Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

ธันวาคม 22, 2024, 02:00:50 หลังเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
  • สมาชิกทั้งหมด: 1,718
  • Latest: Haroldsmolo
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 3,699
  • หัวข้อทั้งหมด: 778
  • Online today: 102
  • Online ever: 200
  • (กันยายน 14, 2024, 01:02:03 ก่อนเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 89
Total: 89

หะดีษ ชีอะฮ์ สถานะฮาซัน สุดยอด

เริ่มโดย L-umar, กรกฎาคม 21, 2009, 02:28:49 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar



หะดีษ ชีอะฮ์


 
ที่อะฮ์ลุสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์รายงาน



حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ مُوْسَى ثنا الْحَسَنُ بْنُ كَثِيْرٍ ثنا سَلْمَى بْنُ عُقْبَةِ الْحَنَفِيّ الْيَمَامِيّ ثنا عِكْرِمَةُ بْنُ عَمَّارٍ عَنْ يَحْيَى بْنِ أَبِي كَثِيرٍ عَنْ أَبِي سَلَمَةَ عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ قَالَ  قَالَ عَلِيُّ بْنُ أَبِيْ طَالِبٍ
يَا رَسُولَ اللَّهِ أَيُّمَا أَحَبُّ إِلَيْكَ أَنَا أَمْ فَاطِمَة قَالَ فَاطِمَة أَحَبُّ إِلَيَّ مِنْكَ وَأَنْتَ أَعَزُّ عَلَيَّ مِنْهَا وَكَأَنِّيْ بِكَ وَأَنْتَ عَلَى حَوْضِيْ تَذُوْدُ عَنْهُ النَّاسَ وَإِنَّ عَلَيْهِ لَأبَارِيْقُ مِثْلُ عَدَدَ نُجُوْمِ السَّمَاءِ وَإِنِّيْ وَأَنْتَ وَالْحَسَنُ وَالْحُسَيْنُ وَفَاطِمْةُ وَعَقِيْلٌ وَجَعْفَرٌ فِي الْجَنَّةِ إِخْوَانًا عَلَى سُرُرٍ مُتَقَابِلِينَ أَنْتَ مَعِيْ وَشِيْعَتُكَ فِي الْجَنَّةِ ثُمَّ قَرَأَ رَسُوْلُ اللهِ صلى الله عليه و سلم إِخْوَانًا عَلَى سُرُرٍ مُتَقَابِلِينَ (الحجر : 47) لاَ يَنْظُرُ أَحَدُهُمْ فِيْ قِفَا صَاحِبِهِ


الكِتَابُ : الْمُعْجَمُ الْأَوْسَطُ ( 260- 360هـ) ج 7 ص 343  ح : 7675


المُؤَلِّف : أَبُو الْقَاسِم سُلَيْمَانُ بْنُ أَحْمَد الطَّبْرَانِيّ

الناشر : دَارُ الْحَرَمَيْنِ - القَاهِرَة ، 1415

تحقيق : طارق بن عوض الله بن محمد , عبد المحسن بن إبراهيم الحسيني

عدد الأجزاء : 10



มุฮัมมัด บินมูซาได้เล่าให้เราฟัง  - อัลฮาซัน บินกะษีร  - ซัลมา บินอุกบะฮ์ อัลฮานาฟี อัลยะมามี –


อิกริมะฮ์ บินอัมมาร จากยะห์ยา บินอบีกะษีร จากอบีสะละมะฮ์  จากอบีฮุร็อยเราะฮ์รายงานว่า :

ท่านอะลี บินอบีตอลิบกล่าวว่า :


โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ ใครเป็นที่รักยิ่งของท่านมากที่สุด  ?

ฉันหรือฟาติมะฮ์  ท่านตอบว่า ฟาติมะฮ์คือที่รักยิ่งของฉัน ส่วนท่านคือผู้มีเกียรติยิ่งของฉันมากกว่านาง  อย่างกับฉันอยู่กับท่าน และท่านนั้นอยู่ที่สระ(เกาษัร)ของฉัน กำลังขวางผู้คนออกไปจากสระ และแท้จริงที่สระนั้นแน่นอนมีเหยือกน้ำมากมายเหมือนกับจำนวนดวงดาวบนท้องฟ้า และแท้จริงฉัน, ท่าน, อัลฮาซัน, อัลฮูเซน, ฟาติมะฮ์, อะกีล และญะอ์ฟัรจะอยู่ร่วมกันในสวรรค์ เป็นพี่น้องกัน โดยพำนักอยู่บนเตียงหันหน้าเข้าหากัน


ท่านกับฉันและชีอะฮ์ของท่านจะได้อยู่ในสวรรค์  

จากนั้นท่านรอซูลุลลอฮ์ (ศ็อลฯ)ได้อ่านโองการ ( ต่างเป็นพี่น้องกัน โดยพำนักอยู่บนเตียงหันหน้าเข้าหากัน ซูเราะฮ์อัลฮิจญ์รุ : 47 ) คนหนึ่งของพวกเขาจะไม่มองที่ด้านหลังของสหายของเขา


