Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

ธันวาคม 22, 2024, 05:40:21 หลังเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
  • สมาชิกทั้งหมด: 1,718
  • Latest: Haroldsmolo
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 3,699
  • หัวข้อทั้งหมด: 778
  • Online today: 102
  • Online ever: 200
  • (กันยายน 14, 2024, 01:02:03 ก่อนเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 34
Total: 34

ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ

เริ่มโดย L-umar, มิถุนายน 11, 2009, 11:57:21 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar



ท่านมุสลิม บินหัจญ๊าจญ์บันทึกว่า

กอยส์ได้สนทนากับท่านอัมมาร บินยาซิรเรื่องที่คนกลุ่มหนึ่งออกมาสู้รบต่อต้านท่านอะลี ว่าคิดเห็นเป็นอย่างไร

ท่านอัมมารได้กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้เคยย้ำถึงพันธะสัญญานี้ไว้อย่างมาก  และท่านอัมมารได้เล่าว่า


ท่านฮูซัยฟะฮ์รายงานว่า


قَالَ النَّبِىُّ -صلى الله عليه وسلم- « فِى أَصْحَابِى اثْنَا عَشَرَ مُنَافِقًا فِيهِمْ ثَمَانِيَةٌ لاَ يَدْخُلُونَ الْجَنَّةَ حَتَّى يَلِجَ الْجَمَلُ فِى سَمِّ الْخِيَاطِ ثَمَانِيَةٌ مِنْهُمْ تَكْفِيكَهُمُ الدُّبَيْلَةُ وَأَرْبَعَةٌ ». لَمْ أَحْفَظْ مَا قَالَ شُعْبَةُ فِيهِمْ.



ท่านนบี(ศ)กล่าวว่า


ในหมู่เศาะหาบะฮ์ของฉันนั้นมีคนมุนาฟิกสิบสองคน  ในหมู่พวกเขามีแปดคนที่จะไม่ได้เข้าสวรรค์ จนกว่าอูฐจะมุดลงไปที่รูเข็ม....

เศาะหิ๊หฺ  มุสลิม หะดีษที่  7242



ใช่พวกมุนาฟิกสิบสองคนนี้หรือไม่  ที่คิดลอบสังหารท่านนบี(ศ)

นี่ก็อีกหนึ่งหะดีษที่  อยากถามว่า  พวกเศาะหาบะฮ์มุนาฟิกนี้เป็นใคร  อยู่ที่ไหน   พวกเขาเคยเป็นหนึ่งจากนักรายงานหะดีษที่ถ่ายทอดมายังเราหรือปล่าว  
แล้วคนพวกนี้มีรายงานหะดีษเกี่ยวข้องกับอะห์กามชะรีอะฮ์ที่มากำหนดให้บรรดามุสลิมทำอามัลอิบาดะฮ์หรือไม่
ดังนั้นเราจะรู้ได้อย่างไรว่า  รายงานในตำราอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ปลอดจากพวกมุนาฟิกเหล่านั้น
เพราะเป็นที่น่าสงสัยว่า  การวางแผนลอบสังหารท่านนบี(ศ)ไม่ใช่มีแค่คนเดียว แต่ต้องร่วมมือกันหลายคน
เมื่อเราไม่อาจรู้จักตัวตนของพวกเขาได้   เราจึงไม่กล้าไปรับเอาศาสนามาจากพวกเขา  เพราะบางทีสิ่งที่พวกเขารายงานอาจเป็นสิ่งที่มาทำลายศาสนาของอัลเลาะฮ์


เมื่อไม่มีมุสลิมคนใดรู้จักรายชื่อพวกมุนาฟิกเหล่านี้ แล้วเราจะแยกแยะเศาะหาบะฮ์ที่ดี กับเศาะหาบะฮ์เป็นมุนาฟิกได้อย่างไร ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่มากและค่อนข้างซับซ้อน


ดังนั้นทางที่ดีเราขอเบนเข็มทิศไปปฏิบัติตามอะฮ์ลุลบัยต์ดีกว่า  เพราะดูแล้วจะปลอดภัยกว่าแน่นอน เนื่องจากไม่มีหะดีษรายงานว่า  ในหมู่อะฮ์ลุลบัยต์ของฉันมีมุนาฟิก    แต่เรากลับพบแต่หะดีษที่ระบุว่า การยึดมั่นอยู่กับแนวทางของพวกเขานั้นจะไม่หลงทางตลอดกาล เช่น  
   

หะดีษกิตาบุลเลาะฮ์วะอิตเราะฮ์
 

   ก่อนที่ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ็อลฯ)จะจากโลกนี้ไป  ท่านได้สั่งเสียหลายครั้ง หลายวาระ หลายสถานที่ว่า  ท่านได้มอบสิ่งมีค่ายิ่งและสำคัญมากไว้ให้แก่ประชาชาติอิสลาม สองประการ  ซึ่งท่านได้ย้ำว่า สองสิ่งนี้ต้องอยู่คู่กันไปตราบจนถึงวันกิยามะฮ์   หากมุสลิมคนใดได้ยึดมั่นปฏิบัติตามสองสิ่งนี้อย่างมั่นคง   ท่านนบีมุฮัมมัดรับรองว่า  บุคคลนั้นจะไม่หลงทางเด็ดขาด   สิ่งหนักสองประการที่ว่านั้นคือ


1.   คัมภีร์ของอัลลอฮ์   คืออัลกุรอาน

2.   อิตเราะฮ์  คืออะฮ์ลุลบัยต์ของท่านนบีมุฮัมมัด


رِوَايَةُ زَيْدِ بْنِ أَرْقَمَ :

ثُمَّ قَالَ قَامَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- يَوْمًا فِينَا خَطِيبًا بِمَاءٍ يُدْعَى خُمًّا بَيْنَ مَكَّةَ وَالْمَدِينَةِ فَحَمِدَ اللَّهَ وَأَثْنَى عَلَيْهِ وَوَعَظَ وَذَكَّرَ ثُمَّ قَالَ « أَمَّا بَعْدُ أَلاَ أَيُّهَا النَّاسُ فَإِنَّمَا أَنَا بَشَرٌ يُوشِكُ أَنْ يَأْتِىَ رَسُولُ رَبِّى فَأُجِيبَ وَأَنَا تَارِكٌ فِيكُمْ ثَقَلَيْنِ أَوَّلُهُمَا كِتَابُ اللَّهِ فِيهِ الْهُدَى وَالنُّورُ فَخُذُوا بِكِتَابِ اللَّهِ وَاسْتَمْسِكُوا بِهِ ». فَحَثَّ عَلَى كِتَابِ اللَّهِ وَرَغَّبَ فِيهِ ثُمَّ قَالَ « وَأَهْلُ بَيْتِى أُذَكِّرُكُمُ اللَّهَ فِى أَهْلِ بَيْتِى أُذَكِّرُكُمُ اللَّهَ فِى أَهْلِ بَيْتِى أُذَكِّرُكُمُ اللَّهَ فِى أَهْلِ بَيْتِى »


