Q4wahabi.com (Question for Wahabi)

หมวดหมู่ทั่วไป => อะลุ้ลบัยต์ อ. ในทัศนะของวาฮาบี ซุนนี่ และชีอะฮ์ => หัวข้อที่ตั้งโดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 16, 2009, 12:13:52 หลังเที่ยง

ชื่อ: คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 16, 2009, 12:13:52 หลังเที่ยง


คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์ ???


เป็นที่ทราบดีว่า  

ท่านอบูบักรได้รับตำแหน่ง " คอลีฟะฮ์ " มาจากการประชุมหารือผู้นำที่สะกีฟะฮ์บนีสะอีดะฮ์   ต่อมาได้เรียกการเลือกตั้งผู้นำนี้ว่าเป็น

มติของซอฮาบะฮ์ ( إجماع الصحابة )

ทุกท่านที่เคารพ ต่างทราบดีว่า  
การปฏิเสธสถานะคอลีฟะฮ์ของท่านอบูบักร  
คือการยืนยันถึงการเป็นคอลีฟะฮ์ของท่านอะลี

พี่น้องซุนนี่ย่อมต้องพยายามปกป้องเรื่องนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
เพราะปัญหานี้เป็นอะกีดะฮ์ประการหนึ่งของพวกเขา

พี่น้องซุนนี่มีสิทธิที่จะเขียนบทความต่างๆออกมาชี้แจงถึงความชอบธรรมในการดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ์ของท่านอบูบักร ตามทัศนะของพวกเขา
และ
ชีอะฮ์ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเขียนบทความต่างๆออกมาชี้แจงถึงความชอบธรรมในการดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ์ของท่านอะลี ตามทัศนะของพวกเขาเช่นกัน

ชีอะฮ์มีอะกีดะฮ์ว่า  
ผู้นำ - คอลีฟะฮ์ ต้องมาจากคำสั่งของอัลลอฮ์เท่านั้น

ฝ่ายซุนนี่มีอะกีดะฮ์ว่า
เรื่อง " ผู้นำ -คอลีฟะฮ์ " เป็น " มติ " ของประชาชนในยุคนั้น

ประการแรกเราขอให้ท่านจงย้อนกลับไปพิจารณาที่
1.   อัลกุรอ่าน
2.   อัลหะดีษ
เสียก่อนว่า อัลเลาะฮ์และรอซูลนั้นได้กล่าวถึงเรื่องผู้นำไว้อย่างไร หรือได้วางมาตรการเกี่ยวกับเรื่อง " ผู้นำ " เอาไว้อย่างไร

อัลกุรอ่าน
อัลลอฮ์ ตะอาลาตรัสว่า

وَإِنْ تُطِعْ أَكْثَرَ مَنْ فِي الْأَرْضِ يُضِلُّوكَ عَنْ سَبِيلِ اللَّهِ إِنْ يَتَّبِعُونَ إِلَّا الظَّنَّ وَإِنْ هُمْ إِلَّا يَخْرُصُونَ

และหากเจ้าเชื่อฟังส่วนมากของผู้คนในแผ่นดินแล้ว พวกเขาจะทำให้เจ้าหลงออกจากทางของอัลลอฮ์
พวกเขามิได้ปฏิบัติตามสิ่งใด นอกจากการนึกคิดเอาเอง และพวกเขามิได้ตั้งอยู่บนสิ่งใดนอกจากพวกเขาจะคาดคะเนเอาเท่านั้น
บท 6 : 116

أَلَمْ تَرَ إِلَى الَّذِينَ يُزَكُّونَ أَنْفُسَهُمْ بَلِ اللَّهُ يُزَكِّي مَنْ يَشَاءُ وَلَا يُظْلَمُونَ فَتِيلًا

