاتٍ تَجْرِي تَحْتَهَا الْأَنْهَارُ خَالِدِينَ فِيهَا أَبَدًا ذَلِكَ الْفَوْزُ الْعَظِيمُ

อัสซาบิกูนัลเอาวะลูน ( กลุ่มคนรุ่นแรกที่เข้ารับอิสลาม ) จากชาวมุฮาญิรีน( ผู้อพยพจากมักกะฮฺ ) และจากชาวอันศ็อร ( ผู้ให้ความช่วยเหลือจากมะดีนะฮฺ )  และบรรดา(ตาบิอี)ผู้ดำเนินตามพวกเขาด้วยการทำดีนั้น  

อัลลอฮฺทรงพอพระทัยในพวกเขา และพวกเขาก็พอใจในพระองค์ด้วย  และพระองค์ทรงเตรียมไว้ให้พวกเขาแล้ว ซึ่งบรรดาสวนสวรรค์ที่มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านอยู่ทางเบื้องล่าง  พวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล นั่นคือชัยชนะอันยิ่งใหญ่

   

บทที่  9 : 100



อธิบายความหาย  :

เนื้อหาของอายะฮ์นี้มิใช่จะระบุว่า ใครก็ตามที่เคยได้ชื่อว่าเป็น

มุฮาญิรีน

อันศ็อร

ตาบิอีน


แล้วอัลลอฮฺจะทรงพอพระทัยต่อพวกเขาหมดทุกคน โดยที่หลังจากนั้นพระองค์จะไม่ทรงพิโรธต่อพวกเขาอีกไปตลอดกาล และส่งผลให้พวกเขาได้รับการอภัยและได้เข้าสวรรค์ ไม่ว่าเขาคนนั้นจะเป็นคนดีมีตักวา หรือเป็นคนชั่วคนฟาซิกภายหลังจากนั้นก็ตาม

ฮุก่ม(กฎ)ของอายะฮ์นี้ถูกจำกัดไว้กับอีหม่านและอามั้ลศอและห์เท่านั้น

หมายความว่า อัลลอฮฺ(ซบ.)นั้นจะทรงให้การยกย่องเฉพาะชาวมุฮาญิรีน ชาวอันศ็อรและบรรดาตาบิอี ที่มีอีหม่านอย่างแท้จริงและได้ประกอบอามั้ลศอและห์จวบจนวาระสุดท้ายของชีวิตเท่านั้น

หากชาวมุฮาญิรีน ชาวอันศ็อรหรือตาบิอีนคนใดก็ตาม ไม่สามารถรักษาอีหม่านของเขาไว้ได้ อีกทั้งมีอามั้ลที่ไม่ศอและห์ และก่อนสิ้นชีวิตก็ไม่ได้เตาบะฮ์สำนึกผิดในสิ่งที่เขาก่อเอาไว้

เพราะฉะนั้นคนประเภทนี้จะได้รับความพอพระทัยจากอัลลอฮฺได้อย่างไร  ?


แน่นอนอัลลอฮฺจะทรงพิโรธเขา ส่วนการให้อภัยเป็นสิทธิของพระองค์ หรือมิเช่นนั้นเขาก็จะต้องได้รับการลงโทษตามสิ่งที่ก่อไว้  
  •  

L-umar


โองการต่อมา อัลลอฮฺ ตะอาลาได้ตรัสถึงชาวเมืองมะดีนะฮ์และนอกเมืองมะดีนะฮ์ว่า มีส่วนหนึ่งเป็นพวก " มุนาฟิก "



وَمِمَّنْ حَوْلَكُمْ مِنَ الْأَعْرَابِ مُنَافِقُونَ وَمِنْ أَهْلِ الْمَدِينَةِ مَرَدُوا عَلَى النِّفَاقِ لَا تَعْلَمُهُمْ نَحْنُ نَعْلَمُهُمْ سَنُعَذِّبُهُمْ مَرَّتَيْنِ ثُمَّ يُرَدُّونَ إِلَى عَذَابٍ عَظِيمٍ

และส่วนหนึ่งจากผู้ที่อยู่รอบๆพวกท่าน ที่เป็นชาวอาหรับชนบทนั้นเป็นพวกมุนาฟิก(กลับกลอก)

และส่วนหนึ่งจากชาวมะดีนะฮ์ก็เป็นเช่นเดียวกัน  พวกเขาเหล่านั้นดื้อรั้นในการกลับกลอก

เจ้า(มุฮัมมัด)ไม่รู้จักธาตุแท้ของพวกเขาดอก เรา(อัลลอฮฺ)รู้จักพวกเขาดี

เราจะลงโทษพวกเขาสองครั้ง แล้วพวกเขาจะถูกนำกลับไปสู่การลงโทษอันยิ่งใหญ่ต่อไป



บทที่  9 : 101


อธิบายความหมาย :

