Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

ธันวาคม 22, 2024, 05:27:45 หลังเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
  • สมาชิกทั้งหมด: 1,718
  • Latest: Haroldsmolo
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 3,699
  • หัวข้อทั้งหมด: 778
  • Online today: 102
  • Online ever: 200
  • (กันยายน 14, 2024, 01:02:03 ก่อนเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 37
Total: 37

ฮะดีษเมาลาและเหตุการณ์ที่เฆาะดีรคุม

เริ่มโดย itroh, มิถุนายน 06, 2010, 01:14:47 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

itroh


بسم الله الرحمن الرحيم


ฮะดีษเมาลาและเหตุการณ์ที่เฆาะดีรคุม


คำอธิบายตามแนวทางของชีอะฮฺมีอยู่ว่า ท่านศาสดาหวั่นเกรงการต่อต้านจากสาวก (ศอฮาบะฮฺ) บางคน ท่านเกรงว่าเมื่อประกาศแต่งตั้งท่านอาลีเป็นเคาะลีฟะฮฺต่อสาธารณะแล้ว พวกเหล่านั้นอาจจะต่อต้านท่านอย่างรุนแรงหรืออาจจะผละจากท่านไป ท่านตรึกตรองเรื่องนี้อยู่หลายครั้งซึ่งยังความหนักใจในแก่ท่านมาก เหตุการณ์ดำเนินมาจนเมื่อท่านเดินทางไปทำฮัจญ์ อำลา (ฮัจญะตุล วิดาอ) หลังจากเสร็จสิ้นการทำฮัจญ์แล้ว ก็เดินทางกลับมายังนครมะดีนะฮฺพร้อมกับสาวกที่ติดตามมาทำฮัจญ์ด้วยจำนวนเกือบแสนคน ตามคำอ้างของพวกชีอะฮฺพยายามเน้นว่าท่านศาสดา ครุ่นคิดถึงเรื่องการแต่งตั้งอาลีตลอดเวลา และคอยหาโอกาสเหมาะที่จะประกาศเรื่องนี้ออกไปโดยไม่ได้รับการต่อต้าน และแล้วญิบรีลก็นำโองการของอัลลอฮฺ สุบหฯ ลงมาว่า "รอซูลเอ๋ย จงประกาศสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้าจากพระผู้อภิบาลของเจ้า และถ้าเจ้ามิได้ปฏิบัติ เจ้าก็มิได้ประกาศสารของพระองค์เลย และอัลลอฮฺนั้นจะทรงคุ้มครองเจ้าให้พ้นจากมนุษย์" ซึ่งหมายถึงคำสั่งให้ประกาศเรื่องการเป็น "เคาะลีฟะฮฺ" ของอลี โดยไม่ต้องเกรงกลัวอันตรายจากผู้ใด เพราะอัลลอฮฺจะทรงให้การคุ้มครองท่าน

จากนั้นท่านนบี จึงสั่งให้กองคาราวานหยุด ณ ตำบลที่เรียกว่า เฆาะดีร คุม ซึ่งเป็นที่ตั้งของบ่อน้ำหรือโอเอซิสแห่งหนึ่งที่มีชื่อว่า "คุม" ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของนคร มักกะฮฺ ห่างออกไปประมาณ 13 ไมล์ ท่านรอซูลุลลอฮฺสั่งให้กองคาราวานหยุดพัก และเรียกให้บรรดาสาวกของท่านมาชุมนุมเพื่อฟังคำปราศรัยของท่าน เหตุการณ์ครั้งนี้ตรงกับวันที่ 18 เดือน ซุลฮิจญะฮฺ

หลังจากกล่าวสรรเสริญอัลลอฮฺ และตักเตือนบรรดาสาวกที่อยู่ ณ ที่นั้นแล้ว ท่านรอซูลุลลอฮฺจึงชูมือของท่านอลี ขึ้นพร้อมกับประกาศว่า "ผู้ใดเอาฉันเป็นเมาลาของเขา ก็ขอให้เขาเอาอาลีเป็นเมาลาของเขาด้วย โอ้อัลลอฮ์ โปรดเป็นมิตรกับผู้ที่เป็นมิตรกับเขา และเป็นศัตรูแก่ผู้ที่เป็นศัตรูต่อเขา" เมื่อแต่งตั้งอาลีเป็น "เมาลา" แล้ว บรรดาสาวกทั้งหลายได้พากันมาให้สัตยาบัน (บัยอะฮฺ) และแสดงความยินดีต่อท่านอาลีที่ท่านศาสดา แต่งตั้งให้เป็นเมาลา ซึ่งพวกชีอะฮฺอธิบายว่า คือตำแหน่งอิมามหรือเคาะลีฟะฮฺสืบต่อจากท่านนบีนั่นเอง โดยแปลความหมายของ "เมาลา" ว่า หมายถึง เจ้านาย

จากนั้นจึงมีอายะฮฺอัล-กุรอานลงมาว่า "วันนี้ข้าได้ให้สมบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้วซึ่งศาสนาของพวกเจ้า..." (5 : 3) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ความสมบูรณ์ของอิสลามบังเกิดขึ้นภายหลังจากการแต่งตั้งอิมามนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีอุลามะฮฺของชีอะฮฺบางคนกล่าวว่า อายะฮฺดังกล่าวยังไม่ใช่อายะฮฺสุดท้ายที่ถูกประทานให้กับท่านศาสดา ยังมีอายะฮฺของซูเราะฮฺที่ 94 อัลอินชิรอฮฺ เป็นการประทานครั้งสุดท้ายซึ่งมีใจความว่า "เรามิได้ให้หัวอกของเจ้าปลอดโปร่งแก่เจ้าดอกหรือ และเราได้ผ่อนคลายภาระหนักของเจ้าให้หมดไปจากเจ้า อันทำให้หนักอึ้งแก่หลังของเจ้า และเราได้ยกย่องเจ้าซึ่งเกียรติคุณของเจ้า แท้จริงมีพร้อมกับความลำบากคือความสบาย แท้จริงมีพร้อมกับความลำบากคือความสบาย ดังนั้น เมื่อเจ้าเสร็จสิ้น (ภารกิจหนึ่งแล้ว) เจ้าก็จงบากบั่น (ทำภารกิจอื่นต่อไป) และสู่องค์พระผู้อภิบาลของเจ้าเท่านั้น ที่เจ้าจงมุ่งหมาย" โดยที่บรรดานักแปลของฝ่ายชีอะฮฺ แปลข้อความตอนท้ายที่ว่า "ฟะอิซา ฟะร๊อฆตะ ฟันศ็อบ" ว่า เมื่อเจ้าเป็นอิสระแล้ว จงแต่งตั้ง (อลี) เถิด

