Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

ธันวาคม 24, 2024, 07:26:11 หลังเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
  • สมาชิกทั้งหมด: 1,718
  • Latest: Haroldsmolo
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 3,711
  • หัวข้อทั้งหมด: 778
  • Online today: 15
  • Online ever: 200
  • (กันยายน 14, 2024, 01:02:03 ก่อนเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 14
Total: 14

วิจัย มะตั่นและสะนัด วะซียะฮ์ของนบีมุฮัมมัด (ศ)

เริ่มโดย L-umar, ตุลาคม 21, 2009, 01:49:31 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar



عَنِ الْبَرَاءِ بْنِ عَازِبٍ قَالَ
كُنَّا مَعَ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فِي سَفَرٍ فَنَزَلْنَا بِغَدِيرِ خُمٍّ فَنُودِيَ فِينَا الصَّلَاةُ جَامِعَةٌ وَكُسِحَ لِرَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ تَحْتَ شَجَرَتَيْنِ فَصَلَّى الظُّهْرَ وَأَخَذَ بِيَدِ عَلِيٍّ رَضِيَ اللَّهُ تَعَالَى عَنْهُ فَقَالَ أَلَسْتُمْ تَعْلَمُونَ أَنِّي أَوْلَى بِالْمُؤْمِنِينَ مِنْ أَنْفُسِهِمْ قَالُوا بَلَى قَالَ أَلَسْتُمْ تَعْلَمُونَ أَنِّي أَوْلَى بِكُلِّ مُؤْمِنٍ مِنْ نَفْسِهِ قَالُوا بَلَى قَالَ فَأَخَذَ بِيَدِ عَلِيٍّ فَقَالَ مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ اللَّهُمَّ وَالِ مَنْ وَالَاهُ وَعَادِ مَنْ عَادَاهُ
قَالَ فَلَقِيَهُ عُمَرُ بَعْدَ ذَلِكَ فَقَالَ هَنِيئًا يَا ابْنَ أَبِي طَالِبٍ أَصْبَحْتَ وَأَمْسَيْتَ مَوْلَى كُلِّ مُؤْمِنٍ وَمُؤْمِنَةٍ
تعليق شعيب الأرنؤوط : صحيح لغيره


อัลบัรรอ บินอาซิบเล่าว่า

พวกเราเคยอยู่กับท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ในการเดินทางครั้งหนึ่ง  แล้วพวกเราได้แวะพักที่เฆาะดีรคุม  มีการประกาศให้นมาซญะมาอะฮ์ในหมู่พวกเรา  ถูกกวาดสำหรับท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) ที่ใต้ต้นไม้สองต้น  แล้วท่านได้นมาซซุฮ์ริเสร็จ   แล้วท่านก้ได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้น) พลางกล่าวว่า พวกท่านมิรู้ดอกหรือว่า แท้จริงฉันมีสิทธิต่อบรรดาผู้ศรัทธา มากยิ่งกว่าตัวของพวกเขาเอง   พวกเขากล่าวว่า  ใช่แล้วครับ  ท่านกล่าวว่า พวกท่านมิรู้ดอกหรือว่า แท้จริงฉันนี้มีสิทธิมากที่สุดต่อผู้ศรัทธาทุกคน ยิ่งกว่าตัวของเขาเอง พวกเขากล่าวว่า ใช่แล้วครับ  เขา(อัลบัรรอ)เล่าว่า ท่านได้จับมือท่านอะลีชูขึ้นแล้วกล่าวว่า

บุคคลใดก็ตามที่ฉันเป็นผู้ปกครองของเขา  ดังนั้นอะลีก็เป็นผู้ปกครองของเขา  
โอ้อัลลอฮ์โปรดรักผู้ที่เป็นมิตรต่อเขา และโปรดชิงชังผู้ที่เป็นศัตรูต่อเขา


อัลบัรรอเล่าว่า  ท่านอุมัรได้เข้ามาพบเขาผอะลี)หลังจากนั้น แล้วท่านอุมัรกล่าวว่า โอ้บุตรของอบูตอลิบ ทั้งยามเช้ายามเย็นท่านได้กลายเป็นเมาลา(ผู้ปกครอง)ของบรรดามุอ์มินทั้งชายและหญิงแล้ว


สถานะหะดีษ  : เศาะหิ๊หฺ ลิฆ็อยริฮี  ดูมุสนัดอะหมัด  หะดีษที่  18502

ฉบับตรวจทานโดยเชคชุเอบ อัลอัรนะอูฏี
  •  

L-umar



عَنْ أَبِي الطُّفَيْلِ قَالَ جَمَعَ عَلِيٌّ رَضِيَ اللَّهُ تَعَالَى عَنْهُ النَّاسَ فِي الرَّحَبَةِ ثُمَّ قَالَ لَهُمْ أَنْشُدُ اللَّهَ كُلَّ امْرِئٍ مُسْلِمٍ سَمِعَ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُولُ يَوْمَ غَدِيرِ خُمٍّ مَا سَمِعَ لَمَّا قَامَ فَقَامَ ثَلَاثُونَ مِنْ النَّاسِ وَقَالَ أَبُو نُعَيْمٍ فَقَامَ نَاسٌ كَثِيرٌ فَشَهِدُوا حِينَ أَخَذَهُ بِيَدِهِ فَقَالَ لِلنَّاسِ أَتَعْلَمُونَ أَنِّي أَوْلَى بِالْمُؤْمِنِينَ مِنْ أَنْفُسِهِمْ قَالُوا نَعَمْ يَا رَسُولَ اللَّهِ قَالَ مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَهَذَا مَوْلَاهُ اللَّهُمَّ وَالِ مَنْ وَالَاهُ وَعَادِ مَنْ عَادَاهُ
قَالَ فَخَرَجْتُ وَكَأَنَّ فِي نَفْسِي شَيْئًا فَلَقِيتُ زَيْدَ بْنَ أَرْقَمَ فَقُلْتُ لَهُ إِنِّي سَمِعْتُ عَلِيًّا رَضِيَ اللَّهُ تَعَالَى عَنْهُ يَقُولُ كَذَا وَكَذَا قَالَ فَمَا تُنْكِرُ قَدْ سَمِعْتُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُولُ ذَلِكَ لَهُ

تعليق شعيب الأرنؤوط : إسناده صحيح رجاله ثقات رجال الشيخين غير فطر بن خليفة فمن رجال أصحاب السنن وروى له البخاري مقرونا


อบุต ตุฟัยล์ (อามิร บินวาษิละฮ์) เล่าว่า  :

ท่านอะลีได้รวบรวมประชาชนในวันเราะห์บะฮ์  จากนั้นท่านกล่าวต่อพวกเขาว่า  ขอให้มุสลิมทุกๆคนโปรดสาบานต่ออัลลอฮ์ว่า เขาได้ยินท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวในวันเฆาะดีรคุมตามที่เขาได้ยินมา เมื่อเขาได้ลุกขึ้น  ดังนั้นมีประชาชน 30 คนได้ลุกขึ้น(ให้การยืนยัน)

และอบูนุอัยม์กล่าวว่า

มีประชาชนมากมายที่ลุกขึ้นยืน(เพื่อเป็นพยาน) แล้วพวกเขาได้ให้การเป็นพยานขณะที่ ท่าน(รอซูล ศ.)ได้จับมือเขา(อะลีชูขึ้น) พลางกล่าวกับประชาชนว่า พวกท่านรู้ดีใช่ไหมว่า แท้จริงฉันมีสิทธิต่อบรรดามุอ์มินมากยิ่งกว่าตัวของพวกเขาเอง   พวกเขากล่าวว่า ใช่แล้วครับ โอ้ท่านรอซูลุลลอฮ์  ท่านได้กล่าวว่า

บุคคลใดก็ตามที่ฉันเป็นผู้ปกครองของเขา  ดังนั้นอะลีก็เป็นผู้ปกครองของเขา  
โอ้อัลลอฮ์โปรดรักผู้ที่เป็นมิตรต่อเขา และโปรดชิงชังผู้ที่เป็นศัตรูต่อเขา


อัลบัรรอเล่าว่า  

แล้วฉันได้ออกมาข้างนอก อย่างกับว่าในตัวฉันนั้นมีบางสิ่ง แล้วฉันก็ได้เจอกับเซด บินอัรกอม ฉันจึงกล่าวกับเขาว่า แท้จริงฉันได้ยินท่านอะลีกล่าวเช่นนั้นเช่นนี้  เซดกล่าวว่า แล้วอะไรจะทำให้ท่านต้องปฏิเสธ แน่นอนฉันได้ยินท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวสิ่งนั้นต่อเขา(อะลี)จริง


