Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

ธันวาคม 22, 2024, 01:44:56 หลังเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
  • สมาชิกทั้งหมด: 1,718
  • Latest: Haroldsmolo
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 3,699
  • หัวข้อทั้งหมด: 778
  • Online today: 54
  • Online ever: 200
  • (กันยายน 14, 2024, 01:02:03 ก่อนเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 61
Total: 61

เชิญศึกษาวิชา ริญาล ชีอะฮ์

เริ่มโดย L-umar, กุมภาพันธ์ 16, 2011, 12:54:02 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar

อัสสลามุอะลัยกุมฯ ทุกท่าน  

ต่อไปนี้เราจะทยอยนำบทความเรื่อง

อิลมุลริญาล  วัด – ดิ รอยะฮ์   ( عِلْمُ الرِّجاَلِ  وَ عِلْمُ الدِّراَيَةِ )  ของชีอะฮ์

มาให้ท่านได้ศึกษากันไปเรื่อยๆจนจบ อินชาอัลเลาะฮ์  




วิชา ริญาล ( عِلْمُ الرِّجاَلِ )

บทเรียนที่  หนึ่ง



ก่อนเข้าสู่รายละเอียด  ตามธรรมเนียมทั่วไปต้องขอกล่าวถึงสี่หัวข้อดังต่อไปนี้ก่อนเป็นอันดับแรกคือ

1 - นิยาม  วิชาริญาล
2 - เนื้อหาของวิชาริญาล
3 - ปัญหาต่างๆของวิชาริญาล
4 - เป้าหมายของวิชาริญาล



1. นิยามวิชา ริญาล

อุลมุล ริญาล  คือวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับสถานภาพนักรายงานฮะดีษ  ทั้งตัวตนและคุณสมบัติ(ของเขา)
ตัวตนของนักรายงาน หมายถึง ทำความรู้จักชื่อของพวกเขาและชื่อบิดาของพวกเขา(คือชื่อและนามสกุล)
คุณสมบัติของนักรายงาน หมายถึง ทำความรู้จัก คุณสมบัติของพวกเขา ซึ่งจะเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการยอมรับฮะดีษของเขาหรือปฏิเสธรายงานฮะดีษของเขา
กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ  เป็นการศึกษาถึงสถานภาพของนักรายงานฮะดีษนั้นๆว่า ตัวเขามีอะดาละฮ์(คุณธรรม)ไหม  เขาเป็นที่ยกย่องหรือถูกเมิน  หรือเขาไม่มีตัวตน(มัจญ์ฮู้ล)
และยังศึกษาถึงรายชื่อบรรดาอาจารย์ของพวกเขา  ตลอดจนลูกศิษย์ลูกหาของพวกเขา  ระดับชั้นของพวกเขาว่าอยู่ในยุคไหนในการรายงานฮะดีษ และอื่นๆเป็นต้น


2. เนื้อหาของวิชาริญาล

ในเมื่อวิชาริญาลคือ ศาสตร์ที่ค้นคว้าเกี่ยวกับสถานภาพของนักรายงานฮะดีษ  ฉะนั้นเนื้อหาของมันคือ  นักรายงานฮะดีษที่ถูกกล่าวถึงในสายรายงาน(สะนัด)จนกระทั่งไปสิ้นสุดที่ท่านรอซูลลุลลอฮ์(ศ) ท่านหญิงฟาติมะฮ์ และบรรดาอิม่ามทั้งสิบสอง (อ)


3. ปัญหาต่างๆของวิชาริญาล

สภาพต่างๆที่ปรากฏขึ้นกับตัวของนักรายงานฮะดีษ ซึ่งจะเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการยึดถือรายงานฮะดีษของเขาเช่น  
ความษิเกาะฮ์ (ความน่าเชื่อ) , ความดออีฟ (ความไม่แข็งแรง) , การถูกตำหนิ หรือสภาพอื่นๆเป็นต้น


4. เป้าหมายของวิชาริญาล

คือการยึดถือสภาพของนักรายงานฮะดีษ ตามความน่าเชื่อถือและความไม่น่าเชื่อถือ ถัดมาคือการจำแนกผู้ที่ถูกยอมรับออกจากนักรายงานคนอื่นๆ(ที่ไม่ถูกยอมรับ)
  •  

L-umar

วิชา  ดิรอยะฮ์  (عِلْمُ الدِّراَيَةِ   )


ดิรอยะฮ์  คือวิชาที่ศึกษาถึงสภาพที่เกิดขึ้นกับฮะดีษทางด้านสะนัดและมะตั่น(สายรายงานและตัวบทความหมายฮะดีษ)

คำ " สะนัด " ในที่นี้หมายถึง  แหล่งรวมนักรายงานฮะดีษ โดยจะไม่ไปพิจารณาเป็นรายบุคคล เมื่อพิจารณาสะนัดแล้วจากนั้นจะเรียกสะนัดนั้นๆว่า  

มุตตะซิล (متصل) สายรายงานที่ติดต่อกันมาโดยตลอด
มุงก่อเตี๊ยะอ์ (منقطع ) สายรายงานที่ขาดตอน
ซอแฮะฮ์ (صحيح) สายรายงานที่ถูกต้อง
ดออีฟ (ضعيف) สายรายงานที่ไม่แข็งแรง
มุสนัด (مسند) สายรายงานที่เชื่อต่อกันมา
มุรซัล (مرسل) สายรายงานที่ไม่เชื่อมต่อกัน และอื่นๆเป็นต้น


กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ  เป้าหมายที่ติดตามมาหลังวิชาดิรอยะฮ์คือ การยึดถือบนความถูกต้อง(ซอฮิ๊ฮ์)และไม่ถูกต้องของรายงานนั้นๆ ซึ่งมันตกอยู่ภายใต้การศึกษาแหล่งรวมของสะนัด(สายรายงาน)อย่างครบถ้วนสมบูรณ์เสียก่อน

ตรงกันข้ามกับเป้าหมายที่ติดตามมาหลังวิชาริญาล เพราะมันคือการทำความรู้จักสภาพของนักรายงานฮะดีษแต่ละคนแบบเป็นรายบุคคล


คำ " มะตั่น " หมายถึงสิ่งที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากท่านรอซูลลุลลอฮ์(ศ) ท่านหญิงฟาติมะฮ์ และบรรดาอิม่ามทั้งสิบสอง (อ) หรือจากบุคคลอื่นๆ
โดย(มะตั่น)ตัวบทฮะดีษนั้นอาจจะมีลักษณะที่เป็นหลักฐาน  หรือมีความหมายแบบซอเฮ็ร หรือมีใจความแบบสังเขป หรือมีความหมายแบบชัดแจ้ง หรือมีความหมายแบบเป็นนัยยะ(ไม่ชัดเจน)

หากมีคนกล่าวว่า วิชาริญาลนั้นศึกษาในด้านสะนัด(สายรายงานฮะดีษ)  ส่วนวิชาดิรอยะฮ์นั้นศึกษาในด้านมะตั่น(ตัวบท) คำพูดนี้ห่างไกลมาก เพราะวิชาดิรอยะฮ์ก็ศึกษาสะนัดฮะดีษเช่นกันเหมือนวิชาริญาล
  •  

L-umar

ความแตกต่างระหว่าง วิชาริญาล กับ ดิรอยะฮ์


วิชาดิรอยะฮ์ จะพิจารณาสะนัด(สายรายงาน)โดยรวมทั้งหมด แล้ววิจัยถึงสภาพที่เกิดขึ้นกับมัน  


ส่วนวิชาริญาล จะไปวิจัยนักรายงานในสายรายงานฮะดีษเป็นรายบุคคล โดยเจาะรายละเอียดลงไปถึงคุณสมบัติว่าแต่ละคนได้รับการยกย่องหรือถูกตำหนิ
  •  

L-umar

อุซูลุล ริญาล ทั้งห้า (الأُصُوْلُ الرِّجاَلِيَّةِ الْخَمْسَة  )


ในที่นี้หมายถึง ตำราหลักของชีอะฮ์ที่ว่าด้วยเรื่องชีวประวัตินักรายงานฮะดีษซึ่งมีอยู่ด้วยกันห้าเล่ม

บรรดาสาวก(ซอฮาบะฮ์)ของบรรดาอิม่าม(อ)ได้ริเริ่มเรียบเรียงตำราริญาลเอาไว้ตั้งแต่ในสมัยที่พวกเขาใช้ชีวิตอยู่กับบรรดาอิม่าม(อ)แล้ว   เพียงแต่ว่าตำราเหล่านั้นมาไม่ถึงพวกเรา ส่วนตำราหลักๆเกี่ยวกับชีวประวัตินักรายงานฮะดีษ(อุซูลริญาล) ที่เรียบเรียงขึ้นใกล้ๆกับยุคของบรรดาอิม่าม(อ)ที่เราพบมีดังต่อไปนี้