   กล่าวโดยย่อก็คือ ชีอะฮฺมีความเชื่อว่าการแต่งตั้งผู้นำหรืออิหม่ามนั้นเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ไม่ใช่เรื่องที่มนุษย์ทั้งหลายจะมาตัดสินกันเอง การมีผู้นำเป็นประกาศิตของอัลลอฮฺมานับตั้งแต่สมัยของอิบรอฮีม อะลัยฮิสสะลามโดยอ้างอัล-กุรอาน 2 : 124 ซึ่งมีความว่า "และจงรำลึกถึงขณะที่พระเจ้าของอิบรอฮีมได้ทดสอบเขาด้วยพระบัญชาบางประการ แล้วเขาก็ได้สนองตามพระบัญชานั้นโดยครบถ้วน พระองค์ตรัสว่า แท้จริงข้าจะให้เจ้าเป็นผู้นำมนุษยชาติ เขากล่าวว่า และจากลูกหลานของข้าพระองค์ด้วย พระองค์ตรัสว่า สัญญาของข้านั้นจะไม่ได้แก่บรรดาผู้อธรรม" การแต่งตั้งผู้นำจึงกลายเป็นประเพณีของบรรดาศาสดาทั้งหลายสืบต่อกันมา และการแต่งตั้งผู้นำนี้เป็นไปโดยพระบัญชาของอัลลอฮ์เพียงทางเดียวเท่านั้น ประชาคมหรือสมาชิกในสังคมไม่มีสิทธิ์ที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องสำคัญอย่างยิ่งข้อนี้

ดังฮะดีษที่มีอยู่ในหนังสือของชีอะฮฺ  " มินฮัจญ์ อัล-กิรอมะฮฺ" หน้า 94 เขียนโดย Jamaluddin, Abu mansur al-hasan bin Ali bin Mathhar พิมพ์ที่ ไคโร  1962  มีใจความว่า จากฮะดีษมุตะวาติร เมื่ออายะฮฺ "รอซูลเอ๋ย จงประกาศสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้าจากพระผู้อภิบาลของเจ้า และถ้าเจ้ามิได้ปฏิบัติ เจ้าก็มิได้ประกาศสารของพระองค์เลย และอัลลอฮฺนั้นจะทรงคุ้มครองเจ้าให้พ้นจากมนุษย์"( 5-67) ถูกประทานลงมา ท่านนบีจึงกล่าวกับฝูงชนที่เฆาะดีรคุม ว่า โอ้ประชาชนทั้งหลายฉันมิได้ เป็นที่รักใคร่ของพวกท่านทุกคนดอกหรือ พวกเขาจึงกล่าวว่า ถูกต้องท่านเป็นอย่างนั้นแน่นอน จากนั้นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า  "ผู้ใดเอาฉันเป็นเมาลา(ผู้ปกครอง*ตามความหมายของชีอะฮฺ*)ของเขา ก็ขอให้เขาเอาอาลีเป็นเมาลาของเขาด้วย โอ้อัลลอฮ์ โปรดเป็นมิตรกับผู้ที่เป็นมิตรกับเขา และเป็นศัตรูแก่ผู้ที่เป็นศัตรูต่อเขา" และช่วยผู้ที่ช่วยเหลือเขาและนำความเสื่อมเสียมาให้กับผู้ที่ทำให้เขาเสื่อมเสีย" จากนั้นอุมัรได้กล่าวกับอาลีว่า ขอแสดงความยินดี ท่านได้เป็นเมาลาของฉัน และยังเป็นเมาลาของบรรดาผู้ศรัทธาชาย และหญิงทั้งมวลอีกด้วย"

  •  

itroh


แล้วความเป็นจริงของเหตุการณ์ที่เฆาะดีรคุมเป็นอย่างไร

ประการที่หนึ่ง ** เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ประการแรก อัล-กุรอาน ที่สั่งว่า "รอซูลุลลอฮฺเอ๋ย จงประกาศ..." นั้น ความจริงไม่ใช่อายะฮฺที่ประทานลงมาขณะเดินทางกลับจากพิธีฮัจญ์อำลาของท่านนบี อุลามาอฺส่วนใหญ่ของฝ่ายซุนนียืนยันว่าอายะฮฺดังกล่าวถูกประทานลงมาในระยะแรก ๆ ของการอพยพไปยังมะดีนะฮฺของท่านนบี ซึ่งท่านต้องประสบกับการต่อต้านและแผนร้ายของพวกยิวและคริสเตียนอยู่เนือง ๆ มีนักหะดีษบางท่านระบุว่าอายะฮฺนี้ถูกประทานลงมาในช่วงใกล้เคียงกับสงครามบัดร อายะฮฺก่อนหน้าและหลังอายะฮฺนี้ล้วนเกี่ยวข้องกับพวกยะฮูดีและนัศรอนีทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์บางอย่างที่เกี่ยวข้องคือ ท่านนบี เคยให้มีการจัดเวรยามรักษาความปลอดภัยเนื่องจากเกรงการปองร้ายของพวกศัตรู

อีกอายะฮฺหนึ่งที่ฝ่ายชีอะฮฺอ้างว่าผิดวันเวลาและสถานที่ก็คืออายะฮฺที่มีใจความว่า "วันนี้ ข้าได้ให้สมบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้วซึ่งศาสนาของพวกเจ้า..." นักบันทึกหะดีษและนักประวัติศาสตร์ล้วนยืนยันตรงกันว่า อายะฮฺดังกล่าวถูกประทานลงมาที่ทุ่งอารอฟะฮฺ ตรงกับวันที่ 9 เดือน ซุลฮิจญะฮ์ หลังจากท่านศาสดาจบการกล่าวคุฏบะฮ์ ฮัจญ์ ขอให้เราพิจารณาดูตอนหนึ่งของคำปราศรัยของท่านศาสดาต่อไปนี้ ณ ทุ่งอารอฟะฮฺ
"ท่านทั้งหลายพึงสังวรณ์เถิดว่าฉันได้เผยแพร่คำสอนแล้ว โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์เป็นพยานด้วยเถิด และพวกท่านทั้งหลายจะถูกสอบถามเกี่ยวกับฉัน (ในเรื่องนี้) ตอนนี้จงบอกฉันสิว่าพวกท่านจะตอบว่าอย่างไร" พวกเขาทั้งหลายร่ำร้องว่า "พวกเราขอยืนยันว่าท่านได้เผยแพร่คำสอนเรียบร้อยแล้ว ท่านได้ทำหน้าที่สั่งสอนประชาชนแล้ว ท่านได้ยกฉากกำบังทั้งหลายขึ้น (เพื่อมิให้ปิดบัง) ความจริง และท่านได้ถ่ายทอดความไว้วางใจของอัลลอฮฺโดยซื่อตรง โอ้อัลลอฮฺ ของพระองค์ทรงเป็นพยาน โอ้อัลลอฮฺขอพระองค์ทรงเป็นพยาน"

