Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

ธันวาคม 23, 2024, 05:23:11 ก่อนเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
  • สมาชิกทั้งหมด: 1,718
  • Latest: Haroldsmolo
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 3,703
  • หัวข้อทั้งหมด: 778
  • Online today: 72
  • Online ever: 200
  • (กันยายน 14, 2024, 01:02:03 ก่อนเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 25
Total: 25

การนมาซ รวมกันในยามปกติคือซุนนะฮ์หรือบิดอะฮ์

เริ่มโดย L-umar, กันยายน 25, 2009, 01:10:19 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar


การนมาซ รวมกันในยามปกติคือซุนนะฮ์หรือบิดอะฮ์


ทำไม...ชีอะฮ์จึงนมาซรวม ?

 

มุสลิม บิน ฮัจญาจรายงานไว้ในศอฮีฮ์ของท่าน(ศอฮีฮ์มุสลิม)

 في باب (الجمع بين الصلاتين في الحضر) بسنده عن ابن عباس، أنه قال: صلّى رسول الله (ص) الظهر والعصر جمعا، والمغرب والعشاء جمعا، في غير خوف ولا سفر.

บทว่าด้วยการรวมระหว่างสองนมาซในยามปกติ โดยอ้างสารบบการรายงานจากท่านอิบนุอับบาส ว่า "ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)ได้ทำนมาซซุฮ์ริ และอัศริรวมกัน และทำนมาซมัฆริบกับอิชาอ์รวมกัน ในยามที่ไม่มีเหตุน่ากลัวใดๆ และไม่ใช่เดินทาง

           ท่านรายงานต่อไปอีก โดยอ้างสารบบ(สะนัด)นักรายงานของท่าน จากอิบนุอับบาส ที่ได้กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้นมาซกับท่านนบี(ศ)แปดร็อกอะฮ์รวมกัน(หมายถึงซุฮ์ริกับอัศริ)และเจ็ดร็อกอะฮ์ (มัฆริบกับอิชาอ์)รวมกัน หมายถึง พอนมาซแรกเสร็จแล้ว ก็ทำนนมาซที่ศองติดต่อไปได้เลย



            คำบอกเล่าในความหมายเดียวกันนี้ ท่านอิมามอะห์มัด บิน ฮันบัล ก็ได้รายงานไว้ในตำรามัสนัดของท่าน เล่ม 2 หน้า 221 และท่านได้ผนวกฮะดีษหนึ่งจากรายงานของอิบนุอับบาสเสริมเข้าไปอีก ที่กล่าวว่า

 عن ابن عباس أيضا، أنه قال: صلى رسول الله (ص) في المدينة مقيما غير مسافر، سبعا وثمانيا.

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)ทำนมาซที่เมืองมะดีนะฮ์ ในฐานะผู้ตั้งภูมิลำเนา มิใช่ในฐานะผู้เดินทาง เจ็ดร็อกอะฮ์(มัฆริบ-อิชาอ์)และแปดร็อกอะฮ์(ซุฮ์ริ-อัศริ)



           ดังนั้น การนมาซแบบที่พวกชีอะฮ์ปฏิบัติกันอยู่ในเวลานี้ ก็มีหลักฐานยืนยันอยู่ในตำราของชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ เท่าเทียมกับเรื่องอื่นๆ ที่ชาวซุนนะฮ์เชื่อถือและนำมาปฏิบัติเป็นกิจวัตรกันอยู่            

         ท่านมุสลิมได้รายงานคำบอกเล่าอย่างมากมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ในตำราศอฮีฮ์ของท่าน จนถึงข้อความในฮะดีษที่ 57 โดยอ้างสารบบการรายงานจากอับดุลลอฮ์ บิน ชะฟีก ที่กล่าวว่า

 عن عبدالله بن شقيق، قال
: خطبنا ابن عباس يوما بعد العصر حتى غربت الشمس وبدت النجوم، فجعل الناس يقولون: الصلاة.. الصلاة! فلم يعتن ابن عباس بهم، فصاح في هذه الأثناء رجل من بني تميم، لا يفتر ولا ينثني: الصلاة.. الصلاة!

