Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

ธันวาคม 23, 2024, 01:03:07 ก่อนเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
  • สมาชิกทั้งหมด: 1,718
  • Latest: Haroldsmolo
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 3,703
  • หัวข้อทั้งหมด: 778
  • Online today: 72
  • Online ever: 200
  • (กันยายน 14, 2024, 01:02:03 ก่อนเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 46
Total: 46

หนึ่งวัน หนึ่งอายัต 6

เริ่มโดย L-umar, สิงหาคม 27, 2009, 11:39:48 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar


หนึ่งวัน  หนึ่งอายัต  6


อัลเลาะฮ์  ญัลละ ญะลาล๊ะฮฺ ทรงตรัสว่า


إِنَّمَا ولِيُّكُمُ اللهُ وَرَسُولُهُ وَالَّذِينَ آمَنُوا الَّذِينَ يُقِيمُونَ الصَّلاَةَ وَيُؤْتُونَ الزَّكَاةَ وَهُمْ رَاكِعُونَ

แท้จริง วะลี ของพวกท่านนั้นมีเพียง อัลลอฮฺ  และรอซูลของพระองค์ และบรรดาผู้ศรัทธาที่กำลังทำนมาซและจ่ายทานซะกาต และขณะเดียวกันพวกเขาเป็นผู้รู๊อฺ(ก้มโค้งในนมาซ)


บทที่ 5 : 55


บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อตอบโต้บทความของวาฮาบีชื่อ อ.ฟารีด เฟ็นดี้ ดู

http://www.fareedfendy.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=133




เป็นธรรมเนียมปกติที่ต้องยอมรับว่า      มนุษย์ทุกคนในสังคมย่อมต้องพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อปกป้องสิ่งที่เขาเชื่อ  เพราะฉะนั้นหากมีสิ่งใด

คัดค้านกับความเชื่อของเขา    เขาจึงต้องค้นหาวิธีปกป้องตนเองและพวกเอาไว้   เฉกเช่นวาฮาบีอย่างเช่นท่านอาจารย์ฟารีด ที่พยายาม

เขียนบทความโจมตีมัซฮับชีอะฮฺ เพื่อป้องกันพวกพ้องของตนมิให้หลุดออกไปเป็นชีอะฮ์นั่นเองตามที่เจ้าตัวได้กล่าวไว้



ท่านต้องทราบก่อนว่า    สิ่งที่ชีอะฮ์เชื่อนั้นทุกสิ่งมีหลักฐานที่กำกับและระบุไว้ในตำราของชีอะฮ์เอง และชีอะฮ์ยังสามารถอ้างอิงความเชื่อ

ของชีอะฮ์ว่า ได้มีปรากฏอยู่ในตำราของฝ่ายซุนนี่เช่นกัน


ทั้งนี้เพื่อให้พี่น้องมุสลิมได้ตระหนักว่า    เป็นเรื่องแปลกแต่จริง กล่าวคือ สิ่งใดที่ชีอะฮ์เชื่อ สิ่งนั้นมีหลักฐานระบุไว้ในตำราชีอะฮ์ และมีปรากฏอยู่ในตำราฝ่ายซุนนี่ด้วย
 
ในทางกลับกัน สิ่งใดที่ซุนนี่เชื่อ สิ่งนั้นมีหลักฐานระบุไว้ในตำราซุนนี่เอง แต่กลับไม่มีปรากฏอยู่ในตำราของฝ่ายชีอะฮ์  


 
ด้วยจุดเด่นอันนี้  จึงเป็นเหตุทำให้พวกวาฮาบีพยายามโจมตีมัซฮับชีอะฮฺไปทั่วสาระทิศ  ซึ่งความจริงแล้ว พวกเขาทำไปเพื่ออุดมการณ์ผิดๆและค้านกับหลักฐานที่พวกเขายึดถือเท่านั้นเอง

อย่างไรก็ตามและการการตอบโต้ต่อชาววาฮาบีนั้น   ชีอะฮฺจักต้องตั้งอยู่บนหลักวิชาการอิสลามที่ถูกต้องและเป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่าย และกอรปกับจะต้องสำแดงอัคลากอิสลามที่ดีด้วย


กรณีที่ชีอะฮ์เชื่อว่า   อัลลอฮ์ตาอาลาทรงประทานบทที่ 5:55 ลงมาเกี่ยวกับท่านอิม่ามอะลีอะลัยฮิสสลาม จนเป็นเหตุให้ท่านอาจารย์ฟารีดออกมาเขียนบทความตอบโต้ว่า เป็นเรื่องเท็จที่ชีอะฮ์กุขึ้น
 


เราจะพิสูจน์ให้ท่านผู้อ่านพิจารณาเองว่า " ใครจริง และ " ใครเท็จ " โดยจะนำเสนอหลักฐานเป็นลำดับหัวข้อดังนี้


1.   นักตัฟสีรชีอะฮ์และรายชื่อตำราตัฟสีรที่กล่าวว่าบทที่ 5 : 55 ถูกประทานลงมาแก่ท่านอะลี

2.   มุหัดดิษชีอะฮ์และรายชื่อตำราหะดีษที่กล่าวว่าบทที่ 5 : 55 ถูกประทานลงมาแก่ท่านอะลี


3.   นักตัฟสีรซุนนี่และรายชื่อตำราตัฟสีรที่กล่าวว่าบทที่ 5 : 55 ถูกประทานลงมาแก่ท่านอะลี

4.   มุหัดดิษซุนนี่และรายชื่อตำราหะดีษที่กล่าวว่าบทที่ 5 : 55 ถูกประทานลงมาแก่ท่านอะลี


5.   บทสรุป
  •  

L-umar


หนึ่ง - นักตัฟสีรชีอะฮ์และรายชื่อตำราตัฟสีรที่กล่าวว่าบทที่ 5 : 55 ถูกประทานลงมาแก่ท่านอะลี



อะลี บินอิบรอฮีม อัลกุมมี มรณะฮ.ศ. 329 กล่าวว่า


أما قوله: { إِنَّمَا ولِيُّكُمُ اللهُ وَرَسُولُهُ وَالَّذِينَ آمَنُوا الَّذِينَ يُقِيمُونَ الصَّلاَةَ وَيُؤْتُونَ الزَّكَاةَ وَهُمْ رَاكِعُونَ
} فإنه حدثني أبي عن صفوان عن أبان بن عثمان بن أبي حمزة الثمالي عن أبي جعفر عليه السلام قال بينما رسول الله صلى الله عليه وآله جالس وعنده قوم من اليهود فيهم عبدالله بن سلام، إذ نزلت عليه هذه الآية فخرج رسول الله صلى الله عليه وآله إلى المسجد فاستقبله سائل، فقال: هل أعطاك أحد شيئاً؟ قال نعم، ذاك المصلي فجاء رسول الله صلى الله عليه وآله فإذا هو علي أمير المؤمنين عليه السلام.

