ข่าว:

SMF - Just Installed!

Main Menu
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - L-umar

#46
ความแตกต่างระหว่าง วิชาริญาล กับ ดิรอยะฮ์


วิชาดิรอยะฮ์ จะพิจารณาสะนัด(สายรายงาน)โดยรวมทั้งหมด แล้ววิจัยถึงสภาพที่เกิดขึ้นกับมัน  


ส่วนวิชาริญาล จะไปวิจัยนักรายงานในสายรายงานฮะดีษเป็นรายบุคคล โดยเจาะรายละเอียดลงไปถึงคุณสมบัติว่าแต่ละคนได้รับการยกย่องหรือถูกตำหนิ
#47
วิชา  ดิรอยะฮ์  (عِلْمُ الدِّراَيَةِ   )


ดิรอยะฮ์  คือวิชาที่ศึกษาถึงสภาพที่เกิดขึ้นกับฮะดีษทางด้านสะนัดและมะตั่น(สายรายงานและตัวบทความหมายฮะดีษ)

คำ " สะนัด " ในที่นี้หมายถึง  แหล่งรวมนักรายงานฮะดีษ โดยจะไม่ไปพิจารณาเป็นรายบุคคล เมื่อพิจารณาสะนัดแล้วจากนั้นจะเรียกสะนัดนั้นๆว่า  

มุตตะซิล (متصل) สายรายงานที่ติดต่อกันมาโดยตลอด
มุงก่อเตี๊ยะอ์ (منقطع ) สายรายงานที่ขาดตอน
ซอแฮะฮ์ (صحيح) สายรายงานที่ถูกต้อง
ดออีฟ (ضعيف) สายรายงานที่ไม่แข็งแรง
มุสนัด (مسند) สายรายงานที่เชื่อต่อกันมา
มุรซัล (مرسل) สายรายงานที่ไม่เชื่อมต่อกัน และอื่นๆเป็นต้น


กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ  เป้าหมายที่ติดตามมาหลังวิชาดิรอยะฮ์คือ การยึดถือบนความถูกต้อง(ซอฮิ๊ฮ์)และไม่ถูกต้องของรายงานนั้นๆ ซึ่งมันตกอยู่ภายใต้การศึกษาแหล่งรวมของสะนัด(สายรายงาน)อย่างครบถ้วนสมบูรณ์เสียก่อน

ตรงกันข้ามกับเป้าหมายที่ติดตามมาหลังวิชาริญาล เพราะมันคือการทำความรู้จักสภาพของนักรายงานฮะดีษแต่ละคนแบบเป็นรายบุคคล


คำ " มะตั่น " หมายถึงสิ่งที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากท่านรอซูลลุลลอฮ์(ศ) ท่านหญิงฟาติมะฮ์ และบรรดาอิม่ามทั้งสิบสอง (อ) หรือจากบุคคลอื่นๆ
โดย(มะตั่น)ตัวบทฮะดีษนั้นอาจจะมีลักษณะที่เป็นหลักฐาน  หรือมีความหมายแบบซอเฮ็ร หรือมีใจความแบบสังเขป หรือมีความหมายแบบชัดแจ้ง หรือมีความหมายแบบเป็นนัยยะ(ไม่ชัดเจน)

หากมีคนกล่าวว่า วิชาริญาลนั้นศึกษาในด้านสะนัด(สายรายงานฮะดีษ)  ส่วนวิชาดิรอยะฮ์นั้นศึกษาในด้านมะตั่น(ตัวบท) คำพูดนี้ห่างไกลมาก เพราะวิชาดิรอยะฮ์ก็ศึกษาสะนัดฮะดีษเช่นกันเหมือนวิชาริญาล
#48
อัสสลามุอะลัยกุมฯ ทุกท่าน  

ต่อไปนี้เราจะทยอยนำบทความเรื่อง

อิลมุลริญาล  วัด – ดิ รอยะฮ์   ( عِلْمُ الرِّجاَلِ  وَ عِلْمُ الدِّراَيَةِ )  ของชีอะฮ์

มาให้ท่านได้ศึกษากันไปเรื่อยๆจนจบ อินชาอัลเลาะฮ์  




วิชา ริญาล ( عِلْمُ الرِّجاَلِ )

บทเรียนที่  หนึ่ง



ก่อนเข้าสู่รายละเอียด  ตามธรรมเนียมทั่วไปต้องขอกล่าวถึงสี่หัวข้อดังต่อไปนี้ก่อนเป็นอันดับแรกคือ

1 - นิยาม  วิชาริญาล
2 - เนื้อหาของวิชาริญาล
3 - ปัญหาต่างๆของวิชาริญาล
4 - เป้าหมายของวิชาริญาล



1. นิยามวิชา ริญาล

อุลมุล ริญาล  คือวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับสถานภาพนักรายงานฮะดีษ  ทั้งตัวตนและคุณสมบัติ(ของเขา)
ตัวตนของนักรายงาน หมายถึง ทำความรู้จักชื่อของพวกเขาและชื่อบิดาของพวกเขา(คือชื่อและนามสกุล)
คุณสมบัติของนักรายงาน หมายถึง ทำความรู้จัก คุณสมบัติของพวกเขา ซึ่งจะเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการยอมรับฮะดีษของเขาหรือปฏิเสธรายงานฮะดีษของเขา
กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ  เป็นการศึกษาถึงสถานภาพของนักรายงานฮะดีษนั้นๆว่า ตัวเขามีอะดาละฮ์(คุณธรรม)ไหม  เขาเป็นที่ยกย่องหรือถูกเมิน  หรือเขาไม่มีตัวตน(มัจญ์ฮู้ล)
และยังศึกษาถึงรายชื่อบรรดาอาจารย์ของพวกเขา  ตลอดจนลูกศิษย์ลูกหาของพวกเขา  ระดับชั้นของพวกเขาว่าอยู่ในยุคไหนในการรายงานฮะดีษ และอื่นๆเป็นต้น


2. เนื้อหาของวิชาริญาล

ในเมื่อวิชาริญาลคือ ศาสตร์ที่ค้นคว้าเกี่ยวกับสถานภาพของนักรายงานฮะดีษ  ฉะนั้นเนื้อหาของมันคือ  นักรายงานฮะดีษที่ถูกกล่าวถึงในสายรายงาน(สะนัด)จนกระทั่งไปสิ้นสุดที่ท่านรอซูลลุลลอฮ์(ศ) ท่านหญิงฟาติมะฮ์ และบรรดาอิม่ามทั้งสิบสอง (อ)


3. ปัญหาต่างๆของวิชาริญาล

สภาพต่างๆที่ปรากฏขึ้นกับตัวของนักรายงานฮะดีษ ซึ่งจะเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการยึดถือรายงานฮะดีษของเขาเช่น  
ความษิเกาะฮ์ (ความน่าเชื่อ) , ความดออีฟ (ความไม่แข็งแรง) , การถูกตำหนิ หรือสภาพอื่นๆเป็นต้น


4. เป้าหมายของวิชาริญาล

คือการยึดถือสภาพของนักรายงานฮะดีษ ตามความน่าเชื่อถือและความไม่น่าเชื่อถือ ถัดมาคือการจำแนกผู้ที่ถูกยอมรับออกจากนักรายงานคนอื่นๆ(ที่ไม่ถูกยอมรับ)
#49


ฟัตวาอุละมาวาฮาบีแห่งซาอุฯตำหนิการปฎิวัติชาวอียิปต์



อิสลามเป็นศาสนาหนึ่ง  ที่สอนให้มนุษย์ต่อต้านความอธรรมและการกดขี่ไม่ว่ารูปแบบใดก็ตาม

และอิสลามยังสอนมนุษย์ให้เสียสละชีวิตและทรัพย์สินในหนทางนี้


อัลเลาะฮ์ (ตะอาลา ) ทรงตรัสว่า  

บุคคลใดก็ตามที่ไม่ยอมนำรัฐธรรมนูญของพระองค์ (คือรัฐอิสลาม)ที่ได้ประทานให้ มาปกครองมนุษย์บนโลก  พวกเขาเหล่านั้นคือ

พวกกาฟิรูน   พวกซอลิมูน  พวกฟาซิกูน

وَمَنْ لَمْ يَحْكُمْ بِمَا أَنْزَلَ اللَّهُ فَأُولَئِكَ هُمُ الْكَافِرُونَ

ซูเราะฮ์ที่  5 : 44
وَمَنْ لَمْ يَحْكُمْ بِمَا أَنْزَلَ اللَّهُ فَأُولَئِكَ هُمُ الظَّالِمُونَ

ซูเราะฮ์ที่  5 : 45

وَمَنْ لَمْ يَحْكُمْ بِمَا أَنْزَلَ اللَّهُ فَأُولَئِكَ هُمُ الْفَاسِقُونَ

ซูเราะฮ์ที่  5 : 47




แต่น่าแปลกใจยิ่งนัก  ที่นักปราชญ์วาฮาบีได้ออกมาให้การค้ำจุนสนับสนุนผู้นำอียิปต์


นักปราชญ์วาฮาบีได้ออกมาประกาศอย่างโจ่งแจ้ง โดยตำหนิประชาชนชาวอียิปต์  ที่ลุกฮือขึ้นประท้วงต่อต้านการปกครองของประธานาธิบนี ฮุซนี่ มุบาร็อกว่า " เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง  "