فقال ابن عباس: أتعلمني بالسنة؟ لا أم لك!

ثم قال: رأيت رسول الله (ص) جمع بين الظهر والعصر والمغرب والعشاء.

قال عبدالله بن شقيق: فحاك في صدري من ذلك شيء، فأتيت أبا هريرة فسألته، فصدّق مقالته

ท่านอิบนุอับบาสได้ปราศรัยแก่พวกเราในวันหนึ่งหลังจากนมาซอัศริแล้ว จนกระทั่งดวงอาทิตย์ตกดินแล้วเริ่มมองเห็นดวงดาว ทำให้ประชาชนพูดขึ้นว่า  นมาซเถิด นมาซเถิด แต่ท่านอิบนุอับบาสก็มิได้ใส่ใจ ทำให้คนตระกูลตะมีมคนหนึ่ง ตะโกนขึ้นในยามนั้นแบบไม่เว้นวรรคว่า นมาซเถิด นมาซเถิด


            ท่านอิบนุอับบสาสได้กล่าวว่า "เจ้าจะสอนแบบฉบับ(ซุนนะฮ์)ของท่านศาสดาให้แก่ฉันกระนั้นหรือ ? เจ้าไม่มีมารดาแน่แล้ว เจ้ารู้หรือไม่ว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)ได้ทำนมาซรวมระหว่างซุฮ์ริกับอัศริ และมัฆริบกับอิชาอ์



            ท่านอับดุลลอฮ์ บิน ชะกีก กล่าวว่า ในใจของฉันรู้สึกสับสนต่อเรื่องนั้นยิ่งนัก ฉันจึงไปหาท่านอะบูฮุร็อยเราะฮ์ แล้วถามท่าน เมื่อนั้นฉันจึงเชื่อถือคำพูดของท่านอิบนุอับบาส



            ท่านมุสลิม เจ้าของตำราสำคัญสุดยอด ในความยอมรับและความเชื่อถือของนักปราชญ์ซุนนีทั่วโลก ไม่แพ้บุคอรี ได้รายงานไว้ในศอฮีฮ์ของท่าน ฮะดีษที่ 58

          ท่านกล่าวว่า นี่เป็นอีกฮะดีษหนึ่งที่มีสายสืบมาจากท่านอับดุลลอฮ์ บิน ชะกีก อัลอุก็อยลีย์ ท่านได้กล่าวว่า ชายคนหนึ่งได้พูดกับท่านอิบนุอับบาส(เพราะท่านกล่าวปราศรัยยืดยาวมาก)ว่า นมาซเถิด แต่ท่านอิบนุอับบาส ยังนิ่งเฉย จากนั้นเขาก็ยังกล่าวว่า นมาซเถิด แต่ท่านอิบนุอับบาสก็ยังนิ่งเฉย ต่อจากนั้นเขาก็ยังกล่าวอีกว่า นมาซเถิด แต่ท่านอิบนุอับบาสก็ยังนิ่งเฉยอีก แล้วท่านกล่าวขึ้นว่า เจ้าไม่มีมารดาแน่แล้ว เจ้าจะสอนเราในเรื่องการนมาซกระนั้นหรือ ขณะที่เราเคยทำสองนมาซรวมกันในสมัยท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)




            ท่านริซกอนีย์ ซึ่งเป็นนักปราชญชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งของพวกท่าน ได้รายงานไว้ในตำราของท่าน"ชะเราะฮ์มุวัฏเฏาะมาลิก 1 หน้า 263 การทำสองนมาซรวมกัน รายงานจากท่านนะซาอีย์ จากสายรายงานของอุมัรว์ บิน ฮะร็อม จากอิบนุชะอ์ซาอ์ ท่านได้กล่าวว่า แท้จริง ท่านอิบนุอับบาส ได้ทำสองนมาซ(ซุฮ์ริกับอัศริ) และสองนมาซ(มัฆริบกับอิชาอ์)รวมกันที่เมืองบัศเราะฮ์ แล้วท่านบอกว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)ทำนมาซอย่างนี้