สถานะหะดีษ  :    ฮาซัน    ลิฆ็อยริฮี

ดูอัลมุอ์ญะมุลเอาซัฏ          โดยอัฏ-ฏ็อบรอนี  เล่ม 7 : 343  ฮะดีษที่ 7675




วิเคราะห์สายรายงาน ( تَخْرِيْجُ حَدِيْثٍ )

1. มุฮัมมัด บินมูซา>

2. อัลฮาซัน บินกะษีร>

3. ซัลมา บินอุกบะฮ์ อัลฮานาฟี อัลยะมามี>

4. อิกริมะฮ์ บินอัมมาร(159 ฮ.ศ.)>

5. ยะห์ยา บินอบีกะษีร(129 ฮ.ศ.) >

6. อบีสะละมะฮ์(94 ฮ.ศ.)>

7. อบีฮุร็อยเราะฮ์(59 ฮ.ศ.)>

8. อะลี บินอบีตอลิบ(40 ฮ.ศ.)  > ท่านรอซูลุลลอฮ์ (ศ็อลฯ)กล่าวว่า ...


สรุป   :      เป็นหะดีษมัรฟู๊อฺ            เพราะมีสะนัดสืบถึงนบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ)


อธิบาย -


พึงรู้เป็นการเบื้องต้นว่าฮะดีษของท่านนบี(ศ็อลฯ) ที่ถูกถ่ายทอดมาถึงตัวเรานั้นต้องประกอบด้วยสองส่วน คือ

1.สะนัด

2. มะตัน


คำว่า سَنَدٌ (สะนัด) เป็นคำเอกพจน์ แปลว่า สายรายงานหรือสายสืบ

พหูพจน์ คือ إِسْنَادٌ (อิสนาด) หมายถึง การถ่ายทอดจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง


มะตัน (مَتْنٌ) ตามหลักภาษาศาสตร์แปลว่า สิ่งที่ยกมาจากพื้นดิน

ตามหลักวิชาการ แปลว่า สิ่งที่สิ้นสุดของสะนัดจากคำพูดหรือการกระทำ



สะนัดหรืออิสนาดมีความประเสริฐที่เด่นชัด เนื่องจากด้วยสะนัดสามารถปกป้องสาระเนื้อหาของอัลอิสลามจากการปะปน เบี่ยงเบน อุตริกรรม

และการโกหกของผู้หนึ่งผู้ใดที่ไม่ประสงค์ดีต่ออัลอิสลาม การพูดถึงเรื่องสะนัดไม่เคยปรากฏมาก่อนในศาสนาอื่นๆ เว้นแต่ในอิสลามเท่านั้น

บรรดาอุละมาอฺได้สาธยายถึงความประเสริฐของสะนัดไว้มากมายและยังได้ให้ความสำคัญต่อสะนัดมาก

สะนัดของฮะดีษประกอบด้วยผู้รายงานจากหลายรุ่นในทุกยุคทุกสมัยตั้งแต่สมัยซอฮาบะฮฺจนถึงสมัยของการบันทึกฮะดีษ แต่ที่มีชื่อเสียงมากที่

สุดและเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมี 4 รุ่นด้วยกันคือ



รุ่นที่ 1 รุ่นซอฮาบะฮฺ  (เริ่มตั้งแต่ปีที่ 10 ถึงปีที่ 110 แห่งฮิจเราะฮฺศักราช)

รุ่นที่ 2 รุ่นตาบิอีน     (ตั้งแต่ปี 93 จนถึงปีที่ 124 แห่งฮิจเราะฮฺศักราช)

รุ่นที่ 3 รุ่นตาบิ๊อฺ-ตาบิอีน (ตั้งแต่ปี 124 จนถึงปีที่ 224 แห่งฮิจเราะฮฺศักราช)

รุ่นที่ 4 รุ่นอัตบาอฺ-ตาบิอฺ ตาบิอีน (ตั้งแต่ปี 224 จนถึงปีที 303 แห่งฮิจเราะฮฺศักราช)





ฮะดีษทุกบทเมื่อพิจารณาสะนัดตั้งแต่ต้นสะนัดจนถึงปลายสะนัดอาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ



ประเภทที่ 1 สะนัดอาลี(السند العالي)

หมายถึงสายรายงานที่มีผู้รายงานเป็นจำนวนน้อย หากเปรียบเทียบกับสะนัดอื่น ซึ่งบรรดาอุละมาอฺมีความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องจำนวนที่

แน่นอนของจำนวนน้อย บางทัศนะกล่าวว่า อย่างน้อยมี 3 คนและบางทัศนะระบุว่า 5 คน



ประเภทที่ 2 สะนัดนาซิล(السند النازل)

