Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

ธันวาคม 23, 2024, 05:28:15 ก่อนเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
  • สมาชิกทั้งหมด: 1,718
  • Latest: Haroldsmolo
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 3,703
  • หัวข้อทั้งหมด: 778
  • Online today: 72
  • Online ever: 200
  • (กันยายน 14, 2024, 01:02:03 ก่อนเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 30
Total: 30

หนึ่งวัน หนึ่งอายัต 8

เริ่มโดย L-umar, กันยายน 01, 2009, 10:34:09 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar



ความหมายหะดีษ

จากชะฮ์ริ บินเหาชับ จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺกล่าวว่า  บุคคลใดได้ถือศีลอดในวันที่ 18 เดือนซุลหิจญะฮฺ   จะถูกบันทึก

สำหรับเขา(ว่าเขา)ได้ถือศีลอดถึง 60 เดือน และมัน( วันที18 )คือวันที่เฆาะดีรคุม  ตอนที่ท่านนบี(ศ)ได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้น) แล้วกล่าวว่า :

ฉันคือผู้ปกครองของบรรดามุอฺมินทั้งหลายใช่หรือไม่ ?

พวกเขา(บรรดาซอฮาบะฮฺ)กล่าวว่า : หามิได้ ใช่แล้วครับ โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ

ท่าน(ศ)จึงกล่าวว่า : บุคคลใดที่ฉันคือผู้ปกครองของเขา ดังนั้นอะลีก็คือผู้ปกครองของเขา

ท่านอุมัรบินคอตตอบได้กล่าวว่า : ขอแสดงความยินดีกับท่านด้วย โอ้บุตรของอบูตอลิบ (บัดนี้)ท่านได้กลายเป็นเมาลาผู้ปกครองของฉันและผู้

ปกครองของมุสลิมทุกคนแล้ว  ดังนั้นอัลลอฮ์จึงทรงประทานโองการนี้ลงมา

الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ

วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้ว ... (ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 3 )




เป็นไงครับ ท่านอาจารย์ฟารีดบอกว่า ไม่เคยมีอุละมาอ์ซุนนี่รายงานไว้แบบนี้  แล้วหะดีษบทนี้มันเป้นของใครครับอาจารย์ ?

สรุปง่ายๆตัวท่านอาจารย์ฟารีดเองนั่นแหล่ะที่เป็นคนโกหก ไม่ใช่ชีอะฮ์

ตอนต่อไปเราจะมาศึกษา สะนัด ( สายรายงานหะดีษ ) บทนี้ว่า เศาะหิ๊หฺ  หรือ  ดออีฟ  อินชาอัลลอฮฺ
  •  

L-umar


อุละมาอ์ซุนนี่สาขาอัลญัรฮุวัตตะอ์ดีล(วิจารณ์ชีวประวัตินักรายงานหะดีษ)ต้องตกอยู่ในภาวะอึดอัดใจกับหะดีษของท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ที่รายงานว่าซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ  โองการที่ 3 นี้ถูกประทานลงมาที่เฆาะดีรคุม ตอนที่ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)กลับจากการประกอบพิธีหัจญะตุลวิดาอฺ ท่านแวะพักลงที่นั่น ได้นมาซญะมาอะฮ์ร่วมกันและได้ปราศรัยจนจบลงด้วยวะซียัตครั้งสุดท้ายของท่านที่มีต่อประชาชาติว่า ให้ยึดมั่นต่อคัมภีร์กุรอ่านและอะฮ์ลุลบัยต์ หลังจากนั้นท่านได้ให้ท่านอะลีขึ้นมาอยู่บนมิมบัรกับท่าน และได้จับมือท่านอะลีชูขึ้นพร้อมทั้งประกาศว่า  อะลีคือคอลีฟะฮฺสืบต่อจากท่าน

ท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ยังได้รายงานอีกว่า ท่านนบี(ศ)ได้สั่งซอฮาบะฮฺให้ถือศีลอดในวันนั้นเพื่อเป็นการขอบคุณ(ชูโก้ร)ต่ออัลลอฮฺตะอาลา และรางวัลของผู้ที่ถือศีลอดในวันนั้นเทียบเท่ากับการถือศีลอดถึง 60 เดือน  


عن شهر بن حوشب عن ابي هريرة قال من صام يوم ثماني عشرة من ذي الحجة كتب له صيام ستين شهرا وهو يوم غدير خم لما اخذ النبي ( صلى الله عليه و سلم ) بيد علي بن أبي طالب فقال ألست ولي المؤمنين قالوا بلى يا رسول الله قال من كنت مولاه فعلي مولاه فقال عمر بن الخطاب بخ بخ لك يا ابن أبي طالب أصبحت مولاي ومولى كل مسلم فأنزل الله عز و جل \\\" اليوم أكملت لكم دينكم \\\"
تاريخ دمشق  لابن عساكر ( 499- 571هـ.)    ج 42 / ص 233

ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺกล่าวว่า  : บุคคลใดได้ถือศีลอดในวันที่ 18 เดือนซุลหิจญะฮฺ   จะถูกบันทึกสำหรับเขา(ว่าเขา)ได้ถือศีลอดถึง 60 เดือน และมัน( วันที่18 )คือวันที่เฆาะดีรคุม  ตอนที่ท่านนบี(ศ)ได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้น) แล้วกล่าวว่า : ฉันคือผู้ปกครองของบรรดามุอฺมินทั้งหลายใช่หรือไม่ ?
พวกเขา(บรรดาซออาบะฮฺ)กล่าวว่า : หามิใช่แล้วครับ โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ
ท่าน(ศ)จึงกล่าวว่า : บุคคลใดที่ฉันคือผู้ปกครองของเขา ดังนั้นอะลีก็คือผู้ปกครองของเขา
ท่านอุมัรบินคอตตอบได้กล่าวว่า : ขอแสดงความยินดีกับท่านด้วย โอ้บุตรของอบูตอลิบ (บัดนี้)ท่านได้กลายเป็นเมาลาผู้ปกครองของฉันและผู้ปกครองของมุสลิมทุกคนแล้ว  ดังนั้นอัลลอฮ์จึงทรงประทานโองการนี้ลงมา

الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ

วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้ว ... (ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 3 )



อ้างอิงจากหนังสือ ตารีคดามัสกัส โดยอิบนิอะซากิร (ฮ.ศ. 499-571) เล่ม 42 : 233


สาเหตุที่ทำให้อุละมาอ์ซุนนี่สาขาอัลญัรฮุวัตตะอ์ดีล ต้องงุนงงและรู้สึกยุ่งยากลำบากใจกับหะดีษบทนี้คือ พวกเขาไม่สามารถหาข้อตำหนิในสายรายงานของหะดีษบทนี้ได้ เพราะบรรดานักรายงานหะดีษบทนี้ เป็นรอวีที่อยู่ในตำราซอฮีฮุบุคอรีและซอฮีฮุมุสลิม ดังนั้นหากนักรายงานหะดีษบทนี้ถูกตำหนิ ก็เท่ากับเป็นการตำหนิตำราเศาะหิ๊หฺ เช่นท่านบุคอรีและมุสลิมด้วยเช่นกัน

และพวกเขาก็ไม่อาจยอมรับหะดีษบทนี้ได้ด้วยเช่นเดียวกัน เพราะว่าท่านอุมัรได้ถูกถามถึงที่มาของอายะฮ์นี้แล้วเจ้าตัวได้ปฏิเสธว่า อายะฮืนี้ไม่ได้ถูกประทานในวันเฆาะดีรคุม โดยท่านอุมัรกล่าวว่าอายะฮ์นี้ถูกประทานลงมาก่อนหน้านั้นในช่วงเวลาแห่งหัจญะตุลวิดาอฺ
การยอมรับหะดีษของท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ เท่ากับเป็นการตำหนิว่าท่านอุมัรพูดโกหก เพราะเขากล่าวว่าอัสบาบุลนุซูลอายะฮ์นี้ไม่ประทานลงมาที่เฆาะดีรคุม

แท้จริงการแต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮฺได้ถูกประทานลงมาจากอัลลอฮฺตะอาลา โดยท่านนบี(ศ)เป็นผู้ประกาศต่อหน้าบรรดามุสลิมทั้งหลาย และท่านอุมัรยังได้ออกมาแสดงความยินดีกับท่านอะลี

เราถือว่าเป็นเรื่องปกติสำหรับพวกวาฮาบีที่ดื้อรั้นต่อหลักฐานจะต้องหาวิธีการปฏิเสธหะดีษนบีบทนี้ทุกรูปแบบ เพราะมันขัดแย้งต่ออะกีดะฮฺของพวกเขานั่นเอง  

ทางออกของพวกวาฮาบีต่อหะดีษบทนี้คือ กล่าวแบบไร้หลักฐานว่า เป็นหะดีษมุงกัร หรือหะดีษเก๊
  •  

L-umar


ประการแรก

เราได้พิสูจน์ต่อพวกวาฮาบีแล้วว่า อายะฮ์นี้

الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ الْإِسْلَامَ دِينًا

วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้ว และข้าได้ทำให้นิอฺมะฮ์ของข้าครบถ้วนแก่พวกเจ้าแล้ว  และข้าพึงพอใจที่ให้อิสลามเป็นศาสนาแก่พวกเจ้า

ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ อายะฮ์ 3 ถูกประทานลงมาในวันที่ 18 ซุลหิจญะฮ์ ณ.เฆาะดีรคุม


โดยหะดีษอัสบาบุลนุซูลของอายะฮ์นี้ได้ถูกบันทึกอยู่ไว้ในหนังสืออะฮ์ลุสสุนนะฮ์ สองเล่มคือ

1.   ตารีคบัฆด๊าด โดยอัลเคาะฏีบอัลบัฆดาดี (ฮ.ศ.392 – 463) เล่ม 8 : 289 หะดีษที่ 4392

2.   ตารีคดามัสกัส โดยอิบนิอะซากิร (ฮ.ศ. 499-571) เล่ม 42 : 233





อันดับต่อไป

เราจะพิสูจน์ความถูกต้องของสะนัด (สายรายงานหะดีษ)   ว่า นักรายงานหะดีษบทนี้ เชื่อถือได้ หรือไม่ ?