ชมคลิปคำพูดของนักปราชญ์วาฮาบีที่ออกมาฟัตวาห้ามชาวอียิปต์ประท้วง

http://aljazeeratalk.net/forum/showthread.php?t=308974

 

นักปราชญ์วาฮาบีแห่งซาอุดิอารเบีย กล่าวว่า   การเดินขบวนประท้วงของประชาชนชาวอียิปต์คือการสร้างความเดือนร้อนปั่นป่วนให้กับสังคม

http://www.alhkm.com/vb/showthread.php?p=168860








موقف علماء السعودية من مظاهرات مصر

จุดยืนอุละมา  ซาอุดิอารเบีย  เกี่ยวกับการประท้วงของชาวอียิปต์


لم تمر تصريحات المفتي العام للسعودية الشيخ عبد العزيز بن عبد الله آل الشيخ حينما وصف المظاهرات المتواصلة في مصر بأنها "إثارة للفتن بين الشعوب وحكامها"،

นักข่าวรายงานว่า   ยังไม่ทันที่คำฟัตวาของมุฟตีอามแห่งประเทศซาอุฯ คือ


เชคอับดุลอะซีซ บินอับดุลลอฮ์ อาลิชชัยค์ ขณะที่เขาได้กล่าวว่า

บรรดาผู้ประท้วงที่ทำการประท้วงมาอย่างต่อเนื่องในอียิปต์นั้นคือ   " การสร้างความปั่นป่วนขึ้นในหมู่ประชาชนและผู้ปกครองของประเทศนั้นๆ




หลังจากเวลาผ่านไปได้ไม่กี่นาทีจากการคุตบะฮ์วันศุกร์ที่ท่านอาลิชชัยค์ได้ปราศรัยไปนั้น  ก็ปรากฏว่ามีนักปราชญ์ซาอุฯนามว่า

เชคสุไลมาน  บินฟะฮ์ดฺ อัลเอาดะฮ์  ได้ออกมายกย่องการเคลื่อนไหวของชาวอียิปต์และให้การสนับสุนนการประท้วงของชาวอียิปต์

الشيخ سلمان بن فهد العودة في برنامجه الفضائي الأسبوعي، مثنيا على الحراك الشعبي والشبابي الذي تشهده مصر حاليا، ومشيدا بالشباب المصري الذي سبق الأحزاب السياسية الرسمية والنخب في الوصول إلى الشارع.
أما الخبير في أصول الفقه عوض القرني فدافع من جهته عن مظاهرات الشعب المصري، واعتبر من يقوم بها بأنه "مأجور بار بإذن الله من دخل فيها بنية حسنة".




ปรากฏการณ์โดมิโน่ในตะวันออกกลางที่กำลังปรากฏขึ้นนี้

ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไรเลย  หากย้อนมองกลับไปยังประวัติศาสตร์อิสลามในปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่  60  เมื่อหลานชายสุดที่รักของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ) นามว่า

ฮูเซน  (บุตรของท่านอาลี และนางฟาติมะฮ์ บุตรีท่านศาสดาฯ)ทีได้เคยออกมาต่อต้านการปกครองของเหล่าทรราชย์ เหล่าอธรรม อย่างเช่น


กษัตริย์ ยาซีด บุตรมุอาวียะฮ์  โดยท่านอิหม่ามฮูเซน(อ) ได้เคยปราศัยชักชวนประชาชนให้ลุกฮือขึ้นต่อสู้กับผู้ปกครองโฉดชั่วด้วยสุนทรพจน์ว่า


ฉันได้ยินท่านรอซูลุลเลาะฮ์ (ศ็อลฯ) กล่าวว่า  


مَنْ رَاى سُلْطاناً جائراً مُسْتَحِلاًّ لِحَرامِ اللّه ناَكِثاً عَهْدَهُ مُخاَلِفاً لِسُنَّةِ رَسُولِ اللّه يَعْمَلُ فِى عِباَدِ اللّه بِالاِ ثْمِ وَالْعُدْواَنِ   فَلَمْ يُغَيِّرْ عَلَيْهِ بِفِعْلٍ
وَلاَ قَوْلٍ كاَنَ حَقّاً عَلَى اللّهِ اَنْ يُدْخِـلَهُ مَدْخَلَهُ اَلاَ
وَانَّ هؤُلاءِ قَدْ لَزَمُوا طاَعَـةَ الشَّيْطانِ


ผู้ใดพบเห็นผู้ปกครองผู้อธรรมกดขี่(ต่อประชาชน)  ทำสิ่งที่อัลเลาะฮ์ต้องห้ามเป็นฮะล้าล  บิดพลิ้วพันธะสัญญาของเขา  ไม่ยอมปฏิบัติตามแนวทางของรอซูลลุลเลาะฮ์   ประพฤติปฏิบัติกับปวงบ่าวของอัลเลาะฮ์ด้วยบาปและความล่วงละเมิดขอบเขต

หาก(ผู้ใดพบเห็นผู้ปกครองเช่นนั้น) แล้วเขาไม่พยายามเปลี่ยนแปลงแก้ไขการกระทำหรือคำพูด(ของผู้ปกครองชั่วเหล่านั้น)  ก็เป็นสิ่งถูกต้องแล้วสำหรับอัลเลาะฮ์ที่นำเขาเข้าสู่นรก
พึงรู้เถิดว่า  บุคคลเหล่านี้(ใช้ชีวิต)ติดอยู่กับการเชื่อฟังมารร้ายชัยตอน




ท่านพี่น้องทั้งหลายที่เคารพ

อุละมาอ์วาฮาบีโดยส่วนมาก  ได้ให้การสนับสนุนอยู่กับพวกนักปกครองผู้อธรรมกดขี่มาโดยตลอดบนการแอบอ้างว่าทำตามกิตาบและซุนนะฮ์

และยังออกมาห้ามปรามประชาชนมิให้ลุกฮือขึ้นต่อสู้กับผู้ปกครองทรราชย์อีกด้วย  



คำถามสำหรับอุละมาอ์วาฮาบี

ไม่ทราบว่า  กิตาบเล่มใด  ซุนนะฮ์ใด ที่สั่งสอนพวกท่านให้ค้ำจุนเหล่าบรรดาผู้ปกครองที่อธรรม กดขี่ประชาชน
#50
เชคบิน บาซ อุลามาอ์ วาฮาบี  ด่าซอฮาบะ ว่าทำชีริก


ทัศนะของเชคบินบาซที่ถือว่า  ซอฮาบะฮ์   " ฮิลาล บิน อัลฮาริส " ทำชิริก เพราะเขาทำการตะวัซซุลกับคนตาย

และคนตายคนนี้ก็คือ ท่านนะบีมุหัมหมัด  (ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิ วะอาลิฮี วะซัลลัม)

ซึ่งเชคบินบาซท่านเป็นมุหักกิก หนังสือ ฟัตฮุลบารี ของ อิบนุฮะยัรอัลอัสกอลานี

เรามาดูคำพูดของอิหม่ามอิบนุฮะยัรก่อนนะครับ

وروى ابن أبي شيبة بإسناد صحيح من رواية أبي صالح السمان عن مالك الداري - وكان خازن عمر - قال ‏\\\"‏ أصاب الناس قحط في زمن عمر فجاء رجل إلى قبر النبي صلى الله عليه وسلم صلى الله عليه وسلم [1> فقال‏:‏ يا رسول الله استسق لأمتك فإنهم قد هلكوا، فأتى الرجل في المنام فقيل له‏:‏ ائت عمر ‏\\\"‏ الحديث‏.‏

\\\"จากมาลิก อัดดาร (รายงานว่า) ผู้ดูแลคลังของท่านอุมัร ได้กล่าวว่า ประชาชนได้ประสบความแห้งแล้งในสมัยท่านอุมัร

ดังนั้นจึงมีชายคนหนึ่งได้มายังกุบูรของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และกล่าวว่า โอ้ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ท่านจงขอให้ฝนตกแก่ประชากรของท่านด้วยเถิด

เพราะว่าพวกเขากำลังเดือดร้อน ดังนั้นท่านร่อซูลุลลอฮ์จึงมาเข้ามาหาชายคนนั้นในฝัน และถูกกล่าวแก่เขาว่า ท่านจงไปหาอุมัร(หะดีษนี้บังอัซฮะรี่แปล)

อัลฮะดีษ

وقد روى سيف في الفتوح أن الذي رأى المنام المذكور هو بلال بن الحارث المزني أحد الصحابة، وظهر بهذا كله مناسبة الترجمة لأصل هذه القصة أيضا والله الموفق‏.

