Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

พฤศจิกายน 01, 2024, 09:29:09 ก่อนเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
  • สมาชิกทั้งหมด: 1,718
  • Latest: Haroldsmolo
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 3,421
  • หัวข้อทั้งหมด: 733
  • Online today: 34
  • Online ever: 200
  • (กันยายน 14, 2024, 01:02:03 ก่อนเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 29
Total: 29

ค่ำที่ 21 ชะฮ์รุ รอมฎอน มุบาร็อก

เริ่มโดย L-umar, กันยายน 10, 2009, 02:44:46 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar


ค่ำที่ 21 ชะฮ์รุ รอมฎอน มุบาร็อก


ค่ำคืนแห่งการจากไปของอิม่าม อะมีรุลมุอ์มินีน อะลี  บินอบีตอลิบ อะลัยฮิสสลาม
 

เกิด : 13 เดือนรอญับ  23 ปีก่อนฮ.ศ.
ตรงกับค.ศ.601 ในกะบะอ์เมืองมักกะฮ์ซาอุดิอารเบีย

มรณะ : 21 เดือนรอมฏอน ฮ.ศ. 40 เมืองกูฟะฮ์ อิรัก รวมอายุ 63 ปี
บิดา : อบู ฏอลิบ  มารดา: ฟาติมะฮ์ บินติอะซัด
สุสาน :  อยู่ที่เมืองนะยัฟ  อิรัก


ความประเสริญของอิม่ามอะลี

ศึกษาเรื่องราวของท่านอิม่ามอะลี  เพราะ ซิกรุอะลีคือ อิบาดะฮ์

قَالَ رَسُوْلُ الله صلى الله عليه وآله وسلم :  ذِكْرُ عَلِيٍّ عِبَادَةٌ.

تَارِيْخُ دِمَشَق ـ تَرْجُمَةُ أَمِيْرِ الْمُؤْمِنِيْنَ عَلِيِّ بْنِ أَبِيْ طَالِب (ع)  ح : 907  حَدِيْثٌ حَسَنٌ

ท่านรอซูล(ศ)กล่าวว่า  : การพูดหรือเล่าถึงเรื่องราวของอะลีนั้นเป็นอิบาดัตอย่างหนึ่ง

عَنْ عَلِيٍّ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ قَالَ عَهِدَ إِلَيَّ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَنَّهُ لَا يُحِبُّكَ إِلَّا مُؤْمِنٌ وَلَا يُبْغِضُكَ إِلَّا مُنَافِقٌ       صحيح الجامع الصغير وزيادته ح : 2422

ท่านอะลีเล่าว่า : ท่านนบี(ศ)ได้วางเงื่อนไขไว้แก่ฉันว่า : แท้จริงจะไม่มีใครรักเจ้า ยกเว้นมุอ์มิน และจะไม่ใครชิงชังเจ้ายกเว้น มุนาฟิก

อัลลอฮ์ตะอาลาทรงตรัสว่า

وَاعْتَصِمُوا بِحَبْلِ اللَّهِ جَمِيعًا وَلَا تَفَرَّقُوا (آل عمران :103)

สูเจ้าจงจับสายเชือกของอัลลอฮ์ให้มั่นโดยพร้อมเพรียงกัน และจงอย่าแตก(ออกไปจากเชือกเส้นนี้)

อธิบาย :  

เหตุที่ชาวอรับเรียกเชือกว่า حَبْلٌ เพราะว่าผู้ที่จับมันไว้ اَلْمُمْسِكُ จะปลอดภัย نَجَاةٌ  เหมือนคนตกน้ำที่จับเชือกไว้จนเขารอดชีวิตได้เพราะเชือก

เชือกเส้นนั้นคืออะไร ?   หะดีษษะเกาะลัยน์คือ กุญแจไขปริศนาอายัต(وَاعْتَصِمُوا بِحَبْلِ اللهِ )
 
قَالَ رَسُوْلُ اللهِ (ص) : إِنِّيْ تَارِكٌ فِيْكُمْ مَا إِنْ تَمَسَّكْتُمْ بِهِ لَنْ تَضِلُّوْا بَعْدِيْ أَحَدُهُمُا أَعْظَمُ مِنَ الْآخَرِ كِتَابُ اللهِ حَبْلٌ مَمْدُوْدٌ مِنَ السَّمَاءِ إِلَي الْأَرْضِ ، وَعِتْرَتِيْ ، أَهْلُ بَيْتِيْ وَ لَنْ يَتَفَرَّقَا حَتَّى يَرِدَا عَلَيَّ الْحَوْضَ ، فَانْظُرُوْا كَيْفَ تُخْلِفُوْنِىْ

ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า  :
แท้จริงข้าพเจ้าขอมอบไว้กับพวกท่านสิ่งซึ่งหากพวกท่านยึดมั่นต่อสิ่งนั้นแล้ว  พวกท่านจะไม่หลงทางโดยเด็ดขาด  สิ่งแรกใหญ่กว่าสิ่งสองคือ คัมภีร์ของอัลลอฮ์ คือเชือกที่ทอดจากฟากฟ้าสู่แผ่นดิน (สิ่งสอง)คืออิตเราะฮ์ ซึ่งเป็นอะฮ์ลุลบัยต์พิเศษของฉัน และทั้งสองสิ่งจะไม่แยกจากกัน จนกว่าจะกลับมาพบกับฉันที่อัลเฮาฎ์(สระเกาซัรในสวรรค์)
ดังนั้นพวกท่านจงดูเถิดว่า พวกท่านจะขัดแย้งกับฉันในสองสิ่งดังกล่าวนี้อย่างไร

ท่านรอซูล(ศ)อธิบายว่าเชือกเส้นนั้นหมายถึง อัลกุรอานและอิตเราะฮ์  ทั้งสองคือเชือกเส้นเดียวกัน ไม่ใช่เชือกสองเส้น  การยึดมั่น تَمَسُّك ต่ออิตเราะฮ์นบีคือ การยึดมั่นอยู่กับอัลกุรอานนั่นเอง หาใช่อื่นใดไม่ ยิ่งกว่านั้นทั้งสองคือสิ่งคือฮะกีกัตเดียวกัน حَقِيْقَةٌ وَاحِدٌ  

ความแตกต่างระหว่างอัลกุรอานกับอิตเราะฮ์คืออะไร ?

