Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

ธันวาคม 22, 2024, 12:37:12 หลังเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
  • สมาชิกทั้งหมด: 1,718
  • Latest: Haroldsmolo
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 3,699
  • หัวข้อทั้งหมด: 778
  • Online today: 54
  • Online ever: 200
  • (กันยายน 14, 2024, 01:02:03 ก่อนเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 48
Total: 48

หนังสือ อัลอิ๊อฺติกอด๊าต โดยเชคศอดูก

เริ่มโดย L-umar, สิงหาคม 13, 2009, 09:38:41 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar


وَالسَّماوَاتُ مَطْوِيَّاتٌ بِيَمِينِهِ

และชั้นฟ้าทั้งหลายจะม้วนกลิ้งด้วยมือขวาของพระองค์

( อัซซุมัร : 67 )

يعني بقدرته.

หมายถึง  กุดเราะฮ์  คือ ด้วยพลังอำนาจของพระองค์
  •  

L-umar


وَجَاءَ رَبُّكَ وَالْمَلَكُ صَفًّا صَفًّا

และพระเจ้าของเจ้าได้เสด็จมา พร้อมทั้งมลาอิกะฮ์ด้วยเป็นแถว

( อัลฟัจญ์รุ : 22 )

يعني وجاء أمر ربك

หมายถึง และบัญชา(คำสั่ง)ของพระเจ้าของเจ้าได้มา
  •  

L-umar


كَلَّا إِنَّهُمْ عَنْ رَبِّهِمْ يَوْمَئِذٍ لَمَحْجُوبُونَ

มิเช่นนั้น แท้จริงพวกเขาในวันนั้น  จะถูกกั้นจากพระเจ้าของพวกเขา

( อัลมุฏ็อฟฟิฟีน : 15 )

يعني عن ثواب ربهم.

หมายถึง  (ถูกกั้น)จาก ษะวาบ(รางวัล)ของพระเจ้าของพวกเขา
  •  

L-umar


هَلْ يَنْظُرُونَ إِلَّا أَنْ يَأْتِيَهُمُ اللَّهُ فِي ظُلَلٍ مِنَ الْغَمَامِ وَالْمَلَائِكَةُ

พวกเขามิได้รอคอยอะไร นอกจากการที่อัลลอฮฺและมลาอิกะฮฺของพระองค์จะมายังพวกเขา ในร่มเงาจากเมฆ

( 2 : 210 )


أي عذاب الله

คือ อะซาบ(การลงโทษ)ของอัลลอฮฺ(จะมายังพวกเขา)
  •  

L-umar




وُجُوهٌ يَوْمَئِذٍ نَاضِرَةٌ   إِلَى رَبِّهَا نَاظِرَةٌ

หลายๆใบหน้า ในวันนั้น จะเบิกบาน   (ใบหน้าเหล่านั้นจะ) มองไปยังพระเจ้าของมัน

(  75 : 22-23 )

يعني مشرفة تنظر ثوابها ربها.

หมายถึง หลายๆใบหน้าจะมองไปยังษะวาบรางวัลของมัน (ที่)พระเจ้าของมัน(มอบให้)
  •  

L-umar



وَمَنْ يَحْلِلْ عَلَيْهِ غَضَبِي فَقَدْ هَوَى

และผู้ใดที่ความโกรธของข้า เกิดขึ้นแก่เขา แน่นอนเขาจะประสบความพินาศ

(  20 : 81 )

وغضب الله عقابه، ورضاه ثوابه.

ความโกรธของอัลลอฮฺ คือ อิกอบ(การลงโทษ)ของพระองค์   และความริฏอ(พอใจ)ของพระองค์ คือ ษะวาบรางวัลของพระองค์
  •  

L-umar



تَعْلَمُ مَا فِي نَفْسِي وَلَا أَعْلَمُ مَا فِي نَفْسِكَ

พระองค์ทรงรู้สิ่งที่อยู่ในใจของฉัน  และฉันไม่รู้ในสิ่งที่อยู่ในใจของพระองค์

(  5 : 116 )

أي تعلم غيبي ولا أعلم غيبك.

