ข่าว:

SMF - Just Installed!

Main Menu
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Topics - clazzic

#1
ไม่เข้าหมวด / คิดได้ไง
มีนาคม 10, 2010, 02:23:50 ก่อนเที่ยง
อัสสลามมูอะลัยกุม

เนื่องจากต้องการศึกษาให้รู็เขารู้เราเลยเข้าไปทั้วเวบเขามา อ่านเจอตลกดีเลยเอามาฝากคับ

ท่านเวบมาสเตอร์คงไม่ว่าอะไรนะคับ

ทำไมซุนนีจึงโต้วาทีไม่เคยชนะพวกรอฟิเดาะฮฺสักที?

เรียบเรียงโดย ชัรฟุดดีน อามิลี

ผู้ ที่ติดตามกระแสความขัดแย้งระหว่างซุนนี-ชีอะฮฺรอฟิเดาะฮ์ มาตลอดระยะเวลาหลายปีในเมืองไทยของเราจะรู้สึกเช่นเดียวกับข้าพเจ้าเสมอว่า ทุกครั้งที่มีการจัดเวทีถกเถียงเชิงวิชาการกับพวกรอฟิเดาะฮฺฝ่ายซุนนีจะต้อง เป็นไม้รองแพ้ทางการอภิปรายของอุลามาอ์ฝ่ายรอฟิเดาะฮฺอยู่เสมอ เพราะเหตุกระไรเล่าที่เป็นเช่นนี้ นักวิชาการฝ่ายซุนนีอ่อนหัดอย่างนั้นหรือ? นักวิชาการฝ่ายซุนนีพูดไม่เก่งอย่างนั้นหรือ? หรือแนวทางซุนนีไม่ใช่สัจธรรมและรอฟิเดาะฮ์คือสัจธรรมอย่างนั้นหรือ? ซุนนีจึงสู้ความจริงจากฝ่ายรอฟิเดาะฮฺไม่ได้?
หามิได้ ความลับที่อยู่เบื้องหลังชัยชนะของการโต้วาทีของฝ่ายชีอะฮฺนั้นคือการโกหก อันเป็นวิทยายุทธ์ขั้นสุดยอดที่แม้แต่การตะกียะฮฺยังต้องจ๋อย!!
http://image.ohozaa.com/ip/1575160415821600160016001600160815741610.gif[/img]

อัซซัยยิด อบุลกอซิม อัลคูอีย์

อุ ลามาอ์มัรญิอฺตักลีดรอฟิเดาะฮฺ ชั้นอาวุโสนามอุโฆษจากแผ่นดินแห่งสุสานของท่านอิมามอะลีอย่างเมืองนะญัฟ อีกทั้งยังเป็นเจ้าของ สถาบันเผยแพร่ลัทธิรอฟิเดาะฮฺอย่างดารอะฮฺลุลเบตตลอดจนการเป็นปราชญ์ที่รอฟิ เดาะฮฺทั่วโลกยึดถือได้กล่าวฟัตวาเกี่ยวกับการโกหก(ตอแหล) ไว้ในหนังสือของเขาที่ชื่อ
"ศิร็อตุนนะญะฮฺ ในหน้าที่ 447 เล่ม 1"
ซึ่ง คำฟัตวาดังกล่าวนี้ได้ถูกนำมาตอบในเว็บไซต์ของเจ้าตัวในภาคภาษาอาหรับ ทางเราจึงเซฟมาเพื่อให้ดูกันเป็นหลักฐานป้องกันการโกหกของฝ่ายรอฟิเดาะฮฺ

 

คำ ถามที่ 6 : การโกหกต่อผู้ที่ทำบิดอะฮฺหรือผู้ที่สนับสนุนในสิ่งที่บิดเบือน ถือว่าอนุญาตให้กระทำได้หรือไม่ ในระหว่างที่เรากำลังถกเถียงอยู่กับเขา?

ตอบ : ถ้าเราได้ตอบเขาไปและนั้นสามารถหยุดยั้งความมดเท็จของเขาได้ นั้นก็ถือว่าเป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้

อนึ่ง ฟัตวาดังกล่าวนี้ถือว่าอนุญาตให้ฝ่ายรอฟิเดาะฮฺทำการโกหกเมื่อคราวที่กำลัง ถกเถียง โดยที่อบุลกอซิม อัลคูอีได้ขมวดปมไว้ว่า อนุมัติให้โกหกต่อผู้ที่กระทำบิดอะฮฺเพื่อสยบความมดเท็จของเขา ซึ่งการสรุปความเช่นนี้ย่อมนำไปสู่การอนุมัติให้โกหกต่อฝ่ายซุนนีอย่างแน่ นอน เพราะหากผู้ที่กระทำบิดอะฮฺยังอนุญาติให้โกหกได้แล้วชาวซุนนีที่รอฟิเดาะ ฮฺมองว่าเป็นกาเฟรจะไม่หนักเข้าไปอีกฤา? ดังการฟัตวาของเชคมุฟีด หนึ่งในนักปราชญ์ชีอะฮฺที่ซัยยิดสุไลมานเคยรับรองและยังเป็นหนึ่งในผู้วาง รากฐานให้แก่ศาสนาชีอะฮฺด้วยการแบ่งรูกุ่นอีมานออกเป็น 5 ข้อได้ฟัตวาไว้ว่าชาวซุนนีมิใช่มุสลิมดังนี้

اتفقت الامامية على أن من أنكر إمامة أحد من الائمة وجحد ما أوجبه الله تعالى له من فرض الطاعة فهو كافر ضال مستحق للخلود في النار
\\\"มี มติเป็นเอกฉันท์ในหมู่ผู้รู้อิมามียะฮฺต่อความจริงที่ว่า คนหนึ่งคนใดที่ไม่ศรัทธาต่ออิมามะฮฺแม้เพียงคนเดียวของอิมามและบรรดาผู้ไม่ ศรัทธาในสิ่งที่อัลลอฮฺถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องเชื่อฟังพวกเขา(บรรดาอิมาม) บุคคลเช่นนั้นคือผู้ปฏิเสธที่หลง และสมควรพำนักอยู่ในนรกตลอดกาล\\\"
หนังสือ อัลมะซาอิล หน้าที่ 120 ของ ชัยคฺมุฟีด

ชาวซุนนีซึ่งไม่ศรัทธาต่อบรรดาอิมามของชีอะฮฺก็ย่อมเป็นกาเฟรแน่นอน
ดัง นั้นการโกหกต่อชาวซุนนีในระหว่างการถกเถียงวิชาการกับฝ่ายซุนนีย่อมทำได้ อย่างแน่นอน และสิ่งที่เป็นสิ่งมดเท็จในทัศนะของฝ่ายรอฟิเดาะฮฺก็ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ ที่เป็นสัจธรรมในสายตาของฝ่ายซุนนีเช่น ฐานะอันสูงส่งของท่านหญิงอาอิชะฮฺเป็นต้น
จากฟัตวานี้แล้วคงเป็นที่ กระจ่างแก่ท่านทั้งหลายว่าเพราะเหตุใดเวลาที่มีการโต้เถียงจึงมักจะจบลงด้วย ความพ่ายแพ้ของฝ่ายซุนนี นั่นก็เพราะว่าฝ่ายซุนนีตามไล่เกมส์การโกหกของฝ่ายรอฟิเดาะฮฺไม่ทัน
ข้าน้อยขอซุฮกให้กับจอมโกหกผู้ยิ่งใหญ่ เจ้าพวกเหล่าอุลามาอ์รอฟิเดาะฮฺทั้งหลายเอ๋ย!!!!!!!!!!!


สรุป สงสารซุนนี่จัง

อ่านคลายเครียดคับ

ดาฟิส
#2
อะกีดะฮ์ / อัล - กุรอ่านกับอิมามฮฺซัยนฺ
มิถุนายน 23, 2009, 11:14:07 หลังเที่ยง
อัล-กุรฺอานกับอิมามฮุซัยนฺ (อ.)


