Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

ธันวาคม 22, 2024, 12:27:47 หลังเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
  • สมาชิกทั้งหมด: 1,718
  • Latest: Haroldsmolo
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 3,699
  • หัวข้อทั้งหมด: 778
  • Online today: 54
  • Online ever: 200
  • (กันยายน 14, 2024, 01:02:03 ก่อนเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 46
Total: 46

อัลกุรอ่านที่กษัตริย์ฟาฮัดพิมพ์แจก คือสะนัดชีอะฮ์

เริ่มโดย L-umar, มิถุนายน 16, 2010, 04:30:46 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar

 อัลกุรอ่านที่กษัตริย์ฟาฮัดพิมพ์แจก คือสะนัดชีอะฮ์   สะนัดกุรอ่าน ที่ใช้อ่านกันอยู่ทุกวันใครรายงาน


Φ ชาวซุนนะห์กล่าวว่า  ซอฮาบะฮ์ 8 คนที่เป็นนักอ่านกุรอ่านโด่งดังคือ

1.   อุษมาน  บินอัฟฟาน

2.   อาลี  บินอะลีตอลิบ


3.   อุบัย  บินกะอับ

4.   อับดุลลอฮ์  บินมัสอูด

5.   เซด  บินษาบิต

6.   อะบูมูซา  อัลอัชอะรี

7.   อะบุด ดัรดาอ์

8.   อุมัร  บินค็อตตอบ



ยุคต่อมา
บรรดากุรรอ(นักอ่านกุรอ่าน)ทั้ง 10 คนจึงได้อ้างอิงการอ่านคัมภีร์กุรอ่านของพวกเขาไปยัง →   ซอฮาบะฮ์ 8 คนนี้
  •  

L-umar

Φ  นักอ่านกุรอ่าน หรืออัลกุรรออ์ ( القراء ) ทั้งสิบคน ได้อ้างอิงการอ่านของเขาดังนี้


1 - قراءة نافع بن عبد الرحمن الْمدني
หนึ่ง – กิรออัต(การอ่านกุรอ่าน)ของนาฟิ๊อ์  บินอับดุลเราะห์มาน อัลมะดะนี ได้รับรายงานมาจากซอฮาบะฮ์ 6 คนคือ  : อุมัรบินคอตตอบ, เซดบินษาบิต  ,อุบัยบินกะอับ, อิบนุอับบาส ,อับดุลลอฮ์บินอัยยาช และอะบูฮุร็อยเราะฮ์


2 - قراءة عبد الله بن كثير الْمكي
สอง – การอ่านกุรอ่านของของอับดุลลอฮ์ บินกะษีร อัลมักกี ได้รับรายงานมาจาก  : อุมัรบินคอตตอบ, เซดบินษาบิต, อุบัยบินกะอับ, อิบนุอับบาส, อับดุลลอฮ์ บินอัสสาอิบ
 
3 - قراءة أبي عمرو البصري
สาม –อะบูอัมรู  อัลบัศรี ได้รับรายงานมาจาก  : อุมัรบินคอตตอบ,อุษมานบินอัฟฟาน, อาลี บินอะบีตอลิบ, อิบนุมัสอูด, อะบูมูซาอัชอะรี, อิบนุอับบาส, อับดุลลอฮ์บินอัยยาช,อับดุลลอฮ์ บินอัสสาอิบ, อุบัยบินกะอับ,เซดบินษาบิตและอะบูฮุร็อยเราะฮ์
  •  

L-umar


4 - قراءة عبد الله بن عامر الشامي

สี่ - การอ่านกุรอ่านของอับดุลลอฮ์  บินอามิร  ได้รับรายงานมาจาก  อุษมานบินอัฟฟาน และอะบู ดัรดาอ์

5 - قراءة عاصم بن أبي النجود

ห้า – การอ่านกุรอ่านของอาศิม บินอะบิลนุญูด  ได้รับรายงานมาจาก  

อุษมานบินอัฟฟาน,  อาลี บินอบีตอลิบ,  อิบนุมัสอูด, เซดบินษาบิตและอุบัยบินกะอับ

6 - قراءة حمزة بن حبيب الزيات

หก – การอ่านกุรอ่านของฮัมซะฮ์ บินหะบีบ อัซซัยย๊าต  ได้รับรายงานมาจาก  
อุษมานบินอัฟฟาน,  อาลี บินอะบีตอลิบ, อุบัยบินกะอับ, เซดบินษาบิต, อิบนุมัสอูด และฮูเซน บินอาลีบินอะลีตอลิบ
  •  

L-umar


7 - قراءة علي بن حمزة الكسائي

เจ็ด – การอ่านกุรอ่านของอาลี  บินฮัมซะฮ์  อัลกะซาอี  ได้รับรายงานมาจาก  

อุมัร  บินคอตตอบ, อุษมาน บินอัฟฟาน, อาลี บินอะลีตอลิบ, อุบัย บินกะอับ, เซด บินษาบิต, อิบนุมัสอูด, อิบนุอับบาส, อับดุลลอฮ์ บินอัยยาช, อะบูฮุร็อยเราะฮ์  และฮูเซน บินอาลีบินอะบีตอลิบ  

8 - قراءة أبي جعفر يزيد بن القعقاع

แปด – การอ่านกุรอ่านของอะบูญะอ์ฟัร  ยาซีด บินอัลเกาะอ์ก๊ออ์  ได้รับรายงานมาจาก

เซด บินษาบิต, อุบัย บินกะอับ, อิบนุอับบาส, อับดุลลอฮ์ บินอัยยาช  และอะบูฮุร็อยเราะฮ์