หมายถึงสายรายงานที่มีผู้รายงานเป็นจำนวนมาก หากเปรียบเทียบกับสะนัดอื่นที่มีผู้รายงานน้อย หมายความถึง ผู้รายงานที่มีจำนวนระหว่าง

3 คนหรือ 5 คนขึ้นไป เช่น สะนัดของหนังสือฮะดีษทั้งหก(คือบุคอรี,มุสลิม,อบูดาวูด,นะซาอี,ติรมิซี,อิบนุมาญะฮ์)และหนังสืออื่น ๆ

ระหว่างสองประเภทสะนัดนี้ สะนัดอาลีจะมีฐานะสูงกว่าสะนัดนาซิล เพราะการที่ฮะดีษบทใดมีผู้รายงานจำนวนน้อยก็แสดงให้เห็นว่า ฮะดีษนั้น

ภายในตัวมีความแข็งแรงกว่าและมีน้ำหนักมากกว่าสายรายงานที่มีผู้รายงานเป็นจำนวนมาก





การจำแนกฮะดีษ


การจำแนกประเภทของฮะดีษจะพิจารณาจาก 2 ด้าน

พิจารณาผู้ที่ถูกพาดพิง มี 4 ประเภท

ประเภทที่ 1 ฮะดีษกุดซี

หมายถึงฮะดีษที่รายงานโดยท่านนบี(ศ็อลฯ)ด้วยสายรายงานของท่านเองพาดพิงถึงอัลลอฮฺ(ซ.บ)


ประเภทที่ 2 ฮะดีษมัรฟู๊อฺ

หมายถึงฮะดีษที่ซอฮาบะฮ์รายงานพาดพิงถึงท่านนบีโดยระบุเป็นคำพูดการกระทำ การยอมรับ หรือคุณลักษณะตลอดจนชีวประวัติของท่านนบี
(ศ็อลฯ)


ประเภทที่ 3 ฮะดีษเมากู๊ฟ

หมายถึง สิ่งที่พาดพิงถึงบรรดาซอฮาบะฮฺจะเป็นคำพูด การกระทำและการยอมรับ ที่ไม่ใช่พาดพิงถึงท่านนบี

การที่เรียกว่า ฮะดีษเมากู๊ฟนั้นก็เนื่องจากสิ้นสุดคำพูด การกระทำ และการยอมรับเพียงแค่ซอฮาบะฮฺเท่านั้น


ประเภทที่ 4 ฮะดีษมักฏู๊อฺ

หมายถึง ฮะดีษที่มีการรายงานไม่ถึงต้นสายคือ รอซูลุลลอฮฺและซอฮาบะฮฺ

ฮะดีษมักฏูอฺ คือ สิ่งที่พาดพิงไปยังตาบิอีนเท่านั้นทั้งที่เป็นคำพูดและการกระทำ




พิจารณาฮะดีษที่มาถึงมือพวกเรา มี 2 ประเภท

ประเภทที่ 1 ฮะดีษมุตะวาติร

ประเภทที่ 2 ฮะดีษอาฮ๊าด


หลังจากที่เราทราบแล้วว่า ฮะดีษชีอะฮ์ข้างต้นเป็นฮะดีษมัรฟู๊อฺ ตามหลักวิชาการฮะดีษมัรฟู๊อฺ คือสิ่งที่ผู้รายงานพาดพิงถึงท่านนบี(ศ็อลฯ)โดย

ระบุเป็นคำพูดการกระทำ การยอมรับหรือคุณลักษณะตลอดจนชีวประวัติของท่านนบี

ในทางปฏิบัติจริงฮะดีษมัรฟู๊อฺมักจะใช้ในลักษณะเฉพาะเจาะจงกับท่านนบีมุฮัมมัดเท่านั้น การใช้ในลักษณะเช่นนี้เป็นที่รู้กันอย่างแพร่หลายใน

หมู่นักวิชาการทุกสาขา





ฮะดีษมัรฟู๊อฺมี 4 ชนิดด้วยกัน คือ


1.   มัรฟู๊อฺ-เกาลี (ที่เป็นคำพูด)

2.   มัรฟู๊อฺ-ฟิ๊อฺลี (การกระทำ)

3.   มัรฟู๊อฺ-ตักรีรี (การยอมรับ)

4.   มัรฟู๊อฺ-วัศฟี (คุณลักษณะ)



ชนิดที่ 1 ฮะดีษมัรฟู๊อฺ-เกาลี หมายถึง คำพูดของท่านนบี(ศ็อลฯ)ที่ได้กล่าวในสถานการณ์ต่าง ๆ จะ

เกี่ยวกับเรื่องศาสนาหรือเรื่องทางโลก เช่น การดุอาอฺ การให้คำตักเตือน การอ่าน เป็นต้น

ฮะดีษมัรฟู๊อฺชนิดนี้ เรียกอีกชื่อว่า ฮะดีษเกาลีตัวอย่าง มีซอฮาบะฮฺท่านหนึ่งได้รายงานว่า ท่านนบี(ศ็อลฯ)ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งใน

