Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

ธันวาคม 21, 2024, 11:25:43 หลังเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
  • สมาชิกทั้งหมด: 1,718
  • Latest: Haroldsmolo
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 3,698
  • หัวข้อทั้งหมด: 778
  • Online today: 22
  • Online ever: 200
  • (กันยายน 14, 2024, 01:02:03 ก่อนเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 22
Total: 22

หลักศรัทธาอิสลาม ตามแนวทางมัซฮับชีอะฮ์

เริ่มโดย L-umar, กรกฎาคม 07, 2009, 12:13:59 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar



อัส- สลามุอะลัยกุม  วะเราะห์มะตุลเลาะฮิ  วะบะเราะกาตุฮฺ
 


คำนำ


มัซฮับชีอะฮ์ เป็นมัซฮับที่ปฏิบัติตามคัมภีร์อัลกุรอานและอะฮ์ลุลบัยต์นบี  



ดังที่ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)กล่าวว่า :  
แท้จริงข้าพเจ้าได้มอบสิ่งหนักสองสิ่งไว้ในหมู่พวกท่าน  สิ่งแรกคือกิตาบุลเลาะฮ์และอะฮ์ลุลบัยต์ของข้าพเจ้า



เนื่องจากผู้ต่อต้านมัซฮับชีอะฮ์ ผู้ปฏิบัติตามอะฮ์ลุลบัยต์นบี ได้พยายามสร้างข้อมูลต่างๆใส่ร้ายมัซฮับแห่งสัจธรรมและผู้ที่ปฏิบัติตามอะฮ์ลุลบัยต์นบี  ซึ่งพวกเขาได้จัดบรรยายตามมัสญิดและสถานที่ต่างๆ และมีการจัดทำหนังสือใส่ร้ายมากมายเผยแผ่  อีกทั้งยังมีการสร้างเวปไซต์ทางอินเทอร์เน็ตโจมตี รวมทั้งสื่อวีซีดีแจกจ่ายไปทั่วทั้งในประเทศซาอุดิอารเบียแก่บรรดาผู้ที่ไปประกอบพิธีฮัจญ์และอุมเราะฮ์ และทั่วทุกมุมโลก รวมทั้งในบ้านเรา  เหมือนที่พวกราชวงศ์อุมัยยะฮ์ในอดีตเคยใส่ร้ายประณามท่านอะลีและอะฮ์ลุลบัยต์ในอดีต จนมาถึงปัจจุบันก็ยังมีพวกที่ยังจงรักภักดีต่อตระกูลอุมัยยะฮ์สืบทอดเจตนารมณ์อันชั่วร้ายนี้มาโดยตลอด


จุดยืนของอุละมาชีอะฮ์ทั้งในอดีตและปัจจุบันคือ ให้คำตอบแก่คำใส่ร้ายต่างๆมาโดยตลอดเช่นกัน    ขออัลลอฮ์ทรงตอบแทนความดีงามแก่พวกเขาเหล่านั้น ที่ทำหน้าที่ปกป้องแนวทางอะฮ์ลุลบัยต์นบี


ทุกท่านคงประจักษ์ดีว่า   การโจมตีมัซฮับชีอะฮ์ในยุคปัจจุบันที่คนตะอัซซุบบางส่วน กำลังทำกันอย่างเอาจริงเอาจังนั้น     มีสาเหตุหลักมาจากการที่มีพี่น้องมุสลิมได้หันมาปฏิบัติตามมัซฮับชีอะฮ์เพิ่มจำนวนมากขึ้นทั่วโลก  

   
ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดที่พวกตะอัซซุบนำมาใช้คือ  หยิบยกตำราของชีอะฮ์มาโจมตีใส่ร้าย เพื่อทำให้รูปโฉมชีอะฮ์เสียหายในทุกรูปแบบ  ทุกวิธีการ  อย่างขาดความละอายใจและขาดจรรยาบรรณของนักวิชาการที่แท้จริง


อีกปัญหาหนึ่งซึ่งเป็นปัญหาภายในของชีอะฮ์ก็คือ เยาวชน หนุ่มสาว ปัญญาชน  รวมทั้งผู้ที่ต้องการศึกษามัซฮับชีอะฮ์อย่างแท้จริงจากชีอะฮ์เอง  กลับไม่ค่อยพบตำราชีอะฮ์ในเชิงวิชาการในโลกอินเตอร์เน็ตเท่าไหร่นัก   เพราะทุกครั้งที่พิมพ์คำว่า ((( ชีอะฮ์ ))) ลงไปในกูเกิ้ลก็มักจะเจอแต่เวปไซต์ซุนนี่ที่เขียนโจมตีมัซฮับชีอะฮ์เสียมากกว่า    


เมื่อพวกเขาต้องเผชิญหน้ากับปัญหาโจมตีชีอะฮ์จากเวปไซต์ต่างๆ  พวกเขาก็ไม่รู้ว่าจะหันหน้าไปทางไหน เพราะพวกเขาขาดหลักฐานอ้างอิงที่มีน้ำหนัก และมีความถูกต้อง ไว้อ้างอิง ไว้ศึกษาหาความจริง ไว้ยึดเหนี่ยว  


ดังนั้นทางเวปไซต์คำถามสำหรับซุนนี่จึงเล็งเห็นความสำคัญนี้  เราจะพยายามเรียบเรียงบทความนี้ตามลำดับเรื่องที่สำคัญที่สุดในยุคปัจจุบัน  ให้ทุกท่านได้ศึกษาหลักศรัทธาอิสลามตามมัซฮับชีอะฮ์  จากชีอะฮ์มิใช่จากซุนนี่  

 
หวังว่าบทความนี้ จะทำให้พี่น้องมุสลิมที่มีใจเที่ยงธรรม และผู้แสวงหาความจริงได้รับประโยชน์ อินชาอัลเลาะฮ์


และเรายังได้พยายามนำหะดีษที่ฝ่ายซุนนี่รายงานตรงกับหะดีษชีอะฮ์มาผนวกไว้ เพื่อเปรียบเทียบให้ท่านได้ทราบว่า   สิ่งที่ชีอะฮ์เชื่อและศรัทธานั้นคือสิ่งที่ซุนนี่ได้รายงานไว้เช่นกัน  หมายความว่า   ความเชื่อหลักๆของชีอะฮ์มิได้ผิดแปลกแหวกแนวไปจากความเชื่อหลักๆของฝ่ายซุนนี่เลย

 
اللهم صل علی محمد وآل محمد
อัลลอฮุมมะ  ซ็อลลิอะลา มุฮัมมัด วะอาลิ มุฮัมมัด
ด้วยสลามและดุอาอ์




بسم الله الرحمن الرحيم الحمد لله رب العالمين وصلى الله على محمد و أهل بيته
الطاهرين وعلى أصحابه المنتجبين أما بعد  
ด้วยนามของอัลเลาะฮ์ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตายิ่งเสมอ
บรรดาการสรรเสริญทั้งหลายเป็นสิทธิของอัลเลาะฮ์ พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก
ขออัลเลาะฮ์ทรงประทานพรแด่นบีมุฮัมมัด อะฮ์ลุลบัยต์และบรรดาซอฮาบะฮ์ของท่าน




ศาสนาอิสลาม

หลักการอิสลามแบ่งออกเป็น  2  ประการคือ

1, หลักศรัทธา  

2, หลักปฏิบัติ




หลักศรัทธา หรือ อะกีดะฮ์ - عقیدة พหูพจน์อะกอเอ็ด - عقائد บางครั้งเรียกอุศูลุดดีน-รากฐานศาสนา หรือรุกุ่นอี หม่าน- หลักความเชื่อ

หลักปฏิบัติ,ศาสนบัญญัติหรือชะรีอะฮ์ บางครั้งเรียกฟุรูอุดดีน ,ฟิกฮ์และอะห์กาม

อัลอิสลามเป็นศาสนาที่ว่าด้วย ความเชื่อเรื่องพระเจ้า เพราะฉะนั้นก่อนเข้าไปศึกษารายละเอียดเรื่องหลักศรัทธาอื่นๆ  เราควรมาพิสูจน์กันก่อนว่า  พระเจ้ามีจริงหรือไม่ ?




                                                                                        ความเชื่อเรื่อง  พระเจ้า  


ความเชื่อเรื่องพระเจ้า มนุษย์แบ่งออกเป็น  2 กลุ่มคือ


1,อเทวนิยม คือไม่เชื่อว่า พระเจ้ามีจริง
2,เทวนิยม   คือเชื่อว่า   พระเจ้ามีจริง




กลุ่มเทวนิยมยังแบ่งออกอีกเป็น 2 กลุ่มคือ

1,เชื่อว่าพระเจ้ามีหลายองค์เช่น ศาสนายูดาย,ศาสนาคริสต์,ศาสนาโซโรอัสเตอร์

2,เชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวเท่านั้นคือ ศาสนาอิสลาม


อธิบาย

เดิมชาวยิวเชื่อว่าพระเจ้ามีองค์เดียวคือพระยะโฮวา แต่ต่อมาชาวยิวเชื่อว่านบีอุเซรคือพระบุตรของพระเจ้า,ชาวคริสต์เชื่อว่าพระเจ้ามี 3 องค์คือพระบิดา,พระวิญญาณบริสุทธิ์และพระบุตร,ส่วนชาวโซโรอัสเตอร์เชื่อว่าพระเจ้ามี 2 องค์คือพระเจ้าแห่งความดีและพระเจ้าแห่งความชั่วหรือพระเจ้าแห่งความสว่างและพระเจ้าแห่งความมืด

สิ่งต่างๆในจักรวาล

ภาวะของสิ่งต่างๆในจักรวาลแบ่งออกเป็น  3 ลักษณะคือ :

1,วาญิบ วุญูด – สิ่งที่อุบัติด้วยตนเอง ไม่มีใครให้กำเนิดเช่น พระเจ้าที่เที่ยงแท้

2,มุมกิน วุญูด – สิ่งที่อุบัติด้วยตนเองไม่ได้ต้องอาศัยสิ่งอื่นเป็นผู้สร้างเช่น จักรวาล

3,มุมตะนิ๊อ์วุญูด–สิ่งที่ไม่อาจอุบัติขึ้นได้เลยในโลกแห่งความเป็นจริงเช่น สิ่งที่อยู่ในจินตนาการ


การพิสูจน์ว่า พระเจ้ามีจริง ตามหลักปรัชญา

วิธีพิสูจน์ว่าพระเจ้ามีจริง ให้ท่านสมมุติว่า ท่านได้ตั้งคำถามและให้คำตอบกับตัวเองดังนี้ :

ถาม- คุณคือสิ่งใหม่(ฮาดิษ - حادث ) หรือสิ่งดั้งเดิม(ก่อดีม - قدیم )
ตอบ – ฉันคือสิ่งใหม่  ไม่ใช่สิ่งดั้งเดิม ทุกสิ่งไม่ได้มีมาแต่ดั้งเดิม

ถาม- สิ่งใหม่และสิ่งดั้งเดิมแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ- สิ่งใหม่คือ สิ่งที่ก่อนหน้ามันคือความว่างเปล่า(อะดัม –عدم )  ส่วนสิ่งดั้งเดิมคือ สิ่งที่ไม่ได้ถูกนำหน้าด้วยความว่างเปล่า

ถาม – คุณมีเหตุผลอะไรที่กล่าวว่า ตัวคุณคือสิ่งใหม่
ตอบ- เพราะความว่างเปล่ามีมาก่อนมีตัวฉัน นั่นแสดงว่า ฉันคือสิ่งใหม่

ถาม-อะไรคือเหตุผลที่บอกว่า ความว่างเปล่า มีมาก่อนมีตัวคุณ
ตอบ- เป็นเรื่องที่ตระหนักดีอยู่แล้ว กล่าวคือตัวฉัน (อยู่ในยุคค.ศ.2009) ฉันไม่ได้เกิดอยู่ในยุค นบีมุฮัมมัด ( ค.ศ.570 – 633 ) การที่ฉันยังไม่มีอยู่ในช่วงเวลานั้น  แสดงว่า ก่อนหน้านี้ความว่างเปล่ามีมาก่อนมีตัวฉัน

ถาม- เหตุผลอะไรที่แสดงว่า ทุกสิ่งล้วนเป็นสิ่งใหม่
ตอบ – ทุกสิ่ง ที่อยู่ในลักษณะมุมกิน วุญูด(สิ่งที่อุบัติด้วยตัวเองไม่ได้)นั้น อาจเป็นได้ในสองกรณีคือ เป็นอะร็อฎหรือไม่ก็เป็นเญาฮัร ซึ่งทั้งสองภาวะเป็นสิ่งใหม่

ถาม-เญาฮัร(جوهر)และอะร็อฎ(عرض) มีขอบเขตอย่างไร
ตอบ- เญาฮัรในที่นี้คือ สิ่งที่มีลักษณะเป็นเทหวัตถุ(مادة,متحیز) ต้องการเนื้อที่ในการดำรงอยู่เช่น แอ๊ปเปิ้ล  ส่วนอะร็อฎคือสิ่งที่พึ่งพิงหรือติดอยู่กับเญาฮัร ถ้าไม่มีเญาฮัรก็ไม่มีอะร็อฎเช่น สีแดงบนแอ๊ปเปิ้ล

ถาม- เทหวัตถุ (ที่เรียกว่าหมาดดะฮ์หรือมุตะฮัยยิซ)เป็นอย่างไร
ตอบ – มันคือสิ่งที่รับรู้ได้ด้วยผัสสะทั้ง 5  เช่นชี้ได้ว่าตัวมันอยู่ตรงนั้นตรงนี้ มันมีมิติมีกาลเวลา มีรูปร่างสันฐาน

ถาม- มีเหตุผลอะไรที่แสดงว่า เญาฮัรทั้งหลายคือสิ่งใหม่ (ฮาดิษ )
ตอบ- เพราะลักษณะของเญาฮัรหนีไม่พ้นลักษณะของสิ่งใหม่ ดังนั้นเญาฮัรก็คือสิ่งใหม่ชนิดหนึ่ง

ถาม- สิ่งใหม่ ( ฮาดิษ ) มีลักษณะเป็นอย่างไร
ตอบ- สิ่งใหม่มี 4 ลักษณะคือ  1,เคลื่อนไหว 2,หยุดนิ่ง 3,รวมกันได้ 4,แยกกันได้

ถาม- มีเหตุผลอะไรที่แสดงว่า ปรากฏการทั้งสี่ดังกล่าวมีอยู่ในตัวเญาฮัร
ตอบ- เพราะเญาฮัรต้องการสถานที่ ถ้ามันพักในที่หนึ่งแสดงว่ามันหยุดนิ่ง แต่ถ้ามันย้ายออกจากที่นั่นแสดงว่ามันเคลื่อนไหว    และถ้าเปรียบเทียบเญาฮัรหนึ่งกับเญาฮัรอื่นมีสองกรณีคือ สามารถแยกมันออกได้เป็นสองส่วนหรือสามารถเอามันไปรวมกับเญาฮัรอื่นได้  (เมื่อเญาฮัรคือแก่นของอะร็อฎแสดงว่าอะร็อฎก็เป็นสิ่งใหม่ด้วยเช่นกัน เพราะอะร็อฎต้องอาศัยเญาฮัรในการดำรงอยู่)
เมื่อได้พิสูจน์แล้วว่า ทุกสิ่ง มีภาวะเป็นมุมกินุลวุญูดและเป็นสิ่งใหม่ ( ฮาดิษ )  

ถาม - สิ่งใหม่ทั้งหมดอุบัติด้วยตัวเองหรืออุบัติโดยสิ่งอื่น
ตอบ – สิ่งใหม่ (ฮาดิษหรือมุมกิน) อุบัติหรือเกิดจากสิ่งอื่น  มันอุบัติด้วยตัวเองไม่ได้

ถาม – กรุณาแสดงเหตุผลที่กล่าวว่า สิ่งใหม่ (ฮาดิษ) อุบัติจากสิ่งอื่น  และมันอุบัติด้วยตัวเองไม่ได้
ตอบ – มี 2 เหตุผลคือ :

1, สิ่งใหม่ ไม่ได้มีตัวตนสำหรับตัวของมันเองเลย(เพราะมันคือความว่างเปล่า)
2, ที่กล่าวว่า สิ่งใหม่อุบัติจากสิ่งอื่น เหตุผลคือ :
ประการแรก       ก่อนหน้าที่จะมีสิ่งใหม่อุบัติขึ้นมา มันคือความว่างปล่าว  
ประการที่สอง  บางครั้งเรียกสิ่งใหม่ว่า ความว่างเปล่า และบางครั้งพาดพิงการมีอยู่ของสิ่งใหม่นี้ว่า อุบัติขึ้นโดยสิ่งอื่น  กล่าวสั้นๆคือมันไม่ได้สร้างตัวมันเองให้มีขึ้นมา แต่มีสิ่งอื่นสร้างมันให้มีขึ้นมาจากความว่างปล่าว (เพราะความว่างเปล่าไม่อาจสร้างสิ่งใดให้มีขึ้นมาได้)

ถาม- เมื่อพิสูจน์แล้วว่า สิ่งใหม่ทั้งหลายเกิดขึ้นจากสิ่งอื่น  แล้วสิ่งอื่นในที่นี้ ที่ได้ทำให้สิ่งใหม่ทั้งหลายอุบัติขึ้นนั้นมีภาวะเป็นเมาญูด(موجود)หรือมะอ์ดูม(معدوم) ?
เมาญูดในที่นี้หมายถึง สิ่งที่มีอยู่   ส่วนมะอ์ดูมในที่นี้คือ ความว่างเปล่า,สิ่งที่ไม่มี
ตอบ – สิ่งอื่นในที่นี้คือเมาญูด (คือเป็นสิ่งที่มีอยู่)

ถาม- มีเหตุผลอะไรที่แสดงว่า สิ่งอื่นในที่นี้คือ เมาญูด
ตอบ – เหตุผลคือ สิ่งใหม่ทั้งหลายคือสิ่งที่มีอยู่จริง(คือเป็นเมาญูด)อย่างไม่ต้องสงสัย  หากนับว่าการมีอยู่ของมันคือมะอ์ดูม(ความไม่มีหรือความว่างเปล่า)  เท่ากับว่าความว่างเปล่าที่ตัวของมันเองไม่มีอะไร ได้สร้างเมาญูด(สิ่งที่มี)ขึ้นมา  ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้

ถาม – ผู้ทำให้สิ่งใหม่ทั้งหลายอุบัติขึ้นมานั้น คือก่อดีม(สิ่งดั้งเดิม) หรือฮาดิษ(สิ่งใหม่)
ตอบ – ก่อดีม (มีมาแต่ดั้งเดิม)

ถาม- มีเหตุผลอะไรที่แสดงว่า ผู้สร้างฮาดิษ(สิ่งใหม่)นั้นมีภาวะก่อดีม
ตอบ – เหตุผลคือ  เราถือว่า ทุกสิ่งที่อุบัติคือสิ่งใหม่ (ฮาดิษ), หากผู้สร้างฮาดิษ(สิ่งใหม่)มีภาวะเป็นฮาดิษเหมือนกัน ผู้สร้างฮาดิษนี้ก็ต้องมีฮาดิษ(สิ่งใหม่)อื่นทำให้มันอุบัติขึ้นมาอีกทีหนึ่ง(เรียกว่ามุห์ดิษ - محدث ) เหมือนสิ่งใหม่ทั้งหลายที่ต้องพึ่งการอุบัติจากสิ่งอื่น  ถ้ามุห์ดิษที่ว่านี้คือมีภาวะก่อดีม(ดั้งเดิม) การพิสูจน์ก็ถือว่าตรงประเด็นแล้ว  กล่าวคือสิ่งใหม่ทั้งหลายล้วนมีต้นกำเนิดมาจากผู้สร้างที่มีภาวะก่อดีม(ดั้งเดิมอุบัติด้วยตัวเอง)
แต่ถ้ามุห์ดิษที่ว่านี้ มีภาวะเป็นฮาดิษเช่นกัน  กล่างคือมันได้อุบัติมาจากฮาดิษแรกอีกทีหนึ่ง  ภาวะในลักษณะเช่นนี้เรียกว่า วัฏจักร  ( دور  ) หรือลูกโซ่ (  تسلسل  )

ถาม - ภาวะการกำเนิดแบบวัฏจักรเป็นอย่างไร
ตอบ - ภาวะการกำเนิดแบบวัฏจักรคือ :  A เกิดมาจาก B และ B เกิดมาจาก A  หมายความว่าA และ B ต่างให้กำเนิดซึ่งกันและกันวนไปวนมาเช่น นายเซดเกิดจากพ่อแม่ และพ่อแม่เซดเกิดมาจากนายเซด

ถาม - ภาวะการกำเนิดแบบลูกโซ่เป็นอย่างไร
ตอบ - ภาวะการกำเนิดแบบลูกโซ่คือ : A เกิดจาก B และ B เกิดจาก C ส่วน C เกิดจาก D และDเกิดจาก....มีลักษณะการถือกำเนิดเช่นนี้เรื่อยไปไม่มีที่สิ้นสุดของต้นกำเนิดเช่น นายเซดเกิดจากพ่อแม่เขา, พ่อแม่เซดเกิดจากปู่ยาตายายเขา, ปู่ย่าตายายเกิดจากปู่ย่าตาทวดเขาและปู่ย่าตาทวดเกิดจาก.....
ภาวะการกำเนิดหรือการอุบัติแบบวัฏจักรและลูกโซ่นั้นถือว่าใช้ไม่ได้ เป็นโมฆะเพราะสืบหาต้นตอหรือต้นกำเนิดที่แท้จริงไม่ได้  ดังนั้นสิ่งใหม่ทั้งหลายที่อุบัติขึ้นมาบนโลกจะต้องมีผู้ให้กำเนิดที่แท้จริงดั้งเดิม อันเป็นต้นกำเนิดให้กับสรรพสิ่งทั้งหลายนั่นคือ ผู้ให้กำเนิดที่อยู่ในภาวะก่อดีม คือมีมาแต่ดั้งเดิมและอุบัติด้วยตัวเอง ไม่มีใครเป็นผู้ให้กำเนิด

ถาม-  ผู้ทำให้สิ่งใหม่(ฮาดิษ)ทั้งหลายอุบัติขึ้น มีภาวะเป็นวาญิบ วุญูดหรือ มุมกิน วุญูด ?
ตอบ – ผู้สร้างสิ่งใหม่ต้องมีภาวะเป็นวาญิบวุญูด

ถาม – วาญิบ วุญูดกับมุมกิน วุญูด แตกต่างกันอย่างไร
ตอบ – วาญิบ วุญูดคือสิ่งที่อุบัติด้วยตัวเองไม่ต้องพึ่งสิ่งอื่นในการมีอยู่ของตัวเอง  และไม่เคยเป็นความว่างเปล่ามาก่อน

ถาม -  มีเหตุผลอะไรที่แสดงว่า ผู้ทำให้สิ่งใหม่(ฮาดิษ)ทั้งหลายอุบัติขึ้นมีภาวะเป็นวาญิบ วุญูด
ตอบ- เหตุผลคือ ถ้าผู้ทำให้สิ่งใหม่ทั้งหลายอุบัติ ไม่ได้เป็นวาญิบ วุญูด ก็ต้องเป็นมุมกิน วุญูดอย่างแน่นอน และถ้าหากเป็นมุมกินวุญูด การมีอยู่ของมันก็ต้องอุบัติจากสิ่งอื่น  ทีนี้ถ้าจะกล่าวว่า มันอุบัติแบบวัฎจักรหรืออุบัติแบบลูกโซ่ก็เป็นไปไม่ได้ดังที่อธิบายผ่านมาแล้ว  ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ต้นกำเนิดมูลฐานเดิมของสรรพสิ่งทั้งหลายในสากลจักรวาลได้ถูกสร้างมาจากวาญิบวุญูด และวาญิบวุญูดนี้อุบัติด้วยตัวเอง ไม่มีใครสร้างและไม่มีใครเป็นผู้ให้กำเนิด

ถาม -   ผู้ทำให้สิ่งใหม่ทั้งหลายอุบัติขึ้น มีภาวะกอดิรและภาวะมุคต้ารหรือมีภาวะมูญิบ(موجب)และภาวะมุตต็อร(مضطر) ?
ตอบ - ผู้ทำให้สิ่งใหม่(ฮาดิษ)ทั้งหลายอุบัติ มีภาวะกอดิร( قادر  )และภาวะมุคต้าร(مختار   )

ถาม – ภาวะกอดิรกับภาวะมูญิบแตกต่างกันอย่างไร ?
ตอบ – กอดิรแปลว่าผู้มีอำนาจ ,มุคต้ารแปลว่าผู้ที่มีทางเลือกอิสระ นั่นหมายความว่าสองภาวะนี้คือผู้มีอำนาจและอิสระที่จะทำหรือไม่ทำกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ด้วยอำนาจและความอิสระ
ส่วนมูญิบแปลว่าตกเป็นหน้าที่,เป็นข้อผูกมัดต้องทำ ซึ่งจะละเว้นมิได้ เช่น ไฟเป็นเหตุทำให้สิ่งอื่นไหม้  และดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเสมอ

ถาม – มีเหตุผลอะไรที่แสดงว่า  ผู้ทำให้สิ่งใหม่(ฮาดิษ)ทั้งหลายอุบัติขึ้น ต้องมีภาวะกอดิรและภาวะมุคต้าร
ตอบ – เหตุผลคือ ถ้าไม่เป็นผู้ที่มีภาวะกอดิรก็ต้องเป็นผู้ที่มีภาวะมูญิบ   และหากเป็นมูญิบก็ต้องเป็นฮาดิษ(สิ่งใหม่)ชนิดหนึ่งอย่างแน่นอน  ซึ่งมันได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งที่มีอำนาจอิสระและมีทางเลือกอิสระในการทำหรือไม่กระทำ

ในวิชาปรัชญา สาขาอภิปรัชญา ( Metaphysics ) ได้เรียกสิ่งที่เป็นความจริงสูงสุดเกี่ยวกับโลกนี้ว่า วาญิบุลวุญูด(واجب الوجود) หมายถึง สิ่งที่อุบัติด้วยตัวเองและดำรงอยู่ด้วยตัวเอง ลักษณะของวาญิบุลวุญูดคือ  มีอำนาจอิสระ, มีทางเลือกที่จะสร้างหรือไม่สร้างสรรพสิ่งต่างๆได้ เพราะมีอำนาจเหนือทุกสิ่ง, มีความรอบรู้กว่าทุกสิ่ง , มีวิทยปัญญาในการกระทำหรือการสร้างเหนือทุกสิ่ง, เห็นและได้ยินทุกสิ่งโดยไม่ต้องมีตามีหู,สามารถรับรู้เรื่องราวและสิ่งต่างๆได้ทั้งหมด, มีความต้องการที่จะทำ คือมีเป้าหมายและมีความรังเกียจคือไม่ชอบสิ่งที่ไม่ควรหรือไม่เหมาะสม วาญิบุลวุญูดที่กล่าวถึงนี้คือ พระเจ้า ( إله - อิลาฮฺ) ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปเช่น
กลุ่มวัตถุนิยมเรียกพระเจ้าว่า วัตถุ (المادة- หมาดดะฮ์)
กลุ่มธรรมชาตินิยมเรียกพระเจ้าว่า  ธรรมชาติ (الطبیعة-ต่อบีอะฮ์)
กลุ่มกาลเวลานิยม(ดะฮ์รียะฮ์)เรียกพระเจ้าว่า  เวลา (الدهر-ดะฮ์รฺ)
นักปรัชญาเรียกพระเจ้าว่า อัลวาญิบ (الواجب) คือสิ่งที่อุบัติด้วยตัวเองและดำรงอยู่ด้วยตัวเอง
ผู้นับถือศาสนาอิสลาม(มุสลิม)เรียกพระเจ้าว่า  อัลเลาะฮ์  ( الله ) ซุบฮานะฮู วะตะอาลา  
อ้างอิงจากหนังสือ
อัน-นุกัต อัลเอี๊ยะอ์ติกอดียะฮ์  เชคมุฟีด หน้า 9 - 19

สรุป

เมื่อได้พิสูจน์ตามหลักวิชาการแล้วว่า   พระเจ้ามีจริง    และต้องมีเพียงองค์เดียวเท่านั้น


ซึ่งพระเจ้าของ ศาสนาอิสลาม  มีพระนามว่า   อัลเลาะฮ์    (ซุบฮานะฮู วะตะอาลา)






หลักศรัทธาอิสลามตามแนวทางนิกายชีอะฮ์


หลายครั้งที่ได้สอบถามพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งเด็กและผู้ใหญ่ว่า หลักศรัทธาอิสลามในมัซฮับชีอะฮ์นั้นมีกี่ประการและมีอะไรบ้าง ที่สำคัญหลักฐานอ้างอิงเหล่านั้นมีอยู่ในกุรอ่านซูเราะฮ์อะไร และอายัตที่เท่าไหร่  หรืออยู่ในหนังสือหะดีษชื่ออะไร หะดีษที่เท่าไหร่  ส่วนมากมักจะตอบกันไม่ได้  หรือก็มักจะให้คำตอบที่แตกต่างกันไป

เป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจ ที่เราในฐานะที่เป็นมุสลิมเองยังไม่รู้ไม่เข้าใจในศาสนาอิสลามที่เรานับถือ แล้วเราจะให้ซุนนี่หรือผู้อื่นเข้าใจอิสลามที่เราศรัทธาได้อย่างไร

เรื่องที่เป็นหลักใหญ่ของศาสนาจริงๆ เรากลับไม่รู้ไม่ใส่ใจ  ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่เราควรหันมาศึกษากันอย่างจริงจังและสร้างความเข้าใจในสิ่งที่เราเชื่อถือและศรัทธาว่า มีที่มาอย่างไร เพื่อจะได้พัฒนาตนและสังคมของเราให้ก้าวขึ้นสู่ความเป็นมุสลิมอย่างแท้จริง อันจะนำพาเราไปสู่การมีอีหม่านที่ถูกต้องและมีความเคร่งครัดตามคำสอนในอิสลาม  เพื่อทำให้เราเป็นที่รักของอัลเลาะฮ์อันเป็นเป้าหมายสุดท้ายของเรา.