หนึ่ง -  หนังสือริญาล  กัชชี่  

ผู้เรียบเรียงคือ เชคมุฮัมมัด บินอุมัร บินอับดุลอะซีซ รู้จักกันในนาม " อัชกัชชี่ " มรณะฮ.ศ.340  
กัช เป็นตำบลหนึ่งของเมืองสะมัรก็อนด์  อัชกัชชี่เป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือคนหนึ่งในการรายงานและเป็นนักปราชญ์คนหนึ่ง เขามีความชำนาญเกี่ยวกับฮะดีษและชีวประวัตินักรายงานฮะดีษ   เขาเป็นลูกศิษย์คนหนึ่งของเชคมุฮัมมัด บินมัสอู๊ด รู้จักกันในนาม " อัลอัยยาชี่ " เจ้าของตัฟสีรอัยยาชี่ มรณะฮ.ศ.320  
เชคตูซี่ได้สรุปหนังสือริญาลกัชชี่ไว้และตั้งชื่อว่า " อิคติยารุ มะอ์ริฟะติล ริญาล "  จุดเด่นของริญาลกัชชี่คือ มีการนำรายงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับตัวนักรายงานมากล่าวไว้  เรียบเรียงตามลำดับชั้นเริ่มต้นด้วยซอฮาบะฮ์ของท่านรอซูล(ศ)  สาวกของบรรดาอิม่าม จนไปสิ้นสุดที่สาวกของอิม่ามอาลีอัลฮาดีและอิม่ามฮาซัน อัสการี่(อิม่ามที่ 10 และ 11)


สอง -  หนังสือริญาล  นะญาชี่  

ผู้เรียบเรียงคือ เชคอะหมัด บินอาลี บินอะหมัด บินอัลอับบาส อัลอะสะดี รู้จักกันในนาม " อบุลอับบาส อันนะญาชี่ "  เกิด 372 มรณะฮ.ศ.450
เขาได้ศึกษาร่ำเรียนกับเชคมูฟีด (เกิด 336 - 413)ถัดมาได้ไปเรียนกับสัยยิดมุรตะฎอ( เกิด 355 - 436) เชคนะญาชี่เป็นผู้เชี่ยวชาญต่อการวิพากษ์วิจารณ์คุณสมบัติของนักรายงานฮะดีษ และเขายังเป็นปราชญ์ชีอะฮ์ผู้ทรงคุณวุฒิคนหนึ่ง  เขาได้รวบรวมรายชื่อบรรดาชีอะฮ์ที่เป็นนักแต่งตำราพร้อมกับได้นำเสนอสถานถาพของนักรายงานฮะดีษและมัซฮับของเขาเอาไว้ในตำราเล่มนี้โดยส่วนมาก


สาม -  หนังสือริญาล  ตูซี่  

ผู้เรียบเรียงคือ เชคมุฮัมมัด บินอัลฮาซัน อัตตูซี่ เกิด 385 มรณะฮ.ศ.460 รู้จักกันในนาม " ชัยคุต – ตออิฟะฮ์  "
เชคตูซี่ได้เรียบเรียงในตำราของเขาเป็นลำดับชั้น โดยแบ่งเป็นหมวด,หมู่ดังนี้คือ รายชื่อซอฮาบะฮ์ของท่านนะบี(ศ) ถัดมารายชื่อสาวกของอิม่ามอาลี ถัดรายชื่อสาวกของบรรดาอิม่าม  สุดท้ายคือรายชื่อนักรายงานที่ไม่เคยรายงานฮะดีษโดยตรงจากบรรดาอิม่าม(อ)

 
สี่ -  หนังสือฟะฮ์ร็อสต์ เชคตูซี่  

เป็นหนังสือริญาลอีกเล่มหนึ่งของเชคตูซี่ ( 385 – 460 ) เชคตูซี่ได้รวบรวมรายชื่อบรรดานักรายงานฮะดีษที่พวกเขามีตำราที่เรียกกันว่า " อัศล์ " หรือ " ตัศนีฟ ฟิลฮะดีษ " ในหนังสือเล่มนี้มีรายชื่อผู้ที่เรียบเรียงตำราฮะดีษชีอะฮ์ถึงประมาณเก้าร้อยคน


ห้า -  หนังสือริญาล  อัลบัรกี    

ผู้เรียบเรียงตำราเล่มนี้ อาจเป็นไปได้ทั้งสามบุคคลคือ  หนึ่ง,เชคอะหมัด บินมุฮัมมัด บินคอลิด อัลบัรกี  มรณะ ฮ.ศ. 274  สอง,บุตรชายของเขาคือ อับดุลลอฮ์ บินอะหมัด (บินมุฮัมมัด บินคอลิด อัลบัรกี)   สาม,หลานชายของเขาคือ อะหมัด บินอับดุลลอฮ์ (บินอะหมัด บินมุฮัมมัด บินคอลิด อัลบัรกี)

เชคบัรกีหรือบุตรชายหรือหลานของเขาได้เรียบเรียงตำราริญาลเล่มนี้ไว้เพียงรายชื่อซอฮาบะฮ์นะบี(ศ)และรายชื่อสาวกของบรรดาอิม่ามเท่านั้น แต่เขาไม่ได้วิจารณ์ถึงคุณสมบัติของนักรายงานฮะดีษเหล่านั้นไว้

หนังสือทั้งห้าเล่มนี้ถือได้ว่า เป็นตำราหลักทางด้านริญาลชีอะฮ์  ซึ่งนักปราชญ์ที่เชี่ยวชาญสาขาริญาลรุ่นถัดมาล้วนได้รับประโยชน์จากตำราทั้งห้านี้ทั้งสิ้นอาทิเช่น


สัยยิดอิบนุตอวูซ อัลฮิลลี่  มรณะ ฮ.ศ. 673

ได้รวบรวมตำราริญาลทั้งห้าข้างต้นมาไว้ในเล่มเดียวกันและได้ตั้งชื่อใหม่ว่า " ฮัลลุลอิชกาล ฟีมะอ์ริฟะติลริญาล "  (حَلُّ الْإشْكاَلِ فِيْ مَعْرِفَةِ الرِّجاَلِ)  ถัดมาลูกศิษย์ของสัยยิดอิบนุตอ   วูสอีกสองคนได้แต่งตำราริญาลขึ้นคือ


อัลลามะฮ์ฮิลลี่

ชื่อเต็ม อัลฮาซัน บินยูสุฟ  บินอาลี บินอัลมุเตาะฮัร เกิด (648 - 726 ฮ.ศ.)  เจ้าของหนังสือริญาล อัลลามะฮ์ หรือที่เรียกกันว่า " คุลาเศาะตุล อักวาล "


เชคอิบนุดาวูด

ชื่อเต็ม เชคตะกียุดดีน อัลฮาซัน บินอาลี บินดาวูด อัลฮิลลี่ (647 - 707 ฮ.ศ.)  เจ้าของหนังสือริญาล  อิบนิดาวูด
  •  

L-umar

บทเรียนที่  สอง

ความสำคัญของวิชาริญาล(الحاجة إلى علم الرجال)



หลักความเชื่อและหลักการปฏิบัติในอิสลามนั้นต้องอาศัยแหล่งอ้างอิงหลักๆมาจาก

หนึ่ง - คัมภีร์อัลกุรอ่าน  

สอง - ฮะดีษที่
ได้รับรายงานมาจากท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)และบรรดาอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์(อ)

กรณีอายัตกุรอ่านที่ชัดเจน(มุห์กะม๊าต)คงไม่เป็นปัญหา แต่อายัตที่เป็นนัยยะ(มุตะบิฮ๊าต)นั้น ต้องอาศัยการตัฟสีรจากท่านนะบี(ศ)และอะฮ์ลุลบัยต์ซึ่งนั่นคือฮะดีษ เช่นกันการนำฮะดีษมาวิเคราะห์เป็นฮุก่มต่างๆก็ต้องพึ่งวิชาริญาล  ฉะนั้นวิชาริญาลคือมุก็อดดิม๊าต(อารัมภบทแรกในการวิเคราะห์ฮะดีษ)  หากปราศจากความรู้เรื่องริญาล(ชีวประวัตินักรายงานฮะดีษ) ก็ไม่อาจทำความรู้จักสถานนักรายงานฮะดีษได้ เมื่อเป็นเช่นนั้นบรรดานักปราชญ์ระดับมุจญ์ตะฮิดก็ไม่สามารถนำฮุก่มต่างๆออกมาจากฮะดีษได้ เพราะฉะนั้นจึงถือได้ว่า วิชาริญาลมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

ขอกล่าวเสริมตรงนี้ว่า  กุตุบอัรบะอะฮ์หมายถึง ตำราฮะดีษหลักสี่เล่มของชีอะฮ์คือ อัลกาฟี, อัลฟะกีฮ์, อัตตะฮ์ซีบและอัลอิสติบศ็อรนั้นมีทั้งฮะดีษที่เชื่อถือได้และเชื่อถือไม่ได้ปะปนกันอยู่มากมาย อีกทั้งเจ้าของตำราทั้งสี่คือเชคกุลัยนี เชคศอดูกและเชคตูซี่นั้นได้กำหนดคำนิยามพิเศษไว้ในตำราของพวกเขาโดยเฉพาะ ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจนิยามของพวกเขาอีกด้วย
  •  

