Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

เมษายน 27, 2024, 02:28:43 หลังเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 2,625
  • หัวข้อทั้งหมด: 650
  • Online today: 103
  • Online ever: 153
  • (เมษายน 26, 2024, 05:40:09 ก่อนเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 62
Total: 62

ทีมา ฟุรูอุดดีนทั้ง 10 ?

เริ่มโดย L-umar, กรกฎาคม 03, 2009, 11:46:19 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar





อีกจุดอ่อนหนึ่งที่ชีอะฮ์โดยส่วนมากไม่ค่อยรู้ที่มาที่ไปของตัวเอง  เลยต้องโดนพี่น้องซุนนี่เขาหยิบเอามาเป็นเป็นคำถามโจมตีกันอยู่ทุกวัน  และชีอะฮ์เองก็ไม่เคยคิดแก้ไข หรือแสวงหาคำตอบที่สร้างความเข้าใจให้กับฝ่ายซุนนี่ นั่นก็คือ



เมื่อซุนนี่ถามว่า   ฟุรูอุดดีนชีอะฮ์(หลักปฏิบัต) มีกี่ประการ  ?  


คำตอบคือ  10  ประการ

1صلاة 2 صوم 3 خمس 4 زكاة 5 جهاد 6 حج 7 امربالمعروف 8 نهي عن المنكر 9 تولي 10 تبري


1.   นมาซ
2.   เศาม์
3.   คุมส์
4.   ซะกาต
5.   ญิฮาด
6.   ฮัจญ์
7.   อัมรุบิลมะอ์รูฟ
8.   นะฮ์ยุอะนิลมุนกัร
9.   ตะวัลลา (วิลาะยะฮ์)
10.   ตะบัรรออ์ (บะรออะฮ์)



เมื่อฝ่ายซุนนี่ถามต่อว่า  มีที่มาอย่างไร แล้วใครคือคนกำหนด ?    คำตอบคือ ...เงียบ.


บางคนก็พยายามไปค้นหาอายัตกุรอ่านมาสิบอายัตที่กล่าวเกี่ยวหลักปฏิบัติทั้งสิบนี้  ซึ่งถือว่าเป็นการตอบที่ยังไม่ตรงประเด็นคำถาม      

ในทางตรงกันข้ามหากชีอะฮ์นำคำถามเดียวกันนี้ถามกับฝ่ายว่าอะฮ์ลุสสุนนะฮ์  พวกเขาก็สามารถยกหะดีษมาตอบได้ทันที




หะดีษฟุรูอุดดีนของซุนนี่  
 
قَالَ رَسُولُ اللَّهِ(ص) : بُنِىَ الإِسْلاَمُ عَلَى خَمْسٍ شَهَادَةِ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللَّهُ وَأَنَّ مُحَمَّدًا رَسُولُ اللَّهِ ، وَإِقَامِ الصَّلاَةِ ، وَإِيتَاءِ الزَّكَاةِ ، وَالْحَجِّ ، وَصَوْمِ رَمَضَانَ    


ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า :

อัลอิสลามตั้งอยู่บนรากฐาน 5  ประการคือ
 
1.   การปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์และมุฮัมมัดคือรอซูลุลลอฮ์

2.   ดำรงนมาซ

3.   จ่ายซะกาต

4.   ทำฮัจญ์และ

5.   ถือศีลอดเดือนรอมฎอน    



อ้างอิงจากหนังสือ เศาะหิ๊หฺมุสลิม  หะดีษที่ 8    




หะดีษฟุรูอุดดีนของชีอะฮ์  


عَنْ فُضَيْلِ بْنِ يَسَارٍ عَنْ أَبِي جَعْفَرٍ ع قَالَ بُنِيَ الْإِسْلَامُ عَلَى خَمْسٍ عَلَى الصَّلَاةِ وَ الزَّكَاةِ وَ الصَّوْمِ وَ الْحَجِّ وَ الْوَلَايَةِ وَ لَمْ يُنَادَ بِشَيْ‏ءٍ كَمَا نُودِيَ بِالْوَلَايَةِ فَأَخَذَ النَّاسُ بِأَرْبَعٍ وَ تَرَكُوا هَذِهِ يَعْنِي الْوَلَايَةَ
الكافي ج : 2  ص :  18  بَابُ دَعَائِمِ الْإِسْلَامِ  مركز تحقيقات كامپيوترى علوم اسلامى قم ايران‏

ฟุเฎล บินยะซ้ารรายงาน :


ท่านอบูญะอ์ฟัร มุฮัมมัดอัลบาเก็ร อิม่ามที่ 5 กล่าวว่า :  


อัลอิสลามตั้งอยู่บนรากฐานห้าประการคือ
 
1.   การนมาซ

2.   จ่ายซะกาต

3.   ถือศีลอด

4.   ทำฮัจญ์ และ

5.   อัลวิลายะฮ์  


ไม่มีสิ่งใดถูกถามเหมือนเรื่องอัลวิลายะฮ์ที่ถูกถามถึง  เพราะประชาชนรับเอาไป(ปฏิบัติเพียง)สี่ประการและพวกเขาละทิ้งสิ่งนี้คือ อัลวิลายะฮ์