ติดตามตอนต่อไป
  •  

L-umar



"  ชีอะฮ์อะลี  "  มีที่มาอย่างไร




หากท่านถามซุนนี่ว่า  

ชีอะฮ์มีที่มาอย่างไร  ใครตั้งชื่อชีอะฮ์นี้ไว้คนแรก  และใครคือหัวหน้าของมัซฮับนี้      

ชาวซุนนี่ก็จะให้ตอบอย่างบิดเบือนว่า    ชีอะฮ์เกิดขึ้นหลังจากการปรากฎตัวของชายยิวผู้หนึ่งซึ่งที่มีชื่อว่า อับดุลลอฮฺ บิน สะบะอฺ





หากท่านถามมุสลิมชีอะฮ์ว่า  ชีอะฮ์มีที่มาอย่างไร  ใครตั้งชื่อชีอะฮ์นี้ไว้คนแรก  และใครคือหัวหน้าของมัซฮับนี้

คำตอบของชีอะฮ์คือ  

ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)คือบุคคลแรกที่ตั้งชื่อ  ชีอะฮ์   นี้ไว้ให้กับมุสลิมที่เป็นพวกของท่านอะลี  ตั้งแต่ในยุคที่ท่านนบีฯมีชีวิตอยู่
หลังจากท่านนบีฯจากไปแล้ว คำ ชีอะฮ์ นี้ ได้นำมาใช้เรียก  กลุ่มมุสลิมที่ยึดถือท่านอะลีเป็นอิหม่ามผู้นำคนที่หนึ่งของพวกเขา และปฏิบัติตามแนวทางของท่านอะลีและอะฮ์ลุลบัยต์ของเขา  ด้วยเหตุนี้  มุสลิมกลุ่มนี้จึงถูกเรียกว่า   " ชีอะฮ์ อะลี "    
   




คำถาม :


เมื่อชีอะฮ์อ้างว่ากลุ่ม " ชีอะฮ์อะลี " มีมาตั้งแต่สมัยท่านนบีมุฮัมมัด    

หากมีจริงตามที่อ้าง    ย่อมต้องมีเศาะหาบะฮ์และอะฮ์ลุลบัยต์รายงานหะดีษไว้  

ดังนั้นขอให้ยกหะดีษชีอะฮ์อะลีจากตำราฝ่ายชีอะฮ์และซุนนี่มาแสดง

ด้วยเงื่อนไขที่ว่า  ต้องเป็นหะดีษที่มีสายรายงานเชื่อถือได้





อะฮ์ลุลบัยต์รายงาน


عِدَّةٌ مِنْ أَصْحَابِنَا عَنْ أَحْمَدَ بْنِ مُحَمَّدٍ عَنْ عَبْدِ الْعَظِيمِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ الْحَسَنِيِّ عَنْ أَبِي جَعْفَرٍ الثَّانِي ع عَنْ أَبِيهِ عَنْ جَدِّهِ صَلَوَاتُ اللَّهِ عَلَيْهِمْ قَالَ قَالَ أَمِيرُ الْمُؤْمِنِينَ (ع) قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صلي الله عليه وآله :
إِنَّ اللَّهَ خَلَقَ الْإِسْلَامَ فَجَعَلَ لَهُ عَرْصَةً وَ جَعَلَ لَهُ نُوراً وَ جَعَلَ لَهُ حِصْناً وَ جَعَلَ لَهُ نَاصِراً فَأَمَّا عَرْصَتُهُ فَالْقُرْآنُ وَ أَمَّا نُورُهُ فَالْحِكْمَةُ وَ أَمَّا حِصْنُهُ فَالْمَعْرُوفُ وَ أَمَّا أَنْصَارُهُ فَأَنَا وَ أَهْلُ بَيْتِي وَ شِيعَتُنَا فَأَحِبُّوا أَهْلَ بَيْتِي وَ شِيعَتَهُمْ وَ أَنْصَارَهُمْ فَإِنَّهُ لَمَّا أُسْرِيَ بِي إِلَى السَّمَاءِ الدُّنْيَا فَنَسَبَنِي جَبْرَئِيلُ ع لِأَهْلِ السَّمَاءِ اسْتَوْدَعَ اللَّهُ حُبِّي وَ حُبَّ أَهْلِ بَيْتِي وَ شِيعَتِهِمْ فِي قُلُوبِ الْمَلَائِكَةِ فَهُوَ عِنْدَهُمْ وَدِيعَةٌ إِلَى يَوْمِ الْقِيَامَةِ ثُمَّ هَبَطَ بِي إِلَى أَهْلِ الْأَرْضِ فَنَسَبَنِي إِلَى أَهْلِ الْأَرْضِ فَاسْتَوْدَعَ اللَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ حُبِّي وَ حُبَّ أَهْلِ بَيْتِي وَ شِيعَتِهِمْ فِي قُلُوبِ مُؤْمِنِي أُمَّتِي فَمُؤْمِنُو أُمَّتِي يَحْفَظُونَ وَدِيعَتِي فِي أَهْلِ بَيْتِي إِلَى يَوْمِ الْقِيَامَةِ أَلَا فَلَوْ أَنَّ الرَّجُلَ مِنْ أُمَّتِي عَبَدَ اللَّهَ عَزَّ وَ جَلَّ عُمُرَهُ أَيَّامَ الدُّنْيَا ثُمَّ لَقِيَ اللَّهَ عَزَّ وَ جَلَّ مُبْغِضاً لِأَهْلِ بَيْتِي وَ شِيعَتِي مَا فَرَّجَ اللَّهُ صَدْرَهُ إِلَّا عَنِ النِّفَاقِ
                        الكافي للشيخ الكليني  ج : 2  ص :  47  ح : 3 بابُ نِسْبَة الاسلام
درجة الحديث : صحيح
تحقيق : مركز البحوث الكومبيوترية للعلوم الإسلامية قم ايران    


ท่านอิม่ามอมีรุลมุอ์มินีน (อะลี อะลัยฮิสลาม) รายงานว่า   :

ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ็อลฯ)กล่าวว่า :   แท้จริงอัลลอฮ์ทรงบันดาลสร้างอัลอิสลามมา แล้วทรงทำลานโล่งไว้สำหรับมัน  ทรงให้มีนูรรัศมีแก่มัน ทรงให้มีป้อมปราสาทสำหรับมัน และทรงให้มีผู้ช่วยเหลือแก่มัน   ส่วนลานโล่งของมันคืออัลกุรอาน   ส่วนนูรรัศมีของมันคือฮิกมะฮ์(ซุนนะฮ์และวิทยปัญญา)  ส่วนป้อมปราสาทของมันคือความดีงาม   ส่วนบรรดาผู้ช่วยเหลือของมันคือ ตัวฉัน  อะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน และชีอะฮ์ของเรา  
ดังนั้นขอให้พวกท่านจงมีความรักต่ออะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน และชีอะฮ์ของพวกเขา และผู้ให้ความช่วยเหลือพวกเขา   เพราะตอนที่ฉันถูกพาขึ้นไปบนชั้นฟ้าดุนยา ท่านญิบรอ          อีลได้บอกที่มาของตัวฉันแก่ผู้ที่อยู่บนชั้นฟ้าว่า  อัลลอฮ์ได้ใส่ความรักของฉัน และความรักที่มีต่ออะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน และชีอะฮ์ของพวกเขาไว้ในหัวใจของบรรดามลาอิกะฮ์ มันเป็นของฝากไว้กับพวกเขาตราบจนถึงวันกิยามะฮ์  
แล้วต่อมาท่านญิบรออีลก็ได้พาฉันกลับลงมายังชาวโลก แล้วท่านญิบรออีลได้ บอกที่มาของตัวฉันแก่ชาวโลกว่า  อัลลอฮ์ได้ใส่ความรักของฉัน และความรักที่มีต่ออะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน และชีอะฮ์ของพวกเขาไว้ในหัวใจของบรรดาผู้ศรัทธาแห่งอุมมะฮ์ของฉัน    ดังนั้นบรรดาผู้ศรัทธาแห่งอุมมะฮ์ของฉันได้ปกป้องรักษาของฝากของฉันในอะฮ์ลุลบัยต์ของฉันตราบจนถึงวันกิยามะฮ์   พึงรู้เถิดว่า หากแม้นว่ามีชายคนหนึ่งจากอุมมะฮ์ของฉัน   ได้ทำอิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์ตลอดชั่วอายุขัยของเขาบนโลกนี้  จากนั้นเขาได้(กลับไป)พบกับอัลลอฮ์ในสภาพชิงชังต่ออะฮ์ลุลบัยต์ของฉันและชีอะฮ์ของฉัน  อัลลอฮ์จะไม่เปิดอกเปิดใจของเขา  นอกจากความกลับกลอกเท่านั้น.

สถานะฮะดีษ  :  ซอฮี๊ฮฺ   ดูอัลกาฟี โดยเชคกุลัยนี เล่ม 2 : 47 ฮะดีษที่ 3  

ตรวจทานโดยมัรกะซุล บุฮูซ คอมพิวเตอร์ ลิลอุลูมิลอิสลามียะฮ์ เมืองกุม อิหร่าน



 
อะฮ์ลุสซุนนะฮ์รายงาน


7890 - حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ مُوسَى ، ثَنَا الْحَسَنُ بْنُ كَثِيرٍ ، ثَنَا سَلْمَى بْنَ عُقْبَةَ الْحَنَفِيُّ الْيَمَامِيُّ ، ثَنَا عِكْرِمَةُ بْنُ عَمَّارٍ عَنْ يَحْيَى بْنِ أَبِي كَثِيرٍ عَنْ أَبِي سَلَمَةَ عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ قَالَ  قَالَ عَلِيُّ بْنُ أَبِيْ طَالِبٍ يَا رَسُولَ اللَّهِ أَيُّمَا أَحَبُّ إِلَيْكَ أَنَا أَمْ فَاطِمَة قَالَ فَاطِمَة أَحَبُّ إِلَيَّ مِنْكَ وَأَنْتَ أَعَزُّ عَلَيَّ مِنْهَا وَكَأَنِّيْ بِكَ وَأَنْتَ عَلَى حَوْضِيْ تَذُوْدُ عَنْهُ النَّاسَ وَإِنَّ عَلَيْهِ لَأبَارِيْقُ مِثْلُ عَدَدَ نُجُوْمِ السَّمَاءِ وَإِنِّيْ وَأَنْتَ وَالْحَسَنُ وَالْحُسَيْنُ وَفَاطِمْةُ وَعَقِيْلٌ وَجَعْفَرٌ فِي الْجَنَّةِ إِخْوَانًا عَلَى سُرُرٍ مُتَقَابِلِينَ أَنْتَ مَعِيْ وَشِيْعَتُكَ فِي الْجَنَّةِ ثُمَّ قَرَأَ رَسُوْلُ اللهِ صلى الله عليه و سلم إِخْوَانًا عَلَى سُرُرٍ مُتَقَابِلِينَ (الحجر : 47) لاَ يَنْظُرُ أَحَدُهُمْ فِيْ قِفَا صَاحِبِهِ

الكِتَابُ : الْمُعْجَمُ الْأَوْسَطُ  ج 7 ص 343  ح : 7675
المُؤَلِّف : أَبُو الْقَاسِم سُلَيْمَانُ بْنُ أَحْمَد الطَّبْرَانِيّ( 260- 360هـ)
الناشر : دَارُ الْحَرَمَيْنِ - القَاهِرَة ، 1415
تحقيق : طارق بن عوض الله بن محمد , عبد المحسن بن إبراهيم الحسيني


จากอิกริมะฮ์บินอัมมาร จากยะห์ยาบินอบีกะษีร จากอบีสะละมะฮ์  จากอบีฮุร็อยเราะฮ์รายงานว่า :

ท่านอะลี บินอบีตอลิบกล่าวว่า :   โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ ใครเป็นที่รักยิ่งของท่านมากที่สุด ฉันหรือฟาติมะฮ์  
ท่านตอบว่า : ฟาติมะฮ์คือที่รักยิ่งของฉัน ส่วนท่านคือผู้มีเกียรติยิ่งของฉันมากกว่านาง  อย่างกับฉันอยู่กับท่าน และท่านนั้นอยู่ที่สระ(เกาษัร)ของฉัน กำลังสกัดกั้นผู้คนออกไปจากสระ และแท้จริงที่สระนั้นแน่นอนมีเหยือกน้ำมากมายเหมือนกับจำนวนดวงดาวบนท้องฟ้า และแท้จริงฉัน, ท่าน(คือท่านอะลี), ฮาซัน, ฮูเซน, ฟาติมะฮ์, อะกีล และญะอ์ฟัรจะอยู่ร่วมกันในสวรรค์ เป็นพี่น้องกัน โดยพำนักอยู่บนเตียงหันหน้าเข้าหากัน
ท่านกับฉันและชีอะฮ์ของท่านจะได้อยู่ในสวรรค์  

จากนั้นท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ็อลฯ)ได้อ่านโองการ ( ต่างเป็นพี่น้องกัน โดยพำนักอยู่บนเตียงหันหน้าเข้าหากัน ) ซูเราะฮ์อัลฮิจญ์รุ : 47   คนหนึ่งของพวกเขาจะไม่มองที่ด้านหลังของสหายของเขา


สถานะฮะดีษ :  ฮาซัน

ดูอัลมุอ์ญะมุลเอาซัฏ โดยอัฏ-ฏ็อบรอนี  เล่ม 7 : 343  ฮะดีษที่ 7675


อัฏ-ฏ็อบรอนี

ชื่อเต็มคือ อบุลกอซิม สุลัยมาน บินอะหมัด บินอัยยูบ บินมุฏ็อยริน อัลลัคมี  เกิดที่เมืองฏ็อบรียะฮ์ ประเทศซีเรีย เขาคืออุละมาอ์ซุนนี่ผู้โด่งดังเป็นทั้งนักฮาฟิซกุรอ่าน นักรายงานฮะดีษและมีความน่าเชื่อถือในการรายงานฮะดีษ เจ้าของหนังสือที่เลื่องลือคือ มุอ์ญัมกะบีร,มุอ์ญัมเอาซัฏและมุอ์ญัมซ่อฆีร



نُوْرُ الدِّيْنِ عَلِيُّ بْنُ أَبِيْ بَكْرٍ الْهَيْثَمِيّ قَالَ :  رَوَاهُ الطَّبْرَانِيّ فِي الْأَوْسَطِ وَفِيْهِ سَلْمَى بْنُ عُقْبَة وَلَمْ أَعْرِفْهُ وَبَقِيَّة رِجَاله ثِقَاتٌ
الكتاب : مَجْمَعُ الزَّوَائِدِ وَمَنْبَعُ الْفَوَائِد  ج 9 ص 274  ح : 15016
المؤلف : نور الدين علي بن أبي بكر الهيثمي  الناشر : دار الفكر، بيروت - 1412 هـ


นูรุดดีน อัลฮัยษะมีกล่าวว่า  :

ฮะดีษนี้อัฏ-ฏ็อบรอนีรายงานไว้ในหนังสือมุอ์ญะมุลเอาซัฏ ในสะนัดนี้มีซัลมา บินอุกบะฮ์ฉันไม่รู้จักเขา ส่วนนักรายงานที่เหลือของฮะดีษบทนี้ เชื่อถือได้ทั้งหมด

ดูหนังสือมัจญ์มะอุซ-ซะวาอิด  เล่ม 9 : 274 ฮะดีษที่ 15015


และเป็นสะนัดเดียวกันกับที่บันทึกอยู่ในซอฮีฮุลบุคอรีและมุสลิมมากมายดู


ซอฮีฮุลบุคอรี

6103 م - وَقَالَ عِكْرِمَةُ بْنُ عَمَّارٍ عَنْ يَحْيَى عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ يَزِيدَ سَمِعَ أَبَا سَلَمَةَ سَمِعَ أَبَا هُرَيْرَةَ عَنِ النَّبِىِّ - ص –

จากอิกริมะฮ์บินอัมมาร จากยะห์ยา(บินอบีกะษีร) จากอับดุลลอฮ์บินยะซีด ได้ฟังจากอบีสะละมะฮ์  จากอบีฮุร็อยเราะฮ์รายงานว่า :  ท่านนบีกล่าวว่า...  

ซอฮี๊ฮฺมุสลิม

1352 - يَحْيَى بْنِ أَبِى كَثِيرٍ عَنْ أَبِى سَلَمَةَ عَنْ أَبِى هُرَيْرَةَ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ -ص-

ยะห์ยาบินอบีกะษีร  จากอบีสะละมะฮ์ จากอบีฮุร็อยเราะฮ์รายงานว่า : ท่านรอซูลุลลอฮฺกล่าวว่า




สุรป –


จากประโยคที่ท่านรอซูลุลเลาะฮ์กล่าวว่า
ดังนั้นขอให้พวกท่านจงมีความรักต่ออะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน และชีอะฮ์ของพวกเขา
และ (หะดีษจากตำราชีอะฮ์)
ท่าน(อะลี)กับฉัน(ท่านนบีฯ)และชีอะฮ์ของท่านจะได้อยู่ในสวรรค์(หะดีษจากตำราซุนนี่)


คือหลักฐานพิสูจน์ว่า   อับดุลลอฮ์ บินสะบะอ์  ไม่ใช่ผู้ก่อตั้งมัซฮับชีอะฮ์นี้ อีกประการหนึ่งคืออับดุลลอฮ์ บินสะบะอฺก็ไม่ได้อยู่ในสมัยเดียวกับท่านนบีฯ
แต่หะดีษทั้งชีอะฮ์และซุนนี่ รายงานตรงกันว่า  ท่านนบี(ศ)คือผู้ตั้งชื่อชีอะฮ์นี้ไว้ให้กับผู้ที่มีความรักต่อท่านอะลีและอะฮ์ลุลบัยต์ของเขา


มัซฮับชีอะฮ์อะลี จึงเป็นชื่อทีมีรายงานมาจากท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ) ไม่ใช่ชื่อบิดอะฮ์




ในทางกลับกันหากเราถามฝ่ายซุนนี่ว่า

อัลเลาะฮ์ทรงตั้งชื่อ " อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ วัลญะมาอะฮ์  " นี้ไว้ใช่ไหม ?

นบีมุฮัมมัดตั้งชื่อ " อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ วัลญะมาอะฮ์  " นี้ไว้ใช่ไหม ?

ท่านอบูบักรตั้งชื่อ อะฮ์ลุสสุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ นี้ไว้ใช่ไหม

ท่านอุมัรตั้งชื่อ อะฮ์ลุสสุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ นี้ไว้ใช่ไหม  

ท่านอุษมานตั้งชื่อ อะฮ์ลุสสุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ นี้ไว้ใช่ไหม

ท่านอะลีตั้งชื่อ อะฮ์ลุสสุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ นี้ไว้ใช่ไหม  



หากอัลเลาะฮ์และรอซูลไม่ได้ตั้งชื่อนี้ไว้  แสดงว่าคำนี้เป็น " บิดอะฮ์ " ใช่ไหม  ?
เพราะท่านรอซูลุลเลาะฮ์กล่าวว่า :

فَإِنَّ خَيْرَ الْحَدِيْثِ كِتَابُ الله وَخَيْرَ الْهَدْيِ هَدْيُ مُحَمَّدٍ وَشَرَّ الْأُمُوْرِ مُحْدَثَاتُهَا وَكُلُّ مُحْدَثَةٍ  بِدْعَةٌ وَكُلُّ بِدْعَةٍ ضَلاَلَةٌ


แท้จริงถ้อยคำที่ดีที่สุดคือ คัมภีร์ของอัลเลาะฮ์ แต่ทางนำที่ดีที่สุดคือ ทางนำของมุหัมมัด และบรรดาการงานที่ชั่วที่สุดคือ บรรดาสิ่งที่อุตริทำขึ้นมาใหม่(ไม่มีในชะเราะอ์-บทบัญญัติ) และทุกสิ่งที่อุตริทำขึ้นมาใหม่นั้น เป็นบิดอะฮ์ และทุกๆ บิดอะฮ์นั้น หลงทาง

ซอฮีฮุลบุคอรี ฮะดีษที่ 6735 และซอฮี๊ฮฺมุสลิม ฮะดีษที่ 1435


ท่านจะเห็นได้ว่า ทั้งๆที่กลุ่มอะฮ์ลุสสุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์  อ้างว่า พวกตนคือกลุ่มที่ถูกต้องที่สุดในหมู่มุสลิม   แต่แค่หะดีษบทเดียวที่รายงานจากท่านรอซูลฯด้วยคำว่า  อะฮ์ลุสสุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์  พวกเขากลับไม่สามารถนำมาแสดงได้  


เมื่อท่านสืบถามต่อไปว่า  

แล้วใครคือบุคคลแรกที่ตั้งชื่อนี้  พวกเขาก็ยังตอบอย่างมีหลักฐานที่ชัดเจนไม่ได้ว่า  อุละมาอ์ซุนนี่ชื่ออะไร คือคนแรกที่ตั้งชื่อนี้ให้กับพวกเขา  ?



อย่างไรก็ตามพวกเขาก็จะออกมาตอบอย่างข้างๆคูๆว่า  ชื่อนี้ไม่สำคัญ มันอยู่ที่แนวทาง


ถามว่า  หะดีษชีอะฮ์ข้างต้น ท่านรอซูลฯก็ระบุชัดนี่ว่า  ชีอะฮ์อะลีที่แท้จริง จะได้เข้าสวรรค์


เพราะฉะนั้นชีอะฮ์จึงมีความสำคัญทั้งชื่อและแนวทาง ด้วยหะดีษที่ท่านรอซูลกล่าวไว้.
  •  

L-umar



หลักศรัทธามัซฮับชีอะฮ์



เมื่อเอ่ยถึงเรื่องหลักศรัทธา ซึ่งภาษาอาหรับที่ได้ยิกันคุ้นหูก็คือเรื่องอะกีดะฮ์  /   อุซูลุดดีน  หรือ อีหม่าน    


ประการแรกท่านต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องก่อนว่า   หลักฐานที่ชีอะฮ์ใช้อ้างอิงในเรื่องอะกีดะฮ์มีดังต่อไปนี้คือ

1.   โองการจากคัมภีร์อัลกุรอ่าน

2.   หะดีษที่มีสายรายงานจากท่านนบีมุฮัมมัด และอะฮ์ลุลบัยต์ของท่าน

3.   คำฟัตวาจากอุละมาอ์ชีอะฮ์ ระดับมัรญิ๊อ์ ตักลีด

4.   มติของอุละมาอ์ชีอะฮ์



ชีอะฮ์ได้ยึดตัวบทหะดีษที่ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะอาลิฮี)กล่าวว่า :  

يَا أَيُّهَا النَّاسُ إِنِّى قَدْ تَرَكْتُ فِيكُمْ مَا إِنْ أَخَذْتُمْ بِهِ لَنْ تَضِلُّوا كِتَابَ اللَّهِ وَعِتْرَتِى أَهْلَ بَيْتِى

โอ้ประชาชนทั้งหลาย ! แท้จริงฉันได้ทิ้งไว้ให้แก่พวกท่านถึงสิ่งซึ่งหากพวกท่านยึดมั่นต่อสิ่งนั้นแล้ว  พวกท่านจะไม่หลงทางโดยเด็ดขาด สิ่งนั้นคือ

( 1 )   คัมภีร์ของอัลลอฮฺและ

( 2 )   อิตเราะตี(คือ)อะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน

อ้างอิงจากหนังสือ
อัลกาฟี  โดยเชคกุลัยนี เล่ม 2 : 415  หะดีษที่  1
เศาะฮีฮุต - ติรมิซี   หะดีษที่ 2978  ตรวจทานโดยเชคอัลบานี
ซิลซิละตุซ ซอฮีฮะฮ์   โดยเชคอัลบานี  หะดีษที่ 1761



ส่วนหลักฐานที่ชีอะฮ์ยึดคำฟัตวาของมัรญิ๊อ์ตักลีดและมติของอุละมาอ์ชีอะฮ์
ก็เพราะว่า     บรรดาอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์ได้กล่าวไว้ดังนี้


هِشَامِ بْنِ سَالِمٍ عَنْ أَبِي عَبْدِ اللَّهِ ع قَالَ إِنَّمَا عَلَيْنَا أَنْ نُلْقِيَ إِلَيْكُمُ الْأُصُولَ وَ عَلَيْكُمْ أَنْ تُفَرِّعُوا
أَحْمَدَ بْنِ مُحَمَّدِ بْنِ أَبِي نَصْرٍ عَنِ الرِّضَا ع قَالَ عَلَيْنَا إِلْقَاءُ الْأُصُولِ وَ عَلَيْكُمُ التَّفْرِيعُ

ท่านอิม่ามศอดิกและอิม่ามริฎอ(อ)กล่าวว่า : หน้าที่ของพวกเราคือถ่ายทอดเรื่องหลักๆ(ของศาสนา)แก่พวกท่าน ส่วนพวกท่านก็มีหน้าที่ไปจำแนกเป็นหัวย่อยๆเอาเอง

สถานะฮะดีษ :  เศาะหิ๊หฺ

ดูวะซาอิลุชชีอะฮ์  โดยอัลฮุรรุลอามีลี เล่ม 27 : 62 ฮะดีษที่ 33201,33202

عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ يَعْقُوبَ عَنْ إِسْحَاقَ بْنِ يَعْقُوبَ قَالَ سَأَلْتُ مُحَمَّدَ بْنَ عُثْمَانَ الْعَمْرِيَّ أَنْ يُوصِلَ لِي كِتَاباً قَدْ سَأَلْتُ فِيهِ عَنْ مَسَائِلَ أَشْكَلَتْ عَلَيَّ فَوَرَدَ التَّوْقِيعُ بِخَطِّ مَوْلَانَا صَاحِبِ الزَّمَانِ ع أَمَّا مَا سَأَلْتَ عَنْهُ أَرْشَدَكَ اللَّهُ وَ ثَبَّتَكَ إِلَى أَنْ قَالَ وَ أَمَّا الْحَوَادِثُ الْوَاقِعَةُ فَارْجِعُوا فِيهَا إِلَى رُوَاةِ حَدِيثِنَا فَإِنَّهُمْ حُجَّتِي عَلَيْكُمْ وَ أَنَا حُجَّةُ اللَّهِ

จากมุฮัมมัด บินยะอ์กูบ จากอิสฮ๊าก บินยะอ์กูบเล่าว่า  : ฉันได้ขอร้องท่านมุฮัมมัด บินอุษมาน อัลอัมรีให้นำจดหมายส่ง(ให้อิม่าม)แทนฉัน  ในจดหมายฉันได้ถามถึงปัญหาต่างๆที่คลุมเครือแก่ฉัน แล้วได้มีจดหมายเป็นลายเซ็นด้วยลายมือของผู้ปกครองของพวกเรา คือท่านอิม่ามศอฮิบุซซะมาน(อ)ตอบว่า :  ส่วนสิ่งที่เจ้าได้ถามถึงนั้น ขออัลลอฮ์ชี้นำเจ้าและทำให้เจ้ามั่นคง จนท่านกล่าวว่า :

ส่วนกรณีเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น(ในยุคที่ฉันยังไม่ปรากฏตัว)  พวกเจ้าจงย้อนกลับไปยังบรรดานักรายงานฮะดีษของเรา เกี่ยวปัญหาเหล่านั้น เพราะพวกเขาคือหลักฐานของฉันที่มีต่อพวกเจ้า และฉันคือหลักฐานของอัลลอฮ์

วะซาอิลุชชีอะฮ์  โดยอัลฮุรรุลอามีลี  เล่ม 27 : 140 ฮะดีษที่ 33424

أَحْمَدُ بْنُ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ الطَّبْرِسِيُّ فِي الْإِحْتِجَاجِ عَنْ أَبِي مُحَمَّدٍ الْعَسْكَرِيِّ ع قال :  
فَأَمَّا مَنْ كَانَ مِنَ الْفُقَهَاءِ صَائِناً لِنَفْسِهِ حَافِظاً لِدِينِهِ مُخَالِفاً عَلَى هَوَاهُ مُطِيعاً لِأَمْرِ مَوْلَاهُ فَلِلْعَوَامِّ أَنْ يُقَلِّدُوهُ

ท่านอิม่ามฮาซันอัสการี(อ)กล่าวว่า :  ส่วนหนึ่งจากบรรดาฟะกีฮ์ ( ที่มีคุณสมบัติดังนี้ )

1,เป็นผู้รักษาตัวเอง(มิให้มีมลทิน)

2,ปกป้องรักษาศาสนาของเขา

3,ไม่คล้อยตามอารมณ์ต่ำของตัวเอง  

4,ปฏิบัติตามคำสั่งอิม่ามผู้นำของเขา(อย่างเคร่งครัด)

ดังนั้นจำเป็นสำหรับประชาชนจะต้องปฏิบัติตามเขา (เรียกว่า การตักลีด)

สถานหะดีษ  :   เศาะหิ๊หฺ
ดูวะซาอิลุช-ชีอะฮ์ โดยอัลฮุรรุล อามิลี    เล่ม 27 : 131 ฮะดีษที่ 33401
ตรวจทานโดยมัรกะซุล บุฮูซ คอมพิวเตอร์ ลิลอุลูมิลอิสลามียะฮ์ เมืองกุม อิหร่าน



เพราะฉะนั้นเราสามารถกล่าวเรื่องอะกีดะฮ์ชีอะฮ์เรียงตามลำดับดังนี้

1.   อะกีดะฮ์ชีอะฮ์จากอัลกุรอ่าน

2.   อะกีดะฮ์ชีอะฮืจากหะดีษของบรรดาอิม่าม

3.   อะกีดะฮ์ชีอะฮ์จากอุละมาอ์ชีอะฮ์




หนึ่ง - อะกีดะฮ์ชีอะฮ์จากอัลกุรอ่าน


آَمَنَ الرَّسُولُ بِمَا أُنْزِلَ إِلَيْهِ مِنْ رَبِّهِ وَالْمُؤْمِنُونَ كُلٌّ آَمَنَ بِاللَّهِ وَمَلَائِكَتِهِ وَكُتُبِهِ وَرُسُلِهِ لَا نُفَرِّقُ بَيْنَ أَحَدٍ مِنْ رُسُلِهِ وَقَالُوا سَمِعْنَا وَأَطَعْنَا غُفْرَانَكَ رَبَّنَا وَإِلَيْكَ

รอซูล(นบีมุฮัมมัด)นั้นได้ศรัทธาต่อสิ่งที่ได้ถูกประทานลงมาแก่เขา จากพระเจ้าของเขา และผู้มีอีหม่านทั้งหลายก็ศรัทธาด้วย  ทุกคนศรัทธาต่ออัลเลาะฮ์ และมลาอิกะฮ์ของพระองค์และบรรดาคัมภีร์ของพระองค์ และบรรดารอซูลของพระองค์  (พวกเขากล่าวว่า) เราจะไม่แยกระหว่างท่านหนึ่งท่านใดจากบรรดารอซูลของพระองค์ และพวกเขาได้กล่าวว่า เราได้ยินแล้วและได้ปฏิบัติตามแล้ว การอภัยโทษจากพระองค์เท่านั้นที่พวกเราปรารถนา โอ้พระเจ้าของพวกเรา และยังพระองค์นั้นคือการกลับไป

ซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์   อายัตที่ 285

จะเห็นได้ว่าโองการนี้ระบุว่าอีหม่านมี  4 ประการคือ
1.   ทุกคนศรัทธาต่ออัลเลาะฮ์
2.   มลาอิกะฮ์ของพระองค์
3.   บรรดาคัมภีร์ของพระองค์
4.   บรรดารอซูลของพระองค์  


لَيْسَ الْبِرَّ أَنْ تُوَلُّوا وُجُوهَكُمْ قِبَلَ الْمَشْرِقِ وَالْمَغْرِبِ وَلَكِنَّ الْبِرَّ مَنْ آَمَنَ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الْآَخِرِ وَالْمَلَائِكَةِ وَالْكِتَابِ وَالنَّبِيِّينَ

มิใช่ความดีแต่อย่างใดที่สูเจ้าทั้งหลาย จะผินหน้าของพวกสูเจ้าไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก แต่ทว่าความดีคือ ผู้ที่ศรัทธาต่ออัลเลาะฮ์ ต่อวันสุดท้ายต่อบรรดามลาอิกะฮ์ต่อคัมภีร์และต่อบรรดานบี...

ซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์   อายัตที่ 177

จะเห็นได้ว่าโองการนี้ระบุว่าอีหม่านมี  5 ประการคือ
1.   ศรัทธาต่ออัลเลาะฮ์
2.   วันสุดท้าย
3.   บรรดามลาอิกะฮ์
4.   คัมภีร์
5.   บรรดานบี


يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ آمِنُواْ بِاللّهِ وَرَسُولِهِ وَالْكِتَابِ الَّذِي نَزَّلَ عَلَى رَسُولِهِ وَالْكِتَابِ الَّذِيَ أَنزَلَ مِن قَبْلُ وَمَن يَكْفُرْ بِاللّهِ وَمَلاَئِكَتِهِ وَكُتُبِهِ وَرُسُلِهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ فَقَدْ ضَلَّ ضَلاَلاً بَعِيدًا

โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงศรัทธาต่ออัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์เถิด และคัมภีร์(อัลกุรอาน)ที่พระองค์ได้ทรงประทานลงมาแก่รอซูลของพระองค์ และคัมภีร์ที่พระองค์ได้ทรงประทานลงมาก่อนหน้านั้น และผู้ใดปฏิเสธการศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และมลาอิกะฮ์ของพระองค์และบรรดาคัมภีร์ของพระองค์และบรรดารอซูลของพระองค์ และวันสิ้นโลกแล้วไซร้ แน่นอนเขาได้หลงทางอย่างห่างไกล      

ซูเราะฮ์อัน-นิซาอ์ : 136

จะเห็นได้ว่าโองการนี้ระบุว่าอีหม่านมี  5 ประการคือ
1.   การศรัทธาต่ออัลลอฮ์
2.   มลาอิกะฮ์ของพระองค์
3.   บรรดาคัมภีร์ของพระองค์
4.   บรรดารอซูลของพระองค์
5.   วันสิ้นโลก




สอง -   อะกีดะฮ์ชีอะฮ์จากบรรดาอิม่าม



ถาม  -  บรรดาอิม่ามกำหนดอะกีดะฮ์ไว้กี่ข้อ ?    

ตอบ

บรรดาอิม่ามได้อธิบายเรื่องหลักศรัทธา ( อะกีดะฮ์หรืออุศูลุดดีน ) ไว้ในหะดีษต่างๆมากมาย แต่ที่สำคัญต้องยึดหะดีษที่มีสายรายงานถูกต้องเป็นเกณฑ์เท่านั้น
และจากหะดีษที่ถูกต้องเหล่านั้น จึงได้สรุปประเด็นหลักๆออกมาไว้ในหนังสืออะกีดะฮ์

ไม่ได้มีเงื่อนใดกำหนดว่า หลักศรัทธา(อะกีดะฮ์)นั้น ต้องถูกรวมไว้ในหะดีษเพียงบทเดียว   เหมือนเรื่องหลักศรัทธามากมายที่มีอยู่ในคัมภีร์อัลกุรอ่าน ซึ่งก็ไม่ได้ถูกรวมไว้ในหนึ่งโองการจากคัมภีร์กุรอ่าน .


เมื่อท่านต้องการศึกษาเรื่อง การรู้จักอัลเลาะฮ์  เรื่องเตาฮีด เรื่องซิฟัตของอัลเลาะฮ์ ท่านก็ต้องศึกษาหะดีษที่อิม่ามบอกเล่ารายงานไว้ดังนี้เช่น    

عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ مُسْلِمٍ عَنْ أَبِي عَبْدِ اللَّهِ ع قَالَ :  إِنَّ الْيَهُودَ سَأَلُوا رَسُولَ اللَّهِ ص فَقَالُوا انْسِبْ لَنَا رَبَّكَ فَلَبِثَ ثَلَاثاً لَا يُجِيبُهُمْ ثُمَّ نَزَلَتْ قُلْ هُوَ اللَّهُ أَحَدٌ إِلَى آخِرِهَا
الكافي ج : 1  ص :  91  ح : 1  بَابُ النِّسْبَةِ
درجة الحديث :  صحيح    تحقيق : مركز البحوث الكومبيوترية للعلوم الإسلامية قم ايران  

มุฮัมมัด บินมุสลิมรายงาน

ท่านอิม่ามอบูอับดุลลอฮ์ ญะอ์ฟัรอัศศอดิก(อ)กล่าวว่า : แท้จริงพวกยะฮูดีได้ถามท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ็อลฯ)ว่า จงบอกเชื้อสายของพระเจ้าของท่านให้เราฟัง  ท่านนบีนิ่งเฉย สามครั้งโดยไม่ได้ให้คำตอบแก่พวกเขา ต่อมาอัลกุรอานได้ประทานลงมาว่า  จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า อัลลอฮ์นั้นคือผู้ทรงเอกะ จนถึงโองการสุดท้ายของซูเราะฮ์นี้

สถานะหะดีษ  : เศาะหิ๊หฺ  
ดูอัลกาฟี  โดยเชคกุลัยนี  เล่ม 1 : 91   หะดีษที่ 1
ตรวจทานโดยมัรกะซุล บุฮูซ คอมพิวเตอร์ ลิลอุลูมิลอิสลามียะฮ์ เมืองกุม อิหร่าน

หมายเหตุ-
ซูเราะฮ์ที่ 112 มีชื่อว่าอัลอิคลาศ หรืออัต-เตาฮีด มีทั้งหมด 4 อายะฮ์
بسم الله الرحمن الرحيم   قُلْ هُوَ اللَّهُ أَحَدٌ (1) اللَّهُ الصَّمَدُ (2) لَمْ يَلِدْ وَلَمْ يُولَدْ (3) وَلَمْ يَكُنْ لَهُ كُفُوًا أَحَدٌ (4)
ด้วยนามของอัลเลาะฮ์ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตายิ่งเสมอ
[1]  จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด)ว่า  อัลลอฮ์นั้นคือผู้ทรงเอกะ
[2]  อัลลอฮ์นั้นทรงเป็นที่พึ่ง(ของสรรพสิ่งทั้งมวล)
[3]  พระองค์ไม่ประสูติ และไม่ทรงถูกประสูติ
[4]  และในสากลจักรวาล ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์


เรื่องเตาฮีดและซิฟัตของอัลลอฮ์

عَنْ عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ أَبِي نَجْرَانَ قَالَ سَأَلْتُ أَبَا جَعْفَرٍ (الجواد) عَنِ التَّوْحِيدِ فَقُلْتُ أَتَوَهَّمُ شَيْئاً فَقَالَ نَعَمْ غَيْرَ مَعْقُولٍ وَ لَا مَحْدُودٍ فَمَا وَقَعَ وَهْمُكَ عَلَيْهِ مِنْ شَيْ‏ءٍ فَهُوَ خِلَافُهُ لَا يُشْبِهُهُ شَيْ‏ءٌ وَ لَا تُدْرِكُهُ الْأَوْهَامُ كَيْفَ تُدْرِكُهُ الْأَوْهَامُ وَ هُوَ خِلَافُ مَا يُعْقَلُ وَ خِلَافُ مَا يُتَصَوَّرُ فِي الْأَوْهَامِ إِنَّمَا يُتَوَهَّمُ شَيْ‏ءٌ غَيْرُ مَعْقُولٍ وَ لَا مَحْدُود.    

