Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

เมษายน 28, 2024, 02:56:59 ก่อนเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 2,625
  • หัวข้อทั้งหมด: 650
  • Online today: 65
  • Online ever: 153
  • (เมษายน 26, 2024, 05:40:09 ก่อนเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 57
Total: 57

การสนทนาเรื่อง อัลกาฟี กับซอฮิ๊ฮ์บุคอรี

เริ่มโดย L-umar, กรกฎาคม 08, 2010, 01:23:19 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar

ประเด็นที่ 2  

ข้อพิสูจน์ที่ว่า อิม่ามมะฮ์ดีเกิดแล้ว   เรามีบทนำ 4 หัวข้อให้คุณฟารูกวิเคราะห์ดังนี้  :




หัวข้อที่ 1 -
 
ความจริงทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนี้ ต้องได้รับการยืนยันด้วยกัน 2 วิธีคือ :

1.   พิสูจน์ด้วยฮะดีษมุตะวาติร ของทั้งสองฝ่ายคือชีอะฮ์/ซุนนี่
2.   พิสูจน์ด้วยการคำนวณความเป็นไปได้ (حساب الاحتمال)ว่าอิม่ามมะฮ์ดีเกิดแล้วจริง


วิธีที่ 1 -

การเกิดของอัลมะฮ์ดีเป็นฮะดีษมุตะวาติรอย่างที่ทราบกันดีว่า  มีแหล่งที่มามากมายจากบรรดานักรายงานฮะดีษ ผู้เล่าแต่ละคนมาจากทั่วสาระทิศ การรายงานของพวกเขามีความสอดคล้องตรงกัน ฮะดีษเรื่องนี้มีผู้เล่า(รอวีย์)ถึง 200 - 300 คนได้เล่าให้เราฟังว่า อัลมะฮ์ดีบุตรชายอิม่ามฮาซันอัสการีย์เกิดแล้ว  ดังนั้นเป็นไปไม่ได้ที่ผู้เล่า จะรวมหัวกันโกหก     ทำให้แน่ใจว่า อิม่ามมะฮ์ดี(อ)เกิดแล้ว


วิธีที่ 2 -  

สมมุติว่า ฮะดีษเรื่องอัลมะฮ์ดีเกิดแล้ว ไม่ถึงขั้นมุตะวาติร มีคนเล่าแค่ 4 - 5 คน แต่ถ้าเอามารวมกันจากแหล่งรายงานต่างๆ  ทำให้แน่ใจได้ด้วยสาเหตุการคำนวนความเป็นไปได้    เพื่อความเข้าใจวิธีที่ 2 นี้ขอให้พิจารณาตัวอย่างดังนี้ :


นายเซดป่วยเป็นโรคไข้หวัดนก ซึ่งตอนนี้วงการแพทย์ยังไม่มียารักษาให้หายได้  ต่อมานายกอ.ได้มาเล่าให้เราฟังว่า เซดหายป่วยแล้ว  เราอาจเชื่อคำพูดเขาได้แค่ 30% แต่ถ้าเราได้รับข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมว่า ตอนนี้โรคไข้หวัดนกมีตัวยารักษาให้หายขาดได้แล้ว เราก็ยิ่งเชื่อคำพูดนายกอ.มากขึ้นเป็น 40% - 50% หรือมากกว่านั้น   ยิ่งถ้าเรารู้ว่า ตอนนี้เซดไม่ได้ทานยานั้นอีกแล้ว เพราะหายสนิทแล้ว เราก็ยิ่งแน่ใจว่า เขาเป็นปกติแล้ว  แต่ถ้าเราได้ไปเห็นด้วยตาตัวเองว่า เซดนั่งสนทนากับเพื่อนๆของเขาหัวเราะร่าเริง นี่เป็นประจักษ์พยานอีกเช่นกันทำให้เราเชื่อข่าวของนายกอได้เต็ม 100 % ในที่สุด  ฉะนั้นข่าวในลักษณะแบบนี้ แม้ความจริงจะไม่ใช่ข่าวมุตะวาติร แต่เมื่อได้ข้อมูลหลายสิ่งหลายอย่างมาประติดประต่อ จึงทำให้เกิดความแน่ใจในข่าวนั้นๆได้   การให้ความเชื่อถือ ความแน่ใจแบบนี้เรียกว่า ข้อมูลที่เป็นไปได้ว่าจริง หมายความว่า จากข้อมูลประกอบต่างๆทำให้เรื่องที่เราได้รับฟังมา มีน้ำหนักพอที่จะเชื่อถือได้  ฉะนั้นการที่เราจะเชื่อถือเรื่องใดๆก็ตามทางประวัติศาสตร์ จะมีความสมบูรณ์ได้ด้วยสองวิธีการดังกล่าวมาคือ

1, เรื่องนั้นต้องเป็น ฮะดีษมุตะวาติร
 
2, เรื่องนั้นต้องเป็น เรื่องที่ได้คำนวณคิดแล้วว่า มันมีความน่าเป็นไปได้จริง



หัวข้อที่ 2 -  


ฮะดีษมุตะวาติร ไม่จำเป็นว่า รอวีย์ต้องษิเกาะฮ์ เพราะเงื่อนไขษิเกาะฮ์(ความน่าเชื่อถือในคำพูด)ถูกกำหนดไว้กับฮะดีษชนิดอื่น เช่นมีคนเพียง 2 ถึง 3 คนรายงานเรื่องหนึ่งให้เราฟัง กรณีนี้เพื่อทำให้เรื่องนั้นยึดถือเป็นหลักฐานได้ มีเงื่อนไขว่า รอวีย์ต้องอาดิล แต่ถ้าหากเรื่องนั้นมีคนรายงานถึง100 ,200หรือ 300 คน จำนวนรอวีย์ขนาดนั้นหมายความว่า ได้ทำให้เรื่องนั้นเป็นมุตะวาติรไปโดยปริยาย จึงไม่จำเป็นต้องตรวจสอบความอาดิลของรอวีย์  
ฉะนั้น 1,ความอาดิล และ2,ความษิเกาะฮ์ เป็นเงื่อนไขของฮะดีษที่ไม่ถึงขั้นมุตะวาติร  จงระวังอย่าได้สับสนกันระหว่างฮะดีษมุตะวาติรกับฮะดีษที่ไม่มุตะวาติร เพราะบางคนคิดว่าจำเป็นต้องนำ 2 เงื่อนไขนี้มาใช้ตรวจสอบฮะดีษมุตะวาติรด้วยเช่นกัน ซึ่งความคิดนี้ผิด
เงื่อนไขอาดิลกับษิเกาะฮ์นี้ คือมาตรการตรวจสอบฮะดีษชนิดอื่นๆ ที่ไม่ใช่ฮะดีษมุตะวาติร
ถาม ทำไมจึงไม่กำหนด 2 เงื่อนไขนี้มาใช้กับฮะดีษมุตะวาติร ?  

ตอบ

1, ฮะดีษมุตะวาติรกำหนดให้เราเชื่อได้ 100% เพราะมีคนรายงานไว้มากมาย ดังนั้นหลังจากเราได้รับความแน่ใจ 100 % แล้วก็ไม่จำเป็นต้องเข้าไปตรวจสอบความอาดิลและษิเกาะฮ์ของรอวีย์อีกต่อไป  บนพื้นฐานเรื่องในลักษณะเช่นนี้จึงถือว่า ไม่ใช่สิทธิและไม่ถูกต้องที่เรา จะหยิบยกฮะดีษที่รายงานว่า อัลมะฮ์ดี(อ)เกิดแล้ว หรือฮะดีษที่เกี่ยวข้องกับการเกิดของอัลมะฮ์ดี(อ)ขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์กันอีกว่า :  สะนัดฮะดีษเรื่องนี้   ดออีฟ (อ่อนแอ ) , สะนัดฮะดีษเรื่องนี้   มัจญ์ฮูล ( ไม่เป็นที่รู้จักผู้รายงาน )  
หรือฮะดีษเรื่องอิม่ามมะฮ์ดีเกิดแล้วบทนี้มัจญ์ฮูล ฮะดีษบทนั้นก็มัจญ์ฮูล  ฮะดีษอิม่ามมะฮ์ดีบทที่ 1,ที่ 2 ที่ 3และที่ 4...ก็มัตรูก(คือต้องโยนทิ้งไป) เพราะว่า มันเป็นฮะดีษที่ไม่ซอเฮี๊ยะห์ ยึดเป็นหลักฐานไม่ได้
2, ท่านต้องเข้าใจว่า ฮะดีษที่รายงานว่า อิม่ามมะฮ์ดีเกิดแล้วนั้น เป็นฮะดีษมุตะวาติร  จึงไม่จำเป็นอะไรที่จะเข้าไปตรวจสอบฮะดีษบทที่ 1 ว่า สะนัดฮะดีษมันดออีฟ ,บทที่ 2 ก็สะนัดดออีฟ เพราะรอวีย์มัจญ์ฮูล หรือฮะดีษที่ 3 เป็นเช่นนั้นเช่นนี้....   เพราะมาตรการตรวจสอบนี้ จะถูกนำไปใช้กับฮะดีษที่ไม่เป็นมุตะวาติรเท่านั้น  
 

หัวข้อที่ 3 -


สมมุติว่าข้อมูลฮะดีษเรื่องที่อิม่ามมะฮ์ดีเกิดแล้ว ประเด็นหลักมีความหมายตรงกัน  แต่ในรายละเอียดมีความแตกต่าง มันก็ยังสร้างความมั่นใจได้ว่า อัลมะฮ์ดีเกิดแล้วจริง  เพื่อความเข้าใจขอให้ท่านพิจารณาตัวอย่างดังนี้ :
เราทราบว่า นายเซดป่วยเป็นไข้หวัดนก  เวลาต่อมานาย A มาบอกข่าวกับเราว่า เซดหายดีแล้วตอนบ่ายโมง, ต่อมานาย B มาบอกว่า เซดหายแล้วตอนสองโมงเย็น, แล้วต่อมานาย C มาแจ้งว่า เซดหายแล้วตอนสามโมงเย็น
ทั้งนาย A, B และ C ล้วนแจ้งเวลาที่เซดหายป่วยไม่ตรงกันสักคน  แต่ข่าวที่ทั้ง 3 คนเล่าตรงกันคือ  ที่แน่ๆเซดหายป่วยแล้ว
ทีนี้ถ้าหากมีคนที่ 4, 5 และ 6 มาบอกเราอีกว่า ที่เซดหายป่วยเพราะเซดใช้ยายี้ห้อนั้นยี่ห้อนี้  จะเห็นได้ว่า ความแตกต่างในเรื่องที่คนมาเล่าให้เรารับรู้ว่า เซดหายป่วย ที่จริงแตกต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อยคือเวลาที่หายป่วยและยี้ห้อยาที่ใช้ แต่ประเด็นหลักที่บอกตรงกันคือ  " นายเซดหายป่วยแล้ว "  ถามว่า หากเราพบหรือได้ยินเรื่องในลักษณะเช่นนี้ มันพอจะพิสูจน์ได้ไหมว่า เซดหายป่วยแล้วจริงๆ ?  แน่นอนคำบอกเล่าในลักษณะเช่นนี้สามารถทำให้ผู้ฟัง เกิดความเชื่อถือได้อย่างแน่นอน   ประเด็นหลักคือ ทั้งสามคนแจ้งว่า เซดหายแล้ว  แต่รายละเอียดทั้ง 3 คนบอกเล่าแตกต่างกันในเรื่องเวลา
ผลลัพท์ที่ได้ก็คือ  ลักษณะการรายงานฮะดีษเรื่องหนึ่ง ที่มีคนรายงานจำนวนมากมายหลายกระแสหลายทิศทาง เมื่อฮะดีษนั้นมีประเด็นตรงกันในมุมหนึ่งหรือด้านหนึ่งโดยเฉพาะ อันเป็นประเด็นหลัก เราย่อมจะได้รับความแน่ใจในเรื่องนั้นได้ แม้จะมีรายละเอียดของเนื้อเรื่องหรือบางแง่มุมแตกต่างกันบ้าง เพราะฉะนั้นเราจึงไม่มีสิทธิ ที่จะหยิบยกเอาฮะดีษที่รายงานว่าอิม่ามมะฮ์ดีเกิดแล้ว มาวิพากษ์วิจารณ์กันอีกต่อไป เพียงข้ออ้างที่ว่า รายละเอียดของฮะดีษเหล่านั้นมันขัดแย้งกัน มันแตกต่างกันเช่น :
รอวีย์คนที่1 เล่าว่ามารดาของอิม่ามมะฮ์ดีชื่อนัรญิส, รอวีย์ที่ 2 บอกชื่อซูซัน คนที่ 3 บอกว่าชื่อ...
หรือรอวีย์คนหนึ่งกล่าวว่า  อิม่ามมะฮ์ดีเกิดคืนวันศุกร์ ส่วนรอวีย์อีกคนเล่าว่าเกิดคืนวันเสาร์  หรือรอวีย์คนหนึ่งเล่าว่า อิม่ามมะฮ์ดีเกิดฮ.ศ.ที่ 250 รอวีย์อีกคนบอกเกิดฮ.ศ.ที่ 255  รอวีย์คนที่สามบอกว่าเกิดฮ.ศ.ที่ 260
แล้วเขาก็เลยสรุปเอาเองว่า ฮะดีษเหล่านี้เชื่อถือไม่ได้หรือไม่เป็นที่ยอมรับ เนื่องจากมันมีรายละเอียดที่แตกต่างกันทั้งวัน/เดือน/ปีเกิด  ชื่อมารดาก็ไม่เหมือนกัน...
ทำไมจึงมองข้ามประเด็นหลัก ที่รายงานตรงกันเป็นมุตะวาติรว่า เขาเกิดแล้วในศตวรรษที่สาม


หัวข้อที่ 4 -


เราไม่มีสิทธิอิจญ์ติฮ๊าด(วิจัย)เรื่องศาสนาที่ขัดกับตัวบทหลักฐาน (اجتهاد فی مقابل النص) ในเมื่อเรามีตัวบทหลักฐาน (نص) ที่บอกไว้ชัดเจนและมีสายรายงานที่สมบูรณ์จากสองวิธีการดังกล่าว        เพื่อความเข้าใจขอให้ท่านพิจารณาตัวอย่างดังนี้  : อัลลอฮ์ตรัสว่า :
وَأقِيمُوا الصَّلاَةَ وَآتُوا الزَّكَاة  พวกเจ้าจงดำรงนมาซ และจ่ายซะกาต อัลบะก่อเราะฮ์ : 43
อายัตนี้บอกชัดเจนว่า ต้องการให้มุสลิมทำนมาซและจ่ายซะกาต เรียกว่า طلب  - ความต้องการ,เรียกร้องให้กระทำ  สิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจคือ คำสั่งนี้เป็นวาญิบหรือมุสตะฮับ เราไม่ต้องไปวิจัยในประเด็นอื่น    ดังนั้นถือว่าไม่ถูกต้องที่มุสลิมคนหนึ่งจะออกมาประกาศว่า ผมจะอิจญ์ติฮ๊าดอายัตนี้ว่า มันไม่ได้บ่งบอกว่า อัลลอฮ์ต้องการให้ทำนมาซและจ่ายซะกาต  ซึ่งถ้าใครจะมาวิจัยเช่นนี้  ถือว่าเป็นการวิจัยเรื่องศาสนาที่ขัดกับตัวบทหลักฐาน แต่ถ้าจะมาวิจัยว่าความต้องการในอายัตนี้ เป็นวาญิบหรือมุสตะฮับ  อันนี้อนุญาตให้อิจญ์ติฮ๊าดได้


กรณีฮะดีษเรื่องอิมามมะฮ์ดี(อ)เกิดแล้วก็เช่นกัน  มุสลิมไม่มีสิทธิจะมากล่าวว่า  ผมจะทำการวิจัยฮะดีษที่บอกว่าอิม่ามมะฮ์ดีเกิดแล้ว  เป็นการกระทำที่ไร้ความหมาย เพราะฮะดีษที่รายงานว่าอัลมะฮ์ดีเกิดแล้วเป็นฮะดีษมุตะวาติร  การอิจญ์ติฮ๊าด(การวิจัย)ในเรื่องนี้จึงไม่มีผลตอบสนองใดๆ เพราะเป็นฮะดีษที่มีสายรายงานเป็นมุตะวาติร
  •  

L-umar

สำหรับตัวปัจจัยที่ทำให้เราชาวชีอะฮ์เชื่อมั่นว่า

อิม่ามมะฮ์ดีเกิดแล้วและยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันนี้ มีหลายเหตุผลด้วยกันดังนี้ :
  •  

L-umar

วันนี้   ขอพอแค่นี้นะคับคุณฟารูก   ขอบตุณอีกครั้งที่ให้เกียรติสนทนา


คราวหน้าค่อยมาต่อกันใหม่



วัสสามุอะลัยกุม
  •  

faruq

อัสลามมูอาลัยกุม คุณ l-umar

ขอบคุณที่ให้ความกระจ่างในระดับหนึ่งครับ สรุปว่าอะลุลบัยต์ที่อยู่คู่กับอัลกุรอานคืออิหม่ามมะดีย์ใช่มั้ยครับตามความเชื่อของชีอะฮฺ หากแต่ว่าตอนี้ท่านเร้นกายอยู่ที่ใดที่หนึ่ง การตัดสินปัญหาในเรื่องของหลักการปฏิบัติต่างๆจึงต้องอาศัยฮะดิษและสายรายงานที่ผู้รู้ของท่านตัดสินว่าเชื่อถือได้
ซึ่งก็ไม่อาจแน่ใจได้ 100 เปอร์เซนต์ จึงได้มี หะดิษอ่อนหลักฐาน หะดิษปลอมอยู่มากมาย ซึ่งก็ไม่แตกต่างจากชาวซุนนะฮฺเท่าใดนัก

ตรงนี้ผมขอกลับมาเรื่องอัลกาฟีอีกนิดเดียวครับ

สืบเนื่องจากผมได้อ่านกระทู้ในเรื่อง หนังสืออัลกาฟี กับปัญหาหะดีษ 13 อิม่าม

ผมได้อ่านข้อความดังต่อไปนี้

คุณ l-umar กล่าวถึงคุณ ชัยฟุรดีน อามิลี ว่า

คุณชัรฟุดดีนอามิลี จึงถามคำถามแบบโง่เขลาว่า
เชคญะอ์ฟัร ซุบฮานี(นักวิชาการชีอะฮ์ที่เชี่ยวชาญด้านหะดีษคนหนึ่งในยุคปัจจุบัน)เป็นใคร มีสิทธิอะไรมาวิจารณ์หะดีษในอัลกาฟีว่า " ดออีฟ " ในเมื่อเชคกุลัยนีมีสมญานามว่า ผู้ได้รับการเชื่อถือ ?

