Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

ธันวาคม 23, 2024, 05:44:52 ก่อนเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
  • สมาชิกทั้งหมด: 1,718
  • Latest: Haroldsmolo
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 3,703
  • หัวข้อทั้งหมด: 778
  • Online today: 72
  • Online ever: 200
  • (กันยายน 14, 2024, 01:02:03 ก่อนเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 25
Total: 25

หนึ่งวัน หนึ่งอายัต 1

เริ่มโดย L-umar, สิงหาคม 24, 2009, 09:35:03 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 3 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar


หนึ่งวัน หนึ่งอายัต 1

อัลเลาะฮ์  ญัลละ ญะลาล๊ะฮฺ ทรงตรัสว่า

وَأَنْذِرْ عَشِيرَتَكَ الْأَقْرَبِينَ

และเจ้าจงตักเตือนวงศาคณาญาติของเจ้าที่ใกล้ชิด


บทที่ 26 : 214


ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ได้ประกาศศาสนาอย่างลับ ๆ อยู่นานประมาณ 3 ปี หลังจากนั้นอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีพระบัญชาให้ท่านทำการประกาศศาสนาอย่างเป็นทางการต่อหน้าสาธารณชน หลังจาก 3 ปี ท่านญิบรออีลได้นำวะหฺยูมาบอกแก่ท่านนบี(ศ)ว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีบัญชาให้ท่านประกาศเชิญชวนญาติพี่น้องชั้นใกล้ชิด ตามที่อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อัชชุอะรออฺได้ประทานลงมายังท่านว่า

وَأَنْذِرْ عَشِيرَتَكَ الْأَقْرَبِينَ (214) وَاخْفِضْ جَنَاحَكَ لِمَنِ اتَّبَعَكَ مِنَ الْمُؤْمِنِينَ (215) فَإِنْ عَصَوْكَ فَقُلْ إِنِّي بَرِيءٌ مِمَّا تَعْمَلُونَ (216)

จงตักเตือนวงศาคณาญาติของเจ้าที่ใกล้ชิด และจงลดปลีกของเจ้าแก่บรรดาผู้ศรัทธาที่ปฏิบัติตามเจ้า  หากพวกเขาฝ่าฝืนเจ้า ก็จงกล่าวเถิดแท้จริงฉันขอปลีกตัวให้พ้นจากสิ่งที่พวกท่านปฏิบัติกันอยู่

บทที่ 26 : 214- 216


สาเหตุที่ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ได้เชิญชวนเครือญาติของท่านเป็นอันดับแรกก่อน ก็เนื่องจากว่า ถ้าหากบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับท่าน ยังไม่ยอมรับการมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า หรือการเป็นผู้นำของท่าน แน่นอนการเชิญชวนบุคคลอื่น ๆ ก็จะไม่เกิดผลใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะว่าบุคคลที่ใกล้ชิดกับท่านย่อมรู้ดีถึงความลับของท่าน ความประพฤติที่ดีและอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับตัวท่าน   ด้วยเหตุนี้สามารถกล่าวได้ว่า ท่านนบี (ศ) เป็นผู้ถือสาส์นจากพระผู้เป็นเจ้าจริง แม้ว่าจะมีผู้คนจำนวนน้อยนิดปฏิเสธก็ตาม