เจ้ามิได้มองดูไปยังบรรดาผู้ที่ขัดเกลาตัวเองให้เป็นผู้บริสุทธิ์ดอกหรือ ?
แต่ทว่าอัลลอฮฺต่างหาก ที่จะซักฟอกผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ให้บริสุทธิ์
และพวกเขาจะไม่ถูกอธรรมแม้เพียงขนาดร่องเมล็ดอินทผาลัม
บท 4 : 49

فَلَا تُزَكُّوا أَنْفُسَكُمْ هُوَ أَعْلَمُ بِمَنِ اتَّقَى

ดังนั้นพวกเจ้าจงอย่าแสดงความบริสุทธิ์แก่ตัวของพวกเจ้าเอง เพราะพระองค์ทรงรู้ดียิ่งถึงผู้ที่มีความยำเกรง
บท 53 : 32

إِنَّ رَبَّكَ هُوَ أَعْلَمُ مَنْ يَضِلُّ عَنْ سَبِيلِهِ وَهُوَ أَعْلَمُ بِالْمُهْتَدِينَ

แท้จริงพระผู้อภิบาลของเจ้านั้นคือ ผู้ทรงรอบรู้มากที่สุดต่อผู้ที่กำลังหลงออกจากแนวทางของพระองค์ และเป็นผู้รอบรู้มากที่สุดต่อบรรดาผู้ที่รับการนำทาง
บท 6  : 117

โองการเหล่านี้คือหลักฐานดีที่สุดว่า มติของมนุษย์นั้น มิอาจนำมาใช้กับเรื่องผู้นำได้  

เพราะว่า ผู้นำ – คอลีฟะฮ์ ต้องมาจากการแต่งตั้งโดยอัลลอฮ์เท่านั้น

ศาสดาของอัลลอฮ์ทุกคนล้วนได้รับการเลือกเฟ้นโดยอัลลอฮ์  
ดังที่อัลลอฮ์ตะอาลาตรัสว่า

إِنَّ اللَّهَ اصْطَفَى آَدَمَ وَنُوحًا وَآَلَ إِبْرَاهِيمَ وَآَلَ عِمْرَانَ عَلَى الْعَالَمِينَ

แท้จริงอัลลอฮ์ทรงคัดเลือก(ให้เป็นนบีคือ) อาดัมและนู๊ห์ และวงศ์วานของอิบรอฮีม และวงศ์วานของอิมรอนให้เหนือกว่าประชาชาติทั้งหลาย
บท 3 : 33

وَإِذْ قَالَتِ الْمَلَائِكَةُ يَا مَرْيَمُ إِنَّ اللَّهَ اصْطَفَاكِ وَطَهَّرَكِ وَاصْطَفَاكِ عَلَى نِسَاءِ الْعَالَمِينَ

และจงรำลึกขณะที่มะลาอิกะฮ์กล่าวว่า โอ้มัรยัม ! แท้จริงอัลลอฮ์ทรงเลือกเธอและทรงทำให้เธอบริสุทธิ์ และได้ทรงเลือกเธอ(เพื่อเป็นมารดาของอีซา) ให้เหนือบรรดาหญิงแห่งประชาชาติทั้งหลาย
บท 3 : 42

إِنَّ اللَّهَ اصْطَفَاهُ عَلَيْكُمْ وَزَادَهُ بَسْطَةً فِي الْعِلْمِ وَالْجِسْمِ

(นะบีของเขา) กล่าวว่า แท้จริงอัลลอฮ์ทรงคัดเลือกเขาให้มีอำนาจเหนือพวกท่านแล้ว และได้ทรงเพิ่มให้แก่เขาอีก ซึ่งความกว้างขวางในความรู้ และความสูงใหญ่ในร่างกาย
บท 2 : 247

وَإِذْ قَالَ رَبُّكَ لِلْمَلَائِكَةِ إِنِّي جَاعِلٌ فِي الْأَرْضِ خَلِيفَةً

และจงรำลึกถึงขณะที่พระผู้อภิบาลของเจ้าได้ตรัสแก่มะลาอิกะฮฺว่า แท้จริงข้าจะให้มีคอลีฟะฮ์คนหนึ่ง(เป็นผู้แทนของข้า) ในแผ่นดิน
บท 2 : 30