قَالَ عَلِيٌّ(ع): أَنَا الْقُرآنُ النَّاطِقُ,  هَذَا كِتَابُ اللَّهِ الصَّامِتُ،

ท่านอิม่ามอะลีกล่าวว่า : ฉันคืออัลกุรอานที่พูดได้ ส่วนหนังสือของอัลลอฮ์ฉบับนี้คืออัลกุรอานที่พูดไม่ได้

หะดีษนี้มิได้หมายความว่า ท่านอิม่ามอะลีคือผู้พูดในนามของอัลกุรอาน   แต่ท่านอิม่ามอะลีคือคัมภีร์อัลกุรอานที่พูดได้อธิบายได้และมีชีวิต     ด้วยเหตุนี้ท่านนบี(ศ)จึงกล่าวว่า :  

عَلِيٌّ مَعَ الْقُرْآنِ وَ الْقُرْآنُ مَعَ عَلِيٍّ لَنْ يَتَفَرَّقَا حَتَّى يَرِدَا عَلَيَّ الْحَوْضَ

 اَلْمُسْتَدْرَكُ الْحَاكِم  ح : 4628 هَذَا حَدِيْثٌ صَحِيْحُ الْإِسْنَادِ وَ لَمْ يُخْرِجَاهُ الشَّيْخَيْنِ
อะลีอยู่กับอัลกุรอานและอัลกุรอานอยู่กับอะลี ทั้งสองจะไม่แยกจากกัน จนกว่าจะกลับมาพบกับฉันที่อัลเฮาฎ์(สระเกาซัรในสวรรค์)

หะดีษนี้หมายถึงท่านอิม่ามอะลีคือ اَلْقُرْانُ حَيٌّ อัลกุรอานที่มีชีวิต ท่านอิม่ามอะลีได้สำแดงอัลกุรอานออกมาเป็นรูปธรรม เพื่อให้มนุษย์ได้ประจักษ์และเข้าใจพระดำรัสของอัลลอฮ์(ซ.บ.)
  •  

L-umar


บทบาทของอิมามอะลี แบ่งออกเป็น 2  ระยะเวลาดังนี้

1.   ช่วงที่นบีมุฮัมมัด(ศ) ยังมีชีวิตอยู่

2.   ช่วงที่นบีมุฮัมมัด(ศ) เสียชีวิตแล้ว



ท่านนบีมุหัมมัด(ศ)ได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นนบีเมื่ออายุ 40 ปี  โดยท่านญิบรีลมาหาท่านที่ถ้ำฮิรออ์  แล้วกล่าวกับท่านว่า

اِقْرَأْ بِاسْمِ رَبِّكَ الَّذِي خَلَقَ...

จงอ่านด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงสร้าง... บท 96 : 1

ด้วยความดีใจท่านนบี(ศ)จึงรีบกลับมาที่บ้านพร้อมวะห์ยูนั้น ท่านได้เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ภรรยาฟัง และท่านหญิงคอดีญะฮ์ได้ศรัทธาต่อท่าน ดั้งนั้นนางจึงเป็นสตรีคนแรกที่เข้ารับอิสลาม

ชายคนแรกที่เข้ารับอิสลาม

عَنِ الْحَسَنِ وَغَيْرِهِ قاَلَ : فَكاَنَ أَوَّلُ مَنْ آمَنَ عَلِيَّ بْنَ أَبِي طَالِبٍ وَهُوَ ابْنُ خَمْسَ عَشَرَة أَوْ سِتَّ عَشَرَة سَنَةً

ฮาซัน อัลบัศรี่และคนอื่นๆรายงานว่า :  บุคคลแรกที่ศรัทธาต่อท่านนบี(ศ) คืออะลี บินอบีตอลิบ และตอนนั้นเขาอายุ 15 – 16 ปี
สถานะหะดีษ : เศาะหิ๊หฺ  ดูมัจญ์มะอุซ-ซะวาอิด โดยอัลฮัยษะมี หะดีษที่ 14603

ชายคนแรกที่เข้าทำนมาซกับท่านนบี(ศ)

عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ قَالَ : أَوَّلُ مَنْ صَلَّى عَلِىٌّ    

อิบนิอับบาสเล่าว่า : บุคคลแรกที่นมาซ(กับท่านนบี)คือท่านอะลี
ซอฮีฮุต-ติรมิซี หะดีษที่ 2936

ท่านนบี(ศ)ประกาศอิสลามอย่างลับๆอยู่ 3 ปี จากนั้นอัลลอฮ์ทรงสั่งให้ท่านประกาศอิสลามอย่างเปิดเผย โดยท่านญิบรออีลได้นำวะห์ยูมายังท่านว่า

وَأَنْذِرْ عَشِيرَتَكَ الْأَقْرَبِيْنَ

(โอ้มุฮัมมัด) เจ้าจงตักเตือนญาติสนิทของเจ้า   บท 26 : 214

ท่านนบี(ศ)จึงสั่งให้ท่านอะลีไปเชิญบรรดาญาติสนิทของท่านคือ บนีฮาชิมและบนีอับดุลมุฏลิบ  มารับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน และให้ท่านอะลีเป็นคนจัดเตรียมอาหาร เมื่อญาติพี่น้องได้รับประทานเสร็จ ท่านนบี(ศ)ได้เชิญชวนญาติพี่น้องสู่อิสลาม
แต่ถูกอบูละฮับ บินอับดุลมุฏลิบ ลุงคนหนึ่งของท่าน(ศ) ขัดจังหวะท่าน ทำให้การเชิญชวนต้องชะงักลง จนญาติคนอื่นๆได้แยกย้ายกันกลับไป
ในวันรุ่งขึ้น ท่านนบี(ศ)ตัดสินใจเชิญชวนใหม่อีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้ไม่มีอบูละฮับเข้าร่วมด้วย ท่านนบี(ศ)ได้สั่งให้ท่านอะลีเตรียมอาหารเหมือนเดิม และสั่งให้เชิญบนีฮาชิมและบนีอับดุลมุฏลิบมาเป็นแขกอีกครั้งเพื่อร่วมรับประทานอาหาร และฟังคำเชิญชวนของท่าน เมื่อรับประทานอาหารเสร็จ

ท่านนบี(ศ)ได้กล่าวว่า ไม่มีใครในหมู่พวกท่านที่จะมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่พวกท่านเหมือนกับฉัน ฉันได้นำสิ่งที่ดีที่สุดทั้งดุนยาและอาคิเราะฮ์มามอบให้แก่พวกท่าน อัลลอฮ์ได้มีบัญชามายังฉันให้เชิญชวนพวกท่านสู่การอิบาดะฮ์ต่อพระเจ้าองค์เดียว และฉันคือรอซูลุลลอฮ์
 
فَأيُّكُمْ يُؤَازِرُني عَلى هَذَا الأمْرِ عَلَى أَن يَكُوْنَ أَخِي وَوَصِيِّي وَخَلِيْفَتِي فِيْكُمْ