สถานะฮะดีษ  :  เศาะหิ๊หฺ
ดูอัลกาฟี  เล่ม 2 : 18 ฮะดีษที่ 3
ตรวจทานโดยมัรกะซุล บุฮูซ คอมพิวเตอร์ ลิลอุลูมิลอิสลามียะฮ์ เมืองกุม อิหร่าน

 
  วิลายะฮ์   ในที่นี้หมายถึง การปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์และมุฮัมมัดคือรอซูลุลลอฮ์ และต้องเชื่อฟังอัลลอฮ์และรอซูลรวมถึงการปฏิบัติตามอูลิลอัมริ ซึ่งนั่นคืออะฮ์ลุลบัยต์นบีนั่นเอง




หะดีษฟุรูอุดดีนชีอะฮ์ อีกบทหนึ่ง


حَدَّثَنَا عَلِيُّ بْنُ أَحْمَدَ بْنِ مُحَمَّدِ بْنِ عِمْرَانَ الدَّقَّاقُ رَحِمَهُ اللهُ وَعَلِيُّ بْنُ عَبْدُاللهِ الْوَرَّاقُ ، قَالاَ: حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ هَارُوْنَ الصُّوْفِيّ، قَالَ : حَدَّثَنَا أَبُوْتُرَابٍ عُبَيْدُ اللهِ ابْنِ مُوْسَى الرُّوْيَانِيّ، عَنْ عَبْدِالْعَظِيْمِ بْنِ عَبْدِاللهِ الْحَسَنِيّ، قَالَ :
دَخَلْتُ عَلَى سَيِّدِيْ عَلِيِّ بْنِ مُحَمَّدِ بْنِ عَلِيِّ بْنِ مُوْسَى بْنِ جَعْفَرِ بْنِ مُحَمَّدِ بْنِ عَلِيِّ بْنِ الْحُسَيْنِ بْنِ عَلِيِّ بْنِ أَبِيْ طَالِبٍ عَلَيْهُمُ السَّلاَمِ    فَلَمَّا بَصُرَبِيْ قَالَ لِيْ: مَرْحَبًا بِكَ يَاأَبَا الْقَاسِمِ أَنْتَ وَلِيُّنَا حَقًّا، قَالَ: فَقُلْتُ لَهُ: يَاابْنَ رَسُوْلَ اللهِ إِنِّيْ اُرِيْدُ أَن أَعْرِضَ عَلَيْكَ دِيْنِيْ، فَإِنْ كَانَ مَرْضِيًّا أَثْبُتُ عَلَيْهِ حَتَّى أَلْقَى اللهَ عَزَّوَجَلَّ :
فَقَالَ : هَاتِ يَا أَبَا الْقَاسِمِ، فَقُلْتُ : إِنِّيْ أَقُوْلُ : ...
وَأَقُوْلُ : إِنَّ الْفَرَائِضَ الْوَاجِبَةَ بَعْدَ الْوِلاَيَةِ الصَّلاَةُ، وَالزَّكاَةُ، وَالصَّوْمُ، وَالْحَجُّ، وَالْجِهَادُ، وَالْأَمْرُ بِالْمَعْرُوْفِ وَالنَّهْيُ عَنِ الْمُنْكَرِ،
فَقَالَ عَلِيُّ بْنُ مُحَمَّدٍ عَلَيْهِمَا السَّلاَمِ: يَا أَبَا الْقَاسِمِ هَذَا وَاللهِ دِيْنِ اللهِ الَّذِيْ ارْتَضَاهُ لِعِبَادِهِ، فَاثْبُتْ عَلَيْهِ، ثَبَّتَكَ اللهُ بِالْقَوْلِ الثَّابِتِ فِي الْحَيَاةِ الدُّنْيَا وَفِي الْآخِرَةِ.
كتاب التوحيد  للصدوق  ص 81  ح 37  
المؤلف :  الشيخ الصدوق ابي جعفر محمد على بن الحسين بن بابويه القمي 305-381 هـ.