๑. มาตรว่าอัล-กุรอานเป็นซัยยิดุ้ลกะลาม[๑] อิมามฮุซัยนฺคือซัยยิดุชชุฮะดา[๒]
๒. ในเศาะฮีฟะฮฺสัจญาดียะฮฺกล่าวถึงอัล-กุรฺอานว่า "เป็นตราชั่งที่ทรงความยุติธรรม"ท่านอิมามฮุซัยนฺกล่าวว่า "ฉันได้กำชับพวกท่านในธำรงความยุติธรรม" [๓]
๓. มาตรว่าอัล-กุรอานเป็นคำเตือนจากพระผู้เป็นเจ้า (موعظة من ربّكم) [๔] ท่านอิมามฮุซัยนฺได้กล่าวในวันอาชูรอว่า "لا تعجلوا حتّى اعظكم بالحقّ [๕]"พวกท่านไม่ต้องรีบร้อน จนกว่าฉันจะเชิญชวนท่านด้วยสัจธรรมความจริง
๔. มาตรว่าอัลกุรฺอานได้ชี้นำมนุษย์ไปสู่ทางที่ถูกต้อง "يهدي الى الرشد[๖] ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กล่าวว่า "ฉันจะขอเชิญชวนพวกท่านไปสู่สองทางที่ถูกต้อง" [๗]
๕. มาตรว่าอัล-กุรอานนั้นคือความยิ่งใหญ่[๘] ท่านอิมามฮุซัยนฺคือผู้ที่มีอดีตที่ยิ่งใหญ่[๙]
๖. มาตรว่าอัล-กุรอานคือความจริงอันเที่ยงแท้ [๑๐]ในซิยารัตอิมามฮุซัยนฺ (อ.) อ่านว่า "ท่านนั้นทำอิบาดะฮฺด้วยความบริสุทธิ์ใจ และซื่อสัตย์จนกระทั่งถึงขั้นบรรลุธรรม"[๑๑]
๗. มาตาว่าอัล-กุรอานคือชะฟาอ์ ให้การเยี่ยวยาและการอนุเคราะห์แก่สิ่งอื่น[๑๒]
ท่านอิมามฮุซัยนฺ อยู่ในฐานะของผู้ให้ชะฟาอัตเช่นกันในซิยารัตอาชูรอกล่าวว่า ขอให้เราได้รับชะฟาอัตของท่านอิมามฮุซัยนฺ [๑๓]
๘. ริวายะฮฺได้กล่าวว่า "อัล-กุรอานคือสัญลักษณ์ของการช่วยเหลือ"ในซิยารัตท่านอิมามฮุซัยนฺอ่านว่า "อิมามฮุซัยนฺคือสัญลักษณ์ของการชี้นำ" [๑๔]
๙. อัล-กุรอานเป็นผู้ให้การเยี่ยวยาแก่สิ่งอื่นริวายะฮฺกล่าวว่า "อัล-กุรอานได้ถูกประทานลงมาเพื่อเป็นชะฟาอฺ" ขณะที่ตุรฺบัรฺอิมามฮุซัยนฺ (ดินอิมามฮุซัยรนฺ) เป็นชะฟาอัตเช่นกัน" [๑๕]
๑๐. มาตรว่าอัล-กุรอานเป็นคลังแห่งความรู้ ท่านอิมามฮิซัยนฺ (อ.) เป็นประตูแห่งความรู้ขององค์พระผู้อภิบาลเช่นกัน [๑๖]
๑๑. อัล-กุรอานคือแบบอย่างในการกำชับความดี และห้ามปรามชั่ว [๑๗]ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กล่าวว่า "เป้าหมายในการเดินทางไปกัรฺบะลาอฺ ของฉันเพื่อกำชับความดี และห้ามปรามความชั่ว"[๑๘]
๑๒. มาตรว่าอัล-กุรอานเป็นนูรฺรัศมี (نورامبينا) ท่านอิมามฮุซัยนฺก็เป็นนูรฺเช่นกัน ในซิยารัตอ่านว่า "ท่านคือนูรฺทที่ฝังอยู่ในไขสันหลังของผู้ที่มีความสูงส่ง[๑๙]
๑๓. อัล-กุรอานคือหลักฐานที่ชัดแจ้งสำหรับประวัติศาสตร์ และมวลมนุษย์ทั้งหลาย ดังริวายะฮฺกล่าวว่า "พระองค์มิได้มอบให้อัล-กุรอานจำกัดอยู่แค่เวลาใดเวลาหนึ่ง และสำหรับประชาชาติใดเฉพาะ"เรื่องราวการสังหารท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) อย่างโหดเหี้ยมในกัรฺบะลาก็มิได้จำกัดอยู่แค่เวลาหนึ่ง แต่อยู่เหนือมิติของประวัติศาสตร์[๒๐]
๑๓.มาตรว่าอัล-กุรอานคือความจำเริญ "คัมภีร์ (อัลกุรอาน) เราได้ประทานลงมาให้แก่เจ้ามีความจำเริญ"[๒๑] การเป็นชะฮีดของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) เป็นสาเหตุของความจำเริญและการเติบโตของอิสลามเช่นกัน ท่านศาสดา(ศ็อลฯ)กล่าวว่า "โอ้อัลลอฮฺ พระองค์ได้นำความจำเริญแก่ข้าด้วยการสังหารเขา"[๒๒]
๑๔. อัล-กุรอานนั้นปราศจากการแก้ไขเปลี่ยนแปลง "กุรอานเป็นภาษาอาหรับ ไม่มีการเบี่ยงเบน"[๒๓]ท่านอิมามฮุซัยฯนฺ (อ.) ไม่เคยเบี่ยงเบนจากสัจธรรมไปสู่การหลงผิดแม้เพียงเสี้ยววินาที "ฉันไม่มีความปรารถนาที่จะออกจากความจริงไปสู่ความเท็จ"[๒๔]
๑๕. อัล-กุรอานเป็นคัมภีร์อันทรงเกียรติเสมอ "นั่นคือ กุรอานอันทรงเกียรติ"[๒๕]
ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) คือเกียรติยศแห่งจริยธรรม "
๑๖. อัล-กุรอานเป็นคัมภีร์ที่ทรงพลัง "แท้จริงอัลกุรอานเป็นคัมภีร์ที่มีอำนาจยิ่ง"[๒๖]ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ,) กล่าวว่า"ฉันจะไม่ก้มศรีษะให้กับความต่ำทรามอย่างเด็ดขาด"[๒๗]
๑๗. อัล-กุรอานเป็นสายเชือกที่เหนียวแน่น ริวายะฮฺกล่าวว่า "แท้จริงแล้วอัล-กุรอานสายเชือกอันมั่นคง"[๒๘]แท้จริงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) "เป็นเรือที่ยังความปลอดภัย และเป็นสายเชือกที่มีความเหนียวแน่น"[๒๙]
๑๘. อัล-กุรอานเป็นเหตุผลที่ชัดแจ้ง "ได้มีมายังเจ้าคำอธิบายที่ชัดแจ้งจากพระผู้อภิบาลของเจ้า"[๓๐]ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) เป็นเหตุผลที่ชัดแจ้งเช่นกันดังที่อ่านในซิยารัตว่า "ขอยืนยันว่าแท้จริงท่านเป็นคำอธิบายที่มาจากพระผู้อภิบาลของท่าน"
๑๙. มาตรว่าอัล-กุรอานต้องอัลเชิญด้วยความนอบน้อมเป็นจังหวะ "หรือมากกว่านั้น และจงอ่านอัลกุรอานช้า ๆ เป็นจังหวะ (ชัดถ้อยชัดคำ)"ในการซิยารัตหะรัมของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จำเป็นต้องทำด้วยความนอบน้อมอย่างช้าๆ และเรียบง่าย"
แน่นอนท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) นั้นเป็นอัล-กุรอานที่พูดได้ และเป็นฉายาลักษณ์ของอัล-กุรอาน