และได้มีการรายงานจาก เซฟ ในอัลฟุตูฮฺ คนที่ได้ฝันนั้นคือ บิลาล บิน อัลฮาริส อัลมุซะนี่ เป็นคนหนึ่งจากซอฮาบะฮฺ

ส่วนเชคบินบาซได้กล่าวว่า\\\" การที่ผู้ชายคนนี้ได้ทำไว้นั้นคือความชั่วและนำไปสู่การชิริก

และผู้รู้บางท่านได้ถือว่าการกระทำเช่นนี้เป็นรูปแบบหนึ่งของการชิริก\\\"


ข้อความภาษาอรับว่า

وأن ما فعله هذا الرجل منكر ووسيلة إلى الشرك ، بل قد جعله بعض أهل العلم من أنواع الشرك،

ผมแปลในส่วนที่เป็นประเด็นไว้นะครับ ส่วนทั้งหมดของคำพูดเชคบินบาส หากใครอยากอ่านนั้น ผมได้ลงเป็นภาษาอรับเอาไว้ละกัน เพราะไม่ใช่ประเด็นหลัก

เขากล่าวว่า

[1>
هذا الأثر – على فرض صحته كما قال الشارح – ليس بحجة على جواز الاستسقاء بالنبي صلى الله عليه وسلم بعد وفاته ، لأن السائل مجهول ، ولأن عمل الصحابة رضي الله عنهم على خلافه وهم أعلم الناس بالشرع ،
ولم يأتي أحد منهم إلى قبره يسأله السقيا ولا غيرها بل عدل عمر عنه لما وقع الجدب إلى الاستسقاء بالعباس ، ولم ينكر عليه أحد من الصحابة ، فعلم أن ذلك هو الحق ، وأن ما فعله هذا الرجل منكر ووسيلة إلى الشرك ،
بل قد جعله بعض أهل العلم من أنواع الشرك .
وأما تسمية السائل في رواية سيف المذكور
(( بلال بن الحارس ))
ففي صحته نظر ، ولم يذكر الشارح سند سيف في ذلك ، وعلى تقدير صحته عنه لا حجة فيه ،
لأن عمل كبار الصحابة مخالفه، وهم أعلم بالرسول صلى الله عليه وسلم وشريعته من غير هم ، والله أعلم


อ้างอิงจากฮาชิยะฮฺของเชคบินบาซ ที่ได้ทำการตะฮฺกีกฟัตฮุลบารีหน้าสี่ร้อยเก้าสิบห้า เล่มสอง มักตะบะฮฺ อัลมาอาริฟ บิรริยาด อัลมัมละกะฮฺ อัลอะรอบี่ยะฮฺ อัซซะอูดี่ยะฮฺ

จากตรงนี้แสดงให้เห็นว่าซอฮาบะฮฺของท่านนบีทำชิริกตามทัศนะของเชคบินบาซ

ซึ่งเป็นไปได้อย่างไร ที่ซอฮาบะฮฺผู้นี้จบจากโรงเรียนอะกีดะฮฺที่ถูกต้องแน่นอน โรงเรียนท่านนบีมุฮัมหมัด แล้วเขาไม่รู้ว่าการกระทำเช่นนี้เป็นสิ่งชิริก

ประเด็นนี้ไม่ได้หมายความว่าซอฮาบะนั้นไม่มีทางที่จะผิด ซึ่งซอฮาบะฮฺนั้นก็มีผิดมีถูกในการปฏิบัติ

แต่ที่ผมถือว่าเป็นอันตรายนั้นคือการเสียบแทงซอฮาบะฮฺว่าเขานั้นทำชิริกครับ

และหากเป็นไปตามหุกุมนี้ไม่ใช่แค่ซอฮาบะครับที่ชิริก รวมไปถึงอุลามาอฺอย่างมากมายที่ทำชิริกตามทัศนะของเชคบินบาซ ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ครับ

ผมจะเสนอต่อไปให้พี่น้องทราบนะครับ ว่าอิหม่ามนะวะวีเองก็ถือว่าส่งเสริมให้ทำชิริกเช่นกันตามทัศนะของเชคบินบาสครับ


เพราะท่านส่งเสริมให้ทำการตะวัซซุลที่หลุมศพของท่านนะบีมุหัมหมัด ผซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะ
ซัลลัม )

ท่านอิหม่ามนะวะวีได้กล่าวไว้ในกิตาบอัซการ ของท่าน บท

‏.فصل‏:‏ في زيارة قبر رسول اللّه صلى اللّه عليه وسلم وأذكارها

ว่า

ثم يرجعُ إلى موقفه الأوّل قُبالة وجهِ رسول اللّه صلى اللّه عليه وسلم فيتوسلُ به في حقّ نفسه،

หลังจากนั้นให้กลับไปยืนในที่แรกตรงหน้าท่านรอซูลุลลอฮฺ ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม

แล้วให้ทำการตะวัซซุล ด้วยกับท่านนบี ในสิทธิของเขาเอง

อิหม่ามนะวะวีสนับสนุนให้ทำการตะวัซซุล แม้ท่านนบีจะเสียชิวิตไปแล้วก็ตาม

เพราะในเรื่องนี้นั้นมีหลักฐานศอฮีฮฺอยู่ และหะดีษที่บ่งถึงหลักฐานนี้เป็นแบบอุมูม

ไม่ได้เจาะจงว่าท่านจะมีชิวิตอยู่หรือเสียไปแล้ว


คำถามสำหรับวาฮาบี


อุละมาอ์วาฮาบีระดับสูงกล่าวว่า     ซอฮาบะฮ์ชื่อ   "  ฮิลาล บิน อัลฮาริส " ทำชิริก  คือตั้งภาคีต่ออัลเลาะฮ์ตะอาลา

ถามว่า   การเสียบแทงจาบจ้วงของเชค บินบาซผู้นี้   มีสถานะอย่างไรในทัศนะของวาฮาบีตาดำๆอย่างพวกท่าน
#51

เราพบเวบไซต์นี้


http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php?topic=4408.0


ตั้งหัวข้อเรื่องว่า

ซอฮะบะฮฺท่านหนึ่งได้ทำชิริกตามทัศนะของเชคบินบาซ


เพื่อชี้ให้พี่น้องมุสลิมเห็นว่า    พวกซุนนี่แนววาฮาบี   ชอบตำหนิมุสลิมทั้งโลกว่า  ทำชีรีก ต่ออัลเลาะฮ์ตะอาลา    ไม่เว้นแม้กระทั่ง ซอฮาบะฮ์
#52
ไม่เข้าหมวด / ดุอาอ์หลังนมาซ 5 วาระ
กุมภาพันธ์ 13, 2011, 09:54:06 ก่อนเที่ยง

ดุอาอ์หลังนมาซ  5  วาระ

ศ่อลาต ซุบฮิ


بِسْمِ اللهِ وَصَلَّى اللهُ عَلى مُحَمَّد وآلِهِ وَاُفَوِّضُ اَمْريى اِلَى اللهِ اِنَّ اللهَ بَصيرٌ بِالْعِبادِ فَوَقاهُ اللهُ سَيِّئاتِ ما مَكَرُوا لا اِلهَ إلاّ أَنْتَ سُبْحانَكَ اِنّي كُنْتُ مِنَ الظّالِمينَ فَاسْتَجَبْنا لَهُ وَنَجَّيْناهُ مِنَ الْغَمِّ وَكَذلِكَ نُنْجِي الْمُؤْمِنينَ حَسْبُنَا اللهُ وَنِعْمَ الْوَكيلُ فَاْنَقَلَبُوا بِنِعْمَة مِنَ اللهِ وَفَضْل لَمْ يَمْسَسْهُمْ سُوءٌ ما شاء اللهُ لا حَوْلَ وَلا قُوَّةَ اِلاّ بِالله ما شاءَ اللهُ لا ما شاءَ النّاسُ ما شاءَ اللهُ وَاِنْ كَرِهَ النّاسُ حَسْبِيَ الرَّبُّ مِنَ الْمَرْبُوبينَ حَسْبِيَ الْخالِقُ مِنَ الَْمخْلُوقينَ حَسْبِيَ الرّازِقُ مِنَ الْمَرْزُوقينَ حَسْبِيَ اللهُ رَب الْعالَمينَ حَسْبى مَنْ هُوَ حَسْبي، حَسْبي مَنْ لَمْ يَزَلْ حَسْبي، حَسْبي مَنْ كانَ مُذْ كُنْتُ لَمْ يَزَلْ حَسْبي، حَسْبِيَ اللهُ لااِلهَ اِلاّ هُوَ عَلَيْهِ تَوَكَّلْتُ وَهُوَ رَبُّ الْعَرْشِ الْعَظيمِ .

اللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ وَآلِ مُحَمَّدٍ

ศ่อลาต ซุฮ์ริ

بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ

لا اِلهَ اِلاَّ اللهُ الْعَظيمُ الْحَليمُ لا اِلهَ اِلاَّ اللهُ رَبُّ الْعَرْشِ الْكَريمُ اَلْحَمْدُ للهِِ رَبِّ الْعالَمينَ اَللّهُمَّ اِنّي أَسْأَلُكَ مُوجِباتِ رَحْمَتِكَ وَ عَزائِمَ مَغْفِرَتِكَ وَالْغَنيمَةَ مِنْ كُلِّ بِرٍّ وَالسَّلامَةَ مِنْ كُلِّ اِثْم اَللّهُمَّ لا تَدَعْ لي ذَنْباً اِلاّ غَفَرْتَهُ وَلا هَمّاً اِلاّ فَرَّجْتَهُ وَلا سُقْماً اِلاّ شَفَيْتَهُ وَلا عَيْباً اِلاّ سَتَرْتَهُ وَلا رِزْقاً اِلاّ بَسَطْتَهُ وَلا خَوْفاً اِلاّ امَنْتَهُ وَلا سُوءاً اِلاّ صَرَفْتَهُ وَلا حاجَةً هِيَ لَكَ رِضاً وَلِيَ فيها صَلاحٌ اِلاّ قَضَيْتَها يآ اَرْحَمَ الرّاحِمينَ أمينَ رَبَّ الْعالَمينَ

اللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ وَآلِ مُحَمَّدٍ

ศ่อลาต อัซรี่

بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ

اَسْتَغْفِرُ اللهَ الَّذي لا اِلهَ اِلاّ هُوَ الْحَيُّ الْقَيُّومُ الرَّحْمنُ الرَّحيمُ ذُو الْجَلالِ وَالاِْكْرامِ وَأَسْأَلُهُ اَنْ يَتُوبَ عَلَيَّ تَوْبَةَ عَبْدٍٍِِ ذَليل خاضِع فَقير بائِس مِسْكين مُسْتَكين مُسْتَجير لا يَمْلِكُ لِنَفْسِهِ نَفْعاً وَلا ضَرّاً وَلا مَوْتاً وَلا حَياةً وَلا نُشُوراً اَللّهُمَّ اِنّي اَعُوذُ بِكَ مِنْ نَفْس لا تَشْبَعُ وَمِنْ قَلْب لا يَخْشَعُ وَمِنْ عِلْمٍ لا يَنْفَعُ وِ مِنْ صلاةٍ لا تُرْفَعُ وَمِنْ دُعآءٍ لا يُسْمَعُ اَللّهُمَّ اِنّي أَسْأَلُكَ الْيُسْرَ بَعْدَ الْعُسْرِ وَالْفَرَجَ بَعْدَ الْكَرْبِ وَالرَّخاءَ بَعْدَ الشِّدَّةِ اَللّهُمَّ ما بِنا مِنْ نِعْمَة فَمِنْكَ لا اِلهَ اِلاّ اَنْتَ اَسْتَغْفِرُكَ وَاَتُوبُ اَلِيْكَ .    

اللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ وَآلِ مُحَمَّدٍ

ศ่อลาต มัฆริบ

بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ

اِنَّ اللهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّون عَلَى النَّبِيِّ يا اَيُّهَا الَّذينَ امَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْليماً اَللّهُمَّ صَلِّ عَلى مُحَمَّد النَّبِيِّ وَعَلى ذُرِّيَّتِهِ وَعَلى اَهْلِ بَيْتِهِ  
بِسْمِ اللهِ الرَّحْمنِ الرَّحيمِ وَلا حَوْلَ وَلا قُوَّةَ اِلاّ بِاللهِ الْعَلِيِّ الْعَظيمِ  اَلْحَمْدُ للهِِ الَّذي يَفْعَلُ ما يَشاءُ وَلا يَفْعَلُ ما يَشاءُ غَيْرُهُ   سُبْحانَكَ لا اِلهَ اِلاّ اَنْتَ اغْفِرْ لي ذُنُوبي كُلَّها جَميعاً فَاِنَّهُ لا يَغْفِرُ الذُّنُوبَ كُلَّها جَميعاً اِلاّ اَنْتَ . اَللّهُمَّ اِنّي أَسْأَلُكَ مُوجِباتِ رَحْمَتِكَ وَعَزائِمِ مَغْفِرَتِكَ وَالنَّجاةُ مِنَ النّارِ وَمِنْ كُلِّ بِلِيَّة وَالْفَوْزَ بِالْجَنَّةِ وَالرِّضْوانِ في دارِ السَّلامِ وَجَوارِ نَبِيِّكَ مُحَمَّد عَلَيْهِ وَآلِهِ اَلسَّلامُ اَللّهُمَّ ما بِنا مِنْ نِعْمَة فَمِنْكَ لا اِلهَ اِلاّ اَنْتَ اَسْتَغْفِرُكَ وَاَتُوبُ اِلَيْكَ.  

اللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ وَآلِ مُحَمَّدٍ

ศ่อลาต อีซาอ์

بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ

اَللّهُمَّ اِنَّهُ لَيْسَ لي عِلْمٌ بِمَوْضِعِ رِزْقي وَاِنَّما اَطْلُبُهُ بِخَطَراتٍ تَخْطُرُ عَلى قَلْبي فَاَجُولُ فى طَلَبِهِ الْبُلْدانَ فَاَنَا فيما اَنَا طالِبٌ كَالْحَيْرانِ لا اَدْري اَفى سَهْل هَوُ اَمْ في جَبَل اَمْ في اَرْض اَمْ في سَماء اَمْ في بَرٍّ اَمْ في بَحْر وَعَلى يَدَيْ مَنْ وَمِنْ قِبَلِ مَنْ وَقَدْ عَلِمْتُ اَنَّ عِلْمَهُ عِنْدَكَ وَاَسْبابَهُ بِيَدِكَ وَاَنْتَ الَّذي تَقْسِمُهُ بِلُطْفِكَ وَتُسَبِّبُهُ بِرَحْمَتِكَ اَللّهُمَّ فَصَلِّ عَلى مُحَمَّد وَآلِهِ وَاجْعَلْ يا رَبِّ رِزْقَكَ لي واسِعاً وَمَطْلَبَهُ سَهْلاً وَمَأخَذَهُ قَريباً وَلا تُعَنِّني بِطَلَبِ ما لَمْ تُقَدِّرْ لي فيهِ رِزْقاً فَاِنَّكَ غَنِىٌّ عَنْ عَذابي وَاَنَا فَقيرٌ اِلى رَحْمَتِكَ فَصَلِّ عَلى مُحَمَّد وَآلِهِ وَجُدْ عَلى عَبْدِكَ بِفَضْلِكَ اِنَّكَ ذُو فَضْل عَظيم.

اللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ وَآلِ مُحَمَّدٍ
#55
หลักฐานเรื่องราวเกี่ยวกับการจัดมัจลิสอาชูรอ  เพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของท่านอิม่ามฮูเซน  อะลัยฮิสสลาม   ที่ค่อนข้างครอบคลุมทุกประเด็นทุกขบวนความนั้น

เราสามารถนำฮะดีษที่มีสายรายงานซอฮิฮ์บทนี้มาอ้างอิงได้  ซึ่งมันถูกบันทึกอยู่ใน


หนังสืออะมาลี  โดยเชคตูซี่   หน้า  161-162  หะดีษที่ 268

เชค อะบู ญะอ์ฟัร อัตตูซี่ย์ รายงาน


روي أبو جعفر محمد بن الحسن (الشيخ)الطوسي : حدثنا محمد بن محمد(بن النعمان اي الشيخ المفيد)، قال حدثنا أبو القاسم جعفر بن محمد بن قولويه ، قال حدثني أبي، قال حدثني سعد بن عبد الله، عن أحمد بن محمد بن عيسى، عن الحسن بن محبوب الزراد، عن أبي محمد الأنصاري( عَبْدُاللَّه بنُ حمّادالأنْصاريُّ)، عن معاوية بن وهب، قال :



كنت جالسا عند جعفر بن محمد (ع) إذ جاء شيخ قد انحنى من الكبر، فقال السلام عليك و رحمة الله و بركاته. فقال له أبو عبد الله و عليك السلام و رحمة الله و بركاته، يا شيخ ادن مني، فدنا منه فقبل يده فبكى، فقال له أبو عبد الله(ع) و ما يبكيك يا شيخ قال له يا ابن رسول الله، أنا مقيم على رجاء منكم منذ نحو من مائة سنة، أقول هذه السنة و هذا الشهر و هذا اليوم، و لا أراه فيكم، فتلومني أن أبكي قال فبكى أبو عبد الله (ع) ثم قال يا شيخ، إن أخرت منيتك كنت معنا، و إن عجلت كنت يوم القيامة مع ثقل رسول الله (ص). فقال الشيخ ما أبالي ما فاتني بعد هذا يا ابن رسول الله. فقال له أبو عبد الله (ع) يا شيخ، إن رسول الله (ص) قال إني تارك فيكم الثقلين ما إن تمسكتم بهما لن تضلوا كتاب الله المنزل، و عترتي أهل بيتي، تجي ء و أنت معنا يوم القيامة. قال يا شيخ، ما أحسبك من أهل الكوفة. قال لا. قال فمن أين أنت قال من سوادها جعلت فداك. قال أين أنت من قبر جدي المظلوم الحسين (ع) قال إني لقريب منه. قال كيف إتيانك له قال إني لآتيه و أكثر. قال يا شيخ، ذاك دم يطلب الله (تعالي) به، ما أصيب ولد فاطمة و لا يصابون بمثل الحسين (ع) و لقد قتل (ع) في سبعة عشر من أهل بيته، نصحوا لله و صبروا في جنب الله، فجزاهم أحسن جزاء الصابرين، إنه إذا كان يوم القيامة أقبل رسول الله (ص) و معه الحسين (ع) و يده على رأسه يقطر دما فيقول يا رب، سل أمتي فيم قتلوا ولدي. و قال (ع) :  كُلُّ الْجَزَعِ وَ الْبُكاءِ مَكْرُوهٌ سِوَى الْجَزَعُ وَ الْبُكاءُ عَلَى الحُسَينِ (ع)




