Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

เมษายน 27, 2024, 05:02:30 หลังเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 2,625
  • หัวข้อทั้งหมด: 650
  • Online today: 103
  • Online ever: 153
  • (เมษายน 26, 2024, 05:40:09 ก่อนเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 65
Total: 65

7 ซุลฮิจญะฮ์ ฮ.ศ. 114 ชะฮาดัตอิม่ามมุฮัมมัดบากิร

เริ่มโดย L-umar, พฤศจิกายน 19, 2009, 11:58:32 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar


7  ซุลฮิจญะฮ์  ฮ.ศ. 114  ชะฮาดัตอิม่ามมุฮัมมัด บินอะลีบินฮูเซน


สายรายงานหะดีษทของอะฮ์ลุลบัยต์นบีมุฮัมมัด(อ)สืบไปถึงท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)อย่างไร  



หะดีษของอิม่ามมุฮัมมัดบาเก็ร(อ)

อิม่ามญะอ์ฟัร อัศศอดิกบุตรอิม่ามมุฮัมมัดบาเก็ร(อปกล่าวว่า


حَدِيثِي حَدِيثُ أَبِي وَ حَدِيثُ أَبِي حَدِيثُ جَدِّي وَ حَدِيثُ جَدِّي حَدِيثُ الْحُسَيْنِ وَ حَدِيثُ الْحُسَيْنِ حَدِيثُ الْحَسَنِ وَ حَدِيثُ الْحَسَنِ حَدِيثُ أَمِيرِ الْمُؤْمِنِينَ ( عليه السلام ) وَ حَدِيثُ أَمِيرِ الْمُؤْمِنِينَ حَدِيثُ رَسُولِ اللَّهِ ( صلى الله عليه وآله ) وَ حَدِيثُ رَسُولِ اللَّهِ قَوْلُ اللَّهِ عَزَّ وَ جَلَّ .      
الكافي ج 1  ص 53  ح : 14


ท่านอิม่ามศอดิก(อ.) กล่าวว่า :

หะดีษของฉันคือ หะดีษของบิดาฉัน (คืออิม่ามบาเก็ร), หะดีษของบิดาฉันคือ หะดีษของปู่ฉัน (คืออิม่ามอะลี บินฮูเซน), หะดีษของปู่ฉันคือหะดีษของท่านอิม่ามฮูเซน, หะดีษของท่านอิม่ามฮูเซนคือหะดีษของท่านอิม่ามฮาซัน, หะดีษของท่านอิม่ามฮาซันคือหะดีษของท่านอิม่ามอมีรุลมุอ์มินีน, หะดีษของท่านอิม่ามอมีรุลมุอ์มิ นีนคือ คำพูดของท่านรอซูลุลลอฮ์ และคำพูดของท่านรอซูลุลลอฮ์คือ พระดำรัสของอัลลอฮ์ อัซซะวะญัล        


สถานะหะดีษ : มุวัษษัก  

ดูหนังสือ อัลกาฟี โดยเชคกุลัยนี  เล่ม 1 : 52 หะดีษ  7



อธิบาย

1.   หะดีษของท่านอิม่ามญะอ์ฟัรศอดิกคือ หะดีษของท่านอิม่ามมุฮัมมัดบาเก็ร
2.   หะดีษอิม่ามมุฮัมมัดบาเก็รคือ หะดีษของท่านอิม่ามอะลี บุตรของฮูเซน
3.   หะดีษของท่านอิม่ามอะลีบินฮุเซนคือ หะดีษของท่านอิม่ามฮูเซน
4.   หะดีษของท่านอิม่ามฮูเซนคือ หะดีษของท่านอิม่ามฮาซัน  
5.   หะดีษของท่านอิม่ามฮาซันคือ หะดีษของท่านอิม่ามอมีรุลมุอ์มินีน
6.   หะดีษของท่านอิม่ามอมีรุลมุอ์มินีนคือ คำพูดของท่านรอซูลุลลอฮ์  
7.   คำพูดของท่านรอซูลุลลอฮ์คือ พระดำรัสของอัลลอฮ์  ตะอาลา
ด้วยเงื่อนที่ว่า สายรายงานหะดีษต้องอยู่ในระดับที่เชื่อถือได้  
  •  