9 - قراءة يعقوب بن إسحاق الحضرمي

เก้า – การอ่านกุรอ่านของยะอ์กูบ บินอิสฮาก อัลหัฎร่อมี  ได้รับรายงานมาจาก  

อุมัร  บินคอตตอบ, อุษมาน บินอัฟฟาน, อาลี บินอะลีตอลิบ, อุบัย บินกะอับ, เซด บินษาบิต, อิบนุมัสอูด, อะบูมูซาอัลอัชอะรี ,อิบนุอับบาส, อับดุลลอฮ์ บินอัยยาช, อับดุลลอฮ์ บินอัสสาอิบ และอะบูฮุร็อยเราะฮ์

10 - قراءة خلف بن هشام البزار

สิบ – การอ่านกุรอ่านของเคาะลัฟ บินฮิช่าม อัลบัซซ้าร  ได้รับรายงานมาจาก  

อุษมาน บินอัฟฟาน, อาลี บินอะลีตอลิบ, อิบนุมัสอูด, เซด บินษาบิต, อุบัย บินกะอับ และฮูเซน บินอาลีบินอะบีตอลิบ  





เป็นที่ทราบดีว่า  การอ่านคัมภีร์กุรอ่านที่มัชฮูรนั้นมี 7  กิรออะฮ์  หมายถึงมีนักอ่านที่โด่งดังเจ็ดคนคือ

1.   อิบนิอามิร  อัชชามี
2.   อาศิม  อัลกูฟี
3.   อิบนิ กะษีร  อัลมักกี
4.   อะบูอัมรู  อัลบัศรี
5.   นาฟิ๊อ์  อัลมะดะนี
6.   ฮัมซะฮ์  อัลกูฟี
7.   อัลกะซาอี  อัลกูฟี    

1 ـ عبد الله اليحصبي ، المعروف بابن عامر ( شامي ) ( ت : 118 هـ ) .
2 ـ عاصم بن أبي النجود ( كوفي ) ، ( ت : 127 هـ ) .
3 ـ عبد الله بن كثير الداري ( مكي ) ، ( ت : 129 هـ ) .
4 ـ أبو عمرو بن العلاء ( بصري ) ، ( ت : 154 هـ ) .
5 ـ نافع عبد الرحمن بن أبي نعيم ( مدني ) ، ( ت : 169 هـ ) .
6 ـ حمزة بن حبيب الزيات ( كوفي ) ، ( ت : 188 هـ ) .
7 ـ علي بن حمزة ( الكسائي الكوفي ) ( ت : 189 هـ )

และจากเจ็ดนักอ่านดังกล่าว  มีนักอ่านที่เป็นชีอะฮ์ถึงสี่คนด้วยกันคือ

1.   อาศิม  มรณะฮ.ศ. 128
2.   อะบูอัมรู  มรณะฮ.ศ.154
3.   ฮัมซะฮ์  มรณะฮ.ศ. 156
4.   อัลกะซาอี  มรณะฮ.ศ. 189
  •  

L-umar

ขอให้เราจงย้อนกลับมาที่   สะนัดของคัมภีร์อัลกุรอ่าน  ฉบับกษัตริย์ฟาฮัด ที่แจกจ่ายไปทั่วโลก


สะนัด(สายรายงาน)ของมุศฮัฟฉบับนี้คือ


رِوَايَةُ حَفْصُ بْنُ سُلَيْمَانَ بْنِ الْمُغِيرَةِ الْأَسَدِيُّ الْكُوفِيُّ  (لِقِرِاءَةِ) ←

หัฟศ์ บินสุลัยมาน  บินอัลมุฆีเราะฮ์  อัลอะซะดี อัลกูฟี (ได้รับถ่ายทอดการอ่านมาจาก)

عَاصِمُ بْنُ أَبِي النَّجُودِ الْكُوفِيُّ التَّابِعِيُّ عَنْ ←

อาศิม บินอะบินนุญูด อัลกูฟี เป็นตาบิอี (ได้รับถ่ายทอดการอ่านมาจาก)

أَبِي عَبْدِ الرَّحْمَنِ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ حَبِيبٍ السُّلَمِيِّ

อะบี อับดุลเราะห์มาน บินหะบีบ อัสสุละมี (ได้รับถ่ายทอดการอ่านมาจาก)

عَنْ عُثْمَانَ بْنِ عَفَّانَ وَ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ

ท่านอุษมานบินอัฟฟาน  และ ท่านอาลี บินอะลีตอลิบ (ได้รับถ่ายทอดการอ่านมาจาก)

عَنْ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ(وَآلِهِ) وَسَلَّمَ

ท่านนะบีมุฮัมมัด(ศ)
  •  

L-umar

คำถามคือ   บรรดานักอ่านกุรอ่านที่ได้รับถ่ายทอดเรื่องการอ่านคัมภีร์กุรอ่าน  ไปจาก  ท่านอาลี กับ ท่านอุษมาน   เป็นใคร  ???    

เป็นใครในที่นี้หมายถึง  เป็นซุนนี่   หรือ  ชีอะฮ์  


ตรงนี้สิ  ที่เรา   ต้องการศึกษา
  •  

L-umar

ต้องขอเท้าความกันสักนิดเกี่ยวกับประวัติของคัมภีร์กุรอ่าน


พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานทะยอยประทานมาให้แก่ท่านนะบีมุฮัมมัด

นับตั้งแต่ท่านได้รับวะห์ยู (วิวรณ์) ครั้งแรก ขณะที่ท่านอายุ 40 ปี จนถึงอายุ 63 ปี รวมเวลาของการประทานอัลกุรอานทั้งหมด 23 ปี ก่อนที่ท่านจะเสียชีวิต (วะฟาต) ท่านได้อ่านอัลกุรอานทั้งหมดต่อหน้าญิบรีลในเดือนรอมฎอนสุดท้ายของชีวิตท่าน 2 ครั้ง

ซึ่งเดิมแล้วท่านจะอ่านต่อหน้าญิบรีลทุกๆปีในเดือนรอมฎอน 1 ครั้ง และการอ่านครั้งสุดท้ายนี้ ท่านได้อ่านอัลกุรอานเรียงตามอายะฮ์(โองการกุรอ่าน)เหมือนดังรูปเล่มอัลกุรอานที่เราได้อ่านกันทุกวันนี้ นอกจากนี้ญิบรีลยังได้สอนการอ่านอัลกุรอานทั้ง 7 สำเนียง(กิระอะฮ์)อีกด้วย