สถานการณ์ สถานที่ และเวลา เป็นต้น เช่น กล่าวถึงเรื่องฮะลาลและฮะรอม

การห้าม คำตักเตือน และอื่น ๆ   ฮะดีษมัรฟูอฺเกาลีจะให้ฮุกุ่มทั้งที่เป็นวาญิบ สุนัต ฮะรอม และมักรูฮฺ ซึ่งขึ้นอยู่กับสำนวนคำพูดที่กล่าวออกมา

หรือกรณีแวดล้อมอื่น ๆ



ชนิดที่ 2 ฮะดีษมัรฟู๊อฺ-ฟิ๊อฺลี

หมายถึง การกระทำของท่านนบี(ศ็อลฯ)ต่อหน้าซอฮาบะฮฺหรือต่อหน้าภริยาของท่าน การกระทำในทุก ๆ อิริยาบถของท่านนบีไม่ว่าจะเป็น

เรื่องส่วนตัว อิบาดะฮฺ มุอามะลาต  เป็นต้น

ฮะดีษมัรฟู๊อฺ-ฟิ๊อฺลี เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ฮะดีษฟิ๊อฺลี ตัวอย่างเช่น  ซอฮาบะฮฺ กล่าวว่า การกระทำของท่านนบี(ศ็อลฯ)อย่างนี้หรือท่านนบีได้ปฏิบัติ

ในลักษณะนี้   ฮะดีษมัรฟูอฺฟิอฺลีย์จะให้ฮุกุ่มทั้งที่เป็นวาญิบ สุนัต ฮะรอม และมักรูฮฺเหมือนกับ ฮุกุ่มของฮะดีษมัรฟู๊อฺ-เกาลี



ชนิดที่ 3 ฮะดีษมัรฟู๊อฺ-ตักรีรี

หมายถึง การยอมรับของท่านนบี(ศ็อลฯ) ต่อการกระทำของซอฮาบะฮฺบางคนที่ได้ปฏิบัติต่อหน้าท่านนบีหรือให้การยอมรับต่อคำอ่านของซอ

ฮาบะฮฺบางคนที่ได้อ่านต่อท่าน ฮะดีษมัรฟู๊อฺชนิดนี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ฮะดีษตักรีรี ตัวอย่างเช่น ซอฮาบะฮฺท่านหนึ่งกล่าวว่า ได้มีการปฏิบัติต่อ

หน้าท่านนบีอย่างนี้ และไม่มีการปฏิบัติจากท่านในเรื่องดังกล่าว การให้การยอมรับของท่านนบี(ศ็อลฯ)มักจะใช้สำนวนที่หลากหลาย เช่น

1. สำนวนที่ชัดเจนต่อข้อซักถามของซอฮาบะฮฺ เช่น ท่านนบี(ศ็อลฯ)กล่าวว่า "คุณปฏิบัติถูกต้องแล้ว"(أَصَبْتَ)

2. สำนวนที่พูดในเชิงให้กำลังใจต่อการกระทำของซอฮาบะฮฺ หรือต่อคำพูดของพวกเขา เช่น ท่านนบี(ศ็อล)กล่าวกับท่านอะลีว่า "ท่านกับฉัน

และชีอะฮ์ของท่านจะได้อยู่ในสวรรค์"  เป็นต้น

3. การเงียบต่อการกระทำของซอฮาบะฮฺบางคน กล่าวคือ ท่านนบี(ศ็อลฯ)ไม่ได้ปฏิเสธ หรือไม่ได้ให้การยอมรับ เช่น ไม่ได้สั่งและไม่ได้ห้าม

ซอฮาบะฮฺ  ฮะดีษมัรฟู๊อฺ-ตักรีรีจะมีเพียงฮุกุ่มเดียวเท่านั้น คือ ฮุกุ่มมุบ๊าหฺ

อนุญาตให้ปฏิบัติได้ กล่าวคือ ผู้ใดต้องการปฏิบัติก็สามารถทำได้และผู้ใดไม่ประสงค์จะปฏิบัติก็ไม่ผิดกับบทบัญญัติอิสลามแต่อย่างใด ฮะดี

ษมัรฟู๊อฺชนิดนี้เป็นการเปิดโอกาสแก่ประชาชาติในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องที่สามารถอำนวยประโยชน์ในการดำรงชีวิต



ชนิดที่ 4 ฮะดีษมัรฟู๊อฺ-วัศฺฟี

หมายถึง คุณลักษณะที่ท่านนบีได้ปฏิบัติในทุกอิริยาบถและในทุก

สถานการณ์ ตลอดชีวิต เช่น ซอฮาหาบะฮฺกล่าวว่า ท่านนบี(ศ็อลฯ)ปฏิบัติตัวอย่างนี้ หรือท่านกล่าวเช่นนี้ เป็นต้น ฮะดีษมัรฟู๊อฺตามลักษณะเช่น

