Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

ธันวาคม 21, 2024, 11:59:36 หลังเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
  • สมาชิกทั้งหมด: 1,718
  • Latest: Haroldsmolo
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 3,698
  • หัวข้อทั้งหมด: 778
  • Online today: 22
  • Online ever: 200
  • (กันยายน 14, 2024, 01:02:03 ก่อนเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 28
Total: 28

คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์

เริ่มโดย L-umar, ตุลาคม 16, 2009, 12:13:52 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar



คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์ ???


เป็นที่ทราบดีว่า  

ท่านอบูบักรได้รับตำแหน่ง " คอลีฟะฮ์ " มาจากการประชุมหารือผู้นำที่สะกีฟะฮ์บนีสะอีดะฮ์   ต่อมาได้เรียกการเลือกตั้งผู้นำนี้ว่าเป็น

มติของซอฮาบะฮ์ ( إجماع الصحابة )

ทุกท่านที่เคารพ ต่างทราบดีว่า  
การปฏิเสธสถานะคอลีฟะฮ์ของท่านอบูบักร  
คือการยืนยันถึงการเป็นคอลีฟะฮ์ของท่านอะลี

พี่น้องซุนนี่ย่อมต้องพยายามปกป้องเรื่องนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
เพราะปัญหานี้เป็นอะกีดะฮ์ประการหนึ่งของพวกเขา

พี่น้องซุนนี่มีสิทธิที่จะเขียนบทความต่างๆออกมาชี้แจงถึงความชอบธรรมในการดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ์ของท่านอบูบักร ตามทัศนะของพวกเขา
และ
ชีอะฮ์ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเขียนบทความต่างๆออกมาชี้แจงถึงความชอบธรรมในการดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ์ของท่านอะลี ตามทัศนะของพวกเขาเช่นกัน

ชีอะฮ์มีอะกีดะฮ์ว่า  
ผู้นำ - คอลีฟะฮ์ ต้องมาจากคำสั่งของอัลลอฮ์เท่านั้น

ฝ่ายซุนนี่มีอะกีดะฮ์ว่า
เรื่อง " ผู้นำ -คอลีฟะฮ์ " เป็น " มติ " ของประชาชนในยุคนั้น

ประการแรกเราขอให้ท่านจงย้อนกลับไปพิจารณาที่
1.   อัลกุรอ่าน
2.   อัลหะดีษ
เสียก่อนว่า อัลเลาะฮ์และรอซูลนั้นได้กล่าวถึงเรื่องผู้นำไว้อย่างไร หรือได้วางมาตรการเกี่ยวกับเรื่อง " ผู้นำ " เอาไว้อย่างไร

อัลกุรอ่าน
อัลลอฮ์ ตะอาลาตรัสว่า

وَإِنْ تُطِعْ أَكْثَرَ مَنْ فِي الْأَرْضِ يُضِلُّوكَ عَنْ سَبِيلِ اللَّهِ إِنْ يَتَّبِعُونَ إِلَّا الظَّنَّ وَإِنْ هُمْ إِلَّا يَخْرُصُونَ

และหากเจ้าเชื่อฟังส่วนมากของผู้คนในแผ่นดินแล้ว พวกเขาจะทำให้เจ้าหลงออกจากทางของอัลลอฮ์
พวกเขามิได้ปฏิบัติตามสิ่งใด นอกจากการนึกคิดเอาเอง และพวกเขามิได้ตั้งอยู่บนสิ่งใดนอกจากพวกเขาจะคาดคะเนเอาเท่านั้น
บท 6 : 116

أَلَمْ تَرَ إِلَى الَّذِينَ يُزَكُّونَ أَنْفُسَهُمْ بَلِ اللَّهُ يُزَكِّي مَنْ يَشَاءُ وَلَا يُظْلَمُونَ فَتِيلًا

เจ้ามิได้มองดูไปยังบรรดาผู้ที่ขัดเกลาตัวเองให้เป็นผู้บริสุทธิ์ดอกหรือ ?
แต่ทว่าอัลลอฮฺต่างหาก ที่จะซักฟอกผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ให้บริสุทธิ์
และพวกเขาจะไม่ถูกอธรรมแม้เพียงขนาดร่องเมล็ดอินทผาลัม
บท 4 : 49

فَلَا تُزَكُّوا أَنْفُسَكُمْ هُوَ أَعْلَمُ بِمَنِ اتَّقَى

ดังนั้นพวกเจ้าจงอย่าแสดงความบริสุทธิ์แก่ตัวของพวกเจ้าเอง เพราะพระองค์ทรงรู้ดียิ่งถึงผู้ที่มีความยำเกรง
บท 53 : 32

إِنَّ رَبَّكَ هُوَ أَعْلَمُ مَنْ يَضِلُّ عَنْ سَبِيلِهِ وَهُوَ أَعْلَمُ بِالْمُهْتَدِينَ

แท้จริงพระผู้อภิบาลของเจ้านั้นคือ ผู้ทรงรอบรู้มากที่สุดต่อผู้ที่กำลังหลงออกจากแนวทางของพระองค์ และเป็นผู้รอบรู้มากที่สุดต่อบรรดาผู้ที่รับการนำทาง
บท 6  : 117

โองการเหล่านี้คือหลักฐานดีที่สุดว่า มติของมนุษย์นั้น มิอาจนำมาใช้กับเรื่องผู้นำได้  

เพราะว่า ผู้นำ – คอลีฟะฮ์ ต้องมาจากการแต่งตั้งโดยอัลลอฮ์เท่านั้น

ศาสดาของอัลลอฮ์ทุกคนล้วนได้รับการเลือกเฟ้นโดยอัลลอฮ์  
ดังที่อัลลอฮ์ตะอาลาตรัสว่า

إِنَّ اللَّهَ اصْطَفَى آَدَمَ وَنُوحًا وَآَلَ إِبْرَاهِيمَ وَآَلَ عِمْرَانَ عَلَى الْعَالَمِينَ

แท้จริงอัลลอฮ์ทรงคัดเลือก(ให้เป็นนบีคือ) อาดัมและนู๊ห์ และวงศ์วานของอิบรอฮีม และวงศ์วานของอิมรอนให้เหนือกว่าประชาชาติทั้งหลาย
บท 3 : 33

وَإِذْ قَالَتِ الْمَلَائِكَةُ يَا مَرْيَمُ إِنَّ اللَّهَ اصْطَفَاكِ وَطَهَّرَكِ وَاصْطَفَاكِ عَلَى نِسَاءِ الْعَالَمِينَ

และจงรำลึกขณะที่มะลาอิกะฮ์กล่าวว่า โอ้มัรยัม ! แท้จริงอัลลอฮ์ทรงเลือกเธอและทรงทำให้เธอบริสุทธิ์ และได้ทรงเลือกเธอ(เพื่อเป็นมารดาของอีซา) ให้เหนือบรรดาหญิงแห่งประชาชาติทั้งหลาย
บท 3 : 42

إِنَّ اللَّهَ اصْطَفَاهُ عَلَيْكُمْ وَزَادَهُ بَسْطَةً فِي الْعِلْمِ وَالْجِسْمِ

(นะบีของเขา) กล่าวว่า แท้จริงอัลลอฮ์ทรงคัดเลือกเขาให้มีอำนาจเหนือพวกท่านแล้ว และได้ทรงเพิ่มให้แก่เขาอีก ซึ่งความกว้างขวางในความรู้ และความสูงใหญ่ในร่างกาย
บท 2 : 247

وَإِذْ قَالَ رَبُّكَ لِلْمَلَائِكَةِ إِنِّي جَاعِلٌ فِي الْأَرْضِ خَلِيفَةً

และจงรำลึกถึงขณะที่พระผู้อภิบาลของเจ้าได้ตรัสแก่มะลาอิกะฮฺว่า แท้จริงข้าจะให้มีคอลีฟะฮ์คนหนึ่ง(เป็นผู้แทนของข้า) ในแผ่นดิน
บท 2 : 30

وَإِذِ ابْتَلَى إِبْرَاهِيمَ رَبُّهُ بِكَلِمَاتٍ فَأَتَمَّهُنَّ قَالَ إِنِّي جَاعِلُكَ لِلنَّاسِ إِمَامًا قَالَ وَمِنْ ذُرِّيَّتِي قَالَ لَا يَنَالُ عَهْدِي الظَّالِمِينَ

และจงรำลึกถึง ขณะที่พระผู้อภิบาลของอิบรอฮีมได้ทดสอบเขา ด้วยถ้อยคำต่างๆ(พระบัญชา) แล้วเขาก็ได้สนองตามพระบัญชานั้นโดยครบถ้วน พระองค์ตรัสว่า  : แท้จริงข้าจะให้เจ้าเป็นอิม่ามผู้นำต่อมนุษยชาติ
เขา(อิบรอฮีม)กล่าวว่า  : และ(ขอให้)จากลูกหลานของข้าพระองค์(ได้รับตำแหน่งผู้นำนั้น)ด้วย
พระองค์ตรัสว่า  : สัญญาของข้า(ในเรื่องแต่งตั้งผู้นำ)นั้นจะไม่ได้แก่บรรดาผู้อธรรม
บท 2 :124

وَهُوَ الَّذِي جَعَلَكُمْ خَلَائِفَ الْأَرْضِ وَرَفَعَ بَعْضَكُمْ فَوْقَ بَعْضٍ دَرَجَاتٍ لِيَبْلُوَكُمْ فِي مَا آَتَاكُمْ

และพระองค์นั้นคือผู้ที่ทรงทำให้พวกเจ้าเป็นคอลีฟะฮ์(ผู้ปกครองใน)แผ่นดิน และได้ทรงเทิดบางคนของพวกเจ้าเหนือกว่าอีกบางคนหลายขั้น เพื่อที่พระองค์จะทรงทดสอบพวกเจ้าในสิ่งที่พระองค์ได้ทรงประทานแก่พวกเจ้า
บท 6 : 165

يَا دَاوُودُ إِنَّا جَعَلْنَاكَ خَلِيفَةً فِي الْأَرْضِ فَاحْكُمْ بَيْنَ النَّاسِ بِالْحَقِّ

โอ้ดาวูด ! แท้จริงเราได้แต่งตั้งเจ้าให้เป็นคอลีฟะฮ์ในแผ่นดิน ดังนั้นเจ้าจงตัดสินคดีต่าง ๆ ระหว่างมนุษย์ด้วยความยุติธรรม
บท 38 : 26

ท่านจะเห็นได้ว่า อัลลอฮ์ทรงทำหน้าที่สรรหาบุคคลที่จะมาเป็นนบี(ศาสดา) และทรงทำหน้าที่แต่งตั้งนบีด้วยตัวของพระองค์เองทั้งสิ้น

ไม่มีโองการใดระบุว่า  มีนบี(ศาสดาของอัลลอฮ์)คนใดในโลกได้รับตำแหน่งนุบูวะฮ์นี้มาจากมติของประชาชน  

หรือถ้าท่านใดมีข้อมูล กรุณาช่วยแจ้งให้เราทราบด้วย

ส่วนกรณีการแต่งตั้งคอลีฟะฮ์ ตัวแทนทำหน้าที่สืบต่อจากนบีนั้น มีซุนนะฮ์(แบบอย่าง)ที่อัลกุรอ่านกล่าวเอาไว้ดังนี้

وَقَالَ مُوسَى لِأَخِيهِ هَارُونَ اخْلُفْنِي فِي قَوْمِي وَأَصْلِحْ وَلَا تَتَّبِعْ سَبِيلَ الْمُفْسِدِينَ

และมูซาได้กล่าวแก่ฮารูนพี่ชายของเขาว่า จงทำหน้าที่แทนฉันในหมู่ชนของฉัน และจงปรับปรุงแก้ไข และจงอย่าปฏิบัติตามทางของผู้ก่อความเสียหาย
บท 7 : 142

เราเชื่อว่า  ก่อนท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)จะจากโลกนี้ไป  ท่านได้แต่งตั้งคอลีฟะฮ์ตเอาไว้แล้ว เพื่อสืบทอดหน้าที่อันยิ่งใหญ่ภายหลังจากท่าน
อีกอย่างหนึ่งการแต่งตั้งคอลีฟะฮ์สืบแทนนบี ยังเป็นซุนนะฮ์ของบรรดานบีทั้งหลายอีกด้วย