อายะฮ์นี้ได้ระบุว่า  สังคมในเมืองมะดีนะฮ์และนอกเมืองนั้นมีคนส่วนหนึ่ง ที่ภายนอกแสแสร้งทำตัวเป็นมุสลิมแต่กลับซ่อนเร้นความกุโฟ้รเอาไว้ภายในใจ พวกเขาหาได้เป็นมุอ์มินที่แท้จริง  แม้แต่ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)เองก็ยังไม่รู้จักธาตุแท้ของคนพวกนี้ และอัลลอฮ์ตรัสว่า จะลงโทษคนพวกนี้สองครั้ง


ท่านจะคิดเห็นเช่นไร ที่มีคนจำพวกนี้ใช้ชีวิตอยู่รอบๆตัวท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ทั้งด้านขวาและซ้าย พวกเขาไปมาหาสู่ นั่งร่วมวงสนทนา กินดื่มกับท่านนบี(ศ) และได้รับฟังแก่นแท้ของอิสลามจากปากท่าน(ศ) แต่กลับทำตัวเป็นคนมุนาฟิกกลับกลอกปลิ้นปล้อนมิได้มีศรัทธาต่อท่านนบี(ศ)และอัลอิสลามเลยสักนิด  จนอัลลอฮฺต้องประทานโองการนี้ลงมา

เพราะฉะนั้นจะเป็นไปได้อย่างไรที่มีคนหยิบยกเอาซูเราะฮ์ที่ 9 อายะฮ์ที่ 100 มาอธิบายว่า บรรดาซอฮาบะฮ์ที่เป็นชาวมุฮาญิรีนและชาวอันศ็อร  รวมทั้งบรรดาตาบิอีนจะได้เข้าสวรรค์กันหมดทุกคนอย่างถ้วนหน้า ?

ซึ่งถือว่าเป็นการอธิบายที่ขัดกับโองการถัดมาคืออายะฮ์ที่ 101 ในซูเราะฮ์เดียวกัน  ขนาดคนที่ใช้ชีวิตใกล้ชิดกินดื่ม พูดคุยอยู่กับท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)เป็นประจำ ยังมีส่วนหนึ่งทำตัวมุนาฟิก

และรับประสาอะไรกับผู้คนในสมัยนั้นที่ไม่ได้อยู่ในเมืองมะดีนะฮ์อันเป็นแหล่งเพาะพันธุ์บ่มอีหม่านเช่น ที่เมืองมักกะฮฺ ที่เยเมน ในคาบสมุทรอาหรับหรือที่อันห่างไกลออกไปย่อมจะต้องมีบุคคลที่ทำตัวหลุดออกนอกกรอบอิสลามบ้างซึ่งถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาและกินกับสติปัญญาด้วย  
  •  

L-umar


หากซอฮาบะฮ์ในยุคนั้นได้เข้าสวรรค์กันหมดทุกคนจริง

ทำไม ? โองการถัดมา คืออายะฮ์ที่ 102 ในซูเราะฮ์เดียวกัน  อัลลอฮ์ตะอาลาได้เล่าถึงซอฮาบะฮ์ส่วนหนึ่งที่สารภาพต่อความผิดต่างๆที่พวกเขาก่อไว้



อัลเลาะฮ์  ญัลละ ญะลาล๊ะฮฺ ทรงตรัสว่า


وَآَخَرُونَ اعْتَرَفُوا بِذُنُوبِهِمْ خَلَطُوا عَمَلًا صَالِحًا وَآَخَرَ سَيِّئًا عَسَى اللَّهُ أَنْ يَتُوبَ عَلَيْهِمْ إِنَّ اللَّهَ غَفُورٌ رَحِيمٌ

และมีชนกลุ่มอื่นที่สารภาพต่อความผิดต่างๆของพวกเขา โดยที่พวกเขาทำอามั้ลศอและห์ปะปนไปกับอามั้ลชั่ว  

หวังว่าอัลลอฮฺจะทรงอภัยโทษให้แก่พวกเขา

แท้จริงอัลลอฮฺนั้นคือ ผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ



บทที่  9 : 102


อธิบายความหมาย :


1.   โองการนี้ระบุว่ามีซอฮาบะฮ์กลุ่มหนึ่งทำความผิด

2.   ความผิดที่พวกเขาก่อไว้ มิใช่หนึ่งกระทง แต่มีมากมาย เพราะในอายะฮ์นี้อัลลอฮ์ใช้คำว่า ซุนู๊บ – ذُنُوْبٌ เป็นพหูพจน์ของซัมบุน - ذَنْبٌ แปลว่า الإِثْمُ والمَعْصِيَةُ คือบาปหรือการทรยศฝ่าฝืน

3.   พวกเขาได้สารภาพต่อความผิดต่างๆที่ได้กระทำลงไป

4.   อายะฮ์ยังกล่าวว่า พวกเขาได้ทำอามั้ลศอและห์ผสมปะปนไปกับอามั้ลชั่ว นั่นย่อมแสดงว่า ซอฮาบะฮ์เหล่านั้นมีสภาพเหมือนมุสลิมทั่วไป ที่บ้างครั้งทำดี และในบางครั้งก็ทำบาปคละเคล้ากันไป ซึ่งเป็นเรื่องปกติของมนุษย์  แต่สิ่งที่ไม่ปกติก็คือ ซอฮาบะฮ์อยู่ในสมัยนบี(ศ)  

