Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

ธันวาคม 22, 2024, 01:46:04 หลังเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
  • สมาชิกทั้งหมด: 1,718
  • Latest: Haroldsmolo
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 3,699
  • หัวข้อทั้งหมด: 778
  • Online today: 54
  • Online ever: 200
  • (กันยายน 14, 2024, 01:02:03 ก่อนเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 66
Total: 66

ดูอาจารย์ฟารีดเฟ็นดี้ โกหกชาวไทย รอบ 2

เริ่มโดย L-umar, พฤษภาคม 24, 2010, 01:41:28 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar

นิสัยทรามหลักๆของพวกวาฮาบีบางคนคือ  ชอบอ้างว่า  กูถูก  คนอื่นโกหก


และนิสัยทรามนี้คงแก้ไม่หาย    เพราะสันดอนนั้นขุดได้  แต่สันดานคนนั้นขุดยาก เนื่องจากคนประเภทนี้ขาดการขัดเกลาทางจิตวิญญาณอย่างแท้จริง จึงยากที่จะประสบความสำเร็จได้ ดังที่อัลลอฮ์ตะอาลาตรัสว่า

قَدْ أَفْلَحَ مَنْ زَكَّاهَا  وَقَدْ خَابَ مَنْ دَسَّاهَا  كَذَّبَتْ ثَمُودُ بِطَغْوَاهَا

9. แน่นอนผู้ขัดเกลาชีวิตย่อมได้รับความสำเร็จ  10. และแน่นอนผู้หมกมุ่นมัน (ด้วยการทำชั่ว) ย่อมล้มเหลว
11. พวกซะมูดได้ปฏิเสธด้วยการละเมิดขอบเขตของพวกเขา     ดูซูเราะฮ์  อัชชัมส์



หากอาเล่มวาฮาบีใส่ร้ายชีอะฮ์    เมื่อฝ่ายชีอะฮ์ได้ออกมาให้คำตอบกับเขาด้วยเหตุผลและหลักฐาน

ทางออกง่ายๆของอาเล่มวาฮาบีคือ  ออกมาบอกว่า  พวกชีอะฮ์โกหก  

นักปราชญ์ขี้ยาอย่างอาจารย์ฟารีดมักใช้มุขนี้หากิน และใช้ลิ้นอันปลิ้นปล่อนของเขาหลอกลวงพี่น้องซุนนี่ตาดำๆมาตลอดว่า  พวกชีอะฮ์โกหก  การที่เขาพูดใส่ร้ายชีอะฮ์ว่าเป็นคนโกหกนั้นทำได้ง่ายๆ

เพราะถึงอาเล่มวาฮาบีไม่ออกมาพูดแบบนี้  พวกจิตมืดบอดก็มีใจอคติกับฝ่ายชีอะฮ์เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว  

ดังนั้นไม่ว่าอาเล่มโฉดคนใดได้บอกกับพวกพ้องว่าชีอะฮ์มุสา มันก็เท่ากับเป็นการใส่ฟืนให้ไฟลุกโชนขึ้นไปอีก


อย่างไรก็ตาม   เราก็ต้องทำหน้าที่ประจานความเท็จของอาจารย์ฟารีดให้ชัดเจนมากขึ้นไปอีก เพื่อหวังว่าอัลลอฮ์ตะอาลาจะทรงฮิดายัตให้เส้นผมบางเส้นที่บังตาพี่น้องบางท่านให้เข้าใจว่า

อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้นั่นแหล่ะที่โกหก   ดังนี้  →
  •  

L-umar


Θ  อ้างอิงจากวาฮาบี

http://www.q4sunni.com/believe/index.php?option=com_kunena&Itemid=71&func=view&catid=2&id=949

อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้กล่าวว่า   :  

(( หนังสือ ตารีคบัฆดาด โดยท่านคอตี๊บ อบูบักร์ อัลบัฆดาดีย์ เป็นหนังสืออ้างอิงทางด้านประวัติศาสตร์  ))







۩  → วิจารณ์

อาจารย์ฟารีดโกหกอย่างชัดเจน  เพราะ

ตารีคบัฆดาดเป็นตำราชีวประวัตินักรายงานหะดีษ  ไม่ใช่ตำราด้านประวัติศาสตร์
   

หลักฐานจับเท็จอาจารย์ฟารีด มีดังนี้


หนึ่ง -

تاريخ بغداد مدينة السلام هو أشهر مؤلفات الخطيب البغدادي وهو كتاب تراجم وليس كتاب تاريخ
ثم هو موضوع أصلاً لخدمة علوم الحديث...

ตารีคบัฆดาด มะดีนะตุสสะลาม  คือหนังสือดังที่สุดของอัลคอเตบอัลบัฆดาดี  และมันคือตำราเกี่ยวกับชีวประวัติบุคคล  
และมันไม่ใช่หนังสือประวัติศาสตร์  ต่อจากนั้นเนื้อหา(ของหนังสือนี้) คือสำหรับรับใช้วิชาหะดีษ


อ้างอิงจากเวบมะอ์ริฟะฮ์
http://www.marefa.org/index.php/%D8%AA%D8%A7%D8%B1%D9%8A%D8%AE_%D8%A8%D8%BA%D8%AF%D8%A7%D8%AF_%D9%85%D8%AF%D9%8A%D9%86%D8%A9_%D8%A7%D9%84%D8%B3%D9%84%D8%A7%D9%85
  •  

L-umar

สอง -

العنوان   تاريخ بغداد
المؤلف   الخطيب البغدادي
نبذه عن الكتاب   يضم الكتاب 7831 ترجمة للمحدثين وأرباب العلوم الأخرى ورجالات المجتمع والدولة،...