L-umar

ประโยชน์ของวิชาริญาล


ประการที่หนึ่ง –

ทำให้สามารถแยกแยะนักรายงานที่ษิเกาะฮ์(เชื่อได้)ออกจากนักรายงานที่เชื่อไม่ได้

วิชาอิลมุลอุศูล(ประมวลศาสนบัญญัติ)ได้ยืนยันว่า ห้ามปฏิบัติสิ่งใดโดยปราศจากความรู้ความแน่ใจ หมายถึงด้วยหลักฐานทั้งสี่คือ

1.   กิตาบ (อัลกุรอ่าน)
2.   ซุนนะฮ์ (ฮะดีษท่านนะบีและบรรดาอิม่าม)
3.   อักล์ (สิ่งกินกับสติปัญญา)
4.   อิจญ์มาอ์ (มติของปวงปราชญ์)
แต่คำพูดของนักรายงานฮะดีษ จะเชื่อ

ถือได้แค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับเราจะต้องย้อนกลับไปยังวิชาริญาลซึ่งทำหน้าที่รับผิดชอบในการอธิบายสถานภาพของนักรายงานทั้งหลายว่า เชื่อถือได้หรือเชื่อถือไม่ได้

คำพูดของนักรายงานที่ษิเกาะฮ์จะเป็นสิ่งที่ควบคุมฮะดีษไปในตัวว่า มันคือรายงานที่ได้ยินมาจากท่านนะบี(ศ)และบรรดาอิม่าม(อ)อย่างแน่นอน แต่เราจะไม่มีวันรู้จักคุณสมบัตินักรายงานฮะดีษเหล่านั้นได้เลย นอกจากจะกลับไปศึกษาสถานภาพของพวกเขาในตำราริญาลเสียก่อน  

เพราะฉะนั้นการจะเชื่อถือฮะดีษบทหนึ่งหรือจะปฏิบัติตามฮะดีษบทหนึ่ง ก็จำเป็นจะต้องรู้จักสถานะนักรายงานที่เล่าถึงฮะดีษบทนั้นให้ครบขบวนความอย่างสมบูรณ์


ประการที่สอง –


สามารถแก้ไขปัญหาของฮะดีษสองบทที่ขัดแย้งกันได้ โดยให้ย้อนกลับไปพิจารณาคุณสมบัติของนักรายงาน
ในกรณีที่ว่า มีฮะดีษสองบท พูดถึงเรื่องเดียวกันแต่มีเนื้อหาขัดแย้งกันไม่สามารถรวมทั้งสองเข้าด้วยกันได้  สิ่งสำคัญคือให้เราย้อนกลับไปดูคุณสมบัติของผู้รายงานทั้งสองฮะดีษว่า ในสองคนนั้นใครมี ความน่าเชื่อ ความยุติธรรม ความรู้ ความซื่อสัตย์ความเคร่งครัดศาสนามากกว่ากัน ก็ให้ยึดผู้ที่มีคุณสมบัติเหนือกว่าเป็นหลักในการยึดฮะดีษ

ยกตัวอย่าง

อุมัร บินฮันเซาะละฮ์ได้ถามอิม่ามศอดิก(อ)เกี่ยวกับชายสองคนได้พิพาทกันในเรื่องศาสนาและมรดก ทั้งสองจึงนำความไปให้ผู้พิพากษาศาสนาตัดสิน ซึ่งการตัดสินของผู้พากษาทั้งสองก็มีความขัดแย้งไม่ตรงกันอันมีสาเหตุมาจากฮะดีษสองบท  

ดังนั้นอิม่ามศอดิก(อ)จึงตอบว่า

الْحُكْمُ مَا حَكَمَ بِهِ أَعْدَلُهُمَا وَ أَفْقَهُهُمَا وَ أَصْدَقُهُمَا فِي الْحَدِيثِ وَ أَوْرَعُهُمَا وَ لَا يَلْتَفِتْ إِلَى مَا يَحْكُمُ بِهِ الْآخَرُ

ฮุก่ม(การตัดสินนั้น)คือสิ่งที่หนึ่งในสองคนนั้นที่ยุติธรรมที่สุด  มีความรู้มากที่สุด  มีความซื่อสัตย์ที่สุดในการรายงานฮะดีษเป็นคนตัดสินเรื่องนั้น และมีความวะเราะฮ์ที่สุดในสองคนนั้น และไม่ต้องไม่สนใจยังการตัดสินของอีกคนหนึ่ง(ที่มีคุณสมบัติด้อยกว่า)  


ดูอัลกาฟี เล่ม 1 : 68 ฮะดีษ 10  สถานะซอฮิ๊ฮ์


ถึงแม้ว่าฮะดีษข้างต้นได้เล่าถึงคุณสมบัติของผู้พิพากษา(กอฎีหรือฮากิม) แต่กอฎีในสมัยนั้นก็คือบรรดานักรายงานฮะดีษนั่นเอง ด้วยเหตุนี้นักปราชญ์จึงอธิบายคุณสมบัติของผู้พิพากษาไปยังคุณสมบัติของนักรายงานฮะดีษเช่นกัน
และในกรณีนี้ไม่ยกเว้นแม้กระทั่งนักรายงานฮะดีษคนนั้นจะเป็นผู้พิพากษาหรือไม่ก็ตามก็ถือว่าให้พิจารณาไปตามนี้


ประการที่สาม -

ปรากฏการกุและหมกเม็ดเกี่ยวกับฮะดีษ

ظاهرة الوضع والتدليس في الحديث

หากท่านใดก็ตามได้อ่านตำราประวัติศาสตร์การบันทึกฮะดีษ ย่อมจะพบเรื่องราวของพวกกุฮะดีษ พวกปลอมฮะดีษ พวกหมกเหม็ดฮะดีษอย่างจงใจทำเพื่อโกหกอ้างอิงต่ออัเลาะฮ์และรอซูลของพระองค์ท่ามกลางหมู่บรรดานักรายงานฮะดีษ ขณะเดียวกันนี้จะถูกต้องได้อย่างไรสำหรับนักปราชญ์ขั้นมุจญ์ตะฮิดที่จะฟัตวาเรื่องราวศาสนาด้วยฮะดีษที่ไม่ได้ทำการตรวจสอบถึงคุณสมบัติของนักรายงานฮะดีษบทนั้น โดยไม่แยกแยะระหว่างพวกกุพวกปลอมฮะดีษออกจากพวกนักรายงานที่เชื่อถือได้  ซึ่งการที่จะกระทำเช่นนั้นได้มีเพียงศาสตร์เดียวเท่านั้นคือ วิชาริญาล

ฮะดีษบทหนึ่งที่ยืนยันว่า  มีคนบางส่วนได้กุคำพูดของเขาขึ้นเองแล้วแอบอ้างว่ามันคือคำพูดของบรรดาอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์ ดังมีริวายัตเล่าว่า

سعد بن عبدالله قال : حدثني محمد بن خالد الطيالسي ، عن عبدالرحمان بن أبي نجران ، عن ابن سنان ، قال : قال أبوعبدالله (عليه السلام) :
إناَّ أَهْلُ بَيْتٍ صاَدِقُوْنَ لاَ نَخْلُو مِنْ كَذاَّبٍ يَكْذِبُ عَلَيْناَ ، فَيُسْقَطُ صِدْقُناَ بِكِذْبِهِ عَلَيْناَ عِنْدَ الناَّسِ . كاَنَ رَسُولُ الله (صلى الله عليه وآله) أصْدَقُ الْبَرِيَّةِ لَهْجَةً ، وَكاَنَ مُسَيْلَمَةُ يَكْذِبُ عَلَيْهِ  

สะอัด บินอับดุลลอฮ์เล่าว่า มุฮัมมัด บินคอลิด อัตต่อยาลิซีเล่าให้ฉันฟังจาก อับดุลเราะห์มาน บินอบีนัจญ์รอน จากอิบนุสินานเล่าว่า :

อิม่ามศอดิก(อ)กล่าวว่า

พวกเรา อะฮ์ลุลบัยต์นะบีคือ ผู้สัตย์จริง แต่เราก็หลีกไม่พ้นจากคนโกหกที่มุสาใส่เรา ทำให้คำพูดของเราอันสัตย์จริงต้องตกไปในหมู่มนุษย์เพราะความมุสาของเขาที่พาดพิงมายังพวกเรา  ปรากฏว่าท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)คือบุคคลที่มีวาจาสัตย์จริงที่สุดแล้วในหมู่มนุษย์ (แต่ก็ยังมีคนอย่าง)มุซัยละมะฮ์โกหกอ้างอิงให้กับท่านอีก...