บันทึกคุฏบะฮ์ตอนนี้ยืนยันอย่างแข็งขันว่า การปฏิบัติหน้าที่ของท่านศาสดานั้น เสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์แล้ว และสอดคล้องกับการลงโองการเรื่องการทำให้ศาสนาสมบูรณ์ (5 : 3) ในวันที่ 10 ซุลฮิจญะฮ์ตามที่รู้กัน เพราะฉะนั้นการบอกว่าท่านนบียังทำหน้าที่ประกาศศาสนาไม่สมบูรณ์จนต้องมีโองการ 5 : 67 (ลงมาวันที่ 18 ซุลฮิจญะฮ์ตามคำอ้างของชีอะฮฺ) ลงมาเตือนสติจึงดูเป็นการอธิบายที่ขาดเหตุผลและยังลักลั่นอยู่

ประการที่สอง ** ชาวชีอะฮฺอ้างว่า ฮะดีษข้างต้นนั้นจัดอยู่ในชั้นมุตะวาติร นั่นก็คือฮะดีษที่มีสายรายงานต่างๆมากมาย เพราะฉะนั้นความน่าเชื่อถือของมันคงไม่น่าสงสัย  อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องชี้ให้เห็น ณ ที่นี่ก็คือ ฮะดีษนี้ไม่ปรากฏในหนังสือฮะดีษศอเฮียะ(ฮะดีษที่ถูกต้อง)ของท่านอีมามบุคอรี มุสลิม อบูดาวูดและอันนาสาอีย์แต่อย่างใด มีท่านอิบนุมายะฮฺและอัตติรมีซีย์เท่านั้นที่ได้บันทึกเอาไว้ แต่ท่านอิมามอัตติรมีซีย์ก็จัดฮะดีษนี้อยู่ในประเภทฮะดีษที่อ่อนหลักฐาน เช่นเดียวกันตัวบทฮะดีษเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ที่มีบันทึกของอบูนุอัยม์ ชื่อ อัลฮุลลียะฮฺ ก็จัดเป็นฮะดีษที่ถูกอุปโลกน์(กุขึ้นมา) โดยหาแหล่งข้อมูลที่ศอเฮียะมารับรองไม่ได้เลย  

ประการที่สาม **ในส่วนของบรรดาอุลามะฮ์ฝ่ายซุนนีนั้น มีบางท่านยอมรับว่าหะดีษเมาลา(เฉพาะประโยค ที่ว่า "ผู้ใดเอาฉันเป็นมิตรหรือที่รักของเขา ก็ขอให้เขาเอาอลีเป็นที่รักของเขาด้วย หรือ "ถ้าผู้ใดรักฉัน ก็ขอให้เขารักอลีด้วย นั้นเป็นฮะดีษฮะซัน(ดี พอใช้ได้)เช่นท่านอิมามอัตติรมีซีย์ อิมามอะฮหมัด ส่วนท่านอิมมามบุคอรี ท่านอิบรอฮีม อัรฮัรบีย์ และนักวิชาการฮะดีษอวุโสท่านอื่นๆ ถือว่าประโยคนี้ฏออีฟ(อ่อนหลักฐาน)  แต่อย่างไรก็ตามอุลามาอฺซุนนีสรุปว่า เรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งท่านอลี เป็นเคาะลีฟะฮฺแต่อย่างใด

ประการที่สี่ **ส่วนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่เฆาะดีรคุมนั้นความเป็นจริงก็คือท่านรอซุลลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าว "ผู้ใดเอาฉันเป็นมิตรหรือที่รักของเขา ก็ขอให้เขาเอาอาลีเป็นที่รักของเขาด้วย หรือ "ถ้าผู้ใดรักฉัน ก็ขอให้เขารักอาลีด้วย  ที่ตำบลเฆาะดีร คุม เนื่องจากมีผู้มาฟ้องต่อท่านรอซูลุลลอฮฺว่า เมื่ออาลีไปอยู่ที่กูฟะฮ์ (อิรัค) ท่านอลีได้ตัดสินความคดีหนึ่ง และมีศอฮาบะฮฺบางคนเห็นว่าเป็นการตัดสินอย่างไม่เที่ยงธรรม และนำเรื่องนี้มาร้องเรียนท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม บางรายงานว่าเรื่องขัดแย้งข้อขัดแย้งนี้มาจากการตัดสินเรื่องอูฐที่เยเมน เมื่อท่านอลี เคยห้ามศอฮาบะฮฺบางคนใช้ทรัพย์สินที่ยึดมาได้จากสงคราม (อันฟาล) กรณีเช่น การสวมใส่ผ้าไหม ซึ่งผู้ชายบางคนที่เป็นมุสลิมใหม่ไม่รู้ข้อห้ามเรื่องนี้ การร้องเรียนนี้ทำให้ท่านรอซูลุลลอฮฺรู้สึกหนักใจเลยประกาศเรียกให้ผู้คนที่กำลังเดินทางกลับมาจากการทำฮัจญ์แห่งการอำลา หรือ หัจญะตุลวะดาอ์พร้อมกับท่านได้มาฟังคำกล่าวของท่าน

ประการที่ห้า **สำหรับในประโยคนี้มีคำเกี่ยวกับ "เมาลา" ซึ่งแปลว่า "ที่รัก" หรือ "มิตร" ก็ได้ หรือ "ที่เคารพนับถือ" (หรือเจ้านาย) ก็ได้ ถ้าคำว่าเมาลานี้หมายถึง "ที่รัก" หรือ "มิตร" ก็จะได้ความหมายดังนี้ "ผู้ใดเอาฉันเป็นมิตรหรือที่รักของเขา ก็ขอให้เขาเอาอาลีเป็นที่รักของเขาด้วย โอ้อัลลอฮ์ ผู้ใดเอาเขา (อาลี) เป็นที่รักของเขา ก็ขอให้พระองค์เอาเขาผู้นั้นเป็นที่รักของพระองค์ด้วย ถ้าผู้ใดเอาเขา (อาลี) เป็นศัตรูของเขา ก็ขอให้พระองค์เอาเขาผู้นั้นเป็นศัตรูของพระองค์ด้วย" หรือ "ถ้าผู้ใดรักฉัน ก็ขอให้เขารักอาลีด้วย โอ้อัลลอฮ์ ถ้าผู้ใดรักเขา (อาลี) ก็ขอให้พระองค์รักผู้นั้นด้วย ถ้าผู้ใดเป็นศัตรูต่อเขา (อาลี) ก็ขอให้พระองค์เป็นศัตรูต่อผู้นั้นด้วย"