[color=]เพื่อความกระจ่าง เราขอยกตัวอย่างแบบเดียวกันกับคุณชัรฟุดดีน มาถามพวกเขาบ้างว่า

อุละมาอ์ซุนนี่ผู้โด่งดังชื่อ ท่านอิหม่ามซะฮะบีได้วิจารณ์สถานะของนักรายงานหะดีษคนหนึ่งคือ

الطبراني هو الامام، الحافظ، الثقة، محدث الاسلام،
سير أعلام النبلاء ج 16 ص 119 رقم 86
ท่านอัตต็อบรอนี เขาคืออิหม่าม อัลฮาฟิซ(นักท่องจำ) ษิเกาะฮ์คือเชื่อถือได้ในการรายงานหะดีษ เป็นมุฮัดดิษแห่งอิสลาม
ดูสิยัร อะอ์ลามุนนุบะลาอ์ อันดับที่ 86

ยกตัวอย่างเช่น ท่านอัตต็อบรอนีได้รายงานหะดีษบทหนึ่งจากบุคคลดังต่อไปนี้

حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ مُوسَى ، ثَنَا الْحَسَنُ بْنُ كَثِيرٍ ، ثَنَا سَلْمَى بِنْ عُقْبَةَ الْحَنَفِيُّ الْيَمَامِيُّ ، ثَنَا عِكْرِمَةُ بْنُ عَمَّارٍ ، عَنْ يَحْيَى بْنِ أَبِي كَثِيرٍ ، عَنْ أَبِي سَلَمَةَ ، عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ قَالَ: قَالَ عَلِيُّ بْنُ أَبِي طَالِبٍ: يَا رَسُولَ اللَّهِ ، أَيُّمَا أَحَبُّ إِلَيْكَ: أنا أم فاطمة ؟ قال : « فاطمة أحب إلي منك ، وأنت أعز علي منها ،


ดูมุอ์ญัมเอาซัฏ โดยอัฏฏ็อบรอนี (260 – 360 ฮ.ศ.) เล่ม 7 : 343 หะดีษที่ 7675
[/color]

คำถามสำหรับคุณชัรฟุดดีนคือ

เชคอัลบานี(นักวิชาการซุนนี่ที่เชี่ยวชาญด้านหะดีษคนหนึ่งในยุคปัจจุบัน)เป็นใคร มีสิทธิอะไรมาวิจารณ์หะดีษของท่านต็อบรอนีว่า " ดออีฟ " เนื่องจากท่านซะฮะบีผู้เชี่ยวชาญด้านนักรายงานหะดีษได้ฟันธงไปแล้วว่า ท่านต็อบรอนี มีความเชื่อถือได้ในการรายงานหะดีษ ?



ตรงนี้ผมพอเข้าใจ หากไม่มาฟังการถกกันระหว่าง ท่านซัยยิดสุลัยมาน กับ อาจารย์อับดุลเราะห์มาน ที่สตูล ในเรื่อง ฮะดิษ  มันซีละห์

ท่านซัยยิดสุลัยมานบอกว่า ท่าน อ.อับดุลเราะห์มานไม่มีสิทธิ์เอาคำตัดสินของ อิบนิเยาซี ซึงซัยยิดถือว่าโนเนม มาเหนือคำตัดสิน ของ อิหม่ามติรมีซี นอกเสียจากว่าต้องเอา ฮะดิษ บุคอรี หรือ มุสลิมมาลบล้างเท่านั้น ท่านถึงจะยอมรับ (เท่ากับตรงนี้ซัยยิดสุลัยมานใช้มาตรฐานเดียวกับคุณชัยฟุรดีน)

จริงๆแล้วผมเองก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรเยอะแยะกับตรงนี้ แต่ทราบข่าวแว่วๆมาว่าตอนนี้มีการติดต่อประสานงานในการเสวนาระหว่างทางชีอะฮฺและซุนนะฮฺ จึงน่าจะมีมาตรฐานเดียวกันในการตัดสินเรื่องต่างๆ การถกกันจึงจะได้ประโยชน์กับผู้ฟังอย่างแท้จริง
  •  

L-umar

สะลามุลลอฮ์  อะลัยกุม  คุณฟารูก



เราอยากสนทนาเรื่อง   อะอ์ลุลบัยต์ยังมีชีวิตอยู่คู่กับคัมภีร์กุรอ่านให้สมบุรณ์  ขอให้คุณได้อ่านให้จบอีกสักนิด



ส่วนเรื่อง   การวิจารณ์สถานะหะดีษ  ของแต่ละฝ่าย  เพื่อหามาตรฐาน เดียวกัน  ไว้เรา ค่อยตั้งกระทู้  อีกหัวข้อหนึ่งเป็นเอกเทศน์เลย

จะดีกว่าไหมคุณฟารูก  ?
  •  

L-umar

ต่อ -


กรณี ความเชื่อเรื่อง   ที่เรากำลังสนทนากันอยู่คือ


มีอะฮ์ลุลบัยต์  อยู่คู่กับอัลกุรอ่าน  นับจากวันที่ท่านนะบีมุฮัมมัด(ศ)วะฟาต นั้นมีจริงหรือไม่  ???
  •  

L-umar

สำหรับตัวปัจจัยที่ทำให้ชาวชีอะฮ์เชื่อมั่นว่า อิม่ามมะฮ์ดีแห่งอะฮ์ลุลบัยต์เกิดแล้ว

และยังไม่ตาย    เรามีหลายเหตุผลให้ท่านได้พิจารณาดังนี้ :
[/size
]
  •  

faruq

วะอาลัยกุมมุสลามคุณ l-umar
เชิญต่อเลยครับ ผมเองก็มีข้องสงสัยเกี่ยวกับอิหม่ามมะฮิดีของชีอะฮฺอยู่เยอะเหมือนกัน
  •  

L-umar

เหตุผลที่ 1 –

เป็นฮะดีษที่ได้รับการยอมรับ(مسلمات)ทั้งฝ่ายชีอะฮ์/ซุนนี่ว่า อิม่ามมะฮ์ดีเกิดแล้ว ขอยกตัวอย่างเพียง 3 ฮะดีษเท่านั้น




ฮะดีษที่ 1 -  ฮะดีษษะก่อลัยน์

เป็นฮะดีษมุตะวาติรทั้งฝ่ายชีอะฮ์และซุนนี่ ท่านนะบี(ศ)ได้กล่าวหะดีษนี้ไว้หลายวาระ  หลายสถานที่ด้วยกัน เช่น ที่ฮัจญะตุลวิดาอ์   ที่ฆ่อดีรคุม(ระหว่างการเดินทางกลับมะดีนะฮ์)  และที่บ้านของท่านนะบี(ศ)ตอนท่านใกล้จะสิ้นใจ

ตัวบทฮะดีษแตกต่างกันไป สืบเนื่องมาจากผู้รายงาน ที่แต่ละคนได้ฟังฮะดีษมาคนละสถานที่ และคนละเวลา



۞หะดีษษะเกาะลัยน์จากตำราชีอะฮ์


رَوَاهُ الشَّيْخُ الصَّدُوْقُ (305-381 هـ)    : حَدَّثَناَ مُحَمَّدُ بْنُ الْحَسَنِ بْنِ أَحْمَدِ بْنِ الْوَلِيْدِ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قاَلَ : حَدَّثَناَ مُحَمَّدُ بْنُ الْحَسَنِ الصَّفاَّرِ ، عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ الْحُسَيْنِ بْنِ أَبِي الْخِطاَّبِ ، وَيَعْقُوْبَ بْنِ يَزِيْدَ جَمِيْعاً ، عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ أَبِيْ عُمَيْرٍ ، عَنْ عَبْدِ اللهِ بْنِ سِناَنَ ، عَنْ مَعْرُوفِ بْنِ خَرَّبُوذَ ، عَنْ أَبِي الطُّفَيْلِ عَامِرِ بْنِ وَاثِلَةَ ، عَنْ حُذَيْفَةَ بْنِ أَسِيدٍ الْغِفَارِيِّ قَالَ : لَمَّا رَجَعَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وآله مِنْ حَجَّةِ الْوَدَاعِ وَنَحْنُ مَعَهُ أَقْبَلَ حَتَّى انْتَهَى إِلَى الْجُحْفَةِ فَأَمَرَ أَصْحاَبَهُ بِالنُّزُوْلِ فَنَزَلَ الْقَوْمُ مَناَزِلَهُمْ ، ثُمَّ نُودِيَ بِالصَّلَاةِ فَصَلَّى بِأَصْحاَبِهِ رَكَعَتَيْنِ ، ثُمَّ أَقْبَلَ بِوَجْهِهِ إِلَيْهِمْ فَقاَلَ لَهُمْ : إِنَّهُ قَدْ نَبَّأَنِيَ اللَّطِيفُ الْخَبِيرُ أَنِّيْ مَيِّتٌ وَأَنّكُمْ مَيِّتُوْنَ ، وَكَأَنِّيْ قَدْ دُعِيْتُ فَأَجِبْتُ وَأَنِّيْ مَسْؤُوْلٌ عَماَّ أُرْسِلْتُ بِهِ إِلَيْكُمْ ، وَعَماَّ خَلَّفْتُ فِيْكُمْ مِنْ كِتاَبِ اللهِ وَحُجَّتِهِ وَأَنَّكُمْ مَسْؤُوْلُوْنَ ، فَماَ أَنْتُمْ قاَئِلُوْنَ لِرَبِّكُمْ ؟ قاَلُوْا : نَقُوْلُ : قَدْ بَلَّغْتَ وَنَصَحْتَ وَجاَهَدْتَ ( فَجَزاَكَ اللهُ عَناَّ أَفْضَلَ الْجَزاَءِ ) ثُمَّ قاَلَ لَهُمْ : أَلَسْتُمْ تَشْهَدُوْنَ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا اللَّهُ وَ أَنِّي رَسُولُ اللَّهِ إِلَيْكُمْ وَأَنَّ الْجَنَّةَ حَقٌّ ؟ وَأَنَّ الناَّرَ حَقٌّ ؟ وَأَنَّ الْبَعْثَ بَعْدَ الْمَوْتِ حَقٌّ ؟ فَقاَلُوْا : نَشْهَدُ بِذَلِكَ ، قاَلَ : اللَّهُمَّ اشْهَدْ عَلَى ماَ يَقُولُونَ ، أَلَا وَإِنِّي أُشْهِدُكُمْ إِنِّي أَشْهَدُ إِنَّ اللَّهَ مَوْلَايَ ، وَأَنَا مَوْلَى كُلِّ مُسْلِمٍ ، وَأَنَا أَوْلَى بِالْمُؤْمِنِينَ مِنْ أَنْفُسِهِمْ ، فَهَلْ تُقِرُّوْنَ لِيْ بِذَلِكَ ، وَتَشْهَدُوْنَ لِيْ بِهِ ؟ فَقاَلُوْا : نَعَمْ نَشْهَدُ لَكَ بِذَلِكَ ، فَقاَلَ : أَلاَ مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَإِنَّ عَلِيًّا مَوْلَاهُ وَهُوَ هَذاَ ، ثُمَّ أَخَذَ بِيَدِ عَلِيٍّ عَلَيْهِ السَّلَام فَرَفَعَهَا مَعَ يَدِهِ حَتَّى بَدَتْ آباَطُهُماَ : ثُمَّ : قاَلَ : اللَّهُمَّ وَالِ مَنْ وَالَاهُ وَعَادِ مَنْ عَادَاهُ ، وَانْصُرْ مَنْ نَصَرَهُ وَاخْذُلْ مَنْ خَذَلَهُ ، أَلَا وَإِنِّي فَرَطُكُمْ وَأَنْتُمْ واَرِدُوْنَ عَلَيَّ الْحَوْضَ ، حَوْضِيْ غَداً وَهُوَ حَوْضُ عَرْضُهُ ماَ بَيْنَ بُصْرَى وَصَنْعَاءَ  فِيْهِ أَقْداَحٌ مِنْ فِضَّةٍ عَدَدَ نُجُومِ السَّمَاءِ ، أَلَا وَإِنِّي ساَئِلُكُمْ غَداً ماَذاَ صَنَعْتُمْ فِيْماَ أَشَهَدْتُ اللهَ بِهِ عَلَيْكُمْ فِيْ يَوْمِكُمْ هَذاَ إِذاَ وَرَدْتُمْ عَلَيَّ حَوْضِيْ ، وَماَذاَ صَنَعْتُمْ بِالثَّقَلَيْنِ مِنْ بَعْدِيْ فَانْظُرُوا كَيْفَ تَكُوْنُوْنَ خَلَّفْتُمُوْنِيْ فِيْهِماَ حِيْنَ تَلْقَوْنِيْ ؟ قاَلُواْ : وَماَ هَذاَنِ الثَّقَلاَنِ يَا رَسُولَ اللَّهِ ؟ قاَلَ : أَماَّ الثِّقْلُ الْاَكْبَرُ فَكِتاَبُ اللهِ عَزَّوَجَلَّ ، سَبَبٌ مَمْدُوْدٌ مِنَ اللهِ وَمِنِّيْ فِيْ أَيْدِيْكُمْ ، طَرْفُهُ بِيَدِ اللهِ وَالطَّرْفُ الْآخَرُ بِأَيْدِيْكُمْ ، فِيْهِ عِلْمٌ ماَ مَضَى وَماَ بَقَي إِلَى أَنْ تَقُوْمَ الساَّعَةُ ، وَأَماَّ الثِّقْلُ الْاَصْغَرُ فَهُوَ حَلِيْفُ الْقُرْآنِ وَهُوَ عَلِيُّ بْنُ أَبِي طَالِبٍ وَ عِتْرَتُهُ عَلَيْهِمْ السَّلَام ، وَإِنَّهُمَا لَنْ يَفْتَرِقَا حَتَّى يَرِدَا عَلَيَّ الْحَوْضَ .