หมายถึง พระองค์ทรงรู้ความลับของฉัน และฉันไม่รู้ความเร้นลับของพระองค์
  •  

L-umar



وَيُحَذِّرُكُمُ اللَّهُ نَفْسَهُ

และอัลลอฮฺทรงเตือนพวกเจ้า (ให้ยำเกรงพระองค์ )

(  3 : 28 )

يعني انتقامه.

หมายถึง การลงโทษของพระองค์
  •  

L-umar



إِنَّ اللَّهَ وَمَلَائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ

แท้จริงอัลลอฮฺ และมลาอิกะฮฺ ได้ซอละวาต  ให้แก่ นบี

(  33 : 56 )

และ

هُوَ الَّذِي يُصَلِّي عَلَيْكُمْ وَمَلَائِكَتُهُ  

พระองค์คือ ผู้ทรงซอละวาต ให้พวกเจ้า และมลาอิกะฮ์ของพระองค์ด้วย

(  33 : 43 )

والصلاة من الله رحمة  ومن الملائكة  تزكية ومن الناس دعاء.

การซอล๊าต(ซอละวาต) จากอัลลอฮฺ     คือ  เราะห์มะฮ์ (ประทานความโปรดปรานให้)

การซอล๊าต(ซอละวาต) จากมลาอิกะฮ์  คือ  ตัซกียะฮ์ (การขัดเกลาให้ผ่องแผ้ว)

การซอล๊าต(ซอละวาต) จากมนุษย์      คือ  ดุอาอ์ (การวิงวอนขอพรต่ออัลลอฮฺให้)  
  •  

L-umar



وَمَكَرُوا وَمَكَرَ اللَّهُ وَاللَّهُ خَيْرُ الْمَاكِرِينَ

และพวกเขาได้วางแผน  และอัลลอฮฺก็วางแผนด้วย  และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงวางแผนที่ดีเยี่ยม

(  3 : 54 )

يُخَادِعُونَ اللَّهَ وَهُوَ خَادِعُهُمْ

(พวกมุนาฟิกนั้น) กำลังหลอกลวงอัลลอฮฺอยู่  ขณะเดียวกันพระองค์ก็หลอกลวงพวกเขา

(  4 : 142 )

اللَّهُ يَسْتَهْزِئُ بِهِمْ

อัลลอฮฺจะทรงเย้ยหยันพวกเขา

(  2 : 15 )

سَخِرَ اللَّهُ مِنْهُمْ

อัลลอฮฺได้ทรงเย้ยหยันพวกเขาแล้ว

(  9 : 79 )

نَسُوا اللَّهَ فَنَسِيَهُمْ

พวกเขาลืมอัลลอฮฺ แล้วพระองค์ก็ลืมพวกเขาบ้าง
 
(  9 : 67 )

ความหมายของโองการทั้งหมดนั้นคือ   แท้จริงอัลลอฮฺ อัซซะวะญัลจะทรงตอบแทนให้พวกเขา ด้วยการตอบแทนตามการวางแผน        

การหลอกลวง การเย้ยหยัน การดูหมิ่น การหลงลืม โดยที่พระองค์จะทำให้พวกเขาหลงลืมตัวของพวกเขาเอง



ดั่งที่อัลลอฮ์ อัซซะวะญัลได้ตรัสว่า

وَلَا تَكُونُوا كَالَّذِينَ نَسُوا اللَّهَ فَأَنْسَاهُمْ أَنْفُسَهُمْ

และพวกเจ้าอย่าได้เป็นเช่นบรรดาผู้ที่ลืมอัลลอฮฺ  มิฉะนั้นอัลลอฮฺจะทรงทำให้พวกเขาลืมตัวของพวกเขาเอง

(  59 : 19 )

เพราะว่าในความเป็นจริงแล้วนั้น อัลลอฮฺจะไม่ทรงวางแผนการร้าย  ไม่หลอกลวง  ไม่เย้ยหยัน ไม่ดูหมิ่น และไม่ทำเป็นลืม  

อัลลอฮ์ อัซซะวะญัล  ทรงสูงส่งจากสิ่งเหล่านั้น


จบบทที่ 1.
  •  

L-umar



บทที่  2


بَابُ الْإِعْتِقَاد فِي صِفاَتِ الذَّاتِ وَصِفَاتِ الْأَفْعَالِ

อะกีดะฮ์ชีอะฮ์เรื่อง   ซิฟะตุลเลาะฮฺ  ( พระคุณลักษณะของอัลลอฮฺ)