เชคศอดูกเล่าว่า : อะลี บินอะหมัด บินมุฮัมมัด บินอิมรอน อัด-ดั๊กกอก (รฎ.) และอะลี บินอับดุลลอฮ์ อัลวัรรอก ทั้งสองได้เล่าให้เราฟัง :
,มุฮัมมัด บินฮารูน อัศ-ศูฟีได้เล่าให้เราฟัง เขากล่าวว่า : อบู ตุรอบ อุบัยดุลลอฮ์ บินมูซา อัลรูยานีได้รายงานจากอับดุล อะซีม บินอับดุลลอฮ์ อัลฮาซานี(รฎ.)ได้เล่าว่า :  ข้าพเจ้าได้เข้ามาพบนายของข้าพเจ้าคือท่านอิม่ามอะลี บินมุฮัมมัด (อัลฮาดีอิม่ามที่10) อะลัยฮิสสลาม เมื่อท่านมองเห็นข้าพเจ้าท่านได้กล่าวกับข้าพเจ้าว่า : ยินดีต้อนรับโอ้อบุลกอซิม  ท่านคือผู้มีวิลายัต(ความรัก)ต่อเราอย่างแท้จริง
อับดุลอะซีมเล่าว่า : ข้าพเจ้าได้กล่าวกับท่านอิม่ามว่า : โอ้บุตรของท่านรอซูลุลลอฮ์ แท้จริงข้าพเจ้าต้องการนำเสนอศาสนาที่ข้าพเจ้านับถือให้ท่าน(ได้พิจารณา)   หากมันเป็นที่พอใจ(คือถูกยอมรับ) ข้าพเจ้าจะได้ยึดมั่นมันไว้อย่างมั่นคง จนกระทั่งข้าพเจ้าได้กลับไปพบกับอัลลอฮ์ อัซซะวะญัล


ท่านอิม่ามกล่าวว่า : โอ้อบุลกอซิมจงนำเสนอมาซิ    ดังนั้นข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า : ....
(อับดุลอะซีมเล่าว่า) และข้าพเจ้าเชื่อว่า :  แท้จริงฟัรฎูที่เป็นวาญิบ(ต้องปฏิบัติ) หลังจากเรื่อง 1,วิลายะฮ์ (ตรงข้ามคือ2,บะรออะฮ์ ) 3, นมาซวาญิบ 4, จ่ายซะกาต (และ5,จ่ายคุมส์ข้อปลีกย่อยของซะกาต 6,ถือศีลอด 7, ทำฮัจญ์  8,ญิฮ๊าด 9,แนะนำให้ทำดีและ10,ห้ามปรามมิให้ทำชั่ว



ท่านอิม่ามอะลี บินมุฮัมมัด อัลฮาดีกล่าวว่า : โอ้อบุลกอซิม ! ขอสาบานด้วยนามของอัลลอฮ์ว่า หลักศรัทธาและหลักปฏิบัติแบบนี้แหล่ะคือ ศาสนาของอัลลอฮ์ที่ทรงพอพระทัยมอบมันให้กับปวงบ่าวของพระองค์
ดังนั้นขอให้เจ้าจงยึดมันไว้อย่างมั่นคง ขออัลลอฮ์ทรงทำให้เจ้ามีความมั่นคงต่อคำพูดอันมั่นคงนี้ทั้งชีวิตในโลกดุนยานี้และโลกอาคิเราะฮ์ด้วยเถิด


อ้างอิงจากหนังสือ

อัต-เตาฮีด เชคศอดูก กิตาบอัต-เตาฮีด วัต-ตัชเบี๊ยะห์ หน้า 81 หะดีษที่ 37

เชคศอดูก อบูญะอ์ฟัร มุฮัมมัด บินอะลี บินฮูเซน บินบาบะวัยฮฺ อัลกุมมี  เกิดฮ.ศ. 305 มรณะฮ.ศ. 381

สัยยิดอับดุลอะซีม บินอับดุลลอฮ์ อัลฮะซะนี เกิดฮ.ศ. 173 มรณะฮ.ศ. 252




ถาม  :      อุละมาอ์ชีอะฮ์เขากำหนดฟุรูอุดดีนออกเป็นกี่ข้อ  ?



ตอบ


جُعِلَ فُرُوْعُ الدِّيْنِ عَشَرَة هِيَ مِنْ نَتَائِجِ أَبْحَاثِ الْفُقَهَاءِ فَالْأَحْكاَمُ الْمُتَعَلِّقَةُ بِالْأَعْمَالِ سُمِّيَتْ فُرُوْعًا.


ฟุรูอุดดีนสิบข้อดังกล่าว ได้มาจากผลการวิจัยของฟุเกาะฮาอ์(นักวิชาการสาขานิติศาสตร์ระดับขั้นมุจญ์ตะฮิด)  
ดังนั้นอะห์กามที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัตินี้เรียกว่า " ฟุรู๊อฺ - ข้อย่อย "  



ส่วนบุคคลแรกที่แบ่งฟุรูอุดีนออกเป็น 10 ข้อดังกล่าวคือ


1.   ท่านอบุศ-ศอและห์ อัลฮะละบี ( 374-447 ฮ.ศ.)

2.   ท่านอิบนุฮัมซะฮ์

3.   ท่านมุฮักกิก ฮิลลี ( 602-676 ฮ.ศ.)