คำแปล

อะบูญะอ์ฟัร  มุฮัมมัด บินฮาซัน อัตตูซี่ย์รายงาน
มุฮัมมัด บินมุฮัมมัด บินนุอ์มาน( คือเชคมุฟีด)ได้เล่าให้เราฟัง เขากล่าวว่า  
อะบุลกอซิม ญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด  บินกูละวัยฮฺ ได้เล่าให้เราฟัง เขากล่าวว่า  
บิดาของฉันได้เล่าให้ฉันฟัง เขาเล่าว่า
สะอัด บินอับดุลลอฮ์เล่าให้ฉันฟัง  จาก
อะหมัด บินมุฮัมมัด บินอีซา(อัลอัชอะรี อัลกุมมี )  จาก
ฮาซัน บินมะห์บูบ อัสสัรรอด จาก
อะบี มุฮัมมัด อัลอันซอรีย์ (คืออับดุลลอฮ์ บินฮัมมาด อัลอันซอรีย์)  จาก

มุอาวียะฮ์ บินวะฮับเล่าว่า :

ฉันนั่งอยู่กับท่านอิม่ามญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด(อ)  ทันใดนั้นได้มีชายชราหลังโค้งงอเพราะความชราภาพมากคนหนึ่งเข้ามาหา   เขาได้ให้สลามว่า  ขอสันติ ความเมตตาและบะร่อกัตจงมีแด่ท่านอิม่าม ท่านอิม่ามญะอ์ฟัรได้ตอบรับสลามแก่เขาว่า    ขอสันติ ความเมตตาและบะร่อกัตจงมีแด่ท่าน  โอ้คุณตาโปรดเข้ามาใกล้ๆฉันเถิด  ชายชราได้เข้ามาใกล้ท่านอิม่ามแล้วจูบมือท่านพลางร่ำไห้ออกมา

อิม่ามญะอ์ฟัร(อ)ได้กล่าวกับเขาว่า  โอ้คุณตา อะไรทำให้ท่านร้องไห้หรือ ?  

ชายชราได้กล่าวว่า   โอ้บุตรหลานของท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)   ฉันได้ดำรงชีวิตอยู่บนความหวัง จากพวกท่านนับตั้งแต่ร้อยปีมาแล้ว โดยฉันได้เฝ้ารำพันว่า (มันคือ) ปีนี้  เดือนนี้ และวันนี้ (หมายถึงเดือนมุฮัรรอมและวันอาชูรอ) และฉันก็ไม่เห็นมัน(การแสดงการไว้อาลัยให้กับมุซีบัตของอิม่ามฮูเซนได้ปรากฏขึ้น)ในหมูพวกท่านเลย

แล้วท่านจะตำหนิฉันไหม ถ้าฉันจะร้องไห้(ให้กับอิม่ามฮูเซน) ?
มุอาวียะฮ์ บินวะฮับเล่าว่า :  อิม่ามญะอ์ฟัร(อ)ถึงกับร่ำไห้ออกมา แล้วกล่าวว่า   โอ้คุณตา  หากท่านยังมีชีวิตอยู่ต่อไปด้วยความหวังของท่าน(แบบนี้) ท่านก็จะอยู่กับพวกเรา(หมายถึงเป็นพวกของเรา) และหากท่ารนด่วนจากไปเสียก่อนในวันกิยามัต ท่านก็จะได้ไปอยู่กับสิ่งหนักของท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)

ชายชราได้กล่าวว่า   ฉันจะไม่สนใจสิ่งที่จะต้องสูญเสียหลังจากนี้อีกแล้วโอ้บุตรหลานของท่านรอซูลุลลอฮ์

อิม่ามญะอ์ฟัร(อ)ได้กล่าวกับเขาว่า  โอ้คุณตาครับ  

ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้กล่าวว่า  แท้จริงฉันได้มอบสิ่งหนักสองสิ่งไว้ในหมู่พวกท่าน  ซึ่งหากพวกท่านยึดมั่นต่อสองสิ่งนี้ไว้ พวกท่านก็จะไม่หลงทางอย่างเด็ดขาดคือ คัมภีร์ของอัลลอฮ์ที่ถูกประทานลงมา และอิตเราะฮ์คืออะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน  ท่านจะได้มาพร้อมกับพวกเราในวันกิยามัต

ท่านอิม่ามกล่าวว่า   ฉันคิดว่า ท่านคงไม่ใช่ชาวเมืองกูฟะฮ์  
เขาตอบว่า  ไม่ใช่

ท่านอิม่ามถามว่า แล้วท่านมาจากที่ไหน ?

เขาตอบว่า  จากรอบนอกของเมืองกูฟะฮ์ครับ

ท่านอิม่ามกล่าวว่า  ที่ไหน  ท่านอยู่ห่างจากสุสานของท่านปู่ฮุเซนของฉัน ผู้ถูกกดขี่แค่ไหน ?

เขาตอบว่า  ฉันอยู่ใกล้ๆกับที่นั่นครับ

ท่านอิม่ามถามว่า  แล้วท่านไปหา(เยี่ยมสุสาน)ท่านอิม่ามฮุเซนอย่างไร

เขากล่าวว่า  ไปสิ  ฉันไปเยี่ยม(สุสาน)นั้นบ่อยมาก

ท่านอิม่ามกล่าวว่า  โอ้คุณตา  เลือดนั้น(หมายการสังหารอิม่ามฮูเซน)คือสิ่งที่อัลเลาะฮ์ ตะอาลาจะสอบถามถึงมัน ในสิ่งที่ได้มาประสบกับบุตรชายของท่านหญิงฟาติมะฮ์(อ)ซึ่งพวกเขาไม่เคยมีใครได้ประสบเยี่ยงที่อิม่ามฮูเซน(อ)ได้ประสบ

แน่นอนเขา(อิม่ามฮูเซน)กับครอบครัวของเขาอีกสิบเจ็ดชีวิตได้ถูกสังหาร  (เพียงเพราะ)พวกเขาได้(ทำหน้าที่)สั่งสอนตักเตือน(ผู้คน)เพื่ออัลลอฮ์ และพวกเขาก็ได้อดทนอยู่เคียงข้างอัลลอฮ์
ดังนั้นพระองค์จึงทรงตอบแทนอย่างดีงามที่สุดแก่พวกเขา อันเป็นการตอบแทนรางวัลสำหรับบรรดาผู้อดทน

แท้จริงเมื่อวันกิยามัตมาถึง   ท่านรอซูลุลลอฮ์(ส)จะมุ่งหน้ามาหา โดยมีท่านฮุเซนมาพร้อมกับท่าน  โดยมือของท่านรอซูลฯ(ศ)จะวางอยู่บนศรีษะของท่านมีโลหิตไหลออกมา แล้วท่าน(ศ)จะร้องทุกข์ว่า
โอ้พระผู้อภิบาลของฉัน   โปรดสอบถามประชาชาติของฉันด้วยเถิดว่า  เหตุใดใยพวกเขาจึงต้องลงมือสังหารหลานชายของฉัน ?