ดูบิฮารุลอันวาร เล่ม 2 : 217 ฮะดีษ 11

เนื่องจากมีการกุฮะดีษขึ้น และยังมีการเอาคำพูดของตนเองมาปะปนกับคำพูดของบรรดาอิม่าม(อ)   ดังนั้นอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์นะบี(อ)จึงออกคำสั่งให้บรรดาชีอะฮ์ได้นำเอาฮะดีษ(วจนะ)เหล่านั้นไปเปรียบเทียบกับกิตาบและซุนนะฮ์(หมายถึงคำพูด การกระทำและการรับรองของท่านนะบีฯ)  หากตรวจสอบดูแล้วว่า ฮะดีษบทไหนสอดคล้องตรงกับกิตาบหรือซุนนะฮ์นะบีก็ให้รับมันไว้ แต่หากมันไปขัดแย้งกับทั้งสอง ก็ให้โยนมันทิ้งไปเสีย


ประการที่สี่ –

วิถีการดำเนินชีวิตของบรรดาอุละมาอ์ (سيرة العلماء)

บรรดานักปราชญ์ชีอะฮ์ผู้โด่งดังตั้งแต่ในสมัยบรรดาอิม่ามจนมาถึงปัจจุบันนี้ล้วนใช้วิธีการเดียวกันทั้งสิ้นในการตรวจสอบฮะดีษ กล่าวคือพวกเขาจะย้อนกลับไปศึกษาชีวประวัติของบรรดานักรายงานฮะดีษรวมทั้งพิจารณาถึงคุณสมบัติของพวกเขาเหล่านั้นอย่างละเอียดแยบยล ซึ่งนั่นคือบรรทัดฐานของปวงปราชญ์ในการรับฮะดีษมาใช้มาปฏิบัติ

มีสาวกบรรดาอิม่ามจำนวนหนึ่งได้เรียบเรียงตำราอิลมุลริญาลไว้ในสมัยที่อะฮ์ลุลบัยต์(อ)ยังมีชีวิตอยู่ ยกตัวอย่างเช่น

1.อับดุลเลาะฮ์ บินญะบะละฮ์ อัลกินานี มรณะ ฮ.ศ. 219 เป็นสาวกของอิม่ามศอดิก(อ)

2.อัลฮาซัน บินมะห์บูบ (149 - 224 ฮ.ศ.) เป็นสาวกของอิม่ามอบุลฮาซัน อัลริฎอ(อ)

3.อาลี บินฮาซัน บินฟัฎฎ็อล (203 - 270 ฮ.ศ.)  เป็นสาวกของอิม่ามฮาดีและอิม่ามฮาซันอัสการี (อ)


และการเรียบเรียงตำราริญาลนี้มีมาตั้งแต่สมัยของอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์ที่เขียนขึ้นท่ามกลางสาวกของพวกเขา และในหมู่นักปราชญ์ชีอะฮ์ยังคงแต่งตำรานี้มาจนถึงปัจจุบัน
  •  

L-umar

บทเรียนที่  สาม

ข้ออ้างสำหรับผู้ที่ปฏิเสธความสำคัญของวิชาริญาล



หลังจากที่ท่านได้ทราบเหตุผลของฝ่ายที่กล่าวว่า วิชาริญาล มีความสำคัญอย่างยิ่งในการ อิสตินบ๊าฏ อะห์กาม(การวิเคราะห์หรือประมวลศาสนบัญญัติ)ไปแล้ว  
ทีนี้เราจะมาฟังฝ่ายปฏิเสธในเรื่องนี้บ้างว่า ฝ่ายค้านได้อ้างเหตุผลปฏิเสธในเรื่องนี้ไว้อย่างไร


ข้ออ้างที่หนึ่ง –  ฝ่ายปฏิเสธความสำคัญของวิชาริญาลอ้างว่า


ฮะดีษที่บันทึกอยู่ใน " กุตุบอัรบะอะฮ์ " คือหนังสือ อัลกาฟี, อัลฟะกีฮ์, อัตตะฮ์ซีบและอัลอิสติบศ็อรนั้น" เชื่อถือได้แน่นอน " ว่ามาจากบรรดาอิม่าม(อ)
พวกเขาจึงมองว่า  จะไปค้นคว้าตรวจสอบชีวประวัตินักรายงานฮะดีษในตำราทั้งสี่ว่า  นักรายงานคนนี้เชื่อได้ คนนั้นเชื่อไม่ได้เพื่ออะไร เพราะในเมื่อพวกเขาเชื่อว่าฮะดีษเหล่านั้นคือคำพูดที่ได้รับรายงานมาจากบรรดาอิม่าม(อ)

۞ คำตอบสำหรับเรื่องนี้คือ  ข้ออ้างของฝ่ายค้านนี้ ปราศจากเหตุผลและหลักฐาน ถ้าหากคนใดก็ตามได้ศึกษาได้อ่านประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องฮะดีษเขาจะไม่กล้ากล่าวเช่นนั้นเด็ดขาด
ทีนี้ขอให้เราลองย้อนไปดูหนังสืออัลกาฟี ที่เชคมุฮัมมัด บินยะอ์กูบ อัลกุลัยนี มรณะฮ.ศ. 329 ได้ใช้เวลารวบรวมถึงยี่สิบปีเต็ม ซึ่งนับเป็นตำราฮะดีษอันทรงคุณค่ายิ่งเล่มหนึ่งสำหรับวงการชีอะฮ์ แต่ถึงกระนั้นเจ้าของตำราเองก็ไม่เคยอ้างว่า ฮะดีษที่เขารวบรวมนั้น ซอแฮะฮ์(ถูกต้อง) เชื่อได้ทั้งหมด  ที่ยิ่งกว่านั้นเชคกุลัยนีเองยังได้กล่าวแสดงความไม่แน่ใจไว้ในคำนำหนังสือของเขาว่า ฮะดีษในตำราของเขาหาได้ถูกต้องไปเสียทั้งหมด  

หลักฐาน เชคกุลัยนีได้กล่าวว่า

فاعلم يا أخي أرشدك الله أنه لا يسع أحدا تمييز شئ مما اختلف الرواية فيه عن العلماء عليهم السلام برأيه، إلا على ما أطلقه العالم بقوله عليه السلام: \\\" اعرضوها على كتاب الله فما وافق كتاب الله عزوجل فخذوه، وما خالف كتاب الله فردوه

พึงรู้ไว้เถิด โอ้พี่น้องของฉัน ขออัลลอฮ์ได้โปรดนำทางท่านด้วยว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคนใดคนหนึ่งในการที่จะแยกแยะจากรายงานฮะดีษที่มีความแตกต่างกันอันมีรายงานมาจากบรรดาอิม่าม(อ)ด้วยความคิดของเขาเอง  ยกเว้นตามสิ่งที่อิม่ามได้กล่าวมันเอาไว้ โดยอิม่าม(อ)ได้กล่าวว่า พวกท่านจงนำมัน(ฮะดีษ)ไปเทียบกับคัมภีร์ของอัลเลาะฮ์  หากมันตรงกับคัมภีร์ของอัลเลาะฮ์ อัซซะวะญัล พวกท่านจงยึดมันไว้ และหากมันไม่ตรงกับคัมภีร์ของอัลเลาะฮ์พวกท่านจงปฏิเสธมันเสีย  และคำพูดของอิม่าม(อ)ที่กล่าวว่า :

دَعُوْا ماَ وَافَقَ الْقَوْمُ، فَإنَّ الرُّشْدَ فِي خِلاَفِهِمْ

พวกท่านจงทิ้งสิ่งที่พวกสามัญชนเขาเห็นพ้องตรงกัน  เพราะทางนำ(ที่แท้จริง)นั้นย่อมตรงกันข้ามกับพวกเขา

และคำพูดของอิม่าม(อ)ที่กล่าวว่า :

خُذُوْا بِالْمَجْمَعِ عَلَيْهِ، فَإنَّ الْمَجْمَعَ عَلَيْهِ لاَ رَيْبَ فِيْهِ

พวกท่านจงยึดมติของปวงปราชญ์  เพราะมติของปวงปราชญ์ย่อมไม่มีข้อสงสัยในมัน



อ้างอิงจากหนังสืออัลกาฟี โดยเชคกุลัยนี  เล่ม 1 หน้า 9 -10


เพราะฉะนั้นความจริงก็คือ เราไม่มีความรู้ในเรื่องเหล่านั้นได้ทั้งหมด ยกเว้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น  และเราไม่พบสิ่งที่จะปลอดภัยมากไปกว่าการนำความรู้เรื่องฮะดีษเหล่านั้นทั้งหมดย้อนกลับไปยังผู้รู้ที่แท้จริง(อาลิมหรืออุละมะอ์) ซึ่งในที่นี้หมายถึงบรรดาอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์นะบี(อ)

ท่านจะเห็นได้ชัดว่า  จากคำพูดของตัวเชคกุลัยนีเองก็ไม่เคยยึดมั่นเชื่อมั่นว่า ฮะดีษทั้งหมดในอัลกาฟีนั้นมาจากบรรดาอิม่าม(อ)ร้อยเปอร์เซ็น  แต่เขาได้สอนให้เรายึดบรรทัดฐานที่ว่า จะต้องเอาฮะดีษทุกบทไปวัดกับคัมภีร์อัลกุรอ่าน โดยเงื่อนไขที่ว่า ฮะดีษนั้นๆจะต้องไม่ขัดกับคัมภีร์อัลกุรอ่าน
  •  

