Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

ธันวาคม 23, 2024, 04:44:41 หลังเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
  • สมาชิกทั้งหมด: 1,718
  • Latest: Haroldsmolo
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 3,703
  • หัวข้อทั้งหมด: 778
  • Online today: 72
  • Online ever: 200
  • (กันยายน 14, 2024, 01:02:03 ก่อนเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 14
Total: 14

15 ซุลฮิจญะฮ์ ฮ.ศ. 212 วิลาดัตอิม่ามอะลี อัลฮาดี

เริ่มโดย L-umar, พฤศจิกายน 19, 2009, 12:05:45 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar

  •  

L-umar



ท่านอิมามอะลี บุตรอิม่ามมุฮัมมัด

 
ท่านอิมาม อะลี อันนะกี (อ) เป็นอิมามท่านที่สิบแห่งมัซอับอะฮ์ลุลบัยต์

เกิดวันที่ 15  เดือนซุลฮิจญะฮ์   ฮิจเราะห์ศักราชที่  212  

ณ สถานที่แห่งหนึ่งนอกเมืองมะดีนะฮ์  

บิดาชื่อ  ท่านอิมาม มุฮัมมัด  ตะกี อัลญะวาด(อ)

มารดาชื่อ   ซะมานะฮ์  

 ฉายา   อันนะกี    และอัลฮาดีย์
         

ช่วงเวลาที่ท่านอะลีอัลฮาดีดำรงตำแหน่งผู้นำอยู่นั้น   ได้อยู่ร่วมกับกาหลิบแห่งราชวงศ์อับบาซียะฮ์ถึงหกคนคือ

1.   มุอ์ตะซิม บิลลาฮ์ น้อยชายของมะอ์มูน (ปกครองอยู่ช่วงปีฮ.ศ.ที่ 217-227)
2.   วาซิก บิลลาฮ์  บุตรของมุอ์ตะซิม (ปกครองอยู่ช่วงปีฮ.ศ. 224-232)
3.   มุตะวักกิล  บิลลาฮ์ น้องชายของวาซิก  (ปกครองอยู่ช่วงปี 232-248)
4.   มุนตะซิร บิลลาฮ์  บุตรชายของมุตะวักกิล (ปกครองอยู่ประมาณหกเดือน)  
5.   มุสตะอีน บิลลาฮ์  (ปกครองอยู่ช่วงปี 248-252)
6.   มุอ์ตัซ  บิลลาฮ์  บุตรชายอีกคนหนึ่ง  ของมุตะวักกิล (ปกครองอยู่ช่วงปี 252-255)



ท่านอิมามอะลี อันนะกี (อ) เสียชีวิตลงในปีฮิจเราะห์ศักราชที่ 254  ในขณะที่ท่านอายุประมาณ 41 ปี กับอีกไม่กี่เดือน  

รวมระยะเวลาที่ท่านดำรงตำแหน่งผู้นำได้ประมาณ 33 ปี  ร่างอันบริสุทธิ์ของท่านยังอยู่ที่บ้านของท่านเองในเมือง ซามาร่าอ์ หรือซะมัรรอ ประเทศอิรัก


บทบาทของท่านอิมามอะลี อันนะกี (อ)

             ท่านอิมามอะลี อันนะกี (อ) ดำรงตำแหน่งผู้นำในขณะที่ท่านอายุยังน้อยอยู่เหมือนกับอิม่ามมุฮัมมัดญะวาดบิดาของท่าน    แต่ปัญหาความสับสนในเรื่องอายุของอิมามอะลีฮาดี  ไม่มีหลงเหลืออยู่อีกในยุคของท่าน    เพราะว่าบรรดาชีอะฮ์อะลีได้เข้าใจในเรื่องนี้ดีแล้วในยุคของบิดาท่าน  การที่บิดาของท่านอิมามอะลี อันนะกี (อ)  ถูกลอบวางยาพิษจนเสียชีวิตจากมุอ์ตะซิม กาหลิบแห่งราชวงศือับบาซี ในขณะที่ท่านมีอายุเพียง 25 ปี ย่อมบ่งบอกได้เป็นอย่างดีว่า  สถานการณ์ในยุคนั้นเป็นอย่างไร ?
ซึ่งหลังจากนั้นเป็นต้นมา  บรรดาอิมามของแห่งอะฮ์ลุลบัยต์อยู่ในสถานการณ์เดียวกันหมายถึง ถูกบังคับขู่เข็ญ และถูกควบคุมตัวไว้อย่างใกล้ชิด  