ชื่อหนังสือ   -   ตารีค บัฆดาด    

ผู้เขียน  -  อัลคอเตบ อัลบัฆดาดี

ข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือ -  หนังสือเล่มนี้ประกอบไปด้วยชีวประวัติจำนวน  7831 บุคคลของมุฮัดดิษ(นักรายงานหะดีษ) และนักวิชาการสาขาอื่นๆ  และบุคคลทางสังคมและประเทศ...


อ้างอิงจากเวบ

http://www.dahsha.com/viewarticle.php?id=8014
  •  

L-umar

สาม –

مَنْهَجُ الْخطيب البغدادي في كتاب ( تاريخ بغداد )

أهمية تاريخ بغداد : يعد تاريخ بغداد من أهم واكبر مؤلفات الخطيب البغدادي احمد بن علي بن ثابت (ت,463هـ,1076م)وأكثرها شهرة على الإطلاق ، ونال من أجله صيتاً ذائعاً لما تميز به من ميزات عظيمة ، ويعد أول كتاب تناول تاريخ علماء بغداد منذ تأسيسها إلى عصره. وتظهر أهمية الكتاب بما حواه من تراجم بلغت حوالي 7831 ترجمة شملت هذه التراجم العلماء من فقهاء ومحدثين فضلا عن رجال الدولة من خلفاء ووزراء ،...
وأصبح تاريخ الخطيب مصدراً مهما لكثير من مؤرخي الإسلام الذين استفادوا منه كثيراً وأصبح لهم مرجعاً رئيساً في كتبهم ،

มันฮัจญ์(แนว)ของอัลคอเตบอัลบัฆดาดีในหนังสือตารีคบัฆดาด

ความสำคัญของหนังสือตารีคบัฆดาด   :  ตารีคบัฆดาดนับได้ว่ามีความสำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาตำราของอัลคอเตบอัลบัฆดาดี อะหัมด บินอาลี บินษาบิต (มรณะปีฮ.ศ. 463)และมันมีชื่อเสียงมากที่สุด   และเขาได้รับชื่อเสียงเป็นที่แพร่หลายก็เพราะหนังสือเล่มนี้  เนื่องจากมันมีความยอดเยี่ยมเป็นอย่างมาก...

และความสำคัญของหนังสือเล่มนี้ที่ปรากฏคือ มันประกอบไปด้วยชีวประวัติบุคคลประมาณ 7831  คน ซึ่งบุคคลเหล่นี้กอรปไปด้วยอุละมาอ์(นักวิชาการ)จากบรรดาฟุเกาะฮาอ์  และมุฮัดดิษีน(นักรายงานหะดีษ)...


ในวรรคท้ายๆได้มีคำยกย่องหนังสือเล่มนี้ว่า

و أصبح تاريخ الخطيب مصدراً مهماً لكثير من مؤرخي الاسلام الذين استفادوا منه كثيراً وأصبح لهم مرجعاً رئيساً في كتبهم ...

หนังสือตารีคของอัลคอเตบได้กลายเป็นหลักฐานอ้างอิงที่สำคัญของบรรดานักประวัติศาสตร์อิสลาม ซึ่งพวกเขาได้รับประโยชน์จากมันอย่างมากมาย และมันได้กลายเป็นมัรญิ๊อ์ร่ออีส (คือต้นสังกัดหลักของการอ้างอิงหลักฐาน)ในตำราต่างๆของพวกเขา...



อ้างอิงจากเวบอิหม่าม อัลอาญุรรี

http://www.ajurry.com/vb/showthread.php?t=1672
  •  

L-umar

เราได้นำคำวิจารณ์จากเวบไซต์ของพี่น้องซุนนี่สามเวบมาให้ท่านอ่าน

เพื่อพิสูจน์โดยปากคำของพี่น้องซุนนี่เองที่บอกว่า  

หนังสือตารีคบัฆดาด  


คือ ตำราบันทึกชีวประวัติของอุละมาอ์อิสลามในสาขาต่างๆ และหนึ่งในนั้นคือ  ชีวประวัติของนักรายงานหะดีษ

→แต่อาจารย์ฟารีดกลับโกหกหน้าตาว่า  ตารีคบัฆดาดมันคือ หนังสือประวัติศาสตร์

ซึ่งตรงนี้จะเห็นได้ว่า  เขาโกหกอย่างชัดเจน และเจตนากล่าวเท็จต่อผู้อ่าน

ความแตกต่างๆของหนังสือประวัติศาสตร์  (อาหรับเรียก  ตารีค -  تاَرِيْـخٌ ) กับหนังสือชีวประวัติคือ

ประวัติศาสตร์   หมายถึง ►  วิชาว่าด้วยเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือเรื่องราวของประเทศชาติเป็นต้นตามที่บันทึกไว้เป็นหลักฐาน
อ้าอิงจากเวบ  http://rirs3.royin.go.th/new-search/word-25-search.asp

ส่วนคำว่า  ชีวประวัติ  หมายถึง ► ประวัติชีวิตบุคคล


۞

จริงอยู่ที่หนังสือเล่มนี้มีชื่อเรียกว่า  ตารีค บัฆดาด แปลว่า  ประวัติศาสตร์แห่งเมืองแบกแดด   แต่เนื้อหาของหนังสือก็อย่างที่สามเวบซุนนี่ข้างต้นได้วิจารณ์ไว้แล้วว่า  เป็นหนังสือชีวประวัติของอุละมาอ์   และนักรายงานหะดีษแห่งเมืองแบกแดด

คำถามคือ  อาจารย์ฟารีด ไม่รู้หรือว่า  ตารีคบัฆดาด เป็นหนังสือประเภทอะไร ?

