Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

ธันวาคม 23, 2024, 12:46:21 ก่อนเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
  • สมาชิกทั้งหมด: 1,718
  • Latest: Haroldsmolo
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 3,703
  • หัวข้อทั้งหมด: 778
  • Online today: 102
  • Online ever: 200
  • (กันยายน 14, 2024, 01:02:03 ก่อนเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 65
Total: 65

ลัทธิวาฮาบี จากปากคนเป็นวาฮาบี

เริ่มโดย L-umar, ตุลาคม 07, 2009, 05:09:12 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar



ลัทธิวาฮาบี  จากปากคนเป็นวาฮาบี


วะฮาบียะฮฺ คือ ชื่อของขบวนการฟื้นฟูอิสลาม โดยการนำของ เชคมูฮัมมัด อิบนฺ อับดุลวาฮาบ มีชีวิตอยู่ในช่วง (1115 -1206 ฮ.ศ.) ตรงกับ (1703-1791 ค.ศ.) ที่เมืองนัจด ในซาอุดีอาระเบีย

ชื่อนี้มาจากพยางค์ที่สองของชื่อบิดา คือ อัลวะฮาบ ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นพระนามหนึ่งของอัลลอฮ พระผู้เป็นเจ้า มีความหมายว่า ผู้ทรงให้อย่างมากมาย

ชื่อนี้บางคนเรียกเพี้ยนเป็น วะฮบีย์ ซึ่งไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องคือ วะฮาบียะฮฺ หมายถึง ขบวนการฟื้นฟูอิสลาม วะฮาบียะฮฺ หรือ วะฮาบีย์ หมายถึงผู้มีแนวคิดและแนวปฏิบัติตามขบวนการดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม ชื่อนี้ไม่เป็นที่ชื่นชอบของกลุ่มวะฮาบียะฮฺ เนื่องจากเป็นชื่อที่ถูกตั้งขึ้นโดยฝ่ายต่อต้าน และมักจะนำมาใช้ในเชิงลบเป็นส่วนใหญ่ กลุ่มวะฮาบียะฮฺเองจึงไม่ใช้ชื่อนี้เรียกกลุ่มของตน แต่จะเรียกกลุ่มของตนว่ากลุ่ม \\\"สะลาฟียะฮ\\\" (Salafiah) หรือ \\\"สะละฟียูน\\\" (Salafiyoon) แปลว่า กลุ่มที่ยึดมั่นในแนวคิดดั้งเดิมของอิสลาม หรือบางทีเรียกกลุ่มของตนว่า \\\"มุวะหิดูน\\\" (Muwa hidoon) แปลว่า กลุ่มผู้ยึดมั่นในเอกภาพของอัลลอฮ
ประวัติความเป็นมาของวะฮาบียะฮฺ


เป็นที่ทราบกันดีว่าในตอนต้นของศตวรรษที่ 12 แห่งฮิจเราะฮศักราช (หรือคริสต์ศตวรรษที่ 18) ศาสนาและศีลธรรมในโลกอิสลามเสื่อมทรามลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคาบสมุทรอาระเบียกล่าวคือ มุสลิมส่วนใหญ่ได้พากันละทิ้งหลักการอิสลาม ละทิ้งหลักความเชื่อในเอกภาพของพระผู้เป็นเจ้า และละทิ้งการปฏิบัติตามแนวทางของศาสนทูต มูฮัมมัด (ศ็อลลอลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) พวกเขาได้หันไปหลงใหลคลั่งไคล้อยู่กับเรื่องไสยศาสตร์ เวทมนตร์คาถา และการตั้งภาคีต่อพระผู้เป็นเจ้าในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเคารพสักการะ และการขอความช่วยเหลือและคุ้มครองจากสุสานของบุคคลต่างๆ ที่ตัวเองเห็นว่าเป็นผู้วิเศษและศักดิ์สิทธิ์