หากเชื่อถือไม่ได้  ย่อมแสดงว่า หะดีษบทนี้  มีสถานะ  ดออีฟ  เป็นอันว่า อาจารย์ฟารีดพูดจริง

หากเชื่อถือได้  ย่อมแสดงว่า หะดีษบทนี้  มีสถานะ  เศาะหิ๊หฺ  แสดงว่า ชีอะฮ์พูดจริง



สะนัดหะดีษ

อัลเคาะฏีบ อัลบัฆดาดีรายงานสะนัดหะดีษไว้ดังนี้คือ

أخرج الخطيب البغدادي :

أَنْبَأَنَا عَبْدُ اللَّهِ بْنُ عَلِيِّ بْنُ مُحَمَّدِ بْنِ بَشْرَانِ أَنْبَأَنَا عَلِيُّ بْنُ عُمَرَ الْحَافِظُ
 
حَدَّثَنَا أَبُوْ نَصْرٍ حَبْشُونُ بْنُ مُوسَى بْنُ أَيُّوْبَ الْخَلاَّلُ
 
حَدَّثَنَا عَلِيُّ بْنَ سَعِيْدِ الرَّمْلِيّ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ القرشي عَنِ بْنِ شَوْذَبٍ
 
عَنْ مَطَرٍ الْوَرَّاقِ عَنْ شَهْرِ بْنِ حَوْشَبٍ عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ قَالَ  :
 
مَنْ صَامَ يَوْمَ ثَمَانِ عَشْرَةَ مِنْ ذِي الْحِجَّةِ كُتِبَ لَهُ صِيَامُ سِتِّيْنَ شَهْرًا وَهُوَ يَوْمَ غَدِيرِ خُمٍّ


ส่วนอิบนุอะซากิรได้รายงานสะนัดหะดีษนี้มาจากอัลเคาะฏีบ อัลบัฆดาดีอีกทีหนึ่งดังนี้


أخرج إبن عساكر عن الخطيب البغدادي :

عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ عَلِيِّ بْنِ مُحَمَّدِ بْنِ بَشْرَانِ ، عَنْ عَلِيِّ بْنِ عُمَرَ الدَّارُ قُطْنِيّ ،

عَنْ أَبِيْ نَصْرٍ حَبْشُوْنَ الْخَلاَّلِ ، عَنْ عَلِيِّ بْنِ سَعِيْدِ الرَّمْلِيّ ،

عن ضَمْرَةِ بْنِ رَبِيعَةَ ، عَنْ عَبْدِاللهِ بْنِ شَوْذَبٍ،

عَنْ مَطَرٍ الْوَرَّاقِ عَنْ شَهْرِ بْنِ حَوْشَبٍ عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ قَالَ  :

من صام يوم ثمان عشر من ذي الحجة كتب له صيام ستين شهراً ، وهو يوم غدير خم...
  •  

L-umar


วิจารณ์นักรายงาน รายบุคลล


عَبْدُ اللَّهِ بْنُ عَلِيِّ بْنُ مُحَمَّدِ بْنِ بَشْرَان ِ←  

عَلِيُّ بْنُ عُمَرَ الدَّارُ قُطْنِيّ ←

أَبُوْ نَصْرٍ حَبْشُونُ بْنُ مُوسَى بْنُ أَيُّوْبَ الْخَلاَّلُ ←  

عَلِيُّ بْنَ سَعِيْدِ الرَّمْلِيّ ←

ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ القرشي ←

عَبدُ الله بْنِ شَوْذَبٍ ←

مَطَرٍ الْوَرَّاقِ ←

شَهْرِ بْنِ حَوْشَبٍ ←

أَبو هُرَيْرَةَ


1.อับดุลลอฮฺ บินอะลี บินมุฮัมมัด บินบัชรอน →

2.อะลี บินอุมัร อัดดารุกุฏนี →

3.อบูนัศรฺ หับชูน บินมูซา บินอัยยูบ อัลค็อลล้าล →

4.อะลี บินสะอีด อัลร็อมลี →

5.เฎาะมะเราะฮฺ บินเราะบีอะฮฺ อัลกุเราะชี →

6.อับดุลลอฮฺ  บิน เชาซับ →

7.มะฏ็อร อัลวัรรอก →

8.ชะฮ์รุ บินเหาชับ →

9.อบูฮุร็อยเราะฮ์
  •  

L-umar


บุคคลแรกที่รายงานหะดีษนี้คือ


1. อบูฮุร็อยเราะฮ์ →   เป็นเศาะหาบะฮฺ

เชิญท่านอ่านชีวประวัติบุคคลท่านนี้ได้ที่เว็บ

http://www.azsunnah.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=9
  •  

L-umar


2.   ชะฮ์รุ บินเหาชับ  เป็นตาบิอี มรณะฮ.ศ. 100 →



หะดีษที่อัลบุคอรีบันทึกรายงานของชะฮ์รุ บินเหาชับไว้ในหนังสืออะดับมุฟร็อด มีดังนี้

عن شهر بن حوشب عن أم الدرداء عن أبى الدرداء قال : أوصانى رسول الله صلى الله عليه و سلم بتسع لا تشرك بالله شيئا وإن قطعت أو حرقت ولا تتركن الصلاة المكتوبة متعمدا ومن تركها متعمدا برئت منه الذمة ولا تشربن الخمر فإنها مفتاح كل شر وأطع والديك وإن أمراك أن تخرج من دنياك فاخرج لهما ولا تنازعن ولاة الأمر وإن رأيت أنك أنت ولا تفرر من الزحف وإن هلكت وفر أصحابك وأنفق من طولك على أهلك ولا ترفع عصاك على أهلك وأخفهم في الله عز و جل
قال الشيخ الألباني : حسن


عن شهر بن حوشب عن أسماء بنت يزيد قالت قال النبي صلى الله عليه و سلم : ألا أخبركم بخياركم قالوا بلى قال الذين إذا رءوا ذكر الله أفلا أخبركم بشراركم قالوا بلى قال المشاءون بالنميمة المفسدون بين الأحبة الباغون البرآء العنت
قال الشيخ الألباني : حسن


ดูหนังสืออะดับมุฟร็อด الأدب المفرد หะดีษที่ 18 , 323



ท่านมุสลิม ได้บันทึกรายงานของชะฮ์รุ บินเหาชับไว้ในหนังสือเศาะหิ๊หฺมุสลิม หะดีษที่ 5469


حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ شَبِيبٍ قَالَ سَمِعْتُهُ مِنْ شَهْرِ بْنِ حَوْشَبٍ فَسَأَلْتُهُ فَقَالَ سَمِعْتُهُ مِنْ عَبْدِ الْمَلِكِ بْنِ عُمَيْرٍ قَالَ فَلَقِيتُ عَبْدَ الْمَلِكِ فَحَدَّثَنِى عَنْ عَمْرِو بْنِ حُرَيْثٍ عَنْ سَعِيدِ بْنِ زَيْدٍ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ -


เชคอัลบานีกล่าวว่า หะดีษนี้  เศาะหิ๊หฺ


حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ بَشَّارٍ حَدَّثَنَا أَبُو عَبْدِ الصَّمَدِ حَدَّثَنَا مَطَرٌ الْوَرَّاقُ عَنْ شَهْرِ بْنِ حَوْشَبٍ عَنْ أَبِى هُرَيْرَةَ قَالَ كُنَّا نَتَحَدَّثُ عِنْدَ رَسُولِ اللَّه
ِ
ดูเศาะหิ๊หฺ อิบนิมาญะฮฺ  หะดีษที่ 2783


อัลอิจญ์ลีกล่าวว่า :

شهر بن حوشب شامي تابعي ثقة
الثقات للعجلي ج 1 / ص 461 رقم 741

ชะฮ์รุ บินเหาชับ  ชาวเมืองช่าม เป็นตาบิอี  เชื่อถือได้ในการรายงาน  

ดูอัษ-ษิกอต อันดับที่ 741


อิบนุหะญัรกล่าวว่า :

อัลบุคอรีรายงานหะดีษของชะฮ์รุไว้ในหนังสืออัลอะดับมุฟาร็อด และมุสลิมรายงานหะดีษของเขาไว้ในเศาะหิ๊หฺของเขา และอัศหาบุสสุนันทั้งสี่รายงานหะดีษของเขา

ชะฮ์รุรายงานหะดีษจาก :
นางอัสมา บินติยะซีด,ท่านหญิงอุมมุสะละมะฮฺ, อบูฮุร็อยเราะฮฺ,ท่านหญิงอาอิชะฮฺ, อุมมุหะบีบะฮฺ, บิล้าล มุอัซซิน, ตะมีมีอัดดารี,เษาบาน,ซัลมาน,อบูซัร,อบูมาลิก อัลอัชอะรีและอบูสะอีด