L-umar

อิม่าม มุฮัมมัด อัลบาเก็ร  อิม่ามท่านที่ห้า แห่งมัซฮับอะฮ์ลุลบัยต์


บิดาชื่อ  อิม่ามอะลีซัยนุลอาบิดีน บุตรอิม่ามฮูเซน บุตรอิม่ามอะลี บุตรอบูตอลิบ

มารดาชื่อ  อุมมุอับดุลลอฮ์ ฟาติมะฮ์ บุตรีของอิม่ามฮาซัน บุตรอิม่ามอะลี
ฉายา     อบูญะอ์ฟัร  (บิดาของญะอ์ฟัร ) และอื่นๆ
นามแฝง   อัลบาเกร  บากิรุลอุลูม อัชชากิร อัลฮาดี และอื่นๆ


เกิดวันที่  1   เดือนรอญับ ปีฮิจเราะฮ์ที่ 57    ที่เมืองมะดีนะฮ์


ภรรยา

1.   อุมมุฟัรวะฮ์  บินติกอสิม
2.   อุมมุหะกีม บินติอุสัยดฺ อัษษะก่อฟียะฮ์ และทาสีอีกสองคน


บุตร

1.   อิม่ามศอดิก
2.   อับดุลลอฮ์
3.   อิบรอฮีม
4.   อุบัยดุลลอฮ์
5.   อะลี
6.   ซัยนับ
7.   อุมมุสะละมะฮ์


รวมอายุได้ 57  ปี

ระยะเวลาดำรงตำแหน่งผู้นำ 19  ปี




ด้วยเหตุที่มารดาของอิม่ามบาเกรคือบุตรีของท่านอิมามฮาซัน(อ) ฉะนั้นอิมามบาเก็ร(อ) จึงเป็นคนแรกของอะฮ์ลุลบัยต์นบี  ที่ทั้งฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดามาจากลูกหลานของท่านหญิงฟาติมะฮ์บุตรีของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ)


ในยุคที่ท่านอิมามบาเก็รดำรงตำแหน่งผู้นำ  ท่านได้อยู่ร่วมในยุคสมัยของกษัตริย์ห้าคนจากราชวงศ์อุมัยยะฮ์คือ

1.   วะลีด บินอับดุลมะลิก (ปกครองในปี ฮิจเราะฮ์ที่ 86-96)
2.   สุลัยมาน บินอับดุลมะลิก (ปกครองในปีฮิจเราะฮืที่ 96-99)  
3.   อุมัร  บินอับดุลอะซีซ (ปกครองในปีฮิจเราะฮ์ที่ 99-101)  
4.   ยะซีด บินอับดุลมะลิก (ปกครองในช่วงปีฮิจเราะฮ์ที่ 101-105) และ
5.   ฮิช่าม บินอับดุลมาลิก (ปกครองในช่วงปีฮิจเราะฮ์ที่ 105-125)

   
บทบาทของท่านอิมามมุฮัมมัด บาเก็ร (อ)



บทบาทที่โดดเด่นของท่านอิมามบาเกร (อ) ในยุคที่ท่านอยู่ในฐานะของผู้นำแห่งอะฮ์ลุลบัยต์นบีคือ    การวางรากฐานทางวิชาการให้แก่โลกอิสลาม   โดยท่านมองว่าสิ่งดีที่สุดสำหรับสถานการณ์ในยุคสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งผู้นำอยู่นั้น  เต็มไปด้วยการกดขี่ข่มเหงจากผู้ปกครองแห่งราชวงศ์อุมัยยะฮ์
การนำเสนอวิชาการที่แท้จริงของอิสลามและท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อล) เข้าสู่สังคมในยุคนั้น  ซึ่งเป้าหมายที่ท่านอิมามบาเกร ได้วางรากฐานไว้ ถึงจุดสูงสุดในยุคสมัยของบุตรชายของท่านเอง  ซึ่งก็คือ ท่านอิมาม ญะอ์ฟัร  อัศศอดิก(อ)

            ชื่อเสียงในด้านความรู้และวิชาการต่างๆ ของท่านอิม่ามบาเกรได้ถูกกล่าวถึงในตำรับตำราด้านประวัติศาสตร์ในยุคแรกสามารถยืนยันได้เป็นอย่างดี

หรือแม้แต่นักวิชาการในยุคกลางของอิสลาม ที่เป็นนักวิชาการของฝ่ายอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ด้วยซ้ำ (ในศตวรรษที่เจ็ด แปด และเก้าของฮิจเราะห์ศักราช) ก็ยังกล่าวถึงในเรื่องนี้  ดังเช่น  