كتاب الكافي بَابُ إِطْلَاقِ الْقَوْلِ بِأَنَّهُ شَيْ‏ءٌ   ج 1 : 82 ح 1  صحيح

อับดุลเราะห์มานบินนัจญ์รอนเล่าว่า ผมถามอิม่ามญะวาดถึงเรื่องเตาฮีด(ว่าตอรีกที่จะมะอ์ริฟัตพระองค์นั้นเป็นอย่างไร?) ผมกล่าวว่า ฉันจะ  تَـوَهُّـمคาดหมาย,นึกมโนภาพถึงอัลลอฮ์เป็น شَيْ‏ءٌ สิ่งหนึ่งและอธิบายอัลลอฮ์ด้วยสิ่งหนึ่งจะได้ไหม ?   ท่านตอบว่า ได้สิ แต่สิ่งนั้นต้องไม่กินกับปัญญาและต้องไม่เป็นสิ่งที่ถูกจำกัด   ดังนั้นเมื่อเจ้านึกคิดถึงอัลลอฮ์เป็นสิ่งหนึ่ง  อัลลอฮ์ก็คิล๊าฟ  خِلَافُهُกับสิ่งนั้น  จะนำสิ่งนั้นมาเปรียบเทียบให้เหมือนอัลลอฮ์ไม่ได้  
และจินตนาการ  أَوْهَامُ ไม่อาจหยั่ง إدراك ถึงอัลลอฮ์ได้  
จินตนาการ   أوهام จะ إدراك  ถึงอัลลอฮ์ได้อย่างไรเล่า ?   ในเมื่ออัลลอฮ์คิล๊าฟกับสิ่งที่กินกับปัญญา และคิล๊าฟกับภาพที่อยู่ในจินตนาการ    แท้จริงสิ่งที่จะนำมาเป็น MODEL = แบบจำลองในความคิด ได้    สิ่งนั้นจะต้องไม่กินกับปัญญาและไม่เป็นสิ่งถูกจำกัด.    

สถานะหะดีษ  : เศาะหิ๊หฺ  
ดูอัลกาฟี  โดยเชคกุลัยนี  เล่ม 1 : 82   หะดีษที่ 1
ตรวจทานโดยมัรกะซุล บุฮูซ คอมพิวเตอร์ ลิลอุลูมิลอิสลามียะฮ์ เมืองกุม อิหร่าน


หากต้องการศึกษาเรื่องผู้อิหม่ามนำที่ชีอะฮ์ยึดถือ  ก็ต้องไปดูที่การอธิบายโองการนี้จากบรรดาอิม่าม      

อัลลอฮ์ตรัสว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ أَطِيعُواْ اللّهَ وَأَطِيعُواْ الرَّسُولَ وَأُوْلِي الأَمْرِ مِنكُمْ فَإِن تَنَازَعْتُمْ فِي شَيْءٍ فَرُدُّوهُ إِلَى اللّهِ وَالرَّسُولِ إِن كُنتُمْ تُؤْمِنُونَ بِاللّهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ ذَلِكَ خَيْرٌ وَأَحْسَنُ تَأْوِيلاً

โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงเชื่อฟังอัลลอฮ์ และจงเชื่อฟังรอซูลและผู้ปกครองในหมู่พวกเจ้าเถิด หากพวกเจ้าขัดแย้งกันในสิ่งใด ก็จงนำสิ่งนั้นกลับไปยังอัลลอฮ์ และรอซูล (คืออัลกุรอานและซุนนะฮ์) หากพวกเจ้าเป็นผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮ์และวันสิ้นโลก นั่นแหล่ะเป็นสิ่งที่ดียิ่งและเป็นการกลับไปที่สวยยิ่ง    

ซุเราะฮ์ อัน-นิซาอ์ :  59

หากอยากรู้ว่า  " อูลุลอัมริ " ในอายะฮ์นี้เป็นใคร  ก็ต้องย้อนกลับไปดูคำอธิบายความหมายของบรรดาอิม่ามดังนี้

عَنْ أَبِي بَصِيرٍ قَالَ سَأَلْتُ أَبَا عَبْدِ اللَّه‏ (ع) عَنْ قَوْلِ اللَّهِ عَزَّ وَ جَلَّ {أَطِيعُوا اللَّهَ وَ أَطِيعُوا الرَّسُولَ وَ أُولِي الْأَمْرِ مِنْكُمْ } (النساء -: 59 -) فَقَالَ نَزَلَتْ فِي عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ وَ الْحَسَنِ وَ الْحُسَيْنِ ع

อบูบะศีรเล่าว่า : ฉันได้ถามท่านอิม่ามอบูอับดุลลอฮ์ ญะอ์ฟัรอัศศอดิก(อ)ถึงดำรัสของอัลลอฮ์ อัซซะวะญัลที่ตรัสว่า (สูเจ้าจงเชื่อฟังอัลลอฮฺและสูเจ้าจงเชื่อฟังรอซูลและผู้ปกครองในหมู่สูเจ้า) บทที่ 4 : 59  ท่านอิม่ามกล่าวว่า :   โองการนี้ได้ประทานลงมาแก่ท่านอะลี,ฮาซันและฮูเซน  

สถานะฮะดีษ : เศาะหิ๊หฺ
ดูอัลกาฟี   โดยเชคกุลัยนี เล่ม 1 : 287 ฮะดีษที่ 1
ตรวจทานโดยมัรกะซุล บุฮูซ คอมพิวเตอร์ ลิลอุลูมิลอิสลามียะฮ์ เมืองกุม อิหร่าน



สาม  -   อะกีดะฮ์ชีอะฮ์จากอุละมาอ์ชีอะฮ์


ปัจจุบันหนังสืออะกีดะฮ์ชีอะฮ์มักแบ่งหัวข้อการศึกษาหลักศรัทธาออกเป็น  5  ข้อใหญ่ๆคือ

1.   เตาฮีด
2.   อะดิล
3.   นุบูวะฮ์
4.   อิมามะฮ์
5.   มะอ๊าดหรือกิยามะฮ์




ปัญหาคือหนังสืออะกีดะฮ์เหล่านั้นไม่ได้บอกว่า  อะกีดะฮ์ทั้งห้านี้มีที่มา ที่ไปอย่างไร ใครกำหนด   ดังนั้นฝ่ายซุนนี่จึงหยิบยกเอาเรื่องนี้มาโจมตี โดยถามว่า



ใครกำหนดอะกีดะฮ์ ห้าข้อนี้  ?
 

ตอบ  เชคมุฟีด

เชคมุฟีด ชื่อจริงคือ มุฮัมมัด บินมุฮัมมัด บินอัน-นุอ์มาน ชาวเมืองแบกแดด ประเทศอิรัค เกิดวันที่ 11 ซุลกิอ์ดะฮ์ ฮ.ศ.336 มรณะคืนวันศุกร์ที่ 3 รอมฎอน ฮ.ศ. 413 รวมอายุ 95 ปี  สัยยิดมุรตะฏอเป็นอิม่ามนำ นมาซญะนาซะฮ์ให้ มีทั้งซุนนี่และชีอะฮ์มาร่วมนมาซญะนาซะฮ์ให้เขาอย่างเนืองแน่น เดิมร่างถูกฝังไว้ที่บ้านสองปี ต่อมาได้ย้ายไปฝังไว้ที่เมืองกาซิมัยน์ เคียงข้างกับอาจารย์ของเขาคือเชคศอดูก ตรงบิรเวณด้านล่างสุสานของท่านอิม่ามญะวาด อะลัยฮิสสลาม
เชคมุฟีดนับได้ว่าเป็นนักวิชาการที่มีความรู้สูงสุดในยุคที่เขามีชีวิตอยู่ มีความฉลาดหลักแหลมในการตอบคำถามและเชี่ยวชาญวิชาฟิกฮ์  ,ริวายะฮ์และอิลมุลกะลาม  เขาแต่งตำราไว้สองร้อยกว่าเล่ม ซึ่งคนรุ่นหลังล้วนได้รับประโยชน์จากเขาอย่างมากมาย  


เชคมุฟีด  คือบุคคลแรกที่ได้ประมวลอะกีดะฮ์ชีอะฮ์จากกุรอ่านและฮะดีษไว้หนังสือชื่อ " อัน-นุกัต อัลเอี๊ยะอ์ติกอดียะฮ์ " หนังสือเล่มนี้เชคมุฟีดได้แบ่งหลักศรัทธาออกเป็น 5 บทคือ
1.   มะอ์ริฟะตุลเลาะฮ์วะศิฟาติฮี (การรู้จักพระเจ้าและคุณลักษณะของพระองค์)
2.   อัลอัดลุ (ความยุติธรรมของอัลลอฮ์)
3.   อัน-นุบูวะฮ์ ( การศรัทธาต่อศาสดาของอัลลอฮ์)
4.   อัลอิมามะฮ์  ( การศรัทธาต่อผู้นำที่สืบต่อจากนบีมุฮัมมัด)
5.   อัลมะอ๊าด (การศรัทธาต่อวันปรโลก)  


ยุคต่อมานักวิชาการชีอะฮ์ได้เรียบเรียงหนังสืออะกีดะฮ์โดยแบ่งเรื่องหลักศรัทธาออกเป็นห้าหัวข้อเหมือนที่เชคมุฟีดได้นำเสนอไว้จนกลายเป็นเรื่องมุตะวาติรถ่ายทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้  

วัลลอฮุอะอ์ลัม.  




ถาม

อะกีดะฮ์ทั้งห้านี้มีกุรอ่านหรือหะดีษกล่าวไว้หรือไม่

ตอบ
 
อะกีดะฮ์ทั้งห้านี้ได้เอามาจากอัลกุรอานและฮะดีษ เพียงแต่ไม่ได้กล่าวเรียงกันเท่านั้น

หากกล่าวว่า :

เมื่ออะฮ์ลุลบัยต์ไม่ได้กำหนดแสดงว่าอะกีดะฮ์ทั้งห้านี้เป็นเรื่องบิดอะฮ์  

ขอถามซุนนี่วาฮาบีว่า

เชคมุฮัมมัด บินอับดุลวะฮาบ ผู้ก่อตั้งแนวทางวาฮาบี (1115-1206 ฮ.ศ.) ได้แบ่งเตาฮีดออกเป็น 3 ประเภทคือ   1,เตาฮีดอุลูฮียะฮ์ 2, เตาฮีดรุบูบียะฮ์ 3, เตาฮีดอัสมาอ์วะซิฟาต  
ซึ่งการแบ่งนี้ไม่มีระบุไว้ในอัลกุรอาน ฮะดีษนบี  และบรรดาซอฮาบะฮ์  ตาบิอีน  และตาบิอิตตาบิอีน  ก็ไม่ได้กล่าวไว้เลยเป็นที่ทราบดีว่า การแบ่งเตาฮีดออกเป็น 3 ข้อเช่นนี้ไม่เคยมีในยุคศตวรรษที่ 3  จนถึงศตวรรษที่ 6 เมื่อถึงศตวรรษที่ 7 การแบ่งเตาฮีดเป็นอุลูฮียะฮฺและรุบูบียะฮฺพึ่งเกิดขึ้น

ถามว่า : การแบ่งเตาฮีดออกเป็น 3 ประเภทนี้  เป็นบิดอะฮ์ใช่ไหม ?


ซุนนี่มัซฮับอะชาอิเราะฮ์ ได้แบ่งซิฟัตอัลลอฮ์ออกเป็น 20 เรียกว่า ซิฟัตวายิบ 20 ข้อ คือ
1.อัลวุญูด =อัลเลาะฮ์ทรงมี 2.อัลกิดัม=อัลเลาะฮ์ทรงดั้งเดิม 3.อัลบะกอ=อัลเลาะฮ์ทรงคงอยู่ถาวร 4.อัลมุคอละฟะตุลิลฮะวาดิษ=อัลเลาะฮ์ทรงแตกต่างกับของใหม่ 5.อัลกิยามุบินนัฟส์=อัลเลาะฮ์ทรงดำรงอยู่ด้วยพระองค์เอง 6.อัลวะห์ดานียะฮ์=อัลเลาะฮ์ทรงเอกะหนึ่งเดียว 7.อัลกุดเราะฮ์=อัลเลาะฮ์ทรงสามารถ 8.อัลอิรอดะฮ์=อัลเลาะฮ์ทรงเจตนา 9.อัลอิลมุ=อัลเลาะฮ์ทรงรู้ 10.อัลหะยาอ์ =อัลเลาะฮ์ทรงเป็น 11.อัซซัมอุ=อัลเลาะฮ์ทรงได้ยิน 12.อัลบะศ็อร=อัลเลาะฮ์ทรงเห็น13.อัลกะลาม=อัลเลาะฮ์ทรงพูด 14.เกานุฮูกอดิร็อน=อัลเลาะฮ์ผู้ทรงอาณุภาพ 15.เกานุฮูมุรีดัน =อัลเลาะฮ์ผู้ทรงเจตนา 16.เกานุฮูอาลิมัน=อัลเลาะฮ์ผู้ทรงรอบรู้ 17.เกานุฮูฮัยญัน =อัลเลาะฮ์ผู้ทรงเป็น 18.เกานุฮูซะมีอัน=อัลเลาะฮ์ผู้ทรงได้ยิน 19.เกานุฮูบะซีร็อน=อัลเลาะฮ์ผู้ทรงเห็น  20.เกานุฮูมุตะกัลลิมัน=อัลเลาะฮ์ผู้ทรงพูด

การแบ่งซิฟัตอัลลอฮ์ออกเป็น 20 ซิฟัตนี้ก็ไม่มีระบุไว้ในอัลกุรอาน ฮะดีษนบีและบรรดาซอฮาบะฮ์เช่นกัน

ถามว่า : การแบ่งซิฟัตอัลลอฮ์ออกเป็น 20 ข้อนี้  เป็นบิดอะฮ์ใช่ไหม ?


แน่นอนพวกเขาจะตอบว่า แม้อัลเลาะฮ์และรอซูลไม่ได้กำหนดไว้เช่นนี้  แต่อุละมาอ์ได้เอามาจากกุรอ่านและฮะดีษ  

นั่นแสดงว่าพวกเขาตอบเหมือนที่อุละมาอ์ชีอะฮ์ตอบที่ว่า อะกีดะฮ์ทั้งห้านั้นได้ประมวลมาจากกุรอ่านและฮะดีษเช่นกัน



อุละมาอ์ซุนนี่ที่มีความตะอัซซุบบางส่วน   ไม่ได้ยุติการโจมตีเรื่องอะกีดะฮ์ชีอะฮ์เท่านั้น     แต่ยังก้าวไปถึงขั้นฮุก่มตัดสินว่า  ชีอะฮ์เป็น  กาเฟร     ด้วยสาเหตุที่   มีอะกีดะฮ์ไม่ตรงกับซุนนี่    


หากท่านถามพวกเขาว่า   แล้วซุนนี่มีอะกีดะฮ์กี่ข้อ

พวกเขาจะตอบว่า  มี  หก  ข้อ   เท่านั้น  ด้วยหะดีษบทนี้

ท่านอุมัรรายงาน :

(ท่านญิบรออีลได้กล่าวกับท่านนบีมุหัมมัดว่า) : จงบอกฉันถึงอีหม่าน

ท่านนบีตอบว่า : คือท่านจะต้องศรัทธา

1.ต่ออัลเลาะฮ์

2,ต่อบรรดามลาอิกะฮ์

3,ต่อบรรดาคัมภีร์

4,ต่อบรรดารอซูลของพระองค์

5,ต่อวันอาคิเราะฮ์

6,และต้องศรัทธาต่อการกำหนดความดีและความชั่วของพระองค์(ที่ทรงกำหนดไว้)

อ้างอิงจากหนังสือ   เศาะหี๊หฺมุสลิม  หะดีษที่  9


แต่ทั้งชีอะฮ์และซุนนี่  ระดับสามัญชน  ไม่เคยรับรู้มาก่อนเลยว่า  ความจริง ตำราหะดีษซุนนี่  มิได้รายงานว่า  อะกีดะฮ์หรืออีหม่านนั้นมีแค่หกข้อ  ความจริงยังมีรายงานหะดีษ  ที่ระบุแตกต่างไปจากนี้ อีกมากมาย  ซึ่ง อุละมาอ์ซุนนี่  ไม่เคยนำเรื่องนี้มาพูด  


ตอนต่อไปเราจะมา  ศึกษาหะดีษ  อีหม่านซุนนี่ ที่รายงานแตกต่างไปจาก หะดีษข้างต้น  อินชาอัลเลาะฮ์    


 
  •  

L-umar




หะดีษอีหม่านของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์



(ท่านญิบรออีลได้กล่าวกับท่านนบีมุหัมมัดว่า) : จงบอกฉันถึงอีหม่าน
ท่านนบีตอบว่า : คือท่านจะต้องศรัทธา

1.ต่ออัลเลาะฮ์

2,ต่อบรรดามลาอิกะฮ์

3,ต่อบรรดาคัมภีร์

4,ต่อบรรดารอซูลของพระองค์

5,ต่อวันอาคิเราะฮ์

6,และต้องศรัทธาต่อการกำหนดความดีและความชั่วของพระองค์(ที่ทรงกำหนดไว้)

อ้างอิงจาก   เศาะหี๊หฺมุสลิม  หะดีษที่  9[/color]



จากหะดีษบทนี้   พวกวาฮาบีจึงนำมาใช้ฮุก่มแบบชุ่ยๆว่า     ชีอะฮ์   เป็น  กาเฟร  

โดยให้เหตุผลว่า    เพราะพวกเขามีอีหม่าน  6    แต่ชีอะฮ์มีอีหม่าน  5  



ท่านคงเคยได้ยินพวกโต๊ะครูวาฮาบี บางส่วนในบ้านเราเช่น  เชค ริดอ สะมะดี  อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้  อาจารย์มุรีด ทิมะเสน ที่ออกมาตะโกนปาวๆว่า   ชีอะฮ์เป็นกาเฟรเพราะพวกเขามีอีหม่านแค่ห้าข้อ



คำถามคือ  


จริงหรือที่ท่านรอซูลุลเลาะฮ์กล่าวว่า  อีหม่านนั้นมีแค่หกข้อ      เราจะมาแสวงหาความจริงที่อยู่เบื้องหลัง ข้ออ้างอันนี้ด้วยกัน



หลังจากที่เราได้เข้าไปตรวจสอบหะดีษที่รายงานเรื่องอีหม่านในตำราหะดีษของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์  ปรากฏว่า  
เราพบหะดีษอีกมากมายที่ได้รายงานแตกต่างกันไป    กล่าวคือ   มีรายงานจากท่านรอซูลุลเลาะฮ์ที่ระบุว่า  อีหม่านนั้น มีตั้งแต่ 1 ข้อ จนถึง  12 ข้อ    



ไม่ใช่มีเฉพาะแค่ 6 ข้อ    ตามที่โต๊ะครูวาฮาบีกำลังหลอกลวงประชาชนอยู่ตามเวทีปราศัยทั่วไป
และที่หนักกว่านั้น  ยังมีหะดีษที่รายงานว่า   อีหม่านนั้นยังมีถึง  60 -  70 สาขา



ตัวอย่างหะดีษอีหม่าน จากตำราหะดีษของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์



หะดีษที่รายงานว่ามี   5  ข้อ

50 - حَدَّثَنَا مُسَدَّدٌ قَالَ حَدَّثَنَا إِسْمَاعِيلُ بْنُ إِبْرَاهِيمَ أَخْبَرَنَا أَبُو حَيَّانَ التَّيْمِىُّ عَنْ أَبِى زُرْعَةَ عَنْ أَبِى هُرَيْرَةَ قَالَ كَانَ النَّبِىُّ - صلى الله عليه وسلم - بَارِزًا يَوْمًا لِلنَّاسِ ، فَأَتَاهُ جِبْرِيلُ فَقَالَ مَا الإِيمَانُ قَالَ « الإِيمَانُ أَنْ تُؤْمِنَ بِاللَّهِ وَمَلاَئِكَتِهِ وَبِلِقَائِهِ وَرُسُلِهِ ، وَتُؤْمِنَ بِالْبَعْثِ » .

อบูฮุร็อยเราะฮ์รายงานว่า :
แท้จริงท่านรอซูลุลเลาะฮ์ มีวันหนึ่งท่านได้ปรากฏตัวต่อประชาชน ทันใดนั้นมีชายคนหนึ่งเดินเขามาหาท่าน แล้วเขากล่าวว่า โอ้ท่านรอซูลุลเลาะฮ์ อีหม่านคืออะไร ?
ท่านตอบว่า อีหม่านคือท่านต้องศรัทธา

1.ต่ออัลเลาะฮ์
2,ต่อบรรดามลาอิกะฮ์ของพระองค์
3,ต่อบรรดารอสูลของพระองค์
4,ต่อการพบกับพระองค์
5,ต่อการฟื้นขึ้นมาในวันอาคิเราะฮ์

เศาะหี๊หฺบุคอรี  หะดีษที่ 50


عَنْ أَبِى هُرَيْرَةَ - رضى الله عنه - أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - كَانَ يَوْمًا بَارِزًا لِلنَّاسِ إِذْ أَتَاهُ رَجُلٌ يَمْشِى فَقَالَ يَا رَسُولَ اللَّهِ مَا الإِيمَانُ قَالَ « الإِيمَانُ أَنْ تُؤْمِنَ بِاللَّهِ وَمَلاَئِكَتِهِ وَرُسُلِهِ وَلِقَائِهِ وَتُؤْمِنَ بِالْبَعْثِ الآخِرِ » .
อบูฮุร็อยเราะฮ์รายงานว่า :
แท้จริงท่านรอซูลุลเลาะฮ์ มีวันหนึ่งท่านได้ปรากฏตัวต่อประชาชน ทันใดนั้นมีชายคนหนึ่งเดินเขามาหาท่าน แล้วเขากล่าวว่า โอ้ท่านรอซูลุลเลาะฮ์ อีหม่านคืออะไร ?
ท่านตอบว่า อีหม่านคือท่านต้องศรัทธา

1.ต่ออัลเลาะฮ์
2,ต่อบรรดามลาอิกะฮ์ของพระองค์
3,ต่อบรรดารอสูลของพระองค์
4,ต่อการพบกับพระองค์
5,ต่อการฟื้นขึ้นมาในวันอาคิเราะฮ์

เศาะหี๊หฺบุคอรี  หะดีษที่ 4777



قَالَ « الإِيمَانُ أَنْ تُؤْمِنَ بِاللَّهِ وَمَلاَئِكَتِهِ وَرُسُلِهِ وَلِقَائِهِ وَتُؤْمِنَ بِالْبَعْثِ الآخِرِ »

ท่านนบี(ศ)กล่าวว่า  : อัลอีหม่านคือ ท่านต้องศรัทธา

1.ต่ออัลเลาะฮ์
2,ต่อบรรดามลาอิกะฮ์ของพระองค์
3,ต่อบรรดารอซูลของพระองค์
4,ต่อการพบกับพระองค์(อัลเลาะฮ์)
5,ต่อการฟื้นขึ้นมาในวันอาคิเราะฮ์


จะเห็นได้ว่าหะดีษเหล่านี้  ท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ระบุว่า   อีหม่านมี  5   ข้อเท่านั้น  

ถามว่า  ท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์และคนที่เชื่อถือตามหะดีษเหล่านี้ ก็ตกเป็นกาเฟรด้วยใช่ไหม  เพราะพวกเขามีอีหม่านแค่ห้าข้อ  ?



หะดีษที่รายงานว่า  อีหม่านมี 7  ข้อ


อบูฮุรอยเราะฮ์รายงานว่า อีหม่านมี  7  ข้อ

108 - حَدَّثَنِى زُهَيْرُ بْنُ حَرْبٍ حَدَّثَنَا جَرِيرٌ عَنْ عُمَارَةَ - وَهُوَ ابْنُ الْقَعْقَاعِ - عَنْ أَبِى زُرْعَةَ عَنْ أَبِى هُرَيْرَةَ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- « سَلُونِى » فَهَابُوهُ أَنْ يَسْأَلُوهُ. فَجَاءَ رَجُلٌ فَجَلَسَ عِنْدَ رُكْبَتَيْهِ. فَقَالَ يَا رَسُولَ اللَّهِ مَا الإِسْلاَمُ قَالَ « لاَ تُشْرِكُ بِاللَّهِ شَيْئًا وَتُقِيمُ الصَّلاَةَ وَتُؤْتِى الزَّكَاةَ وَتَصُومُ رَمَضَانَ ». قَالَ صَدَقْتَ. قَالَ يَا رَسُولَ اللَّهِ مَا الإِيمَانُ قَالَ « أَنْ تُؤْمِنَ بِاللَّهِ وَمَلاَئِكَتِهِ وَكِتَابِهِ وَلِقَائِهِ وَرُسُلِهِ وَتُؤْمِنَ بِالْبَعْثِ وَتُؤْمِنَ بِالْقَدَرِ كُلِّهِ ». قَالَ صَدَقْتَ.


อบูฮุรอยเราะฮฺรายงาน  : (ท่านญิบรออีล)กล่าวว่า  โอ้รอซูลุลลอฮฺ  อีหม่านคืออะไร  ?   ท่านตอบว่า คือการที่ท่านต้องอีหม่าน
1.ต่ออัลเลาะฮ์  
2.ต่อมลาอิกะฮ์ของพระองค์  
3.ต่อบรรดาคัมภีร์ของพระองค์  
4.ต่อการพบกับอัลลอฮฺ
5.ต่อบรรดารอซูลของพระองค์
6.และต้องมีอีหม่านต่อการฟื้นชีพ  
7.และต้องอีหม่านต่อการลิขิต(ความดีและความชั่ว)ทั้งหมดของพระองค์
เขา(ญิบรีล)กล่าวว่า  ถูกต้องแล้ว

เศาะหิ๊หฺมุสลิม   หะดีษที่  108


จะเห็นได้ว่าหะดีษนี้  ท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ระบุว่า   อีหม่านมี  7   ข้อเท่านั้น  

ถามว่า  ท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์และคนที่เชื่อถือตามหะดีษเหล่านี้ ก็ตกเป็นกาเฟรด้วยใช่ไหม  เพราะพวกเขามีอีหม่านเจ็ดข้อ  ?




หะดีษที่รายงานว่า  อีหม่านมี 9  ข้อ



หนังสือหะดีษที่รายงานว่ามีเก้า มีดังนี้

الإيمان أن تؤمن بالله وملائكته وكتبه ورسله وتؤمن بالجنة والنار والميزان وتؤمن بالبعث بعد الموت وتؤمن بالقدر خيره وشره (ابن حبان ، والبيهقى فى شعب الإيمان عن ابن عمر عن عمر)
أخرجه ابن حبان (1/397 ، رقم 173) ، والبيهقى فى شعب الإيمان (1/257 ، رقم 278) .

 عَنِ ابْنِ عُمَرَ :
قَالَ فَمَا الْإِيمَانُ قَالَ تُؤْمِنُ بِاللَّهِ وَمَلَائِكَتِهِ وَكُتُبِهِ وَرُسُلِهِ وَالْبَعْثِ مِنْ بَعْدِ الْمَوْتِ وَالْجَنَّةِ وَالنَّارِ وَالْقَدَرِ كُلِّهِ قَالَ فَإِذَا فَعَلْتُ ذَلِكَ فَأَنَا مُؤْمِنٌ قَالَ نَعَمْ قَالَ صَدَقْتَ
تعليق شعيب الأرنؤوط : صحيح
مسند أمام احمد ح : 5856
มุสนัดอิหม่ามอะหมัด  หะดีษที่ 5856

173 - أخبرنا محمد بن إسحاق بن خزيمة حدثنا يوسف بن واضح الهاشمي حدثنا معتمر بن سليمان عن أبيه عن يحيى بن يعمر قال : قلت : يا أبا عبد الرحمن - يعني لابن عمر - إن أقواما يزعمون أن ليس قدر ! قال : هل عندنا منهم أحد ؟ قلت : لا قال : فأبلغهم عني إذا لقيتم : إن ابن عمر يبرأ إلى الله منكم وأنتم برآء منه
حدثنا عمربن الخطاب قال : بينما نحن جلوس عند رسول الله صلى الله عليه و سلم في أناس إذ جاء رجل [ ليس ] عليه سحناء سفر وليس من أهل البلد يتخطى حتى ورك فجلس بين يدي رسول الله صلى الله عليه و سلم فقال : يا محمد ما الإسلام ؟ قال : ( الإسلام أن تشهد أن لا إله إلا الله وأن محمدا رسول الله وأن تقيم الصلاة وتؤتي الزكاة وتحج وتعتمر وتغتسل من الجنابة وأن تتم الوضوء وتصوم رمضان ) قال : فإذا فعلت ذلك فأنا مسلم ؟ قال : ( نعم ) قال : صدقت
قَالَ : يَا مُحَمَّدُ ، مَا الإِيمَانُ ؟ قَالَ : أَنْ تُؤْمِنَ بِاللهِ ، وَمَلائِكَتِهِ ، وَكُتُبِهِ ، وَرُسُلِهِ ، وَتُؤْمِنَ بِالْجَنَّةِ وَالنَّارِ ، وَالْمِيزَانِ ، وَتُؤْمِنَ بِالْبَعْثِ بَعْدَ الْمَوْتِ ، وَتُؤْمِنَ بِالْقَدَرِ ، خَيْرِهِ وَشَرِّهِ ، قَالَ : فَإِذَا فَعَلْتُ ذَلِكَ ، فَأَنَا مُؤْمِنٌ ؟ قَالَ : نَعَمْ ،...
قال شعيب الأرنؤوط : إسناده صحيح

الكتاب : صحيح ابن حبان   باب فرض الايمان   ج 1 ص 397  ح 173
المؤلف : محمد بن حبان بن أحمد أبو حاتم التميمي البستي
الناشر : مؤسسة الرسالة – بيروت  الطبعة الثانية ، 1414 - 1993
تحقيق : شعيب الأرنؤوط   عدد الأجزاء : 18
الأحاديث مذيلة بأحكام شعيب الأرنؤوط عليها

11- قال رسول الله - صلى الله عليه وسلم - (الإيمان أن تؤمن بالله وملائكته وكتبهِ، ورسُلهِ، وتؤمن بالجنة والنار، والميزان، وتؤمن بالبعث بعد الموت وتؤمن بالقدر خيره وشره) صحيح البيهقي في شعب الإيمان.
صحيح كنوز السنة النبوية   المؤلف : بارع عرفان توفيق  ج 1  ص 113 ح 11.

ท่านอุมัรรายงาน  : (ท่านญิบรออีล)กล่าวว่า  โอ้มุฮัมมัด  อีหม่านคืออะไร  ?   ท่านตอบว่าคือการที่ท่านต้องอีหม่าน
1.ต่ออัลเลาะฮ์  
2.ต่อมลาอิกะฮ์ของพระองค์  
3.ต่อบรรดาคัมภีร์ของพระองค์  
4.ต่อบรรดารอซูลของพระองค์
5.และต้องอีหม่านต่อสวรรค์  
6.ต่อนรก  
7.ต่อมีซานตราชั่งอะมัล  
8.และต้องมีอีหม่านต่อการฟื้นชีพหลังตาย  
9.และต้องอีหม่านต่อการลิขิตความดีและความชั่ว

สถานะหะดีษ  :  เศาะหิ๊หฺ  

ดูเศาะหิ๊หฺ อิบนุฮิบบาน  หะดีษที่  173  

ตรวจทานโดยเชคชุเอบ อัลอัรนะอูฏ


จะเห็นได้ว่าหะดีษนี้  ท่านอุมัรระบุว่า   อีหม่านมี  9   ข้อเท่านั้น  

ถามว่า  ท่านอุมัรและคนที่เชื่อถือตามหะดีษเหล่านี้ ก็ตกเป็นกาเฟรด้วยใช่ไหม  เพราะพวกเขามีอีหม่านเก้าข้อ  ?



