Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

ธันวาคม 22, 2024, 07:25:19 หลังเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
  • สมาชิกทั้งหมด: 1,718
  • Latest: Haroldsmolo
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 3,701
  • หัวข้อทั้งหมด: 778
  • Online today: 102
  • Online ever: 200
  • (กันยายน 14, 2024, 01:02:03 ก่อนเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 58
Total: 58

จะตายอย่างญาฮิลียะฮ์กระนั้นหรือ ?

เริ่มโดย L-umar, เมษายน 02, 2010, 10:27:19 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar

เชื่ออย่างชีอะฮ์ กับ ตายอย่างญาฮิลียะฮ์


ความเชื่อถือศรัทธาที่ชีอะฮ์มีต่ออิมามอัลมะฮ์ดีย์ อ เป็นความเชื่อที่ขึ้นตรงต่อหลักฐานทุกประการที่นักปราชญ์ฝ่ายซุนนะฮ์รับรองว่าถูกต้อง และยอมรับว่าจำเป็นที่ต้องยึดถือ ในประการแรก คือ ความเชื่อถือที่ว่า อิมามของประชาชาติมุสลิมนั้น วาญิบจะต้องเป็น มะอ์ซูม(ผู้บริสุทธิ์ปราศจากความบาป)
หมายความว่า  ถ้าหากอิมามของประชาชาติมุสลิมไม่ใช่มะอ์ซูม คำพูดของอิมามผู้นั้น ไม่อาจได้รับความเชื่อถืออย่างชอบธรรมตามหลักศาสนาได้ ฉะนั้น การทำตามคำสั่งใดๆหรือคำตัดสินใดๆของอิมามประเภทนั้น เป็นข้อสงสัย คลางแคลง ไม่สามารถบริหารจัดการให้สังคมประชาชาติมีความสงบ สันติ และเที่ยงธรรมได้ เพราะเป็นที่แน่นอนว่า อิมามประเภทนั้นมีความผิดพลาด หลงลืม โง่เขลา หรืออาจโกหก ในที่สุด ก็มิอาจเป็นไปตามคำสั่งของอัลลอฮ์ที่ระบุให้เคารพเชื่อฟังเขาได้

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آَمَنُوا أَطِيعُوا اللَّهَ وَأَطِيعُوا الرَّسُولَ وَأُولِي الْأَمْرِ مِنْكُمْ فَإِنْ تَنَازَعْتُمْ فِي شَيْءٍ فَرُدُّوهُ إِلَى اللَّهِ وَالرَّسُولِ إِنْ كُنْتُمْ تُؤْمِنُونَ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الْآَخِرِ ذَلِكَ خَيْرٌ وَأَحْسَنُ تَأْوِيلًا

โอ้บรรดาผู้ศรัทธา จงเคารพเชื่อฟังอัลลอฮ์และจงเคารพเชื่อฟังรอซูลและผู้มีอำนาจปกครองจากพวกเจ้า(บรรดาอิมามมะอ์ซูม) ดังนั้น ถ้าหากพวกเจ้าขัดแย้งกันในเรื่องใด ก็จงนำเรื่องนั้นย้อนไปหาอัลลอฮ์และรอซูล ถ้าหากพวกเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮ์และวันปรโลก (อันนิซาอ์/๕๙)
โองการนี้ระบุชัดว่า ถ้าหากบรรดาผู้ศรัทธาขัดแย้งหรือมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องใด ก็ให้นำเรื่องนั้นย้อนกลับไปหาอัลลอฮ์และรอซูล
แน่นอนอีกเช่นกัน เมื่อย้อนกลับไปหาอัลลอฮ์และรอซูลแล้ว ในโองการนี้ อัลลอฮ์ก็ได้ตรัสไว้อย่างสมบูรณ์อยู่แล้วว่า ต้องเคารพเชื่อฟังอัลลอฮ์ เคารพเชื่อฟังรอซูลและผู้มีอำนาจปกครองจากพวกเจ้า(บรรดาอิมามมะอ์ซูม)
ถ้าหากการแสวงหาข้อยุติที่ถูกต้องของปัญหาใดๆก็ตาม ไม่ได้อยู่ที่บรรดาอิมามผู้ซึ่งเป็นมะอ์ซูม ประชาชาติก็จะเกิดความระส่ำระสาย วกวนและถกเถียงกันไม่มีอันสิ้นสุด
ฉะนั้น การที่อัลลอฮ์ได้ให้น้ำหนักความสำคัญเท่าเทียมกันระหว่างการเชื่อฟัง(ฏออัต)ต่อพระองค์ กับการเชื่อฟัง(ฏออัต)ต่อบรรดาอิมาม ก็เพราะว่าพระองค์ทรงกำหนดให้บรรดาอิมามทุกคนปราศจากความผิดพลาดนั่นเอง
ไม่เช่นนั้น ความหมายของโองการนี้ก็เลื่อนลอย วกวนจนหาข้อยุติในปัญหาขัดแย้งในสังคมไม่ได้
เพราะว่า บรรดาผู้ปกครองที่มิใช่มะอ์ซูมนั้น ย่อมเป็นผู้กระทำความผิดพลาดซึ่งอาจตกในสภาพคนที่ฝ่าฝืนหลักการศาสนาได้อยู่เสมอ ดังนั้นผู้มีความประพฤติผิดต่อหลักศาสนาทุกคน ย่อมเป็นผู้อธรรมต่อตนเองไม่มากก็น้อย เพราะฉะนั้น เขาจึงไม่มีคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่งอิมามตามความหมายนี้ ตามที่อัลลอฮ์ทรงมีโองการว่า