           
          ท่านมุสลิม ยังได้รายงานไว้ในตำราศอฮีฮ์ของท่านอีกว่า ท่านมาลิก(หมายถึงอิมามมาลิกี ผู้นำมัซฮับ 1 ใน 4 ของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์) ได้รายงานไว้ในตำราอัล-มุวัฏเฏาะ ว่า ท่านอะห์มัด บิน ฮันบัล (อิมามฮัมบะลีย์ ผู้นำมัซฮับฮัมบะลี 1 ใน 4 มัซฮับของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ได้รายงานไว้ในตำรามุสนัด

          ท่านอิมามติรมิซีย์(นักรายงานฮะดีษที่ฝ่ายซุนนะฮ์ยอมรับนับถือในความเป็นเลิศทางวิชาการฮะดีษ) ได้รายงานไว้ในตำราศอฮีฮ์ บทว่าด้วยการทำสองนมาซรวมกัน โดยอ้างสารบบ(สะนัด)นักรายงานของพวกเขาเอง จากท่านซะอีด บิน ญุบัยร์ ซึ่งได้รายงานจากอิบนุอับบาส ที่ได้กล่าวว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ)ทำนมาซซุฮ์ริ และอัศริรวมกันและทำนมาซมัฆริบกับอิชาอ์รวมกันที่เมืองมะดีนะฮ์ โดยไม่มีเหตุที่น่ากลัว และไม่มีฝนแต่ประการใด มีคนถามท่านอิบนุอับบาสว่า ท่านมีจุดประสงค์ใดในการกระทำเช่นนั้น ? ท่านกล่าวว่า ท่านนบี(ศ)ต้องการจะไม่ให้มีความยุ่งยากแก่คนใดในหมู่ประชาชาติของท่าน



            นี่คือ บทรายงานบางส่วนของซุนนีในเรื่องนี้ ทั้งๆที่ยังมีมากกว่านี้อีกมาก  และมีหลักฐานปรากฏชัดเจนว่า อนุญาตให้รวมสองนมาซในช่วงเวลาเดียวกันได้ แม้จะไม่มีอุปสรรคใดๆ และมิใช่เดินทาง โดยนักปราชญ์ของเหล่านั้นได้ตั้งชื่อบทไว้ในตำราศอฮีฮ์ และมุสนัดของพวกเขาไว้ ภายใต้ชื่อบทว่า "การทำสองนมาซรวมกัน" แล้วในบทนั้นพวกเขายังได้กล่าวถึงรายงานต่างๆที่อนุญาตให้ทำนมาซรวมกันได้โดยไม่มีข้อแม้ใดๆ ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงเดินทาง หรือในยามปกติ จะมีหรือไม่มีเหตุอุปสรรคใดๆก็ตาม



         เจ้าของตำราศอฮีฮ์อื่นๆได้บันทึกรายงานฮะดีษ ตามมาตรฐาในการตรวจสอบเพื่อยืนยันความถูกต้องของฮะดีษนั้นๆ อย่างเช่นมุสลิม ติรมิซีย์ นะซาอีย์ อะห์มัดบิน ฮันบัล และหนังสือชัรรอฮ์ ศอฮีฮัยมุสลิม บุคอรี และบรรดานักปราชญ์ใหญ่ๆของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ยกเว้นบุคอรีท่านเดียว ก็น่าจะเพียงพอแก่เหตุให้ถือว่า เราสามารถยอมรับและนำคำบอกเล่าในรายงานของท่านเหล่านั้นาถือปฏิบัติได้ และเพียงพอที่จะยืนยันความถูกต้องได้แล้ว.....(จะติดขัดอยู่หน่อย ก็ตรงที่ชีอะฮ์ ได้ปฏิบัติอยู่เท่านั้นเอง



        แต่อย่างไรก็ดี ถึงจะเป็นท่านบุคอรีเองก็เถอะ ถ้าเราอ่านดูให้ถ้วนถี่ เราจะพบว่า บุคอรีได้เขียนสนับสนุนรายงานบทนี้ไว้ในศอฮีฮ์ของท่านเหมือนกัน  แต่อยู่ในหมวด(บาบ)อื่น นั่นคือในบทว่าด้วย"การยืดเวลานมาซซุฮ์ริออกไปถึงเวลอัศริ"จาก "กิตาบมะวากีตุศศอลาฮ์" และยังมีปรากฏในบทว่าด้วย "ซิกรุลอิชาอ์วัลอิตมะฮ์"และบทว่าด้วย "วักตุลมัฆริบ"