แล้วท่านอิม่าม(ญะอ์ฟัร อ.) ได้กล่าวว่า

كُلُّ الْجَزَعِ وَ الْبُكاءِ مَكْرُوهٌ سِوَى الْجَزَعُ وَ الْبُكاءُ عَلَى الحُسَينِ (ع)


ทุกๆการแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งและการร้องไห้(นั้นอิสลามถือว่า) เป็นมักโร๊ะฮ์ ( น่ารังเกียจไม่ส่งเสริมให้กระทำ)

ยกเว้น การแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งและการร้องไห้ให้กับท่านอิม่ามฮูเซน (ซึ่งอิสลามถือว่าเป็นมุสตะฮับที่ส่งเสริมให้กระทำ)



อ้างอิงจากหนังสือ

อัลอะมาลี  เชคตูซี่   หน้า  161-162  หะดีษที่ 268

สถานะหะดีษ  : ซอแฮะฮ์



تَخْريجُ الحديث :
كل جزع مكروه سوى الجزع والبكاء على الحسين (عليه السلام)
ما رأيكم في رواية معاوية بن وهب عن الصادق (عليه السلام) كل الجزع والبكاء مكروه سوى الجزع والبكاء على الحسين (عليه السلام) ، سنداً ودلالة؟
بسمه تعالى; هي تامة دلالةً وصحيحة سنداً، واللّه العالم.
الأنوار الإلهية في المسائل العقائدية - (ج 20 / ص 3)
آية الله العظمى الميرزا جواد التبريزي


อ่านการวิจารณ์สายรายงานหะดีษนี้ได้ที่เวบ

http://www.bahrainforums.com/showpost.php?p=8724792&postcount=216
#56
วิจารณ์สถานะนักรายงาน


1,เชคศอดูก 2,มุฮัมมัด บินอัลฮาซัน บินอะหมัด บินอัลวะลีด 3,มุฮัมมัด บินอัลฮาซันอัศศ็อฟฟ้าร 4,มุฮัมมัด บินอัลฮูเซน บินอบิลคอตตอบ 5,ยะอ์กูบ บินยะซีด 6,มุฮัมมัด บินอะบีอุมัยริน 7,อับดุลลอฮ์ บินสินาน 8,มะอ์รู๊ฟ บินค็อรร่อบูซ 9,อะบีตุเฟล อามิรบินวาษิละฮ์  10,ฮุซัยฟะฮ์ บินอะสีด อัลฆิฟารี


1,เชคศอดูก  (เกิด ฮ.ศ. 306  มรณะ 381 )
قاَلَ النَّجاَشِيُّ : مُحَمَّدُ بْنُ عَلِىِّ بْنِ الْحُسَيْنِ بْنِ مُوْسَى بْنِ باَبَوَيِهِ الْقُمِّيُّ أبُوْ جَعْفَرٍ(الشَّيْخُ الصَّدُوْقُ) : شَيْخُناَ وَفَقِيْهُناَ وَوَجْهُ الطاَّئِفَةِ بِخُراَساَن،  رجال النجاشي رقم 1049

قاَلَ الشَيْخُ الطُّوْسِيُّ : محمد بن علي بن الحسين بن بابويه القمي، جَلِيْلُ الْقَدْرِ حَفِظَة، بَصِيْرٌ بِالْفِقْهِ وَالْأَخْباَرِ وَالرِّجاَلِ،   رجال الشيخ الطوسي  رقم 6275

قاَلَ الْعَلاَّمَة : محمد بن علي بن الحسين بن موسى بن بابويه القمي : شَيْخُناَ وَفَقِيْهُناَ وَوَجْهُ الطاَّئِفَةِ بِخُرَاساَن، كاَنَ جَلِيْلاً حاَفِظاً الْاَحاَدِيْث بَصِيْراً بِالرِّجاَلِ ناَقِداً لِلْاَخْباَرِ لَمْ يُرَ فِي الْقُمِّيِّيْنَ مِثْلُهُ فِيْ حِفْظِهِ وَكَثْرَةِ عِلْمِهِ، 
خلاصة الاقوال للعلامة   رقم 44

2,มุฮัมมัด บินอัลฮาซัน บินอะหมัด บินอัลวะลีด  (มรณะฮ.ศ. 343)
قاَلَ النَّجاَشِيُّ : مُحَمَّدُ بْنُ الْحَسَنِ بْنِ أَحْمَدِ بْنِ الْوَلِيْدِ أبوجعفر : شيخ القميين، وفقيههم، ومتقدمهم، ووجههم. ثِقَةٌ ثِقَةٌ، عَيْنٌ، مَسْكُوْنٌ إلَيْهِ.
رجال النجاشي رقم 1042
قال ابن داود : محمد بن الحسن بن أحمد بن الوليد شيخ القميين وفقيههم ومتقدمهم  ثقة ثقة
رجال ابن داود  رقم 1346
قال العلامة : محمد بن الحسن بن احمد بن الوليد شيخ القميين وفقيههم ومتقدمهم ووجههم.
ثقة ثقة عين مسكون اليه جليل القدر عظيم المنزلة عارف بالرجال موثوق به يروي عن الصفار
خلاصة الاقوال للعلامة   رقم 43

3,มุฮัมมัด บินอัลฮาซัน อัศ-ศ็อฟฟ้าร ( มรณะฮ.ศ.290 ) 
قاَلَ النَّجاَشِيُّ : مُحَمَّدُ بْنُ الْحَسَنِ الصَّفاَّرِ : محمد بن الحسن بن فروخ الصفار كان وجها في أصحابنا القميين، ثقة عظيم القدر راجحا قليل السقط في الرواية. رجال النجاشي  رقم 948

قاَلَ ابْنُ دَاوُد : محمد بن الحسن بن فروخ الصفار :كان وجها في أصحابنا القميين ثقة عظيم القدر راجحاقليل السقط في الرواية،   رجال ابن داود  رقم 1359

قال العلامة : محمد بن الحسن بن فروخ الصفار:كان وجها في أصحابنا القميين ثقة عظيم القدر راجحا قليل السقط في الرواية،  خلاصة الاقوال  رقم 112

4,มุฮัมมัด บินอัลฮูเซน บินอบิลคอตตอบ (มรณะฮ.ศ.262) 
قاَلَ النَّجاَشِيُّ : مُحَمَّدِ بْنِ الْحُسَيْنِ بْنِ أَبِي الْخِطاَّبِ أبو جعفر الزيات الهمداني  : جليل من أصحابنا، عظيم القدر، كثير الرواية، ثقة، عين، حسن التصانيف، مسكون إلى روايته. رجال النجاشي رقم 897
قاَلَ ابْنُ دَاوُد : محمد بن الحسين بن أبي الخطاب أبو جعفر الزيات، : ثِقَةٌ.
رجال ابن داود  رقم 1345
قال العلامة : محمد بن الحسين بن أبي الخطاب : جليل من أصحابنا عظيم القدر كثير الرواية ثِقَةٌ عين حسن التصانيف مسكون إلى روايته، خلاصة الاقوال  رقم 19
قال الشيخ الطوسي : محمد بن الحسين بن أبي الخطاب الكوفي ثِقَةٌ من اصحاب أبي جعفر الثانى.  رجال الطوسي  رقم 23

5,ยะอ์กูบ บินยะซีด
قاَلَ النَّجاَشِيُّ : يَعْقُوْبَ بْنِ يَزِيْدَ بن حماد الأنباري السلمي : روى عن أبي جعفر الثاني عليه السلام، وانتقل إلى بغداد، وكان ثقة صدوقا.  رجال النجاشي  رقم 1215
قال الشيخ الطوسي : يعقوب بن يزيد الكاتب : هو ويزيد ابوه ثقتان.
رجال الطوسي  رقم 12 باب الياء
قال ابن داود : يعقوب بن يزيد بن حماد الانباري السلمي أبو يوسف القمي : ثقة صدوقا. 
رجال ابن داود  رقم 1735
يعقوب يزيد بن حماد الانباري السلمي : كان يعقوب من أصحاب الرضا عليه السلام وروى يعقوب عن أبي جعفر الثاني عليه السلام وانتقل إلى بغداد وكان ثقة صدوقا
خلاصة الاقوال  رقم 1 الباب الخامس يعقوب سبعة رجال
6,มุฮัมมัด บินอะบีอุมัยริน  (มรณะฮ.ศ.217) 
قاَلَ النَّجاَشِيُّ : مُحَمَّدِ بْنِ أَبِيْ عُمَيْرٍ : زياد بن عيسى أبو أحمد الأزدي : من موالي المهلب بن أبي صفرة بغدادي لقي أبا الحسن موسى عليه السلام وسمع منه أحاديث وروى عن الرضا عليه السلام، جليل القدر عظيم المنزلة فينا وعند المخالفين.  رجال النجاشي رقم 887
قال الشيخ الطوسي : محمد بن أبى عمير : ثقة. رجال الطوسي رقم 26
قال ابن داود : محمد بن أبي عمير : ثقة  من أوثق الناس عند الخاصة والعامة 
رجال ابن داود  رقم 1272
قال العلامة : محمد بن أبي عمير لقي أبا الحسن موسى عليه السلام وسمع منه أحاديث وروى عن الرضا عليه السلام كان جليل القدر عظيم المنزلة عندنا وعند المخالفين
قال الكشي: انه ممن أجمع أصحابنا على تححيح ما يصح عنه وأقروا له بالفقه والعلم.
خلاصة الاقوال رقم 17 باب الميم
7,อับดุลลอฮ์ บินสินาน
قاَلَ النَّجاَشِيُّ : عَبْد اللهِ بْنِ سِناَنَ بن طريف : مولى بني هاشم، كوفي، ثقة، من أصحابنا، جليل، لا يطعن عليه في شي ء، روى عن أبي عبد الله عليه السلام،  رجال النجاشي رقم 558
قال الشيخ الطوسي : عبد الله بن سنان : ثقة، له كتاب،   الفهرست للطوس رقم 423
8,มะอ์รู๊ฟ บินค็อรร่อบูซ
مَعْرُوفِ بْنِ خَرَّبُوذَ : مولى آل عثمان بن عفان. ( ... ـ بعد 141 هـ)
ممدوح أورد الكشي فيه مدحا وقدحا وثقته أصح.   رجال ابن داود رقم 1576
روى عن: أبي الطفيل عامر بن واثلة الصحابي،
روى عنه: عبد اللّه بن سنان وآخرون.
وعُدّ في أصحاب السجاد والباقر (ع) ، وروى عنهما، وفي أصحاب الصادق (ع) .
وذكر الكشي اجماع علماء الشيعة على تصديق جماعة من أصحاب أبي جعفر الباقر وأبي عبد اللّه الصادق (ع) ، وانقيادهم لهم بالفقه، وعدّ منهم معروف بن خرّبوذ.
ذكره ابن حبان في الثقات.
وقال الذهبي في «ميزانه»: صدوق شيعي.
وقال أبو عاصم: كان معروف شيعياً.
وقد وقع معروف بن خرّبوذ في اسناد جملة من الروايات المرويّة عن أئمة أهل البيت (ع) ، تبلغ أحد عشر مورداً. فروى عن: أبي الطفيل، والحكم بن المستورد.
وروى عنه: حنان بن سدير الصيرفي، وعبد اللّه بن سنان، ومالك بن عطيّة، وغيرهم.
وروى له أبو داود ومسلم وابن ماجة والبخاري.
لم تذكر مصادر الترجمة سنة وفاة معروف، إلاّ أنّ الذهبي ذكره في وفيات سنة (141 ـ 160هـ). 
موسوعة أصحاب الفقهاء  رقم 531
อิบนุดาวูดกล่าวว่า  :  ท่านมะอ์รู๊ฟ บินค็อรเราะบูซ  ถูกยกย่องและถูกตำหนิ และเขาเชื่อถือได้ในการรายงานซึ่งถือวาถูกต้องที่สุด
ดูริญาลอิบนิดาวูด  อันดับที่ 1576