وَإِذِ ابْتَلَى إِبْرَاهِيمَ رَبُّهُ بِكَلِمَاتٍ فَأَتَمَّهُنَّ قَالَ إِنِّي جَاعِلُكَ لِلنَّاسِ إِمَامًا قَالَ وَمِنْ ذُرِّيَّتِي قَالَ لَا يَنَالُ عَهْدِي الظَّالِمِينَ

และจงรำลึกถึง ขณะที่พระผู้อภิบาลของอิบรอฮีมได้ทดสอบเขา ด้วยถ้อยคำต่างๆ(พระบัญชา) แล้วเขาก็ได้สนองตามพระบัญชานั้นโดยครบถ้วน พระองค์ตรัสว่า  : แท้จริงข้าจะให้เจ้าเป็นอิม่ามผู้นำต่อมนุษยชาติ
เขา(อิบรอฮีม)กล่าวว่า  : และ(ขอให้)จากลูกหลานของข้าพระองค์(ได้รับตำแหน่งผู้นำนั้น)ด้วย
พระองค์ตรัสว่า  : สัญญาของข้า(ในเรื่องแต่งตั้งผู้นำ)นั้นจะไม่ได้แก่บรรดาผู้อธรรม
บท 2 :124

وَهُوَ الَّذِي جَعَلَكُمْ خَلَائِفَ الْأَرْضِ وَرَفَعَ بَعْضَكُمْ فَوْقَ بَعْضٍ دَرَجَاتٍ لِيَبْلُوَكُمْ فِي مَا آَتَاكُمْ

และพระองค์นั้นคือผู้ที่ทรงทำให้พวกเจ้าเป็นคอลีฟะฮ์(ผู้ปกครองใน)แผ่นดิน และได้ทรงเทิดบางคนของพวกเจ้าเหนือกว่าอีกบางคนหลายขั้น เพื่อที่พระองค์จะทรงทดสอบพวกเจ้าในสิ่งที่พระองค์ได้ทรงประทานแก่พวกเจ้า
บท 6 : 165

يَا دَاوُودُ إِنَّا جَعَلْنَاكَ خَلِيفَةً فِي الْأَرْضِ فَاحْكُمْ بَيْنَ النَّاسِ بِالْحَقِّ

โอ้ดาวูด ! แท้จริงเราได้แต่งตั้งเจ้าให้เป็นคอลีฟะฮ์ในแผ่นดิน ดังนั้นเจ้าจงตัดสินคดีต่าง ๆ ระหว่างมนุษย์ด้วยความยุติธรรม
บท 38 : 26

ท่านจะเห็นได้ว่า อัลลอฮ์ทรงทำหน้าที่สรรหาบุคคลที่จะมาเป็นนบี(ศาสดา) และทรงทำหน้าที่แต่งตั้งนบีด้วยตัวของพระองค์เองทั้งสิ้น

ไม่มีโองการใดระบุว่า  มีนบี(ศาสดาของอัลลอฮ์)คนใดในโลกได้รับตำแหน่งนุบูวะฮ์นี้มาจากมติของประชาชน  

หรือถ้าท่านใดมีข้อมูล กรุณาช่วยแจ้งให้เราทราบด้วย

ส่วนกรณีการแต่งตั้งคอลีฟะฮ์ ตัวแทนทำหน้าที่สืบต่อจากนบีนั้น มีซุนนะฮ์(แบบอย่าง)ที่อัลกุรอ่านกล่าวเอาไว้ดังนี้

وَقَالَ مُوسَى لِأَخِيهِ هَارُونَ اخْلُفْنِي فِي قَوْمِي وَأَصْلِحْ وَلَا تَتَّبِعْ سَبِيلَ الْمُفْسِدِينَ