ดังนั้น พวกท่านคนใดบ้าง ? ที่จะมาช่วยเหลือฉันในภาระกิจนี้ โดยเขาจะมาเป็นอะคี , วะซีของฉันและคอลีฟะฮ์สืบต่อจากฉัน ในหมู่พวกท่าน
ท่านนบี(ศ) ได้หยุดพูดชั่วขณะหนึ่ง เพื่อรอดูว่า จะมีใครตอบรับคำเชิญชวนของท่านบ้าง ไม่มีเสียงตอบรับในที่ประชุม ทุกคนนิ่งเงียบ ไม่มีใครกล้าสบสายตาท่าน
แต่ท่านอะลีซึ่งตอนนั้นอายุ 16 ปีได้ลุกขึ้นยืนและกล่าวเสียงดังว่า..
โอ้ท่านรอซูลุลเลาะฮฺ ฉันจะเป็นผู้ช่วยเหลือท่านเองในการประกาศอิสลาม พร้อมกับจับมือของท่านนบีเพื่อเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงคำมั่นสัญญา
หลังจากนั้นท่านนบีได้สั่งให้ท่านอะลีนั่งลง ท่านได้ถามซ้ำอีกครั้ง แต่ก็ไม่มีใครตอบรับเช่นเคย ท่านอะลีได้ลุกขึ้นและประกาศให้คำมั่นสัญญาแก่ท่านนบีเช่นเดิม ท่านนบีได้สั่งให้ท่านอะลีนั่งลงอีกครั้ง และท่านได้ถามเป็นครั้งที่3 แต่ก็ไม่มีเสียงตอบรับเหมือนเดิม นอกจากคำมั่นสัญญาของท่านอะลี ที่ยืนยันว่าจะเป็นผู้ช่วยเหลือท่านนบี  ท่านนบีจึงได้จับที่ต้นคอของท่านอะลี และกล่าวว่า

إنَّ هذا أخِي وَوَصيِّي وخَلِيفَتِي فِيكُمْ فَاْسْمَعُوْا لَهُ وَأَطِيْعُوْا
قَالَ فَقَامَ الْقَوْمُ يَضْحَكُوْنَ وَيَقُوْلُوْنَ لِأَبِيْ طَالِبٍ قَدْ أَمَرَكَ أَن تَسْمَعَ لِاِبْنِكَ وَتُطِيْعُ

แท้จริงชายคนนี้คือ พี่น้องของฉัน คือวะซีของฉัน และจะเป็นคอลีฟะฮ์สืบต่อจากฉันในหมู่พวกท่าน   ขอให้พวกท่านจงเชื่อฟังและปฏิบัติตามเขา

(ผู้รายงาน)เล่าว่า : คนกลุ่มนั้นได้ลุกขึ้นพลางหัวเราะ และกล่าวกับท่านอบูตอลิบว่า แท้จริงมุฮัมมัดได้สั่งให้ท่านเชื่อฟังและปฏิบัติตามบุตรชายท่าน


ตัฟสีรอัฏ-ฏ็อบรี  เล่ม 19 : 410   และตารีคฏ็อบรี เล่ม 1 : 542


เมื่อท่านนบี(ศ)เริ่มประกาศอิสลามอย่างเปิดเผย ก็ได้รับการกลั่นแกล้งและต่อต้านเป็นวงกว้าง ตลอดจนผู้ศรัทธาต่อท่านก็ได้รับการต่อต้านเช่นกัน จนกระทั่งอัลลอฮ์ทรงอนุญาตให้ผู้ศรัทธาฮิจเราะฮฺ ซึ่งมีการอพยพไปยังเมืองหะบะชะฮฺ 2 ครั้งก่อนที่จะอพยพไปเมืองมะดีนะฮฺ


อิม่ามอะลีในคืนที่ท่านนบี(ศ)ฮิจเราะฮ์

เมื่อชาวกุเรชได้วางแผนลอบสังหารท่านนบี(ศ)  จึงมีวะห์ยูให้ท่านฮิจเราะฮ์ไปมะดีนะฮ์ โดยมีท่านอะลีเสียสละชีวิตนอนแทนท่านนบี(ศ)เพื่อให้พวกที่มาลอบสังหารเข้าใจว่า ท่านนบีฯยังนอนอยู่บนเตียง แต่ที่จริงท่านจากไปแล้ว การเสียสละครั้งนี้ได้วะห์ยูประทานลงมา
 
وَمِنَ النَّاسِ مَنْ يَشْرِي نَفْسَهُ ابْتِغَاءَ مَرْضَاةِ اللَّهِ
และส่วนหนึ่งจากมนุษย์ มีผู้ขายตัวเองเพื่อแสวงหาความพอพระทัยของอัลลอฮ์     บท 2 : 207
เมื่อท่านนบี(ศ)อพยพไปมะดีนะฮ์ ท่านสามารถจัดตั้งรัฐอิสลามขึ้นที่เมืองมะดีนะฮ์ พวกมุชริกมักกะฮ์ได้ยกทัพมาตีหลายครั้ง  แต่อิสลามสามารถปกป้องตนเองให้พ้นจากการถูกทำลายลงได้


ท่านอะลีในสมรภูมิรบต่างๆ

สงครามบะดัร  

เช้าวันที่ 17 รอมฎอน ฮ.ศ.ที่ 2  ที่ทุ่งบะดัร นอกเมืองมะดีนะฮ์ ฝ่ายกุเรชยกทัพมา1000 คน ส่วนฝ่ายมุสลิมมี 313 คน  
เมื่อสงครามเริ่ม ฝ่ายกุเรซส่งทหาร 3 คนมาท้ารบตัวต่อตัวคือ
1,อุตบะฮฺ บิดาของนางฮินด์ 2,ชัยบะฮฺ 3,วะลีด ทั้งสองคือบุตรของอุตบะฮฺ
ฝ่ายมุสลิม ท่านนบี(ศ)ได้ส่งญาติของท่านสามคนออกไปคือ
1,อุบัยดะฮฺ บินฮาริษ บินอับดุลมุฏลิบ อายุ70ปี
2, ฮัมซะฮฺ บินอับดุลมุฏลิบ
3,อิม่ามอะลี บินอบีตอลิบ  ซึ่งตอนนั้นหนุ่มที่สุด
ท่านฮัมซะฮฺ สู้กับชัยบะฮฺ  / ท่านอุบัยดะฮ์ สู้กับอุตบะฮฺ / ท่านอะลี สู้กับวะลีด
หลังจากข่มขวัญศัตรูแล้ว สงครามได้ปะทุขึ้นและในที่สุดมุสลิมเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ


สงครามอุฮุด

วันที่ 3 เดือนเชาวาล ฮ.ศ.ที่ 3  ทั้งสองฝ่ายได้เผชิญหน้ากันที่บริเวณภูเขาอุฮุด ฝ่ายมุสลิมมีทหารเพียง 700 นาย  ฝ่ายกุเรชได้คัดเลือกคนตระกูลอับดุด-ด้ารทำหน้าที่ถือธงรบ  เพราะเป็นเผ่าทีมีชื่อเสียงด้านความกล้าหาญ  นายธงคนแรกได้ออกมาท้าประลองดาบกับทหารฝ่ายมุสลิม
ท่านอิม่ามอะลีจึงออกไปสู้กับต็อลหะฮ์ บินอบีอับดะรี  ท่านอิม่ามฟันขาทั้งสองขาดสะบั้นจนธงตกลงพื้น
อุษมาน บินต็อลหะฮ์คว้าธงขึ้นมา ท่านอิม่ามก็ฟันเขาตาย จนธงตกลงพื้น
ฮาริษ บินอบีต็อลหะฮ์คว้าธงขึ้นมา ท่านอิม่ามก็ฟันเขาตาย จนธงตกลงพื้น
อะซีซ บินอุษมานคว้าธงขึ้นมา ท่านอิม่ามก็ฟันเขาตาย จนธงตกลงพื้น
อุษมาน บินต็อลหะฮ์คว้าธงขึ้นมา ท่านอิม่ามก็ฟันเขาตาย จนธงตกลงพื้น
อับดุลลอฮฺ บินญะมีละฮ์คว้าธงขึ้นมา ท่านอิม่ามก็ฟันเขาตาย จนธงตกลงพื้น
ท่านอิม่ามอะลีฟันนายธงฝ่ายกุเรชตายไปทั้งหมด 9 คน เพื่อข่มขวัญศัตรู