ในท่ามกลางสภาพสังคมที่ฟอนเฟะและโง่งมงายนี้ได้มีบุคคลผู้หนึ่งถือกำเนิดขึ้นที่ตำบลอัลอุยัยนะฮ ในเมืองนัจด (เมืองริยาด) ในปี ค.ศ.1703 บุคคลผู้นั้นคือ มูฮัมมัด อิบนฺ อับดุลวะฮาบ เขามาจากตระกูล อุลามาอ (ผู้ทรงความรู้) ได้ศึกษาวิชาความรู้จากบิดา และสามารถท่องจำอัลกุรอานทั้งเล่มได้เมื่อมีอายุเพียง 10 ขวบเท่านั้น

และแม้ว่าเขาจะได้รับการยกย่องว่าเป็นปราชญ์ผู้มากด้วยความรู้ แต่เขาก็ตัดสินใจออกเดินทางเพื่อแสวงหาความรู้เพิ่มเติมยังหัวเมืองต่างๆ เช่น มักกะฮ มะดีนะฮ บัศเราะฮ บัฆดาด และเมาศิลในอิรัก

เมื่อเขาได้กลับมาสู่มาตุภูมิและได้เรียกร้องเชิญชวนผู้คนให้กลับสู่แนวทางอันบริสุทธิ์ของอิสลาม เขาก็ได้รับการต่อต้านจากบรรดาผู้ปกครองซึ่งพากันหวาดระแวงกับอิทธิพลของเขาที่จะสั่นสะเทือนต่ออำนาจการปกครองของพวกตน

เขาต้องถูกขับไล่ออกจากดินแดนที่เป็นบ้านเกิดเมืองนอน แต่เขาก็ยังยืนหยัดในอุดมการณ์อันมั่นคงที่จะฟื้นฟูและกอบกู้สังคมให้กลับไปสู่หลักการอันบริสุทธิ์

จุดเปลี่ยนที่สำคัญของ มูฮัมมัด อิบนฺ อับดุลวะฮาบ ก็คือ เมื่อท่านเดินทางมาที่เมือง อัดดัรอียะฮ ซึ่งเป็นเมืองในการปกครองของตระกูล สะอูด (ราชวงศ์สะอูดในปัจจุบัน) ท่านก็ได้รับการต้อนรับอย่างดีจากอามีร มูฮัมมัด อิบนฺสะอูด เจ้าเมืองคนหนึ่งซึ่งตกลงใจที่จะร่วมงานกับเขาในการฟื้นฟูและเผยแผ่คำสอนของอิสลาม

หลังจากนั้นไม่นานภายใต้การปกครองของ อามีรมูฮัมมัด อิบนฺสะอูด และการเผยแผ่คำสอนของ เชค มูฮัมมัด อิบนฺ อับดุลวะฮาบ อย่างเอาจริงเอาจัง วิถีชีวิตและความเชื่อของมุสลิมที่อยู่ภายใต้การปกครองก็เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงจากความโง่งมงายในหลักการอิสลาม และหลงผิดในการตั้งภาคี (ชิรก) และการนิยมชมชอบในอุตริกรรมทางศาสนา (บิดอะฮ) ทุกคนถูกเรียกร้องเชิญชวนสู่การเคารพภักดีต่ออัลลอฮองค์เดียวและยึดมั่นในคำภีร์อัลกุรอานและแบบอย่างคำสอนของศาสนทูตมูฮัมมัด (ศ็อลลอลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ทุกคนหันมานมาซรวมกัน ปฏิบัติศาสนกิจรวมกัน และศึกษาศาสนาร่วมกัน

สัญลักษณ์ต่างๆ ของการตั้งภาคีและสิ่งไม่ดีงามต่างๆ ได้ถูกทำลายสิ้น สังคมอาหรับได้กลับคืนสู่ความอยู่เย็นเป็นสุขอีกครั้งหนึ่ง และที่สำคัญก็คือได้กลับมาสู่การดำเนินตามหลักคำสอนดั้งเดิมอันบริสุทธิ์ที่ถูกปกปักรักษา ถ่ายทอด และฟื้นฟูโดยนักปราชญ์ชาว สลัฟ (นักปราชญ์ในยุค 300 ปีแรก)