และมูซาได้กล่าวแก่ฮารูนพี่ชายของเขาว่า จงทำหน้าที่แทนฉันในหมู่ชนของฉัน และจงปรับปรุงแก้ไข และจงอย่าปฏิบัติตามทางของผู้ก่อความเสียหาย
บท 7 : 142

เราเชื่อว่า  ก่อนท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)จะจากโลกนี้ไป  ท่านได้แต่งตั้งคอลีฟะฮ์ตเอาไว้แล้ว เพื่อสืบทอดหน้าที่อันยิ่งใหญ่ภายหลังจากท่าน
อีกอย่างหนึ่งการแต่งตั้งคอลีฟะฮ์สืบแทนนบี ยังเป็นซุนนะฮ์ของบรรดานบีทั้งหลายอีกด้วย

แล้วจะเป็นไปได้อย่างไรที่นบีมุฮัมมัด(ศ)จะแหวกแนวออกไปจากบรรดาศาสดาของอัลลอฮ์ที่มาก่อนหน้าท่าน

จะเห็นได้ว่า ทั้งๆที่นบีมูซาได้แต่งตั้งนบีฮารูนเป็นคอลีฟะฮ์แทนตัวท่านเอาไว้ ก่อนที่นบีมูซาจะจากพวกบนีอิสรออีลขึ้นไปบนภูเขา  เพียงแค่สี่สิบคืนเท่านั้น เกิดอะไรขึ้นกับพวกอิสราเอล   อัลกุรอ่านเล่าว่า

وَإِذْ وَاعَدْنَا مُوسَى أَرْبَعِينَ لَيْلَةً ثُمَّ اتَّخَذْتُمُ الْعِجْلَ مِنْ بَعْدِهِ وَأَنْتُمْ ظَالِمُونَ

และจงรำลึกถึงขณะที่เราได้สัญญาแก่มูซาไว้ 40 คืน  แล้วพวกเจ้า(อิสราเอล)ได้ยึดลูกวัวตัวนั้น(เป็นพระเจ้าเคารพสักการะ)หลังจากเขา และพวกเจ้านั้นเป็นผู้อธรรม
บท 2 : 51

คำถาม

1.   นบีมูซาแค่จากพวกอิสราเอลไปสี่สิบวัน พวกเขายังหันไปกราบไหว้รูปปั้นวัว แทนอัลลอฮ์  แล้วนบีมุฮัมมัด(ศ)รู้ดีว่าต้องจากประชาชาติอิสลามไปตลอดกาล แล้วสภาพของประชาชาติอิสลามจะเป็นอย่างไรเล่า หากท่านไม่แต่งตั้งคอลีฟะฮ์เอาไว้ ?

2.   แบบอย่างของบรรดานบีคือ ก่อนจากหมู่ชนของพวกเขาไปจะแต่งตั้งคอลีฟะฮ์ของพวกเขาเอาไว้   แต่น่าแปลกใจที่พี่น้องซุนนี่กลับเชื่อว่า นบีมุฮัมมัด(ศ)จากไปโดยไม่ได้แต่งตั้งใครเป็นคอลีฟะฮ์   ท่านคิดว่านบีมุฮัมมัด(ศ)ได้ทอดทิ้งแนวทางที่อัลลอฮ์ทรงวางเอาไว้สำหรับบรรดานบีทั้งหลายกระนั้นหรือ ?