ตรงนี้มองได้สองประเด็นคือ

หนึ่ง-   อาจารย์ฟารีดไม่รู้ข้อมูลของหนังสือนี้จริงๆ  ซึ่งนั่นแสดงว่า เขาโง่มากๆ ที่ปล่อยไก่ออกมาต่อหน้าสาธารณชน

สอง-   อาจารย์ฟารีดรู้ดี   แต่แกล้งโง่  ( تَجاَهُل ) เพื่อตบตาผู้อ่านว่า ฝ่ายชีอะฮ์ไม่รู้เรื่องไปหยิบหนังสือประวัติศาสตร์อิสลามมาอ้างอิงเรื่องความน่าเชื่อถือของนักรายงานหะดีษ  ทั้งๆที่ความจริงตารีคบัฆดาดส่วนหนึ่งของหนังสือบันทึกชีวประวัตินักรายงานหะดีษเอาไว้   อนึ่งพฤติกรรมของอาจารย์ผู้นี้แสดงให้รู้ว่า  เขาคือนักโกหกบิดเบือนตัวยงนั่นเอง  

 
  •  

L-umar

► อาจารย์ฟารีดยังโกหกแบบไม่เลิกราอีกว่า
 
หนังสือ ตารีคบัฆดาด ไม่ใช่ตำรามาตรฐานทางศาสนา


วิจารณ์

ไม่มีหนังสือเล่มใดในโลกถูกต้องและมีมาตรฐานเต็มร้อยหรอกครับ  ยกเว้นคัมภีร์กุรอ่านเพียงเล่มเดียวเท่านั้น

แต่ตำราอิสลามบางส่วนที่ถูกนำมาอ้างอิงเป็นหลักฐาน มันตั้งอยู่บนบรรทัดฐานของนักวิชาการแต่ละคน แต่ละมัซฮับ  ยกตัวอย่างเช่น

ท่านจะเอาหนังสือเตาฮีดของเชคมุฮัมมัดบินอับดุลวาฮาบไปสอนพวกอะชาอิเราะฮ์ พวกเขาก็ไม่รับหรอก  เพราะในสายตาของอะชาอิเราะฮ์มองว่า อะกีดะฮ์ของเชคมุฮัมมัดเรื่องเตาฮีดเพี๋ยน

ในทางกลับกันท่านจะเอาหนังสือบางเล่มของฝ่ายอะชาอิเราะฮ์ไปสอนพวกวาฮาบีก็ฝันไปเถิด  เพราะเชคมุฮัมมัดบินอับดุลวาฮาบมองอะกีดะฮ์ของอุละมาอ์ฝ่ายอะชาอิเราะฮ์ว่าเป็นพวกมุชริก ดังนั้นพวกวาฮาบีตาดำก็มองว่าพวกอะชาอิเราะฮ์หรือพวกคณะเก่านั้นมีความเชื่อเรื่องเตาฮีดที่ยังไม่ถูกต้องเหมือนพวกเขา

แต่ทั้งสองฝ่ายก็อาจให้การยอมรับตำราบางเล่มเหมือนกันเช่น  หนังสือฟัตฮุลบารีของท่านอิบนุฮะญัรอัลอัสก่อลานี


ที่เรากล่าวตัวอย่างมาซะยาวก็เพื่อให้ท่านหันกลับใช้วิจารณาณว่า

ทำไมชีอะฮ์จึงยกสะนัดหะดีษ  มะตั่นหะดีษ และชีวประวัติรอวีหะดีษที่กล่าวไว้ในหนังสือตารีคบัฆดาดมาให้พวกวาฮาบีได้อ่าน  ?

สมมุติ  ถ้าเราถามพวกวาฮาบีระดับเกจิว่า  พวกเขาเคยยกหนังสือตารีคบัฆดาดมาอ้างอิงเป็นหลักฐานบ้างไหม  ?


ถ้าถามอาจารย์ฟารีด  เขาก็อาจตอบว่า มีบางส่วนเชื่อได้และบางส่วนเชื่อไม่ได้อย่างที่เขากล่าวแบบกั๊กๆเอาไว้แล้ว   แต่ช่างเถิดเราอย่าไปสนใจโต๊ะครูขี้ยาสูบบุหรี่จนตัวโก่ง แถมมีจิตใจวิปริตชอบรัปทานถั่วดำคนนี้เลย  
แต่เราจะต้องไปดูอุละมาอ์วาฮาบีระดับใหญ่ๆถึงจะยึดเป็นบรรทัดฐานได้  ดังนี้....
  •  

L-umar

อุละมาอ์วาฮาบีที่หยิบยกใจความในหนังสือตารีคบัฆดาดมาเป็นหลักฐานอ้างอิง




หนึ่ง -  เชคซอและห์ อัลเฟาซาน

شيء من الكلام ورَدَّ على أهل الكلام بالكلام ولم يرد بالسنة ..هذه أَهَم نقطة أنكرها عليه الإمام أحمد، راجع التهذيب : ( 2/117 )، تاريخ بغداد: ( 8/215-216 )، السِّير للذهبي : ( 13/110 ) ( 12/79 )
الكتاب : كتب المناهج والفرق  ج 1  ص  18
المؤلف : الشيخ صالح بن فوزان بن عبد الله الفوزان