เพราะฉะนั้นอายะฮ์แต่ละอายะฮ์ จึงได้รับการตรวจสอบจากท่านนะบี(ศ)เองโดยตรง บรรดาซอฮาบะฮ์จำนวนหลายร้อยคนที่จดจำอัลกุรอานทั้งเล่ม อย่างไรก็ดีอัลกุรอานยังไม่มีการจัดพิมพ์ให้อยู่ในเล่มเดียวเหมือนปัจจุบัน เนื่องจากในสมัยนั้นยังไม่มีกระดาษและระบบการพิมพ์ บรรดาซอฮาบะฮ์แต่ละท่านก็มีการรวบร่วมอัลกุรอานกันเป็นการส่วนตัว(เรียกมุศฮัฟ) ซึ่งแน่นอนว่ามีการจัดลำดับก่อนหลังที่ไม่ตรงกัน

หลังจากท่านนะบี(ศ)เสียชีวิต  ท่านอุมัรบินค็อตตอบได้สนับสนุนให้ท่านอะบูบักรรวบรวมอัลกุรอานให้อยู่ในเล่มเดียวกันอย่างเป็นสากล ให้เป็นไปตามลำดับที่ท่านนะบี(ศ)ได้อ่านให้ญิบรีลก่อนจากโลกนี้ไป เนื่องจาก มีซอฮาบะฮ์ที่จำอัลกุรอานทั้งเล่มเสียชีวิตไปในสงครามยะมามะฮ์หลายคน  

ท่านอะบูบักรได้มอบงานนี้ให้กับท่านเซด บินษาบิต ซอฮาบะฮ์ที่เชี่ยวชาญอัลกุรอาน ทำการรวบรวมอัลกุรอานตามที่ท่านนะบี(ศ)ได้อ่านเป็นครั้งสุดท้ายกับญิบรีล อัลกุรอานฉบับนี้ได้รับการเก็บรักษาไว้ที่บ้านของฮับเซาะฮ์ บุตรสาวของท่านอุมัร

ในสมัยที่อุษมาน บินอัฟฟาน ดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ์ รัฐอิสลามได้ขยายตัวออกไปกว้างไกล ท่านอุษมานจึงต้องการจะทำการคัดลอกต้นฉบับของอัลกุรอานส่งไปตามหัวเมืองต่างๆ เพื่อการเผยแผ่อัลกุรอานที่เป็นระบบ
โดยมีการจัดเรียงลำดับซูเราะฮ์(บท)อย่างถูกต้อง รวมไปถึงการออกเสียงที่สอดคล้องกันทั้งรัฐ  

ท่านอุษมานได้มอบงานนี้ให้กับเซดบินษาบิตและซอฮาบะฮ์กลุ่มหนึ่งทำการคัดสำเนาจากอัลกุรอานของท่านหญิงฮับเซาะฮ์ส่งออกไปทั่วโลกมุสลิม  ต้นฉบับชุดนี้บางเล่มยังคงมีอยู่ในโลกมุสลิม



۩  วิจารณ์

► ในอดีต
ท่านอุษมานได้
ส่งคนไปขอคัมภีร์กุรอ่านต้นฉบับจากท่านหญิงฮัฟเซาะฮ์ แล้วสั่งให้ท่านเซดบินษาบิตกับซอฮาบะฮ์กลุ่มหนึ่งทำการลอกจากสำเนาที่ได้มาจากฮัฟเซาะฮ์  จากนั้นท่านอุษมานก็จัดส่งมุศฮัฟที่คัดลอกขึ้นใหม่นี้ไปยังหัวเมืองต่างๆเพื่อให้เป็นฉบับสากล

►ยุคปัจจุบัน

ประเทศซาอุดิอารเบียในฐานะเป็นประเทศต้นกำเนิดแห่งการประทานคัมภีร์อัลกุรอ่าน กษัตริย์ฟาฮัดจึงได้มอบหมายหน้าที่การดูแลเอาใจใส่ต่อคัมภีร์อัลกุรอ่านให้อยู่ภายใต้การดูแลของ


مَجْمَعُ الْمَلِكِ فَهْدٍ

{{  มัจญ์มะอ์ อัลมาลิก ฟาฮัด  }}


และทางมัจญ์มะอ์ของมาลิกฟาฮัดจึงได้จัดพิมพ์คัมภีร์กุรอ่านขึ้นแล้วแจกจ่ายไปทั่วโลก เพื่อให้มุสลิมยึดอัลกุรอ่านฉบับนี้เป็นฉบับสากล    

ท่านจะเห็นได้ว่า มุสลิมทั่วโลกยึดคัมภีร์กุรอ่านฉบับของมัจญ์มะอ์มาลิกฟาฮัดนี้เป็นฉบับมาตรฐาน   แม้กระทั่งในประเทศไทยบ้านเรา มีคัมภีร์กุรอ่านฉบับนี้วางอยู่ในมัสญิดแทบทุกแห่ง
หากคัมภีร์ของมัจญ์มะอ์มาลิกฟาฮัดนี้ไม่เป้นที่ยอมรับ คงต้องมีนักปราชญ์อิสลามออกมาแย้งไปนานแล้ว


Θ ทางคณะกรรมการของมัจญ์มะอ์มาลิกฟาฮัด  ได้กล่าวว่า


أما أهم أهدافه فهي :
1- طباعة المصحف الشريف بالروايات المشهورة في العالم الإسلامي

เป้าหมายที่สำคัญของคัมภีร์กุรอ่านฉบับนี้คือ

หนึ่ง -  ทำการตีพิมพ์มุศฮัฟฉบับนี้ด้วยริวายะฮ์(สายรายงาน)ที่มัชฮูร(โด่งดัง)ในโลกอิสลาม