         ล้วนเป็นหลักฐานว่า อนุญาตให้ทำสองนมาซรวมกันในช่วงเวลาเดียวได้ ดังที่ถูกนำมาอ้างไว้ก่อนหน้านี้ อีกด้วยเช่นกัน



          แสดงว่า เมื่อรายงานฮะดีษเหล่านี้ถูกนำมาอ้างอิงโดยบรรดานักปราขญ์ของทั้งสองฝ่าย(ซุนนี-ชีอะฮ์) พร้อมกับยืนยันถึงความถูกต้องของฮะดีษนั้นๆในตำราศอฮีฮ์ทั้งหลายของพวกเขา ก็หมายความว่า นักปราชญ์เหล่านั้น อนุญาตและยินยอมให้ทำนมาซรวมได้นั่นเอง หาไม่แล้ว แน่นอน พวกเขาจะไม่อ้างอิงรายงานต่างๆเหล่านี้ไว้เป็นอันขาด




          ท่านอัลลามะฮ์อันนูรีย์ ที่อธิบายไว้ใน"ชะเราะฮ์ศอฮีฮ์มุสลิม" ท่านอัสก็อลลานีย์ ท่านกิสฏ็อลลานีย์ และท่านซะกะรียา อัล-อันศอรีย์ ที่ได้บันทึกในหนังสือ "ชะเราะฮ์ศอฮีฮ์บุคอรีย์" ของพวกเขา และทำนองเดียวกับท่านริซกอนีย์ ที่บันทึกไว้ใน "ชะเราะฮ์มุวัฏเฏาะมาลิก"และนอกเหนือจากนี้ บรรดานักปราชญ์ชั้นอาวุโสคนอื่นๆของพวกท่าน กล่าวถึงรายงานบอกเล่าบทนี้ โดยให้ความเชื่อถือและรับรองความถูกต้อง และยืนยันชัดเจนว่า ฮะดีษเหล่านี้าอนุญาตและยินยอมให้ทำสองนมาซรวมกันในยามปกติได้ ถึงแม้จะไม่มีเหตุอุปสรรคและไม่มีฝนก็ตาม

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากผ่านรายงานฮะดีษของอิบนุอับบาสแล้ว นักปราชญ์ซุนนียังบันทึกหมายเหตุกำกับไว้ว่า รายงานฮะดีษนี้เป็นหลักฐานยืนยันว่า อนุญาตให้ทำนมาซรวมได้ โดยไม่มีเงื่อนไข ทั้งนี้ก็เพื่อมิให้มนุษย์คนใดในหมู่ประชาชาติตกในความยุ่งยากลำบากนั่นเอง



          น่าเสียใจยิ่งนัก ที่บรรดาปราชญ์ซุนนีไม่ได้ปฏิบัติตามข้อบัญญัติที่ชัดเจนและบทรายงานที่ถูกต้อง(ศอฮีฮ์)อีกมากมายหลายเรื่องที่มีบันทึกในตำราของพวกเขาเอง ไม่เฉพาะแต่เรื่องนี้ เลยทำให้เห็นว่าแตกต่างกัน และถกเถียงกันแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันอย่างคนโง่เขลา



          ยังมีความเป็นจริงอีกมากที่ท่านนบี(ศ)ได้ระบุเป็นข้อบัญญัติและกล่าวอย่างชัดเจนไว้ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิต แต่แล้วพวกเขาก็มิได้นำพามาปฏิบัติ

          หากแต่พวกเขาได้ตีความให้เป็นอื่น และปิดบังอำพรางข้อบัญญัตินั้นๆ เรื่องการทำสองนมาซรวมในช่วงเวลาเดียวกัน เป็นเพียงเรื่องปลีกย่อยเรื่องหนึ่ง ที่นักการศาสนาของซุนนีไม่นำพา ทั้งๆที่มีบันทึกอย่างชัดเจนไว้อย่างนั้นแล้ว



