Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

ธันวาคม 22, 2024, 07:30:35 หลังเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
  • สมาชิกทั้งหมด: 1,718
  • Latest: Haroldsmolo
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 3,701
  • หัวข้อทั้งหมด: 778
  • Online today: 102
  • Online ever: 200
  • (กันยายน 14, 2024, 01:02:03 ก่อนเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 65
Total: 65

ประวัติศาสตร์ ซุนนี่ กับ ผู้ปกครองรัฐ

เริ่มโดย L-umar, มิถุนายน 11, 2009, 11:57:21 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar


ตำราอันโด่งดังที่สุดของอบูหะนีฟะฮ์ที่แต่งไว้เกี่ยวกับเรื่องอะกีดะฮ์คือ  กิตาบ  " อัลฟิกฮุลอักบัร - كتاب الفقه الأكبر "  

เป็นหนังสือที่นำเสนอเรื่องดังต่อไปนี้

التوحيد والإيمان والقضاء والقدر وصفات الله وأفعال العباد والنبوة وعصمة الأنبياء وكرامات الأولياء والشفاعة والجنة والنار وعذاب القبر والخلفاء الأربعة: أبو بكر وعمر وعثمان وعلي وعلامات الساعة.

เตาฮีด, อีหม่าน, เกาะฎอเกาะดัร, ซิฟาตุลลอฮฺ, อัฟอ้าลของปวงบ่าว, นุบูวะฮฺ , อิศมะตุลอันบิยาอฺ, กะรอม๊าตของเอาลิยาอฺ, ชะฟาอะฮฺ , ญันนะฮ์ ,

น้าร, กุโบร์ , บรรดาคุละฟาอฺทั้งสี่คือ อบูบักร อุมัร อุษมาน อะลี และอะลาม๊าตะวันสิ้นโลก



เรื่องเหล่านี้ที่บรรจุอยู่ในหนังสือฟิกฮุลอักบัร คือประเด็นขัดแย้งท่ามกลางหมู่ชาวอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ด้วยกัน  และคือพื้นฐานหลักที่เกิดแนวคิดแตกแยก

กันเอง ที่ต่างฝ่ายต่างมีจุดยืนเป็นของตัวเองโดยเฉพาะ
  •  

L-umar



นักวิชาการที่โด่งดังของมัซฮับหะนะฟี :
 
زُفَر بْن الْهُذَيْلِ التميمي
ซุฟัร บินอัลฮุซัยลฺ อัตตะมีมี

อุละมาอ์สาขาหะดีษมีความเชื่อถือเขา และเขาเป็นหนึ่งจากอัศฮาบหะดีษ  เขาไปมาหาสู่อยู่ในมัจญ์ลิสอบูหะนีฟะฮฺเป็นประจำ  นับว่าเขาคือผู้ตามมัซฮับหะนะฟีที่มีชื่อเสียงที่สุดและมีความรู้เรื่องฟิกฮฺมากที่สุด  

سُفْيَان الثَّوْرِيّ
สุฟยาน อัษ-เษารี

ฉายาหัวหน้ามุอฺมินีนในเรื่องหะดีษ ได้รับความน่าเชื่อถือจากอุละมาอ์หะดีษ  เขาได้รวมระหว่างฟิก์กับหะดีษ ความสมถะและวะเราะฮ์เข้าไว้ด้วยกัน

عَبْد اللَّه بْن يَزِيد الْمُقْرِي
อับดุลลอฮฺ บินยะซีด อัลมุกรี

หนึ่งจากริญาลุลหะดดีษที่น่าเชื่อถือ  เขารายงานจากอิบนุ หัมบัล ,อัลบุคอรีและคนอื่นๆ

مُحَمَّد بْن الْحَسَن الشَّيْبَانِيُّ
มุฮัมมัด บินฮาซัน อัชชัยบานี

เจ้าของกุตุบอัลฟิรเกาะฮ์  ดำรงตำแหน่งกอฎีในสมัยฮารูนรอชีด เขาแต่งตำราไว้มากมาย

وَكِيعُ بْنُ الْجَرَّاحِ
วะกี๊อฺ บินอัลญัรร๊อหฺ

เป็นมุหัดดิษชาวอิรัก หนึ่งในผู้ทรงความรู้  เจ้าของตำราสุนันรายงานหะดีษจากเขา อิม่ามชาฟิอีคือลูกศิษย์ของเขาคนหนึ่ง

عَبْدُ اللَّهِ بْنُ الْمُبَارَكِ
อับดุลลอฮฺ บินอัลมุบาร็อก

มีชื่อเสียงมาก เขารวบรวมวิชาความรู้ต่างๆมากมายหลากหลายศาสตร์ มีนักรายงานหะดีษมากมายรายงานจากเขา

يَعْقُوبُ بْنُ إِبْرَاهِيمَ الْأَنْصَارِيِّ
ยะอ์กู๊บ บินอิบรอฮีม อัลอันศอรี

คือ กอฎี อบูยูสุฟ เป็นอะห์นาฟที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง  ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาในสมัยอัลมะฮ์ดี  อัลฮาดี และฮารูนรอชีด

يَزِيدُ بْنُ هَارُونَ
ยะซีด บินฮารูน

คือนักฮาฟิซกุรอ่านคนหนึ่ง อิบนุหัมบัลและบุคคลอื่นรายงานหะดีษจากเขา



ยังมีนักวิชาการคนอื่นๆที่สังกัดอยู่ในมัซฮับนี้ที่ไม่ได้กล่าวชื่ออีกมาก
  •  

L-umar



อัลเอาซาอี ( الأوزاعية )

ผู้ก่อตั้งมัซฮับนี้ชื่อ " อับดุลเราะหฺมาน บินอัมรู อัลเอาซาอี "  

เกิดฮ.ศ. 88  มรณะ 157  รวมอายุ 69   ปี


อัลเอาซ๊าอฺ คือสถานที่แห่งหนึ่งอยู่ที่เมืองดามัสกัส ประเทศซีเรีย

ฉายา  อิหม่ามแห่งเมืองช่าม  และ มุหัดดิษแห่งราชสำนักอุมะวีย์


ในศตวรรษที่สองร้อยแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช ชื่อเสียงของอัลเอาซาอี โด่งดังขึ้นที่ซีเรีย  ซึ่งเป็นสมัยของตาบิอีน  