เชคยาซีน ศาสนภิบาล
#3
อะกีดะฮ์ / การโต้วาทีในแบกแดด
มิถุนายน 23, 2009, 10:53:55 หลังเที่ยง




بسم الله الرحمن الرحيم

นี่คือวิถีแห่งสัจธรรม
(ขออยู่คู่สัจธรรม)

(ในที่สุด กษัตริย์ก็ได้รับทางนำ)

การถกทางวิชาการ
ระหว่างอุละมาอ์สุนนีกับชีอะฮฺ
ณ กรุงแบกแดด



ผู้บันทึก : นักประวัติศาสตร์นาม มุกอติล บิน อะฏียะฮฺ


ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอ
มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเอกะ
ศานติจากพระองค์จงประสบแด่มุหัมมัด (ศ) ศาสดาผู้ถูกประทานลงมา
เพื่อความเมตตาแก่ชาวโลกทั้งผอง
และบรรดาทายาทผู้สะอาดบริสุทธิ์
และกัลยาณมิตรผู้สวามิภักดิ์


หนังสือ   "การถกระหว่างอุละมาอ์สุนนีกับชีอะฮฺ  ณ  กรุงแบกแดด"    ที่ท่านผู้มีเกียรติกำลังอ่านอยู่ในขณะนี้กษัตริย์ "มะลิกชาฮฺ สัลญูกีย์" ได้รับสั่งให้ "นิซอมุลมะลิก"  ประธานองคมนตรี   และเป็นนักปราชญ์ผู้คงแก่เรียน      ให้เชื้อเชิญอุละมาอ์ฝ่ายสุนนีและชีอะฮฺมาถกทางวิชาการ      โดยเขาเป็นพิธีกรดำเนินรายการ และมีกษัตริย์เป็นประธานในพิธี


เรื่องราวมีอยู่ว่า กษัตริย์มะลิกชาฮฺ สัลญูกีย์ เป็นนักปกครอง   นักบริหารที่มีโลกทัศน์เปิดกว้าง เป็นคนรุ่นใหม่  (ในยุคนั้น)        ที่ชอบค้นคว้าแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา   และเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จคนหนึ่ง      ท่านจะไม่ยอมปล่อยให้อำมาตย์ข้าราชบริพาล     ชี้นำโดยปราศจากหลักตรรก       อย่างไรก็ตามถึงแม้พระองค์จะมีคุณสมบัติดังกล่าว แต่พระองค์ยังรักชอบการพักผ่อนหย่อนใจและการล่าสัตว์เป็นชีวิตจิตใจอีกด้วย

بسم الله الرحمن الرحيم
ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอ

นี่คือวิถีแห่งสัจธรรม
การถกเถียงระหว่างอุละมาอ์สุนนีกับชีอะฮฺ
ณ กรุงแบกแดด

ผู้บันทึก นักประวัติศาสตร์นาม "มะกอติล อะฏียะฮฺ"

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอ

มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเอกะ ศานติจากพระองค์จงประสบแด่มุหัมมัด (ศ) ศาสดาผู้ถูกส่งลงมาเพื่อความเมตตาแก่ชาวโลกทั้งผอง และบรรดาทายาทผู้สะอาดบริสุทธิ์ และกัลยาณมิตรผู้มีความสวามิภักดิ์และจงรักภักดีต่อท่าน
หนังสือที่ท่านผู้มีเกียรติกำลังอ่านอยู่ในขณะนี้มีชื่อว่า "การถกเถียงระหว่างอุละมาอ์สุนนีกับชีอะฮฺ ณ กรุงแบกแดด" ซึ่งกษัตริย์ "มะลิกชาฮฺ สัลญูกีย์" ได้ทรงรับสั่งให้ "นิซอมุลมะลิก" ประธานองคมนตรี ผู้เป็นนักปราชญ์ผู้คงแก่เรียนให้เชื้อเชิญอุละมาอ์ฝ่ายสุนนีและชีอะฮฺให้มาร่วมถกทางวิชาการ โดยที่เขาได้รับเกียรติจากกษัตริย์ให้เป็นพิธีการดำเนินรายการ และมีกษัตริย์เป็นประธานในพิธี
เรื่องราวมีอยู่ว่ากษัตริย์มะลิกชาฮฺ สัลญูกีย์ ผู้นี้ นอกจากจะไม่ตกเป็นเครื่องมือของข้าราชบริพารอย่างไม่ลืมหูลืมตาแล้ว ท่านยังเป็นคนหนุ่มที่มีโลกทัศน์เปิดกว้าง เป็นนักบริหาร นักพัฒนาที่ยอดเยี่ยม และยังเป็นคนรุ่นใหม่ (ในยุคนั้น) ที่เป็นผู้แสวงหา ใฝ่รู้อยู่ตลอดเวลา และยังเป็นคนหนุ่มที่ประสบความสำเร็จคนหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ถึงแม้พระองค์จะมีคุณสมบัติดังกล่าว แต่ด้วยวัยหนุ่ม พระองค์จึงยังรักชอบการพักผ่อนหน่อยใจและการล่าสัตว์อีกด้วย


สำหรับนิซอมุลมะลิก ประธานองคมนตรีนั้น   ท่านเป็นนักปราชญ์ผู้มีจริยธรรมสูงส่ง  สมถะและรักความสันโดษ เป็นกัลยาณชนที่ประกอบคุณงามความดี   รักที่จะแสวงหาความรู้     และยังเป็นผู้ที่มีความรักต่อครอบครัวและทายาทของศาสดา (ศ) อีกด้วย     ท่านเป็นผู้สถาปนาสถาบันการศึกษาศาสนา  "นิซอมียะฮฺ"   กรุงแบกแดด   และจ่ายเงินเดือนแก่นักศึกษาผู้ใฝ่หาความรู้      นอกจากนี้ ท่านยังมีความเอื้ออาทรและให้ความช่วยเหลือคนขัดสน คนอนาถาอีกด้วย

วันหนึ่ง อาลิม (นักปราชญ์) ผู้ยิ่งใหญ่ของชาวชีอะฮฺ ผู้มีนามว่า "หุสัยนฺ บินอะลี อะลาวีย์" (กุดดิสสัส สิรฺรุฮฺ) ได้เข้าเฝ้ากษัตริย์มะลิกชาฮฺ   ภายหลังจากท่านได้อำลาจากไปแล้ว  ได้มีอำมาตย์ผู้หนึ่งแสดงท่าทางเย้ยหยัน    และตลกขบขันในการมาของท่านครั้งนี้

กษัตริย์ จึงถามขึ้นว่า   :-   ทำไมเจ้าจึงแสดงท่าทีเย้ยหยันเขาเช่นนั้น ?
เขาจึงกล่าวว่า  :-   ข้า ฯ แต่ผู้เป็นกษัตริย์    พระองค์มิทรงทราบหรอกหรือว่า    เขาคือผู้ปฏิเสธ (กาฟิรฺ)  ที่อัลลอฮฺทรงกริ้ว  และทรงสาปแช่งพวกเขา ?
กษัตริย์ จึงกล่าวด้วยความฉงนว่า :- ทำไมหรือ ? เขามิได้เป็นมุสลิมหรอกหรือ ?
อำมาตย์ผู้นั้น   จึงกล่าวว่า  :-    เขาจะเป็นมุสลิมอย่างไรเล่า   ในเมื่อเขาคือหนึ่งจากพวกชีอะฮฺ !
กษัตริย์  :-  เป็นชีอะฮฺแล้วทำไมหรือ ? พวกชีอะฮฺมิได้เป็นมัซฮับ (แนวทาง) หนึ่งของอิสลามกระนั้นหรือ ?
อำมาตย์  จึงกล่าวว่า   :-   ช่างห่างไกลยิ่งนัก !     เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าพวกชีอะฮฺไม่ยอมรับว่า ท่านอบูบักรฺ  ท่านอุมัรฺ  และอุษมาน  เป็นเคาะลีฟะฮฺและตัวแทนโดยชอบธรรมของท่านศาสดา (ศ)
กษัตริย์   :-   ยังมีมุสลิมที่ไม่ยอมรับ   ว่าท่านทั้งสามเป็นเคาะลีฟะฮฺของท่านศาสดา (ศ) หรือ ?
อำมาตย์   :-   ใช่แล้ว !   เฉพาะพวกชีอะฮฺเท่านั้นที่มีความเชื่อเช่นนี้
กษัตริย์   :-   ทั้ง ๆ ที่ชีอะฮฺไม่เชื่อว่าเศาะหาบะฮฺทั้งสามเป็นเคาะลีฟะฮฺของท่านศาสดา (ศ)   เหตุใด  มุสลิมจึงคงเรียกพวกเขาว่าเป็นมุสลิม ?
อำมาตย์  :-   ด้วยสาเหตุนี้แหละที่ข้า ฯ   กล่าวว่า  อาลิมผู้นั้นคือกาฟิรฺ !
กษัตรย์ได้ครุ่นคิดอยู่ครู่หนึ่ง  แล้วจึงกล่าวว่า  :-     เห็นทีจะต้องสอบถามข้อเท็จ
จริงในเรื่องนี้จาก  นิซอมุดดีน ประธานองคมนตรี