หลักฐาน


قَالَ الْمُحَقِّقُ الثَّانِيُّ الْكَرْكِيّ :  وَقَدْ كَانَ كُلُّ فَقِـيْهٍ يُقَسِّمُ الْفِقْهَ حَسْبَ مِنْظَارِهِ وَمرآهِ ، وَيُعَدِّدُ الْمَوْضُوْعَاتِ حَسْبَ ذَوْقِهِ الْفَنِّيّ ، وَقَدْ عَدَّ الشَّيْخُ الطُّوْسِيُّ وَابْنُ زَهْرَةِ أَقْسَامَ الْعِبَادَاتِ خَمْسَة ،
وَأَمَّا سَلاّرُ فَقَدْ عَدَّهَا فِيْ مَرَاسِمِهِ سِتَّةَ ، وَأَبُو الصَّلاَحِ الْحَلَبِيّ وَابْنُ حَمْزَة وَالْمُحَقِّقُ الْحِلِّيّ عَشَرَةَ

الكتاب : جامع المقاصد في شرح القواعد  ج 1 ص 41
المؤلف : المحقق الثاني ، الشيخ علي بن الحسين الكركي المتوفى سنة 940 ه‍
تحقيق ونشر : مؤسسة آل البيت ( عليهم السلام ) لاحياء التراث - قم المشرفة الطبعة : الأولى - ربيع الأول 1408 ه‍ . ق المطبعة : المهدية - قم الكمية : 2000 نسخة السعر : 1500 ريال


ท่านมุฮักกิก ษานี อัลกัรกี (มรณะ 940  ฮ.ศ.) กล่าวว่า  :

 ฟะกีฮ์แต่ละคนได่แบ่งอัลฟิกฮ์(ศาสนบัญญัติ)ตามทัศนะของตนเอง(เพราะฟะกีฮ์คือมุจญ์ตะฮิด) และพวกเขาได้แบ่งหัวข้อเรื่องฟิกฮ์ตามรสนิยมของเขาเอง(หมายถึงตามอิจญ์ติฮาดของตนเอง)

ท่านเชคตูซี ( 385-460 ฮ.ศ.)และอิบนุ ซะฮ์เราะฮ์แบ่งภาคอิบาดะฮ์(ภาคปฏิบัติ)ออกเป็น 5ประการ

ท่านซาลาร ( มรณะ 463 ฮ.ศ.)ได้แบ่งออกเป็น 6 ในหนังสืออัลมะรอซิม ฟิลฟิกฮิลอิมามี

ท่านอบุศ-ศอและห์ อัลฮะละบี ( 374-447 ฮ.ศ.) ,

อิบนุฮัมซะฮ์และมุฮักกิก ฮิลลี ( 602-676 ฮ.ศ.)ได้แบ่งออกเป็น 10 หัวข้อ


อ้างอิงจากหนังสือ


ญามิอุลมะกอซิด โดยมุฮักกิก ษานี อัลกัรกี  เล่ม 1 หน้า 41




ถาม  :    ฟะกีฮฺหรือมุจญ์ตะฮิด   มีสิทธิอะไร  มาแบ่งฟุรูอุดดีนออกเป็นสิบข้อ  ?    



ตอบ :         เพราะอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์ได้อนุญาติให้ฟะกีฮฺทำหน้าที่อธิบายในรายละเอียดของฟุรูอุดดีนได้  


หลักฐาน


هِشَامِ بْنِ سَالِمٍ عَنْ أَبِي عَبْدِ اللَّهِ ع قَالَ إِنَّمَا عَلَيْنَا أَنْ نُلْقِيَ إِلَيْكُمُ الْأُصُولَ وَ عَلَيْكُمْ أَنْ تُفَرِّعُوا
أَحْمَدَ بْنِ مُحَمَّدِ بْنِ أَبِي نَصْرٍ عَنِ الرِّضَا ع قَالَ عَلَيْنَا إِلْقَاءُ الْأُصُولِ وَ عَلَيْكُمُ التَّفْرِيعُ


ท่านอิม่ามศอดิกและอิม่ามริฎอกล่าวว่า :


หน้าที่ของพวกเราคือถ่ายทอดเรื่องหลักๆ(ของศาสนา)แก่พวกท่าน ส่วนพวกท่านก็มีหน้าที่ไปจำแนกเป็นหัวย่อยๆเอาเอง


สถานะฮะดีษ  : เศาะหิ๊หฺ
 
ดูวะซาอิลุชชีอะฮ์  โดยอัลฮุรรุลอามีลี เล่ม 27 : 62  ฮะดีษที่  33201,33202


عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ يَعْقُوبَ عَنْ إِسْحَاقَ بْنِ يَعْقُوبَ قَالَ سَأَلْتُ مُحَمَّدَ بْنَ عُثْمَانَ الْعَمْرِيَّ أَنْ يُوصِلَ لِي كِتَاباً قَدْ سَأَلْتُ فِيهِ عَنْ مَسَائِلَ أَشْكَلَتْ عَلَيَّ فَوَرَدَ التَّوْقِيعُ بِخَطِّ مَوْلَانَا صَاحِبِ الزَّمَانِ ع أَمَّا مَا سَأَلْتَ عَنْهُ أَرْشَدَكَ اللَّهُ وَ ثَبَّتَكَ إِلَى أَنْ قَالَ وَ أَمَّا الْحَوَادِثُ الْوَاقِعَةُ فَارْجِعُوا فِيهَا إِلَى رُوَاةِ حَدِيثِنَا فَإِنَّهُمْ حُجَّتِي عَلَيْكُمْ وَ أَنَا حُجَّةُ اللَّهِ