-   ซิฟาตุซ – ซ๊าต

-   ซิฟาตุล – อั้ฟอ้าล


เชคศอดูก (เราะฮิมะฮุลลอฮฺ ) กล่าวว่า :


كُلُّ مَا وَصَفْنَا اللهَ تعالى بِهِ مِنْ صِفَاتِ ذَاتِهِ فَإِنَّمَا نُرِيْدُ بِكُلِّ صِفَةٍ مِنْهَا نَفْيُ ضِدِّهَا عَنْهُ تعالى.

ทุกสิ่ง ที่เราได้ชี้แจงไปแล้วถึงอัลลอฮฺตะอาลาด้วยพระองค์เองจากบรรดาซิฟัตของซ๊าตของพระองค์  แท้จริงแล้วเรามุ่งหมายต่อทุกซิฟัตจากลักษณะต่างๆคือ ปฏิเสธสิ่งตรงกันข้ามกับมัน ออกไปจากพระองค์(อัลลอฮฺ )ตะอาลา

ونقول: لم يزل الله تعالى سميعا بصيرا عليما حكيما قادرا عزيزا حيا قيوما واحدا قديما وهذه صفات ذاته.

เราขอกล่าวว่า   :  อัลลอฮ์ตะอาลาทรงมีซิฟัต(ดังต่อไปนี้ ) มาแต่ดั้งเดิมคือ  ผู้ทรงได้ยิน  ผู้ทรงเห็น  ผู้ทรงรอบรู้  ผู้ทรงปรีชาญาณ  ผู้ทรงอานุภาพ  ผู้ทรงอำนาจ  ผู้ทรงมีชีวิต  ผู้ทรงดำรงอยู่ด้วยพระองค์เอง ผู้ทรงเอกะ ผู้ทรงเก่า  และคุณลักษณะ(ซิฟัต)เหล่านี้คือ ซิฟัตแห่งซ๊าตของพระองค์

ولا نقول: إنه تعالى لم يزل خلاقا  فاعلا شائيا مريدا راضيا ساخطا رازقا وهابا متكلما لأن هذه صفات أفعاله وهي محدثة لا يجوز أن يقال: لم يزل الله تعالى موصوفا بها.

เราจะไม่กล่าวว่า   :  

อัลลอฮ์ตะอาลา ทรงมี (ซิฟัตต่อไปนี้ ) มาแต่ดั้งเดิมคือ  ผู้สร้าง  ผู้กระทำ  ผู้มีความประสงค์  ผู้มีเจตนา  ผู้ทรงพอพระทัย  ผู้ทรงกริ้ว  ผู้ทรง
ประทานปัจจัย  ผู้ให้  ผู้ทรงตรัส  


เพราะ ซิฟัตอั้ฟอ้าล(การกระทำ)ของพระองค์เหล่านี้  มันคือ สิ่งใหม่ ที่พึ่งอุบัติ (มุห์ดะษะฮ์)  

จึงไม่อนุญาตให้เรากล่าวว่า  อัลลอฮ์มีซิฟัตดังกล่าวมาแต่ดั้งเดิม.
  •  

L-umar



บทที่  3

باب الاعتقاد في التكليف

อะกีดะฮ์ชีอะฮ์เรื่อง   อัต-ตักลีฟ  ( ภารกิจหน้าที่ )


เชคศอดูกกล่าวว่า :

اعتقادنا في التكليف هو أن الله تعالى لم يكلف عباده إلا دون ما يطيقون كما قال الله في القرآن

(  لَا يُكَلِّفُ اللَّهُ نَفْسًا إِلَّا وُسْعَهَا )  والوسع دون الطاقة.