อีกด้านหนึ่งของสงคราม ท่านนบี(ศ)สั่งพลธนู 70 คนตั้งหลักคุมเชิงอยู่บนเนินเขา พอฝ่ายกุเรชถูกตีแตกกระเจิง พวกเขาจึงลงมาเก็บทรัพย์สินในสนามรบ
เมื่อฝ่ายมุชริกแลเห็นพลธนูลงมาเก็บข้าวของ คอลิด บินวะลีดจึงนำทหารโอบเข้าตีด้านหลัง สามารถยึดพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นจุดโตมตีฝ่ายมุสลิม แล้วธงรบของพวกมุชริกก็ถูกชูขึ้นอีกครั้งหนึ่งโดยนางอัมเราะฮฺ บินติอัลก่อมะฮ์ เพื่อเรียกขวัญกำลังใจของชาวกุเรชกลับคืนมา
สถานการณ์เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือทันที ฝ่ายมุสลิมที่เกือบจะได้รับชัยชนะกลับเป้นฝ่ายแตกกระเจิงไปส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งยังยืนหยัดสู้อยู่
ท่านนบี(ศ)ถูกจู่โจมจนตกลงไปในหลุมจนสลบไป พวกกุเรชได้สร้างกระแสว่า ท่านนบี(ศ)เสียชีวิตแล้ว  ทำให้ฝ่ายมุสลิมหมดกำลังใจสู้มีบางส่วนหลบหนีออกจากสงคราม  
แม่ทัพฝ่ายกุเรช100นาย จัดทัพใหม่ ทุกคนพาทหารหนึ่งกองร้อยเข้าจู่โจมหมายปลิดชีพท่านนบี(ศ)ให้ได้  ส่วนท่านนบี(ศ)ก็ยังสลบอยู่ โดยมีอิม่ามอะลีคอยปกป้องอยู่ตรงศรีษะท่าน(ศ)  
อิม่ามอะลีฟาดฟันกองร้อยจนดาบหักและแตกพ่ายไป ท่านนบี(ศ)ลืมตามองอิม่ามอะลีแล้วถามว่า โอ้อะลี พวกเราไปไหนกันหมด ? ท่านอะลีตอบว่า โอ้ท่านรอซูล พวกเขาเป็นกาเฟ็รกันไปหมดแล้วครับ พวกเขาหนีไปแล้ว จากนั้นพวกมันก็จู่โจมอีกเป็นละลอกสอง อิม่ามอะลีก็ตีพวกมันจนถอยหลังกลับไปอีก
ท่านนบี(ศ)กล่าวว่า โอ้อะลีเจ้าได้ยินเสียงสดุดีดังมาจากฟากฟ้าไหม ? มีเสียงมลาอิกะฮ์ริฎวานกู่ก้องว่า
لاَ سَيْفَ إِلاَّ ذُوْ الْفِقَارِ وَلاَ فَتَى إِلاَّ عَلِيّ
ไม่มีดาบเล่มใด นอกจากดาบซุลฟิก็อร และไม่มีชายหนุ่มใดได้รับชัยชนะ นอกจากอะลี

พออิม่ามอะลีได้ยินก็ร้องไห้ออกมา และขอบคุณอัลลอฮ์ในนิ๊อ์มัตของพระองค์
สงครามจบลงด้วยการสูญเสียชาวมุฮาญิรีนไปประมาณ70 คน และท่านลุงฮัมซะฮ์ได้รับชะฮีด

อิม่ามอะลีเดินทางกลับมาที่มะดีนะฮ์ ร่างถูกฟันถึง90 แผล มีอาการบาดเจ็บเกินกว่าจะเยียวยาได้แต่นอนซม  รุ่งเช้าท่านนบี(ศ)มาเยี่ยมที่บ้าน  ท่านอิม่ามอะลีร้องไห้พลางกล่าวว่า

يَا رَسُولَ اللَّهِ أَرَأَيْتَ كَيْفَ فَاتَتْنِي الشَّهَادَةُ ؟

ยารอซูลัลลอฮ์ ท่านเห็นแล้วใช่ไหมว่า ฉันพลาดตำแหน่งชะฮีดอีกแล้ว

ท่านรอซูล(ศ)จึงกล่าวว่า :   اِنَّهَا مِنْ وَرَائِكَ يَا عَلِيُّ
โอ้อะลี เจ้าจะต้องได้รับมันแน่ แต่ยังก่อน


สงครามค็อนดัก

ฝ่ายมุชริกรวมพลได้มากกว่า1หมื่นคน  ขณะที่ฝ่ายมุสลิมมีทหารไม่เกิน 3 พัน


ผู้นำกุเรชตั้งเป้าเอาไว้ว่า ครั้งนี้จะต้องสังหารมุสลิมให้สิ้นซาก และจะต้องไม่มีผู้ใดปฏิบัติตามมุฮัมมัดอีกต่อไป  
เมื่อฝ่ายมุลิมมีน้อยกว่ามาก ท่านนบี(ศ)จึงสั่งให้ขุดคูรอบเมืองมะดีนะฮ์ตามคำแนะนำของท่านซัลมาน   ความลึกและกว้างของสนามเพลาะ ทำให้ศัตรูไม่อาจควบม้าข้ามผ่านมาได้ และถ้าใครตกลงไปก็ยากที่จะปีนขึ้นมาได้
ทัพฝ่ายมุชริกตั้งทัพล้อมเมืองอยู่ 1 เดือน ทั้งสองได้แต่ใช้ธนูโต้ยิงใส่กันทั้งวันทั้งคืน โดยไม่มีฝ่ายใดได้รับชัยชนะ