ถัดมาทางมัจญ์มะอ์มาลิกฟาฮัดได้ชี้แจงถึงสายรายงานของอัลกุรอ่านฉบับนี้ว่า

طُبع المصحف الشريف في المجمع برواية حفص عن عاصم، وهي الرواية التي يُقرأ بها في معظم بلاد العالم الإسلامي، وكتب هذا المصحف على قواعد الرسم العثماني، وضُبط على ما قرره علماء الضبط مع الأخذ بعلامات الخليل بن أحمد وأتباعه من المشارقة، وعدد آياته 6236 آية وفقًا للعدد الكوفي، ومجموع صفحات 604 صفحة

มุศฮัฟ(คัมภีร์กุรอ่าน)นี้ถูกจัดพิมพ์ขึ้นในมัจญ์มะอ์(มาลิกฟาฮัด) ด้วยริวายะฮ์(รายงาน)ของท่านฮัฟศ์ จากท่านอาศิม
และมันคือริวายะฮ์ที่ถูกอ่านกันในเมืองใหญ่ๆของโลกอิสลาม  และมุศฮัฟฉบับนี้ถูกเขียนขึ้นตามกฎของร็อศมุลอุษมานี...
จำนวนอายะฮ์(ทั้งหมดของมุศฮัฟฉบับนี้คือ) 6,236 อายะฮ์ตรงกับจำนวน(มุศฮัฟ)ของชาวกูฟะฮ์
มีทั้งหมด 604 หน้า


อ้างอิงจากเวบไซต์ชื่อ กุรอ่านคอมเพล็กซ์ ดอทโออาร์จี

http://www.qurancomplex.org/Display.asp?section=4&l=arb&f=write00013

 

۩  บทสรุปสั้นๆจากมัจญ์มะอ์มาลิกฟาฮัดคือ


หนึ่ง -  ได้ตีพิมพ์มุศฮัฟฉบับนี้ด้วยสายรายงานที่มัชฮูร(โด่งดัง)ในโลกอิสลาม

สอง - มุศฮัฟฉบับนี้เป็นรายงาน(ริวายะฮ์)ของ ท่านฮัฟศ์ ที่ได้รับมาจากท่านอาศิม

สาม- เมืองใหญ่ๆในโลกอิสลามใช้อัลกุรอ่านที่เป็นริวายะฮ์ของท่านฮัฟศ์อ่านกัน

สี่ - มุศฮัฟฉบับริวายะฮ์ของท่านฮัฟศ์มีทั้งหมด 6,236 อายะฮ์ ซึ่งตรงกับมุศฮัฟของชาวกูฟะฮ์
  •  

L-umar

۞ ฮัฟศ์  บินสุลัยมาน อัลกูฟี  (90 – 180 ฮ.ศ.)  



حفص بن سليمان أبو عمرو الأسدي الغاضري المقري البزاز الكوفي

เขาคือสาวกคนหนึ่งของท่านอิม่ามญะอ์ฟัร ซอดิก(อ) ดูริญาลเชคตูซี่ อันดับที่ 180

ท่านซะฮะบีกล่าวว่า

حفص بن سليمان وهو حفص بن أبى داود، أبو عمر الاسدي، مولاهم الكوفى الغاضرى صاحب القراءة، روى عن شيخه في القراءة عاصم، وأقرأ الناس مدة، وكان ثبتا في القراءة واهيا في الحديث،

ฮัฟศ์ บินสุลัยมาน เขาคือ(คนเดียวกับ)ฮัฟศ์ บินอะบีดาวูด ฉายาอะบูอัมร์อัลอะซะดี เป็นคนรับใช้ของพวกเขา  ชาวกูฟะฮ์ อัลฆอฎิรี เป็นนักอ่านกุรอ่าน  เขารายงานจากเชคของเขาชื่อ อาศิม  เขาอ่านกุรอ่านชัดที่สุดในช่วงนั้นและยังมีความั่นคงในการอ่านกุรอ่าน แต่เขาดออีฟในการายงานหะดีษ

ดูมีซานุลอิ๊อ์ติดาล  อันดับที่  2121



ท่านอิบนุหะญัร อัสก่อลานีกล่าวว่า

حفص بن سليمان الاسدي أبو عمر البزاز الكوفي القاري ويقال له الغاضري  ويعرف بحفيص
قرأ على عاصم بن أبي النجود

ฮัฟศ์ บินสุลัยมาน อัลอะซะดี อะบูอัมร์ อัลบัซซ้าร อัลกูฟี เขาเป็นนักอ่านกุรอ่าน เรียกเขาว่าอัลฆอฎิรี รู้จักกันในชื่อหะฟีซ  เขา(ฮัฟศ์)ได้เรียนการอ่าน(อัลกุรอ่าน)กับอาศิม บินอะบินนุญูด

ดูตะฮ์ซีบุต ตะฮ์ซีบ  อันดับที่ 700


สรุปว่า  ฮัฟศ์ บินสุลัยมานได้รับการถ่ายทอดการอ่านคัมภีร์อัลกุรอ่านจากอาศิม บินอะบินนุญูด
  •  

L-umar

۞ อาศิม  บินอะบินนุญูด  


( อีกชื่อหนึ่งคือ อาศิมบินบะฮ์ดะละฮ์)  มรณะ 128 ฮ.ศ.