อะกีดะฮฺของเราในเรื่องตักลัฟ(ภารกิจหน้าที่) คือ

แท้จริงอัลลอฮฺ ตะอาลา ไม่เคยวางบทบัญญัติใดให้ปวงบ่าวของพระองค์(ปฏิบัติ) นอกจาก ตามสิ่งที่พวกเขาสามารถ(ปฏิบัติได้)เท่านั้น  ดังที่

อัลลอฮฺทรงตรัสไว้ในอัลกุรอ่านว่า

لَا يُكَلِّفُ اللَّهُ نَفْسًا إِلَّا وُسْعَهَا

อัลลอฮฺจะไม่ทรงบังคับชีวิตหนึ่งชีวิตใด นอกจากตามความสามารถของชีวิตนั้นเท่านั้น
( 2 : 286)



وقال الصادق عليه السلام –

مَا كَلَّفَ اللَّهُ الْعِبَادَ إِلَّا مَا يُطِيقُونَ إِنَّمَا كَلَّفَهُمْ فِي الْيَوْمِ وَ اللَّيْلَةِ خَمْسَ صَلَوَاتٍ
وَ كَلَّفَهُمْ مِنْ كُلِّ مِائَتَيْ دِرْهَمٍ خَمْسَةَ دَرَاهِمَ
وَ كَلَّفَهُمْ صِيَامَ شَهْرٍ فِي السَّنَةِ
وَ كَلَّفَهُمْ حَجَّةً وَاحِدَةً وَ هُمْ يُطِيقُونَ أَكْثَرَ مِنْ ذَلِكَ

ท่านอิม่ามศอดิก(อ)กล่าวว่า  

อัลลอฮฺมิเคยวางภาระหน้าที่ให้ปวงบ่าว(ปฏิบัติ) นอกจาก สิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้  

แท้จริงพระองค์ทรงวางบทบัญญัติให้พวกเขา(ปฏิบัติ)ภายในวันหนึ่งและคืนหนึ่ง ทำนมาซห้าครั้ง  
 
ทรงวางบทบัญญัติให้พวกเขาจากทุกๆสองร้อยดิรฮัม (ให้จ่ายซะกาตเพียง) ห้าดิรฮัม

ทรงวางบทบัญญัติให้พวกเขาถือศีลอดหนึ่งเดือน ภายในหนึ่งปี

และทรงวางบทบัญญัติให้พวกเขาประกอบพิธีหัจญ์(วาญิบ)เพียงหนึ่งครั้งเท่านั้น ในขณะที่พวกเขามีความสามารถปฏิบัติได้มากกว่านั้น


สถานะหะดีษ  : เศาะหิ๊หฺ

ดูวะซาอิลุช – ชีอะฮ์   โดยหุรรุลอามิลี  เล่ม 1 : 29 หะดีษที่ 37
อัลมะฮาซิน  โดยอะหมัดอัลบัรกี เล่ม 20 : 14 หะดีษที่ 465


สรุป

ท่านอิม่ามศอดิก(อ)ได้ระบุว่า หน้าที่วาญิบที่ชีอะฮ์ต้องปฏิบัติคือ
1.   นมาซวาญิบ 5 ครั้ง คือ ซุบฮฺ  ซุฮ์ริ  อัศริ มัฆริบ อีชา ภายในหนึ่งวันหนึ่งคืน
2.   จ่ายซะกาต  ตามพิกัดทรัพย์ที่กำหนดไว้
3.   ถือศีลอดเดือนรอมฎอน
4.   ประกอบพิธีหัจญ์หนึ่งครั้งในชีวิต   (ผู้แปล.)
  •  

L-umar


บทที่  4

باب الاعتقاد في افعال العباد

อะกีดะฮ์ชีอะฮ์เรื่อง  การกระทำของปวงบ่าว ( มนุษย์)



เชคศอดูกกล่าวว่า :

اعتقادنا في أفعال العباد أنها مخلوقة خلق تقدير لا خلق تكوين ومعنى ذلك أنه لم يزل الله عالما بمقاديرها.