แล้วจะเป็นไปได้อย่างไรที่นบีมุฮัมมัด(ศ)จะแหวกแนวออกไปจากบรรดาศาสดาของอัลลอฮ์ที่มาก่อนหน้าท่าน

จะเห็นได้ว่า ทั้งๆที่นบีมูซาได้แต่งตั้งนบีฮารูนเป็นคอลีฟะฮ์แทนตัวท่านเอาไว้ ก่อนที่นบีมูซาจะจากพวกบนีอิสรออีลขึ้นไปบนภูเขา  เพียงแค่สี่สิบคืนเท่านั้น เกิดอะไรขึ้นกับพวกอิสราเอล   อัลกุรอ่านเล่าว่า

وَإِذْ وَاعَدْنَا مُوسَى أَرْبَعِينَ لَيْلَةً ثُمَّ اتَّخَذْتُمُ الْعِجْلَ مِنْ بَعْدِهِ وَأَنْتُمْ ظَالِمُونَ

และจงรำลึกถึงขณะที่เราได้สัญญาแก่มูซาไว้ 40 คืน  แล้วพวกเจ้า(อิสราเอล)ได้ยึดลูกวัวตัวนั้น(เป็นพระเจ้าเคารพสักการะ)หลังจากเขา และพวกเจ้านั้นเป็นผู้อธรรม
บท 2 : 51

คำถาม

1.   นบีมูซาแค่จากพวกอิสราเอลไปสี่สิบวัน พวกเขายังหันไปกราบไหว้รูปปั้นวัว แทนอัลลอฮ์  แล้วนบีมุฮัมมัด(ศ)รู้ดีว่าต้องจากประชาชาติอิสลามไปตลอดกาล แล้วสภาพของประชาชาติอิสลามจะเป็นอย่างไรเล่า หากท่านไม่แต่งตั้งคอลีฟะฮ์เอาไว้ ?

2.   แบบอย่างของบรรดานบีคือ ก่อนจากหมู่ชนของพวกเขาไปจะแต่งตั้งคอลีฟะฮ์ของพวกเขาเอาไว้   แต่น่าแปลกใจที่พี่น้องซุนนี่กลับเชื่อว่า นบีมุฮัมมัด(ศ)จากไปโดยไม่ได้แต่งตั้งใครเป็นคอลีฟะฮ์   ท่านคิดว่านบีมุฮัมมัด(ศ)ได้ทอดทิ้งแนวทางที่อัลลอฮ์ทรงวางเอาไว้สำหรับบรรดานบีทั้งหลายกระนั้นหรือ ?


มีต่อ...
  •  

L-umar


เมื่อซุนนี่เชื่อว่า  นบีมุฮัมมัด(ศ)ไม่ได้แต่งตั้งคอลีฟะฮ์เอาไว้

ประชาชนจึงจำเป็นต้องเฟ้นหาผู้นำคอลีฟะฮ์ ด้วยวิธี " เลือกตั้ง "


คำ  " เลือกตั้ง "
หมายถึง การที่ประชาชนเลือกบุคคลหนึ่ง ให้มาดำรงตำแหน่งผู้นำต่อจากท่านนบีมุฮัมมัด(ศ) เพราะท่านจากไปโดยไม่ได้แต่งตั้งใครไว้

จากนั้นซุนนี่ได้กล่าวว่า
การประชุมหาคอลีฟะฮ์ที่สะกีฟะฮ์ในวันนั้น  ผลปรากฏออกว่าประชาชนมี   " มติ " ให้ท่านอบูบักรขึ้นดำรงตำแหน่ง คอลีฟะฮ์

คำ   " มติ "    
หมายถึง  ความเห็นชอบของที่ประชุม

และคำ   " ประชุม "  
หมายถึง การที่ประชาชนทั้งหลายได้มารวมกันหารือเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง


คำถามคือ

1.   มติที่สะกีฟะฮ์ในวันนั้น มีประชาชนเข้าร่วมประชุม กี่คน ?

2.   สมัยนั้นมีการกำหนดเงื่อนไขสำหรับตัวของผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งบ้างไหมว่า  เขาต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

3.   ประชาชนสมัยนั้น ได้พิจารณาอย่างถ้วนถี่แล้วหรือว่า  ศาสดามุฮัมมัด(ศ)จากไป โดยไม่มีวะซียัต เช่นคำสั่งเสียเรื่องผู้นำ หรือการแต่งตั้งผู้นำต่อจากท่านเอาไว้ก่อนแล้ว  ?

4.   หากท่านกล่าวว่า " ไม่มี "  แต่อีกฝ่ายหนึ่งยืนยันว่า " มี "  ทำไมจึงไม่สดับฟังหลักฐานหรือเหตุผลของเขาบ้าง ?
   
  •  

L-umar


อบูบักร คือซอฮาบะฮ์ประเสริฐที่สุดจริงหรือ ?



ซุนนี่กล่าวว่า  

ท่านอบูบักรเหมาะสมที่สุดที่ในการเป็นคอลีฟะฮ์ต่อจากท่านนบี(ศ) เพราะเขาเป็นคนประเสริฐที่สุด

นักวิชาการซุนนี่พยายามทุ่มเทงัดหลักฐานจากกิตาบและซุนนะฮ์ออกมาสารพัดเพื่อพิสูจน์ว่า  อัฟเฎาะลุซ – ซอฮาบะฮ์คือ  ท่านอบูบักร

จากนั้นพวกเขาก็ใช้สูตรต้นตำรับเดิมเดียวกันกับที่ชาวสะลัฟรุ่นก่อนเคยใช้ในสะกีฟะฮ์มาแล้วคือ
อุละมาอ์เขามีมติเป็นเอกฉันท์ว่า  

ท่านอบูบักร คือบุคคลประเสริฐที่สุดจากประชาชาติของนบีมุฮัมมัด(ศ)

มติ (อิจญ์ม๊าอ์) ที่ว่านี้มันจึงเป็น " ฮุจญะฮ์ – หลักฐาน " อ้างอิงที่สำคัญสำหรับพวกท่าน แต่ไม่ใช่พวกอื่น  และกรุณาอย่าประณามผู้อื่นโดยไม่สดับฟังเหตุผลของผู้อื่น มิเช่นนั้นท่านก็จะไม่แตกต่างอะไรกับพวกเผด็จการไร้เหตุผล

คำว่า  คนดีที่สุด หรือคนประเสริฐที่สุด   ผมไม่ทราบว่า  ทั้งสะลัฟและค่อลัฟ และพวกเราเอาอะไรวัด ?

อัลกุรอ่าน กับการเปรียบเทียบระหว่างคนสองคนว่า ใครประเสริฐกว่ากัน

อัลลอฮ์ ตะอาลาตรัสว่า
أَتَسْتَبْدِلُونَ الَّذِي هُوَ أَدْنَى بِالَّذِي هُوَ خَيْرٌ
เขา(มูซา)ได้กล่าวว่า พวกท่านจะขอเปลี่ยนเอาสิ่งที่มันเลวกว่า ดัวยสิ่งที่มันดีกว่ากระนั้นหรือ?
บท 2 : 61

قُلْ هَلْ يَسْتَوِي الْأَعْمَى وَالْبَصِيرُ أَفَلَا تَتَفَكَّرُونَ
จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ว่า  คนตาบอดกับคนตาดีนั้นจะเท่าเทียมกันหรือ? พวกท่านจะไม่ใคร่ครวญดอกหรือ?
บท 6 : 50

هَلْ تَسْتَوِي الظُّلُمَاتُ وَالنُّورُ  
หรือความมืดจะเหมือนกับแสงสว่างหรือ ?
บท 13 : 16

قُلْ هَلْ يَسْتَوِي الذين يَعْلَمُونَ والذين لاَ يَعْلَمُونَ إِنَّمَا يَتَذَكَّرُ أُوْلُو الألباب  
จงกล่าวเถิด ( มุฮัมมัด )ว่า  บรรดาผู้รู้และบรรดาผู้ไม่รู้จะเท่าเทียมกันหรือ ? แท้จริงบรรดาผู้มีสติปัญญาเท่านั้นที่จะใคร่ครวญ
บท 39 : 9

وَمَا يَسْتَوِي الْأَعْمَى وَالْبَصِيرُ وَالَّذِينَ آَمَنُوا وَعَمِلُوا الصَّالِحَاتِ وَلَا الْمُسِيءُ قَلِيلًا مَا تَتَذَكَّرُونَ
และคนตาบอดกับคนตาดีนั้นย่อมไม่เท่าเทียมกัน และบรรดาผู้ศรัทธาและประกอบความดีทั้งหลายกับพวกกระทำความชั่วก็ไม่เท่าเทียมเช่นกัน เพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่พวกเจ้าจะใคร่ครวญ
บท 40 : 58

أَفَمَنْ كَانَ عَلَى بَيِّنَةٍ مِنْ رَبِّهِ كَمَنْ زُيِّنَ لَهُ سُوءُ عَمَلِهِ وَاتَّبَعُوا أَهْوَاءَهُمْ
ดังนั้นผู้ที่อยู่บนหลักฐานอันชัดแจ้งจากพระผู้อภิบาลของเขา จะเหมือนกับผู้ที่ความชั่วแห่งการงานของเขาได้ถูกทำให้เพริศแพร้วแก่เขา และพวกเขาก็ปฏิบัติตามอารมณ์ต่ำของพวกเขากระนั้นหรือ ?
บท 47 : 14

أَفَمَنْ يَمْشِي مُكِبًّا عَلَى وَجْهِهِ أَهْدَى أَمْ مَنْ يَمْشِي سَوِيًّا عَلَى صِرَاطٍ مُسْتَقِيمٍ
ผู้ที่เดินคว่ำคว่ำบนใบหน้าของเขาจะเป็นผู้ที่อยู่ในแนวทางที่ถูกต้องกว่า หรือว่า ผู้ที่เดินตัวตรงอยู่บนแนวทางที่เที่ยงตรง
บท 67 : 22

ไม่ทราบว่ามุสลิมในอดีตจนถึงปัจจุบัน ได้นำสิ่งที่อัลลอฮ์ตะอาลาตรัสนี้ มาใช้เป็นบรรทัดฐานในการเลือกหาผู้นำหรือปล่าว ?

สมมุติถ้าถามว่า  ท่านอบูบักรมีคุณสมบัติในการเป็นคอลีฟะฮ์  ดังต่อไปนี้หรือไม่เช่น  

1.   เข้ารับอิสลามคนแรก
2.   รู้เรื่องตัฟสีรกุรอ่านมากที่สุด
3.   รู้เรื่องซุนนะฮ์นบีมากที่สุด
4.   กล้าหาญมากที่สุด
5.   มีเกียรติมากที่สุดในกลุ่มชนนั้นๆ
6.   มีหลักฐานกุรอ่านกำกับไว้
7.   มีหะดีษกำกับไว้ในการเป็นคอลีฟะฮ์ของเขา
8.   มีหะดีษรายงานถึงความประเสริฐของเขามากที่สุด
9.   ไม่เคยดื่มสุรา
10.   ไม่เคยกราบไหว้บูชาเจว็ดมาก่อน

หน้าที่ของท่านคือพิสูจน์หลักฐานว่าท่านอบูบักร ประเสริฐที่สุด

หน้าที่ของเราคือ พิสูจน์หลักฐานว่า  ท่านอะลีนั้นประเสริฐกว่าท่านอบูบักร


คำถามคือ
ระหว่างท่านอบูบักร  กับ ท่านอะลี  ใครประเสริฐกว่ากัน

จะได้อธิบายต่อไป... อินชาอัลลอฮ์

 
  •  

L-umar


เราดำเนินตามแนวทางของอะฮ์ลุลบัยต์นบี

แต่พวกท่านดำเนินตามแนวทางของซอฮาบะฮ์


คำถาม

ถูกทั้งสอง  หรือ ผิดทั้งสอง    หรือมีหนึ่งถูก อีกหนึ่งผิด  ?