تفسير القمى    انظر سورة المائدة  : 55
لابى الحسن على بن ابراهيم القمى رحمه الله

พระดำรัสของพระองค์ที่ตรัสว่า

إِنَّمَا ولِيُّكُمُ اللهُ وَرَسُولُهُ وَالَّذِينَ آمَنُوا الَّذِينَ يُقِيمُونَ الصَّلاَةَ وَيُؤْتُونَ الزَّكَاةَ وَهُمْ رَاكِعُونَ

แท้จริง วะลี ของพวกท่านนั้นมีเพียง อัลลอฮฺ  และรอซูลของพระองค์ และบรรดาผู้ศรัทธาที่กำลังทำนมาซและจ่ายทานซะกาต และขณะเดียวกันพวกเขาเป็นผู้รู๊อฺ(ก้มโค้งในนมาซ)

แท้จริงบิดาฉันได้เล่าให้ฉันฟัง จากศ็อฟวาน จากอะบาน บินอุษมาน บินอบีหัมซะฮฺ อัษษุมาลี จากท่านอิม่ามอบีญะอ์ฟัร (อ)กล่าวว่า  ขณะที่ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)นั่งอยู่ และมีชาวยิวกลุ่มชนหนึ่งอยู่กับท่านในนั้นมีท่านอับดุลลอฮฺ บินสะลามอยู่ด้วย  ทันใดได้มีโองการนี้ถูกประทานลงมายังท่าน  แล้วท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)ได้ออกไปยังมัสญิด มีขอทานคนหนึ่งได้พบกับท่าน  ท่านถามว่า มีใครได้มอบสิ่งหนึ่งให้กับท่านหรือไม่ ? เขาตอบว่า มีครับ  คือคนที่กำลังทำนมาซอยู่นั่นไง  ดังนั้นท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)จึงได้มา(ที่มัสญิด) แล้ว(ปรากฏว่า) เขาคนนั้นคือท่านอะลี อมีรุลมุอฺมินีน (อ)นั่นเอง


ตัฟสีร อัลกุมมี โดยอะลี บินอิบรอฮีม อัลกุมมี   เล่ม  1  ดูบทที่ 5 : 55


หมายเหตุ -  عليّ بن إبراهيم بن هاشم، أبو الحسن القمّي

อะลี บินอิบรอฮีม อัลกุมมีผู้นี้เป็นมุฟัสสิรและมุหัดดิษ คืออาจารย์คนหนึ่งของเชคกุลัยนีซึ่งเขาได้รายงานหะดีษจากอาจารย์คนนี้มากมายไว้ในหนังสืออัลกาฟี
  •  

L-umar


อัลอัยยาชี มรณะ ฮ.ศ. 230 รายงานว่า


عن خالد بن يزيد عن المعمر بن المكى عن اسحق بن عبدالله بن محمد بن على بن الحسين عليه السلام عن الحسن بن زيد عن أبيه زيد بن الحسن عن جده ( ع ) قال : سمعت عمار بن ياسر يقول : وقف لعلى بن أبيطالب عليه السلام سائل وهو راكع في صلوة تطوع ، فنزع خاتمه فأعطاه السائل فأتى رسول الله صلى الله عليه واله فاعلمه بذلك ،  فنزل على النبى صلى الله عليه واله وسلم هذه الاية \\\" انما وليكم الله ورسوله والذين آمنوا الذين يقيمون الصلوة ويؤتون الزكوة وهم راكعون \\\" إلى آخر الاية فقرأها رسول الله صلى الله عليه واله علينا ، ثم قال : من كنت مولاه فعلى مولاه ، اللهم وال من والاه وعاد من عاداه .

تفسير العياشى   ج 1 / ص 348  ح 137
لمؤلفه  المحدث الجليل المعروف بالعياشى رضوان الله عليه

รายงานจากคอลิด บินยะซีด จากมุอัมมัร บินอัลมักกี จากอิสฮ๊าก บินอับดุลลอฮฺ บินมุฮัมมัด บินอะลี บินอัลฮูเซน(อ) จากอัลฮาซัน บินเซด จากบิดาเขา คือท่านเซด บินอัลฮาซัน จากปู่ของเขา(อ)เล่าว่า :

ฉันได้ยินท่านอัมมาร บินยาสิรกล่าวว่า  :  มีขอทานคนหนึ่งหยุดต่อ(หน้า)ท่านอะลี บินอบีตอลิบ(อ)   ซึ่งท่านอยู่ในท่าก้มโค้งในขณะทำนมาซซุนนะฮ์    ท่านจึงถอดแหวนของเขาออกให้กับขอทานคนนั้น    

ทันใดนั้นท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)ได้เข้ามา   มีคนเล่าสิ่งนั้นให้ท่านทราบ     แล้วจึงมีโองการนี้ได้ถูกประทานลงมายังท่านนบี(ศ) คือ

(แท้จริง วะลี ของพวกท่านนั้นมีเพียง อัลลอฮฺ  และรอซูลของพระองค์ และบรรดาผู้ศรัทธาที่กำลังทำนมาซและจ่ายทานซะกาต และขณะเดียวกันพวกเขาเป็นผู้รู๊อฺ ) จนถึงท้านสุดของอายะฮ์  

ดังนั้นท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)จึงได้อ่านอายะฮ์นี้แก่พวกเรา  ต่อจากนั้นท่านกล่าวว่า :

บุคคลใดก็ตามที่ฉันเป็นผู้ปกครองของเขา  ดังนั้นอะลีก็เป็นผู้ปกครองของเขา  
โอ้อัลลอฮ์โปรดรักผู้ที่เป็นมิตรต่อเขา และโปรดชิงชังผู้ที่เป็นศัตรูต่อเขา  
 

ตัฟสีรอัยยาชี่  เล่ม  1 : 348 หะดีษที่ 137



หมายเหตุ

อบุล-นัฎรฺ  มุฮัมมัด บินมัสอู๊ด บินมุฮัมมัด บินอัลอัยย๊าช อัต-ตะมีมี อัลกูฟี เป็นชาวเมืองสะมัรกอนด์ เกิดในช่วงศตวรรษที่ 3 แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช  และมรณะมรณะ ฮ.ศ. 230 เดิมสังกัดอยู่ในมัซฮับอะฮ์ลุสสุนนะฮ์แล้วต่อมาได้เข้ารับชีอะฮฺ เป็นหนึ่งจากฟุเกาะฮาอ์ชีอะฮ์ผู้ยิ่งใหญ่ของมัซอับชีอะฮฺ ศึกษาร่ำเรียนจนมีความเชี่ยวชาญวิชาการอิสลามสาขาต่างๆมากมายเช่น ฟิกฮฺ  การแพทย์ ดาราศาสตร์และอื่นๆ เขาเขียนตำราไว้200 กว่าเล่ม  
ที่บ้านเขาเป็นแหล่งรวมนักการศาสนา นักศึกษา นักค้นคว้า นักคิดนักเขียน  เขาเป็นอาจารย์สอนศาสนาให้กับชาวซุนนี่และชีอะฮ์ มีลูกศิษย์มากมายเช่น เชคมุฮัมมัด บินอุมัร เจ้าของหนังสือริญานกัชชี่ และเชคญะอ์ฟัร อัยย๊าช บุตรของเขาเอง


สถานะการรายงานหะดีษ

محمد بن مسعود بن محمد بن عياش السلمي السمرقندي  ثقة، صدوق
رجال النجاشي - (ج 1 / ص 247  رقم 944

อันนะญาชีกล่าวว่า  มุฮัมมัด บินมัสอู๊ด บินมุฮัมมัด บินอัยย๊าช อัสสุละมี อัสสะมัรกอนดี  เชื่อถือได้ในการรายงาน  มีวาจาสัตย์