L-umar


ข้ออ้างที่สอง – ฝ่ายค้านเรื่องความสำคัญของวิชาริญาลอ้างว่า


รายงานฮะดีษของเชคกุลัยนี มีความถูกต้อง (ซอฮิ๊ฮ์) โดยได้อ้างว่า
เนื่องจากมีคนขอร้องให้เชคกุลัยนีรวบรวมตำราฮะดีษขึ้นเล่มหนึ่งซึ่งประกอบไปด้วยวิชาการศาสนาอย่างครบครันทุกเรื่องให้ความเพียงพอแก่ผู้ที่ศึกษาเล่าเรียน หรือแก่ผู้ที่ใฝ่แสวงหาสัจธรรมย้อนกลับไปศึกษามัน เพื่อจะได้นำเอาความรู้เหล่านั้นมาเป็นยึดถือและปฏิบัติ ด้วยรายงานฮะดีษที่ถูกต้องอันมีที่มาจากท่านอิม่ามทั้งสองคือ อิม่ามมูฮัมมัด อัลบาเก็รและอิม่ามญะอ์ฟัร อัศศอดิก(อ)

   ฝ่ายเชคกุลัยนีได้ขานรับคำขอร้องนี้โดยเขาได้กล่าวว่า :

وَقَدْ يَسَّـرَ اللّهُ (وَ لَهُ الْحَمْدُ ) تَأْلِيْف ماَ سألتُ، وأرجُو أن يَكُونَ بِحَيْثُ تَوَخَّيْتُ

แน่นอนยิ่งอัลเลาะฮ์ได้ทรงทำให้ง่ายดาย ( และสำหรับพระองค์คือการสรรเสริญขอบคุณ ) แก่การเรียบเรียง(ตำราอัลกาฟีขึ้น)ตามที่ฉันได้ถูกร้องขอ(ให้เรียบเรียง) และฉันหวังว่ามันจะเป็นไปตามที่ฉันหวังไว้


อ้างอิงจากหนังสืออัลกาฟี โดยเชคกุลัยนี  เล่ม 1 หน้า 11

(ฝ่ายค้านจึงอ้างว่า) การสนทนานี้ได้เปิดเผยให้รู้ว่าในตำราอัลกาฟีนั้นมีความซอแฮะฮ์(ถูกต้อง)ตามทัศนะของเชคกุลัยนีเอง


۞ คำตอบสำหรับเรื่องนี้

ขอให้เรามาพิจารณาเป็นประเด็นกันดังนี้คือ


หนึ่ง -

ฝ่ายผู้ที่ขอร้องให้เชคกุลัยนีทำตำราฮะดีษขึ้นเล่มหนึ่งที่ประกอบไปด้วยรายงานที่ถูกต้องจากท่านอิม่ามทั้งสองคือ อิม่ามมูฮัมมัด อัลบาเก็รและอิม่ามญะอ์ฟัร อัศศอดิก(อ) แต่ในขณะเดียวกันผู้ขอร้องก็ไม่ได้ตั้งเงื่อนไขกับเชคกุลัยนีว่า ห้ามเชคกุลัยนีนำฮะดีษที่ไม่ซอแฮะฮ์มาบันทึกรวมเอาไว้ด้วย ฝ่ายเชคกุลัยนีได้ทำตามที่เขาขอร้องมา
กล่าวคือ เขาได้เรียบเรียงตำราฮะดีษที่มีสายรายงานถูกต้องอันมีที่มาจากท่านอิม่ามทั้งสอง อีกทั้งครบครับไปด้วยความรู้ต่างๆทางศาสนาหลายสาขา ซึ่งรวมทั้งฮะดีษที่มีสายรายงานที่ไม่ซอแฮะฮ์อีกด้วย หรือมันอาจจะถูกต้องในทัศนะของนักปราชญ์คนอื่นๆก็เป็นได้ด้วยเช่นกัน


สอง -

สายรายงานฮะดีษต่างๆในหนังสืออัลกาฟีอาจมีความซอแฮะฮ์ถูกต้องตามทัศนะของตัวเชคกุลัยนีเอง แต่มันไม่ใช่หลักฐานที่จะมากำกับว่า สายรายงานเหล่านั้นมันมีความถูกต้องตามทัศนะของนักปราชญ์คนอื่นๆด้วย เพราะเนื่อง ทัศนะของบรรดานักปราชญ์ระดับมุจญ์ตะฮิด มีเงื่อนไขในการยอมรับฮะดีษที่แตกต่างกันไป   ซึ่งเราจะกล่าวถึงเรื่องนี้ทีหลังว่า(อยู่ในบทเรียนที่ 30) ฮะดีษซอฮิ๊ฮ์ในทัศนะของกุดะมาอ์(นักปราชญ์รุ่นก่อน) มีความไม่ถูกต้องตามทัศนะของมุตะอัคคิรีน(นักปราชญ์รุ่นหลัง)อย่างไร อินชาอัลลอฮ์  เพราะฉะนั้นจะไปเหมารวมว่าฮะดีษในอัลกาฟีถูกต้องทั้งหมดได้อย่างไร ถ้าหากมันเป็นความถูกต้องตามทัศนะของเชคกุลัยนีเจ้าของตำราเท่านั้น

เพื่อความเข้าใจในเรื่องเราขอยกตัวอย่างอาทิเช่น


เชคกุลัยนีมีทัศนะว่า  นักรายงานฮะดีษชื่อ  สะฮัล บินซิยาด มีความน่าเชื่อถือในสายตาของเขา  ดังนั้นเราจะพบว่าหนังสืออัลกาฟีเล่มที่หนึ่งกับเล่มที่สองมีฮะดีษที่รายงานโดยสะฮัลบินซิยาดถึง 247 บท
แต่นักปราชญ์คนอื่นกับมีทัศนะขัดแย้งกับเชคกุลัยนีอาทิเช่น

เชคนะญาชี (เกิด 372 มรณะ ฮ.ศ.450 )กล่าวว่า

سَهْلُ بْنُ زِياَدٍ أبُو سَعِيْدٍ الْآدَمِيُّ الراَّزِيّ كاَنَ ضَعِيْفاً فِي الْحَدِيْثِ،غَيْرُ مُعْتَمِدٍ فِيْهِ

สะฮัล บินซิยาด อะบูสะอีด อัลอาดะมี อัลรอซี  : เขามีความดออีฟในฮะดีษ (กล่าวคือ) เขาไม่มีความน่าเชื่อถือในการรายงานฮะดีษ

อ้างอิงจากหนังสือริญาล นะญีชี   อันดับที่ 490


เพราะฉะนั้นตามทัศนะของเชคนะญาชี ในหนังสืออัลกาฟีจึงมีฮะดีษจำนวน 247 บทที่มีสถานะ " ดออีฟ – คือยึดเป็นหลักฐานไม่ได้ "  

ด้วยเหตุนี้จะยอมรับได้อย่างไรว่า ฮะดีษในหนังสืออัลกาฟีมีความถูกต้องทั้งหมด ???
  •  

fida-e

อัล-หุรฺ อัล-อามิลียฺกล่าวถึงชีวประวัตของอัชชาฮีด อัษษานีย์ (เสียชีวิตปีฮ.ศ 966): ว่า

وهو أول من صنف من الامامية في دراية الحديث، لكنه نقل الاصطلاحات من كتب العامة - كما ذكره ولده وغيره

\\\"เขาคือบุคคลแรกจากอีมามียะฮฺที่แต่งหนังสือเกี่ยวดีรอยะฮฺหะดีษ แต่ว่าเขานั้นได้เอาศัพท์ต่างๆ จากหนังสือของ (อามะฮฺ) ดังที่ลูกของเขาและคนอื่นๆ ได้กล่าวไว้\\\"

[อมะลุลอามิล 1/87]

และดร. อับดุลฮาดี อัลฟัฎลี ได้กล่าวในหนังสือ อุศูลอัลหะดีษ (11) ว่า:

إن أقدم كتاب إمامي وصل الينا في هذا العلم هو كتاب الدراية للشهيد الثاني المتفوى سنة 966 هـ

\\\"และตำราที่เก่าแก่ที่สุดที่มีถึงเราเกี่ยวกับความรู้นี้ (ฮาดีษ) คือหนังสืออัดดีรอยะฮฺของอัชชะฮีดอัศศานีย์\\\"
  •  

fida-e

อ้างถึงเพราะฉะนั้นตามทัศนะของเชคนะญาชี ในหนังสืออัลกาฟีจึงมีฮะดีษจำนวน 247 บทที่มีสถานะ " ดออีฟ – คือยึดเป็นหลักฐานไม่ได้ "

พอจะมีข้อมูลไหมครับว่า หะดีษไหนบ้าง?