ดังนั้น กษัตริย์จึงได้เชิญ   นิซอมุดดีน เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงว่าพวกชีอะฮฺ มิได้เป็นมุสลิมหรืออย่างไร ?
ประธานองคมนตรี ได้ตอบพระองค์ว่า :-    ในกรณีดังกล่าว   ชาวสุนนีมีทัศนะที่แตกต่างกัน กล่าวคือ  บางส่วนถือว่าชีอะฮฺเป็นมุสลิม ทั้งนี้   เนื่องจากพวกเขามีความศรัทธา  และกล่าวปฏิญาณตนถึงความเป็นเอกะของอัลลอฮฺ และมุหัมมัด (ศ) คือปัจฉิมศาสดาของพระองค์   และพวกเขาปฏิบัติในสิ่งที่เป็นฟุรูอุดดีน เช่น นมาซ ถือศีลอด หัจญ์ เป็นต้น   ในขณะที่ชาวสุนนีบางส่วนชี้ขาดว่า  พวกชีอะฮฺเป็นกาฟิรฺ (ผู้ปฏิเสธ)
กษัตริย์  จึงถามว่า  :-    ชาวชีอะฮฺมีจำนวนเท่าไร ?
ประธานองคมนตรี  :-   ข้าพเจ้าไม่ทราบจำนวนที่แน่นอนของพวกเขา            แต่ประมาณว่าเกือบจะครึ่งหนึ่งของมุสลิมทั้งหมด
กษัตริย์  :-   มุสลิมเกือบห้าสิบเปอร์เซ็นต์เป็นกาฟิรฺกระนั้นหรือ ? !
ประธานองคมนตรี  :- ดังที่ข้าพเจ้าได้เรียนไปแล้วว่า มุสลิมบางส่วนเชื่อว่าพวกเขาเป็นกาฟิรฺ  แต่สำหรับตัวข้าพเจ้าเองเชื่อว่า  พวกเขาคือมุสลิม
กษัตริย์  :-    ท่านประธานองคมนตรี !    เป็นไปได้ไหมที่เราจะเชื้อเชิญอุละมาอ์ทั้งฝ่ายสุนนีและชีอะฮฺ   มาถกกันเพื่อเราจะได้ประจักษ์ถึงข้อเท็จจริง ?
ประธานองคมนตรี  :-   ช่างเป็นภารกิจที่แสนจะหนักอึ้งและเต็มไปด้วยอุปสรรค และข้าพเจ้าหวั่นเกรงว่า    ผลลัพท์บั้นปลายจะเป็นสิ่งเลวร้ายต่อพระองค์   และราชอาณาจักรของพระองค์
กษัตริย์  :-   เพราะเหตุใดหรือ ? !
ประธานองคมนตรี จึงตอบว่า  :-    เพราะปัญหาสุนนี – ชีอะฮฺ หาใช่เรื่องตื้น ๆ และจบลงอย่างง่ายดายไม่ แต่ทว่ามันเป็นประเด็นระหว่างสัจธรรมกับความเท็จที่มีผลให้เลือดของทั้งสองฝ่ายต้องหลั่งชะโลมดินมาแล้ว  หนังสือ  ห้องสมุดอีกมากมายถูกเผาผลาญในกองเพลิง เด็กและสตรีต้องตกเป็นเชลยสงคราม  และการรบราฆ่าฟันนับครั้งไม่ถ้วนที่เกิดจากสาเหตุนี้   ดังที่มีสารานุกรมจำนวนมากที่ได้บันทึกถึงเรื่องราวดังกล่าว !!

กษัตริย์หนุ่มถึงกับตกตะลึง    เมื่อได้ฟังเรื่องราวดังกล่าวจากประธานองคมนตรี  ภายหลังจากพระองค์ได้ครุ่นคิดอยู่ครู่หนึ่ง จึงกล่าวว่า  :-   ท่านประธาน ฯ ! ท่านเองก็ทราบดีอยู่แล้วว่าอัลลอฮฺผู้ทรงสูงส่ง ได้ทรงประทานราชอาณาจักรอันกว้างใหญ่ไพศาล กองทัพที่เข้มแข็ง ยุทโธปกรณ์ที่พร้อมสรรพให้แก่เรา  ด้วยเหตุนี้เราจะต้องขอบคุณและสรรเสริญต่อความโปรดปราน     ที่พระผู้อภิบาลได้ประทานให้แก่เรา

การขอบคุณของเราที่มีต่อพระองค์    ก็ด้วยการแสวงหาสิ่งที่เป็นสารัตถะ ความจริง หลังจากนั้นภาระหน้าที่ของเราก็คือการเรียกร้องเชิญชวนและชี้นำบรรดาผู้ที่หลงผิดให้ไปสู่วิถีแห่งสัจธรรม   ซึ่งแน่นอนว่า    ความเชื่อของชนสองกลุ่มนี้ (สุนนีกับชีอะฮฺ)  จะต้องมีฝ่ายหนึ่งที่อยู่กับสัจธรรมความจริง    และอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นโมฆะและเป็นความเท็จ  ดังนั้น   เราจึงมีหน้าที่จะแสวงหาความจริงและยึดมั่นกับมัน   ในขณะเดียวกัน   เราจะต้องละทิ้งความมดเท็จและสิ่งที่เป็นโมฆะ
เมื่อท่านได้เชื้อเชิญอุละมาอ์ทั้งฝ่ายสุนนีและชีอะฮฺ เพื่อให้พวกเขาทั้งสองฝ่ายได้นำเสนอหลักฐานและข้อพิสูจน์ในหลักความเชื่อของตน  เราจะตระเตรียมความพร้อมในด้านการรักษาความปลอดภัย  ตลอดทั้งนักเขียน  นักบันทึกของรัฐบาล และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง     และถ้าหากเราได้ประจักษ์ว่าสัจธรรมอยู่กับฝ่ายสุนนี เราจะต้องพยายามให้พวกชีอะฮฺมาสู่วิถีทางสุนนีให้หมด
ประธานองคมนตรี  :-   ถ้าหากพวกเขาไม่ยินยอมล่ะ พระองค์จะทำอย่าง ?
กษัตริย์  :-   เราจะสังหารพวกเขา !
ประธานองคมนตรี  :-   พระองค์จะสังหารมุสลิมครึ่งหนึ่งเชียวหรือ ?
กษัตริย์  :-   แล้วยังจะมีหนทางอื่นใดอีกเล่า ?
ประธานองคมนตรี  :-   ได้โปรดปล่อยเรื่องนี้ให้เป็นไปตามยถากรรมเถิด

การสนทนาระหว่าง  กษัตริย์กับประธานองคมนตรี  ผู้เปรื่องปราชญ์ได้สิ้นสุดลง แต่ทว่าในค่ำคืนนั้น กษัตริย์หนุ่มได้เฝ้าครุ่นคิดด้วยความวิตกกังวลจนถึงรุ่งอรุณของวันใหม่ โดยพระองค์มิอาจจะหลับตาลงได้เลย