อัมรู บินอับดุวุด ผู้กล้าและชำนาญการรบ เขาเพียงคนเดียวเคยรบกับทหาร1พันคน  ได้ควบม้าข้ามคูมาได้สำเร็จ  อัมรูตะโกนท้าว่า  ใครจะออกมาสู้กับข้า ?
ท่านรอซูล(ศ)ถามว่า ใครอาสาจะออกไปจัดการเจ้าสุนัขตัวนี้ ? ไม่มีใครอาสา ท่านอะลีลุกขึ้นยืนฉันเอง  ท่านนบีกล่าวว่า เขาคืออัมรูนะ เจ้านั่งลงเถิด  
อัมรูท้าครั้งที่ 2 ว่า ไม่มีใครเลยรึ ? เขาจึงดูถูกอีหม่านของมุสลิมว่า
ไหนล่ะสวรรค์ของพวกเจ้า เห็นอ้างว่า ผู้ใดถูกฆ่าตายในสงครามก็จะได้เข้าสวรรค์มิใช่รึ ?
ท่านอะลีลุกขึ้นกล่าวว่า โอ้ท่านรอซูล ขอให้ฉันจัดการมันเถิด ท่านนบีสั่งให้นั่งลงอีก
อัมรูท้าเป็นครั้งที่ 3  ฝ่ายมุสลิมก็เงียบกริบ
ท่านอะลีจึงลุกขึ้นกล่าวว่า โอ้ท่านรอซูล ให้ฉันสู้กับมันเอง ท่าน(ศ)กล่าวว่า เขาคืออัมรูนะ  
ท่านอะลีกล่าวว่า แม้จะเป็นอัมรูและฉันคืออะลีก็ตาม ท่านอะลีขออนุญาติออกไปสู้  
เมื่อเห็นว่าไม่มีใครอาสา ท่านรอซูลจึงอนุญาต ท่าน(ศ)ใส่เสื้อเกราะให้และมอบดาบซุลฟิก็อรของท่านแก่อิม่ามอะลี   แล้วท่าน(ศ)ได้โพกสะระบั่นสะฮ๊าบให้อีกด้วย จากนั้นท่านกล่าวว่า จงออกไปได้แล้ว เมื่ออิม่ามอะลีออกไปเผชิญหน้ากับอัมรู   ท่านนบี(ศ)ได้กล่าวว่า

بَرَزَ الْإِيْمَانُ كُلُّهُ إِلىَ الشِّرْكِ كُلِّهِ
ตอนนี้ อีหม่านทั้งหมด กำลังต่อสู้กับการตั้งภาคีทั้งหมด
เพราะชัยชนะในครั้งนี้ จะบ่งชี้ถึงอนาคตระหว่างอิสลามกับผู้ปฏิเสธ

ท่านนบี(ศ)ยกมือสู่ฟากฟ้า แล้ววิงวอนว่า
اللَّهُمَّ إِنَّكَ أَخَذْتَ مِنِّيْ عُبَيْدَةَ يَوْمَ بَدَر وَحَمْزَةَ يَوْمَ أُحُد، فَاحْفَظْ عَلَيَّ الْيَوْمَ عَلِيّاً، رَبِّ لَا تَذَرْنِي فَرْدًا وَأَنْتَ خَيْرُ الْوَارِثِينَ

โอ้องค์อัลลอฮ์ พระองค์ทรงเอาท่านอุบัยดะฮ์ไปจากข้าฯในสงครามบะดัร และท่านฮัมซะฮ์ในสงครามอุฮุด ดังนั้นได้โปรดคุ้มครองรักษาอะลีในวันนี้ด้วยเถิด โอ้องค์อภิบาลของข้าฯ โปรดอย่าปล่อยให้ข้าฯอยู่เพียงคนเดียว และพระองค์คือผู้สืบมรดกที่ดียิ่ง

อัมรูตอนนั้นอายุ 80 กว่า เขาเคยเป็นสหายรักของท่านอบูตอลิบ เมื่ออัมรูถามว่า เจ้าเป็นใคร ?   ท่านอะลีตอบว่า ฉันคืออะลี เป็นบุตรของอบูตอลิบ

ท่านอิม่ามกล่าวว่า  ถ้าหากเจ้าต้องการที่จะทำสงครามขอเชิญเจ้าลงจากหลังม้า
อัมรูกล่าวว่า ข้าไม่ชอบเลยที่สังหารเจ้าด้วยมือของข้าเอง เพราะว่าข้าเป็นเพื่อนกับพ่อเจ้า จงกลับไปซะเถิดไอ้หนุ่มน้อย
ท่านอิมามกล่าวว่า  แต่ว่า ฉันพอใจที่จะสังหารท่าน
อัมรูโกรธมากหลังจากที่ได้ฟังคำพูดของท่านอิม่าม  เขาจึงก้าวลงจากหลังม้าและใช้ดาบฟันขาม้าทั้งสองขาดสะบั้น เขาเข้าจู่โจมท่านอิม่ามทันที การต่อสู้ได้เริ่มขึ้น ทั้งสองฝ่ายต่างเข้าห่ำหั่น ซึ่งกันและกัน อัมรูได้โอกาสในการเผด็จศึกก่อน เขาได้ฟันดาบใส่ศีรษะของท่านอิมามอย่างแรง แต่ท่านอิม่ามได้ใช้โล่รองรับจนโล่แตกออกเป็น 2 ท่อน เป็นสาเหตุให้ท่านได้รับบาดแผลที่บริเวณศีรษะ และช่วงเวลานี้เองท่านอิมามได้โอกาสตอบโต้  ทั้งสองคนต่อสู้กันจนฝุ่นตลบมืดปกคลุมไปทั่ว จนไม่สามารถมองเห็นได้ แต่ทันใดนั้นเองได้มีเสียงตักบีรของท่านอิมามอะลีดังขึ้น
เมื่อทหารฝ่ายมุสลิม แลเห็นท่านอิมามอะลีฟันขาทั้งสองของอัมรูขาดล้มลงและได้สังหารนักรบผู้กล้าของชาวอาหรับแล้ว ต่างพากันตะโกนร้องแสดงความดีใจกันทั่วหน้า
การที่ทหารผู้กล้าของชาวกุเรชถูกท่านอิมามอะลีสังหาร ทำให้กองทหารฝ่ยกุเรชรู้แล้วว่า ฝ่ายตนไม่สามารถเอาชนะได้ ผนวกกับสูญเสียขวัญกำลังใจในการรบ ทำให้พวกเขาต่างพากันหลบหนีกลับสู่บ้านเมืองของตน
ในวันนั้นท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)จึงได้กล่าวว่า
ضَرْبَةُ عَلِيٍّ يَوْمَ الْخَنْدَق أَفْضَلُ مِنْ عِبَادَةِ الثَّقَلَيْنِ
การฟันของอะลีในสงครามคอนดักนั้นประเสริฐกว่าการทำอิบาดะฮ์ของมนุษย์และญินทั้งหมด


สงครามค็อยบัร

ปีฮ.ศ.ที่ 7 ท่านนบี(ศ)ตัดสินใจที่จะเข้ายึดป้อมค็อยบัร เพื่อลดกำลังความสามารถของพวกยิว เป้าหมายในการเข้ายึดครั้งนี้มี 2 ประเด็นคือ
1. ค็อยบัร คือ ศูนย์กลางที่พวกยิวใช้วางแผนหรือปลุกระดมคนเพื่อต่อต้านการปกครองอิสลาม
2. ในสมัยนั้นอาณาจักรโรมและเปอร์เซียถือว่ายิ่งใหญ่ ยิวอาจจะใช้ป้อมค็อยบัรเป็นสถานที่ร่วมมือกับศัตรูอิสลามเพื่อวางแผนทำลายล้างอิสลาม หรือใช้เป็นสถานที่ให้การสนับสนุนศัตรูอิสลาม ซึ่งสองอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ในสมัยนั้นให้ความร่วมมือและให้การสนับสนุนพวกยิว
ท่านนบีมุฮัมมัดจึงได้นำกองทหารจำนวน 1,600 นาย เคลื่อนทัพไปที่ป้อมค็อยบัรทุกป้อมถูกตีแตกหมด ยกเว้นป้อม" คูมุส " ซึ่งเป็นป้อมปราการที่แข็งแกร่งมาก อีกทั้งทหารของพวกยิวก็มีความสามารถในการป้องกันตนเองสูง