ท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ)กล่าวว่า  

إفْتَرَقَتِ الْيَهُودُ عَلَى إِحْدَى أَوْ ثِنْتَيْنِ وَسَبْعِينَ فِرْقَةً وَتَفَرَّقَتِ النَّصَارَى عَلَى إِحْدَى أَوْ ثِنْتَيْنِ وَسَبْعِينَ فِرْقَةً وَتَفْتَرِقُ أُمَّتِى عَلَى ثَلاَثٍ وَسَبْعِينَ فِرْقَةً

พวกยะฮูดได้แตกออก 71  หรือ 72 กลุ่มกลุ่ม  

พวกนะศอรอได้แตกออก 71 หรือ 72 กลุ่ม

และประชาชาติของฉันจะแตกออกเป็น 73 กลุ่ม
ดูสุนันอบูดาวูด หะดีษ 4598

ต่อมาพี่น้องซุนนี่ก็รายงานหะดีษว่า  ท่านรอซูลุลเลาะฮ์กล่าวว่า  :

افْتَرَقَتِ الْيَهُودُ عَلَى إِحْدَى وَسَبْعِينَ فِرْقَةً فَوَاحِدَةٌ فِى الْجَنَّةِ وَسَبْعُونَ فِى النَّارِ وَافْتَرَقَتِ النَّصَارَى عَلَى ثِنْتَيْنِ وَسَبْعِينَ فِرْقَةً فَإِحْدَى وَسَبْعُونَ فِى النَّارِ وَوَاحِدَةٌ فِى الْجَنَّةِ وَالَّذِى نَفْسُ مُحَمَّدٍ بِيَدِهِ لَتَفْتَرِقَنَّ أُمَّتِى عَلَى ثَلاَثٍ وَسَبْعِينَ فِرْقَةً فَوَاحِدَةٌ فِى الْجَنَّةِ وَثِنْتَانِ وَسَبْعُونَ فِى النَّارِ ». قِيلَ يَا رَسُولَ اللَّهِ مَنْ هُمْ قَالَ « الْجَمَاعَةُ ».

พวกยะฮูดได้แตกออกเป็น 71 ฟิรเกาะฮ์ มีหนึ่งฟิรเกาะฮ์จะอยู่ในสวรรค์อีกเจ็ดสิบจะอยู่ในไฟนรก

พวกนะศอรอได้แตกออกเป็น 72 ฟิรเกาะฮ์  มีหนึ่งฟิรเกาะฮ์จะอยู่ในสวรรค์อีกเจ็ดสิบเอ็ดจะอยู่ในไฟนรก

และขอสาบานต่อผู้ที่ชีวิตของมุหัมมัดอยู่ในอำนาจของพระองค์ว่า  แน่นอนประชาชาติของฉันจะแตกออกเป็น 73 ฟิรเกาะฮ์  

มีหนึ่งกลุ่ม ( ฟิรเกาะฮ์ ) จะอยู่ในสวรรค์   ส่วนอีก 72 กลุ่มจะอยู่ในไฟนรก

มีคนถามว่า   โอ้ท่านรอซูลุลเลาะฮ์   พวกเขาคือใคร ?  

ท่านตอบว่าคือ  "  อัลญะมาอะฮ์  "

ดูสุนันอิบนุมาญะฮ์  หะดีษ 4127

จากนั้นชาวซุนนี่ก็ฟันธงว่า  พวกเรานี่แหล่ะคือชาวสวรรค์ตามที่ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ) บอกเอาไว้  เพราะพวกเรามีชื่อกลุ่มว่า  " อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ วัลญะมาอะฮ์ "

ถ้าถามสั้นๆว่า  ในหะดีษข้างต้น  ท่านรอซูล(ศ)กล่าวคำ (( อัลญะมาอะฮ์ ))  
ท่านไม่ได้กล่าวคำ (( อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ ))  ออกมาเลย
เพราะฉะนั้นชาวซุนนี่ทั้งหลายได้เติมคำ((อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ )) เข้าไปเองตามนัฟซู
ต่อมาก็ขี้ตู่ว่า  กลุ่มซุนนี่ นี่แหล่ะคือชาวสวรรค์กลุ่มเดียว ที่เหลือลงนรกหมด

ฟังดูก็สวยหรูน่าประทับใจดีสำหรับพี่น้องซุนนี่ทั้งหลาย  แต่อัลลอฮ์ ตะอาลาตรัสว่า

وَمِنَ النَّاسِ مَنْ يُعْجِبُكَ قَوْلُهُ فِي الْحَيَاةِ الدُّنْيَا وَيُشْهِدُ اللَّهَ عَلَى مَا فِي قَلْبِهِ وَهُوَ أَلَدُّ الْخِصَامِ

และในหมู่มนุษย์นั้น มีผู้ที่คำพูดของเขาทำให้เจ้าพึงพอใจในชีวิตความเป็นอยู่แห่งโลกนี้
และจะอ้างอัลลอฮ์เป็นพยานซึ่งสิ่งที่อยู่ในหัวใจของเขา  และขณะเดียวกันเขาก็เป็นผู้โต้เถียงที่ฉกาจฉกรรจ์ยิ่ง
บท 2 : 204  

ความจริงคำ " ญะมาอะฮ์ " นี้
สามารถนำไปเรียกคนกลุ่มใดก็ได้  แต่ที่แปลกคือชาวซุนนี่เขามาจำกัดความว่าชื่อนี้มันเป็นชื่อของพวกเราเท่านั้น  ทั้งๆที่คำ ญะมาอะฮ์  แปลว่า กลุ่ม , คณะ

ถ้าเราจะมองว่า ญะมาอะฮ์ใด คนกลุ่มใดเป็นชาวสวรรค์กันจริงๆ  ทำไมไม่มองคำจำกัดความตามที่ท่านรอซูล(ศ)กล่าวเอาไว้ล่ะเช่น

หะดีษกิตาบุลเลาะฮ์วะอิตเราะฮ์

عَنْ جَعْفَرِ بْنِ مُحَمَّدٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ قَالَ :
رَأَيْتُ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- فِى حَجَّتِهِ يَوْمَ عَرَفَةَ وَهُوَ عَلَى نَاقَتِهِ الْقَصْوَاءِ يَخْطُبُ فَسَمِعْتُهُ يَقُولُ « يَا أَيُّهَا النَّاسُ إِنِّى قَدْ تَرَكْتُ فِيكُمْ مَا إِنْ أَخَذْتُمْ بِهِ لَنْ تَضِلُّوا كِتَابَ اللَّهِ وَعِتْرَتِى أَهْلَ بَيْتِى ».

ญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด จากบิดาเขา(มุฮัมมัดบินอะลี) จากญาบิร บินอับดุลลอฮฺ เล่าว่า :

ฉันได้เห็นท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ในการประกอบพิธีฮัจญ์ของท่านในวันอะเราะฟะฮ์ ซึ่งท่านอยู่บนหลังอูฐกำลังปราศรัย แล้วฉันได้ยินท่านกล่าวว่า
โอ้ประชาชนทั้งหลาย แท้จริงฉัน ทิ้งไว้ให้แก่พวกท่านถึงสิ่งซึ่งหากพวกท่านยึดมั่นต่อสิ่งนั้น  พวกท่านจะไม่หลงทางโดยเด็ดขาด สิ่งนั้นคือ

1.   คัมภีร์ของอัลลอฮฺ(อัลกุรอาน) และ

2.   อิตเราะตี คืออะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน

สถานะหะดีษ  :   เศาะหิ๊หฺ  

ดูซอฮีฮุต-ติรมีซี  หะดีษที่ 2978    ตรวจทานโดยเชคอัลบานี

อธิบาย

1.   ท่านรอซูล(ศ)กล่าวว่า : หากยึดมั่นต่ออัลกุรอานกับอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน  ท่านจะไม่หลงทางเด็ดขาด  
2.   คัมภีร์กุรอานกับอะฮ์ลุลบัยต์จะไม่แยกจากกันตราบจนถึงวันกิยามะฮ์
3.   ท่านรอซูล(ศ) ไม่ได้บอกชื่อญะมาอะฮ์ใดๆในหะดีษนี้  ท่านบอกเพียงว่า  คนใดกลุ่มใดยึดคัมภีร์อัลกุรอ่าน และยึดอะฮ์ลุลบัยต์ของฉันเป็นสรณะ  คนกลุ่มนั้นจะไม่หลงทาง

ทีนี้มาดูหะดีษอีกบทหนึ่ง  ท่านเซด บินอัรก็อมเล่าว่า :
ท่านรอซูลุลลอฮฮ์ (ศ)กล่าวว่า :

إِنِّى تَارِكٌ فِيكُمْ مَا إِنْ تَمَسَّكْتُمْ بِهِ لَنْ تَضِلُّوا بَعْدِى أَحَدُهُمَا أَعْظَمُ مِنَ الآخَرِ كِتَابُ اللَّهِ حَبْلٌ مَمْدُودٌ مِنَ السَّمَاءِ إِلَى الأَرْضِ وَعِتْرَتِى أَهْلُ بَيْتِى وَلَنْ يَتَفَرَّقَا حَتَّى يَرِدَا عَلَىَّ الْحَوْضَ فَانْظُرُوا كَيْفَ تَخْلُفُونِى فِيهِمَا

แท้จริงฉันได้มอบไว้ให้กับพวกท่าน หากพวกท่านยึดมั่นต่อสิ่งนั้นแล้ว  พวกท่านจะไม่หลงทางหลังจากฉันเด็ดขาด  สิ่งแรกใหญ่กว่าอีกสิ่งหนึ่งนั่นคือ
1.   กิตาบุลเลาะฮ์(อัลกุรอาน)คือเชือกที่ทอดจากชั้นฟ้ามายังโลกและ
2.   อิตเราะตี คืออะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน  
และทั้งสองสิ่งจะไม่แยกจากกัน จนกว่าจะกลับมาหาฉันที่อัลเฮาฎ์(สระเกาษัร)  
ดังนั้นพวกท่านจงดูเถิดว่า พวกท่านจะขัดแย้งกับฉันในสองสิ่งที่ฉันมอบไว้ให้อย่างไร  

สถานะหะดีษ  : เศาะหิ๊หฺ  ดูซอฮีฮุต-ติรมีซี  หะดีษ 2980 ตรวจทานโดยเชคอัลบานี

ท่านลองพิจารณาคำที่ท่านรอซูล(ศ)กล่าวว่า (( หากพวกท่านยึดมั่นต่อสิ่งนั้นแล้ว  พวกท่านจะไม่หลงทาง ))

ในหะดีษระบุว่า  (( หากพวกท่านยึดมั่นต่อสิ่งนั้นแล้ว  -  إِنْ تَمَسَّكْتُمْ بِهِ ))
นั่นหมายถึง  การปฏิบัติตามแนวทางของอะฮ์ลุลบัยต์นบี  ไม่มีวันหลงทางเด็ดขาด

มันจึงไม่ใช่เป็นเพียงแค่ การแสดงความรักและให้การยกย่องต่ออะฮ์ลุลบัยต์  ตามที่ชาวซุนนี่ชอบอ้างว่า เราก็รักอะฮ์ลุลบัยต์เหมือนกัน

เราไม่ได้ตำหนิชาวซุนนี่ว่า  พวกท่านไม่รักอะฮ์ลุลบัยต์นบี  แต่เราขอบอกท่านว่า ท่านไม่ได้ดำเนินชีวิตตามแนวทางของอะฮ์ลุลบัยต์นบี เต็มร้อยเปอร์เซ็น  พวกท่านไม่เข้าใจนิยามของอัลลอฮ์ในคำว่ารักอย่างแท้จริง  ทำไม  ???  เพราะอัลลอฮ์ ตะอาลาตรัสว่า

قُلْ إِنْ كُنْتُمْ تُحِبُّونَ اللَّهَ فَاتَّبِعُونِي يُحْبِبْكُمُ اللَّهُ وَيَغْفِرْ لَكُمْ ذُنُوبَكُمْ وَاللَّهُ غَفُورٌ رَحِيمٌ

จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ว่า หากพวกท่านรักอัลลอฮ์ ก็จงปฏิบัติตามฉัน (มุฮัมมัด)
อัลลอฮ์ก็จะทรงรักพวกท่าน และจะทรงอภัยให้แก่พวกท่านซึ่งโทษทั้งหลายของพวกท่าน และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ
บท 3 : 31
 พวกท่านต้องแยกแยะให้ออกว่ามันมีความแตกต่างระหว่าง

การแสดงความรักต่ออะฮ์ลุลบัยต์   กับ

การดำเนินตามแนวทางของอะฮ์ลุลบัยต์

หากท่านมีเพื่อนคนหนึ่ง เขาบอกกล่าวกับท่านเสมอว่า  เขารักท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ) แต่เขามิได้ดำเนินชีวิตตามแนวทางของท่านรอซูล(ศ) นอกจากเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

แน่นอนเพื่อนของท่านคนนั้น คงเป็นได้แค่เพียงคนมุสาเท่านั้นเอง


คำถามสำหรับอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ วัลญะมาอะฮ์

ทั้งๆที่ท่านรอซูล(ศ)รับรองว่า การยึดมั่นต่อแนวทางของอะฮ์ลุลบัยต์ จะไม่หลงทาง
ในขณะที่พวกท่านไม่ได้ยึดมั่นต่อแนวทางของอะฮ์ลุลบัยต์ นอกจากเพียงเล้กน้อย  แล้วทำไมพวกท่านจึงกล้าออกมาหลอกลวงพี่น้องมุสลิมว่า  อะฮ์ลุสสุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ คือกลุ่มที่ถูกต้อง  ?
[/b][/size]
  •  

L-umar


กรณีที่ยกหะดีษษะเกาะลัยน์มาพิสูจน์ว่า   ท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ)สั่งให้มุสลิมปฏิบัติตาม
1.   กิตาบุลเลาะฮ์
2.   อะฮ์ลุลบัยต์นบี

ซึ่งมุสลิมคนใดดำเนินชีวิตตามสองสิ่งดังกล่าวเขาจะไม่หลงทางออกจากอัลอิสลามได้เลย




ฝ่ายซุนนี่อาจโต้แย้งหะดีษบทนี้ด้วยโองการนี้

وَالسَّابِقُونَ الْأَوَّلُونَ مِنَ الْمُهَاجِرِينَ وَالْأَنْصَارِ وَالَّذِينَ اتَّبَعُوهُمْ بِإِحْسَانٍ
رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمْ وَرَضُوا عَنْهُ وَأَعَدَّ لَهُمْ جَنَّاتٍ تَجْرِي تَحْتَهَا الْأَنْهَارُ خَالِدِينَ فِيهَا أَبَدًا ذَلِكَ الْفَوْزُ الْعَظِيمُ

อัสซาบิกูนัลเอาวะลูน ( กลุ่มคนรุ่นแรกที่เข้ารับอิสลาม ) จากชาวมุฮาญิรีน( ผู้อพยพจากมักกะฮฺ ) และจากชาวอันศ็อร ( ผู้ให้ความช่วยเหลือจากมะดีนะฮฺ )  และบรรดาผู้ดำเนินตามพวกเขาด้วยการทำดีนั้น  อัลลอฮฺทรงพอพระทัยในพวกเขา และพวกเขาก็พอใจในพระองค์ด้วย  และพระองค์ทรงเตรียมไว้ให้พวกเขาแล้ว ซึ่งบรรดาสวนสวรรค์ที่มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านอยู่ทางเบื้องล่าง  พวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล นั่นคือชัยชนะอันยิ่งใหญ่   

บทที่  9 : 100

ฝ่ายซุนนี่กล่าวว่า  
อัลลอฮ์ทรงแจ้งให้พวกเขาทราบว่า  พระองค์จะทรงพอใจต่อบรรดาผู้ที่ดำเนินชีวิตตามอัสซาบิกูนัลเอาวะลูน คือกลุ่มคนรุ่นแรกที่เข้ารับอิสลาม จากชาวมุฮาญิรีน( ผู้อพยพจากมักกะฮฺ ) และจากชาวอันศ็อร ( ผู้ให้ความช่วยเหลือจากมะดีนะฮฺ )
ดังนั้นถ้าพวกเขาปฏิบัติตามบุคคลดังกล่าว พวกเขาจะหลงทางได้อย่างไรกัน ?
  •  

L-umar


ขออธิบายความหายของโองการดังกล่าว  ดังต่อไปนี้


อัลเลาะฮ์  ญัลละ ญะลาล๊ะฮฺ ทรงตรัสว่า

وَالسَّابِقُونَ الْأَوَّلُونَ مِنَ الْمُهَاجِرِينَ وَالْأَنْصَارِ وَالَّذِينَ اتَّبَعُوهُمْ بِإِحْسَانٍ
رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمْ وَرَضُوا عَنْهُ وَأَعَدَّ لَهُمْ جَنَّاتٍ تَجْرِي تَحْتَهَا الْأَنْهَارُ خَالِدِينَ فِيهَا أَبَدًا ذَلِكَ الْفَوْزُ الْعَظِيمُ

อัสซาบิกูนัลเอาวะลูน ( กลุ่มคนรุ่นแรกที่เข้ารับอิสลาม ) จากชาวมุฮาญิรีน( ผู้อพยพจากมักกะฮฺ ) และจากชาวอันศ็อร ( ผู้ให้ความช่วยเหลือจากมะดีนะฮฺ )  และบรรดาผู้ดำเนินตามพวกเขาด้วยการทำดีนั้น  อัลลอฮฺทรงพอพระทัยในพวกเขา และพวกเขาก็พอใจในพระองค์ด้วย  และพระองค์ทรงเตรียมไว้ให้พวกเขาแล้ว ซึ่งบรรดาสวนสวรรค์ที่มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านอยู่ทางเบื้องล่าง  พวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล นั่นคือชัยชนะอันยิ่งใหญ่   

บทที่  9 : 100

อธิบาย :

เนื้อหาของอายะฮ์นี้มิใช่จะระบุว่า ใครก็ตามที่เคยได้ชื่อว่าเป็น
มุฮาญิรีน
อันศ็อร
ตาบิอีน


แล้วอัลลอฮฺจะทรงพอพระทัยต่อพวกเขาหมดทุกคน โดยที่หลังจากนั้นพระองค์จะไม่ทรงพิโรธต่อพวกเขาอีกไปตลอดกาล และส่งผลให้พวกเขาได้รับการอภัยและได้เข้าสวรรค์ ไม่ว่าเขาคนนั้นจะเป็นคนดีมีตักวา หรือเป็นคนชั่วคนฟาซิกภายหลังจากนั้นก็ตาม

ฮุก่ม(กฎ)ของอายะฮ์นี้ถูกจำกัดไว้กับอีหม่านและอามั้ลศอและห์เท่านั้น
หมายความว่า อัลลอฮฺ(ซบ.)นั้นจะทรงให้การยกย่องเฉพาะชาวมุฮาญิรีน ชาวอันศ็อรและบรรดาตาบิอี ที่มีอีหม่านอย่างแท้จริงและได้ประกอบอามั้ลศอและห์จวบจนวาระสุดท้ายของชีวิตเท่านั้น

หากชาวมุฮาญิรีน ชาวอันศ็อรหรือตาบิอีนคนใดก็ตาม ไม่สามารถรักษาอีหม่านของเขาไว้ได้ อีกทั้งมีอามั้ลที่ไม่ศอและห์ และก่อนสิ้นชีวิตก็ไม่ได้เตาบะฮ์สำนึกผิดในสิ่งที่เขาก่อเอาไว้

เพราะฉะนั้นคนประเภทนี้จะได้รับความพอพระทัยจากอัลลอฮฺได้อย่างไร  ?
แน่นอนอัลลอฮฺจะทรงพิโรธเขา ส่วนการให้อภัยเป็นสิทธิของพระองค์ หรือมิเช่นนั้นเขาก็จะต้องได้รับการลงโทษตามสิ่งที่ก่อไว้  


เมื่อท่านอ่านโองการต่อมา อัลลอฮฺ ตะอาลาได้ตรัสถึงชาวเมืองมะดีนะฮ์และนอกเมืองมะดีนะฮ์ว่า มีส่วนหนึ่งเป็นพวก " มุนาฟิก "


وَمِمَّنْ حَوْلَكُمْ مِنَ الْأَعْرَابِ مُنَافِقُونَ وَمِنْ أَهْلِ الْمَدِينَةِ مَرَدُوا عَلَى النِّفَاقِ لَا تَعْلَمُهُمْ نَحْنُ نَعْلَمُهُمْ سَنُعَذِّبُهُمْ مَرَّتَيْنِ ثُمَّ يُرَدُّونَ إِلَى عَذَابٍ عَظِيمٍ

และส่วนหนึ่งจากผู้ที่อยู่รอบๆพวกท่าน ที่เป็นชาวอาหรับชนบทนั้นเป็นพวกมุนาฟิก(กลับกลอก)
และส่วนหนึ่งจากชาวมะดีนะฮ์ก็เป็นเช่นเดียวกัน  พวกเขาเหล่านั้นดื้อรั้นในการกลับกลอก เจ้า(มุฮัมมัด)ไม่รู้จักธาตุแท้ของพวกเขาดอก เรา(อัลลอฮฺ)รู้จักพวกเขาดี เราจะลงโทษพวกเขาสองครั้ง แล้วพวกเขาจะถูกนำกลับไปสู่การลงโทษอันยิ่งใหญ่ต่อไป


บทที่  9 : 101

อธิบายความหมาย :อายะฮ์นี้ได้ระบุว่า สังคมในเมืองมะดีนะฮ์และนอกเมืองนั้นมีคนส่วนหนึ่ง ที่ภายนอกแสแสร้งทำตัวเป็นมุสลิมแต่กลับซ่อนเร้นความกุโฟ้รเอาไว้ภายในใจ พวกเขาหาได้เป็นมุอ์มินที่แท้จริง  แม้แต่ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)เองก็ยังไม่รู้จักธาตุแท้ของคนพวกนี้ และอัลลอฮ์ตรัสว่า จะลงโทษคนพวกนี้สองครั้ง

ท่านจะคิดเห็นเช่นไร ที่มีคนจำพวกนี้ใช้ชีวิตอยู่รอบๆตัวท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ทั้งด้านขวาและซ้าย พวกเขาไปมาหาสู่ นั่งร่วมวงสนทนา กินดื่มกับท่านนบี(ศ) และได้รับฟังแก่นแท้ของอิสลามจากปากท่าน(ศ) แต่กลับทำตัวเป็นคนมุนาฟิกกลับกลอกปลิ้นปล้อนมิได้มีศรัทธาต่อท่านนบี(ศ)และอัลอิสลามเลยสักนิด  จนอัลลอฮฺต้องประทานโองการนี้ลงมา
  •  

L-umar


เพราะฉะนั้นจะเป็นไปได้อย่างไร

ที่พี่น้องซุนนี่ชอบหยิบยกเอาซูเราะฮ์ที่ 9 อายะฮ์ที่ 100 มาอธิบายว่า บรรดาซอฮาบะฮ์ที่เป็นชาวมุฮาญิรีนและชาวอันศ็อร  รวมทั้งบรรดาตาบิอีนจะได้เข้าสวรรค์กันหมดทุกคนอย่างถ้วนหน้า ?