เชคศอดูก(305 – 381ฮ.ศ. ) เล่าว่า  มุฮัมมัด บินอัลฮาซัน บินอะหมัด บินอัลวะลีดเล่าให้เราฟังเขากล่าวว่า มุฮัมมัด บินอัลฮาซันอัศศ็อฟฟ้าร จากมุฮัมมัด บินอัลฮูเซน บินอบิลคอตตอบและยะอ์กูบ บินยะซีดทั้งสองเล่าให้เราฟังเขากล่าวว่า  จากมุฮัมมัด บินอะบีอุมัยริน จากอับดุลลอฮ์ บินสินาน จากมะอ์รู๊ฟ บินค็อรร่อบูซ จากอะบีตุเฟล อามิร บินวาษิละฮ์  จากฮุซัยฟะฮ์ บินอะสีด อัลฆ็อฟฟารีเล่าว่า :

เมื่อท่านรอซูลุลลฮ์(ศ)กลับจากการบำเพ็ญฮัจญ์ครั้งสุดท้าย และพวกเราก็ได้กลับมาพร้อมกับท่านด้วยจนเดินทางมาถึงตำบลญุฮ์ฟะฮ์ ท่านจึงสั่งบรรดาซอฮาบะฮ์ของท่านให้แวะพัก ดังนั้นกลุ่มชนจึงแวะพักตามสถานที่ของพวกเขา  ต่อจากนั้นมีเสียงประกาศ(อะซาน)ให้นมาซ แล้วท่านได้นมาซ(ซุฮ์ริย่อ)สองร่อกะอะฮ์พร้อมกับบรรดาซอฮาบะฮ์ของท่าน  (พอนมาซเสร็จ)ท่านได้หันใบหน้าของท่านมายังพวกเขาแล้วกล่าวกับพวกเขาว่า : แท้จริง(อัลลอฮ์)ผู้ทรงปรานี ผู้ทรงรอบรู้อย่างถี่ถ้วนทรงแจ้งให้ฉันทราบว่า แท้จริงฉันต้องตายและพวกท่านก็ต้องตาย และดูเหมือนว่าฉันถูกเรียก(กลับแล้ว)และฉันได้ตอบรับแล้ว และแท้จริงฉันต้องถูกสอบถามถึงสิ่งที่ฉันถูกส่งมาพร้อมกับมันยังพวกท่าน และถึงสิ่งที่ฉันได้ทิ้งไว้ในหมู่พวกท่านเกี่ยวคัมภีร์ของอัลลอฮ์และข้อพิสูจน์หลักฐานของพระองค์ และพวกท่านก็ต้องถูกสอบถาม แล้วพวกท่านจะตอบอะไรต่อพระผู้อภิบาลของพวกท่าน ? พวกเขากล่าวว่า : พวกเราก็จะกล่าวว่า แน่นอนท่านได้ประกาศแล้วได้ตักเตือนแล้วและท่านได้ทำการญิฮ๊าดต่อสู้แล้ว  ขออัลลอฮ์โปรดตอบแทนรางวัลที่ดีที่สุดแก่ท่านแทนพวกเราด้วยเถิด จากนั้นท่านได้กล่าวกับพวกเขาว่า : พวกท่านมิได้ปฏิญาณดอกหรือว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลเลอฮ์และฉันคือศาสนทูตของอัลลอฮ์ที่(ถูกส่ง)มายังพวกท่าน  แท้จริงสวรรค์มีจริง นรกมีจริง และการฟื้นคืนชีพนั้นมีจริงใช่ไหม ? พวกเขากล่าวว่า : เราขอเป็นพยานต่อสิ่งนั้น(ว่ามีจริง) ท่านจึงกล่าวว่า : โอ้อัลลอฮ์โปรดเป็นสักขีพยานต่อสิ่งที่พวกเขากล่าวด้วยเถิด พึงทราบเถิดว่า แท้จริงฉันขอให้พวกท่านจงเป็นพยานด้วยว่า แท้จริงฉันขอปฏิญาณว่า แท้จริงอัลลอฮ์ทรงเป็นเมาลา(ผู้คุ้มครอง)ของฉัน และฉันเป็นวะลี(ผู้ปกครอง)ของมุสลิมทุกคน และฉันมีสิทธิต่อปวงผู้ศรัทธามากยิ่งกว่าตัวของพวกเขาเอง พวกท่านจะรับรองต่อฉันในสิ่งนั้นหรือไม่ ? พวกเขากล่าวว่า : ครับพวกเราให้การรับรองแก่ท่านต่อสิ่งนั้น แล้วท่านกล่าวว่า : พึงรู้เถิดว่า บุคคลใดก็ตามที่ฉันเป็นเมาลา(ผู้ปกครอง)ของเขา ดังนั้นแท้จริงอาลีก็เป็นผู้ปกครองของเขาและเขาคือชายคนนี้  ต่อจากนั้นท่านได้จับมือท่านอาลีชูขึ้นพร้อมกับมือของท่านเองจนเห็นรักแร้ของเขาทั้งสอง แล้วท่านกล่าวว่า : โอ้อัลลอฮ์โปรดรักผู้ที่เป็นมิตรต่อเขาและโปรดชิงชังผู้ที่เป็นศัตรูต่อเขา โปรดช่วยเหลือผู้ที่ให้การช่วยเหลือเขาและโปรดทอดทิ้งผู้ที่ทอดทิ้งเขา  พึงรู้เถิดว่า ฉันจะล่วงหน้าพวกท่านไปก่อน แล้วพวกท่านจะเข้ามาหาฉันที่สระน้ำนั้น สระน้ำของฉันในวันพรุ่งนี้ และมันคือสระน้ำที่ความกว้างของมันอยู่ระหว่างเมืองบุศรอ(อิรัก)กับศ็อนอา(ซีเรีย) ในสระน้ำนั้นมีแก้วน้ำจำนวน(มากมาย)เท่ากับดวงดาวในท้องฟ้า พึงรู้เถิดว่า ฉันจะเป็นผู้ถามพวกท่านในวันพรุ่งนี้ว่า พวกท่านได้ทำอะไรไปในสิ่งที่ฉันได้ขอให้ขออัลลอฮ์ทรงเป็นสักขีกับสิ่งนั้นบนพวกท่านในวันของพวกท่านนี้  เมื่อพวกท่านได้เข้ามาพบฉันที่สระน้ำของฉัน และพวกท่านได้ทำอะไรลงไปต่ออัษษะเกาะลัยน์(สิ่งหนักสองสิ่ง)ภายหลังจากฉัน  ดังนั้นจงดูเถิดว่า พวกท่านจะเป็นอย่างไร (ในการ)ที่ได้รับมอบต่อจากฉันในสองสิ่งนั้นขณะที่พวกท่านจะมาพบกับฉัน ?  

พวกเขากล่าวว่า : สองสิ่งหนักที่ว่านี้คืออะไรหรือ โอ้ท่านรอซูลุลลอฮ์ ?


ท่านกล่าวว่า :  สิ่งหนักอันใหญ่คือคัมภีร์ของอัลลอฮ์อัซซะวะญัล เป็นต้นเหตุที่ทอดมาจากอัลลอฮ์และจากฉันซึ่งมันอยู่ในมือของพวกท่าน ด้านหนึ่งของมันอยู่ในพระหัตถ์ของอัลลอฮ์ส่วนอีกด้านหนึ่งอยู่ในมือของพวกท่าน ในนั้นมีความรู้ในอดีตและสิ่งที่มีอยู่ตราบจนถึงวันกิยามะฮ์   ส่วนสิ่งหนักอันรองเขาคือผู้ที่อยู่เคียงคู่กับคัมภีร์อัลกุรอ่านและเขาคืออาลีบินอะบีตอลิบและอิตเราะฮ์(วงศ์วาน)ของเขา และแท้จริงทั้งสองสิ่งนี้จะไม่แยกจากกันเด็ดขาด จนกว่าทั้งสองจะกลับมาหาฉันที่อัลเฮาฎ์(สระเกาษัร)

อ้างอิงจากกิตาบอัลคิศ็อล โดยเชคศอดูก  หน้า 73 หะดีษที่ 78  สถานะหะดีษซอฮิ๊ฮ์




۞หะดีษษะเกาะลัยน์จากตำราซุนนี่



رَوَاهُ أَبُوعَبْدِ الله الْحاَكِمُ (321 - 405هـ)
حدثنا أَبُو الْحُسَيْنِ : مُحَمَّدُ بْنُ أَحْمَدَ بْنِ تَمِيمٍ الْحَنْظَلِىُّ بِبَغْدَادَ، حَدَّثَنَا أَبُو قِلاَبَةَ : عَبْدُ الْمَلِكِ بْنُ مُحَمَّدٍ الرَّقَاشِىُّ  ، حَدَّثَنَا يَحْيَى بْنُ حَمَّادٍ ، وحَدَّثَنِيْ أَبُو بَكْرٍ مُحَمَّدُ بْنُ بَالُوَيْهِ ، و أَبُو بَكْرٍ أَحْمَدُ بْنُ جَعْفَرِ البزار قالا : ثنا عَبْد اللَّهِ بْن أَحْمَد بْن حَنْبَلٍ ، حدثني أبي ، ثنا يَحْيَى بْنُ حَمَّادٍ ، وثنا أَبُو نَصْرٍ : أَحْمَدُ بْنُ سَهْلٍ الْفَقِيهُ بِبُخَارَى ، ثنا صَالِحُ بْنُ مُحَمَّدٍ الْحَافِظُ البغدادي ، ثنا خَلَفُ بْنُ سَالِمٍ المخرمي ، ثنا يَحْيَى بْنُ حَمَّادٍ ، حَدَّثَنَا أَبُو عَوَانَةَ ، عَنْ سُلَيْمَانَ الأَعْمَشِ قَالَ: ثنا حَبِيبُ بْنُ أَبِي ثَابِتٍ ، عَنْ أَبِي الطُّفَيْلِ ، عَنْ زَيْدِ بْنِ أَرْقَمَ رَضِىَ اللَّهُ عَنْهُ قَالَ:

لَمَّا دَفَعَ النَّبِيُّ صَلَّي اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّم مِنْ حَجَّةِ الْوِدَاعِ وَنَزَلَ غَدِيْرَ خُمٍّ أَمَرَ بِدَوْحَاتٍ فَقُمِمْنَ ثُمَّ قَالَ : كَأَنِّيْ دُعِيْتُ فَأَجِبْتُ وَإِنِّيْ تَارِكٌ فِيْكُمُ الثَّقَلَيْنِ أَحَدَهُمَا أَكْبَرُ مِنَ الْآخَرِ : كِتَابُ اللهِ وَعِتْرَتِيْ أَهْلُ بَيْتِيْ فَانْظُرُوْا كَيْفَ تُخْلِفُوْنِيْ فِيْهِمَا  فَإِنَّهُمَا لَنْ يَتَفَرَقَا حَتَّي يَرِدَا عَلَيَّ الْحَوْضَ     ثُمَّ قَالَ : إِنَّ اللهَ مَوْلاَيَ وَأَنَا وَلِيُّ كُلِّ مُؤْمِنٍ  ثُمَّ إِنَّهُ أَخَذَ بِيَدِ عَلِيٍّ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ فَقَالَ : مَنْ كُنْتُ وَلِيَّهُ فَهَذَا وَلِيَّهُ  اللّهُمَّ وَالِ مَنْ وَالاَهُ وَعَادِ مَنْ عَادَاهُ

الْمُسْتَدْرَكُ عَلَى الصَّحِيْحَيْنِ  ح 4553 و 4554 قاَلَ الْحاَكِمُ : صَحِيْحٌ عَلَى شَرْطِ الشَّيْخَيْنِ ،
سِلْسِلَةُ الصَّحِيْحَةِ لِلْأَلْباَنِيِّ  ج : 4 ص: 330  ح : 1750 نَوْعُ الْحَدِيْثِ : صَحِيْحٌ

ท่านอัลฮากิม (321 – 405 ฮ.ศ.) เล่าว่า  มุฮัมมัด บินอะหมัด บินตะมีมอัลฮันซ่อลี เล่าให้เราฟังที่แบกแดด  อับดุลมะลิก บินมุฮัมมัดอัลร่อกอชีเล่าให้เราฟัง ยะห์ยาบินฮัมมาดเล่าให้เราฟัง มุฮัมมัด บินบาลุวัยฮฺและอะหมัด บินญะอ์ฟัรอัลบัซซาร ทั้งสองเล่าให้เราฟัง  อับดุลลลอฮ์ บินอะหมัด บินฮันบัลเล่าให้เราฟัง บิดาของฉันเล่าให้ฉันฟัง  ยะห์ยาบินฮัมมาดเล่าให้เราฟัง  อะหมัดบินสะฮัลอัลฟะกีฮ์เล่าให้เราฟังที่เมืองบุคอรอ ซอและห์ บินมุฮัมมัดอัลฮาฟิซเล่าให้เราฟังที่แบกแดด
ค่อลัฟ บินสาลิมอัลมัคร่อมี เล่าให้เราฟัง ยะห์ยาบินฮัมมาดเล่าให้เราฟัง  อะบูอะวานะฮ์ยะห์ยาบินฮัมมาดเล่าให้เราฟัง จากสุลัยมาน อัลอะอ์มัชเล่าว่า  หะบีบ บินอะบีษาบิตเล่าว่า  จากท่านอะบีตุเฟล   จากท่านเซด บินอัรกอมเล่าว่า :

เมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กลับจากการทำฮัจญ์ครั้งสุดท้าย (ขากลับ)ท่านได้แวะพักที่เฆาะดีรคุม ท่านสั่งให้(พักตรง)ต้นไม้ใหญ่ แล้วสั่งให้กวาด(ลานให้สะอาด)  แล้วท่านได้ปราศัยว่า : ดูเหมือนว่าฉันถูกเรียก(กลับแล้ว) และฉันได้ตอบรับแล้ว

แท้จริงฉันได้มอบไว้แก่พวกท่านสิ่งหนักสองสิ่ง สิ่งแรกใหญ่กว่าอีกสิ่งหนึ่งคือคัมภีร์ของอัลลอฮ์และอิตเราะตี คืออะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน  

ดังนั้นพวกท่านจงดูเถิดว่า พวกท่านจะขัดแย้งกับฉันในสองสิ่งนี้อย่างไร เพราะแท้จริงสองสิ่งนี้จะไม่แยกจากกัน จนกว่าทั้งสองจะกลับมาหาฉันที่อัลเฮาฎ์(สระเกาษัร)   จากนั้นท่าน(รอซูล)ได้กล่าวว่า : แท้จริงอัลลอฮ์ทรงเป็นเมาลา(ผู้คุ้มครอง)ของฉัน  และฉันเป็นวะลี(ผู้ปกครอง)ของผู้ศรัทธาทุกคน  จากนั้นท่านนบีได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้นเหนือศรีษะ) แล้วกล่าวว่า :  บุคคลใดก็ตามที่ฉันเป็นวะลีของเขา  ดังนั้นอะลีก็เป็นวะลีของเขา   โอ้อัลลอฮ์โปรดรักผู้ที่เป็นมิตรต่อเขา และโปรดชิงชังผู้ที่เป็นศัตรูต่อเขา


ดูอัลมุสตัดร็อก อะลัซซ่อฮีฮัยนิ  หะดีษที่ 4553,4554 อัลฮากิมกล่าวว่า ซอฮิ๊ฮ์ตามเงื่อนไขของท่านเชคทั้งสอง

เชคอัลบานีกล่าวว่าซอฮี๊ฮฺ  ดูซิลซิละตุซซอฮีฮะฮ์เล่ม 4 : 330  หะดีษที่ 1750  


أخرجه النسائي في \\\" خصائص علي \\\" ( ص 15 ) و الحاكم ( 3 / 109 ) و أحمد ( 1 / 118 )
و ابن أبي عاصم ( 1365 ) و الطبراني ( 4969 - 4970 )






อธิบาย :  

คำ " หากยึดจะไม่หลง"  หมายถึง  หากเราทำตาม จะถือว่าอยู่บนหนทางที่เที่ยงตรง

คำ " ทั้งสองสิ่งจะไม่แยกจากกัน จนกว่าจะกลับมาหาฉันที่อัลเฮาฎ์ "  หมายถึง คัมภีร์อัลกุรอานกับอะฮ์ลุลบัยต์นะบี จะต้องอยู่คู่กันนับจากวันที่ท่านนะบี(ศ)วะฟาตจนถึงวันกิยามะฮ์

ฮะดีษนี้แสดงว่า อะฮ์ลุลบัยต์จะต้องมีตัวตนจริงๆและมีชีวิตอยู่คู่กับคัมภีร์อัลกุรอานเสมอ ซึ่งภาษาอาหรับเรียกว่า อิสติมร็อร (إستمرار) คือ ต้องดำเนินต่อไปเรื่อยๆ

เราไม่อาจตีความฮะดีษนี้เป็นอื่นได้ นอกจากต้องยอมรับว่า อิม่ามมะฮ์ดีได้เกิดมานานแล้ว เพียงแต่เขาได้หายตัวไปจากหมู่มนุษย์


เพราะถ้าหากเรามีความเชื่อว่า อิม่ามมะฮ์ดียังไม่เกิด  แต่เขาจะเกิดในอนาคตก็เท่ากับคัมภีร์อัลกุรอานกับอะฮ์ลุลบัยต์นะบีไม่ได้อยู่คู่กัน
 
ถ้ามุสลิมคนใดเชื่อเช่นนี้ก็เท่ากับเขาได้กล่าวหาว่า ท่านนะบี(ศ)พูดปด เพราะท่านนะบีได้กล่าวว่า ( สองสิ่งนี้จะไม่แยกจากกัน )  

ถ้าจะพิสูจน์ว่าคำพูดของท่านนะบี(ศ)ในฮะดีษบทนี้ไม่ใช่เรื่องเท็จ เราก็จำต้องยอมรับว่า ปัจจุบันนี้มีอะฮ์ลุลบัยต์นะบี ที่มีชีวิตอยู่คู่กับคัมภีร์อัลกุรอานมาโดยตลอดจนถึงวันกิยามัต
ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องยอมรับว่า อิม่ามมะฮ์ดีได้เกิดมาบนโลกแล้ว มิเช่นนั้นฮะดีษษะก่อลัยน์ก็จะขัดกับความเป็นจริงในยุคปัจจุบันนี้ ทั้งๆที่ฮะดีษบทนี้เป็นฮะดีษซอเฮี๊ยะห์ของทั้งสองฝ่าย
  •  

L-umar

หมายเหตุ  เราพยายาม  แสดงหะดีษษะเกาะลัยน์   ที่ทั้งสองฝ่าย  รายงานเอาไว้คล้ายกัน  หรือใกล้เคียงกัน



เหตุผลคือ


ประการแรก  สิ่งที่ชีอะฮ์เชื่อ  มันมีบันทึกอยู่ไว้ในตำราชีอะฮ์


ประการที่สอง   สิ่งที่ชีอะฮ์เชื่อ  อย่างน้อย  มันถูกบันทึกไว้ในตำราซุนนี่บางส่วนเช่นกัน  



เพื่อให้คุณฟารูกตระหนักว่า     ไม่ใช่เราไปหยิบยกเอาตำราซุนนี่  มาอ้างอิง  โดยไม่ยอมรับฟังคำอธิบายจากพี่น้องซุนนี่


ซึ่งตรงนี้เราจึงได้ยกหะดีษจากตำราซุนนี่มาเพื่อเปรียบเทียบ  ในเรื่องเดียวกันที่เรากำลังสนทนา  
  •  

L-umar

ฮะดีษที่ 2 –

ฮะดีษจำนวน 12  ผู้นำ  


ความเชื่อเรื่อง  สิบสองผู้นำที่สืบต่อจากท่านนะบี(ศ)ได้มีรายงานกล่าวไว้ตั้งแต่สมัยท่านนะบี(ศ)และบรรดาอิม่ามทุกยุค ก่อนที่อิม่ามมะฮ์ดี(อ)จะเกิด





► หะดีษจำนวนผู้นำ 12  จากตำราชีอะฮ์


1. หะดีษ 12 อิม่ามในสมัยเชคกุลัยนี (เกิด 259 มรณะ 329 ฮ.ศ.)