เซด บิน อัรกอมรายงาน :

ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ็อลฯ)ได้ยืนปราศรัยในหมู่พวกเราวันหนึ่งที่แหล่งน้ำชื่อว่า (เฆาะดีร) คุม อยู่ระหว่างเมืองมักกะฮ์กับเมืองมะดีนะฮ์ ท่านได้สรรเสริญอัลลอฮ์ สดุดีพระองค์ และได้ตักเตือน ย้ำให้ระลึก จากนั้นท่านกล่าวว่า : อัมมาบะอ์ดุ  พึงทราบเถิดท่านทั้งหลาย  อันที่จริงฉันเป็นมนุษย์คนหนึ่ง รอซูลแห่งพระผู้อภิบาลของฉัน(คือมลาอิกัลมูต)นั้นใกล้จะมา(รับชีวิตฉันไป)แล้ว และฉันก็ตอบรับแล้ว  

และฉันได้มอบสิ่งหนักสองสิ่งไว้ในหมู่พวกท่าน  สิ่งแรกคือกิตาบุลเลาะฮ์(อัลกุรอาน)

ในนั้นคือทางนำและแสงสว่าง  ดังนั้นพวกท่านจงจับคัมภีร์ของอัลลอฮ์ไว้ และจงยึดมันให้มั่น   แล้วท่านได้แนะนำให้ปฏิบัติตามคัมภีร์   ถัดจากนั้นท่านกล่าวว่า  

และ(สอง)อะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน

ฉันขอเตือนพวกท่านให้รำลึกถึงอัลลอฮ์ในอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน  ฉันขอเตือนพวกท่านให้รำลึกถึงอัลลอฮ์ในอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน   ฉันขอเตือนพวกท่านให้รำลึกถึงอัลลอฮ์ในอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน



เศาะหิ๊หฺมุสลิม กิตาบฟะฎออิลุซ- เศาะหาบะฮ์   หะดีษที่ 4425
  •  

L-umar


عَنْ حَبِيبِ بْنِ أَبِى ثَابِتٍ عَنْ زَيْدِ بْنِ أَرْقَمَ رَضِىَ اللَّهُ عَنْهُمَا قَالاَ :

قَالَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم-

« إِنِّى تَارِكٌ فِيكُمْ مَا إِنْ تَمَسَّكْتُمْ بِهِ لَنْ تَضِلُّوا بَعْدِى أَحَدُهُمَا أَعْظَمُ مِنَ الآخَرِ كِتَابُ اللَّهِ حَبْلٌ مَمْدُودٌ مِنَ السَّمَاءِ إِلَى الأَرْضِ وَعِتْرَتِى أَهْلُ بَيْتِى وَلَنْ يَتَفَرَّقَا حَتَّى يَرِدَا عَلَىَّ الْحَوْضَ فَانْظُرُوا كَيْفَ تَخْلُفُونِى فِيهِمَا ».

หะบีบ บินอบีษาบิต จากเซด บินอัรก็อมรายงาน :

ท่านรอซูลุลลอฮฮ์ (ศ็อลฯ)กล่าวว่า : แท้จริงฉันได้มอบไว้ให้กับพวกท่าน หากพวกท่านยึดมั่นต่อสิ่งนั้นแล้ว  พวกท่านจะไม่หลงทางหลังจากฉันเด็ดขาด  สิ่งแรกใหญ่กว่าอีกสิ่งหนึ่งนั่นคือ


1.   กิตาบุลเลาะฮ์(อัลกุรอาน)คือเชือกที่ทอดจากชั้นฟ้ามายังโลกและ

2.   อิตเราะตี คืออะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน
 

และทั้งสองสิ่งจะไม่แยกจากกัน จนกว่าจะกลับมาหาฉันที่อัลเฮาฎ์(สระเกาษัร)  
ดังนั้นพวกท่านจงดูเถิดว่า พวกท่านจะขัดแย้งกับฉันในสองสิ่งที่ฉันมอบไว้ให้อย่างไร  


สถานะหะดีษ  :   เศาะหิ๊หฺ  

ดูซอฮีฮุต-ติรมีซี  หะดีษที่ 2980    ตรวจทานโดยเชคอัลบานี



อธิบาย


1.   ท่านรอซูลุลลอฮฮ์(ศ็อลฯ)กล่าวว่า : หากพวกท่านยึดมั่นต่ออัลกุรอานและอิตเราะฮ์ของท่าน  พวกท่านจะไม่หลงทางเด็ดขาด หลังจากท่านจากไป  
2.   อัลกุรอานและอิตเราะฮ์จะไม่แยกจากกันตราบจนถึงวันสิ้นโลฏ
  •  

L-umar





عَنْ جَعْفَرِ بْنِ مُحَمَّدٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ قَالَ :
رَأَيْتُ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- فِى حَجَّتِهِ يَوْمَ عَرَفَةَ وَهُوَ عَلَى نَاقَتِهِ الْقَصْوَاءِ يَخْطُبُ فَسَمِعْتُهُ يَقُولُ « يَا أَيُّهَا النَّاسُ إِنِّى قَدْ تَرَكْتُ فِيكُمْ مَا إِنْ أَخَذْتُمْ بِهِ لَنْ تَضِلُّوا كِتَابَ اللَّهِ وَعِتْرَتِى أَهْلَ بَيْتِى ».

ญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด จากบิดาเขา(มุฮัมมัดบินอะลี)จากญาบิร บินอับดุลลอฮฺ รายงาน :
ฉันได้เห็นท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ็อลฯ)ในการประกอบพิธีฮัจญ์ของท่านในวันอะเราะฟะฮ์ ซึ่งท่านอยู่บนหลังอูฐกำลังปราศรัย แล้วฉันได้ยินท่านกล่าวว่า
โอ้ประชาชนทั้งหลาย แท้จริงฉัน ทิ้งไว้ให้แก่พวกท่านถึงสิ่งซึ่งหากพวกท่านยึดมั่นต่อสิ่งนั้น  พวกท่านจะไม่หลงทางโดยเด็ดขาด สิ่งนั้นคือ


1.   คัมภีร์ของอัลลอฮฺ(อัลกุรอาน) และ

2.   อิตเราะตี คืออะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน




สถานะหะดีษ  :   เศาะหิ๊หฺ  

ดูซอฮีฮุต-ติรมีซี  หะดีษที่ 2978    ตรวจทานโดยเชคอัลบานี
  •  

L-umar





عَنْ زَيْدِ بْنِ ثَابِتٍ قَالَ :
قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِنِّي تَارِكٌ فِيكُمْ خَلِيفَتَيْنِ كِتَابُ اللَّهِ حَبْلٌ مَمْدُودٌ مَا بَيْنَ السَّمَاءِ وَالْأَرْضِ أَوْ مَا بَيْنَ السَّمَاءِ إِلَى الْأَرْضِ وَعِتْرَتِي أَهْلُ بَيْتِي وَإِنَّهُمَا لَنْ يَتَفَرَّقَا حَتَّى يَرِدَا عَلَيَّ الْحَوْضَ