ดูตะฮ์ซีบุต-ตะฮ์ซีบ อันดับที่ 635
تهذيب التهذيب - (ج 4 / ص 324 رقم 635




ท่านบัดรุดดีน อัลอัยนี สังกัดมัซฮับฮะนะฟี (ฮ.ศ.762-855)ได้บันทึกคำวิจารณ์ถึงชะฮ์รุไว้ดังนี้


قال موسى بن هارون: ضعيف
มูซาบินฮารูน กล่าวว่า   เขาดออีฟ

قال النسائى: ليس بالقوى
อัน-นะซาอี กล่าวว่า  เขาไม่แข็งในการรายงาน

كان يحيى بن سعيد لا يحدث عن شهر
ยะห์ยา บินก็อฏฏอน ไม่รายงานหะดีษจากชะฮ์รุ

عن أحمد ابن حنبل: ما أحسن حديثه، ووثقه
อิหม่ามอะหมัดบินหัมบัล กล่าวว่า หะดีษของเขาช่างดีจริง และยังได้ให้ความน่าเชื่อแก่ชะฮ์รุ

قال الترمذى، عن البخارى: شهر حسن الحديث، وقوى أمره،
อัต-ติรมิซี เล่าจากอัลบุคอรีว่า ชะฮ์รุ หะดีษดี เรื่องของเขาแข็งแกร่ง

وقال: إنما تكلم فيه ابن عون
และติรมิซีกล่าวว่า แท้จริงอิบนุอูนพูดวิจารณ์เกี่ยวกับเขาไว้

عن يحيى بن معين: ثقة. وعنه: ثبت
จากยะห์ยา บินมะอีน กล่าวว่า เขาเชื่อถือได้ในการรายงาน และเขามั่นคง

قال يعقوب بن شيبة: ثقة، على أن بعضهم قد طعن فيه.
ยะอ์กูบ บินชัยบะฮฺ กล่าวว่า เขาเชื่อถือได้ในการรายงาน มีบางส่วนที่ตำหนิในตัวชะฮ์รุ


ดูหนังสือมะฆอนีลอัคยาร ฟีชัรฮิ ริญาลิ มะอานิลอาษ้าร เล่ม 2 : 36 อันดับที่ 1040

الكتاب : مغانى الأخيار فى شرح أسامى رجال معانى الآثار  ج 2 ص 36 رقم 1040
المؤلف : أبو محمد محمود بن أحمد بن وسى بن أحمد بن حسين الغيتابى الحنفى بدر الدين العينى




อัซซะฮะบีกล่าวว่า :

شهر بن حوشب الأشعري الشاميّ. قرأ القرآن على ابن عباس. وكان عالماً كثير الرواية الحديث.
العبر في خبر من غبر  للذهبي  ج 1 / ص 21

ชะฮ์รุ บินเหาชับ อัลอัชอะรี ชาวเมืองช่าม เรียนคัมภีร์กุรอ่านกับท่านอิบนุอับบาส และเขาเป็นผู้รู้คนหนึ่ง รายงานหะดีษไว้มากมาย

ดูอัลอิบะรุ ฟีเคาะบะริน มินฆุบัร  เล่ม 1 : 21



อัซ-ซะฮะบีได้ให้บทสรุปเกี่ยวกับการรายงานหะดีษของ " ชะฮ์รุ บินเหาชับ "  ว่า

أ - أقوال الأئمة فيه:
أقوالهم فيه كثيرة، ومتعارضة، فقد وثقه كثير، وضعفه كثير، وبعضهم عَدّ حديثه من مرتبة الحسن، كالإمام البخاري، وقَالَ النَّضْرُ بْنُ شُمَيْلٍ الْمَازِنِيُّ: \\\"...وإنما طعنوا فيه لأنه ولي أمر السلطان\\\" انظر لزاماً سنن الترمذي: 5/58 وانظر ترجمته في الميزان: 2/283، والتهذيب: 4/369-372، والجرح والتعديل: 4/382.

หนึ่ง - ทัศนะของบรรดาอะอิมมะฮ์เกี่ยวกับชะฮ์รุ
นักวิชาการได้วิจารณ์เกี่ยวกับเขาไว้มากมาย และต่างฝ่ายต่างค่อนข้างขัดแย้งกัน  แท้จริงส่วนมากถือว่าเขาเชื่อถือได้ในการรายงาน และส่วนมากถือว่าเขาดออีฟในการรายงาน   และอีกบางส่วนนับว่าเขาอยู่ในระดับฮาซัน(ดี)เช่นอิหม่ามบุคอรี เป็นต้น  และอันนัฎรุ บินชุมัยลิน อัลมาซินีกล่าวว่า และอันที่จริงที่พวกเขาตำหนิเกี่ยวกับชะฮ์รุ เหตุเพราะว่าชะฮ์รุนั้นเป็น วะลียุ อัมร์ของซุลตอน นั่นเอง

ب- حاصل الأقوال فيه:
الحاصل أنه مختلف فيه، والعمل على تحسين حديثه عند علماء الحديث، والله أعلم.

สอง - ผลสรุปของคำวิจารณ์ต่างๆ(ของนักวิชาการ)เกี่ยวกับชะฮ์รุ
ผลคือ (นักวิชาการ)มีความขัดแย้งกับเกี่ยวเขา และให้ดำเนินการไปบนการถือว่า หะดีษของเขานั้น ฮาซัน ตามทัศนะบรรดาอุละมาอ์หะดีษ วัลลอฮุ อะอ์ลัม.

อ้างอิงจากหนังสือ
มันตุกุลลิมะ ฟีฮิ วะฮุวะ มุวัษษัก เอาศอลิฮุลหะดีษ โดยอัซซะฮะบี  เล่ม 1 : 177 อันดับที่ 4
كتاب : مَنْ تُكُلِّمَ فِيْهِ وهو موثق أو صالح الحديث  للذهبي  - (ج 1 / ص 177 رقم 4
 



สรุปสั้นๆว่า  การรายงานหะดีษของ ชะฮ์รุ บินเหาชับ เชื่อถือได้
  •  

L-umar


3. มะฏ็อร บินเฏาะฮ์มาน อัลวัรรอก เป็นตาบิอี มรณะฮ.ศ. 129 →




อัซ-ซะฮะบีได้ให้บทสรุปเกี่ยวกับการรายงานหะดีษของ " มะฏ็อร อัลวัรรอก "  ว่า


مَطَرُ الْوَرَّاقُ : صَدُوْق  مَشْهُوْر، ضَعُفَ فِي عَطاَء.
มะฏ็อร อัลวัรรอก นั้น เศาะดู๊ก คือเชื่อถือได้  มัชฮูร คือมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกัน  เขา"ดออีฟ "ในรายงานที่มาจากอะฏออ์

مَطَرُ بْنُ طَهْمَانَ الْوَرَّاقُ أَبُو رَجَاءَ الْخُرَسَانِيُّ ، سكن البصرة، قيل توفى سنة 129هـ،
มะฏ็อร บินเฎาะฮ์มาน อบูเราะญาอ์ อัลคูรอซานี  อาศัยอยู่ที่เมืองบัศเราะฮ์  มรณะฮ.ศ. 129

أ - أقوال الأئمة فيه:
قال بعض الأئمة: \\\"لا بأس به\\\"، وقال بعضهم: \\\"صالح\\\"، وقال بعضهم: \\\"صدوق\\\"، وضعفوه في عطاء خاصة.

หนึ่ง – ทัศนะของบรรดาอะอิมมะฮ์เกี่ยวกับมะฏ็อร

อะอิมมะฮ์(นักวิชาการ) บางส่วนกล่าวว่า  ไม่เป็นไรในการรายงานของเขา  และนักวิชาการบางส่วนกล่าวว่า  ศอและห์ คือการรายงานของเขาดี  และอีกบางส่วนกล่าวว่า  ศอดู๊ก คือเชื่อถือได้ และพวกเขาได้ถือว่ารายงานของมะฏ็อรที่มาจากอะฏออ์ " ดออีฟ " โดยเฉพาะ


ب- الحاصل: الحاصل أنه حسن الحديث، وأنه ضعيف في عطاء.
สอง - ผลสรุปของคำวิจารณ์ต่างๆ(ของนักวิชาการ)เกี่ยวกับมะฏ็อร

แท้จริงเขา(มะฏ็อร)  หุสนุลหะดีษ คือมีสถานะรายงานหะดีษ ดี และเขาดออีฟในรายงานของอะฏออ์


อ้างอิงจากหนังสือ

มันตุกุลลิมะ ฟีฮิ วะฮุวะ มุวัษษัก เอาศอลิฮุลหะดีษ โดยอัซซะฮะบี  เล่ม 1 : 332 อันดับที่ 329
كتاب : من تكلم فيه وهو موثق أو صالح الحديث   ج 1 / ص 332  رقم 329


รายงานมะฏ็อรในเศาะหิ๊หฺบุคอรี หะดีษที่ 54

باب قَوْلِ اللَّهِ تَعَالَى ( وَلَقَدْ يَسَّرْنَا الْقُرْآنَ لِلذِّكْرِ ) . ( 54 ) وَقَالَ النَّبِىُّ - صلى الله عليه وسلم - « كُلٌّ مُيَسَّرٌ لِمَا خُلِقَ لَهُ » . يُقَالُ مُيَسَّرٌ مُهَيَّأٌ . وَقَالَ مَطَرٌ الْوَرَّاقُ ( وَلَقَدْ يَسَّرْنَا الْقُرْآنَ لِلذِّكْرِ فَهَلْ مِنْ مُدَّكِرٍ ) قَالَ هَلْ مِنْ طَالِبِ عِلْمٍ فَيُعَانَ عَلَيْهِ


รายงานมะฏ็อรในเศาะหิ๊หฺมุสลิม เรียงลำดับเลขที่หะดีษดังนี้  103, 3997, 3998, 4357

عَنْ مَطَرٍ الْوَرَّاقِ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ بُرَيْدَةَ عَنْ يَحْيَى بْنِ يَعْمَرَ قَالَ لَمَّا تَكَلَّمَ مَعْبَدٌ بِمَا تَكَلَّمَ بِهِ فِى شَأْنِ الْقَدَرِ أَنْكَرْنَا ذَلِكَ.