คำแปล -  

โปรดกลับไปดูหนังสืออัตตะฮ์ซีบ   2 : 117 หนังสือตารีคบัฆดาด 8 : 215-216   และหนังสือสิยัรอะอ์ลามุนนุบะลาอ์ 13 : 110
อ้างอิงจากหนังสืออัลมะนาฮิจญ์ วัลฟิร็อก โดยเชคซอและห์อัลเฟาซาน


ท่านจะเห็นได้ว่า  อาเล่มวาฮาบีผู้นี้ได้ยกเนื้อหาบางส่วนของหนังสือตารีคบัฆดาดออกมาอ้างอิงในตำราของเขา
  •  

L-umar

สอง -  เชคอาลี บินนายิฟ อัชชุฮูด

http://www.saaid.net/Doat/ali/index.htm


เขาได้กล่าวถึงชีวประวัติของท่านอิหม่ามชาฟิอีว่า

مُحَمَّدُ بْن إِدْرِيس الشافعي الإمام المشهور أحد الأئمة الأربعة، ولد بغزة بفلسطين ثم سافرت به أمه إلى مكة، كان ذكيا فطنا برع في الأدب واللغة ثم أقبل على الحديث والفقه وله مصنفات عدة من أشهرها: الأم والرسالة، توفي بمصر سنة204 هـ. تاريخ بغداد (2/ 56) والتذكرة (367).

الكتاب : موسوعة الدفاع عن رسول الله صلى الله عليه وسلم   ج 4  ص 213 رقم 132
الشيخ علي بن نايف الشحود

มุฮัมมัด บินอิดรีส  อัชชาฟิอี  เขาคืออิหม่ามผู้โด่งดัง  คือหนึ่งในสี่ของหัวหน้า(มัซฮับทั้งสี่).....

ดูหนังสือตารีคบัฆดาด  2 : 56 และอัต-ตัซกิเราะฮ์  หน้า  367

อ้างอิงจากหนังสือเมาซูอะตุด ดิฟาอ์  อันรอซูลิลละฮ์(ศ)  เล่ม  4 : 213 อันดับที่ 132  
โดยเชคอาลี บินนายิฟ อัชชุฮูด


ท่านจะเห็นได้ว่าเชคอาลี บินนายิฟได้อ้างอิงชีวประวัติของอิหม่ามชาฟิอีแบบสังเขปจากหนังสือตารีคบัฆดาด
  •  

L-umar

สาม -  ชัยคุลอิสลาม  อิบนุตัยมียะฮ์


ما تقول السادة العلماء رضى الله عنهم
فى الحلاج الحسين بن منصور هل كان صديقا او زنديقا وهل كان وليا لله متقيا له ام كان له حال رحمانى أو من اهل السحر والخزعبلات وهل قتل على الزندقة بمحضر من علماء المسلمين او قتل مظلوما افتونا مأجورين

มีคนถามอิบนุตัยมียะฮ์ว่า  : ท่านมีทัศนะอย่างไรกับอุละมาอ์ระดับหัวหน้า (ร.ฎ.) ? เกี่ยวกับท่านอัลหัลล๊าจญ์ ฮูเซน บินมันซูรว่าเขาคือซิดดี๊ก (ผู้สัตย์จริง)หรือซินดี๊ก(คนไร้ศรัทธา)  ?
 فأجاب شيخ الاسلام ابو العباس تقى الدين احمد بن عبد الحليم بن عبد السلام بن تيميه قدس الله روحه
 الحمد لله رب العالمين الحلاج قتل على الزندقة...

ชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮ์ได้ตอบว่า  :  อัลฮัมดุลิลลาฮิร็อบบิลอาละมีน   อัลหัลล๊าจญ์  เขาถูกสังหารบนสภาพซินดี๊ก (คือคนไร้ศรัทธา ไม่ใช่มุสลิม) ...
وقد جمع العلماء اخباره فى كتب كثيرة أرخوها الذين كانوا فى زمنه والذين نقلوا عنهم مثل ابى على الحطى ذكره فى تاريخ بغداد والحافظ ابو بكر الخطيب ذكر له ترجمة كبيرة فى تاريخ بغداد
الكتاب : مجموع الفتاوى  ج 35  ص 109
المؤلف : أحمد بن عبد الحليم بن تيمية الحراني أبو العباس

อิบนุตัยมียะฮ์ได้เล่าต่อว่า  :  อุละมาอ์ได้รวบรวมเรื่องราวของเขา(อัลหัลล๊าจญ์)ไว้ในตำรามากมายพวกเขาได้ปล่อยเรื่องนั้นให้กับบรรดาคนที่อยู่ในสมัยของเขา  และบรรดาผู้ที่ถ่ายทอด(เรื่องราว)ไปจากพวกเขาเช่น อะบีอาลีอัลหัฏฏอเขาได้กล่าวถึงเขา(อัลหัลล๊าจญ์)ไว้ในหนังสือตารีคบัฆดาดและอัลฮาฟิซอะบูบักร อัลคอเตบได้กล่าวถึงชีวประวัติอย่างใหญ่หลวงของเขาไว้ในหนังสือตารีคบัฆดาด  

อ้างอิงจากหนังสือมัจญ์มูอุล ฟะตาวา  เล่ม  35  หน้า 109  
โดยอิบนุตัยมียะฮ์


ท่านจะเห็นได้ว่าอุละมาอ์วาฮาบีสามท่านดังกล่าวนี้พวกเขาได้อ้างอิงชีวประวัติบุคคลโดยกล่าวว่าพวกเขาทั้งสามได้เอามาจากหนังสือตารีคบัฆดาด



