Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

พฤศจิกายน 11, 2024, 04:38:57 ก่อนเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
  • สมาชิกทั้งหมด: 1,718
  • Latest: Haroldsmolo
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 3,485
  • หัวข้อทั้งหมด: 751
  • Online today: 10
  • Online ever: 200
  • (กันยายน 14, 2024, 01:02:03 ก่อนเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 12
Total: 12

นิกาย ต่างๆ ใน ศาสนา อิสลาม

เริ่มโดย L-umar, สิงหาคม 11, 2009, 09:44:39 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar


นิกาย ต่างๆ ใน ศาสนา อิสลาม

ประกาศ


บทความนี้เราเปิดโอกาศให้มุสลิมทุกท่านสามารถนำบทความของท่านมาลง  เพื่ออธิบายถึงมัซฮับของท่านได้อย่างอิสระ

ในขณะเดียวกันทางเว็บมาสเตอร์จะพยายามนำบทความจากเว็บต่างๆที่บอกเล่าเกี่ยวกับมัซฮับต่างๆมาลงในที่นี้  



จุดประสงค์หลักคือ

หนึ่ง -  เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับมุสลิมและผู้นับถือศาสนาอื่นๆได้ศึกษาความเป็นมา

สอง - ต้องการ ทำให้เรื่องนิกายอิสลามนี้เป็นข้อมูลกลางจริงๆให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  
  •  

L-umar



นิยามคำ  ((  นิกาย  ))

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ให้คำนิยามคำว่า   นิกาย ไว้ดังนี้


นิกาย   น. หมู่, พวก, หมวด, ใช้เกี่ยวกับศาสนา ในกรณีเช่นคณะนักบวช

   ในศาสนาเดียวกันที่แยกออกไปเป็นพวก ๆ เช่น มหานิกาย

   ธรรมยุติกนิกาย นิกายโรมันคาทอลิก นิกายโปรเตสแตนต์; เรียก

   คัมภีร์พระสุตตันตปิฎกที่แยกออกเป็น ๕ หมวดใหญ่ คือ ทีฆนิกาย

   มัชฌิมนิกาย \\\'\\\';สังยุตนิกาย อังคุตรนิกาย ขุทกนิกาย. (ป., ส.).


อ้างอิงจาก

http://rirs3.royin.go.th/new-search/word-23-search.asp
  •  

L-umar



ภาษาอังกฤษ  เรียก  นิกายว่า



นิกาย 1. a collection; chapter or section of a Scripture; group. 2. a sect; school.

 

นิกาย [ N ] sect

[ English ]denomination [ Syn ] หมู่, พวก [ Sample] กษัตริย์แห่งเกาะสุมาตรานำศาสนานิกายมหายานเข้ามาเผยแพร่ ที่นครศรีธรรมราช [ Def ] ใช้เกี่ยวกับศ
 

นิกาย

พวก , หมวด , หมู่ , ชุมนุม , กอง; 1. หมวดตอนใหญ่แห่งพุทธพจน์ในพระสุตตันตปิฎก ซึ่งแยกเป็น ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย และขุททกนิกาย ดู ไตรปิฎก 2. คณะนักบวช หรือศาสนิกชนในศาสนา เดียวกันนี้แยกเป็นพวกๆ; ในพระพุทธศาสนามีนิกายใหญ่ที่เรียกได้ว่าเป็นนิกายพุทธศาสนาในปัจจุบัน ๒ นิกาย คือ มหายาน หรือนิกายฝ่ายเหนือ (อุตรนิกาย) พวกหนึ่ง และเถรวาท หรือนิกายฝ่ายใต้ (ทักษิณนิกาย) ที่บางทีเรียก หีน- ยาน พวกหนึ่ง; ในประเทศไทยปัจจุบัน พระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทด้วยกัน แยกออกเป็น ๒ นิกาย แต่เป็นเพียงนิกายสงฆ์ มิใช่ถึงกับเป็นนิกายพุทธศาสนา (คือแยกกันเฉพาะในหมู่นักบวช) ได้แก่ มหานิกาย และ ธรรมยุติกนิกาย ซึ่งบางทีเรียกเพียง เป็นคณะว่า คณะมหานิกาย และคณะธรรมยุต