นี้เรียกอีกชื่อว่า ฮะดีษวัศฺฟี    ฮะดีษมัรฟู๊อฺ-วัศฟีจะมีฮุกุ่มทั้งที่เป็นฮุกุ่มวาญิบ สุนัต และมุบ๊าหฺ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีหากมีการปฏิบัติตามดังเช่นการ

ปฏิบัติของท่านนบี



ระดับหรือสถานะของฮะดีษมัรฟู๊อฺ

มีหลายระดับดังนี้คือ

1.   ฮะดีษซอฮี๊ฮฺ

2.   ฮะดีษฮาซัน

3.   ฮะดีษดออีฟ

4.   ฮะดีษดออีฟญิดดัน

5.   ฮะดีษเมาฎู๊อฺ


ฮะดีษทั้ง 5 ระดับนี้ก็ขึ้นอยู่กับสถานภาพของผู้รายงานฮะดีษแต่ละคนตั้งแต่ช่วงต้น ช่วงกลางหรือช่วงสุดท้ายของสะนัด




การนำฮะดีษมัรฟู๊อฺมาใช้เป็นหลักฐาน


ฮะดีษมัรฟู๊อฺนั้นมีทั้งนำมาใช้เป็นหลักฐานได้ และบางฮะดีษก็ใช้เป็นหลักฐานไม่ได้

ตามทัศนะของอุละมาอฺฮะดีษ หากฮะดีษมัรฟู๊อฺสามารถพาดพิงไปยังท่านนบีด้วยกระบวนการรายงานที่ถูกต้องแล้ว วาญิบ จะต้องเชื่อและ

ปฏิบัติตามและนำมาใช้เป็นหลักฐานได้





คำถาม

หะดีษ " ชีอะฮ์ " ข้างต้นเป็นฮะดีษมัรฟู๊อฺ ที่อยู่ระดับใด ?


مرتبة الحديث : حسن لغيره   رواه الطبراني في المعجم الأوسط وفيه سلمي بن عقبة ولم يعرفه، وبقية رجاله ثقات‏


ตอบ

อยู่ในระดับ : ฮาซัน ลิฆ็อยริฮี


ท่านอัฏ-ฏ็อบรอนีรายงานฮะดีษนี้ไว้ในหนังสือมุอ์ญัมเอาซัฏ ซึ่งในสายรายงานนี้มีผู้รายงานชื่อมุฮัมมัด บินมูซา>อัลฮาซัน บินกะษีร>ซัลมา บิน

อุกบะฮ์  : ผู้รายงานทั้งสามคนนี้ ไม่เป็นที่รูจัก  ส่วนผู้รายงานที่เหลือเป็นนักรายงานที่เชื่อถือได้

คาดว่า ผู้รายงานที่ชื่อซัลมา บินอุกบะฮ์ บางทีอาจเป็นคนๆเดียวกับ สิร็อจญ์ บินอุกบะฮ์ซึ่งนักรายงานที่เชื่อถือได้ ดังที่นักวิชาการได้กล่าวไว้

ดังนี้

سِرَاجُ بْنُ عُقْبَةَ بْنُ طَلْقِ بْنُ عَلِىِّ الْحَنَفِيّ :

عثمان بن سعيد قال سألت يحيى بن معين قلت سراج بن عقبة فقال ليس به بأس ثقة
الجرح والتعديل لإبن أبي حاتم ج 4 ص
 316


จากอุษมาน บินสะอีดเล่าว่า ฉันได้ถามท่านยะห์ยา บินมะอีน ฉันกล่าวว่า สิร็อจญ์ บินอุกบะฮ์ ท่านกล่าวว่า เขาไม่เป็นไร คือเชื่อถือได้ในการ

รายงาน

อ้างอิงจาก อัลญัรฮุ วัตตะอ์ดีล โดยอิบนุอบีฮาติม เล่ม 4 : 316 อันดับที่ 1375



อิกริมะฮ์ บินอัมมาร

ชาวยะมามะฮฺ อยู่ในแคว้นนัจดฺ ประเทศซาอุดิอารเบีย มรณะ 159 ฮ.ศ.

عِكْرِمَةُ بْنُ عَمَّارٍ أبو عمار العجلى اليمامى (مات 159 هـ)
وله رواية عن يحيى بن أبي كثير.  وقال أبو حاتم: صدوق،
وقال محمد بن عثمان: سمعت عليا يقول: عكرمة بن عمار كان عند أصحابنا ثقة ثبتا.
ميزان الاعتدال للذهبي ج 3 ص 91 رقم : 4


อิกริมะฮ์ บินอัมมาร อบูอัมมาร อัลอิจญ์ลี อัลยะมามี : รายงานฮะดีษจากยะห์ยา บินอบีกะษีร  