มีต่อ...
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 16, 2009, 01:38:12 หลังเที่ยง

เมื่อซุนนี่เชื่อว่า  นบีมุฮัมมัด(ศ)ไม่ได้แต่งตั้งคอลีฟะฮ์เอาไว้

ประชาชนจึงจำเป็นต้องเฟ้นหาผู้นำคอลีฟะฮ์ ด้วยวิธี " เลือกตั้ง "

คำ  " เลือกตั้ง "
หมายถึง การที่ประชาชนเลือกบุคคลหนึ่ง ให้มาดำรงตำแหน่งผู้นำต่อจากท่านนบีมุฮัมมัด(ศ) เพราะท่านจากไปโดยไม่ได้แต่งตั้งใครไว้

จากนั้นซุนนี่ได้กล่าวว่า
การประชุมหาคอลีฟะฮ์ที่สะกีฟะฮ์ในวันนั้น  ผลปรากฏออกว่าประชาชนมี   " มติ " ให้ท่านอบูบักรขึ้นดำรงตำแหน่ง คอลีฟะฮ์

คำ   " มติ "    
หมายถึง  ความเห็นชอบของที่ประชุม

และคำ   " ประชุม "  
หมายถึง การที่ประชาชนทั้งหลายได้มารวมกันหารือเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง


คำถามคือ

1.   มติที่สะกีฟะฮ์ในวันนั้น มีประชาชนเข้าร่วมประชุม กี่คน ?

2.   สมัยนั้นมีการกำหนดเงื่อนไขสำหรับตัวของผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งบ้างไหมว่า  เขาต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

3.   ประชาชนสมัยนั้น ได้พิจารณาอย่างถ้วนถี่แล้วหรือว่า  ศาสดามุฮัมมัด(ศ)จากไป โดยไม่มีวะซียัต เช่นคำสั่งเสียเรื่องผู้นำ หรือการแต่งตั้งผู้นำต่อจากท่านเอาไว้ก่อนแล้ว  ?

4.   หากท่านกล่าวว่า " ไม่มี "  แต่อีกฝ่ายหนึ่งยืนยันว่า " มี "  ทำไมจึงไม่สดับฟังหลักฐานหรือเหตุผลของเขาบ้าง ?    
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 16, 2009, 03:46:09 หลังเที่ยง

อบูบักร คือซอฮาบะฮ์ประเสริฐที่สุดจริงหรือ ?



ซุนนี่กล่าวว่า  

ท่านอบูบักรเหมาะสมที่สุดที่ในการเป็นคอลีฟะฮ์ต่อจากท่านนบี(ศ) เพราะเขาเป็นคนประเสริฐที่สุด

นักวิชาการซุนนี่พยายามทุ่มเทงัดหลักฐานจากกิตาบและซุนนะฮ์ออกมาสารพัดเพื่อพิสูจน์ว่า  อัฟเฎาะลุซ – ซอฮาบะฮ์คือ  ท่านอบูบักร

จากนั้นพวกเขาก็ใช้สูตรต้นตำรับเดิมเดียวกันกับที่ชาวสะลัฟรุ่นก่อนเคยใช้ในสะกีฟะฮ์มาแล้วคือ
อุละมาอ์เขามีมติเป็นเอกฉันท์ว่า  

ท่านอบูบักร คือบุคคลประเสริฐที่สุดจากประชาชาติของนบีมุฮัมมัด(ศ)

มติ (อิจญ์ม๊าอ์) ที่ว่านี้มันจึงเป็น " ฮุจญะฮ์ – หลักฐาน " อ้างอิงที่สำคัญสำหรับพวกท่าน แต่ไม่ใช่พวกอื่น  และกรุณาอย่าประณามผู้อื่นโดยไม่สดับฟังเหตุผลของผู้อื่น มิเช่นนั้นท่านก็จะไม่แตกต่างอะไรกับพวกเผด็จการไร้เหตุผล

คำว่า  คนดีที่สุด หรือคนประเสริฐที่สุด   ผมไม่ทราบว่า  ทั้งสะลัฟและค่อลัฟ และพวกเราเอาอะไรวัด ?