5.   หวังว่าอัลลอฮฺจะทรงอภัยโทษ หากพวกเขาบางส่วนอื่นจากนี้ ที่ได้กระทำความผิดไว้และได้เตาบัตตัวก่อนเสียชีวิต



เมื่อท่านได้อ่านสามโองการดังกล่าว คงเข้าใจดีว่า  

ไม้บรรทัดที่ใช้วัดคนคือ อีหม่านและอามั้ลศอและห์

มนุษย์จะได้เข้าสววรค์ของอัลลอฮฺ ก็ต่อเมื่อเขาเป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริงและได้ประกอบอามั้ลศอและห์เอาไว้

เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็น  อะฮ์ลุลบัยต์นบี  ภรรยานบี  ซอฮาบะฮ์  ตาบิอีน  ตาบิ๊อฺ-ตาบิอีน หรือแม้แต่มุสลิมคนใดก็ตาม

หากใครสามารถรักษามาตรฐานทั้งสอง ( คืออีหม่าน + อามั้ลศอและห์ ) เอาไว้ได้จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต เขาผู้นั้นก็คือ ชาวสวรรค์


นี่คือหลักการของอัลลอฮ์ (ซบ.)ที่ทรงวางเอาไว้  แต่เราจะเห็นพวกวาฮาบีที่มีความคลั่งใคล้ต่อบรรดาซอฮาบะฮ์จนเกินขอบเขตความเป็นจริง พวกเขาได้มอบตำแหน่ง" มะอ์ซูม " ให้กับบรรดาซอฮาบะฮ์ทุกคน  โดยพวกเขาได้สร้างอะกีดะฮ์ตะอัซซุบว่า

ซอฮาบะฮ์จะได้เข้าสวรรค์ หมดทุกคน



ซึ่งอะกีดะฮ์นี้ถือว่าค้านกับคัมภีร์อัลกุรอ่าน  และนั่นคือดีนของวาฮาบี


อัลเลาะฮ์  ญัลละ ญะลาล๊ะฮฺ ทรงตรัสว่า

لَا تَغْلُوا فِي دِينِكُمْ

สูเจ้าจงอย่ามีความฆูล๊าตในดีน(ศาสนา)ของพวกเจ้า


บทที่  4 : 171


จึงนับได้วาฮาบีเป็นพวกที่มีความฆูล๊าตในดีนชนิดที่เรียกว่า الغلو : مجاوزة الحد    คือเชื่อเกินเลยขอบเขตที่อัลลอฮ์ทรงวางเอาไว้นั่นเอง.

 
  •  

L-umar


อัสบาบุลนุซูลของบทที่  9 : 100


ใครคือ อัสซาบิกูน (คนรุ่นแรกที่เข้ารับอิสลาม) ?


เรากลับมาที่โองการ  อัส – ซาบิกูน กันอีกครั้ง  


وَالسَّابِقُونَ الْأَوَّلُونَ مِنَ الْمُهَاجِرِينَ وَالْأَنْصَارِ وَالَّذِينَ اتَّبَعُوهُمْ بِإِحْسَانٍ
رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمْ وَرَضُوا عَنْهُ وَأَعَدَّ لَهُمْ جَنَّاتٍ تَجْرِي تَحْتَهَا الْأَنْهَارُ خَالِدِينَ فِيهَا أَبَدًا ذَلِكَ الْفَوْزُ الْعَظِيمُ

อัสซาบิกูนัลเอาวะลูน ( กลุ่มคนรุ่นแรกที่เข้ารับอิสลาม ) จากชาวมุฮาญิรีน( ผู้อพยพจากมักกะฮฺ ) และจากชาวอันศ็อร ( ผู้ให้ความช่วยเหลือจากมะดีนะฮฺ )  และบรรดาผู้ดำเนินตามพวกเขาด้วยการทำดีนั้น  อัลลอฮฺทรงพอพระทัยในพวกเขา และพวกเขาก็พอใจในพระองค์ด้วย  และพระองค์ทรงเตรียมไว้ให้พวกเขาแล้ว ซึ่งบรรดาสวนสวรรค์ที่มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านอยู่ทางเบื้องล่าง  พวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล นั่นคือชัยชนะอันยิ่งใหญ่   

บทที่  9 : 100


สิ่งที่ต้องศึกษาคือ :

โองการนี้อัลลอฮฺ(ซบ.)ทรงประทานให้ซอฮาบะฮ์คนใดหรือกลุ่มใดเป็นการเฉพาะ

และอัสซาบิกูนที่แท้จริง คือใคร ?
  •  

L-umar


คัมภีร์อัลกุรอ่านย่อมจะให้คำอธิบายซึ่งกันและกันอยู่แล้ว  ดังนั้นขอให้ท่านมาดูโองการนี้


وَالسَّابِقُونَ السَّابِقُونَ    أُولَئِكَ الْمُقَرَّبُونَ

และกลุ่มอัสซาบิกูนคือชนรุ่นแรก (ที่เข้ารับอิสลาม) เขาเหล่านั้นคือบรรดาผู้ใกล้ชิด  

 