สถานะหะดีษ  : เศาะหิ๊หฺ  ดูมุสนัดอะหมัด  หะดีษที่  19321

ฉบับตรวจทานโดยเชคชุเอบ อัลอัรนะอูฏี
  •  

L-umar




สรุปรายชื่ออุละมาอ์อะฮ์ลุสสุนนะฮ์

ที่บันทึกหะดีษษะเกาะลัยน์ + หะดีษเฆาะดีร ไว้ในตำราของพวกเขาคือ


 
หนึ่ง –
อัน นะซาอี  (ฮ.ศ. 215 - 303 ) ใน สุนัน อัลกุบรอ   หะดีษที่ 8148, 8464

สอง-
อัฏ ฏ็อบรอนี ( เกิด ฮ.ศ. 260 - 360) ในอัลมุอ์ญัม อัลกะบีร หะดีษที่ 4969

สาม-
อัลฮากิม (ฮ.ศ. 321 – 405 ) ในอัลมุสตัดร็อก เล่ม 10 : 377 หะดีษที่ 4553 , 4554

สี่-
อัลฮัยษะมีกล่าวในหนังสือมัจญ์มะอุซ-ซะวาอิด เล่ม 9 : 258 หะดีษ 14965

ห้า-
อัลอาญุรรี มรณะฮ.ศ. 360 ในกิตาบ อัช ชะรีอะฮ์   เล่ม 4 : 393 หะดีษ 1659

หก-
อัลอะลูซี ในตัฟสีรรูฮุลบะยาน เล่ม 5 : 68 ดูซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ อายะฮ์ 67

เจ็ด-
อิบนิกะษีร ในอัลบิดายะฮ์ วันนิฮายะฮ์ เล่ม 5 : 209

แปด-
อัซซะฮะบี ในริซาละฮ์ ตุรุก หะดีษ มันกุนตุเมาลาฮุ  เล่ม 1 : 15 หะดีษ 65

เก้า-
เชคอัลบานี ในกิตาบซิลซิละตุลอะฮาดีษิซ-ซอฮีฮะฮ์ เล่ม 4 : 330 หะดีษที่ 1750

สิบ –
เชคชุเอบ อัลอัรนะอูฏี ในมุสนัดอะหมัด  หะดีษที่  641 , 18502 , 19321


หมายเหตุ -

ความจริงอุละมาอ์ซุนนี่ที่รายงานหะดีษเฆาะดีรนี้น มีมากกว่านี้  แต่เราคิดว่า  แค่นี้คงเพียงพอแล้ว
  •  

L-umar


ส่วนผู้ที่ให้การรับรองหะดีษษะเกาะลัยน์ + หะดีษเฆาะดีรนี้ว่าเป็นหะดีษที่มีสายรายงานถูกต้องคือ


1.   อัลฮากิม อัน –นัยซาบูรี

2.   อัซ – ซะฮะบี

3.   เชคมุฮัมมัด นาศิรุดดีนอัลบานี

4.   เชคชุเอบ อัลอัรนะอูฏี


บทสรุปสำหรับเรื่องสายรายงานหะดีษ

1.   หะดีษเรื่องการแต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์ ในตำราอะฮ์ลุสสุนนะฮ์  มีจริง

2.   นักวิชาการอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ ได้ให้การรับรองว่า หะดีษดังกล่าว มีสายรายงานเชื่อถือได้



والحمد لله وصلي الله علي محمد وآله وسلم
  •  

L-umar



หลังจากที่เราได้พิสูจน์เรื่องสะนัด (สายรายงานหะดีษ) ไปแล้ว


ประเด็นต่อมา  เราจะมา  พิจารณา ความหมายของมะตั่น (ตัวบทหะดีษ )



อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ อาจมีข้อโต้แย้งดังนี้


1- หะดีษเฆาะดีร เช่นเดียวกันนี้  มีบันทึกอยู่ในตำราชีอะฮ์หรือไม่


2- คำว่า " เมาลา "  และ " วะลี "  ไม่ได้แปลว่า  ผู้ปกครอง


3- วะซียัตที่ท่านนบี(ศ)สั่งเสียให้ปฏิบัติตามอัลกุรอ่านนั้นเป็นวาญิบ แต่ในส่วนของอะฮ์ลุลบัยต์ หมายถึงให้แสดงความรักและยกย่องพวกเขา


4- อะฮ์ลุลบัยต์นบี มิได้ถูกจำกัดอยู่แค่ อะลี,ฟาติมะฮ์,ฮาซันและฮูเซนเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงภรรยานบีและวงศาคณาญาติท่านนบี(ศ)คนอื่นๆอีกด้วย



เราจะทยอย  ชี้แจงให้ท่านพิจารณา เป็นข้อๆไป  อินชาอัลลอฮ์
  •  

L-umar



1- หะดีษเฆาะดีร เช่นเดียวกันนี้  มีบันทึกอยู่ในตำราชีอะฮ์หรือไม่ ?


ตอบ  มีครับ  


หะดีษเฆาะดีรฝ่ายชีอะฮ์



หะดีษที่  1



حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ الْحَسَنِ بْنِ أَحْمَدَ بْنِ الْوَلِيدِ رضي الله عنه قاَلَ :
حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ الْحَسَنِ الصَّفَّارُ ، عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ الْحُسَيْنِ بْنِ أَبِي الْخَطَّابِ ، وَيَعْقُوْبِ بْنِ يَزِيْدَ جَمِيْعاً ، عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ أَبِي عُمَيْرٍ ، عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ سِنَانٍ ، عَنْ مَعْرُوفِ بْنِ خَرَّبُوذٍ

عَنْ أَبِى الطُّفَيْلِ عَامِرِ بْنِ وَاثِلَةَ ، عَنْ حُذَيْفَةَ بْنِ أَسِيدٍ الْغِفَارِيِّ قَالَ :

لَماَّ رَجَعَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عليه وآلِهِ مِنْ حَجَّةِ الْوِداَعِ وَنَحْنُ مَعَهُ أَقْبَلَ حَتىَّ انْتَهَى إِلَى الْجُحْفَةِ فَأَمَرَ أَصْحاَبَهُ بِالنُّزُولِ فَنَزَلَ الْقَوْمُ مَنَازِلَهُمْ ، ثُمَّ نُودِيَ بِالصَّلَاةِ فَصَلَّى بِأَصْحَابِهِ رَكَعَتَيْنِ ، ثُمَّ أَقْبَلَ بِوَجْهِهِ إِلَيْهِمْ فَقاَلَ لَهُمْ : إِنَّهُ قَدْ نَبَّأَنِي اللَّطِيفُ الْخَبِيرُ أَنِّيْ مَيِّتٌ وَأَنَّكُمْ مَيِّتُوْنَ ، وَكَأَنِّيْ قَدْ دُعِيْتُ فاَجِبْتُ وَأَنِّيْ مَسْؤُوْلٌ عَماَّ اُرْسِلْتُ بِهِ إِلَيْكُمْ ، وَعَماَّ خَلَّفْتُ فِيْكُمْ مِنْ كِتاَبِ اللهِ وََحُجَّتِهِ وَأَنَّكُمْ مَسْؤُوْلُوْنَ ، فَماَ أَنْتُمْ قاَئِلُوْنَ لِرَبِّكُمْ ؟ قاَلُوْا : نَقُوْلُ : قَدْ بَلَّغْتَ وَنَصَحْتَ وَجاَهَدْتَ فَجَزَاكَ اللهُ عَناَّ أَفْضَلَ الْجَزَاءِ
ثُمَّ قاَلَ لَهُمْ : أَلَسْتُمْ تَشْهَدُوْنَ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا اللَّهُ وَأَنِّي رَسُولُ اللَّهِ إِلَيْكُمْ وَأَنَّ الْجَنَّةَ حَقٌّ ؟ وَأَنَّ الناَّرَ حَقٌّ ؟ وَأَنَّ الْبَعْثَ بَعْدَ الْمَوْتِ حَقٌّ ؟ فَقاَلُوْا : نَشْهَدُ بِذَلِكَ ، قاَلَ : اللَّهُمَّ اشْهَدْ عَلَى مَا يَقُولُونَ ، أَلاَ وَإِنِّي أُشْهِدُكُمْ أَنِّي أَشْهَدُ أَنَّ اللهَ مَوْلاَيَ ، وَأَناَ مَوْلَى كُلِّ مُسْلِمٍ ، وَأَناَ أَوْلَى بِالْمُؤْمِنِينَ مِنْ أَنْفُسِهِمْ ، فَهَلْ تُقِرِّوْنَ لِيْ بِذَلِكَ ، وَتَشْهَدُوْنَ لِيْ بِهِ ؟ فَقاَلُوْا : نَعَمْ نَشْهَدُ لَكَ بِذَلِكَ ، فَقاَلَ : أَلاَ مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَإِنَ عَلِياًّ مَوْلاَهُ  وَهُوَ هَذَا ، ثُمَّ أَخَذَ بِيَدِ عَلِيٍّ عَلَيْهِ السَّلاَمِ فَرَفَعَهاَ مَعَ يَدِهِ حَتَّى بَدَتْ آباَطِهِماَ : ثُمَّ : قاَلَ : اللَّهُمَّ وَالِ مَنْ وَالَاهُ وَعَادِ مَنْ عَادَاهُ ، وَانْصُرْ مَنْ نَصَرَهُ وَاخْذُلْ مَنْ خَذَلَهُ ، أَلاَ وَإِنِّيْ فَرْطُكُمْ  وَأَنْتُمْ وَارِدُوْنَ عَلَيَّ الْحَوْضَ ، حَوْضِيْ غَداً وَهُوَ حَوْضٌ عَرْضُهُ ماَ بَيْنَ بَصَرِىْ وَصَنْعاَءَ  فِيْهِ أَقْدَاحٌ مِنْ فِضَّةٍ عَدَدَ نُجُومِ السَّمَاءِ ، أَلاَ وَإِنِّيْ ساَئِلُكُم غَداً ماَذاَ صَنَعْتُمْ فِيْماَ أَشْهَدْتُ اللهَ بِهِ عَلَيْكُمْ فِي يَوْمِكُمْ هَذَا إِذَا وَرَدْتُمْ عَلَيَّ حَوْضِيْ ، وَماَذاَ صَنَعْتُمْ بِالثَّقَلَيْنِ  مِنْ بَعْدِيْ فاَنْظُرُوْا كَيْفَ تَكُوْنُوْنَ خَلَّفْتُمُوْنِيْ فِيْهِماَ حِيْنَ تَلْقَوْنِي ؟ قاَلُوْا : وَماَ هَذَانِ الثَّقَلاَنِ ياَ رَسُوْلَ اللهِ ؟ قاَلَ : أَماَّ الثِّقْلُ الْأَكْبَرُ فَكِتاَبُ اللهِ عَزَّوَجَلَّ ، سَبَبٌ مَمْدُوْدٌ مِنَ اللهِ وَمِنِّيْ فِيْ أَيْدِيْكُمْ ، طَرَفُهُ بِيَدِ اللهِ وَالطَرَفُ الْآخَرُ بِأَيْدِيْكُمْ ، فِيْهِ عِلْمٌ ماَ مَضَى وَماَ بَقَي إِلَى أَن تَقُوْمَ السَّاعَةُ ، وَأَمَّا الثِّقْلُ الْأَصْغَرُ فَهُوَ حَلِيْفُ الْقُرْآنِ  وَهُوَ عَلِيُّ بْنُ أَبِيْ طاَلِبٍ وَعِتْرَتُهُ عَلَيْهِمُ السَّلاَمِ ، وَإِنَّهُماَ لَنْ يَفْتَرِقاَ حَتَّى يَرِدَا عَلَيَّ الْحَوْضَ .