เซด บินษาบิตรายงาน :


ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ็อลฯ)กล่าวว่า : แท้จริงฉันได้มอบ สองคอลีฟะฮ์  ไว้ในหมู่พวกท่าน


1.   คัมภีร์ของอัลลอฮ์(อัลกุรอาน)คือเชือกที่ทอดอยู่ระหว่างชั้นฟ้าและแผ่นดิน และ

2.   อิตเราะตี คืออะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน



และแท้จริงทั้งสองสิ่งจะไม่แยกจากกัน จนกว่าจะกลับมาพบฉันที่อัลเฮาฎ์(สระเกาษัร)


สถานะหะดีษ  :   เศาะหิ๊หฺ  


ดูมุสนัดอิหม่ามอะหฺมัด   หะดีษที่ 21618 ตรวจทานโดยเชคชุเอบ อัลอัรนะอูฏ
  •  

L-umar


ขอทบทวนอีกครั้งว่า   เรากำลังสนทนาอยู่ในหัวข้อเรื่อง


หะดีษ 73 ฟิรเกาะฮ์ ที่รายงานว่า ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ) กล่าวว่า



(((สิ่งที่ฉัน ยืนหยัดอยู่บนมัน และ บรรดาเศาะหาบะฮ์ของฉัน )))


คำนี้


( ( สิ่งที่ฉัน ยืนหยัดอยู่บนมัน ))


มุสลิมทั้งโลกยอมรับอยู่แล้ว ว่า แนวทางของท่านศาสดามุฮัมมัด คือแนวทางที่รอดปลอดภัยแน่นอน



ส่วนวรรคหลังที่รายงานว่า

(( และ บรรดาเศาะหาบะฮ์ของฉัน ))


อันนี้ คือปัญหา


และปัญหานี้ยัง สะท้อนออกมาให้เกิดแนวคิดของมุสลิมที่จะเลือกตาม ได้ดังนี้คือ


อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ จะเลือกตาม เศาะหาบะฮ์


อะฮ์ลุช- ชีอะฮ์ จะเลือกตาม อะฮ์ลุลบัยต์



แต่การเลือกตามเพียงอะฮ์ลุลบัยต์กลับกลายเป็น สิ่งที่ทำให้อีกฝ่าย หยิบเอามาประณามมาโดยตลอดเวลา

ซึ่งประเด้นนี้น่าคิด อินชาอัลเลาะฮ์ จะมาวิจัยกันต่อคราวหน้า.
  •  

L-umar



ในยุคที่ท่าน  อะลี  บินอบีตอลิบ  ดำรงตำแหน่ง  คอลีฟะฮ์     ประชาชนแบ่งออกเป็น   3   กลุ่มคือ


หนึ่ง   -    กลุ่มหนึ่งอยู่กับท่านคอลีฟะฮ์อะลี  และให้การสนับสนุนท่าน


สอง  -    อีกกลุ่มหนึ่งอยู่กับ มุอาวียะฮ์  


สาม  -    กลุ่มที่สาม  ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด   ทำตัวอยู่แบบเฉยๆ



ทีนี้ท่านลอง เอาหะดีษบทที่อะฮ์ลุสสุนนะฮ์  วัลญะมาอะฮ์ กล่าวว่า



มา  อ้านา อะลัยฮิ  วะอัศฮาบี   -  คือสิ่งที่ฉันอยู่บนมัน   และเศาะหาบะฮ์ของฉัน



มาใช้ในภาคปฏิบัติจริงๆ สิว่า    ท่านจะอยู่กับเศาะหาบะฮ์กลุ่มไหน    ?


หรือว่า  เศาะหาบะฮ์ทั้งสามกลุ่ม  ทำถูกต้องหมด  


ถ้าเศาะหาบะฮ์ทั้งสามกลุ่ม  ทำถูกต้องหมด     แล้วทำไมเวลาชีอะฮ์เลือกทำตามท่านอะลีกับชีอะฮ์ของท่าน


จึงต้องถูกพวกอะฮ์ลุสสุนนะฮ์   ประณาม   ?


 
 
  •  

L-umar



ที่กล่าวมาเป็นเรื่อง ความขัดแย้งระหว่างเศาะหาบะฮ์    ทางการเมือง และ  การปกครอง



ท่านลองย้อนมาพิจารณาความขัดแย้งในเรื่อง   \\\"  ฟิกฮฺ  - นิติศาสตร์อิสลาม  \\\"  บ้าง ว่า


บรรดาเศาะหาบะฮ์ มีความคิดเห็นเหมือนกันหมดทุกคนหรือ  ?



เรื่อง  \\\" อัคล๊าก -  จริศาสตร์อิสลาม \\\"


บรรดาเศาะหาบะฮ์ มีความคิดเห็นเหมือนกันหมดทุกคนหรือ  ?



เรื่อง  \\\"  ญิฮ๊าด -  การเสียสละต่อสู้ด้วยชีวิตและทรัพย์สิน เพื่ออิสลาม \\\"  


บรรดาเศาะหาบะฮ์ มีความคิดเห็นเหมือนกันหมดทุกคนหรือ  ?



ท่านจะพบว่า  

บรรดาเศาะหาบะฮ์ มีความคิดเห็นไม่เหมือนกัน  และไม่อาจรวมกันเป็นหนึ่งเดียว



ในเมื่อพวกเขาไม่เดินไปในทางเดียวกัน   ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง    อะกีดะฮ์  /  การปกครองบริหารประเทศ  /   เรื่องบทบัญญัติอิสลาม  /  

เรื่องจริยธรรม  /   เรื่องญิฮ๊าด


แล้วจะกินกับปัญญาหรือ    


ที่ท่านนบีมุฮัมมัด  (ศ)     จะสั่งประชาชาติของท่าน  ให้ปฏิบัติตามบรรดาเศาะหาบะฮ์เหล่านี้ทั้งหมด  


โดยที่ท่านนบี(ศ)ไม่ได้กำหนดเจาะจงลงไปที่เศาะกลุ่มหนึ่งหลุ่มใดเป็นการเฉพาะ  จากในหมู๋เศาะหาบะฮ์ทั้งหมด  ???
  •  

L-umar



หะดีษ  73   ฟิรเกาะฮ์   ที่อะฮ์ลุสสุนนะฮ์รายงานว่า  ทุกกลุ่มตกลงนรกยกเว้น  หนึ่ง  ฟิรเกาะฮ์  