กองทหารอิสลามล้อมไว้ถึง 25 วัน ไม่สามารถพิชิตป้อมนี้ได้ การต่อต้านของยิวในป้อมปราการนี้ สร้างความลำบากให้กับท่านนบีเป็นอย่างมาก
วันแรกท่านนบี(ศ)ส่งอามิร บินอักว๊าอ์ออกไปสู้ ก็ถูกยิวชื่อมัรหับสังหาร
วันที่ 2 ท่านนบีมอบธงให้กับท่านอบูบักร และในวันต่อมาท่านได้มอบให้กับท่านอุมัร ซึ่งทั้งสองไม่สามารถพิชิตป้อมปราการนี้ได้ ในสถานการณ์เช่นนี้ได้สร้างความยุ่งยากให้กับท่านนบีเป็นอย่างมาก    ท่านสะอัด บินอบีวักก็อศเล่าว่า ท่านนบี(ศ)กล่าวว่า :

لأُعْطِيَنَّ الرَّايَةَ رَجُلاً يُحِبُّ اللَّهَ وَرَسُولَهُ وَيُحِبُّهُ اللَّهُ وَرَسُولُهُ ». قَالَ فَتَطَاوَلْنَا لَهَا فَقَالَ « ادْعُوا لِى عَلِيًّا ». فَأُتِىَ بِهِ أَرْمَدَ فَبَصَقَ فِى عَيْنِهِ وَدَفَعَ الرَّايَةَ إِلَيْهِ فَفَتَحَ اللَّهُ عَلَيْهِ    

(พรุ่งนี้)ฉันจะมอบธงรบให้กับชายคนหนึ่งที่เขารักอัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ และอัลลอฮ์กับรอซูลของพระองค์ก็รักเขา  ท่านสะอัดเล่าว่า (รุ่งเช้าทุกคนมารวมตัวกันที่กระโจมท่านนบี) พวกเราพยายามยืนตัวให้สูง(ท่านนบีจะได้มองเห็น) เพื่อจะได้รับธงรบนั้น ท่านนบีกล่าวว่า พวกท่านจงไปเรียกอะลีมาหาฉันที แล้วก็มีคนพาเขามา ซึ่งตาเขาเจ็บ ท่านได้เอาน้ำลายป้ายไปที่ดวงของเขา และมอบธงรบกับเขา  แล้วอัลลอฮ์ได้ประทานชัยชนะให้กับเขา

ซอฮีฮุมุสลิม ฮะดีษที่ 6373


ท่านนบี(ศ)ยังได้บอกับท่านอะลีว่า จงรู้ว่า มีบันทึกในคัมภีร์พวกยิวว่า คนที่สามารถจะทำลายพวกเขาได้มีชื่อว่า เอลียา
ดังนั้นเมื่อได้เผชิญหน้ากับพวกเขาจงบอกว่าท่านชื่อ เอลียา แล้วพวกเขาจะทอดทิ้งไม่สู้กับเจ้า
ท่านได้นำทัพด้วยความกล้าหาญอย่างที่ไม่มีใครเหมือน ฝ่ายยิวแม่ทัพมัรหับได้ถือลูกตุ้มเหล็กกวักแกว่งออกมา พลางร่ายกกลอนขู่ว่า

قَدْ عَلِمَتْ خَيْبَرُ أَنِّي مَرْحَبُ
شَاكِي السِّلَاحِ بَطَلٌ مُجَرَّبُ
أَطْعَنُ أَحْيَانًا وَحِينًا أَضْرِبُ


ท่านอิม่ามจึงตอบไปว่า

أنا الذي سمتني أمي حيدرة
أضرب بالسيف رقاب الكفرة

พอมัรหับได้ยินก็หวาดกลัวขึ้นมาเพราะเขาเคยได้ยินบาดหลวงคนหนึ่งบอกกับเขาว่าอย่าต่อสู้กับคนที่ชื่อ "หัยดัร "
ในที่สุดท่านสามารถพิชิตป้อมปราการค็อยบัรของชาวยิวได้สำเร็จ


อิม่ามอะลีผู้อยู่ภายใต้ผ้าคลุมกีซา

عَنْ أُمِّ سَلَمَة : أَنَّ النَّبِيَّ صلى الله عليه و سلم جَلَّلَ عَلَى الْحَسَنِ وَالْحُسَيْنِ وَعَلِيٍّ وَفَاطِمَةَ كِسَاءً
ثُمَّ قَالَ : اللّهُمَّ هَؤُلاءِ أهْلُ بَيْتِيْ وَخَاصَّـتِيْ أذْهِبْ عَنْهُمُ الرِّجْسَ وَطَهِّرْهُمْ تَطْهِيْراً
فَقَالَتْ أمُّ سَلَمَة وَاَنَا مَعَهُمْ يَا رَسُوْلَ اللهِ ؟  قَالَ (ص) : إنَّكِ اِلَى خَيْرٍ
ท่านหญิงอุมมุ สะละมะฮ์เล่าว่า : แท้จริงท่านนบี ศ็อลฯได้เอาผ้ากีซาคลุมบนตัวอัลฮาซัน ,อัลฮูเซน,อะลีและฟาติมะฮ์ จากนั้นท่านกล่าวว่า  : โอ้อัลลอฮ์บุคคลเหล่านี้คืออะฮ์ลุลบัยต์ของข้าพเจ้า และ(เป็นอะฮ์ลุลบัยต์)พิเศษของข้าพเจ้า  โปรดขจัดความโสมมออกจากพวกเขา และโปรดชำระพวกเขาให้สะอาดบริสุทธิ์ด้วยเถิด
ท่านหญิงอุมมุ สะละมะฮ์(ร.ฎ)กล่าวว่า : ขอให้ข้าพเจ้าได้อยู่พร้อมกับพวกเขาด้วยเถิด  โอ้ท่านรอซูลุลลอฮ์     ท่านตอบว่า :  เธอไปยังความดี
สถานะหะดีษ : ซอฮี๊ฮ์  ดูซอฮีฮุต-ติรมิซี  หะดีษที่ 3435  ตรวจทานโดยเชคอัลบานี