كتاب : الخصال للشيخ الصدوق  ج 1 / ص 74  ح 98




เชคศอดูก (ฮ.ศ. 305 – 381 )รายงานว่า

มุฮัมมัด บินอัลฮาซัน บินอะหมัด บินอัลวะลีด เล่าให้เราฟัง เขากล่าวว่า
มุฮัมมัด บินอัลฮาซัน อัศ - ศ็อฟฟ้าร  เล่าให้เราฟัง เขากล่าวว่า
จากมุฮัมมัด บินอัลฮูเซน บินอบิลค็อตต็อบ และยะอ์กูบ บินยะซีด ทั้งหมด(รายงาน)จากมุฮัมมัด บินอบี อุมัยร์  จากอับดุลลอฮ์ บินสินาน จากมะอ์รูฟ บินค็อรบูซ

จากอบิต ตุฟัยล์ อามิร บินวาษิละฮ์ จากหุซัยฟะฮ์ บินอะสีด อัลฆิฟารี เล่าว่า :


เมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กลับจากฮัจญะตุลวิดาอ์(การทำฮัจญ์ครั้งสุดท้าย) และพวกเราได้มุ่งหน้ากลับจนมาถึงที่ตำบลญุฮ์ฟะฮ์  ท่านได้สั่งซอฮาบะฮ์ของท่านให้แวะพัก  แล้วหมู่ชนนั้นได้แวะพักตามสถานที่ต่างๆของพวกเขา  ต่อจากนั้นได้มีเสียงประกาศ(อะซาน)ให้นมาซ แล้วท่านได้นมาซ(ซุฮ์ริย่อ)สองร่อกะอะฮ์พร้อมกับบรรดาซอฮาบะฮ์ของท่าน  เสร็จแล้วท่านหันใบหน้าท่านมายังพวกเขา แล้วกล่าวกับพวกเขาว่า : แท้จริง(อัลเลาะฮ์)ผู้ทรงปรานี ผู้ทรงรอบรู้อย่างถี่ถ้วน ได้แจ้งให้ฉันทราบว่า  แท้จริงต้องตายและพวกท่านก็ต้องตาย และดูเหมือนว่าฉันถูกเรียก(กลับแล้ว) และฉันได้ตอบรับแล้ว และแท้จริงตัวฉันต้องถูกสอบถามจากสิ่งที่ฉันถูกส่งมายังพวกท่านต่อสิ่งนั้น   และจากสิ่งที่ฉันได้ทิ้งไว้ในหมู่พวกท่านจากคัมภีร์ของอัลเลาะฮ์ และฮุจญัต(หลักฐาน)ของพระองค์ และแท้จริงพวกท่านจะต้องถูกสอบสวน แล้วพวกท่านจะตอบอะไรต่อพระผู้อภิบาลของพวกท่าน ?  พวกเขากล่าวว่า  : พวกเราก็จะกล่าวว่า แท้จริงท่านได้ประกาศแล้ว ได้ตักเตือนแล้ว  และท่านได้ทำการญิฮ๊าดต่อสู้แล้ว  ดังนั้นขออัลลอฮ์โปรดตอบแทนรางวัลที่ดีที่สุดแก่ท่านแทนพวกเราด้วยเถิด  จากนั้นท่านได้กล่าวกับพวกเขาว่า  : พวกท่านมิได้ปฏิญาณดอกหรือว่า  ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลเลาะฮ์ และแท้จริงฉันคือศาสนทูตของอัลลอฮ์ที่(ถูกส่ง)มายังพวกท่าน  แท้จริงสวรรค์มีจริง  นรกมีจริง และการฟื้นคืนชีพนั้นมีจริงใช่ไหม ?  พวกเขากล่าวว่า : พวกเราขอเป็นพยานต่อสิ่งนั้น(ว่ามีจริง)   ท่านจึงกล่าวว่า : โอ้อัลลอฮ์ ขอทรงเป็นสักขีพยานต่อสิ่งที่พวกเขากล่าวด้วยเถิด  พึงทราบเถิดว่า แท้จริงฉันก็ขอให้พวกท่านจงเป็นสักขีพยานด้วยเถิดว่า แท้จริงฉันขอปฏิญาณว่า แท้จริงอัลเลาะฮ์คือเมาลา(ผู้คุ้มครองปของฉัน  และฉันคือวะลี(ผู้ปกครอง)ของมุสลิมทุกคน  และฉันมีสิทธิต่อปวงผู้ศรัทธามากยิ่งกว่าตัวของพวกเขาเอง  แล้วพวกท่านจะให้คำรับรองต่อฉันในสิ่งนั้นหรือไม่ และพวกท่านจะเป็นพยานยืนยันแก่ฉันต่อสิ่งนั้นหรือไม่ ?    พวกเขากล่าวว่า : ใช่แล้วครับ พวกเราขอยืนยันให้กับท่านต่อสิ่งนั้น   แล้วท่านได้กล่าวว่า :  

พึงรู้เถิดว่า  บุคคลใดก็ตามที่ฉันเป็นผู้ปกครองของเขา  ดังนั้นแท้จริงอะลีนั้นก็เป็นผู้ปกครองของเขา และเขาคือชายคนนี้

จากนั้นท่านได้จับมือท่านอะลีชูขึ้นสูงพร้อมกับมือของท่านเอง จนเห็นรักแร้ของทั้งสอง แล้วท่านกล่าวว่า :

โอ้อัลลอฮ์โปรดรักผู้ที่เป็นมิตรต่อเขา และโปรดชิงชังผู้ที่เป็นศัตรูต่อเขา
โปรดช่วยเหลือผู้ที่ให้การช่วยเหลือเขา และโปรดทอดทิ้ง ผู้ที่ทอดทิ้งเขา  

พึงรู้เถิดว่า ฉันจะล่วงหน้าไปก่อนพวกท่าน  และพวกท่านจะเข้ามาหาฉันที่สระน้ำนั้น  สระน้ำของฉันในวันพรุ่งนี้ และมันคือสระน้ำที่ความกว้างของมันอยู่ระหว่างเมืองบัศเราะฮ์(อิรัก)กับเมืองศ็อนอาอ์(ซีเรีย) ในสระน้ำนั้นมีแก้วน้ำจำนวน(มากมาย)เท่ากับดวงดาวในท้องฟ้า
พึงรู้เถิดว่า แท้จริงฉันจะเป็นผู้ถามพวกท่านในวันพรุ่งนี้ว่า  พวกท่านได้ทำอะไรไป ในสิ่งที่ฉันได้ขอให้อัลลอฮ์ทรงเป็นพยานรับรู้แล้วบนพวกท่านต่อสิ่งนั้นในวันของพวกท่านนี้ เมื่อพวกท่านได้เข้ามาพบฉันที่สระน้ำของฉัน   พวกท่านได้ทำอะไรกับ อัษ-ษะเกาะลัยน์ (คือกิตาบและอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน) ภายหลังจากฉัน
ดังนั้นจงดูเถิดว่า พวกท่านจะเป็นอย่างไร (ในการ)ได้รับทอดต่อจากฉันในสองสิ่งนั้น ขณะที่พวกท่านจะมาพบกับฉัน ?