เช้าตรู่วันรุ่งขึ้น   พระองค์ได้เรียก "นิซอมุลมะลิก" เข้าพบและกล่าวกับเขาว่า  :-
ฉันยอมรับทัศนะของท่าน   โดยเราจะเชื้อเชิญอุละมาอ์ฝ่ายสุนนีและชีอะฮฺให้มาถกด้วยการนำเสนอหลักฐานและข้อพิสูจน์จากหลักความเชื่อของตน และเราจะเป็นผู้ฟังและใช้วิจารณญาณว่าสัจธรรมอยู่กับฝ่ายใด   และมาตรว่าสัจธรรมอยู่ข้างฝ่ายสุนนี   เราจะใช้วิทยปัญญา     เรียกร้องเชิญชวนชาวชีอะฮฺมาสู่สัจธรรม และทุ่มเทงบประมาณทรัพย์สิน   และใช้ตำแหน่งหน้าที่ของเราดึงดูดพวกเขาให้มาสู่แนวทางของเรา   ดังเช่นที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ)       ได้เคยมีวัตรปฏิบัติกับกาฟิรฺ มุชริกีน  มาก่อน         เพื่อให้หัวใจของพวกเขาโน้มเอียงมาสู่อิสลาม ด้วยภารกิจนี้    เท่ากับเราได้ทุ่มเทรับใช้อิสลามและมวลมุสลิม       ซึ่งถือเป็นเกียรติประวัติอันยิ่งใหญ่ของเรา
ประธานองคมนตรี  :-    ช่างเป็นความคิดที่แหลมคมอะไรเช่นนี้  แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ข้าพเจ้าก็ยังหวั่นเกรงต่อผลลัพท์ในการถกเถียงทางวิชาการครั้งนี้
กษัตริย์  :-   มีเหตุอันใดที่ทำให้ท่านหวั่นเกรงหรือ ?
ประธานองคมนตรี  :-   ข้าพเจ้าหวั่นเกรงว่า      หลักฐานและข้อพิสูจน์ของฝ่ายชีอะฮฺจะเหนือกว่า  และพวกเขาจะเป็นฝ่ายพิชิตชัยชนะเหนือเราในที่สุด  และจะมีผลทำให้ประชาชนตกอยู่ในความคลางแคลงใจ งุนงง สงสัย
กษัตริย์  :-   เป็นไปได้หรือที่ชีอะฮฺจะเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ ? !
ประธานองคมนตรี  :-   ใช่แล้ว ! ทั้งนี้ เนื่องจากพวกเขามีหลักฐานและข้อพิสูจน์ที่แข็งแรงทั้งจากคัมภีร์อัลกุรฺอานและหะดีษ  ของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ)     ที่บ่งบอกถึงแนวทางและหลักความเชื่อที่เป็นสัจธรรม

คำตอบของประธานองคมนตรี      มิอาจทำให้กษัตริย์คล้อยตามได้  พระองค์ได้กล่าวว่า  :-   เราจะต้องเลือกเฟ้นนักปราชญ์และผู้รู้ของทั้งสองฝ่าย มาทำความกระจ่างชัดในเรื่องนี้ เพื่อเราจะได้จำแนกสัจธรรมออกจากความเท็จ  

ในที่สุด ประธานองคมนตรีได้ขอโอกาสจากกษัตริย์เป็นเวลาหนึ่งเดือน  แต่พระองค์ไม่เห็นด้วย .... จนกระทั่งได้ลดลงมาเหลือ 15 วัน
ในช่วงเวลา 15 วันดังกล่าว ประธานองคมนตรีได้พิจารณาคัดเลือกอุละมาอ์อะฮฺลิสสุนนะฮฺ ผู้มีชื่อเสียงทั้งในด้าน ตารีค (ประวัติศาสตร์) ฟิกฮฺ (ศาสนบัญญัติ) หะดีษ อุศูล กะลาม (หลักศรัทธา) วิภาษวิธี และเป็นผู้มีวาทศิลป์ที่เป็นที่ยอมรับของสังคม จำนวน 10 ท่าน และได้เชื้อเชิญอุละมาอ์ชีอะฮฺ จำนวน 10 ท่านเช่นกัน

ปฐมฤกษ์ในการถกเถียงทางวิชาการครั้งนี้  ได้เริ่มขึ้นในเดือนชะอฺบาน (ประมาณปีฮิจญ์เราะฮฺศักราชที่ 480) ณ โรงเรียนนิซอมียะฮฺ กรุงแบกแดด โดยกษัตริย์มะลิกชาฮฺ ชัลญูกีย์ เป็นผู้กำหนดกติกาและเงื่อนไขของการถกไว้ดังนี้ คือ  :-
1. การถกจะเริ่มดำเนินตั้งแต่เช้าถึงค่ำ       โดยจะหยุดพักเฉพาะช่วงเวลานมาซ อาหาร และเวลาพักผ่อนเท่านั้น
2. การสนทนาจะต้องอาศัยหลักฐานและข้อพิสูจน์ที่เป็นที่ยอมรับและน่าเชื่อถือของทั้งสองฝ่ายเท่านั้น ห้ามหยิบยกเรื่องเล่าและข่าวลือมาเป็นหลักฐาน
3. จะต้องมีเจ้าหน้าที่ – อาลักษณ์คอยจดบันทึกการถกเถียงทางวิชาการในครั้งนี้ไว้เป็นลายลักษณ์อักษรด้วย

และแล้ว เมื่อวันเวลาแห่งการนัดหมายได้มาถึง สักขีพยานที่ประกอบไปด้วย กษัตริย์มะลิกชาฮฺ สัลญูกีย์  นิซอมุลมะลิก ประธานองคมนตรี อำมาตย์ ข้าราชบริพาร เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองทัพ และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย โดยอุละมาอ์อะฮฺลิสสุนนะฮฺทั้งสิบคน   นั่งทางด้านขวาของกษัตริย์ และอุละมาอ์ชีอะฮฺทั้งสิบคน   นั่งทางด้านซ้ายของพระองค์ โดยนิซอมุลมะลิก ประธานองคมนตรี เป็นผู้กล่าวเปิดการสนทนาทางวิชาการในครั้งนี้ว่า  :-

"ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอ
มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ การสดุดีและสันติจงประสบแด่ศาสดามุหัมมัด (ศ) ครอบครัวและกัลยาณมิตรผู้ซื่อสัตย์ของท่าน

การสนทนาเชิงวิชาการในครั้งนี้       จะต้องดำเนินไปบนพื้นฐานที่จะให้บรรลุสู่สัจธรรม โดยให้หลีกเลี่ยงจากการใช้คำหยาบคาย  ก้าวร้าว  ส่อเสียด หรือมีเจตนาจะหยามเหยียดฝ่ายตรงข้าม และหลีกเลี่ยงจากการด่าทอหรือประณามเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ)

หัวหน้าอุละมาอ์สุนนี   ผู้มีนามว่า  "เชคอับบาสีย์"   เป็นผู้เริ่มก่อน โดยท่านได้กล่าวว่า  :- "ความจริงแล้ว     ข้าพเจ้าไม่อยากที่จะร่วมสนทนากับกลุ่มชนที่สังกัดมัซฮับซึ่งเชื่อว่าเศาะหาบะฮฺทั้งหมดของท่านเราะสูสุลลอฮฺ (ศ) เป็นกาฟิรฺ"