قَالَ إِنِّي جَاعِلُكَ لِلنَّاسِ إِمَامًا قَالَ وَمِنْ ذُرِّيَّتِي قَالَ لَا يَنَالُ عَهْدِي الظَّالِمِينَ

\\\"ทรงตรัสว่า แท้จริงข้าได้แต่งตั้งเจ้าเป็นอิมามของมนุษย์ทั้งหลาย เขากล่าวว่า และส่วนหนึ่งจากเชื้อสายของฉันด้วย ทรงตรัสว่า พันธสัญญาของฉันย่อมไม่แผ่ถึงบรรดาผู้อธรรม\\\"(อัลบะเกาะเราะฮ์/๑๒๔)
คำว่า ผู้อธรรม ในที่นี้ บรรดานักปราชญ์ด้านภาษาอธิบายว่า มิได้หมายความเฉพาะแต่ ความอธรรม ที่มีต่อผู้อื่นเท่านั้น หากแต่มีความหมายครอบคลุมไปถึงความอธรรมต่อตนเองด้วย และคำว่า พันธสัญญาในโองการนี้ ก็มิใช่พันธสัญญาในเรื่องอื่น แต่ทว่า หมายถึงตำแหน่งอิมาม ตามความหมายที่ได้อธิบายผ่านไปแล้วเท่านั้น
เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า ตำแหน่งอิมามอันยิ่งใหญ่ อันเป็นตำแหน่งซึ่งรองรับการดำรงคงอยู่ของศาสนาและดำเนินกิจการ เกี่ยวกับประชาชาติอิสลามนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องทันที ถ้าหากมอบหมายให้แก่อิมามที่ทำผิดบ้าง ถูกบ้าง
แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ตลอดเวลาที่ผ่านมาหลายศตวรรษฝ่ายอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ก็ไม่เคยให้บัยอัตแก่ผู้ใด ในตำแหน่งอิมามของ ประชาชาติอิสลาม ไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครองประเทศมุสลิมประเทศใด บ้านเมืองใดในโลกอิสลาม ทั้งๆที่พวกเขามีหลักฐานระบุอย่างชัดเจนถึงความเชื่อในเรื่องอิมามไว้ในตำรา และพวกเขาก็ไม่มีหลักการให้ตะกียะฮ์ในสังคมที่มีคนมุสลิมเป็นผู้ปกครอง  
ส่วนชีอะฮ์นั้น ยืนยันอย่างเปิดเผยอยู่ตลอดเวลาเสมอมาว่า อิมามของพวกเขาในยุคปัจจุบันนี้คืออิมามมะอ์ซูมคนที่ ๑๒ จากวงศ์วานของนบีมุฮัมมัด ศ และเชื่อถือว่า จะให้สัตยาบันรับรองใครขึ้นเป็นอิมามของพวกเขามิได้ เพราะว่า ในกระบวน  การของบรรดาอิมามที่มิใช่มะอ์ซูมนั้น อาจนำความคิดเห็นที่ผิดพลาดของพวกเขาเข้ามาครอบงำศาสนา เปลี่ยนแปลงหลักการศาสนาได้ ด้วยเหตุนี้ อัลลอฮ์จึงได้ปกป้องบรรดานบีและศาสนทูตของพระองค์ให้พ้นจากความผิดพลาดเหล่านี้ทุกประการ
ชีอะฮ์ยืนยันอย่างชัดเจนว่า ผู้ดำรงตำแหน่งอิมามในยุคปัจจุบัน คืออิมามมะฮ์ดี อ ทั้งนี้ก็เพราะว่า อัลมะฮ์ดีย์ อ เป็นอิมามมะอ์ซูม ตามวจนะของท่านนบี ศ ที่ว่า