หะดีษที่รายงานว่า  อีหม่านมี 12  ข้อ


อิบนุอับบาสรายงาน


قَالَ يَا رَسُولَ اللَّهِ فَحَدِّثْنِي مَا الْإِيمَانُ قَالَ الْإِيمَانُ أَنْ تُؤْمِنَ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الْآخِرِ وَالْمَلَائِكَةِ وَالْكِتَابِ وَالنَّبِيِّينَ وَتُؤْمِنَ بِالْمَوْتِ وَبِالْحَيَاةِ بَعْدَ الْمَوْتِ وَتُؤْمِنَ بِالْجَنَّةِ وَالنَّارِ وَالْحِسَابِ وَالْمِيزَانِ وَتُؤْمِنَ بِالْقَدَرِ كُلِّهِ خَيْرِهِ وَشَرِّهِ
تعليق شعيب الأرنؤوط : حديث حسن

الكتاب : مسند الإمام أحمد بن حنبل   المؤلف : أحمد بن حنبل أبو عبدالله الشيباني
الناشر : مؤسسة قرطبة – القاهرة  عدد الأجزاء : 6 الأحاديث مذيلة بأحكام شعيب الأرنؤوط عليها

ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ท่านญิบรีล (อะลัยฮิสลาม) กล่าวถามท่านรอซูลุลลอฮฺ (ศ) ว่า : จงบอกฉันว่าอีหม่านคืออะไร? ท่านนบี (ศ) ตอบว่า (รายละเอียดของ) อีหม่าน คือการที่ท่านต้องอีหม่าน

1.   ต่ออัลลอฮฺ
2.   ต่อวันอาคิเราะฮฺ
3.   ต่อมลาอิกะฮฺ
4.   ต่อบรรดาคัมภีร์และ
5.   ต่อบรรดานบีของอัลลอฮฺ
6.   อีหม่านต่อความตายและ
7.   ต่อชีวิตหลังความตายและ
8.   อีหม่านต่อสวรรค์
9.   และ(อีหม่าน)ต่อนรกและ
10.   ต่อการสอบสวนและ
11.   ต่อตราชั่งอาม้าลและ
12.   และต้องอีหม่านต่อการลิขิตความดีและความชั่ว

ท่านญิบรีล (อะลัยฮิสลาม) ถามว่า : หากฉันอีหม่านต่อสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด ฉันจะเป็นผู้ที่มีอีหม่านหรือไม่?
ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)ตอบว่า : เมื่อท่านอีหม่านต่อสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด ท่านก็เป็นผู้มีอีหม่านแล้ว

สถานะหะดีษ  :  หะสัน  

ดูมุสนัดอะหมัด  หะดีษที่ 2926

ตรวจทานโดยเชคชุเอบ อัลอัรนะอูฏี



จะเห็นได้ว่าหะดีษนี้  ท่านอิบนุอับบาสระบุว่า   อีหม่านมี  12   ข้อเท่านั้น  

ถามว่า  ท่านอิบนุอับบาสและคนที่เชื่อถือตามหะดีษเหล่านี้ ก็ตกเป็นกาเฟรด้วยใช่ไหม  เพราะพวกเขามีอีหม่าน12 ข้อ  ?



และสุดท้าย ท่านรอซูลเลาะฮ์กล่าวว่า   อีหม่านนั้นมี 60-70  สาขา


บุคอรี  หะดีษที่  9

عَنْ أَبِى هُرَيْرَةَ - رضى الله عنه - عَنِ النَّبِىِّ - صلى الله عليه وسلم - قَالَ « الإِيمَانُ بِضْعٌ وَسِتُّونَ شُعْبَةً ، وَالْحَيَاءُ شُعْبَةٌ مِنَ الإِيمَانِ »

อบูฮุรอยเราะฮ์เล่าว่า  : ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)กล่าวว่า อัลอีหม่านนั้นมี  60 กว่าสาขา

มุสลิม หะดีษที่  161,162
عَنْ أَبِى هُرَيْرَةَ عَنِ النَّبِىِّ -صلى الله عليه وسلم- قَالَ « الإِيمَانُ بِضْعٌ وَسَبْعُونَ شُعْبَةً وَالْحَيَاءُ شُعْبَةٌ مِنَ الإِيمَانِ ».

อบูฮุรอยเราะฮ์เล่าว่า  : ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)กล่าวว่า อัลอีหม่านนั้นมี  70 กว่าสาขา


عَنْ أَبِى هُرَيْرَةَ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- « الإِيمَانُ بِضْعٌ وَسَبْعُونَ أَوْ بِضْعٌ وَسِتُّونَ شُعْبَةً فَأَفْضَلُهَا قَوْلُ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللَّهُ وَأَدْنَاهَا إِمَاطَةُ الأَذَى عَنِ الطَّرِيقِ وَالْحَيَاءُ شُعْبَةٌ مِنَ الإِيمَانِ ».

อบูฮุรอยเราะฮ์เล่าว่า  : ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)กล่าวว่า อัลอีหม่านนั้นมี  70 กว่าหรือ 60 กว่าสาขา



คำถามสำหรับวาฮาบีคือ


1.   ไหนบอกว่า  อีหม่านของท่านมีแค่  6  แล้วทำไม่หะดีษเหล่านี้รายงานว่ามีถึง 60-70

2.   อีหม่าน 60-70   ที่ว่านี้มีอะไรบ้าง ช่วยระบุด้วย เอาที่เศาะหิ๊หฺเท่านั้น


สรุป –

ท่านคงประจักษ์ถึงความจริงแล้วสินะว่า    พวกโต๊ะครูวาฮาบีนั้นเป็นคนกำหนดตามใจตัวเองว่าอีหม่านมีแค่หก  ทั้งๆที่ความจริงท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ)ได้กล่าวว่า  อีหม่านนั้นมีมากมายเกินหกข้อ

ถามว่าเพราะอะไรพวกวาฮาบีจึงฮุก่มชีอะฮ์เช่นนั้น   คำตอบก็คือ  บุคคลเหล่านี้มีความตะอัซซุบและมีทัศนะคติในเชิงลบต่อผู้อื่น  อีกทั้งยังมีจิตใจคับแคบ  ไม่ยอมเปิดใจกว้างที่จะให้เกียรติกับมุสลิมในมัซฮับอื่นๆนั่นเอง.      
  •  

L-umar



เรื่องผู้นำ    


นับเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้มุสลิม  แตกออกเป็นมัซฮับต่างๆในโลกอิสลามหลังจากท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ)วะฟาต  

จุดยืนของมัซฮับชีอะฮ์ในเรื่องนี้คือ



1.   ชีอะฮ์เชื่อว่า   เรื่องผู้นำ เป็นเรื่อง  อุศูล ( เรื่องหลัก )

2.   ซุนนี่เชื่อว่า    เรื่องผู้นำ เป็นเรื่อง  ฟุรู๊อฺ  ( เรื่องปลีกย่อย )

3.   ชีอะฮ์เชื่อว่า   ท่านอะลีคือ  อิหม่ามคนที่หนึ่งสืบต่อจากท่านรอซูลฯ


4.   ซุนนีเชื่อ   ท่านอบูบักรคือ  คอลีฟะฮ์ที่รับช่วงต่อจากท่านรอซูล โดยบรรดาเศาะหาบะฮ์ได้เลือกเขาขึ้นมาดำรงตำแหน่งนี้



ทำไมชีอะฮ์จึงเชื่อว่า  ท่านอะลี คือ   ผู้นำคนที่หนึ่งที่สืบต่อจากท่านรอซูล ?



ตอบ        ด้วยหลักฐานจากตำราตัฟสีรและหะดีษชีอะฮ์ดังต่อไปนี้


อะฮ์ลุลบัยต์รายงาน



عَنْ أَبِي بَصِيرٍ قَالَ سَأَلْتُ أَبَا عَبْدِ اللَّه‏ (ع) عَنْ قَوْلِ اللَّهِ عَزَّ وَ جَلَّ {أَطِيعُوا اللَّهَ وَ أَطِيعُوا الرَّسُولَ وَ أُولِي الْأَمْرِ مِنْكُمْ } (النساء -: 59 -) فَقَالَ نَزَلَتْ فِي عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ وَ الْحَسَنِ وَ الْحُسَيْنِ ع فَقُلْتُ لَهُ إِنَّ النَّاسَ يَقُولُونَ فَمَا لَهُ لَمْ يُسَمِّ عَلِيّاً وَ أَهْلَ بَيْتِهِ ع فِي كِتَابِ اللَّهِ عَزَّ وَ جَلَّ قَالَ فَقَالَ قُولُوا لَهُمْ إِنَّ رَسُولَ اللَّهِ ص نَزَلَتْ عَلَيْهِ الصَّلَاةُ وَ لَمْ يُسَمِّ اللَّهُ لَهُمْ ثَلَاثاً وَ لَا أَرْبَعاً حَتَّى كَانَ رَسُولُ اللَّهِ ص هُوَ الَّذِي فَسَّرَ ذَلِكَ لَهُمْ وَ نَزَلَتْ عَلَيْهِ الزَّكَاةُ وَ لَمْ يُسَمِّ لَهُمْ مِنْ كُلِّ أَرْبَعِينَ دِرْهَماً دِرْهَمٌ حَتَّى كَانَ رَسُولُ اللَّهِ ص هُوَ الَّذِي فَسَّرَ ذَلِكَ لَهُمْ وَ نَزَلَ الْحَجُّ فَلَمْ يَقُلْ لَهُمْ طُوفُوا أُسْبُوعاً حَتَّى كَانَ رَسُولُ اللَّهِ ص هُوَ الَّذِي فَسَّرَ ذَلِكَ لَهُمْ وَ نَزَلَتْ {أَطِيعُوا اللَّهَ وَ أَطِيعُوا الرَّسُولَ وَ أُولِي الْأَمْرِ مِنْكُمْ} (النساء -: 59 -) وَ نَزَلَتْ فِي عَلِيٍّ وَ الْحَسَنِ وَ الْحُسَيْنِ فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ ص فِي عَلِيٍّ مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ
كتاب : الكافي للشيخ الكليني ج : 1  ص :  287  ح : 1
بَابُ مَا نَصَّ اللَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ وَ رَسُولُهُ عَلَى الْأَئِمَّةِ ع وَاحِداً فَوَاحِدا
تحقيق : مركز البحوث الكومبيوترية للعلوم الإسلامية قم ايران


อบูบะศีรเล่าว่า :

ฉันได้ถามท่านอิม่ามอบูอับดุลลอฮ์ ญะอ์ฟัรอัศศอดิก(อ)ถึงดำรัสของอัลลอฮ์ อัซซะวะญัลที่ตรัสว่า :

أَطِيعُوا اللَّهَ وَ أَطِيعُوا الرَّسُولَ وَ أُولِي الْأَمْرِ مِنْكُمْ

สูเจ้าจงเชื่อฟังอัลลอฮฺและสูเจ้าจงเชื่อฟังรอซูลและผู้ปกครองในหมู่สูเจ้า

บทที่ 4 : 59  

ท่านอิม่ามศอดิกกล่าวว่า :  

โองการนี้ได้ประทานลงมาแก่ท่านอะลี, ฮาซัน และฮูเซน  

ฉันกล่าวกับท่านว่า  : แท้จริงประชาชนกล่าวว่า :

ทำไมไม่เห็นมีชื่อท่านอะลีและอะฮ์ลุลบัยต์ของเขากล่าวในคัมภีร์ของอัลลอฮ์เลย  
อบูบะศีรเล่าว่า  :  ท่านอิม่ามศอดิกกล่าวว่า  :

พวกท่านจงกล่าวกับพวกเขาเถิดว่า แท้จริงท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) มีโองการเรื่องนมาซประทานลงมายังท่าน ก็ไม่เห็นอัลลอฮฺตรัสว่ามีสามหรือสี่(เราะกะอะฮ์)เลย จนท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)คือผู้ที่อธิบายสิ่งนั้นแก่พวกเขา

มีโองการเรื่องการจ่ายทานซะกาตประทานลงมายังท่าน
ก็ไม่เห็นพระองค์ตรัสเลยว่า(ผู้ใดมีเงิน)ทุกสี่สิบดิรฮัม(ต้องจ่ายซะกาต)หนึ่งดิรฮัม จนท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)คือผู้ที่อธิบายสิ่งนั้นแก่พวกเขา    

มีโองการเรื่องการทำฮัจญ์ประทานลงมา
พระองค์ก็ไม่ได้ตรัสกับพวกเขาว่า สูเจ้าจงเดินเฏาะว๊าฟเจ็ดรอบ จนท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)คือผู้ที่อธิบายสิ่งนั้นแก่พวกเขา

และมีโองการ

أَطِيعُوا اللَّهَ وَ أَطِيعُوا الرَّسُولَ وَ أُولِي الْأَمْرِ مِنْكُمْ

สูเจ้าจงเชื่อฟังอัลลอฮฺและสูเจ้าจงเชื่อฟังรอซูลและผู้ปกครองในหมู่สูเจ้า

ประทานลงมา ซึ่งโองการนี้ได้ประทานลงมาแก่ท่านอะลี,ฮาซันและฮูเซน  

ดังนั้นท่านรอซูลุลลอฮ์ (ศ) จึงได้กล่าวเกี่ยวกับท่านอะลีว่า :

مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ

ผู้ใดก็ตามที่ฉันเป็นผู้ปกครองของเขา ดังนั้นอะลีก็คือผู้ปกครองของเขา  

สถานะหะดีษ : เศาะหิ๊หฺ  

ดูอัลกาฟี   โดยเชคกุลัยนี เล่ม 1 : 287  หะดีษที่ 1

ตรวจทานโดยมัรกะซุล บุฮูซ คอมพิวเตอร์ ลิลอุลูมิลอิสลามียะฮ์ เมืองกุม อิหร่าน



ด้วยหลักฐานดังกล่าว  ชีอะฮ์จึงยึดที่จะปฏิบัติตามท่านอะลี   ตามที่กล่าวรายงานไว้ ซึ่งหลักฐานในทำนองนี้ยังมีอีกมากมาย


ถาม
หลักฐานในทำนองนี้มีกล่าวไว้ในตำราอะฮ์ลุสสุนนะฮ์  หรือไม่  ?


 
ตอบ -  แน่นอนมีรายงานไว้เช่นกัน เพียงแต่มีการตีความคำว่า  " เมาลา "   ไม่เหมือนกัน


อะฮ์ลุสซุนนะฮ์รายงาน



عَنْ أَبِي الطُّفَيْلِ(عَامِرِ بْنِ وَاثِلَةَ) رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ :
لَمَّا دَفَعَ النَّبِيُّ صَلَّي اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّم مِنْ حَجَّةِ الْوِدَاعِ وَنَزَلَ غَدِيْرَ خُمٍّ أَمَرَ بِدَوْحَاتٍ فَقُمِمْنَ ثُمَّ قَالَ : كَأَنِّيْ دُعِيْتُ فَأَجِبْتُ وَإِنِّيْ تَارِكٌ فِيْكُمُ الثَّقَلَيْنِ أَحَدَهُمَا أَكْبَرُ مِنَ الْآخَرِ : كِتَابُ اللهِ وَعِتْرَتِيْ أَهْلُ بَيْتِيْ فَانْظُرُوْا كَيْفَ تُخْلِفُوْنِيْ فِيْهِمَا  فَإِنَّهُمَا لَنْ يَتَفَرَقَا حَتَّي يَرِدَا عَلَيَّ الْحَوْضَ     ثُمَّ قَالَ : إِنَّ اللهَ مَوْلاَيَ وَأَنَا وَلِيُّ كُلِّ مُؤْمِنٍ  ثُمَّ إِنَّهُ أَخَذَ بِيَدِ عَلِيٍّ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ فَقَالَ : مَنْ كُنْتُ وَلِيَّهُ فَهَذَا وَلِيَّهُ  اللّهُمَّ وَالِ مَنْ وَالاَهُ وَعَادِ مَنْ عَادَاهُ
مسند أحمد بن حنبل بتعليق شعيب الأرنؤوط ج 5 ص 419 ح : 23609
المستدرك الحاكم بتعليق الذهبي ج 3 ص 118 ح : 4576
المعجم الكبير للطبراني ج 5 ص 166 ح : 4969
سِلْسِلَةُ الْأَحَادِيْثِ الصَّحِيْحَةِ  ج : 4 ص: 330  ح : 1750  
مُحَمَّد نَاصِرُ الدِّيْنِ الأَلْبَانِيّ نَوْعُ الْحَدِيْثِ : صَحِيْح

อบู ตุเฟล ( อามิร บินวาษิละฮ์ ) รายงาน  :  

เมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กลับจากการทำฮัจญ์ครั้งสุดท้าย ท่านได้แวะพักที่เฆาะดีรคุม ท่านสั่งให้(พักบริเวณ)ต้นไม้ใหญ่ แล้วสั่งให้กวาด(ลาน)  

แล้วท่านได้ปราศัยว่า :

ดูเหมือนว่าฉันถูกเรียก(กลับแล้ว) และฉันได้ตอบรับแล้ว แท้จริงฉันได้มอบไว้แก่พวกท่านสิ่งหนักสองสิ่ง สิ่งแรกใหญ่กว่าอีกสิ่งหนึ่งคือคัมภีร์ของอัลลอฮ์ และอิตเราะตี คืออะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน  ดังนั้นพวกท่านจงดูเถิดว่า พวกท่านจะขัดแย้งกับฉันในสองสิ่งนี้อย่างไร เพราะแท้จริงสองสิ่งนี้จะไม่แยกจากกัน จนกว่าทั้งสองจะกลับมาหาฉันที่อัลเฮาฎ์(สระเกาษัร)  จากนั้นท่านรอซูล(ศ)ได้กล่าวว่า :  

แท้จริงอัลลอฮ์ทรงเป็นผู้คุ้มครองของฉัน  และฉันเป็นผู้ปกครองของผู้ศรัทธาทุกคน  
แล้วท่านนบีได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้นเหนือศรีษะ) แล้วกล่าวว่า :  

บุคคลใดก็ตามที่ฉันเป็นผู้ปกครองของเขา ดังนั้นอะลีก็เป็นผู้ปกครองของเขา    
โอ้อัลลอฮ์โปรดรักผู้ที่เป็นมิตรต่อเขา และโปรดชิงชังผู้ที่เป็นศัตรูต่อเขา  

สถานะหะดีษ : เศาะหิ๊หฺ  

ดูซิลซิละตุลอะฮาดีษิซ-ซอฮีฮะฮ์ เล่ม 4 ฮะดีษที่ 1750  

ตรวจทานโดยเชคมุฮัมมัด นาศิรุดดีน อัลบานี

หะดีษบทนี้ยังเป็น " หะดีษ มุตะวาติร " อีกด้วยเพราะเศาะหาบะฮ์ได้รายงานไว้มากมายหลายคน ตามที่เชคอัลบานีได้กล่าวไว้ในหนังสือซิลซิละตุลอะฮาดีษิซ-ซอฮีฮะฮ์ เล่ม 4 ฮะดีษที่ 1750  


عَنْ رِيَاحِ بْنِ الْحَارِثِ قَالَ :  جَاءَ رَهْطٌ إِلَى عَلِيٍّ بالرَّحْبَةِ فَقَالُوا السَّلَامُ عَلَيْكَ يَا مَوْلَانَا قَالَ كَيْفَ أَكُونُ مَوْلَاكُمْ وَأَنْتُمْ قَوْمٌ عَرَبٌ قَالُوا سَمِعْنَا رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَوْمَ غَدِيرِ خُمٍّ يَقُولُ مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَإِنَّ هَذَا مَوْلَاهُ قَالَ رِيَاحٌ فَلَمَّا مَضَوْا تَبِعْتُهُمْ فَسَأَلْتُ مَنْ هَؤُلَاءِ قَالُوا نَفَرٌ مِنْ الْأَنْصَارِ فِيهِمْ أَبُو أَيُّوبَ الْأَنْصَارِيُّ
تعليق شعيب الأرنؤوط : إسناده صحيح
الكتاب : مسند الإمام أحمد بن حنبل الناشر : مؤسسة قرطبة – القاهرة  عدد الأجزاء : 6
الأحاديث مذيلة بأحكام شعيب الأرنؤوط عليها

ริยาห์ บินอัลฮาริษรายงาน :

มีคนกลุ่มหนึ่งได้มาหาท่านอะลี เพื่อแสดงความยินดี(ในวันที่ท่านเข้ารับตำแหน่งคอลีฟะฮ์)  

พวกเขากล่าวว่า  :

อัสสะลามุ อะลัยกะ ยาเมาลานา – ขอสันติจงมีแด่ท่าน โอ้ผู้เป็นนายของพวกเรา

ท่าน(อะลี)กล่าวว่า :
 
ข้าพเจ้าจะเป็นนายของพวกท่านได้อย่างไร  ? ในเมื่อพวกท่านเป็นชนชาติอาหรับ(คือพวกท่านเป็นอิสระชนไม่ได้เป็นทาสของใคร)

พวกเขากล่าวว่า :
 
พวกเราได้ยินท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวในวันเฆาะดีรคุมว่า  

مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَإِنَّ هَذَا مَوْلَاهُ

บุคคลใดก็ตามที่ฉันเป็นนายของเขา  ดังนั้นชายคนนี้(คืออะลี)ก็เป็นนายของเขา

ริยาห์เล่าว่า :  
เมื่อคนกลุ่มนั้นกลับไป ฉันได้ติดตามพวกเขาไป แล้วฉันถามว่า บุคคลเหล่านี้เป็นใคร

พวกเขาตอบว่า :
พวกเขาเป็นชาวอันศ็อร ในนั้นมีท่านอบูอัยยูบ อัลอันศอรีอยู่ด้วย

สถานะหะดีษ :  เศาะหิ๊หฺ    
ดูมุสนัดอิหม่ามอะหมัด   หะดีษที่ 23609    

ฉบับตรวจทานโดยเชคชุเอบ อัลอัรนะอูฏ


حَدَّثَنَا عَفَّانُ حَدَّثَنَا حَمَّادُ بْنُ سَلَمَةَ أَخْبَرَنَا عَلِيُّ بْنُ زَيْدٍ عَنْ عَدِيِّ بْنِ ثَابِتٍ عَنِ الْبَرَاءِ بْنِ عَازِبٍ قَالَ :   كُنَّا مَعَ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فِي سَفَرٍ فَنَزَلْنَا بِغَدِيرِ خُمٍّ فَنُودِيَ فِينَا الصَّلَاةُ جَامِعَةٌ وَكُسِحَ لِرَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ تَحْتَ شَجَرَتَيْنِ فَصَلَّى الظُّهْرَ وَأَخَذَ بِيَدِ عَلِيٍّ رَضِيَ اللَّهُ تَعَالَى عَنْهُ فَقَالَ أَلَسْتُمْ تَعْلَمُونَ أَنِّي أَوْلَى بِالْمُؤْمِنِينَ مِنْ أَنْفُسِهِمْ قَالُوا بَلَى قَالَ أَلَسْتُمْ تَعْلَمُونَ أَنِّي أَوْلَى بِكُلِّ مُؤْمِنٍ مِنْ نَفْسِهِ قَالُوا بَلَى قَالَ فَأَخَذَ بِيَدِ عَلِيٍّ فَقَالَ مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ اللَّهُمَّ وَالِ مَنْ وَالَاهُ وَعَادِ مَنْ عَادَاهُ
قَالَ فَلَقِيَهُ عُمَرُ بَعْدَ ذَلِكَ فَقَالَ هَنِيئًا يَا ابْنَ أَبِي طَالِبٍ أَصْبَحْتَ وَأَمْسَيْتَ مَوْلَى كُلِّ مُؤْمِنٍ وَمُؤْمِنَةٍ

อัลบัรรออ์ บินอาซิบรายงานว่า :

พวกเราอยู่กับท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ในการเดินทาง แล้วเราได้แวะพักลงที่เฆาะดีรคุม ดังนั้นมีเสียงประกาศในหมู่พวกเราให้นมาซญะมาอะฮ์ ถูกกวาดให้ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ใต้ต้นไม้สองต้น แล้วท่านได้นมาซซุฮ์ริ

และท่านได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้น) ท่านกล่าวว่า :

พวกท่านไม่รู้ดอกหรือว่า แท้จริงข้าพเจ้ามีสิทธิต่อบรรดาผู้ศรัทธามากยิ่งกว่าตัวของพวกเขาเอง  

พวกเขากล่าวว่า  :  หามิได้ ใช่แล้วครับ

ท่านรอซูลกล่าว(อีกครั้งหนึ่ง)ว่า :

พวกท่านไม่รู้ดอกหรือว่า แท้จริงข้าพเจ้ามีสิทธิต่อผู้ศรัทธาทุกคนมากยิ่งกว่าตัวของเขาเอง  พวกเขากล่าวว่า หามิได้ ใช่แล้วครับ

อัลบัรรออ์เล่าว่า :

แล้วท่านได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้นเหนือศรีษะ) แล้วกล่าวว่า :  

مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ اللَّهُمَّ وَالِ مَنْ وَالَاهُ وَعَادِ مَنْ عَادَاهُ

บุคคลใดก็ตามที่ฉันเป็นผู้ปกครองของเขา  ดังนั้นอะลีก็เป็นผู้ปกครองของเขา    โอ้อัลลอฮ์โปรดรักผู้ที่เป็นมิตรต่อเขา และโปรดชิงชังผู้ที่เป็นศัตรูต่อเขา

อัลบัรรออ์เล่าว่า :

ท่านอุมัรได้เข้าไปพบท่านอะลี หลังจากนั้น แล้วกล่าวว่า :  

ขอแสดงความยินดีด้วย โอ้บุตรของอบูตอลิบ ท่านได้กลายเป็นนายของผู้ศรัทธาทั้งชายและหญิงทุกคนแล้วทั้งยามเช้ายามเย็น

สถานะฮะดีษ : มุตะวาติร  ดูมุสนัดอิม่ามอะหมัด ฮะดีษที่ 17749  

قال الألباني : رجاله ثقات رجال مسلم غير علي بن يزيد و هو ابن جدعان ، و هو ضعيف .
الكتاب : السلسلة الصحيحة  ج 4 ص 249  المؤلف : محمد ناصر الدين الألباني
مصدر الكتاب : برنامج منظومة التحقيقات الحديثية - المجاني - من إنتاج مركز نور الإسلام لأبحاث القرآن والسنة بالإسكندرية

อัลบานีกล่าวว่า :

บรรดานักรายงานฮะดีษบทนี้ เชื่อถือได้ เป็นนักรายงานของมุสลิม ยกเว้นอะลี บินยะซีด เขาคืออิบนุ ญัดอาน ซึ่งเขาดออีฟ  

อ้างอิงจากหนังสือซิลซิละตุลอะฮาดีษิซ-ซอฮีฮะฮ์ เล่ม 4 : 249  ฮะดีษที่ 1750  โดยเชคมุฮัมมัด นาศิรุดดีน อัลบานี  




ความหมาย  : เมาลา - مَوْلَى

คำเมาลา  มาจากอาการนามสองคำคือ วะลายะฮ์(وَلاَيَةٌ)และวิลายะฮ์(وِلاَيَةٌ)

1,   أَنْتَ وَلِيُّنَا فَاغْفِرْ لَنَا وَارْحَمْنَا وَأَنْتَ خَيْرُ الْغَافِرِينَ
พระองค์ทรงเป็น(วะลี)ผู้ปกครองเรา  ( อัลอะอ์รอฟ : 155 )

2,   ذَلِكَ بِأَنَّ اللَّهَ مَوْلَى الَّذِينَ آَمَنُوا وَأَنَّ الْكَافِرِينَ لَا مَوْلَى لَهُمْ
ทั้งนี้เนื่องจากว่าอัลลอฮ์ทรงเป็น(เมาลา)ผู้คุ้มครองบรรดาผู้ศรัทธา  ( มุฮัมมัด : 11 )


วะลายะฮ์

หมายถึง ความรัก(مَحَبَّةٌ)กล่าวคือ ซอฮาบะฮ์และมุสลิมจะต้องรักอะฮ์ลุลบัยต์นบีเหมือนที่พวกเขารักท่านรอซูลุลลอฮ์ ความรักในที่นี้คือการเชื่อฟังปฏิบัติตามอะฮ์ลุลบัยต์ไม่ใช่เชื่อฟังบุคคลอื่น


วิลายะฮ์

หมายถึง ผู้นำ(อิม่าม)หรือผู้ปกครอง(ฮากิม)จะสมบูรณ์แบบได้ด้วยการมอบสัตยาบันต่อนายของเขา กล่าวคือจนกว่าท่านอะลีจะได้เป็นผู้ปกครองอย่างสมบูรณ์แบบหลังจากท่านรอซูลุลลอฮ์วะฟาต
ทั้งคำวะลีและเมาลาไม่ว่าจะแปลว่าคนรัก ผู้นำ หรือผู้ปกครองก็ตาม  ท่านอะลียังรอคอยประชาชาติอิสลามหันกลับมายอมรับปฏิบัติแนวทางของท่าน แล้วความหมายนั้นจึงจะสมบูรณ์
อาจมีมุสลิมบางคนกล่าวว่า  เราก็มีความรักต่อท่านอะลี ?  แน่นอนคำพูดนี้คือสัจธรรม แต่แฝงไว้ด้วยความบาเต้ล  
เพราะเขาบอกว่ารักท่านอะลี แต่กลับไม่ทำตามแนวทางของท่านอะลี   หากความรักเป็นได้เพียงแค่คำพูดแล้วมันจะมีประโยชน์อันใดเล่า  ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าท่านรอซูลุลลอฮ์ได้วางหนทางที่เที่ยงตรงไว้เพื่อป้องกันไม่ให้มุสลิมหลงออกจากทางที่เที่ยงตรง ดังนั้นมุสลิมควรปฏิบัติตามอัลกุรอานและอะลีหัวหน้าของอะฮ์ลุลบัยต์นบี   ดังที่มีหะดีษรายงานว่า


عَنْ أُمِّ سَلَمَةَ ، قَالَتْ : سَمِعْتُ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ، يَقُولُ : عَلِيٌّ مَعَ الْقُرْآنِ ، وَالْقُرْآنُ مَعَ عَلِيٍّ لا يَفْتَرِقَانِ حَتَّى يَرِدَا عَلَى الْحَوْضِ

 هذا حديث صحيح الإسناد و أبو سعيد التيمي هو عقيصاء ثقة مأمون و لم يخرجاه
تعليق الذهبي قي التلخيص : صحيح


ท่านหญิงอุมมุสะละมะฮ์เล่าว่า :    ฉันได้ยินท่านนบี(ศ)กล่าวว่า :

อะลีอยู่กับคัมภีร์อัลกุรอ่าน   และคัมภีร์อัลกุรอ่านอยู่กับอะลี    ทั้งสองจะไม่แยกจากกันจนกว่าจะกลับมายังฉันที่อัลเฮาฎ์(สระเกาษัร)

อัลฮากิมกล่าวว่า   หะดีษนี้  มีอิสนาด  เศาะหิ๊หฺ   และอบูสะอีด อัตตัยมี คืออุกอยศออ์  เขาเชื่อถือได้ในการรายงาน  ได้รับการรับรอง และทั้งสอง(คือบุคอรีและมุสลิม)มิได้นำมันออกรายงาน
อัซ-ซะฮะบีกล่าวในหนังสือ อัต ตัลคีซว่า  เศาะหิ๊หฺ

อ้างอิงจากหนังสืออัลมุสตัสร็อก  อะลัซ – เศาะฮีฮัยนิ   หะดีษที่  4628
ฉบับตรวจทานโดยอัซ-ซะฮะบี


สรุป  -

อะฮ์ลุสสุนนะฮ์จะมาตำหนิติเตียนชีอะฮ์ไม่ได้ที่พวกเขายึดท่านอะลี เป็นผู้นำคนแรก  เพราะพวกเขามีหะดีษรายงานกำกับไว้อย่างถูกต้องในเรื่องนี้



คำถามชวนคิดก็คือ

1.   อยากให้ฝ่ายอะฮ์ลุสสุนนะฮ์แสดงหลักฐานการขึ้นดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ์ของท่านอบูบักร

2.   ในเมื่ออะฮ์ลุสสุนนะฮ์เชื่อว่า  เรื่อง ผู้นำ เป็นเรื่อง  ฟุรู๊อฺ   แล้วทำไมเมื่อชีอะฮ์  ไม่ยอมรับ  ท่านอบูบักรเป็น คอลีฟะฮ์  จึงเป็นความผิด  


 
  •  

L-umar



ความศรัทธาในเรื่อง   ผู้นำ  12



ความสำคัญของอิหม่ามผู้นำในทัศนะอิสลาม


ชีอะฮ์รายงาน

ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า :

قَالَ رَسُولُ اللَّهِ (ص) : مَنْ مَاتَ وَ لَيْسَ عَلَيْهِ إِمَامٌ فَمِيتَتُهُ مِيتَةُ جَاهِلِيَّةٍ ‏

ผู้ใดตายโดยที่เขาไม่ได้รู้จักอิหม่ามในยุคของเขา  ผู้นั้นตายในสภาพญาฮิลียะฮ์(หลงทาง)  

สถานะหะดีษ :  เศาะหิ๊หฺ

ดูอัลกาฟี โดยเชคกุลัยนี เล่ม 1 : 376 หะดีษที่ 1

ตรวจทานโดยมัรกะซุล บุฮูซ คอมพิวเตอร์ ลิลอุลูมิลอิสลามียะฮ์ เมืองกุม อิหร่าน


อะฮ์ลุสซุนนะฮ์รายงาน

مَنْ مَاتَ وَلَيْسَ فِى عُنُقِهِ بَيْعَةٌ مَاتَ مِيتَةً جَاهِلِيَّةً

ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า :

ผู้ใดตายและเขาไม่ได้ให้สัตยาบันไว้กับผู้นำของเขา ผู้นั้นตายในสภาพญาฮิลียะฮ์ (หลงทาง)    

เศาะหิ๊หฺมุสลิม   หะดีษที่ 4899
 

ท่านรอซูล(ศ)กล่าวว่า :

مَنْ مَاتَ بِغَيْرِ إِمَامٍ مَاتَ مِيتَةً جَاهِلِيَّةً

ผู้ใดตายโดยที่เขาไม่มีอิหม่าม(ในยุคของเขา)  ผู้นั้นตายในสภาพญาฮิลียะฮ์(หลงทาง)  

สถานะหะดีษ : เศาะหิ๊หฺ  

ดูมุสนัดอิม่ามอะหมัด ฮะดีษที่ 16922

ตรวจทานโดยเชคชุเอบ อัลอัรนะอูฏ


เพราะฉะนั้นมุสลิมคงปฏิเสธความสำคัญของอิหม่ามผู้นำไม่ได้  เว้นแต่ผู้ที่ไม่ให้ความสนใจในหลักการอิสลามอย่างแท้จริงเท่านั้น

มัซฮับชีอะฮ์  เชื่อว่า   อิหม่ามผู้นำของพวกเขานับจากวันที่ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)อำลาจากไป  ตราบจนถึงวันสิ้นโลกนั้น  มีเพียงสิบสองคนเท่านั้นคือ


1, อิหม่าม  อะลี บินอบีตอลิบ

2, อิหม่าม ฮาซัน  บินอะลี

3, อิหม่าม ฮูเซน  บินอะลี

4, อิหม่าม อะลี  ซัยนุลอาบิดีน  บินฮูเซน

5, อิหม่าม มุฮัมมัด  อัลบาเก็ร  บินอะลี

6, อิหม่าม ญะอ์ฟัร อัศศอดิก บินมุฮัมมัด

7, อิหม่าม มูซา อัลกาซิม บินะอ์ฟัร

8, อิหม่าม อะลี อัลริฎอ บินมูซา

9, อิหม่าม มุฮัมมัด อัลญะวาด บินอะลี

10, อิหม่าม อะลี อัลฮาดี บินมุฮัมมัด

11, อิหม่าม ฮาซัน อัลอัสการี บินอะลี

12, อิหม่าม มุฮัมมัด อัลมะฮ์ดี  บินฮาซัน อัลอัสการี





หะดีษที่รายงานสิบสองผู้นำ มีดังนี้


อะฮ์ลุลบัยต์รายงาน

رَوَي أَبُوْ جَعْفَرٍ مُحَمَّدُ بْنُ عَلِيِّ بْنِ الْحُسَيْنِ بْنِ بَابَوَيْهِ الْقُمِّيّ 305-381هـ. هو الشَّيْخُ الصَّدُوْق  :
حَدَّثَنَا ْ أَحْمَدُ بْنُ زِيَادِ بْنِ جَعْفَرٍ الْهَمَذَانِي‏ قَالَ : حَدَّثَنَا عَلِىُّ بْنُ اِبْرَاهِيْمَ بْنِ هَاشِمٍ عَنْ أَبِيْهِ عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ أَبِي عُمَيْر عَنْ غِيَاثِ بْنِ إِبْرَاهِيْمَ عَنِ الصَّادِقِ جَعْفَرِ بْنِ مُحَمَّدٍ عَنْ أَبِيْهِ مُحَمَّدِ بْنِ عَلِىٍ عَنْ أَبِيْهِ عَلِىِّ بْنِ الْحُسَيْنِ عَنْ أَبِيْهِ الْحُسَيْنِ بْنِ عَلِىٍّ عَلَيْهِ السَّلاَمِ قَالَ: سُئِلَ أَمِيْرُ الْمُؤْمِنِيْنَ عَلَيْهِ السَّلاَمِ عَنْ مَعْنَى قَوْلِ رَسُوْلِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَآلِهِ إِنِّىْ مُخَلِّفٌ فِيْكُمُ الثَّقَلَيْنِ كِتَابُ اللهِ وَعِتْرَتِيْ مَنِ الْعِتْرَةُ ؟ فَقَالَ : أَنَا وَالْحَسَنُ وَالْحُسَيْنُ وَالْأَئِمَّةُ التِّسْعَةُ مِنْ وُلْدِ الْحُسَيْنِ تَاسِعُهُمْ مَهْدِيُّهُمْ وَقَائِمُهُمْ لاَ يُفَارِقُوْنَ كِتَابَ اللهِ وَلاَ يُفَارِقُهُمْ حَتَّى يَرِدوا عَلَى رَسُوْلِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَآلِهِ حَوْضَـهُ.
عيون أخبار الرضا (ع) للشيخ الصدوق  ج 2  ص 58 حديث : 25
باب النصوص على الرضا(ع) بالإمامة في جملةالأئمة الإثنى عشر(ع)

เชคศอดูกรายงาน :
 
อะหมัด บินซิยาด บินญะอ์ฟัร อัลฮะมะดานี(รฎ.)เล่าให้เราฟัง จากอะลี บินอิบรอฮีม บินฮาชิมจากบิดาเขา จากมุฮัมมัด บินอบีอุมัยรฺ จากฆิยาษ บินอิบรอฮีม(เล่าว่า ) :  จากอัศ-ศอดิก ญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด จากบิดาเขาคือมุฮัมมัด บินอะลี จากบิดาเขาคืออะลี บินฮูเซน จากบิดาเขาคือฮูเซน บินอะลีเล่าว่า :  

ท่านอมีรุลมุอ์มินีน (อิม่ามอะลี) ถูกถามถึงความหมายวจนะของท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ็อลฯ)ที่กล่าวว่า :  

แท้จริงข้าพเจ้าได้มอบสิ่งหนักสองสิ่งไว้ในหมู่พวกท่าน  สิ่งแรกคือคัมภีร์ของอัลลอฮ์และอิตเราะฮ์ของข้าพเจ้า, (ว่า)ใครคืออิตเราะฮ์ ?