และเขายังรายงานกลุ่มที่รอดจากนรกไว้  สามลักษณะคือ


หนึ่ง  -   อัลญะมาอะฮ์


สอง -    สะวาดุล  อะอ์ซ็อม


สาม  -   อัศฮาบ ของนบี




 ถ้าหากเราจะวิจารณ์อย่างเป็นธรรม  ก็คือ


 หะดีษเหล่านี้อาจเป็นหลักฐานสำหรับมัซฮับของท่าน  แต่ไม่ได้เป็นหลักฐานสำหรับมัซฮับอื่น   และในทางกลับกัน  ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก



ไม่ทราบว่า    หะดีษ  73   ฟิรเกาะฮ์ บทไหน  ที่ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ) กล่าวว่า  อะฮ์ลุสสุนนะฮ์  คือ  ฟิรเกาะฮ์  ที่ขึ้นสวรรค์



   

หากอะฮ์ลุสสนะฮ์  จะมีทัศนะเรื่อง   อะดาละฮ์  เศาะหาบะฮ์   ( บรรดาเศาะหาบะฮ์  ดีหมดทุกคน )  ก็เป็นสิทธิของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์


แต่อะฮ์ลุสสุนนะฮ์  ก็ไม่มีสิทธิจะไปบังคับ ฟิรเกาะฮ์อื่นให้เขาเชื่อ ตามนั้น



อะฮ์ลุสสุนนะฮ์เชื่อว่า   อะกีดะฮ์ของตนถูกต้อง   ก็เป็นสิทธิของเขาที่จะกล่าวจะเชื่อแบบนั้น


แต่ถ้ามัซฮํบอื่นๆ ก็ไม่ได้ให้การรับรองว่าอะกีดะฮ์ของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ถูกหมด  ซึ่งก็เป็นสิทธิส่วนบุคคลที่คนอื่นจะคิดเช่นนั้น



แต่ปัญหาคือ    อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ วัลญะมาอะฮ์จะใช้เผด็จประกาศว่า   ต้องเชื่อแบบนี้   ต้องตามแบบนี้





แล้วถ้ามัซฮับอื่นๆ  เขาเชื่อแบบของเขา   ทำไมอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ต้อง   ฮุก่ม  ต้องประณาม   ต้องตักฟีร



และนี่แหล่ะที่เรา  พยายามบอกท่านผู้อ่านทั้งหลายว่า


พวกเขามีทัศนะแคบ   และเผด็จการ    

 

   
  •  

L-umar



เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ท่านผู้อ่านในเรื่องอะกีดะฮ์และฟิกฮ์ของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์  


ที่มัซฮับอื่นๆเขามีความเห็นไม่ตรงกับอะฮ์ลุสสุนนะฮ์เช่น




เรื่องอะกีดะฮ์



อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ถือว่า


วายิบจะต้องตออะฮ์  ( เชื่อฟัง ) ต่อฮากิม ( ผู้ปกครอง ) ที่เป็นคนกดขี่หรือคนอธรรมต่อผู้อื่น   และถือว่าฮากิมเหล่านั้นคือ อิหม่ามของพวกเขา

อนุญาติ ให้มุสลิมทำญิฮ๊าด ภายใต้การนำของผู้ปกครองซอเล็ม


ต้องส่งมอบซะกาตทรัพย์สินให้กับผู้ปกครองซอเล็ม


ต้องไปประกอบพิธีหัจญ์ภายใต้การนำหัจญ์ของผู้ปกครองอธรรม




เรื่องฟิกฮฺ  ( ศาสนบัญญัติ )



อะฮ์ลุสสุนนะฮ์อนุญาติ ให้ทำวุฎุอ์กับนะบีซ(เบียร์) ได้

อนุญาติ ให้นมาซย่อได้ในการเดินทางไปทำสิ่งที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติอิสลาม

อนุญาตทำวุฎุอ์ โดยมะซะห์ (เช็ด ) บนรองเท้าหุ้มข้อได้  โดยไม่ต้องสัมผัสกับหลังฝ่าเท้า

อนุญาติ ให้ผู้ครองผ้าอิหฺรอม ออกล่าสัตว์ได้

อนุญาตให้สามีหย่าภรรยาขณะมีประจำเดือนได้

ถือว่า น้ำมะนี  - น้ำอสุจิ  นั้นสะอาด ไม่นะยิส

อนุญาตให้ขายสุราแก่มุสลิมได้ เพราะกาเฟรซิมมีได้มอบหมายหน้าที่ไว้กับเขาในการขาย

การอิ๊อฺติกาฟของมุรตัดนั้นจะไม่บาเต้ล หลังจากเขาตกมุรตัดแล้ว

การหย่า(เตาะล๊าก)ของคนที่ถูกบังคับให้หย่านั้นเกิดขึ้นจริง

อนุญาติให้นมาซตามหลังคนฟาญิร(ทำชั่ว ทำบาป)

อนุญาติให้สตรีรีดน้ำนมให้ชายบาเล็ฆที่ไม่ใช่ญาติพี่น้องดื่ม เพื่อจะได้เกี่ยวดองเป็นญาติทางการดื่มนมได้

อนุญาติให้นมาซบนแผ่นดินที่ได้มาโดยมิชอบธรรมทางชัรอีย์ได้



เรื่องฟิกฮ์ที่อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ห้าม


ห้ามนมาซ(เช่นซุฮ์ริกับอัศริ)รวมกันในยามปกติ (คือไม่ได้อยู่ในการเดินทาง)

ห้ามสตรีไปทำหัจญ์โดยปราศจากญาติมุห์ริม หรือไม่ได้รับอนาติจากสามี

ห้ามรับมรดกจากนบีมุฮัมมัด (ศ) เพราะมรดกนบีถือเป็นเศาะดะเกาะฮ์ทั้งหมด

ยกเลิกเรื่องการจ่ายคุมส์ในทรัพย์สิน หลังจากท่านรอซูล(ศ)วะฟาต

ห้ามนิก๊ะฮ์มุตอะฮ์

ฮัด(กางลงโทษ)มิได้ตกไปกับการเตาบะฮ์สำนึกในความผิด

ห้ามเตรียมพาหนะในการเดินทางไปยังมัสญิดต่างๆ

ห้ามปลุกระดมประชาชนลุกฮือขึ้นต่อสู้กับผู้ปกครองตอฆูตหรือกดขี่ชั่วช้า

ห้ามอ่านตำรับตำรามุคอลิฟีน คือผู้ที่มีความเชื่อไม่ตรงกับอะฮ์ลุสสุนนะฮ์

ห้ามนำคนละทิ้งนมาซไปฝังไว้ในสุสานของมุสลิม

ห้ามนิก๊ะห์กับมุคอลิฟีน คือผู้ที่มีความเชื่อไม่ตรงกับอะฮ์ลุสสุนนะฮ์

ห้ามเข้าไปพูดไปวิจารณ์เรื่องของเศาะหาบะฮ์




เราสามารถสรุปได้ว่า  


ตัวอย่างอะกีดะฮ์และฟิกฮ์ทั้งหมดนี้ เป็นการปิดประตูทางสติปัญญาโลกมุสลิมไว้ตั้งแต่ต้น