يَمْلأُ الأَرْضَ قِسْطًا وَعَدْلاً كَمَا مُلِئَتْ ظُلْمًا وَجَوْرًا
\\\"เขาจะทำให้โลกนี้เต็มเปี่ยมไปด้วยความเที่ยงธรรมและความยุติธรรม หลังจากที่มันเคยเต็มเปี่ยมไปด้วยความอธรรมและความผิดพลาด\\\"
(ฮะดีษนี้มีบันทึกอยู่ในสุนันอะบูดาวูด ๔/๑๐๖,๑๐๗ ฮะดีษที่ ๔๒๘๒,๔๒๘๓,๔๒๘๕,เป็นฮะดีษที่อัลบานีย์ระบุว่าศอฮีฮ์ ในหนังสือศอฮีฮ์สุนันอะบีดาวูด๓/๘๐๗,๘๐๘ ฮะดีษที่ ๓๖๐๑,๓๖๐๔ หนังสือมิชกาตุลมะศอบีฮ์ ๓/๑๕๐๑,ฮะดีษที่ ๕๔๕๒,๕๔๕๔ หนังสือญามิอุศศอฆีร ๒/๔๓๘ ฮะดีษที่ ๗๔๘๙,๗๔๙๐ และได้รับรองว่าเป็นฮะดีษศอฮีฮ์ มุสนัดอะห์มัด บิน ฮัมบัล ๓/๒๗,๒๘,๓๖,๓๗,๕๒,๗๐)
ความหมายในฮะดีษดังกล่าวอธิบายให้เห็นว่า ความจริงเหล่านี้มิอาจปรากฏเป็นจริงขึ้นมาได้ นอกจากความเป็นมะอ์ซูม  ของท่าน และความรู้ของท่านในหลักการศาสนาที่บริบูรณ์ครบถ้วน
เราได้กล่าวก่อนหน้านี้ไปแล้วว่า อะฮ์ลิซซุนนะฮ์ในประเทศอิสลามทั้งหลายนั้น ถึงแม้ว่า จะมีบุคคลที่มีคุณสมบัติ มีคุณลักษณะที่เหมาะสมกับตำแหน่งอิมามตามทัศนะของพวกเขา ที่วาญิบแก่พวกเขาทั้งหมด ต้องให้บัยอัตแก่บุคคลผู้นั้นเป็นอิมามของพวกเขาอยู่ก็ตาม แต่พวกเขาก็ไม่เคยให้การบัยอัตแก่ใคร            
ตามหลักฐานศอฮีฮ์ในมือของพวกเขายืนยันว่า ถึงแม้จะไม่มีบุคคลใด ที่มีคุณสมบัติ คุณลักษณะครบถ้วนตามบทบัญญัติ เรื่องการ \\\"บัยอัต\\\"ก็ยังเป็นวาญิบแก่พวกเขาอยู่ร่ำไป ที่จะต้องให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งในหมู่พวกเขาเป็นอิมามสำหรับมวลมุสลิม เพราะไม่เป็นที่อนุมัติให้มวลมุสลิมถูกละทิ้งไว้เฉยๆ โดยไม่มีอิมาม ไม่ว่าจะเป็นคนดีหรือคนชั่วก็ตาม
นี่คือ หลักการหนึ่งที่บรรดานักปราชญ์ของพวกเขาวินิจฉัยไว้ในตำรา ฉะนั้น การที่พวกวะฮาบีย์ทั่วทุกหนแห่งมิได้นำพา ต่อการให้สัตยาบันแก่อิมามคนใดของพวกเขา ก็เท่ากับว่า พวกเขาทั้งหมดหรือส่วนมากล้วนเป็นผู้ที่ขัดแย้งต่อคำวินิจฉัยของบรรดานักปราชญ์ของพวกเขาเองที่ให้คำสอนว่า วาญิบแก่มวลมุสลิมทุกยุคทุกสมัยจะต้องให้บัยอัตแก่ผู้ที่เหมาะสมในหมุ่พวกเขาเป็นอิมาม และยังเป็นการปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง ต่อฮะดีษศอฮีฮ์ต่างๆที่ให้ความหมายในด้านนี้ ด้วยเหตุนี้ การตายของพวกเขา ก็คือการตายในสภาพของญาฮิลียะฮ์ ตามนัยยะของฮะดีษที่นำเสนอมาก่อนแล้ว