ท่านอิม่ามอะลีตอบว่า :
คือ  ฉัน, ฮาซัน, ฮูเซน และบรรดาอิม่ามผู้นำอีก 9 คน  ที่สืบเชื้อสายจากลูกหลานของฮูเซน  คนที่ 9 คือมะฮ์ดีและคือกออิมของพวกเขา  

พวกเขาจะไม่แยกจากคัมภีร์ของอัลลอฮ์ และคัมภีร์ของอัลลอฮฺจะไม่แยกจากพวกเขา จนทั้งสองจะกลับคืนมายังท่านรอซูลุลลอฮ์ที่สระอัลเฮาฎ์ของท่าน.

สถานะหะดีษ  :  เศาะหิ๊หฺ  

ดูหนังสืออุยูนุล อัคบาร อัลริฎอ   โดยเชคศอดูก เล่ม 1 : 57  หะดีษที่  25


رَوَى مُحَمَّدُ بْنُ أَبِي عَبْدِ اللَّهِ الْكُوفِيُّ عَنْ مُوسَى بْنِ عِمْرَانَ النَّخَعِيِّ عَنْ عَمِّهِ الْحُسَيْنِ بْنِ يَزِيدَ عَنِ الْحَسَنِ بْنِ عَلِيِّ بْنِ أَبِي حَمْزَةَ عَنْ أَبِيهِ عَنْ يَحْيَى بْنِ أَبِي الْقَاسِمِ عَنِ الصَّادِقِ جَعْفَرِ بْنِ مُحَمَّدٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ جَدِّهِ ع قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ ص الْأَئِمَّةُ بَعْدِي اثْنَا عَشَرَ أَوَّلُهُمْ عَلِيُّ بْنُ أَبِي طَالِبٍ وَ آخِرُهُمُ الْقَائِمُ فَهُمْ خُلَفَائِي وَ أَوْصِيَائِي وَ أَوْلِيَائِي وَ حُجَجُ اللَّهِ عَلَى أُمَّتِي بَعْدِي...
من‏لايحضره‏الفقيه للصدوق ابن بابويه ج : 4  ص :  180 ح : 5406


ท่านอิม่ามญะอ์ฟัรรายงานจากบิดาเขาจากปู่เขาเล่าว่า :  

ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) กล่าวว่า  :

อิม่ามภายหลังจากฉันนั้นมี 12 คน คนแรกของพวกเขาคือ
อะลี บินอบีตอลิบ  และคนสุดท้ายของพวกเขาคือ
อัลกออิม    พวกเขาคือคอลีฟะฮ์ของฉัน คือวะซีของฉัน คือวะลีของฉันและคือหลักฐานของอัลลอฮ์บนอุมมะฮ์ของฉัน ภายหลังจากฉัน...

สถานะหะดีษ : มุตะวาติร  

ดูมันลา ยะหฺฎุรฮุล ฟะกีฮฺ โดยเชคศอดูก  หะดีษที่ 5460


34930- عَلِيُّ بْنُ مُحَمَّدٍ الْخَزَّازُ فِي الْكِفَايَةِ عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ عَلِيِّ بْنِ الْحُسَيْنِ بْنِ بَابَوَيْهِ عَنْ عَلِيِّ بْنِ أَحْمَدَ بْنِ عِمْرَانَ عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ أَبِي عَبْدِ اللَّهِ عَنْ مُوسَى بْنِ عِمْرَانَ عَنِ الْحُسَيْنِ بْنِ يَزِيدَ عَنِ الْحَسَنِ بْنِ عَلِيِّ بْنِ أَبِي حَمْزَةَ عَنْ أَبِيهِ عَنْ يَحْيَى بْنِ الْقَاسِمِ عَنْ جَعْفَرِ بْنِ مُحَمَّدٍ عَنْ آبَائِهِ عَنِ النَّبِيِّ ص قَالَ الْأَئِمَّةُ بَعْدِي اثْنَا عَشَرَ أَوَّلُهُمْ عَلِيُّ بْنُ أَبِي طَالِبٍ وَ آخِرُهُمُ الْقَائِمُ
 وَ رَوَاهُ الصَّدُوقُ بِإِسْنَادِهِ عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ أَبِي عَبْدِ اللَّهِ الْكُوفِيِّ وَ رَوَاهُ فِي عُيُونِ الْأَخْبَارِ مِثْلَهُ
وسائل‏الشيعة ج : 28  ص :  347

ท่านอิม่ามญะอ์ฟัรจากบิดาและปู่ทวดของท่านเล่าว่า :

ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)กล่าวว่า :

อิม่ามภายหลังจากฉันนั้นมี 12 คน คนแรกของพวกเขาคืออะลีบินอบีตอลิบและคนสุดท้ายของพวกเขาคืออัลกออิม (นามแฝงของอิม่ามมะฮ์ดี)

สถานะหะดีษ : มุตะวาติร  

ดูวะซาอิลุชชีอะฮ์  โดยอัลฮุรรุลอามิลี ฮะดีษที่ 34930
   


อะฮ์ลุสซุนนะฮ์รายงาน

جَابِرَ بْنَ سَمُرَةَ قَالَ سَمِعْتُ النَّبِىَّ - صلى الله عليه وسلم - يَقُولُ « يَكُونُ اثْنَا عَشَرَ أَمِيرًا ...قَالَ كُلُّهُمْ مِنْ قُرَيْشٍ »

ญาบิร บินสะมุเราะฮ์รายงาน : ฉันได้ยินท่านนบี(ศ็อลฯ)กล่าวว่า : จะมี 12 ผู้นำ(อะมีร)เกิดขึ้น... แล้วท่านกล่าวว่า : พวกเขาทั้งหมดมาจากเผ่ากุเรช  

ซอฮีฮุลบุคอรี  หะดีษที่ 7222
 
جَابِرِ بْنِ سَمُرَةَ قَالَ دَخَلْتُ مَعَ أَبِى عَلَى النَّبِىِّ -صلى الله عليه وسلم- فَسَمِعْتُهُ يَقُولُ « إِنَّ هَذَا الأَمْرَ لاَ يَنْقَضِى حَتَّى يَمْضِىَ فِيهِمُ اثْنَا عَشَرَ خَلِيفَةً »... قَالَ « كُلُّهُمْ مِنْ قُرَيْشٍ ».
ญาบิร บินสะมุเราะฮ์รายงาน : ฉันกับบิดาของฉันได้เข้าไปพบท่านนบี(ศ็อลฯ)  แล้วฉันได้ยินท่านกล่าวว่า : แท้จริงกิจการ(ของประชาชาติอิสลาม)นี้ จะยังไม่สิ้นสุด จนกว่า 12 คอลีฟะฮ์จะมาดำเนิน(การปกครอง)ในหมู่พวกเขา    ท่านกล่าวว่า : พวกเขาทั้งหมดมาจากเผ่ากุเรช

ซอฮี๊ฮฺมุสลิม  ฮะดีษที่ 4809

20964 - جَابِرِ بْنِ سَمُرَةَ  عَنْ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ لَا يَزَالُ هَذَا الْأَمْرُ عَزِيزًا مَنِيعًا يُنْصَرُونَ عَلَى مَنْ نَاوَأَهُمْ عَلَيْهِ إِلَى اثْنَيْ عَشَرَ خَلِيفَةً  ... قَالَ كُلُّهُمْ مِنْ قُرَيْشٍ
تعليق شعيب الأرنؤوط : إسناده صحيح على شرط الشيخين

ญาบิร บินสะมุเราะฮ์รายงาน จากท่านนบี(ศ็อลฯ)กล่าวว่า  : กิจการของประชาชาติอิสลามยังคงมีเกียรติและมีสภาพมั่นคงอยู่ในสมัย 12 คอลีฟะฮ์ บุคคลเหล่านั้นจะได้รับชัยชนะเหนือผู้ที่แย่งอำนาจไปจากพวกเขา และท่านเหล่านั้นล้วนมาจากเผ่ากุเรช

สถานะหะดีษ  : เศาะหิ๊หฺ  

ดูมุสนัดอิม่ามอะหมัด ฮะดีษที่ 20964

ตรวจทานโดยเชคชุเอบอัลอัรนะอูฏ



อาจมีบางคนแย้งว่า ท่านนบีมุฮัมมัดแค่บอกว่า หลังจากท่านจากไปจะมี 12 ผู้นำ แต่ท่านไม่ได้ระบุว่า 12 ผู้นำนั้นเป็นใครชื่ออะไร


ตอบ หะดีษระบุรายชื่อ 12 ผู้นำจากตำราฝ่ายอะฮ์ลุสซุนนะฮ์


عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ قَالَ : قَدَمَ يَهُودِيٌّ يُقَالُ لَهُ نَعْثَل فَقَالَ : يَا مُحَمَّدُ أَسْأَلُكَ عَنْ أَشْيَاءَ ... فَأَخْبِرْنِيْ عَنْ وَصِيِّكَ مَنْ هُوَ ؟ فَمَا مِنْ نَبِيٍّ اِلاَّوَلَهُ وَصِيٌّ ' فَإِنَّ نَبِيَّنَا مُوسَى بْنَ عِمْرَانَ أَوْصَى يُوشَعَ بْنِ نُونَ. فَقَالَ : إِنَّ وَصِيِّيْ عَلِيُّ بْنُ أَبِي طَالِبٍ ' وَبَعْدَهُ سِبْطَايَ الْحَسَنُ وَالْحُسَيْنُ ' تَتْلُوْهُ تِسْعَةُ أَئِمَّةٍ مِنْ صُلْبِ الْحُسَيْنِ .
قَالَ : يَا مُحَمَّدُ فَسَمِّهِمْ لِيْ. قَالَ : إِذَا مَضَى الْحُسَيْنُ فَإِبْنُهُ عَلِيٌّ 'فَإِذَا مَضَى عَلِيٌّ فَإِبْنُهُ مُحَمَّدٌ 'فَإِذَا مَضَى مُحَمَّدٌ فَإِبْنُهُ جَعْفَرٌ 'فَإِذَا مَضَى جَعْفَرٌ فَإِبْنُهُ مُوْسَى 'فَإِذَا مَضَى مُوْسَى فَإِبْنُهُ عَلِيٌّ 'فَإِذَا مَضَى عَلِيٌّ فَإِبْنُهُ عَلِيٌّ مُحَمَّدٌ 'فَإِذَا مَضَى مُحَمَّدٌ فَإِبْنُهُ عَلِيٌّ 'فَإِذَا مَضَى  عَلِيٌّ فَإِبْنُهُ الْحَسَنُ 'فَإِذَا مَضَى الْحَسَنُ فَإِبْنُهُ الْحُـجَّةُ مُحَمَّدٌ الْمَهْدِيُّ 'فَهَؤُلاَءِ اِثْنَا عَشَرَ

อิบนุอับบาสรายงานว่า :

มีชาวยิวคนหนึ่งชื่อนะษัลได้เข้ามาพบท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เขากล่าวว่า : โอ้มุฮัมมัด ! ฉันขอถามคำถามต่าง.... (ฮะดีษยาวมากขอตัดมาตรงประเด็น12อิม่ามดังนี้ ) ดังนั้นโปรดบอกฉันซิว่า วะซี (ผู้สืบทอดต่อจากท่าน) เป็นใคร ? เพราะท่านนบีมูซา บิน อิมรอนของเรายังแต่งตั้งยูชะอ์ บินนูนเป็นผู้นำแทนท่านไว้เลย
ท่านนบีตอบว่า : แท้จริงวะซีของฉันคือ

1,อะลี บินอบีตอลิบ และหลังจากเขาคือ

2,ฮาซันและ

3,ฮุเซนหลานชายทั้งสองของฉัน  ต่อจากนั้นก็เป็นอิม่ามอีก 9 คนที่สืบเชื้อสายมาจากฮุเซน
ชาวยิวกล่าวว่า : โอ้มุฮัมมัด จงแจ้งชื่อพวกเขาแก่ฉันด้วย
ท่านนบีกล่าวว่า : เมื่อฮุเซนผ่านไปก็คือ

4,อะลี (ซัยนุลอาบิดีน) บุตรชายของเขา, เมื่ออะลีผ่านไปก็คือ
5,มุฮัมมัด(อัลบาเก็ร)บุตรชายของเขา,เมื่อมุฮัมมัดผ่านไปก็คือ
6,ญะอ์ฟัร (อัศศอดิก) บุตรชายของเขา, เมื่อญะอ์ฟัรผ่านไปก็คือ
7,มูซา (อัลกาซิม) บุตรชายของเขา, เมื่อมูซาผ่านไปก็คือ
8,อะลี (อัลริฎอ) บุตรชายของเขา, เมื่ออะลีผ่านไปก็คือ
9,มุฮัมมัด (อัลญะวาด) บุตรชายของเขา,เมื่อมุฮัมมัดผ่านไปก็คือ
10,อะลี (อัลฮาดี) บุตรชายของเขา, เมื่ออะลีผ่านไปคือ
11,ฮาซัน (อัลอัสการี)บุตรชายของเขา,เมื่อฮาซันผ่านไปก็คือ
12,อัลฮุจญะฮ์ มุฮัมมัด อัลมะฮ์ดีบุตรชายของเขา พวกเขาเหล่านี้คือ 12 ผู้นำ

อ้างอิงจากหนังสือ

ยะนาบีอุลมะวัดดะฮ์  โดยเชคก็อนดูซี อัลฮานาฟี หน้า 499





อาจมีบางคนแย้งว่า หะดีษจากตำราอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ดังกล่าว  พูดถึงเรื่อง  


คอลีฟะฮ์     ไม่ใช่  เรื่อง  อิมามะฮ์    




ขอให้ท่านลองเข้าไปดูคำอธิบายอย่างละเอียดได้ที่บทความดังต่อไปนี้

http://www.q4sunni.com/believe/index.php?option=com_kunena&Itemid=71&func=view&catid=2&id=247




สรุป –

เพราะฉะนั้น  เราสามารถกล่าวได้ว่า   ชีอะฮ์เป็นเพียงมัซฮับอิสลามเดียวในโลกที่มีอะกีดะฮ์เรื่องอิหม่ามสิบสองอย่างชัดเจนจากตัวบทหะดีษข้างต้น

ในขณะที่พวกวาฮาบีมิเคยสนใจหะดีษชีอะฮ์เรื่องรายชือสิบสองอิหม่าม    แต่พวกเข่ากลับกล้าพูดกับชาวโลกว่า  เรื่องสิบสองผู้นำนั้น  เป็นเรื่องที่พวกชีอะฮ์กุขึ้นมาเอง   เพราะฉะนั้นหลักฐานที่เรานำมาแสดงได้พิสูจน์ให้ท่านเห็นถึงธาตุแท้ของพวกจอมโกหกทั้งหลายท่ชอบใส่ความคนอื่น


และด้วยเหตุที่ชีอะฮ์มีความเชื่อในสิบสองอิหม่าม   พวกเขาจึงได้รับขนานนามว่า

ชีอะฮ์   อิษนา อะชัร   ซึ่งแปลว่า   ชีอะฮ์สิบสองอิหม่ามนั่นเอง.  
  •  

L-umar



ฟุรูอุดดีน  คือ หลักการปฏิบัติ




หากท่านถามชีอะฮ์ว่า หลักปฏิบัติของชีอะฮ์มีกี่ประการ  ?


คำตอบคือ 10  ประการ

1.   การนมาซ  วายิบประจำวันคือ ศุบฮิ /  ซุฮฺริ / อัศริ /  มัฆริบ /  อีชาอฺ
2.   เศาม์  การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน  
3.   คุมส์  การจ่ายหนึ่งในห้า
4.   ซะกาต การจ่ายทานซะกาต เมื่อมีทรัพย์สินครบพิกัดตามที่อิสลามกำหนดไว้
5.   ญิฮาด  การต่อสู้เสียสละในหนทางของอัลเลาะฮ์
6.   ฮัจญ์  การไปประกอบพิธีฮัจญ์ เมื่อมีความสามารถ
7.   อัมรุบิลมะอ์รูฟ  การแนะนำให้ทำดี
8.   นะฮ์ยุอะนิลมุนกัร  การห้ามปรามมิให้กระชั่ว
9.   ตะวัลลา  การแสดงความรักต่ออะฮ์ลุลบัยต์ของนบีมุฮัมมัด
10.   ตะบัรรออ์  การไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้ชิงชังต่ออะฮ์ลุลบัยต์นบี



แต่ถ้าหากท่านถามชีอะฮ์ว่า    


                                                  อุศูลุดดีนทั้งสิบนี้ใครกำหนด  ?


ชีอะฮ์สามัญชนโดยส่วนมากมักตอบไม่ได้  และก็ไม่ใช่ความผิดของพวกเขา  แต่เป็นเพราะหนังสือด้านหลักปฏิบัติของชีอะฮ์มิได้บอกกลาวเอาไว้


ในทางกลับกันหากเราถามพี่น้องอะฮ์ลุสซุนนะฮ์ว่า ท่านมีหลักปฏิบัติกี่ข้อ ?

พวกเขาจะตอบได้ทันทีว่ามี 5 ข้อ  หลักฐานของพวกเขาคือหะดีษบทนี้
   
قَالَ رَسُولُ اللَّهِ(ص) : بُنِىَ الإِسْلاَمُ عَلَى خَمْسٍ شَهَادَةِ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللَّهُ وَأَنَّ مُحَمَّدًا رَسُولُ اللَّهِ ، وَإِقَامِ الصَّلاَةِ ، وَإِيتَاءِ الزَّكَاةِ ، وَالْحَجِّ ، وَصَوْمِ رَمَضَانَ    

ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า :

อัลอิสลามตั้งอยู่บนรากฐาน  5  ประการคือ

1.   การปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์และมุฮัมมัดคือรอซูลุลลอฮ์
2.   ดำรงการนมาซ
3.   จ่ายทานซะกาต
4.   การทำฮัจญ์และ
5.   การถือศีลอด เดือนรอมฎอน    

เศาะหิ๊หฺมุสลิม    หะดีษที่ 8    




เราจะอธิบายหลักฐานเรื่อง ฟุรูอุดดีนชีอะฮ์  สองประเด็นคือ

1.   หะดีษฟุรูอุดดีนที่อะฮ์ลุลบัยต์รายงาน

2.   ทัศนะของอุละมาอ์ชีอะฮ์ระดับมุจญ์ตะฮิด  เรื่องฟุรูอุดดีน




หนึ่ง – หะดีษฟุรูอุดดีนที่อะฮ์ลุลบัยต์รายงาน

عَنْ أَبِي جَعْفَرٍ ع قَالَ بُنِيَ الْإِسْلَامُ عَلَى خَمْسٍ عَلَى الصَّلَاةِ وَ الزَّكَاةِ وَ الصَّوْمِ وَ الْحَجِّ وَ الْوَلَايَةِ وَ لَمْ يُنَادَ بِشَيْ‏ءٍ كَمَا نُودِيَ بِالْوَلَايَةِ فَأَخَذَ النَّاسُ بِأَرْبَعٍ وَ تَرَكُوا هَذِهِ يَعْنِي الْوَلَايَةَ
الكافي ج : 2  ص :  18  بَابُ دَعَائِمِ الْإِسْلَامِ  مركز تحقيقات كامپيوترى علوم اسلامى قم ايران‏

ท่านอิม่ามอบูญะอ์ฟัร มุฮัมมัดอัลบาเก็ร(อ)กล่าวว่า :
อัลอิสลามตั้งอยู่บนรากฐาน 5 ประการคือ
1.   การนมาซ
2.   การจ่ายทานซะกาต
3.   การถือศีลอด
4.   การทำฮัจญ์ และ
5.   อัลวิลายะฮ์  

ไม่มีสิ่งใดถูกถามเหมือนเรื่องอัลวิลายะฮ์ที่ถูกถามถึง  เพราะประชาชนรับเอาไป(ปฏิบัติเพียง)สี่ประการและพวกเขาละทิ้งสิ่งนี้คือ อัลวิลายะฮ์

สถานะหะดีษ : เศาะหิ๊หฺ


ดูอัลกาฟี  เล่ม 2 : 18 ฮะดีษที่ 3

ตรวจทานโดยมัรกะซุล บุฮูซ คอมพิวเตอร์ ลิลอุลูมิลอิสลามียะฮ์ เมืองกุม อิหร่าน

อัลวิลายะฮ์ หมายถึง การปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์และมุฮัมมัดคือรอซูลุลลอฮ์ และต้องเชื่อฟังอัลลอฮ์และรอซูลรวมถึงการปฏิบัติตามอูลิลอัมริ ซึ่งนั่นคืออะฮ์ลุลบัยต์นบีนั่นเอง




حَدَّثَنَا عَلِيُّ بْنُ أَحْمَدَ بْنِ مُحَمَّدِ بْنِ عِمْرَانَ الدَّقَّاقُ رَحِمَهُ اللهُ وَعَلِيُّ بْنُ عَبْدُاللهِ الْوَرَّاقُ ، قَالاَ: حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ هَارُوْنَ الصُّوْفِيّ، قَالَ : حَدَّثَنَا أَبُوْتُرَابٍ عُبَيْدُ اللهِ ابْنِ مُوْسَى الرُّوْيَانِيّ، عَنْ عَبْدِالْعَظِيْمِ بْنِ عَبْدِاللهِ الْحَسَنِيّ، قَالَ :
دَخَلْتُ عَلَى سَيِّدِيْ عَلِيِّ بْنِ مُحَمَّدِ بْنِ عَلِيِّ بْنِ مُوْسَى بْنِ جَعْفَرِ بْنِ مُحَمَّدِ بْنِ عَلِيِّ بْنِ الْحُسَيْنِ بْنِ عَلِيِّ بْنِ أَبِيْ طَالِبٍ عَلَيْهُمُ السَّلاَمِ    فَلَمَّا بَصُرَبِيْ قَالَ لِيْ: مَرْحَبًا بِكَ يَاأَبَا الْقَاسِمِ أَنْتَ وَلِيُّنَا حَقًّا، قَالَ: فَقُلْتُ لَهُ: يَاابْنَ رَسُوْلَ اللهِ إِنِّيْ اُرِيْدُ أَن أَعْرِضَ عَلَيْكَ دِيْنِيْ، فَإِنْ كَانَ مَرْضِيًّا أَثْبُتُ عَلَيْهِ حَتَّى أَلْقَى اللهَ عَزَّوَجَلَّ :
فَقَالَ : هَاتِ يَا أَبَا الْقَاسِمِ، فَقُلْتُ : إِنِّيْ أَقُوْلُ : ...
وَأَقُوْلُ : إِنَّ الْفَرَائِضَ الْوَاجِبَةَ بَعْدَ الْوِلاَيَةِ الصَّلاَةُ، وَالزَّكاَةُ، وَالصَّوْمُ، وَالْحَجُّ، وَالْجِهَادُ، وَالْأَمْرُ بِالْمَعْرُوْفِ وَالنَّهْيُ عَنِ الْمُنْكَرِ،
فَقَالَ عَلِيُّ بْنُ مُحَمَّدٍ عَلَيْهِمَا السَّلاَمِ: يَا أَبَا الْقَاسِمِ هَذَا وَاللهِ دِيْنِ اللهِ الَّذِيْ ارْتَضَاهُ لِعِبَادِهِ، فَاثْبُتْ عَلَيْهِ، ثَبَّتَكَ اللهُ بِالْقَوْلِ الثَّابِتِ فِي الْحَيَاةِ الدُّنْيَا وَفِي الْآخِرَةِ.
كتاب التوحيد  للصدوق  ص 81  ح 37  
المؤلف :  الشيخ الصدوق ابي جعفر محمد على بن الحسين بن بابويه القمي 305-381 هـ.


เชคศอดูกเล่าว่า :
อะลี บินอะหมัด บินมุฮัมมัด บินอิมรอน อัด-ดั๊กกอกและอะลี บินอับดุลลอฮ์ อัลวัรรอก ทั้งสองได้เล่าให้เราฟัง : มุฮัมมัด บินฮารูน อัศ-ศูฟีได้เล่าให้เราฟัง เขากล่าวว่า : อบู ตุรอบ อุบัยดุลลอฮ์ บินมูซา อัลรูยานีได้รายงาน

จากอับดุลอะซีม บินอับดุลลอฮ์ อัลฮาซานีได้เล่าว่า :  ข้าพเจ้าได้เข้ามาพบนายของข้าพเจ้าคือท่านอิม่ามอะลี บินมุฮัมมัด (อัลฮาดีอิม่ามที่10) อะลัยฮิสสลาม เมื่อท่านมองเห็นข้าพเจ้าท่านได้กล่าวกับข้าพเจ้าว่า : ยินดีต้อนรับโอ้อบุลกอซิม  ท่านคือผู้มีวิลายัต(ความรัก)ต่อเราอย่างแท้จริง
อับดุลอะซีมเล่าว่า : ข้าพเจ้าได้กล่าวกับท่านอิม่ามว่า : โอ้บุตรของท่านรอซูลุลลอฮ์ แท้จริงข้าพเจ้าต้องการนำเสนอศาสนาที่ข้าพเจ้านับถือให้ท่าน(ได้พิจารณา)   หากมันเป็นที่พอใจ(คือถูกยอมรับ) ข้าพเจ้าจะได้ยึดมั่นมันไว้อย่างมั่นคง จนกระทั่งข้าพเจ้าได้กลับไปพบกับอัลลอฮ์ อัซซะวะญัล
ท่านอิม่ามกล่าวว่า : โอ้อบุลกอซิมจงนำเสนอมาซิ    ดังนั้นข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า : ....

(อับดุลอะซีมเล่าว่า) และข้าพเจ้าเชื่อว่า :  แท้จริงฟัรฎูที่เป็นวาญิบ(ต้องปฏิบัติ) หลังจากเรื่อง
1,วิลายะฮ์ (ตรงข้ามคือ2,บะรออะฮ์ )
3, นมาซวาญิบ
4, จ่ายซะกาต (และ5,จ่ายคุมส์ข้อปลีกย่อยของซะกาต
6,ถือศีลอด
7, ทำฮัจญ์  
8,ญิฮ๊าด
9,แนะนำให้ทำดีและ
10,ห้ามปรามมิให้ทำชั่ว

ท่านอิม่ามอะลี บินมุฮัมมัด อัลฮาดีกล่าวว่า :

โอ้อบุลกอซิม ! ขอสาบานด้วยนามของอัลลอฮ์ว่า หลักศรัทธาและหลักปฏิบัติแบบนี้แหล่ะคือ ศาสนาของอัลลอฮ์ที่ทรงพอพระทัยมอบมันให้กับปวงบ่าวของพระองค์

ดังนั้นขอให้เจ้าจงยึดมันไว้อย่างมั่นคง ขออัลลอฮ์ทรงทำให้เจ้ามีความมั่นคงต่อคำพูดอันมั่นคงนี้ทั้งชีวิตในโลกดุนยานี้และโลกอาคิเราะฮ์ด้วยเถิด

อ้างอิงจากหนังสือ
อัต-เตาฮีด เชคศอดูก กิตาบอัต-เตาฮีด วัต-ตัชเบี๊ยะห์ หน้า 81 หะดีษที่ 37
เชคศอดูก อบูญะอ์ฟัร มุฮัมมัด บินอะลี บินฮูเซน บินบาบะวัยฮฺ อัลกุมมี  เกิดฮ.ศ. 305 มรณะฮ.ศ. 381
สัยยิดอับดุลอะซีม บินอับดุลลอฮ์ อัลฮะซะนี เกิดฮ.ศ. 173 มรณะฮ.ศ. 252

 
สอง -  ทัศนะของอุละมาอ์ชีอะฮ์ระดับมุจญ์ตะฮิด  เรื่องฟุรูอุดดีน


ถาม :   ใครกำหนดฟุรูอุดดีนทั้งสิบข้อนี้

ตอบ -

ฟุรูอุดดีนสิบข้อดังกล่าว ได้มาจากผลการวิจัยของฟุเกาะฮาอ์ระดับมุจญ์ตะฮิด  ดังนั้นอะห์กามที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัตินี้เรียกว่า " ฟุรู๊อฺ "  

ส่วนบุคคลแรกที่แบ่งฟุรูอุดีนออกเป็น 10  ข้อมีรายชื่อดังต่อไปนี้คือ
1.   ท่านอบุศ-ศอและห์ อัลฮะละบี ( 374-447 ฮ.ศ.)
2.   ท่านอิบนุฮัมซะฮ์
3.   ท่านมุฮักกิก ฮิลลี ( 602-676 ฮ.ศ.)