            คนเหล่านั้นส่วนหนึ่งกล่าวว่า บทรายงานเหล่านี้(ที่ระบุอย่างชัดเจนในการทำสองนมาซรวม) อาจ มีจุดมุ่งหมายให้ทำนมาซรวมในเวลาที่มีอุสรรคเท่านั้น เช่น มีเหตุที่น่ากลัว มีฝน มีเหตุทำให้ดินแฉะ และเป็นโคลน ผลจากการตีความเช่นนี้ ทำให้ความหมายอันชัดเจนของฮะดีษท่านนบีขัดแย้งกับคำวินิจฉัยของนักปราชญ์ชั้นนำซุนนี เช่น อิมามมาลิก อิมามชาฟิอีย์ และนักการศาสนาในมะดีนะฮ์บางท่าน เพราะพวกเขาสอนว่า ไม่อนุญาตให้ทำสองนมาซ  รวมในช่วงเวลาเดียวกัน นอกจากในยามมีเหตุอุปสรรคและมีฝนเท่านั้น
 

การตีความเช่นนี้ ปฏิเสธต่อบทรายงานอันชัดเจนของท่านอิบนุอับบาส ที่กล่าวว่า ท่านนบี(ศ)ได้รวมระหว่างสองนมาซในเวลาเดียวกัน นอกจากในยามมีเหตุอุปสรรค เช่น ความน่ากลัวและฝน


          นักปราชญ์อีกส่วนหนึ่งกล่าวว่า บทรายงานเหล่านี้แม้จะระบุอย่างชัดเจนในการทำสองนมาซรวมกันโดยไม่มีข้อแม้ใดๆ กล่าวคือ ไม่มีเหตุอุปสรรคใดๆ และไม่ใช่ยามเดินทาง แต่บางทีเป็นไปได้ว่า ยามนั้นจะมีเมฆครึ้มจนท้องฟ้ามืดมัว ทำให้พวกเขาไม่รู้เวลา ครั้นพอทำนมาซซุฮ์ริเสร็จเรียบร้อย ก้อนเมฆได้สลายพอดี ความมืดครึ้มได้คลี่คลาย เมื่อนั้น พวกเขาถึงได้รู้ว่า เข้าเวลาอัศริไปแล้ว จึงทำนมาซอัศริรวมกับนมาซซุฮ์ริติดต่อกันไป

ท่านทั้งหลายโปรดพิจารณาเถิด การตีความในลักษณะเช่นนี้ กับกิจการที่สำคัญเช่นการนมาซ ซึ่งเป็นเสาหลักของศาสนาจะถูกต้องหรือ?



           นักตีความเหล่านั้น ได้ลืมไปแล้วกระนั้นหรือว่า คนนมาซในรายงานบทนี้ คือท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)โดยลืมไปว่า การมีเมฆ หรือไม่มีเมฆ ไม่ได้มีผลกระทบใดๆต่อความรู้ของท่านนบี(ศ) ซึ่งท่านรู้โดยการสอนของอัลลอฮ์ ผู้ทรงสูงสุด และท่านมองเห็นโดยรัศมีจากพระผู้อภิบาล ผู้ทรงอานุภาพสูงสุดของท่าน


          จะอนุญาตให้เราตัดสินในเรื่องศาสนาของอัลลอฮ์ ผู้ทรงยิ่งใหญ่ ด้วยการยึดถือการตีความที่ไม่ปราศจากความรู้จริงเช่นนี้ได้หรือ ? ซึ่งไม่มีหลักฐานใดๆประกอบ นอกจากการให้น้ำหนักกับความสงสัย ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าผู้สูงสุด ตรัสว่า "แท้จริงการสงสัยนั้น ไม่พอเพียงที่จะให้ความจริงแต่ประการใด"


        นอกเหนือไปจากนี้แล้ว การที่อ้างว่า การทำนมาซรวมของท่านนบี(ศ)ระหว่างมัฆริบ กับอิชาอ์ เพราะการมีเมฆหรือไม่มีเมฆในยามนั้น ไม่มีผลแต่ประการใด ?