อ้างอิงจากหนังสือ

ริญาล นะญาชี่   ดูอันดับที่ 944
ริญาล อิบนิดาวูด  ดูอันดับที่ 1502
คุลาเศาะตุลอักวาล โดยอัลลามะฮ์ฮิลลี  ดูอันดับที่ 38
อัลกุลนา วัลอัลกอบ โดยเชคอับบาส อัลกุมมี  เล่มที่ 80 : 36
  •  

L-umar



ฟุรอต บินอิบรอฮีม บินฟุรอต อัลกูฟี มรณะ ฮ.ศ.352  รายงาน


فرات قال: حدثنا إسماعيل بن إبراهيم قال: حدثنا محمد بن الحسين بن أبي الخطاب، عن أحمد بن محمد بن أبي نصر، عن ثعلبة بن ميمون، عن سليمان بن طريف.
عن محمد بن مسلم قال: كنا عند أبي جعفر عليه السلام جلوسا صفين وهو على السرير وقد در علينا بالحديث، و فينا من السرور وقرة العين ماشاء الله فكأنا في الجنة، فبينا نحن كذلك إذا بالاذن فقال: سلام الجعفي بالباب، فقال أبوجعفر: إئذن له.
فدخلنا غم وهم ومشقة كراهية أن يكف عنا ما كنا فيه فدخل وسلم عليه فرد أبوجعفر ثم قال سلام: يا ابن رسول الله حدثني عنك خيثمة عن قول الله تعالى: (إنما وليكم الله ورسوله والذين آمنوا) ان الآية نزلت في علي بن أبي طالب. قال : صدق خيثمة.

تفسير فرات الكوفي  ح : 135  


อิสมาอีล บินอิบรออีมได้เล่าให้เราฟัง เขากล่าวว่า  มุฮัมมัด บินอัลฮาซัน อิบนิอบิลคอตตอบได้เล่าให้เราฟัง  จากอะหมัด บินมุฮัมมัด บินอบีนัศรฺ  จากษะอฺละบะฮฺ บินมัยมูน จากสัลมาน บินเฏาะรีฟ

จากมุฮัมมัด บินมุสลิมเล่าว่า  :

พวกเรานั่งอยู่กับท่านอบูญะอ์ฟัร(อิม่ามบาเก็ร อ.)เป็นสองแถว  และท่านอิม่ามนั่งอยู่บนแคร่   แท้จริงท่านได้สร้างความสุขใจให้กับพวกเราด้วยการรายงานหะดีษ ในหมู่พวกเรามีความสุขและชื่นบาน อย่างไม่น่าเชื่อ อย่างกับเรานั้นได้อยู่ในสวรรค์

ในขณะที่เราอยู่เช่นนั้นทันใดก็มี(เสียง)ขออนุญาต  แล้วเขากล่าวว่า สะลาม อัลญุอ์ฟีอยู่ที่ประตู ดังนั้นท่านอิม่ามบาเก็ร(อ)จึงกล่าวว่า  จงอนุญาตให้เขา ( เข้ามาได้ )

และแล้วความโศกเศร้า ความวิตกกังวล และความอึดอัดไม่พอใจได้เข้ามายังพวกเรา มันได้ระงับพวกเราไว้จากสภาพที่เรามีอยู่(ก่อนหน้านี้)

เขา(สะลาม)เข้ามาแล้วให้สลาม   ท่านอิม่ามบาเก็รตอบรับสลาม  

จากนั้นสะลามได้กล่าวว่า   :  โอ้บุตรของท่านรอซูลุลลอฮฺ    ค็อยษะมะฮฺได้เล่าหะดีษหนึ่งจากท่านให้ฉันฟัง ถึงพระดำรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา

(แท้จริง วะลี ของพวกท่านนั้นมีเพียง อัลลอฮฺ  และรอซูลของพระองค์ และบรรดาผู้ศรัทธา...   )  

ว่า อายะฮ์นี้ได้ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับท่านอะลี บินอบีตอลิบ (กระนั้นจริงหรือ ?)


ท่านอิม่ามตอบว่า  :    คอยษะมะฮฺ  ได้กล่าวไว้ถูกต้องแล้ว  


ตัฟสีรฟุรอต อัลกูฟี หะดีษที่ 135
  •  

L-umar



فرات قال: حدثني الحسين بن سعيد  معنعنا:   عن جعفر عليه السلام :
(إنما وليكم الله ورسوله والذين آمنوا)  نزلت  في علي بن أبي طالب عليه السلام.

จากท่านอบูญะอ์ฟัร ( อิม่ามบาเก็ร อะลัยอิสลาม  กล่าวว่า  )
โองการ ( แท้จริง วะลี ของพวกท่านนั้นมีเพียง อัลลอฮฺ  และรอซูลของพระองค์ และบรรดาผู้ศรัทธา... ) ได้ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับท่านอะลี บินอบีตอลิบ (อ)


ตัฟสีรฟุรอต อัลกูฟี หะดีษที่ 137
  •  

L-umar



فرات قال: حدثني علي بن محمد بن عباد الخثعمي معنعنا :
عن أبي عبدالله عليه السلام في قول الله تبارك وتعالى: (إنما وليكم الله ورسوله) إلى آخر الآية قال: لعلي بن أبي طالب عليه السلام.

จากท่านอบูอับดุลลอฮฺ ( อิม่ามศอดิก ) ในพระดำรัสของอัลลอฮฺ ตะบาเราะกะวะตะอาลา ( แท้จริง วะลี ของพวกท่านนั้นมีเพียง อัลลอฮฺ  และรอซูลของพระองค์... ) จนจบอายะฮ์ ท่านกล่าวว่า (โองการนี้ประทานลงมา) สำหรับท่านอะลี บินอบีตอลิบ (อ)


ตัฟสีรฟุรอต อัลกูฟี หะดีษที่ 138
  •  

L-umar


หมายเหตุ -


الشيخ أبوالقاسم فرات بن إبراهيم بن فرات الكوفي

เชคอบุลกอสิม ฟุรอต บินอิบรอฮีม บินฟุรอต อัลกูฟี เจ้าของตัฟสีรฟุรอต อัลกูฟี


เกิดในศตวรรษที่สามแห่งฮิจเราะฮ์ศักราชและมรณะ ฮ.ศ.352  

เชคฟุรอตเป็นอุละมาอ์ใหญ่คนหนึ่งในยุคที่ท่านอิม่ามมะฮ์ดี อะลัยฮิสสลาม หายตัวไปจากประชาชนครั้งแรก (ฆ็อยบะฮฺ ศุฆรอ )  

อาจารย์ของมุหัดดิษทั้งหลายในยุคนั้น รายงานหะดีษไว้มากมาย และมีเชค ที่เป็นอาจารย์เขามากมายซึ่งอยู่ร่วมเดียวกันกับสมัยของเชคกุลัยนี

 ถือได้ว่าเมืองกูฟะฮฺคือศูนย์รวมหะดีษและวิชาการในยุคของเขา
  •  

L-umar



สอง –  มุหัดดิษชีอะฮ์และรายชื่อตำราหะดีษที่กล่าวว่าบทที่ 5 : 55 ถูกประทานลงมาแก่ท่านอะลี