บทที่ 56 : 10-11   



สาเหตุการประทานโองการ (อัสบาบุลนุซูล )


รายงานจากนักวิชาการฝ่ายอะฮ์ลุสสุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์


ญะลาลุดดีน อัสสิยูตี รายงาน


وأخرج ابن مردويه عن ابن عباس في قوله : { والسابقون السابقون } قال : نزلت في حزقيل مؤمن آل فرعون ، وحبيب النجار الذي ذكر في يس ، وعلي بن أبي طالب ، وكل رجل منهم سابق أمته ، وعليّ أفضلهم سبقاً .
الدر المنثور - (ج 9 / ص 382

อิบนุมุรดะวัยฮฺนำออกรายงาน จากท่านอิบนิอับบาส ในพระดำรัสของพระองค์ ( อัสซาบิกูนัส – ซาบิกูน ) เขากล่าวว่า  โองการนี้ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับ
ท่านหัซกีล ผู้ศรัทธาแห่งอาลิฟิรอูน  ,
ท่านหะบีบ ช่างไม้ที่กล่าวไว้ในซูเราะฮ์ยาซีน และ
ท่านอะลี บินอบีตอลิบ ทั้งหมดทุกคนคือผู้คนรุ่นแรก(ที่มีศรัทธา)แห่งประชาชาติของเขา
และอะลีนั้นล้ำหน้ามากที่สุดของพวกเขาในเรื่องความศรัทธา

ตัฟสีรอัด-ดุรรุลมันษูร โดยสิยูตี เล่ม 9 : 382 บทที่ 56 : 10


อัลอะลูซี รายงานوأخرج ابن مردويه عن ابن عباس قال : نزلت في حزقيل مؤمن آل فرعون . وحبيب النجار الذي ذكر في يس . وعليّ بن أبي طالب كرم الله تعالى وجهه وكل رجل منهم سابق أمته وعليّ أفضلهم ،
تفسير الألوسي - (ج 20 / ص 203

อิบนุมุรดะวัยฮฺนำออกรายงาน จากท่านอิบนิอับบาสกล่าวว่า  โองการ(บทที่ 56 : 10)นี้ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับ
ท่านหัซกีล ผู้ศรัทธาแห่งอาลิฟิรอูน  ,
ท่านหะบีบ ช่างไม้ที่กล่าวไว้ในซูเราะฮ์ยาซีน และ
ท่านอะลี บินอบีตอลิบ ทั้งหมดทุกคนคือผู้คนรุ่นแรก(ที่มีศรัทธา)แห่งประชาชาติของเขา
และอะลีนั้นล้ำหน้ามากที่สุดของพวกเขาในเรื่องความศรัทธา

ตัฟสีรอัลอะลูซี  เล่ม 20 : 203 บทที่ 56 : 10


อับฮักกี กล่าวว่า

سباق الامم ثلاثة لم يكفروا بالله طرفة عين حزقيل مؤمن آل فرعون وحبيب النجار صاحب يس وعلى بن ابى طالب كرم الله وجهه وهو رضى الله عنه افضلهم
تفسير حقي - (ج 12 / ص 381

บรรดาผู้ล้ำหน้ารุ่นแรกๆแห่งประชาชาติทั้งหลาย มีสามคน พวกเขาไม่เคยปฏิเสธความศรัทธาต่ออัลลอฮฺแม้ชั่วกระพริบตาเลยคือ 1,ท่านหัซกีล ผู้ศรัทธาแห่งอาลิฟิรอูน  2, ท่านหะบีบ ช่างไม้ที่กล่าวไว้ในซูเราะฮ์ยาซีน และ3,ท่านอะลี บินอบีตอลิบ ทั้งหมดทุกคนคือผู้คนรุ่นแรก(ที่มีศรัทธา)แห่งประชาชาติของเขาและอะลีนั้นล้ำหน้ามากที่สุดของพวกเขาในเรื่องความศรัทธา

ตัฟสีรอัลฮักกี  เล่ม 12 : 381 บทที่ 56 : 10


มุฮัมมัดอะลี อัชเชากานี บันทึกว่า

وأخرج ابن أبي حاتم ، وابن مردويه عنه أيضاً في قوله : { والسابقون السابقون } قال : يوشع بن نون سبق إلى موسى ، ومؤمن آل ياسين سبق إلى عيسى ، وعليّ بن أبي طالب سبق إلى رسول الله صلى الله عليه وسلم .

 อิบนิอบีหาติมและอิบนุมุรดะวัยฮฺนำออกรายงาน จากเขา(ทอิบนิอับบาส)  ในโองการ(อัสซาบิกูนัสซาบิกูน)เขากล่าวว่า ยูช๊ะฮฺบินนูนคือคนแรกที่ศรัทธาต่อนบีมูซา , มุอ์มินแห่งอาลิยาซีนคือคนแรกที่ศรัทธาต่อนบีอีซา และอะลีบินอบีตอลิบคือคนแรกที่ศรัทธาต่อท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)

وأخرج ابن مردويه عنه أيضاً في الآية قال : نزلت في حزقيل مؤمن آل فرعون؛ وحبيب النجار الذي ذكر في يس ، وعليّ بن أبي طالب ، وكل رجل منهم سابق أمته ، وعليّ أفضلهم سبقاً .