         เพราะฉะนั้น การตีความแบบนี้ขัดแย้งกับบทรายงานต่างๆและขัดแย้งกับความชัดเจนของคำบอกเล่า ที่ว่า ท่านอิบนุอับบาส ได้กล่าวคำปราศรัยอยู่จนกระทั่งเริ่มปรากฏแสงดาว และท่านก็ไม่แยแสกับเสียงร้องตะโกนของชายคนนั้น ที่ว่า นมาซเถิด นมาซเถิด ต่อจากนั้น ท่านอิบนุอับบาส ได้ตอบโต้คนตระกูลตะมีมว่า ""เจ้าจะสอนแบบฉบับของท่านศาสดาให้แก่ฉัน กระนั้นหรือ ?เจ้าไม่มีมารดาแน่แล้ว จากนั้นท่านได้กล่าวว่า เจ้ารู้หรือไม่ว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)ได้ทำนมาซรวมระหว่างซุฮ์ริกับอัศริ และมัฆริบกับอิชาอ์ หลังจากนั้น อะบูฮุร็อยเราะฮ์ ก็ยังให้การรับรองคำพูดของอิบนุอับบาสอีก




        แสดงให้เห็นว่า การตีความในรูปแบบนี้ ไม่ได้เป็นไปตามหลักการทางสติปัญญาและไม่เป็นที่ยอมรับสำหรับพวกเรา และทำนองเดียวกันก็ไม่เป็นที่ยอมรับของบรรดานักปราชญ์ระดับอาวุโสของพวกท่านอีกด้วยทั้งนี้ก็เพราะพวกท่านพิจารณาแล้วเห็นว่า การตีความนั้นๆขัดแย้งกับความหมายที่ชัดเจนของบทรายงาน



           ดังที่กล่าวมานี้ ท่านชัยคุลอิสลาม อัลอันศอรีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือของท่าน"ตุห์ฟะตุลบารีย์ ฟี ชัรฮิ ศอฮีฮิลบุคอรี" บทว่าด้วยการนมาซซุฮ์ริรวมกับอัศริ และนมาซมัฆริบรวมกับอิชาอ์ หน้า 292 เล่มที่ 2




         อัลลามะฮ์ กิสฏ็อลลานีย์ บันทึกในหนังสือ "อิรชาดุซซารี ฟี ชัรฮิ ศอฮีฮ์ บุคอรี"หน้า 293 เล่ม 2 และเช่นเดียวกับนักอธิบาย"ศอฮีฮ์บุคอรี"ท่านอื่นๆ และบรรดาปราชญ์ นักวิเคราะห์ของซุนนีอีกจำนวนมาก พวกเขากล่าวว่า การตีความในรูปแบบที่ขัดแย้งกับรายงานต่างๆเหล่านี้ และการเชื่อถือแบบคล้อยตาม(ตักลีด) โดยแยกเวลาสองนมาซออกจากกัน เป็นการนำเรื่องที่ไม่น่าเชื่อถือ มาเป็นที่เชื่อถือ และเป็นการนำเรื่องที่ไม่ชี้ชัด มาเป็นเรื่องชี้ชัด



         พวกเราบรรดาชีอะฮ์ทั้งหลาย ไม่ได้มองบรรดานักปราชญ์ฝ่ายซุนนีและพี่น้องซุนนีท่านใดด้วยสายตาเกลียดชังและเป็นศัตรู หากแต่เราถือว่า เขาเหล่านั้น คือพี่น้องในศาสนาของเรา

            ตรงกันข้ามกับพี่น้องซุนนีบางคนมองเราอย่างแน่นอน เพราะพวกเขามองว่าบรรดาชีอะฮ์คือ ศัตรูของพวกเขา ดังนั้น พวกเขาจึงปฏิบัติต่อบรรดาชีอะฮ์ เหมือนศัตรูปฏิบัติต่อศัตรู