ซึ่งถือว่าเป็นการอธิบายที่ขัดกับโองการถัดมาคืออายะฮ์ที่ 101 ในซูเราะฮ์เดียวกัน ขนาดคนที่ใช้ชีวิตใกล้ชิดกินดื่ม พูดคุยอยู่กับท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)เป็นประจำ ยังมีส่วนหนึ่งทำตัวมุนาฟิก และรับประสาอะไรกับผู้คนในสมัยนั้นที่ไม่ได้อยู่ในเมืองมะดีนะฮ์อันเป็นแหล่งเพาะพันธุ์บ่มอีหม่านเช่น ที่เมืองมักกะฮฺ ที่เยเมน ในคาบสมุทรอาหรับหรือที่อันห่างไกลออกไปย่อมจะต้องมีบุคคลที่ทำตัวหลุดออกนอกกรอบอิสลามบ้างซึ่งถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาและกินกับสติปัญญาด้วย  
  •  

L-umar


หากซอฮาบะฮ์ในยุคนั้นได้เข้าสวรรค์กันหมดทุกคนจริง

ทำไม ? โองการถัดมา คืออายะฮ์ที่ 102 ในซูเราะฮ์เดียวกัน  อัลลอฮ์ตะอาลาได้เล่าถึงซอฮาบะฮ์ส่วนหนึ่งที่สารภาพต่อความผิดต่างๆที่พวกเขาก่อไว้


อัลเลาะฮ์  ญัลละ ญะลาล๊ะฮฺ ทรงตรัสว่า

وَآَخَرُونَ اعْتَرَفُوا بِذُنُوبِهِمْ خَلَطُوا عَمَلًا صَالِحًا وَآَخَرَ سَيِّئًا عَسَى اللَّهُ أَنْ يَتُوبَ عَلَيْهِمْ إِنَّ اللَّهَ غَفُورٌ رَحِيمٌ

และมีชนกลุ่มอื่นที่สารภาพต่อความผิดต่างๆของพวกเขา โดยที่พวกเขาทำอามั้ลศอและห์ปะปนไปกับอามั้ลชั่ว  
หวังว่าอัลลอฮฺจะทรงอภัยโทษให้แก่พวกเขา
แท้จริงอัลลอฮฺนั้นคือ ผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ


บทที่  9 : 102

อธิบายความหมาย :

1.   โองการนี้ระบุว่ามีซอฮาบะฮ์กลุ่มหนึ่งทำความผิด
2.   ความผิดที่พวกเขาก่อไว้ มิใช่หนึ่งกระทง แต่มีมากมาย เพราะในอายะฮ์นี้อัลลอฮ์ใช้คำว่า ซุนู๊บ – ذُنُوْبٌ เป็นพหูพจน์ของซัมบุน - ذَنْبٌ แปลว่า الإِثْمُ والمَعْصِيَةُ คือบาปหรือการทรยศฝ่าฝืน
3.   พวกเขาได้สารภาพต่อความผิดต่างๆที่ได้กระทำลงไป
4.   อายะฮ์ยังกล่าวว่า พวกเขาได้ทำอามั้ลศอและห์ผสมปะปนไปกับอามั้ลชั่ว นั่นย่อมแสดงว่า ซอฮาบะฮ์เหล่านั้นมีสภาพเหมือน

มุสลิมทั่วไป ที่บ้างครั้งทำดี และในบางครั้งก็ทำบาปคละเคล้ากันไป ซึ่งเป็นเรื่องปกติของมนุษย์  แต่สิ่งที่ไม่ปกติก็คือ ซอฮาบะฮ์อยู่ในสมัยนบี(ศ)  
5.   หวังว่าอัลลอฮฺจะทรงอภัยโทษ หากพวกเขาบางส่วนอื่นจากนี้ ที่ได้กระทำความผิดไว้และได้เตาบัตตัวก่อนเสียชีวิต


เมื่อท่านได้อ่านสามโองการดังกล่าว คงเข้าใจดีว่า  

ไม้บรรทัดที่ใช้วัดคนคือ  อีหม่านและอามั้ลศอและห์

มนุษย์จะได้เข้าสววรค์ของอัลลอฮฺ ก็ต่อเมื่อเขาเป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริงและได้ประกอบอามั้ลศอและห์เอาไว้



เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็น  

อะฮ์ลุลบัยต์นบี  

ภรรยานบี  

ซอฮาบะฮ์  

ตาบิอีน  

ตาบิ๊อฺ-ตาบิอีน

หรือแม้แต่มุสลิมคนใดก็ตาม



หากใครสามารถรักษามาตรฐานทั้งสอง ( คืออีหม่าน + อามั้ลศอและห์ ) เอาไว้ได้จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต เขาผู้นั้นก็คือ ชาวสวรรค์

นี่คือหลักการของอัลลอฮ์ (ซบ.)ที่ทรงวางเอาไว้  

แต่เราจะเห็นซุนนี่บางกลุ่มเช่น พวกวาฮาบีที่มีความคลั่ง    ใคล้ต่อบรรดาซอฮาบะฮ์จนเกินขอบเขตความเป็นจริง พวกเขาได้มอบตำแหน่ง" มะอ์ซูม " ให้กับบรรดาซอฮาบะฮ์ทุกคน  โดยพวกเขาได้สร้างอะกีดะฮ์ตะอัซซุบว่า

ซอฮาบะฮ์จะได้เข้าสวรรค์ หมดทุกคน


ซึ่งอะกีดะฮ์นี้ถือว่าค้านกับคัมภีร์อัลกุรอ่าน  และนั่นคือดีนของพวกเขา

อัลเลาะฮ์  ญัลละ ญะลาล๊ะฮฺ ทรงตรัสว่า

لَا تَغْلُوا فِي دِينِكُمْ

สูเจ้าจงอย่ามีความฆูล๊าตในดีน(ศาสนา)ของพวกเจ้า

บทที่  4 : 171



วาฮาบีหรือพวกที่มีความคิดแบบนี้ จึงถูกนับเป็นพวกที่มีความฆูล๊าตในดีนชนิดที่เรียกว่า الغلو : مجاوزة الحد คือเชื่อเกินเลยขอบเขตที่อัลลอฮ์ทรงวางเอาไว้นั่นเอง.
  •  

L-umar


ใครคือ อัสซาบิกูน (คนรุ่นแรกที่เข้ารับอิสลาม) ?

เรากลับมาที่อัสบาบุลนุซูลของบทที่  9 : 100  หรือโองการ  อัส – ซาบิกูน กันอีกครั้ง  


وَالسَّابِقُونَ الْأَوَّلُونَ مِنَ الْمُهَاجِرِينَ وَالْأَنْصَارِ وَالَّذِينَ اتَّبَعُوهُمْ بِإِحْسَانٍ
رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمْ وَرَضُوا عَنْهُ وَأَعَدَّ لَهُمْ جَنَّاتٍ تَجْرِي تَحْتَهَا الْأَنْهَارُ خَالِدِينَ فِيهَا أَبَدًا ذَلِكَ الْفَوْزُ الْعَظِيمُ

อัสซาบิกูนัลเอาวะลูน ( กลุ่มคนรุ่นแรกที่เข้ารับอิสลาม ) จากชาวมุฮาญิรีน( ผู้อพยพจากมักกะฮฺ ) และจากชาวอันศ็อร ( ผู้ให้ความช่วยเหลือจากมะดีนะฮฺ )  และบรรดาผู้ดำเนินตามพวกเขาด้วยการทำดีนั้น  อัลลอฮฺทรงพอพระทัยในพวกเขา และพวกเขาก็พอใจในพระองค์ด้วย  และพระองค์ทรงเตรียมไว้ให้พวกเขาแล้ว ซึ่งบรรดาสวนสวรรค์ที่มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านอยู่ทางเบื้องล่าง  พวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล นั่นคือชัยชนะอันยิ่งใหญ่   

บทที่  9 : 100

สิ่งที่ต้องศึกษาคือ :

โองการนี้อัลลอฮฺ(ซบ.)ทรงประทานให้ซอฮาบะฮ์คนใดหรือกลุ่มใดเป็นการเฉพาะ
และอัสซาบิกูนที่แท้จริง คือใคร ?


คัมภีร์อัลกุรอ่านย่อมจะให้คำอธิบายซึ่งกันและกันอยู่แล้ว  ดังนั้นขอให้ท่านมาดูโองการนี้

وَالسَّابِقُونَ السَّابِقُونَ    أُولَئِكَ الْمُقَرَّبُونَ

และกลุ่มอัสซาบิกูนคือชนรุ่นแรก (ที่เข้ารับอิสลาม) เขาเหล่านั้นคือบรรดาผู้ใกล้ชิด  

บทที่ 56 : 10-11   



สาเหตุการประทานโองการ (อัสบาบุลนุซูล )

ญะลาลุดดีน อัสสิยูตี รายงาน

وأخرج ابن مردويه عن ابن عباس في قوله : { والسابقون السابقون } قال : نزلت في حزقيل مؤمن آل فرعون ، وحبيب النجار الذي ذكر في يس ، وعلي بن أبي طالب ، وكل رجل منهم سابق أمته ، وعليّ أفضلهم سبقاً .
الدر المنثور - (ج 9 / ص 382

อิบนุมุรดะวัยฮฺนำออกรายงาน จากท่านอิบนิอับบาส ในพระดำรัสของพระองค์ ( อัสซาบิกูนัส – ซาบิกูน ) เขากล่าวว่า  โองการนี้ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับ
ท่านหัซกีล ผู้ศรัทธาแห่งอาลิฟิรอูน  ,
ท่านหะบีบ ช่างไม้ที่กล่าวไว้ในซูเราะฮ์ยาซีน และ
ท่านอะลี บินอบีตอลิบ ทั้งหมดทุกคนคือผู้คนรุ่นแรก(ที่มีศรัทธา)แห่งประชาชาติของเขา
และอะลีนั้นล้ำหน้ามากที่สุดของพวกเขาในเรื่องความศรัทธา

ตัฟสีรอัด-ดุรรุลมันษูร โดยสิยูตี เล่ม 9 : 382 บทที่ 56 : 10

อัลอะลูซี รายงาน

وأخرج ابن مردويه عن ابن عباس قال : نزلت في حزقيل مؤمن آل فرعون . وحبيب النجار الذي ذكر في يس . وعليّ بن أبي طالب كرم الله تعالى وجهه وكل رجل منهم سابق أمته وعليّ أفضلهم ،
تفسير الألوسي - (ج 20 / ص 203

อิบนุมุรดะวัยฮฺนำออกรายงาน จากท่านอิบนิอับบาสกล่าวว่า  โองการ(บทที่ 56 : 10)นี้ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับ
ท่านหัซกีล ผู้ศรัทธาแห่งอาลิฟิรอูน  ,
ท่านหะบีบ ช่างไม้ที่กล่าวไว้ในซูเราะฮ์ยาซีน และ
ท่านอะลี บินอบีตอลิบ ทั้งหมดทุกคนคือผู้คนรุ่นแรก(ที่มีศรัทธา)แห่งประชาชาติของเขา
และอะลีนั้นล้ำหน้ามากที่สุดของพวกเขาในเรื่องความศรัทธา

ตัฟสีรอัลอะลูซี  เล่ม 20 : 203 บทที่ 56 : 10

อับฮักกี กล่าวว่าسباق الامم ثلاثة لم يكفروا بالله طرفة عين حزقيل مؤمن آل فرعون وحبيب النجار صاحب يس وعلى بن ابى طالب كرم الله وجهه وهو رضى الله عنه افضلهم
تفسير حقي - (ج 12 / ص 381

บรรดาผู้ล้ำหน้ารุ่นแรกๆแห่งประชาชาติทั้งหลาย มีสามคน พวกเขาไม่เคยปฏิเสธความศรัทธาต่ออัลลอฮฺแม้ชั่วกระพริบตาเลยคือ 1,ท่านหัซกีล ผู้ศรัทธาแห่งอาลิฟิรอูน  2, ท่านหะบีบ ช่างไม้ที่กล่าวไว้ในซูเราะฮ์ยาซีน และ3,ท่านอะลี บินอบีตอลิบ ทั้งหมดทุกคนคือผู้คนรุ่นแรก(ที่มีศรัทธา)แห่งประชาชาติของเขาและอะลีนั้นล้ำหน้ามากที่สุดของพวกเขาในเรื่องความศรัทธา

ตัฟสีรอัลฮักกี  เล่ม 12 : 381 บทที่ 56 : 10

มุฮัมมัดอะลี อัชเชากานี บันทึกว่า

وأخرج ابن أبي حاتم ، وابن مردويه عنه أيضاً في قوله : { والسابقون السابقون } قال : يوشع بن نون سبق إلى موسى ، ومؤمن آل ياسين سبق إلى عيسى ، وعليّ بن أبي طالب سبق إلى رسول الله صلى الله عليه وسلم .