 

นิกาย

น. หมู่, พวก, หมวด, ใช้เกี่ยวกับศาสนา ในกรณีเช่นคณะนักบวช ในศาสนาเดียวกันที่แยกออกไปเป็นพวก ๆ เช่น มหานิกาย ธรรมยุติกนิกาย นิกายโรมันคาทอลิก นิกายโปรเตสแตนต์; เรียก คัมภีร์พระสุตตันตปิฎกที่แยกออกเป็น ๕ หมวดใหญ่ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย \\\';สังยุตนิกาย อังคุตรนิกาย ขุทกนิกาย. (ป., ส.).
 

อ้างอิงจาก

http://www.palungjit.com/dict/search.php?search_sid=2&kword=%B9%D4%A1%D2%C2&search_path=
  •  

L-umar



ฟิรเกาะฮ์   -   فِــرْ قَةٌ

ปทานุกรมอาหรับ – ไทย ของศูนย์หนังสือมานพ วงศ์เสงี่ยม แปลคำนี้ว่า

พรรค , พวก , หมู่, เหล่า , กอง


กอมูส อัลมุหฺดัส อาหรับ -  อังกฤษ  قاموس المحدث (قاموس عربي إنكليزي)  

ได้ให้ความหมายคำสามนี้คือ ญะมาอะฮ์ , ฟิรเกาะฮ์ และกุตละฮฺ  ว่า

جَمَاعَة، فِرْقَة، كُتْلَة

group, band, troop, company, party, collective, team,
  •  

L-umar


เพราะฉะนั้น การที่เราแปลคำ  ฟิรเกาะฮฺ  ในภาษาอาหรับให้เป็นไทยว่า   นิกาย

เนื่องจากคำนี้จะใช้เรียกชื่อกลุ่มต่างๆในทางศาสนาเท่านั้นเอง     มิได้มิจุดประสงค์อื่นใด  แต่ถ้าท่านใดมีความคิดว่ายังแปลคำนี้ไม่ตรงใจ        

เรายินดีรับฟังคำแนะนำจากท่านเสมอ


นิกายในศาสนาพุทธ


ศาสนาพุทธ      แบ่งออกเป็นนิกายใหญ่ได้ 2 นิกายคือ

เถรวาท และ

มหายาน


นอกจากนี้แล้วยังมีการแบ่งที่แตกต่างออกไปแบ่งเป็น 3 นิกาย


เนื่องจากวัชรยานไม่ยอมรับว่าตนคือมหายาน เนื่องจาก

มหายานมีต้นเค้ามาจากท่านโพธิธรรม (ปรมาจารย์ตั๊กม้อ)

ส่วนวชิรยานมีต้นเค้ามาจากท่านคุรุปัทสัมภวะ


เถรวาท (เดิมเรียกอีกชื่อว่า \\\'หินยาน\\\' แปลว่า ยานเล็ก) หมายถึง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งคำสั่งสอน และ หลักปฏิบัติ จะเป็นไปตามพระไตรปิฎก แพร่หลายอยู่ในประเทศไทย ศรีลังกา พม่า ลาว กัมพูชา และ บางส่วนของประเทศเวียดนามส่วนมากเป็นชาวเขมร บังกลาเทศ และ มาเลเซียส่วนมากเป็นชาวไทย


มหายาน (ยานใหญ่) หรือ อาจาริยวาท แพร่หลายใน จีน ญี่ปุ่น มองโกเลีย ภูฏาน ไต้หวัน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้และ สิงคโปร์ และบางส่วนของ อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซียส่วนมากเป็นชาวจีน เนปาล บรูไนส่วนมากเป็นชาวจีน ฟิลิปปินส์ส่วนมากเป็นชาวจีน อุซเบกิสถาน และ ทาจิกิสถาน