 http://www.yomyai.com/index.php?mo=3&art=427140
ท่านบัรซันญีย์กล่าวไว้ว่า  وأما عصمة المهدي ففي حكمه  \\\"สำหรับสภาพอิศมัตของอัลมะฮ์ดีย์นั้น อยู่ในการปกครองของท่าน\\\" (อัลอิชาอะฮ์ ลิอิชรอฏุซซาอะฮ์ หน้า ๑๐๘)
นักปราชญ์อะฮ์ลิซซุนนะฮ์ท่านนี้ ได้กล่าวอีกว่า
لا يحكم المهدي إلا بما يلقي إليه الملَك من عند الله الذي بعثه إليه يسدِّده ، وذلك هو الشرع الحنيفي المحمدي ، الذي لو كان محمد صلى الله عليه وسلم حياً ورُفعت إليه تلك النازلة لم يحكم فيها إلا بحكم هذا الإمام... ولذا قال صلى الله عليه وسلم في صفته : « يقفو أثري لا يخطئ » فعرفنا أنه متَّبِع لا مشرِّع وأنه معصوم ، ولا معنى للمعصوم في الحكم إلا أنه معصوم من الخطأ ، فإن حكم الرسول لا يُنسب إلى الخطأ ، فإنه لا ينطق عن الهوى ، إن هو إلا وحي يوحى
 \\\"อัลมะฮ์ดีย์จะไม่ปกครองด้วยสิ่งอื่นใด นอกจากจะมีหลักการที่มะลาอิกะฮ์จากอัลลอฮ์มอบให้แก่ท่าน ซึ่งพระองค์ทรงส่งให้แก่ท่าน เพื่อสนับสนุนท่าน และนี่คือ หลักการอันบริสุทธิ์ของศาสดามุฮัมมัด ซึ่งถ้าหากว่า มุฮัมมัด ศ ยังมีชีวิตอยู่ สิ่งที่ถูกประทานลงมาเหล่านั้น ก็จะถูกนำมามอบให้แก่ท่าน เขาจะไม่ตัดสินด้วยหลักการอื่นใด นอกจากโดยหลักการตัดสินของอิมามท่านนี้...ด้วยเหตุนี้เอง ท่านนบี ศ ได้กล่าวถึงคุณลักษณะของเขาว่า \\\"เขาจะนำแบบฉบับของฉันที่ไม่ผิดพลาดมายืนหยัด\\\" ดังนั้น เราจึงรู้ว่า ท่านคือผู้ปฏิบัติตามคนหนึ่ง ไม่ใช่ผู้วางบทบัญญัติ และท่านคือมะอ์ซูม ความหมายของมะอ์ซูมในการปกครองจะมีไม่ได้เลย นอกจากว่าท่านต้องเป็นมะอ์ซูมที่ปราศจากความผิดพลาด เพราะแท้จริง การปกครองของท่านรอซูลจะไม่นำไปสู่ความผิดพลาด เพราะท่านจะไม่พูดจากอารมณ์ มันหาใช่อื่นใดไม่นอกจากเป็นวะห์ยู ที่ถูกประทานมา เท่านั้น\\\"(หน้า ๑๐ หนังสือเล่มเดียวกัน)
เราจึงกล่าวว่า อิมามอัลมะฮ์ดีย์ อ เป็นมะอ์ซูม การดำรงอยู่ของท่านในยุคปัจจุบันนี้ ยืนยันถึงการเป็นอิมามของท่าน เพราะเหตุว่า ประชาชาติอิสลามเชื่อถือตรงกันอยู่อย่างหนึ่งว่า ในยุคปัจจุบันนี้ นอกเหนือจากอัลมะฮ์ดีย์แล้ว ไม่มีใครเป็นมะอ์ซูม
ไม่เช่นนั้น ก็เท่ากับยอมรับว่ายุคปัจจุบัน เป็นห้วงเวลาที่ปราศจากผู้ที่มีคุณสมบัติเป็นอิมามนั่นเอง แต่ทว่า นี่แหละคือความผิดพลาด
ผู้เป็นอิมามของประชาชาติมุสลิม วาญิบต้องมีคุณสมบัติตรงตามบทบัญญัติศาสนา นั่นคือ นอกเหนือจากจะเป็นมะอ์ซูม มีพลังทางจิตที่สามารถเชื่อมโยงไปสู่สภาวะที่เร้นลับ และสูงส่งซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่สามารถจะเข้าถึงได้แล้ว ปัญหาความขัดแย้งอันยิ่งใหญ่ประเภทใดก็ตามในโลกนี้ ที่ถูกทิ้งไว้ให้เป็นช่องว่างแห่งความขัดแย้งของมวลมนุษยชาติและเป็นต้นเหตุของความแตกแยกของประชาชาติอย่างยาวนาน ล้วนจะต้องได้รับการแก้ไข และถูกชำระสะสางโดยอิมามมะอ์ซูม เช่น กรณีความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสะกีฟะฮ์ บะนีสะอีดะฮ์ ซึ่งผลพวงความขัดแย้งในเรื่องคอลีฟะฮ์ในวันนั้น ยังคงมีอยู่ตราบกระทั่งมาจนถึงวันนี้ ทั้งๆที่อัลลอฮ์ทรงมีบัญชาให้สมานฉันท์และห้ามการแตกแยก
 