หลักฐาน


قَالَ الْمُحَقِّقُ الثَّانِيُّ الْكَرْكِيّ :  وَقَدْ كَانَ كُلُّ فَقِـيْهٍ يُقَسِّمُ الْفِقْهَ حَسْبَ مِنْظَارِهِ وَمرآهِ ، وَيُعَدِّدُ الْمَوْضُوْعَاتِ حَسْبَ ذَوْقِهِ الْفَنِّيّ ، وَقَدْ عَدَّ الشَّيْخُ الطُّوْسِيُّ وَابْنُ زَهْرَةِ أَقْسَامَ الْعِبَادَاتِ خَمْسَة ،
وَأَمَّا سَلاّرُ فَقَدْ عَدَّهَا فِيْ مَرَاسِمِهِ سِتَّةَ ، وَأَبُو الصَّلاَحِ الْحَلَبِيّ وَابْنُ حَمْزَة وَالْمُحَقِّقُ الْحِلِّيّ عَشَرَةَ

ท่านมุฮักกิก ษานี อัลกัรกี (มรณะ 940  ฮ.ศ.) กล่าวว่า  :  ฟะกีฮ์แต่ละคนได่แบ่งอัลฟิกฮ์(ศาสนบัญญัติ)ตามทัศนะของตนเอง(เพราะฟะกีฮ์คือมุจญ์ตะฮิด) และพวกเขาได้แบ่งหัวข้อเรื่องฟิกฮ์ตามรสนิยมของเขาเอง(หมายถึงตามอิจญ์ติฮาดของตนเอง)
ท่านเชคตูซี ( 385-460 ฮ.ศ.)และอิบนุ ซะฮ์เราะฮ์แบ่งภาคอิบาดะฮ์(ภาคปฏิบัติ)ออกเป็น 5ประการ
ท่านซาลาร ( มรณะ 463 ฮ.ศ.)ได้แบ่งออกเป็น 6 ในหนังสืออัลมะรอซิม ฟิลฟิกฮิลอิมามี
ท่านอบุศ-ศอและห์ อัลฮะละบี ( 374-447 ฮ.ศ.) , อิบนุฮัมซะฮ์และมุฮักกิก ฮิลลี ( 602-676 ฮ.ศ.)ได้แบ่งออกเป็น 10 หัวข้อ

อ้างอิงจากหนังสือ

ญามิอุลมะกอซิด โดยมุฮักกิก ษานี อัลกัรกี  เล่ม 1 หน้า 41


ถาม : ฟะกีฮฺหรือมุจญ์ตะฮิดมีสิทธิอะไรแบ่งฟุรูอุดดีนออกเป็นสิบข้อ ?    


ตอบ :

เพราะอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์ได้อนุญาติให้ฟะกีฮฺทำหน้าที่อธิบายในรายละเอียดของฟุรูอุดดีนได้  


หลักฐาน

هِشَامِ بْنِ سَالِمٍ عَنْ أَبِي عَبْدِ اللَّهِ ع قَالَ إِنَّمَا عَلَيْنَا أَنْ نُلْقِيَ إِلَيْكُمُ الْأُصُولَ وَ عَلَيْكُمْ أَنْ تُفَرِّعُوا
أَحْمَدَ بْنِ مُحَمَّدِ بْنِ أَبِي نَصْرٍ عَنِ الرِّضَا ع قَالَ عَلَيْنَا إِلْقَاءُ الْأُصُولِ وَ عَلَيْكُمُ التَّفْرِيعُ
ท่านอิม่ามศอดิกและอิม่ามริฎอ(อ)กล่าวว่า : หน้าที่ของพวกเราคือถ่ายทอดเรื่องหลักๆ(ของศาสนา)แก่พวกท่าน ส่วนพวกท่านก็มีหน้าที่ไปจำแนกเป็นหัวย่อยๆเอาเอง
สถานะฮะดีษ : ซอฮี๊ฮฺ ดูวะซาอิลุชชีอะฮ์  โดยอัลฮุรรุลอามีลี เล่ม 27 : 62 ฮะดีษที่ 33201,33202

عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ يَعْقُوبَ عَنْ إِسْحَاقَ بْنِ يَعْقُوبَ قَالَ سَأَلْتُ مُحَمَّدَ بْنَ عُثْمَانَ الْعَمْرِيَّ أَنْ يُوصِلَ لِي كِتَاباً قَدْ سَأَلْتُ فِيهِ عَنْ مَسَائِلَ أَشْكَلَتْ عَلَيَّ فَوَرَدَ التَّوْقِيعُ بِخَطِّ مَوْلَانَا صَاحِبِ الزَّمَانِ ع أَمَّا مَا سَأَلْتَ عَنْهُ أَرْشَدَكَ اللَّهُ وَ ثَبَّتَكَ إِلَى أَنْ قَالَ وَ أَمَّا الْحَوَادِثُ الْوَاقِعَةُ فَارْجِعُوا فِيهَا إِلَى رُوَاةِ حَدِيثِنَا فَإِنَّهُمْ حُجَّتِي عَلَيْكُمْ وَ أَنَا حُجَّةُ اللَّهِ
จากมุฮัมมัด บินยะอ์กูบ จากอิสฮ๊าก บินยะอ์กูบเล่าว่า  : ฉันได้ขอร้องท่านมุฮัมมัด บินอุษมาน อัลอัมรีให้นำจดหมายส่ง(ให้อิม่าม)แทนฉัน  ในจดหมายฉันได้ถามถึงปัญหาต่างๆที่คลุมเครือแก่ฉัน แล้วได้มีจดหมายเป็นลายเซ็นด้วยลายมือของผู้ปกครองของพวกเรา คือท่านอิม่ามศอฮิบุซซะมาน(อ)ตอบว่า :  ส่วนสิ่งที่เจ้าได้ถามถึงนั้น ขออัลลอฮ์ชี้นำเจ้าและทำให้เจ้ามั่นคง จนท่านกล่าวว่า : ส่วนกรณีเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น(ในยุคที่ฉันยังไม่ปรากฏตัว)  พวกเจ้าจงย้อนกลับไปยังบรรดานักรายงานฮะดีษของเรา เกี่ยวปัญหาเหล่านั้น เพราะพวกเขาคือหลักฐานของฉันที่มีต่อพวกเจ้า และฉันคือหลักฐานของอัลลอฮ์
วะซาอิลุชชีอะฮ์  โดยอัลฮุรรุลอามีลี  เล่ม 27 : 140 ฮะดีษที่ 33424

عَنْ أَبِي مُحَمَّدٍ الْعَسْكَرِيِّ ع قال :  فَأَمَّا مَنْ كَانَ مِنَ الْفُقَهَاءِ صَائِناً لِنَفْسِهِ حَافِظاً لِدِينِهِ مُخَالِفاً عَلَى هَوَاهُ مُطِيعاً لِأَمْرِ مَوْلَاهُ فَلِلْعَوَامِّ أَنْ يُقَلِّدُوهُ
ท่านอิม่ามฮาซันอัสการี(อ)กล่าวว่า :  ส่วนหนึ่งจากบรรดาฟะกีฮ์ ( ที่มีคุณสมบัติดังนี้ )
1,เป็นผู้รักษาตัวเอง(มิให้มีมลทิน)
2,ปกป้องรักษาศาสนาของเขา
3,ไม่คล้อยตามอารมณ์ต่ำของตัวเอง  
4,ปฏิบัติตามคำสั่งอิม่ามผู้นำของเขา(อย่างเคร่งครัด)
ดังนั้นจำเป็นสำหรับประชาชนจะต้องปฏิบัติตามเขา (เรียกว่า การตักลีด)
สถานะฮะดีษ  : ซอฮี๊ฮฺ ดูวะซาอิลุช-ชีอะฮ์ โดยอัลฮุรรุล อามิลี
เล่ม 27 : 131 ฮะดีษที่ 33401
ตรวจทานโดยมัรกะซุล บุฮูซ คอมพิวเตอร์ ลิลอุลูมิลอิสลามียะฮ์ เมืองกุม อิหร่าน

เพราะฉะนั้นการแบ่งฟุรูอุดดีนออกเป็นสิบข้อของบรรดาฟะกีฮฺชีอะฮ์นั้น ได้ประมวลมาจากอัลกุรอานและหะดีษ



หากทท่านอยากตรวจสอบว่า ฟุรูอุดดีนสิบข้อของชีอะฮ์นี้ขัดแย้งกับคัมภีร์กุรอ่านหรือไม่
โปรดพิจารณาดังต่อไปนี้  



1, อัซ-ซอลาต การนมาซวาญิบประจำวัน


وَأَقِمِ الصَّلاَةَ طَرَفَيِ النَّهَارِ وَزُلَفًا مِّنَ اللَّيْلِ
จงดำรงนมาซ ตามปลายช่วงทั้งสองของกลางวันและยามต้นจากกลางคืน  ฮูด : 114
أَقِمِ الصَّلاَةَ لِدُلُوكِ الشَّمْسِ إِلَى غَسَقِ اللَّيْلِ وَقُرْآنَ الْفَجْرِ إِنَّ قُرْآنَ الْفَجْرِ كَانَ مَشْهُودًا
จงดำรงนมาซ ไว้ตั้งแต่ตะวันคล้อยจนพลบค่ำ และการอ่านยามรุ่งอรุณ แท้จริงการอ่านยามรุ่งอรุณนั้นเป็นพยานยืนยันเสมอ
وَمِنَ اللَّيْلِ فَتَهَجَّدْ بِهِ نَافِلَةً لَّكَ عَسَى أَن يَبْعَثَكَ رَبُّكَ مَقَامًا مَّحْمُودًا
และจากบางส่วนของกลางคืนเจ้าจงตื่นขึ้นมานมาซในเวลาของมัน เป็นการสมัครใจสำหรับเจ้า หวังว่าพระผู้อภิบาลของเจ้าจะทรงให้เจ้าได้รับตำแหน่งที่ถูกสรรเสริญ   อัลอิสรอ : 78-79

2, อัซ-ซะกาต  การจ่ายทานซะกาต

وَأَقِيمُواْ الصَّلاَةَ وَآتُواْ الزَّكَاةَ
และจงดำรงนมาซ และจงจ่ายทานซะกาต   อัลบะกอเราะฮ์ : 43    อัลฮัจญ์ : 78  

3, อัลคุมส์   การบริจาครายได้ 1 ใน 5

وَاعْلَمُواْ أَنَّمَا غَنِمْتُم مِّن شَيْءٍ فَأَنَّ لِلّهِ خُمُسَهُ وَلِلرَّسُولِ وَلِذِي الْقُرْبَى وَالْيَتَامَى وَالْمَسَاكِينِ وَابْنِ السَّبِيلِ
และพึงรู้เถิดว่า แท้จริงสิ่งใดที่พวกเจ้าได้มาจากการทำศึกนั้น แน่นอนหนึ่งในห้าของมันเป็นของอัลลอฮ์และเป็นของรอซูล และเป็นของญาติที่ใกล้ชิด และบรรดาเด็กกำพร้า และบรรดาผู้ขัดสน และผู้เดินทาง   อัลอันฟาล : 41

4, อัซ-เซามุ  การศีลอดในเดือนรอมฎอน

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِن قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ
บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! การถือศีลอดได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว เช่นเดียวกับที่ได้ถูกกำหนดแก่บรรดาผู้อยู่ก่อนหน้าพวกเจ้ามาแล้ว เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง  
อัลบะกอเราะฮ์ : 183

5, อัลฮัจญ์ การทำฮัจญ์

وَلِلّهِ عَلَى النَّاسِ حِجُّ الْبَيْتِ مَنِ اسْتَطَاعَ إِلَيْهِ سَبِيلاً وَمَن كَفَرَ فَإِنَّ الله غَنِيٌّ عَنِ الْعَالَمِينَ
และสิทธิของอัลลอฮ์ที่มีต่อมนุษย์นั้นคือ การมุ่งสู่บ้านหลังนั้น อันได้แก่ผู้ที่สามารถหาทางไปยังบ้านหลังนั้นได้และผู้ใดปฏิเสธ แท้จริงอัลลอฮ์นั้นไม่ทรงพึ่งประชาชาติทั้งหลาย
อาลิ อิมรอน : 97
وَأَذَانٌ مِّنَ اللّهِ وَرَسُولِهِ إِلَى النَّاسِ يَوْمَ الْحَجِّ الأَكْبَرِ أَنَّ اللّهَ بَرِيءٌ مِّنَ الْمُشْرِكِينَ وَرَسُولُهُ
ประกาศจากอัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์ แด่ประชาชนทั้งหลายในวันฮัจญ์อันยิ่งใหญ่ว่า แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงพ้นข้อผูกพันธ์จากมุชริกทั้งหลาย และรอซูลของพระองค์ก็พ้นข้อผูกพันธ์นั้นด้วย  อัตเตาบะฮ์ : 3

6, อัลญิฮ๊าด  การญิฮ๊าดเสียสละต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์

كُتِبَ عَلَيْكُمُ الْقِتَالُ وَهُوَ كُرْهٌ لَّكُمْ وَعَسَى أَن تَكْرَهُواْ شَيْئًا وَهُوَ خَيْرٌ لَّكُمْ وَعَسَى أَن تُحِبُّواْ شَيْئًا وَهُوَ شَرٌّ لَّكُمْ وَاللّهُ يَعْلَمُ وَأَنتُمْ لاَ تَعْلَمُونَ
สูเจ้าได้ถูกบัญชาให้ออกสู่สงครามและสูเจ้ารังเกียจมัน และบางทีสูเจ้ารังเกียจสิ่งหนึ่งซึ่งสิ่งนั้นอาจเป็นสิ่งดีสำหรับสูเจ้า และบางทีสูเจ้ารักสิ่งหนึ่งซึ่งสิ่งนั้นมันอาจเป็นสิ่งเลวสำหรับสูเจ้า อัลลอฮ์นั้นทรงรอบรู้ แต่สูเจ้าไม่รู้   อัลบะกอเราะฮ์ : 216
وَجَاهِدُوا فِي اللَّهِ حَقَّ جِهَادِهِ هُوَ اجْتَبَاكُمْ وَمَا جَعَلَ عَلَيْكُمْ فِي الدِّينِ مِنْ حَرَجٍ مِّلَّةَ أَبِيكُمْ إِبْرَاهِيمَ هُوَ سَمَّاكُمُ الْمُسْلِمينَ مِن قَبْلُ وَفِي هَذَا لِيَكُونَ الرَّسُولُ شَهِيدًا عَلَيْكُمْ وَتَكُونُوا شُهَدَاء عَلَى النَّاسِ فَأَقِيمُوا الصَّلَاةَ وَآتُوا الزَّكَاةَ وَاعْتَصِمُوا بِاللَّهِ هُوَ مَوْلَاكُمْ فَنِعْمَ الْمَوْلَى وَنِعْمَ النَّصِيرُ
และจงต่อสู้เพื่ออัลลอฮ์ ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่แท้จริงเพื่อพระองค์  พระองค์ทรงคัดเลือกพวกเจ้า และพระองค์มิได้ทรงทำให้เป็นการลำบากแก่พวกเจ้าในเรื่องของศาสนา  ศาสนา(ที่ไม่ลำบาก) คือศาสนาของอิบรอฮีม บรรพบุรุษของพวกเจ้า พระองค์ทรงเรียกชื่อพวกเจ้าว่ามุสลิมีน ในคัมภีร์ก่อน ๆ และในอัลกุรอานเพื่อรอซูลจะได้เป็นพยานต่อพวกเจ้า และพวกเจ้าจะได้เป็นพยานต่อมนุษย์ทั่วไป ดังนั้นพวกเจ้าจงดำรงนมาซ และบริจาคซะกาต และจงยึดมั่นต่ออัลลอฮ์ พระองค์เป็นผู้คุ้มครองพวกเจ้า เพราะพระองค์คือผู้คุ้มครองที่ดีเลิศ และผู้ทรงช่วยเหลือที่ดีเยี่ยม    อัลฮัจญ์ : 78
وَمَا لَكُمْ لاَ تُقَاتِلُونَ فِي سَبِيلِ اللّهِ وَالْمُسْتَضْعَفِينَ مِنَ الرِّجَالِ وَالنِّسَاء وَالْوِلْدَانِ الَّذِينَ يَقُولُونَ رَبَّنَا أَخْرِجْنَا مِنْ هَـذِهِ الْقَرْيَةِ الظَّالِمِ أَهْلُهَا وَاجْعَل لَّنَا مِن لَّدُنكَ وَلِيًّا وَاجْعَل لَّنَا مِن لَّدُنكَ نَصِيرًا
มีเหตุใดเกิดขึ้นแก่พวกเจ้ากระนั้นหรือ ? ที่พวกเจ้าไม่สู้รบในหนทางของอัลลอฮ์ ทั้งๆที่บรรดาผู้อ่อนแอ ไม่ว่าชายและหญิง และเด็กๆต่างกล่าวกันว่า โอ้พระผู้อภิบาลของเรา ! โปรดนำพวกเราออกไปจากเมืองนี้ ซึ่งชาวเมืองเป็นผู้ข่มเหงรังแก และโปรดให้มีขึ้นแก่พวกเราซึ่งผู้คุ้มครองคนหนึ่งจากที่พระองค์และโปรดให้มีขึ้นแก่พวกเราซึ่งผู้ช่วยเหลือคนหนึ่งจากที่พระองค์
อันนิซาอ์ :75
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ مَا لَكُمْ إِذَا قِيلَ لَكُمُ انفِرُواْ فِي سَبِيلِ اللّهِ اثَّاقَلْتُمْ إِلَى الأَرْضِ أَرَضِيتُم بِالْحَيَاةِ الدُّنْيَا مِنَ الآخِرَةِ فَمَا مَتَاعُ الْحَيَاةِ الدُّنْيَا فِي الآخِرَةِ إِلاَّ قَلِيلٌ
บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย มีอะไรเกิดขึ้นแก่พวกเจ้ากระนั้นหรือ ? เมื่อได้ถูกกล่าวแก่พวกเจ้าว่า จงออกไปต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์เถิด พวกเจ้าก็แนบหนักอยู่กับพื้นดิน พวกเจ้าพึงพอใจต่อชีวิตความเป็นอยู่แห่งโลกนี้แทนปรโลกกระนั้นหรือ ? สิ่งอำนวยความสุขแห่งชีวิตความเป็นอยู่ในโลกนี้นั้น ในปรโลกแล้ว ไม่มีอะไรนอกจากสิ่งเล็กน้อยเท่านั้น  อัตเตาบะฮ์ : 38

7,8, อัลอัมรุ บิลมะอ์รูฟ  วัน-นะฮ์ยุ อะนิลมุงกัร

แนะนำให้ทำดีและห้ามปรามมิให้กระทำชั่ว
وَلْتَكُن مِّنكُمْ أُمَّةٌ يَدْعُونَ إِلَى الْخَيْرِ وَيَأْمُرُونَ بِالْمَعْرُوفِ وَيَنْهَوْنَ عَنِ الْمُنكَرِ وَأُوْلَـئِكَ هُمُ الْمُفْلِحُونَ
และจงให้มีขึ้นจากพวกเจ้า ซึ่งคณะหนึ่งที่จะเชิญชวนไปสู่ความดีงามและใช้ให้กระทำดี และห้ามมิให้กระทำชั่ว และชนเหล่านี้แหล่ะพวกเขาคือผู้ได้รับความสำเร็จ     อาลิ อิมรอน : 104
كُنتُمْ خَيْرَ أُمَّةٍ أُخْرِجَتْ لِلنَّاسِ تَأْمُرُونَ بِالْمَعْرُوفِ وَتَنْهَوْنَ عَنِ الْمُنكَرِ وَتُؤْمِنُونَ بِاللّهِ
สูเจ้านั้นเป็นประชาชาติที่ดียิ่งซึ่งถูกให้อุบัติขึ้นสำหรับมนุษยชาติ โดยที่พวกเจ้าใช้ให้ปฏิบัติสิ่งที่ดีงาม และห้ามมิให้ปฏิบัติสิ่งที่ชั่วช้า และศรัทธาต่ออัลลอฮ์  อาลิ อิมรอน : 110

9,10, อัลวิลายะตุ วัลบะรออะฮ์ ( ตะวัลลา / ตะบัรรอ )

รักบุคคลที่อัลลอฮ์และรอซูลรัก และไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้ที่ทำตัวเป็นศัตรูต่อบุคคลอันเป็นที่รักของอัลลอฮ์และรอซูล
مُّحَمَّدٌ رَّسُولُ اللَّهِ وَالَّذِينَ مَعَهُ أَشِدَّاء عَلَى الْكُفَّارِ رُحَمَاء بَيْنَهُمْ
มุฮัมมัดเป็นรอซูลของอัลลอฮ์และบรรดาผู้ที่อยู่ร่วมกับเขา เป็นผู้เข้มแข็งกล้าหาญต่อพวกปฏิเสธศรัทธา เป็นผู้เมตตาสงสารระหว่างพวกเขาเอง   อัลฟัตฮุ : 29
وَمِنَ النَّاسِ مَن يُجَادِلُ فِي اللَّهِ بِغَيْرِ عِلْمٍ وَيَتَّبِعُ كُلَّ شَيْطَانٍ مَّرِيدٍ
كُتِبَ عَلَيْهِ أَنَّهُ مَن تَوَلَّاهُ فَأَنَّهُ يُضِلُّهُ وَيَهْدِيهِ إِلَى عَذَابِ السَّعِيرِ
และในหมู่มนุษย์บางคนมีผู้โต้เถียงในเรื่องของอัลลอฮ์โดยปราศจากความรู้ และเขาจะปฏิบัติตามชัยตอนทุกตัวที่ดื้อรั้น  ได้มีกำหนดไว้กับมันว่า แท้จริงผู้ใดยึดมันเป็นมิตรสหายแล้ว แน่นอน มันจะทำให้เขาหลงทางและจะนำเขาไปสู่การลงโทษที่มีเปลวลุกโชน   อัลฮัจญ์ : 3-4
لَا تَجِدُ قَوْمًا يُؤْمِنُونَ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الْآخِرِ يُوَادُّونَ مَنْ حَادَّ اللَّهَ وَرَسُولَهُ وَلَوْ كَانُوا آبَاءهُمْ أَوْ أَبْنَاءهُمْ أَوْ إِخْوَانَهُمْ أَوْ عَشِيرَتَهُمْ أُوْلَئِكَ كَتَبَ فِي قُلُوبِهِمُ الْإِيمَانَ وَأَيَّدَهُم بِرُوحٍ مِّنْهُ وَيُدْخِلُهُمْ جَنَّاتٍ تَجْرِي مِن تَحْتِهَا الْأَنْهَارُ خَالِدِينَ فِيهَا رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمْ وَرَضُوا عَنْهُ أُوْلَئِكَ حِزْبُ اللَّهِ أَلَا إِنَّ حِزْبَ اللَّهِ هُمُ الْمُفْلِحُونَ
เจ้าจะไม่พบหมู่ชนใดที่พวกเขาศรัทธาต่ออัลลอฮ์และวันปรโลก รักใคร่ชอบพอผู้ที่ต่อต้านอัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์  ถึงแม้ว่าพวกเขาจะเป็นพ่อของพวกเขาหรือลูกหลานของพวกเขา หรือพี่น้องของพวกเขา หรือเครือญาติของพวกเขาก็ตาม   อัลมุญาดะละฮ์ : 22



สรุป-

การแบ่งฟุรูอุดดีนออกเป็นสิบข้อของบรรดาฟะกีฮฺชีอะฮ์ดังกล่าว   พวกเขาได้อาศัยอำนาจตามที่อิม่ามอนุญาติให้พวกเขาทำการอิจญ์ติฮาดบนพื้นฐานของอัลกุรอานและหะดีษนั่นเอง.
  •  

L-umar



หลักศรัทธาและการปฏิบัติต้องมีที่มาจากอัลกุรอานและหะดีษ



อัลลอฮ์ตรัสว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ أَطِيعُواْ اللّهَ وَأَطِيعُواْ الرَّسُولَ وَأُوْلِي الأَمْرِ مِنكُمْ فَإِن تَنَازَعْتُمْ فِي شَيْءٍ فَرُدُّوهُ إِلَى اللّهِ وَالرَّسُولِ إِن كُنتُمْ تُؤْمِنُونَ بِاللّهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ ذَلِكَ خَيْرٌ وَأَحْسَنُ تَأْوِيلاً

โอ้บรรดาผู้ศรัทธา ! จงเชื่อฟังอัลลอฮ์ และจงเชื่อฟังรอซูล และ(จงเชื่อฟัง)ผู้ปกครองในหมู่พวกเจ้า แต่ถ้าพวกเจ้าขัดแย้งกันในสิ่งใด ก็จงนำสิ่งนั้นกลับไปยังอัลลอฮ์ และรอซูล (คืออัลกุรอานและอัลหะดีษ) หากพวกเจ้าเป็นผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮ์และวันสิ้นโลก นั่นเป็นสิ่งที่ดียิ่งและเป็นการกลับไปที่สวยงามยิ่ง    

ซูเราะฮ์อัน-นิซาอ์ อายัตที่  59


อะกีดะฮ์ที่ถูกต้องคือรากฐานของศาสนาและรากฐานของการปฏิบัติ  การงานต่างๆจะได้รับการยอมรับจากอัลลอฮ์หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับหลักศรัทธาที่ถูกต้อง ดังที่อัลลอฮ์ตะอาลาตรัสว่า


وَمَن يَكْفُرْ بِالإِيمَانِ فَقَدْ حَبِطَ عَمَلُهُ وَهُوَ فِي الآخِرَةِ مِنَ الْخَاسِرِينَ

และผู้ใดปฏิเสธอีหม่าน การงานของเขาก็ไร้ผล และในวันสิ้นโลกเขาก็เป็นหนึ่งจากบรรดาผู้ขาดทุน              

ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์  อายัตที่  5



เพราะฉะนั้น ฮุจญะฮ์  หมายถึงหลักฐานที่สำคัญในอิสลามคือ


1.   คัมภีร์อัลกุรอ่าน

2.   หะดีษ  ที่รายงานมาจากท่านนบีมุฮัมมัด  




จริงหรือที่ชีอะฮ์ไม่อ้างอิงหะดีษไปยังท่านรอซูลุลเลาะฮ์


ท่านเคยสงสัยไหมว่า  ทำไมพวกชีอะฮ์เวลาอ้างอิงหลักฐานทางด้านหะดีษ  กลับอ้างไปยังบรรดาอิม่ามของพวกเขา  จึงมีคำถามว่า



ทำไมพวกชีอะฮ์ไม่ยอมอ้างหะดีษของท่านรอซูลุลเลาะฮ์  ?


ตอบ  -     เพื่อความเข้าใจขอให้ท่านอ่านหะดีษบทนี้


عَنْ هِشَامِ بْنِ سَالِمٍ وَ حَمَّادِ بْنِ عُثْمَانَ وَ غَيْرِهِ قَالُوا سَمِعْنَا أَبَا عَبْدِ اللَّهِ ( عليه السلام ) يَقُولُ حَدِيثِي حَدِيثُ أَبِي وَ حَدِيثُ أَبِي حَدِيثُ جَدِّي وَ حَدِيثُ جَدِّي حَدِيثُ الْحُسَيْنِ وَ حَدِيثُ الْحُسَيْنِ حَدِيثُ الْحَسَنِ وَ حَدِيثُ الْحَسَنِ حَدِيثُ أَمِيرِ الْمُؤْمِنِينَ ( عليه السلام ) وَ حَدِيثُ أَمِيرِ الْمُؤْمِنِينَ حَدِيثُ رَسُولِ اللَّهِ ( صلى الله عليه وآله ) وَ حَدِيثُ رَسُولِ اللَّهِ قَوْلُ اللَّهِ عَزَّ وَ جَلَّ .      


ท่านอิม่ามศอดิกกล่าวว่า  :



หะดีษของฉันคือ หะดีษของบิดาฉัน(คืออิม่ามบาเก็ร),

หะดีษของบิดาฉันคือ หะดีษของปู่ฉัน(คืออิม่ามอะลี บินฮูเซน),

หะดีษของปู่ฉันคือหะดีษของท่านอิม่ามฮูเซน,

หะดีษของท่านอิม่ามฮูเซนคือหะดีษของท่านอิม่ามฮาซัน,  


หะดีษของท่านอิม่ามฮาซันคือหะดีษของท่านอิม่ามอมีรุลมุอ์มินีน,

หะดีษของท่านอิม่ามอมีรุลมุอ์มินีนคือ คำพูดของท่านรอซูลุลลอฮ์  

และคำพูดของท่านรอซูลุลลอฮ์คือ พระดำรัสของอัลลอฮ์ อัซซะวะญัล


สถานะหะดีษ : มุวัษษัก

ดูอัลกาฟี  โดยเชคกุลัยนี  เล่ม 1 หน้า 52 หะดีษที่  7 หะดีษ


วิเคราะห์สายรายงานหะดีษ

ฮิช่าม บิน สาลิม  การรายงานเชื่อถือได้
หนังสือริญาล อิบนิดาวูด เล่ม 1  : 297  อันดับที่ 1676
อัลลามะฮ์ฮิลลีกล่าวว่า ฮิช่าม รายงานหะดีษจากอิม่ามศอดิกและอิม่ามอบุลฮาซัน การรายงานเชื่อถือได้
หนังสือคุลาเศาะตุล อักลาล  เล่ม 1  : 273  อันดับที่ 1676.

หัมมาด บินอุษมาน บินซิยาด อัลรุอาซี ชาวกูฟะฮ์ นักรายงานหะดีษ มัซฮับชีอะฮ์อิมามียะฮ์ การรายงานเชื่อถือได้      
ท่านเชคตูซีกล่าวว่า เขาคือหนึ่งจากบรรดาซอฮาบะฮ์ของท่านอิม่ามศอดิก
หนังสือริญาล ตูซี  เล่ม 1 : 165   อันดับที่  1-5240

หัมมาดยังรายงานหะดีษจากอิม่ามมูซากาซิมและอิม่ามริฎอ (อ) เสียชีวิตปีฮศ. 190
หนังสือ ริญาล อัชกัชชี หน้า 375
หนังสือ ตันกีฮุล มะกอล อัลมามกอนี เล่ม 1 หน้า 365



สรุป –

บรรดาอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์จะอ้างอิงคำพูดของท่านไปยังอิม่ามคนก่อนหน้าเป็นลักษณะลูกโซ่ โดยถือว่าเพียงพอแล้ว
 
เหตุเพราะพวกเขาได้รับการถ่ายทอดความรู้จากอิม่ามคนก่อนสืบต่อกันมาจากท่านนบีมุฮัมมัด  ดังนั้นเมื่อหะดีษของบรรดาอิม่ามบทใดผ่านการตรวจสอบสายรายงานแล้วว่า ถูกต้องและเชื่อถือได้  ขอให้ท่านโปรดเข้าใจว่าหะดีษบทนั้นคือ  วจนะของท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)

สิ่งที่ชีอะฮ์ต้องให้ความสำคัญในการนำหะดีษของบรรดาอิม่าม มาอ้างอิงเป็นหลักฐานก็คือ

หะดีษบทนั้นต้องผ่านการตรวจสอบสายรายงานว่า " เชื่อถือได้ "

หรือต้องได้รับการรับรองจากบรรดาอุละมาอ์ว่า " ถูกต้อง "



ดังที่ท่านอิม่าม อะลีได้กล่าวว่า :
 
إِذَا حَدَّثْتُمْ بِحَدِيثٍ فَأَسْنِدُوهُ إِلَى الَّذِي حَدَّثَكُمْ فَإِنْ كَانَ حَقّاً فَلَكُمْ وَ إِنْ كَانَ كَذِباً فَعَلَيْهِ    

เมื่อพวกท่านเล่าหะดีษบทหนึ่งบทใดก็ตาม จงอ้างอิงแหล่งที่มาของหะดีษบทนั้นไปยังผู้ที่รายงานให้พวกเจ้าฟัง  

เพราะหากว่า มันเป็นเรื่องจริงพวกเจ้าก็จงยึดไว้ และหากมันเป็นเรื่องเท็จก็จะตกแก่เขา(คือเป็นแค่คำพูดของผู้เล่า)


สถานะหะดีษ  : มุวัษษัก

ดูอัลกาฟี  โดยเชคกุลัยนี  เล่ม 1 หน้า 52  หะดีษที่  7 เป็นหะดีษที่เชื่อได้




การที่ชีอะฮ์อ้างอิงหะดีษไปที่อิม่ามคนหนึ่งคนใดนั้น กลับถูกพวกวาฮาบีนำมาโจมตี แต่พวกวาฮาบีเองกลับให้การยอมรับหะดีษที่ท่านอิหม่ามมาลิก หัวหน้ามัซฮับมาลิกีได้รายงานว่าท่านรอซูลุลเลาะฮ์กล่าวว่า


و حَدَّثَنِي عَنْ مَالِك أَنَّهُ بَلَغَهُ أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ تَرَكْتُ فِيكُمْ أَمْرَيْنِ لَنْ تَضِلُّوا مَا تَمَسَّكْتُمْ بِهِمَا كِتَابَ اللَّهِ وَسُنَّةَ نَبِيِّهِ
موطأ مالك - (ج 5 / ص 132

المُوَطَّأُ  مَالِك ج 5 ص 1323  ح: 3338  كِتَابُ مَاجَاءَ فِي الْقَدْرِ بَابُ النَّهْيِ عَنِ الْقَوْلِ فِي الْقَدْرِ  
الراوي : مالك خلاصة الدرجة : مرسل   المحدث : مالك  


ท่านมาลิก บินอะนัสรายงานว่า :


แท้จริงท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า :   ฉันได้ทิ้งไว้ให้แก่พวกท่านสองกิจการ พวกท่านจะไม่หลงทาง หากยึดมั่นต่อสองสิ่งนั่น คือคัมภีร์ของอัลลอฮ์และซุนนะฮ์นบีของพระองค์อัลลอฮ์


วิเคราะห์

จะเห็นได้ว่า   อิหม่ามมาลิก บินอะนัสเป็นตาบิอี  ไม่ใช่เศาะหาบะฮ์  มรณะฮ.ศ. 179  
อิหม่ามมาลิกไม่ได้อ้างอิงชื่อเศาะหาบะฮ์ที่รายงานหะดีษบทนี้เลย  
เพราะฉะนั้นมันจึงเป็นหะดีษ  " มุรซัล "  ( คือขาดตอน เพราะผู้รายงานไม่ได้ฟังหะดีษนี้จากปากท่านรอซูลฯโดยตรง )  และสถานะของหะดีษบทนี้คือ  " ดออีฟ " นั่นเอง  


เมื่อสะนัดขาดตอน  ท่านอับดุลบัรริจึงไปหาสะนัดมาเชื่อมต่อให้กับหะดีษบทนี้คือ


مالك أنه بلغه أن رسول الله صلى الله عليه و سلم قال تركت فيكم أمرين الحديث وصله بن عبدالبر من حديث كَثِيْرِ بْنِ عَبْدِاللهِ بْنِ عَمْرُو بْنِ عَوْفٍ، عَنْ أَبِيْهِ، عَنْ جَدِّهِ

تنوير الحوالك ج 1  ص   208 رقم الحديث : 1594


ท่านอิบนุ อับดุลบัรริ ได้นำสะนัด(สายรายงาน)มาเชื่อมต่อให้กับหะดีษบทนี้คือ(รายงาน)

จากกะษีร บินอับดุลลอฮ์ บินอัมรู บินเอาฟ์ - จากบิดาเขา - จากปู่เขา - ท่านรอซูลุลลอฮ์


อ้างอิงจากหนังสือ  

ตันวีรุล ฮะวาลิก ชัรฮุ มุวัตเตาะอ์ โดยมาลิก  เล่ม 1 หน้า 208  หะดีษที่ : 1594

ผู้เรียบเรียงชื่อ ญะลาลุดดีน อัซ-ซิยูฏี
จัดพิมพ์โดย อัลมักตะบะฮ์ อัต-ติญารียะฮ์ อัลกุบรอ ประเทศอียิปต์  ปีพิมพ์ 1969ค.ศ. จำนวนสองเล่ม



แม้ว่าหะดีษของอิหม่ามมาลิกบทนี้จะมีคนนำอิสนาด(สายรายงาน)มาเชื่อมต่อจนเปลี่ยนสถานะสืบไปถึงท่านรอซูลุลลอฮ์ได้ก็จริงอยู่  แต่สายรายงานที่นำมาเชื่อมต่อนี้ ก็เป็นสายรายงานที่อยู่ในระดับ " ดออีฟ " อยู่ดี


ท่านจะพบหะดีษประเภทนี้ในหนังสืออัลมุวัตเตาะอ์อีกมาก   แต่อุละมาอ์อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ก็กล่าวว่า  การรายงานของอิหม่ามมาลิกเชื่อถือได้ว่า หะดีษที่เขารายงานนั้นเป็นคำพูดของท่านรอซูลุลเลาะฮ์จริงๆ



ในทางกลับกันเมื่อชีอะฮ์รายงานหะดีษที่ตรวจสอบแล้วว่าเป็นสะนัดเชื่อถือได้จากบุคคลดังต่อไปนี้

1, อะลี บินอบีตอลิบ

2, ฮาซัน บินอะลี

3, ฮูเซน บินอะลี

4, อะลี ซัยนุลอาบิดีน บินฮูเซน

5, มุฮัมมัด อัลบาเก็ร บินอะลี

6, อิหม่าม ญะอ์ฟัร อัศศอดิก บินมุฮัมมัด

7, มูซา อัลกาซิม บินะอ์ฟัร

8, อะลี อัลริฎอ บินมูซา

9, มุฮัมมัด อัลญะวาด บินอะลี

10, อะลี อัลฮาดี บินมุฮัมมัด

11, ฮาซัน อัลอัสการี บินอะลี

12, มุฮัมมัด  มะฮ์ดี บินฮาซันอัสการี


พวกเขากลับปฏิเสธหะดีษของอะฮ์ลุลบัยต์นบี  ทั้งๆที่บุคคลดังกล่าวมีความน่าเชื่อในด้านการรายงานหะดีษทั้งในทัศนะของอุละมาอ์ซุนนี่และชีอะฮ์อย่างไร้ข้อกังขา.