ด้วยสาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)จึงได้สั่งให้ท่านอะลีไปเชิญบรรดาญาติสนิทของท่านคือตระกูลบนีฮาชิมและบนีอับดุลมุฏลิบมาร่วมรับประทานอาหารกลางวัน และให้ท่านอะลีเป็นผู้จัดเตรียมอาหารเพื่อรับรองแขกให้พร้อม เมื่อแขกได้มาพร้อมเพรียงกันและร่วมรับประทานอาหารเสร็จแล้ว อบูละฮับ ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุงคนหนึ่งของท่านนบี (ศ) ได้กล่าวคำพูดที่ไม่ดีออกมาจึงทำให้การเชิญชวนของท่านต้องชะงักลง และแขกคนอื่น ๆ ก็ได้แยกย้ายกันกลับไป
ท่านนบี (ศ) ตัดสินใจเชิญชวนใหม่อีกครั้งในวันรุ่งขึ้น ซึ่งในครั้งนี้ไม่มีอบูละฮับเข้าร่วมด้วย ท่านนบี(ศ)ได้สั่งให้ท่านอะลีตระเตรียมอาหารเหมือนเดิม และสั่งให้เชิญบนีฮาชิมและบนีอับดุลมุฏลิบมาเป็นแขกอีกครั้งเพื่อร่วมรับประทานอาหารกลางวัน และฟังคำเทศนาของท่าน เมื่อรับประทานอาหารเสร็จเรียบร้อยท่านนบี (ศ) ได้กล่าวว่า ไม่มีใครในหมู่พวกท่านที่จะมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่พวกท่านเหมือนกับฉัน ฉันได้นำสิ่งที่ดีที่สุดทั้งโลกนี้และโลกหน้ามามอบให้แก่พวกท่าน พระผู้เป็นเจ้าได้มีบัญชามายังฉันให้เชิญชวนพวกท่านสู่การเคารพภักดีต่อพระเจ้าองค์เดียว และการเป็นศาสนทูตของฉัน (นุบูวัต)
 
فَأيُّكُمْ يُؤَازِرُني عَلى هَذَا الأمْرِ عَلَى أَن يَكُوْنَ أَخِي وَوَصِيِّي وَخَلِيْفَتِي فِيْكُمْ

มีใครในหมู่พวกท่านบ้างไหมที่จะช่วยเหลือฉัน เพื่อจะได้เป็นพี่น้องกับฉัน เป็นวะซี(ตัวแทน) และเป็นคอลีฟะฮฺ(ผู้สืบทอด)แทนฉัน

หลังจากนั้นท่านนบี (ศ) ได้หยุดเทศนาชั่วขณะหนึ่ง เพื่อรอดูว่าจะมีใครตอบรับคำเชิญชวนของท่านบ้าง แต่ไม่มีเสียงตอบรับในที่ประชุมเงียบสนิท ทุกคนต่างหลบหน้าท่าน  ไม่มีใครกล้าสบสายตาท่าน แต่ในที่นั้นมีผู้กล้าหาญเฉกเช่นท่านอะลีอยู่ด้วย ซึ่งตอนนั้นท่านมีอายุแค่ 16 ปี ท่านอะลีได้ลุกขึ้นยืนและกล่าวเสียงดังว่า..
โอ้ท่านรอซูลุลเลาะฮฺ ฉันจะเป็นผู้ช่วยเหลือท่านเองในการประกาศสาส์นแห่งพระผู้เป็นเจ้า พร้อมกันนั้นท่านได้จับมือของท่านนบีเพื่อเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงคำมั่นสัญญา หลังจากนั้นท่านนบีได้สั่งให้ท่านอะลีนั่งลง และท่านได้กล่าวซ้ำอีกครั้ง แต่ก็ไม่มีใครตอบรับเช่นเคย ท่านอะลีได้ลุกขึ้นยืน และประกาศให้คำมั่นสัญญาแก่ท่านนบีดังเดิม ท่าน นบีได้สั่งให้ท่านอะลีนั่งลงอีกครั้ง และท่านได้ประกาศเป็นครั้งที่สามแต่ก็ไม่มีเสียงตอบรับเหมือนเดิม นอกจากคำมั่นสัญญาของท่านอะลี ซึ่งท่านได้ประกาศยืนยันที่จะเป็นผู้ช่วยเหลือท่านนบี ในเวลานั้นเองท่านนบีได้จับที่ต้นคอของท่านอะลี และกล่าวว่า

إنَّ هذا أخِي وَوَصيِّي وخَلِيفَتِي فِيكُمْ فَاْسْمَعُوْا لَهُ وَأَطِيْعُوْا
قَالَ فَقَامَ الْقَوْمُ يَضْحَكُوْنَ وَيَقُوْلُوْنَ لِأَبِيْ طَالِبٍ قَدْ أَمَرَكَ أَن تَسْمَعَ لِاِبْنِكَ وَتُطِيْعُ

แท้จริงชายคนนี้คือ พี่น้องของฉัน คือวะซีของฉัน และเป็นคอลีฟะฮฺ(ตัวแทน)ของฉันในหมู่พวกท่าน  ดังนั้นขอให้พวกท่านจงเชื่อฟังและจงปฏิบัติตามเขา