وَاعْتَصِمُوا بِحَبْلِ اللَّهِ جَمِيعًا وَلَا تَفَرَّقُوا
  \\\"และจงยึดเหนี่ยวด้วยเชือกของอัลลอฮ์ อย่างพร้อมเพรียงกันทั้งหมดและจงอย่าแตกแยกกัน\\\"(อาลิ อิมรอน/๑๐๓)
وَلَا تَنَازَعُوا فَتَفْشَلُوا وَتَذْهَبَ رِيحُكُمْ
\\\"และจงอย่าขัดแย้งกัน เพราะจะทำให้พวกเจ้าพ่ายแพ้และพลังของพวกเจ้าจะสูญสลาย\\\"(อัลอัมฟาล/๔๖)
ดังนั้นความคิดของคนกลุ่มหนึ่งที่ถือว่า อัลลอฮ์ทรงเปิดประตูแห่งความแตกแยกและขัดแย้งอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ไปตลอดกาล กล่าวคือ ทรงมอบหมายภารกิจการเลือกคอลีฟะฮ์ให้แก่พวกเขากันเอง แล้วพวกเขาก็ขัดแย้งกัน นับว่า เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง
หากการเป็นคอลีฟะฮ์ มีข้อยุติที่การเลือกตั้ง ก็เป็นที่แน่นอนว่า จะไม่ได้แก่คนที่ดีเด่นที่สุด เพราะว่าระบบการเลือกตั้งคอลีฟะฮ์ ส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับเรื่องผลประโยชน์ส่วนบุคคล หรือไม่ก็จะเกี่ยวข้องกับความนิยมเป็นการส่วนตัว และเป็นการชิงดีชิงเด่นกันในเทือกเถาเหล่ากอและวงศ์ตระกูล
คนส่วนใหญ่ต่างพากันผละจากบุคคลที่ประเสริฐที่สุดในหมู่ประชาชาติ ในเมื่อเขาเป็นคนเคร่งครัดในหลักสัจธรรม หรือมีทรัพย์สินและพวกพ้องบริวารน้อยกว่า
แม้ในสังคมแคบๆที่คนทั้งหลายรู้ดีอยู่แล้วว่า ใครคือคนที่ประเสริฐกว่า ดีเด่นกว่า ก็ยังหนีไม่พ้นจากความจริงดังกล่าวนี้ ในสังคมที่กว้างขวางออกไป ในสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่หลากหลาย ผู้คนจะประสบกับความยากลำบากสักปานใดในการตรวจสอบและพิจารณาหาคนดีมาเป็นคอลีฟะฮ์
ดังนั้น อัลลอฮ์จึงไม่มอบหมายภารกิจอันยิ่งใหญ่เกี่ยวกับอิมามให้เป็นหน้าที่ของมวลมนุษยชาติโดยลำพัง ซึ่งพระองค์ทรงกล่าวถึงลักษณะที่ผิดพลาด อันน่าชิงชังของมวลมนุษย์ส่วนใหญ่ไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ ดังนี้