อิบนุมุรดะวัยฮฺนำออกรายงาน จากท่านอิบนิอับบาสกล่าวว่า  โองการ(บทที่ 56 : 10)นี้ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับท่านหัซกีล ผู้ศรัทธาแห่งอาลิฟิรอูน  , ท่านหะบีบ ช่างไม้ที่กล่าวไว้ในซูเราะฮ์ยาซีน และท่านอะลี บินอบีตอลิบ ทั้งหมดทุกคนคือผู้คนรุ่นแรก(ที่มีศรัทธา)แห่งประชาชาติของเขาและอะลีนั้นล้ำหน้ามากที่สุดของพวกเขาในเรื่องความศรัทธา

ตัฟสีรฟัตฮุลเกาะดีร  เล่ม 7 : 125 บทที่ 56 : 10


อิบนุหะญัร อัลฮัยษะมี กล่าวว่า

الحديث 29 :  أخرج الديلمي أيضا عن عائشة والطبراني وابن مردويه عن ابن عباس أن النبي قال السبق ثلاثة فالسابق إلى موسى يوشع بن نون والسابق إلى عيسى صاحب يس والسابق إلى محمد علي بن أبي طالب
الصواعق المحرقة - (ج 2 / ص 364

หะดีษที่ 29 : อัดดัยละมีนำออกรายงานเช่นกัน จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ และอัฏฏ็อบรอนีกับอินิมุรดะวัยฮฺรายงานจากท่านอิบนิอับบาสว่า แท้จริงท่านนบี(ศ)กล่าวว่า ผู้ลำหน้าสุดมีสามคนคือ ผู้ที่ลำหน้า(มีอีหม่าน)ต่อนบีมูซา คือยูช๊ะอ์บินนูน
ผู้ที่ลำหน้า(มีอีหม่าน)ต่อนบีอีซา คือซอฮิบยาซีน(หมายถึงหะบีบนัจญาร)และ
ผู้ที่ลำหน้า(มีอีหม่าน)ต่อนบีมุฮัมมัด คืออะลี บินอบีตอลิบ

อัศ เศาะวาอิกุลมุหฺริเกาะฮ์ เล่ม 2 : 364  


อัลก็อนดูซี อัลฮะนะฟี กล่าวว่า

أخرج الديلمي عن عائشة، والطبراني وابن مردويه عن ابن عباس: إن النبي صلى الله عليه وآله وسلم قال: السابقون  ثلاثة: فالسابق الى موسى يوشع بن نون، والسابق الى عيسى صاحب يس، والسابق الى محمد علي بن أبي طالب.
ينابيع المودة لذوي القربى - (ج 2 / ص 382

อัดดัยละมีนำออกรายงานเช่นกัน จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ และอัฏฏ็อบรอนีกับอินิมุรดะวัยฮฺรายงานจากท่านอิบนิอับบาสว่า แท้จริงท่านนบี(ศ)กล่าวว่า ผู้ลำหน้าสุดมีสามคนคือ ผู้ที่ลำหน้า(มีอีหม่าน)ต่อนบีมูซา คือยูช๊ะอ์บินนูน
ผู้ที่ลำหน้า(มีอีหม่าน)ต่อนบีอีซา คือซอฮิบยาซีน(หมายถึงหะบีบนัจญาร)และ
ผู้ที่ลำหน้า(มีอีหม่าน)ต่อนบีมุฮัมมัด คืออะลี บินอบีตอลิบ

ยะนาบุอุลมะวัดดะฮฺ เล่ม 2 : 382


อัลมุตกีฮินดีรายงาน

السبق ثلاثة : فالسابق إلى موسى يوشع بن نون والسابق إلى عيسى يس والسابق إلى محمد علي بن أبي طالب  ( طب وابن مردويه - عن ابن عباس )

(ท่านนบี ศ.กล่าวว่า )ผู้ลำหน้าสุดมีสามคนคือ ผู้ที่ลำหน้า(มีอีหม่าน)ต่อนบีมูซา คือยูช๊ะอ์บินนูน
ผู้ที่ลำหน้า(มีอีหม่าน)ต่อนบีอีซา คือซอฮิบยาซีน(หมายถึงหะบีบนัจญาร)และ
ผู้ที่ลำหน้า(มีอีหม่าน)ต่อนบีมุฮัมมัด คืออะลี บินอบีตอลิบ
อิบนิมุรดะวัยฮฺ ได้รายงานจากท่านอิบนุอับบาส

กันซุลอุมม้าล เล่ม 11 : 891  หะดีษที่ 32896
 

ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องที่ท่านอะลีคือชายคนแรกที่เข้ารับอิสลาม และมีคนเข้ารับอิสลามราวห้าสิบคนก่อนท่านอบูบักร ได้ที่กระทู้นี้

http://www.q4sunni.com/believe/index.php?option=com_kunena&Itemid=71&func=view&catid=2&id=812


ทำไมท่านอบูบักร ท่านอุมัรและท่านอุษมานจึงไม่ใช่ อัสซาบิกูน อัลเอาวะลูน ?