ฉะนั้นการที่เรา(ชีอะฮ์)ได้อ้างอิงถึงชีวประวัตินักรายงานหะดีษของฝ่ายซุนนี่และตัวบทหะดีษเรื่องเฆาะดีรคุมที่บันทึกอยู่ในหนังสือตารีคบัฆดาด  ก็เพื่อให้ท่านได้รับทราบถึงสถานะของนักรายงานหะดีษที่ถูกวิจารณ์เอาไว้ในหนังสือตารีคบัฆดาด

แต่อาจารย์ฟารีดกลับออกมาพูดโกหกเฉยเลยว่า   หนังสือตารีคบัฆดาด เป็นตำราประวัติศาสตร์    

แค่เริ่มบทความอาจารย์ฟารีดก็โกหกเสียแล้ว   ทีนี้จะไปฟังอะไรอีกของใจความ เพราะมันเน่าใน...แล้วเราจะทยอยวิจารณ์บทความของอาจารย์จอมโกหกผู้นี้ต่อไป อินชาอัลลอฮ์...
  •  

L-umar

เรารู้ดีอยู่แล้วว่า



หนังสือที่ชื่อ  ตารีคบัฆดาด   มีหะดีษทั้งที่เชื่อถือได้  และเชื่อถือไม่ได้  ดังนั้นเราจึง  แสดงหลักฐานหะดีษเฆาะดีรคุมไปให้ดู

ดังนี้


۞  หะดีษที่เราได้นำเสนอให้อาจารย์ฟารีด พิจารณาคือ

สายรายงาน(สะนัด)หะดีษ►

حَبْشُونُ بْنُ مُوسَى بْنِ أَيُّوبَ أَبُوْ نَصْرٍ الْخَلاَّلُ : سمع عَلِىُّ بْنُ سَعِيدٍ بْنِ قُتَيْبَةَ الرَّمْلِىُّ و الْحَسَنُ بْنُ عَرَفَةَ الْعَبْدِيُّ و عَلِىُّ بْنُ عَمْرُو الأَنْصَارِىُّ و عَلِيُّ بْنُ الْحُسَيْنِ بْنِ أَشْكَابٍ و عَبْدُ اللَّهِ بْنُ أَيُّوبَ الْمَخْرَمِىُّ وسُلَيْماَنُ بْنُ تَوْبَةَ النَّهْرَوَانِىُّ و حَنْبَلُ بْنُ إِسْحَاقَ الشَّيْبَانِيُّ روى عنه أَبُو بَكْرِ بْنُ شَاذَانَ أَبُو الْحَسَنِ الدَّارَقُطْنِىُّ و أَبُو حَفْصٍ بْنُ شَاهِينَ و أَحْمَدُ بْنُ الْفَرَجِ بْنِ الْحَجَّاجِ وَأَبُو الْقاَسِمِ بن الثلاج وغيرهم وكان ثقة يسكن باب البصرة

أَنْبَأَنَا عَبْدُ اللَّهِ بْنُ عَلِىِّ بْنِ مُحَمَّدِ بْنِ بَشْرَانِ أَنْبَأَنَا عَلِىُّ بْنُ عُمَرَ الْحَافِظُ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ الْقُرَشِيُّ عَنِ ابْنِ شَوْذَبَ عَنِ ابْنِ شَوْذَبَ عَنْ مَطَرٍ الْوَرَّاقِ عَنْ شَهْرِ بْنِ حَوْشَبٍ عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ قَالَ



ตัวบท(มะตั่น)หะดีษ►


من صام يوم ثمان عشرة من ذي الحجة كتب له صيام ستين شهراً وهو يوم غدير خم لما أخذ النبي صلى الله عليه وسلم بيد علي بن أبي طالب فقال: \\\" ألست ولي المؤمنين؟ \\\" قالوا بلى يا رسول الله قال: \\\" من كنت مولاه فعلي مولاه \\\" فقال عمر بن الخطاب بخ بخ لك يا ابن أبي طالب أصبحت مولاي ومولى كل مسلم فأنزل الله: \\\" اليوم أكملت لكم دينكم \\\" المائدة 3
ومن صام يوم سبعة وعشرين من رجب كتب له صيام ستين شهراً وهو أول يوم نزل جبريل عليه السلام على محمد صلى الله عليه وسلم بالرسالة.
اشتهر هذا الحديث من رواية حبشون وكان يقال إنه تفرد به وقد تابعه عليه أحمد بن عبد الله بن النيري فرواه عن علي بن سعيد.

الكتاب : تاريخ بغداد ج 8  ص 289  رقم الحديث : 4392
المؤلف : أحمد بن علي أبو بكر الخطيب البغدادي


สายรายงานหะดีษ►

หับชูน บินมูซา บินอัยยูบ อะบูนัศริน อัลคอลลาล→อาลี บินสะอีด บินกุตัยบะฮ์ อัลรอมลี→อัลฮาซัน บินอะเราะฟะฮ์ อัลอับดี→อาลี บินอัมรู อัลอันศอรี→อาลี บินอัลฮูเซน บินอัชกาบ→อับดุลลอฮ์ บินอัยยูบ อัลมัคเราะมี→สุลัยมาน บินเตาบะฮ์ อันนะฮ์เราะวานี→หันบัล บินอิสฮาก อัชชัยบานี→ อะบูบักร บินชาซาน→อะบุลฮาซัน อัดดาเราะกุฏนี→อะบูหัฟศิน บินชาฮีน→อะหมัด บินอัลฟะร็อจญ์ บินหัจญ๊าจญ์→อะบุลกอสิม บินษัลลาจญ์→
อับดุลลอฮ์ บินอาลี บินมุฮัมมัด บินบัชรอน→อาลี บินอุมัร อัลหาฟาฟิซ→ด็อมเราะฮ์ บินเราะบีอะฮ์ อัลกุเราะชี→อิบนิเชาซับ→มะต็อร อัลวัรรอก→ชะอ์ริ บินเฮาชับ→ท่านอะบีฮุรอยเราะฮ์  เล่าว่า
:



ตัวบท(มะตั่น)หะดีษ►

บุคคลใดได้ถือศีลอดในวันที่ 18 เดือนซุลหิจญะฮ์จะถูกบันทึกสำหรับเขา(ว่าเขา)ได้ถือศีลอดถึง 60 เดือน  และมัน( วันที่ 18 )คือวันที่เฆาะดีรคุม ตอนที่ท่านนบี(ศ)ได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้น) แล้วกล่าวว่า :  ฉันคือผู้ปกครองของบรรดามุอฺมินทั้งหลายใช่หรือไม่ ?
พวกเขา(บรรดาซออาบะฮฺ)กล่าวว่า : หามิใช่แล้วครับ โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ
ท่าน(ศ)จึงกล่าวว่า : บุคคลใดที่ฉันคือผู้ปกครองของเขา ดังนั้นอะลีก็คือผู้ปกครองของเขา

ท่านอุมัรบินคอตตอบได้กล่าวว่า :  ขอแสดงความยินดีกับท่านด้วย โอ้บุตรของอบูตอลิบ
(บัดนี้)ท่านได้กลายเป็นเมาลาผู้ปกครองของฉันและผู้ปกครองของมุสลิมทุกคนแล้ว
ดังนั้นอัลลอฮ์จึงทรงประทานโองการนี้ลงมา

วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้ว ... (ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 3)


Θอ้างอิงจากหนังสือ

ตารีคบัฆด๊าด โดยอั ลเคาะฏีบอัลบัฆดาดี เล่ม 8 : 289  หะดีษที่  4392




۩   หลังจากนั้นเราได้ตั้งคำถามว่า

ระหว่างอาจารย์ฟารีดเฟ็นดี้ กับ อัลเคาะฏีบอัลบัฆดาดี  ใครโกหก ???
  •  

L-umar

จุดประสงค์ของเราคือ   ก่อนที่อาจารย์ฟารีดจะบอกว่าเรื่องที่เรากล่าว จริง หรือ เท็จ  

เขาจะต้องทำการตรวจสอบสะนัดหะดีษบทนี้เสียก่อนว่า   นักรายงานหะดีษบทนี้มีสถานะ  เชื่อถือได้  หรือ  ไม่ได้

แทนที่อาจารย์ฟารีดจะกลับไปเปิดตำราริญาลเพื่ออ่านคำวิจารณ์ของอุละมาอ์สาขาอัลญัรฮุวัตตะอ์ดีล  ว่า พวกเขากล่าวเอาไว้อย่างไร แล้วนำเสนอให้พี่น้องวาฮาบีตาดำๆน่าสงสารได้รู้
แต่ปล่าวเลย  อาจารย์ฟารีดกลับมั่วนิ่มไปหยิบหะดีษและคำพูดอิบนุกะษีรมาตอบเราคือ

قلت: وقد روى اِبْنُ مَرْدَوَيْهِ من طريق أبي هارون العَيْدي، عن أبي سعيد الخدري؛ أنها أنزلت على رسول الله صلى الله عليه وسلم يوم غَدِير خُم حين قال لعلي: \\\"من كنتُ مولاه فَعَليٌّ مولاه\\\". ثم رواه عن أبي هريرة وفيه: أنه اليوم الثامن عشر من ذي الحجة، يعني مرجعه عليه السلام من حجة الوداع.
ولا يصح هذا ولا هذا، بل الصواب الذي لا شك فيه ولا مرية: أنها أنزلت يوم عرفة، وكان يوم جمعة، كما روى ذلك أمير المؤمنين عمر بن الخطاب، وعلي بن أبي طالب،

"ฉัน (อิบนิกะษีร) กล่าวว่า อิบนุ มัรดุวิฮ์ ได้รายงานด้วยสายของ อบี ฮารูณ อัลอับดีย์ จาก อบี สะอี๊ด อัลคุดรีย์ ว่า : อายะห์นี้ถูกประทานลงมาให้แก่ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ในวันฆ่อดีรคุม ขณะที่ท่านกล่าวกับอาลีว่า : ((ผู้ใดที่ฉันเป็นที่รักของเขา ดังนั้นอาลีก็เป็นที่รักของเขาด้วย)) หลังจากนั้นเขาได้รายงานจากอบี ฮุรอยเราะห์ โดยมีเนื้อหาเพิ่มเติมว่า : มันเป็นวันที่ 18 เดือนซุ้ลฮิจญะห์ หมายถึงระหว่างท่านนบีเดินทางกลับจาก ฮัจญะตุ้ลวะดาอ์
เรื่องดังกล่าวนี้ไม่มีความถูกต้องเลย ทว่าที่ถูกต้องโดยไม่มีข้อสงสัยเคลืบแคลงใดๆก็คือ : มันถูกประทานลงมาในวันอะรอฟะห์ ซึ่งเป็นวันศุกร์ ตามที่ อมีรุ้ลมุอ์มีนีน อุมัร อิบนุ้ลค๊อตต๊อบ และอาลี อิบนิ อบีฏอลิบ ได้รายงานไว้"