وَإِنْ تُطِعْ أَكْثَرَ مَنْ فِي الْأَرْضِ يُضِلُّوكَ عَنْ سَبِيلِ اللَّهِ
และถ้าหากเจ้าปฏิบัติตามคนส่วนใหญ่ในแผ่นดิน พวกเขาจะทำให้เจ้าหลงผิดจากหนทางของอัลลอฮ์ (อัลอันอาม/๑๑๖)

 وَمَا أَكْثَرُ النَّاسِ وَلَوْ حَرَصْتَ بِمُؤْمِنِينَ
และคนส่วนใหญ่จะไม่เป็นผู้ศรัทธา ถึงแม้เจ้าจะปรารถนาอย่างยิ่งก็ตาม\\\" (ยูซุฟ/๑๐๓)
ولكن أكثر الناس لا يعلمون  แต่ทว่า คนส่วนมากไม่รู้(อัลอะอ์รอฟ/๑๘๗) وأكثرهم للحق كارهون และส่วนมากในหมู่พวกเขารังเกียจสัจธรรม (อัลมุมินูน/๗๐)
ตำแหน่งอิมาม ก็คือตำแหน่งของผู้เป็นคอลีฟะฮ์แห่งอัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์ ฉะนั้น เมื่ออิมามเป็นคอลีฟะฮ์ของ  อัลลอฮ์และรอซูล จึงเป็นไปไม่ได้ที่คอลีฟะฮ์ของอัลลอฮ์และรอซูลฯจะมาจากทางอื่น นอกเหนือจากคำสั่งของอัลลอฮ์และรอซูลเอง
มีโองการจากอัลกุรอานอันทรงเกียรติ มากมายหลายโองการได้อธิบายอย่างชัดเจนว่า การแต่งตั้งนบี การแต่งตั้งอิมาม การแต่งตั้งวะซีร และคอลีฟะฮ์ ถูกยกให้เป็นหน้าที่ของอัลลอฮ์ และเราไม่เคยพบแม้แต่โองการเดียวจากอัลกุรอานว่า การแต่งตั้งตำแหน่งเหล่านี้ ถูกมอหมายให้เป็นหน้าที่ของมนุษย์ด้วยกันเอง
เกี่ยวกับการแต่งตั้งนบี จะมีโองการต่างๆเช่น
اذكروا نعمة الله عليكم إذ جعل فيكم أنبياء    พวกเจ้าจงรำลึกถึงความโปรดปรานของอัลลอฮ์ที่มีให้แก่พวกเจ้าเถิด เมื่อพระองค์ทรงแต่งตั้งบรรดานบี ในหมู่พวกเจ้า(อัลมาอิดะฮ์/๒๐)
เกี่ยวกับการแต่งตั้งคอลีฟะฮ์ แต่งตั้งอิมาม แต่งตั้งวะซีร(ผู้ช่วย) จะมีโองการต่างๆ เช่น
جعلناك خليفة في الأرض   يا داود إنَّا โอ้ดาวูด แท้จริงเราได้แต่งตั้งเจ้าเป็นคอลีฟะฮ์ในแผ่นดิน(ศอด/๒๖)
وإذ قال ربك للملائكة إني جاعل في الأرض خليفة และจงรำลึกเมื่อพระผู้อภิบาลของเจ้าได้ตรัสแก่มะลาอิกะฮ์ว่า แท้จริงฉันได้แต่งตั้งคอลีฟะฮ์ในแผ่นดิน(อัลบะเกาะเราะฮ์/๓๐)
قال إني جاعلك للناس إماماً قال ومن ذرّيتي قال لا ينال عهدي الظالمين
ทรงตรัสว่า แท้จริงฉันได้แต่งตั้งเจ้าเป็นอิมาม เขากล่าวว่า และส่วนหนึ่งจากลูกหลานของฉันด้วย ทรงตรัสว่า พันธสัญญาของฉันไม่แผ่ถึงบรรดาผู้อธรรม(อัลบะเกาะเราะฮ์/๑๒๔)
واجعل لي وزيراً من أهلي * هارون أخي  \\\"และโปรดแต่งตั้งวะซีร(ผู้ช่วย)ให้แก่ข้า มาจากครอบครัวของข้า ฮารูนพี่น้องของข้า\\\"(ฏอฮา/๒๙-๓๐)
واجعلنا للمتقين إماماً  \\\"และโปรดแต่งตั้งเราเป็นอิมามสำหรับผู้สำรวมตน\\\"(อัลฟุรกอน/๗๔)
วะฮาบีย์บางคนมักจะกล่าวดูแคลนและติติงโองการเหล่านี้ว่า เป็นโองการประเภทที่มีความหมายครอบจักรวาล (ทั่วไป)ไม่เกี่ยวกับหลักฐานเรื่องอิมาม ตามความเชื่อของชีอะฮ์ แต่ประการใด