จากมุฮัมมัด บินยะอ์กูบ จากอิสฮ๊าก บินยะอ์กูบเล่าว่า  : ฉันได้ขอร้องท่านมุฮัมมัด บินอุษมาน อัลอัมรี(ตัวแทนอิม่ามมะฮ์ดี)ให้นำจดหมายส่ง(ให้อิม่าม)แทนฉัน  ในจดหมายฉันได้ถามถึงปัญหาต่างๆที่คลุมเครือแก่ฉัน แล้วได้มีจดหมายเป็นลายเซ็นด้วยลายมือของผู้ปกครองของพวกเรา คือท่านอิม่ามศอฮิบุซซะมานตอบมาว่า :  ส่วนสิ่งที่เจ้าได้ถามถึงนั้น ขออัลลอฮ์ชี้นำเจ้าและทำให้เจ้ามั่นคง จนท่านได้กล่าวว่า :


ส่วนกรณีเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น(ในยุคที่ฉันยังไม่ปรากฏตัว)  พวกเจ้าจงย้อนกลับไปยังบรรดานักรายงานฮะดีษของเรา เกี่ยวปัญหาเหล่านั้น เพราะพวกเขาคือหลักฐานของฉันที่มีต่อพวกเจ้า และฉันคือหลักฐานของอัลลอฮ์


วะซาอิลุชชีอะฮ์   โดยอัลฮุรรุลอามีลี  เล่ม 27 : 140   ฮะดีษที่  33424


أَحْمَدُ بْنُ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ الطَّبْرِسِيُّ فِي الْإِحْتِجَاجِ عَنْ أَبِي مُحَمَّدٍ الْعَسْكَرِيِّ ع قال :  
فَأَمَّا مَنْ كَانَ مِنَ الْفُقَهَاءِ صَائِناً لِنَفْسِهِ حَافِظاً لِدِينِهِ مُخَالِفاً عَلَى هَوَاهُ مُطِيعاً لِأَمْرِ مَوْلَاهُ فَلِلْعَوَامِّ أَنْ يُقَلِّدُوهُ


ท่านฮาซันอัสการี อิม่ามที่ 11  กล่าวว่า :  

ส่วนหนึ่งจากบรรดาฟะกีฮ์ ( ที่มีคุณสมบัติดังนี้ )

1,เป็นผู้รักษาตัวเอง(มิให้มีมลทิน)

2,ปกป้องรักษาศาสนาของเขา

3,ไม่คล้อยตามอารมณ์ต่ำของตัวเอง  

4,ปฏิบัติตามคำสั่งอิม่ามผู้นำของเขา(อย่างเคร่งครัด)

ดังนั้นจำเป็นสำหรับประชาชนจะต้องปฏิบัติตามเขา (เรียกว่า การตักลีด)


สถานะหะดีษ  :  เศาะหิ๊หฺ

ดูวะซาอิลุช-ชีอะฮ์ โดยอัลฮุรรุล อามิลี   เล่ม 27 : 131 ฮะดีษที่ 33401

ตรวจทานโดยมัรกะซุล บุฮูซ คอมพิวเตอร์ ลิลอุลูมิลอิสลามียะฮ์ เมืองกุม อิหร่าน



เพราะฉะนั้นการแบ่งฟุรูอุดดีนออกเป็นสิบข้อของฟะกีฮฺ(ผู้รู้ระดับสูงสุด)ได้อาศัยอำนาจตามที่บบรดาอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลุบัยต์อนุญาติ

ให้พวกเขาทำการอิจญ์ติฮาดในเรื่องฟุรูอุดดีน บนพื้นฐานของอัลกุรอานและฮะดีษ



อุละมาอ์ชีอะฮ์ยังได้ยกโองการกุรอ่านมาประกอบเพื่อแสดงให้เห็นอุศุลุดดีนทั้งสิบข้อ ไม่ได้ขักแย้งกับคัมภีร์กุรอ่านเลยเช่น