วัชรยาน หรือ มหายานพิเศษ ปัจจุบันมีใน อินเดียบริเวณลาดักในรัฐชัมมูและกัษมีร์ และในรัฐสิกขิม ประเทศเนปาล ภูฏาน ปากีสถาน มองโกเลีย และ เขตปกครองตนเองทิเบต
  •  

L-umar



นิกายในศาสนาคริสต์


นิกายที่สำคัญมี 3 นิกายคือ



นิกายโรมันคาทอลิกแปลว่าสากล

เป็นนิกายดั้งเดิมที่ยึดมั่นในหลักคำสอนของพระเยซูคริสต์เคารพพระนางมารีอาและนักบุญต่างๆ ภายในวัดของนิกายนี้จะมีรูปเคารพพระเยซูคริสต์ พระแม่มารีย์ และนักบุญต่างๆ มีศูนย์กลางอยู่ที่นครรัฐวาติกัน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข โดยสืบทอดมาตั้งแต่สมัยอัครสาวกกลุ่มแรก โดยถือว่า นักบุญเปโตร หรือ นักบุญปีเตอร์ คือพระสันตะปาปาพระองค์แรก ซึ่งได้รับการยินยอมจากพระเจ้าให้ปกครองศาสนาจักรทั้งมวลและสืบทอดมาถึงพระสันตะปาปาเบนนิดิกที่ 16 องค์ปัจจุบันเป็นองค์ที่265 คาทอลิกนั้นจะมีนักบวช ที่เรียกว่า บาทหลวง และซิสเตอร์ (นักบวชหญิง) ชาวไทยจะเรียกผู้นับถือนิกายนี้ว่า \\\"คริสตัง\\\"ตามเสียงอ่านภาษาโปรตุเกสผู้เผยแพร่ยุคแรกๆมีผู้นับถือนิกายนี้ประมาณ 1000 ล้านคน นิกายนี้ถือว่าบาทหลวง เป็นสื่อกลางระหว่างพระเจ้าและมนุษย์ (ตัวแทนพระเจ้าในโลกนี้)


นิกายออร์โธด็อกซ์แปลว่าถูกต้อง

นับถือในประเทศทางฝั่งยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย โดยแยกตัวออกไปจากพระศาสนจักรของกษัตริย์แห่งกรุงสแตนติโนเปิ้ลเพราะเหตุผลไม่อยากอยู่ภายใต้อำนาจขององค์สันตะปาปาซึ่งมีอำนาจมากสูงกว่ากษัตริย์ (คือมีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนกษัตริย์ได้) ในสมัยนั้น โดยที่มิได้เปลี่ยนแปลงข้อความเชื่อ ข้อความเชื่อของนิกายออโธดอกซ์เหมือนกับข้อความเชื่อของนิกายโรมันคาทอลิก มีพระอัยกา เป็นประมุข นิกายออโธดอกซ์ยังมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พระศาสนจักรตะวันออก มีผู้นับถือรวมกันประมาณ 500 ล้านคน


นิกายโปรเตสแตนต์

แยกตัวมาจากนิกายโรมันคาทอลิคในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นนิกายที่ถือว่าศรัทธาของแต่ละคนที่มีต่อพระเจ้าสำคัญกว่าพิธีกรรม ซึ่งยังแตกย่อยออกเป็นหลายร้อยนิกายเนื่องจากมีความเห็นแตกต่างเกี่ยวกับพระคัมภีร์ และการปฏิบัติในพิธีกรรม นิกายนี้ไม่มีนักบวชเชื่อว่าทุกคนสามารถเข้าถึงพระเจ้าได้โดยมิต้องอาศัยบาทหลวงและถือว่าพระเยซูได้ทรงไถ่บาปแก่ศาสนิกทุกคนไปเมื่อถูกตรึงกางเขนแล้ว นิกายนี้มีเพียงไม้กางเขนเป็นเครื่องหมายแห่งศาสนาเท่านั้น มีผู้นับถือรวมกันทุกนิกายย่อยประมาณ 500 ล้านคน