ที่แท้ เมื่อเราเชื่อว่า โองการเหล่านี้มีความหมายครอบจักรวาล(ทั่วไป) ก็แสดงว่า ความหมายของโองการเหล่านี้ ครอบคลุมถึงความถูกต้องของความเชื่อในเรื่องอิมาม ตามที่ชีอะฮ์เชื่อถืออยู่ด้วยนั่นเอง
ฮะดีษษะกอลัยน์ ในมือของนักปราชญ์อะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ก็คือ หลักฐานหนึ่งที่ยืนยันถึงอิมามอัลมะฮ์ดีย์ อ ซึ่งได้แก่ คำกล่าวตอนหนึ่งของท่านนบี ศ ว่า
إني تركتُ فيكم ما إن أخذتم به لن تضلّوا بعدي : الثقلين أحدهما أكبر من الآخر ، كتاب الله حبل ممدود من السماء إلى الأرض ، وعترتي أهل بيتي ، ألا وإنهما لن يفترقا حتى يردا عليَّ الحوض.  
 \\\"แท้จริงฉันได้ละทิ้งไว้ในหมู่พวกท่าน ซึ่งสิ่งที่ถ้าหากพวกท่านยึดถือแล้ว พวกท่านจะไม่หลงผิดภายหลังจากฉัน นั่นคือ สองสิ่งหนัก อย่างที่หนึ่งนั้น ยิ่งใหญ่กว่าอีกอย่างหนึ่ง คัมภีร์แห่งอัลลอฮ์ เป็นสายเชือกเชื่อมโยงจากฟ้ามาสู่ดิน และเชื้อสายของฉัน อะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน แน่นอน ทั้งสองสิ่งจะไม่แยกจากกัน จนกระทั่งจะได้ย้อนกลับไปหาฉัน ณ อัลเฮาฎ์\\\"
นี่คือหลักฐานที่ระบุถึงความจำเป็นในการยึดถือต่ออิมามจากอะฮ์ลุลบัยต์ของท่านนบี ศ ผู้ซึ่งคำพูดใดๆและการกระทำใดๆของท่าน จะไม่แยกออกจากคัมภีร์ของอัลลอฮ์
แน่นอนที่สุด ในปัจจุบันนี้ อิมามอัลมะฮ์ดีย์ อ ยังดำรงอยู่ ท่านคือ เจ้าของตำแหน่งอิมาม เป็นผู้มีสิทธิได้รับการยึดถือ นอกเหนือจากอิมามอัลมะฮ์ดีย์ ล้วนมิใช่มะอ์ซูม เมื่อมิใช่มะอ์ซูม คำพูดและการกระทำของเขาก็จะแยกออกจากอัลกุรอานได้
ถ้าหาก อิมามสูงสุดแห่งประชาชาตินี้ มิใช่อิมามอัลมะฮ์ดีย์ อ แน่นอนที่สุด บรรดามุสลิมทั้งหลายจะต้องเป็นคนบาป ด้วยเหตุว่าละทิ้งกฎบังคับทางศาสนา(ฟัรฎู)ข้อนี้ นั่นก็หมายความว่า ประชาชาติที่น่าสงสารเหล่านี้ร่วมกันอยู่ในความผิดพลาดและความหลงผิดอย่างเป็นเอกฉันท์ และนี่ก็คือ ความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนไปจากคำพูดของท่านรอซูล ศ ที่กล่าวว่า
 لا تجتمع أمتي على ضلالة أو خطأ
\\\"ประชาชาติของฉัน จะไม่รวมตัวอยู่กับความหลงผิดหรือความผิดพลาด\\\"(สุนันอัตติรมิซีย์ ๔/๔๖๖๐ ฮะดีษที่ ๒๑๖๗ สุนันอิบนุมาญะฮ์ ๒/๑๓๐๓ ฮะดีษที่ ๓๙๕๐)
ซุนนีวาฮาบีย์บางคนก็เชื่อในเรื่องอิมามอัลมะฮ์ดีย์ แต่ยังมีข้อแย้งว่า อิมามอัลมะฮ์ดี อ ยังไม่เกิด และยังไม่มีปรากฏ แต่จะเกิดในยุคสุดท้ายก่อนวันสิ้นโลก และอิมามอัลมะฮ์ดีย์ ก็มิใช่ มุฮัมมัด บิน ฮะซัน อัลอัสกะรีย์ ตามที่ชีอะฮ์แอบอ้าง
คำโต้ตอบในประเด็นนี้ มิใช่ว่า ชีอะฮ์ อิมามียะฮ์ จะให้ไม่ได้ แต่ทว่า นี่คือ หลักศรัทธาที่มุสลิมทุกคนต้องศึกษา ต้องเรียนรู้ด้วยวิจารณญาณอันเที่ยงธรรมและด้วยความจริงใจของตนเอง