บรรดาผู้ปกครองแห่งราชวงศ์อับบาซียะฮ์ได้ใช้นโยบายเดียวกับกาหลิบมะอ์มูนอับบาซี  ในการคุมตัวบรรดาอิมามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์ที่สืบเชื้อสายมาจากท่านอะลีกับท่านหญิงฟาติมะฮ์   ด้วยการเชิญแบบบังคับให้บรรดาอิมามออกจากเมืองมะดีนะฮ์ ซึ่งเป็นบ้านเกิดเมืองนอนซึ่งเป็นศูนย์กลางที่สำคัญของอะฮ์ลุลบัยต์นบีไปพำนักอยุ่ตามหัวเมืองที่กาหลิบกำหนดไว้  

ท่านอิมามอะลีอันนะกีได้ถูกอัลมุตะวักกิลอับบาซีเชิญตัวแบบบังคับให้ท่านออกจากเมืองมะดีนะฮ์เช่นกัน  การกระทำของฝ่ายผู้ปกครองอับบซียะฮ์นั้นย่อมบ่งบอกได้เป็นอย่างดีว่า พวกเขากังวลและระแวง ต่อการเคลื่อนไหวของท่านอิมามอะลีฮาดี  ฉะนั้นพวกเขาจีงต้องคุมตัวท่านไว้อย่างใกล้ชิด   พร้อมทั้งเป็นการปิดกั้นไม่ให้ท่านอิมามอะลีอัลฮาดีเคลื่อนไหวทางสังคมการเมืองได้อย่างสะดวก

             ในยุคสมัยของท่านอิมามอะลี  อันนะกี (อ)  นอกเหนือจากยุคการปกครองของอัลมุตะวักกิลอับบาซี  แรงบีบคั้นจากฝ่ายผู้ปกครองลดน้อยลง   แต่ถึงกระนั้นก็ตามท่านอิม่ามไม่มีอิสระในการแสดงบทบาททางสังคมอย่างเปิดเผย   ฉะนั้นท่านอิม่ามจึงต้องใช้วิธีการสื่อสัมพันธ์กับบรรดามิตรสหายและชีอะฮ์ของท่านโดย สานต่อจากบรรดาอิมามก่อนหน้าด้วย  การแต่งตั้งตัวแทนอิม่ามไว้ตามภูมิภาคต่างๆ ในอาณาจักรอิสลาม  เช่นใน   แบกแดด  มะดาอิน  อิรัก (กูฟะฮ์) เป็นภูมิภาคหนึ่ง แถบอะห์วาซ  และบัสเราะห์ เป็นอีกภูมิภาคหนึ่ง   ฮิญาซ เยเมน  และอียิปต์ ก็เป็นอีกภูมิภาคหนึ่งและในอีกหลายๆ หัวเมืองก็อยู่ในรูปแบบเช่นนี้เหมือนกัน  

ตัวแทน(นาอิบุลอิม่าม)เหล่านี้มีหน้าที่รวบรวมเงินทอง และทรัพย์สินที่เป็น ทรัพย์ซะกาต  ทรัพย์คุมซ์  เงินบริจาค(ซอดะเกาะฮ์)ให้แก่ท่านอิมามอะลีฮาดี พร้อมทั้งมีหน้าที่ตอบปัญหานิติศาสตร์อิสลาม(ฟิกฮ์)  หรือข้อข้องใจต่างๆ  ในด้านความเชื่อความศรัทธา(อะกีดะฮ์) หรือแม้กระทั่งอธิบายจุดยืนของท่านอิมามอะลีฮาดีต่อฝ่ายผู้ปกครองให้บรรดาชีอะฮ์ผู้ตามอะฮ์ลุลบัยต์นบีได้รับทราบ

             วิธีการแบบนี้  ถือเป็นการสร้างระบบในการสื่อสารและระบบการปกครองต่อบรรดาชีอะฮ์  แม้ว่าตัวท่านเองจะถูกควบคุมไว้ก็ตาม  ซึ่งวิธีการนี้เป็นการมอบอำนาจหน้าที่ให้แก่ตัวแทนของท่าน ในการกำหนดทิศทางการเคลื่อนไหวของบรรดาชีอะฮ์แบบเป็นระบบ  