เชคมุฮัมมัด บินอัลฮาซัน อัลฮุรุลอามิลี บันทึกว่า


عَلِيُّ بْنُ إِبْرَاهِيمَ فِي تَفْسِيرِهِ عَنْ أَبِيهِ عَنْ صَفْوَانَ عَنْ أَبَانِ بْنِ عُثْمَانَ عَنْ أَبِي حَمْزَةَ عَنْ أَبِي جَعْفَرٍ ع قَالَ بَيْنَمَا رَسُولُ اللَّهِ ص جَالِسٌ وَ عِنْدَهُ قَوْمٌ مِنَ الْيَهُودِ فِيهِمْ عَبْدُ اللَّهِ بْنُ سَلَامٍ إِذْ نَزَلَتْ عَلَيْهِ هَذِهِ الْآيَةُ إِنَّما وَلِيُّكُمُ اللَّهُ وَ رَسُولُهُ (المائدة -: 55 -) إِلَى قَوْلِهِ وَ هُمْ راكِعُونَ (المائدة -: 55 -) فَخَرَجَ رَسُولُ اللَّهِ ص إِلَى الْمَسْجِدِ فَاسْتَقْبَلَهُ سَائِلٌ فَقَالَ هَلْ أَعْطَاكَ أَحَدٌ شَيْئاً فَقَالَ نَعَمْ ذَاكَ الْمُصَلِّي فَجَاءَ رَسُولُ اللَّهِ ص فَإِذَا هُوَ أَمِيرُ الْمُؤْمِنِينَ ع
وسائل‏الشيعة ج : 9  ص :  478  ح : 12536
الفقيه المُحْدّثِ  الشيخُ مُحمّدْ بن الحسن الحُر العاملي



อะลี บินอิบรอฮีมบันทึกไว้ในตัฟสีรของเขา จากบิดาเขา จากศ็อฟวาน จากอะบาน บินอุษมาน

จากอบีฮัมซะฮฺ จากท่านอบีญะอ์ฟัร ( อิม่ามบาเก็ร บุตรอิม่ามฮูเซน ) เล่าว่า  :

ขณะที่ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)นั่งอยู่ และมีชาวยิวกลุ่มชนหนึ่งอยู่กับท่าน ในหมู่พวกเขามีท่านอับดุลลอฮฺ บินสะลามอยู่ด้วย  

ทันใดได้มีโองการนี้ ( إِنَّما وَلِيُّكُمُ اللَّهُ وَ رَسُولُهُ... ) จนถึง ( وَ هُمْ راكِعُونَ ) บทที่ 5 : 55  ได้ประทานลงมายังท่าน(ศ)  

ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)จึงได้ออกไปที่มัสญิด แล้วมีขอทานคนหนึ่งได้พบกับท่าน  

ท่าน(ศ)ถามว่า :  มีใครได้มอบสิ่งหนึ่งให้กับท่านหรือไม่ ?

ขอทานตอบว่า : มีครับ  คือชายคนที่กำลังทำนมาซอยู่นั่นไง  

ดังนั้นท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)จึงได้เข้ามา ( ในมัสญิด)  แล้ว(ปรากฏว่า) เขาคนนั้นคือท่านอะลี อมีรุลมุอฺมินีน (อ)นั่นเอง


สถานะหะดีษ  : เศาะหิ๊หฺ

ดูวะซาอิลุชชีอะฮ์  โดยอัลฮุรรุลอามิลี  เล่ม 9 : 478 หะดีษที่ 12536
ตรวจทานโดยมัรกะซุล บุฮูซ คอมพิวเตอร์ ลิลอุลูมิลอิสลามียะฮ์ เมืองกุม อิหร่าน
  •  

L-umar


เชคกุลัยนี รายงาน


الْحُسَيْنُ بْنُ مُحَمَّدٍ عَنْ مُعَلَّى بْنِ مُحَمَّدٍ عَنْ أَحْمَدَ بْنِ مُحَمَّدٍ عَنِ الْحَسَنِ بْنِ مُحَمَّدٍ الْهَاشِمِيِّ عَنْ أَبِيهِ عَنْ أَحْمَدَ بْنِ عِيسَى عَنْ أَبِي عَبْدِ اللَّهِ ع فِي قَوْلِ اللَّهِ عَزَّ وَ جَلَّ  إِنَّما وَلِيُّكُمُ اللَّهُ وَ رَسُولُهُ وَ الَّذِينَ آمَنُوا (المائدة -: 55 -)
قَالَ إِنَّمَا يَعْنِي أَوْلَى بِكُمْ أَيْ أَحَقُّ بِكُمْ وَ بِأُمُورِكُمْ وَ أَنْفُسِكُمْ وَ أَمْوَالِكُمُ اللَّهُ وَ رَسُولُهُ وَ الَّذِينَ آمَنُوا يَعْنِي عَلِيّاً

อะหมัด บินอีซา รายงานจากท่านอบูอับดุลลอฮฺ ( อิม่ามศอดิก ) ในพระดำรัสของอัลลอฮฺ อัซซะวะญัล ( แท้จริง วะลี ของพวกท่านนั้นมีเพียง อัลลอฮฺ  และรอซูลของพระองค์ และบรรดาผู้ศรัทธา... บทที่ 5 : 55 )
ท่านอิม่ามกล่าวว่า  แท้จริงแล้ว ผู้ที่มีสิทธิต่อพวกท่านมากที่สุด กล่าวคือ เขามีสิทธิสูงสุดต่อพวกท่าน ต่อกิจการงาน ต่อชีวิตและทรัพย์สินของพวกท่านนั่นคือ อัลเลาะฮฺ และรอซูลของพระองค์ และบรรดาผู้ศรัทธา หมายถึงท่านอะลี


อัลกาฟี  โดยเชคกุลัยนี เล่ม 1 : 289  หะดีษที่ 3


عَنْ أَبِي جَعْفَرٍ ع قَالَ أَمَرَ اللَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ رَسُولَهُ بِوَلَايَةِ عَلِيٍّ وَ أَنْزَلَ عَلَيْهِ إِنَّما وَلِيُّكُمُ اللَّهُ وَ رَسُولُهُ وَ الَّذِينَ آمَنُوا الَّذِينَ يُقِيمُونَ الصَّلاةَ وَ يُؤْتُونَ الزَّكاةَ (المائدة -: 55 -) وَ فَرَضَ وَلَايَةَ أُولِي الْأَمْر



จากท่านอบูญะอ์ฟัร ( อิม่ามบาเก็ร ) กล่าวว่า

อัลลอฮฺ อัซซะวะญัลทรงรับสั่งให้ท่านรอซูลของพระองค์(ประกาศ)ถึงตำแหน่งการปกครองของท่านอะลี และพระองค์ทรงประทานลงมายังท่านว่า  
แท้จริง วะลี ของพวกท่านนั้นมีเพียง อัลลอฮฺ  และรอซูลของพระองค์ และบรรดาผู้ศรัทธาที่กำลังทำนมาซและจ่ายทานซะกาต และขณะเดียวกันพวกเขาเป็นผู้รู๊อฺ(ก้มโค้งในนมาซ)  บทที่ 5 : 55
และทรงกำหนดฟัรฎูถึงเรื่องอำนาจวิลายะฮ์ของอูลิลอัมริ(ผู้ปกครอง)


อัลกาฟี  โดยเชคกุลัยนี เล่ม 1 : 289  หะดีษที่ 4
  •  

L-umar



เมื่อมุฟัสสิรและมุหัดดิษชีอะฮ์ดังกล่าวได้รายงานว่า   โองการ


إِنَّمَا ولِيُّكُمُ اللهُ وَرَسُولُهُ وَالَّذِينَ آمَنُوا الَّذِينَ يُقِيمُونَ الصَّلاَةَ وَيُؤْتُونَ الزَّكَاةَ وَهُمْ رَاكِعُونَ