เขารายงานหะดีษจาก อะฏออ์ บินเราะบ๊าหฺ   มักฮู้ล  อัซซุฮ์รี  มุฮัมมัด บินซีรีน  นาฟิ๊อฺ เมาลาของอิบนิอุมัร และคนอื่นๆ

อัลเอาซาอี สามารถสร้างมัซฮับของเขาเองได้สำเร็จ และแพร่หลายอยู่ที่ซีเรีย อันดาลุส(สเปน) จากนั้นประชาชนก็ค่อยๆละทิ้งจนสูญหายไปในที่สุด  


แนวคิดและอะกีดะฮฺของกลุ่มอัลเอาซาอี มีดังต่อไปนี้


1.   อัลลอฮฺ ตะอาลาทรงนั่งอยู่บนบัลลังค์ของพระองค์

2.   ต้องมีอีหม่านต่อบรรดาคุณลักษณะของอัลลอฮฺตามที่มีรายงานไว้ในหะดีษ

3.   ความรู้ต้องได้รับมาจากเศาะหาบะฮ์นบีเท่านั้น

4.   ยึดหะดีษเป็นหลักในการออกฟัตวา(คำวินิจฉัยความทางศาสนา)

5.   สัญลักษณ์ของอีหม่านคือต้องรักท่านอะลีและท่านอุษมาน

6.   ต้องยึดมั่นอยู่กับกลุ่มญะมาอะฮ์และกลุ่ม(ที่ยึด)ซุนนะฮ์


อัลเอาซาอีมิได้ทิ้งตำราไว้ให้ชนรุ่นหลังเลย  บ้างกล่าวกันว่าตำราของเขาถูกเผาหมดในเหตุการณ์ " อัลร็อจญ์ฟะฮ์  "     ซึ่งเกิดขึ้นกับเมือง

ช่ามและบัยตุลมักดิส ในปีฮ.ศ. 130


อัลเอาซาอีเคยกล่าวถึงอิหม่ามอบูหะนีฟะฮฺว่า   :

إنا لا ننقم على أبي حنيفة أنه رأى، كلنا نرى
ولكن ننقم عليه أنه رأى الشيء عن النبي صلى الله عليه وسلم فخالفه.
تاريخ الإسلام للذهبي - (ج 3 / ص 140

แท้จริงเราจะไม่แก้แค้นต่ออบูหะนีฟะฮ์ที่เขาได้ใช้ความคิดเห็นของเขา(กับศาสนา)  เพราะว่าพวกเราทุกคนล้วนใช้ความคิดเห็น(ส่วนตัวกับศาสนาด้วยกันทั้งนั้น )
แต่เราจะล้างแค้นเขา ที่เขาเห็นสิ่งหนึ่งที่มาจากท่านนบี(ศ) แล้วเขาได้ขัดแย้งกับท่าน(ศ)


อ้างอิงจาก  ตารีคุลอิสลาม โดยอัซซะฮะบี เล่ม 3 : 140



อัลเอาซาอีได้รับการยกย่องจากกษัตริย์แห่งราชวงศ์อุมัยยะฮ์และราชวงศ์อับบาซียะฮ์เพราะเขามีอะกีดะฮฺในเชิงอินฮิรอฟต่ออะฮ์ลุลบัยต์นบีนั่นเอง.
  •  

L-umar



อัลมาลิกียะฮ์ (المالكية)


ผู้ก่อตั้งมัซฮับนี้ชื่อ  มาลิก บินอะนัส

ชื่อเต็ม : มาลิก บินอะนัส บินมาลิก บินอบีอามิรฺ อัลอัศบะฮี

เกิด ฮ.ศ.93 (ค.ศ.712) ที่เมืองมะดีนะฮฺ

เสียชีวิต ฮ.ศ.179 (ค.ศ.795) ที่เมืองมะดีนะฮฺ

รวมอายุ 83 ปี


อิม่ามมาลิกเริ่มการศึกษาด้วยการท่องจำอัลกุรอาน หลังจากนั้นก็เริ่มท่องจำหะดีษ เขาได้ให้ความสำคัญกับหะดีษและวิชานิติศาสตร์อิสลาม(ฟิกฮฺ)

            เขาได้ศึกษากับอาจารย์รวมทั้งสิ้น 900 คน อาจารย์ที่อิมามมาลิกได้ศึกษาอยู่กับเขานานที่สุดคือ อับดุลเราะหฺมาน บินฮุรมุก อัล-อะอฺร๊อจญ์  ซึ่งอิมามมาลิกใช้เวลาในการศึกษานานถึง 7 ปี
เขาได้ใช้ชีวิตที่เมืองมะดีนะฮฺเป็นเวลานานพอสมควร และได้ทำการสอนหนังสือที่นั่น ดังนั้นเขาจึงมีลูกศิษย์เป็นจำนวนมาก และศิษย์ของอิมามมาลิกที่สำคัญและเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดก็คือ  อิม่ามชาฟีอี

             เขาต้องโทษถูกทรมานอย่างหนักในสมัยของกาหลิบอบูญะฟัร อัล-มันซูร แห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺ   สาเหตุที่ถูกทรมานนั้นมีหลายบันทึกด้วยกัน
บันทึกหนึ่งรายงานว่า  เขาได้บันทึกหะดีษที่ว่า " ผู้ถูกบังคับนั้นไม่ทำให้การกล่าวหาหย่าร้างภรรยาของเขามีผล "  " แต่กาหลิบอบูญะอฺฟัร อัล-มันศูร ไม่ต้องการให้  หะดีษนั้นถูกบันทึกไว้  เนื่องจากเกรงว่าประชาชนจะไม่ให้การสนับสนุนกาหลิบ  หากประชาชนได้รับหะดีษบทนี้ เพราะหะดีษดังกล่าวจะเป็นหลักฐานสำคัญ ที่ใช้ในการอ้างอิง อาจจะทำให้กาหลิบอับบาซี่มีผู้สนับสนุนน้อยลง
อิม่ามมาลิกเป็นปราชญ์ที่ตรงไปตรงมา เขาไม่ยินยอมและยืนยันที่จะให้หะดีษนี้ถูกบันทึกไว้ ทำให้คอลีฟะฮฺไม่พอใจจึงต้องตัดสินลงโทษเขา ด้วยการเฆี่ยนตี  

             อิมามมาลิกเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 796 (ฮ.ศ. 179) รวมอายุได้ 83 ปี หลังการจากไป ได้มีผู้สืบทอดแนวนิติศาสตร์ที่เขาได้วางรากฐานไว้ จนก่อตัวเป็นสำนักใหญ่เรียกว่า มัซฮับ มาลิกี

จุดเด่นของมัซฮับนี้คือ ยึดริวายะฮฺ(รายงานหะดีษ)เป็นข้อมูลหลักในการอิจญืติฮ๊าดและฟัตวาเรื่องฟิกฮฺ และอาศัยแนวทางนี้ปกป้องตนเองจากกลุ่มมุสลิมอื่นๆที่ใช้แนวกะลาม  ความคิดและประเพณี


แนวคิดของซุนนี่กลุ่มนี้คือ


1-   อีหม่านมีเพิ่มขึ้นได้  แต่อิม่ามมาลิกนิ่งไม่ให้ทัศนะต่อเรื่องอีหม่านนั้นลดลงได้

2-   อัลกุรอ่านคือ  กะลามุลลอฮฺ (คำพูดของอัลลอฮฺ)  ไม่ใช่มัคลู๊ก

3-   คนทำบาปใหญ่และบาปทั่วไปคือ มุอฺมิน

4-   คำพูดของบรรดาซอฮาบะฮฺและคำฟัตวาของพวกเขานั้นมาจากซุนนะฮ์นบี

5-   สุนัขนั้นสะอาด (ไม่นะยิส)

6-   อนุญาตให้นมาซย่อได้ ในการเดินทางเพื่อไปทำบาป

7-   ไม่อนุญาตให้จัดการนมาซวันศุกร์ ยกเว้นเฉพาะในมัสญิดญามิ๊อฺเท่านั้น

8-   ผู้ใดกินหรือดื่มโดยหลงลืมในเดือนรอมฎอน ให้เขาละศีลอดและวาญิบต้องชดใช้ในภายหลัง


และอื่นๆอีกมากมาย


ฟิกฮ์มัซฮับมาลิกีนี้มีทั้งตำราที่แต่งในสมัยอิม่ามมาลิกและที่แต่งขึ้นจากบรรดาลูกศิษย์หลังจากเขาเสียชีวิตแล้ว
มัซฮับนี้แพร่หลายอยู่ในหิญาซ (ซาอุดิอารเบีย)  และบริเวณอ่าว  ที่อียิปต์และโมรอคโค

ตำราที่โด่งที่สุดของอิม่ามมาลิกคือ   " อัลมุวัฏเฏาะอฺ "
 
  •  

L-umar



อัช- ชาฟิอียะฮฺ (الشافعية )  
อิมามชาฟิอีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ (ผู้ก่อตั้งมัซฮับชาฟิอี)


ชื่อเต็ม : มุหัมมัด บิน อิดรีส บิน อัลอับบาส บิน อุษมาน อัชชาฟิอี

เกิด ฮ.ศ.150 (ค.ศ.767) ที่เมืองฆ็อซซะฮฺ Gaza ปาเลสไตน์

เสียชีวิต ฮ.ศ.204 (ค.ศ.820) ที่อิยิปต์

รวมอายุ 54 ปี

มุฮัมมัด บินอิดรีสอัชชาฟิอีมีชีวิตอยู่ท่ามกลางมัซฮับฮะนะฟี ซึ่งเป็นพวกที่ใช้ทัศนะความคิดกับศาสนาเรียกว่า อัศฮาบุลเราะอ์ยุ  กับมัซฮับมาลิกี ซึ่งเป็นพวกใช้หะดีษ เรียกว่าอัศฮาบุลหะดีษ  แต่อย่างไรก็ตามเขาก็มีหลักการด้านอะกีดะฮ์  ฟิกฮฺ  การเมืองการปกครองและแนวคิดเป้นของตัวเอง


แนวคิดที่สำคัญของอิม่ามชาฟิอีมีดังนี้


1-   ละทิ้งอิลมุลกะลาม ( เทววิทยา เชิงวิพาษ )
2-   อัลกุรอ่านคือ กะลามุลลอฮฺ  เป็นของเก่า (เกาะดีม) ไม่ใช่มัคลู๊ก
3-   หะดีษคือฮุจญะฮ์ (หลักฐานที่สอง) รองจากอัลกุรอ่าน
4-   รวมนิติศาสตร์(ฟิกฮฺ)ระหว่างแนวฮะนะฟีและมาลิกีเข้าไว้ด้วยกัน
5-   ออกกฏเกณฑ์เรื่องฟิกฮฺและอุศูลุลฟิกฮฺ
6-   อิมามะฮ์ ตำแหน่งผู้นำผู้ปกครองต้องมาจากเผ่ากุเรชเท่านั้น
7-   มะนี (น้ำอสุจิ)  สะอาดไม่นะยิส
8-   อนุญาตให้พวกมุชริกเข้าไปในบรรดามัสญิดได้ ยกเว้นมัสญิดิลฮะรอมเท่านั้นที่ห้ามเข้า
9-   อนุญาตให้เอานมาซอัศรี่นำหน้าซุฮ์รี่ได้ ในกรณีรวมระหว่างสองนมาซ
10-   ไม่อนุญาตให้นมาซญะนาซะฮ์แก่ผู้ตายชะฮีด
11-   วาญิบ(จำเป็น)ต้องจ่ายทานซะกาตแก่เด็ก
12-   การมุรตัด ไม่เป็นเหตุให้การอิ๊อฺติกาฟของเขาโมฆะ
13-   อนุญาตให้ชายสามารถนิก๊ะหฺ(สมรส)กับลูกสาวของเขาที่มาจากการทำซีนาได้
14-   อนุญาตให้ซุลตอน(ผู้ปกครอง)สามารถทำการหย่าแทนสามีได้
15-   อนุญาตให้กินสัตว์ถูกเชือดที่ไม่ได้เอ่ยนามอัลลอฮฺโดยเจตนาได้
16-   ฆินาอ์(เพลง) ไม่ใช่สิ่งฮะร่าม ผู้ร้องก็ไม่บาป และไม่ถูกปฏิเสธ  และอื่นๆอีกมากมาย