อัลกุรอ่าน กับการเปรียบเทียบระหว่างคนสองคนว่า ใครประเสริฐกว่ากัน

อัลลอฮ์ ตะอาลาตรัสว่า
أَتَسْتَبْدِلُونَ الَّذِي هُوَ أَدْنَى بِالَّذِي هُوَ خَيْرٌ
เขา(มูซา)ได้กล่าวว่า พวกท่านจะขอเปลี่ยนเอาสิ่งที่มันเลวกว่า ดัวยสิ่งที่มันดีกว่ากระนั้นหรือ?
บท 2 : 61

قُلْ هَلْ يَسْتَوِي الْأَعْمَى وَالْبَصِيرُ أَفَلَا تَتَفَكَّرُونَ
จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ว่า  คนตาบอดกับคนตาดีนั้นจะเท่าเทียมกันหรือ? พวกท่านจะไม่ใคร่ครวญดอกหรือ?
บท 6 : 50

هَلْ تَسْتَوِي الظُّلُمَاتُ وَالنُّورُ  
หรือความมืดจะเหมือนกับแสงสว่างหรือ ?
บท 13 : 16

قُلْ هَلْ يَسْتَوِي الذين يَعْلَمُونَ والذين لاَ يَعْلَمُونَ إِنَّمَا يَتَذَكَّرُ أُوْلُو الألباب  
จงกล่าวเถิด ( มุฮัมมัด )ว่า  บรรดาผู้รู้และบรรดาผู้ไม่รู้จะเท่าเทียมกันหรือ ? แท้จริงบรรดาผู้มีสติปัญญาเท่านั้นที่จะใคร่ครวญ
บท 39 : 9

وَمَا يَسْتَوِي الْأَعْمَى وَالْبَصِيرُ وَالَّذِينَ آَمَنُوا وَعَمِلُوا الصَّالِحَاتِ وَلَا الْمُسِيءُ قَلِيلًا مَا تَتَذَكَّرُونَ
และคนตาบอดกับคนตาดีนั้นย่อมไม่เท่าเทียมกัน และบรรดาผู้ศรัทธาและประกอบความดีทั้งหลายกับพวกกระทำความชั่วก็ไม่เท่าเทียมเช่นกัน เพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่พวกเจ้าจะใคร่ครวญ
บท 40 : 58

أَفَمَنْ كَانَ عَلَى بَيِّنَةٍ مِنْ رَبِّهِ كَمَنْ زُيِّنَ لَهُ سُوءُ عَمَلِهِ وَاتَّبَعُوا أَهْوَاءَهُمْ
ดังนั้นผู้ที่อยู่บนหลักฐานอันชัดแจ้งจากพระผู้อภิบาลของเขา จะเหมือนกับผู้ที่ความชั่วแห่งการงานของเขาได้ถูกทำให้เพริศแพร้วแก่เขา และพวกเขาก็ปฏิบัติตามอารมณ์ต่ำของพวกเขากระนั้นหรือ ?
บท 47 : 14

أَفَمَنْ يَمْشِي مُكِبًّا عَلَى وَجْهِهِ أَهْدَى أَمْ مَنْ يَمْشِي سَوِيًّا عَلَى صِرَاطٍ مُسْتَقِيمٍ
ผู้ที่เดินคว่ำคว่ำบนใบหน้าของเขาจะเป็นผู้ที่อยู่ในแนวทางที่ถูกต้องกว่า หรือว่า ผู้ที่เดินตัวตรงอยู่บนแนวทางที่เที่ยงตรง
บท 67 : 22

ไม่ทราบว่ามุสลิมในอดีตจนถึงปัจจุบัน ได้นำสิ่งที่อัลลอฮ์ตะอาลาตรัสนี้ มาใช้เป็นบรรทัดฐานในการเลือกหาผู้นำหรือปล่าว ?