ท่านซะฮะบีกล่าวว่า

عاصم بن أبى النجود : أحد السبعة القراء الكوفى مولى بنى أسد، ثبت في القراءة،

อาศิม บินอะบินนุญูด  คือหนึ่งในเจ็ดนักอ่านกุรอ่าน(ที่โด่งดัง) ชาวกูฟะฮ์ คนรับใช้ของบะนีอะซัด เขามีความมั่นคงในการอ่านอัลกุรอ่าน

ดูมีซานุลอิอ์ติดาล  อันดับที่  4068


☺ท่านซะฮะบียังได้กล่าวในอีกที่หนึ่งว่า

อาศิม บินอะบินนุญูด  เขาคืออิหม่ามผู้ยิ่งใหญ่  เป็นนักอ่านกุรอ่านแห่งยุค เขาเกิดในยุคการปกครองของมุอาวียะฮ์ บินอะบีสุฟยาน

وقرأ القرآن على أبي عبدالرحمن السلمي، وزر بن حبيش الاسدي، وحدث عنهما،
وهو معدود في صغار التابعين

อาศิมได้เรียนอ่านอัลกุรอ่านกับท่านอะบูอับดุลเราะห์มานอัสสุละมีและซิรรินอัลหุบัยชินและรายงานการอ่านจากบุคคลทั้งสอง  และเขาถูกนับว่าเป็นตาบิอีรุ่นเล็ก  

وانتهت إليه رئاسةُ الاقراء بعد أبي عبدالرحمن السلمي شيخه، قال أبو بكر بن عياش: لما هلك أبو عبد الرحمن، جلس عاصم يقرئ الناس، وكان أحسن الناس صوتا بالقرآن حتى كأن في حنجرته جلاجل

ตำแหน่งผู้นำการอ่านอัลกุรอ่านได้สิ้นสุดลงที่เขา หลังจากอะบูอับดุลเราะห์มานอัสสุละมี อาจารย์ของเขา(เสียชีวิต)  อะบูบักรบินอัยยาชเล่าว่า เมื่อท่านอับดุลเราะห์มานเสียชีวิต อาศิมได้ขึ้นมานั่งอ่านอัลกุรอ่านให้ประชาชน และปรากฏว่าเขามีน้ำเสียงดีที่สุดในหมู่มนุษย์ต่อการอ่านอัลกุรอ่าน จนอย่างกับว่าในลำคอของเขานั้นมีระฆัง(คือเสียงดังกังวาน)

أبو بكر بن عياش: سمعت أبا إسحاق، يقول: ما رأيت أحد أقرأ من عاصم

อะบูบักร บินอัยยาชเล่าว่าฉันได้ยินอะบูอิสฮากเล่าว่า ฉันไม่เคยเห็นผู้ใดชำนาญการอ่านอัลกุรอ่านไปกว่าอาศิม

يحيى بن آدم: حدثنا الحسن بن صالح، قال: ما رأيت أحدا قط أفصح من عاصم بن أبي النجود

ยะห์ยา บินอาดัม  อัลฮาซันบินซอและห์เล่าให้เราฟังว่า  ฉันไม่เคยเห็นใครพูดอาหรับชัดมากไปกว่าอาศิมเลย

قال عبد الله بن أحمد بن حنبل: سألت أبي عن عاصم بن بهدلة، فقال: رجل صالح خير ثقة، قلت: أي القراءات أحب إليك ؟ قال: قراءة أهل المدينة، فإن لم يكن، فقراءة عاصم

อับดุลลอฮ์ บุตรอิม่ามอะหมัดเล่าว่า  ฉันได้ถามอิหม่ามอะหมัดถึงท่านอาศิม  บิดาฉันกล่าวว่า เขาคือคนซอและห์ ดี เชื่อถือได้  ฉันจึงถาม(บิดา)ว่า กิรออะฮ์ของนักอ่านคนใดที่ท่านชอบมากที่สุด ? เขาตอบว่า  การอ่านกุรอ่านของชาวมะดีนะฮ์ ถ้าหากว่าไม่มีการอ่านของอาศิม(ชาวกูฟะฮ์)

قال أحمد العجلي: عاصم صاحب سنة وقراءة، كان رأسا في القرآن قدم البصرة فأقرأهم

อะหมัด อัจอิจญ์ลีกล่าวว่า  อาศิมคือซอฮิบซุนนะฮ์และกิรออะฮ์(อัลกุรอ่าน) เขาเป็นหัวหน้าในเรื่องอัลกุรอ่าน เขขเข้ามาที่เมืองบัศเราะฮ์และเป็นคนอ่านกุรอ่านได้ดีที่สุดของพวกเขา

قال أبو بكر بن عياش: كان عاصم نحويا فصيحا إذا تكلم، مشهور الكلام، وكان هو والاعمش وأبو حصين الاسدي لا يبصرون

อะบูบักร บินอัยยาชเล่าว่า  อาศิมเป็นนักไวยากรณ์อาหรับ พูดจาชัดเจน คำพูดเขาโด่งดัง  เขาและอัลอะอ์มัชและอะบูหุศ็อยน์อัลอะซะดี มองไม่เห็น(คือตาบอดทั้งสามคน)

حماد بن زيد، عن عاصم، قال: كنا نأتي أبا عبدالرحمن السلمي، ونحن غلمة أيفاع.
قلت: هذا يوضح أنه قرأ القرآن على السلمي في صغره

หัมมาดบินเซดรายงานจากอาศิมเล่าว่า  พวกเรามาหาท่านอะบูอับดุลเราะห์มานอัสสุละมี ตอนนั้นเรายังเป็นเด็กอยู่    ฉัน(ซะฮะบี)กล่าวว่า นี่แสดงว่า อาศิมเรียนอัลกุรอ่านกับท่านอัสสุละมีในวัยเด็ก

قال أبو بكر: قال عاصم : ما أقرأني أحد حرفا إلا أبو عبد الرحمن، وكان قد قرأ على علي رضي الله عنه

อะบูบักร(บินอัยยาช)เล่าว่า อาศิมกล่าวว่า  ไม่มีใครอ่านอัลกุรอ่านสักหนึ่งอักษรชัดเจนไปกว่าฉันนอกจากท่านอะบูอับดุลเราะห์มาน และปรากฏว่าเขา(อะบูอับดุลเราะห์มาน)ได้เรียนการอ่านอัลกุรอ่านกับท่านอาลี ร่อดิยัลลอฮุอันฮุ