เพราะ อัสซาบิกูน อัลเอาวะลูน คือพวกมุฮาญิรีน(ผู้อพยพ)ชุดแรกที่อพยพไปอยู่กับท่านนบีมุฮัมมัด ตอนที่ท่าน(ศ)กับบนีฮาชิมถูกพวกมุชริกแห่งมักกะฮ์ปิดล้อมพวกเขาไว้ที่หุบเขาอบูตอลิบเป็นเวลา4 ปี

ซึ่งเป็นเรื่องที่ทราบกันดีว่า ในตอนนั้นท่านอบูบักรกับท่านอุมัรมิได้อยู่ร่วมกับท่านนบี(ศ)ในสถานที่แห่งนั้น
  •  

L-umar



เชคศอดูกรายงาน


حَدَّثَنَا أَبِي ، و مُحَمَّدُ بْنُ الْحَسَنِ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمَا قَالاَ: حدثنا سَعْدُ بْنُ عبدالله قال: حدثنا يَعْقُوبُ بْنُ يزيد، عن حَمَّادِ بْنِ عِيسَى ، عَنْ عُمَرَ بْنِ اذينة،(ثقة) عَنْ أَبَانَ بْنِ أَبِي عَيَّاشٍ ، عَنْ سُلَيْمِ بْنِ قَيْسٍ الْهِلَالِيِّ قَالَ :

จากบิดาฉันได้เล่าให้ฟัง  และมุฮัมมัด บินอัลฮาซัน (รฎ.)ทั้งสองได้กล่าว่า  สะอัดบินอับดุลลอฮฺได้เล่าให้เราฟัง เขากล่าวว่า ยะอ์กูบ บินยะซีดได้เล่าให้เราฟัง หัมมาด บินอีซาได้เล่าให้เราฟัง จากอุมัร บินอัลอุซัยนะฮฺ จากอะบาน บินอบีอัยย๊าช จากสุลัยมฺ บินก๊อยสฺ อัลฮิลาลี เล่าว่า
 
رَأَيْتُ عَلِيًّا عليه السلام فِي مَسْجِدِ رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وآله فِي خِلَافَةِ عُثْمَانَ

ฉันได้เห็นท่านอะลี (อ) อยู่ในมัสญิดท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ) ในยุคการปกครองของท่านอุษมาน

وَجَمَاعَةٌ يَتَحَدَّثُونَ وَ يَتَذَاكَرُونَ الْعِلْمَ وَالْفِقْهَ

และมีคนกลุ่มหนึ่ง พวกเขากำลังสนทนาและทบทวนวิชาความรู้และเรื่องฟิกฮฺ

فَذَكَرْ نَا قُرَيْشًا وَشَرَفَهَا وَفَضْلَهَا وَسَوَابِقَهَا وَهِجْرَتَهَا وَمَاقَالَ فِيْهَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وآله مِنْ الْفَضْلِ مِثْلَ قَوْلِهِ \\\" الْأَئِمَّةُ مِنْ قُرَيْشٍ \\\" وَ...

แล้วพวกเราได้กล่าวถึงชนเผ่ากุเรช ถึงเกียรติ ความประเสริฐ การลำหน้าทางด้านอีหม่านและการอพยพของชนเผ่านี้ และสิ่งที่ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวไว้ถึงชนเผ่านี้เกี่ยวกับความประเสริฐ เช่นท่านกล่าวว่า  ผู้นำต้องมาจากเผ่ากุเรช .... (หะดีษยาวมากขอตัดมาที่วรรคต่อไปนี้ )

ثُمَّ قَالَ ( عَلِيٌّ ) : أَنْشُدُكُمْ اللَّهَ أَتَعْلَمُونَ إِنَّ اللَّهَ عزوجل فَضَّلَ فِي كِتاَبِهِ السَّابِقَ عَلَى الْمَسْبُوْقِ فِي غَيْرِ آيَةٍ

ต่อจากนั้นท่านอะลีได้กล่าว ( กับซอฮาบะฮ์ที่เป็นชาวมุฮาญิรีน ชาวอันศ็อรที่อยู่ในมัสญิด ) ว่า  : ฉันขอให้พวกท่านสาบานกับอัลลอฮฺได้ไหมว่า  พวกท่านทราบดีใช่ไหมว่า แท้จริงอัลลอฮฺ อัซซะวะญัลได้ให้การยกย่องซาบิก(ผู้ที่เข้ารับอิสลามรุ่นแรกๆ)เหนือมัสบู๊ก(ผู้ที่เข้ารับอิสลามรุ่นหลังๆ) ไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ อื่นจากอายะฮ์ (คือมีมากกว่าหนึ่งอายะฮ์)

وَإِنِّىْ لَمْ يَسْبِقْنِيْ إِلَى اللهِ عزوجل وَإِلَى رَسُوْلِهِ صلى الله عليه وآله أَحَدٌ مِنْ هَذِهِ الْاُمَّةِ ؟

แท้จริงฉัน(อะลี) ไม่เคยมีผู้ใดจากประชาชาตินี้ที่(มีศรัทธา)ต่ออัลลอฮฺอัซซะวะญัล และรอซูลของพระองค์(ศ)ก่อนหน้าฉัน

قَالُوا : اللَّهُمَّ نَعَمْ.