ที่ว่ากุลัยนีย์ได้เสนอหะดีษในหนังสืออัลกาฟีต่ออิมามมะฮฺดี มีความถูกต้องแค่ไหนครับ?
  •  

L-umar

ใจเย็นๆครับ  โปรดอ่านงานวิจัยเรื่อง  ริญาล ชีอะฮ์ ไปเรื่อยๆแล้วคุณจะเข้าใจเอง


สะฮัล บิน ซิยาด  (มีชีวิตช่วง ฮ.ศ.255)

สะฮัลผู้นี้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์ถึงสามคน  ถ้าเราเปิดหนังสืออัลกาฟีของเชคกุลัยนีหรือหนังสือกามิลุตซิยารอตของเชคอิบนุกูละวัยฮ์ จะพบว่า ตำราทั้งสองเล่มได้กล่าวถึงรายงานหะดีษของสะฮัลเกิน 2300 บท อันเป็นหะดีษที่มาจากอะฮ์ลุลบัยต์(อ)  งานวิจัยเกี่ยวกับสะฮัล นับว่าเป็นการเปิดมิติที่สำคัญและเป็นหัวข้อที่ดียิ่งสำหรับผู้ต้องการเข้าใจถึงทัศนะของนักปราชญ์สาขาอิลมุลริญาล ซึ่งสิ่งที่ต้องกล่าวถึงนั้นมีด้วยกัน 5 เรื่องคือ

1.นักปราชญ์ในยุคก่อนมีทัศนะว่า  สะฮัล มีสถานะ"ดออีฟ"คือไม่แข็งแรงในการรายงาน

2.วิธีปฏิบัติของสำนักคิดแห่งเมืองกุมกับนักรายงานหะดีษ

3.รายงานหะดีษที่อ้างอิงไปถึงสะฮัล บินซิยาด

4.จุดยืนของอิม่ามฮาดีย์กับกระแสคิดที่บิดเบือน

5.ทัศนะของนักปราชญ์ร่วมสมัยเกี่ยวกับสะฮัล บินซิยาด


คำวิจารณ์ของนักปราชญ์สาขาอิลมุลริญาล

อันนะญาชี ( 372 - 450 ฮ.ศ.) วิจารณ์ว่า
كان ضعيفا في الحديث، غير معتمد فيه. وكان أحمد بن محمد بن عيسى يشهد عليه بالغلو والكذب وأخرجه من قم إلى الري

สะฮัล คือนักรายงานที่ดออีฟในหะดีษ ในตัวเขาไม่เป็นที่ยึดถือ และเชคอะหมัด บินมุฮัมมัดบินอีซาเคยยืนยันว่าเขาเป็นพวกฆูลาตและมุสาและยังได้ขับสะฮัลออกจากเมืองกุมไปที่เมืองเรย์
ดูริญาลนะญาชี  อันดับที่  490

เชคตูซี่(385 - 460 ฮ.ศ.)วิจารณ์ว่า
 ضعيف، له كتاب،

(สะฮัล)ดออีฟ สำหรับเขามีตำรา ดูอัลฟะฮ์ร็อส ของเชคตูซี่  อันดับที่  329
แต่เชคตูซี่กลับส่วนวิจารณ์ถึงสะฮัลในหนังสือริญาลของเขาว่า
سهل بن زياد الآدمي يكنى أبا سعيد، ثقة،
สะฮัล บินซิยาด อัลอาดะมี "เชื่อถือได้"  ดูหนังสือริญาลตูซี่ อันดับที่  5699
เป็นที่รู้ดีว่าหนังสือริญาลของตูซี่ได้เรียบเรียงขึ้นหลังจากหนังสืออัลฟะฮ์ร็อส

อัลฟัฎล์ บิน ชาซาน กล่าวว่า
هو الأحمق وكان لا يرتضيه ولا يمدحه

สะฮัล เป็นคนโง่ และอัลฟัฎล์ไม่เคยพอใจเขาและไม่เคยยกย่องเขา
ดูอิคติยารู่ มะอ์ริฟะติลริญาล โดยเชคตูซี่ อันดับที่ 1068

อิบนุเฆาะฎออิรี(มีชีวิตหลัง ฮ.ศ. 411) วิจารณ์ว่า
سَهْلُ بنُ زِياد : كانَ ضَعيفاً جِدّاً، فاسِدَ الرِوايةِ والدِينِ. وكانَ أَحْمَدُ بنُ مُحَمَّد بن عِيْسى الأشعريُّ أخْرَجَهُ من قُم،

สะฮัล บินซิยาด เป็นผู้ที่ดออีฟมาก เป็นผู้ที่เสียหายในการรายงานและศาสนา และเชคอะหมัด บินอีซาเคยขับเขาออกจากเมืองกุม   ดูริญาลอิบนุเฆาะฎออิรี อันดับที่ 11

หมายเหตุ -

สัยยิดอัลคูอี ได้วิจารณ์หนังสือริญาลของอิบนุเฆาะฎออิรีว่า
ผลสรุปจากสิ่งนั้นคือ หนังสือที่อ้างว่าเป็นของอิบนุเฆาะฎออิรีนั้นยังไม่ได้รับการยืนยันอย่างแน่นอน  ยิ่งกว่านั้นคนบางส่วนยังแน่ใจด้วยซ้ำว่า มันเป็นหนังสือที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นโดยฝ่ายต่อต้าน(มัซฮับ)ชีอะฮ์ที่แต่งมันขึ้นมา แล้วอ้างว่ามันคือหนังสือของอิบนุเฆาะฎออิรี  

ดูหนังสือมุอ์ญัม ริญาลุลหะดีษ โดยสัยยิดอัลคูอี  เล่ม 1 หน้า 95-96  
เรื่อง อัลอุศูลุลริญาลียะฮ์



อัลลามะฮ์ ฮิลลี่(648 - 726 ฮ.ศ.) และอิบนิดาวูด(647 - 707 ฮ.ศ.)ได้นับว่าสะฮัลเป็นหนึ่งจากบรรดานักรายงานดออีฟและมัจญ์รูฮีน(ถูกตำหนิ)

สำนักคิดชาวเมืองกุม

สถาบันวิชาการแห่งเมืองกุม(อิหร่าน)นั้นนับว่าเป็นแหล่งความคิด วัฒนธรรมและวิชาการศาสนา ยิ่งกว่านั้นยังเป็นศูนย์รวมความโปรดปรานของพระเจ้าอีกด้วย เพียงพอแล้วด้วยความภาคภูมิใจของเมืองนี้ที่เป็นสุสานฝังร่างของท่านหญิงฟาติมะฮ์มะอ์ซูมะฮ์ บุตรีของอิม่ามมูซา บินญะอ์ฟัร น้องสาวของอิม่ามอาลีริฎอ(อ)อีกทั้งเป็นป้าของอิม่ามญะวาด(อ)
สำนัดคิดนี้เป็นป้อมปราการอันมั่นคงของบรรดาชีอะฮ์และมีอุละมาอ์ชีอะฮ์อีกมากมายได้ลงหลักปักฐานอาศัยอยู่ที่เมืองนี้ เชคอาลี บินบาบะวัยฮฺ(บิดาเชคศอดูก)ก็ได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นี่ ซึ่งอยู่ในยุคฆ็อยบะฮ์ซุฆรอ(ช่วงเวลาหายตัวระยะสั้นของอิม่ามมะฮ์ดี) ตรงกับสมัยนาอิบคอศ(ตัวแทนพิเศษ)คนที่สี่

มุลลา มุฮัมมัด ตะกีย์ อัลมัจญ์ลีซี่ที่หนึ่ง(1003 - 1070 ฮ.ศ.)เล่าว่า ในสมัยเชคอาลี บินฮูเซน บินมูซา บินบาบะวัยฮ์ (มรณะ ฮ.ศ. 329 บิดาเชคศอดูก) ปรากฏว่าที่เมืองกุมในตอนนั้นมีนักรายงานหะดีษถึงสองล้านคน ดูหนังสืออัลละวาเมี๊ยะอ์(กิตาบชะเราะห์ มันลายะห์ฎุรุฮุลฟะกีฮ์) หน้า 149

สำนักคิดนี้เป็นที่รู้กันดีว่า มีความเข้มงวดอย่างมากเกี่ยวกับการถ่ายทอดรายงานหะดีษในยุคนั้น ชาวกุมมักจะขับนักรายงานหะดีษออกจากเมืองกุมด้วยสาเหตุต้องสงสัยหรือคาดเดาว่า นักรายงานคนนั้นได้รายงานหะดีษจากบรรดานักรายงานที่มัจญ์ฮู้ล(คือไม่พบประวัติ)หรือนักรายงานที่ดออีฟ(คือไม่แข็งแรง) สิ่งนี้ได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับนักรายงานมากมาย พวกเขาต้องถูกเนรเทศออกจากเมืองกุม ด้วยสาเหตุถูกตั้งข้อหาว่าเป็นพวกฆูล๊าต(คลั่งใคล้ต่ออะฮ์ลุลบัต์แบบสุดโต่ง) พวกมีหลักความเชื่อในทางที่ผิด หรือคาดคะเนว่าเขาเป็นคนมุสา  หรือบรรดานักรายงานที่ถ่ายทอดหะดีษมุรซัล(สายรายงานที่ขาดตอน) อาทิ อิบนิอะบีอุมัยริน เป็นต้น  

ท่ามกลางบรรยากาศเช่นนั้น ผู้ที่เข้มงวดต่อกฏเกณฑ์ในการถ่ายทอดหะดีษได้ตั้งข้อหากับสะฮัลและขับเขาออกจากเมืองกุม เพราะกลุ่มผู้เข้มงวดหะดีษ(มุตะชัดดิด)ได้กล่าวหาสะฮัลว่า ขาดความรู้และเป็นนักรายงานที่ดออีฟในการถ่ายทอดหะดีษและยึดถือหะดีษของพวกนักรายงานที่มัจญ์ฮู้ล(คือนักรายงานที่ไม่พบประวัติ)  