   ถ้าหมายถึง "ที่เคารพนับถือหรือเจ้านาย" ก็จะได้ความหมายดังนี้

1. "ผู้ใดเอาฉันเป็นที่เคารพนับถือของเขา ก็ขอให้เขาเอาอาลีเป็นที่เคารพนับถือของเขาด้วย โอ้อัลลอฮ์ ถ้าผู้ใดเอาเขา (อาลี) เป็นที่เคารพนับถือของเขา ก็ขอให้พระองค์เอาเขาผู้นั้นเป็นที่เคารพนับถือของพระองค์ด้วย ผู้ใดเอาเขา (อาลี) เป็นศัตรูของเขา ก็ขอให้พระองค์เอาเขาผู้นั้นเป็นศัตรูของพระองค์ด้วย" ประโยคนี้ไม่ต้องมีการวิพากษ์วิจารณ์อะไรกันอีกปัดทิ้งไปได้เลย ถ้าใครให้ความหมายอย่างนี้เขาผู้นั้นก็พ้นจากสภาพการเป็นมุสลิมทันที เพราะความหมายนี้ได้ทำลายหลักศรัทธาขั้นพื้นฐานของเขาลงอย่างสิ้นเชิง

2. "ถ้าใครเคารพนับถือฉัน (คือเอาฉันเป็นเจ้านายของเขา) ก็ขอให้เขาเคารพนับถืออาลีด้วย โอ้อัลลอฮ์ ถ้าผู้ใดเคารพนับถือเขา (อาลี) (คือเอาอาลีเป็นเจ้านายของเขา) ก็ขอให้เขาเคารพนับถือพระองค์ด้วย และถ้าผู้ใดเป็นศัตรูต่อเขา (อาลี) ก็ขอให้เขาเป็นศัตรูต่อพระองค์ด้วย" การให้ความหมายเช่นนี้ เป็นการให้ความหมายกันแบบพยายามให้กลมกลืนกันอย่างที่สุดแล้ว เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งกับหลักศรัทธาขั้นพื้นฐาน แต่กระนั้นก็ตาม ถ้ามองกลับมาอีกด้านหนึ่งก็จะหมายถึงว่า ถ้าใครไม่นับถืออาลีก็ไม่ต้องไปนับถืออัลลอฮ์ (คือถึงจะนับถือไปก็ไม่มีประโยชน์ อะไรทำนองนั้น) และถ้าใครจะนับถืออาลีแล้ว ก็ต้องนับถืออัลลอฮ์ด้วย ซึ่งประโยคนี้ฟังดูแล้วคล้าย ๆ เหมือนกับว่าอาลีมีฐานะสูงพอ ๆ กับอัลลอฮ์อย่างนั้นแหละ แต่ด้วยความเป็นจริงแล้ว มันเป็นสิ่งแน่นอนตายตัวอยู่แล้วว่า ไม่ว่าเราจะเคารพนับถืออาลี หรือไม่เคารพนับถืออาลีก็ตาม เราก็ต้องเคารพนับถืออัลลอฮ์อยู่แล้ว

3. "ถ้าฉันเป็นที่เคารพนับถือของผู้ใด ก็ขอให้อาลีเป็นที่เคารพนับถือของเขาผู้นั้นด้วย โอ้อัลลอฮ์ ถ้าเขา (อาลี) เป็นที่เคารพนับถือของผู้ใด ก็ขอให้พระองค์เป็นที่เคารพนับถือของผู้นั้นด้วย ถ้าผู้ใดเป็นศัตรูต่อเขา (อาลี) ก็ขอให้พระองค์เป็นศัตรูต่อเขาผู้นั้นด้วย" ประโยคนี้ก็เช่นเดียวกันมีฐานะลักษณะคล้าย ๆ กับประโยคที่ 2 แต่ประโยคนี้ดูเหมือนอัลลอฮ์จะมีฐานะด้อยกว่าอลีด้วยซ้ำไป
สรุปแล้ว ถ้าคำว่า "เมาลา" หมายถึง "การเคารพนับถือ" แล้ว ความหมายอันนี้จะไปขัดกับหลักอะกีดะฮ์ การศรัทธาเชื่อมั่นของเราที่มีต่ออัลลอฮ์ ดังได้กล่าวมาแล้วว่า คำว่า "อัลลอฮุมมะวาลิน มันวาลาฮุ"

ที่กล่าวมานั้น คำว่า "เมาลา" แปลว่า "ที่เคารพนับถือ" ถ้าหากคำว่า "เมาลา" แปลว่า "เจ้านาย" จะได้ความหมายออกมาดังนี้ ซึ่งเราจะขอเทียบกับคำว่า "ที่รัก" ก่อน

"ถ้าฉันเป็นที่รักของผู้ใด ก็ขอให้อาลีเป็นที่รักของผู้นั้นด้วย โอ้อัลลอฮ์ ก็ขอให้เขารักพระองค์ด้วย" (อย่างนี้ไม่ถูกต้อง เท่ากับอาลีมีฐานะสูงกว่าอัลลอฮ์)
"โอ้อัลลอฮ์ ผู้ใดรักเขา (อาลี) ก็ขอให้พระองค์รักเขาด้วย" (อย่างนี้ถูกต้อง)
"โอ้อัลลอฮ์ ผู้ใดรักเขา (อาลี) ก็ขอให้พระองค์เป็นที่รักของผู้นั้นด้วย" (อย่างนี้เท่า กับอาลีสูงกว่าอัลลอฮ์เช่นกัน)
หรือ "โอ้อัลลอฮ์ ถ้าเขา (อาลี)เป็นที่รักของผู้ใด ก็ขอให้ผู้นั้นเป็นที่รักของพระองค์ด้วย" (อย่างนี้ถูกต้อง)

ถ้าคำ "เมาลา" แปลว่า เจ้านาย

"ถ้าฉันเป็นนายของผู้ใด ก็ขอให้อาลีเป็นนายของผู้นั้นด้วย โอ้อัลลอฮ์ ถ้าผู้ใดเป็นนายของเขา (อาลี) (เพียงเริ่มต้นก็ผิดแล้ว ไม่ถูกต้อง) ก็ขอให้เขาผู้นั้นเป็นนายของพระองค์ด้วย" (????) หรือ "ก็ขอให้พระองค์เป็นนายของเขาผู้นั้นด้วย" (อัลลอฮ์เป็นนายของทุกคน)

หรือ "โอ้อัลลอฮ์ ถ้าเขา(อาลี) เป็นนายของผู้ใด (อย่างนี้พอใช้ได้) ขอให้เขา(อาลี) เป็นนายของพระองค์ด้วย" (????)