แท้จริง วะลี ของพวกท่านนั้นมีเพียง อัลลอฮฺ  และรอซูลของพระองค์ และบรรดาผู้ศรัทธาที่กำลังทำนมาซและจ่ายทานซะกาต และขณะเดียวกันพวกเขาเป็นผู้รู๊อฺ(ก้มโค้งในนมาซ)   บทที่ 5 : 55    




อัลลอฮฺ (ซบ.)ได้ประทานลงมายังท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ) เกี่ยวกับท่านอะลี บินอบีตอลิบ

โดยท่านอิม่ามมุฮัมมัดบาเก็รและอิม่ามญะอ์ฟัรศอดิก(อ)ได้อธิบายคำ

((( وَالَّذِينَ آمَنُوا  - บรรดาผู้ที่ศรัทธา )))  

ในโองการนี้ว่าหมายถึง  ท่านอิม่ามอะลี (อ)



ชีอะฮ์จึงมีความเชื่อว่า   วะลี ของบรรดามุสลิมคือ


1.   อัลเลาะฮ์  ตะอาลา

2.   ท่าน รอซูลุลเลาะฮ์ (ศ)

3.   ท่าน อมีรุลมุอ์มินีน อะลี (อ)




เพราะฉะนั้นพวกวาฮาบี  จึงไม่มีสิทธิมากล่าวหาชีอะฮ์ว่า  พวกเขาเชื่อโดยปราศจากหลักฐานอ้างอิงจากตำราของชีอะฮ์

ถัดมาขอให้ท่านลองมาพิจารณาความเชื่อนี้สิว่า  มุฟัสสิรและมุหัดดิษฝ่ายซุนนี่ได้กล่าวถึงอัสบาบุลนุซูลของบทที่ 5 : 55    นี้ไว้อย่างไร ???  

 
  •  

L-umar



สาม – นักตัฟสีรซุนนี่และรายชื่อตำราตัฟสีรที่กล่าวว่าบทที่ 5 : 55 ถูกประทานลงมาแก่ท่านอะลี


การที่วาฮาบียุคปัจจุบันได้ออกมาปฏิเสธว่าโองการนี้ มิได้ประทานลงมาเกี่ยวกับท่านอะลีนั้น มิใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร เพราะรากเหง้าแห่งการปฏิเสธและมีใจอคติต่อท่านอะลีนี้ได้ถูกอิบนิตัยมียะฮ์ ชัยคุลอิสลามของวาฮาบีหว่านเมล็ดพันธ์แห่งความอคติต่ออะฮ์ลุลบัยต์นบีเอาไว้เมื่อ 700 ปีที่ผ่านมาแล้ว



รายชื่ออะฮ์ลุสสุนนะฮ์ ที่นำรายงานหะดีษจากท่านอิบนิอับบาส มาบันทึกไว้ในตำราของพวกเขาว่า อัลกุรอ่านบทที่ 5 : 55 ได้ประทานลงมาเกี่ยวกับท่านอะลี  :

1 ـ عبدالرزاق.
อับดุลเราะซ๊าก
2 ـ عبد بن حميد.
อับดุ บินหุมัยดฺ
3 ـ ابن جرير الطبري.
อิบนิญะรีร อัฏ-ฏ็อบรี
4 ـ أبو الشيخ.
อบุช-ชัยคฺ
5 ـ ابن مردويه.
อิบนิ มุรดะวัยฮฺ




รายชื่ออะฮ์ลุสสุนนะฮ์ ที่นำรายงานหะดีษจากท่านสะละมะฮฺ บินกุฮัยลิน มาบันทึกไว้ในตำราของพวกเขาว่า อัลกุรอ่านบทที่ 5 : 55 ได้ประทานลงมาเกี่ยวกับท่านอะลี  :


1 ـ ابن أبي حاتم.
อิบนิอบีหาติม
2 ـ أبو الشيخ.
อบุช-ชัยคฺ
3 ـ ابن عساكر.
อิบนิอะซากิร
  •  

L-umar


ท่านจะพบหะดีษที่รายงานว่า อัลกุรอ่านบทที่ 5 : 55 ได้ประทานลงมาเกี่ยวกับท่านอะลีนี้ถูกบันทึกอยู่ในตัฟสีรอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ ดังต่อไปนี้  :



1- อัสบาบุลนุซูล ของเชคอบุลฮาซัน อะลี อัลวาฮีดี อันนัยซาบูรี


อัลวาฮีดี อัชชาฟิอี มรณะฮ.ศ. 468 กล่าวว่า
 
الآية في علي بن أبي طالب رضوان الله عليه لأنه أعطي خاتمه سائلاً وهو راكع في الصلاة

โองการนี้(ประทานลงมา)เกี่ยวกับท่านอะลี บินอบีตอลิบ เพราะว่าเขาได้มอบแหวนของเขาแก่ขอทาน  ขณะที่เขาอยู่ในท่าก้มรุกู๊อฺในนมาซ(ซุนนะฮ์)


ดูเวปอัลอีหม่าน ตรงอายะฮ์ ( إِنَّمَا وَلِيُّكُمُ اللَّهُ وَرَسُولُهُ وَالَّذِينَ آَمَنُوا )


http://www.al-eman.com/islamlib/viewchp.asp?BID=153&CID=5#s1
  •  

L-umar




2- อิบนุญะรีร อัฏ-ฏ็อบรี มรณะฮ.ศ. 310 รายงานว่า


حدثنا مـحمد بن الـحسين، قال: ثنا أحمد بن الـمفضل، قال: ثنا أسبـاط، عن السديّ، قال: ثم أخبرهم بـمن يتولاهم، فقال: { إنَّـمَا وَلِـيُّكُمُ اللّهُ وَرَسُولُهُ وَالَّذِينَ آمَنُوا الَّذِينَ يُقِـيـمُونَ الصَّلاةَ ويُؤْتُونَ الزَّكاةَ وَهُمْ رَاكِعُونَ } هؤلاء جميع الـمؤمنـين، ولكن علـيّ بن أبـي طالب مرّ به سائل وهو راكع فـي الـمسجد، فأعطاه خاتـمه.
تفسير جامع البيان في تفسير القرآن/ الطبري (ت 310 هـ)
ج 10 / ص 425  ح 12210


มุฮัมมัด บินอัลฮูเซนได้เล่าให้เราฟัง เขากล่าวว่า อะหมัด บินอัลมุฟัฎฎ็อล ได้เล่าให้เราฟัง เขากล่าวว่า อัสบ๊าฏได้เล่าให้เราฟังจากอัส-ซุดดีเล่าว่า...