พวกเขากล่าวว่า  : สองสิ่งหนักที่ว่านี้คืออะไรหรือ โอ้ท่านรอซูลุลลอฮ์ ?  ท่านกล่าวว่า :

สิ่งหนักอันใหญ่ที่สุดคือ คัมภีร์ของอัลเลาะฮ์ อัซซะวะญัล เป็นสาเหตุที่ทอดมาจากอัลลอฮ์และจากฉันอยู่ในมือพวกท่าน ด้านหนึ่งของคัมภีร์อยู่ในพระหัตถ์ของอัลลอฮ์ ส่วนอีกด้านหนึ่งอยู่ในมือของพวกท่าน ในคัมภีร์นั้นมีความรู้ในสิ่งที่ผ่านมาในอดีตและสิ่งที่ยังคงอยู่ตราบจนถึงวันกิยามะฮ์

ส่วนสิ่งหนักอันรอง อันเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับคัมภีร์อัลกุรอ่าน เขาคือ อะลี บินอบีตอลิบและอิตเราะฮ์(วงศ์วาน)ของเขา และแท้จริงทั้งสองสิ่งนี้จะไม่แยกจากกันเด็ดขาด จนกว่าทั้งสองจะกลับมาหาฉันที่อัลเฮาฎ์(สระเกาษัร)



อ้างอิงจากหนังสือ

อัลคิศ็อล  โดยเชคศอดูก  เล่ม  1 : 74 หะดีษ  98




ทีนี้ท่านคงได้อ่านรายงานหะดีษเฆาะดีรคุม จากตำราชีอะฮ์แล้วนะครับ

อย่างที่ผมเรียนให้ท่านได้ทราบแต่แรกว่า  ไม่มีความเชื่อชีอะฮ์เรื่องใด เว้นเสียแต่ว่า ความเชื่อนั้นจะต้องมีกล่าวไว้ทั้งในตำราของซุนนี่และตำราของชีอะฮ์ อย่างนี้สิเขาถึงจะเรียกว่า มาตรฐานสากล  ไม่ใช่อ้างอิงแต่หลักฐานของตนเพียงฝ่ายเดียวแล้วเอาไปบีบบังคับผู้อื่นให้ยอมรับ  อย่างนี้เรียกว่า  ไม่มีความแฟร์  

والحمد لله وصلي الله علي محمد وآله وسلم
  •  

L-umar


อิตเราะฮ์นบีเป็นใคร ???


เมื่อเอ่ยถึงคำ  " อิตเราะฮ์นบี "  ในฐานะผู้นำสืบต่อจากศาสดามุฮัมมัด(ศ)  

เราชีอะฮ์มีความเข้าใจชัดเจนว่าเป็นใครบ้าง   เพราะเรื่องนี้เรามีหะดีษกำกับไว้ชัดเช่น



หะดีษที่  2

رَوَي أَبُوْ جَعْفَرٍ مُحَمَّدُ بْنُ عَلِيِّ بْنِ الْحُسَيْنِ بْنِ بَابَوَيْهِ الْقُمِّيّ 305-381هـ. هو الشَّيْخُ الصَّدُوْق  :
حَدَّثَنَا ْ أَحْمَدُ بْنُ زِيَادِ بْنِ جَعْفَرٍ الْهَمَذَانِي‏ قَالَ : حَدَّثَنَا عَلِىُّ بْنُ اِبْرَاهِيْمَ بْنِ هَاشِمٍ عَنْ أَبِيْهِ عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ أَبِي عُمَيْر عَنْ غِيَاثِ بْنِ إِبْرَاهِيْمَ

عَنِ الصَّادِقِ جَعْفَرِ بْنِ مُحَمَّدٍ عَنْ أَبِيْهِ مُحَمَّدِ بْنِ عَلِىٍ عَنْ أَبِيْهِ عَلِىِّ بْنِ الْحُسَيْنِ عَنْ أَبِيْهِ الْحُسَيْنِ بْنِ عَلِىٍّ عَلَيْهِ السَّلاَمِ قَالَ:

سُئِلَ أَمِيْرُ الْمُؤْمِنِيْنَ عَلَيْهِ السَّلاَمِ عَنْ مَعْنَى قَوْلِ رَسُوْلِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَآلِهِ إِنِّىْ مُخَلِّفٌ فِيْكُمُ الثَّقَلَيْنِ كِتَابُ اللهِ وَعِتْرَتِيْ مَنِ الْعِتْرَةُ ؟ فَقَالَ : أَنَا وَالْحَسَنُ وَالْحُسَيْنُ وَالْأَئِمَّةُ التِّسْعَةُ مِنْ وُلْدِ الْحُسَيْنِ تَاسِعُهُمْ مَهْدِيُّهُمْ وَقَائِمُهُمْ لاَ يُفَارِقُوْنَ كِتَابَ اللهِ وَلاَ يُفَارِقُهُمْ حَتَّى يَرِدوا عَلَى رَسُوْلِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَآلِهِ حَوْضَـهُ.

كتاب :  عيون أخبار الرضا (ع) للشيخ الصدوق  ج 2  ص 58 ح 25
باب النصوص على الرضا(ع) بالإمامة في جملةالأئمة الإثنى عشر(ع)


เชคศอดูกรายงาน :
 
อะหมัด บินซิยาด บินญะอ์ฟัร อัลฮะมะดานีเล่าให้เราฟัง จากอะลี บินอิบรอฮีม บินฮาชิมจากบิดาเขา จากมุฮัมมัด บินอบีอุมัยรฺ จากฆิยาษ บินอิบรอฮีม(เล่าว่า ) :  จากอัศ-ศอดิก ญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด จากบิดาเขาคือมุฮัมมัด บินอะลี จากบิดาเขาคืออะลี บินฮูเซน จากบิดาเขาคือฮูเซน บินอะลีเล่าว่า :  


ท่านอมีรุลมุอ์มินีน (อะลี บินอบีตอลิบ) ถูกถามถึงความหมายวจนะของท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ที่กล่าวว่า :  แท้จริง

ข้าพเจ้าได้มอบสิ่งหนักสองสิ่งไว้ในหมู่พวกท่าน  สิ่งแรกคือคัมภีร์ของอัลลอฮ์และอิตเราะฮ์ของข้าพเจ้า, (ว่า)

ใครคืออิตเราะฮ์ ?

ท่านอิม่ามอะลีตอบว่า :

คือ ฉัน,ฮาซัน,ฮูเซนและบรรดาอิม่ามผู้นำอีก 9 คนที่สืบเชื้อสายจากลูกหลานของฮูเซน คนที่ 9 คือมะฮ์ดีและคือกออิมของพวกเขา  

พวกเขาจะไม่แยกจากคัมภีร์ของอัลลอฮ์ และคัมภีร์ของอัลลอฮฺจะไม่แยกจากพวกเขา จนทั้งสองจะกลับคืนมายังท่านรอซูลุลลอฮ์ที่สระอัลเฮาฎ์ของท่าน.


สถานะหะดีษ :  เศาะหิ๊หฺ  

ดูหนังสืออุยูนุล อัคบาร อัลริฎอ โดยเชคศอดูก เล่ม 1 : 57  หะดีษ 25



ท่านจะเห็นได้ว่า  

หะดีษนี้ระบุชัดว่า อิตเราะฮ์ ในฐานะ อิม่ามผู้นำคนแรกคือ  ท่านอิม่ามอะลี , ฮาซัน ฮูเซนและบุตรหลานของอิม่ามฮูเซนอีกเก้าคน รวมเป็น 12 ท่าน ซึ่งอิม่ามคนสุดท้ายมีชื่อว่า อิม่าม มะฮ์ดี
อะลัยฮิมุสสลาม  
  •  

L-umar


จากสองหะดีษดังกล่าว มันคงเหลือคำถามเดียวสำหรับอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ที่จะถามคือ


สายรายงานหะดีษมัน  " ซอแฮะฮ์ "  หรือป่าว ?