ณ.เวลานั้นหัวหน้าใหญ่สุดของนักรายงานแห่งเมืองกุมคือ เชคอะหมัด บินมุฮัมมัดบินอีซา(มรณะ ฮ.ศ. 280 )ในช่วงฆ็อยบะฮ์ซุฆรอ ซึ่งนับว่าสะฮัลคือสาวกคนหนึ่งของสามอิม่ามคืออิม่ามริฎอ อิม่ามญะวาดและอิม่ามฮาดี(อ)  เชคอะหมัด บินมุฮัมมัดบินอีซาได้เนรเทศนักรายงานที่ถูกกล่าวหาเป็นพวกฆูลาตหรือพวกที่มีหลักความเชื่อที่ฟาซิด(ผิดเพี้ยน)อย่างมากมาย

รายชื่อพวกที่ถูกขับออกจากเมืองกุม
อะหมัด บินฮิลาล อัลอะบัรตาอี อัลบัฆดาดี(180 – 267 ฮ.ศ.)
อัลฮูเซน บินอุบัยดิลละฮ์ อัลกุมมี ข้อหาฆูลาต
มุฮัมมัด บินอะรูเกาะฮ์
อัลกอซิม อัลยักฏีนี
อัชชะฮ์รีย์
อัลฮาซัน บินมุฮัมมัด บาบา อัลกุมมี
ฟาริส บินฮาติม
อาลี บินหัสกะฮ์ อัลกอซวีนีย์

ตำรับตำราที่อ้างอิงถึงสะฮัล บินซิยาด

เชคอัลบัรกีได้นับว่า สะฮัลเป็นหนึ่งในสาวกของอิม่ามฮาดีและอิม่ามฮาซันอัสการี(อ) และอัลกัชชีกับเชคตูซี่ก็มีทัศนะเช่นเดียวกับอัลบัรกี กล่าวคือ สะฮัลได้รายงานหะดีษจากอิม่ามญะวาด อิม่ามฮาดีและอิม่ามฮาซันอัสการี(อ)และยังมีตำราบางส่วนอ้างอิงว่าเป็นของเขาอีกด้วยเช่น กิตาบอัตเตาฮีดกับกิตาบอันนะวาดิร ตำราทั้งสองเล่มนี้มีคำอธิบายเรื่องหลากหลายรวมทั้งปัญหาต่างๆที่เขาถามมันจากบรรดาอิมามทั้งสาม แล้วสะฮัลได้บันทึกคำตอบเหล่านั้นไว้ในตำราดังกล่าว แน่นอนมีบรรดาเชคแห่งเมืองกุมรับรู้เรื่องนี้ดี ดังที่เจ้าของหนังสือมันฮะญุลมะกอล หน้า 177 ได้กล่าวเอาไว้  มีใครบ้างไหมที่เคยพบในตำราทั้งสองเล่มดังกล่าวที่ระบุถึงความเชื่อที่ผิดๆหรือเรื่องโกหกหรือความฆูลาตของสะฮัล นี่คือสิ่งที่จำเป็นต้องใช้วิจารณญาณต่อสถานะของเขา

จุดยืนของอิม่ามฮาดี(อ)ต่อพวกฆูลาต

อิม่ามฮาดีมีจุดยืนต่อต้านพวกฆูลาตชัดเจนและเด็ดขาดในขณะที่ท่านเผชิญหน้ากับคนกลุ่มนี้  เพราะทุกย่างก้าวของอิม่ามคือ การรักษาศาสนาให้พ้นจากพวกที่มีอะกีดะฮ์หลงผิดเหล่านี้ และปกป้องบรรดาผู้ศรัทธาให้พ้นจากความเชื่อที่ผิดๆ เช่นเดียวกันอิม่ามได้ประจานธาตุแท้ของเส้นทางหลงผิดนี้ ยิ่งกว่านั้นอิม่ามยังได้สาปแช่งคนกลุ่มนี้บางส่วนอีกด้วย และนี่คือการเคลื่อนไหวของอิม่ามและเป็นหน้าที่ของอิม่ามทุกคน ที่จะต้องทำหน้าที่ให้การอบรมจรรยามารยาทและการเมืองการปกครอง อีกทั้งเผยแพร่วิชาการและความคิดอิสลามให้กับสังคม ในขอบข่ายของแพทย์ที่เยียวยาความคิดที่ป่วยไข้ ไม่ว่าเขาจะอยู่ในสภาวะใดก็ตามและแม้ว่าเขาจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวดองเป็นญาติสนิทของอิม่ามก็ตาม

ในสมัยนั้นปรากฏคนส่วนหนึ่งที่มีแนวคิดเบี่ยงเบน ตามที่เราได้กล่าวชื่อไปแล้ว พวกเขาพยายามกระทำแผนล่อลวงอยู่ในสังคมอันบริสุทธิ์ท่ามกลางผู้คน เพื่อเป้าหมายชัดเจนและสำคัญที่สุดคือ เบี่ยงเบนความสนใจของประชาชนออกไปจากการเป็นผู้นำที่แท้จริงนั่นคือบรรดาอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์(อ)  การปล่อยความคิดที่สร้างความสงสัยในตัวอิม่าม

ส่วนหนึ่งจากพวกฆูลาตและมุนฮะริฟคือ อาลีบินหัสกะฮ์ กอสิมอัลยักฏีนี  เมื่ออิม่ามถูกสาวกของเขาถามถึงอะกีดะฮ์ของอาลีบินหัสกะฮ์  อิม่ามตอบว่า ชายคนนี้ไม่มีสิ่งใดในศาสนาของเรา จงแยกตัวตัวออกจากเขาเสีย ดูริญาลกัชชี่ หน้า 995
มุฮัมมัดบินอีซาสาวกคนหนึ่งของอิม่ามฮาดีเล่าว่า อิม่ามอบุลฮาซันอัสการีได้เขียนจม.มาถึงฉัน ซึ่งในจม.เริ่มต้นว่า ขออัลลอฮ์ละนัตอัลกอสิมอัลยักฏีนี และขออัลลอฮ์ละนัตอาลีบินหัสกะฮ์อัลกุมมี แท้จริงชัยฏอนได้ปรากฏตัวต่ออัลกอสิมแล้วหลอกลวงเขาด้วยคำพูด
ดูริญาลกัชชี่ หน้า 518  และ 996


ทัศนะนักปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญสาขาอิลมุลริญาลเกี่ยวกับสะฮัล

เชควาฮีด อัลบะฮ์บะฮานี มรณะ ฮ.ศ.1208 ได้ให้เหตุผลว่า "สะฮัลเชื่อถือได้" ด้วยข้อมูลอ้างอิงดังต่อไปนี้

หนึ่ง- สะฮัลเป็นชัยคุลอิญาซะฮ์ ดังที่กล่าวไว้ในหนังสืออัลวะญีซะฮ์ ฟิลริญาลของอัลลามะฮ์มัจญ์ลิซี

สอง-  สะฮัลได้รายงานหะดีษไว้อย่างมากมาย

สาม-  มีนักรายงานผู้ทรงคุณวุฒิหลายคนรับรายงานหะดีษจากสะฮัล โดยเชคกุลัยนี ที่บันทึกรายงานของสะฮัลไว้ในหนังสืออุซูลกาฟี

สี่- กิตาบริญาลของเชคตูซีกล่าวว่า สะฮัลเชื่อได้ หนังสือเล่มนี้ได้เรียบเรียงขึ้นหลังหนังสืออัลฟะฮ์ร็อสต์ ที่กล่าวว่าสะฮัล ดออีฟในการรายงาน นั่นหมายความว่า เชคตูซีได้เปลี่ยนทัศนะที่ว่า"สะฮัล ดออีฟ" ไปสู่ทัศนะที่ว่า "เชื่อได้"

ห้า-  คำพูดที่ฟัฎล์ บินชาซานกล่าวว่า สะฮัลโง่เขลา  ไม่ใช่หลักฐานที่จะมาใช้พิสูจน์ว่าสะอัลเชื่อไม่ได้

หก- รายงานของสะฮัลทั้งหมดล้วนรายงานมาจากอิม่ามทั้งสาม จึงเป็นหลักฐานชัดเจนว่า สะฮัลควรได้รับการยกย่อง

เจ็ด-  มีการอ้างหนังสือสองเล่มคือ อัตเตาฮีดและอันนะวาดิรว่าเป็นของสะฮัล รวมทั้งมะซาอิลต่างๆที่สะฮัลได้สอบถามจากอิมามฮาดีและอิมามฮาซันอัสการี(อ) ชาวเมืองกุมกล่าวถึงมัน ซึ่งในหนังสือนั้น ไม่มีสิ่งที่ไม่ดีงามที่บ่งบอกว่า เกิดความอ่อนแอในการรายงานหรือมีความฆูลาตในอะกีดะฮ์  ดูกิตาบมันฮัจญ์ อัลมะกอล หน้า 177

แปด-  คำพูดของเชคนะญาชี ยังถือว่าไม่มีความชัดเจนที่จะนำมาตำหนิสะฮัล แต่เขาได้ตำหนิในหะดีษของสะฮัลและยืนยันว่ายึดถือไม่ได้ ดูริญาลนะญาชี อันดับ 490