นอกจากนี้ บรรดาตัวแทนอิม่ามยังมีบทบาทสำคัญในการชี้แจงและแนะนำถึงอิมามท่านต่อไป  พร้อมกับสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในแถบที่เขาเป็นตัวแทนกับท่านอิมามคนต่อไปอีกด้วย  ซึ่งบางครั้งอาจจะมีตัวแทนบางคนที่หันเหออกนอกลู่นอกทาง    ท่านอิมามก็จะแต่งตั้งตัวแทนคนใหม่ขึ้นแทนที่ สรุปแบบง่ายๆ ก็คือ  การสร้างเครือข่ายตั้วแทนขั้นนี้   ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่ง  ซึ่งประโยชน์ที่จะได้รับจากกลยุทธนี้  สามารถเห็นได้เป็นอย่างชัดในยุคต่อๆ มา

บทบาทที่เห็นได้อย่างชัดเจนอีกอย่างหนึ่งในยุคของท่านอิมามอะลีฮาดีคือ   การสร้างวัฒนธรรมในเรื่องของการอ่านดุอาอ์และซิยาเราะฮ์หลังจากยุคของท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ)    ท่านอิมามอะลีฮาดี(อ) มีโอกาสแสดงออกได้ถึงเรื่องการสร้างจิตวิญญาณได้อย่างเด่นชัด   ซึ่งถือได้ว่าเป็นการนำพาชีอะฮ์อะลีไปสู่เรื่องของจิตวิญญาณที่สูงส่ง  เท่ากับเป็นการสร้างบรรดาชีอะฮ์ให้ไปสู่ความสมบูรณ์แบบทุกๆ ด้าน  โดย ในตัวบทดุอาอ์เหล่านั้น นอกเหนือจากวิงวอนขอพรต่อพระผู้เป็นเจ้าแล้วยังได้ปลูกฝังถึงความสัมพันธ์ ระหว่างผู้คนทั้งหลายกับอะฮ์ลุลบัยต์นบี  กล่าวตอกย้ำถึงฐานะภาพที่แท้จริงของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ และสอนให้ต่อสู้และไม่ยอมจำนนต่อบรรดาผู้กดขี่ข่มเหง

             นอกเหนือจากนี้ ท่านอิมามอะลีฮาดียังได้แสดงออกถึงจุดยืนที่ต่อต้านบรรดาพวกฆุลาต(พวกที่เลยเถิดทั้งคำพูดและความเชื่อเกินกว่าที่บรรดาอิม่ามสั่งสอนไว้) อย่างชัดแจ้ง   เพราะว่า ในยุคนั้น พวกฆุลาตฉวยโอกาสที่ท่านอิมามอะลีฮาดีถูกคุมตัวอย่างใกล้ชิดจากฝ่ายผู้ปกครองอับบาซี   พวกเขาจึงโฆษณาชวนเชื่อแบบบิดเบือนในเรื่องราวของท่านอิมามให้เห็นอยู่ในสังคม   ดังนั้นท่านอิมามจึงกล่าวประณามพวกเขาในทุกครั้งที่ท่านมีโอกาส  พร้อมทั้งต่อต้านความคิดอย่างรุนแรง  โดยท่านอิมามได้ตอกย้ำเรื่องให้ใช้อัลกุรอานเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินความคิด  ความเชื่อและการปฏิบัติต่าง ๆ คือหากว่ามีใครกล่าวอ้าง คำพูดของท่านอิมามขึ้นมา ให้นำสิ่งนั้นไปเปรียบเทียบดูกับคัมภีร์อัลกุรอาน  หากว่ามันไม่สอดคล้องกับคัมภีร์อัลกุรอานก็ให้ละทิ้งคำดังกล่าวนั้นทันที  

ฉะนั้นวิธีการนี้จึงสามารถที่จะคุ้มครองชีอะฮ์อะลีไม่ให้ถูกพวกฆุลาตหลอกลวงไปเป็นพวกได้
  •  

L-umar


การนำเสนอเรื่องอะกีดะฮ์อิสลามและหลักปฏิบัติอิสลามของสัยยิดอับดุลอะซีมอัลฮาซานี  ให้ท่านอิม่ามอะลี บินมุฮัมมัดอัลฮาดี ตรวจสอบ