หัวหน้าอุละมาอ์ชีอะฮฺ ผู้มีนามว่า "สัยยิดหุสัยนฺ บินอะลี อะละวีย์" จึงตอบว่า  :- พวกที่กล่าวหาว่าเศาะหาบะฮฺทั้งหมดของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) เป็นการฟิรฺ คือกลุ่มชนใดหรือ ? !
อับบาสีย์  :-   ก็พวกท่านทั้งหลายที่เป็นชีอะฮฺ ไงเล่า   ที่กล่าวหาว่าเศาะหาบะฮฺทั้งหมดเป็นการฟิรฺ
สัยยิดอะละวีย์ :- สิ่งที่ท่านกล่าวมานั้นไม่มีมูลความจริงแต่อย่างใด หรือว่า อะลี (อ) อับบาส สัลมาน อิบนุอับบาส มิกดาด อบูซัรฺ ฯลฯ มิได้เป็นเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ท่านกำลังกล่าวหาว่า เราชาวชีอะฮฺถือว่าบุคคลเหล่านี้เป็นกาฟิรฺด้วยกระนั้นหรือ ? !
อับบาสีย์  :-    เจตนารมณ์ของคำว่า   "เศาะหาบะฮฺทั้งหมด"        ของฉันในที่นี้หมายถึง  อบูบักรฺ  ท่านอุมัรฺ  อุษมาน  และผู้ที่ดำเนินรอยตามบุคคลทั้งสามต่างหากเล่า
สัยยิดอะละวีย์  :-   ถ้างั้นเท่ากับท่านกำลังปฏิเสธถ้อยคำของท่านเอง นักตรรกะวิทยามิได้พิสูจน์หรอกหรือว่า :-
"นะกีฎ มูญิบะฮฺ ญุซอียะฮฺ"    ก็คือ   "สาลิบะฮฺ กุลลียะฮฺ" ?

ครั้งแรกท่านเป็นผู้กล่าวขึ้นเองว่า  :-   "ชีอะฮฺถือว่าเศาะหาบะฮฺทั้งหมดของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) เป็นกาฟิรฺ"   แล้วต่อมาท่านกลับอ้างว่า  :-  "ชีอะฮฺถือว่าเศาะหาบะฮฺบางส่วนเป็นกาฟิรฺ" !

ในระหว่างนั้นเองที่ท่านนิซอมุดดีนต้องการจะพูดขัดจังหวะขึ้นมา  แต่สัยยิดอะละวีย์ไม่เปิดโอกาสให้แก่เขา โดยกล่าวว่า :-
โอ้ ท่านประธานองคมนตรี !     ตราบเท่าที่เรายังมีความสามารถจะตอบคำถามและข้อข้องใจได้อยู่  บุคคลอื่นย่อมไม่มีสิทธิ์จะสอดแทรกความคิดใดเข้ามา มิฉะนั้นแล้วการสนทนาของเราจะผสมปนเปจนทำให้ออกนอกประเด็นที่กำลังถกเถียงได้   และจะไม่สามารถหาบทสรุปในประเด็นนั้น ๆ ได้

แล้วสัยยิดอะละวีย์ ได้กล่าวต่อไปว่า  :-    โอ้ ท่านเชคอับบาสีย์ !  ด้วยเหตุนี้เอง ย่อมเป็นที่ชัดเจนในคำกล่าวหาของท่านบนพื้นฐานที่ว่า พวกชีอะฮฺถือว่าเศาะหาบะฮฺทั้งหมดเป็นกาฟิรฺ เป็นการโกหกโดยปราศจากมูลความจริง

จากคำชี้แจงของสัยยิดอะละวีย์ ทำให้เชคอับบาสีย์ หมดหนทางตอบโต้ และมีสีหน้าแดงก่ำด้วยความอับอาย โดยเขาได้กล่าวว่า  :-  ขอให้เราผ่านเรื่องนี้ไปก่อน แต่ทว่าจากคำพูดของท่านเอง    ย่อมเป็นที่ประจักษ์ได้เป็นอย่างดีว่า พวกชีอะฮฺได้ประณามสาปแช่ง  เคาะลีฟะฮฺอบูบักรฺ  ท่านอุมัรฺ  และอุษมาน จริง

สัยยิดอะละวีย์ :- ชีอะฮฺบางพวกได้ประณามสาปแช่งพวกเขาจริง  แต่บางพวกก็มิได้ประณาม
เชคอับบาสีย์  :-   แล้วท่านอยู่ในจำพวกไหน ?
สัยยิดอะละวีย์  :-   ข้าพเจ้าคือหนึ่งในจำนวนที่มิได้ประณามสาปแช่งพวกเขา แต่ทว่า ข้าพเจ้ามีความเชื่อมั่นว่า กลุ่มชีอะฮฺที่ประณามสาปแช่งพวกเขามีหลักฐานและข้อพิสูจน์ที่มีเหตุผลเพียงพอ และที่เหนือไปกว่านั้น การประณามสาปแช่งของชีอะฮฺที่มีต่อบุคคลทั้งสาม มิได้เป็นสาเหตุที่จะทำให้พวกเขาเป็นกาฟิรฺ หรือพวกที่ทรยศ หรือสับปลับกลับกลอก หรือแม้กระทั่งเป็นความผิดบาปแต่อย่างใดทั้งสิ้น
เชคอับบาสีย์  :-   โอ้ กษัตริย์ ! ได้โปรดพิจารณาเถิดว่าชายผู้นี้ได้กล่าวอะไร ออกไป ? !
สัยยิดอะละวีย์ :- โอ้ ท่านเชคอับบาสีย์ ! การที่ท่านพยายามเบี่ยงเบนประเด็นสนทนาของเราไปสู่กษัตริย์ เขาเรียกว่าเป็นวิธีการ "มุฆอละเฏาะฮฺ" (บิดประเด็นหรือสร้างความไขว้เขวเมื่อจนตรอก)         กษัตริย์ได้เชื้อเชิญเราทั้งสองฝ่ายเพื่อนำเสนอหลักฐานและข้อพิสูจน์ จนกว่าจะได้ผลลัพท์ในบั้นปลายว่า ใครคือฝ่ายสัจธรรม  เพื่อจะได้ยอมจำนน    และเรียกร้องเชิญชวนฝ่ายที่เป็นโมฆะให้เข้ามาสู่สัจธรรม
กษัตริย์   :-   ถ้อยคำของสัยยิดอะละวีย์ ถูกต้อง โอ้ ท่านเชคอับบาสีย์ ! ท่านจะตอบคำกล่าวข้างต้นของเขาว่าอย่างไร ?  
อับบาสีย์ :-   ย่อมเป็นที่ชัดเจนว่า      ใครก็ตามที่ประณามสาปแช่งเศาะหาบะฮฺ เขาย่อมตกอยู่ในฐานะของผู้ปฏิเสธ (กาฟิรฺ)
สัยยิดอะละวีย์  :-   ข้อสรุปดังกล่าวอาจจะเป็นที่ชัดเจนสำหรับท่าน แต่ไม่เป็นที่กระจ่างชัดสำหรับข้าพเจ้า   ไหนท่านลองอธิบายมาซิว่า  ด้วยเหตุผลกลใดที่ผู้ที่ประณามสาปแช่งเศาะหาบะฮฺ   บางส่วนของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ)     ด้วยหลักฐานและข้อพิสูจน์จึงต้องตกอยู่ในฐานะของกาฟิรฺด้วย ?
อีกประการหนึ่ง   ท่านมิยอมรับหรือว่า   บุคคลใดก็ตามที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้ประณามสาปแช่งเขา เป็นการคู่ควรที่ผู้ศรัทธาทุกคนจะต้องประณามสาปแช่งเขาด้วย ?    
เชคอับบาสีย์  :-   แน่นอน ข้าพเจ้าก็มีความเชื่อและยอมรับในกรณีดังกล่าว
สัยยิดอะละวีย์ :- ท่านไม่เคยทราบมาก่อนหรืออย่างไรว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้เคยประณามสาปแช่ง  ท่านอบูบักรฺ  และท่านอุมัรฺ   มาก่อน ?
เชคอับบาสีย์ :- ท่านกำลังใส่ร้ายป้ายสี  ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) อย่างน่ารังเกียจที่สุด ท่าน (ศ) เคยประณามสาปแช่งเขาทั้งสองที่ไหน ?   เมื่อไร ?
สัยยิดอะละวีย์   :-   นักประวัติศาสตร์สายสุนนี       ต่างได้บันทึกตรงกันว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้แต่งตั้ง "อุสามะฮฺ" ให้เป็นผู้บัญชาการกองทัพ โดยให้ อบูบักรฺ กับ ท่านอุมัรฺ   อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของเขา  และท่าน (ศ) ได้กล่าวเตือนสำทับว่า :-
"ขออัลลอฮฺ   ทรงสาปแช่งบุคคลที่ฝ่าฝืน ไม่ยอมอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของอุสามะฮฺด้วยเถิด"
นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกต่อไปว่า ในที่สุดทั้งอบูบักรฺและท่านอุมัรฺได้ฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามเขา ด้วยเหตุนี้ คำสาปแช่งของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) จะต้องประสบกับพวกเขา และใครก็ตามที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) สาปแช่งเขา ย่อมเป็นการคู่ควรที่มุสลิมทุกคนจะดำเนินรอยตามท่านด้วยการสาปแช่งเขาด้วย