وروى جماعة عن عمرو بن الصباح، عن حفص الغاضري، عن عاصم، عن أبي عبدالرحمن، عن علي بالقراءة

นักปราชญ์กลุ่มหนึ่งรายงาน จากอัมรู บินอัศศ่อบาห์  จากฮัฟศ์อัลฆอฎิรี  จากอาศิม  จากอะบูอับดุลเราะห์มาน  จากท่านอาลี ด้วยการอ่านคัมภีร์กุรอ่าน

وذكر عاصم أنه لم يخالف أبا عبدالرحمن في شئ من قراءته، وأن أبا عبدالرحمن لم يخالف عليا رضي الله عنه في شئ من قراءته

และอาศิมยังเล่าว่า แท้จริงเขาไม่เคยขัดแย่งกับท่านอะบูอับดุลเราะห์มานในสิ่งหนึ่งจากเรื่องการอ่านอัลกุรอ่าน
และแท้จริงท่านอะบูอับดุลเราะห์มานก็ไม่เคยขัดแย่งกับท่านอาลีในสิ่งหนึ่งจากเรื่องการอ่านอัลกุรอ่าน


قلت: كان عاصم ثبتا في القراءة، صدوقا في الحديث، وقد وثقه أبو زرعة وجماعة، وقال أبو حاتم: محله الصدق، وقال الدارقطني: في حفظه شئ يعني: للحديث لا للحروف

ฉัน(ซะฮะบี)กล่าวว่า  อาศิมนั้นมีความมั่นคงในการอ่านอัลกุรอ่าน  เชื่อได้ในเรื่องหะดีษ
อะบูซัรอะฮ์และนักปราชญ์กลุ่มหนึ่งให้การเชื่อถือต่อเขา  และอะบูฮาติมกล่าวว่า สถานะของเขามีวาจาสัตย์   และอัดดาร่อกุฏนีกล่าวว่า ในการจำของเขานั้นมีสิ่งหนึ่ง  หมายถึงสำหรับความจำเรื่องหะดีษไม่ใช่เรื่องการอ่าน

ดูสิยัรอะอ์ลามุนนุบะลาอ์  อันดับที่  119
  •  

L-umar

۞  อะบูอับดุลเราะห์มาน อัสสุละมี  


เกิดในสมัยท่านนะบี(ศ)   และมรณะ  ฮ.ศ.  73 - 74


ท่านซะฮะบีกล่าวว่า

أبو عبد الرحمن السلمي مقرئ الكوفة، الامام العلم، عبد الله بن حبيب بن ربيعة الكوفي، من أولاد الصحابة، مولده في حياة النبي صلى الله عليه وسلم

อะบูอับดุลเราะห์มาน อัสสุละมี  นักอ่านกุรอ่าน ชาวกูฟะฮ์ เป็นอิหม่ามแห่งวิชาการ (ชื่อจริงคือ)อับดุลลอฮ์ บินหะบีบ บินร่อบีอะฮ์ อัลกูฟี เขาเป็นลูกหลานของซอฮาบะฮ์ เกิดในในสมัยท่านนะบี(ศ)มีชีวิต
เขาเรียนอ่านอัลกุรอ่านและอ่านอย่างไพเราะและยังมีความเฉลียวฉลาดในการอ่าน  
และเขาได้นำเสนอการอ่าน(ของเขา)ให้ท่านอุษมาน และกับท่านอาลี  ท่านอิบนุมัสอูด
อะบูอัมรูอัดดานีกล่าวว่า  เขาได้รับเอาการอ่านอัลกุรอ่านมาจากท่านอุษมานและท่านอาลี ท่านเซด  ท่านอุบัยและท่านอิบนุมัสอูด    
ผู้ที่ได้รับถ่ายทอดการอ่านกุรอ่านไปจากเขาคือ  อาศิม บินอะบินนุญูด
ชุอบะฮ์กล่าวว่า  เขา(อะบูอับดุลเราะห์มานอัสสุละมี) ไม่เคยได้ฟังจากท่านอุษมาน และไม่เคยติดตาม   และ

وروى أبان العطار، عن عاصم بن بهدلة، عن أبي عبدالرحمن، قال : أخذتُ القراءة عن علي

อะบานอัลอัตต็อรรายงาน  จากอาศิม บินบะฮ์ดะละฮ์  จากอะบูอับดุลเราะห์มานเล่าว่า
ฉันได้รับการถ่ายทอดเรื่องการอ่าน(อัลกุรอ่าน)จากท่านอาลี
   
ดูสิยัรอะอ์ลามุน-นุบะลาอ์  อันดับที่  97


ท่านอิบนุหะญัร อัสก่อลานีกล่าวว่า

عبد الله بن حبيب بن ربيعة أبو عبد الرحمن السلمي الكوفي القاري
روى عن عمر وعثمان وعلي وسعد وخالد بن الوليد وابن مسعود وحذيفة وأبي موسى الأشعري وأبي الدرداء وأبي هريرة

อับดุลลอฮ์ บินหะบีบ บินร่อบีอะฮ์  ฉายาอะบูอับดุลเราะห์มาน อัสสุละมี  อัลกูฟี อัลกอรี
รายงานหะดีษจาก →  ท่านอุมัร  , อุษมาน , อาลี , สะอัด , คอลิด , อิบนุมัสอูด , หุซัยฟะฮ์ , อะบูมูซาอัลอัชอะรี , อะบูดัรดาอ์และอะบูฮุร็อยเราะฮ์

وعنه إبراهيم النخعي وعلقمة بن مرثد وسعد بن عبيدة وأبو إسحاق السبيعي وسعيد بن جبير وأبو الحصين الأسدي وعطاء بن السائب وعبد الأعلى بن عامر وعبد الملك بن أعين ومسلم البطين وأبو البختري الطائي وعاصم بن بهدلة وغيرهم