แล้วเราจะมาวิเคราะห์กันในคราวต่อไป  อินชาอัลลอฮ์
  •  

L-umar


วิเคราะห์สายรายงานหะดีษที่  1 -


الشيخ الصدوق← مُحَمَّدُ بْنُ الْحَسَنِ بْنِ أَحْمَدَ بْنِ الْوَلِيدِ ← مُحَمَّدُ بْنُ الْحَسَنِ الصَّفَّارُ ←مُحَمَّدِ بْنِ الْحُسَيْنِ بْنِ أَبِي الْخَطَّابِ ، وَيَعْقُوْبِ بْنِ يَزِيْدَ جَمِيْعاً ،← مُحَمَّدِ بْنِ أَبِي عُمَيْرٍ ←
عَبْدِ اللَّهِ بْنِ سِنَانٍ ← مَعْرُوفِ بْنِ خَرَّبُوذٍ ← أَبِى الطُّفَيْلِ عَامِرِ بْنِ وَاثِلَةَ  ←
حُذَيْفَةَ بْنِ أَسِيدٍ الْغِفَارِيِّ :


เชคศอดูก (ฮ.ศ. 305 – 381 ) → มุฮัมมัด บินอัลฮาซัน บินอะหมัด บินอัลวะลีด → มุฮัมมัด บินอัลฮาซัน อัศ - ศ็อฟฟ้าร→  มุฮัมมัด บินอัลฮูเซน บินอบิลค็อตต็อบ และยะอ์กูบ บินยะซีด → มุฮัมมัด บินอบี อุมัยร์  → อับดุลลอฮ์ บินสินาน →มะอ์รูฟ บินค็อรบูซ →อบิต ตุฟัยล์ อามิร บินวาษิละฮ์  → หุซัยฟะฮ์ บินอะสีด อัลฆิฟารี :

1.   เชคศอดูก (ฮ.ศ. 305 – 381 ) →
2.   มุฮัมมัด บินอัลฮาซัน บินอะหมัด บินอัลวะลีด →
3.   มุฮัมมัด บินอัลฮาซัน อัศ - ศ็อฟฟ้าร→  
4.   มุฮัมมัด บินอัลฮูเซน บินอบิลค็อตต็อบ และ
5.   ยะอ์กูบ บินยะซีด →
6.   มุฮัมมัด บินอบี อุมัยร์  →
7.   อับดุลลอฮ์ บินสินาน →
8.   มะอ์รูฟ บินค็อรบูซ →
9.   อบิต ตุฟัยล์ อามิร บินวาษิละฮ์  →
10.   หุซัยฟะฮ์ บินอะสีด อัลฆิฟารี :
  •  

L-umar


1- เชคศอดูก  (ฮ.ศ. 305 – 381 รวมอายุ 76 ปี)


อบูญะอ์ฟัร มุฮัมมัด บินอะลี บินอัลฮูเซน บินมูซา บินบาบะวัยฮฺ อัลกุมมี  รู้จักกันในนาม เชค ศอดูก

เกิดฮ.ศ. 305  ที่เมืองกุม ประเทศอิหร่าน โดยบะร่อกัตจากการดุอาอ์ของอิม่ามมะฮ์ดี(อ)
เชคศอดูกมรณะ ปีฮ.ศ. 381 ที่เมืองเรย์ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองเตฮฺราน อิหร่าน  ถูกฝังอยู่ใกล้กับสุสานของสัยยิดอับดุลอะซีม อัลฮาซานี


บรรดาอุละมาอ์ได้กล่าวถึงเชคศอดูกไว้ดังนี้

مُحَمَّدُ بْنُ عَلِيٍّ بْنِ الْحُسَيْنِ بْنِ مُوسَى بْنِ باَبَوَيْه الْقُمِّيّ، يُكْنَى أَبُو جَعْفَرٍ ، كاَنَ جَليِْلاً حاَفِظاً لِلْأَحاَدِيْثِ بَصِيْراً باِلرِّجاَلِ ناَقِداً لِلْأَخْباَرِ لَمْ يُرَ فِي الْقُمِّيِّيْنَ مِثْلُهُ فَي حِفْظِهِ وِ كَثْرَةِ عِلْمِهِ

เชคตูซี่กล่าวว่า  :  

มุฮัมมัด บินอะลี บินอัลฮูเซน บินมูซา บินบาบะวัยฮฺ อัลกุมมี ฉายาอบูญะอ์ฟัร  เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ   เป็นนักจดจำหะดีษต่างๆ  มีความแตกฉานต่อชีวประวัตินักรายงานหะดีษ  เป็นนักวิจารณ์สายรายงานหะดีษต่างๆ  ไม่เคยเห็นใครในเมืองกุมเหมือนกับเขา ในความจำของเขา และความรู้อันมากมายของเขา
ดูอัลฟะฮ์ร็อส ลิต-ตูซี่  เล่ม 1 : 120 อันดับ 695

محمد بن علي بن الحسين بن موسى بن بابويه القمي أبوجعفر نزيل الري شيخنا وفقيهنا ووجه الطائفة بخراسان، ورد بغداد سنة خمس وخمسين وثلثمائة وسمع منه شيوخ الطائفة وهو حدث السن كان جليلا حافظا \\\" الاحاديث بصيرا \\\" بالرجال ناقدا \\\" للاخبار لم ير في القميين مثله في حفظه وكثرة علمه، له نحو ثلثمائة مصنف

อัลลามะฮ์ฮิลลี่กล่าวว่า :

 มุฮัมมัด บินอะลี บินอัลฮูเซน บินมูซา บินบาบะวัยฮฺ อัลกุมมี อบูญะอ์ฟัร  อาศัยอยู่ที่เมืองเรย์  เขาคือเชคและฟะกีฮฺของพวกเรา และเป็นหัวหน้ากลุ่มที่เมืองคูรอซาน เข้ามาที่เมืองแบกแดดปีฮ.ศ. 355  บรรดาเชคระดับแกนนำรับฟัง(หะดีษ)จากเขาในตอนเด็ก  เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ   เป็นนักจดจำหะดีษต่างๆ  มีความแตกฉานต่อชีวประวัตินักรายงานหะดีษ  เป็นนักวิจารณ์สายรายงานหะดีษต่างๆ  ไม่เคยเห็นใครในเมืองกุมเหมือนกับเขา ในความจำของเขา และความรู้อันมากมายของเขา  เขาแต่งตำราไว้ 300 เล่ม
ดูคุลาเศาะตุลอักวาล   เล่ม 27 : 9 อันดับ 44

محمد بن علي بن الحسين بن موسى بن بابويه القمي، يكنى أبا جعفر. كان جليلا حافظا للاحاديث بصيرا بالرجال ناقدا للاخبار، لم ير في القميين مثله في حفظه وكثرة علمه، له نحو من ثلاثمائة مصنف

อัลฮุรรุล อามิลี  เจ้าของหนังสือวะซาอิลุชชีอะฮ์กล่าวว่า :  

มุฮัมมัด บินอะลี บินอัลฮูเซน บินมูซา บินบาบะวัยฮฺ อัลกุมมี ฉายาอบูญะอ์ฟัร   เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ   เป็นนักจดจำหะดีษต่างๆ  มีความแตกฉานต่อชีวประวัตินักรายงานหะดีษ  เป็นนักวิจารณ์สายรายงานหะดีษต่างๆ  ไม่เคยเห็นใครในเมืองกุมเหมือนกับเขา ในความจำของเขา และความรู้อันมากมายของเขา  เขาแต่งตำราไว้ 300 เล่ม
ดูอัลอะมะลุลอามิล   เล่ม 2 : 217 อันดับ 845

(ابن بابويه) ابوجعفر محمد بن علي بن الحسين بن موسى بن بابويه القمي، شيخ الحفظة ووجه الطائفة المستحفظة رئيس المحدثين والصدوق فيما يرويه عن الائمة الطاهرين (ع) ولد بدعاء مولانا صاحب الامر(ع)...
قال ابن ادريس في حقه: انه كان ثقة جليل القدر بصيرا بالاخبار ناقدا للآثار عالما بالرجال وهو استاذ المفيد محمد بن محمد بن النعمان.

เชคอับบาส อัลกุมมีกล่าวว่า :  

อิบนุ บาบะวัยฮฺ อบูญะอ์ฟัร  มุฮัมมัด บินอะลี บินอัลฮูเซน บินมูซา บินบาบะวัยฮฺ อัลกุมมี  เชคแห่งการท่องจำ  หัวหน้ากลุ่มที่ได้รับความไว้วางใจให้ดูแล  หัวหน้าของบรรดานักรายงานหะดีษ  และมีความศอดูก(เชื่อถือได้)ในสิ่งที่เขารายงานหะดีษจากบรรดาอิม่ามผู้บริสุทธิ์ (อ) ถือกำเนิดด้วยดุอาอ์ของอิม่ามมะฮ์ดี(อ)
อิบนุอิดริสกล่าวถึงเขาว่า   :  เชคศอดูกเชื่อถือได้ในการรายงาน เป็นผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูง   มีความแตกฉานต่อบรรดาหะดีษ  เป็นนักวิจารณ์หะดีษต่างๆ   ผู้รอบรู้ต่อชีวประวัติของบรรดานักรายงานหะดีษ
ดูอัลกุนา วัลอัลกอบ   เล่ม 33 :  1


อาจารย์ของเชคศอดูก

1.   เชคมุฮัมมัด บินอัลฮาซัน บินมุฮัมมัด อัลกุมมี
2.   เชคอะลี บินอัลฮูเซน อัลกุมมี (บิดาเชคศอดูก)
3.   เชคยะอ์กูบ บินยูสุฟ บินยะอ์กูบ
4.   เชคมุฮัมมัด บินอัลกอสิม อัลอิสติร อาบาดี
5.   เชคฮัมซะฮ์ บินมุฮัมมัด บินอะหมัด
6.   เชคมุฮัมมัด บินมูซา อัลบัรกี
7.   เชคอะหมัด บินอะสัด อัลอะสะดี
8.   เชคอะลี บินอะหมัด อัลบัรกี