หรือ "โอ้อัลลอฮ์ ถ้าเขา(อาลี) เป็นนายของผู้ใด (อย่างนี้พอใช้ได้) ก็ขอให้พระองค์เป็นนายของเขาผู้นั้นด้วย" (คือให้พระองค์เป็นนายเหนือ (เฉพาะ) คนที่ยึดถือเอาอาลีเป็นเจ้านายเท่านั้น ถ้าใครไม่เอาอาลีเป็นนาย พระองค์ก็ไม่ต้องเป็นนายเหนือเขา" (ไม่ถูกต้องเช่นกัน)

ทีนี้เรามาดูการแปลอีกแบบหนึ่ง "ถ้าใครเอาฉันเป็นที่รักของเขา ก็ขอให้เขาเอาอาลีเป็นที่รักของเขาด้วย" ประโยคนี้หมายความว่า หรือบ่งชี้ให้เห็นว่า ท่านนบีฯ ศ็อลฯ มีฐานะสูงกว่า ท่านอลี

"โอ้อัลลอฮ์ ถ้าใครเอาเขา(อาลี) เป็นที่รักของเขา ก็ขอให้พระองค์เอาเขาเป็นที่รักของพระองค์ด้วย" (อย่างนี้ใช้ได้ถูกต้อง ตรงกับความมุ่งหมายของหะดีษนี้ ซึ่งท่านนบีฯ ศ็อลฯ ปรารถนาให้อัลลอฮ์เมตตารักใคร่ต่อคนที่รักใคร่ท่านอาลี)

แต่ถ้าแปลว่า "โอ้อัลลอฮ์ ถ้าใครเอาเขา(อาลี) เป็นที่รักของเขา ก็ขอให้เขาเอาพระองค์เป็นที่รักของเขาด้วย" (การแปลอย่างนี้ทำให้เนื้อหาของมันเบี่ยงเบนไปจากเป้าหมายเดิมของหะดีษนี้อย่างสิ้นเชิง โดยมุ่งหมายที่จะให้ทุกคนนอกจากจะให้ความรักต่อท่านนบีฯ ศ็อลฯ และท่านอลีแล้ว ก็ขอได้ให้ความรักต่ออัลลอฮ์ด้วย เช่นนี้หมายความว่า ทั้งท่านนบีฯ ศ็อลฯ และอลีต่างมีฐานะสูงกว่าอัลลอฮ์)

หรือถ้าแปลว่า "ถ้าใครเอาเขา(อาลี) เป็นศัตรูของเขา ก็ขอให้พระองค์เอาเขาผู้นั้นเป็นศัตรูของพระองค์ด้วย" (อย่างนี้ถูกต้อง)

แต่การแปลว่า "ถ้าใครเอาเขา(อาลี) เป็นศัตรูของเขา ก็ขอให้เขาเอาพระองค์เป็นศัตรูของเขาด้วย" (ใครจะกล้าเอาอัลลอฮ์เป็นศัตรูของเขา และท่านนบีฯ ศ็อลฯ ก็คงไม่มีเจตนาจะพูดเช่นนี้แน่ ฉะนั้นประโยคข้อนี้ตัดทิ้งไปได้ คงไม่มีใครแปลอย่างนี้แน่)

"ถ้าใครเอาฉันเป็นนายของเขา ก็ขอให้เขาเอาอาลีเป็นนายของเขาด้วย" (ประโยคนี้หมายความว่า ท่านนบีฯ ศ็อลฯ มีฐานะสูงส่งกว่าท่านอาลี)
"โอ้อัลลอฮ์ ถ้าใครเอาเขา(อาลี) เป็นนายของเขา ก็ขอให้พระองค์เอาเขาเป็นนายพระองค์ด้วย" (แปลอย่างนี้มุรตัดแน่)

หรือ "โอ้อัลลอฮ์ ถ้าใครเอาเขา(อาลี) เป็นนายของเขา ก็ขอให้เขาเอาพระองค์เป็นนายของเขาด้วย" (ประโยคนี้หมายความว่า ท่านอลีมีฐานะสูงกว่าอัลลอฮ์)

อีกประการหนึ่งการตีความว่า "โอ้อัลลอฮ์ ถ้าผู้ใดเอาเขา (อาลี) เป็นเมาลา (มิตร) ก็ขอให้พระองค์เอาเขาผู้นั้นเป็นเมาลา (มิตร) ของพระองค์ด้วย ถ้าผู้ใดเอาเขาเป็นศัตรู ก็ขอให้พระองค์เอาเขาผู้นั้นเป็นศัตรูของพระองค์ด้วย" ย่อมมีความหมายสอดคล้องกว่า เพราะมิตร–ศัตรูย่อมเป็นความหมายแบบตรงข้าม และเข้ากันได้แน่นอน

สรุปแล้วคำว่า "เมาลา" ในประโยคนี้หรือหะดีษนี้จะแปลว่า "เจ้านาย" ไม่ได้ เหตุที่เราต้องนำประโยคนี้มากล่าวกันอย่างละเอียดกลับไปกลับมาอย่างนี้นั้น ทั้งนี้ก็เพราะว่า หะดีษเกี่ยวกับเฆาะดีร คุม นั้นถือว่าเป็นเงื่อนไขแรกที่ชีอะฮ์ได้นำขึ้นมาอ้างเป็นสาระสำคัญต่อคนทั้งหลาย เพื่อจะได้ยอมรับสิทธิอันชอบธรรมของตน ต่อการกล่าวประณามบรรดาสหายและสาวกทั้งหลายของท่านนบี อีกทั้งสร้างประวัติศาสตร์ และหลักการต่าง ๆ ที่ต่างไปจากซุนนีขึ้นมาใหม่ ถ้าหากคลี่คลายปมนี้ไม่ได้หรือไม่แจ่มชัดเพียงพอแล้ว ชีอะฮฺก็จะถือโอกาสกันประณาม อบูบักร, อุมัร, อุษมานและบรรดาศอฮาบะฮฺท่านต่าง ๆ ว่าเป็นพวกทรยศคดโกงต่อท่านรอซูลุลลอฮฺและอลีให้เป็นที่เจ็บปวดอยู่ร่ำไป