การที่มูฮัมมัด อิบนฺ อับดุลวะฮาบได้รับการอุ้มชูอุปถัมภ์จากราชสำนักของราชวงศ์สะอูดทำให้เขามีฐานอำนาจในการดำเนินกิจการต่างๆ จนบรรลุผล ฐานอำนาจดังกล่าวทำให้ดูเหมือนว่าเขามีท่าทีที่แข็งกร้าวต่อกลุ่มสองกลุ่มที่แพร่หลายอยู่ในขณะนั้น คือ

(1) กลุ่มซูฟีย์ (Sufism) คือ กลุ่มนิยมความลี้ลับและมีความคลั่งไคล้ในวิชาตะเซาวุฟ (การฝึกจิตภายใน) มูฮัมมัด อิบนฺ อัลดุลวะฮาบเห็นว่า วิชานี้เป็นยาเสพติดที่มอมเมาคนในสมัยนั้นให้เฉื่อยชา ไม่เข้มแข็ง และเป็นวิชาที่ถูกนำมาใช้ในทางที่ผิดและบิดเบนออกไปจากเดิมมากมาย ตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือ สิ่งอุตริทางศาสนาใหม่ๆ ที่กลุ่มซูฟีย์ได้สร้างขึ้น เช่น การเคารพ สักการะนักบุญ หลุมฝังศพ และสัญลักษณ์ต่างๆ การเคารพ บูชาบรรพบุรุษหรือขอความช่วยเหลือจากผู้ที่ตายไปแล้ว หรือขอให้ผู้ที่ตายช่วยเป็นสื่อหรือนายหน้าติดต่อกับพระเจ้า การสร้างมัสยิดหรืออาคารเหนือหลุมฝังศพและการประดับตบแต่งหลุมฝังศพ เป็นต้น

(2) กลุ่มมุตะกัลลิมีน (Mutakallimin) คือกลุ่มนักเทววิทยาที่เน้นการเอาเหตุผลทางปัญญาและทางตรรกวิทยามาอธิบายหลักความเชื่อในอิสลามจนทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนและเบี่ยงเบนจากความถูกต้อง มูฮัมมัด อิบนฺ อับดุลวะฮาบเห็นเช่นเดียวกันว่า วิชาอิลมุลกะลาม Elmulkalam (เทววิทยา) เป็นยาเสพติดอีกชนิดหนึ่งที่มอมเมาคนในสมัยนั้นให้หมกมุ่นอยู่กับการถกเถียงในเรื่องที่ไม่ควรถกเถียง แล้วในที่สุดก็ทำให้พวกเขาหลงทาง

มูฮัมมัด อิบนฺ อับดุลวะฮาบได้ทำการคัดค้านทั้งสองกลุ่มอย่างแข็งกร้าว และได้ใช้ฐานอำนาจทางการปกครองสนับสนุนและจัดการกับสิ่งอุตริทางศาสนาอย่างได้ผล แน่นอนการกระทำของเขาได้ไปขัดผลประโยชน์และทำลายความเชื่อของคนที่โง่งมงายในสิ่งเหล่านั้นอย่างรุนแรง คนเหล่านั้นจึงตั้งตนเป็นศัตรู และพยายามชักชวนและประกาศให้คนทั่วไปเชื่อว่าสิ่งที่เขาสอนนั้นเป็นศาสนาใหม่ที่มิใช่อิสลาม และกล่าวหาเขาว่าเป็นผู้สร้างลัทธิใหม่ สำหรับผู้ที่ปฏิบัติตามคำสอนของมูฮัมมัด อิบนฺ อัลดุลวะฮาบนั้นก็ถูกคนกลุ่มดังกล่าวประณามว่าเป็นพวกนอกศาสนา และเรียกพวกเขาว่า วะฮาบียะฮฺ (Wahabism) ในที่สุด
แนวคิดที่สำคัญของวะฮาบียะฮฺ


สำหรับแนวคิดที่สำคัญของวะฮาบียะฮฺนั้นพอสรุปเป็นหัวข้อได้ดังนี้ คือ

(1) ยึดแนวของอิมามอะฮมัด อิบนฺ ฮัมบัล (มัซฮับฮัมบะลีย์) ในเรื่องปลีกย่อยต่างๆ แต่ไม่ยึดแนวของอิมามคนใดเป็นเกณฑ์แน่นอนในเรื่องหลักพื้นฐานทั่วไป