สรุป –

หะดีษของอิหม่ามทุกคน คือหะดีษของท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ)   ด้วยเงื่อนไขที่ว่า  หะดีษบทนั้นต้องมีสายรายงานเชื่อถือได้.




 
  •  

L-umar



ชีอะฮ์เชื่อว่า     อัลเลาะฮ์  มีความยุติธรรม



หลักศรัทธาของมัซฮับชีอะฮ์ในข้อนี้ได้มาจากโองการกุรอ่านที่อัลเลาะฮ์ตรัสว่า พระองค์ไม่เคยอธรรมต่อสิ่งใด เมื่อพระองค์ไม่อธรรมต่อสิ่งใดย่อมแสดงว่า  อัลลอฮ์ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม  และอะกีดะฮ์ของชีอะฮ์ข้อนี้พิสูจน์ให้รู้ว่า  ชีอะฮ์ไม่มีอะกีดะฮ์แบบพวกมุรญิอะฮ์   หรือแบบพวกก็อดรียะฮ์


อัลอัดลุ (อดิล) – العدل    ในทางภาษาศาสตร์แปลว่า

ความยุติธรรม,ความเสมอภาค,เท่าเทียมกัน,คุณธรรรมเช่น

อัดลุลลอฮ์ -  عدلُ الله– แปลว่าความยุติธรรมของอัลลอฮ์ ความยุติธรรมคือซิฟัต(คุณลักษณะ)หนึ่งของอัลลอฮ์        

ดังที่พระองค์ตรัสว่า

 
مَنْ عَمِلَ صَالِحًا فَلِنَفْسِهِ وَمَنْ أَسَاء فَعَلَيْهَا وَمَا رَبُّكَ بِظَلَّامٍ لِّلْعَبِيدِ


ผู้ใดทำความดีก็ได้แก่ตัวเขาเอง และผู้ทำความชั่วมันก็ตกหนักแก่ตัวเขาเอง และพระผู้อภิบาลของเจ้าไม่เคยอยุติธรรมต่อบ่าว  

 

ซูเราะฮ์ฟุศศิลัต  :  46  


และอัลลอฮ์ตรัสว่า


إِنَّ اللّهَ لاَ يَظْلِمُ النَّاسَ شَيْئًا وَلَـكِنَّ النَّاسَ أَنفُسَهُمْ يَظْلِمُونَ


แท้จริงอัลลอฮ์จะไม่ทรงอธรรม(ซอเล็ม)แก่มนุษย์แต่อย่างใด แต่มนุษย์ต่างหากที่อธรรมต่อตัวของพวกเขาเอง  


ซูเราะฮ์ยูนุส  :  44
 


เชคศอดูกกล่าวว่า  :


อะกีดะฮ์ของชีอะฮ์คือ อัลลอฮ์ทรงสั่งใช้ให้เราปฏิบัติด้วยความอาดิล  


ดังที่อัลลอฮ์ตรัสว่า


مَن جَاء بِالْحَسَنَةِ فَلَهُ عَشْرُ أَمْثَالِهَا وَمَن جَاء بِالسَّيِّئَةِ فَلاَ يُجْزَى إِلاَّ مِثْلَهَا وَهُمْ لاَ يُظْلَمُونَ


ผู้ใดที่นำความดีมา เขาก็จะได้รับสิบเท่าของความดีนั้น และผู้ใดนำความชั่วมาเขาจะไม่ถูกตอบแทน นอกจากเท่าความชั่วนั้นเท่านั้น และพวกเขาจะไม่ถูกอธรรม  


ซูเราะฮ์อันอาม : 160



อัลอัดลุ คือการมอบษะวาบรางวัลแก่ความดี และลงโทษแก่ความชั่ว

หนังสืออัลเอี๊ยะอ์ติกอด๊าต โดยเชคศอดูก หน้า 70



ชีอะฮ์เชื่อว่า


อัลลอฮ์ทรงให้ความยุติธรรมต่อมนุษย์ทุกคน ความอธรรมจะไม่ออกมาจากอัลลอฮ์อย่างเด็ดขาด  อัลลอฮ์ไม่ได้กำหนดให้มนุษย์คนหนึ่งเป็นคนดีแล้วให้ขึ้นสวรรค์และกำหนดอีกคนหนึ่งเป็นคนเลวแล้วส่งลงนรก  

แต่อัลลอฮ์ทรงแนะนำหนทางทั้งดีและชั่วไว้หมดแล้ว มนุษย์จะเลวมันขึ้นอยู่ที่ตัวเขาเอง เพราะอัลลอฮ์ทรงประทานสติปัญญาให้มนุษย์ใช้คิดและประทานคัมภีร์อัลกุรอานมาเป็นคำชี้นำแก่มนุษย์    


อัลอัดลุ - العدل ( ยุติธรรม) ตรงกันข้ามกับอัซ-ซุลมุ - الظلم ( อยุติธรรม)  ซุลมุนหมายถึงการวางของผิดที่    คือการให้สิ่งตรงกันข้ามกับที่ควรจะได้รับเช่น


ถ้าอัลลอฮ์ประทานสิ่งไม่ดีให้กับบ่าวที่ร้องขอสิ่งดีงาม หรือทรงประทานความโง่ให้กับบ่าวที่ร้องขอความรู้จากพระองค์   นั่นคือการซอเล็ม ถ้าอัลลอฮ์ทรงกระทำเช่นนั้น ย่อมถือว่าพระองค์ได้ซอเล็ม (อธรรม )ต่อมนุษย์ ( แต่อัลลอฮ์ทรงสูงส่งเกินกว่าที่จะอธรรมสิ่งใดๆทั้งสิ้น )

เพราะฉะนั้นความอาดิลจึงหมายถึง     ตะซาวี - تساوی     แปลว่า


ความเท่าเทียมหรือเที่ยงธรรม




อนึ่งการกระทำของอัลลอฮ์จะเกี่ยวพันอยู่กับมุสลิมบนโลกนี้ในแง่ของความเป็นธรรมตามสภาวะการณ์


และอัลลอฮ์จะทรงประทานให้กับมนุษย์ตามสิ่งที่พวกเขาวอนขอและต้องการ  ท่านต้องเข้าใจว่า  อัลลอฮ์ไม่เคยบังคับมนุษย์ให้ทำสิ่งใดเกินความสามารถ      


อัลลอฮ์ตรัสว่า  


لاَ يُكَلِّفُ اللّهُ نَفْسًا إِلاَّ وُسْعَهَا لَهَا مَا كَسَبَتْ وَعَلَيْهَا مَا اكْتَسَبَتْ


อัลลอฮ์ไม่ทรงบังคับชีวิตหนึ่งชีวิตใด นอกจากตามความสามารถของชีวิตนั้นเท่านั้น ชีวิตนั้นจะได้รับการตอบแทนความดีในสิ่งที่เขาได้แสวงหาไว้ และชีวิตนั้นจะได้รับการลงโทษในความชั่วที่เขาได้แสวงหาไว้    
   

ซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์ : 286



ภาระกิจที่อัลลอฮ์มอบให้มนุษย์ปฏิบัติย่อมเป็นประโยชน์สำหรับมนุษย์เสมอ อีกทั้งมีการตอบแทนเป็นทวีคูณในภาระกิจเหล่านั้นบนเงื่อนไขที่ว่า เมื่อมนุษย์เชื่อฟังและปฏิบัติตาม(ตออะฮ์คือความดี= ฮะซะนะฮ์)

และเช่นกันจะมีบทลงโทษต่อมนุษย์ที่ไม่เชื่อฟังและฝ่าฝืนคำสั่ง (มะอ์ซิยะฮ์คือความชั่ว= สัยยิอะฮ์) เพราะฉะนั้นความดีและความชั่วที่มนุษย์ก่อไว้จะมีผลตอบสนองกับตัวเขาติดตามมาอย่างแน่นอนในวันกิยามะฮ์




ความชั่วร้ายเลวทรามเกิดจากใคร ?



อัลลอฮ์ตะอาลาตรัสว่า


مَّا أَصَابَكَ مِنْ حَسَنَةٍ فَمِنَ اللّهِ وَمَا أَصَابَكَ مِن سَيِّئَةٍ فَمِن نَّفْسِكَ

ความดีใด ๆ ที่มาประสบแก่เจ้านั้นมาจากอัลลอฮ์ และความชั่วใด ๆ ที่มาประสบแก่เจ้านั้นมาจากตัวของเจ้าเอง    



ซูเราะฮ์อัน-นิซาอ์ : 79  

ชีอะฮ์เชื่อว่า เป็นไม่ได้ที่อัลลอฮ์จะกำหนดให้มนุษย์คนหนึ่งเป็นคนชั่ว แล้วเอาเขาลงนรก   เพราะเหตุที่เขาถูกกำหนดให้ทำชั่ว

หากอัลลอฮ์ทรงกำหนดเช่นนั้นจริง ย่อมถือว่าอัลลอฮ์ไม่มีความยุติธรรมต่อมนุษย์และนั่นคือความอธรรมกดขี่นั่นเอง        



อัลลอฮ์ตรัสว่า  


أَلاَ لَعْنَةُ اللّهِ عَلَى الظَّالِمِينَ


จึงรู้เถิดว่า  อัลลอฮ์ทรงละอ์นัตสาปแช่งคนซอเล็ม(ผู้อธรรม)ทั้งหลาย  


ซูเราะฮ์ ฮูด : 18





อัลลอฮ์คือผู้สร้างความชั่วร้ายจริงหรือ ?



อัลลอฮ์ตะอาลาตรัสว่า

مِن شَرِّ مَا خَلَقَ

จากความชั่วร้ายที่พระองค์ทรงสร้างมา    

ซูเราะฮ์ อัลฟะลัก : 2





ชัรรุน - شر " แปลว่า


สิ่งไม่ดี,ความชั่วร้าย,ความเลว,อันตราย    




อธิบาย :

ท่านต้องเข้าใจก่อนว่า ในตัวมนุษย์และทุกสิ่งในโลกนี้ (มัคลู๊ก – สิ่งถูกสร้าง )  มีทั้งดีและไม่ดีอยู่ในตัวเองอย่างสมบูรณ์แบบ      

ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต วัตถุหรือไม่ใช่วัตถุ    

มนุษย์หรือญิน      หรือสัตว์ร้ายเช่นสิงห์โต,เสือ  

แมลงหรือสัตว์เลื้อยคลานเช่น แมงป่อง, ตะขาบ,งูเห่า  

ต้นไม้ใบหญ้าพืชผักผลไม้    

ในตัวของมัน  ล้วนมีทั้งสรรพคุณและเป็นพิษเป็นอันตราย  

หรือโรคภัยไข้เจ็บ  หรือ  ภัยธรรมชาติเช่นลมพายุ,น้ำท่วม

หรือชัยตอนมารร้ายที่มองไม่เห็น  ที่คอยกระซิบกระซาบจิตใจมนุษย์...

สิ่งเหล่านี้อาจสร้างความเดือดร้อนให้คนเราได้ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะความเป็นอยู่ของแต่ละคน ว่าจะเผชิญกับสภาวะกาลเช่นใด  

มนุษย์บางคนทุ่มเทชีวิตเพื่อค้นคว้าตัวยารักษาโรคระบาดที่รักษาไม่หาย จนหายได้

แต่มีบางคนผลิตสารเคมีบางอย่างมาเพื่อทำลายชีวิตมนุษย์นับล้านคน  มนุษย์ระเบิดหินจากภูเขามาสร้างอาคารบ้านเรือนเพื่อปกป้องชีวิตให้พ้นจากภัยอันตราย  แต่ก้อนหินเหล่านั้นก็สามารถทำให้มนุษย์ถึงแก่ความตายได้เช่นกัน  

สิงห์โตเป็นสัตว์ดุร้ายคร่าชีวิตมนุษย์ได้ในพริบตา แต่มนุษย์ก็สามารถฝึกฝนมันจนเชื่องนำมาแสดงละครสัตว์ให้ความเพลิดเพลินได้เช่นกัน  

แมงป่องทะเลทรายมีพิษร้ายแรงมากถ้าคนถูกต่อยก็ตายได้ แต่พิษของมันก็สามารถรักษาคนเป็นอัมพาตให้หายได้  

งูเห่าฉกคนตายได้และพิษงูเห่าก็ผลิตเป็นเซรุ่มได้ด้วยเช่นกัน  

ลมและน้ำมีทั้งคุณและโทษ ถ้าลมไม่พัดอากาศจะร้อน แต่ถ้าลมพัดแรงก็กลายเป็นพายุ  

ถ้าฝนไม่ตกก็เกิดภัยแล้ง แต่ถ้าตกชุกมากไปน้ำก็ท่วม

อัลลอฮ์ไม่ได้สร้างสิ่งเหล่านี้มาให้โทษให้ร้ายกับมนุษย์   แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นมันขึ้นอยู่ที่สภาวะกาลและตัวแปร

เพราะฉะนั้นเราจะเหมาเอาสิ่งไม่ดีที่เกิดขึ้นจากคนและสิ่งต่างๆที่เราเผชิญกับมันไปปรักปรำว่า  อัลลอฮ์ทรงประสงค์จะให้สิ่งร้ายๆเกิดขึ้นกับเรานั้นไม่ได้  

เพราะอัลลอฮ์ทรงเปี่ยมด้วยความเมตตาและทรงให้ความยุติธรรมต่อมนุษย์ทุกคนไม่ว่ามุอ์มินหรือกาเฟ็ร


สรุป –

นี่คือความเชื่อของชีอะฮ์ว่า   อัลเลาะฮ์นั้นมีความยุติธรรมต่อทุกสิ่ง    ที่กำลังถูกพวกวาฮาบีโจมตีว่า  อะกีดะฮ์ข้อนี้ฝ่ายอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ไม่มี   ซึ่งนั่นได้แสดงว่า พวกเขาไม่เชื่อว่า  อัลเลาะฮ์มีความยุติธรรมนั่นเอง.  
  •  

L-umar



ชีอะฮ์กับความเชื่อในเรื่องบรรดานบี




นบี  ( نَبِيٌّ ) ทางภาษาศาสตร์แปลว่า    ผู้ประกาศข่าว    

มาจากคำว่า  อัน-นะบะอ์ ( النبأ ) แปลว่า ข่าว

นบีคือผู้ประกาศข่าวของอัลลอฮ์  

คนไทยมักแปลคำ " นบี "  ว่า    ศาสดา  

และแปลคำ  " รอซูล "  ว่า     ศาสนฑูต


อัลลอฮ์ตรัสว่า
 
فَبَعَثَ اللّهُ النَّبِيِّينَ مُبَشِّرِينَ وَمُنذِرِينَ وَأَنزَلَ مَعَهُمُ الْكِتَابَ

แล้วอัลลอฮ์ได้ส่งบรรดานบีทั้งหลายมาในฐานะผู้แจ้งข่าวดี และผู้ตักเตือนข่าวร้าย และทรงประทานคัมภีร์มาพร้อมกับพวกเขา  

ซูเราะฮ์ อัลบะก่อเราะฮ์  : 213


อัลกุรอานยังระบุว่า   อัลลอฮ์ได้ส่งศาสดาไปยังทุกหมู่ชนทุกประชาชาติ เพื่อเชิญชวนพวกเขาสู่สัจธรรมและออกห่างจากตอฆูตทั้งหลาย
 

อัลลอฮ์ตรัสว่า

 
وَلَقَدْ بَعَثْنَا فِي كُلِّ أُمَّةٍ رَّسُولاً أَنِ اعْبُدُواْ اللّهَ وَاجْتَنِبُواْ الطَّاغُوتَ فَمِنْهُم مَّنْ هَدَى اللّهُ وَمِنْهُم مَّنْ حَقَّتْ عَلَيْهِ الضَّلالَةُ فَسِيرُواْ فِي الأَرْضِ فَانظُرُواْ كَيْفَ كَانَ عَاقِبَةُ الْمُكَذِّبِينَ


และโดยแน่นอน เราได้ส่งรอซูลมาในทุกประชาชาติ (โดยบัญชาว่า) "พวกท่านจงเคารพภักดีอัลลอฮ์ และจงหลีกหนีให้ห่างจากพวกเจว็ด" ดังนั้น ในหมู่พวกเขามีผู้ที่อัลลอฮ์ทรงชี้แนะทางให้และในหมู่พวกเขามีการหลงผิดคู่ควรแก่เขา ฉะนั้นพวกเจ้าจงตระเวนไปในแผ่นดิน แล้วจงดูว่าบั้นปลายของผู้ปฏิเสธนั้นเป็นเช่นใด !      

ซูเราะฮ์อัน-นะห์ลุ : 36


وَمَا أَرْسَلْنَا مِن قَبْلِكَ مِن رَّسُولٍ إِلَّا نُوحِي إِلَيْهِ أَنَّهُ لَا إِلَهَ إِلَّا أَنَا فَاعْبُدُونِ


และเรามิได้ส่งรอซูลคนใดก่อนหน้าเจ้านอกจากเราได้วะห์ยูแก่เขาว่า " แท้จริงไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากข้า ดังนั้นพวกเจ้าจงเคารพภักดีต่อข้า "      


ซูเราะฮ์อัลอันบิยาอ์ : 25


อัลลอฮ์ตรัสว่า

 
مَّا كَانَ مُحَمَّدٌ أَبَا أَحَدٍ مِّن رِّجَالِكُمْ وَلَكِن رَّسُولَ اللَّهِ وَخَاتَمَ النَّبِيِّينَ


มุฮัมมัดมิได้เป็นบิดาใครจากบรรดาบุรุษของพวกเจ้า แต่เขาคือรอซูลุลลอฮ์ และเป็น นบีคนสุดท้าย (ของโลก)    


ซูเราะฮ์อัลอะห์ซาบ : 40  




ชีอะฮ์เชื่อว่า       นบีมุฮัมมัดคือศาสดาคนสุดท้ายของโลก  


แต่พวกวาฮาบีกลับใส่ร้ายว่า   ชีอะฮ์กล่าวว่า  ท่านญิบรออีลได้นำวะห์ยูของอัลเลาะฮ์มาให้ผิดคน  กล่าวคือความจริง ญิบรออีลต้องนำมาให้ท่านอะลี แต่กลับนำไปให้ท่านนบีมุฮัมมัด ซึ่งนี่คือการใส่ร้ายป้ายสีของพวกวาฮาบีที่พยายามปลุกระดมให้มุสลิมมองมัซฮับชีอะฮ์ในภาพลบ



การศรัทธาต่อนบีมุฮัมมัด(ศ)ยังครอบคลุมถึงการศรัทธาต่อ

1,อัลลอฮ์

2,มลาอิกะฮ์

3,บรรดาคัมภีร์

4,ต่อบรรดานบีทั้งหลาย

5,ต่อวันสิ้นโลกอีกด้วย

เพราะนบีคือผู้ประกาศข่าวจากอัลลอฮ์



มุอ์ญิซะฮ์ – معجزة  

คือหลักฐานการเป็นนบี   มุอ์ญิซะฮ์แปลว่า


การสำแดงสิ่งที่มนุษย์ธรรมดาไม่สามารถเลียนแบบได้

ภาษาไทยเรียกว่า    ความมหัศจรรย์หรือปาฏิหารย์


อะไรคือ  มุอ์ญิซะฮ์  ของท่านนบีมุฮัมมัด  ?

คัมภีร์อัลกุรอาน คือมุอ์ญิซะฮ์ของนบีมุฮัมมัด(ศ)

เพราะมนุษย์ทั้งโลกตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน  ไม่สามารถลอกเลียนแบบหรือแต่งให้เหมือนได้แม้เพียงหนึ่งบท(ซูเราะฮ์)

ชีอะฮ์เชื่อว่า

พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ( كلام الله ) ที่อัลลอฮ์ทรงประทานให้แก่นบีมุฮัมมัด(ศ) มีทั้งหมด 114 บท (ซูเราะฮ์) หรือ 6,236 โองการ (อายะฮ์)

อ้างอิงจากหนังสืออัลเอี๊ยะอ์ติกอด๊าต โดยเชคศอดูก  หน้า 85


คัมภีร์อัลกุรอานเป็นสิ่งที่อยู่เหนือความสามารถของมนุษย์และญิน ที่คิดจะเลียนแบบ ต่อเติม ตัดทอน และบิดเบือน ได้มีความพยายามของมนุษย์ตั้งแต่ยุคแรกจนกระทั่งถึงปัจจุบัน เพื่อกระทำการดังกล่าว ถึงแม้จะมีมนุษย์บางคนหลงผิดเชื่อฟังไปบ้างก็ตาม แต่อัลลอฮ์จะทรงคุ้มครองปกป้องรักษาคัมภีร์ของพระองค์ ให้พ้นจากการกระทำดังกล่าว จวบจนกระทั่งถึงวันกิยามะฮอย่างแน่นอน


อัลลอฮ์ตรัสว่า

إِنَّا نَحْنُ نَزَّلْنَا الذِّكْرَ وَإِنَّا لَهُ لَحَافِظُونَ

แท้จริงเราได้ประทานอัลกุรอานลงมา และแท้จริงเราคือผู้ปกป้องมัน  

ซูเราะฮ์ อัลหิจญ์รุ  :  9



قُل لَّئِنِ اجْتَمَعَتِ الإِنسُ وَالْجِنُّ عَلَى أَن يَأْتُواْ بِمِثْلِ هَذَا الْقُرْآنِ لاَ يَأْتُونَ بِمِثْلِهِ وَلَوْ كَانَ بَعْضُهُمْ لِبَعْضٍ ظَهِيرًا


จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด แน่นอนหากมนุษย์และญินรวมกันที่จะนำมาเช่นอัลกุรอานนี้ พวกเขาไม่อาจจะนำมาเช่นนั้นได้ และแม้ว่าบางคนในหมู่พวกเขาเป็นผู้ช่วยเหลือแก่อีกบางคนก็ตาม    


ซูเราะฮ์ อัลอิสรอ  :  88


หลักฐานอายะฮ์กุรอ่านข้างต้นระบุชัดว่า  คัมภีร์อัลกุรอานสมบูรณ์  ไม่ถูกตัดทอนหรือเพิ่มเติมแก้ไขใดๆทั้งสิ้น  




แต่พวกวาฮาบีได้พยายามหาหลักฐานจากตำราหะดีษชีอะฮ์และจากทัศนะอุละมาอ์บางคนมาปรักปรำมัซฮับชีอะฮ์ว่า   พวกชีอะฮ์มีความเชื่อว่า  คัมภีร์กุรอ่าน  ไม่สมบูรณ์
เช่นหยิบยกหนังสือฟัศลุลคิตอบ (فصل الخطاب)  ที่เรียบเรียงโดยมีรซาฮูเซน นูรี อัต- ต็อบรอซี ( มรณะฮศ.1320 )   มาโจมตี


หากพวกเขาได้ย้อนกลับไปดูตำราฮะดีษที่น่าเชื่อถือในทัศนะของพวกเขา จะพบว่า มีหะดีษที่รายงานว่า อัลกุรอานถูกตัดออกไปหรือสูญหายไป ซึ่พวกเขาเองก็ไม่อาจจะปฏิเสธหะดีษเหล่านั้นได้ เพราะมันเป็นหะดีษเศาะหิ๊หฺเช่น


قال حدثنا ابن أبي مريم عن ابن لهيعة عن أبي الأسود عن عروة بن الزبير عن عائشة قالت كانت سورة الأحزاب تقرأ في زمن النبي مائتي آية فلما كتب عثمان المصاحف لم يقدر منها إلا على ما هو الآن  الإتقان في علوم القران للسيوطي ج 2 ص 66 ح : 4118

จากอุรวะฮ์ บิน ซุเบร จากอาอิชะฮ์เล่าว่า : เดิมทีซูเราะฮ์อัลอะห์ซาบที่เราเคยอ่านกันในสมัยท่านนบี(ศ)มีจำนวน 200 อายะฮ์ ต่อมาเมื่ออุษมานได้รวบรวมบันทึกมุศฮัฟต่างๆ เราไม่สามารถ(หาเจอ)จากอายะฮ์เหล่านั้น นอกจากที่มันมีอยู่ตอนนี้

อัลอิตกอน ฟีอุลูมิลกุรอ่าน เล่ม 2 : 66 หะดีษที่ 4118


عن عَاصِمِ بْنِ أَبِي النَّجُودِ عَنْ زِرٍّ (يَعْنِي ابْنَ حُبَيْشٍ) عن أبي بن كعب قال : كَانَتْ سُورَةُ الأَحْزَابِ تُوَازِي سُورَةَ الْبَقَرَةِ ، فَكَانَ فِيهَا : الشَّيْخُ وَالشَّيْخَةُ ، إِذَا زَنَيَا ، فَارْجُمُوهُمَا الْبَتَّةَ.
قال شعيب الأرنؤوط : عاصم بن أبي النجود صدوق له أوهام وحديثه في الصحيحين مقرون وباقي السند ثقات على شرط الصحيح
صحيح ابن حبان ج 10  ص 273  ح : 4428  لأحاديث مذيلة بأحكام شعيب الأرنؤوط عليها

จากอาศิม บินอบิน-นะญูด จากท่านอุบัย บินกะอับเล่าว่า : เดิมซูเราะฮ์อัลอะห์ซาบนั้นมีขนาด(คือมีจำนวน)เท่าซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์ ในนั้นมีโองการ ชายชราและหญิงชรา เมื่อทั้งสองทำซีนา ดังนั้นจงขว้างทั้งสอง(ด้วยหิน)

สถานะหะดีษ : เศาะหิ๊หฺ
 
ดูเศาะฮีฮุ อิบนิหิบบาน หะดีษที่ 4428  ตรวจทานโดยเชคชุเอบ อัลอัรนะอูฐ



เป็นที่ทราบดีว่า คัมภีร์กุรอ่านฉบับปัจจุบัน ซูเราะฮ์อัลอะห์ซาบมี 73 อายะฮ์ แต่หะดีษข้างต้นรายงานว่า แต่ก่อนมีจำนวนเท่ากับซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์แสดงว่ามี 127 อายะฮ์สูญหายไปจากซูเราะฮ์อัลอะห์ซาบ ขอถามว่า 127 อายะฮ์ดังกล่าวหายไปไหน ?
   

นักวิชาการของพวกเขาอาจอ้างว่า 127 อายะฮ์ดังกล่าวถูกยกเลิก(มันซูค) เราขอถามว่า

มันถูกยกเลิกไปหลังจากนบีมุฮัมมัดวะฟาตกระนั้นหรือ ?

และถูกยกเลิกไปเพราะอะไร ?  


นี่เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างเท่านั้น หากเราจะนำหะดีษอื่นๆมาแสดง คงต้องเขียนหนังสือขึ้นมาต่างหากอีกเล่มหนึ่ง


หะดีษชีอะฮ์ที่รายงานว่า  อัลกุรอานถูกตะห์รีฟก็มีจำนวนหนึ่งเช่นกัน แต่เงื่อนไขของวิชาการชีอะฮ์ในการรับหะดีษคือ


1.   ต้องตรวจสอบสะนัดหะดีษนั้นก่อนว่า    สายรายงาน เชื่อถือได้แค่ไหน  

2.   ต้องตะอ์วีลตีความตัวบทหะดีษเหล่านั้น  จะยึดความหมายที่แปลตรงตัวไม่ได้


หะดีษที่พวกวาฮาบีชอบหยิบมาโจมตีชีอะฮ์เรื่องอัลกุรอ่านไม่สมบูรณ์เช่น
 

عَلِيُّ بْنُ الْحَكَمِ عَنْ هِشَامِ بْنِ سَالِمٍ عَنْ أَبِي عَبْدِ اللَّهِ ع قَالَ إِنَّ الْقُرْآنَ الَّذِي جَاءَ بِهِ جَبْرَئِيلُ ع إِلَى مُحَمَّدٍ ص سَبْعَةَ عَشَرَ أَلْفَ آيَةٍ


จากอะลี บินหะกัม จากฮิชาม บิน ซาลิม จากท่านอบีญะอ์ฟัร(อ) กล่าวว่า :
แท้จริงอัลกุรอานที่ญิบรออีล(อ)นำมายังท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลฯ มีจำนวน 17,000 อายะฮ์

สถานะหะดีษ : ดออีฟ  

ดูอัลกาฟี เล่ม 2 หน้า 634 หะดีษที่ 28 บาบอัน-นะวาดิร



ทำไมหะดีษนี้จึง   ดออีฟ  ?


เชิญฟังการวิเคราะห์ ดังนี้ :  

เชคกุลัยนีผู้บันทึกหะดีษบทนี้ ไม่ได้ยอมรับว่าหะดีษบทนี้ถูกต้อง เขาจึงบันทึกไว้ในบทชื่อ บาบ อัน – นะวาดิร เอกพจน์คือ นาดิร  

หะดีษนาดิรหมายถึง หะดีษช๊าซ ( الشاذ - แหวกแนว ) มีเพียงหนึ่งหะดีษในหนังสืออัลกาฟี โดยที่ไม่พบในหนังสือหะดีษของชีอะฮ์เล่มอื่นๆอีก  

ส่วนสะนัดหะดีษ  มีผู้รายงานเพียงคนเดียวคือ : ฮิชาม บิน ซาลิม  หะดีษบทนี้จึงเป็นหะดีษประเภทอาฮ๊าด (آحاد) หรือ ค่อบัรวาฮิด (خبرالواحد)  ซึ่งจะเอาหะดีษอาฮ๊าดมายึดถือเป็นบรรทัดฐานทางอะกีดะฮ์และอะห์กามไม่ได้ทั้งสิ้น

อีกประการหนึ่งคือหะดีษบทนี้ เป็นหะดีษที่ไม่มัชฮูร(ไม่เป็นที่รู้จัก) ชีอะฮ์มีหลักการว่าต้องเชื่อและปฏิบัติตามเรื่องที่เป็น  " อิจญ์ติม๊าอ์ "  คือเป็นมติของอุละมาอ์เท่านั้น  


คัมภีร์อัลกุรอาน ฉบับที่กษัตริย์ฟาฮัดแห่งประเทศซาอุดิอารเบีย พิมพ์แจกจ่ายทั่วโลก มีจำนวน 6,236 อายะฮ์

ท่านจะเห็นได้ว่า มัสญิดชีอะฮ์ทุกแห่งในโลกและบ้านชีอะฮ์ทุกหลัง ล้วนใช้คัมภีร์กุรอ่านฉบับคิงฟาฮัดนี้อ่านกันอยู่ทุกวัน

หากชีอะฮ์มีคัมภีร์กุรอานฉบับอื่นจากนี้จริง พวกวาฮาบีคงจะไปนำเอาคัมภีร์กุรอ่านฉบับนั้นออกมาเปิดโปงให้โลกมุสลิมได้รับรู้ไปนานแล้ว แต่พวกเขาก็หามาพิสูจน์ไม่ได้  นอกเสียจากเป็นหะดีษจากตำราชีอะฮ์และทัศนะอุละมาอ์ชีอะฮ์บางคนเท่านั้น


ทำไมพวกวาฮาบีไม่คิดบ้างว่า การนำสิ่งนี้มาพูดมากล่าว โลกมุสลิมไม่ได้รับประโยชน์อันใดเลย ในการที่พวกเขาพยายามหยิบยกหะดีษชีอะฮ์มาโจมตีว่า อัลกุรอ่านไม่สมบูรณ์  เพราะผลเสียย่อมเกิดขึ้นกับศาสนาอิสลาม เนื่องจากมุสลิมเชื่อว่า อัลกุรอานเป็นคัมภีร์เล่มเดียวในโลกที่ไม่เคยถูกสังคายนา


 

เรามาถึงคำถามที่ต้องอธิบายให้ชัดเจนว่า  



ชีอะฮ์เชื่อว่า  คัมภีร์อัลกุรอาน  ถูกบิดเบือนจริงหรือ ?