عَنْ عَبْدِ الْعَظِيمِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ الْحَسَنِيُّ، قاَلَ : دَخَلْتُ عَلَى سَيِّدِيْ عَلِىِّ بْنِ مُحَمَّدِ بْنِ عَلِىِّ بْنِ مُوسَى بْنِ جَعْفَرِ بْنِ مُحَمَّدِ بْنِ عَلِىِّ بْنِ الْحُسَيْنِ بْنِ عَلِىِّ بْنِ أَبِى طَالِبٍ عَلَيْهِمُ السَّلاَمِ
 
สัยยิดอับดุลอะซีมบินอับดุลลอฮ์ (บินอะลีบินฮาซันบินเซดบินอิม่ามฮาซัน)อัลฮาซานีได้เล่าว่า :

ข้าพเจ้าได้เข้ามาพบสัยยิดของข้าพเจ้าคือ อิม่ามอะลี บินมุฮัมมัด(อัลฮาดีอิม่ามที่ 10 ) อะลัยฮิมุสสลาม

فَلَماَّ بَصُرَ بِيْ قاَلَ لِيْ: مَرْحَبًا بِكَ يَا أَبَا الْقَاسِمِ أَنْتَ وَلِيُّناَ حَقاًّ
 
เมื่ออิม่ามฮาดีมองเห็นข้าพเจ้า ท่านได้กล่าวกับข้าพเจ้าว่า :
ยินดีต้อนรับ โอ้อบุล กอซิม  ท่านคือผู้มีวิลายัต(ความจงรักภักดี)ต่อพวกเราอย่างแท้จริง

قاَلَ:فَقُلْتُ لَهُ: ياَبْنَ رَسُوْلِ اللهِ إِنِّيْ أُرِيْدُ أَنْ أَعْرِضَ عَلَيْكَ دِيْنِيْ، فَإِنْ كاَنَ مَرْضِياًّ أَثْبُتُ عَلَيْهِ حَتَّى أَلْقَى اللهَ عَزَّ وَجَلَّ

อับดุลอะซีมเล่าว่า : ข้าพเจ้าได้กล่าวกับอิม่ามฮาดีว่า :
โอ้บุตรของท่านรอซูลุลลอฮ์ แท้จริงข้าพเจ้าต้องการนำเสนอดีนที่ข้าพเจ้านับถือให้ท่าน(พิจารณา)  ถ้าหากได้รับความพอใจ(จากท่าน) ข้าพเจ้าก็จะยึดมั่นบนดีนนั้นอย่างมั่นคง จนข้าพเจ้าจะได้กลับไปพบกับอัลลอฮ์ อัซซะวะญัล

فَقاَلَ: هاَتِ ياَ أَباَ الْقاَسِمِ

อิม่ามฮาดีกล่าวว่า : โอ้อบุลกอซิม  จงนำเสนอมาซิ

فَقُلْتُ: إِنِّيْ أَقُوْلُ:إِنَّ اللهَ تَباَرَكَ وَتَعاَلَى وَاحِدٌ، لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ
 
ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า : ข้าพเจ้าเชื่อว่า แท้จริงอัลเลาะฮ์ (ตะบาร่อกะวะตะอาลา) ทรงเอกะ   ไม่มีสิ่งใดเสมอเสมอเหมือนพระองค์  

خاَرِجٌ عَنِ الْحَدَّيْنِ حَدُّ الْإِبْطاَلِ وَ حَد ُّالتَّشْبِيْهِ
 
(อัลลอฮ์)ทรงอยู่นอกขอบเขตทั้งสองคือ  
1,ฮัดดุล อิบฏ็อล( คือการปฏิเสธซิฟัตอัลลอฮ์เช่นพวกมุอัฏฏิละฮ์) และ
2,ฮัดดุล ตัชบี๊หฺ(คือการนำอัลลอฮ์ไปเปรียบเทียบกับมัคโล๊กที่พระองค์สร้าง)    

وَإِنَّهُ لَيْسَ بِجِسْمٍ وَلاَ صُوْرَةٍ  وَلاَ عَرَضٍ وَلاَ جَوْهَرٍ

แท้จริงอัลลอฮ์ไม่มีร่างกาย(ญิสมุน) ไม่มีรูปลักษณ์(ซูเราะตุน)
ไม่ใช่ไม่ใช่วัตถุและไม่มีมิติและเวลา(อะร็อฎและเญาฮัร)