สรุปแล้วเราไม่มีทางจะให้ความหมายคำว่า "เมาลา" นี้ ไปในลักษณะของ "ความเคารพนับถือ" ได้อย่างแน่นอน ไม่ว่าจะแปลความหมายไปเป็นแบบไหน ก็ไม่อาจจะให้ความหมายในรูปแบบดังกล่าวได้ทั้งสิ้น นอกจาก จะให้ความหมายไปในลักษณะ "ความรัก" หรือ "มิตร" แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ คำสั่งท่านรอซูลุลลอฮฺฯในหะดีษนี้จึงไม่ได้หมายถึงให้เราเคารพนับถือท่านอลีด้วยการเอาท่านอลีมาเป็นเจ้านายของเรา หรือเอามาเป็นเคาะลีฟะฮฺของเราหลังจากที่ท่านรอซูลุลลอฮฺได้ตายไปแล้วแต่อย่างใด หากแต่ท่านสั่งกำชับให้เราให้ความรักหรือความเป็นมิตรที่ซื่อสัตย์ต่อท่านอลีเท่านั้น ดังนั้น ความหมายในหะดีษนี้จึงไม่ใช่เป็นเรื่องของการแต่งตั้ง ท่านอลีให้เป็นเคาะลีฟะฮ์แต่อย่างใด หรือใครจะดึงดันตะแบงว่า "แต่งตั้ง" ก็ตามใจ ไม่ว่าอะไรอยู่แล้ว ก็แล้วแต่จะคิดกันไป แต่ถึงจะแต่งตั้งหรือไม่แต่งตั้ง ท่านอลีก็ได้เป็นเคาะลีฟะฮฺอยู่ดีน่ะเอง หรือใครจะเถียงว่าท่านอลีไม่ได้เป็นเคาะลีฟะฮฺ
  •  

itroh


สิ่งที่ควรนำมากล่าวเพิ่มเติมก็คือ คำว่าเมาลา นี้ไม่ได้ถูกนำมาพาดพิงถึงท่านอาลีแแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น แต่ท่านบีศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม เคยใช้ข้อความเหล่านี้เมื่อท่านพูดถึงคนอื่นๆก็มีมากมาย ตัวอย่างเช่น

-   ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า ซัลมานเป็นเมาลาของชาวมะดีนะฮฺ  ( มิซกาต อัล-มะซอเบี้ยะฮฺ หน้า 293 )
-   ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวกับซัยด์ว่า เจ้าคือพี่น้องของเรา และเมาลาของเรา ( เศาะฮีฮฺ อัลบุคอรี )
-   ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า อัล-อับบาสเป็นของฉันและฉันเป็นของเขา (มิซกาต อัล-มะซอเบี้ยะฮฺ หน้า 570 )
-   ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า เขา(ญุลัยบีบ) เป็นของฉัน และฉันเป็ของเขา ( เศาะฮีฮฺ มุสลิม )

สิ่งที่พี่น้องต้องควรใคร่ครวญ

 1. ถ้าฮาดีษเมาลานั้นเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าตำแหน่งคอลีฟะฮฺนั้นเป็นของท่านอาลีจริงๆ ทำไมท่านรอซูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ถึงไม่ได้แจ้งตอนทำฮัจย์วิดาอฺที่ทุ่งอารอฟะเพราะตอนนั้นบรรดาศอฮาบะก็อยู่ที่นั้นอย่างมากมายถึงแสนกว่าคน แต่ท่านนบีกลับเลือกที่จะแจ้งที่เฆาะดีรคุม ซึ่งมีศอฮาบะฮฺเพียงพันกว่าคน ทั้งๆที่ตำแหน่งคอลีฟะฮฺนี้เป็นตำแหน่งที่จำเป็นและสำคัญ

2. เป็นไปได้มั้ยที่บรรดาศอฮาบะฮฺที่อยู่ในเหตุการณ์ทั้งหมดเข้าใจผิดในความหมายของหะดีษเมาลา หรือถ้าศอฮาบะฮฺบางส่วนเข้าใจถึงคำกล่าวนั้นว่าให้ท่านอาลีเป็นคอลีฟะฮฺแล้วทำไมในวันที่เลือกท่านอบูบักรเป็นคอลีฟะฮฺที่สะกีฟะฮฺ บนีสะอีดะฮฺถึงไม่มีใครสักคนที่ออกมาคัดค้าน

3. ถ้าท่านอาลีเชื่อว่าตำแหน่งคอลีฟะฮฺนั้นเป็นของท่านแต่เพียงผู้เดียว แล้วทำไมท่านอาลีนั้นไม่ออกมาคัดค้านถึงสิทธิของตัวเองแต่ท่านปล่อยให้ท่านอบูบักร  อุมัร อุสมาน ดำรงในตำแหน่งเป็นเวลาประมาณ 24 ปี ซึ่งจากการศึกษานะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์โดยตลอด เราไม่พบเลยว่าท่านอาลี เคยอ้างถึงการแต่งตั้งของอัลลอฮ์ ศุบหฯ และรอซูลุลลอฺเพื่อสนับสนุนสิทธิที่ท่านอ้างเกี่ยวกับตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์

4. หรือเราจะกล่าวหาว่าท่านอาลีนั้นเป็นคนที่ขี้ขลาดไม่กล้าที่จะอ้างสิทธิของตนเอง นี่ก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้อีกเช่นกัน  

5. ทำไมท่านอาลีถึงยอมเป็นที่ปรึกษาของคอลีฟะฮฺทั้งสามเป็นเวลาถึง24 ปี มันคงเป็นไปไม่ได้ที่คนๆหนึ่งนั้นจะยอมเป็นที่ปรึกษาในเรื่องต่างๆต่อคนที่แย้งตำแหน่งของตนเอง

6. ในขณะที่ท่านอาลีดำรงตำแหน่งเป็นคอลีฟะฮฺ เคยบางมั้ยที่ท่านอาลีเรียกร้องสิทธิของตนเองและกล่าวหาว่าคอลีฟะฮฺทั้งสามก่อนหน้าท่านแย่งชิงตำแหน่งของท่าน แต่ท่านกลับยกย่องท่านทั้งสามว่าเป็นบุคคลที่ดีที่สุด