กลุ่มชาฟิอีเป็นมัซฮับที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกซุนนี่แพร่หลายไปทั่วทุกมุมโลก ยกเว้นที่อินเดียและยุโรป
ด้วยเหตุนี้ตัวอิม่ามชาฟิอีและมัซฮับของเขาจึงต้องเผชิญกับศัตรูมากมายจากซุนนี่กลุ่มอื่น


ลูกศิษย์ของอิม่ามชาฟิอีและผู้ที่มีชื่อของมัซฮับนี้

ที่เมืองมักกะฮ์
อบูบักร อัลฮิมยะรี (أبو بكر الحميري) เป็นนักรายงานหะดีษ  และนักนิติศาสตร์
อิบนิ อบิลญารู๊ด(ابن أبي الجارود)  เป็นนักนิติศาสตร์

ที่เมืองแบกแดด
อบูอะลี อัลกะรอบีส (أبو علي الكرابيس)
อบูเษารฺ อัลกัลบี (أبو ثور الكلبي)
อิม่ามอะหมัด บินหัมบัล (أحمد بن حنبل)
อิสฮ๊าก บินรอหะวัยฮฺ(اسحاق بن راهوية) เขาคือครูของอัลบุคอรี

ที่เมืองมิศรี่ (อียิปต์)
หัรมะละฮฺ บินยะห์ยา (حرملة بن يحيى )
อิสมาอีล บินยะห์ยา อัลมิซี (إسماعيل بن يحيى المزني)  ผู้แต่งตำรามากมายในมัซฮับชาฟิอี


หนังสืออันโด่งดังของอิม่าม ชาฟิอี ด้าน ฟิกฮฺ  คือ   " อัลอุม "
  •  

L-umar


มัซฮับหะนาบะละฮ์  (الحنابلة ) หรือมัซฮับหัมบะลี

อิมามอะหฺมัด เราะหิมะฮุลลอฮฺ (ผู้ก่อตั้งมัซฮับหัมบะลี)


ชื่อเต็ม : อะหฺมัด บิน มุหัมมัด บิน หัมบัล บิน ฮิลาล อัชชัยบานี

เกิด ฮ.ศ.164 (ค.ศ.780) ที่เมืองแบกแดด (ประเทศอิรัก)

เสียชีวิต ฮ.ศ.241 (ค.ศ.855) ที่เมืองแบกแดด

รวมอายุ 77 ปี


มัซฮับนี้ก่อตัวขึ้นที่เมืองแบกแดด ในช่วงศตวรรษที่สามแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช

อิม่ามอะหมัดมุ่งเน้นให้ความสำคัญไปที่เรื่องหะดีษ ฟัตวาของบรรดาซอฮาบะฮ์และทัศนะความคิดของของซอฮาบะฮ์เป็นหลัก และไม่มีรสนิยมในการอิจญ์ฮ๊าดกับศาสนาโดยใช้ความคิดเห็นของตนเอง เหมือนอิม่ามฮะนะฟี


เนื่องจากคนมัซฮับนี้ค่อนข้างตะอัซซุบอย่างรุนแรงต่อเรื่องหะดีษ เพราะฉะนั้นคนมัซฮับนี้จึงเป็นผู้เริ่มหว่านเมล็ดพันธ์แห่งความร้าวฉานและสร้างความขัดแย้งขึ้นในสังคมของชาวซุนนี่ ด้วยสาเหตุของความตะอัซซุบอย่างหนักต่อเรื่องหะดีษนั่นเอง

คนมัซฮับนี้จึงได้ก่อเรื่องอย่างมากมายต่อชาวซุนนี่กลุ่มอื่นๆในอดีตตามที่ตำราประวัติศาสตร์อิสลามได้บันทึกไว้

อิม่ามอะหมัด บินหัมบัลได้ใช้เวลาทั้งชีวิตของเขาทำการรวบรวมหะดีษไว้ถึงสี่หมื่นบท โดยเป็นรายงานที่มาจากตัวเขาเอง


ดังนั้นจึงนับได้ว่าฐานข้อมูลหลักของมัซฮับหัมบะลีคือหนังสือ " อัลมุสนัด "


แนวคิดของมัซฮับหัมบะลีคือ


1-   อีหม่านคือคำพูด และการกระทำ มีเพิ่มและลดได้
2-   คนทำบาปใหญ่ เรื่องของเขาต้องมอบหมายให้อัลลอฮฺตัดสิน
3-   ต้องตอบโต้พวกนักโต้เถียง และละทิ้งอิลมุลกะลามและพวกนักกะลาม
4-   ต้องเชื่อเรื่องซิฟัตของอัลลอฮฺตามที่กล่าวรายงานไว้ในอัลกุรอ่านและหะดีษ
5-   อัลกุรอ่าน ไม่ใช่มัคลู๊ก (القرآن غير مخلوق )
6-   ในวันกิยามะฮ์สามารถมองเห็นอัลลอฮฺด้วยตาเปล่าได้
7-   ไม่อนุญาตให้ต่อต้านหรือปฏิวัติต่อผู้ปกครอง ถึงแม้ว่าเขาจะเป็นคนซอเล่มและฟาซิกก็ตาม
8-   ซอฮาบะฮ์ดีหมดทุกคน (عدالة جميع الصحابة )
9-   ดี / ชั่ว ล้วนมาจากการเกาะฎอเกาะดัรของอัลลอฮฺ
10-   ตำแหน่งคิลาฟะฮ์ ต้องมาจากเผ่ากุเรชเท่านั้น
11-   การญิฮ๊าดต่อสู้ต้องดำเนินไปด้วยการยืนเคียงคู่อยู่กับอิม่ามผู้นำไม่ว่าจะเป็นคนดีหรือเลวก็ตาม และต้องนมาซวันศุกร์ ประกอบพิธีหัจญ์และนมาซอีดทั้งสองกับอิม่ามผู้นำดังกล่าว
12-   ต้องส่งมอบทานซ่อดะเกาะต่างๆ เช่น ผลกำไรจากการประกอบอาชีพ  ภาษีและทรัพย์ที่ได้จากการรบให้กับบรรดาผู้ปกครองไม่ว่าจะเป็นคนดีหรือคนชั่วก็ตาม
13-   ไม่อนุญาตให้ทำนมาซตามหลังอะฮ์ลุลบิดอะฮ์ และไม่อนุญาติให้นมาซญะนาซะฮ์แก่คนตายที่เป็นพวกทำบิดอะฮ์
14-   คนทิ้งนมาซถือว่าเป็นกาเฟ็ร ไม่อนุญาตให้นมาซญะนาซะฮ์แก่เขาและไม่อนุญาตให้นำร่างเขามาฝังในสุสานมุสลิม