 อิบนิอบีหาติมและอิบนุมุรดะวัยฮฺนำออกรายงาน จากเขา(ทอิบนิอับบาส)  ในโองการ(อัสซาบิกูนัสซาบิกูน)เขากล่าวว่า ยูช๊ะฮฺบินนูนคือคนแรกที่ศรัทธาต่อนบีมูซา , มุอ์มินแห่งอาลิยาซีนคือคนแรกที่ศรัทธาต่อนบีอีซา และอะลีบินอบีตอลิบคือคนแรกที่ศรัทธาต่อท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)

وأخرج ابن مردويه عنه أيضاً في الآية قال : نزلت في حزقيل مؤمن آل فرعون؛ وحبيب النجار الذي ذكر في يس ، وعليّ بن أبي طالب ، وكل رجل منهم سابق أمته ، وعليّ أفضلهم سبقاً .

อิบนุมุรดะวัยฮฺนำออกรายงาน จากท่านอิบนิอับบาสกล่าวว่า  โองการ(บทที่ 56 : 10)นี้ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับท่านหัซกีล ผู้ศรัทธาแห่งอาลิฟิรอูน  , ท่านหะบีบ ช่างไม้ที่กล่าวไว้ในซูเราะฮ์ยาซีน และท่านอะลี บินอบีตอลิบ ทั้งหมดทุกคนคือผู้คนรุ่นแรก(ที่มีศรัทธา)แห่งประชาชาติของเขาและอะลีนั้นล้ำหน้ามากที่สุดของพวกเขาในเรื่องความศรัทธา

ตัฟสีรฟัตฮุลเกาะดีร  เล่ม 7 : 125 บทที่ 56 : 10

อิบนุหะญัร อัลฮัยษะมี กล่าวว่า

الحديث 29 :  أخرج الديلمي أيضا عن عائشة والطبراني وابن مردويه عن ابن عباس أن النبي قال السبق ثلاثة فالسابق إلى موسى يوشع بن نون والسابق إلى عيسى صاحب يس والسابق إلى محمد علي بن أبي طالب
الصواعق المحرقة - (ج 2 / ص 364

หะดีษที่ 29 : อัดดัยละมีนำออกรายงานเช่นกัน จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ และอัฏฏ็อบรอนีกับอินิมุรดะวัยฮฺรายงานจากท่านอิบนิอับบาสว่า แท้จริงท่านนบี(ศ)กล่าวว่า ผู้ลำหน้าสุดมีสามคนคือ ผู้ที่ลำหน้า(มีอีหม่าน)ต่อนบีมูซา คือยูช๊ะอ์บินนูน
ผู้ที่ลำหน้า(มีอีหม่าน)ต่อนบีอีซา คือซอฮิบยาซีน(หมายถึงหะบีบนัจญาร)และ
ผู้ที่ลำหน้า(มีอีหม่าน)ต่อนบีมุฮัมมัด คืออะลี บินอบีตอลิบ

อัศ เศาะวาอิกุลมุหฺริเกาะฮ์ เล่ม 2 : 364  

อัลก็อนดูซี อัลฮะนะฟี กล่าวว่าأخرج الديلمي عن عائشة، والطبراني وابن مردويه عن ابن عباس: إن النبي صلى الله عليه وآله وسلم قال: السابقون  ثلاثة: فالسابق الى موسى يوشع بن نون، والسابق الى عيسى صاحب يس، والسابق الى محمد علي بن أبي طالب.
ينابيع المودة لذوي القربى - (ج 2 / ص 382

อัดดัยละมีนำออกรายงานเช่นกัน จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ และอัฏฏ็อบรอนีกับอินิมุรดะวัยฮฺรายงานจากท่านอิบนิอับบาสว่า แท้จริงท่านนบี(ศ)กล่าวว่า ผู้ลำหน้าสุดมีสามคนคือ ผู้ที่ลำหน้า(มีอีหม่าน)ต่อนบีมูซา คือยูช๊ะอ์บินนูน
ผู้ที่ลำหน้า(มีอีหม่าน)ต่อนบีอีซา คือซอฮิบยาซีน(หมายถึงหะบีบนัจญาร)และ
ผู้ที่ลำหน้า(มีอีหม่าน)ต่อนบีมุฮัมมัด คืออะลี บินอบีตอลิบ

ยะนาบุอุลมะวัดดะฮฺ เล่ม 2 : 382


อัลมุตกีฮินดีรายงาน

السبق ثلاثة : فالسابق إلى موسى يوشع بن نون والسابق إلى عيسى يس والسابق إلى محمد علي بن أبي طالب  ( طب وابن مردويه - عن ابن عباس )

(ท่านนบี ศ.กล่าวว่า )ผู้ลำหน้าสุดมีสามคนคือ ผู้ที่ลำหน้า(มีอีหม่าน)ต่อนบีมูซา คือยูช๊ะอ์บินนูน
ผู้ที่ลำหน้า(มีอีหม่าน)ต่อนบีอีซา คือซอฮิบยาซีน(หมายถึงหะบีบนัจญาร)และ
ผู้ที่ลำหน้า(มีอีหม่าน)ต่อนบีมุฮัมมัด คืออะลี บินอบีตอลิบ
อิบนิมุรดะวัยฮฺ ได้รายงานจากท่านอิบนุอับบาส

กันซุลอุมม้าล เล่ม 11 : 891  หะดีษที่ 32896
 

ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องที่ท่านอะลีคือชายคนแรกที่เข้ารับอิสลาม และมีคนเข้ารับอิสลามราวห้าสิบคนก่อนท่านอบูบักร ได้ที่กระทู้นี้

http://www.q4sunni.com/believe/index.php?option=com_kunena&Itemid=71&func=view&catid=2&id=812


ทำไมท่านอบูบักร ท่านอุมัรและท่านอุษมานจึงไม่ใช่ อัสซาบิกูน อัลเอาวะลูน ?


เพราะ อัสซาบิกูน อัลเอาวะลูน คือพวกมุฮาญิรีน(ผู้อพยพ)ชุดแรกที่อพยพไปอยู่กับท่านนบีมุฮัมมัด ตอนที่ท่าน(ศ)กับบนีฮาชิมถูกพวกมุชริกแห่งมักกะฮ์ปิดล้อมพวกเขาไว้ที่หุบเขาอบูตอลิบเป็นเวลา4 ปี ซึ่งเป็นเรื่องที่ทราบกันดีว่า ในตอนนั้นท่านอบูบักรกับท่านอุมัรมิได้อยู่ร่วมกับท่านนบี(ศ)ในสถานที่แห่งนั้น
  •  

L-umar


เชคศอดูกรายงาน



حَدَّثَنَا أَبِي ، و مُحَمَّدُ بْنُ الْحَسَنِ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمَا قَالاَ: حدثنا سَعْدُ بْنُ عبدالله قال: حدثنا يَعْقُوبُ بْنُ يزيد، عن حَمَّادِ بْنِ عِيسَى ، عَنْ عُمَرَ بْنِ اذينة،(ثقة) عَنْ أَبَانَ بْنِ أَبِي عَيَّاشٍ ، عَنْ سُلَيْمِ بْنِ قَيْسٍ الْهِلَالِيِّ قَالَ :

จากบิดาฉันได้เล่าให้ฟัง  และมุฮัมมัด บินอัลฮาซัน (รฎ.)ทั้งสองได้กล่าว่า  สะอัดบินอับดุลลอฮฺได้เล่าให้เราฟัง เขากล่าวว่า ยะอ์กูบ บินยะซีดได้เล่าให้เราฟัง หัมมาด บินอีซาได้เล่าให้เราฟัง จากอุมัร บินอัลอุซัยนะฮฺ จากอะบาน บินอบีอัยย๊าช จากสุลัยมฺ บินก๊อยสฺ อัลฮิลาลี เล่าว่า
 
رَأَيْتُ عَلِيًّا عليه السلام فِي مَسْجِدِ رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وآله فِي خِلَافَةِ عُثْمَانَ

ฉันได้เห็นท่านอะลี (อ) อยู่ในมัสญิดท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ) ในยุคการปกครองของท่านอุษมาน

وَجَمَاعَةٌ يَتَحَدَّثُونَ وَ يَتَذَاكَرُونَ الْعِلْمَ وَالْفِقْهَ

และมีคนกลุ่มหนึ่ง พวกเขากำลังสนทนาและทบทวนวิชาความรู้และเรื่องฟิกฮฺ

فَذَكَرْ نَا قُرَيْشًا وَشَرَفَهَا وَفَضْلَهَا وَسَوَابِقَهَا وَهِجْرَتَهَا وَمَاقَالَ فِيْهَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وآله مِنْ الْفَضْلِ مِثْلَ قَوْلِهِ \\\" الْأَئِمَّةُ مِنْ قُرَيْشٍ \\\" وَ...

แล้วพวกเราได้กล่าวถึงชนเผ่ากุเรช ถึงเกียรติ ความประเสริฐ การลำหน้าทางด้านอีหม่านและการอพยพของชนเผ่านี้ และสิ่งที่ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวไว้ถึงชนเผ่านี้เกี่ยวกับความประเสริฐ เช่นท่านกล่าวว่า  ผู้นำต้องมาจากเผ่ากุเรช .... (หะดีษยาวมากขอตัดมาที่วรรคต่อไปนี้ )

ثُمَّ قَالَ ( عَلِيٌّ ) : أَنْشُدُكُمْ اللَّهَ أَتَعْلَمُونَ إِنَّ اللَّهَ عزوجل فَضَّلَ فِي كِتاَبِهِ السَّابِقَ عَلَى الْمَسْبُوْقِ فِي غَيْرِ آيَةٍ

ต่อจากนั้นท่านอะลีได้กล่าว ( กับซอฮาบะฮ์ที่เป็นชาวมุฮาญิรีน ชาวอันศ็อรที่อยู่ในมัสญิด ) ว่า  : ฉันขอให้พวกท่านสาบานกับอัลลอฮฺได้ไหมว่า  พวกท่านทราบดีใช่ไหมว่า แท้จริงอัลลอฮฺ อัซซะวะญัลได้ให้การยกย่องซาบิก(ผู้ที่เข้ารับอิสลามรุ่นแรกๆ)เหนือมัสบู๊ก(ผู้ที่เข้ารับอิสลามรุ่นหลังๆ) ไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ อื่นจากอายะฮ์ (คือมีมากกว่าหนึ่งอายะฮ์)

وَإِنِّىْ لَمْ يَسْبِقْنِيْ إِلَى اللهِ عزوجل وَإِلَى رَسُوْلِهِ صلى الله عليه وآله أَحَدٌ مِنْ هَذِهِ الْاُمَّةِ ؟

แท้จริงฉัน(อะลี) ไม่เคยมีผู้ใดจากประชาชาตินี้ที่(มีศรัทธา)ต่ออัลลอฮฺอัซซะวะญัล และรอซูลของพระองค์(ศ)ก่อนหน้าฉัน

قَالُوا : اللَّهُمَّ نَعَمْ.