(2) เรียกร้องให้เปิดประตูการอิจติฮาด (หมายถึงการวิเคราะห์และวินิจฉัยหลักฐานต่างๆ ทางศาสนาเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อบัญญัติของปัญหาต่างๆ) หลังจากที่ได้ถูกปิดมานานตั้งแต่กรุงแบกแดดแตกจากการโจมตีของพวกมองโกลในปี ฮ.ศ.656 (ค.ศ. 1235)

(3) ยืนยันในความจำเป็นที่จะต้องยึดถือคัมภีร์อัลกุร อานและสุนนะฮ (แบบฉบับของศาสนทูตมูฮัมมัด)

(4) ยึดมั่นในแนวทางของอะฮลิสสุนนะฮวัลญะมาอะฮ (นิกายสุนนีย์)

(5) เรียกร้องสู่หลักเตาฮีด (การให้เอกภาพต่อพระผู้เป็นเจ้า) อันบริสุทธิ์ตามแนวทางของกัลญานชนมุสลิมในยุคแรกของอิสลาม

(6) เน้นหลักเตาฮีดอูลูฮียะฮ (การให้เอกภาพต่อพระผู้เป็นเจ้าในด้านการเคารพสักการะ) และหลักเตาฮีดอัสมาอ วัศศิฟาต (การให้เอกภาพต่อพระผู้เป็นเจ้าด้านนามชื่อ และคุณลักษณะของพระองค์)

(7) ต่อต้านสิ่งเหลวไหลและอุตริกรรมทางศาสนาที่แพร่หลายในสังคมอันเนื่องจากความโง่งมงายของผู้คน

(8) คัดค้านกลุ่มฏอรีเกาะฮซูฟีย์และกลุ่มมุตะกัลลีมีน และสิ่งอุตริทางศาสนาที่กลุ่มเหล่านี้สร้างขึ้นมา

(9) ต่อต้านการทำชีริก (ตั้งภาคี) ต่ออัลลอฮทุกประเภท

(10) ต่อต้านการตักลีด (การตามอย่างคนตาบอด) และเรียกร้องสู่การให้ความรู้และการค้นคว้าหาหลักฐาน
อิทธิพลและการแพร่หลายของกลุ่มวะฮาบียะฮฺ


ภายใต้การอุปถัมป์ของราชวงศ์สะอูดทำให้วะฮาบียะฮฺแพร่หลายในซาอุดีอาระเบีย โดยเฉพาะภายหลังการสถาปนาราชอาณาจักรโดยกษัตริย์อับดุลอาซีซ อิบนฺ อับดิรรอหมาน อาลิสะอูด ในปี ฮ.ศ.1351 (ค.ศ.1930) และต่อมาวะฮาบียะฮฺได้แพร่หลายอย่างรวดเร็วยังกลุ่มประเทศต่างๆ ในโลกมุสลิมผ่านทางคณะต่างๆ ที่เดินทางเข้ามาเพื่อประกอบพิธีอัจย์และอุมเราะฮ และนักศึกษาที่เข้ามาศึกษาในมัสยิดหะรอมทั้งสองแห่งที่นครมักกะฮและนครมะดีนะฮ และที่เข้ามาศึกษาในโรงเรียน มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาอื่นๆ ในซาอุดีอาระ เบียและประเทศใกล้เคียง