โดยเป้าหมายเพื่อต้องการเบนประชาชาติอิสลามให้ละเลยสิทธิของอะฮ์ลุลบัยต์นบีนั่นเอง.
  •  

L-umar



แม้ว่าท่านศาสดาแห่งอิสลามจะประกาศชัดว่า  การปฏิบัติตาม  กิตาบ และ  อะฮ์ลุลบัยต์  


คือสิ่งที่ท่านมุ่งหวังให้อุมมะตุลอิสลามดำเนินตาม    แต่อุมมะฮ์ของท่านส่วนหนึ่งก็พยายามสร้างข้อมูลลบเลือนวะซียัตนี้มาโดยตลอดเช่น





หะดีษ  ฏออิฟะฮ์  มันศูเราะฮ์


เวลาต่อมาอะฮ์ลุสุสนะฮ์เริ่มนำหะดีษรูปแบบใหม่ มาใช้สนับสนุนเสริมบารมีของพวกเขา  ซึ่งถือว่าเป็นหะดีษที่เหนือยิ่งกว่าหะดีษ   الفرقة الناجية -กลุ่มที่รอด  -  ฟิรเกาะฮ์  นาญียะฮ์  เสียอีก   นั่นคือ  หะดีษ  الطائفة المنصورة - กลุ่มที่ได้รับความช่วยเหลือ -  ฏออิฟะฮ์  มันศูเราะฮ์

ซึ่งดูเหมือนว่าพวกเขาต้องการที่โปรโมทกับชาวโลกว่า  พวกฉันคือกลุ่มชนที่ได้รับความช่วยเหลือ   สรุปคือ  พวกเขาประสบความสำเร็จทั้งดุนยาและอาคิเราะฮ์คู่กันไปเลยว่างั้น

แนวคิดที่ว่าพวกเขาคือ   กลุ่มที่ได้รับความช่วยเหลือ -  ฏออิฟะฮ์  มันศูเราะฮ์  นับได้ว่าหะดีษประเภทนี้  ใช้ได้ผลเป็นอย่างมากในทางการเมืองของพวกเขา

ตัวอย่างหะดีษตออิฟะฮ์มันซูเราะฮ์เช่น

มุฆีเราะฮ์เล่าว่า

لاَ يَزَالُ نَاسٌ مِنْ أُمَّتِى ظَاهِرِينَ حَتَّى يَأْتِيَهُمْ أَمْرُ اللَّهِ وَهُمْ ظَاهِرُونَ

ท่านนบี(ศ)กล่าวว่า   :  มนุษย์ส่วนหนึ่งจากอุมมะฮ์ของฉัน ยังคงเป็นพวกซอฮิรีน  จนกว่า  อัมรุลเลาะฮ์(วันสิ้นโลก)  จะมาถึงพวกเขา  ในขณะที่พวกเขาคือพวกซอฮิรีน (จะแปลคำนี้ในภายหลัง)

ดูเศาะหิ๊หฺบุคอรี  หะดีษที่  3640

มุอาวียะฮ์รายงานว่า

لاَ يَزَالُ مِنْ أُمَّتِى أُمَّةٌ قَائِمَةٌ بِأَمْرِ اللَّهِ ، لاَ يَضُرُّهُمْ مَنْ خَذَلَهُمْ وَلاَ مَنْ خَالَفَهُمْ حَتَّى يَأْتِيَهُمْ أَمْرُ اللَّهِ وَهُمْ عَلَى ذَلِكَ » . قَالَ عُمَيْرٌ فَقَالَ مَالِكُ بْنُ يُخَامِرَ قَالَ مُعَاذٌ وَهُمْ بِالشَّأْمِ . فَقَالَ مُعَاوِيَةُ هَذَا مَالِكٌ يَزْعُمُ أَنَّهُ سَمِعَ مُعَاذًا يَقُولُ وَهُمْ بِالشَّامِ .

ท่านนบี(ศ)กล่าวว่า   :    ประชาชาติส่วนหนึ่งจากอุมมะฮ์ของฉัน ยังคงเป็นผู้ดำรงอยู่ตามพระบัญชาของอัลเลาะฮ์   จะไม่เป็นอันตรายต่อพวกเขา ผู้ที่ละทิ้งพวกเขาและผู้ที่ขัดแย้งกับพวกเขา    จนกว่าอัมรุลเลาะฮ์(วันสิ้นโลก)จะมาถึงพวกเขา  และพวกเขาจะตั้งอยู่บนสภาพนั้น
อุมัยรุนกล่าวว่า  แล้วมาลิก บินยุคอมิรกล่าวว่า  มุอ๊าซกล่าวว่า  และพวกเขาอยู่ที่เมืองช่าม
มุอาวียะฮ์จึงกล่าวว่า  มาลิกผู้นี้อ้างว่าเขาได้ยินมุอาซกล่าวว่า และพวกเขาอยู่ที่เมืองช่าม

เศาะหิ๊หฺบุคอรี  หะดีษที่  3641,7460

จากนั้นหะดีษทำนองนี้ได้ทยอยตามมาสมทบอีก  เษาบานเล่าว่า

لاَ تَزَالُ طَائِفَةٌ مِنْ أُمَّتِى ظَاهِرِينَ عَلَى الْحَقِّ لاَ يَضُرُّهُمْ مَنْ خَذَلَهُمْ حَتَّى يَأْتِىَ أَمْرُ اللَّهِ وَهُمْ كَذَلِكَ

ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า  คนกลุ่มหนึ่งจากอุมมะฮ์ของฉัน ยังคงเป็นพวกซอฮิรีนอยู่บนสัจธรรม  จะไม่เป็นอันตรายต่อพวกเขา ผู้ที่ทอดทิ้งพวกเขา  จนกว่าบัญชาของอัลเลาะฮ์จะมาถึงพวกเขา และพวกเขาจะอยู่ในสภาพเช่นนั้น

เศาะหิ๊หฺมุสลิม  หะดีษที่  5059

สะอัดบินอบีวักกอศเล่าว่า

لاَ يَزَالُ أَهْلُ الْغَرْبِ ظَاهِرِينَ عَلَى الْحَقِّ حَتَّى تَقُومَ السَّاعَةُ

ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า  อะฮ์ลุลมัฆริบ(ชาวที่อยู่ทางทิศตะวันตก)จะยังคงพวกซอฮิรีน บนสัจธรรม จนกว่าวันอวสานจะมาถึง

เศาะหิ๊หฺมุสลิม  หะดีษที่  5067

มุอาวียะฮ์เล่าว่า

لَا تَزَالُ طَائِفَةٌ مِنْ أُمَّتِي عَلَى الْحَقِّ ظَاهِرِينَ وَإِنِّي لَأَرْجُو أَنْ تَكُونُوا هُمْ يَا أَهْلَ الشَّامِ