พวกเขาทั้งหลายกล่าวว่า   : โอ้อัลลอฮ์  ใช่แล้ว

قَالَ : أَنْشُدُكُمْ اللَّهَ أَتَعْلَمُونَ حَيْثُ نَزَلَتْ \\\" وَالسَّابِقُونَ الْأَوَّلُونَ مِنَ الْمُهَاجِرِينَ وَالْأَنْصَارِ \\\"

ท่านอะลีได้กล่าวว่า : ฉันขอให้พวกท่านสาบานกับอัลลอฮฺได้ไหมว่า  พวกท่านทราบดีใช่ไหมว่า  ตามที่มีโองการได้ประทานลงมาว่า

อัสซาบิกูนัลเอาวะลูน ( กลุ่มคนรุ่นแรกที่เข้ารับอิสลาม ) จากชาวมุฮาญิรีน( ผู้อพยพจากมักกะฮฺ ) และจากชาวอันศ็อร ( ผู้ให้ความช่วยเหลือจากมะดีนะฮฺ )  

บทที่  9 : 100

และอายะฮ์

وَ \\\" وَالسَّابِقُونَ السَّابِقُونَ  أُولَئِكَ الْمُقَرَّبُونَ \\\"

และกลุ่มอัสซาบิกูนคือชนรุ่นแรก (ที่เข้ารับอิสลาม) เขาเหล่านั้นคือบรรดาผู้ใกล้ชิด  

บทที่ 56 : 10-11   

سُئِلَ عَنْهَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وآله وَسَلَّمَ فَقَالَ :

ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้ถูกถามถึง(ความหมาย)ของโองการนี้  แล้วท่านจึงกล่าวว่า :

\\\" أَنْزَلَهَا اللَّهُ تَعَالَى فِي الْأَنْبِيَاءِ وَأَوْصِيَائِهِمْ، فَأَنَا أَفْضَلُ أَنبِياَءِ الله وَرُسُلِهِ وَعَلِيُّ بْنُ أَبِي طَالِبٍ وَصِيِّيْ أَفْضَلُ الْاَوْصِيَاءِ \\\" ؟

อัลลอฮฺ ตะอาลาทรงประทานโองการนี้ลงมาเกี่ยวกับบรรดานบีและบรรดาวะซีของพวกเขา  ดังนั้นฉัน(รอซูล)คือผู้ประเสริฐสุดในบรรดานบีของอัลลอฮ์และบรรดารอซูลของพระองค์  ส่วนอะลี บินอบีตอลิบนั้นคือ วะซี (ผู้สืบทอดเจตนารมณ์)ของฉัน ที่ประเสริฐสุดกว่าบรรดาวะซีทั้งหลาย

قَالُوا : اللَّهُمَّ نَعَمْ.

พวกเขาทั้งหลายกล่าวว่า   :  โอ้อัลลอฮ์  ใช่แล้ว

อ้างอิงจากหนังสือ

กะมาลุดดีน วะตะมามุน-นิ๊อมะฮฺ  โดยเชคศอดูก เล่ม 42 : 26 หะดีษที่ 25

ฟะรออิดุซ- สัมต็อยนฺ  โดยอัลฮาฟิซ หะมูวัยนี เล่ม 1 : 312
  •  

L-umar



ประวัติศาสตร์อิสลามบันทึกว่า ชาวมุฮาญิรีนกลุ่มแรกที่เข้ารับอิสลามนั้นมีดังต่อไปนี้

1.   ท่านหญิงคอดียะฮฺ  ภรรยาของท่านรอซูล(ศ)
2.   ท่านอะลี บินอบีตอลิบ
3.   ท่านอบูตอลิบ
4.   ท่านฮัมซะฮฺ
5.   ท่านญะอ์ฟัร
6.   ท่านอบูษัร
7.   ท่านมิกด๊าด
8.   ท่านซัลมาน
9.   ท่านอัมมาร
10.   เซด บินหาริษะฮฺ
11.   ค็อบบ๊าบ บินอัลอะรอตติ

ชาวมุฮาญิรีนอัลเอาวะลีนนั้น มีเพียงไม่กี่คนดังรายชื่อข้างต้น

ถ้านับจากวันที่ท่านนบี(ศ)ประกาศอิสลาม ซึ่งเรียกว่า อัลบิ๊อฺษะฮฺ
ท่านอะลี คือ อัส-ซาบิกูนัลเอาวะลูน อย่างแท้จริง
ท่านนบี(ศ)ได้อิสรอและขึ้นมิ๊อฺรอจญ์หลังบิ๊อฺษะฮ์ในปีที่ 2 ก่อนที่จะมีผู้คนเข้ารับอิสลาม  40 คน    
ท่านอบูบักร เข้ารับอิสลามหลังบิ๊อฺษะฮฺประมาณปีที่ 5
ท่านอุมัร  เข้ารับอิสลามหลังบิ๊อฺษะฮ์ประมาณปีที่ 6  
ดังนั้นท่านทั้งสองจึงไม่ได้เป็นบุคคลที่จัดอยู่ในอายะฮ์ " อัส-ซาบิกูนัลเอาวะลูน "  


เชคเศาะฟียุลเราะหฺมาน อัลมุบารอกเฟารี มรณะปีฮ.ศ. 1427 ได้กล่าวไว้ในหนังสืออันโด่งดังของเขาว่า
جَمْعٌ عُرِفوا في التاريخ الإسلامى بالسابقين الأولين،

มีคนส่วนหนึ่งอันเป็นที่ทราบกันดีในประวัติศาสตร์อิสลามด้วยนาม  " อัสซาบิกูนัลเอาวะลูน "

وفي مقدمتهم زوجة النبي صلى الله عليه وسلم أم المؤمنين خديجة بنت خويلد، ومولاه زيد بن حارثة بن شراحيل الكلبي وابن عمه علي بن أبي طالب ـ وكان صبيًا يعيش في كفالة الرسول صلى الله عليه وسلم ـ

และในคนรุ่นแรกของพวกเขาคือ ภรรยาท่านนบี(ศ) อุมมุลมุอฺมินีน คอดียะฮ์ บินติคุวัยลิด และคนรับใช้ของท่านคือ เซดบินหาริษะฮฺ บินชะรอฮีลอัลกัลบี และบุตรของลุงของท่านคือ อะลี บินอบีตอลิบ และเขายังเป็นเด็กใช้ชีวิตอยู่ในการอุปการะของท่านรอซูล(ศ)

وصديقه الحميم أبو بكر الصديق . أسلم هؤلاء في أول يوم الدعوة .

และสหายของท่านคือ อบูบักร อัศซิดดี๊ก พวกเขาเหล่านี้ได้เข้ารับอิสลามในช่วงแรกของวันที่ประกาศเชิญชวน
 
كتاب : الرحيق المختوم لصفي الرحمن المباركفوري   ج 1 / ص 56

อ้างอิงจากหนังสือ  เราะฮีกุม มัคตูม โดยเศาะฟียุลเราะหฺมาน อัลมุบารอกเฟารี  เล่ม 1 : 56

หมายเหตุ
หนังสือเราะฮีกุมมัคตูมคือหนังสือชีวประวัติของท่านนบี(ศ)ที่ได้ด้ถูกส่งไปประกวดแข่งขันในปีฮ.ศ.1396  และทางองค์กรรอบิเฏาะฮ์ อัลอาละมุลอิสลามีได้คัดเลือกให้เป็นหนังสือที่ได้รับรางวัลที่หนึ่ง



วิเคราะห์

1.   ผู้เขียนยอมรับว่า ท่านอะลีคือ อัสซาบิกูนัลเอาวะลูน
2.   ผู้เขียนได้บิดเบือนข้อมูลว่า ท่านอะลีเข้ารับอิสลามตอนเป็นเด็ก ทั้งๆที่มีหะดีษรายงานว่า เขาเข้ารับอิสลามตอนอายุ 16 ปี
3.   ผู้เขียนยังได้บิดเบือนว่า ท่านอบูบักรคือหนึ่งจาก อัสซาบิกูนัลเอาวะลูน ทั้งๆที่ตามจริงไม่ใช่ เนื่องอิบนุญะรีรได้รายงานไว้ในตารีคฏ็อบรีว่า มีคนเข้ารับอิสลามราว 50 คน ก่อนท่านอบูบักรเข้ารับอิสลาม




บทสรุปสำหรับอายะฮ์ " อัสซาบิกูนัลเอาวะลูน "  คือ

ถ้าต้องการตีความหมายแบบ " อุมูม " ไปยังบรรดาซอฮาบะฮ์ บรรทัดฐานหลักที่กล่าวไว้แต่ต้นคือ  ซอฮาบะฮ์คนนั้นต้องรักษาอีหม่านและมีอามั้ลศอและห์จวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต


ถ้าต้องการความหมายแบบ " คุศู๊ศ " ไปยังซอฮาบะฮ์ที่สมควรได้รับสมญานามว่า " อัสซาบิกูนัลเอาวะลูน "  ก็เห็นจะมีซอฮาบะฮ์สิบกว่าคนดังที่ได้กล่าวรายชื่อของพวกเขาไปแล้วนั่นเอง


เพราะฉะนั้นโองการ  " อัสซาบิกูนัลเอาวะลูน "  


จึงไม่ใช่อายะฮ์ที่มุสลิมคนใดก็ตาม จะยกมาอ้างว่า  หมายถึง ซอฮาบะฮ์ทั้งหมดทุกคน ที่จะได้เข้าสู่สวรรค์ของอัลลอฮ์ อย่างที่พวกมุสลิมฆูล๊าตบางส่วนเข้าใจตามความตะอัซซุบที่เกินเลยในดีนของพวกเขา

ดังนั้นก็ตามปฏิบัติตามอะฮ์ลุลบัยต์นบี จึงมีความปลอดภัยกว่านั่นเอง.
  •  

L-umar



เรากลับมาที่เรื่องผู้นำ(คอลีฟะฮ์)ที่สืบต่อจากท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กันต่อ  

คำถามสำคัญคือ

ก่อนท่านรอซูล(ศ)จะวะฟาต   ท่านได้ทำการแต่งตั้งคอลีฟะฮ์แทนท่านเอาไว้หรือไม่ ?



ตอบ

ก่อนท่านรอซูล(ศ)จะวะฟาต   ท่านได้ทำการแต่งตั้งคอลีฟะฮ์ไว้แล้วต่อหน้าประชาชน




จะได้กล่าวถึงหลักฐานต่อไป
  •  

L-umar


ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) ได้แต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์ต่อหน้าบรรดาซอฮาบะฮ์เมื่อไหร่ ???


อัลเลาะฮ์ ญัลละ ญะลาล๊ะฮฺ ทรงตรัสว่า

يَا أَيُّهَا الرَّسُولُ بَلِّغْ مَا أُنْزِلَ إِلَيْكَ مِنْ رَبِّكَ وَإِنْ لَمْ تَفْعَلْ فَمَا بَلَّغْتَ رِسَالَتَهُ وَاللَّهُ يَعْصِمُكَ مِنَ النَّاسِ إِنَّ اللَّهَ لَا يَهْدِي الْقَوْمَ الْكَافِرِينَ

โอ้รอซูลเอ๋ย จงเผยแพร่ สิ่งที่ถูกประทานลงมายังเจ้า จากพระผู้อภิบาลของเจ้า
และหากเจ้าไม่ทำ เจ้าก็ไม่ได้เผยแพร่สาส์นของพระองค์เลย
และอัลลอฮฺจะทรงปกป้องเจ้าให้พ้นจากมนุษย์
แท้จริงอัลลอฮฺ จะไม่นำทางกลุ่มชนที่ปฏิเสธศรัทธา


ซูเราะฮ์ อัลมาอิดะห์ บทที่  5  โองการที่  67


สาเหตุของการประทานโองการ(อัสบาบุลนุซูล)

อัลลอฮฺตะอาลาได้บัญชาให้ท่านญิบรออีล(อ)นำโองการข้างต้นนี้ลงมามอบให้แก่ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)เพื่อประกาศแต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์ต่อหน้าบรรดาซอฮาบะฮ์

เชคกุลัยนี่ได้บันทึกเรื่องราวเอาไว้ดังนี้

عَنْ أَبِي جَعْفَرٍ (عليه السلام)  قَالَ :
أَمَرَ اللَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ رَسُولَهُ بِوَلَايَةِ عَلِيٍّ  وَ أَنْزَلَ عَلَيْهِ
إِنَّما وَلِيُّكُمُ اللَّهُ وَ رَسُولُهُ وَ الَّذِينَ آمَنُوا الَّذِينَ يُقِيمُونَ الصَّلاةَ وَ يُؤْتُونَ الزَّكاةَ (المائدة -: 55 -)
وَ فَرَضَ وَلَايَةَ أُولِي الْأَمْرِ فَلَمْ يَدْرُوا مَا هِيَ فَأَمَرَ اللَّهُ مُحَمَّداً (ص) أَنْ يُفَسِّرَ لَهُمُ الْوَلَايَةَ كَمَا فَسَّرَ لَهُمُ الصَّلَاةَ وَ الزَّكَاةَ وَ الصَّوْمَ وَ الْحَجَّ