เก้า- คำพูดของนักปราชญ์สาขาริญาลที่ระบุว่า "สะฮัล-ดออีฟ" ก็ไม่ได้หมายความว่า ปรากฏความฟาซิกหรือมีอะกีดะฮ์ที่เบี่ยงเบนของสะฮัล
อัลลามะฮ์ อับดุลฮูเซน  อัชชะบัสตะรี ได้ให้ทัศนะว่า สะฮัลเชื่อได้ ดูกิตาบ อันนูรุลฮาดี อิลาอัศฮาบิลอิมามศอดิก(อ)

อัลลามะฮ์อันนูรีได้อธิบายอย่างยืดยาวถึงสะฮัลว่าเชื่อถือได้ และยังลบล้างคำพูดของทุกคนที่วิจารณ์ว่าสะฮัล ดออีฟ  ดูกิตาบมุสตัดรอก อัลวะซาอิล เล่ม 3 หน้า 666 และ 673
หลังจากที่เราได้นำเสนอทัศนะต่างๆของอุละมาอ์ที่เชี่ยวชาญสาขาอิลมุลริญาลไปแล้ว  และเราได้รู้แล้วว่าสะฮัล บินซิยาดได้ถูกวิจารณ์ในเชิงลบว่า เป็นพวกฆูลาต  มีอะกีดะฮ์ฟะซ๊าด และอะห์มัก(โง่เขลา)และเรื่องอื่นๆที่ทำให้เชคแห่งเมืองกุมนามว่า อะหมัด บินมุฮัมมัดบินอีซา อัลอัชอะรี(มรณะณ ฮ.ศ.280)ไม่พอใจสะฮัลและขับเขาออกจากเมืองกุม จากเรื่องราวที่เราติดตามค้นคว้ามาตลอด เราจะแสดงผลสรุปอย่างชัดเจนให้ท่านได้รับความกระจ่างเกี่ยวกับสะฮัลดังต่อไปนี้

เรื่องที่หนึ่ง  - นับว่าสะฮัลบินซิยาดคือ มุหัดดิษชีอะฮ์คนหนึ่ง  รายงานหะดีษของเขาอยู่ในตำราหะดีษชีอะฮ์อย่างมากมายเกินกว่า 2299 บท ที่รวมอยู่ในสายรายงานหะดีษทั้งในหนังสืออุซูลกาฟีของเชคกุลัยนีหรือในหนังสือกามิลุตซิยารอตของเชคอิบนิกูละวัยฮ์

เรื่องที่สอง -
มีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงระหว่างคำว่า  สะฮัลดออีฟในการรายงาน กับคำว่า สะฮัลมีอะกีดะฮ์ที่ฟาซิด

เรื่องที่สาม  -
สมมุตเรายอมรับว่า สะฮัลคือคนโง่ แล้วความโง่นี้ส่งผลทำให้สะฮัลเชื่อไม่ได้กระนั้นหรือ ฉะนั้นการเรียกสะฮัลว่าคนโง่ก็ไม่ได้หมายความว่าสะฮัลคือผู้ดออีฟในการรายงาน หรือรายงานหะดีษจากบรรดาคนที่ไม่มีตัวตน(มัจญ์ฮูล)หรือจากคนที่มีอะกีดะฮ์ฟาซิด ยิ่งกว่านั้นคงไม่มีสมองของคนใดเข้าใจว่าคนโง่คือคนฟาซิก

เรื่องที่สี่ -
ดังที่เรารู้กันดีว่า  มัดรอซะฮ์ของชาวกุม แค่ตั้งสมมุติฐานว่า ชายคนหนึ่งเป็นพวกฆูลาต  หรือรายงานหะดีษจากพวกมัจญ์ฮูลหรือจากนักรายงานหะดีษชนิดมุรซัล ชาวกุมก็จะขับเขาออกจากสำนักของพวกเขาทันที ชาวกุมได้ทำผิดพลาดในเรื่องนี้หลายครั้งหลายหนโดยที่พวกเขาได้ขับนักรายงานหะดีษที่เชื่อถือได้ออกไป แม้กระทั่งนักรายงานที่เชื่อถือได้อย่าง อิบนิอะบีอุมัยริน และนักรายงานคนอื่นๆ
จึงพอประมาณการณ์ได้ว่า การอ้างว่าสะฮัลมีหลักความเชื่อที่ฟาซิด(ใช้ไม่ได้)นั้นมาจากคำยืนยันของเชคอะหมัด บินอีซาที่ตำหนิว่าสะฮัลเป็นพวกฆูลาต
สำหรับการตอบโต้ในเรื่องนี้เพียงพอแล้วในสิ่งที่บอกเล่าถึงการกระทำของเชคอะหมัดในหนังสืออัต-ตะอ์ลีเกาะฮ์ที่รายงานมาจากปู่ของเขา ได้เล่าว่า

وإن أحمد بن محمد بن عيسى أخرج جماعة من قم لروايتهم عن الضعفاء وإيرادهم المراسيل في كتبهم وكان اجتهادا منه، ولكن كان رئيس (قم) والناس مع المشهورين إلا من عصمه الله
كتاب الفوائد الرجالية   للسيد بحر العلوم   ج 3 ص 21

เห็นได้ชัดว่า มันเป็นความผิดพลาดของเชคอะหมัดเอง

ولكن كان رئيس (قم) والناس مع المشهورين إلا من عصمه الله تعالي
كتاب الفوائد الرجالية   للسيد بحر العلوم   ج 3 ص 21

เราได้กล่าวถึงรายชื่อบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกฆูลาตไปแต่ต้นแล้ว ซึ่งในนั้นไม่มีชื่อสะฮัลบินซิยาดรวมอยู่ด้วย เหมือนที่กล่าวถึงอัลยักฏีนีและคนอื่นๆ

เรื่องที่ห้า  -
หนังสือของสะฮัลสองเล่มที่ชื่อ อัตเตาฮีดและอันนะวาดิร เนื้อหาในหนังสือทั้งสองนั้นมิได้กล่าวถึงสิ่งใดที่ระบุถึงความฆูลาตของเขา และตำราทั้งสองนี้ได้กล่าวถึงคำถามต่างๆที่สะฮัลได้ไตร่ถามมันจากอิม่ามฮาดีและอิม่ามฮาซันอัสการี ซึ่งบรรดาเชคได้กล่าวอ้างอิงถึงมัน โดยเฉพาะเชคแห่งเมืองกุมส่วนหนึ่ง ซึ่งในนั้นไม่มีสิ่งใดเลยที่บ่งบอกว่ามีความอ่อนแอในการรายงานหรือมีความฆูลาตในหลักความเชื่อ ดูหนังสือมันฮัจญ์อัลมะกอล หน้า 177

เรื่องที่หก  -
เชคตูซี่ได้ให้ทัศนะว่า"สะฮัลเชื่อถือ"ไว้ได้ในหนังสือริญาลของเขา ซึ่งหนังสือริญาลเล่มนี้เชคตูซี่ได้เรียบเรียงขึ้นหลังหนังสืออัลฟะฮ์ร็อสต์ของเขา แสดงว่า เชคตูซีได้รับความกระจ่างเกี่ยวกับสะฮัล ดังนั้นเขาจึงเปลี่ยนทัศนะที่ว่า"ไม่น่าเชื่อถือ" ไปสู่ทัศนะที่ว่า "สะฮัลนั้นเชื่อถือได้"

เรื่องที่เจ็ด  -
อัลลามะฮ์ อัลมามกอนี (1290 – 1351 ฮ.ศ.) กล่าวว่า นักปราชญ์ชีอะฮ์รวมทั้งอาจารย์ของพวกเราส่วนหนึ่งได้รับรายงานหะดีษจากสะฮัล อาทิเช่น เชคศอดูกและเชคอิบนุกูละวัยฮ์ และที่ชัดเจนนั้นสะฮัลยังเป็นอาจารย์คนหนึ่งของเชคกุลัยนี ซึ่งอัลกุลัยนีได้รายงานหะดีษโดยตรงจากเขาไว้มากมายประมาณ 1,300 บท จะพบว่าในอุศูลกาฟี ใน"กิตาบ อัด-ดิยาต" ทั้งหมดเป็นรายงานที่มาจากสะฮัล บินซิยาดทั้งสิ้น เราจะเห็นสายรายงานเหล่านั้นระบุคำนิยามว่า " อิดดะตุม มินอัศฮาบินา อัน สะฮัล บินซิยาด  แปลว่า นักปราชญ์กลุ่มหนึ่งของพวกเราได้รายงานจากสะฮัล บินซิยาด ซึ่งบรรดานักรายงานที่ได้รับการยกย่องกลุ่มนี้คือ

1, มุฮัมมัด บินญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด บินเอานิน อัลอะซะดี
2, มุฮัมมัด บินอัลฮาซัน อัศศ็อฟฟาร
3, อาลี บินมุฮัมมัด บินอะบาน อัลรอซี อัลกุลัยนี
4, มุฮัมมัด บินอะกีลิน  อัลกุลัยนี
5, สะฮัล บินซิยาด

บทสรุป - จากที่อธิบายผ่านมาเป็นที่กระจ่างชัดแล้วว่า  ลักษณะต่างๆที่กล่าวหาสถานะของสะฮัลนั้นหาได้มีรากฐานที่มาของความถูกต้องและให้ความเป็นธรรมเลยสำหรับเขา
 
  •  

61 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้