7. ในระหว่างที่ท่านรอซูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ล้มป่วยนั้น ท่านไปยังมัสญิดสองครั้งด้วยกัน ท่านยังได้เทศนาต่อประชาชนในระหว่างสองวาระนั้นด้วย ในโอกาสหนึ่งท่านรอซูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้ตำหนิประชาชนด้วยเหตุที่พวกเขาปฏิเสธไม่ยอมอยู่ภายใต้การนำทัพของอุสามะฮ์ บิน ซัยด์ ตามคำสั่งของท่านรสูลให้เคลื่อนทัพไปตีซีเรีย ถ้าท่านรอซูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ในอาการที่ยังป่วยอยู่สามารถสนับสนุนการเป็นผู้นำทัพ และการบังคับบัญชาของอุสามะฮ์ บิน ซัยด์ได้แล้ว ท่านย่อมสามารถที่จะสนับสนุนการสืบทอดตำแหน่งผู้นำของท่านอะลี รอฎิฯ ได้เช่นเดียวกัน ถ้าหากท่านมีความปรารถนาที่จะทำเช่นนั้น ใครเล่าจะขัดขวางท่านได้

8. พระองค์อัลลอฮ์ ศุบหฯ ได้ตรัสด้วยพระองค์เองว่า พระองค์ทรงเลือกอิสลามให้เป็น "ดีน" หรือระบอบการดำเนินชีวิตสำหรับประชาชน และมุสลิมเป็นประชาชาติที่ดีที่สุด เพราะฉะนั้น เราจึงไม่สามารถกล่าวได้ว่า เกี่ยวกับเรื่องผู้นำสืบต่อจากท่านรอซูลุลลอฮฺ (เคาะลีฟะฮฺ) นี้เป็นการละเลยของท่านรอซูลุลลอฮฺเอง หรือเกิดจากความไม่สนพระทัยของพระองค์อัลลอฮ์ (ขอพระองค์ทรงอภัยให้ข้าพระองค์ด้วยเถิด)

9. พวกเรามีความเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่บังเกิดขึ้นนั้นเป็นไปโดยการอนุมัติของพระองค์อัลลอฮฺ และเป็นไปตามพระประสงค์ของพระองค์ เรื่องนี้เห็นได้ชัดจากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นระหว่างสมัยของเคาะลีฟะฮ์ อบูบักรและอุมัร ชัยชนะอันกว้างขวางที่เกิดขึ้นในสมัยของท่านทั้งสอง ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระแสประวัติศาสตร์ จะกล่าวไปแล้วการที่ชาวอาหรับทะเลทรายสามารถมีอำนาจเหนืออาณาจักรอันยิ่งใหญ่ เช่น อาณาจักรเปอร์เชียทางตะวันออกและอาณาจักรไบเซนไตน์ทางตะวันตกนั้นเป็นสิ่งอัศจรรย์ประการหนึ่ง ชัยชนะที่ได้รับนี้ไม่อาจจะเป็นไปได้ ถ้าหากว่าอัลลอฮ์ ศุบหฯ ไม่ทรงประทานพรให้กับระบอบการปกครองที่สถาปนาขึ้นภายหลังการจากไปของท่านรสูล ศ็อลฯ ในเมื่อพระองค์อัลลอฮ์ยังทรงประทานพระกรุณาให้กับท่านเคาะลีฟะฮ์เหล่านี้แล้ว เรายังจะอาจหาญกล่าวหาว่าท่านอบูบักร อุมัรและอุษมาน รอฎิฯ เป็นผู้แย่งชิงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของท่านอะลี รอฎิฯ ได้อย่างไร

10. เกี่ยวกับเรื่องตำแหน่งหน้าที่นั้น มีรายงานหะดีษที่พูดถึงเรื่องนี้มากมาย ท่านรสูล ศ็อลอซูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม นั้นย่อมไม่คู่ควรแก่หน้าที่นั้น เพราะฉะนั้น จึงเป็นการยากที่จะเชื่อว่าท่านอะลี รอฎิฯ มีความต้องการในตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ไม่ว่าจะในโอกาสใด ทั้งนี้ก็เพราะมีบางตอน่ในหนังสือ "นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์" บันทึกเอาไว้ว่า ท่านอะลี รอฎิฯ ไม่มีความปรารถนาในตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์เหมือนอย่างที่ชนบางกลุ่มยัดเยียดความคิดนี้ให้กับท่าน จากบันทึกเท่าที่ปรากฏในปัจจุบัน อาจสรุปตามเนื้อหาได้เพียงว่า ท่านอะลียึดถือว่าตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์นั้นท่านเองก็ "มีสิทธิ" ด้วย มีข้อความบางตอนในบันทึกดังกล่าวที่สะท้อนให้เห็นว่า ท่านอะลีรู้สึกขมขื่นกับการตั้งท่านอบูบักร อุมัรและอุษมาน เป็นเคาะลีฟะฮ์ อาทิ มีข้อความตอนหนึ่งระบุว่า ท่านอะลี รอฎิฯ กล่าวว่า "บุตรของอบู กุฮาฟะฮ์ (อบูบักร) ขึ้นสวมตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ ถึงแม้เขาจะรู้ว่าฉันมีความสำคัญสำหรับการเป็นเคาะลีฟะฮ์ เหมือนดังที่ด้ามไม้มีความสำคัญสำหรับการหมุนหินโม่" อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ยังมีข้อน่าสงสัยอยู่ นั่นก็คือว่าท่านอะลี รอฎิฯ ถือว่าการเป็นเคาะลีฟะฮ์นั้นเป็น "กรรมสิทธิ์" ของท่าน หรือเป็นเพราะท่านถือว่าตัวท่านเองมีคุณสมบัติเหมาะสมกับการเป็นเคาะลีฟะฮ์มากกว่าคนอื่น ๆ ถ้าหากท่าน รสูล ศ็อลฯ ได้แต่งตั้งท่านอะลี รอฎิฯ ให้เป็นผู้นำสืบต่อจากท่านแล้ว ท่านอะลีย่อมได้เป็นเคาะลีฟะฮ์โดยอัตโนมัติอยู่ดี ปัญหาเกี่ยวกับการเลือกตั้งโดยประชาชนจะไม่บังเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ในเมื่อท่านรสูล ศ็อลฯ ไม่ได้แต่งตั้งบุคคลใดไว้ ประชาชน จึงจำเป็นต้องเลือกเคาะลีฟะฮ์ขึ้นมา เมื่อการเลือกขึ้นอยู่กับประชาชน ประชาชนเองนั่นแหละที่จะทำการเลือกบุคคลที่พวกเขาเห็นว่ามีความเหมะสม และด้วยเหตุนี้จึงไม่มีผู้ใดสามารถอวดอ้างได้ว่าตนเองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ของการเลือกตั้ง โดยที่คนอื่นไม่มีสิทธิในเรื่องนี้ จากหลักฐานต่าง ๆ ที่เรากล่าวมาแล้ว ฐานะของท่านอะลีกับตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์มิได้เกิดขึ้นเพราะการแต่งตั้งหรือการมอบหมายจากท่านรสูล ศ็อลฯ โดยตรง แล้วจะเอาอะไรมาเป็นข้อสนับสนุนให้ถือว่า ท่านอะลี รอฎิฯ มีสิทธิเป็นเคาะลีฟะฮ์แต่เพียงผู้เดียว และถ้าหากว่าบุคคลอื่นได้รับการเลือกตั้งให้เป็นเคาะลีฟะฮ์แล้ว จะกล่าวได้หรือว่าสิทธิของท่านถูกแย่งชิงเอาไป อะไรคือข้อสนับสนุนดังกล่าว ในเมื่อผู้ที่กระทำและตัดสินคือประชาชนส่วนใหญ่ที่มีความเห็นพ้องต้องกัน