จากคำตอบดังกล่าว ทำให้เชคอับบาสีย์ ก้มหน้าโดยไม่กล่าวสิ่งใด
กษัตริย์  จึงได้ถามประธานองคมนตรีว่า :-   สิ่งที่สัยยิดอะละวีย์กล่าวมานั้นเป็นความจริงหรือ ?
ประธาน  :-   นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้เช่นนี้ 1
1. เฏาะบะกอต อิบนุสะอัด กิสมุษษานีย์ เล่ม 2 หน้า 41 – ตารีคอิบนุอะสากิรฺ  2 / 391 – กังซุลอุมมาล  5 / 312 – อัลกามิล อิบนุอะษีรฺ 2 / 129  

สัยยิดอะละวีย์  ได้กล่าวต่อไปว่า :- ถ้าหากการประณามสาปแช่งเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) เป็นสิ่งต้องห้าม (หะรอม) และเป็นการปฏิเสธอิสลาม (กุฟรฺ) แล้ว เหตุใดพวกท่านจึงไม่กล่าวหา "มุอาวิยะฮฺ อิบนุอบีสุฟยาน" ว่าเป็นกาฟิรฺบ้างเล่า ? และเหตุใดพวกท่านจึงมิได้กล่าวหาว่าเขาเป็นคนชั่วช้าสามานย์ เป็นผู้ทรยศ ทั้ง ๆ ที่เขาได้ประณามสาปแช่งท่านอะลี อิบนุอบีฏอลิบ (อ) ผู้เป็นเคาะลีฟะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) เป็นเวลาติดต่อกันถึง 40 ปี และหลังจาก มุอาวิยะฮฺได้เสียชีวิตแล้ว การประณามสาปแช่งดังกล่าวได้ดำเนินไปถึง 70 ปี !

กษัตริย์  :-   ขอให้พวกท่านผ่านประเด็นดังกล่าว และหยิบยกประเด็นอื่นบ้าง
เชคอับบาสีย์ :- บิดอะฮฺ (สิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ไม่มีในศาสนา) หนึ่งที่ชาวชีอะฮฺได้ยึดถือปฏิบัติก็คือ การไม่ยอมรับในคัมภีร์อัลกุรฺอาน
สัยยิดอะละวีย์ :- หามิได้ แต่ทว่าในความเป็นจริงแล้ว ชาวสุนนีต่างหากเล่าที่ไม่ยอมรับในคัมภีร์อัลกุรฺอาน หลักฐานและข้อพิสูจน์ของข้าพเจ้าในกรณีดังกล่าวก็คือ ชาวสุนนีเชื่อว่า  :-   " อุษมานเป็นผู้รวบรวมคัมภีร์อัลกุรฺอาน "  พวกท่านต้องการจะกล่าวหาท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ว่ามีความรู้ ความเชี่ยวชาญในคัมภีร์อัลกุรฺอานไม่เทียบเท่ากับท่านอุษมาน   และมิได้บัญชาให้เศาะหาบะฮฺคนใดทำการรวบรวมอัลกุรฺอานเมื่อครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ จนต้องปล่อยให้เป็นภาระของอุษมานในภายหลังกระนั้นหรือ ?

นอกจากนั้น  จะเป็นไปได้อย่างไรที่อัลกุรฺอานมิได้ถูกรวบรวมตั้งแต่สมัยท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ในเมื่อท่าน (ศ) ได้สั่งให้ญาติสนิทและกัลยาณมิตรของท่านอ่านทบทวนมันตั้งแต่สูเราะฮฺแรกถึงสูเราะฮฺสุดท้าย โดยท่านได้วจนะว่า :- บุคคลใดที่อ่านอัลกุรฺอานจบสมบูรณ์ เขาจะได้รับมรรคผลและรางวัลตอบแทนเท่านั้นเท่านี้ เป็นต้น

จะเป็นไปได้อย่างไรกันที่คำสั่งให้อ่านอัลกุรฺอานตั้งแต่ต้นจนจบ โดยที่มันยังมิได้ถูกรวบรวมไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ?
หรือว่ามุสลิมในสมัยนั้นอยู่ในภาวะหลงทาง จนกระทั่งท่านอุษมานได้มาชี้นำและปลดปล่อยพวกเขา ? !

กษัตริย์ ได้หันไปถามประธานองคมนตรีว่า :- สิ่งที่สัยยิดอะละวีย์ กล่าวว่าทัศนะของชาวสุนนีถือว่าท่านอุษมานเป็นผู้รวบรวมคัมภีร์อัลกุรฺอาน เป็นสิ่งที่ถูกต้องและมีมูลความจริงหรือ ?
ประธานองคมนตรี :- บรรดามุฟัสสิรีน (นักอรรถาธิบายอัลกุรฺอาน) และนักประวัติศาสตร์ได้กล่าวไว้เช่นนั้นจริง
สัยยิดอะละวีย์ :- โอ้ กษัตริย์  ! ณ ที่นี้  เป็นการสมควรที่พระองค์จะทรงรับทราบไว้ด้วยว่า ชาวชีอะฮฺมีความเชื่อว่าคัมภีร์อัลกุรฺอานได้ถูกรวบรวมอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตั้งแต่ในสมัยที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ยังมีชีวิต โดยมีเนื้อหาสาระ ดังเช่นอัลกุรฺอานที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน และพระองค์ทรงประจักษ์แล้วว่า ไม่มีคำใดที่ถูกตัดทอนหรือเพิ่มเติมเข้ามาแม้แต่อักษรเดียว ในขณะที่ชาวสุนนีกลับกล่าวว่าคัมภีร์อัลกุรฺอานมีส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามา และมีส่วนที่ขาดหายไป และมีบางอายะฮฺที่ถูกสลับสับเปลี่ยนที่กัน และท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) มิได้เคยรวบรวมมันมาก่อน แต่ทว่า ท่านอุษมาน คือบุคคลแรกที่ได้ดำเนินการรวบรวมมัน ภายหลังจากที่เขาได้เถลิงอำนาจขึ้นเป็นกษัตริย์