ลูกศิษย์ของเชคศอดูก



1.   มุฮัมมัด บินมุฮัมมัด บินอัน-นุอ์มาน หรือที่รู้จักกันในนาม " เชคมุฟีด "
2.   สัยยิด อะลี บินอัลฮูเซน  หรือที่รู้จักกันในนาม " สัยยิด มุรตะฎอ "
3.   เชค อะลี บินมุฮัมมัด อัลค็อซซ๊าซ อัลรอซี อัลกุมมี
4.   เชค อัลฮาซัน บินอัลฮูเซน อัลกุมมี ( บุตรของพี่ชายเขา ดูอันดับ 3)
5.   เชค อัลฮูเซน บินอุบัยดุลลอฮ์ อัลเฆาะฎออิรี
6.   เชค อัลฮูเซน บินอะลี อัลกุมมี (น้องชาย อันดับ 5)


สรุป

เชคศอดูก = เชื่อถือได้ในการรายงานหะดีษ
  •  

L-umar


2. มุฮัมมัด บินอัลฮาซัน บินอะหมัด บินอัลวะลีด  มรณะฮ.ศ. 343


อิบนุดาวูดกล่าวว่า : مُحَمَّدُ بْنُ الْحَسَنِ بْنِ أَحْمَدَ بْنِ الْوَلِيدِ أبو جعفر شيخ القميين وفقيههم ومتقدمهم  يقال انه نزيل قم ولم يكن أصله منها ثقة ثقة عين.

มุฮัมมัด บินอัลฮาซัน บินอะหมัด บินอัลวะลีด อบูญะอ์ฟัร  คือเชคแห่งชาวเมืองกุม เป็นฟะกีฮฺของพวกเขา  และเป็นหัวหน้าของพวกเขา  กล่าวกันว่า เขาพำนักอยู่ที่เมืองกุม แต่เขาไม่ใช่คนที่นั่น  การรายงานเชื่อถือได้ๆ
ดูริญาล อิบนิดาวูด  เล่ม 1 : 163 อันดับ 1346

เชคตูซี่กล่าวว่า :

مُحَمَّدُ بْنُ الْحَسَنِ بْنِ أَحْمَدَ بْنِ الْوَلِيدِ القمي، جليل القدر بصير بالفقه ثقة، يروي عن الصفار وسعد،

มุฮัมมัด บินอัลฮาซัน บินอะหมัด บินอัลวะลีด อัลกุมมี เป็นผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูง มีความเชี่ยวชาญวิชาฟิกฮ์  
การรายงานเชื่อถือได้ๆ    เขารายงานหะดีษจากอัศ ศ็อฟฟ้าร และสะอัด
ดูริญาล เชคตูซี  เล่ม 1 : 207 อันดับ 6273

อัน นะญาชีกล่าวว่า :

مُحَمَّدُ بْنُ الْحَسَنِ بْنِ أَحْمَدَ بْنِ الْوَلِيدِ  أبو جعفر شيخ القميين، وفقيههم، ومتقدمهم، ووجههم. ويقال إنه نزيل قم، وما كان أصله منها. ثقة ثقة، عين، مات أبو جعفر محمد بن الحسن بن الوليد سنة ثلاث وأربعين وثلاثمائة.

มุฮัมมัด บินอัลฮาซัน บินอะหมัด บินอัลวะลีด อบูญะอ์ฟัร  คือเชคแห่งชาวเมืองกุม เป็นฟะกีฮฺของพวกเขา  และเป็นหัวหน้าของพวกเขา  กล่าวกันว่า เขาพำนักอยู่ที่เมืองกุม แต่เขาไม่ใช่คนที่นั่น  การรายงานเชื่อถือได้ๆ  มรณะฮ.ศ. 343
ดูริญาล นะญาชี  เล่ม 1 : 272 อันดับ 1042


สรุป

มุฮัมมัด บินอัลฮาซัน บินอะหมัด บินอัลวะลีด = เชื่อถือได้ในการรายงาน
  •  

L-umar


3. มุฮัมมัด บินอัลฮาซัน อัศ – ศ็อฟฟ้าร   มรณะ ฮ.ศ. 290  



อิบนุดาวูดกล่าวว่า :

مُحَمَّدُ بْنُ الْحَسَنِ بْنِ فَرُّوْخَ الصَّفَّارُ ، مولى عيسى بن موسى ...كان وجها في أصحابنا القميين ثقة عظيم القدر راجحاقليل السقط في الرواية، توفى بقم سنة تسعين ومائتين.

มุฮัมมัด บินอัลฮาซัน บินฟัรรู๊ค อัศ ศ็อฟฟ้าร  คนรับใช้ของอีซา บินมูซา
เป็นหัวหน้าในบรรดาอัศฮาบของเราแห่งชาวเมืองกุม   การรายงานเชื่อถือได้   มรณะฮ.ศ. 290  
ดูริญาล อิบนิดาวูด  เล่ม 1 : 165 อันดับ 1359

อัน นะญาชี กล่าวว่า :

محمد بن الحسن بن فروخ الصفار...  كان وجها في أصحابنا القميين، ثقة عظيم القدر راجحا قليل السقط في الرواية.

มุฮัมมัด บินอัลฮาซัน บินฟัรรู๊ค อัศ ศ็อฟฟ้าร  เป็นหัวหน้าในบรรดาอัศฮาบของเราแห่งชาวเมืองกุม   การรายงานเชื่อถือได้  
ดูริญาล นะญาชี  เล่ม 1 : 251 อันดับ 948

อัลลามะฮ์ฮิลลี กล่าวว่า :

محمد بن الحسن بن فروخ الصفار ...كان وجها في أصحابنا القميين ثقة عظيم القدر راجحا \\\" قليل السقط في الرواية،

มุฮัมมัด บินอัลฮาซัน บินฟัรรู๊ค อัศ ศ็อฟฟ้าร  เป็นหัวหน้าในบรรดาอัศฮาบของเราแห่งชาวเมืองกุม   การรายงานเชื่อถือได้  
ดูคุลาเศาะตุลอักวาล  เล่ม 27 : 18 อันดับ 112


สรุป

มุฮัมมัด บินอัลฮาซัน อัศ ศ็อฟฟ้าร เจ้าของหนังสือบะซออิรุด ดะร่อญ๊าต = เชื่อถือได้ในการรายงาน
  •  

L-umar


4. มุฮัมมัด บินอัลฮูเซน บินอบิลค็อตต็อบ   มรณะ ฮ.ศ. 262  


อิบนุดาวูดกล่าวว่า :

مُحَمَّدِ بْنِ الْحُسَيْنِ بْنِ أَبِي الْخَطَّابِ أبو جعفر الزَّيَّات‏ ، واسم أبي الخطاب زيد الهمداني  ثقة.

มุฮัมมัด บินอัลฮูเซน บินอบิลคอตตอบ  อบูญะอ์ฟัร อัซ-ซัยย๊าต  ชื่อของอบุลคอตตอบคือ เซด อัลฮัมดานี  การรายงานเชื่อถือได้
ดูริญาล อิบนิดาวูด  เล่ม 1 : 163 อันดับ 1345

เชคตูซี กล่าวว่า :

محمد بن الحسين بن أبي الخطاب الزيات الكوفي، ثقة، من أصحاب أبي جعفر الثاني(الجواد).

มุฮัมมัด บินอัลฮูเซน บินอบิลคอตตอบ  อัซ-ซัยย๊าต ชาวเมืองกูฟะฮ์  เป็นซอฮาบะฮ์คนหนึ่งของท่านอบูญะอ์ฟัร อัษษานี ( อิม่ามที่ 9  อัลญะวาด )
ดูริญาล เชคตูซี  เล่ม 1 : 180 อันดับ 5771

อัน นะญาชี กล่าวว่า :

محمد بن الحسين بن أبي الخطاب أبو جعفر الزيات الهمداني ... عظيم القدر، كثير الرواية، ثقة، عين، حسن التصانيف،...ومات محمد بن الحسين سنة اثنتين وستين ومائتين.