นี่คือแนวความคิดของอิม่ามอะหมัดและยังมีอื่นอีกที่มิได้นำมากล่าว


เพราะความคิดเช่นนี้ ทำให้มีชาวซุนนี่ยึดถือในมัซฮับหัมบะลีน้อยมาก ถึงแม้ว่าคนในสังกัดมัซฮับนี้ได้ปรากฏตัวใหม่ในนาม " พวกวาฮาบี " ที่ได้ขึ้นมามีอำนาจอิทธิพลปกครองคาบสมุทรอาหรับและได้แพร่ขยายแนวคิดของกลุ่มตนเองไปทั่วโลก โดยอาศัยน้ำมันดิบเป็นทุนก็ตาม

นักประวัติศาสตร์อิสลามกับนักนิติศาสตร์อิสลามมีทัศนะไม่ตรงในเรื่องที่ว่า มัซฮับหัมบะลีและตำราของพวกเขานั้นเป็นคนกลุ่ม(ฟิรเกาะฮ์)ใดระหว่างฟิรเกาะฮ์หะดีษ หรือฟิรเกาะฮ์ฟิกฮฺ ?
ความจริงแล้วคนนกลุ่มน่าจะเป็นทั้งฟิรเกาะฮ์หะดีษ  ฟิกฮ์และอะกีดะฮ์พิกลไม่เหมือนซุนนี่กลุ่มอื่นด้วย


นักวิชาการที่มีชื่อเสียงโด่งดังของมัซฮับหัมบะลีคือ


ศอและห์ บุตรอิม่ามอะหมัดบินหัมบัล  และน้องชายคือ

อับดุลเลาะฮ์  บุตรอิม่ามอะหมัดบินหัมบัล  

บุตรชายทั้งสองได้ทำหน้าที่ถ่ายทอดเรื่องอะกีดะฮ์ เรื่องนิติศาสตร์อิสลาม(ฟิกฮ์)และความคิดของบิดาให้กับประชาชน
อับดุลเลาะฮ์ บินอะหมัดบินหัมบัลคือผู้รายงานหะดีษในหนังสือมุสนัดทั้งหมดจากบิดา และเขามรณะในปีฮ.ศ.290

อะหมัด บินอัลหัจญ๊าจญ์ อัลมัรวะซี (وأحمد بن الحجاج المروزي)เป้นคนถ่ายทอดกิตาบอัลวะเราะฮ์จากอิม่ามอะหมัด และเป็นศิษย์เอกคนหนึ่ง มรณะปีฮ.ศ.275


อะหมัด บินฮารูน ฉายาอบูบักร อัลค็อลล้าล (أَبُو بَكْر الْخَلَّال) เป็นคนทำหน้าที่รวบรวมฟิกฮ์ของอิม่ามอะหมัดทั้งหมด เขามรณะปีฮ.ศ. 311
  •  

L-umar



อัลอะชาอิเราะฮ์(الأشاعرة)

คือกลุ่มที่อ้างถึง ท่านอบุลหะซัน  อัลอัชอะรีในมัซฮับทางความเชื่อของเขา (อัลอิอฺติกอดฺ)  

ชื่อเต็มคือ อบุลหะซัน  อะลี  อิบนุอิสมาอีล  อิบนิอบีบิชฺร์  อิสหาก  อิบนิซาลิม  อิบนิอิสมาอีล  อิบนิอับดิลลาฮฺ  อิบนิมูซา  อิบนิบิล้าล  อิบนิอบีบุรดะฮฺ  อามิร  อิบนิอบี  มูซา  อัลอัชอะรีย์  สาวกของท่านรอซูลุลลอฮฺ  (ศ)  

เกิดในปีฮ.ศ.260  เมืองบัศเราะฮฺ  บ้างกล่าวว่า  :  เกิดในปีฮ.ศ.270  
ปีที่มรณะ  มีระบุเอาไว้ต่างกันคือ  ปีฮ.ศ.333,  324  และ  330  ที่เมืองแบกแดด  และถูกฝังอยู่ระหว่างเมืองอัลกัรฺค์และประตูเมืองอัลบัศเราะฮฺ  

อ้างอิงจากหนังสืออัลบะยาน  ลิมา  ยุชฆิลุลอัซฺฮานฺ,  ดร.อะลี  ญุมอะฮฺ  หน้า  131

กลุ่มอะชาอิเราะฮฺคือ  กลุ่มนักวิชาการที่สังกัดอยู่ในมัซฮับทั้ง  4  นั่นเอง  กล่าวคือ  ในส่วนของอะกีดะฮฺนั้นสังกัดตามมัซฮับของอบุลหะซัน  อัลอัชอะรี แต่ในส่วนของฟิกฮฺนั้นก็มีทั้งที่เป็นนักวิชาการสังกัดมัซฮับฮะนะฟี,  มาลิกี,  ชาฟิอี  และฮัมบะลี  นอกจากนี้ยังมีอะฮฺลุ้ลหะดีษและกลุ่มซูฟีบางส่วนที่สังกัดกลุ่มอัลอะชาอิเราะฮฺอีกด้วย