สมมุติถ้าถามว่า  ท่านอบูบักรมีคุณสมบัติในการเป็นคอลีฟะฮ์  ดังต่อไปนี้หรือไม่เช่น  

1.   เข้ารับอิสลามคนแรก
2.   รู้เรื่องตัฟสีรกุรอ่านมากที่สุด
3.   รู้เรื่องซุนนะฮ์นบีมากที่สุด
4.   กล้าหาญมากที่สุด
5.   มีเกียรติมากที่สุดในกลุ่มชนนั้นๆ
6.   มีหลักฐานกุรอ่านกำกับไว้
7.   มีหะดีษกำกับไว้ในการเป็นคอลีฟะฮ์ของเขา
8.   มีหะดีษรายงานถึงความประเสริฐของเขามากที่สุด
9.   ไม่เคยดื่มสุรา
10.   ไม่เคยกราบไหว้บูชาเจว็ดมาก่อน

หน้าที่ของท่านคือพิสูจน์หลักฐานว่าท่านอบูบักร ประเสริฐที่สุด

หน้าที่ของเราคือ พิสูจน์หลักฐานว่า  ท่านอะลีนั้นประเสริฐกว่าท่านอบูบักร


คำถามคือ
ระหว่างท่านอบูบักร  กับ ท่านอะลี  ใครประเสริฐกว่ากัน

จะได้อธิบายต่อไป... อินชาอัลลอฮ์
 
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 16, 2009, 06:10:17 หลังเที่ยง

เราดำเนินตามแนวทางของอะฮ์ลุลบัยต์นบี

แต่พวกท่านดำเนินตามแนวทางของซอฮาบะฮ์


คำถาม

ถูกทั้งสอง  หรือ ผิดทั้งสอง    หรือมีหนึ่งถูก อีกหนึ่งผิด  ?


ท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ)กล่าวว่า  

إفْتَرَقَتِ الْيَهُودُ عَلَى إِحْدَى أَوْ ثِنْتَيْنِ وَسَبْعِينَ فِرْقَةً وَتَفَرَّقَتِ النَّصَارَى عَلَى إِحْدَى أَوْ ثِنْتَيْنِ وَسَبْعِينَ فِرْقَةً وَتَفْتَرِقُ أُمَّتِى عَلَى ثَلاَثٍ وَسَبْعِينَ فِرْقَةً

พวกยะฮูดได้แตกออก 71  หรือ 72 กลุ่มกลุ่ม  

พวกนะศอรอได้แตกออก 71 หรือ 72 กลุ่ม

และประชาชาติของฉันจะแตกออกเป็น 73 กลุ่ม
ดูสุนันอบูดาวูด หะดีษ 4598

ต่อมาพี่น้องซุนนี่ก็รายงานหะดีษว่า  ท่านรอซูลุลเลาะฮ์กล่าวว่า  :

افْتَرَقَتِ الْيَهُودُ عَلَى إِحْدَى وَسَبْعِينَ فِرْقَةً فَوَاحِدَةٌ فِى الْجَنَّةِ وَسَبْعُونَ فِى النَّارِ وَافْتَرَقَتِ النَّصَارَى عَلَى ثِنْتَيْنِ وَسَبْعِينَ فِرْقَةً فَإِحْدَى وَسَبْعُونَ فِى النَّارِ وَوَاحِدَةٌ فِى الْجَنَّةِ وَالَّذِى نَفْسُ مُحَمَّدٍ بِيَدِهِ لَتَفْتَرِقَنَّ أُمَّتِى عَلَى ثَلاَثٍ وَسَبْعِينَ فِرْقَةً فَوَاحِدَةٌ فِى الْجَنَّةِ وَثِنْتَانِ وَسَبْعُونَ فِى النَّارِ ». قِيلَ يَا رَسُولَ اللَّهِ مَنْ هُمْ قَالَ « الْجَمَاعَةُ ».