بَلْ هُوَ مُجَسِّمُ الْأَجْساَمِ، وَمُصَوِّرُ الصُّوَرِ
 
แต่ทว่าอัลลอฮ์คือผู้ทรงสร้างเรือนร่างทั้งหลาย  และผู้ทรงสร้างรูปลักษณ์ทั้งหลาย

وَخاَلِقُ الْأَعْرَاضِ وَالْجَوَاهِرِ، وَرَبُّ كُلِّ شَيْءٍ وَماَلِكُهُ وَجاَعِلُهُ وَمُحْدِثُهُ

และทรงเป็นผู้ทรงสร้างอะร็อฎและเญาฮัร(วัตถุและมิติกาลเวลา)ทั้งหลาย และอัลลอฮ์ทรงเป็นพระผู้อภิบาลทุกสรรพสิ่ง  คือผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์ทุกสิ่ง  คือผู้บันดาลสร้างทุกสิ่งและคือผู้ให้กำเนิดสิ่งใหม่ทุกสิ่ง

وَإِنَّ مُحَمَّداً عَبْدُهُ وَرَسُوْلُهُ خاَتَمُ النَّبِيِّيْنَ فَلاَ نَبِيَّ بَعْدَهُ إِلَى يَوْمِ الْقِياَمَةِ

และแท้จริงนบีมุฮัมมัด(ศ)คือบ่าวของพระองค์ เป็นรอซูลของพระองค์ และเป็นศาสดาคนสุดท้าย ดังนั้นจะไม่มีนบีเกิดขึ้นหลังจากเขาอีกแล้วตราบจนถึงวันกิยามะฮ์

وَإِنَّ شَرِيْعَتَهُ خَاتَمَةُ الشَّرَائِعِ فَلاَ شَرِيْعَةَ بَعْدَهاَ إِلَى يَوْمِ الْقِياَمَةِ

และแท้จริงชะรีอะฮ์(หลักธรรม)ของนบีมุฮัมมัดคือชะรีอัตสุดท้าย แล้วจะไม่มีชะรีอะฮ์ใด(มาประกาศ)หลังจากชะรีอัต(อิสลามนี้)อีกแล้วตราบจนถึงวันกิยามะฮ์  

وَأَقُوْلُ : إِنَّ الْإِماَمَ وَالْخَلِيْفَةَ وَوَلِيَّ الْأَمْرِ مِنْ بَعْدِهِ أَمِيْرُ الْمُؤْمِنِيْنَ عَلِيُّ بْنُ أَبِي طَالِبٍ ثُمَّ الْحَسَنُ، ثُمَّ الْحُسَيْنُ، ثُمَّ عَلِيُّ بْنُ الْحُسَيْنِ، ثُمَّ مُحَمَّدُ بْنُ عَلِيٍّ، ثُمَّ جَعْفَرُ بْنُ مُحَمَّدٍ ثُمَّ مُوْسَى بْنُ جَعْفَرٍ، ثُمَّ عَلِيُّ بْنُ مَوْسَى، ثُمَّ مُحَمَّدُبْنُ عَلِيٍّ ثُمَّ أَنْتَ ياَ مَوْلاَيَ

และข้าพเจ้าขอกล่าวว่า : แท้จริงอิม่ามผู้นำและคอลีฟะฮ์(ที่สืบต่อจากนบีมุฮัมมัด) และเป็นวะลียุลอัมริ(ผู้ปกครองดูแล)คือ 1,ท่านอมีรุลมุอ์มินีน อะลี บินอบีตอลิบ(อ) ถัดมาคือ2,อัลฮาซัน 3,อัลฮุเซน 4,อะลี บินฮุเซน 5,มุฮัมมัด บินอะลี อัลบาเก็ร 6,ญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด อัศ-ศอดิก 7, มูซา บินญะอ์ฟัร 8,อะลี บินมูซา 9,มุฮัมมัด บินอะลี และคนที่ 10 และถัดมาคือท่าน(หมายถึงอิม่ามอะลี บินมุฮัมมัดอัลฮาดี) โอ้เมาลาของข้าพเจ้า

فَقاَلَ عَلَيْهِ السَّلاَمِ : وَمَنْ بَعْدِيَ الْحَسَنُ ابْنِي، فَكَيْفَ لِلناَّسِ بِالْخَلَفِ مِنْ بَعْدِهِ

อิม่ามอัลฮาดีจึงกล่าวว่า : และคนที่ 11 หลังจากข้าพเจ้าคืออัลฮาซัน(อัลอัสการี) บุตรชายของข้าพเจ้า แล้วจะเป็นอย่างไรสำหรับประชาชนเกี่ยวกับผู้สืบทอด(ตำแหน่งอิม่ามคนที่ 12 ) ต่อจากเขา(คือฮาซัน อัสการี่) ?