ท่านอบูฮาติมกล่าวว่า : ซอดูก คือเชื่อถือได้  

มุฮัมมัด บินอุษมานเล่าว่า ฉันได้ยินท่านอะลีกล่าวว่า : อิกริมะฮ์ บินอัมมารเขาเป็นอัศฮาบของพวกเราที่เชื่อถือได้และมั่นคง

อ้างอิงจาก มีซานุลอิ๊อฺติดาล โดยอัซซะฮะบี เล่ม 3 : 91 อันดับที่ 5713


عكرمة بن عمار اليمامي تابعي ثقة
الثقات للعجلي ج 2  ص 144 رقم : 1271

ท่านอัลอิจญ์ลีกล่าวว่า : อิกริมะฮ์ บินอัมมารเป็นตาบิอี  เชื่อถือได้ในการรายงาน

อ้างอิงจาก อัษ-ษิกอต โดยอัลอิจญ์ลี เล่ม 2 : 144 อันดับที่ 1271

عكرمة بن عمار العجلي أبو عمار اليمامي أصله من البصرة صدوق
تقريب التهذيب لابن حجر العسقلاني ج 1 ص 396 رقم : 4672

ท่านอัลอิจญ์ลีกล่าวว่า : อิกริมะฮ์ บินอัมมารเป็นตาบิอี  เชื่อถือได้ในการรายงาน

อ้างอิงจาก ตักรีบุต-ตะฮ์ซีบ โดยอิบนุฮะญัร เล่ม 1 : 396 อันดับที่ 4672


อิกริมะฮ์ บินอัมมารในทัศนะของเชคอัลบานี

(قال الشيخ الألباني) قُلْتُ : و وجهه أن عكرمة بن عمار قد تكلم فيه بعض المتقدمين من قبل حفظه ، و قد وثقه جمع و احتج به مسلم في \\\" صحيحه \\\" ، و قال الحافظ في التقريب \\\" صدوق يغلط
و في روايته عن يحيى بن أبي كثير اضطراب \\\" قلت : و هذه ليس منها ، فالحديث على
أقل الدرجات حسن الإسناد ، فإن بقية رجاله ثقات أثبات ،
السلسلة الصحيحة ج 2 ص 289 ح : 790
(قال الشيخ الألباني) حدثنا عكرمة بن عمار عن يحيى بن أبي كثير عن أبي سلمة عن أبي هريرة مرفوعا به
السلسلة الصحيحة ج 6 ص 213 ح : 2714


เชคอัลบานีกล่าวว่า :

ในแง่ของท่านอิกริมะฮ์ บินอัมมารนั้นมีนักปราชญ์รุ่นก่อนบางคนกล่าวเกี่ยวกับเขาในเรื่องความจำของเขา และแน่นอนมีนักปราชญ์กลุ่มหนึ่งถือ

ว่า เขามีความน่าเชื่อถือในการรายงาน และท่านมุสลิมได้บันทึกรายงานของเขาไว้ในหนังสือซอฮี๊ฮฺของเขา(กล่าวคือยึดรายงานของอิกริมะฮ์

เป็นหลักฐาน)



   ท่านฮาฟิซอิบนุฮะญัรกล่าวในหนังสือตักรีบุต-ตะฮ์ซีบว่า เขาเชื่อถือได้ แต่ความผิดพลาดของเขาก็คือรายงานฮะดีษที่เขารายงาน

มาจากยะห์ยา บินอบีกะษีรนั้นมีความสับสน  เชคอัลบานีกล่าวว่า (ที่ท่านฮาฟิซกล่าวเช่นนี้) ไม่เป็นเช่นนั้น เพราะฮะดีษของอัมมารอย่างน้อยก็

อยู่ในระดับ สายรายงานที่ฮาซัน(ดี) เพราะฉะนั้นนักรายงานที่เหลือ จึงถือว่ามีความเชื่อถือได้ มีความมั่นคง

อ้างอิงจาก ซิลซิละตุซ-ซอฮีฮะฮ์ เล่ม 6 : 231  ฮะดีษที่ 2714




ยะห์ยา บินอบีกะษีร


يَحْيَى بْنِ أَبِي كَثِيرٍ اليمامى. أحد الاعلام الاثبات.
ميزان الاعتدال للذهبي ج 4 ص 402

ท่านอัซซะฮะบีกล่าวว่า : ยะห์ยา บินอบีกะษีร อัลยะมามี คือนักปราชญ์ที่มีความมั่นคงเชื่อถือได้คนหนึ่ง

อ้างอิงจาก มีซานุลอิ๊อฺติดาล โดยอัซซะฮะบี เล่ม 4 : 402 อันดับที่ 9607

يحيى بن أبي كثير     قال أبو حاتم إمام لا يحدث الا عن ثقة
لسان الميزان  لابن حجرالعسقلاني ج 7 ص 436

ท่านอิบนุอบีฮาติมกล่าวว่า : ยะห์ยา บินอบีกะษีร เป็นอิม่าม เขาจะไม่รายงานฮะดีษยกเว้นจากคนที่เชื่อถือได้