อะกีดะฮฺของเราในเรื่องการกระทำของปวงบ่าวคือ  แท้จริงมัน(การกระทำทั้งหลายนั้น) คือมัคลู๊ก ( สิ่งที่ถูกสร้าง) อันเป็นการสร้างแบบตักดีร มิใช่แบบตักวีน  หมายความว่า  แท้จริงพระองค์ทรงรอบรู้ต่อตักดีรต่างๆของมัน


เชคมุฟีดลูกศิษย์เชคศอดูก ได้กล่าวว่า :

الصحيح عن آل محمد صلى الله عليه وآله وسلم: أن أفعال العباد غير مخلوقة لله تعالى، والذي ذكره أبو جعفر - رحمه الله - قد جاء به حديث غير معمول به ولا مرضي الاسناد، والأخبار الصحيحة بخلافه،

มีรายงานที่ถูกต้องจากวงศ์วานของท่านนบีมุฮัมมัด(อ)ว่า :  แท้จริงการกระทำของปวงบ่าวนั้นไม่ใช่เป็นมัคลู๊กของอัลลอฮฺ ตะอาลา

สิ่งที่ท่านอบูญะอ์ฟัร(เชคศอดูก)ได้กล่าวมานั้นเป็นหะดีษที่มิได้ถูกนำมาปฏิบัติใช้ และสายรายงานหะดีษก็ไม่ได้รับความพอใจ(คือไม่ถูกต้อง)
ส่วนหะดีษต่างๆที่เศาะหิ๊หฺนั้นมีความหมายตรงข้ามกับมัน(คือหะดีษที่เชคศอดูกนำมาใช้)

เชคมุฟีดได้ยกหะดีษที่ถูกต้องมาแสดงดังนี้

روي عن أبي الحسن الثالث عليه السلام أنَّه سُئل عن أفعال العباد أهي مخلوقة للّه تعالى؟ فقال عليه السلام : لو كان خالقاً لها لما تبرّأ منها، وقد قال سبحانه: (أَنَّ اللَّهَ بَرِيءٌ مِنَ الْمُشْرِكِينَ)، ولم يُرد البراءة من خلق ذواتهم، وإنّما تبرّأ من شركهم وقبائحهم».

ท่านอบุลฮาซันอัษ-ษาลิษ คืออิม่ามอะลีอัลฮาดี(อ) ถูกถามถึงการกระทำของปวงบ่าวว่า มันคือมัคลู๊กของอัลลอฮฺ ตะอาลาใช่หรือไม่ ?

ท่านอิม่ามฮาดี(อ)ตอบว่า :

ถ้าหากอัลลอฮฺคือผู้สร้างมัน(การกระทำของมนุษย์)  แน่นอนพระองค์ก็จะไม่ปฏิเสธ(ว่าทรงมีส่วนเกี่ยวข้อง)จากมัน  และแน่นอนพระองค์ผู้ทรงบริสุทธิ์ได้ตรัสว่า  أَنَّ اللَّهَ بَرِيءٌ مِنَ الْمُشْرِكِينَ  (นี่คือประกาศ) การพ้นข้อผูกพันใดๆจากอัลลอฮ์ (9 : 3)

ซึ่งข้อผูกพ้นนี้มิได้หมายถึงจากการสร้างตัวตนของพวกเขา  แต่เป็นการพ้นข้อผูกพันจากการที่พวกเขาตั้งภาคี(ต่ออัลลอฮ์) และพฤติกรรมต่างๆที่เลวทรามของพวกเขา


อ้างอิงจาก  

ตัศฮีฮุ อิ๊อฺติกอดาติล อิมามียะฮ์ โดยเชคมุฟีด หน้า 42



สรุป

การกระทำของมนุษย์ในทัศนะชีอะฮ์คือ มันได้ออกมาจากตัวของมนุษย์เอง อัลลอฮฺมิเคยบังคับให้บุคคลใดฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์ จากนั้นก็นำบุคคลนั้นไปลงนรก ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือว่า เป็นความอธรรม และอัลลอฮฺทรงสูงส่งจากการอธรรม  ผู้แปล.
  •  

L-umar


นี่คืออะกีดะฮ์ของมัซฮับชีอะฮ์อะลี  

ผู้ใดกล่าวอ้างถึงเราชีอะฮ์อะลีอื่นจากนี้    ถือว่าผู้นั้นได้กล่าวหาชีอะฮ์  ใส่ร้ายแก่พวกชีอะฮ์  

หากพวกเขายังยืนกราน  เราจะฟ้องร้องต่ออัลเลาะฮ์ในวันกิยามะฮ์
  •  

48 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้