قاَلَ : فَقُلْتُ : وَكَيْفَ ذَاكَ ياَ مَوْلاَيَ ؟

อับดุลอะซีมเล่าว่า : ข้าพเจ้าถามว่า : โอ้เมาลาของข้าพเจ้า มันเป็นอย่างไรหรือครับ ?

قاَلَ : لِأَنَّهُ لاَ يُرَى شَخْصُهُ وَلاَ يَحِلُّ ذِكْرُهُ بِاسْمِهِ حَـتَّى يَخْرُجَ فَيَمْلَأُ الْأَرْضَ قِسْطًا وَعَدْلًا كَمَا مُلِئَتْ جَوْرًا وَظُلْمًا

อิม่ามอัลฮาดีตอบว่า : เพราะว่าเขา(อิม่ามคนที่12) จะไม่มีใครได้เห็นตัวเขา และก็ไม่อนุญาติให้เอ่ยถึงเขาด้วยชื่อจริงของเขา จนกว่าเขาจะปรากฏตัวออกมา แล้วเขาจะทำให้โลกเต็มเปี่ยมด้วยความเที่ยงธรรมและความยุติธรรม เหมือนดั่งที่มันเคยเต็มไปด้วยความอธรรมและการกดขี่

قاَلَ: فَقُلْتُ: أَقْرَرْتُ، وَأَقُوْلُ إِنَّ وَلِيَّهُمْ وَلِيُّ اللهِ، وَعَدُوَّهُمْ عَدُوُّ اللهِ ، وَطاَعَتَهُمْ طاَعَةُ اللهِ ، وَمَعْصِيَتَهُمْ مَعْصِيَةُ اللهِ

อับดุลอะซีมเล่าว่า : ข้าพเจ้ากล่าวว่า : ข้าพเจ้าขอยืนยัน(ต่อสิ่งที่กล่าวมา)  และข้าพเจ้าขอกล่าวว่า : แท้จริงวะลี(คนรัก)ของพวกเขาคือวะลีของอัลลอฮ์  และศัตรูของพวกเขาคือศัตรูของอัลลอฮ์ การตออัต(เชื่อฟัง)พวกเขาคือการตออัตต่ออัลลอฮ์และการไม่เชื่อฟังพวกเขาคือการขัดคำสั่งต่ออัลลอฮ์

وَأَقُوْلُ: إِنَّ الْمِعْرَاجَ حَقٌّ ، وَالْمَسْأَلَةَ فِي الْقَبْرِ حَقٌّ ، وَإِنَّ الْجَنَّةَ حَقٌّ ، وَإِنَّ النَّارَ حَقٌّ ، وَالصِّرَاطَ حَقٌّ ، وَالْمِيْزَانَ حَقٌّ ، وَأَنَّ السَّاعَةَ آتِيَةٌ لاَ رَيْبَ فِيهَا ، وَأَنَّ اللَّهَ يَبْعَثُ مَنْ فِى الْقُبُورِ

และข้าพเจ้าเชื่อว่า : แท้จริงการขึ้นเมี๊ยะอ์รอจญ์ของนบีนั้นเป็นเรื่องจริง, การสอบถามในหลุมนั้นเป็นจริง, สวรรค์และนรกนั้นมีจริง, สะพานศิร็อฏมีจริง, มีซานตราชั่งความดีความชั่วนั้นมีจริง,วันอวสานนั้นจะต้องเกิดขึ้นแน่อย่างไม่ต้องสงสัยและแท้จริงอัลลอฮ์จะให้ผู้ที่อยู่ในหลุมฝังศพฟื้นขึ้นมา