         ไม่มีสิ่งใดทำให้พวกเขามองชีอะฮ์แห่งวงศ์วานนบีมุฮัมมัด(ศ) (ผู้ปฏิบัติตามแนวทางของอะฮ์ลุลบัยต์ของท่านศาสทูต ผู้ทรงเกียรติ) ด้วยสายตาเช่นนั้น นอกจากโดยคำพูดใส่ไคล้ และการโจมตี โดยสื่อต่างๆของพวกคอวาริจญ์,พวกนะวาศิบ และวงศ์วานของอุมัยยะฮ์ ที่เป็นศัตรูของท่านนบี(ศ)และศัตรูของวงศ์วานท่านนบีผู้ทรงเกียรติ(ศ) และในยุคปัจจุบันนี้ก็มาเหตุจากพวกจักรวรรดินิยม ซึ่งเป็นศัตรูตัวร้ายของอิสลามและมวลมุสลิม พวกมันกลัวการสูญเสียผลประโยชน์ ถ้าหากเกิดมีการสามัคคีและการรวมตัวเป็นเอกภาพของชาวมุสลิมขึ้นมา


เป็นที่น่าเสียใจอย่างยิ่งที่ว่า ความเข้าใจผิดในเชิงเป็นศัตรู มีปฏิกิริยาอยู่ในจิตใจและความคิดของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์บางท่าน จนกระทั่งตั้งข้อกล่าวหาว่า พวกเราเป็นกุฟร์และชิร์ก(ผู้ปฏิเสธศาสนาและยกสิ่งอื่นเป็นภาคีต่ออัลลอฮ์)



        พวกเขามิได้คิดถึงเลยหรือ ว่าอัลลอฮ์ทรงห้ามบรรดามุสลิมจากความแตกแยกด้วยโองการที่ว่า "และจงกระชับให้เหนียวแน่นกับสายเชือกของอัลลอฮ์โดยพร้อมเพรียงกันทั้งหมดและจงอย่าแตกแยกกัน"


           เมื่อเป็นเช่นนี้ แล้วทำไม พี่น้องซุนนีบางท่านกลับใส่ไคล้พาดพิงเรากับสิ่งที่อัลลอฮ์และศาสนทูตของ พระองค์ไม่ทรงพอพระทัย และแสวงหาความแตกแยกระหว่างเรากับพวกเขา และมองพวกเราด้วยสายตา ที่เป็นศัตรูและชิงชัง ? และนี่คือ สิ่งที่ศัตรูกำลังคอยจ้องอยู่ ซึ่งบรรดาชัยฏอนในหมู่มนุษย์และญิน ต้องการจะให้เราเป็นเช่นนั้น
 

พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงสูงสุดตรัสว่า "บรรดาชัยฏอนในหมู่มนุษย์และญินได้กระซิบแก่กันและกัน และเพื่อจะย้อมจิตใจของพวกที่ไม่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และต่อปรโลก และเพื่อเป็นที่พึงพอใจของมัน...."



        พระองค์ ผู้ทรงสูงสุด ได้ตรัสว่า "ชัยฏอนนั้น มันต้องการเพียงจะให้ความเป็นศัตรูและความชิงชังบังเกิดขึ้นในระหว่างพวกเจ้า ในเรื่องสุราและการพนันในระหว่างพวกเจ้า...."



         หมายความว่า บางครั้ง ชัยฏอนจะให้ความเป็นศัตรูบังเกิดขึ้นในในระหว่างพวกเจ้า โดยมีสุราและการพนันเป็นสื่อ และบางครั้งก็อาศัยความคลุมเครือ และความสับสนซึ่งมันได้ขว้างปาเข้าไปในหัวใจของพวกเขา  ในลักษณะการตั้งข้อกล่าวหาและโจมตีซึ่งชัยฏอนมนุษย์ได้ทำการแพร่ระบาดสิ่งนี้ไปทั่วในสังคมของพวกเขา