อ้างอิง

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2#.E0.B8.99.E0.B8.B4.E0.B8.81.E0.B8.B2.E0.B8.A2
  •  

L-umar



นิกายในศาสนาอิสลาม


ความจริงนิกายใหญ่ๆในอิสลามมีแค่  2   นิกาย( มัซฮับ ) เท่านั้นคือ


1.    ชีอะฮ์

2.   ซุนนี่  


แต่ถ้าต้องการจะพิจารณากลุ่มต่างๆที่ยังแตกย่อยออกมาจากกลุ่มหลักๆตามลำดับเหตุการณ์

ทางความเชื่อ(อะกีดะฮ์) หรือ

ทางภาคปฏิบัติ(ฟิกฮฺ)  

เราสามารถแบ่งกลุ่มแกนนำหลักๆได้ 6 กลุ่ม ดังนี้คือ


กลุ่มที่ 1     ชีอะฮ์

กลุ่มที่ 2     ค่อวาริจญ์

กลุ่มที่ 3     มุอ์ต๊ะอ์ซิละฮ์

กลุ่มที่ 4     มุรญิอะฮ์

กลุ่มที่ 5     ญับบะรียะฮ์

กลุ่มที่ 6     ซุนนี่ หรืออะฮ์ลุสสุนนะฮ์  
  •  

L-umar



ค่อวาริจญ์ มี 18 กลุ่ม

มุฮักกิมะตุล อูลา

อะซาริเกาะฮ์

นัจญะดาตุล อาซิรียะฮ์

บัยฮะซียะฮ์

อะญาริดะฮ์

ษะอาละบะฮ์

อั๊คนะซียะฮ์

มุอับบิดียะฮ์

ร่อชีดียะฮ์

ชัยบานียะฮ์

มุกร่อมียะฮ์

ม๊ะอ์ลูมียะฮ์และมัจฮูลียะฮ์

บิดอียะฮ์

อับบาฎียะฮ์

ฮัฟซียะฮ์

ฮาริษียะฮ์

ยะซีดียะฮ์

ศ็อฟรียะฮ์ อัซ-ซิยาดียะฮ์
  •  

L-umar



มุอ์ต๊ะซิละฮ์ หรือ  ก็อดรียะฮ์   มี 12 กลุ่ม


วาซิลียะฮ์

ฮุซัยลียะฮ์

นัซซอมียะฮ์

คอบิฏียะฮ์และฮะดะษียะฮ์

บิชรียะฮ์

มุอัมมิรียะฮ์

มุรดารียะฮ์

ษุมามียะฮ์

ฮะชามียะฮ์

ญาฮิซียะฮ์

ค็อยยาฏียะฮ์และก๊ะอ์บียะฮ์

ญิบาอียะฮ์และบะฮ์ชีมียะฮ์
  •  

L-umar



มุรญิอะฮ์ มี 6 กลุ่ม



ยูนุซียะฮ์

อะบีดียะฮ์

ฆ็อสซานียะฮ์

ษูบานียะฮ์

ตูมีนียะฮ์

ซอลีฮียะฮ์
  •  

L-umar



ญับบะรียะฮ์ มี 6 กลุ่ม


ญะฮ์มียะฮ์

นัจญารียะฮ์

ฎิรอรียะฮ์

อัชอะรียะฮ์ หรืออะชาอิเราะฮ์

มุชับบะฮะฮ์

กะรอมียะฮ์
  •  

L-umar



ซุนนี่  หรืออะฮ์ลุสสุนนะฮ์ วัลญะมาอะฮ์ มี 9 กลุ่ม


ฮานาฟี

มาลิกี

ชาฟิอี

ฮัมบาลี



อะชาอิเราะฮ์

วาฮาบีหรือสะละฟี

อะฮ์ลุลฮะดีษ



ตอรีกัต ( ซูฟี )