1.1.อิม่ามบาเก็ร(อ)กล่าวว่า

الِاثْنَا عَشَرَ الْإِمَامَ مِنْ آلِ مُحَمَّدٍ (ع)

สิบสองอิม่ามนั้นมาจากวงศ์วานของนะบีมุฮัมมัด(ศ)


ดูอัลกาฟี เล่ม 1 : 531 หะดีษที่ 7  สถานะหะดีษ มุวัษษัก(เชื่อถือได้)

1.2.อิม่ามบาเก็ร(อ)กล่าวว่า

إِنَّ اللَّهَ أَرْسَلَ مُحَمَّداً (ص) إِلَى الْجِنِّ وَ الْإِنْسِ وَ جَعَلَ مِنْ بَعْدِهِ اثْنَيْ عَشَرَ وَصِيّاً

แท้จริงอัลลอฮ์(ตะอาลา)ได้ส่งนะบีมุฮัมมัด(ศ)มายังญินและมนุษย์ และทรงแต่งตั้งวะซีผู้สืบทอดไว้สิบสองคนภายหลังจากเขา

ดูอัลกาฟี เล่ม 1 : 532 หะดีษที่ 10  สถานะหะดีษซอฮิ๊ฮ์

1.3.อิม่ามบาเก็ร(อ)กล่าวว่า

نَحْنُ اثْنَا عَشَرَ إِمَاماً        

พวกเราคือสิบสองอิม่ามผู้นำ

ดูอัลกาฟี เล่ม 1 : 534 หะดีษที่ 16  สถานะหะดีษซอฮิ๊ฮ์
อุยูนุอัคบาริลริฎอ(อ) โดยเชคศอดูก(305 – 381 ฮ.ศ.)เล่ม 2 : 56 หะดีษที่ 22  


4, หะดีษ 12 อิม่ามในสมัยเชคศอดูก (เกิด 305 มรณะ 381 ฮ.ศ.)

عَنْ سَعْدِ بْنِ قَيْسٍ الْهَمْدَانِيِّ ، عَنْ جَابِرِ بْنِ سَمُرَةَ قَالَ : قَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَآلِهِ
لَا تَزَالُ هَذِهِ الْأُمَّةُ مُسْتَقِيْماً أَمْرَهاَ ، ظَاهِرَةً عَلَى عَدُوِّهاِ حَتَّى يَمْضِيْ اثْنَا عَشَرَ خَلِيفَةً كُلُّهُمْ مِنْ قُرَيْشٍ
الْخِصاَلُ لِلشَّيْخِ الصَّدُوْقِ (305-381 هـ)  ج 1 ص 486 ح 18

สะอัด บินก็อยส์อัลฮัมดานี ท่านญาบิร บินสะมุเราะฮ์เล่าว่า : ท่านนะบี(ศ)กล่าวว่า : ประชาชาตินี้ยังคงดำรงอยู่อย่างเที่ยงตรงในกิจการของมัน มีชัยเหนือศัตรูของมัน จนกว่า 12 ค่อลีฟะฮ์(ผู้ปกครอง)จะดำเนินผ่านไป  พวกเขาทั้งหมดมาจากเผ่ากุเรช
ดูอัลคิศ็อล เชคศอดูก เล่ม 1 : 486 หะดีษ 18

และ

رَوَاهُ الشَّيْخُ الصَّدُوْقُ :
حَدَّثَنَا أَحْمَدُ بْنُ مُحَمَّدِ بْنِ يَحْيَى الْعَطَّارُ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ قَالَ : حَدَّثَنَا أَبِي ، عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ عَبْدِ الْجَبَّارِ ، عَنْ أَحْمَدِ بْنِ مُحَمَّدِ بْنِ زِيَادٍ الْأَزْدِيِّ ، عَنْ أَبَانَ بْنِ عُثْمَانَ ، عَنْ ثَابِتِ بْنِ دِينَارٍ ، عَنْ سَيِّدِ الْعاَبِدِيْنَ عَلِيِّ بْنِ الْحُسَيْنِ ، عَنْ سَيِّدِ الشُّهَدَاءِ الْحُسَيْنِ بْنِ عَلِيٍّ عَنْ سَيِّدِ الأَوْصِيَاءِ أَمِيرِ الْمُؤْمِنِينَ عَلِىِّ بْنِ أَبِى طَالِبٍ عَلَيْهِمْ السَّلَام قَالَ :  

قَالَ رَسُولُ اللَّهِ  صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَآلِهِ  :

الْأَئِمَّةُ بَعْدِيْ اثْناَ عَشَرَ أَوَّلُهُمْ أَنْتَ ياَ عَلِيُّ وَآخِرُهُمْ الْقاَئِمُ الَّذِيْ يَفْتَحُ اللهُ عَزَّوَجَلَّ عَلَى يَدَيْهِ مَشَارِقَ الْأَرْضِ وَمَغَارِبَهَا

Θ สายรายงาน  ►

เชคศอดูกเล่าว่า :   อะหมัด บินมุฮัมมัด บินยะห์ยาอัลอัตต็อรเล่าให้เราฟังเขากล่าวว่า  บิดาของฉัน(คือมุฮัมมัด บินยะห์ยา)เล่าให้เราฟัง จากมุฮัมมัด บินอับดุลญับบาร จากอะหมัด บินมุฮัมมัด บินซิยาดอัลอะซะดี จากอะบาน บินอุษมาน จากษาบิต บินดีนาร(คืออะบูฮัมซะฮ์อัษษุมาลี) จากอิม่ามอาลี(ซัยนุลอาบิดีน) บินฮูเซน จากอิม่ามฮูเซน บินอาลี จากอิม่ามอะมีรุลมุอ์มินีน อาลี บินอะบีตอลิบ(อ)เล่าว่า :

Θ ตัวบท  ►

ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า :

อิม่ามผู้นำภายหลังจากฉันมี 12 คน  คนแรกของพวกเขาคือเจ้า โอ้อาลี และคนสุดท้ายของพวกเขาคืออัลกออิม(อัลมะฮ์ดี)
ผู้ที่อัลลอฮ์อัซซะวะญัลจะประทานชัยชนะให้อยู่ในมือทั้งสองของเขา ทั้งโลกตะวันออกและโลกตะวันตก

ดูหนังสือกะมาลุดดีน  วะตะมามุนนิอ์มะฮ์โดยเชคศอดูก(มรณะฮ.ศ.381)  หน้า  33 หะดีษที่ 35  


สถานะหะดีษ : สายรายงานเชื่อถือได้ทั้งหมด


۩ พิเคราะห์สายรายงานหะดีษ


1.เชคศอดูก →2.อะหมัด บินมุฮัมมัด บินยะห์ยาอัลอัตต็อร→3.บิดาของฉัน(คือมุฮัมมัด บินยะห์ยา)→4.มุฮัมมัด บินอับดุลญับบาร →5.อะหมัด บินมุฮัมมัด บินซิยาดอัลอะซะดี →6.อะบาน บินอุษมาน→7.ษาบิต บินดีนาร(คืออะบูฮัมซะฮ์อัษษุมาลี)→8.อิม่ามอาลี(ซัยนุลอาบิดีน) บินฮูเซน →9.อิม่ามฮูเซน บินอาลี →10.อิม่ามอะมีรุลมุอ์มินีน อาลี บินอะบีตอลิบ→ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)

1. เชคศอดูก ( 305 – 381 ฮ.ศ.รวมอายุ 76 ปี)  →

ชื่อเต็มของเชคศอดูกคือ

الشيخ أبو جعفر  محمد بن علي بن الحسين بن وسي بن بابويه القمي  المعروف بالشيخ الصدوق
เชคอะบูญะอ์ฟัร     มุฮัมมัด บินอาลี บินอัลฮูเซน บินมูซา บินบาบะวัยฮฺ  อัลกุมมี   รู้จักกันนาม  เชคศอดูก

เกิด
เชคศอดูกเกิดหลังปีฮ.ศ. 305  ที่เมืองกุม  ประเทศอิหร่าน   ด้วยบะร่อกัตจากการขอดุอาอ์ของอิม่ามมะฮ์ดี(อ)

มรณะ
เชคศอดูกมรณะฮ.ศ. 381 ที่เมืองเรย์ อยู่ทางตอนใต้ของเมืองเตฮะราน ประเทศอิหร่าน  ร่ายของเขาถูกฝังอยู่ใกล้กับสุสานของท่านสัยยิดอับดุลอะซีม อัลฮาซานี

คำวิจารณ์สถานะของเชคศอดูก

1- เชคตูซี่กล่าวว่า  

مُحَمَّدُ بْنُ عَلِىِّ بْنِ الْحُسَيْنِ بْنِ مُوسَى بْنِ باَبَوَيْهِ الْقُمِّيُّ، يُكْنَى أَباَ جَعْفَرٍ، كاَنَ جَلِيْلاً حاَفِظاً لِلأَحاَدِيْث بَصِيْراً بِالرِّجاَلِ ناَقِداً لِلأخْباَرِ لَمْ يُرَ فِي الْقُمِّيِّيْنَ مِثْلَهُ فِي حِفْظِهِ وَ كَثْرَةِ عِلْمِهِ،

มุฮัมมัด บินอาลี บินอัลฮูเซน บินมูซา บินบาบะวัยฮฺ  อัลกุมมี  ฉายาอะบูญะอ์ฟัร    : เขาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูง  นักท่องจำหะดีษ    ผู้เชี่ยวชาญอิลมุลริญาล  นักวิจารณ์สายรายงานหะดีษ   ไม่เคยเห็นในชาวเมืองกุมคนใดเหมือนเขาในความจำของเขา และในความรู้ที่มากมายของเขา
ดูอัลฟะฮ์ร็อสต์ โดยเชคตูซี่  อันดับที่  695  

2- อิบนุดาวูดกล่าวว่า

مُحَمَّدُ بْنُ عَلِىِّ بْنِ الْحُسَيْنِ بن بابويه  أبو جعفر جليل القدر حفظة بصير بالفقه والاخبار شيخ الطائفة وفقيهها ووجهها بخراسان،

มุฮัมมัด บินอาลี บินอัลฮูเซน บินมูซา บินบาบะวัยฮฺ  อัลกุมมี  ฉายาอะบูญะอ์ฟัร    : เขาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูง  นักท่องจำหะดีษ    ผู้เชี่ยวชาญด้านฟิกฮ์และรายงานหะดีษ  คือชัยค์แห่งกลุ่มปราชญ์ชีอะฮ์ เป็นฟะกีฮ์และเป็นหัวหน้ากลุ่มที่เมืองคูรอซาน
ดูริญาล อิบนิดาวูด  อันดับที่  1455  

3-อัลลามะฮ์ฮิลลีกล่าวว่า

مُحَمَّدُ بْنُ عَلِىِّ بْنِ الْحُسَيْنِ بن موسى بن بابويه القمي أبوجعفر نزيل الري شيخنا وفقيهنا ووجه الطائفة بخراسان، كان جليلا حافظا الاحاديث بصيرا بالرجال ناقدا للاخبار لم ير في القميين مثله في حفظه وكثرة علمه،

มุฮัมมัด บินอาลี บินอัลฮูเซน บินมูซา บินบาบะวัยฮฺ  อัลกุมมี  อะบูญะอ์ฟัร    : พำนักอยู่ที่เมืองเรย์ (อิหร่าน)  เขาเป็นเชค(นักปราชญ์)ของเรา เป็นฟะกีฮ์ของเรา และเป็นหัวหน้ากลุ่มที่เมืองคูรอซาน
เขาคือผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูง  นักท่องจำหะดีษ   ผู้เชี่ยวชาญอิลมุลริญาล  นักวิจารณ์สายรายงานหะดีษ ไม่เคยเห็นชาวเมืองกุมคนใดเหมือนเขาในความจำของเขา และในความรู้ที่มากมายของเขา
ดูคุลาเศาะตุลอักวาล โดยอัลลามะฮ์ฮิลลี  อันดับที่  44  

เชคอับบาส อัลกุมมีกล่าวว่า  
 
(ابن بابويه) أبوجعفر مُحَمَّدُ بْنُ عَلِىِّ بْنِ الْحُسَيْنِ بن موسى بن بابويه القمي، شيخ الحفظة ووجه الطائفة المستحفظة رئيس المحدثين والصدوق فيما يرويه عن الائمة الطاهرين (ع) ولد بدعاء مولانا صاحب الامر (ع)

อิบนุบาบะวัยฮฺ  อะบูญะอ์ฟัร  มุฮัมมัด บินอาลี บินอัลฮูเซน บินมูซา บินบาบะวัยฮฺ  อัลกุมมี   คือชัยค์แห่งนักท่องจำ เป็นหัวหน้ากลุ่มนักท่องจำหะดีษ  เป็นหัวหน้าบรรดานักรายงานหะดีษ และเชื่อถือได้ในสิ่งที่เขารายงานหะดีษจากบรรดาอิม่ามผู้บริสุทธิ์(อ) เขาเกิดมาด้วยการขอดุอาอ์ของอิม่ามซอฮิบุลอัมริ(อ)
ดูอัลกุนาวัลอัลกอบ โดยเชคอับบาสกุมมี  เล่ม 33 หน้า 1


2. อะหมัด บินมุฮัมมัด บินยะห์ยาอัลอัตต็อร→
      
เขามีชีวิตอยู่ในช่วงฮ.ศ. 356 เขาคืออาจารย์คนหนึ่งของเชคศอดูก   เชคศอดูกได้กล่าวถึงเขาว่า อาจารย์คนนี้เป็นที่พึงพอใจสำหรับเขา  และเชคศอดูกได้รายงานหะดีษของอาจารย์คนนี้เอาไว้ในหนังสืออัลอะมาลี  อุยูนุอัคบาริลริฎอ(อ)และมะอานีอัคบาร  ส่วนเชคตูซีได้รายงานหะดีษของเขาเอาไว้ในหนังสือตะฮ์ซีบุลอะห์กามและอัลอิสติบศ็อร ประมาณ 54 เรื่องซึ่งเป็นรายงานที่มาจากบรรดาอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์(อ)  โดยอะหมัดได้รายงานหะดีษของอะอิมมะฮ์จากบิดาของเขา

ผู้ที่รายงานหะดีษจากเขาคือฮูเซนบินอุบัยดุลลอฮ์ อัลเฆาะฎออิรีและอบุลฮูเซน บินอะบีญัยยิดอัลกุมมี  และฮารูน บินมูซา อัตตัลละอักบะรี(มรณะฮ.ศ.356)ได้ฟังจากเขา และเขายังได้รับอิญาซะฮ์(การอนุญาตให้รายงานหะดีษ)ได้จากเขา  ดูเมาซูอะฮ์ อัศฮาบุลฟุเกาะฮาอ์  อันดับที่  1316

เชคตูซีกล่าวว่า

أحمد بن محمد بن يحيى   روى عنهما أبو جعفر ابن بابويه

อะหมัด บินมุฮัมมัดบินยะห์ยา ผู้ที่รายงานหะดีษจากเขาทั้งสอง(หมายถึงอะหมัดและมุฮัมมัดบินยะห์ยา)คือ อะบูญะอ์ฟัร อิบนิบาบะวัยฮฺ(เชคศอดูก)   ดูริญาลเชคตูซี  อันดับที่  5979

อัลคอกอนีกล่าวว่า

احمد بن محمد بن يحيى العطار فان الصدوق رحمه الله يروى عنه كثيرا وهو من مشايخه

อะหมัด บินมุฮัมมัดบินยะห์ยา อัลอัตต็อร : แท้จริงเชคศอดูกได้รายงานหะดีษจากเขามากมาย และเขาคืออาจารย์คนหนึ่งของเชคศอดูก     ดูริญาลอัลคอกอนี  เล่ม 1 : 232

3. บิดาของฉัน(คือมุฮัมมัด บินยะห์ยา)→

เขามีชีวิตอยู่ในฮ.ศ.300 เป็นอาลิมแห่งยุค เป็นนักรายงานหะดีษ (และ)เป็นอาจารย์ของเชคกุลัยนี  
เขารายงานหะดีษจากอัศฮาบของพวกเขามากมายเช่น มุฮัมมัดบินฮูเซน บินอบิลคอตตอบ( มรณะ 262) มุฮัมมัดบินฮาซันอัศศอฟฟ้าร( มรณะ 290 ) และมุฮัมมัด บินอับดุลญับบาร และคนอื่นๆ
ผู้ที่รายงานหะดีษจากเขาคือ เชคกุลัยนี , อาลี บินฮูเซน บินบาบะวัยฮฺ บิดาของเชคศอดูก และคนอื่นๆ...  เขาคือฟะกีฮ์ผู้โด่งดังคนหนึ่ง และคือเชคของชาวชีอะฮ์ในยุคของเขา  เชื่อถือได้ในการรายงาน เขารายงานหะดีษไว้มากมาย
ดูเมาซูอะฮ์ อัศฮาบุลฟุเกาะฮาอ์  อันดับที่  1171

เชคตูซีกล่าวว่า
محمد بن يحيى العطار  روى عنه الكليني، قمي، كثير الرواية
มุฮัมมัด บินยะห์ยาอัลอัตต็อร : เชคกุลัยนีรายงานหะดีษจากเขา เป็นชาวเมืองกุม มีรายงานหะดีษมากมาย    ดูริญาลเชคตูซี  อันดับที่  6274