อัซซะฮะบีกล่าวว่า  : มะอ์รูฟ บินค็อรเราะบูซ รายงานหะดีษจากท่านอะบีตุเฟล   ซอดู๊ก(เชื่อถือได้) เป็นชีอะฮ์
ดูมีซานุลอิ๊อ์ติดาล  อันดับที่  8655

อิบนุหะญัรอัลอัสก่อลานีกล่าวว่า  : มะอ์รูฟ บินค็อรเราะบูซ อัลมักกี คนรับใช้ของตระกูลท่านอุษมาน  ซอดู๊ก(เชื่อถือได้)
ดูตักรีบุตตะฮ์ซีบ  อันดับที่  6791
9,อะบีตุเฟล อามิรบินวาษิละฮ์ 
أَبو الطُّفَيْلِ عَامِرِ بْنِ وَاثِلَةَ  (3 ـ 100 هـ ، بعد المائة)
أدرك من حياة رسول اللّه - صلّى اللّه عليه وآله وسلّم - ثماني سنين.
نزل الكوفة، وصحِبَ الاِمام عليّاً - عليه السّلام- وكان متشيعاً فيه ويفضّله. ثمّ أقام بمكة.
وكان فاضلاً عاقلاً، فصيحاً شاعراً، حاضر الجواب. شهد المشاهد مع علي - عليه السّلام- وكان من مخلصي أنصاره.
عُدّ من أصحاب الاِمامين الحسن وعليّ بن الحسين زين العابدين «عليهما السلام» .
حدّث عن: الاِمام عليّ، ومعاذ بن جبل، وأبي بكر، وابن مسعود، وعمر، وغيرهم.
حدّث عنه: حبيب بن أبي ثابت، والزهري، وأبو الزبير المكي، وآخرون.
توفّي سنة مائة. وقيل: بعد المائة. وهو آخر من مات ممن رأى النبي - صلّى اللّه عليه وآله وسلّم - .
موسوعة أصحاب الفقهاء  رقم 142
อิบนุดาวูดกล่าวว่า  :  ท่านอามิร บินวาษิละฮ์  มีฉายาว่าอะบูตุเฟล เขาอยู่ทันท่านนะบี(ศ)ประมาณแปดปี และเขาคือลูกศิษย์พิเศษคนหนึ่งของท่านอาลี(อ)
ดูริญาลอิบนิดาวูด  อันดับที่ 806

อิบนุหะญัรอัลอัสก่อลานีกล่าวว่า  :  ท่านอามิร บินวิละฮ์ (อะบูตุเฟล) เกิดในปีสงคราอุฮุด และเขาได้พบเห็นท่านนะบี(ศ)  เขามรณะฮ.ศ.110 ซึ่งถือว่าถูกต้องที่สุดและเขายังเป็นซอฮาบะฮ์คนสุดท้ายที่เสียชีวิต
ดูตักรีบุตตะฮ์ซีบ  อันดับที่  3111
10,ฮุซัยฟะฮ์ บินอะสีด อัลฆิฟารี
قاَلَ الشَيْخُ الطُّوْسِيُّ : حُذَيْفَة بْن أَسِيدٍ الْغِفَارِيِّ  : أبو سريحة، صاحب النبي صلى الله عليه وآله وسلم،
رجال الشيخ الطوسي  رقم 179

حذيفة بن أسيد أبو سريحة الغفاري سكن الكوفة روى عنه أهلها مات بأرمينية سنة 42
الثقات لابن حبان رقم 258

حذيفة بن أسيد الغفاري يكنى أبو سريحة من أصحاب النبي صلى الله عليه و سلم
الثقات للعجلي رقم 277

حذيفة بن اسيد الغفاري : له صحبة نزل الكوفة أول مشهد شهد مع رسول الله صلى الله عليه و سلم الحديبية روى عنه أبو الطفيل 
الجرح والتعديل رقم 1141

حذيفة بن أسيد  ويقال ابن أمية بن أسيد أبو سريحة الغفاري.
شهد الحديبية وقيل انه بايع تحت الشجرة.
وروى عن النبي صلى الله عليه وسلم وعن أبي بكر وعلي وأبي ذر.
وعنه أبو الطفيل وغيرهم.  وتوفي أبو سريحة فصلى عليه زيد بن ارقم.
قال ابن حبان مات سنة 42.
تهذيب التهذيب  رقم  403

เชคตูซี่กล่าวว่า   :  ท่านฮุซัยฟะฮ์ บินอะสีด อัลฆิฟารี (มรณะฮ.ศ.42) คือซอฮาบะฮ์คนหนึ่งของท่านนะบี(ศ)
ดูริญาลเชคตูซี  อันดับที่ 179

อิบนุหะญัรอัลอัสก่อลานีกล่าวว่า  :  ท่านฮุซัยฟะฮ์ บินอะสีด คือซอฮาบะฮ์คนแรกจากบรรดาซอฮาบะฮ์ที่มอบบัยอัตให้ท่านนะบี(ศ)ที่ใต้ต้นไม้  (ที่ฮุดัยบียะฮ์ เขามรณะฮ.ศ.42)
ดูตักรีบุตตะฮ์ซีบ  อันดับที่  1154

وَ هَذاَ سَنَدٌ صَحِيْحٌ رِجاَلُهُ ثِقاَتٌ


สรุป  สายรายงานหะดีษนี้ ถูกต้อง  และนักรายงาน เชื่อถือได้(ทุกคน)
#57
อาจมีบางท่านที่เกิดคำถามว่า  


สายรายงานหะดีษจากตำราอัลคิศ็อลของเชคศอดูก

เรื่องที่ท่านนะบี(ศ)แต่งตั้งท่านอาลีนั้น  มีความเชื่อถือได้แค่ไหน


เราขอเชิญท่าน   ใช้วิจารณญาณ  อ่านคำวิเคราะห์  ได้ดังนี้
 
#58
คำ เมาลา และ วะลี แปลว่า  ผู้ปกครอง 

หลักฐานที่ 1 – อัลบุคอรีบันทึกว่า  ท่านนะบีมุฮัมมัด(ศ)กล่าวว่า

مَا مِنْ مُؤْمِنٍ إِلاَّ وَأَنَا أَوْلَى بِهِ فِى الدُّنْيَا وَالآخِرَةِ اقْرَءُوا إِنْ شِئْتُمْ ( النَّبِىُّ أَوْلَى بِالْمُؤْمِنِينَ مِنْ أَنْفُسِهِمْ ) فَأَيُّمَا مُؤْمِنٍ مَاتَ وَتَرَكَ مَالاً فَلْيَرِثْهُ عَصَبَتُهُ مَنْ كَانُوا ، وَمَنْ تَرَكَ دَيْنًا أَوْ ضَيَاعًا فَلْيَأْتِنِى فَأَنَا مَوْلاَهُ »

ไม่มีมุอ์มินคนใด เว้นแต่ฉันมีความใกล้ชิดต่อเขามากที่สุดทั้งในโลกนี้และปรโลก จงอ่านหากท่านต้องการ ( นะบีคือผู้ที่ใกล้ชิดต่อบรรดามุอ์มินมากยิ่งกว่าตัวของพวกเขา) ฉะนั้นมุอ์มินคนใดก็ตามที่ตายแล้วและเขาได้ทิ้งทรัพย์ไว้ ก็ให้ญาติสนิทของเขาที่ยังอยู่จงรับมรดกของเขาไป และ(ถ้าผู้ตายคนใด)ได้ทิ้งหนี้สินไว้หรือ(ทิ้ง)ความเสียหายเอาไว้ ก็ให้เขา(เจ้าหนี้หรือผู้เสียหาย)จงมาหาฉัน เพราะฉันคือเมาลา(ผู้ปกครอง)ของเขา 