(ผู้รายงาน)เล่าว่า  คนกลุ่มนั้นได้ลุกขึ้นพลางหัวเราะและพวกเขากล่าวกับท่านอบูตอลิบ(บิดาอะลี)ว่า แท้จริงเขา(มุฮัมมัด)ได้สั่งให้ท่านเชื่อฟังและปฏิบัติตามบุตรชายท่าน


อ้างอิงจากหนังสือ

ตัฟสีรอัฏ-ฏ็อบรี  โดยมุฮัมมัดบินญะรีร อัฏ-ฏ็อบรี เล่ม 19 : 410  
ตัฟสีรอิบนิกะษีร   โดยอิบนิกะษีร เล่ม 6 : 169  
ตารีคุลอุมัมวัลมุลูก( ตารีคฏ็อบรี ) โดยมุฮัมมัดบินญะรีร อัฏ-ฏ็อบรี เล่ม 1 : 542อัลกามิล ฟิต-ตารีค โดยอิบนิอะษีร เล่ม2 : 63


เราจะพบรายงานลักษณะเช่นนี้ในหนังสืออัลมุสนัดของอิม่ามอะหมัด
حَدَّثَنَا أَسْوَدُ بْنُ عَامِرٍ حَدَّثَنَا شَرِيكٌ عَنِ الْأَعْمَشِ عَنِ الْمِنْهَالِ عَنْ عَبَّادِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ الْأَسَدِيِّ عَنْ عَلِيٍّ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ قَالَ :
لَمَّا نَزَلَتْ هَذِهِ الْآيَةُ { وَأَنْذِرْ عَشِيرَتَكَ الْأَقْرَبِينَ }
قَالَ جَمَعَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مِنْ أَهْلِ بَيْتِهِ فَاجْتَمَعَ ثَلَاثُونَ فَأَكَلُوا وَشَرِبُوا قَالَ فَقَالَ لَهُمْ مَنْ يَضْمَنُ عَنِّي دَيْنِي وَمَوَاعِيدِي وَيَكُونُ مَعِي فِي الْجَنَّةِ وَيَكُونُ خَلِيفَتِي فِي أَهْلِي فَقَالَ رَجُلٌ لَمْ يُسَمِّهِ شَرِيكٌ يَا رَسُولَ اللَّهِ أَنْتَ كُنْتَ بَحْرًا مَنْ يَقُومُ بِهَذَا قَالَ ثُمَّ قَالَ الْآخَرُ قَالَ فَعَرَضَ ذَلِكَ عَلَى أَهْلِ بَيْتِهِ فَقَالَ عَلِيٌّ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ أَنَا

มุสนัดอะหมัด หะดีษที่ 841



จากรายงานดังกล่าวจะสังเกตได้ว่า ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ) ได้แต่งตั้งคอลีฟะฮฺของท่านตั้งแต่เริ่มต้นเผยแผ่ศาสนาอิสลาม ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีผู้ใดยอมรับอิสลามเสียด้วยซ้ำไป แต่ท่านต้องการจะบอกว่าตำแหน่งผู้นำในอิสลามเป็นตำแหน่งทีมีความสำคัญอย่างยิ่ง  ด้วยเหตุนี้ วันประกาศตัวว่า ท่านเป็นศาสนทูตกับการดำรงตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺของท่านอะลี (อ.) ภายหลังจากท่านคือวันเดียวกัน หมายถึง วันที่ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ได้กล่าวกับญาติพี่น้องของท่านว่า โอ้ประชาชาติทั้งหลาย ฉันคือศาสนทูตแห่งพระผู้เป็นเจ้า เป็นวันเดียวกันกับทีท่านได้ประกาศว่า อะลี คือพี่น้อง วะซี และคอลีฟะฮฺของฉันในหมู่พวกท่านภายหลังจากฉัน ดังนั้น พวกท่านจงเชื่อฟังปฏิบัติตามเขา

สรุป :  ตำแหน่งนบูวัตและอิมามะฮฺในอิสลามไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ด้วยเหตุนี้ท่านนบี(ศ) จึงกล่าวว่า คัมภีร์กุรอ่านกับอะฮ์ลุลบัยต์จะไม่แยกออกจากกันนั่นเอง.
  •  

25 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้