อ้างอิงจาก

http://www.alisuasaming.com/qa/index.php?topic=962.0
  •  

L-umar


ตัวอย่างอะกีดะฮ์ของอะชาอิเราะฮ์ เช่น

กะลามุลเลาะฮ์(คำพูดของอัลลอฮ์) นั้นคือของเก่า (เกาะดีม)
อีหม่านต่อบรรดาซิฟัตของอัลลอฮ์ โดยไม่ตัชบี๊หฺและตักยี๊ฟ(แสดงวิธีการ)
ซิฟัตของอัลลอฮ์ เป็นฮะกีกัต ไม่ใช่มะญ๊าซ
อัลลอฮ์สร้างมนุษย์ออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งเป็นชาวญันนะฮ์และอีกกลุ่มเป็นชาวนรก
อีหม่านมีเพิ่ม มีลดได้
การทำบาปใหญ่ จะไม่ทำให้หลุดออกไปจากอีหม่าน
การลงโทษในหลุมฝังศพนั้นเป็นเรื่องจริง
ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)จะขอชะฟาอัตให้แก่คนทำบาปใหญ่จากอุมมัตของท่าน
ต้องเชื่อฟังบรรดาผู้นำมุสลิม ทั้งที่พอใจเขา หรือไม่พอใจ  ทั้งคนดีและคนชั่ว ต้องช่วยเขาสู้รบ ต้องไปทำหัจญ์กับเขา ต้องส่งมอบทานซะกาตให้เขา
ตำหนิพวกบิดอะฮ์และไม่ข้องเกี่ยวกับคนพวกนี้   ฯลฯเป็นต้น
 
  •  

L-umar


อะชาอิเราะฮ์กับเรื่องเกาะฎอ เกาะดัร

อ้างอิงจากเวบ
http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php?topic=4514.0

อ.ริฎอ พูดบรรยายว่า

\\\"เช่น พวกอะชาอิเราะฮ์และพวกญับบะรียะฮ์  บอกว่ามนุษย์เหมือนใบไม้ที่พายุหรือลมมันพัดไปปลิวโดยไม่มีเจตนารมณ์  เขายกตัวอย่างมนุษย์เหมือนใบไม้  ไปใหนไปที่ใหนมีสิทธิ์เลือกอะไรเลย  อันนี้หลงผิดดอลาละฮ์\\\"  
ในชั่วโมงที่  01 :  นาทีที่  06  วินาทีที่ : 41  



วิภาษ โดยอัลอัซฮะรี

بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْم
الحمد لله ربّ العالمين ، و الصلاة و السلام على سيدنا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين  وبعد :

หลังจากที่ได้โทรศัพท์คุยกับ อ.ริฎอ สะมะดีย์ ปรากฏว่าท่านไม่ได้ค้นคว้าข้อเท็จจริงจากตำราของปราชญ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์เลยแม้แต่น้อย ความบกพร่องและความผิดพลาดเชิงวิชาการจึงเกิดขึ้น  บรรดาลูกศิษย์ของ อ.ริฎอ บางส่วนที่ไม่สามารถแยกแยะถูกผิดระหว่างแนวทางได้ ก็จะหลงเชื่อตามอย่างสิโรราบและหมดใจ  ซึ่งอย่างนี้ถือว่าเป็นความลุ่มหลงอันตราย  ดังนั้นเจตนาที่ผมชี้แจงนั้น เพื่อให้ อ.ริฎอ และผู้รับฟังการบรรยายของ อ.ริฏอ ได้เรื่องก่อฎอก่อดัรมีความเข้าใจอันถูกต้องต่อแนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์ในเรื่องก่อฏออฺและก่อดัรครับ

ต่อไปนี้ผม(อัลอัซฮะรี)จะทำการอ้างอิงคำพูดของอุลามาอฺอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์ เกี่ยวกับเรื่องก่อฏออฺและก่อดัร ตามที่มหาชนอะฮ์ลิสซุนนะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์แห่งโลกอัลอิสลามได้ยึดถือมาเป็นหลักอะกีดะฮ์


ท่านชัยคุลอิสลาม อิมามอัลบาญูรีย์ ปราชญ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์ได้กล่าวว่า

\\\"ในประเด็นนี้มีอยู่ 3 มัซฮับด้วยกัน  มัซฮับอะฮ์ลิสซุนนะฮ์(อัลอะชาอิเราะฮ์และอัลมะตูรีดียะฮ์) คือไม่มีให้แก่บ่าว ที่อยู่ในการกระทำต่าง ๆ ของเขาที่เลือกเฟ้นได้นั้นนอกจากเป็นการอุตสาหะ اَلْكَسْبُ  เท่านั้น (ความอุตสาหะหมายถึงการเจตนาและความพยายามอันเกิดขึ้นจากจิตใจ)
ดังนั้นบ่าวจะไม่ถูกบังคับเหมือนกับที่พวกญับรียะฮ์ได้กล่าวไว้  
และบ่าวจะไม่เป็นผู้สร้างการกระทำของเขาเองเหมือนที่พวกมั๊วะตะซิละฮ์ได้กล่าวไว้ ,

ส่วนมัซฮับอัลญับรียะฮ์นั้น  คือบ่าวจะไม่มีการอุตสาห์ใด ๆ แก่เขา  แต่ว่าเขานั้นถูกบังคับ หมายถึง ถูกบังคับเหมือนขนนกที่ลอยอยู่บนอากาศ  ซึ่งลมได้พัดพามันตามที่ต้องการ ,

ส่วนมัซฮับมั๊วะตะซิละฮ์นั้น  บ่าวเป็นผู้ที่สร้างบรรดาการกระทำของเขาที่เลือกเฟ้นขึ้นมา ด้วยกุดเราะฮ์ของอัลเลาะฮ์ที่พระองค์ทรงสร้างไว้ในบ่าวคนนั้น ,  และคำพูดของพวกมั๊วะตะซิละฮ์ที่ว่า (มนุษย์สร้างการกระทำของเขา)ด้วยกุดเราะฮ์ที่อัลเลาะฮ์ทรงสร้างไว้ในตัวเขานั้น  ถือว่าพวกเขาไม่เป็นกาเฟรตามทัศนะที่ชัดเจนยิ่ง ,
ดังนั้นพวกญับรียะฮ์จึงมีความเลยเถิด , และพวกมั๊วะตะซิละฮ์มีความละเลย  และอะฮ์ลิสซุนนะฮ์(อัลอะชาอิเราะฮ์และอัลมะตูรีดียะฮ์) มีความเป็นกลาง  และบรรดาสิ่งที่ดีที่สุดนั้นคือมันความเป็นกลาง\\\"