ดะอ์วะฮ์ วัตตับลีฆ
  •  

L-umar



ชีอะฮ์ มี 24 กลุ่ม


อิษนา อะชะรียะฮ์ (  กลุ่มที่เชื่อใน 12 อิหม่าม )

และกลุ่มย่อยที่แตกออกไปจากกลุ่มสิบสองอิหม่าม  มีดังนี้


สาขาซัยดียะฮ์

ฮะรูดียะฮ์

สุลัยมานียะฮ์

อับตะรียะฮ์



สาขาที่อ้างว่า เป็นชีอะฮ์ แต่ความจริงไม่ใช่ชีอะฮ์

บะยานียะฮ์

มุฆีรียะฮ์

มันซูรียะฮ์

ญะนาฮียะฮ์

ค็อฏตอบียะฮ์

ฮะรูรียะฮ์

สาขาอิมามี

มุฮำมะดียะฮ์

บากิรียะฮ์

นาวูซียะฮ์

ชะมีตียะฮ์

อิมารียะฮ์

อิสมาอีลียะฮ์

มุบาร่อกียะฮ์

มูซาวียะฮ์

ก็อฏอียะฮ์

ฮาชีมียะฮ์

ซะรอดียะฮ์

ยูนุซียะฮ์

ชัยตอนียะฮ์กามิลียะฮ์

กามิลียะฮ์
  •  

L-umar


มัซฮับชีอะฮ์  



ชีอะฮ์คือใคร

เมื่อเอ่ยถึงคำ " ชีอะฮ์ " เราก็ควรรู้ถึงความเป็นมาก่อนว่า ชีอะฮ์เป็นใคร มาจากไหน มีที่มาอย่างไร
เพราะมีมุสลิมซุนนี่บางส่วนใส่ร้ายว่า ชีอะฮ์เป็นบุคคลกลุ่มหนึ่งที่พึ่งก่อตัวขึ้นเป็นมัซฮับใหม่
โดยได้รับการสนับสนุนจากพวกเปอร์เซียบูชาไฟและพวกยิว

ความจริงชีอะฮ์ไม่ใช่มัซฮับใหม่ ที่พึ่งเกิดขึ้นในอิสลาม   ชีอะฮ์มีมาตั้งแต่สมัยที่ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ยังมีชีวิตอยู่  
มีหะดีษมากมายที่กล่าวถึงความประเสริฐของชีอะฮ์ในหัวข้อที่เรียกว่า " ชีอะฮ์อะลี "

อันเป็นหะดีษที่มาจากท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)และได้บันทึกอยู่ในตำราของฝ่ายอะฮ์ลุสซุนนะฮ์และฝ่ายอะฮ์ลุลบัยต์  
ดังนั้นท่านรอซูลุลลอฮ์คือบุคคลแรกที่หว่านเมล็ดชีอะฮ์นี้ไว้ และท่านได้คอยดูแลเอาใจใส่อีกทั้งยังให้การสนับสนุนชีอะฮ์อะลีมาโดยตลอด  
  •  

L-umar


เมื่ออ้างว่า   ท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ)  คือบุคคลแรก  ที่มอบชื่อ  (( ชีอะฮ์  ))  นี้ให้กับผู้ดำเนินตามแนวทางของท่านอะลี


กรุณาแสดงหลักฐานด้วย ?