อิบนุฮะญัร อัลฮัยษะมี อิบนุญุวัยซีย์ ที่กล่าวถึงว่า นักวิชาการอื่นที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น  เมื่อเผชิญหน้ากับท่านอิมามบาเกร (อ) เหมือนกับเด็กน้อยที่อยู่ต่อหน้าอาจารย์ที่ยิ่งใหญ่ ที่นอบนอบถ่อมตนเพื่อรอคอยการสั่งสอนอิสลามจากท่าน  จากชื่อเสียงในเรื่องความรู้ที่ท่านมี  จึงมีการขนานนามให้กับท่านว่า \\\" บากิรุล อุลูม \\\"  ซึ่งหมายถึงผู้ตำน้ำแห่งคลังแห่งวิชาการที่พุ่งทะลักออกมา

            สิ่งที่ท่านอิมามบาเกร  (อ) ได้ทำควบคู่กับการวางรากฐานวิชาการอิสลามก็คือ  การสร้างบุคลากรที่ทรงคุณค่าในด้านวิชาการสาขาต่างๆ หรือกล่าวแบบง่ายๆ คือ  ผลิตลูกศิษย์ที่มีคุณภาพ ทางด้านวิชาการขึ้นมาในสังคมมุสลิม  เพื่อนำเสนอวิทชาการเหล่านั้นให้แก่ผู้คนแทนท่านอีกทอดหนึ่ง และอีกประการหนึ่ง พวกเขาเหล่านั้นเป็นผู้อธิบายถึงมุมมองความคิดของอิมามบาเกร  ไม่ว่าจะเป็นในด้านหลักศรัทธา (อะกีดะห์)  จริยศาสตร์ (อัคลาก)  หรือบทบัญญัติอิสลาม (ฟิกฮ์)  บรรดาลูกศิษย์ของท่านที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นได้แก่  
ท่านซุรอเราะฮ์,  มะอ์รูฟ  อิบนุคัรบูว,  อะบูบะซีร อะซะดี,  บุรัยด์  บินมุอาวิยะฮ์,  มุฮัมมัด บิน มุสลิม และ ฟุเดล บินยะซีร

            การวางรากฐานทางด้านวิชาการและการสร้างทรัพยากรบุคคลที่ทรงคุณธรรม  เป็น เหตุสำคัญที่ทำให้มัซฮับอะฮ์ลุลบัยต์แข็งแกร่งขึ้นพร้อมกันในทุกๆ ด้าน  ซึ่งบทบาทที่ท่านอิมามบาเกรได้แสดงออกในยุคของท่าน ถือเป็นสิ่งอันทรงคุณค่าอย่างมหาศาล

            บทบาทอีกประการหนึ่งของท่านอิมามบาเกร ซึ่งถือว่าสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสิ่งที่เราได้กล่าวผ่านไปก่อนหน้านี้ก็คือ   การฟื้นฟูต่อการจดบันทึกหะดีษของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ็อล) หมายความว่า ในยุคสมัยก่อนหน้าท่านอิมามบาเกร คือในยุคสมัยของคอลีฟะฮ์สองท่านแรกนั้น ทั้งสองไม่เห็นด้วยต่อการบันทึกหะดีษ หรือ สิ่งที่ถูกรายงานมาจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อล) โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอุมัร  ได้ห้ามการบันทึกหะดีษของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อล) อย่างเด็ดขาด  
สาเหตุในการห้ามอาจจะมีอยู่หลายประการ  แต่สาเหตุที่ถูกล่าวอ้างมากที่สุดก็คือ (หวั่นเกรงว่า หะดีษของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อล) จะผสมปะปนกับคัมภีร์อัลกุรอาน จนไม่สามารถแยกแยะออกจากกันได้

            แต่ท่านอิมามบาเกร (อ) มองกลับกันในเรื่องนี้  โดยท่านมองว่า หากหะดีษของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อล) ไม่ถูกเก็บรักษาด้วยการบันทึกไว้  วจนะต่างๆ ของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อล) ในอนาคตข้างหน้าจะถูกลืมเลือนและสูญหายไปที่สุด  
ท่านอิมามบาเกร  (อ) จึงตอกย้ำพร้อมกับสอนต่อบรรดาลูกศิษย์ของท่านให้จดจำหะดีษพร้อมทั้งบันทึกไว้อีกด้วย   ซึ่งจริงๆ แล้วเรื่องการบันทึกหะดีษของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อล) ที่ท่านอิมามบาเกร  นำเสนอและส่งเสริมไว้จริงๆ แล้วท่านเองได้รับคำสอนนั้นผ่านมาจากท่านอิมามอะลี (อ) โดยท่านอิมามบาเกร (อ) ได้รับมรดกตกทอดมาต่อๆกันมาซึ่งเป็นตำราบันทึกฮะดีษของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อล) จากท่านอิมามอะลี (อ)  