عَنْ مَطَرٍ الْوَرَّاقِ عَنْ عَطَاءٍ عَنْ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ

حَدَّثَنَا مَطَرٌ الْوَرَّاقُ عَنْ عَطَاءٍ عَنْ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ

حَدَّثَنَا مَطَرٌ الْوَرَّاقُ حَدَّثَنَا زَهْدَمٌ الْجَرْمِىُّ قَالَ دَخَلْتُ عَلَى أَبِى مُوسَى وَهُوَ يَأْكُلُ لَحْمَ دَجَاجٍ وَسَاقَ الْحَدِيثَ بِنَحْوِ حَدِيثِهِمْ وَزَادَ فِيهِ قَالَ « إِنِّى وَاللَّهِ مَا نَسِيتُهَا ».

ข้อสังเกต : ในขณะที่อัซซะฮะบีกล่าวว่า นักวิชาการถือรายงานของมะฏ็อรที่มาจากอะฏออ์นั้น " ดออีฟ "  แต่ท่ามุสลิมกลับยอมรับว่า " เศาะหิ๊หฺ  " ดังที่ท่านได้เห็นข้างต้น


รายงานมะฏ็อรในสุนันอบีดาวูด หะดีษที่ 2192

حَدَّثَنَا مَطَرٌ الْوَرَّاقُ عَنْ عَمْرِو بْنِ شُعَيْبٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ جَدِّهِ أَنَّ النَّبِىَّ -صلى الله عليه
قال الألباني : حسن


รายงานมะฏ็อรในเศาะหิ๊หฺอิบนิมาญะฮฺ หะดีษที่ 1878

عَنْ حُسَيْنٍ الْمُعَلِّمِ عَنْ مَطَرٍ الْوَرَّاقِ عَنْ نَافِعٍ عَنِ ابْنِ عُمَرَ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ

หะดีษที่ 1958
عَنْ حُسَيْنٍ الْمُعَلِّمِ عَنْ مَطَرٍ الْوَرَّاقِ عَنْ نَافِعٍ عَنِ ابْنِ عُمَرَ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ


สรุปสั้นๆว่า  การรายงานหะดีษของ มะฏ็อร อัลวัรรอก เชื่อถือได้
  •  

L-umar



4. อับดุลลอฮฺ บินเชาซับ (เกิดฮ.ศ.86-156) →


ถือว่าเพียงพอแล้วที่ มุหัดดิษอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ ดังต่อไปนี้ได้บันทึหะดีษของอิบนิเชาซับไว้ในตำราของพวกเขา


1.   บุคอรี

2.   อบูดาวูด

3.   ติรมิซี

4.   นะซาอี

5.   อิบนิมาญะฮฺ


ยกเว้น " มุสลิม " เท่านั้น


และที่สำคัญเชคมุฮัมมัด นาศิรุดดีนอัลบานี ได้ให้การรับรองของหะดีษของ อิบนิเชาซับ ว่าอยุ่ในระดับ ฮาซัน เศาะหิ๊หฺ  ไว้ดังนี้

 
อัลบุคอรี รายงานหะดีษของอิบนิเชาซับไว้ในหนังสืออะดับมุฟร็อด หะดีษที่ 346

عن بن شوذب قال سمعت مالك بن دينار يحدث عن أبى غالب عن أم الدرداء قالت : زارنا سلمان من المدائن إلى الشام ماشيا وعليه كساء واندرورد قال يعنى سراويل مشمرة قال بن شوذب رؤى سلمان وعليه كساء مطموم الرأس ساقط الأذنين يعنى أنه كان أرفش فقيل له شوهت نفسك قال ان الخير خير الآخرة
قال الشيخ الألباني : حسن
เชคอัลบานีกล่าวว่า  เป็นหะดีษ  ฮาซัน

รายงานหะดีษของอิบนิเชาซับ ในสุนันอบีดาวูด หะดีษที่ 2714

عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ شَوْذَبٍ قَالَ حَدَّثَنِى عَامِرٌ - يَعْنِى ابْنَ عَبْدِ الْوَاحِدِ - عَنِ ابْنِ بُرَيْدَةَ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ عَمْرٍو قَالَ كَانَ رَسُولُ اللَّهِ    قال الألباني : حسن
เชคอัลบานีกล่าวว่า  เป็นหะดีษ  ฮาซัน

รายงานหะดีษของอิบนิเชาซับ ในสุนันติรมิซี หะดีษที่ 4066

حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ إِسْمَاعِيلَ حَدَّثَنَا الْحَسَنُ بْنُ وَاقِعٍ الرَّمْلِىُّ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ
عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ شَوْذَبٍ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ الْقَاسِمِ عَنْ كَثِيرٍ مَوْلَى عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ سَمُرَةَ عَنْ عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ سَمُرَةَ قَالَ جَاءَ عُثْمَانُ إِلَى النَّبِىِّ
قَالَ أَبُو عِيسَى هَذَا حَدِيثٌ حَسَنٌ غَرِيبٌ مِنْ هَذَا الْوَجْهِ.

รายงานหะดีษของอิบนิเชาซับ ในซอฮีฮุวะดออีฟ สุนันนะซาอี หะดีษที่ 3877

أَخْبَرَنَا عِيسَى بْنُ مُحَمَّدٍ - وَهُوَ أَبُو عُمَيْرِ بْنُ النَّحَّاسِ - وَعِيسَى بْنُ يُونُسَ - هُوَ الْفَاخُورِىُّ - قَالاَ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ عَنِ ابْنِ شَوْذَبٍ عَنْ مَطَرٍ عَنْ عَطَاءٍ عَنْ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ قَالَ خَطَبَنَا رَسُولُ اللَّهِ
قال الألباني : صحيح
เชคอัลบานีกล่าวว่า  เป็นหะดีษ  เศาะหิ๊หฺ

หะดีษที่ 4730

أَخْبَرَنَا عِيسَى بْنُ يُونُسَ قَالَ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ شَوْذَبٍ عَنْ ثَابِتٍ الْبُنَانِىِّ عَنْ أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ أَنَّ رَجُلاً أَتَى بِقَاتِلِ وَلِيِّهِ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- فَقَالَ النَّبِىُّ
قال الألباني : صحيح الإسناد
 เชคอัลบานีกล่าวว่า  เป็นหะดีษที่มีสะนัด เศาะหิ๊หฺ

รายงานหะดีษของอิบนิเชาซับ ในเศาะหิ๊หฺอิบนิมาญะฮฺ หะดีษที่ 1987

حَدَّثَنَا عَمْرُو بْنُ عُثْمَانَ بْنِ سَعِيدِ بْنِ كَثِيرِ بْنِ دِينَارٍ الْحِمْصِىُّ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ عَنِ ابْنِ شَوْذَبٍ عَنْ مَطَرٍ عَنْ عَطَاءٍ عَنْ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ قَالَ خَطَبَنَا رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- فَقَالَ « مَنْ كَانَتْ لَهُ أَرْضٌ فَلْيَزْرَعْهَا أَوْ لِيُزْرِعْهَا وَلاَ يُؤَاجِرْهَا ».
เชคอัลบานีกล่าวว่า  เป็นหะดีษ  เศาะหิ๊หฺ

หะดีษที่ 2179
حَدَّثَنَا أَبُو عُمَيْرٍ عِيسَى بْنُ مُحَمَّدٍ النَّحَّاسُ وَعِيسَى بْنُ يُونُسَ وَالْحُسَيْنُ بْنُ أَبِى السَّرِىِّ الْعَسْقَلاَنِىُّ قَالُوا حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ عَنِ ابْنِ شَوْذَبٍ عَنْ ثَابِتٍ الْبُنَانِىِّ عَنْ أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ قَالَ أَتَى رَجُلٌ بِقَاتِلِ وَلِيِّهِ إِلَى رَسُولِ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- فَقَالَ النَّبِىُّ
เชคอัลบานีกล่าวว่า  เป็นหะดีษ  เศาะหิ๊หฺ

หะดีษที่ 3460
حَدَّثَنَا عِيسَى بْنُ مُحَمَّدِ بْنِ النَّحَّاسِ الرَّمْلِىُّ وَأَيُّوبُ بْنُ مُحَمَّدٍ الرَّقِّىُّ قَالاَ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ عَنِ ابْنِ شَوْذَبٍ عَنْ بَهْزِ بْنِ حَكِيمٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ جَدِّهِ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ

เชคอัลบานีกล่าวว่า  เป็นหะดีษ  ฮาซัน



อิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานี บันทึกคำวิจารณ์ถึงอิบนิเชาซับ ไว้ว่า


อับดุลลอฮฺ บินเชาซับ อัลคูรอซานี  อบูอับดุลเราะหฺมาน อัลบัลคี อาศัยอยู่ที่เมืองบัศเราะฮ์ ต่อจากนั้นไปที่บัยตุลมักดิส

รายงานหะดีษจาก  :

ษาบิต อัลบะนานี, ฮาซันอัลบัศรี่, อิบนิซีรีน, บะฮ์ซุ บินหะกีม, สะอีดบินอบีอะรูบะฮฺ,อามิรบินอับดุลวาฮิด,อับดุลลอฮฺบินอัลกอสิม,มาลิกบินดีนาร,มุฮัมมัด บินญุหาดะฮฺ และมะฏ็อร อัลวัรรอก คนอื่นๆ


ผู้ที่รายงานหะดีษจากเขา  :

เฎาะมะเราะฮฺ บินเราะบีอะฮ์, อบูอิสฮ๊ากอัลฟะรอซี, อิบนุมุบารอก,อีซา บินยูนุส,มุฮัมมัดบินกะษีรอัลมะศีศี และคนอื่นๆ

عن أحمد ابن شوذب كان من الثقات
อิหม่ามอะหมัด กล่าวว่า อิบนิเชาซับ คือนักรายงานที่เชื่อถือได้คนหนึ่ง

وقال سفيان كان بن شوذب من ثقات مشائخنا
สุฟยาน กล่าวว่า อิบนิเชาซับ คือนักรายงานที่เชื่อถือได้จากบรรดาอาจารยืคนหนึ่งของเรา

 
قال بن معين وابن عمار والنسائي ثقة
อิบนุมะอีน ,อิบนุอัมมารและอันนะซาอี กล่าวว่า  เขาเชื่อถือได้ในการรายงาน

قال أبو حاتم لا بأس به
อบูหาติม กล่าวว่า (การายงานของ)เขาไม่เป็นไร
 
وذكره بن حبان في الثقات
อิบนิหิบบานกล่าวถึงเขาไว้ในหนังสืออัษษิกอต

ووثقه العجلي أيضا
และอัลอิจญ์ลี ให้ความเชื่อถือต่อเขาเช่นกัน


ดูตะฮ์ซีบุต-ตะฮ์ซีบ อันดับที่ 448

تهذيب التهذيب   ج 5 / ص 225 رقم 448


สรุปความว่า  การรายงานหะดีษของ  อับดุลลอฮฺ บินเชาซับ  เชื่อถือได้
  •  

L-umar


5. ฏ็อมเราะฮฺ บินเราะบีอะฮฺ  มรณะฮฺ.ศ. 182 →


อัซ-ซะฮะบีกล่าวว่า

ضمرة بن ربيعة الرملي  مشهور ما فيه مغمز.
وَثَّقَهُ أحمدُ، ويحيى بن معين.
وقال أبو حاتم: صاَلِحُ الحديث.
ميزان الاعتدال ج 2 / ص 330 رقم 3959

ฏ็อมเราะฮฺ บินเราะบีอะฮ์ อัลรอมลี  นั้นมัชฮูร คือเป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดังอันเป็นที่รู้จักดี  ในตัวเขาไม่มีข้อตำหนิใด
อิหม่ามอะหมัด และยะห์ยา บินมะอีน ถือว่าเขาเชื่อถือได้ในการรายงาน
อบูหาติมกล่าวว่า   เขา  ศอและห์ในหะดีษ( คือ หะดีษดี)

ดูมีซานุลอิ๊อฺติดาล อันดับที่ 3959


อิบนุหะญัรกล่าวว่า

(البخاري في الادب المفرد والاربعة) ضمرة بن ربيعة الفلسطيني أبو عبد الله الرملي.

อัลบุคอรีได้รายงานหะดีษของเขา (ฏ็อมเราะฮฺ)ไว้ในหนังสืออะดับมุฟร็อด  และทั้งสี่(คืออบูดาวูด, ติรมีซี,นะซาอีและอิบนิมาญาญะฮฺ รายงานหะดีษเขาไว้ในตำราสุนันของพวกเขา)

เขารายงานหะดีษจาก :
อิบรอฮีม อิบนิอบีอับละฮฺ, อัลเอาซาอี, บิล้าล บินกะอับ, อัสสะรี บินยะห์ยา อัชชัยบานี, อัษเษารี,ชุร็อยหุ บินอุบัยดิน, ยะห์ยา บินอบีอัมรู อัชชัยบานี, อับดุลลอฮฺ บินเชาซับ, อุษมาน บินอะฏออ์ อัลคูรอซานี, อิสมาอีล บินอัยย๊าช และคนอื่นๆ

قال عبدالله ابن أحمد عن أبيه رجل صالح صالح الحديث من الثقات المأمونين لم يكن بالشام رجل يشبهه وهو أحب إلينا من بقية

อับดุลลอฮฺ บุตรอิหม่ามอะหมัด เล่าจากบิดาเขา กล่าวว่า  (ฎ็อมเราะฮฺ)เป็นคนดี และหะดีษดี เป็นหนึ่งจากนักรายงานที่เขื่อถือได้ มีความปลอดภัย ไม่เคยมีคนใดในเมืองช่ามเหมือนกับเขาเลย และเขาเป็นที่รักยิ่งของเรามากกว่าคนที่เหลือ

قال ابن معين والنسائي ثقة
อิบนิมะอีนและอันนะซาอี กล่าวว่า  เขาเชื่อถือได้

قال ابن سعد كان ثقة مأمونا خيرا لم يكن هناك أفضل منه
อิบนุสะอัดกล่าวว่า  เขาเชื่อถือได้ ปลอดภัย เป็นคนดี ไม่มีใครที่นั่นจะดีไปกว่าเขาอีกแล้ว
 
قلت: وذكره ابن حبان في الثقات
ฉัน(อิบนุหะญัร)กล่าวว่า
อิบนิหิบบานได้กล่าวถึงเขา (ว่าเชื่อถือได้ดูอัษ-ษิกอต  เล่ม 8 : 324อันดับที่ 13687)

قال العجلي ثقة
อัลอิจญ์ลี กล่าวว่า เขา(ฎ็อมเราะฮฺ) เชื่อถือได้ ( ดูอัษ-ษิกอต อัลอิจญ์ลี  อันดับที่ 782 )

ดูตะฮ์ซีบุต-ตะฮ์ซีบ  อันดับที่ 804
تهذيب التهذيب  ج 4 / ص 403 رقم 804




เชคอัลบานี

ให้การรับรองหะดีษของฎ็อมเราะฮ์บางบทว่า ฮาซันและซอฮิ๊ฮฺ ไว้ในหนังสือของเขาดังนี้


حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ إِسْمَاعِيلَ حَدَّثَنَا الْحَسَنُ بْنُ وَاقِعٍ الرَّمْلِىُّ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ شَوْذَبٍ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ الْقَاسِمِ عَنْ كَثِيرٍ مَوْلَى عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ سَمُرَةَ عَنْ عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ سَمُرَةَ قَالَ جَاءَ عُثْمَانُ إِلَى النَّبِىِّ -صلى الله عليه وسلم- بِأَلْفِ دِينَارٍ
تحقيق الألباني : حسن

ซอฮีฮุวะดออีฟสุนันติรมิซี หะดีษที่ 3701

เศาะหิ๊หฺอิบนิมาญะฮฺ  ดูหะดีษที่ 1987,2179,2601,3460,



สรุป  ฏ็อมเราะฮฺ บินเราะบีอะฮ์ เชื่อถือได้ในการรายงาน    
  •  

L-umar



6. อะลี บินสะอีด อัลร็อมลี →



ชื่อเต็มของเขาคือ อะลี บินสะอีด บินกุตัยบะฮฺ อัลรอมลี


عَلِىُّ بْنُ سَعِيدِ بْنِ قُتَيْبَةَ الرَّمْلِىُّ



อัซ-ซะฮะบี กล่าวว่า

عَلِيُّ بْنَ سَعِيْدِ الرَّمْلِيّ   : عن ضمرة بن ربيعة.  يثبت في أمره، كأنه صدوق.
ميزان الاعتدال  ج 3 / ص 131 رقم 5851

อะลี บินสะอีด อัลรอมลี   รายงานหะดีษจาก ฎ็อมเราะฮฺ บินเราะบีอะฮฺ  มีความมั่นคงในเรื่องของเขา เหมือนกับว่าเขา(อยู่ในระดับ)  เศาะดู๊ก คือเชื่อถือได้


ดูมีซานุลอิ๊อฺติดาล  อันดับที่ 5851    


อิบนุหะญัร กล่าวว่า

علي بن سعيد الرملي عن ضمرة بن ربيعة يثبت في أمره كأنه صدوق انتهى
لسان الميزان ج 4 / ص 232 رقم 616

อะลี บินสะอีด อัลรอมลี   รายงานหะดีษจาก ฎ็อมเราะฮฺ บินเราะบีอะฮฺ  มีความมั่นคงในเรื่องของเขา เหมือนกับว่าเขา(อยู่ในระดับ) ที่เชื่อถือได้ จบ.