ตัฟซีร อิบนิกะษีร เล่มที่ 2 หน้าที่ 25 - 26


Φ  วิจารณ์

อาจารย์ฟารีดมั่วจริงๆทำไมเราจึงกล่าวเช่นนั้น  เพราะ

หะดีษที่เขายกออกมาอ้างจากตัฟสีรอิบนิกะษีร มีสายรายงานดังนี้

رَوَى اِبْنُ مَرْدَوَيْهِ مِنْ طَرِيْقِ عَنْ أَبِي هَارُونَ الْعَبْدِيِّ ، عَنْ أَبِي سَعِيدٍ الْخُدْرِيِّ

อิบนุมัรดะวัยฮฺ  จากสายรายงานที่มาจาก  อะบีฮารูนอัลอับดี  จากท่านอะบีสะอีดอัลคุดรี...



ส่วนสายงานหะดีษที่เรายกมาอ้างคือ ►

หับชูน บินมูซา บินอัยยูบ อะบูนัศริน อัลคอลลาล→
อาลี บินสะอีด บินกุตัยบะฮ์ อัลรอมลี→
อัลฮาซัน บินอะเราะฟะฮ์ อัลอับดี→
อาลี บินอัมรู อัลอันศอรี→
อาลี บินอัลฮูเซน บินอัชกาบ→
อับดุลลอฮ์ บินอัยยูบ อัลมัคเราะมี→
สุลัยมาน บินเตาบะฮ์ อันนะฮ์เราะวานี→
หันบัล บินอิสฮาก อัชชัยบานี→
อะบูบักร บินชาซาน→
อะบุลฮาซัน อัดดาเราะกุฏนี→
อะบูหัฟศิน บินชาฮีน→
อะหมัด บินอัลฟะร็อจญ์ บินหัจญ๊าจญ์→
อะบุลกอสิม บินษัลลาจญ์→
อับดุลลอฮ์ บินอาลี บินมุฮัมมัด บินบัชรอน→
อาลี บินอุมัร อัลหาฟาฟิซ→
ด็อมเราะฮ์ บินเราะบีอะฮ์ อัลกุเราะชี→
อิบนิเชาซับ→
มะต็อร อัลวัรรอก→
ชะอ์ริ บินเฮาชับ→ท่านอะบีฮุรอยเราะฮ์



อาจารย์ฟารีด  เลือกวิเคราะห์รอวีย์บางคน ไม่ใช่ทั้งหมดแล้วนำเสนอตีแผ่ให้คนอ่านเพราะอะไร  หรือเพราะเกรงจะมีคนถามเขาว่า  อ้าวอาจารย์ในเมื่อผู้รายงานหะดีษบทนี้ทั้งหมดไม่ได้ถูกตำหนิในทางลบ  แล้วหะดีษที่มีสะนัดลักษณะเช่นนี้จะมีสถานะอย่างไรเล่า ? เช่น

ซอแฮะฮ์
ฮาซัน
ดออีฟ  หรือ
เมาฎู๊อ์

ในเมื่ออาจารย์ฟารีดย้อนถามเราว่า  อุละมาอ์ซุนนี่คนใดเล่าได้ให้สถานะหะดีษบทนี้ว่า ซอฮิ๊ฮ์ เราจึงขอถามท่านอาจารย์ฟารีดเสียเลยว่า  ถ้าหลังจากท่านตรวจสอบสะนัดนี้เสร็จแล้ว  ตามทัศนะของท่านๆจะบอกว่า  หะดีษนี้  ถูกหรือผิด ???
  •  

L-umar

แต่ก่อนอื่นที่ท่านจะตอบ   ท่านควรไปค้นเสียก่อน   หรือว่าท่านได้ค้นดูแล้ว  แต่ท่านไม่กล้านำมาลงให้คนอ่าน



อาจารย์ฟารีดเริ่มมั่วขึ้นเรื่อยๆคือ เขากล่าวว่า
 
หนึ่ง - หะดีษนี้เป็นหะดีษที่สืบไปถึงแค่ซอฮาบะฮ์ชื่อ อะบีฮุรอยเราะฮ์ หรือที่เรียกว่า  หะดีษเมากู๊ฟ



สอง – อาจารย์ฟารีด ยังย้อนถามเราว่า ทำไมชีอะฮ์จึงหยิบหะดีษของท่านอะบีฮุรอยเราะฮ์มาอ้างกับฝ่ายซุนนี่




ตอบ

หนึ่ง -  ก็ไหนอาจารย์อ้างหนักอ้างหนาว่า ท่านตามซอฮาบะฮ์  เมื่อซอฮาบะฮ์ชื่ออะบูฮุรอยเราะฮ์เล่าให้หะดีษนี้ท่านฟัง ท่านจะไม่เชื่อหรือ หากสะนัดนี้ถูกพิสูจน์ว่า  เชื่อได้ ?