ผู้ที่รายงานหะดีษจากเขาคือ → อิบรอฮีม อันนะค่ออี  , อัลก่อมะฮ์ บินมุรษัด , สะอัด บินอุบัยดะฮ์ , อะบูอิสฮาก อัสสะบีอี , สะอีด บินญุเบร , อะบุลหุศ็อยน์  , อะฎออ์ บินซาอิบ , อับดุลอะอ์ลา , อับดุลมะลิก บินอะอ์ยุน , มุสลิม อัลบัฏฏีน , อะบุลบุคตะรี อัตตออี   และอาศิม  บินบะฮ์ดะละฮ์ และคนอื่นๆ

قال أبو إسحاق السبيعي : قرأ القرآن في المسجد أربعين سنة

อะบูอิสฮากอัสสะบีอีเล่าว่า  เขา(อะบูอับดุลเราะห์มาน)ได้อ่านอัลกุรอ่านอยู่ในมัสญิดเป็นเวลาสี่สิบปี    

وقال العجلي كوفي تابعي ثقة

อัลอิจญ์ลีกล่าวว่า  เขา(อะบูอับดุลเราะห์มาน)เป็นชาวกูฟะฮ์  เป็นตาบิอี  เชื่อถือได้

وقال النسائي ثقة

อันนะซาอีกล่าวว่า   เขา(อะบูอับดุลเราะห์มาน)  ษิเกาะฮ์ คือ เชื่อถือได้

وقال حجاج بن محمد عن شعبة لم يسمع من بن مسعود ولا من عثمان ولكن سمع من علي

หัจญ๊าจ บินมุฮัมมัดเล่าจากชุอ์บะฮ์ว่า   เขา(อะบูอับดุลเราะห์มาน)ไม่เคยได้ฟังจากท่านอิบนุมัสอูด และไม่เคยได้ฟังจากท่านอุษมาน  แต่เขาได้ฟังจากท่านอาลี

وقال البخاري في تاريخه الكبير سمع عليا وعثمان وابن مسعود

อัลบุคอรีกล่าวในหนังสือตารีคกะบีรของเขาว่า   เขา(อะบูอับดุลเราะห์มาน)ได้ฟังจากท่านอาลี  , อุษมานและอิบนุมัสอูด

وقال بن سعد قال محمد بن عمر كان ثقة كثير الحديث

อิบนุสะอัดรายงานว่า มุฮัมมัด บินอุมัรเล่าว่า   เขา (อะบูอับดุลเราะห์มาน) เชื่อถือได้  มีหะดีษรายงานมากมาย

عن الواقدي شهد مع علي صفين ثم صار عثمانيا ومات في سلطان الوليد بن عبد الملك

อัลวากิดีเล่าว่า  เขา(อะบูอับดุลเราะห์มาน อัสสุละมี)ได้เคยร่วมรบกับท่านอาลีในสงครามซิฟฟีน  ต่อจากนั้นเขาได้ไปอยู่กับฝ่ายท่านอุษมาน   เขามรณะในยุคการปกครองของอัลวาลีด บินอับดุลมะลิก
وكان من أصحاب بن مسعود وقال بن عبد البر هو عند جميعهم ثقة

และเขา(อะบูอับดุลเราะห์มาน อัสสุละมี)คืออัศฮาบคนหนึ่งของท่านอิบนุมัสอูด  อิบนุอับดุลบัรริกล่าวว่า  เขา(อะบูอับดุลเราะห์มาน ) ในทัศนะของพวกเขาทั้งหมด ถือว่า  เชื่อถือได้ในการรายงาน


ดูตะฮ์ซีบุต ตะฮ์ซีบ  อันดับที่ 317





۩  วิจารณ์

อาจมีคนสงสัยว่า  อะบูอับดุลเราะห์มานเรียนอ่านคัมภีร์อัลกุรอ่านจากใครกันแน่

ระหว่างท่านอุษมาน   กับท่านอาลี   หรือซอฮาบะฮ์ทั้งสองได้สอนการอ่านกุรอ่านให้เขา


จากสิ่งที่ท่านซะฮะบีและท่านอิบนุหะญัรบันทึกไว้ในตำราริญาลทำให้เราเข้าใจได้ว่า

อะบูอับดุลเราะห์มาน อัสสุละมีได้เรียนการอ่านอัลกุรอ่านกับท่านอาลี

ส่วนหะดีษนั้นอะบูอับดุลเราะห์มาน อัสสุละมีได้รับฟังจากท่านอุษมานและท่านอาลีรวมทั้งซอฮาบะฮ์ท่านอื่นๆตามที่เรากล่าวไปแล้วด้วย
  •  

L-umar

เมื่อใดที่ท่านเปิดคัมภีร์อัลกุรอ่าน ฉบับพิมพ์จากประเทศซาอุดิอารเบีย
คลิกดูภาพ  http://www.rnatsheh.com/Site2008/goodnews/images/quran.jpg


ขอให้ท่านเปิดที่หน้าหลังสุดของมุศฮัฟฉบับนี้ท่านจะพบว่า  มัจญ์มะอ์มาลิกฟาฮัดได้ชี้แจงถึงสายรายงาน(สะนัด)ของอัลกุรอ่านฉบับนี้ว่า

طُبِعَ الْمُصْحَفُ الشَّرِيْفُ فِي الْمَجْمَعِ بِرِوَايَةِ حَفْصٍ عَنْ عاَصِمٍ، وَهِيَ الرِّوَايَةُ الَّتِيْ يُقْرَأُ بِهاَ فِي مَعْظَمِ بِلاَدِ الْعاَلَمِ الْإِسْلاَمِيِّ

มุศฮัฟฉบับนี้ถูกพิมพ์ขึ้นในนามของมัจญ์มะอ์(มาลิกฟาฮัด) ด้วยสายรายงานของท่านฮัฟศ์ รายงานมาจากท่านอาศิม  และมันคือริวายะฮ์ที่ถูกอ่านกันในเมืองใหญ่ๆของโลกอิสลาม
www.qurancomplex.org/Display.asp?section...arb&f=write00013