มุฮัมมัด บินอัลฮูเซน บินอบิลคอตตอบ  อบูญะอ์ฟัร อัซ-ซัยย๊าต  อัลฮัมดานี
อะซีมุลก็อดรฺ  รายงานหะดีษมากมาย   เชื่อถือได้ในการรายงาน  มรณะฮฺ.ศ 262  
ดูริญาล นะญาชี  เล่ม 1 : 235 อันดับ 897

محمد بن الحسين بن أبي الخطاب وإسم أبي الخطاب زيد ويكنى محمد بأبي جعفر الزيات الهمداني جليل من أصحابنا عظيم القدر كثير الرواية ثقة عين حسن التصانيف مسكون إلى روايته، ...من أصحاب الجواد عليه السلام.
خلاصة الاقوال - (ج 27 / ص 4)

อัลลามะฮ์ฮิลลี กล่าวว่า :
มุฮัมมัด บินอัลฮูเซน บินอบิลคอตตอบ  ชื่ออบุลคอตตอบคือ เซด ฉายาคืออบูญะอ์ฟัร อัซซัยยาต อัลฮะมะดานี เป็นซอฮาบะฮ์ผู้สุงส่งคนหนึ่งของพวกเรา  อะซีมุลก็อดร์  รายงานหะดีษมากมาย  เชื่อถือได้ในการรายงาน  เป็นซอฮาบะฮ์คนหนึ่งของอิม่ามญะวาด (อ)
ดูคุลาเศาะตุลอักวาล  เล่ม 27 : 4 อันดับ 19


สรุป

มุฮัมมัด บินอัลฮูเซน บินอบิลคอตตอบ  = เชื่อถือได้ในการรายงาน
  •  

L-umar



5. ยะอ์กูบ   บินยะซีด


อิบนุดาวูดกล่าวว่า :

يَعْقُوْبِ بْنِ يَزِيْدَ بن حماد الانباري السلمي أبو يوسف القمي  انتقل إلى بغداد وكان ثقة صدوقا

ยะอ์กูบ บินยะซีด บินฮัมมาด อัลอันบารี อัสสุละมี  อบูยูสุฟ อัลกุมมี เขาย้ายไปอยู่ที่เมืองแบกแดด เขาเป็นผู้ที่เชื่อถือได้ มีวาจาสัตย์
ดูริญาล อิบนิดาวูด  เล่ม 1 : 201 อันดับ 1735

เชคตูซี กล่าวว่า :

يعقوب بن يزيد الكاتب  يزيد أبوه ثقتان

ยะอ์กูบ บินยะซีด อัลกาติบ และบิดาของเขา ยะซีด บินฮัมมาด ทั้งสอง เชื่อถือได้ในการรายงาน
ดูริญาล เชคตูซี  เล่ม 1 : 172 อันดับ 5488

อัน นะญาชี กล่าวว่า :

يعقوب بن يزيد بن حماد الأنباري السلمي أبو يوسف، من كتاب المنتصر، روى عن أبي جعفر الثاني عليه السلام، وانتقل إلى بغداد، وكان ثقة صدوقا

ยะอ์กูบ บินยะซีด บินฮัมมาด อัลอันบารี อัสสุละมี  อบูยูสุฟ อัลกุมมี รายงานหะดีษจากอิม่ามอบูญะอ์ฟัร (อิม่ามญะวาด) เขาย้ายไปอยู่ที่เมืองแบกแดด  และเขาเป็นผู้ที่เชื่อถือได้ มีวาจาสัตย์
ดูริญาล นะญาชี  เล่ม 1 : 321 อันดับ 1215

อัลลามะฮ์ฮิลลี กล่าวว่า :

يَعْقُوْبِ بْنِ يَزِيْدَ بن حماد الانباري السلمي أبويوسف الكاتب من كتاب المنتصر
وقال الكشي عن ابن مسعود عن الحسن بن علي بن فضال انه كان كاتبا \\\" لابي دلف القاسم وكان يعقوب من أصحاب الرضا عليه السلام وروى يعقوب عن أبي جعفر الثاني عليه السلام وانتقل إلى بغداد وكان ثقة صدوقا \\\"

ยะอ์กูบ  บินยะซีด... อบูยูสุฟ  และอัลกัชชีเล่าจากอิบนิมัสอูด จากอัลฮาซัน บินอะลี บินฟัฎฎอลว่า เขา(ยะอ์กูบ)เป็นนักจดบันทึกประจำตัวของอบู ดุลัฟ อัลกอสิม  และยะอ์กูบนั้นเป็นซอฮาบะฮ์คนหนึ่งของอิม่ามริฎอ(อิม่ามที่ 8 )
ยะอ์กูบ รายงานหะดีษจากอิม่ามอบีญะอ์ฟัร ษานี(อิม่ามที่ 9 )  เขาย้ายไปอยู่ที่แบกแดด  เป็นคนที่เชื่อถือได้ในการรายงาน มีวาจาสัตย์  
ดูคุลาเศาะตุลอักวาล  เล่ม 31 : 4


สรุป

ยะอ์กูบ บินยะซีด   = เชื่อถือได้ในการรายงาน
  •  

L-umar



6. มุฮัมมัด บินอบี อุมัยร์  มรณะ ฮ.ศ. 217


เชคตูซี กล่าวว่า :

مُحَمَّدُ بْنُ أَبِي عُمَيْرٍ يكنى أبا أحمد، من موالي الأزد، و اسم أبي عمير زياد، و كان من أوثق الناس عند الخاصة و العامة،

มุฮัมมัด บิน อบีอุเมร  ฉายา อบูมุฮัมมัด คนรับใช้คนหนึ่งของอัลอัซดุ ชื่อของอบูอุเมรคือ ซิยาด  

เขาคือบุคคลหนึ่ง " ที่มีความน่าเชื่อถือในการรายงานหะดีษมากที่สุด "  ของชีอะฮ์และซุนนี่



ดูอัลฟะฮ์ร็อส เชคตูซี  เล่ม 1 : 109 อันดับ 607


อัลฮาซัน บินฟัฎฎอลกล่าวว่า  

قال الحسن بن فضال: انه كان افقه من يونس، واصلح، وافضل

เขา(อิบนิอบีอุเมร) มีความรู้มากกว่ายูนุส (บินอัลดุลเราะห์มาน ) เขาดีกว่าและประเสริฐกว่า

ดู ริญาล นะญาชี  อันดับที่ 326

وعده الكشي من الذين اجمع اصحابنا على تصحيح ما يصح عنهم، وتصديقهم، واقروا لهم بالفقه والعلم

อัลกัชชี นับว่าเขา(อิบนิอบีอุเมร) คือบุคคลหนึ่งที่บรรดาอัศฮาบของพวกเรามีมติว่า รายงานหะดีษของเขานั้น เศาะหิ๊หฺ และพวกเขาให้ความเชื่อถือ อีกทั้งยังให้การรับรองต่อเรื่องฟิกฮ์และความรู้ของเขา

ดูริซาละฮ์ อบีฆอลิบ อัซ ซะรอรี  หน้า 136


อิบนุดาวูด กล่าวว่า  :

มุฮัมมัด บิน อบีอุมัยรฺ อัลบัซซ้าร  ฉายา อบูอะหมัด ชื่อของอบูอุเมรคือ ซิย๊าด บินอีซา  คือบุคคลหนึ่งที่มีความน่าเชื่อเป็นอย่างมากสำหรับชีอะฮ์และซุนนี่

กล่าวกันว่า เขามีเตาฮีดมากที่สุด (และมีความเคร่งครัดในศาสนามากที่สุดในยุคของเขาในทุกๆสิ่ง)


อิบนิอบีอุเมร มีชีวิตอยู่ทันถึงสามอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์คือ

1.   อิม่ามมูซา กาซิม ( 7 ) แต่เขาไม่เคยรายงานหะดีษจากอิม่ามกาซิม
2.   อิม่ามอะลี ริฎอ ( 8 ) และรายงานหะดีษจากท่าน
3.   อิม่ามมุฮัมมัด ญะวาด (9 )




และอิบนิอบีอุเมร มีชีวิตอยู่ในการปกครองสองกษัตริย์แห่งราชวงศ์อับบาซียะฮ์คือ
1.   ฮารูน  รอชีด
2.   มะอ์มูน อับบาซี



ผู้ที่รายงานหะดีษจากเขาคือ  อะหมัด บินมุฮัมมัด บินอีซา  

อิบนิอบีอุเมรได้บันทึกรายชื่อผู้ที่รายงานหะดีษจากอิม่ามศอดิก(อ)ไว้ได้ถึง 100 คน และแต่งตำราไว้มากมายถึง 94 เล่ม

หลังจากอิม่ามริฎอ(อ) เสียชีวิต  เขาถูกคุมขัง ถูกริบทรัพย์สิน ตำราของเขาสูญหายไปหมด(เพราะถูกทำลาย) แต่เขาสามารถท่องจำไว้ได้ถึงสี่สิบเล่ม  ด้วยเหตุนี้สายรายงานหะดีษของอิบนิ อบีอุเมร จึงเป็นหะดีษชนิด " มุรซัล "  (คือมีสายรายงานที่ขาดตอน)

เขามีความพยายามเป็นอย่างยิ่งในการศึกษารายชื่อของบรรดานักรายงานหะดีษชีอะฮ์และสถานะภาพของพวกเขา   จนกาหลิบฮารูนรอชีดออกคำสั่งให้เขาแจ้งรายชื่อนักรายงานหะดีษชีอะฮ์เหล่านั้น(ซึ่งเป็นซอฮาบะฮ์ของอิม่ามมูซากาซิม)  แต่เขาปฏิเสธ จึงถูกโบยอย่างหนักถึง 100 ที

คืนที่อิบนิอบีอุเมรโดนทำโทษ เขาเล่าว่า เมื่อข่าวการโดนโบยมาถึงฉัน  ฉันเกือบจะยอมบอกรายชื่อนักรายงานหะดีษชีอะฮ์  แต่ฉันได้ยินเสียงของมุฮัมมัด บินยูนุส บินอับดุลเราะห์มาน(ซอฮาบะฮ์ของอิม่ามกาซิม)กล่าวเตือนสติว่า  โอ้มุฮัมมัด บินอบีอุเมรเอ๋ย  จงนึกถึงจุดยืนของท่านต่อหน้าอัลลอฮ์ให้ดีเถิด คำพูดของเขาจึงทำให้ฉันเข้มแข็งและอดทน  และฉันไม่เคยแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับรายชื่อนักรายงานหะดีษชีอะฮ์ออกไปเลย  ขอขอบคุณอัลลอฮ์
เล่ากันว่า  มีคนจ่ายเงินจำนวนสองหมื่นหนึ่งพันดิรฮัมให้เขารอดตัวออกมาจากที่คุมขัง