         ในส่วนที่เกี่ยวกับปัญหาการรวมและการแยกช่วงเวลาระหว่างสองนมาซ ถึงแม้ว่า บรรดานักปราชญ์ทางศาสนาของซุนนีจะรายงานบอกเล่าถึงเรื่องราวที่ถูกต้อง และชัดเจนสักเพียง ใดว่า  ยินยอม(มุบาฮ์)ให้กระทำและอนุญาตให้กระทำได้ เพื่ออำนวยความสะดวกและขจัดภาระที่ยุ่งยาก ไปจากประชาชาติอิสลามดังที่ทราบกันแล้ว แต่พวกเขาเหล่านั้นกลับตีความเป็นอื่น  หลังจากนั้น ก็ออกคำวินิจฉัยไม่อนุญาตให้กระทำรวมกันโดยไม่มีเหตุอุปสรรค หรือเดินทาง
 

กระทั่งมีบางส่วน เช่น อะบูหะนีฟะฮ์ และสานุศิษย์ ถึงกับออกคำวินิจฉัยว่า ไม่อนุญาตให้กระทำรวมกันโดยสิ้นเชิง แม้ว่า จะมีเหตุอุปสรรคหรือเดินทางก็ตาม



           แต่มัซฮับ ชาฟิอีย์ มาลิกีย์ และฮันบะลีย์นั้น แม้จะมีความขัดแย้งในระหว่างพวกเขาด้วยกันเองในด้านต่างๆทั้งหมดไม่ว่าหลักการขั้นพื้นฐาน(อุศูล) หรือหลักการสาขาปลีกย่อย(ฟุรูอ์) แต่ก็ยังอนุญาตให้ทำนมาซรวมกันได้ในยามเดินทางโดยอนุโลม เช่นเดินทางไปบำเพ็ญฮัจญ์ และ ทำอุมเราะฮ์ และเดินทางเพื่อทำสงคราม และอื่นๆในทำนองนี้
 

   แต่นักปราชญ์ศาสนาของชีอะอ์นั้น ปฏิบัติตามบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ ที่สืบมาจากวงศ์วานของท่านนบี ผู้ถูกเลือกสรรโดยพระผู้เป็นเจ้า (ศ) ซึ่งเขาเหล่านั้น ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)  ได้กำหนดขึ้นเป็นตราชู ที่ทำให้รู้ว่าอะไรเป็นสัจธรรม อะไรเป็นความผิดพลาด และยกฐานะให้เป็นคู่ของอัล-กุรอานและเป็นเสาหลักสำหรับประชาชาติในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง และท่านนบี(ศ)ได้กล่าวยืนยันอย่างชัดเจนว่า การยึดถือบุคคลเหล่านั้นควบคู่กับอัล-กุรอาน จะปลอดภัยจากความแตกแยกและหลงผิด ภายหลังจากท่าน



            พวกเขาวินิจฉัยว่าอนุญาตให้ทำนมาซรวมกันได้โดยไม่มีข้อแม้ใดๆ จะมีเหตุอุปสรรค หรือไม่ก็ตาม จะอยู่ในยามเดินทางหรือไม่ก็ตาม จะทำนมาซรวมในช่วงเริ่มต้นเวลา(ตักดีม) หรือทำนมาซรวมในช่วงท้ายๆของเวลา(ตะคีร) พวกเขาให้เสรีภาพแก่ผู้นมาซที่จะเลือกทำนมาซรวมละทำแยกด้วยตัวของเขาเอง เพื่อความสะดวกและขจัดความยุ่งยาก และโดยที่อัลลอฮ์ทรงรักการรับเอาการผ่อนผันของพระองค์มาปฏิบัติ
 

ดังนั้นบรรดาชีอะฮ์จึงเลือกเอาการทำสองนมาซรวมกันในช่วงเวลาเดียวมาปฏิบัติ เพื่อที่ว่า  นมาซใดๆก็ตามจะไม่พลั้งพลาดไปจากพวกเขา ไม่ว่าจะโดยหลงลืม หรือ เกียจคร้านก็ตามดังนั้นพวกเขาจึงกระทำได้เสมอ ไม่ว่าจะนมาซรวมในช่วงเริ่มต้นเวลา หรือช่วงท้ายของเวลา (ยาวหน่อยนะ )

อ้างอิงจากเวบ

http://yomyai.igetweb.com/index.php?mo=3&art=347058


คำถามสำหรับวาฮาบี


การนมาซรวมในยามปกติ  คือ ซุนนะฮ์ หรือ บิดอะฮ์
  •  

25 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้