ฟุรูอุดดีนชีอะฮ์จากคัมภีรืกุรอ่าน



1, อัซ-ซอลาต การนมาซวาญิบประจำวัน

وَأَقِمِ الصَّلاَةَ طَرَفَيِ النَّهَارِ وَزُلَفًا مِّنَ اللَّيْلِ
จงดำรงนมาซ ตามปลายช่วงทั้งสองของกลางวันและยามต้นจากกลางคืน  ฮูด : 114
أَقِمِ الصَّلاَةَ لِدُلُوكِ الشَّمْسِ إِلَى غَسَقِ اللَّيْلِ وَقُرْآنَ الْفَجْرِ إِنَّ قُرْآنَ الْفَجْرِ كَانَ مَشْهُودًا
จงดำรงนมาซ ไว้ตั้งแต่ตะวันคล้อยจนพลบค่ำ และการอ่านยามรุ่งอรุณ แท้จริงการอ่านยามรุ่งอรุณนั้นเป็นพยานยืนยันเสมอ
وَمِنَ اللَّيْلِ فَتَهَجَّدْ بِهِ نَافِلَةً لَّكَ عَسَى أَن يَبْعَثَكَ رَبُّكَ مَقَامًا مَّحْمُودًا
และจากบางส่วนของกลางคืนเจ้าจงตื่นขึ้นมานมาซในเวลาของมัน เป็นการสมัครใจสำหรับเจ้า หวังว่าพระผู้อภิบาลของเจ้าจะทรงให้เจ้าได้รับตำแหน่งที่ถูกสรรเสริญ   อัลอิสรอ : 78-79


2, อัซ-ซะกาต  การจ่ายทานซะกาต
وَأَقِيمُواْ الصَّلاَةَ وَآتُواْ الزَّكَاةَ
และจงดำรงนมาซ และจงจ่ายทานซะกาต   อัลบะกอเราะฮ์ : 43    อัลฮัจญ์ : 78  


3, อัลคุมส์   การบริจาครายได้ 1 ใน 5
وَاعْلَمُواْ أَنَّمَا غَنِمْتُم مِّن شَيْءٍ فَأَنَّ لِلّهِ خُمُسَهُ وَلِلرَّسُولِ وَلِذِي الْقُرْبَى وَالْيَتَامَى وَالْمَسَاكِينِ وَابْنِ السَّبِيلِ
และพึงรู้เถิดว่า แท้จริงสิ่งใดที่พวกเจ้าได้มาจากการทำศึกนั้น แน่นอนหนึ่งในห้าของมันเป็นของอัลลอฮ์และเป็นของรอซูล และเป็นของญาติที่ใกล้ชิด และบรรดาเด็กกำพร้า และบรรดาผู้ขัดสน และผู้เดินทาง   อัลอันฟาล : 41


4, อัซ-เซามุ  การศีลอดในเดือนรอมฎอน
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِن قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ
บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! การถือศีลอดได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว เช่นเดียวกับที่ได้ถูกกำหนดแก่บรรดาผู้อยู่ก่อนหน้าพวกเจ้ามาแล้ว เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง  
อัลบะกอเราะฮ์ : 183


5, อัลฮัจญ์ การทำฮัจญ์
وَلِلّهِ عَلَى النَّاسِ حِجُّ الْبَيْتِ مَنِ اسْتَطَاعَ إِلَيْهِ سَبِيلاً وَمَن كَفَرَ فَإِنَّ الله غَنِيٌّ عَنِ الْعَالَمِينَ
และสิทธิของอัลลอฮ์ที่มีต่อมนุษย์นั้นคือ การมุ่งสู่บ้านหลังนั้น อันได้แก่ผู้ที่สามารถหาทางไปยังบ้านหลังนั้นได้และผู้ใดปฏิเสธ แท้จริงอัลลอฮ์นั้นไม่ทรงพึ่งประชาชาติทั้งหลาย
อาลิ อิมรอน : 97
وَأَذَانٌ مِّنَ اللّهِ وَرَسُولِهِ إِلَى النَّاسِ يَوْمَ الْحَجِّ الأَكْبَرِ أَنَّ اللّهَ بَرِيءٌ مِّنَ الْمُشْرِكِينَ وَرَسُولُهُ
ประกาศจากอัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์ แด่ประชาชนทั้งหลายในวันฮัจญ์อันยิ่งใหญ่ว่า แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงพ้นข้อผูกพันธ์จากมุชริกทั้งหลาย และรอซูลของพระองค์ก็พ้นข้อผูกพันธ์นั้นด้วย  อัตเตาบะฮ์ : 3