ท่านนะญาชีกล่าวว่า

محمد بن يحيى أبو جعفر العطار القمي شيخ أصحابنا في زمانه، ثقة، عين، كثير الحديث

มุฮัมมัด บินยะห์ยา อะบูญะอ์ฟัร อัลอัตต็อร อัลกุมมี   เชคแห่งอัศฮาบของพวกเราในสมัยของเขา  เชื่อถือได้ในการรายงาน มีหะดีษมากมาย    ดูริญาลนะญาชี  อันดับที่  946

4. มุฮัมมัด บินอับดุลญับบาร →

เขามีชีวิตอยู่ก่อนฮ.ศ. 260 นับว่าเขาเป็นสาวกคนหนึ่งของท่านอิม่ามทั้งสามคือ อิม่ามญะวาด,อิม่ามฮาดีและอิม่ามฮาซันอัสการี(อ)
เขารายงานหะดีษจาก : อิม่ามฮาดีและอิม่ามฮาซันอัสการี(อ) มีคนเล่าว่า เขาเป็นคนรับใช้ของอิม่ามฮาซันอัสการี(อ) แล้วเขาได้สอบถามปัญหาต่างๆมากมายจากอิม่ามฮาซันอัสการี  และเขายังใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับศ็อฟวาน บินยะห์ยาและได้รายงานเรื่องฟิกฮ์จากเขาไว้มากมาย
   เช่นกันเขายังได้รายงานหะดีษจากบุคคลดังต่อไปนี้คือ : ฮาซัน บินอาลีบินฟัฎฎอล , มุฮัมมัดบินสินาน , มุฮัมมัด บินอะบีอุมัยริน และคนอื่นๆ
   ผู้ที่รายงานหะดีษจากเขาคือ : มุฮัมมัด บินยะห์ยาอัลอัตต็อร , มุฮัมมัด บินฮาซันอัศศอฟฟ้ารและคนอื่นๆ  รายงานของเขามีบันทึกไว้ในกุตุบอัรบะอะฮ์ถึง 927 กว่าเรื่อง
ดูเมาซูอะฮ์ อัศฮาบุลฟุเกาะฮาอ์  อันดับที่  1126

เชคตูซีกล่าวว่า

محمد بن عبد الجبار  و هو ابن أبي الصهبان، قمي، ثقة

มุฮัมมัด บินอับดุลญับบาร  เขาคือบุตรของอะบีเศาะฮ์บาน ชาวเมืองกุม  เชื่อถือได้ในการรายงาน    ดูริญาลเชคตูซี  อันดับที่  5765

5. อะหมัด บินมุฮัมมัด บินซิยาดอัลอะซะดี →

หรือที่รู้จักกันในนาม อิบนิ อะบีอุเมรฺ  มรณะฮ.ศ.217  เขาคือฟะกีฮ์  ร็อบบานี มีฉายาว่า อะบูมุฮัมมัด เป็นชาวเมืองแบกแดด(อิรัก) เป็นสาวกของอิม่ามมูซากาซิมและอิม่ามอาลีริฎอ(อ) ซึ่งนักวิชาการมีมติตรงกันว่า อิบนิ อะบีอุเมรฺคือหนึ่งในหกจากบรรดาผู้ที่มีความน่าเชื่อถือในการรายงานหะดีษและได้รับการรับรองในเรื่องฟิกฮ์ของพวกเขา
   อะหมัด บินมุฮัมมัดบินซิยาด(หรืออิบนิ อะบีอุเมรฺ)ได้พบกับอิม่ามมูซากาซิมและได้สดับฟังหะดีษต่างๆจากท่าน บางครั้งอิม่ามมูซาเรียกเขาด้วยฉายาว่า " อะบูอะหมัด "  และเขาได้รายงานหะดีษจากอิม่ามอาลีริฎอ(อ)    ดูเมาซูอะฮ์ อัศฮาบุลฟุเกาะฮาอ์  อันดับที่  1115

อะหมัดคือ บุตรชายของ มุฮัมมัดบินซิยาด อัลอะซะดี หรือที่รู้จักกันในนาม มุฮัมมัด บินอะบีอุมัยริน  รายงานหะดีษซอฮิ๊ฮ์ของอะหมัดในกุตุบอัรบะอะฮ์เช่น

عَنْ أَحْمَدَ بْنِ مُحَمَّدِ عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ أَبِي عُمَيْرٍ(زِياَد) عَنْ إِسْمَاعِيلَ بْنِ رَبَاحٍ قَالَ سَأَلْتُ أَبَا الْحَسَنِ (ع) عَنْ مُفْرِدِ الْعُمْرَةِ عَلَيْهِ طَوَافُ النِّسَاءِ قَالَ نَعَمْ  

จากอะหมัด บินมุฮัมมัด  จากมุฮัมมัด บินอะบีอุมัยริย(คือซิยาด) จากอิสมาอีล บินร่อบาห์เล่าว่า ฉันได้ถามอิม่ามอะบุลฮาซัน(อ)ถึงการทำอุมเราะฮ์มุฟร็อดว่า จำเป็นที่เขาจะต้องทำการต่อวาฟนิซาอ์หรือไม่ ท่านอิม่ามตอบว่า " ใช่ "
ดูอัลอิสติบศ็อร โดยเชคตูซี่  เล่ม 2 : 232 หะดีษที่ 1 สถานะหะดีษซอฮิ๊ฮ์

เชคตูซีกล่าวว่า  

محمد بن أبي عمير  يكنى أبا أحمد، واسم أبي عمير زياد، مولى الأزد، ثقة

มุฮัมมัด บินอะบีอุมัยริน (มรณะฮ.ศ.217) ฉายาอะบูอะหมัด ชื่อจริงของอะบีอุมัยรินคือ ซิยาด  เป็นคนรับใช้ของ(เผ่า)อัลอะซะดี เชื่อถือได้ในการรายงาน   ดูริญาลเชคตูซี  อันดับที่  5413

ท่านนะญาชีกล่าวว่า

محمد بن أبي عمير زياد بن عيسى أبو أحمد الأزدي   لقي أبا الحسن موسى عليه السلام وسمع منه أحاديث كناه في بعضها فقال يا أبا أحمد، وروى عن الرضا عليه السلام، جليل القدر عظيم المنزلة فينا

มุฮัมมัด บินอะบีอุมัยริน ซิยาดบินอีซา  ฉายาอะบูอะหมัด อัลอะซะดี    เขาได้พบกับอิม่ามอะบุลฮาซันมูซา(อ)และยังได้ฟังหะดีษต่างๆจากท่าน ท่านอิม่ามได้เรียกชื่อเขาในบางครั้งว่าอะบูอะหมัด(บิดาของอะหมัด) และเขายังได้รายงานหะดีษจากอิม่ามริฎอ(อ)  เขาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิชั้นสูง มีฐานะภาพยิ่งใหญ่ในหมู่พวกเรา    ดูริญาลนะญาชี  อันดับที่  887

สัยยิดอัลคูอีกล่าวว่า

محمد بن زياد الازدي : روى عن أبان بن عثمان الاحمر . الفقيه : الجزء 4 ، باب النوادر وهو آخر
أبواب الكتاب ، الحديث 832 . أقول : هو محمد بن أبي عمير المتقدم .

มุฮัมมัด บินซิยาดอัลอะซะดี : รายงานหะดีษจากอะบาน บินอุษมาน อัลอะห์มัร ดูมันลายะห์ฎุรุฮุลฟะกีฮ์ เล่ม 4 หะดีษที่ 832  ฉันขอกล่าวว่า  เขาคือ มุฮัมมัด บินอะบีอุมัยริน
ดูมุอ์ญัมริญาล โดยอัลคูอี อันดับที่  10793

6. อะบาน บินอุษมาน อัลอะห์มัร→

เขามีชีวิตอยู่ก่อนฮ.ศ.183 เป็นฟะกีฮฺ  เป็นนักวรรณคดีอาหรับ  ฉายาอะบูอับดุลลอฮ์ อัลบะญะลี เป็นชาวเมืองกูฟะฮ์ เป็นสาวกของอิม่ามศอดิก(อ) ศึกษาความรู้และเรื่องฟิกฮ์จากอิม่ามศอดิกและรายงานหะดีษจากอิม่ามศอดิกและอิม่ามมูซากาซิม(อ)
ผู้ที่รายงานหะดีษที่เขาคือ  : อะบูบะศีร (ชื่อคือ)ยะห์ยาบินกอสิมอัลอะสะดี ,มุอ์มิน ต็อกและอะบีฮัมซะฮ์อัษษุมาลี(ชื่อคือษาบิต บินดีนาร)   ดูเมาซูอะฮ์ อัศฮาบุลฟุเกาะฮาอ์  อันดับที่  283

ท่านอิบนุดาวูดกล่าวว่า

أبان بن عثمان الاحمر  : من الستة الذين أجمعت العصابة على تصديقهم، وهم: جميل بن دراج، عبدالله بن مسكان، عبدبن بكير، حمادبن عيسى، حماد بن عثمان، أبان بن عثمان. وجميل بن دراج أفقههم

อะบาน บินดีนาร อัลอะห์มัร คือหนึ่งในหกบุคคลที่กลุ่มนักวิชาการมีมติตรงกันว่า พวกเขาเชื่อถือได้ในการรายงาน    ดูริญาลอิบนุดาวูด  อันดับที่  6

7.ษาบิต บินดีนาร( ฉายาคือ อะบูฮัมซะฮ์อัษษุมาลี)→

หรือษาบิตบินอะบีเศาะฟียะฮ์ ดีนาร  มีฉายาว่า อะบูฮัมซะฮ์ อัษษุมาลีอัลอะซะดี ชาวกูฟะฮ์ มรณะฮ.ศ. 150  เป็นอาเล่มที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งในสมัยของเขาในเรื่องฟิกฮ์  หะดีษ ภาษาศาสตร์และอื่นๆ  เขาได้รับความรู้มาจากท่านอิม่ามทั้งสี่คือ อิม่ามซัยนุลอาบิดีน อิม่ามบาเก็ร อิม่ามศอดิกและอิม่ามมูซากาซิม(อ) และเขาได้รายงานหะดีษจากท่านอิม่ามทั้งสี่
ดูเมาซูอะฮ์ อัศฮาบุลฟุเกาะฮาอ์  อันดับที่  108

เชคตูซีกล่าวว่า

ثابت بن دينار  يكنى أبا حمزة الثمالي، و كنية دينار أبو صفية ثقة

ษาบิต บินดีนาร ฉายาคือ อะบูฮัมซะฮ์ อัษษุมาลี และกุนยะฮ์ของดีนารคือ อะบูเศาะฟียะฮ์  
เชื่อถือได้ในการรายงาน    ดูอัลฟะฮ์ร็อสต์ เชคตูซี  อันดับที่  127

อัลลามะฮ์ฮิลลีกล่าวว่า

ثابت بن دينار يكنى دينار أبا صفيه وكنيته ثابت أبوحمزة الثمالي، روى عن علي بن الحسين عليه السلام وكان ثقة

ษาบิตบินดีนาร  ฉายาอะบูเศาะฟียะฮ์ และกุนยะฮ์คือ อะบูฮัมซะฮ์อัษษุมาลี เขารายงานหะดีษจากอิม่ามอาลี บินฮูเซน(อ)  และเชื่อถือได้ในการรายงาน
ดูคุลาเศาะตุลอักวาล อันดับที่  5  บาบที่  1 หมวดนักรายงานที่ชื่อ ษาบิต

8.อิม่ามอาลี(ซัยนุลอาบิดีน) บุตรอิม่ามฮูเซน →

ท่านคืออิม่ามคนที่ 4 แห่งมัซฮับอะฮ์ลุลบัยต์(อ)เกิดที่นครมะดีนะฮ์ ฮ.ศ.38 – 114

قال العِجْلِي : عَلِيُّ بْنُ الْحُسَيْنِ بْنِ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ مَدَنِيٌّ تاَبِعِيٌّ ثِقَةٌ وَكاَنَ رَجُلاً صاَلِحاً

อัลอิจญ์ลีกล่าวว่า  : อาลี บินฮูเซน เป็นตาบิอี  เชื่อถือได้ และเป็นคนซอและห์
ดูอัษษิกอต โดยอิจญ์ลี  อันดับที่  1293  

قاَلَ ابْنُ حَجَر : عَلِىُّ بْنُ الْحُسَيْنِ بْنِ عَلِىِّ بْنِ أَبِى طَالِبٍ الْهاَشِمِيُّ زَيْنُ الْعاَبِدِيْنَ ثِقَةٌ ثَبَتٌ عاَبِدٌ فَقِيْهٌ فاَضِلٌ مَشْهُوْرٌ

อิบนุหะญัรกล่าวว่า   : อาลี บินฮูเซน  ซัยนุลอาบิดีน  เชื่อถือได้  มีความมั่นคง  อาบิ๊ด  ฟะกีฮ์  ฟาดิ้ล มัชฮู้ร    ดูตักรีบุตตะฮ์ซีบ  อันดับที่ 4715

قاَلَ الذَّهَبِيُّ : عَلِىُّ بْنُ الْحُسَيْنِ (ع) اِبْنُ الْاِماَمِ عَلِىِّ بْنِ أَبِى طَالِبِ بْنِ عَبِدِ الْمُطَّلِبِ بْنِ هاَشِمِ بْنِ عَبْدِ مَناَف، السَّيِّدُ الْاِماَمُ، زَيْنُ الْعاَبِدِيْنَ، الْهاَشِمِيُّ الْعَلَوِيُّ، الْمَدَنِيُّ    

อัซซะฮะบีกล่าวว่า   : อาลี บินฮูเซน  คือสัยยิด  เป็นอิม่ามผู้นำ    ดูสิยัร อะอ์ลามุนนุบะลาอ์  อันดับที่ 157

9.อิม่ามฮูเซน บุตรอิม่ามอาลี →

ท่านคืออิม่ามคนที่ 3 แห่งมัซฮับอะฮ์ลุลบัยต์(อ)เกิดที่นครมะดีนะฮ์ ฮ.ศ.4 – 61

قاَلَ ابْنُ حَجَر : الْحُسَيْنُ بْنُ عَلِىِّ بْنِ أَبِى طَالِبٍ الهاشمي أبو عبدالله المدني سِبْطُ رَسُوْلِ الله (ص)    
อิบนุหะญัรกล่าวว่า   : ท่านฮูเซน บินอาลีบินอะบีตอลิบ หลานชายของท่านรอซูล(ศ)  หนึ่งจากบรรดาซาบิกีนเอาวะลีน   ปราชญ์กลุ่มหนึ่งให้น้ำหนักว่า  เขาคือชายคนแรกที่เข้ารับอิสลาม
ดูตักรีบุตตะฮ์ซีบ  อันดับที่ 1334      ท่านรอซูล(ศ)กล่าวว่า  

الحَسَـنُ ‏ ‏وَالْحُسَـيْنُ ‏ ‏سَـيِّدَا شَـبَابِ أهْلِ الْجَـنَّة

ฮาซันและฮูเซนคือหัวหน้าชายหนุ่มแห่งชาวสวรรค์  ดูซอฮิ๊ฮ์ติรมิซี  หะดีษที่  2965

10.อิม่ามอาลี บุตรอะบีตอลิบ→ ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)

ท่านคืออิม่ามคนที่ 1 แห่งมัซฮับอะฮ์ลุลบัยต์(อ)  เกิดที่กะอ์บะฮ์ นครมักกะฮ์  เกิดก่อนฮ.ศ.23  มรณะฮ.ศ. 41

قاَلَ ابْنُ حَجَر العسقلاني الشافعي : عَلِيُّ بْنُ أَبِي طَالِب بن عَبْدِ الْمُطَّلِبِ بْنِ هَاشِمٍ الهاشمي ابنُ عَمِّ رسول الله (ص) وَزَوْجُ اِبْنَتِهِ مِنَ الساَّبِقِيْنَ الْأَوَّلِيْنَ وَرَجَّحَ جَمْعٌ أَنَّهُ أَوَّلُ مَنْ أَسْلَمَ

อิบนุหะญัรกล่าวว่า   : ท่านอาลี บินอะบีตอลิบ บุตรของลุงของท่านรอซูล(ศ) คือสามีบุตรีของท่านรอซูลฯ  เป็นหนึ่งจากบรรดาซาบิกูนอัลเอาวะลูน(ผู้เข้ารับอิสลามรุ่นแรกสุด)   มีนักปราชญ์กลุ่มหนึ่งให้น้ำหนักว่า  เขาคือชายคนแรกที่เข้ารับอิสลาม  ดูตักรีบุตตะฮ์ซีบ  อันดับที่ 4753


หะดีษบทนี้ยังถูกบันทึกอยู่ในหนังสือต่อไปนี้
1,อุยูนุอัคบาริลริฎอ(อ)โดยเชคศอดูก หน้า  59 หะดีษที่ 28
2, มันลายะห์ฎุรุฮุลฟะกีฮ์ โดยเชคศอดูก  หะดีษที่ 5406  
3, วะซาอิลุชชีอะฮ์  โดยอัลฮุรรุลอามิลี  หะดีษที่ 34930    