หนังสือตั๊วะห์ฟะตุลมุรีด ชัรห์ เญาฮะเราะฮ์ อัตเตาฮีด หน้า 61


ท่านชัยคุลอิสลาม อิบนุ อัศศุบกีย์  ได้กล่าวว่า

\\\"สิ่งที่ทำให้เกิดความละเอียดละออแก่เราก็คือ  แท้จริงการเลือกเฟ้นหรือการมีความอุตสาหะ(แก่มนุษย์นั้น)  เป็นสำนวนที่มีความเป้าหมายเดียวกัน  

แต่อิมามอัลอัชอะรีย์นั้น  นิยมใช้คำว่า اَلْكَسْبُ  \\\"อัลกัสบ์\\\"

(มนุษย์มีความอุตสาหะในการกระทำหมายถึงการเจตนาและความพยายามอันเกิดขึ้นจากจิตใจ)

เนื่องจากมันเป็นถ้อยคำที่ถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอาน  

และกลุ่มชน(อัลมะตูรีดียะฮ์)นั้นพวกเขานิยมใช้คำว่า \\\"อัลอิคตะยาร\\\"

(มนุษย์มีการเลือกเฟ้นในการกระทำ) เนื่องจากในการใช้ถ้อยคำที่ว่า \\\"เลือกเฟ้น\\\" นั้นบ่งให้รู้ว่าความสามารถนั้น(อัลเลาะฮ์ทรงสร้างไว้)ให้แก่บ่าว(ให้มีการเลือกเฟ้นในการกระทำได้)\\\"

หนังสือ เฏาะบะก็อต อัชชาฟิอียะฮ์ ของท่านอิบนุ อัศศุบกีย์ 3/386


ท่านอิมาม อัชชะรีฟ อัซซัยิด อัลญุรญานีย์  ได้กล่าวว่า

\\\"แท้จริงบรรดาการกระทำของบ่าวที่เลือกเฟ้นได้นั้น มันจะเกิด(ผล)ขึ้นได้ด้วยเดชานุภาพของอัลเลาะฮ์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น  และในการกระทำของบ่าวนั้นความสามารถของพวกเขามิได้ทำการบังเกิดผลขึ้นแต่ประการใด  แต่ทว่าอัลเลาะฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา จะทำให้ดำเนินตามที่วิถีที่พระองค์ทรงวางไว้  ก็คือพระองค์จะสร้างให้บ่าวมีพลังความสามารถและเลือกเฟ้น(คิดไตร่ตรอง)ได้  ดังนั้นเมื่อ(พลัง ความสามารถและการเลือกเฟ้น)นั้นไม่มีสิ่งใดมาขวาง(เช่นไม่ป่วยและไม่สลบเป็นลมหรือวิกลจริต) บ่าวก็จะสร้างการกระทำที่สามารถกระทำได้โดยอยู่พร้อมกับ(พลังความสามารถและการเลือกเฟ้น)ทั้งสอง(ที่พระองค์ทรงมอบให้แก่บ่าว)\\\"

หนังสือ ชัรหุลมะวากิฟ 2/379


ท่านอัลลามะฮ์ มุฮัมมัด บิน มันซูร อัลฮุดฮุดีย์  ได้กล่าวว่า

\\\"ด้วยกุดเราะฮ์(ความเดชานุภาพของอัลเลาะฮ์)นั้น  ทำให้บังเกิดทุก ๆ สิ่งที่มุมกิน(คือสิ่งที่มีขึ้นมาก็ได้และไม่มีขึ้นมาก็ได้) และการทำให้บังเกิด(หรือการสร้าง)ก็คือการนำสิ่งที่มุมกินออกมาจากการไม่มีไปสู่การมี  และทุก ๆ สิ่งที่มุมกินนั้นครอบคลุมถึงบรรดาการกระทำที่เราเลือกเฟ้นได้ (หมายถึงการกระทำของเราที่เลือกเฟ้นตั้งใจกระทำนั้น อัลเลาะฮ์ทรงใช้กุดเราะฮ์ความสามารถทำให้มันบังเกิดผลขึ้นมา) เช่น บรรดาการเคลื่อนไหวและการนิ่งของเรา...และนี่ก็คือมัซฮับที่ถูกเลือกเฟ้นแล้ว\\\"

หนังสือฮาชียะฮ์ อัชชัรกอวีย์ หน้า 67


นั่นคือหลักอะกีดะฮ์ของมัซฮับอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์ที่แท้จริง   กล่าวคือมนุษย์นั้นอัลเลาะฮ์ทรงทำให้พวกเขาบังเกิดมา   และพระองค์ทรงมอบหรือเปิดโอกาสให้พวกเขามีพลังความสามารถและมีเจตนาการเลือกเฟ้นอุสาหะได้  เมื่อบ่าวมีเรี่ยวแรงและเจตนาตัดสินใจหรือตั้งใจจะทำความดีหนึ่ง  พวกเขาก็จะกระทำด้วยเรี่ยวแรงที่อัลเลาะฮ์ทรงมอบให้(โดยที่การกระทำการเคลื่อนไหวหรือหยุดนิ่งได้อัลเลาะฮ์ทรงสร้างขึ้นมา)ตามที่พวกเขาได้ตั้งใจเจตนาเอาไว้  ส่วนผลของการกระทำที่จะเกิดขึ้นนั้น  อัลเลาะฮ์เป็นผู้ทำให้บังเกิดขึ้นมาแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น  มนุษย์มีสิทธิ์ในการพยายามอุตสาหะและเจตนาในการกระทำความดีงาม  เขาก็จะได้รับผลบุญตอบแทนจากความตั้งใจของเขานั่นเอง  แต่หากเขาเจตนากระทำความชั่ว  เขาก็จะได้ผลการตอบแทนด้วยการลงโทษนั่นเอง