ท่านรอซูล(ศ)กล่าวว่า  คนกลุ่มหนึ่งจากอุมมะฮ์ของฉัน ยังคงอยู่บนสัจธรรม คือพวก " ซอฮิรีน "     และฉันหวังว่า คงจะเป็นพวกท่าน พวกเขา(ในที่นี้) โอ้ชาวเมืองช่าม

มุสนัดอะหมัด  หะดีษที่ 18487

กุรเราะฮ์ บินอิยาศ อัลมิซนีเล่าว่า

إِذَا فَسَدَ أَهْلُ الشَّامِ فَلاَ خَيْرَ فِيكُمْ لاَ تَزَالُ طَائِفَةٌ مِنْ أُمَّتِى مَنْصُورِينَ لاَ يَضُرُّهُمْ مَنْ خَذَلَهُمْ حَتَّى تَقُومَ السَّاعَةُ

ท่านรอซูล(ศ)กล่าวว่า  เมื่อชาวเมืองช่ามเสียหาย ดังนั้นจะไม่มีความดีใดในหมู่พวกท่าน   คนกลุ่มหนึ่งจากอุมมะฮ์ของฉันจะยังคงเป็น " พวกที่ได้รับความช่วยเหลือ "  ( มันศูรูน )  จะไม่เป็นอันตรายใดต่อพวกเขา ผู้ที่ทอดทิ้งพวกเขา จนกระทั่งวันอวสานมาถึง  

สุนัน ติรมิซี  หะดีษที่ 2351

ซอฮิรีน  ในหะดีษข้างต้น หมายถึง   " อะฮ์ลุลหะดีษ "
ตามที่นักวิชาการอะฮ์ลุสสุนนะฮ์อธิบายไว้เช่น

قال عبد الله بن المبارك: هم عندي أصحاب الحديث

อับดุลลอฮ์ บินอัลมุบาร็อกกล่าวว่า   พวกเขา(ซอฮิรีน)ในทัศนะของฉันหมายถึง  " อัศฮาบุลหะดีษ "

قال يزيد بن هارون: إن لم يكونوا أصحاب الحديث فلا أدري من هم؟

ยะซีด บินฮารูนกล่าวว่า  หากไม่ใช่อัศอาบุลหะดีษ  ฉันก็ไม่รู้ว่า ใครคือพวกเขา(ซอฮิรีน)ได้อีก ?

وقال المديني: هم أصحاب الحديث
อัลมะดีนีกล่าวว่า  พวกเขาคือ  อัศฮาบุลหะดีษ

وقال أحمد بن سنان: هم أهل العلم وأصحاب الأثر

อะหมัด บินสินานกล่าวว่า  พวกเขาคือ อะฮ์ลุลอิลมิ และอัศฮาบุลอะษัร

وقال البخاري: لا تزال طائفة من أمتي... يعني أصحاب الحديث
อัลบุคอรีกล่าวว่า
มนุษย์ส่วนหนึ่งจากอุมมะฮ์ของฉัน ยังคงเป็นพวกซอฮิรีน  คืออัศฮาบุลหะดีษ  ดูเศาะหิ๊หฺบุคอรี เล่ม 8  : 149  


ท่านจะสังเกตได้ว่า หะดีษทำนองนี้มาจากมุอาวียะฮ์ บินอบีสุฟยานและพวกเมืองช่ามเป็นคนรายงานทั้งสิ้น  และพวกช่ามพยายามตะอ์วีล ตีความหมายหะดีษเหล่านี้ให้แปลว่าคือ " ชาวเมืองช่าม " ( ซีเรีย ) อันเป็นเมืองที่มุอาวียะฮ์และราชวงศ์อุมัยยะฮ์ปกครอง  

หะดีษเหล่านี้ปรากฏออกมาในยุคราชวงศ์มุอาวียะฮ์ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนที่ให้การสนับสนุนช่วยเหลือเขาต่อต้านท่านคอลีฟะฮ์อะลีและชาวเมืองกูฟะฮ์ ในสมัยนั้น  กล่าวคือ

มุอาวียะฮ์และพวกเขาคือ  ฏออิฟะฮ์  มันศูเราะฮ์ - الطائفة المنصورة – กลุ่มที่ได้รับความช่วยเหลือ

ดีนะที่หะดีษเหล่านี้ปรากฏขึ้นในช่วงที่ราชวงศ์อุมัยยะฮ์ปกครอง  ถ้าหากหะดีษเหล่านี้ไปปรากฏในยุคที่ราชวงศ์อับบาซียะฮ์เรืองอำนาจ  อุละมาอ์อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ก็คงตีความคำว่า  ฏออิฟะฮ์  มันศูเราะฮ์  ( กลุ่มที่ได้รับความช่วยเหลือ ) ในที่นี้เป็นเมือง " แบกแดด "  แน่เลย

ถ้าจะกำกับความหมายคำ " ฏออิฟะฮ์  มันศูเราะฮ์  ( กลุ่มที่ได้รับความช่วยเหลือ ) ว่าหมายถึง   " อะฮ์ลุลหะดีษ " เท่านั้นตามประวัติศาสตร์อิสลามคำ  " อะฮ์ลุลหะดีษ "  ก็ปรากฏขึ้นในยุคอับบาซียะฮ์ ซึ่งคำนี้ไม่มีปรากฏในยุคราชวงศ์อุมัยยะฮ์
เพราะฉะนั้นหะดีษเหล่านี้จึงจะตีความเป้นชาวเมืองช่ามไปไม่ได้

เราสามารถวิเคราะห์ได้ว่า  
หะดีษเหล่านี้เป็นหะดีษการเมือง ( ซียาซี่ )ที่ประสบความสำเร็จ เพราะจะไม่มีใครกล้าแตะสายรายงาน(สะนัด)หะดีษเหล่านี้เลย  โดยเฉพาะเมื่อถูกบันทึกอยู่ในตำราเศาะหิ๊หฺบุคอรีและมุสลิม และมีนักรายงานชื่อมุฆีเราะฮ์บินชุอ์บะฮ์,มาลิกบินยุคอมิรและอบูฮุร็อยเราะฮ์ที่ร่วมกันอุปโลกน์หะดีษเหล่านี้มาเพื่อช่วยเหลือมุอาวียะฮ์และพวกโดยเฉพาะ

แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม

ทั้งหะดีษ" ฟิรเกาะฮ์นาญียะฮ์ " และหะดีษ " ฏออิฟะฮ์มันศูเราะฮ์ " ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อปกป้องมัซฮับอะฮ์ลุสสุนนะฮ์เองทั้งสิ้น  

เพราะพวกเขาได้อธิบายว่า  ความหมายหะดีษทั้งสองบทนั้นคือ  

พวกซุนนี่  หรือเรียกอย่างทางการว่า  อะฮ์ลุสสุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์