6, อัลญิฮ๊าด  การญิฮ๊าดเสียสละต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์
كُتِبَ عَلَيْكُمُ الْقِتَالُ وَهُوَ كُرْهٌ لَّكُمْ وَعَسَى أَن تَكْرَهُواْ شَيْئًا وَهُوَ خَيْرٌ لَّكُمْ وَعَسَى أَن تُحِبُّواْ شَيْئًا وَهُوَ شَرٌّ لَّكُمْ وَاللّهُ يَعْلَمُ وَأَنتُمْ لاَ تَعْلَمُونَ
สูเจ้าได้ถูกบัญชาให้ออกสู่สงครามและสูเจ้ารังเกียจมัน และบางทีสูเจ้ารังเกียจสิ่งหนึ่งซึ่งสิ่งนั้นอาจเป็นสิ่งดีสำหรับสูเจ้า และบางทีสูเจ้ารักสิ่งหนึ่งซึ่งสิ่งนั้นมันอาจเป็นสิ่งเลวสำหรับสูเจ้า อัลลอฮ์นั้นทรงรอบรู้ แต่สูเจ้าไม่รู้   อัลบะกอเราะฮ์ : 216
وَجَاهِدُوا فِي اللَّهِ حَقَّ جِهَادِهِ هُوَ اجْتَبَاكُمْ وَمَا جَعَلَ عَلَيْكُمْ فِي الدِّينِ مِنْ حَرَجٍ مِّلَّةَ أَبِيكُمْ إِبْرَاهِيمَ هُوَ سَمَّاكُمُ الْمُسْلِمينَ مِن قَبْلُ وَفِي هَذَا لِيَكُونَ الرَّسُولُ شَهِيدًا عَلَيْكُمْ وَتَكُونُوا شُهَدَاء عَلَى النَّاسِ فَأَقِيمُوا الصَّلَاةَ وَآتُوا الزَّكَاةَ وَاعْتَصِمُوا بِاللَّهِ هُوَ مَوْلَاكُمْ فَنِعْمَ الْمَوْلَى وَنِعْمَ النَّصِيرُ
และจงต่อสู้เพื่ออัลลอฮ์ ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่แท้จริงเพื่อพระองค์  พระองค์ทรงคัดเลือกพวกเจ้า และพระองค์มิได้ทรงทำให้เป็นการลำบากแก่พวกเจ้าในเรื่องของศาสนา  ศาสนา(ที่ไม่ลำบาก) คือศาสนาของอิบรอฮีม บรรพบุรุษของพวกเจ้า พระองค์ทรงเรียกชื่อพวกเจ้าว่ามุสลิมีน ในคัมภีร์ก่อน ๆ และในอัลกุรอานเพื่อรอซูลจะได้เป็นพยานต่อพวกเจ้า และพวกเจ้าจะได้เป็นพยานต่อมนุษย์ทั่วไป ดังนั้นพวกเจ้าจงดำรงนมาซ และบริจาคซะกาต และจงยึดมั่นต่ออัลลอฮ์ พระองค์เป็นผู้คุ้มครองพวกเจ้า เพราะพระองค์คือผู้คุ้มครองที่ดีเลิศ และผู้ทรงช่วยเหลือที่ดีเยี่ยม    อัลฮัจญ์ : 78
وَمَا لَكُمْ لاَ تُقَاتِلُونَ فِي سَبِيلِ اللّهِ وَالْمُسْتَضْعَفِينَ مِنَ الرِّجَالِ وَالنِّسَاء وَالْوِلْدَانِ الَّذِينَ يَقُولُونَ رَبَّنَا أَخْرِجْنَا مِنْ هَـذِهِ الْقَرْيَةِ الظَّالِمِ أَهْلُهَا وَاجْعَل لَّنَا مِن لَّدُنكَ وَلِيًّا وَاجْعَل لَّنَا مِن لَّدُنكَ نَصِيرًا
มีเหตุใดเกิดขึ้นแก่พวกเจ้ากระนั้นหรือ ? ที่พวกเจ้าไม่สู้รบในหนทางของอัลลอฮ์ ทั้งๆที่บรรดาผู้อ่อนแอ ไม่ว่าชายและหญิง และเด็กๆต่างกล่าวกันว่า โอ้พระผู้อภิบาลของเรา ! โปรดนำพวกเราออกไปจากเมืองนี้ ซึ่งชาวเมืองเป็นผู้ข่มเหงรังแก และโปรดให้มีขึ้นแก่พวกเราซึ่งผู้คุ้มครองคนหนึ่งจากที่พระองค์และโปรดให้มีขึ้นแก่พวกเราซึ่งผู้ช่วยเหลือคนหนึ่งจากที่พระองค์
อันนิซาอ์ :75
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ مَا لَكُمْ إِذَا قِيلَ لَكُمُ انفِرُواْ فِي سَبِيلِ اللّهِ اثَّاقَلْتُمْ إِلَى الأَرْضِ أَرَضِيتُم بِالْحَيَاةِ الدُّنْيَا مِنَ الآخِرَةِ فَمَا مَتَاعُ الْحَيَاةِ الدُّنْيَا فِي الآخِرَةِ إِلاَّ قَلِيلٌ
บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย มีอะไรเกิดขึ้นแก่พวกเจ้ากระนั้นหรือ ? เมื่อได้ถูกกล่าวแก่พวกเจ้าว่า จงออกไปต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์เถิด พวกเจ้าก็แนบหนักอยู่กับพื้นดิน พวกเจ้าพึงพอใจต่อชีวิตความเป็นอยู่แห่งโลกนี้แทนปรโลกกระนั้นหรือ ? สิ่งอำนวยความสุขแห่งชีวิตความเป็นอยู่ในโลกนี้นั้น ในปรโลกแล้ว ไม่มีอะไรนอกจากสิ่งเล็กน้อยเท่านั้น  อัตเตาบะฮ์ : 38