{ إنَّـمَا وَلِـيُّكُمُ اللّهُ وَرَسُولُهُ وَالَّذِينَ آمَنُوا الَّذِينَ يُقِـيـمُونَ الصَّلاةَ ويُؤْتُونَ الزَّكاةَ وَهُمْ رَاكِعُونَ }

แต่ท่านอะลี บินอบีตอลิบนั้น มีขอทานผ่านมาที่ท่าน ซึ่งท่านกำลังอยู่ในท่ารุกู๊อฺ แล้วท่านได้มอบแหวนของท่านแก่เขา

ตัฟสีรญามิอุลบะยาน อัฏฏ็อบรี  เล่ม 10 : 425 หะดีษที่ 12210

http://www.altafsir.com/Tafasir.asp?tMadhNo=1&tTafsirNo=1&tSoraNo=5&tAyahNo=55&tDisplay=yes&UserProfile=0&LanguageId=1

حدثنا إسماعيل بن إسرائيل الرملي قال، حدثنا أيوب بن سويد قال، حدثنا عُتْبَةُ بْنُ أَبِي حَكِيمٍ في هذه الآية:\\\"إنما وليكم الله ورسوله والذين آمنوا\\\"، قال: علي بن أبي طالب.


อุตบะฮฺ บินอบีหะกีมกล่าวว่า  ในอายะฮ์  { إنَّـمَا وَلِـيُّكُمُ اللّهُ وَرَسُولُهُ وَالَّذِينَ آمَنُوا }
คือ(ประทานลงมาแก่) ท่านอะลี บินอบีตอลิบ


ตัฟสีรญามิอุลบะยาน อัฏฏ็อบรี  เล่ม 10 : 425 หะดีษที่ 12213

حدثني الحارث قال، حدثنا عبد العزيز قال، حدثنا غالب بن عبيد الله قال: سمعت مجاهدًا يقول في قوله:\\\"إنما وليكم الله ورسوله\\\"، الآية، قال: نزلت في علي بن أبي طالب، تصدَّق وهو راكع.


มุญาฮิดกล่าวว่า ในพระดำรัสของพระองค์  { إنَّـمَا وَلِـيُّكُمُ اللّهُ وَرَسُولُهُ } ได้ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับท่านอะลี บินอบีตอลิบ (เพราะ)เขาได้ให้ซอดะเกาะฮฺในขณะที่เขาอยู่ในท่ารุกู๊อฺ


ตัฟสีรญามิอุลบะยาน อัฏฏ็อบรี  เล่ม 10 : 425 หะดีษที่ 12214

http://www.altafsir.com/Tafasir.asp?tMadhNo=1&tTafsirNo=1&tSoraNo=5&tAyahNo=55&tDisplay=yes&Page=2&Size=1&LanguageId=1

 
  •  

L-umar


อิบนุกะษีร มรณะฮ.ศ. 774  รายงาน


وحدثنا أبو سعيد الأشج، حدثنا الفضل بن دُكَيْن أبو نعيم الأحول، حدثنا موسى بن قيس الحضرمي، عن سلمة بن كُهَيْل قال: تصدق علي بخاتمه وهو راكع، فنزلت: { إِنَّمَا وَلِيُّكُمُ اللَّهُ وَرَسُولُهُ وَالَّذِينَ آمَنُوا الَّذِينَ يُقِيمُونَ الصَّلاةَ وَيُؤْتُونَ الزَّكَاةَ وَهُمْ رَاكِعُونَ } .
تفسير تفسير القرآن الكريم/ ابن كثير (ت 774 هـ) ج 3 / ص 138

สะละมะฮฺ บินกุฮัยลินรายงานว่า  ท่านอะลีได้ทำทานซอดะเกาะฮฺด้วยแหวนของท่าน ในขณะที่กำลังรุกู๊อฺ ดังนั้นจึงมีอายะฮ์กุรอ่านประทานลงมาว่า

إِنَّمَا وَلِيُّكُمُ اللَّهُ وَرَسُولُهُ وَالَّذِينَ آمَنُوا الَّذِينَ يُقِيمُونَ الصَّلاةَ وَيُؤْتُونَ الزَّكَاةَ وَهُمْ رَاكِعُونَ

ตัฟสีรอิบนิกะษีร  เล่ม 3 : 138

وقال ابن جرير: حدثني الحارث، حدثنا عبد العزيز، حدثنا غالب بن عبيد الله، سمعت مجاهدًا يقول في قوله: { إِنَّمَا وَلِيُّكُمُ اللَّهُ وَرَسُولُهُ } الآية: نزلت في علي بن أبي طالب، تَصَّدَق وهو راكع

อิบนุญะรีรกล่าวว่า อัลฮาริษได้เล่าให้ฉันฟัง อับดุลอะซีซได้เล่าให้เราฟัง ฆอลิบ บินอุบัยดุลลอฮฺได้เล่าให้เราฟังว่า ฉันได้ยินมุญาฮิดกล่าวว่า ในพระดำรัสของพระองค์  { إنَّـمَا وَلِـيُّكُمُ اللّهُ وَرَسُولُهُ } ได้ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับท่านอะลี บินอบีตอลิบ (เพราะ)เขาได้ให้ซอดะเกาะฮฺในขณะที่เขาอยู่ในท่ารุกู๊อฺ

ตัฟสีรอิบนิกะษีร  เล่ม 3 : 138


وقال عبد الرزاق: حدثنا عبد الوهاب بن مجاهد، عن أبيه، عن ابن عباس في قوله: { إِنَّمَا وَلِيُّكُمُ اللَّهُ وَرَسُولُهُ } الآية: نزلت في علي بن أبي طالب.

และอับดุลเราะซ๊ากกล่าวว่า อับดุลวะฮาบ บินมุญาฮิด จากบิดาเขา จากอิบนิอับบาส ในพระดำรัส

{ إِنَّمَا وَلِيُّكُمُ اللَّهُ وَرَسُولُهُ }  ว่า  อายะฮฺนี้ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับท่านอะลี บินอบีตอลิบ

ตัฟสีรอิบนิกะษีร  เล่ม 3 : 138


ورواه ابن مَرْدُويه، من طريق سفيان الثوري، عن أبي سِنان، عن الضحاك، عن ابن عباس قال: كان علي بن أبي طالب قائمًا يصلي، فمر سائل وهو راكع، فأعطاه خاتمه، فنزلت: { إِنَّمَا وَلِيُّكُمُ اللَّهُ وَرَسُولُهُ } الآية.

อิบนุมุรดะวัยฮฺรายงานมัน จากทางสุฟยานอัษเษารี จากอบีสินาน จากอัฏ-เฏาะฮาก จากอิบนิอับบาสกล่าวว่า  ปรากกฎว่า ท่านอะลี บินอบีตอลิบยืนทำนมาซอยู่ แล้วมีขอทานผ่านมาในสภาพที่ท่านกำลังรุกู๊อฺ ท่านจึงมอบแหวนของท่านให้กับเขา
 ดังนั้นจึงโองการ  { إِنَّمَا وَلِيُّكُمُ اللَّهُ وَرَسُولُهُ }  ประทานลงมา

ตัฟสีรอิบนิกะษีร  เล่ม 3 : 138



อย่างไรก็ตามอิบนุกะษีรก้ได้วิจารณ์หะดีษเหล่านี้เอาไว้ว่ายังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่เอาอ้างอิงเป็นหลักฐานได้  เราจะสรุปเรื่องนี้ไว้ในตอนท้ายสุด อินชาอัลลอฮฺ
  •  

L-umar



อิบนุอบีหาติม อัลรอซี  เกิดฮ.ศ. 240 – 327


บันทึกว่าบทที่ 5 : 55 ได้ลงมาเกี่ยวกับท่านอะลี บินอบีตอลิบ

حَدَّثَنَا الرَّبِيعُ بْنُ سُلَيْمَانَ الْمُرَادِيُّ، ثنا أَيُّوبُ بْنُ سُوَيْدٍ، عَنْ عُقْبَةَ بْنِ أَبِي حَكِيمٍ، فِي قَوْلِهِ:  \\\" إِنَّمَا وَلِيُّكُمُ اللَّهُ وَرَسُولُهُ وَالَّذِينَ آمَنُوا \\\" ، قال:\\\"عَلِيُّ بْنُ أَبِي طَالِبٍ\\\".