وَأَقُوْلُ: إِنَّ الْفَرَائِضَ الْوَاجِبَةَ بَعْدَ الْوِلاَيَةِ الصَّلاَةُ، وَالزَّكاَةُ، وَالصَّوْمُ، وَالْحَجُّ، وَالْجِهاَدُ، وَالْأَمْرُ بِالْمَعْرُوْفِ وَالنَّهْيُ عَنِ الْمُنْكَرِ

และข้าพเจ้าเชื่อว่า :  แท้จริงฟัรฎูที่เป็นวาญิบ(ต้องปฏิบัติ) หลังจากเรื่อง 1,วิลายะฮ์ (ตรงข้ามคือ2,บะรออะฮ์) คือ 3, นมาซวาญิบ 4, จ่ายซะกาต (และ5,จ่ายคุมส์ข้อปลีกย่อยของซะกาต) 6,ถือศีลอด 7, ทำฮัจญ์  8,ญิฮ๊าด 9,แนะนำให้ทำดีและ10,ห้ามปรามมิให้ทำชั่ว

فَقاَلَ عَلِيُّ بْنُ مُحَمَّدٍ عَلَيْهِماَ السَّلاَمِ : ياَ أَباَ الْقاَسِمِ هَذَا وَاللهِ دِيْنُ اللهِ الَّذِي ارْتَضاَهُ لِعِباَدِهِ، فاَثْبُتْ عَلَيْهِ، ثَبَّتَكَ اللهُ بِالْقَوْلِ الثاَّبِتِ فِي الْحَياَةِ الدُّنْياَ وَفِي الْآخِرَةِ

อิม่ามอะลีบินมุฮัมมัดจึงกล่าวว่า : โอ้อบุลกอสิมเอ๋ย ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ว่า นี่คือดีนของอัลลอฮ์ที่พระองค์พอพระทัยต่อมันสำหรับปวงบ่าวของพระองค์ ดังนั้นขอให้เจ้าจงยึดมั่นไว้ให้มั่นคง ขออัลลอฮ์โปรดทำให้เจ้ามีความมั่นคงต่อคำพูดอันมั่นคงนี้ทั้งชีวิตในดุนยานี้และอาคิเราะฮ์ด้วยเถิด.

หนังสือ
อัต-เตาฮีด โดยเชคศอดูก กิตาบอัตเตาฮีด วัตตัชเบี๊ยะห์ หน้า 81 หะดีษที่ 37





สรุป      หะดีษนี้สัยยิดอับดุลอะซีมได้นำเสนอหลักความเชื่อไว้ดังนี้


หนึ่ง – เตาฮีด

แท้จริงอัลเลาะฮ์ (ตะบาร่อกะวะตะอาลา) ทรงเอกะ   ไม่มีสิ่งใดเสมอเสมอเหมือนพระองค์  
(อัลลอฮ์)ทรงอยู่นอกขอบเขตทั้งสองคือ


สอง – ซิฟาตุลเลาะฮ์ (คุณลักษณะที่สมบูรณืของอัลลอฮ์)  

1,ฮัดดุล อิบฏ็อล( คือการปฏิเสธซิฟัตอัลลอฮ์เช่นพวกมุอัฏฏิละฮ์) และ
2,ฮัดดุล ตัชบี๊หฺ(คือการนำอัลลอฮ์ไปเปรียบเทียบกับมัคโล๊กที่พระองค์สร้าง)    
อัลลอฮ์ไม่มีร่างกาย(ญิสมุน) ไม่มีรูปลักษณ์(ซูเราะตุน)
อัลลอฮ์ไม่ใช่ไม่ใช่วัตถุและไม่มีมิติและเวลา(อะร็อฎและเญาฮัร)
อัลลอฮ์คือผู้ทรงสร้างเรือนร่างทั้งหลาย  และผู้ทรงสร้างรูปลักษณ์ทั้งหลาย
อัลลอฮ์ทรงเป็นผู้ทรงสร้างวัตถุและมิติกาลเวลาทั้งหลาย
อัลลอฮ์ทรงเป็นพระผู้อภิบาลทุกสรรพสิ่ง
อัลลอฮ์คือผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์ทุกสิ่ง
อัลลอฮ์คือผู้บันดาลสร้างทุกสิ่ง
และอัลลอฮ์คือผู้ให้กำเนิดสิ่งใหม่ทุกสิ่ง