ท่านอบูญะอ์ฟัร ( อิม่ามบาเก็ร อะลัยฮิสสลาม ) กล่าวว่า :
อัลลอฮฺ อัซซะวะญัล ได้รับสั่งให้ท่านรอซูลของพระองค์ด้วยเรื่องการเป็นผู้ปกครองของท่านอะลี(สืบต่อจากท่าน)  และพระองค์ทรงประทานลงมาแก่รอซูลของพระองค์ว่า
แท้จริงผู้ปกครองของพวกเจ้ามีเพียง อัลลอฮฺ และรอซูลของพระองค์ และบรรดาผู้ศรัทธา ขณะที่พวกเขากำลังนมาซและจ่ายทานซะกาต  ( อัลมาอิดะฮฺ : 5 )  พระองค์ได้กำหนดฟัรฎูเรื่องอำนาจการปกครองของอูลุลอัมริ(ลงมาแก่ประชาชน)  แต่แล้วพวกเขาไม่รู้ว่ามันคืออะไร   ดังนั้นอัลลอฮ์ได้รับสั่งให้ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ) ทำการอธิบายเรื่องอัลวิลายะฮ์(อำนาจการปกครอง)แก่พวกเขา เหมือนที่ท่านเคยอธิบายแก่พวกเขามาแล้วเรื่องการทำนมาซ การจ่ายซะกาต การถือศีลอด และการประกอบพิธีหัจญ์
 
فَلَمَّا أَتَاهُ ذَلِكَ مِنَ اللَّهِ ضَاقَ بِذَلِكَ صَدْرُ رَسُولِ اللَّهِ (ص) وَ تَخَوَّفَ أَنْ يَرْتَدُّوا عَنْ دِينِهِمْ وَ أَنْ يُكَذِّبُوهُ

เมื่อเรื่องนั้นได้มาถึงท่าน จากอัลลอฮฺ   ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)รู้สึกคับอกคับใจต่อสิ่งนั้น และท่านหวั่นเกรงว่า พวกเขาจะหันหลังกลับออกจากศาสนาของพวกเขา และจะปฏิเสธมัน  

فَضَاقَ صَدْرُهُ وَ رَاجَعَ رَبَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ فَأَوْحَى اللَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ إِلَيْهِ

อกของท่านรู้สึกอึดอัด และท่านได้วิงวอนต่อพระผู้อภิบาลของท่านให้ทรงทบทวน(ในเรื่องนี้)  ดังนั้นอัลลอฮฺ อัลซซะวะญัล จึงทรงมีวะฮีมายังท่านว่า

يا أَيُّهَا الرَّسُولُ بَلِّغْ ما أُنْزِلَ إِلَيْكَ مِنْ رَبِّكَ وَ إِنْ لَمْ تَفْعَلْ فَما بَلَّغْتَ رِسالَتَهُ وَ اللَّهُ يَعْصِمُكَ مِنَ النَّاسِ

โอ้รอซูลเอ๋ย จงเผยแพร่สิ่ง สิ่งที่ถูกประทานลงมายังเจ้า จากพระผู้อภิบาลของเจ้า  และหากเจ้าไม่ทำ เจ้าก็ไม่ได้เผยแพร่สาส์นของพระองค์เลย และอัลลอฮฺจะทรงปกป้องเจ้าให้พ้นจากมนุษย์  ( อัลมาอิดะห์ บทที่ 5 : 67 )

فَصَدَعَ بِأَمْرِ اللَّهِ تَعَالَى ذِكْرُهُ فَقَامَ بِوَلَايَةِ عَلِيٍّ (ع) يَوْمَ غَدِيرِ خُمٍّ
 
ดังนั้นท่านจึงได้ทำการประกาศคำสั่งของอัลลอฮฺ ตะอาลา  ท่านได้ลูกขึ้น(ประกาศ)ถึงการเป็นผู้ปกครองของท่านอะลี(สืบต่อจากท่าน) ในวันที่เฆาะดีรคุม

فَنَادَى الصَّلَاةَ جَامِعَةً وَ أَمَرَ النَّاسَ أَنْ يُبَلِّغَ الشَّاهِدُ الْغَائِبَ
 
แล้วมีการประกาศให้ทำการนมาซรวมกัน แล้วท่านได้สั่งประชาชนให้ผู้ที่อยู่(จงนำข่าวนี้ไปบอก)แก่ผู้ที่ไม่มา

قَالَ أَبُو جَعْفَرٍ ع وَ كَانَتِ الْفَرِيضَةُ تَنْزِلُ بَعْدَ الْفَرِيضَةِ الْأُخْرَى وَ كَانَتِ الْوَلَايَةُ آخِرَ الْفَرَائِضِ فَأَنْزَلَ اللَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَ أَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي (المائدة -: 3 -)

ท่านอิม่ามบาเก็ร(อ)กล่าวว่า  ปรากฏว่า เรื่องวิลายะฮ์นั้นเป็นฟัรฎูที่ถูกประทานลงหลังฟัรฎุครั้งสุดท้าย และเรื่องวิลายะฮ์(การเป็นผู้ปกครองของท่านอะลีนั้น)คือ ฟัรฎุสุดท้าย  แล้วอัลลออฺ อัซซะวะญัลจึงทรงประทานโองการลงมาว่า  

วันนี้ข้า ได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้ว และข้าได้ทำให้นิ๊อฺมะฮ์ของข้าครบถ้วนแล้วสำหรับพวกเจ้า (อัลมาอิดะฮฺ : 3)

قَالَ أَبُو جَعْفَرٍ ع يَقُولُ اللَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ لَا أُنْزِلُ عَلَيْكُمْ بَعْدَ هَذِهِ فَرِيضَةً قَدْ أَكْمَلْتُ لَكُمُ الْفَرَائِضَ
الكافي ج : 1  ص :  290  ح 4  
مركز البحوث الكومبيوترية للعلوم الإسلامية قم ايران : صحيح  

ท่านอิม่ามบาเก็ร(อ)เล่าว่า  อัลลอฮฺ อัซซะวะญัล ทรงตรัสว่า  หลังจากฟัรฎูนี้ ข้าจะไม่ประทาน(ฟัรฎูใด)ลงแก่พวกเจ้าอีกแล้ว  แท้จริงข้าได้ทำให้ฟัรฎูต่างๆนั้นสมบูรณ์หมดแล้ว

สถานะหะดีษ  :  เศาะหิ๊หฺ   ดูอัลกาฟี โดยเชคกุลัยนี  เล่ม 1 : 290 หะดีษที่ 4  

ตรวจทานโดยมัรกะซุล บุฮูซ คอมพิวเตอร์ ลิลอุลูมิลอิสลามียะฮ์ เมืองกุม อิหร่าน



จากหลักฐานดังกล่าว  

ชาวซุนนี่จะมาตำหนิมุสลิม มัซฮับชีอะฮ์ มิได้ว่า  พวกเขากล่าวอย่างลอยๆไร้หลักฐานในเรื่องที่ ท่านรอซูล(ศ)แต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์
  •  

L-umar


หากฝ่ายซุนนี่แย้งว่า  

มันเป็นหลักฐานที่อยู่ในตำราชีอะฮ์เท่านั้น แต่ไม่มีอยู่ในตำราของอะฮ์ลุสซุนนะฮ์



ตอบ

อุละมาอ์ซุนนี่มากมายได้กล่าวว่า อายะฮ์ ยาอัยยุฮัล เราะซูล บัลลิฆ...นี้ถูกประทานลงมาเรื่องการแต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์



แต่ฝ่ายซุนนี่ต่างหากที่พยายามปฏิเสธ และกล่าวหาว่า ชีอะฮ์โกหก   ฉะนั้นทางที่ดีเราจะมาพิสูจน์ความจริงไปพร้อมๆกันดังนี้  
  •  

L-umar


รายชื่อนักวิชาการฝ่ายอะฮ์ลุสสุนนะฮฺที่กล่าวว่า

ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์  อายะฮ์ที่ 67 ถูกประทานลงมาที่ฆ่อดีรคุมเรื่องแต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์


หนึ่ง -  
อัลวาฮิดี อันนัยซาบูรี   มรณะ ฮ.ศ. 468


أَخْبَرَنَا أَبُو سَعِيدٍ مُحَمَّدُ بْنُ عَلِيٍّ الصَّفَّارُ قَالَ : أخبرنا الْحَسَنُ بْنُ أحمد المخلدي قَالَ : أخبرنا مُحَمَّدُ بْنُ حمدون بْنُ خَالِدٍ قَالَ : حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ إبراهيم الخلوتي قَالَ : حَدَّثَنَا الْحَسَنُ بْنُ حماد سجادة قَالَ : حَدَّثَنَا عَلِيُّ بْنُ عَابِسٍ ، عَنِ الْأَعْمَشِ وَأَبِي حِجَابٍ،
عَنْ عَطِيَّةَ (الْعَوْفِيِّ) عَنْ أَبِي سَعِيدٍ الْخُدْرِيِّ قَالَ : نَزَلَتْ هَذِهِ الْآيَةُ (يا أَيُّها الرَسولُ بَلِّغ ما أُنزِلَ إِلَيكَ مِن رَّبِّكَ) يَوْمَ غَدِيرِ خُمٍّ فِيْ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ

أسباب نزول القرآن ج 1 / ص 71  انظر سورة المائدة : 67
الشيخ الإمام أبو الحسن علي بن أحمد الواحدي النيسابوري

อะฏียะฮ์ (อัลเอาฟี) รายงานจากท่านอบูสะอีด อัลคุดรี กล่าวว่า โองการนี้ได้ประทานลงมา
( โอ้รอซูลเอ๋ย จงเผยแพร่สิ่ง ที่ถูกประทานลงมายังเจ้า จากพระผู้อภิบาลของเจ้า )  ในวันเฆาะดีรคุม เกี่ยวกับท่านอะลี บินอบีตอลิบ



อ้างอิงจากหนังสือ
อัสบาบุลนุซูล  ของอัลวาฮิดี อันนัยซาบูรี  เล่ม 1 หน้า 71 ดูซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ  อายะฮ์ที่ 67

http://www.al-eman.com/islamlib/viewchp.asp?BID=153&CID=5#s1



ชัยคุลอิม่าม อบุลฮาซัน อะลี บินอะหมัด อัลวาฮิดี อันนัยซาบูรี อุละมาอ์แห่งมัซฮับชาฟิอี

مفسر، نحوي، لغوي، فقيه شاعر، اخباري.

บุคคลผู้นี้เป็นทั้ง นักตัฟสีร, นักไวยากรณ์อรับ, นักภาษาศาสตร์, ฟะกีฮฺ, นักกวี และอัคบารี เป็นคนเมืองสาเวะฮฺ ลูกพ่อค้า เสียชีวิตที่เมืองนัยซาบูรีเดือนญุมาดิลอาคิเราะฮฺ  เจ้าของตัฟสีรชื่ออัสบาบุลนุซูลอัลวาฮิดี  ในยุคของเขานั้นเป็นอาจารย์สอนวิชาตัฟสีรกุรอ่านและวิชานะฮู  เขียนตำราไว้หลายชนิดหลายเล่มด้วยกัน  ประชาชนมีมติว่าเขาเป็นคนดี บรรดานักวิชาการกล่าวขานถึงเขาไว้ในบทเรียนของพวกเขาทั้งยาว ปานกลางและสั้นๆ  ท่านอิหม่ามเฆาะซาลี กล่าวว่า สำหรับอัลวาฮิดีมีตำราดังๆเช่น อัสบาบุลนุซูล  
ท่านษะอ์ละบี มรณะ ฮ.ศ. 427 เจ้าของตัฟสีรอัลกัชฟุวัลบะยานคืออาจารย์ที่ถ่ายทอดวิชาตัฟสีรกุรอ่านให้กับอัลวาฮิดี


คำถามสำหรับซุนนี่คือ

ทำไมท่านจึงบอกว่า  ไม่มีอุละมาอ์ซุนนี่คนใดกล่าวว่า  บทที่ 5 : 67 ลงที่ฆอดีรคุมเกี่ยวกับท่านอะลี  ?

อย่างนี้เรียกว่าโกหกหรือไม่  
 
  •  

28 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้