พวกเขาทั้งหลายกล่าวว่า   : โอ้อัลลอฮ์  ใช่แล้ว

قَالَ : أَنْشُدُكُمْ اللَّهَ أَتَعْلَمُونَ حَيْثُ نَزَلَتْ \\\" وَالسَّابِقُونَ الْأَوَّلُونَ مِنَ الْمُهَاجِرِينَ وَالْأَنْصَارِ \\\"

ท่านอะลีได้กล่าวว่า : ฉันขอให้พวกท่านสาบานกับอัลลอฮฺได้ไหมว่า  พวกท่านทราบดีใช่ไหมว่า  ตามที่มีโองการได้ประทานลงมาว่า

อัสซาบิกูนัลเอาวะลูน ( กลุ่มคนรุ่นแรกที่เข้ารับอิสลาม ) จากชาวมุฮาญิรีน( ผู้อพยพจากมักกะฮฺ ) และจากชาวอันศ็อร ( ผู้ให้ความช่วยเหลือจากมะดีนะฮฺ )  


บทที่  9 : 100

และอายะฮ์

وَ \\\" وَالسَّابِقُونَ السَّابِقُونَ  أُولَئِكَ الْمُقَرَّبُونَ \\\"

และกลุ่มอัสซาบิกูนคือชนรุ่นแรก (ที่เข้ารับอิสลาม) เขาเหล่านั้นคือบรรดาผู้ใกล้ชิด  

บทที่ 56 : 10-11
   

سُئِلَ عَنْهَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وآله وَسَلَّمَ فَقَالَ :

ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้ถูกถามถึง(ความหมาย)ของโองการนี้  แล้วท่านจึงกล่าวว่า :

\\\" أَنْزَلَهَا اللَّهُ تَعَالَى فِي الْأَنْبِيَاءِ وَأَوْصِيَائِهِمْ، فَأَنَا أَفْضَلُ أَنبِياَءِ الله وَرُسُلِهِ وَعَلِيُّ بْنُ أَبِي طَالِبٍ وَصِيِّيْ أَفْضَلُ الْاَوْصِيَاءِ \\\" ؟
อัลลอฮฺ ตะอาลาทรงประทานโองการนี้ลงมาเกี่ยวกับบรรดานบีและบรรดาวะซีของพวกเขา  ดังนั้นฉัน(รอซูล)คือผู้ประเสริฐสุดในบรรดานบีของอัลลอฮ์และบรรดารอซูลของพระองค์  ส่วนอะลี บินอบีตอลิบนั้นคือ วะซี (ผู้สืบทอดเจตนารมณ์)ของฉัน ที่ประเสริฐสุดกว่าบรรดาวะซีทั้งหลาย

قَالُوا : اللَّهُمَّ نَعَمْ.

พวกเขาทั้งหลายกล่าวว่า   :  โอ้อัลลอฮ์  ใช่แล้ว


อ้างอิงจากหนังสือ

กะมาลุดดีน วะตะมามุน-นิ๊อมะฮฺ  โดยเชคศอดูก เล่ม 42 : 26 หะดีษที่ 25


ฟะรออิดุซ- สัมต็อยนฺ  โดยอัลฮาฟิซ หะมูวัยนี เล่ม 1 : 312
  •  

L-umar


ประวัติศาสตร์อิสลามบันทึกว่า   ชาวมุฮาญิรีนกลุ่มแรก    ที่เข้ารับอิสลาม มีรายชื่อดังต่อไปนี้


1.   ท่านหญิงคอดียะฮฺ  ภรรยาของท่านรอซูล(ศ)
2.   ท่านอะลี บินอบีตอลิบ
3.   ท่านอบูตอลิบ
4.   ท่านฮัมซะฮฺ
5.   ท่านญะอ์ฟัร
6.   ท่านอบูษัร
7.   ท่านมิกด๊าด
8.   ท่านซัลมาน
9.   ท่านอัมมาร
10.   เซด บินหาริษะฮฺ
11.   ค็อบบ๊าบ บินอัลอะรอตติ



ชาวมุฮาญิรีนอัลเอาวะลีนนั้น จึงมีเพียงไม่กี่คนดังรายชื่อข้างต้น


ถ้านับจากวันที่ท่านนบี(ศ)ประกาศอิสลาม ซึ่งเรียกว่า อัลบิ๊อฺษะฮฺ

ท่านอะลี คือ อัส-ซาบิกูนัลเอาวะลูน อย่างแท้จริง

ท่านนบี(ศ)ได้อิสรอและขึ้นมิ๊อฺรอจญ์หลังบิ๊อฺษะฮ์ในปีที่ 2 ก่อนที่จะมีผู้คนเข้ารับอิสลาม  40 คน    