ดูลิซานุลมีซาน อันดับที่ 616



หะดีษที่อะลี บินสะอีดรายงานจากฏ็อมเราะฮฺเช่น



حَدَّثَنَا عَلِىُّ بْنُ سَعِيدِ بْنِ قُتَيْبَةَ الرَّمْلِىُّ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ عَنِ ابْنِ عَطَاءٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ عَمْرِو بْنِ شُعَيْبٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ جَدِّهِ أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- قَالَ :

ดูสุนันบัยฮะกี หะดีษที่ 15691

حَدَّثَنَا عَلِىُّ بْنُ سَعِيدِ بْنِ قُتَيْبَةَ الرَّمْلِىُّ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ عَنِ ابْنِ عَطَاءٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ عَمْرِو بْنِ شُعَيْبٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ جَدِّهِ أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- قَالَ

ดูสุนันดารุกุฏนี หะดีษที่ 3384


ثنا علي بن سعيد بن قتيبة النسائي ، ثنا ضمرة بن ربيعة ، عن العلاء بن هارون ، عن ابن عون ، عن حفصة بنت سيرين ، عن الرباب عن سلمان بن عامر ، أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال : « صدقتك على المسكين صدقة ، وصدقتك على ذي رحمك ثنتان ، صدقة ، وصلة »
معجم ابن المقرئ ج 1 / ص 472
ดู
มุอ์ญัม อิบนิมุกริอฺ หะดีษที่ 470


บทสรุป


เมื่อไม่มีอุละมาอ์ซุนนี่ที่เชี่ยวชาญด้านอิลมุลริญาลวัดดิรอยะฮฺคนใดได้วิจารณ์ถึงอะลี บินสะอีดในทางลบ และผนวกกับท่านซะฮะบีกับท่านอิบนุหะญัรอัลอัสเกาะลานีได้ให้คำยกย่องถึงเขาไว้ นั่นย่อมแสดงว่าอะลี บินสะอีดอยู่ในสถานะที่ดี เชื่อถือได้ในการรายงาน ถึงแม้ว่าท่านบุคอรี,มุสลิม,อบูดาวูด,ติรมิซี,นะซาอีและอิบนิมาญะฮฺจะไม่ได้รายงานหะดีษของอะลีบินสะอีดไว้ก็ตาม แต่เขาก็ได้รับคำชมเชยว่า เศาะดู๊ก (เชื่อถือได้) และไม่มีนักวิชาการคนใดได้ตำหนิเขาไว้

เพราะฉะนั้นเราจะจัดระดับการรายงานหะดีษของอะลีบินสะอีดว่า อยู่ในหมู่บรรดานักรายงานหะดีษดออีฟ ได้อย่างไร ?

นั่นคือเหตุผลที่แสดงว่า  อะลี บินสะอีด อัลรอมลี  เชื่อถือได้ในการรายงานหะดีษ.  
  •  

L-umar


7. อบูนัศรฺ  หับชูน บินมูซา บินอัยยูบ อัลค็อลล้าล (ฮ.ศ.234-331) →


أَبُوْ نَصْرٍ حَبْشُونُ بْنُ مُوسَى بْنُ أَيُّوْبَ الْخَلاَّلُ


อัซ-ซะฮะบี กล่าวว่า

حبشون ابن موسى بن أيوب الشيخ، أبو نصر البغدادي الخلال
سمع من: الحسن بن عرفة، وعلي بن إشكاب، وعلي بن سعيد
الرملي، وحنبل بن إسحاق وغيرهم.
حدث عنه: أبو بكر بن شاذان، وعمر بن شاهين، وأبو الحسن الدارقطني، وأحمد بن الفرج بن الحجاج، وابن جميع الصيداوي، وآخرون.
وكان أحد الثقات .
توفي في شعبان سنة إحدى وثلاثين وثلاث مئة. وله سبع وتسعون سنة.
سير أعلام النبلاء للذهبي  ج 15 / ص 316  رقم 155

หับชูน อิบนิมูซา บินอัยยูบ อัช-ชัยคฺ  อบูนัศริน อัลบัฆดาดี อัลค็อลล้าล

เขารายงานหะดีษจาก  :  
อัลฮาซัน บินอะเราะฟะฮฺ, อะลี บินอิชกาบ, อะลี บินสะอีด อัลรอมลี, หันบัล บินอิสฮ๊าก และคนอื่นๆ

ผู้ที่รายงานหะดีษจากเขาคือ  :  
อบูบักร บินชาซาน, อุมัร บินชาฮัยนฺ , อบุลฮาซัน อัดดาร่อกุฏนี , อะหมัด บินอัลฟะร็อจญ์ บินอัลหัจญ๊าจญ์, อิบนุญะมี๊อฺ อัศ-ศ็อยดาวี และคนอื่นๆ

เขาเป็นบุคคลหนึ่งที่เชื่อถือได้ในการรายงาน

มรณะในเดือนชะอ์บาน  ปีฮ.ศ. 331  รวมอายุได้ 97 ปี


ดู สิยัร อะอ์ลามุน-นุบะลาอ์ อันดับที่ 155



อัด-ดารุกุฎนีกล่าวว่า

حبشون بن موسى بن أيوب الخلال صدوق كتبنا عنه عن علي بن سعيد بن قتيبة الرملي والحسن بن عرفة وعبد الله بن أيوب المخرمي وحنبل بن إسحاق وغيرهم .
كتاب : الْمُؤْتَلِف وَالْمُخْتَلِف للدارقطني ج 2 / ص 92

หับชูน อิบนิมูซา บินอัยยูบ อัลค็อลล้าลนั้น  เศาะดู๊ก คือเชื่อถือได้  

เราได้บันทึกรายงานหะดีษของเขาที่มาจากทางอะลี บินสะอีด บินกุตัยบะฮฺ อัลรอมลี... และคนอื่นๆ


อ้างอิงจาก หนังสืออัลมุอ์ตะลิฟ วัลมุคตะลิฟ  เล่ม 2 : 92



อัลเคาะฏีบ อัลบัฆดาดีกล่าวว่า



حبشون بن موسى بن أيوب أبو نصر الخلال
 
หับชูน อิบนิมูซา บินอัยยูบ อบูนัศริน อัลค็อลล้าล
 
سمع علي بن سعيد بن قتيبة الرملي والحسن بن عرفة العبدي وعلي بن عمرو الأنصاري وعلي بن الحسين بن أشكاب وعبد الله بن أيوب المخرمي وسليمان بن توبة النهرواني وحنبل بن إسحاق الشيباني

เขารายงานหะดีษจาก : อะลี บินสะอีด บินกุตัยบะฮฺ อัลรอมลี และ...

روى عنه أبو بكر بن شاذان وأبو الحسن الدارقطني وأبو حفص بن شاهين وأحمد بن الفرج بن الحجاج وأبو القاسم بن الثلاج وغيرهم

 ผู้ที่รายงานหะดีษจากเขาคือ :  อบูบักร บินชาซาน , อบุลฮาซัน อัด-ดาร่อกุฏนี...

وكان ثقة يسكن باب البصرة

เขาเป็นผู้ที่เชื่อถือได้ (ในการรายงาน) อาศัยอยู่ที่ประตูเมืองบัศเราะฮฺ


أنبأنا الأزهري أنبأنا علي بن عمر الحافظ قال حبشون بن موسى بن أيوب الخلال صدوق

อัลอัซฮะรีเล่าให้เราฟัง อะลี บินอุมัร อัลฮาฟิซเล่าให้เราฟังว่า  หับชูน บินมูซา บินอัยยูบอัลค็อลล้าล นั้น เศาะดู๊ก เชื่อถือได้


ดูหนังสือ  ตารีคแบกแดด โดยอัลคอเตบ อัลบัฆดาดี  เล่ม 8 : 289 อันดับที่ 4392

تاريخ بغداد  المؤلف : أحمد بن علي أبو بكر الخطيب البغدادي ج 8 / ص 289 رقم 4392


สรุป

นักวิชาการสามท่านดังต่อไปนี้คือ ท่านซะฮะบี ท่านอัด-ดาร่อกุฏนีและท่านคอเตบอัลบัฆดาดี ได้กล่าวว่า

อบูนัศรฺ  หับชูน บินมูซา บินอัยยูบ อัลค็อลล้าล  นั้นษิเกาะฮ์  เศาะดู๊ก คือมีความเชื่อถือได้ในการรายงาน
  •  

L-umar


8. อะลี บินอุมัร อัด-ดาร่อกุฏนี สังกัดมัซฮับชาฟิอี ( ฮ.ศ. 306 - 385) →


عَلِيُّ بْنُ عُمَرَ الدَّارُ قُطْنِيّ

เจ้าของหนังสือหะดีษชื่อ " สุนัน ดาเราะกุฏนี - سنن الدارقطنى "

ชื่อเต็มคือ :

أَبُو الْحَسَنِ أَبُو الْحَسَنِ عَلِىُّ بْنُ عُمَرَ بْنِ أَحْمَدَ بْنِ مَهْدِىٍّ بن مسعود بن النعمان بن دينار البغدادي

อบุลฮาซัน อะลี บินอุมัร บินอะหมัด บินมะฮ์ดี บินมัสอู๊ด บินอัน-นุอ์มาน บินดีน้าร อัลบัฆดาดี


เกิดที่ ดารุลกุฏนิ ย่านหนึ่งของเมืองแบกแดด  ด้วยเหตุนี้จึงมีฉายาว่า " อัด-ดาเราะ กุฏนี "