อุกบะฮ์ บินอบีหะกีม ในพระดำรัสของพระองค์ (إِنَّمَا وَلِيُّكُمُ اللَّهُ وَرَسُولُهُ وَالَّذِينَ آمَنُوا ) เขากล่าวว่าคือ อะลี บินอบีตอลิบ  

حَدَّثَنَا أَبُو سَعِيدٍ الأَشَجُّ، ثنا الْفَضْلُ بْنُ دُكَيْنِ أَبُو نُعَيْمٍ الأَحْوَلُ، ثنا مُوسَى بْنُ قَيْسٍ الْحَضْرَمِيُّ، عَنْ سَلَمَةَ بْنِ كُهَيْلٍ، قَالَ:\\\"تَصَدَّقَ عَلِيٌّ بِخَاتَمِهِ وَهُوَ رَاكِعٌ، فَنَزَلَتْ:  \\\" إِنَّمَا وَلِيُّكُمُ اللَّهُ وَرَسُولُهُ وَالَّذِينَ آمَنُوا الَّذِينَ يُقِيمُونَ الصَّلاةَ، وَيُؤْتَوْنَ الزَّكَاةَ وَهُمْ رَاكِعُونَ \\\" \\\".
สะละมะฮฺ บินกุฮัยลินกล่าวว่า ท่านอะลีได้ให้ซอดะเกาะฮ์ด้วยแหวนของท่าน ในสภาพรุกู๊อฺ ดังนั้นโองการนี้จึงประทานลงมาคือ
إِنَّمَا وَلِيُّكُمُ اللَّهُ وَرَسُولُهُ وَالَّذِينَ آمَنُوا الَّذِينَ يُقِيمُونَ الصَّلاةَ، وَيُؤْتَوْنَ الزَّكَاةَ وَهُمْ

تفسير ابن أبي حاتم  المؤلف : ابن أبي حاتم الرازي  ج 5 / ص 15

ตัฟสีร อิบนิอบีหาติม เล่ม 5 : 15  หะดีษที่ 6584 , 6586



อบูมุฮัมมัดอัลบะเฆาะวีเกิดฮ.ศ. 436 – 510  กล่าวไว้ใน ตัฟสีรบะเฆาะวี เล่ม   3 : 73

อัลกุรตุบี มัซฮับมาลิกี เกิดฮ.ศ. 486-567 กล่าวไว้ในตัฟสีรกุรตุบี  เล่ม   6 : 207

นาศิรุดดีน มรณะฮ.ศ. 691  บัยฎอวีกล่าววไว้ในตัฟสีรบัยฏอวี เล่ม   2 : 88

อบุส-สุอู๊ด เกิดฮ.ศ.898 – 928 กล่าวไว้ในตัฟสีรอบิส-สุอู๊ด เล่ม 2 : 257

ญาลาลุดดีน อัสสิยูตี เกิดฮ.ศ.849 – 911 กล่าวไว้ในตัฟสีรอัดดุรรุลมันษูร เล่ม 3 : 404




อิบนุกะษีร มรณะฮ.ศ. 774  รายงานว่า



وحدثنا أبو سعيد الأشج، حدثنا الفضل بن دُكَيْن أبو نعيم الأحول، حدثنا موسى بن قيس الحضرمي، عن سلمة بن كُهَيْل قال: تصدق علي بخاتمه وهو راكع، فنزلت: { إِنَّمَا وَلِيُّكُمُ اللَّهُ وَرَسُولُهُ وَالَّذِينَ آمَنُوا الَّذِينَ يُقِيمُونَ الصَّلاةَ وَيُؤْتُونَ الزَّكَاةَ وَهُمْ رَاكِعُونَ } .
تفسير تفسير القرآن الكريم/ ابن كثير (ت 774 هـ) ج 3 / ص 138
สะละมะฮฺ บินกุฮัยลินรายงานว่า  ท่านอะลีได้ทำทานซอดะเกาะฮฺด้วยแหวนของท่าน ในขณะที่กำลังรุกู๊อฺ ดังนั้นจึงมีอายะฮ์กุรอ่านประทานลงมาว่า
إِنَّمَا وَلِيُّكُمُ اللَّهُ وَرَسُولُهُ وَالَّذِينَ آمَنُوا الَّذِينَ يُقِيمُونَ الصَّلاةَ وَيُؤْتُونَ الزَّكَاةَ وَهُمْ رَاكِعُونَ


ตัฟสีรอิบนิกะษีร  เล่ม 3 : 138

وقال ابن جرير: حدثني الحارث، حدثنا عبد العزيز، حدثنا غالب بن عبيد الله، سمعت مجاهدًا يقول في قوله: { إِنَّمَا وَلِيُّكُمُ اللَّهُ وَرَسُولُهُ } الآية: نزلت في علي بن أبي طالب، تَصَّدَق وهو راكع

อิบนุญะรีรกล่าวว่า อัลฮาริษได้เล่าให้ฉันฟัง อับดุลอะซีซได้เล่าให้เราฟัง ฆอลิบ บินอุบัยดุลลอฮฺได้เล่าให้เราฟังว่า ฉันได้ยินมุญาฮิดกล่าวว่า ในพระดำรัสของพระองค์  { إنَّـمَا وَلِـيُّكُمُ اللّهُ وَرَسُولُهُ } ได้ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับท่านอะลี บินอบีตอลิบ (เพราะ)เขาได้ให้ซอดะเกาะฮฺในขณะที่เขาอยู่ในท่ารุกู๊อฺ

ตัฟสีรอิบนิกะษีร  เล่ม 3 : 138

وقال عبد الرزاق: حدثنا عبد الوهاب بن مجاهد، عن أبيه، عن ابن عباس في قوله: { إِنَّمَا وَلِيُّكُمُ اللَّهُ وَرَسُولُهُ } الآية: نزلت في علي بن أبي طالب.
และอับดุลเราะซ๊ากกล่าวว่า อับดุลวะฮาบ บินมุญาฮิด จากบิดาเขา จากอิบนิอับบาส ในพระดำรัส
{ إِنَّمَا وَلِيُّكُمُ اللَّهُ وَرَسُولُهُ }  ว่า  อายะฮฺนี้ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับท่านอะลี บินอบีตอลิบ
ตัฟสีรอิบนิกะษีร  เล่ม 3 : 138

ورواه ابن مَرْدُويه، من طريق سفيان الثوري، عن أبي سِنان، عن الضحاك، عن ابن عباس قال: كان علي بن أبي طالب قائمًا يصلي، فمر سائل وهو راكع، فأعطاه خاتمه، فنزلت: { إِنَّمَا وَلِيُّكُمُ اللَّهُ وَرَسُولُهُ } الآية.