ปัจจุบันรัฐบาลซาอุดีอาระเบียให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนมุสลิมทั่วโลกเป็นจำนวนมากเพื่อเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่สอนเกี่ยวกับอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก บัณฑิตที่จบจากมหาวิทยาลัยเหล่านี้กระจัดกระจายอยู่ในทุกส่วนของโลกเพื่อทำหน้าที่อบรมสั่งสอนจริยธรรมอิสลาม และเรียกร้องเชิญชวนสู่หลักการอันบริสุทธิ์ นอกเหนือจากนั้นแล้วรัฐบาลซาอุดีอาระเบียยังได้สนับสนุนงานด้านสังคมสงเคราะห์ การเผยแผ่อิสลามในรูปแบบต่างๆ แก่มุสลิมทั่วโลกอีกด้วย เช่น การสร้างมัสยิดและสถาบันการศึกษา การจัดอบรมภาษาอาหรับและวิทยาการอิสลาม การพิมพ์อัลกุรอานและความหมายอัลกุรอานเป็นภาษาต่างๆ กว่า 150 ภาษา (รวมทั้งภาษาไทย) และการช่วยเหลือสงเคราะห์คนยากจนและผู้ได้รับความเดือดร้อนจากภัยพิบัต เป็นต้น

ดังกล่าวมานี้แสดงให้เห็นถึงการแผ่ขยายของวะฮาบียะฮฺภายใต้การสนับสนุนอย่างจริงจังจากรัฐบาลของซาอุดีอาระเบีย สำหรับอิทธิพลของวะฮาบียะฮฺนั้นอาจกล่าวได้ว่า วะฮาบียะฮฺหรือสะละฟียะฮในชื่อทางวิชาการได้มีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงต่อการฟื้นฟูอิสลามและการปฏิรูปสังคมมุสลิมให้กลับไปสู่หลักคำสอนดั้งเดิมอันบริสุทธิ์ ขบวนการฟื้นฟูอิสลามที่เกิดขึ้นในระยะหลังในแอฟริกา ในอียิปต์ และในชมพูทวีป ล้วนแล้วแต่ได้รับอิทธิพลและอานิสงส์จากแนววะฮาบียะฮฺด้วยกันทั้งสิ้น
บทส่งท้าย


วะฮาบียะฮฺ อาจถูกมองว่าเป็นแนวใหม่หรือลัทธิใหม่ในอิสลาม แต่นั่นเป็นความเข้าใจผิด เพราะในวะฮาบียะฮฺไม่มีคำสอนใดที่ออกนอกหลักการอิสลาม ตรงกันข้ามวะฮาบียะฮฺเรียกร้องผู้คนให้กลับไปสู่หลักคำสอนดั้งเดิมอันบริสุทธิ์ของอิสลาม

ขบวนการวะฮาบียะฮฺจึงไม่แตกต่างไปจากขบวน การฟื้นฟูอิสลามอื่นๆ ในแนวอะฮลิสสุนนะฮ (สุนนีย์) ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นแต่อย่างใด การกล่าวหาว่าขบวนการวะฮาบียะฮฺเป็นขบวนการก่อการร้ายเท่ากับเป็นการกล่าวหาคำสอนของอิสลามอันบริสุทธิ์ว่าเป็นคำสอนที่ต้องการให้ผู้ปฏิบัติมีความคิดหรือมีพฤติกรรมอย่างนั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่รับไม่ได้ รัฐบาลภายใต้การนำของ ฯพณฯนายกทักษิณซึ่งเข้าใจปัญหามุสลิมค่อนข้างดีควรจะปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยข่าวกรองทั้งในพื้นที่และในระดับชาติให้เข้าถึงข้อเท็จจริงอันถูกต้องก่อนที่จะนำเสนอต่อสาธารณชน เพราะเรื่องศาสนาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน มิเช่นนั้นแล้วจะก่อให้เกิดความยุ่งยากอย่างใหญ่หลวงเกินกว่าจะ แก้ไขได้
---------------------------------------


ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน

โดย ดร.อับดุลเลาะฮ หนุ่มสุข ภาควิชาอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

 

http://muslimthai.com/contentFront.php?option=content&id=408

.
  •  

L-umar




ทางเวบมาสเตอร์   ได้นำเสนอ  แนวทางวาฮาบี    ตามที่ ผู้เป็น วาฮาบี  นำเสนอ



แต่ วาฮาบี  จะไม่กล้า   ให้ความความยุติธรรมในการให้ข้อมูลเรื่อง  ชีอะฮ์   อย่างถูกต้อง  เหมือนเรา


นั่นแสดงว่า    พวกวาฮาบี   เป็นพวกลัทธิเห็นแก่ตัว
  •  

65 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้