เชคอับบาสีย์  จึงได้ฉกฉวยโอกาสนี้กล่าวขึ้นว่า :- โอ้ กษัตริย์ ! พระองค์ทรงได้ยินแล้วใช่ไหมว่า ชายผู้นี้มิได้เรียกขานท่านอุษมานในฐานะของเคาะลีฟะฮฺ แต่กลับเรียกเขาว่า "กษัตริย์" ? !
สัยยิดอะละวีย์  :-  ใช่แล้ว เพราะแท้จริงท่านอุษมานมิได้เป็นเคาะลีฟะฮฺแต่อย่างใด
กษัตริย์  จึงถามสัยยิดอะละวีย์ ว่า  :- ทำไม ? !
สัยยิดอะละวีย์  :-   ตามความเชื่อของชาวชีอะฮฺ      ถือว่าการขึ้นสู่ตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺของท่านอบูบักรฺ ท่านอุมัรฺ และอุษมาน เป็นสิ่งโมฆะ (บาฏิล) อย่างสิ้นเชิง
กษัตริย์  จึงถามด้วยความฉงนสนเท่ห์ว่า :- ทำไม ? !
สัยยิดอะละวีย์ :- ทั้งนี้ ก็เพราะว่าท่านอุษมานได้เป็นเคาะลีฟะฮฺจากแผนการของท่านอุมัรฺที่ได้กำหนดตัวบุคคลในคณะที่ปรึกษา (ชูรอ) จำนวน 6 คน ในขณะที่บุคคลทั้งหกมิได้มีมติเลือกท่านอุษมานให้เป็นเคาะลีฟะฮฺอย่างเป็นเอกฉันท์ แต่ทว่า มีเพียงสามหรือสองคนเท่านั้นที่ได้เลือกเขาขึ้นมา ด้วยเหตุนี้เอง ความชอบธรรม (มัชรูอียะฮฺ) ในตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺของท่านอุษมานจึงขึ้นอยู่กับท่านอุมัรฺเพียงคนเดียวเท่านั้น

ส่วนตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺของท่านอุมัรฺนั้นเล่า      ก็ได้รับมาเพราะคำสั่งเสีย (วะศียะฮฺ) ของอบูบักรฺเพียงคนเดียว ดังนั้น ความชอบธรรม (มัชรูอียะฮฺ) แห่งการเป็นเคาะลีฟะฮฺของท่านอุมัรฺ  จึงขึ้นอยู่กับท่านอบูบักรฺเพียงคนเดียวเช่นกัน
ในขณะที่ตัวของท่านอบูบักรฺเอง ซึ่งได้ขึ้นสู่ตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺจากการเลือกตั้งของคนเพียงหยิบมือเดียว และยิ่งไปกว่านั้นบางส่วนของพวกเขาต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของคมดาบและการใช้กำลังข่มขู่คุกคาม ดังนั้น ความชอบธรรมในตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺของท่านอบูบักรฺ จึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของคมดาบและกฎหมู่ !

จากข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้เอง ที่ในเวลาต่อมาท่านอุมัรฺได้กล่าวสารภาพด้วยตนเองว่า :-
"การให้สัตยาบัน (บัยอะฮฺ คือ การยอมรับว่าบุคคลหนึ่งเป็นผุ้นำของเรา) ของประชาชนต่อท่านอบูบักรฺ เป็นหนึ่งจากภารกิจที่คับขันและฉุกละหุก และปราศจากการตระเตรียมการที่ดี และเป็นการกระทำตามแบบฉบับของพวกโง่งมงาย (ญาฮิลียะฮฺ) ขออัลลอฮฺได้ทรงโปรดขจัดปัดเป่าความชั่วร้ายออกจากมวลมุสลิมด้วยเถิด ดังนั้น นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ใครก็ตามที่ลอกเลียนแบบอย่างแห่งการขอสัตยาบันเช่นนั้นอีก พวกท่านจงจัดการสังหารเขาเสีย"
ท่านอบูบักรฺเองก็ได้ยอมจำนนเช่นกันว่า :- "พวกท่านจงปล่อยฉันให้ไปตามยถากรรมของฉันเถิด และจงยึดการให้สัตยาบันของพวกท่านคืนไปเถิด เพราะตราบใดที่อะลี (อ) ยังอยู่ในท่ามกลางพวกท่าน ฉันมิใช่ผู้ที่ดีที่สุดในหมู่พวกท่าน"

จากหลักฐานและข้อพิสูจน์ดังกล่าวนี้เอง ที่ชาวชีอะฮฺมีความเชื่อว่า รากเหง้าแห่งการได้รับตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺของบุคคลทั้งสามเป็นสิ่งโมฆะและผิดครรลองคลองธรรมมาตั้งแต่ต้น

กษัตริย์ ได้หันไปถามประธานองคมนตรีว่า :- ที่สัยยิดอะละวีย์กล่าวถึงท่านอบูบักรฺและท่านอุมัรฺ มีมูลความจริงและเป็นสิ่งที่ถูกต้องกระนั้นหรือ ?
ประธานองคมนตรี :- ใช่แล้ว นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้เช่นนั้นจริง
กษัตริย์ จึงได้ถามต่อไปว่า :- แล้วเหตุใดพวกเราชาวสุนนีจึงยกย่องให้เกียรติบุคคลทั้งสามเล่า ? !
ประธานองคมนตรี  :- เป็นการปฏิบัติตามบรรพชนผู้ทรงคุณธรรมของพวกเรา
สัยยิดอะละวีย์ จึงกล่าวกับกษัตริย์ว่า  :- โอ้ กษัตริย์ ! ได้โปรดถามท่านประธานองคมนตรีเถิดว่า  ระหว่างการดำเนินตามสัจธรรมกับบรรพชน  อันไหนเป็นสิ่งวาญิบ (จำเป็น) กว่ากัน ?       มาตรว่าการลอกเลียนแบบบรรพชนขัดแย้งกับสัจธรรมความจริงแล้ว จะมิตกอยู่ในฐานะที่คัมภีร์อัลกุรฺอานได้ตรัสไว้หรอกหรือว่า :-
﴾ إِنَّا وَجَدْنَا آبَاءَنَا عَلَى أُمَّةٍ وَإِنَّا عَلَى آثَارِهِم مُّقْتَدُونَ ﴿
"แท้จริง พวกเราได้ประจักษ์ว่าบรรพบุรุษของพวกเราอยู่ในวิถีทางนี้มาก่อน ดังนั้น พวกเราจึงดำเนินตามร่องรอยของพวกเขาด้วย"
(สูเราะฮฺซุครุฟ 43 : 23)

กษัตริย์ จึงกล่าวกับสัยยิดอะละวีย์ว่า     :-     ถ้าหากบุคคลทั้งสามมิได้เป็นเคาะลีฟะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) แล้ว ใครเล่าคือเคาะลีฟะฮฺของท่าน ?
สัยยิดอะละวีย์ จึงตอบว่า :- เฉพาะอะลี อิบนุอบีฏอลิบ (อ) เท่านั้น
ที่เป็นเคาะลีฟะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ)
กษัตริย์ :- อะไรคือหลักฐานและข้อพิสูจน์ของท่าน ?
สัยยิดอะละวีย์ :- ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้แต่งตั้งเขาให้เป็นเคาะลีฟะฮฺและตัวแทนภายหลังจากท่าน โดยท่าน (ศ) ได้ประกาศอย่างชัดเจนต่อหน้าประชาชนในต่างกรรมต่างวาระกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเหตุการณ์ "เฆาะดีรฺคุม" ตำบลที่ตั้งอยู่ระหว่างนครมักกะฮฺกับมะดีนะฮฺ เมื่อท่าน (ศ) ได้บัญชาให้พวกเขาชุมนุมกัน ณ สถานที่แห่งนั้น และได้ชูมือของอะลี (อ) ขึ้น พร้อมกับประกาศด้วยเสียงก้องกังวานว่า :-
"ใครก็ตามที่ฉันเป็นผู้ปกครอง (เมาลา) ของเขา อะลี (อ) ก็เป็นผู้ปกครอง (เมาลา) ของเขาด้วย
โอ้ อัลลอฮฺ ! ได้โปรดมอบความรักและให้การคุ้มครองแก่ผู้ที่รักอะลี และยอมรับฐานภาพแห่งการเป็นผู้ปกครองของเขาด้วยเถิด
และโปรดเป็นศัตรูกับผู้บุคคลใดที่เป็นศัตรูกับเขาด้วยเถิด
และโปรดให้การสนับสนุนบุคคลใดที่สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือเขาด้วยเถิด
และบุคคลใดที่ละทิ้งไม่ให้ความช่วยเหลือเขา ขอพระองค์โปรดละทิ้งเขา (ให้ระหน) ด้วยเถิด" 1  
1. บิหารุลอันวารฺ 37 / 123