อิบนุมุรดะวัยฮฺรายงานมัน จากทางสุฟยานอัษเษารี จากอบีสินาน จากอัฏ-เฏาะฮาก จากอิบนิอับบาสกล่าวว่า  ปรากกฎว่า ท่านอะลี บินอบีตอลิบยืนทำนมาซอยู่ แล้วมีขอทานผ่านมาในสภาพที่ท่านกำลังรุกู๊อฺ ท่านจึงมอบแหวนของท่านให้กับเขา ดังนั้นจึงโองการ { إِنَّمَا وَلِيُّكُمُ اللَّهُ وَرَسُولُهُ }  ประทานลงมา


ตัฟสีรอิบนิกะษีร  เล่ม 3 : 138


อย่างไรก็ตามอิบนุกะษีรก้ได้วิจารณ์หะดีษเหล่านี้เอาไว้ว่ายังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่เอาอ้างอิงเป็นหลักฐานได้  ซึ่งเราจะสรุปเรื่องนี้ไว้ในตอนท้ายสุด อินชาอัลลอฮฺ





มุฮัมมัด บินอะลี อัชเชากานี เกิดฮ.ศ. 1173 – 1250  กล่าวว่า


عن ابن عباس قال : تصدّق عليّ بخاتم وهو راكع ، فقال النبيّ للسائل : « من أعطاك هذا الخاتم؟ » قال : ذاك الراكع ، فأنزل الله فيه { إِنَّمَا وَلِيُّكُمُ الله وَرَسُولُهُ } .
ท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่า ท่านอะลีได้ทำทานด้วยแหวนในขณะรุกู๊อฺ แล้วท่านนบี(ศ)ได้กล่าวกับขอทานว่า  ใครให้แหวนวงนี้กับเจ้า ? ขอทานตอบว่า ชายที่ยืนรุกู๊อฺคนนั้น แล้วอัลลอฮฺได้ประทานโองการเกี่ยวกับเขา(อะลี)ลงมาว่า  (แท้จริงวะลีของสูเจ้า มีเพียงอัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์...))

وأخرج عبد الرزاق ، وعبد بن حميد ، وابن جرير ، وأبو الشيخ ، وابن مردويه عن ابن عباس قال : نزلت في عليّ بن أبي طالب . وأخرج أبو الشيخ وابن مردويه ، وابن عساكر ، عن عليّ ابن أبي طالب نحوه . وأخرج ابن مردويه ، عن عمار ، نحوه أيضاً . وأخرج الطبراني في الأوسط بسند فيه مجاهيل عنه نحوه .
فتح القدير - (ج 2 / ص 325

ผู้ที่รายงานหะดีษนี้คือ อับดุลเราะซ๊าก   อับดุ บินหุมัยดฺ  อิบนิญะรีร  อบุลชัยคฺ  อิบนิมุรดะวัยฮฺ  จากท่านอิบนิอับบาส กล่าวว่า โองการนี้ได้ลงมาเกี่ยวกับท่านอะลี บินอบีตอลิบ  และอบุชชัยคฺ อิบนุมุรดะวัยฮ์ อิบนิอะซากิรได้รายงานมาจากท่านอะลีบินอบีตอลิบเช่นกัน  และอิบนิมุรดะวัยฮฺได้รายงานมาจากท่านอัมมารเช่นกัน  และอัฏฏ็อบรอนีได้รายงานไว้ในหนังสือมุอ์ญัมเอาสัฏด้วยสะนัดมัจญ์ฮูลเช่นกัน


ตัฟสีรฟัตฮุลเกาะดีร  เล่ม 2 : 325



อบูบะเราะก๊าต อันนะสะฟี มัซฮับฮะนะฟี มรณะฮ.ศ.710   อธิบายว่า


{ إِنَّمَا وَلِيُّكُمُ الله وَرَسُولُهُ والذين ءَامَنُواْ } ...قيل : إنها نزلت في علي رضي الله عنه حين سأله سائل وهو راكع في صلاته فطرح له خاتمه كأنه كان مرجاً في خنصره فلم يتكلف لخلعه كثير عمل يفسد صلاته . وورد بلفظ الجمع وإن كان السبب فيه واحداً ترغيباً للناس في مثل فعله لينالوا مثل ثوابه . والآية تدل على جواز الصدقة في الصلاة ، وعلى أن الفعل القليل لا يفسد الصلاة .
تفسير النسفي - (ج 1 / ص 294)

กล่าวกันว่า โองการนี้ประทานลงมาเกี่ยวกับท่านอะลี เมื่อมีคนขอทานได้ขอทานจากท่านขณะรุกู๊อฺในนมาซ ท่านจึงมอบแหวนของท่านให้เขา...  สำหรับการถอดแหวนออกจากนิ้วนั้นไม่ถึงกับเป็นงานที่ใช้เวลามาก จนทำให้นมาซของเขาเสีย

การกล่าวด้วยรูปคำพหูพจน์ (คือ والذين ءَامَنُواْ) แม้วาสาเหตุการประทานลงมาเกี่ยวกับเขา(อะลี)นั้นจะเป็นเพียงคนหนึ่งคน ก็เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกระทำเยี่ยงการกระทำของเขา เพื่อจะได้รับษะวาบรางวับเหมือนกับเขา  

และอายะฮฺนี้บ่งบอกว่า อนุญาตให้ ทำทานซอดะเกาะฮ์ในขณะทำนมาซได้ บนเงื่อนไขที่ว่า เป็นการกระทำที่เล็กน้อย ที่จะไม่ทำให้นมาซเสีย

 

ตัฟสีรนะสะฟี เล่ม 1 : 294




ชิฮาบุดดีน อัลอะลูซี มัซฮับฮะนะฟี เกิดฮ.ศ. 1217- 1270 ได้ให้บทสรุปว่า


นักวิชาการที่มีความเห็นว่าบทที่  5 : 55 ได้ประทานลงมาเกี่ยวกับท่านอะลี บินอบีตอลิบว่า เป็นพวกอัคบารี   โดยเขากล่าวว่า

غالب الاخباريين على أنّ هذه الاية نزلت في علي كرّم الله وجهه.
تفسير الألوسي - (ج 5 / ص 28

บรรดาอัคบารียีนโดยส่วนมาก(จะกล่าวว่า) แท้จริงอายะฮ์นี้ (คือบทที่5 : 55) ได้ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับท่านอะลี กัรเราะมัลลลอฮุ วัจญ์ฮะฮู

ตัฟสีรอัลอะลูซี เล่ม 5 : 28



คำว่า พวกอัคบารี หรือ อิคบารี ในทีนี้หมายถึงนักวิชาการที่ยึดซุนนะฮ์ (ริวายะฮ์หรือหะดีษ) เป็นหลักในการอรรถาธิยายคัมภีร์กุรอ่าน

ขออัลลอฮฺ(ซบ.)โปรดตอบแทนความดีงามแด่บรรดามุฟัสสิรอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ที่เอ่ยนามเหล่านี้ที่ได้รายงานหะดีษที่สอดคล้องกับความเชื่อของชีอะฮ์ในเรื่องที่ว่า  อัลกุรอ่านบทที่5 : 55 ได้ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับท่านอิม่ามอะลี อะลัยฮิสลาม


เพราะชีอะฮ์คงไม่อิทธิหรืออำนาจใดไปบังคับพวกเขาเหล่านี้ให้กุหะดีษดังกล่าวขึ้นมาสนับสนุนอะกีดะฮฺของชีอะฮ์ได้  และขอขอบคุณอัลลอฮฺที่ทรงใส่สัจธรรมเอาไว้ในปลายปากกาของบรรดานักตัฟสีรซุนนี่ดังกล่าวมา.  
  •  

46 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้