ตำรับตำราด้านประวัติศาสตร์สามารถยืนยันได้เป็นอย่างดีว่าท่านอะลีมีบทบาทโดดเด่นที่สุดในบรรดาซอฮาบะฮ์ ในเรื่องที่อิสลามได้รับชัยชนะจากสงครามต่างๆ เหล่านี้หรือในสงครามอุฮุดที่ท่านอะลีคอยปกป้องท่านนบีมุฮัมมัด โดยอยู่ใกล้ชิดที่สุดกับท่านนบีฯ โดยไม่ยอมให้ศัตรูเข้ามาสังหารท่านได้ ในขณะที่มีซอฮาบะฮ์บางคนหลบหนี ภายหลังที่กองทัพของอิสลามถูกโจมตีตลบหลัง จนทำให้กองทัพอิสลามแตกกระเจิงพ่ายแพ้ในภายหลัง
สรุปก็คือในยุคสมัยของท่านนบีมุฮัมมัด(ศ็อลฯ) ท่านอะลีเป็นผู้ยืนหยัดเคียงข้างท่านอยู่ตลอดเวลา พร้อมทั้งให้การช่วยเหลือ สนับสนุน และคอยปกป้องท่านนบีมุฮัมมัดมาโดยตลอด
ในขณะเดียวกันท่านอะลีมีบทบาทอย่างสูงในการทำให้อิสลามได้รับชัยชนะในสงครามต่างๆ จนส่งผลให้อิสลามมีความมั่นคงและแผ่กระจายไปทั่วคาบสมุทรอาหรับ ตามบันทึกของตำราด้านประวัติศาสตร์และตามรายงานด้านฮะดีษ ได้กล่าวถึงการทำพิธีฮัจญ์ครั้งสุดท้ายของท่านนบีมุฮัมมัด(ศ็อลฯ) ซึ่งเรียกว่า ฮัจญะตุลวิดาอ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ "เฆาะดีร คุม"


อิม่ามอะลีผู้เป็นเมาลาปวงมุสลิม

วันที่ 18 เดือนซุลฮิจญะฮฺ ปี ฮ.ศ.ที่ 10 ณ. เฆาะดีรคุม หลังเสร็จพิธีฮัจญ์ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ็อลฯ)ได้ประกาศการแต่งตั้งให้ท่านอะลีเป็นอิมามผู้นำแทนภายหลังจากท่าน  

عَنْ أَبِي الطُّفَيْلِ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ :
لَمَّا دَفَعَ النَّبِيُّ صَلَّي اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّم مِنْ حَجَّةِ الْوِدَاعِ وَنَزَلَ غَدِيْرَ خُمٍّ أَمَرَ بِدَوْحَاتٍ فَقُمِمْنَ ثُمَّ قَالَ : كَأَنِّيْ دُعِيْتُ فَأَجِبْتُ وَإِنِّيْ تَارِكٌ فِيْكُمُ الثَّقَلَيْنِ أَحَدَهُمَا أَكْبَرُ مِنَ الْآخَرِ : كِتَابُ اللهِ وَعِتْرَتِيْ أَهْلُ بَيْتِيْ فَانْظُرُوْا كَيْفَ تُخْلِفُوْنِيْ فِيْهِمَا  فَإِنَّهُمَا لَنْ يَتَفَرَقَا حَتَّي يَرِدَا عَلَيَّ الْحَوْضَ     ثُمَّ قَالَ : إِنَّ اللهَ مَوْلاَيَ وَأَنَا وَلِيُّ كُلِّ مُؤْمِنٍ  ثُمَّ إِنَّهُ أَخَذَ بِيَدِ عَلِيٍّ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ فَقَالَ : مَنْ كُنْتُ وَلِيَّهُ فَهَذَا وَلِيَّهُ  اللّهُمَّ وَالِ مَنْ وَالاَهُ وَعَادِ مَنْ عَادَاهُ

อบู ตุเฟลรายงาน :  
เมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กลับจากการทำฮัจญ์ครั้งสุดท้าย ท่านได้แวะพักที่เฆาะดีรคุม ท่านสั่งให้(พักตรง)ต้นไม้ใหญ่ แล้วสั่งให้กวาด(ลานให้สะอาด)  แล้วท่านได้ปราศัยว่า : ดูเหมือนว่าฉันถูกเรียก(กลับแล้ว) และฉันได้ตอบรับแล้ว แท้จริงฉันได้มอบไว้แก่พวกท่านสิ่งหนักสองสิ่ง สิ่งแรกใหญ่กว่าอีกสิ่งหนึ่งคือ
1.   คัมภีร์ของอัลลอฮ์ (อัลกุรอาน)และ
2.   อิตเราะตี คืออะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน  
ดังนั้นพวกท่านจงดูเถิดว่า พวกท่านจะขัดแย้งกับฉันในสองสิ่งนี้อย่างไร เพราะแท้จริงสองสิ่งนี้จะไม่แยกจากกัน จนกว่าทั้งสองจะกลับมาหาฉันที่อัลเฮาฎ์(สระเกาษัร)

จากนั้นท่าน(ศ็อลฯ)ได้กล่าวว่า :
แท้จริงอัลลอฮ์ทรงเป็นผู้คุ้มครองของฉัน  และฉันเป็นผู้ปกครองของผู้ศรัทธาทุกคน  จากนั้นท่านนบีได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้นเหนือศรีษะ) แล้วกล่าวว่า :
บุคคลใดก็ตามที่ฉันเป็นผู้ปกครองของเขา  ดังนั้นอะลีก็เป็นผู้ปกครองของเขา  
โอ้อัลลอฮ์โปรดรักผู้ที่เป็นมิตรต่อเขา และโปรดชิงชังผู้ที่เป็นศัตรูต่อเขา  

สถานะหะดีษ : เศาะหิ๊หฺ    
ดูซิลซิละตุลอะฮาดีษิซ-ซอฮีฮะฮ์ เล่ม 4 : 330   หะดีษที่ 1750   ตรวจทานโดยเชคอัลบานี



หลังยุคการปกครองของคอลีฟะฮ์สามท่านแรก ซึ่งเป็นเวลารวมกว่า 25 ปี ท่านอิมามอะลีได้ขึ้นเป็นคอลีฟะฮ์อย่างเป็นทางการด้วยการรบเร้าของประชาชนในยุคนั้น ท่านได้เปลี่ยนศูนย์กลางการปกครองจากเมืองมะดีนะฮ์มายังเมืองกูฟะฮ์โดยใช้เวลาปกครองอยู่ทั้งสิ้นประมาณ4 ปี 9 เดือน ท่านอิม่ามอะลีพยายามนำเอา บรรยากาศเก่าๆ ที่อยู่ในยุคสมัยของท่านนบีมุฮัมมัด(ศ็อลฯ) กลับเข้ามาสู่สังคมมุสลิมอีกครั้งหลังจากที่มวลมุสลิมได้ละเลยในเรื่องความเสมอภาคในด้านชนชั้น และเชื้อชาติ ซึ่งเป็นคำสอนที่สำคัญอย่างหนึ่งของอิสลาม ท่านอิมามอะลีพยายามที่จะนำความยุติธรรมที่แท้จริงมาปกครองประชาชน แต่ก็ประสบปัญหามากมายพอสมควร จากผู้ที่เคยได้รับผลประโยชน์มาจากการปกครองก่อนหน้านี้ ในยุคการปกครองของท่านมีสงครามสำคัญเกิดขึ้นสามครั้งคือ