อ้างอิงจาก ลิซานุลมีซาน โดยอิบนุฮะญัร เล่ม 4 : 436 อันดับที่ 5242

1994 - يحيى بن أبي كثير اليمامي ثقة حسن الحديث
الثقات للعجلي ج 2 ص 357

ท่านอัลอิจญ์ลีกล่าวว่า : ยะห์ยา บินอบีกะษีร อัลยะมามี การรายงานเชื่อถือได้ เป็นฮะดีษฮาซัน

อ้างอิงจาก มีซานุลอิ๊อฺติดาล เล่ม 2 : 357 อันดับที่ 1994

599 - يحيى بن أبى كثير اليمامي كان بصريا فانتقل الى اليمامة

وروى عن أبى سلمة بن عبد الرحمن
يحيى بن سعيد القطان قال سمعت شعبة يقول يحيى بن أبى كثير أحسن حديثا من الزهرى
محمد بن حنبل قال أبى يحيى بن أبى كثير من اثبت الناس
الجرح والتعديل لإبن أبي حاتم   ج 9 ص 141 ح : 599

ยะห์ยา บินอบีกะษีร อัลยะมามี เดิมเป็นชาวบัศเราะฮ์ต่อมาย้ายไปอยู่ที่ยะมามะฮฺ ประเทศซาอุดิอารเบีย

รายงานฮะดีษจาก : อบูสะละมะฮ์ บินอับดุลเราะห์มาน

ท่านยะห์ยา บินก็อฏฏอนเล่าว่า ฉันได้ยินท่านชุอ์บะฮ์กล่าวว่า ยะห์ยา บินอบีกะษีร ฮะดีษของเขาดีกว่าอะดีษของอัซ-ซุฮ์รี

ท่านมุฮัมมัด บินฮัมบัลกกล่าวว่า : ยะห์ยา บินอบีกะษีร เป็นผู้มีความมั่นคงคนหนึ่ง(ในการรายงาน)

อ้างอิงจาก มีซานุลอิ๊อฺติดาล เล่ม 4 : 402 อันดับที่ 9607


สายรายงานจากอิกริมะฮ์ บินมาร จากยะห์ยา บินอบีกะษีร จากอบีสะละมะฮ์ จากอบีฮุร็อยเราะฮ์

عِكْرِمَةُ بْنُ عَمَّارٍ عَنْ يَحْيَى بْنِ أَبِي كَثِيرٍ عَنْ أَبِي سَلَمَةَ عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ


เป็นสะนัดที่ท่านอัลบุคอรีและมุสลิมได้ยอมรับเป็นสะนัดซอฮี๊ฮฺ  ดังตัวอย่างต่อไปนี้

صحيح البخاري : 6103 - وَقَالَ عِكْرِمَةُ بْنُ عَمَّارٍ عَنْ يَحْيَى عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ يَزِيدَ سَمِعَ أَبَا سَلَمَةَ سَمِعَ أَبَا هُرَيْرَةَ عَنِ النَّبِىِّ (ص)

صحيح مسلم : 591 - حَدَّثَنَا عِكْرِمَةُ بْنُ عَمَّارٍ حَدَّثَنِى يَحْيَى بْنُ أَبِى كَثِيرٍ قَالَ حَدَّثَنِى - أَوْ حَدَّثَنَا - أَبُو سَلَمَةَ بْنُ عَبْدِ الرَّحْمَنِ

صحيح مسلم : 1847 - حَدَّثَنَا عِكْرِمَةُ بْنُ عَمَّارٍ حَدَّثَنَا يَحْيَى بْنُ أَبِى كَثِيرٍ حَدَّثَنِى أَبُو سَلَمَةَ بْنُ عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ عَوْفٍ قَالَ سَأَلْتُ عَائِشَةَ أُمَّ الْمُؤْمِنِينَ بِأَىِّ شَىْءٍ كَانَ نَبِىُّ اللَّهِ (ص)

صحيح مسلم : 5275 – عَنْ عِكْرِمَةَ بْنِ عَمَّارٍ عَنْ أَبِى كَثِيرٍ الْحَنَفِىِّ عَنْ أَبِى هُرَيْرَةَ قَالَ نَهَى رَسُولُ اللَّهِ (ص)



ความหมายของฮะดีษฮาซัน


คือฮะดีษที่มีสายรายงานติดต่อกันอย่างไม่ขาดสายตั้งแต่ต้นสายจนถึงปลายสาย โดยผู้รายงานต้องเป็นผู้มีคุณธรรม แต่สมรรถภาพการจำ

หย่อน (กว่าฮะดีษผู้รายงานฮะดีษซอฮีฮฺ)  ไม่ขัดแย้งกับผู้สายรายงานอื่นที่น่าเชื่อถือกว่า และไม่มีความบกพร่องที่ซ่อนเร้น

ฮะดีษฮาซันมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับฮะดีษซอฮี๊ฮฺ แต่จะต่างกันตรงที่สายรายงานบางคนมีความจำไม่ดีเลิศ เหมือนสายรายงานของฮะดีษซอฮี๊

ฮฺ แต่ก็ไม่ถึงขั้นเลอะเลือน

ข้อแตกต่างระหว่างฮะดีษฮาซันกับฮะดีษซอฮี๊ฮฺนั้น อยู่ที่การกำหนดเงื่อนไข ความจำของสายรายงาน หากสายรายงานมีความจำดีเลิศ

  ضبط تام ก็จัดอยู่ในระดับซอฮี๊ฮฺ ถ้าหากสายรายงานสมรรถภาพการจำหย่อนยาน  قل ضبطه ก็จัดอยู่ในระดับฮาซัน



ประเภทของฮะดีษ ฮาซัน

ฮะดีษฮาซันนั้นแบ่งออกเป็น สองประเภท ดังนี้

1. ฮะดีษฮาซัน ลิษาติฮี   حسن لذاتهคือ ฮะดีษที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับอะดีษซอฮี๊ฮฺ แต่จะต่างกันตรงที่สายรายงานบางคนมีความจำไม่ดีเลิศ

เหมือนสายรายงานของฮะดีษซอฮี๊ฮฺ แต่ก็ไม่ถึงขั้นเลอะเลื่อนหรือฮะดีษซอฮีฮุลิฆ็อยริฮี ตามที่ได้นิยามมาแล้ว

2. ฮะดีษฮาซันลิฆ็อยริฮี  حسن لغيرهคือ ฮะดีษอ่อน(ดออีฟ) แต่ได้รับการสนับสนุนจากสายรายงานอื่นๆ ซึ่งมีฐานะเดียวกันหรือเหนือกว่า จน

สามารถเลื่อนฐานะเป็น ฮาซัน ลิฆ็อยริฮี ( เป็นฮะซัน โดยมีสายรายงานอื่นมาสนับสนุน )

เงื่อนไขในการเลื่อนฐานะฮะดีษ ดออีฟเป็นฮาซันลิฆ็อยริฮี

•  ผู้รายงานฮะดีษนั้นต้องไม่ถูกระบุว่าเป็น กาซิบ كاذب (คนพูดโกหก) หรือฟาสิก فاسق  (ผู้ทำบาปใหญ่หรือบาปเล็กบ่อยๆ)

•  มีสายรายงานอื่นมาสนับสนุนซึ่งมีฐานะเดียวกันหรือเหนือกว่า

•  ต้องไม่เป็นฮะดีษ ชาษฺ شاذ (ขัดแย้งกับสายรายงานที่เหนือกว่า)



ฮุกุ่มของฮะดีษ ฮาซัน

บรรดาอุละมาอฺไม่ขัดแย้งกันเลยว่า ฮะดีษฮาซันนั้นสามารถนำมาอ้างอิงเป็นหลักฐานได้ เหมือนกับฮะดีษซอฮี๊ฮฺ ดังนั้นจึงมีนักวิชาการด้านฮะ  

ดีษบางคนเช่น อิบนุฮิบบาน อิบนุคุซัยมะฮฺ อัลฮากิม และอิบนุสะกัน เป็นต้น ได้รวบรวมฮะดีษซอฮี๊ฮฺกับฮาซันเอาไว้ในตำราเล่มเดียวกัน และมี

ทัศนะว่าฮะดีษทั้งสองประเภทนั้นเป็นฮะดีษซอฮี๊ฮฺทั้งหมด.



สรุป


เราสามารถกล่าวได้ว่าฮะดีษชีอะฮ์บทนี้ไม่ใช่ฮะดีษเมาฎู๊อฺ(ฮะดีษปลอม) เพราะมีสะนัดตอนต้นสี่คนล้วนเป็นบุคคลอันที่ยอมรับของท่านบุคอรี

และมุสลิม  แต่สะนัดตอนปลายสามคนไม่เป็นที่รู้จัก


ดังนั้นเป็นฮะดีษที่อยู่ในระดับฮาซัน ลิฆ็อยริฮี คือ " ดี " เพราะฮะดีษบทนี้มีชะวาฮิด(พยานหลักฐานอื่นๆ)ด้วย เมื่อรวบรวมกระแสรายงานของฮะ

ดีษทั้งหมดมาสนับสนุนจึงเลื่อนฐานะเป็นฮะดีษฮาซัน    ดังจะได้นำเสนอฮะดีษชีอะฮ์อื่นๆอีกต่อไป  อินชาอัลลอฮ์

ส่วนสาเหตุที่บางคนฮุกุ่มว่า ฮะดีษชีอะฮ์เป็นฮะดีษเมาฎู๊อฺ(เก๊) คงมิได้มีเหตุผลอื่นใดนอกจากเพราะความตะอัศซุบและดื้อดึงของพวกเขาเอง

เท่านั้น




วัลลอฮุ อะอ์ลัม  
  •  

89 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้