ในเรื่องการฟื้นฟูต่อการบันทึกฮะดีษนี้ กษัตริย์อุมัร บินอับดุลอะซีซ ก็เป็นอีกบุคคลหนึ่งที่ส่งเสริมในเรื่องนี้   โดยเขาเป็นผู้ยกเลิกคำสั่งห้ามที่เคยมีมา

อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมในการบันทึกฮะดีษ เป็นสิ่งที่บรรดาอะฮ์ลุลบัยต์นบี ได้ปลูกฝังไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอิมามบาเกร (อ) ได้ให้ความสำคัญและส่งเสริมในเรื่องนี้อย่างเต็มความสามารถของท่าน ซึ่งถือได้ว่า ฮะดีษของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อล) ไม่เคยที่จะถูกละเลยแม้แต่นิดเดียวในแนวทางของอะฮ์ลุลบัยต์นบี


อิม่ามบาเก็รเสียชีวิตวันที่  7  เดือนซุลฮิจญะฮ์ ปีฮิจเราะฮ์ที่ 114

(แต่บางรายงานกล่าวว่า  ท่านเสียชีวิตในปีฮิจเราะฮ์ที่ 117) ที่เมืองมะดีนะฮ์  

สถานที่ฝังศพคือ   สุสานบะเกียะอ์  โดยฝังอยู่เคียงข้างบิดาของท่าน และใกล้กับหลุมฝังศพของท่านอิมามฮะซัน(อ)

สาเหตุการเสียชีวิต

อิม่ามบาเกรถูกอิบรอฮีม บินอัลวะลีด บินยะซีดวางยาพิษท่านจนเสียชีวิต ในสมัยการปกครองของกษัตรย์ฮิช่าม บินอัลดุลมะลิก



อินนา ลิลลาฮิ วะอินนา อิลัยอิรอญิอูน
  •  

L-umar


อิม่ามมุฮัมมัด บาเกร อะลัยฮิสลาม กับ ซิฟัตมุอ์มินชีอะฮ์

عَنْ أَبِي جَعْفَرٍ (ع) قَالَ قَالَ أَمِيرُ الْمُؤْمِنِينَ (ع) :
شِيعَتُنَا الْمُتَبَاذِلُونَ فِي وَلَايَتِنَا

ชีอะฮ์ของเราคือ บรรดาผู้ทุ่มเทความวิริยะอุตสาหะให้กับวิลายัตของเรา( ให้เข้าใจเรื่องอิมามัต)

الْمُتَحَابُّونَ فِي مَوَدَّتِنَا

(ชีอะฮ์ของเรา) คือบรรดาผู้แสดงความรักให้กับมะฮับบัตของเรา

الْمُتَزَاوِرُونَ فِي إِحْيَاءِ أَمْرِنَا

(ชีอะฮ์ของเรา) คือบรรดาผู้ไปมาหาสู่กันในการประกอบศาสนกิจเพื่ออิห์ยาเรื่องราวของเรา

الَّذِينَ إِذَا غَضِبُوا لَمْ يَظْلِمُوا

(ชีอะฮ์ของเรา) คือบรรดาผู้ที่เมื่อใช้อำนาจให้ผู้อื่นทำการอย่างหนึ่ง  แต่เขามิได้ใช้อำนาจนั้นอย่างกดขี่

وَ إِنْ رَضُوا لَمْ يُسْرِفُوا

(ชีอะฮ์ของเรา) คือบรรดาผู้ที่ดีใจพอใจในสิ่งหนึ่ง  แต่เขาจะไม่ยอมอิสรอฟให้กับความริฎอนั้น

بَرَكَةٌ عَلَى مَنْ جَاوَرُوا

(ชีอะฮ์ของเรา) เป็นบะร่อกัตต่อบรรดาผู้คนที่อาศัยอยู่ข้างบ้านเขา

سِلْمٌ لِمَنْ خَالَطُوا

(ชีอะฮ์ของเรา) เป็นความสะลามัตให้กับผู้คนที่ใช้ชีวิตปะปนอยู่ร่วมกับเขา

وسائل‏الشيعة ج : 15  ص :  190 ح 20245



ดูวะซาอิลุช - ชีอะฮ์   หะดีษที่  20245
  •  

65 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้