ชีวประวัติของ อัด- ดาเราะกุฏนี ได้รับการยกย่องชมเชยไว้อย่างสูงส่งจากตำราต่อไปนี้

1.   สิยัร อะอ์ลามุน-นุบะลาอ์ ของซะฮะบี  เล่ม 16 : 449 อันดับที่ 332
2.   ตัซกิเราะตุลฮุฟฟาซ ของอิบนิหะญัร เล่ม 3 : 186
3.   วะฟะยาตุล อะอ์ยาน ของอิบนิค็อลกาน เล่ม 2 : 459
4.   ตารีคบัฆด๊าด ของอัลคอฏีบบัฆดาดี  เล่ม 12 : 34
5.   อัลบิดายะฮ์ วันนิฮายะฮ์ ของอิบนิกะษีร เล่ม 11 : 317


อิบนุกะษีร (เจ้าของตัฟสีรอิบนิกะษีร ) กล่าวว่า
 
علي بن عمر بن أحمد بن مهدي بن مسعود بن دينار بن عبدالله

อะลี บินอุมัร บินอะหมัด บินมะฮ์ดี บินมัสอู๊ด บินดีน้าร บินอับดุลลอฮฺ
 
الحافظ الكبير أستاذ هذه الصناعة وقبله بمدة وبعده إلى زماننا هذا سمع الكثير وجمع وصنف وألف وأجاد وأفاد وأحسن النظر والتعليل والانتقاد والاعتقاد

คือนักท่องจำกุรอ่านผู้ยิ่งใหญ่ คือปรมาจารย์แห่งศาสตร์นี้ในช่วงเวลาทั้งก่อนหน้าเขาและหลังจากเขา จนถึงยุคของพวกเรา
เขาได้ฟัง(หะดีษ)มาจากมุหัดดิษมากมาย  ได้ทำการรวบรวมไว้และเรียบเรียง(เป็นตำรา) และได้ทำไว้ไว้อย่างดี ได้ให้ประโยชน์(แก่ผู้อื่น)  และเขายังมีความเยี่ยมยอดต่อการให้ทัศนะ  ให้คำอธิบาย ให้คำวิพากษ์วิจารณ์และเรื่องอิ๊อฺติกอด  

وكان فريد عصره ونسيج وحده وإمام دهره في أسماء الرجال وصناعة التعليل والجرح والتعديل
وحسن التصنيف والتأليف واتساع الرواية والاطلاع التام في الدراية له كتابه المشهور من أحسن المصنفات في بابه

เขายอดเยี่ยมที่สุดใน ยุคของเขา มีเพียงคนเดียวที่เขียนเป็นเรื่องเป็นราว  เป็นอิหม่ามแห่งยุคนั้นในศาสตร์เกี่ยวกับรายชื่อนักรายงานหะดีษ  การให้คำอธิบายถึงอิลละฮ์ต่างๆเกี่ยวหะดีษ  วิชาญะเราะห์วัตตะอ์ดีล   แต่งและเรียงเรียงตำรับตำราดี  มีความรู้อย่างกว้างขวางเรื่องริวายะฮ์ และรอบรู้อย่างมบูรณ์แบบในวิชาดิรอยะฮ์   ซึ่งหนังสือของเขามีชื่อเสียงที่สุดในประเด็นนี้

لم يسبق إلى مثله و لا يلحق في شكله إلا من استمد من بحره وعمل كعمله وله كتاب العلل بين فيه الصواب من الدخل والمتصل من المرسل والمنقطع والمعضل وكتاب الافراد الذي لا يفهمه فضلا عن أن ينظمه إلا من هو من الحفاظ الأفراد والأئمة النقاد والجهابدة الجياد

ไม่มีใครเหมือนเขามาก่อน และมีใครตามติดมาในแบบเขาด้วย ยกเว้นผู้ที่ได้รับมาจากความรู้ของเขา และได้ทำเช่นการกระทำของเขา   สำหรับเขามีหนังสือ(ดังต่อไปนี้)  กิตาบ อิลัล, กิตาบ อิฟรอด ที่ไม่มีใครค่อยเข้าใจมัน อย่าว่าแต่จะทำการเรียบเรียงมันใหม่เลย  นอกจาก บุคคลที่เป็นหนึ่งจากนักท่องจำ และเป็นผู้นำแห่งการวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งถือได้ว่าสุดยอดจริงๆ  

وكان من صغره موصوفا بالحفظ الباهر والفهم الثاقب

ตอนเขายังเด็กนั้นมีคุณสมบัติต่อเรื่องความจำเป็นเลิศ  และมีความเข้าใจอันแหลมคม

وقال ابن الجوزي وقد اجتمع له مع معرفة الحديث والعلم بالقراءات والنحو والفقه والشعر مع الإمامة والعدالة وصحة العقيدة
البداية والنهاية ج 11 / ص 317

อิบนุลเญาซีกล่าวว่า  สำหรับตัวเขานั้นได้รวบรวมไว้ด้วยวิชาหะดีษ   วิชาว่าด้วยเรื่องการอ่านกุรอ่านในกิระอะฮ์ต่างๆ  วิชานะฮู  ฟิกฮฺ  บทกวี พร้อมทั้งเป็นอิหม่าม มีอะดาละฮฺ และมีอะกีดะฮ์ที่ถูกต้อง
 
อ้างอิงจากหนังสือ

อันบิดายะฮ์ วันนิฮาบะฮ์ ของอิบนิกะษีร เล่ม 11 : 317




อัซ-ซะฮะบี กล่าวว่า

 
الدَّارَقُطْنِيُّ الإِمَامُ الْحَافِظُ المجود، شيخ الاسلام، علم الجهابذة، أَبُو الْحَسَنِ ، عَلِىُّ بْنُ عُمَرَ بْنِ أَحْمَدَ بْنِ مَهْدِىٍّ بْنُ مَسْعُودٍ بْنُ النُّعْمَانِ بْنُ دِينَارٍ بْنُ عَبْدِ اللَّهِ البغدادي المقرئ المحدث،

อัด-ดาเราะกุฏนี  (เขาเป็นทั้ง) อิหม่าม  นักท่องจำอัลกุรอ่าน  นักตัจญ์วีด  ชัยคุลอิสลาม  นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ
ชื่อคือ อบุลฮาซัน อะลี บินอุมัร บินอะหมัด บินมะฮ์ดี บินมัสอูด บินอัน-นุอฺมาน บินดีนาร บินอับดุลลอฮฺ ชาวเมืองแบกแดด เป็นนักอ่านกุรอ่าน และนักรายงานหะดีษ
 
ومن أئمة الدنيا، انتهى إليه الحفظ ومعرفة علل الحديث ورجاله، مع التقدم في القراءات وطرقها، وقوة المشاركة في الفقه، والاختلاف، والمغازي، وأيام الناس، وغير ذلك.

เป้นหนึ่งในบรรดาอิหม่ามผู้นำ(ศาสนา)ทางโลก  เรื่องความจดจำ  ความเข้าใตสาเหตุต่างๆของหะดีษ และนักรายงานหะดีษ สิ้นสุดที่เขา  พร้อมทั้งล้ำหน้าในวิชาการอ่านกุรอ่านด้วยกิรออะฮ์ต่างๆ และสายรายงานต่างๆของมัน  มีความแข็งแกร่งร่วมอยู่ในวิชาฟิกฮฺ และ(ฟิกฮฺ)ที่แตกต่างกัน  เรื่องมะฆอซี(สงคราม) เรื่องราววันเวลาของมนุษย์ และเรื่องอื่นๆ


อ้างอิงจากหนังสือ สิยัร อะอ์ลามุน-นุบะลาอฺ  เล่ม 16 : 449  อันดับที่ 332

 سير أعلام النبلاء  ج 16 / ص 449 رقم 332




สรุป  


จากคำยกย่องของท่านอิบนุกะษีรและท่านซะฮะบีคงพียงพอแล้ว

สำหรับฐานะภาพความน่าเชื่อถือในการรายงานหะดีษของ  

อะลี  บิน อุมัร   อัด-ดาเราะ กุฏนี.
  •  

L-umar


9 .อับดุลลอฮฺ บินอะลี บินมุฮัมมัด บินบัชรอน (ฮ.ศ.355 - 429) →


عَبْدُ اللَّهِ بْنُ عَلِيِّ بْنُ مُحَمَّدِ بْنِ بَشْرَانِ


อัลฮาฟิซ อบูบักร อัลเคาะฏีบ อัลบัฆดาดีกล่าวว่า

عبد الله بن على بن محمد بن عبد الله بن بشران أبو محمد الشاهد سمع أبا بكر بن مالك القطيعي وأبا محمد بن ماسي ومحمد بن الحسن اليقطيني ومخلد بن جعفر ومن بعدهم كتبت عنه وكان سماعه صحيحا وسمعته يقول ولدت في يوم الأربعاء الحادي والعشرين من جمادى الآخر سنة خمس وخمسين وثلاثمائة ومات في ليلة الجمعة الثاني والعشرين من شوال سنة تسع وعشرين وأربعمائة ودفن في صبيحة تلك الليلة بباب حرب

الكتاب : تاريخ بغداد  ج 10 ص 14 رقم 5130
المؤلف : أحمد بن علي أبو بكر الخطيب البغدادي
الناشر : دار الكتب العلمية – بيروت