ซึ่งนั่นคืออุปนิสัยปกติของพวกเขาอยู่แล้วที่ชอบอ้างว่า ตนถูกและคนอื่นผิด



เพราะ "  ชีอะฮ์ "


คือคู่ปรับที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับอะฮ์ลุสสนะฮ์ตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาในอดีตจนปัจจุบัน  

อุละมาอ์สุหนี่จึงต้องใช้หะดีษเหล่านี้เป็นอาวุธปกป้องตัวเอง โดยมีผู้ปกครองรัฐในยุคนั้นให้การอุปถัมภ์พวกเขามาโดยตลอด.
  •  

L-umar


เพื่อทำให้เรื่องนี้แนบเนียนยิ่งขึ้น บางครั้งชาวอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ถึงกับกล้ามุสาใส่ท่านคอลีฟะฮ์อะลีว่า ท่านอะลีได้กล่าวหะดีษตำหนิชีอะฮ์ของท่าน

เพื่อพวกเขาจะได้เอามาเป็นหลักฐานสร้างความมั่นใจให้พวกพ้องของพวกเขาเอง

ทั้งๆที่หะดีษเหล่านี้มีความขัดแย้งและสับสน และเป็นหะดีษที่มิได้ถูกบันทึกอยู่ในตำราซิฮ๊าฮฺหรือมะซานีดที่เชื่อถือได้ของพวกเขา  

แต่ผู้ปกครองรัฐและอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ในสมัยก่อนมีอำนาจอยู่ในมือ พวกเขาจึงใช้หะดีษเก๊เหล่านั้นมาใช้อ้างอิงเพื่อให้ประชาชนเพื่อประณามชีอะฮ์

และนี่คือพฤติกรรมที่พวกวาฮาบีกำลังนำมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน.
  •  

L-umar



กลุ่มซุนนี่ต่างๆในอดีต (ฟิร็อก มาฎี – فرق الماضي )




นับได้ว่าการที่เศาะหาบะฮ์ทั้งหลายได้แยกย้ายไปอาศัยอยู่ตามหัวเมืองต่างๆหลังจากท่านรอซูล(ศ)วะฟาตแล้วนั้นคือ สาเหตุโดยตรงในการปรากฏกลุ่ม (ฟิรเกาะฮ์)ต่างๆขึ้นในสังคมมุสลิม

เศาะหาบะฮ์แต่ละคนต่างรายงานหะดีษและซุนนะฮ์นบีแตกต่างไปจากเศาะหาบะฮ์คนอื่น    

เนื่องจากบรรดาเศาะหาบะฮ์มิได้ใช้ชีวิตอยู่กับท่านรอซูล(ศ)เป็นประจำทุกวัน  พวกเขาแต่ละคนจะได้พบเจอท่านตามวาระเวลาที่ไม่แน่นอน จึงทำให้เศาะหาบะฮ์แต่ละคนได้รับการถ่ายทอดความรู้แตกต่างกันไป

ฉะนั้นแต่ละเมืองที่เศาะหาบะฮ์ไปอยู่ จึงปรากฏกลุ่มแนวคิดอิสลามบนพื้นฐานของหะดีษและซุนนะฮ์ที่เศาะหาบะฮ์เป็นผู้ถ่ายทอดให้ยึดถือเป็นอะกีดะฮ์อิสลาม ประชาชนแต่ละหัวเมืองจึงมีความรู้อิสลามผิดแผกแตกต่างกันไปจากเมืองอื่นๆนั่นเอง


เมื่อท่านนบี(ศ)วะฟาต  จะเห็นได้ว่ามุสลิมแตกออกเป็นสองกลุ่มชัดๆคือ

1.   กลุ่มที่ยอมมอบบัยอะฮ์ให้ท่านอบูบักรเป็นคอลีฟะฮ์  ซึ่งตอนนั้นคนกลุ่มนี้ยังไม่มีชื่อเรียก

2.   อีกกลุ่มหนึ่งไม่ยอมรับท่านอบูบักรเป็นคอลีฟะฮ์  แต่ถือว่าท่านอะลีคือคอลีฟะฮ์ที่ถูกต้อง  คนกลุ่มนี้มีชื่อว่า " ชีอะฮ์ อะลี "



ต่อจากนั้นได้ปรากฏกลุ่ม" ค่อวาริจญ์ "


และตามมาด้วยกลุ่ม  " มุอ์ตะซิละฮ์ "


ยุคที่ราชวงศ์อุมัยยะฮ์ปกครอง ปรากฏกลุ่มต่างๆดังต่อไปนี้

1.   บะเศาะรียะฮ์

2.   ฮานาฟียะฮ์

3.   มาลิกียะฮ์

4.   เอาซาอียะฮ์



ยุคที่ราชวงศ์อับบาซียะฮ์ปกครอง ปรากฏกลุ่มต่างๆดังต่อไปนี้

1.   ชาฟีอียะฮ์

2.   ซอฮิรียะฮ์

3.   อะชาอิเราะฮ์

4.   มาตูรีดียะฮ์


หลังจากยุคการปกครองของสองราชวงศ์นี้  กลุ่มของซุนนี่ยังได้ปรากฏขึ้นที่อันดาลุส  (สเปน) คือ กลุ่มหัซมียะฮ์

และกลุ่มอิบนุตัยมียะฮ์   ที่เมืองช่าม ซึ่งปรากฏในยุคการปกครองของพวกมัมลูกี
  •  

L-umar



ชีวประวัติกลุ่มของชาวซุนนี่ ในอดีต  


ความแตกแยกของพวกซุนนี่ในอดีตแบ่งออกเป็น 2  กลุ่มดังนี้คือ


1.   กลุ่มทางฟิกฮ์ และอะกีดะฮ์ (فرق الفقة والعقائد)

2.   กลุ่มทางรุว๊าต (การรายงานหะดีษ – فرق الرواة)
  •  

L-umar


อัลบะเศาะรียะฮ์  (البصرية )


ฮาซัน อัลบัศรี่  เกิดฮ.ศ. 21 มรณะ110รวมอายุ 89 ปี



           ฮาซัน อัลบัศรี่  ได้ยึดมัสญิดบัศเราะฮ์เป็นที่สอนหนังสือสำหรับเขา ในรูปแบบนั่งล้อมวงเรียน  โดยเขาได้ทำการตักเตือน  

สอนหิกมะฮ์ต่างๆ  ให้คำแนะนำ  ติลาวะฮ์กุรอ่าน  สอนเรื่องความสมถะ  อัคล๊าก(จรรยามารยาท)   และเขาได้ตำหนิการฝักใฝ่กิจการทางโลก
เขาสอนผู้คนให้ห่างไกลการเมืองการปกครอง   และออกห่างจากการตัดสินด้วยวิธีตรรกะและปรัชญา


ฮาซันบัศรี่ได้กระตุ้นให้ประชาชนอย่าเข้าไปข้องเกี่ยวกับการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์  และเรื่องสิทธิของอะฮ์ลุลบัยต์นบีที่ถูกละเมิดจากฝ่ายปกครองรัฐ


วันหนึ่งมีศิษย์ของเขาคนหนึ่งได้ไต่ถามเขาถึงฮุก่มของคนทำบาปใหญ่ว่า  บุคคลนั้นคือ  มุอ์มิน หรือ กาเฟ็ร ?