สาม - นุบูวะฮ์

และแท้จริงนบีมุฮัมมัด(ศ)คือบ่าวของพระองค์ เป็นรอซูลของพระองค์ และเป็นศาสดาคนสุดท้าย ดังนั้นจะไม่มีนบีเกิดขึ้นหลังจากเขาอีกแล้วตราบจนถึงวันกิยามะฮ์
ชะรีอะฮ์(หลักธรรม)ของนบีมุฮัมมัดคือชะรีอัตสุดท้าย แล้วจะไม่มีชะรีอะฮ์ใด(มาประกาศ)หลังจากชะรีอัต(อิสลามนี้)อีกแล้วตราบจนถึงวันกิยามะฮ์


สี่- อิมามะฮ์  

อิม่ามผู้นำและคอลีฟะฮ์ที่สืบต่อจากนบีมุฮัมมัด และเป็นวะลียุลอัมริ(ผู้ปกครองดูแล)คือ
1,ท่านอมีรุลมุอ์มินีน อะลี บินอบีตอลิบ(อ)
2,อัลฮาซัน บินอะลี
3,อัลฮูเซน บินอะลี
4,อะลี บินฮูเซน
5,มุฮัมมัด บินอะลี อัลบาเก็ร
6,ญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด อัศ-ศอดิก
7, มูซา บินญะอ์ฟัร
8,อะลี บินมูซา
9,มุฮัมมัด บินอะลี
10 อะลี บินมุฮัมมัด อัลฮาดี
11,อัลฮาซัน อัลอัสการี
12, อิม่ามอัลมะฮ์ดี บินฮาซัน อัลอัสการี

ซึ่งอิม่ามคนที่12 นี้จะไม่มีใครได้เห็นตัวเขา และก็ไม่อนุญาติให้เอ่ยถึงเขาด้วยชื่อจริงของเขา จนกว่าเขาจะปรากฏตัวออกมา แล้วเขาจะทำให้โลกเต็มเปี่ยมด้วยความเที่ยงธรรมและความยุติธรรม เหมือนดั่งที่มันเคยเต็มไปด้วยความอธรรมและการกดขี่
อับดุลอะซีมกล่าวว่า : ข้าพเจ้าขอยืนยันต่อสิ่งที่กล่าวมา  


ห้า - วันกิยามะฮ์

การขึ้นเมี๊ยะอ์รอจญ์ของนบีนั้นเป็นเรื่องจริง,
การสอบถามในหลุมนั้นเป็นจริง,
สวรรค์และนรกนั้นมีจริง,
สะพานศิร็อฏมีจริง,
มีซานตราชั่งความดีความชั่วนั้นมีจริง,
วันอวสานนั้นจะต้องเกิดขึ้นแน่อย่างไม่ต้องสงสัย
แท้จริงอัลลอฮ์จะให้ผู้ที่อยู่ในหลุมฝังศพฟื้นขึ้นมา


และสัยยิดอับดุลอะซีมได้นำเสนอหลักปฏิบัติไว้ดังนี้

แท้จริงฟัรฎู หน้าที่อันเป็นวาญิบที่จะต้องปฏิบัติคือ

1,วิลายะฮ์ คือ แสดงความจงรักภักดีต่ออะฮ์ลุลบัยต์นบีออกมาในเชิงรูปธรรม และสิ่งตรงกันข้ามคือบะรออะฮ์หมายถึงจะไม่ข้องเกี่ยวต่ออริศัตรูของอะฮ์ลุลบัยต์
2, นมาซวาญิบ
3, จ่ายทานซะกาต และจ่ายคุมส์
4,ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน
5, ประกอบพิธีฮัจญ์  
6,ญิฮ๊าด เสียสละชีวิตทรัพย์สินในหนทางของอัลลอฮ์
7,แนะนำผู้คนให้กระทำดี
8,ห้ามปรามผู้คนมิให้กระทำชั่ว

อิม่ามอะลีบินมุฮัมมัดจึงกล่าวว่า :

นี่คือดีนของอัลลอฮ์ที่พระองค์พอพระทัยต่อมันสำหรับปวงบ่าวของพระองค์ ดังนั้นขอให้เจ้าจงยึดมั่นไว้ให้มั่นคง ขออัลลอฮ์โปรดทำให้เจ้ามีความมั่นคงต่อคำพูดอันมั่นคงนี้ทั้งชีวิตในดุนยานี้และอาคิเราะฮ์ด้วยเถิด.
  •  

14 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้