เพราะฉะนั้นการอ่านคัมภีร์กุรอ่านในปัจจุบันคือ กิรออะฮ์ของ ฮัฟศ์ บินสุลัยมาน

۞ ฮัฟศ์ บินสุลัยมาน
เป็นชาวกูฟะฮ์ ( เกิด 90 มรณะ 180 ฮ.ศ.) เขาเป็นชีอะฮ์และเป็นสาวกของอิม่ามญะอ์ฟัรซอดิก ดูริญาลเชคตูซี่ อันดับที่ 181
ครูผู้ถ่ายทอดการอ่านอัลกุรอ่านให้กับฮัฟศ์คือ อาศิม บินอะบินนุญูด

۞อาศิม บินอะบินนุญูด (หรือบินบะฮ์ดะละฮ์)
เป็นชาวกูฟะฮ์ ( มรณะ 128 ฮ.ศ.) เขาคือผู้ทรงคุณวุฒิของชีอะฮ์คนหนึ่ง เขาสอนอัลกุรอ่านอยู่ในเมืองกูฟะฮ์เป็นเวลาถึงสี่สิบปี  
ตัวอย่างรายงานหะดีษของอาศิมเช่น

عن عاصم بن أبي النجود عن ابن عمر عن الحسن بن علي (ع) قال : سمعتُ أبي علي بن أبي طالب عليه السلام يقول قال رسول الله صلى الله عليه وآله: ...كتاب الاستبصار  ح 1321
จากอาศิม บินอะบินนุญูด  จากอิบนิอุมัร จากอิม่ามฮาซัน บินอาลีเล่าว่า  ฉันได้ยินท่านอิม่ามอาลีเล่าว่า  ท่านรอซูลุลอฮ์(ศ)กล่าวว่า ...
ดูกิตาบอัลอิศติบศ็อร โดยเชคตูซี่ หะดีษที่ 1321
ครูผู้ถ่ายทอดการอ่านอัลกุรอ่านให้กับอาศิมคือ  อะบูอับดุลเราะห์มาน อัสสุละมี

۞อะบูอับดุลเราะห์มาน อัสสุละมี ชื่อจริงอับดุลลอฮ์ บินหะบีบ ( มรณะ 73-74 ฮ.ศ.)
เขาเป็นสาวกพิเศษของท่านอาลี บินอะลีตอลิบ ซึ่งท่านได้ถ่ายทอดการอ่านอัลกุรอ่านให้กับเขา
ตัวอย่างรายงานหะดีษของอัสสุละมีเช่น

عَنْ أَبِي عَبْدِ الرَّحْمَنِ السُّلَمِيِّ قَالَ قَالَ أَمِيرُ الْمُؤْمِنِينَ (ع) أَمَّا بَعْدُ فَإِنَّ الْجِهَادَ بَابٌ مِنْ أَبْوَابِ الْجَنَّةِ فَتَحَهُ اللَّهُ لِخَاصَّةِ أَوْلِيَائِهِ
อะบูอับดุลเราะห์มาน อัสสุละมีเล่าว่า  ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน(อาลี) อะลัยฮิสสลามกล่าวว่า
แท้จริงการญิฮ๊าด(เสียสละต่อสู้ในทางของอัลลอฮ์)คือประตูหนึ่งจากประตูสวรรค์ ที่อัลลอฮ์ทรงเปิดมันไว้โดยเฉพาะสำหรับบรรดาคนที่พระองค์รัก
ดูวะซาอิลุชชีอะฮ์   หะดีษที่  19,913

۩ หลักฐานระบุชัดเจนว่า  ชีอะฮ์คือผู้รักษาข้อมูลด้านสะนัดของคัมภีร์อัลกุรอ่าน ที่มุสลิมทั่วโลกใช้อ่านกันอย่างแพร่หลาย

จนแม้แต่ปวงปราชญ์วาฮาบีแห่งซาอุดิอารเบียก็ยังต้องยึดสะนัดกุรอ่านของฮัฟศ์สาวกอิม่ามญะอ์ฟัร มาใช้เป็นต้นแบบในการพิมพ์คัมภีร์อัลกุรอ่าน

และชาววาฮาบีทั้งอาเล่มและเอาวามต่างกล่าวกันว่า สะนัดของกุรอ่านฉบับปัจจุบันนี้เป็น สะนัดมุตะวาติรในทัศนะของเรา  



۩  คำถามสำหรับวาฮาบี

หนึ่ง –
แล้วสะนัดอัลกุรอ่านมุตะวาติรที่นี้  เป็นสะนัดที่ชีอะฮ์รายงานไว้ใช่ หรือไม่

สอง -  หากไม่ใช่ โปรดแสดงหลักฐานคัดค้าน   แต่หากใช่  ขอถามต่ออีกนิดว่า  ทำไมท่านจึงยอมรับสายรายงานของชีอะฮ์ในเรื่องนี้

อัลลอฮ์ตะอาลาตรัสว่า  

ذَرْهُمْ يَأْكُلُوا وَيَتَمَتَّعُوا وَيُلْهِهِمْ الأَمَلُ فَسَوْفَ يَعْلَمُونَ

เจ้าจงปล่อยพวกเขา(ให้)บริโภคและร่าเริง และความหวัง(อันเพื่อฝัน)จะทำให้พวกเขาลืม(อะซาบ) แล้วในไม่ช้าพวกเขาก็จะรู้เอง   ซูเราะฮ์อัลฮิจญ์รุ   :  3


เชิญท่านเพ้อฝันต่อไปเถิดว่า  ฉันอยู่บนสัจธรรม  แม้แต่อัลกุรอ่านยังต้องพึ่งรายงานของชีอะฮ์
  •  


Q4Wahabi

  •  

46 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้