ดูซอฮิ๊ฮ์บุคอรี หะดีษที่ 2399

หลักฐานที่ 2 – อะหมัดบินฮัมบัลบันทึกว่า  ท่านนะบีมุฮัมมัด(ศ)กล่าวว่า

مَنْ تَرَكَ مَالًا فَلِوَرَثَتِهِ وَمَنْ تَرَكَ دَيْنًا أَوْ ضَيْعَةً فَإِلَيَّ وَأَنَا وَلِيُّ مَنْ لَا وَلِيَّ لَهُ

ผู้(ตาย)คนใดก็ตามที่เขาได้ทิ้งทรัพย์ไว้ มันก็เป็นสิทธิของญาติสนิทของเขา
และ(ถ้าผู้ตายคนใด)ได้ทิ้งหนี้สินไว้หรือ(ทิ้ง)ความเสียหายเอาไว้ ดังนั้นก็ให้เขา(เจ้าหนี้หรือผู้เสียหาย)จงมาหาฉัน และฉันคือวะลี(ผู้ปกครอง)ของผู้ที่เขาไม่มีวะลี(มารับผิดชอบ) 

ดูมุสนัดอะหมัด หะดีษที่ 17238 สายรายงานดีเชื่อถือได้ 

ฉบับตรวจทานโดยเชคชุเอบอัรนะอูฏี
#59
อีกสายรายงานหนึ่ง ท่านอะบีตุเฟลเล่าว่า

جَمَعَ عَلِيٌّ رَضِيَ اللَّهُ تَعَالَى عَنْهُ النَّاسَ فِي الرَّحَبَةِ ثُمَّ قَالَ لَهُمْ أَنْشُدُ اللَّهَ كُلَّ امْرِئٍ مُسْلِمٍ سَمِعَ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُولُ يَوْمَ غَدِيرِ خُمٍّ مَا سَمِعَ لَمَّا قَامَ فَقَامَ ثَلَاثُونَ مِنْ النَّاسِ وَقَالَ أَبُو نُعَيْمٍ فَقَامَ نَاسٌ كَثِيرٌ فَشَهِدُوا حِينَ أَخَذَهُ بِيَدِهِ فَقَالَ لِلنَّاسِ أَتَعْلَمُونَ أَنِّي أَوْلَى بِالْمُؤْمِنِينَ مِنْ أَنْفُسِهِمْ قَالُوا نَعَمْ يَا رَسُولَ اللَّهِ قَالَ مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَهَذَا مَوْلَاهُ اللَّهُمَّ وَالِ مَنْ وَالَاهُ وَعَادِ مَنْ عَادَاهُ


ท่านอาลีได้รวบรวมประชาชนในวันที่แสดงความยิน(ที่เข้ารับตำแหน่งคอลีฟะฮ์)

ต่อจากนั้นท่านอาลีได้กล่าวกับพวกเขาว่า

ฉันขอให้อัลลอฮ์ทรงเป็นพยานต่อมุสลิมทุกคนที่เขาได้ยินท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้กล่าวในวันเฆาะดีรในสิ่งที่เขาได้ยิน เมื่อท่านได้ยืนขึ้นแล้วประชาชนสามสิบคนก็ได้ยืนขึ้น 

ท่านอะบูนุอัยม์เล่าว่า

มีผู้คนมากมายได้ลุกขึ้นยืน พวกเขาได้เป็นพยานยืนยันว่า ขณะที่ท่าน(รอซูลฯ)ได้จับมือท่านอาลีชูขึ้นแล้วท่านได้กล่าวกับประชาชนว่า

พวกท่านรู้ใช่ไหมว่า แท้จริงฉันมีสิทธิใกล้ชิดที่สุดต่อบรรดาผู้ศรัทธามากยิ่งกว่าตัวของพวกเขา   

พวกเขากล่าวว่า ใช่ครับ โอ้ท่านรอซูลุลลอฮ์ 


ท่านจึงกล่าวว่า

บุคคลใดก็ตามที่ฉันคือเมาลาของเขา ดังนั้นชายคนนี้ก็คือเมาลาของเขา  โอ้อัลลอฮ์โปรดรักผู้ที่เป็นมิตรต่อเขา และโปรดชิงชังผู้ที่เป็นศัตรูต่อเขา

สถานะหะดีษ : ซอฮิ๊ฮ์ ดูมุสนัดอะหมัด หะดีษที่ 19321

ฉบับตรวจทานโดยเชคชุเอบอัรนะอูฏี 
#60
อบุลฮูเซน มุฮัมมัด บินอะหมัด บินตะมีม อัลฮันซ่อลีได้เล่าให้เราฟังที่แบกแดด อบูกิลาบะฮ์ อับดุลมะลิก บินมุฮัมมัด อัลร่อกอชีได้เล่าให้เราฟัง ยะห์ยา บินฮัมมาดได้เล่าให้เราฟัง และอบูบักร์ มุฮัมมัด บินบาลุวัยฮ์กับอบูบักร์ อะหมัด บินญะอ์ฟัร อัลบัซซาร ทั้งสองได้เล่าให้ฉันฟัง 

อับดุลลอฮ์ บินอะหมัด บินฮันบัลได้เล่าให้เราฟัง จากบิดาของฉัน(อิม่ามอะหมัด)ได้เล่าให้ฉันฟัง ยะห์ยา บินฮัมมาดได้เล่าให้เราฟัง และอบูนัศร์ อะหมัด บินสะฮัล อัลฟะกีฮ์ได้เล่าให้เราฟังที่เมืองบุคอรอ  ซอและห์ บินมุฮัมมัด อัลฮาฟิซ อัลบัฆดาดีได้เล่าให้เราฟัง
ค่อลัฟ บินซาลิม อัลมุค็อรร่อมีได้เล่าให้เราฟัง  ยะห์ยา บินฮัมมาดได้เล่าให้เราฟัง
ได้เล่าให้เราฟัง  อบูอิวานะฮ์เล่าให้เราฟัง  จากสุลัยมาน อัลอะอ์มัชกล่าวว่า : หะบีบ บินอบาบิต 

จากท่านอะบีตุเฟล(อามิรบินวาษิละฮ์)จากท่านเซด บินอัรกอมว่า :

เมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กลับจากการบำเพ็ญฮัจญ์ครั้งสุดท้าย(ขากลับ)ท่านได้แวะพักที่เฆาะดีรคุม

ท่านสั่งให้(พักตรง)ต้นไม้ใหญ่ แล้วสั่งให้กวาด(ลานให้สะอาด)  แล้วท่านได้ปราศัยว่า :

ดูเหมือนว่าฉันถูกเรียก(กลับแล้ว) และฉันได้ตอบรับแล้ว

แท้จริงฉันได้มอบไว้แก่พวกท่านสิ่งหนักสองสิ่ง สิ่งแรกใหญ่กว่าอีกสิ่งหนึ่งคือคัมภีร์ของอัลลอฮ์และอิตเราะตี คืออะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน   

ดังนั้นพวกท่านจงดูเถิดว่า พวกท่านจะขัดแย้งกับฉันในสองสิ่งนี้อย่างไร เพราะแท้จริงสองสิ่งนี้จะไม่แยกจากกัน จนกว่าทั้งสองจะกลับมาหาฉันที่อัลเฮาฎ์(สระเกาษัร)   

จากนั้นท่าน(รอซูลฯ)ได้กล่าวว่า :

แท้จริงอัลลอฮ์ทรงเป็นเมาลา(ผู้คุ้มครอง)ของฉัน  และฉันเป็นวะลี(ผู้ปกครอง)ของผู้ศรัทธาทุกคน 

จากนั้นท่านนบีได้จับมืออะลี(ชูขึ้นเหนือศรีษะ) แล้วกล่าวว่า : 

บุคคลใดก็ตามที่ฉันเป็นวะลี(ผู้ปกครอง)ของเขา  ดังนั้นอะลีก็เป็นวะลี(ผู้ปกครอง)ของเขา   

โอ้อัลลอฮ์โปรดรักผู้ที่เป็นมิตรต่อเขา และโปรดชิงชังผู้ที่เป็นศัตรูต่อเขา

อ้างอิงจากหนังสือ

อัลมุสตัดร็อก อะลัซซ่อฮีฮัยนิ  หะดีษที่ 4553,4554
อัลฮากิมกล่าวว่า ซอฮิ๊ฮ์ตามเงื่อนไขของท่านเชคทั้งสอง

เชคอัลบานีกล่าวว่า ซอฮี๊ฮฺ 

ดูซิลซิละตุซซอฮีฮะฮ์เล่ม 4 : 330  หะดีษที่ 1750