7,8, อัลอัมรุ บิลมะอ์รูฟ  วัน-นะฮ์ยุ อะนิลมุงกัร
แนะนำให้ทำดีและห้ามปรามมิให้กระทำชั่ว
وَلْتَكُن مِّنكُمْ أُمَّةٌ يَدْعُونَ إِلَى الْخَيْرِ وَيَأْمُرُونَ بِالْمَعْرُوفِ وَيَنْهَوْنَ عَنِ الْمُنكَرِ وَأُوْلَـئِكَ هُمُ الْمُفْلِحُونَ
และจงให้มีขึ้นจากพวกเจ้า ซึ่งคณะหนึ่งที่จะเชิญชวนไปสู่ความดีงามและใช้ให้กระทำดี และห้ามมิให้กระทำชั่ว และชนเหล่านี้แหล่ะพวกเขาคือผู้ได้รับความสำเร็จ     อาลิ อิมรอน : 104
كُنتُمْ خَيْرَ أُمَّةٍ أُخْرِجَتْ لِلنَّاسِ تَأْمُرُونَ بِالْمَعْرُوفِ وَتَنْهَوْنَ عَنِ الْمُنكَرِ وَتُؤْمِنُونَ بِاللّهِ
สูเจ้านั้นเป็นประชาชาติที่ดียิ่งซึ่งถูกให้อุบัติขึ้นสำหรับมนุษยชาติ โดยที่พวกเจ้าใช้ให้ปฏิบัติสิ่งที่ดีงาม และห้ามมิให้ปฏิบัติสิ่งที่ชั่วช้า และศรัทธาต่ออัลลอฮ์  อาลิ อิมรอน : 110


9,10, อัลวิลายะตุ วัลบะรออะฮ์ ( ตะวัลลา / ตะบัรรอ )
รักบุคคลที่อัลลอฮ์และรอซูลรัก และไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้ที่ทำตัวเป็นศัตรูต่อบุคคลอันเป็นที่รักของอัลลอฮ์และรอซูล
مُّحَمَّدٌ رَّسُولُ اللَّهِ وَالَّذِينَ مَعَهُ أَشِدَّاء عَلَى الْكُفَّارِ رُحَمَاء بَيْنَهُمْ
มุฮัมมัดเป็นรอซูลของอัลลอฮ์และบรรดาผู้ที่อยู่ร่วมกับเขา เป็นผู้เข้มแข็งกล้าหาญต่อพวกปฏิเสธศรัทธา เป็นผู้เมตตาสงสารระหว่างพวกเขาเอง   อัลฟัตฮุ : 29
وَمِنَ النَّاسِ مَن يُجَادِلُ فِي اللَّهِ بِغَيْرِ عِلْمٍ وَيَتَّبِعُ كُلَّ شَيْطَانٍ مَّرِيدٍ
كُتِبَ عَلَيْهِ أَنَّهُ مَن تَوَلَّاهُ فَأَنَّهُ يُضِلُّهُ وَيَهْدِيهِ إِلَى عَذَابِ السَّعِيرِ
และในหมู่มนุษย์บางคนมีผู้โต้เถียงในเรื่องของอัลลอฮ์โดยปราศจากความรู้ และเขาจะปฏิบัติตามชัยตอนทุกตัวที่ดื้อรั้น  ได้มีกำหนดไว้กับมันว่า แท้จริงผู้ใดยึดมันเป็นมิตรสหายแล้ว แน่นอน มันจะทำให้เขาหลงทางและจะนำเขาไปสู่การลงโทษที่มีเปลวลุกโชน   อัลฮัจญ์ : 3-4
لَا تَجِدُ قَوْمًا يُؤْمِنُونَ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الْآخِرِ يُوَادُّونَ مَنْ حَادَّ اللَّهَ وَرَسُولَهُ وَلَوْ كَانُوا آبَاءهُمْ أَوْ أَبْنَاءهُمْ أَوْ إِخْوَانَهُمْ أَوْ عَشِيرَتَهُمْ أُوْلَئِكَ كَتَبَ فِي قُلُوبِهِمُ الْإِيمَانَ وَأَيَّدَهُم بِرُوحٍ مِّنْهُ وَيُدْخِلُهُمْ جَنَّاتٍ تَجْرِي مِن تَحْتِهَا الْأَنْهَارُ خَالِدِينَ فِيهَا رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمْ وَرَضُوا عَنْهُ أُوْلَئِكَ حِزْبُ اللَّهِ أَلَا إِنَّ حِزْبَ اللَّهِ هُمُ الْمُفْلِحُونَ
เจ้าจะไม่พบหมู่ชนใดที่พวกเขาศรัทธาต่ออัลลอฮ์และวันปรโลก รักใคร่ชอบพอผู้ที่ต่อต้านอัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์  ถึงแม้ว่าพวกเขาจะเป็นพ่อของพวกเขาหรือลูกหลานของพวกเขา หรือพี่น้องของพวกเขา หรือเครือญาติของพวกเขาก็ตาม   อัลมุญาดะละฮ์ : 22



คำถามสำหรับซุนนี่

หากท่านคิดว่า   หลักปฏิบัติสิบข้อนี้ขัดกับอัลกุรอ่านหรือไม่  ?
  •  

62 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้