จึงขอเรียกร้องให้ซุนนีวะฮาบีย์ที่มีความประสงค์จะพิสูจน์และตรวจสอบหลักความเชื่อเกี่ยวกับอิมามอัลมะฮ์ดีย์ อ ได้อ่านหนังสือที่นักปราชญ์อะฮ์ลิซซุนนะฮ์ผู้มีชื่อเสียงบางท่านได้เขียนและอธิบายไว้ จะดีที่สุด
นักปราชญ์อะฮ์ลิซซุนนะฮ์เหล่านี้ให้การยอมรับว่า อัลมะฮ์ดีย์ คือ มุฮัมมัด บิน ฮะซัน อัลอัสกะรีย์ อ และท่านยังคงอยู่จนกระทั่งบัดนี้ แต่ความเชื่อเหล่านี้ขัดแย้งกับคำอธิบายของนักปราชญ์อะฮ์ลิซซุนนะฮ์ส่วนใหญ่ เพราะพวกเขาเห็นว่า ความเชื่ออย่างนี้จะสอดคล้องตรงกันกับมัซฮับชีอะฮ์
ผู้รู้ซุนนะฮ์วะฮาบีย์ น่าจะได้ศึกษาตำราของนักปราชญ์อะฮ์ลิซซุนนะฮ์ส่วนหนึ่ง ที่เชื่อถือต่ออิมามอัลมะฮ์ดีย์ เช่นเดียวกับความเชื่อของชีอะฮ์ ดังนี้
๑-มุฮัมมัด บิน ฏ็อลหะฮ์ อัชชาฟิอีย์(ฮ.ศ๕๘๒-๖๕๒) กล่าวไว้ในหนังสือมะฏอละบุซซูอูล บทที่ ๑๒
๒-มุฮัมมัด บิน ยูซุฟ บิน มุฮัมมัด อัลกันญีย์ อัชชาฟิอีย์(ฮ.ศ ๖๕๘)กล่าวไว้ในหนังสือ อัลบะยาน ฟี อัคบาร ศอฮิบุซซะมาน)บทสุดท้ายของหนังสือ
๓-อะลี บิน มุฮัมมัด หรือ อิบนุศิบาฆ อัลมาลิกีย์ (ฮ.ศ ๗๘๔-๘๕๕)หนังสือ อัลฟุซูลุลมุฮิมมะฮ์ บทที่ ๑๒
๔-ซิบฏ์ อิบนุ อัลเญาซีย์(ฮ.ศ ๕๘๑-๖๕๔) หนังสือ ตัซกิรอตุลคอวาศ
๕-อับดุลวะฮาบ อัชชะรอนีย์(ฮ.ศ ๘๙๘-๙๗๓) บทที่ ๖๕ หนังสือ อัลยะวากีต วัลญะวาฮิร ฟี อะกออิดิล อะกาบิร
๖-มะห์ยุดดีน  บิน อะรอบีย์(ฮ.ศ๕๖๐-๖๓๘)หนังสืออัลฟุตูฮาตุล มักกียะฮ์ บทที่ ๓๖๖
๗-ศอลาฮุดดีน อัศศ็อฟดีย์(ฮ.ศ ๖๙๖-๗๖๔) กล่าวไว้ในหนังสือ ชัรฮุดดาอิเราะฮ์
๘-มุฮัมมัด บิน อะลีย์ บิน ฏูลูน(ฮ.ศ ๘๘๐-๙๕๓) หนังสือ อัลอะอิมมะฮ์ อิษนาอะชัร



อ้างอิงจากเวบ  http://yomyai.igetweb.com/index.php
  •  

58 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้