►หะดีษจำนวนผู้นำ 12  จากตำราซุนนี่


ท่านนะบี(ศ)คือผู้ที่กล่าวถึงจำนวนผู้นำหลังจากท่านเอาไว้ว่ามีแค่สิบสอง ซึ่งหะดีษเหล่านั้นได้ถูกบันทึกไว้ในซอฮีฮ์บุคอรี,มุสลิมและตำราอื่นๆเช่น


1,อับดุลมะลิกจากท่านญาบิร บินสะมุเราะฮ์เล่าว่า : ฉันได้ยินท่านนะบี(ศ)กล่าวว่า :  

يَكُونُ اثْنَا عَشَرَ أَمِيرًا ( فَقَالَ كَلِمَةً لَمْ أَسْمَعْهَا فَقَالَ أَبِى إِنَّهُ قَالَ ) كُلُّهُمْ مِنْ قُرَيْشٍ

จะมี 12 อะมีรเกิดขึ้น แล้วท่านกล่าวคำหนึ่งซึ่งฉันได้ยินไม่ถนัด  บิดาของฉันจึงบอกว่า : แท้จริงท่านกล่าวว่า : พวกเขาทั้งหมดมาจากเผ่ากุเรช
ดูซอฮิ๊ฮ์บุคอรี (194- 256 ฮ.ศ.) หะดีษที่  7222  

2,สิม๊ากบินหัรบ์จาก ท่านญาบิร บินสะมุเราะฮ์เล่าว่า : ฉันได้ยินท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า :

لاَ يَزَالُ الإِسْلاَمُ عَزِيزًا إِلَى اثْنَىْ عَشَرَ خَلِيفَةً  ثُمَّ قَالَ كَلِمَةً لَمْ أَفْهَمْهَا فَقُلْتُ لأَبِى مَا قَالَ فَقَالَ كُلُّهُمْ مِنْ قُرَيْشٍ

อัลอิสลามยังคงมีเกียรติมีศักดิ์ศรีอยู่จนถึง12 คอลีฟะฮ์ แล้วท่านพูดด้วยถ้อยคำแผ่วเบาฉันไม่เข้าใจมัน  ฉันจึงกล่าวกับบิดาของฉันว่า : ท่านพูดอะไร ? บิดาบอกว่า : ท่านกล่าวว่า : พวกเขาทั้งหมดมาจากเผ่ากุเรช

ดูซอฮิ๊ฮ์มุสลิม (206 - 261 ฮ.ศ.) หะดีษที่  4812  


3,ชะอ์บีจาก ท่านญาบิร บินสะมุเราะฮ์เล่าว่า ท่านนบี(ศ)กล่าวว่า  :

لَا يَزَالُ هَذَا الْأَمْرُ عَزِيزًا مَنِيعًا يُنْصَرُونَ عَلَى مَنْ نَاوَأَهُمْ عَلَيْهِ إِلَى اثْنَيْ عَشَرَ خَلِيفَةً ثُمَّ قَالَ كَلِمَةً أَصَمَّنِيهَا النَّاسُ فَقُلْتُ لِأَبِي مَا قَالَ قَالَ كُلُّهُمْ مِنْ قُرَيْشٍ

กิจการของประชาชาติอิสลามยังคงมีเกียรติและมีสภาพมั่นคงอยู่ในสมัย 12 คอลีฟะฮ์ บุคคลเหล่านั้นจะได้รับชัยชนะเหนือผู้ที่แย่งอำนาจไปจากพวกเขา พวกเขาล้วนมาจากเผ่ากุเรช
สถานะหะดีษ :ซอฮิ๊ฮ์ ดูมุสนัดอะหมัด หะดีษที่ 20964  ฉบับตรวจทานโดยเชคชุเอบอัรนะอูฏี

4,ท่านญาบิร บินสะมุเราะฮ์เล่าว่า

خَطَبَنَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِعَرَفَاتٍ فَقَالَ لَا يَزَالُ هَذَا الْأَمْرُ عَزِيزًا مَنِيعًا ظَاهِرًا عَلَى مَنْ نَاوَأَهُ حَتَّى يَمْلِكَ اثْنَا عَشَرَ كُلُّهُمْ قَالَ فَلَمْ أَفْهَمْ مَا بَعْدُ قَالَ فَقُلْتُ لِأَبِي مَا قَالَ بَعْدَمَا قَالَ كُلُّهُمْ قَالَ كُلُّهُمْ مِنْ قُرَيْشٍ
ท่านนะบี(ศ)ได้ปราศัยต่อหน้าพวกเราที่อะเราะฟาตว่า  กิจการของประชาชาติอิสลามยังคงมีเกียรติ มีสภาพมั่นคง มีชัยเหนือผู้ที่ชิงอำนาจไปจากเขา  จนกว่าจะมี 12 ผู้นำขึ้นมากุมอำนาจ
พวกเขาทุกคน  
ญาบิรเล่าว่า ฉันไม่เข้าใจสิ่งที่ท่านพูดหลังจากนั้น ฉันจึงถามบิดาของฉันว่า หลังจากนั้นท่านพูดอะไร  บิดาฉันกล่าวว่า ท่านบอกว่า พวกเขาทุกคนมาจากเผ่ากุเรช
สถานะหะดีษ :ซอฮิ๊ฮ์ ดูมุสนัดอะหมัด หะดีษที่ 20910  ฉบับตรวจทานโดยเชคชุเอบอัรนะอูฏี


5,ท่านญาบิร บินสะมุเราะฮ์ อัสสุอาลีเล่าว่า

عَنْ جَابِرِ بْنِ سَمُرَةَ السُّوَائِيِّ قَالَ سَمِعْتُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُولُ فِي حَجَّةِ الْوَدَاعِ إِنَّ هَذَا الدِّينَ لَنْ يَزَالَ ظَاهِرًا عَلَى مَنْ نَاوَأَهُ لَا يَضُرُّهُ مُخَالِفٌ وَلَا مُفَارِقٌ حَتَّى يَمْضِيَ مِنْ أُمَّتِي اثْنَا عَشَرَ خَلِيفَةً قَالَ ثُمَّ تَكَلَّمَ بِشَيْءٍ لَمْ أَفْهَمْهُ فَقُلْتُ لِأَبِي مَا قَالَ قَالَ كُلُّهُمْ مِنْ قُرَيْشٍ

ฉันได้ยินท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวที่การทำฮัจญ์ครั้งสุดท้ายว่า แท้จริงศาสนา(อิสลาม)นี้ยังคงมีชัยเหนือผู้ที่ชิงอำนาจไปจากเขา  ทั้งผู้ต่อต้านและผู้แยกตัวออกจากเขาจะไม่อาจทำอันตรายแก่เขาได้  จนกว่ามันจะดำเนินไปในประชาชาติของฉันครบ12 ผู้นำ
ญาบิรเล่าว่า จากนั้นท่านพูดสิ่งหนึ่งที่ฉันไม่เข้าใจสิ่งนั้น ฉันจึงถามบิดาของฉันว่า ท่านพูดอะไร  บิดาฉันกล่าวว่า ท่านบอกว่า พวกเขาทุกคนมาจากเผ่ากุเรช

สถานะหะดีษ :ซอฮิ๊ฮ์ ดูมุสนัดอะหมัด หะดีษที่ 20833  ฉบับตรวจทานโดยเชคชุเอบอัรนะอูฏี


6,ท่านญาบิร บินสะมุเราะฮ์ อัสสุอาลีเล่าว่า

عَنْ جَابِرِ بْنِ سَمُرَةَ السُّوَائِيِّ قَالَ سَمِعْتُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُولُ فِي حَجَّةِ الْوَدَاعِ لَا يَزَالُ هَذَا الدِّينُ ظَاهِرًا عَلَى مَنْ نَاوَأَهُ لَا يَضُرُّهُ مُخَالِفٌ وَلَا مُفَارِقٌ حَتَّى يَمْضِيَ مِنْ أُمَّتِي اثْنَا عَشَرَ أَمِيرًا كُلُّهُمْ ثُمَّ خَفِيَ مِنْ قَوْلِ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ وَكَانَ أَبِي أَقْرَبَ إِلَى رَاحِلَةِ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مِنِّي فَقُلْتُ يَا أَبَتَاهُ مَا الَّذِي خَفِيَ مِنْ قَوْلِ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ يَقُولُ كُلُّهُمْ مِنْ قُرَيْشٍ

ฉันได้ยินท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวที่การทำฮัจญ์ครั้งสุดท้ายว่า แท้จริงศาสนา(อิสลาม)นี้ยังคงมีชัยเหนือผู้ที่ชิงอำนาจไปจากเขา  ทั้งผู้ต่อต้านและผู้แยกตัวออกจากเขาจะไม่อาจทำอันตรายแก่เขาได้  จนกว่ามันจะดำเนินไปในประชาชาติของฉันครบ12 ผู้นำ พวกเขาทุกคน...จากนั้นคำพูดของท่านรอซูล(ศ)ก็เบาลง  ญาบิรเล่าว่า ปรากฏว่าบิดาของฉันอยู่ใกล้กับพาหนะของท่านรอซูล(ศ)มากกว่าฉัน ฉันจึงกล่าวว่า โอ้พ่อครับ ตอนที่ท่านรอซูล(ศ)พูดเสียงเบาลงนั้นท่านพูดว่าอะไรหรือ  บิดาฉันตอบว่า ท่านกล่าวว่า พวกเขาทุกคนล้วนมาจากเผ่ากุเรช
สถานะหะดีษ :ซอฮิ๊ฮ์ ดูมุสนัดอะหมัด หะดีษที่ 20836  ฉบับตรวจทานโดยเชคชุเอบอัรนะอูฏี
ข้อสังเกต หะดีษที่ 3 – 6 คือรายงานที่อิม่ามอะหมัด มรณะฮ.ศ. 240 ได้บันทึกไว้ก่อนที่ท่านอิม่ามมะฮ์ดีจะเกิด จึงทำให้เราเข้าใจได้ว่า ความเชื่อนี้มิใช่พึ่งมีขึ้นในยุคอิม่ามฮาซันอัสการีหรือในสมัยที่อิม่ามมะฮ์ดีได้หายตัวไปจากประชาชน  

7,อับดุลมะลิก บินอุมัยริน จากท่านญาบิร บินสะมุเราะฮ์เล่าว่า :

كُنْتُ مَعَ أَبِىْ عِنْدَ النَّبِيِّ (ص) فَسَمِعْتُهُ يَقُوْلُ :  بَعْدِيْ اثْنَي عَشَرَ خَلِيْفَةً ثُمَّ أَخْفَى صَوْتَهُ فَقُلْتُ لِأَبِيْ ماَ الَّذِيْ أَخْفَى صَوْتَهُ ؟ قاَلَ : قاَلَ : كُلُّهُمْ مِنْ بَنِي هَاشِمٍ

อับดุลมะลิก ท่านญาบิร บินสะมุเราะฮ์เล่าว่า : ฉันกับบิดาได้อยู่กับท่านนะบี(ศ) ฉันได้ยินท่านกล่าวว่า : ภายหลังจากฉันจะมี 12 คอลีฟะฮ์(ปกครอง) จากนั้นท่านทำเสียงของท่านเบาลง  ฉันจึงกล่าวกับบิดาฉันว่า ตอนเสียงของท่านเบาลงนั้นคืออะไร บิดากล่าวว่า ท่านกล่าวว่า : พวกเขาทั้งหมดมาจากบะนีฮาชิม
ดูยะนาบีอุลมะวัดดะฮ์ โดยอัลก็อนดูซี (1220- 1293ฮ.ศ.) เล่ม 2 : 305 หะดีษที่ 908
ชื่อเต็มคือเชคสุลัยมาน บินอัชชัยคฺ อิบรอฮีม รู้จักกันในนาม คอญะฮ์กิลาน อิบนุชชัยคฺ มุฮัมมัด รู้จักกันในนาม คอญะฮ์อัลฮูซัยนี อัลบัลคี อัลกอนดูซี อัลฮานาฟี เป็นพวกซูฟีสานุศิษย์คนหนึ่งของท่านอิบนุอะเราะบี เขาอยู่ในสาขาต่อรีกัต นักชะบันดี


หมายเหตุ  
คุณฟารุกอาจแย้งว่า  หะดีษสิบสองผู้นำของฝ่ายซุนนี่  ไม่ได้พูดเรื่องสิบสองอิหม่าม แต่พูดถึงเรื่องสิบสองคอลีฟะฮ์และอามีร   เราจึงอยากชี้แจงตรงนี้ว่า

หนึ่ง -  หะดีษเรื่องสิบสองผู้นำในตำราชีอะฮ์ มีทั้งใช้คำว่า  อิหม่าม , คอลีฟะฮ์และวะซี(เอาซิยาอ์) คละเคล้ากันไปเช่น
ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า : อิหม่ามภายหลังจากฉันมี 12 คน  คนแรกคือเจ้า โอ้อาลี และคนสุดท้ายคืออัลกออิม(อัลมะฮ์ดี) ผู้ที่อัลลอฮ์อัซซะวะญัลจะประทานชัยชนะให้อยู่ในมือทั้งสองของเขา ทั้งโลกตะวันออกและโลกตะวันตก

สอง  - คำ 1 คำอาจแปลได้หลายความหมายเช่น อัยนุน - عين - แปลว่า ดวงตา,ตัวตน,ตาน้ำ,ชาวเมือง,ชาวบ้าน,รูเล็ก,ผู้บริสุทธิ์และสายลับ...
และคำหลายคำอาจให้ความหมายได้เพียง 1 ความหมายเช่น ผู้นำ  เพื่อป้องกันการเบี่ยงเบนประเด็นการสนทนาเรื่อง 12 ผู้นำ เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันเสียก่อนว่า " ผู้นำ " ในภาษาอาหรับมีหลายคำที่ใช้ร่วมกันเช่น :  
1,อิหม่าม - ผู้นำมุสลิม,,ผู้ปกครอง
2,คอลีฟะฮ์ - ผู้ปกครอง
3,อะมีร - หัวหน้า,ผู้ปกครอง
4,วะลี – ผู้คุ้มครอง,ผู้ปกครอง
5,เมาลา – ผู้ปกครอง,ผู้ค้มครอง
พิจารณาความหมายทั้ง 5 จากอัลกุรอานและฮะดีษ :
1,   إِنِّي جاعِلُكَ لِلنَّاسِ إِماماً
ฉันจะแต่งตั้งเจ้าให้เป็น(อิม่าม)หัวหน้าสำหรับมนุษย์ (อัลบะก่อเราะฮ์:124)
وجعلنا منهم أئمة يهدون بأمرنا
และเราได้แต่งตั้งจากพวกเขาเป็นอิม่ามผู้นำ(ประชาชน)ตามบัญชาของเรา
(อัส-สัจญ์ดะฮ์:24)

2,   إِنِّي جاعِلٌ فِي الأَرْضِ خَلِيفَةً
แท้จริงเราจะแต่งตั้ง(อาดัม)ให้เป็นคอลีฟะฮ์(ผู้ปกครอง) บนโลก (อัลบะก่อเราะฮ์:30)
يا داوُدُ إِنَّا جَعَلْناكَ خَلِيفَةً فِي الأَرْضِ
โอ้ดาวูด แท้จริงเราได้แต่งตั้งเจ้าเป็นผู้ปกครอง(คอลีฟะฮ์)บนโลก(ศ็อด:26)

3,
من أطاعني فقدأطاع الله ومن عصاني فقد عصى الله ومن أطاع أميري فقد أطاعني ومن عصا أميري فقد عصاني
ท่านนะบี(ศ)กล่าวว่า : ผู้ใดเชื่อฟังข้าพเจ้าก็เท่ากับเขาเชื่อฟังอัลลอฮ์ ผู้ใด้ไม่เชื่อฟังข้าพเจ้าก็เท่ากับเขาไม่เชื่อฟังอัลลอฮ์  และผู้ใดเชื่อฟังอะมีร(ผู้นำ)ที่ข้าพเจ้าแต่งตั้งก็เท่ากับเขาเชื่อฟังข้าพเจ้า  ผู้ใดไม่เชื่อฟังผู้นำ(อะมีร)ที่ข้าพเจ้าแต่งตั้งก็เท่ากับเขาไม่เชื่อฟังข้าพเจ้า
( รายงานโดยบุคอรี,มุสลิม )

4,   أنتَ وليُّنا فاغفرلنا وارحمنا وأنتَ خيرُ الغافرين
พระองค์ทรงเป็น(วะลี)ผู้ปกครองเรา ดังนั้นได้ทรงโปรดอภัยให้เรา และทรงโปรดเมตตาเรา และพระองค์ทรงเป็นเลิศแห่งผู้ให้อภัยทั้งหลาย ( อัลอะอ์รอฟ : 155 )

5,   ذلك بأنّ اللهَ مولى الذين آمنوا وأن الكافرين لا مولى لهم
ทั้งนี้เนื่องจากว่าอัลลอฮ์ทรงเป็นผู้คุ้มครองบรรดาผู้ศรัทธา และแน่นอนบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาไม่มีผู้คุ้มครองสำหรับพวกเขา ( มุฮัมมัด : 11 )

เพราะฉะนั้นชีอะฮ์จึงเข้าใจว่า เรื่องอิหม่ามกับคอลีฟะฮ์คือเรื่องเดียวกัน ตามที่มีหะดีษเล่าเอาไว้ในตำราชีอะฮ์


อธิบาย :

คุณฟารูกจะเห็นได้ว่า  หะดีษจำนวน 12 ผู้นำบทนี้เป็นฮะดีษมุสัลละม๊าต แต่คุณสมบัติของผู้นำมุสลิมตามหลักศาสนาอิสลามในฮะดีษบทนี้ไม่ตรงกับผู้ใดเลย นอกจากบรรดาอิม่ามทั้ง 12 ที่มาจากอะฮ์ลุลบัยต์นะบี