เมื่อชีอะฮ์คนหนึ่งคนใดถูกถามด้วยคำถามนี้  ต้องขอบอกว่า ท่านอย่าพยายามหลีกเลี่ยงไปทางไหนทั้งสิ้น  แต่ท่านต้องนำหะดีษต่อไปนี้อธิบายให้พวกวาฮาบีเข้าใจว่า  



บรรดาอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์ซึ่งเป็นหัวหน้าของชีอะฮ์
ได้สั่งชีอะฮ์ว่า  หากพบหะดีษบทใดที่ขัดแย้งกับคัมภีร์กุรอ่าน  ก็จงโยนหะดีษนั้นทิ้งไปเพราะมันคือหะดีษเท็จ



หลักฐาน                        
 
 عَنْ أَبِي عَبْدِ اللَّهِ ع قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ ص إِنَّ عَلَى كُلِّ حَقٍّ حَقِيقَةً وَ عَلَى كُلِّ صَوَابٍ نُوراً فَمَا وَافَقَ كِتَابَ اللَّهِ فَخُذُوهُ وَ مَا خَالَفَ كِتَابَ اللَّهِ فَدَعُوهُ

ท่านอิม่ามศอดิกกล่าวว่า    :  

ท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ)กล่าวว่า  :  แท้จริงสารัตถะนั้นมีอยู่บนทุกสิ่งที่เป็นสัจธรรม และรัศมีนั้นมีอยู่บนทุกสิ่งที่ถูกต้อง  

ฉะนั้นสิ่งใดที่สอดคล้องตรงกับคัมภีร์กุรอ่าน พวกท่านจงยึดมั่นเอาไว้(เพราะกุรอ่านคือเมนหลักของทุกสิ่ง)  
และสิ่งใดที่ขัดแย้งต่อคัมภีร์ของอัลลอฮ์   พวกท่านก็จงทิ้งมันไป

สถานะหะดีษ  :  มุวัษษัก   ดูอัลกาฟี   เล่ม 1 : 69 หะดีษที่  1  
 

 حُسَيْنُ بْنُ أَبِي الْعَلَاءِ أَنَّهُ حَضَرَ ابْنَ أَبِي يَعْفُورٍ فِي هَذَا الْمَجْلِسِ قَالَ سَأَلْتُ أَبَا عَبْدِ اللَّهِ ع عَنِ اخْتِلَافِ الْحَدِيثِ يَرْوِيهِ مَنْ نَثِقُ بِهِ وَ مِنْهُمْ مَنْ لَا نَثِقُ بِهِ قَالَ إِذَا وَرَدَ عَلَيْكُمْ حَدِيثٌ فَوَجَدْتُمْ لَهُ شَاهِداً مِنْ كِتَابِ اللَّهِ أَوْ مِنْ قَوْلِ رَسُولِ اللَّهِ ص وَ إِلَّا فَالَّذِي جَاءَكُمْ بِهِ أَوْلَى بِه

ฮูเซน บินอบิลอะลาอ์เล่าว่า  :  

เขาได้เข้าร่วมอยู่กับอิบนิ อบียะอ์ฟูรในที่ประชุมนี้ (คืออยู่กับท่านอิม่ามศอดิก)  

เขากล่าวว่า   :

ฉันได้ถามท่านอบูอับดุลลอฮ์ ( คืออิม่ามศอดิก ) ถึง  ความขัดแย้งของหะดีษ  ที่รายงานมันโดยผู้ที่เราให้ความเชื่อถือต่อเขา  และจากบางส่วนของพวกเขาที่เราไม่มีความเชื่อ(การรายงาน)ต่อเขา

ท่านอิม่ามกล่าวว่า    :
 
เมื่อมีรายงานมายังพวกท่านซึ่งหะดีษบทหนึ่ง   แล้วพวกท่านพบหลักฐานยืนยันจากคัมภีร์ของอัลลอฮ์สำหรับหะดีษบทนั้น  หรือ ( พบหลักฐานยืนยัน ) จากคำพูดของท่านรอซูลุลเลาะฮ์  ( ดังนั้นพวกท่านจงยึดมันไว้)

เพราะอื่นจากนั้น  ผู้ที่นำมันมายังพวกท่าน ย่อมทรงสิทธิสูงสุดต่อมัน  

สถานะหะดีษ  :  เศาะหิ๊หฺ   ดูอัลกาฟี   เล่ม 1 : 69 หะดีษที่  2


 
عَنْ أَبِي عَبْدِ اللَّهِ ع قَالَ مَا لَمْ يُوَافِقْ مِنَ الْحَدِيثِ الْقُرْآنَ فَهُوَ زُخْرُفٌ


ท่านอิม่ามศอดิกกล่าวว่า :


ไม่ว่าหะดีษบทใดก็ตาม  ที่ไม่สอดคล้องตรงกับคัมภีร์กุรอ่าน   หะดีษดังกล่าวนั้นคือ   เรื่องเท็จ


สถานะหะดีษ  :  มุวัษษัก   ดูอัลกาฟี   เล่ม 1 : 69 หะดีษที่  4



อธิบาย -


ทำไมจึงถือว่ามันเป็นหะดีษกุ      เพราะคัมภีร์กุรอ่านคือหลักฐานที่เชื่อถือได้ร้อยเปอร์เซ็น  ( ดะลีล ก็อฏอี ) ที่ต้องนำหน้าหะดีษทุกบท

แม้ว่าหะดีษบทนั้นจะมีสายรายเชื่อถือได้มากแค่ไหนก็ตาม   แต่หะดีษก็เป็นหลักฐานประเภทสอง ( ดะลีล ซ็อนนี )  

ดังนั้นเมื่อพบหะดีษบทใดมีเนื้อหาไปขัดแย้งกับคัมภีร์กุรอ่าน  ย่อมถือว่า หะดีษนั้น  บาติล ( โมฆะ  )  จะยึดถือเป็นหลักฐานไม่ได้




 
عَنْ أَبِي عَبْدِ اللَّهِ ع قَالَ خَطَبَ النَّبِيُّ ص بِمِنًى فَقَالَ أَيُّهَا النَّاسُ مَا جَاءَكُمْ عَنِّي يُوَافِقُ كِتَابَ اللَّهِ فَأَنَا قُلْتُهُ وَ مَا جَاءَكُمْ يُخَالِفُ كِتَابَ اللَّهِ فَلَمْ أَقُلْهُ


ท่านอิม่ามศอดิกเล่าว่า   :

ท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ)ได้ปราศรัยที่มินาว่า     โอ้ประชาชนทั้งหลาย   สิ่งใดที่ออกมาจากข้าพเจ้า  ซึ่งตรงกับคัมภีร์ของอัลเลาะฮ์  ฉะนั้นข้าพเจ้าได้กล่าวมัน

และสิ่งใดที่ได้มายังพวกท่าน ซึ่งขัดแย้งกับคัมภีรืของอัลเลาะฮ์  ฉะนั้นข้าพเจ้าไม่เคยกล่าวมันออกมาเลย
   

สถานะหะดีษ  :  เศาะหิ๊หฺ   ดูอัลกาฟี   เล่ม 1 : 70   หะดีษที่  5


 
สรุป-
 
หะดีษชีอะฮ์ที่ได้รับรายงานมาจากบรรดาอิม่ามเหล่านี้คือ     หลักฐาน    ยืนยันต่อพวกวาฮาบีทั้งหลาย  

และต่อพวกที่ชอบยกหนังสือชีอะฮ์เล่มนั้นเล่มนี้        หรือทัศนะอุละมาอ์ชีอะฮ์คนนั้นคนนี้มาใส่ความ มาปรักปรำ หรือนำมาใส่ร้ายป้ายสีมัซฮับ

ชีอะฮ์ว่า     มีความเชื่อที่ว่า กุรอ่านไม่สมบูรณ์นั้น  คงเป็นโมฆะไป    


ชีอะฮ์ทุกท่านโปรดจำไว้ว่า  มาตรวัดความถูกต้องในเรื่องนี้คือ
 

1.   คัมภีร์อัลกุรอ่าน
 
2.   หะดีษของอะฮ์ลุลบัยต์ ที่อยู่ระดับ มุตะวาติร

3.   ต้องยึดมติของอุละมาอ์ชีอะฮ์เป็นเกณฑ์ตัดสินหะดีษบทนั้น    


เพราะฉะนั้นหะดีษบทใดที่ขัดแย้งกับคัมภีร์กุรอ่าน ก็จงโยนมันทิ้งไป  นี่คือคำสั่งของอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลุบัยต์นบี

หากหนังสือชีอะฮ์เล่มไหนในโลกก็ตามที่กล่าวสอดคล้องกับคัมภีร์กุรอ่านก็ยอมรับได้

หรือถ้าอุละมาอ์ชีอะฮ์คนใดในโลกพูดสิ่งที่ตรงกับคัมภีร์กุรอ่าน   ชีอะฮ์ก็รับปฏิบัติตามได้


ถ้านอกเหนือจากนี้   ถือว่า   มันเป็นเพียงทัศนะของผู้เขียนและเป็นทัศนะของอุละมาอ์คนนั้น

ไม่ใช่ความเชื่อของมัซฮับชีอะฮ์  แม้ว่าผู้เขียนหรือบุคคลคนั้นจะสังกัดตนอยู่ในมัซฮับชีอะฮ์ก็ตาม.


ท่านอิม่ามบาเก็รสั่งเสียแนะนำกับชีอะฮ์ว่า


 الْوُقُوفُ عِنْدَ الشُّبْهَةِ خَيْرٌ مِنَ الِاقْتِحَامِ فِي الْهَلَكَةِ



การหยุดเกี่ยวกับเรื่องที่คลุมเครือ    ย่อมดีกว่าการกระโจนเข้าไปสู่ความหายนะ
 

ดูอัลกาฟี   เล่ม 1 : 50   หะดีษที่  9
  •  

L-umar



ชีอะฮ์เชื่อว่า       นบีมุฮัมมัด (ศ)  คือศาสดา คนสุดท้ายของโลก  และจะไม่มีนบีอีกแล้ว ตราบถึงวันสิ้นโลก



จริงหรือที่ชีอะฮ์เชื่อว่า    นบีมุฮัมมัด   ไม่ใช่ศาสดาคนสุดท้ายของโลก ?



เราลองมาฟังคำพูดของอุละมาอ์ชีอะฮ์ระดับสูงสุดในอดีต


เชคศอดูก

ชื่อเต็มคือ

อบู ญะอ์ฟัร มุฮัมมัด บินอะลี บินฮูเซน บินบาบะวัยฮฺ อัลกุมมี  

เกิดฮ.ศ. 305 มรณะฮ.ศ. 381      



กล่าวว่า

واعتقادنا أن حجج الله تعالى على خلقه بعد نبيه محمد صلى الله عليه وآله وسلم الأئمة الاثنا عشر: أولهم أمير المؤمنين علي بن أبي طالب، ثم الحسن، ثم الحسين، ثم علي بن الحسين، ثم محمد بن علي، ثم جعفر بن محمد، ثم موسى بن جعفر، ثم علي بن موسى، ثم محمد بن علي، ثم علي بن محمد، ثم الحسن بن علي، ثم محمد بن الحسن الحجة القائم صاحب الزمان خليفة الله في أرضه، صلوات الله عليهم

เรา(ชีอะฮ์) เชื่อว่า  

แท้จริงบรรดาฮุจญัตของอัลเลาะฮ์ ตะอาลา บนมัคลูกของพระองค์    หลังจากนบีมุฮัมมัด (ศ)ของพระองค์คือ


บรรดาอิม่ามสิบสองคน  : คนแรกคือท่านอมีรุลมุอ์มินีน อะลีบินอบีตอลิบ  จากนั้นคือ อัลฮาซัน , อัลฮูเซน , อะลีบินฮูเซน , มุฮัมมัด บินอะลี , ญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด, มูซา บินญะอ์ฟัร , อะลี บินมูซา, มุฮัมมัด บินอะลี ,อะลี บินมุฮัมมัด , อัลฮาซัน บินอะลี และมุฮัมมัด บินอัลฮาซัน อัลฮุจญะตุลกออิม  ศอฮิบุซ-ซะมาน  

(พวกเขาทั้งสิบสองคือ ) คอลีฟะฮ์ของอัลเลาะฮ์ในโลกของพระองค์  ซ่อละลาตุลเลาะฮ์ อะลัยฮิ้ม.
   
อ้างอิงจากหนังสือ

อัลเอี๊ยะอ์ติกอด๊าต ฟี ดีนิลอิมามียะฮ์  หน้า 93

ดูที่เวป

สารบัญหนังสือ

http://www.rafed.net/books/aqaed/aleateqadat/index.html

หน้าที่ 93

http://www.rafed.net/books/aqaed/aleateqadat/07.html#35


และ


เชคมุฟีด

ชื่อเต็มคือ

มุฮัมมัด บิน มุฮัมมัด บิน อัน-นุอ์มาน อัลบัฆดาดี

เกิดฮ.ศ.336 มรณะฮ.ศ.413


กล่าวว่า

فإن قيل : هل علمتم من دينه انه خاتم الانبياء ( 1 ) ام لا ؟
فالجواب : علمنا ذلك من دينه صلى الله عليه وآله .
فإن قيل : بما ( 2 ) علمتموه .
فالجواب : علمنا ذلك بالقران ( 3 ) والحديث . اما القرآن فقوله تعالى : ( ما كان محمد ابا احد من رجالكم ولكن رسول الله وخاتم النبيين ) ( 4 ) .
واما الحديث فقوله عليه السلام لعلي عليه السلام : \\\" انت مني بمنزلة هارون من موسى الا انه لا نبي بعدي \\\" ( 5 ) . * * *


 หากถามว่า
 
พวกท่านรู้ จากศาสนาของเขา(นบีมุฮัมมัด) ว่า แท้จริงเขาคือ  นบีคนสุดท้าย หรือไม่ ?

ตอบ
 
เรารู้เรื่องนั้น จากศาสนาของเขา (ศ)

หากถามว่า
 
พวกท่านรู้เรื่องนั้นได้อย่างไร ?

ตอบ

เรารู้เรื่องนั้นด้วยคัมภีร์กุรอ่านและหะดีษ


ส่วนคัมภีร์กุรอ่านคือโองการ


مَا كَانَ مُحَمَّدٌ أَبَا أَحَدٍ مِنْ رِجَالِكُمْ وَلَكِنْ رَسُولَ اللَّهِ وَخَاتَمَ النَّبِيِّينَ


มุฮัมมัดมิได้เป็นบิดาผู้ใดในหมู่บุรุษของพวหเจ้า  แต่เป็นรอซูลของอัลลอฮ์ และเป็นคนสุดท้ายแห่งบรรดานบี



ส่วนหะดีษคือ คำพูดของท่านนบี(ศ)ที่กล่าวกับท่านอะลีว่า


أَنْتَ مِنِّي بِمَنْزِلَةِ هَارُونَ مِنْ مُوسَى إِلَّا أَنَّهُ لَا نَبِيَّ بَعْدِي


ท่านกับฉันมีสถานะดังมูซากับฮารูน   ยกเว้นจะไม่มีนบีหลังจากฉันอีกแล้ว


เชิงอรรถ

( 1 ) ن وم : الرسل . ( 2 ) ل وك : بم . ( 3 ) ك : من النص من القرآن .
( 4 ) الاحزاب : 33 / 40 .
( 5 ) تفسير فرات الكوفي ص 160 ، معاني الاخبار ص 73 ،
سنن الترمذي باب 91 ح 3814 ج 5 / 304 ، سنن ابن ماجة ج 1 / 45 ح 121 . ( * )

อ้างอิงจากหนังสือ

อันนุกัต อัลอิ๊อ์ติกอดียะฮ์   เรียบเรียงโดยเชคมุฟีด   หน้า  38

ดูที่เวป

สารบัญหนังสือ

http://www.islamology.com/mainarabic/mBeliefs/alnekat/

หน้าที่  38

http://www.islamology.com/mainarabic/mBeliefs/alnekat/pa4.html



ทุกท่านคงได้อ่านแล้วว่า



พวกวาฮาบี สกปรกแค่ไหนที่ ใส่ร้ายว่า  ชีอะฮ์ ไม่เชื่อว่า นบีมุฮัมมัดคือ ศาสดาคนสุดท้ายของโลก
พวกวาฮาบียังใส่ความว่า  ชีอะฮ์เชื่อว่า  ท่านญิบรออีลนำวะฮีมาให้ผิดคน  ซึ่งความจริงต้องนำมาให้ท่านอะลี   คำพูดของพวกเขายังดูหมิ่นท่านญิบรออีลว่า ไม่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่อีกด้วย


จากคำใส่ร้ายของพวกวาฮาบีอาจวิเคราะห์ได้สองประเด็นคือ

1.   พวกวาฮาบี  เจตนา ใส่ร้ายชีอะฮ์ ให้มุสลิมเข้าใจผิดต่อมัซฮับชีอะฮ์

2.   พวกวาฮาบี ไม่เคยศึกษาความเชื่อที่ถูกต้องของชีอะฮ์ จากตำราอะกีดะฮ์อันทรงคุณค่าทั้งสองเล่มดังกล่าวเลย  
  •  

L-umar



ประเด็นต่อไปจะนำมาวิเคราะห์คือ



หนึ่ง-

อิมามะฮ์    และ  เคาะลีฟะฮ์             คือเรื่องเดียวกันหรือไม่   ?



สอง -

ผู้นำที่ศาสดามุฮัมมัด  (ศ) กำหนดไว้   มีกี่คน   ?



สาม   -

สิบสอง  ผู้นำ   มีชื่อว่า   อะไร  ?






   
  •  

L-umar



หนึ่ง -


ความหมายของ  \\\" อิหม่าม \\\"   กับ   \\\" คอลีฟะฮ์  \\\"


คำ 1 คำอาจแปลได้หลายความหมายเช่น

อัยนุน - عين -

แปลว่า

ดวงตา,

ตัวตน,

ตาน้ำ,

ชาวเมือง,

ชาวบ้าน,

รูเล็ก,

ผู้บริสุทธิ์และสายลับ...




และคำหลายคำอาจให้ความหมายได้เพียง 1 ความหมายเช่น     ผู้นำ

เพื่อป้องกันการเบี่ยงเบนประเด็นการสนทนาเรื่อง 12 ผู้นำ


เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันเสียก่อนว่า " ผู้นำ " ในภาษาอาหรับมีหลายคำที่ใช้ร่วมกันเช่น :  

1,อิหม่าม - ผู้นำมุสลิม,,ผู้ปกครอง

2,คอลีฟะฮ์ - ผู้ปกครอง

3,อะมีร - หัวหน้า,ผู้ปกครอง

4,วะลี – ผู้คุ้มครอง,ผู้ปกครอง

5,เมาลา – ผู้ปกครอง,ผู้ค้มครอง


พิจารณาความหมายทั้ง 5 จากอัลกุรอานและฮะดีษ :


1,   إِنِّي جاعِلُكَ لِلنَّاسِ إِماماً

ฉันจะแต่งตั้งเจ้าให้เป็น(อิม่าม)หัวหน้าสำหรับมนุษย์ (อัลบะก่อเราะฮ์:124)

وجعلنا منهم أئمة يهدون بأمرنا

และเราได้แต่งตั้งจากพวกเขาเป็นอิม่ามผู้นำ(ประชาชน)ตามบัญชาของเรา

(อัส-สัจญ์ดะฮ์:24)

2,   إِنِّي جاعِلٌ فِي الأَرْضِ خَلِيفَةً

แท้จริงเราจะแต่งตั้ง(อาดัม)ให้เป็นคอลีฟะฮ์(ผู้ปกครอง) บนโลก (อัลบะก่อเราะฮ์:30)

يا داوُدُ إِنَّا جَعَلْناكَ خَلِيفَةً فِي الأَرْضِ

โอ้ดาวูด แท้จริงเราได้แต่งตั้งเจ้าเป็นผู้ปกครอง(คอลีฟะฮ์)บนโลก(ศ็อด:26)

3,

من أطاعني فقدأطاع الله ومن عصاني فقد عصى الله ومن أطاع أميري فقد أطاعني ومن عصا أميري فقد عصاني

ท่านนบี(ศ)ได้กล่าวว่า : ผู้ใดเชื่อฟังข้าพเจ้าก็เท่ากับเขาเชื่อฟังอัลลอฮ์ ผู้ใด้ไม่เชื่อฟังข้าพเจ้าก็เท่ากับเขาไม่เชื่อฟังอัลลอฮ์  และผู้ใดเชื่อฟังอะ
มีร(ผู้นำ)ที่ข้าพเจ้าแต่งตั้งก็เท่ากับเขาเชื่อฟังข้าพเจ้า  ผู้ใดไม่เชื่อฟังผู้นำ(อะมีร)ที่ข้าพเจ้าแต่งตั้งก็เท่ากับเขาไม่เชื่อฟังข้าพเจ้า

( รายงานโดยบุคอรีย์,มุสลิมและนะซาอีย์ )

4,   أنتَ وليُّنا فاغفرلنا وارحمنا وأنتَ خيرُ الغافرين

พระองค์ทรงเป็น(วะลี)ผู้ปกครองเรา ดังนั้นได้ทรงโปรดอภัยให้เรา และทรงโปรดเมตตาเรา และพระองค์ทรงเป็นเลิศแห่งผู้ให้อภัยทั้งหลาย (

อัลอะอ์รอฟ : 155 )

5,   ذلك بأنّ اللهَ مولى الذين آمنوا وأن الكافرين لا مولى لهم

ทั้งนี้เนื่องจากว่าอัลลอฮ์ทรงเป็นผู้คุ้มครองบรรดาผู้ศรัทธา และแน่นอนบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาไม่มีผู้คุ้มครองสำหรับพวกเขา ( มุฮัมมัด : 11 )

เราหวังว่าระดับปัญญาชนคงเข้าใจแล้วว่า เรื่องอิหม่ามกับเรื่องคอลีฟะฮ์คือเรื่องเดียวกัน
  •  

L-umar



อะฮ์ลุลบัยต์     คือผู้สืบทอดตำแหน่งคอลีฟะฮ์ต่อจากท่านรอซูลุลเลาะฮ์



ชีอะฮ์เชื่อว่า  

อะฮ์ลุลบัยต์คือ  คอลีฟะฮ์  
โดยอ้างหลักฐานของวาฮาบีด้วยหะดีษ


عَنْ زَيْدِ بْنِ ثَابِتٍ قَالَ :

قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِنِّي تَارِكٌ فِيكُمْ خَلِيفَتَيْنِ

كِتَابُ اللَّهِ حَبْلٌ مَمْدُودٌ مَا بَيْنَ السَّمَاءِ وَالْأَرْضِ أَوْ مَا بَيْنَ السَّمَاءِ إِلَى الْأَرْضِ

وَعِتْرَتِي أَهْلُ بَيْتِي وَإِنَّهُمَا لَنْ يَتَفَرَّقَا حَتَّى يَرِدَا عَلَيَّ الْحَوْضَ


เซด บินษาบิตรายงาน :

ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ็อลฯ)กล่าวว่า : แท้จริงฉันได้มอบสอง \\\" คอลีฟะฮ์ \\\"  ไว้ในหมู่พวกท่าน


1.   คัมภีร์ของอัลลอฮ์(อัลกุรอาน)คือเชือกที่ทอดอยู่ระหว่างชั้นฟ้าและแผ่นดิน และ


2.   อิตเราะตี คือ  อะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน


และแท้จริงทั้งสองสิ่งจะไม่แยกจากกัน จนกว่าจะกลับมาพบฉันที่อัลเฮาฎ์(สระเกาษัร)


สถานะหะดีษ  :   เศาะหิ๊หฺ  

ดูมุสนัดอิหม่ามอะหฺมัด   หะดีษที่ 21618 ตรวจทานโดยเชคชุเอบ อัลอัรนะอูฏ



عَنْ جَعْفَرِ بْنِ مُحَمَّدٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ قَالَ :
رَأَيْتُ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- فِى حَجَّتِهِ يَوْمَ عَرَفَةَ وَهُوَ عَلَى نَاقَتِهِ الْقَصْوَاءِ يَخْطُبُ فَسَمِعْتُهُ يَقُولُ « يَا أَيُّهَا النَّاسُ إِنِّى قَدْ تَرَكْتُ فِيكُمْ مَا إِنْ أَخَذْتُمْ بِهِ لَنْ تَضِلُّوا كِتَابَ اللَّهِ وَعِتْرَتِى أَهْلَ بَيْتِى ».


ญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด จากบิดาเขา(มุฮัมมัดบินอะลี)

จากญาบิร บินอับดุลลอฮฺ รายงาน :

ฉันได้เห็นท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ็อลฯ)ในการประกอบพิธีฮัจญ์ของท่านในวันอะเราะฟะฮ์ ซึ่งท่านอยู่บนหลังอูฐกำลังปราศรัย แล้วฉันได้ยิน

ท่านกล่าวว่า

โอ้ประชาชนทั้งหลาย แท้จริงฉัน ทิ้งไว้ให้แก่พวกท่านถึงสิ่งซึ่งหากพวกท่านยึดมั่นต่อสิ่งนั้น  พวกท่านจะไม่หลงทางโดยเด็ดขาด สิ่งนั้นคือ


1.   คัมภีร์ของอัลลอฮฺ(อัลกุรอาน) และ

2.   อิตเราะตี คืออะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน



สถานะหะดีษ  :   เศาะหิ๊หฺ  

ดูซอฮีฮุต-ติรมีซี  หะดีษที่ 2978    ตรวจทานโดยเชคอัลบานี



ปัญหามันอยู่ที่ว่า  อะฮ์ลุลบัยต์ในหะดีษ ที่ควรจะเป็นคอลีฟะฮ์ คือใคร   ?




ชีอะฮ์กล่าวว่า  

อะฮ์ลุลบัยต์คือ   ท่านอะลี   ฮาซัน   และฮูเซน  



วาฮาบีกล่าวว่า

อะฮ์ลุลบัยต์คือ       ภรรยานบี  



น่าแปลกใจที่วาฮาบีบอกว่า  ภรรยานบีคือ อะฮ์ลุลบัยต์   เมื่อท่านรอซูล(ศ)วะฟาต  ถ้าเศาะหาบะฮ์เข้าใจเหมือนวาฮาบีเข้าใจ

ทำไมพวกเขาถึงไม่แต่งตั้งภรรยานบีสักคนขึ้นดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ์  ?  




อธิบาย

อะฮ์ลุลบัยต์แบ่งออกเป็นสองประเภทคือ


1.   อะฮ์ลุลบัยต์อาม ( ทั่วไป )  คือ  บรรดาภรรยาและเครือญาติ


2.   อะฮ์ลุลบัยต์ค็อศ ( พิเศษ ) คือ   ท่านอะลี   ฟาติมะฮ์   ฮาซัน   และฮูเซน




ความจริงที่ชีอะฮ์เชื่อว่า อะฮ์ลุลบัยต์ค็อศ ( พิเศษ) คือ


1.   ท่านอะลี  
2.   ท่านหญิงฟาติมะฮ์  
3.   ท่านฮาซัน  
4.   ท่านฮูเซน  เท่านั้น



เพราะว่ามีสาเหตุมาจาก  " หะดีษกีซา  "


นับได้ว่าฮะดีษกีซาเป็นเรื่องราวที่ชัดเจนที่สุดเรื่องหนึ่ง ที่โลกมุสลิมมิอาจแกล้งทำเป็นไม่รู้จักว่าใครคืออะฮ์ลุลบัยต์นบี ? ยกเว้นคนตะอัศซุบ(ผู้ดื้อดึง)ต่อฮะดีษษะก่อลัยน์ที่บอกอย่างชัดเจนว่า มุสลิมจำเป็นต้องปฏิบัติตามอะฮ์ลุลบัยต์นบี  

คนดื้อดึงเหล่านี้เลยหาทางออกด้วยวิธีสร้างความสงสัยต่อคำว่าอะฮ์ลุลบัยต์มาใช้แทน จะเห็นได้ว่าพวกเขาพยายามสร้างความคลุมเครือให้กับคำ " อะฮ์ลุลบัยต์ "

ด้วยการป้อนคำถามว่า  

อะฮ์ลุลบัยต์เป็นใคร ?

ภรรยานบีไม่ใช่หรือ ?

ท่านนบีไม่เคยกล่าวว่า ซัลมาน คืออะฮ์ลุลบัยต์ของเราหรือไง ?

แล้วอบู ญะฮัลก็เป็นอะฮ์ลุลบัยต์เหมือนกันใช่ไหม ?



คำถามเหล่านี้มีจุดหมายคือต้องการบิดเบือนความหมายที่แท้จริงของฮะดีษษะก่อลัยน์  

เพราะมันเป็นฮะดีษที่บ่งบอกถึงตำแหน่งอิมามะฮ์ของอะฮ์ลุลบัยต์  ดังนั้นเพื่อความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย  

เรามาค้นหาความจริงกันว่า อะฮ์ลุลบัยต์  คือ  อะลี   หรือ   ภรรยานบี  ?


อัลลอฮ์ตรัสว่า :


إِنَّمَا يُرِيدُ اللَّهُ لِيُذْهِبَ عَنْكُمُ الرِّجْسَ أَهْلَ الْبَيْتِ وَيُطَهِّرَكُمْ تَطْهِيرًا


อันที่จริง อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ที่จะขจัดความโสมมออกจากพวกเจ้า

โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ของนบี  และ ( ทรงประสงค์ที่จะ) ชำระพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์ )  


ซูเราะฮ์อัลอะห์ซาบ   บทที่ 33   โองการที่  33



 
เป็นที่รู้กันดีว่าโองการนี้พูดถึง อะฮ์ลุลบัยต์ของนบีมุฮัมมัด แต่เราต้องการทำความเข้าใจว่าอะฮ์ลุลบัยต์นบีในโองการนี้เป็น

อะฮ์ลุลบัยต์ คอศ (พิเศษ)   หรือ

อะฮ์ลุลบัยต์ อาม (ธรรมดา) ?


เราจะให้ท่านนบีมุฮัมมัดเป็นผู้อธิบายความหมายของคำว่าอะฮ์ลุลบัยต์ที่กล่าวอยู่ในโองการนี้เอง
  •  

L-umar



หลักฐานจากตำราอะฮ์ลุสสุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์



หะดีษที่ 1


ซูเราะตุลอะห์ซาบ บทที่ 33 โองการที่ 33  ถูกประทานลงมาที่บ้านของท่านหญิงอุมมุ สะละมะฮ์  


عَنْ عُمَرَ بْنِ أَبِيْ سَلَمَة رَبِيْبِ النَّبِيّ ( ص ) قَالَ : لمَاَّ نَزَلَتْ هذِهِ الْآيَةُ عَلَى النَّبِيِّ ( ص )   : { ... إِنَّمَا يُرِيدُ اللَّهُ لِيُذْهِبَ عَنكُمُ الرِّجْسَ أَهْلَ الْبَيْتِ وَيُطَهِّرَكُمْ تَطْهِيرًا }  فِيْ بَيْتِ أُمِّ سِـلَمَة ،
فَدَعَا فَاطِمَةَ وَ حَسَناً وَ حُسَيْناً ، وَ عَلِيٌّ خَلْفَ ظَهْرِهِ ، فَجَلَلَّهُمْ بِكِسَاءٍ ،
ثُمَّ قَالَ : \\\" اللّهُمَّ هَؤُلاءِ أهْلُ بَيْتِيْ ، فَأذْهِبْ عَنْهُمُ الرِّجْسَ وَ طَهِّرْهُمْ تَطْهِيْراً \\\" .
قَالَتْ أُمُّ سَلَمَة : وَ أنَا مَعَهُمْ يَا نَبِيَّ اللهِ ؟  قَالَ : \\\" أنْتِ عَلَى مَكَانِكِ وَ أنْتِ عَلَى خَيْرٍ \\\"
صحيح الترمذي  ح : 2562 نوع الحديث : صحيح

ท่านอุมัร บุตรอบีสะละมะฮ์ บุตรบุญธรรมของท่านนบี(ศ็อลฯ)เล่าว่า :

ตอนที่โองการนี้ได้ประทานลงมาแก่ท่านนบี(ศ) คือ  :  

อันที่จริง อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ที่จะขจัดความโสมมออกจากพวกเจ้า โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ของนบี  และ(ทรงประสงค์ที่จะ)ชำระพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์ )  

ณ.ที่บ้านของท่านหญิงอุมมุ สะละมะฮ์ (ร.ฎ.)  

ท่านนบีฯได้เรียกท่านหญิงฟาติมะฮ์  ฮาซันและฮูเซนมาและท่านอะลีอยู่ข้างหลังท่าน แล้วท่านได้คลุมพวกเขาด้วยผ้ากีซาอ์จากนั้นท่านกล่าวว่า :

" โอ้อัลลอฮ์  พวกเขาคืออะฮ์ลุลบัยต์ของข้าพเจ้า "

ขอพระองค์โปรดขจัดความโสมมให้พ้นไปจากพวกเขา และได้โปรดชำระพวกเขาให้บริสุทธิ์อย่างแท้จริง

ท่านหญิงอุมมุ สะละมะฮ์(ร.ฎ)กล่าวว่า : ขอให้ข้าพเจ้าได้อยู่พร้อมกับพวกเขาด้วยเถิด  โอ้ท่านศาสดาแห่งอัลเลาะฮ์   ท่านตอบว่า :  เธออยู่บนที่ของเธอและเธออยู่บนความดี

สถานะของหะดีษ : ซอฮี๊ฮฺ  

ดูหนังสือซอฮีฮุต-ติรมิซี  

ตรวจทานโดยเชคมุฮัมมัด นาศิรุดดีน อัลบานี  หะดีษที่ 2562
  •  

22 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้