อะฮ์ลุสซุนนะฮ์กับหะดีษชีอะฮ์

حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ مُوسَى ، ثَنَا الْحَسَنُ بْنُ كَثِيرٍ ، ثَنَا سَلْمَى بْنَ عُقْبَةَ الْحَنَفِيُّ الْيَمَامِيُّ ، ثَنَا عِكْرِمَةُ بْنُ عَمَّارٍ عَنْ يَحْيَى بْنِ أَبِي كَثِيرٍ عَنْ أَبِي سَلَمَةَ عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ قَالَ  قَالَ عَلِيُّ بْنُ أَبِيْ طَالِبٍ يَا رَسُولَ اللَّهِ أَيُّمَا أَحَبُّ إِلَيْكَ أَنَا أَمْ فَاطِمَة قَالَ فَاطِمَة أَحَبُّ إِلَيَّ مِنْكَ وَأَنْتَ أَعَزُّ عَلَيَّ مِنْهَا وَكَأَنِّيْ بِكَ وَأَنْتَ عَلَى حَوْضِيْ تَذُوْدُ عَنْهُ النَّاسَ وَإِنَّ عَلَيْهِ لَأبَارِيْقُ مِثْلُ عَدَدَ نُجُوْمِ السَّمَاءِ وَإِنِّيْ وَأَنْتَ وَالْحَسَنُ وَالْحُسَيْنُ وَفَاطِمْةُ وَعَقِيْلٌ وَجَعْفَرٌ فِي الْجَنَّةِ إِخْوَانًا عَلَى سُرُرٍ مُتَقَابِلِينَ أَنْتَ مَعِيْ وَشِيْعَتُكَ فِي الْجَنَّةِ ثُمَّ قَرَأَ رَسُوْلُ اللهِ صلى الله عليه و سلم إِخْوَانًا عَلَى سُرُرٍ مُتَقَابِلِينَ (الحجر : 47) لاَ يَنْظُرُ أَحَدُهُمْ فِيْ قِفَا صَاحِبِهِ
الكِتَابُ : الْمُعْجَمُ الْأَوْسَطُ  ج 7 ص 343  ح : 7675
المُؤَلِّف : أَبُو الْقَاسِم سُلَيْمَانُ بْنُ أَحْمَد الطَّبْرَانِيّ( 260- 360هـ)
الناشر : دَارُ الْحَرَمَيْنِ - القَاهِرَة ، 1415
تحقيق : طارق بن عوض الله بن محمد , عبد المحسن بن إبراهيم الحسيني


จากอิกริมะฮ์บินอัมมาร จากยะห์ยาบินอบีกะษีร จากอบีสะละมะฮ์  จากอบีฮุร็อยเราะฮ์รายงานว่า :

ท่านอะลี บินอบีตอลิบกล่าวว่า :   โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ ใครเป็นที่รักยิ่งของท่านมากที่สุด ฉันหรือฟาติมะฮ์  

ท่านตอบว่า : ฟาติมะฮ์คือที่รักยิ่งของฉัน ส่วนท่านคือผู้มีเกียรติยิ่งของฉันมากกว่านาง  
อย่างกับฉันอยู่กับท่าน และท่านนั้นอยู่ที่สระ(เกาษัร)ของฉัน กำลังสกัดกั้นผู้คนออกไปจากสระ
และแท้จริงที่สระนั้นแน่นอนมีเหยือกน้ำมากมายเหมือนกับจำนวนดวงดาวบนท้องฟ้า
และแท้จริงฉัน, ท่าน(คือท่านอะลี), ฮาซัน, ฮูเซน, ฟาติมะฮ์, อะกีล และญะอ์ฟัรจะอยู่ร่วมกันในสวรรค์ เป็นพี่น้องกัน โดยพำนักอยู่บนเตียงหันหน้าเข้าหากัน

ท่านกับฉันและชีอะฮ์ของท่านจะได้อยู่ในสวรรค์  

จากนั้นท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ็อลฯ)ได้อ่านโองการ ( ต่างเป็นพี่น้องกัน โดยพำนักอยู่บนเตียงหันหน้าเข้าหากัน ) ซูเราะฮ์อัลฮิจญ์รุ : 47   คนหนึ่งของพวกเขาจะไม่มองที่ด้านหลังของสหายของเขา


สถานะหะดีษ : ฮาซัน

ดูอัลมุอ์ญะมุลเอาซัฏ โดยอัฏ-ฏ็อบรอนี  เล่ม 7 : 343  หะดีษ 7675
  •  

12 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้