บุคลิก 12 ผู้นำในฮะดีษบทนี้เป็นเรื่องฆ็อยบียะฮ์(เร้นลับ)ที่ท่านนะบี(ศ)บอกข่าวถึงคอลีฟะฮ์ที่จะดำรงชีวิตอยู่ไปจนถึงวันกิยามัต  เขาผู้นั้นจึงเป็นใครอื่นไปไม่ได้นอกจาก อิม่ามมะฮ์ดี

และฮะดีษ 12 คอลีฟะฮ์ยังแสดงให้เห็นว่า  อิม่ามฮาซันอัสการีได้ให้กำเนิดบุตรชายชื่อมะฮ์ดีย์แล้วก่อนที่เขาจะสิ้นชีพ

ถ้าไม่เป็นเช่นนั้น แล้วอิม่ามมะฮ์ดีย์จะเกิดจากบิดาได้อย่างไรอีกเล่า ในเมื่ออิม่ามฮาซันอัสการีบิดาของท่านได้สิ้นชีพไปพันกว่าปีแล้ว
  •  

L-umar

ฮะดีษที่ 3 –  

มุสลิมใดตายโดยที่เขาไม่มีอิหม่าม(ในยุคของเขา) ผู้นั้นตายในสภาพญาฮิลียะฮ์  


สะนัดฮะดีษก็เป็นมุสัลละม๊าตทั้งฝ่ายซุนนี่และชีอะฮ์อีกเช่นกัน  



 
۞ จากตำราฝ่ายซุนนี่  

ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า :

مَنْ مَاتَ بِغَيْرِ إِمَامٍ مَاتَ مِيتَةً جَاهِلِيَّةً


บุคคลใดตายไปโดยที่เขาไม่มีอิหม่าม(ในยุคของเขา)  บุคคลนั้นได้ตายในสภาพพวกงมงาย(ยุคก่อนอิสลามประกาศ)  


สถานะหะดีษ ซอฮี๊ฮ์ ดูมุสนัดอิม่ามอะหมัด หะดีษที่ 16922 ตรวจทานโดยเชคอัลอัรนะอูฏี

และท่านรอซูล(ศ) :
 
مَنْ مَاتَ وَلَيْسَ فِى عُنُقِهِ بَيْعَةٌ مَاتَ مِيتَةً جَاهِلِيَّةً

ผู้ใดตายในสภาพไม่มีการให้สัตยาบัน(ต่ออิมาม)อยู่ที่คอ(ในความรับผิดชอบ) เท่ากับได้ตายในสภาพการตายของญาฮิลียะฮ์คนหนึ่ง

ดูซอฮี๊ฮฺมุสลิม หะดีษที่ 4899  




۞ จากตำราฝ่ายชีอะฮ์  



ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า :

مَنْ ماَتَ وَلَمْ يَعْرِفْ إِماَمَ زَماَنِهِ ماَتَ مِيتَةً جَاهِلِيَّةً

บุคคลใดตายไปโดยที่เขาไม่ได้รู้จักอิหม่ามในยุคของเขา  บุคคลนั้นได้ตายในสภาพพวกงมงาย(ยุคก่อนอิสลามประกาศ)  

ดูอัลกาฟี เล่ม 1 หน้า 377 ฮะดีษเลขที่ 3







อธิบาย :

มุสลิมคนใดก็ตาม โดยเฉพาะชีอะฮ์ถ้าเขาไม่ยอมรับว่า อิม่ามมะฮ์ดีเกิดแล้วในตอนนี้ ก็หมายความว่า เขาคนนั้นยังไม่รู้จักอิหม่ามในสมัยของเขาว่าเป็นใคร ดังนั้นก็จะตายในสภาพญาฮิลียะฮ์  


หากว่า ในตอนนี้อิม่ามมะฮ์ดียังไม่เกิด แล้วเราจะทำความรู้จักอิหม่ามในยุคของเราได้อย่างไรว่าเขาเป็นลูกเต้าเหล่าใคร
   
เราถือว่า สามฮะดีษข้างต้น

1.   หะดีษษะเกาะลัยน์
2.   หะดีษสิบสองผู้นำ
3.   หะดีษผู้ใดตายโดยที่เขาไม่ได้รู้จักอิหม่ามในยุคของเขา  ผู้นั้นตายในสภาพญาอิลียะฮ์

ถึงแม้ทั้งสามหะดีษดังกล่าว  จะไม่บอกตรงๆ ถึงการมีอยู่ของอิม่ามมะฮ์ดี แต่ก็แสดงให้เห็นว่า อิม่ามมะฮ์ดีต้องเกิดมาแล้วอย่างแน่นอน
  •  

L-umar

เหตุผลที่ 2 –

มีฮะดีษที่ท่านนะบี(ศ)และบรรดาอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์ได้แจ้งเอาไว้ล่วงหน้าว่า :


ในอนาคตอิม่ามฮาซันอัสการีจะมีบุตรชาย  ซึ่งบุตรคนนี้คือผู้ที่จะทำให้โลกเต็มเปี่ยมไปด้วยความยุติธรรมและเขาจะหายตัวไปจากสังคม    มุสลิมทุกคนจำเป็นต้องเชื่อสิ่งนี้  ฮะดีษลักษณะเช่นนี้มีมากมาย  เช่น  



เชคศอดูกได้บันทึกไว้ในหนังสือกะมาลุดดีน เขาได้ตั้งชื่อเรื่องนี้ไว้ในหลายบท(บาบ)ด้วยกันคือ :



باب ما روي عن النبي في الامام المهدي، ذكر فيه خمسة وأربعين حديثاً

باب ما روي عن أمير المؤمنين (عليه السلام) في الامام المهدي

باب عن الزهراء سلام الله عليها وما ورد عنها في الامام المهدي (عليه السلام)، ذكر فيه أربعة أحاديث

ثم عن الامام الحسن (عليه السلام)، ذكر فيه حديثين

ثم عن الامام الحسين (عليه السلام)، ذكر فيه خمسة أحاديث

ثم عن الامام السجاد (عليه السلام)، ذكر فيه تسعة أحاديث

ثم عن الامام الباقر (عليه السلام)، ذكر فيه سبعة عشر حديثاً

ثم عن الامام الصادق (عليه السلام)، ذكر فيه سبعة وخمسين حديثاً

แปลไทย

ฮะดีษเรื่องอิม่ามมะฮ์ดี(อ)ที่รายงานจากท่านนบี(ศ)มี 45 ฮะดีษ,
จากท่านอิมามอาลี(อ) 1 ฮะดีษ,
จากท่านหญิงฟาติมะฮ์ 4 ฮะดีษ,
จากอิมามฮาซัน(อ) 2 ฮะดีษ,
จากอิมามฮุเซน(อ) 5 ฮะดีษ,
จากอิมามซัยนุลอาบิดีน 9 ฮะดีษ,
จากอิมามบาเก็ร 17 ฮะดีษ,
จากอิมามศอดิก(อ) 57 ฮะดีษ  

รวมหะดีษได้ 100 กว่าบท จากหนังสือกะมาลุดดีนของเชคศอดูกเพียงเล่มเดียว  


โดยยังไม่ได้รวมฮะดีษที่บันทึกอยู่ใน

หนังสืออัลกาฟีของเชคกุลัยนี

หนังสืออัลฆ็อยบะฮ์ของเชคตูซีย์

หนังสือบิฮารุลอันวารของอัลลามะฮ์มัจญ์ลิซีย์

และหนังสือของนักปราชญ์คนอื่นๆ

ซึ่งหากนำฮะดีษเรื่องอิม่ามมะฮ์ดีในหนังสือเหล่านี้มารวมกัน

คาดว่าคงมีจำนวนหะดีษมากกว่า 1000 บท




เราจะยกมาเป็นบะร่อกัตให้คุณฟารูกได้อ่านดังนี้


หนึ่ง - เชคศอดูกรายงาน


رواه الشيخ الصدوق : حدثنا محمد بن موسى بن المتوكل رضي الله عنه قال: حدثنا محمد بن أبي عبدالله الكوفي قال: حدثنا موسى بن عمران النخعي، عن عمه الحسين بن يزيد، عن الحسن بن علي بن سالم، عن أبيه، عن أبي حمزة، عن سعيد بن جبير، عن عبدالله بن عباس قال: قال رسول الله صلى الله عليه وآله :
إن الله تبارك وتعالى أطلع إلى الارض  إطلاعة فاختارني منها فجعلني نبيا، ثم أطلع الثانية فاختار منها عليا فجعله إماما، ثم أمرني أن أتخذه أخا ووليا ووصيا وخليفة ووزيرا، فعلى مني وأنا من علي وهو زوج ابنتي وأبوسبطي الحسن والحسين،

ألاَ وَإنَّ اللهَ تبارك وتعالى جَعَلَنِيْ وَإِياَّهُمْ حُجَجاً عَلَى عِباَدِهِ، وَجَعَلَ مِنْ صُلْبِ الْحُسَيْن أَئِمَّةً يَقُومُون بِأَمْرِيْ، وَيَحفِظُون وَصِيَّتِيْ، التاسِعُ مِنهُم قاَئِمُ أهْلِ بَيْتِي، وَمَهْدِيُّ اُمَّتِي، أشبه الناس بي في شمائله وأقواله وأفعاليه


ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) กล่าวว่า : ........

พึงรู้ไว้เถิดว่า แท้จริงอัลลอฮ์ (ตะบาร่อกะวะตะอาลา) ทรงแต่งตั้งฉันและพวกเขาให้เป็นฮุจญัต(หลักฐาน)ต่อปวงบ่าวของพระองค์,

และทรงแต่งตั้งจากเชื้อสายของฮุเซนให้เป็นบรรดาอิม่าม พวกเขาจะทำหน้าที่ตามคำสั่งของฉัน, พวกเขาจะพิทักษ์คำสั่งเสียของฉัน,

คนที่ 9 จากพวกเขาคือ กออิม(นามแฝงของอิม่ามมะฮ์ดี) เป็นอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน
และคือมะฮ์ดีแห่งประชาชาติของฉัน,

เขาเหมือนฉันมากที่สุดในบุคลิก,คำพูดและกริยาท่าทางของเขา ,

เขาจะปรากฏตัวหลังจากที่เขาได้เร้นหายตัวไปเป็นระยะเวลาอันยาวนาน...



ดูกะมาลุดดีน  โดยเชคศอดูก หน้า  257 ฮะดีษที่ 2 และกิฟายะตุล อะษัร หน้า 10



สอง -  เชคกุลัยนีรายงาน



عِدَّةٌ مِنْ أَصْحَابِنَا عَنْ أَحْمَدَ بْنِ مُحَمَّدٍ عَنْ عَلِيِّ بْنِ الْحَكَمِ عَنْ أَبِي أَيُّوبَ الْخَرَّازِ عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ مُسْلِمٍ قَالَ سَمِعْتُ أَبَا عَبْدِ اللَّهِ (ع) يَقُولُ :  إِنْ بَلَغَكُمْ عَنْ صَاحِبِكُمْ غَيْبَةٌ فَلَا تُنْكِرُوهَا



ท่านมุฮัมมัด บินมุสลิมเล่าว่า : ฉันได้ยินอิม่ามอะบูอับดิลละฮ์ (อิม่ามศอดิก)กล่าวว่า :  

หากมาถึงพวกเจ้าเกี่ยวกับซอฮิบของพวกเจ้า(นามแฝงของอิมามมะฮ์ดี)ได้เร้นหายตัวไป จงอย่าได้ปฏิเสธสิ่งนั้น



สถานะหะดีษ ซอฮี๊ฮฺ ดูอัลกาฟี เชคกุลัยนี เล่ม 1 หน้า 340 หะดีษที่ 15
ตรวจทานโดยมัรกะซุล บุฮูซ คอมพิวเตอร์ ลิลอุลูมิลอิสลามียะฮ์ เมืองกุม อิหร่าน

และซุรอเราะฮ์เล่าว่า : ฉันได้ยินท่านอิม่ามศอดิก(อ)กล่าวว่า :

إنَّ لِلْقاَئِمِ غَيْبَةً قَبْلَ أنْ يَقُوْمَ، ياَ زُراَرَة وَهُوَ الْمُنْتَظَرُ، وَهُوَ الَّذِيْ يشكّ فِي وِلاَدِتِهِ

แท้จริงสำหรับอัลกออิม(นามแฝงของอิม่ามมะฮ์ดี)มีการหายตัวไปก่อนที่เขาจะออกมาทำการกิยาม  โอ้ซุรอเราะฮ์เอ๋ย

เขาคือผู้ถูกรอคอย(อัลมุนตะซ็อร) และเขาเป็นบุคคลที่จะถูกสงสัยในการถือกำเนิดของเขา            

ดูกะมาลุดดีน เชคศอดูก หน้า 342 ฮะดีษเลขที่ 24
  •  

L-umar

ข้อสงสัยครั้งแรกๆเรื่องการเกิดของอิมามมะฮ์ดีเกิดขึ้นจากใคร  เพราะอะไร ?



ท่านอิม่ามศอดิก(อ)ได้บอกไว้ล่วงหน้าแล้วว่า คนแรกที่จะก่อ(ฟิตนะฮ์)สร้างความสงสัยเรื่องการเกิดของอิม่ามมะฮ์ดีคือ
 
ญะอ์ฟัร อัลกัซซาบ (น้องชายคนหนึ่งของอิม่ามฮาซันอัสการี)

อิมามที่สิบ อาลีอัลฮาดีมีบุตรชายสี่ และมีธิดาหนึ่งเรียงตามลำดับดังนี้

1.   สัยยิดมุฮัมมัด
2.   อิม่ามฮาซันอัสการี
3.   ญะอ์ฟัร อัลกัซซาบ
4.   อัลฮูเซน
5.   อาลียะฮ์


ฉะนั้นญะอ์ฟัรกัซซาบจึงมีศักดิ์เป็นอาของอิม่ามมะฮ์ดี

ด้วยสาเหตุที่ญะอ์ฟัรกัซซาบไม่ได้รับข้อมูลเรื่องการเกิดของหลานชายคนนี้ เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองในตอนนั้น(ตอนที่อิม่ามฮาซันอัสการีถูกกักตัว) มันจึงไม่เอื้ออำนวยให้ญะอ์ฟัรกัซซาบได้รับรู้ความจริง

เพราะแม้แต่อิม่ามฮาซันอัสการีจะเอ่ยชื่อบุตรชายของเขาเองออกมาอย่างโจ่งแจ้งว่าชื่อ อัลมะฮ์ดี ก็ยังไม่เรียกออกมา และท่านก็ไม่อนุญาตพรรคพวกของท่านเรียกชื่อนี้ออกมาด้วย

นี่คือที่มาของความสงสัย นักปราชญ์ฝ่ายซุนนี่บางคนจึงหยิบยกเอาฟิตนะฮ์นี้มายึดถือเป็นเกณฑ์เช่น

ท่านอิบนุฮัซมิน กล่าวว่า :  ในปีฮ.ศ.ที่ 260 เป็นปีที่อิม่ามฮาซันอัสการีสิ้นชีพ ก็ยังไม่มีวี่แววข่าวการเกิดของอิม่ามมะฮ์ดีเลย  

ดูอัลฟัศลุ ฟิลมิลัลวัลอะฮ์วาอ์ วันนิฮัล เล่ม 3 หน้า 114


ด้วยเหตุนี้อิม่ามศอดิกจึงสอนดุอาอ์ไว้บทหนึ่งให้กับสาวกชื่อซุรอเราะฮ์ว่า :  

โอ้ซุรอเราะฮ์  หากเจ้าอยู่ทันยุคนั้น(ยุคที่อัลมะฮ์ดีไม่ปรากฏตัว) พวกเจ้าจงอ่านดุอาอ์บทนี้ :

اللّهم عرّفني نفسك فانّك إن لم تعرفني نفسك لم أعرف نبيّك، اللّهم عرّفني رسولك فانّك إن لم تعرّفني رسولك لم أعرف جحتك، اللّهم عرّفني حجتك فانّك إن لم تعرّفني حجتك ضللت عن ديني

โอ้อัลลอฮ์ โปรดทำให้ฉันรู้จักพระองค์  เพราะหากพระองค์ไม่ทำให้ฉันรู้จักพระองค์  ฉันจะไม่มีวันรู้จักนบีของพระองค์
โอ้อัลลอฮ์ โปรดทำให้ฉันรู้จักรอซูลของพระองค์  เพราะหากพระองค์ไม่ทำให้ฉันรู้จักรอ ซูลของพระองค์  ฉันจะไม่มีวันรู้จักฮุจญัตของพระองค์
โอ้อัลลอฮ์ โปรดทำให้ฉันรู้จักฮุจญัต( ชื่อของอิม่ามมะฮ์ดี )ของพระองค์  เพราะหากพระองค์ไม่ทำให้ฉันรู้จักฮุจญัตพระองค์  ฉันคงหลงออกจากศาสนาของฉันแน่

ดูกะมาลุดดีน โดยเชคศอดูก หน้า 342  หะดีษที่ 24

ดุอาอ์บทนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งเพื่อให้เรามีชีวิตอยู่โดยปฏิบัติตามคัมภีร์อัลกุรอานและอะฮ์ลุลบัยต์นะบี

มีรายงานเล่าว่า  ในยุคที่ต้องถึงขั้นปิดบังชื่อจริงของอิม่ามมะฮ์ดี  พวกชีอะฮ์ในยุคนั้นถึงกับต้องอ่านดุอาอ์บทนี้กันแบบนี้คือ :