วาศิล  บินอะฏออ์ลูกศิษย์คนหนึ่งของฮาซันบัศรี่ได้ชิงตอบก่อนอาจารย์ว่า

صاحب الكبيرة في منزلة بين المنزلتين، أي بين الإيمان والكفر.

คนทำบาปใหญ่นั้นอยู่ในฐานะภาพระหว่างสองสถานะคือ ระหว่างอีหม่านกับกุโฟ้ร

ส่วนคำตอบของฮาซันบัศรี่ในเรื่องนี้ เขาถือว่า บุคคลใดทำบาปใหญ่คือ คนมุนาฟิก

ฮาซันบัศรี่ได้ให้คำตอบในเชิงปฏิเสธ เพราะเป้าหมายของผู้ถามเรื่องคนทำบาปใหญ่ในที่นี้นั้น มุ่งไปที่พวกนักปกครองแห่งราชวงศ์อุมัยยะฮ์


แนวคิดของฮาซัน อัลบัศรี่


1.   เชิญชวนให้ผู้คนมีความสมถะและอดทนต่อสิ่งที่ไม่พึงปรารานาต่างๆ

2.   ประนีประนอมอย่างสันติกับบรรดาผู้ปกครอง

3.   เผยแผ่วิชาความรู้ท่ามกลางหมู่มุสลิม

แนวคิดและกลุ่มของฮาซันบัศรี่ ตาบิอีผู้นี้ ไม่ค่อยเป็นที่นิยมแพร่หลายมากนักในหมู่อะฮ์ลุสสุนนะฮ์จึงค่อยๆจางหายไป  และก็ออกมาปรากฏขึ้นอีกในภายหลัง
  •  

L-umar



อัลอะห์น๊าฟ (الأحناف) หรือมัซฮับฮะนะฟี


อิมามอบูหะนีฟะฮฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ (ผู้ก่อตั้งมัซฮับหะนะฟี)

ชื่อเต็ม : อันนุอฺมาน บิน ษาบิต บิน ซูฏีย์

เกิด ฮ.ศ.80 (ค.ศ.699) ที่เมืองกูฟะฮฺ Kufa (ประเทศอิรัก)

เสียชีวิต ฮ.ศ.150 (ค.ศ.767) ที่เมืองบัฆดาด Baghdad (แบกแดด) ประเทศอิรัก

รวมอายุ  70  ปี


แนวคิดของซุนนี่กลุ่มนี้ตั้งอยู่บน

1.   กิตาบ
2.   ซุนนะฮ์
3.   อิจญ์ติฮ๊าด
4.   อัลเราะอ์ยุ (การใช้ความคิดเห็น )


ข้อแตกต่างของมัซฮับฮะนะฟีที่แตกต่างไปจากซุนนี่กลุ่มอื่นๆมีสังเขปดังนี้

1.   กิรออะฮ์ช๊าษ(การอ่านกุรอ่านที่ค้าน)กับสายรายงานอื่น ใช้เป้นหลักฐานอ้างอิงได้
2.   อนุญาติให้อ่านในนมาซ อื่นจากภาษาอาหรับได้
3.   สงสัยในหะดีษชนิดอาฮ๊าด
4.   อนุญาติให้เอาค่าจ้างต่อการสอนคัมภีร์กุรอ่านและการอะซานได้
5.   การนมาซญุมอะฮ์ในมัสญิดญามิ๊อฺในเมืองๆหนึ่งที่มีมากกว่าหนึ่งแห่ง ถือว่าถูกต้อง
6.   อนุญาตให้ทำวุฎุอ์กับนะบีซ(เบียร์)ได้
7.   ไม่อนุญาตให้คนมีญุนุบเดินผ่านไปในมัสญิดต่างๆ
8.   อนุญาตให้พวกมุชริกเข้ามาในมัสญิดต่างๆได้
9.   อนุญาติให้จ่ายซะกาตฟิตเราะฮ์และกัฟฟาเราะฮ์กับพวกยะฮู๊ดและนะซอรอได้
10.   อีหม่านความศรัทธานั้นจะไม่เพิ่มขึ้นหรือลดลง
11.   คนที่ถูกบังคับให้หย่า ถือว่าการหย่านั้นเกิดขึ้นจริง และอนุญาติ
12.   ทารกที่ดื่มน้ำนมร่วมกับทารกอื่นแม้เพียงหนึ่งหยด ทั้งสองหะร่ามที่จะสมรสกัน
13.   อนุญาติให้มุสลิมสังหารคนกาเฟ็รได้
14.   อนุญาติให้สตรีดำรงตำแหน่งหน้าที่ผู้พิพากษาได้

เหล่านี้คือแนวคิดของมัซฮับฮะนะฟีที่อะฮ์ลุสสุนนะฮ์กลุ่มอื่นมีความเห็นไม่ตรงกับพวกเขา


มัซฮับฮะนะฟีนับได้ว่าเป็นกลุ่มแรกๆที่ปรากฏตัวในแวดวงของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ ซึ่งในช่วงนั้นยังไม่ค่อยมีซุนนี่กลุ่มอื่นๆมาแข่งขันกับพวกเขา จึงทำให้คนกลุ่มนี้สามารถแพร่แนวคิดของตัวเองไปได้อย่างกว้างขวาง และกลายเป็นมัซฮับใหญ่มัซฮับหนึ่งของชาวซุนนี่

อิทธิพลของมัซฮับฮะนะฟีได้แพร่ขยายเข้าไปยังบ้านเมืองทางฝั่งตะวันออกทั้งหมด เริ่มจากที่ประเทศอิรัก  ตุรกี จนถึงเมืองจีน  


สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะพวกผู้ปกครองแห่งอาณาจักรออตโตมาน(อุษมานียะฮ์)มีความเลื่อมใสศรัทธาและปฏิบัติตามมัซฮับนี้ มันจึงกลายเป็นมัซฮับทางการ  และยังขยายตัวเข้าสู่เมืองช่าม(ซีเรีย)และมิศรี่(อียิปต์)อีกด้วย

ซึ่งทั้งสองประเทศนี้(คือซีเรียและอียิปต์) ถือได้ว่ามีอิทธิพลทำให้มัซฮับฮะนะฟีดำรงคงอยู่มาจนถึงวันนี้ได้นั่นเอง.
  •  

34 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้