อิบนิอบีอุเมรเดิมเป็นคนชาวเมืองแบกแดด เขาได้พบกับอิม่ามมูซากาซิม ได้สดับฟังหะดีษมากมายจากท่าน  อิม่ามกาซิมตั้งฉายาให้เขาว่า โอ้ อบามุฮัมมัด ยิ่งใหญ่เหลือเกินสำหรับเขา ขออัลลอฮ์ทรงเมตตาเขาด้วยเถิด  

ดูริญาล อิบนิดาวูด  เล่ม 1 : 154 อันดับ 1272


อัน นะญาชีกล่าวว่า :

มุฮัมมัด บิน อบีอุมัยรฺ รายงานหะดีษจากอิม่ามริฎอ(อ)

جَلِيْلُ الْقَدْرِ عَظِيْمُ الْمَنْزِلَةِ فِيْناَ

ญะลีลุลก็อดริ อะซีมุลมันซิละฮ์  - เป็นผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูง มีสถานะสูงในหมู่พวกเรา(คือชีอะฮ์)

เป็นแกนนำคนหนึ่งของชีอะฮ์  
อิบนิอบีอุเมรถูกคุมขังในช่วงการปกครองของกาหลิบฮารูนรอชีด  เพื่อให้เขาแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับที่อยู่ของพวกชีอะฮ์ และบรรดาซอฮาบะฮ์ของอิม่ามมูซา กาซิม(อ)  เขาโดนโบยถึงหนึ่งร้อยที จนเกือบยอมสารภาพเพราะเจ็บมาก แต่เขาได้ยินมุฮัมมัด บินยูนุส(ซอฮาบะฮ์ของอิม่ามกาซิม) เตือนสติว่า

اتَّقِ اللَّهَ يَا مُحَمَّدَ بْنَ أَبِيْ عُمَيْرٍ، فَصَبَرَ فَفَرَّجَ اللهُ

ท่านจงเกรงกลัวอัลลออ์เถิด โอ้มุฮัมมัด บินอบีอุเมร เขาจึงอดทน แล้วอัลลอฮ์ทรงทำให้เขาได้รับความบรรเทา

มีรายงานว่า  กาหลิบมะอ์มูนจับเขาขังคุก จนกระทั่งได้แต่งตั้งเขาให้ไปเป็นผู้พิพากษาบางเมือง  กล่าวกันว่า น้องสาวของอิบนิอบีอุเมรได้แอบเอาตำราต่างๆของเขาไปฝังไว้ ตอนที่เขาติดคุกนานถึงสี่ปี จนตำราของเขาได้รับความเสียหาย  
บ้างก็เล่าว่า เขาตั้งตำราของเขาไว้ในห้อง จนฝนตกลงมาทำให้ตำราเสียหายหมด
เขาจึงต้องรายงานหะดีษจากความจดจำของเขาเอง  ด้วยเหตุนี้บรรดาอัศฮาบของพวกเราจึงมีความเชื่อมั่นต่อหะดีษมุรซัลต่างๆที่เขารายงาน

ดูริญาล นะญาชี  เล่ม 1 : 227 อันดับ 887



วิเคราะห์ -

เมื่อท่านได้อ่านชีวประวัติโดยย่อของนักรายงานหะดีษชีอะฮ์ที่ชื่อ มุฮัมมัด อิบนิอบีอุเมร ซึ่งท่านผู้นี้เป็นซอฮาบะฮ์ของท่านอิม่ามมูซากาซิม ,อิม่ามอะลีริฎอ และอิม่ามมุฮัมมัดญะวาด (คืออิม่ามที่ 7,8,9 )

จะสังเกตุได้ว่า    การถ่ายทอดหะดีษของอะฮ์ลุลบัยต์นบี(อ)สู่ประชาชนในยุคการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์และอับบาซียะฮ์นั้น  นับได้ว่าไม่ใช่เรื่องง่ายๆสำหรับซอฮาบะฮ์ของบรรดาอิม่าม หรือนักรายงานชีอะฮ์ที่จะกระทำได้อย่างเสรี เหมือนพี่น้องอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ในยุคนั้นที่สามารถรายงานหะดีษของซอฮาบะฮ์ได้อย่างสบายๆ

รอวีชีอะฮ์โดยส่วนมากต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างยากลำบาก  คราใดที่ผู้ปกครองสืบได้ว่า เขาคือบุคคลหนึ่งที่จดจำหะดีษของอะฮ์ลุลบัยต์และทำการถ่ายทอดหะดีษนั้นสู่ประชาชน  รอวี(นักรายงาน)คนนั้นจะถูกตามจับคุมตัวมาขัง มาลงโทษ

ฉะนั้นการบันทึก จดจำหะดีษของบรรดาอิม่าม(อ) จึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก  กว่าจะถ่ายทอดจากชนรุ่นก่อน สู่ชนรุ่นต่อๆมา จนมาถึงมือพวกเราในยุคปัจจุบัน

รอวีชีอะฮ์บางคนต้องปิดบัง อำพรางรายชื่อของตัวเองและสายรายงานบางส่วนและบางคนเอาไว้ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของพวกเขา  จนทำให้หะดีษในตำราชีอะฮ์ที่ทรงคุณค่า ต้องประสบปัญหากับหะดีษประเภท " มุรซัล "   คือมีสายรายงานขาดตอน ไม่สมบูรณ์ไปบ้าง

จากปัญหานี้ ทำให้นักวิชาการซุนนี่ ชอบหยิบยกอุปสรรคที่รอวีชีอะฮ์เผชิญในอดีตมาโจมตีว่า  

หะดีษชีอะฮ์ไม่ค่อยมีความถูกต้องในด้านสายรายงาน หรือที่เรียกว่า อิสนาด

ทั้งๆที่พวกเขารู้ดีว่า ปัญหาที่แท้จริงของรอวีชีอะฮ์ในประวัติศาสตร์คืออะไร  แต่พวกเขาแสแสร้งทำเป็นไม่ยอมรับรู้  

หากชาวซุนนี่ได้อ่านหะดีษของอะฮ์ลุลบัยต์นบี(อ)อย่างพินิจพิเคราะห์  ก็จะทราบว่า เนื้อหาสาระของหะดีษเหล่านั้นมีคุณค่ามากมายเพียงใด แต่ก็นั่นแหล่ะครับ   เป็นเพราะพวกเขาขาดความรักอย่างแท้จริงที่มีต่อลูกหลานของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ) จึงทำให้พวกเขามีอคติกับหะดีษของลูกหลานนบี เช่น หะดีษในตำราอัลกาฟี  เป็นต้น


กรณีนักรายงานหะดีษที่ชื่อ " มุฮัมมัด อิบนิอบีอุเมร " คือตัวอย่างหนึ่ง  เขาได้รับฟังหะดีษจากท่านอิม่ามที่ 7,8,9  เขาได้จดจำและบันทึกเอาไว้เป็นตำราอย่างดี  
แต่เมื่อเขาต้องถูกผู้ปกครองรุกรานชีวิต  ถูกจำคุก ถูกโบย ถูกทรมานให้เขาบอกรายชื่อและที่อยู่ของบรรดาชีอะฮ์ของอิม่ามมูซากาซิม ที่หลบซ่อนตัว

ผลคือตำราหะดีษของอะฮ์ลุลุบัยต์นบี(อ)ที่เขาบันทึกไว้ต้องได้รับความเสียหายและสูญหายไปมากมาย สิ่งที่หลงเหลืออยู่สำหรับอิบนิอบีอุเมรคือ ความทรงจดจำเพียงว่า  บรรดาอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์(อ)ได้สอนสั่งอะไรไว้เท่านั้น  โดยเขาไม่สามารถประติดประต่อสายรายงานหะดีษอันมากมายเหล่านั้นได้เหมือนที่เขาเคยบันทึกไว้เป็นอย่างดีและสมบูรณ์ ซึ่งเป็นสาเหตุมาจากผู้ปกครองที่ทำร้ายเขา  

ตรงนี้ต่างไปจากสภาพชีวิตของรอวีฝ่ายซุนนี่ เพราะส่วนมากพวกเขาไม่ต้องเผชิญชะตากรรมเหมือนกับรอวีชีอะฮ์  พวกเขาจึงสามารถรวบรวม จัดวางระบบหะดีษได้อย่างอิสระเสรี


ความผิดของ \\\" รอวีชีอะฮ์  \\\" ในอดีตมีเพียงโทษฐานเดียวคือ  ถ่ายทอดคำพูดของลูกหลานนบี.  


สรุป


มุฮัมมัด  บิน อบีอุเมร   =  เชื่อถือได้ในการายงาน
  •  

14 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้