(  اللّهم كن لوليك فلان ابن فلان) อัลลอฮุมมะ กุนลิ วะลียิกะ ฟุลาน บิน ฟุลาน  คือไม่เอ่ย

 اللَّهُمَّ كُنْ لِوَلِيِّكَ فُلَانِ بْنِ فُلَانٍ فِي هَذِهِ السَّاعَةِ وَ فِي كُلِّ سَاعَةٍ وَلِيّاً وَ حَافِظاً وَ نَاصِراً وَ دَلِيلًا وَ قَاعِداً وَ عَوْناً وَ عَيْناً حَتَّى تُسْكِنَهُ أَرْضَكَ طَوْعاً وَ تُمَتِّعَهُ فِيهَا طَوِيلًا و

อัลลอฮุมมะ กุน ลิวะลียิกะ (อัลฮุจญะติบนิลฮาซัน) ซ่อละวาตุกะ อะลัยฮิ วะอะลา อาบาอิฮ์ ฟี ฮาซิฮิสซาอะฮ์ วะฟี กุลลิ ซาอะฮ์ วะลีเยา วะฮาซิซอ วะ กออิดเดา วะนาซิรอ วะดะลีเลา วะอัยนา  ฮัตตา ตุสกินะฮู อัรด่อกะ เตาอา วะตุมัต ติอะฮู ฟีฮา ต่อวีลา

โอ้อัลลอฮ์ ขอพระองค์ทรงเป็นผู้คุ้มครองคนรักของพระองค์คือ อัลฮุจญัตบุตรของอิม่ามฮาซัน(อัสการี) ขอความจำเริญจากพระองค์จงมีแด่เขาและบรรพบุรุษของเขาทั้งในเวลานี้และทุกเวลา ขอพระองค์ทรงเป็นผู้คุ้มครอง ผู้ปกป้อง ผู้นำ  ผู้ช่วยเหลือ ผู้ชี้นำทางเขา   จนกระทั่งเขาได้บรรลุถึงอำนาจการปกครองบนหน้าแผ่นดินของพระองค์ และ(ผู้อยู่บนหน้าแผ่นดิน)ยอมจำนนสวามิภักดิ์ต่อเขาโดยดุษฎี และได้โปรดทำให้เขาได้รับประโยชน์จากทุกสรรพสิ่งในแผ่นดินนี้โดยทั่วถึงยาวนาน

ดูอัลกาฟี  โดยเชคกุลัยนี  เล่ม 4  : 162 หะดีษที่ 4  
  •  

L-umar

เหตุผลที่ 3 –


บรรดาผู้ปกครองในยุคของอิม่ามแต่ละคนต่างรู้ดีว่า  อิม่ามคนที่ 12 เป็นลูกใคร ? สืบเชื้อสายมาจากใคร ?  ข้อมูลเหล่านี้ไม่ใช่ความลับ



เพราะท่านนะบีมุฮัมมัด(ศ)และอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์ได้บอกเล่าไว้แล้วและเรื่องนี้ได้ถูกบันทึกเป็นฮะดีษ  

ฉะนั้นในสมัยที่ราชวงศ์อับบาซียะฮ์ปกครอง กาหลิบมุอ์ตะมิดอับบาซีหวั่นเกรงว่า บุตรที่จะเกิดจากชายชื่อฮาซันอัสการี พระองค์จึงรับสั่งให้ทหารเฝ้าดูอิม่ามฮาซันอัสการีอย่างไม่ให้คาดสายตา
 
เมื่อกาหลิบมุอ์ตะมิดอับบาซีทรงทราบข่าวว่า อิม่ามฮาซันอัสการีคือผู้ให้กำเนิดอิม่ามคนที่ 12 พระองค์ได้ส่งทหารไปบ้านอิม่ามฮาซันอัสการี และควบคุมภรรยาของอิม่ามไว้อย่างใกล้ชิด คอยสังเกตว่า ทารกผู้นั้นจะคลอดจากภรรยาคนใด  

การกระทำของกาหลิบมุอ์ตะมิดถือได้ว่า เป็นหลักฐานชัดเจนว่า การเกิดของอัลมะฮ์ดีเป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้นจริง ถ้ามิเช่นนั้นกาหลิบมุอ์ตะมิดคงไม่มีเหตุผลอันใดต้องไปส่งทหารไปปฏิบัติกับอิม่ามฮาซันอัสการเช่นนั้น  

นับได้ว่าการใช้ชีวิตของอิม่ามฮาซันอัสการีและพวกชีอะอ์ในยุคนั้นต้องพบกับความลำบากและความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก  

เพราะฉะนั้นการเกิดของอิม่ามมะฮ์ดีจึงต้องถูกปิดเป็นความลับให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  เพื่อความปลอดภัยของผู้สืบทอดอิม่ามคนที่ 12    

มีหะดีษเล่าว่า

عَنْ دَاوُدَ بْنِ الْقَاسِمِ قَالَ : سَمِعْتُ أَبَا الْحَسَنِ (ع) يَقُولُ الْخَلَفُ مِنْ بَعْدِيَ الْحَسَنُ فَكَيْفَ لَكُمْ بِالْخَلَفِ مِنْ بَعْدِ الْخَلَفِ فَقُلْتُ وَ لِمَ جَعَلَنِيَ اللَّهُ فِدَاكَ فَقَالَ إِنَّكُمْ لَا تَرَوْنَ شَخْصَهُ وَ لَا يَحِلُّ لَكُمْ ذِكْرُهُ بِاسْمِهِ فَقُلْتُ فَكَيْفَ نَذْكُرُهُ فَقَالَ قُولُوا الْحُجَّةُ مِنْ آلِ مُحَمَّدٍ عَلَيْهِمُ السَّلَامُ

ดาวูด บินอัลกอซิมเล่าว่า :  ฉันได้ยินอิม่ามอะบุลฮาซัน(อิม่ามฮาดี  อิม่ามคนที่ 10 ) กล่าวว่า :  อัลคอลัฟ ( ผู้สืบทอดตำแหน่งอิม่าม ) ต่อจากฉันคือฮาซันอัสการี บุตรชายของฉัน แล้วจะเป็นอย่างไรเล่าสำหรับพวกเจ้า กรณีเกี่ยวกับผู้สืบทอดต่อจากอัลค่อลัฟ   ( คือฮาซัน ) ผู้นี้ ?  

ฉัน(ผู้รายงาน)กล่าวว่า : ทำไมอัลลอฮ์ไม่ทรงให้ฉันได้มีโอกาสเสียสละเพื่อท่าน ?
ท่านอิม่ามฮาดี(อ)กล่าวว่า :  แท้จริงพวกเจ้าจะไม่ได้พบเห็นตัวจริงของเขา(อัลมะฮ์ดี) และไม่อนุญาติให้พวกเจ้าเรียกเขาด้วยชื่อจริง  

ดังนั้นฉันจึงถามว่า : แล้วเวลาที่เราจะเอ่ยถึงเขาจะให้เราเรียกเขาว่าอย่างไร ?
ท่านอิม่ามตอบว่า :   จงกล่าวว่า อัลฮุจญะฮ์ ผู้สืบเชื้อสายมาจากวงศ์วาของนะบีมุฮัมมัด

ดูอัลกาฟี เชคกุลัยนี เล่ม 1 หน้า 328 ฮะดีษที่ 13

มีนักรายงานหะดีษชีอะฮ์ที่เชื่อถือคนหนึ่งได้เล่าถึงบุคคลที่เคยพบเห็นอิม่ามมะฮ์ดีบุตรชายของท่านอิม่ามฮาซันอัสการี (อ)

بَابٌ فِي تَسْمِيَةِ مَنْ رَآهُ (ع)
مُحَمَّدُ بْنُ عَبْدِ اللَّهِ وَ مُحَمَّدُ بْنُ يَحْيَى جَمِيعاً عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ جَعْفَرٍ الْحِمْيَرِيِّ قَالَ...

รายงานโดยท่านอับดุลลอฮ์ บินญะอ์ฟัร อัลฮะมีรี (เขาได้ถามท่านอุษมาน บินสะอีด อบูอัมรฺ
ตัวแทนคนที่ 1 ของอิม่ามมะฮ์ดี ) ว่า :

فَقُلْتُ لَهُ أَنْتَ رَأَيْتَ الْخَلَفَ مِنْ بَعْدِ أَبِي مُحَمَّدٍ (ع) فَقَالَ إِي وَ اللَّهِ وَ رَقَبَتُهُ مِثْلُ ذَا وَ أَوْمَأَ بِيَدِهِ فَقُلْتُ لَهُ فَبَقِيَتْ وَاحِدَةٌ فَقَالَ لِي هَاتِ قُلْتُ فَالاسْمُ قَالَ مُحَرَّمٌ عَلَيْكُمْ أَنْ تَسْأَلُوا عَنْ ذَلِكَ وَ لَا أَقُولُ هَذَا مِنْ عِنْدِي فَلَيْسَ لِي أَنْ أُحَلِّلَ وَ لَا أُحَرِّمَ وَ لَكِنْ عَنْهُ (ع) فَإِنَّ الْأَمْرَ عِنْدَ السُّلْطَانِ أَنَّ أَبَا مُحَمَّدٍ مَضَى وَ لَمْ يُخَلِّفْ وَلَداً وَ قَسَّمَ مِيرَاثَهُ وَ أَخَذَهُ مَنْ لَا حَقَّ لَهُ فِيهِ وَ هُوَ ذَا عِيَالُهُ يَجُولُونَ لَيْسَ أَحَدٌ يَجْسُرُ أَنْ يَتَعَرَّفَ إِلَيْهِمْ أَوْ يُنِيلَهُمْ شَيْئاً وَ إِذَا وَقَعَ الِاسْمُ وَقَعَ الطَّلَبُ فَاتَّقُوا اللَّهَ وَ أَمْسِكُوا عَنْ ذَلِكَ

ท่านเคยเห็นอัลคอลัฟ ( หมายถึงอิม่ามมะฮ์ดี ) หลังจากอะบูมุฮัมมัด( ฉายาอิม่ามฮาซันอัสการี) สิ้นชีพแล้วหรือไม่ ?

อะบูอัมร์ตอบว่า :  ใช่ฉันเคยเห็น ขอสาบานด้วยนามของอัลลอฮ์... ฉันกล่าวกับเขาว่า : เหลือเพียงคนเดียว

เขากล่าวกับฉันว่า :  จงเอามา   ฉันถามว่า :  เขาชื่ออะไร ?  เขาตอบว่า : ฮะร่ามสำหรับพวกท่านที่จะถามถึงสิ่งนั้น และฉันเองก็จะไม่พูดเรื่องนี้ด้วย   ฉันไม่มีสิทธิฟัตวาว่านี่ฮะล้าลและนั่นฮะร่าม แต่ว่า(ฟัตวานั้น)ต้องมาจากเขา ( คือมาจากคำสั่งของอิม่ามมะฮ์ดี )
เพราะท่านกาหลิบมุอ์ตะมิดได้สั่งว่า  อิม่ามฮาซันอัสการีได้จากไปโดยไม่มีทายาทสืบสกุล และทรัพย์สินมรดกของเขาได้ถูกแบ่งปัน( แก่เครือญาติหมดแล้ว )  
ดังนั้นขอให้พวกท่านจงยำเกรงอัลลอฮ์ และจงอย่าได้พูดถึงเรื่องนั้น(คือเรื่องที่ว่าอิม่ามฮาซันอัสการีมีบุตรชายสืบทอดตำแหน่งอิม่าม )

สถานะหะดีษ ซอฮี๊ฮฺ ดูอัลกาฟี เชคกุลัยนี เล่ม 1 หน้า 329 หะดีษที่ 1

ตรวจทานโดยมัรกะซุล บุฮูซ คอมพิวเตอร์ ลิลอุลูมิลอิสลามียะฮ์ เมืองกุม อิหร่าน

ยังมีฮะดีษมัชฮูรเกี่ยวกับเรื่องการเกิดที่รายงานจากท่านหญิงฮะกีมะฮ์บุตรสาวของท่านอิม่ามญะวาด(อ)  ในคืนที่นางได้อยู่ในเหตุการณ์ตอนที่อิม่ามมะฮ์ดี(อ)ประสูติในปีฮ.ศ.ที่ 255 วันที่ 15 เดือนชะอ์บาน  ซึ่งบันทึกอยู่ในหนังสืออัลฆ็อยบะฮ์ ของเชคตูซี  หน้า 234 ฮะดีษที่ 319

ونقل الشيخ الطوسي أيضاً في الغيبة حديثاً ظريفاً فقال:  

جاء أربعون رجلاً من وجهاء الشيعة اجتمعوا في دار الامام العسكري ليسألوه عن الحجة من بعده، وقام عثمان بن سعيد العمري
فقال: يابن رسول الله أريد أن أسالك عن أمر أنت أعلم به منّي، فقال له: إجلس يا عثمان، فقام مغضباً ليخرج، فقال: لا يخرجنّ أحد، فلم يخرج منّا أحد، إلى أن كان بعد ساعة فصاح (عليه السلام) بعثمان فقام على قدميه فقال: أخبركم بما جئتم؟ قالوا: نعم يا بن رسول الله، قال: جئتم تسألوني عن الحجة من بعدي؟ قالوا: نعم، فاذا غلام كأنّه قطعة قمر أشبه الناس بأبي محمد، فقال: هذا إمامكم من بعدي، وخليفتي عليكم، أطيعوه ولا تتفرقوا من بعدي فتهلكوا في أديانكم، ألا وانّكم لا ترونه من بعد يومكم هذا حتى يتمّ له عمر، فاقبلوا من عثمان ما يقوله، وانتهوا الى أمره، واقبلوا قوله، فهو خليفة إمامكم والامر إليه»    الغيبة

เชคตูซีได้รายงานว่า :

มีระดับแกนนำชีอะฮ์เป็นชายจำนวน 40 คนเข้ามารวมตัวกันในบ้านของท่านอิม่ามฮาซันอัสการีเพื่อไตร่ถามถึงอัลฮุจญะฮ์ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากท่าน

อุษมาน บินสะอีด อัลอุมรีย์ยืนขึ้นถามว่า :  
โอ้บุตรของท่านรอซูลุลลอฮ์ !  ผมอยากถามท่านเรื่องหนึ่ง  ซึ่งท่านรู้เรื่องนี้ดีกว่าผม,  ท่านอิม่ามบอกเขาว่า : โอ้อุษมาน จงนั่งลงเถิด    แล้วท่านลุกออกมาด้วยความโกรธ ท่านกล่าวว่า : อย่าให้ผู้ใดออกไปข้างนอก,  ไม่มีพวกเราสักคนออกไปข้างนอก จนเวลาผ่านไปสักพักหนึ่ง ท่านพูดเสียงดังกับอุษมาน  แล้วลุกยืนด้วยเท้าทั้งสองของท่าน พลางกล่าวว่า : ฉันจะบอกกับพวกท่านเอาไหมว่าพวกท่านมาหาฉันด้วยเหตุอันใด
พวกเขา( แกนนำ 40 คน) กล่าวว่า : เอาครับ โอ้บุตรของท่านรอซูลุลลอฮ์

ท่านกล่าวว่า :  พวกท่านจะมาถามฉันถึงอัลฮุจญะฮ์( ผู้นำ)ที่จะสืบต่อจากฉันใช่ไหม ?
พวกเขาตอบว่า : ใช่แล้วครับ ทันใดนั้นมีเด็กผู้ชายคนหนึ่งปรากฏตัว เขาผ่องใสดุจดวงจันทร์ เขาเหมือนกับท่านอบู มุฮัมมัด(อิม่ามที่11) มาก  
ท่าน(อิม่ามฮาซัน อัสการี) กล่าวว่า :  เด็กคนนี้คืออิม่ามผู้นำของพวกท่านภายหลังจากฉัน  และเป็นค่อลีฟะฮ์ของฉัน ที่มีอำนาจปกครองพวกท่าน   ขอให้พวกท่านจงตออัต(เชื่อฟัง)เขา  และจงอย่าแตกแยกกันภายหลังจากฉัน  เพราะจะทำให้พวกท่านพบกับความหายนะในศาสนาของพวกท่าน    จงรู้ไว้เถิดว่า พวกท่านจะไม่ได้เห็นเขาอีกหลังจากวันนี้ของพวกท่าน จนกว่าอายุจะครบสมบูรณ์สำหรับเขา  พวกท่านจงยอมรับอุษมานในสิ่งที่เขากล่าวว่า มันคือคำพูดของเขา(คือของอัลมะฮ์ดี)  พวกท่านจงยุติเรื่องที่คำสั่งของเขา  จงยอมรับคำพูดของเขา  เพราะอุษมานคือตัวแทน(นาอิบ)ของอิม่ามของพวกท่าน  ดังนั้นภารกิจจะสิ้นสุดที่เขา      

ดูอัลฆ็อยบะฮ์  โดยเชคตูซี  หน้า 357  ฮะดีษที่ 319
   
คุณฟารูกฮะดีษในลักษณะเช่นนี้มีมากมาย ถ้าเอามารวมกันก็จะกลายเป็นฮะดีษมุตะวาติร เราเพียงแต่หยิบยกแบบรวบลัดมาเพื่อให้ท่านแน่ใจว่า อิม่ามมะฮ์ดีได้เกิดแล้ว และมีคนยุคนั้นเคยพบเห็นเขา
  •  

57 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้