ท่านอบูบักร เข้ารับอิสลามหลังบิ๊อฺษะฮฺประมาณปีที่ 5

ท่านอุมัร  เข้ารับอิสลามหลังบิ๊อฺษะฮ์ประมาณปีที่ 6  

ดังนั้นท่านทั้งสองจึงไม่ได้เป็นบุคคลที่จัดอยู่ในอายะฮ์ " อัส-ซาบิกูนัลเอาวะลูน "  



เชคเศาะฟียุลเราะหฺมาน อัลมุบารอกเฟารี มรณะปีฮ.ศ. 1427 ได้กล่าวไว้ในหนังสืออันโด่งดังของเขาว่า


جَمْعٌ عُرِفوا في التاريخ الإسلامى بالسابقين الأولين،

มีคนส่วนหนึ่งอันเป็นที่ทราบกันดีในประวัติศาสตร์อิสลามด้วยนาม  " อัสซาบิกูนัลเอาวะลูน "

وفي مقدمتهم زوجة النبي صلى الله عليه وسلم أم المؤمنين خديجة بنت خويلد، ومولاه زيد بن حارثة بن شراحيل الكلبي وابن عمه علي بن أبي طالب ـ وكان صبيًا يعيش في كفالة الرسول صلى الله عليه وسلم ـ

และในคนรุ่นแรกของพวกเขาคือ ภรรยาท่านนบี(ศ) อุมมุลมุอฺมินีน คอดียะฮ์ บินติคุวัยลิด และคนรับใช้ของท่านคือ เซดบินหาริษะฮฺ บินชะรอฮีลอัลกัลบี และบุตรของลุงของท่านคือ อะลี บินอบีตอลิบ และเขายังเป็นเด็กใช้ชีวิตอยู่ในการอุปการะของท่านรอซูล(ศ)

وصديقه الحميم أبو بكر الصديق . أسلم هؤلاء في أول يوم الدعوة .

และสหายของท่านคือ อบูบักร อัศซิดดี๊ก พวกเขาเหล่านี้ได้เข้ารับอิสลามในช่วงแรกของวันที่ประกาศเชิญชวน
 
كتاب : الرحيق المختوم لصفي الرحمن المباركفوري   ج 1 / ص 56


อ้างอิงจากหนังสือ  เราะฮีกุม มัคตูม โดยเศาะฟียุลเราะหฺมาน อัลมุบารอกเฟารี  เล่ม 1 : 56


หมายเหตุ

หนังสือเราะฮีกุมมัคตูมคือหนังสือชีวประวัติของท่านนบี(ศ)ที่ได้ด้ถูกส่งไปประกวดแข่งขันในปีฮ.ศ.1396  และทางองค์กรรอบิเฏาะฮ์ อัลอาละมุลอิสลามีได้คัดเลือกให้เป็นหนังสือที่ได้รับรางวัลที่หนึ่ง


วิเคราะห์

1.   ผู้เขียนยอมรับว่า ท่านอะลีคือ อัสซาบิกูนัลเอาวะลูน

2.   ผู้เขียนได้บิดเบือนข้อมูลว่า ท่านอะลีเข้ารับอิสลามตอนเป็นเด็ก ทั้งๆที่มีหะดีษรายงานว่า เขาเข้ารับอิสลามตอนอายุ 16 ปี

3.   ผู้เขียนยังได้บิดเบือนว่า ท่านอบูบักรคือหนึ่งจาก อัสซาบิกูนัลเอาวะลูน ทั้งๆที่ตามจริงไม่ใช่ เนื่องอิบนุญะรีรได้รายงานไว้ในตารีคฏ็อบรีว่า มีคนเข้ารับอิสลามราว 50 คน ก่อนท่านอบูบักรเข้ารับอิสลาม


บทสรุปสำหรับอายะฮ์ " อัสซาบิกูนัลเอาวะลูน "  คือ


ถ้าต้องการตีความหมายแบบ " อุมูม "  ไปยังบรรดาซอฮาบะฮ์ บรรทัดฐานหลักที่กล่าวไว้แต่ต้นคือ  ซอฮาบะฮ์คนนั้นต้องรักษาอีหม่านและมีอามั้ลศอและห์จวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต


ถ้าต้องการความหมายแบบ " คุศู๊ศ "    ไปยังซอฮาบะฮ์ที่สมควรได้รับสมญานามว่า " อัสซาบิกูนัลเอาวะลูน "  ก็เห็นจะมีซอฮาบะฮ์สิบกว่าคนดังที่ได้กล่าวรายชื่อของพวกเขาไปแล้วนั่นเอง


เพราะฉะนั้นโองการ " อัสซาบิกูนัลเอาวะลูน "  จึงไม่ใช่อายะฮ์ที่จะเอามาอ้างว่าหมายถึงซอฮาบะฮ์ทั้งหมดทุกคนที่จะได้เข้าสู่สวรรค์ของอัลลอฮ์ อย่างที่พวกวาฮาบีฆูล๊าตเข้าใจตามความตะอัซซุบที่เกินเลยในดีนของพวกเขานั่นเอง.
  •  

59 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้