สอง -  อัสบาบุลนุซูลโองการ
اَلْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي...
ในตำราชีอะฮ์ที่ระบุว่า มันได้ประทานลงมาที่เฆาะดีรคุมมีอยู่แล้ว โดยเราไม่ต้องพึ่งตำราหะดีษฝ่ายซุนนี่  แต่ปัญหาคือ พวกท่านจะยอมรับไหมล่ะที่เรายกไปอ้าง
ฉะนั้นการที่เรายกเรื่องนี้จากตำราหะดีษของท่านมาอ้างกับท่าน ก็เพื่อให้ท่านทราบว่า  เรื่องนี้มันก็มีบันทึกไว้เป็นหลักฐานในตำราของพวกท่านเช่นกัน
และเรายังได้นำเสนอคำวิจารณ์สถานะของบรรดารอวีย์หะดีษบทนี้ไปแล้วด้วย

เพราะฉะนั้นท่านไม่น่าถามแบบโง่ๆออกมาเลย  อาจารย์ฟารีดผู้มักรัปทานถั่วดำ

 
  •  

L-umar

Φ   อ้างอิงจากคำพูดของอาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้  →


อย่างไรก็ตามสายรายงานของฮะดีษบทนี้ สิ้นสุดที่ อบูฮุรอยเราะห์ ซึ่งภาษาฮะดีษเรียกว่า "เมากูฟ"

และคำพูดประโยคต่อไปนี้ก็เป็นคำพูดของ

<< อบูฮุรอยเราะห์  >>   มิใช่คำพูดของ   << ท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม >>


คือ

^^ บุคคลใดได้ถือศีลอดในวันที่ 18 เดือนซุลหิจญะฮฺ จะถูกบันทึกสำหรับเขา(ว่าเขา)ได้ถือศีลอดถึง 60 เดือน และมัน( วันที18 )คือวันที่เฆาะดีรคุม    ^^





۞ วิจารณ์


อาจารย์ฟารีดได้แย้งแบบโง่ๆว่าหะดีษนี้เป็นคำพูดของท่าน

 << อบูฮุรอยเราะห์  >>   ไม่ใช่คำพูดของ   << ท่านนะบี (ศ) >>

เราขอถามอาจารย์ฟารีดว่า  ท่านเอาหะดีษวรรคถัดมานี้ไปไวไหน คือที่ท่านอะบีฮุรอยเราะฮ์เล่าว่า :


►และมัน( วันที่ 18 )คือวันที่เฆาะดีรคุม >> ตอนที่ท่านนะบี(ศ)ได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้น) แล้วกล่าวว่า <<  :  ฉันคือผู้ปกครองของบรรดามุอฺมินทั้งหลายใช่หรือไม่ ?  พวกเขา(บรรดาซอฮาบะฮฺ)กล่าวว่า : หามิได้ ใช่แล้วครับ โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ   ท่าน(ศ)จึงกล่าวว่า : บุคคลใดที่ฉันคือผู้ปกครองของเขา ดังนั้นอะลีก็คือผู้ปกครองของเขา◄



ตัวอาจารย์ฟารีดพูดเองว่า  :

ส่วนความหมายของฮะดีษทางนิติบัญญัตินั้น นักวิชาการส่วนใหญ่ให้ความหมายว่า

" เรื่องที่มีความเกี่ยวพันกับท่านนบี ไม่ว่าจะเป็นในด้านคำพูด,การกระทำ,การยอมรับ,จริยธรรม,คุณลักษณะ,นิสัย ของท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม" และรวมถึงคำพูดและการกระทำของบรรดาศอฮาบะห์และตาบีอีนด้วย

อ้างอิงจากเวบ
http://www.moradokislam.org/modules.php?name=News&file=print&sid=7



ทีนี้เราลองพิจารณาสิ่งที่ท่านอะบีฮุรอยเราะฮ์เล่าว่า  :   ►ท่านนะบี(ศ)ได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้น)...◄

ตัวอาจารย์ฟารีดพูดเองมิใช่หรือว่า  :   ฮะดีษทางนิติบัญญัตินั้นให้ความหมายว่า เรื่องที่มีความเกี่ยวพันกับท่านนะบี(ศ) ไม่ว่าจะเป็นในด้านคำพูด,การกระทำ

ท่านจะเห็นได้ว่า  คนเราในบางครั้งพูดมากเกินไปจนไปค้านสิ่งที่ตนพูดไว้ก่อนหน้า  กล่าวคือ  

หะดีษบทนี้ท่านอะบีฮุรอยเราะฮ์เล่าว่า  

ผลบุญของคนที่ถือศีลอดในวันที่ 18 เดือนซุลหิจญะฮ์  ก็เพราะว่าวันที่ 18 คือวันที่เฆาะดีรคุม  วันนั้นท่านนะบี(ศ)ได้จับมือท่านอาลีชูขึ้นแล้วกล่าวว่า  :  ฉันคือผู้ปกครองของบรรดามุอฺมินทั้งหลายใช่หรือไม่ ?  บรรดาซอฮาบะฮ์จึงตอบว่า :  ใช่แล้วครับ   ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)จึงกล่าวว่า :
บุคคลใดที่ฉันคือผู้ปกครองของเขา ดังนั้นอะลีก็คือผู้ปกครองของเขา

ซอฮาบะฮ์ไม่ได้เล่าว่าท่านนะบี(ศ)กล่าวสิ่งนี้สิ่งนั้นเพียงอย่างเดียว
แต่ซอฮาบะฮ์ยังได้เล่าว่า  ท่านนะบี(ศ)ทำสิ่งนั้นสิ่งนี้อีกด้วย  

แต่พอมาถึงตรงนี้อาจารย์ฟารีดมาเล่นลิ้นกับเราว่า หะดีษบทนี้เป็นคำพูดของ
<< อบูฮุรอยเราะห์  >>   ไม่ใช่คำพูดของ   << ท่านนะบี (ศ) >>


อย่างนี้จะเรียกว่า   โง่จริงๆ  หรือ  แกล้งโง่   หรือ เล่นลิ้น  หรือกะล่อน  หรือปลิ้นปล่อนกันแน่ ???
  •  

66 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้