11. ถึงแม้จะมีรายงานบางกระแสระบุว่า ท่านอะลี รอฎิฯ ไม่ได้บัยอะฮ์ให้กับท่านอบูบักรในทันทีทันใด อย่างไรก็ตาม ความจริงมีอยู่ว่า ท่านได้บัยอะฮ์ต่อท่านเคาะลีฟะฮ์หลังจากที่ท่านอบูบักรดำรงตำแหน่งระยะหนึ่งอย่างแน่นอน ปรากฏว่าในคำไว้อาลัยที่ท่านอะลีแสดง ณ พิธีฝังศพของท่านอบูบักร ท่านได้กล่าวถึงท่านอบูบักรในฐานะที่เป็นผู้ทรงคุณความดีและเป็นเคาะลีฟะฮ์ด้วยถ้อยคำที่เร่าร้อน เมื่อท่านอบูบักร รอฎิฯ เสนอชื่อท่านอุมัร รอฎิฯ ขึ้นเป็นผู้นำสืบต่อจากท่าน ท่านอะลี (ในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์) รู้สึกไม่สบายใจต่อการเสนอชื่อในครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม ท่านอะลีได้ให้บัยอะฮ์ต่อท่านอุมัรด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ท่านยังยกบุตรสาวคนหนึ่งของท่าน (ที่เกิดจากท่านหญิงฟาติมะฮ์ รอฎิฯ) ชื่ออุมมุกัลโซมให้แต่งงานกับท่านอุมัร ซึ่งภายหลังจากนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างท่านอะลีกับท่านอุมัรก็เป็นไปอย่างอบอุ่นและสนิทสนม ครั้นเมื่อท่านอุษมานได้รับการเลือกเป็นเคาะลีฟะฮ์ ท่านอะลีได้บัยอะฮ์ให้กับท่านอุษมาน เหมือนที่ทำกับเคาะลีฟะฮ์สองท่านแรก เมื่อท่านอะลี รอฎิฯ ได้ทำการบัยอะฮ์ต่อเคาะลีฟะฮ์ที่มาก่อนหน้าท่าน ย่อมเป็นเครื่องแสดงว่าท่านยอมรับการเป็นเคาะลีฟะฮ์ของพวกเขา และได้สละสิทธิในการเป็นเคาะลีฟะฮ์ของตนเอง ถึงแม้ว่าท่านจะมีข้ออ้างเกี่ยวกับ "สิทธิ" ของท่านก็ตาม ในเมื่อท่านอะลียังยอมรับเคาะลีฟะฮ์เหล่านี้ด้วยตัวของท่านเองแล้ว การที่ใครสักคนจะมาพูดว่าเคาะลีฟะฮ์เหล่านั้นเป็นผู้แย่งชิงตำแหน่งจึงเป็นเรื่องที่น่าสงสัยเป็นอย่างยิ่ง

12. ท่านทราบไหม ? ท่านอาลี มีบุตรหลานหลายคน ในจำนวนนี้คนหนึ่งชื่อ อุมมุกุลษุม แต่งงานกับท่านอุมัร หลังจากการจากไปของนางฟาติมะฮ์ ท่านอาลีสมรสกับหญิงอื่น ๆ อีกหลายคนและยังมีบุตรที่เกิดจากภรรยาใหม่หลายคนด้วยเช่นเดียวกัน ในจำนวนนี้มี 3 คนปรากฏชื่อว่า อบูบักร อุมัรและอุษมานด้วยมันเป็นเรื่องที่แปลกมั้ยสำหรับคนๆหนึ่งที่จะนำชื่อของคนที่แย่งชิงสิทธิของตนเอง หรือใช้ชื่อคนที่เป็นการเฟร มุนาฟิก(ตามที่ชาวชีอะฮฺกล่าวอ้าง) มาตั้งชื่อลูกของตนเอง แล้วอย่างนี้จะให้เราเข้าใจว่าอย่างไรนอกจากว่าต้องเข้าใจว่าท่านอาลียอมรับในความดีเลิศของบุคคลทั้งสาม

13. ท่านทราบไหมว่าบุตรคนหนึ่งของท่านอิมามฮูเซนมีชื่อว่าอบูบักร ซึ่งเป็นผู้ที่ชะฮีด ใน กัรบะลาด้วย ความสัมพันธ์ของคนเหล่านั้น (คือศอฮาบะฮ์ต่าง ๆ) ภายหลังท่านนบีศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม นั้นดีอยู่แล้ว อย่าไปสร้างประวัติศาสตร์ ให้เขาเหล่านั้นมีความขัดแย้งกันเลย
  •  

L-umar



สำหรับกระทู้  เรื่องความหมายคำ   วะลี  และ   เมาลา    เราได้นำเสนอ คอ่นข้างละเอียด  เชิญท่านอ่านได้ที่กระทู้นี้


www.q4sunni.com/believe/index.php?option...p;limitstart=24#1212



และ


http://www.q4sunni.com/believe/index.php?option=com_kunena&Itemid=71&func=view&catid=2&id=1211
  •  

37 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้