1.   สงครามญะมัล(ท่านหญิงอาอิชะฮ์ยกทัพมารบกับท่านอิม่ามอะลี)
2.   สงครามซิฟฟีน (ท่านมุอาวียะฮ์ยกทัพมารบกับท่านอิม่ามอะลี)
3.   สงครามนะฮ์รอวาน (ท่านอิม่ามอะลียกทัพไปปราบพวกคอวาริจญ์)
สงครามเหล่านี้ ถือเป็นอุปสรรคอย่างใหญ่หลวงต่อการปกครองในยุคของท่านอิม่ามอะลี แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม ประชาชาติมุสลิมในยุคนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนเมืองกูฟะฮ์ได้เห็นผู้ปกครองที่มีความยุติธรรมอย่างแท้จริง และปกครองตามแบบฉบับที่แท้จริงของอิสลาม แม้นว่ามันจะเป็นเวลาในช่วงสั้นๆ ก็ตาม ภายหลังจากสี่ปีกว่าๆ ที่ท่านอิมามอะลีได้ปกครองประชาชาติอิสลาม
ในคืนที่ 19  เดือนรอมฏอน ปีฮิจเราะฮ์ที่40  ท่านอะลีถูกอับดุลเราะห์มาน อิบนุมุลญิมลอบฟันศรีษะท่านในมัสญิดกูฟะฮ์ขณะที่กำลังนำนมาซซุบฮ์ ท่านได้รับบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตลงหลังจากนั้นเพียงแค่สองวัน


ทำไมท่านอะลีจึงเป็นซอฮาบะฮ์ที่ประเสริฐสุด ?

قَالَ رَسُول اللَّه صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لِعَلِيٍّ : مَنْ أَشْقَى الْأَوَّلِينَ ؟ قَالَ : عَاقِر النَّاقَة ، قَالَ : فَمَنْ أَشْقَى الْآخِرِينَ ؟ قَالَ : اللَّه وَرَسُوله أَعْلَم . قَالَ : قَاتِلك \\\"

ท่านรอซูล(ศ)ถามท่านอะลีว่า : คนชั่วที่สุดในอดีตคือใคร ? ท่านอะลีตอบว่า : คนที่ฆ่าอูฐของนบีซอและห์  ท่านนบีถามว่า : แล้วคนชั่วช้าที่สุดในอนาคตเป็นใคร ? ท่านอะลีตอบว่า : อัลเลาะฮ์และรอซูลของพระองค์เท่านั้นที่รู้  ท่านนบีตอบว่า : คือคนที่ลงมือสังหารเจ้า

สถานะหะดีษ : ฮาซัน ดูฟัตฮุลบารี โดยอิบนุหะญัร เล่ม 11 : 5 หะดีษที่ 3430  

เมื่อท่านนบีมุฮัมมัดกล่าวกับท่านอะลีว่า คนฆ่าเจ้าคือคนที่ชั่วที่สุด ดังนั้นคนดีที่สุดในหมู่ซอฮาบะฮ์ก็คงจะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจากท่านอิม่ามอะลี (อ)


อิสลามสมบูรณ์ลงด้วยการแต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์


อัลลอฮ์ ตะอาลาตรัสว่า

الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ الْإِسْلَامَ دِينًا

วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้ว และข้าได้ทำให้นิอฺมะฮ์ของข้าครบถ้วนแก่พวกเจ้าแล้ว  และข้าพึงพอใจที่ให้อัลอิสลามเป็นศาสนาสำหรับพวกเจ้า

ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ อายะฮ์ 3 นี้ถูกประทานลงมาในวันที่ 18 ซุลหิจญะฮ์ ณ.เฆาะดีรคุม

อัลเคาะฏีบ อัลบัฆดาดี (ฮ.ศ.392 – 463 )  ได้รายงานหะดีษจาก →
1.อับดุลลอฮฺ บินอะลี บินมุฮัมมัด บินบัชรอน → 2.อะลี บินอุมัร อัดดารุกุฏนี → 3.อบูนัศรฺ หับชูน บินมูซา บินอัยยูบ อัลค็อลล้าล → 4.อะลี บินสะอีด อัลร็อมลี → 5.เฎาะมะเราะฮฺ บินเราะบีอะฮฺ อัลกุเราะชี → 6.อับดุลลอฮฺ บิน เชาซับ → 7.มะฏ็อร อัลวัรรอก → 8.ชะฮ์รุ บินเหาชับ → 9.ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺกล่าวว่า  :

مَنْ صَامَ يَوْمَ ثَمَانِ عَشْرَةَ مِنْ ذِي الْحِجَّةِ كُتِبَ لَهُ صِيَامُ سِتِّيْنَ شَهْرًا وَهُوَ يَوْمَ غَدِيرِ خُمٍّ لَمَّا أَخَذَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِيَدِ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ فَقَالَ أَلَسْتُ وَلِيُّ الْمُؤْمِنِينَ قَالُوْا بَلَى يَا رَسُوْلَ اللهِ قاَلَ مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ فَقَالَ عُمَرُ بْنُ الْخَطَّابِ بَخٍ بَخٍ لَكَ ياَ بْنَ أَبِي طَالِبٍ أَصْبَحْتَ مَوْلاَيَ وَمَوْلَى كُلِّ مُسْلِمٍ فَأَنْزَلَ اللَّهُ الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ

บุคคลใดได้ถือศีลอดในวันที่ 18 เดือนซุลหิจญะฮฺ   จะถูกบันทึกสำหรับเขา(ว่าเขา)ได้ถือศีลอดถึง 60 เดือน และมัน( วันที18 )คือวันที่เฆาะดีรคุม  ตอนที่ท่านนบี(ศ)ได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้น) แล้วกล่าวว่า : ฉันคือผู้ปกครองของบรรดามุอฺมินทั้งหลายใช่หรือไม่ ?
พวกเขา(บรรดาซออาบะฮฺ)กล่าวว่า : หามิใช่แล้วครับ โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ
ท่าน(ศ)จึงกล่าวว่า : บุคคลใดที่ฉันคือผู้ปกครองของเขา ดังนั้นอะลีก็คือผู้ปกครองของเขา
ท่านอุมัรบินคอตตอบได้กล่าวว่า : ขอแสดงความยินดีกับท่านด้วย โอ้บุตรของอบูตอลิบ (บัดนี้)ท่านได้กลายเป็นเมาลาผู้ปกครองของฉันและผู้ปกครองของมุสลิมทุกคนแล้ว  ดังนั้นอัลลอฮ์จึงทรงประทานโองการนี้ลงมา(الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ)
วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้ว ...(ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ โองการ 3 )

หนังสือ ตารีคบัฆด๊าด โดยอัลเคาะฏีบอัลบัฆดาดี เล่ม 8 : 289 หะดีษที่ 4392

เป็นหะดีษที่มีสายรายงาน เศาะหิ๊หฺ
  •  

29 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้