คำแปล :

อับดุลลอฮฺ บินอะลี บินมุฮัมมัด บินอับดุลลอฮฺ บินบัชรอน  ฉายา อบูมุฮัมมัด อัชชาฮิด
ได้ฟัง(หะดีษจาก) อบูบักร บินมาลิก อัลเกาะฏีอี, อบูมุฮัมมัด บินมาซี, มุฮัมมัด บินอัลฮาซัน อัลยักฏีนี, มัคลัด บินญะอ์ฟัร และผู้ที่มาหลังจากพวกเขา

(อัลเคาะฏีบ) กล่าวว่า : ฉันบันทึก(รายงานหะดีษ)จากเขา และการรับฟัง(หะดีษ)ของเขานั้น" เศาะหิ๊หฺ " คือถูกต้อง

ฉันได้ยินเขาเล่าว่า  เขาเกิดในวันพุธ ที่ 21 เดือนญุมาดิลอาคิร ปีฮ.ศ. 355
และเสียชีวิตในคืนวันศุกร์ที่ 22  เดือนเชาวาล ปีฮ.ศ.429  
เขาถูกฝังในตอนเช้าของคืนนั้นที่ประตู " บาบุ หัรบ์ "



อ้างอิงจากหนังสือ

ตารีคบัฆด๊าด  เล่ม 10 หน้า 14 อันดับที่ 5130



ดูภาพหน้าปกหนังสือได้ที่เวบ
http://www.neelwafurat.com/itempage.aspx?id=lbb78090-38561&search=books



บทสรุป :

เมื่อนักวิชาการอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ได้ให้คำวิจารณ์ถึงนักรายงานนับตั้งแต่อับดุลลอฮฺ บินอะลีบินมุฮัมมัดบินบัชรอน จนถึง→ เศาะหาบะฮ์ที่ชื่อ " อบูฮูร็อยเราะฮ์ " ว่า

" มีความเชื่อถือ ได้ในการรายงานหะดีษ "  


ดังนั้นหะดีษบทนี้จึงอยู่ในสถานะที่  " ที่เชื่อถือได้ "





อาจารย์ฟารีดเฟ็นดี้ ได้ประณามชีอะฮ์ว่า โกหก  ดังนี้

ประการที่สาม

ชีอะฮ์อ้างว่า อายะห์นี้ถูกประทานลงมาที่ ฆ่อดีรคุม ซึ่งเราจะตามไปดูการอ้างเท็จของพวกเขาดังนี้
คำว่า "ฆ่อดีรคุม" เป็นชื่อแอ่งน้ำที่อยู่ระหว่างมักกะห์กับมะดีนะห์ ซึ่งในขณะที่ท่านนบีได้กลับจากการทำฮัจญ์ ถูกเรียกว่าฮัจญะตุ้ลวะดาอ์ หมายถึงฮัจญ์ครั้งอำลาของท่านนบี  เมื่อมาถึงที่ฆ่อดีรคุม ท่านนบีได้สั่งให้แวะพัก โดยให้บรรดาศอฮาบะห์เก็บกวาดหนามโดยรอบบริเวณ แล้วท่านก็คุตบะห์ (เราจะได้นำเรื่องนี้มาคุยกันในหัวข้อถัดไป)
เหตุการณ์ที่ฆ่อดีรคุมนั้น ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 18 เดือนซุลฮิจญะห์  

แต่ก่อนหน้านี้ 9 วัน คือวันศุกร์ที่ 9 เดือนเดียวกันนี้ ขณะที่ท่านนบีกำลังวูกุฟอยู่ที่ทุ่งอะรอฟะห์ในช่วงเวลาประมาณอัศร์ พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงประทานอัลกุรอานลงมาว่า

الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ الْإِسْلَامَ دِينًا

"วันนี้ข้าได้ให้ศาสนาของพวกเจ้าครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว และความเมตตาของข้าที่มีต่อพวกเจ้าเปี่ยมล้น และข้าพอใจที่ให้อิสลามเป็นศาสนาแก่พวกเจ้า" ซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ที่ 3

บรรดานักวิชาการต่างยืนยันตรงว่าอายะห์ที่ 3 นี้ถูกประทานลงมาในวันศุกร์ที่ 9 เดือนซุลฮิจญะห์ ปีที่ 10 ฮิจเราะห์ศักราช  ขณะที่ท่านนบีกำลังวุกูฟอยู่ที่ทุ่งอะรอฟะห์ในการทำฮัจญะห์ครั้งอำลาของท่าน และเป็นอายะห์สุดท้ายของอัลกุรอานที่ถูกประทานลง  แต่เหตุการณ์ที่ฆ่อดีรคุมนั้น เกิดขึ้นในวันที่ 18 เดือนซุลฮิจญะห์ หลังจากทำฮัจญ์เรียบร้อยแล้ว จึงเป็นข้อพิสูจน์ความโกหกของชีอะฮ์อีกประการหนึ่งคือ ในเมื่ออัลลอฮ์ได้ลงอัลกุรอานอายะห์สุดท้ายมายืนยันว่าอิสลามครบถ้วนสมบูรณ์ไปแล้ว และเช่นไรเล่าที่ชีอะฮ์ได้อ้างว่าคำสั่งแต่งตั้งอายะห์ที่ 67 ถูกประทานลงมาที่ฆ่อดีรคุมหลังจากนั้น หมายถึงหลังจากอิสลามครบถ้วนไปแล้วกระนั้นหรือ...

การกล่าวอ้างของกลุ่มชีอะฮ์ที่ว่า ซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ที่ 67 นี้ถูกประทานลงมาที่ฆ่อดีรคุม จึงเป็นเรื่องมดเท็จอย่างไม่ต้องสงสัย

อ้างอิงบทความจากเวบไซต์ ฟารีด เฟ็นดี้
http://www.fareedfendy.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=137



เราชีอะฮ์จึงขอหักล้างคำพูดของอาจารย์ฟารีดด้วยหะดีษบทนี้

ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺกล่าวว่า  :
บุคคลใดได้ถือศีลอดในวันที่ 18 เดือนซุลหิจญะฮฺ   จะถูกบันทึกสำหรับเขา(ว่าเขา)ได้ถือศีลอดถึง 60 เดือน และมัน( วันที18 )คือวันที่เฆาะดีรคุม  ตอนที่ท่านนบี(ศ)ได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้น) แล้วกล่าวว่า : ฉันคือผู้ปกครองของบรรดามุอฺมินทั้งหลายใช่หรือไม่ ?
พวกเขา(บรรดาซออาบะฮฺ)กล่าวว่า : หามิใช่แล้วครับ โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ
ท่าน(ศ)จึงกล่าวว่า : บุคคลใดที่ฉันคือผู้ปกครองของเขา ดังนั้นอะลีก็คือผู้ปกครองของเขา
ท่านอุมัรบินคอตตอบได้กล่าวว่า : ขอแสดงความยินดีกับท่านด้วย โอ้บุตรของอบูตอลิบ (บัดนี้)ท่านได้กลายเป็นเมาลาผู้ปกครองของฉันและผู้ปกครองของมุสลิมทุกคนแล้ว  ดังนั้นอัลลอฮ์จึงทรงประทานโองการนี้ลงมา (الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ  )  วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้ว ... (ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 3 )

อ้างอิงจากหนังสือ
ตารีคบัฆด๊าด โดยอัลเคาะฏีบอัลบัฆดาดี เล่ม 8 : 289  หะดีษที่ 4392

บัดนี้พวกท่านทั้งซุนนี่และชีอะฮ์ คงประจักษ์แล้วนะครับว่า   คนที่ปลิ้นปล้อนอำพลางศาสนาตัวจริงคือ อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้
และที่ต่ำทรามหนักลงไปอีกคือ เขายังได้ใส่ร้ายชีอะฮ์ว่า โกหกมดเท็จ.

สมจริงดังที่อัลลอฮฺตะอาลาที่ตรัสว่า

فَمَنْ أَظْلَمُ مِمَّنِ افْتَرَى عَلَى اللَّهِ كَذِبًا أَوْ كَذَّبَ بِآَيَاتِهِ إِنَّهُ لَا يُفْلِحُ الْمُجْرِمُونَ

ดังนั้น ผู้ใดเล่าจะอธรรมยิ่งไปกว่า  ผู้กล่าวเท็จต่อัลลอฮฺ หรือปฏิเสธต่อบรรดาโองการของพระองค์  แท้จริงบรรดาผู้ทำผิดนั้นย่อมไม่บรรลุความสำเร็จได้

บทที่ 10 : 17  



คนอย่างอาจารย์ฟารีด คือ อาชญากรทางศาสนา ตามที่อัลลอฮฺตรัสไว้นั่นเอง.

ทางสุดท้ายที่อาจารย์ฟารีดจะเล่นลิ้นในเรื่องนี้ต่อได้คือ เขาจะสร้างคำถามต่อพวกชีอะฮ์ว่า

ท่านมายกหลักฐานของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ทำไม ?   แล้วหลักฐานในเรื่องนี้จากตำราชีอะฮ์ล่ะมีไหม ?

ตอนต่อไป เราจะนำเสนอหลักฐานในเรื่องนี้จากตำราหะดีษชีอะฮ์ ซึ่งเป็นหะดีษบทเดียวกันให้ท่านได้ดู

อินชาอัลลอฮฺ ตะอาลา.
  •  

30 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้