ตัวอย่าง  เช่น  การละหมาด  มุสลิมคนหนึ่งเกิดมาในโลกนี้  อัลเลาะฮ์ทรงให้เขามีพละกำลังและมีสติปัญญา  เมื่อเขาได้ร่ำเรียนหลักการอิสลามขัดเกลาสติปัญญาและจิตใจของเขาแล้ว  เมื่อเวลาละหมาดมาถึง  อัลเลาะฮ์ให้เขามีสุขภาพดีมีพละกำลังวังชา  จิตใจของเขาก็มีความอุตสาหะตั้งใจเลือกเฟ้นในการไปละหมาดโดยไม่ยอมทิ้งละหมาด(อัลเลาะฮ์ได้ให้ผลบุญแก่เขาตรงนี้แล้ว) เมื่อเขามีกำลังในการกระทำละหมาด  เช่น  ยืน , ก้ม , หยุดนิ่งหลังเงยหน้าขึ้นมา , สุยูด , นั่งระหว่างสองสุยูด , เป็นต้น  การที่เขาได้เคลื่อนไหวหรือหยุดนิ่งในการยืนละหมาดนั้น  อัลเลาะฮ์ผู้ทรงสร้างให้บังเกิดผลการกระทำขึ้นตามที่เราได้เจตนาหรืออุตสาหะในการกระทำละหมาดนั่นเอง


นี่คืออะกีดะฮ์ของมัซฮับอะชาอิเราะฮ์ในเรื่องเกาะฎอ เกาะดัร  
  •  

L-umar

Θ ความเป็นมาของสำนักคิด อัชอะรี


ยุคการปกครองของราชวงศ์อับบาซียะฮ์  บทบาททางการปกครองแบ่งออกเป็นสองลักษณะคือ

1. ในช่วงการปกครองของกาหลิบมะอ์มูน  กาหลิบมุอ์ตะซิมและกาหลิบวาษิก    บทบาททางศาสนาเป็นของพวกมุอ์ตะซิละฮ์  กล่าวคือผู้ปกครองเหล่านี้ให้การอุปถัมภ์มัซฮับมุอ์ตะซิละฮ์ จนมีความรุ่งเรืองมากและเป็นมัซฮับประจำราชสำนักของกาหลิบ

2. เมื่อยุคของกาหลิบทั้งสามผ่านไป    อัลมุตะวักกิลได้ขึ้นครองราชย์และมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านศาสนา     เนื่องจากกาหลิบมุตะวักกิลนิยมชมชอบในมัซฮับอะฮ์ลุลหะดีษ(จารีตนิยม)  พระองค์ทรงต่อต้านพวกสำนักคิดมุอ์ตะซิละฮ์ และยังกลั่นแกล้งประชาชนที่ถือมัซฮับนี้     มุตะวักกิลได้ห้ามการถกหรือปาฐกถาในเรื่องศาสนาที่เคยมีมาก่อน   และสั่งให้อุละมาอ์มัซฮับอะฮ์ลุลหะดีษออกทำการเผยแพร่และนำหลักการต่างๆมาสอนสั่งประชาชน    

สำนักคิดมุอ์ตะซิละฮ์โดนคว่ำบาตรและถูกต่อต้านอย่างหนัก จนคนในมัซฮับนี้ระส่ำระส่ายต้องอพยพไปคนละทิศคนละทาง  ไม่มีอำนาจอะไรเหลืออยู่อีกต่อไป   ดังนั้นมัซฮับที่รุ่งเรืองในยุคการปกครองของกาหลิบมุตะวักกิลคือ  อะฮ์ลุลหะดีษ

สถานการณ์เช่นนี้มีมาอย่างต่อเนื่อง  จนถึงสมัยของ " อบุลฮาซัน อัลอัชอะรี " เดิมเป็นนักปราชญ์คนหนึ่งของมัซฮับมุอ์ตะซิละฮ์ และเป็นลูกศิษย์ของ " อะบูอาลี อัลญุบบาอี "

จากสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างมุอ์ตะซิละฮ์ กับ อะฮ์ลุลหะดีษ ความขัดแย้งของทั้งสองฝ่ายมีมานาน  ทำให้อบุลฮาซัน อัชอะรี( เกิดฮ.ศ. 260 มรณะ 324 ) มีความคิดใหม่เกิดขึ้นและได้นำเสนอต่อประชาชน  โดยเขาได้ประยุกต์ประสานระหว่างสำนักคิดอะฮ์ลุลหะดีษ กับ มุอ์ตะซิละฮ์   จนทำให้ประชาชนจำนวนมากขานรับแนวคิดของเขา  จึงเรียกผู้ที่ยึดถือปฏิบัติตามอิม่ามอบุลฮาซันอัชอะรีว่า  " มัซฮับอัชอะรี หรือ พวกอะชาอิเราะอ์ "

หลังจากท่านอบุลฮาซันเสียชีวิต  อุละมาอ์อะชาอิเราะฮ์ได้นำคำพูดและตำราของท่านอบุลฮาซันออกเผยแพร่   จนกลายเป็นมัซฮับที่ยิ่งใหญ่มัซฮับหนึ่ง และมีผู้คนยึดถือมัซฮับนี้เป็นจำนวนมาก และมีต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
  •  

L-umar

สัจธรรมประการหนึ่ง  ที่เกี่ยวข้องกับความรุ่งเรืองหรือความตกต่ำของสำนักคิด(มัซฮับ)ต่างๆในอิสลามนับตั้งแต่อดีต แต่ละยุคเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันคือ


หากมัซฮับใดได้รับการอุปถัมภ์จากผู้ปกครอง มัซฮับนั้นก็จะสามารถขยายตัวและรุ่งเรื่อง

แต่ถ้าผู้ปกครองไม่ชอบหรือต่อต้านมัซฮับใด  มัซฮับนั้นก็จะตกต่ำและถูกลบเลือนออกไปจากประชาชนในที่สุด
  •  


65 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้