พวกยะฮูดได้แตกออกเป็น 71 ฟิรเกาะฮ์ มีหนึ่งฟิรเกาะฮ์จะอยู่ในสวรรค์อีกเจ็ดสิบจะอยู่ในไฟนรก

พวกนะศอรอได้แตกออกเป็น 72 ฟิรเกาะฮ์  มีหนึ่งฟิรเกาะฮ์จะอยู่ในสวรรค์อีกเจ็ดสิบเอ็ดจะอยู่ในไฟนรก

และขอสาบานต่อผู้ที่ชีวิตของมุหัมมัดอยู่ในอำนาจของพระองค์ว่า  แน่นอนประชาชาติของฉันจะแตกออกเป็น 73 ฟิรเกาะฮ์  

มีหนึ่งกลุ่ม ( ฟิรเกาะฮ์ ) จะอยู่ในสวรรค์   ส่วนอีก 72 กลุ่มจะอยู่ในไฟนรก

มีคนถามว่า   โอ้ท่านรอซูลุลเลาะฮ์   พวกเขาคือใคร ?  

ท่านตอบว่าคือ  "  อัลญะมาอะฮ์  "

ดูสุนันอิบนุมาญะฮ์  หะดีษ 4127

จากนั้นชาวซุนนี่ก็ฟันธงว่า  พวกเรานี่แหล่ะคือชาวสวรรค์ตามที่ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ) บอกเอาไว้  เพราะพวกเรามีชื่อกลุ่มว่า  " อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ วัลญะมาอะฮ์ "

ถ้าถามสั้นๆว่า  ในหะดีษข้างต้น  ท่านรอซูล(ศ)กล่าวคำ (( อัลญะมาอะฮ์ ))  
ท่านไม่ได้กล่าวคำ (( อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ ))  ออกมาเลย
เพราะฉะนั้นชาวซุนนี่ทั้งหลายได้เติมคำ((อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ )) เข้าไปเองตามนัฟซู
ต่อมาก็ขี้ตู่ว่า  กลุ่มซุนนี่ นี่แหล่ะคือชาวสวรรค์กลุ่มเดียว ที่เหลือลงนรกหมด

ฟังดูก็สวยหรูน่าประทับใจดีสำหรับพี่น้องซุนนี่ทั้งหลาย  แต่อัลลอฮ์ ตะอาลาตรัสว่า

وَمِنَ النَّاسِ مَنْ يُعْجِبُكَ قَوْلُهُ فِي الْحَيَاةِ الدُّنْيَا وَيُشْهِدُ اللَّهَ عَلَى مَا فِي قَلْبِهِ وَهُوَ أَلَدُّ الْخِصَامِ

และในหมู่มนุษย์นั้น มีผู้ที่คำพูดของเขาทำให้เจ้าพึงพอใจในชีวิตความเป็นอยู่แห่งโลกนี้
และจะอ้างอัลลอฮ์เป็นพยานซึ่งสิ่งที่อยู่ในหัวใจของเขา  และขณะเดียวกันเขาก็เป็นผู้โต้เถียงที่ฉกาจฉกรรจ์ยิ่ง
บท 2 : 204  

ความจริงคำ " ญะมาอะฮ์ " นี้
สามารถนำไปเรียกคนกลุ่มใดก็ได้  แต่ที่แปลกคือชาวซุนนี่เขามาจำกัดความว่าชื่อนี้มันเป็นชื่อของพวกเราเท่านั้น  ทั้งๆที่คำ ญะมาอะฮ์  แปลว่า กลุ่ม , คณะ

ถ้าเราจะมองว่า ญะมาอะฮ์ใด คนกลุ่มใดเป็นชาวสวรรค์กันจริงๆ  ทำไมไม่มองคำจำกัดความตามที่ท่านรอซูล(ศ)กล่าวเอาไว้ล่ะเช่น

หะดีษกิตาบุลเลาะฮ์วะอิตเราะฮ์

عَنْ جَعْفَرِ بْنِ مُحَمَّدٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ قَالَ :
رَأَيْتُ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- فِى حَجَّتِهِ يَوْمَ عَرَفَةَ وَهُوَ عَلَى نَاقَتِهِ الْقَصْوَاءِ يَخْطُبُ فَسَمِعْتُهُ يَقُولُ « يَا أَيُّهَا النَّاسُ إِنِّى قَدْ تَرَكْتُ فِيكُمْ مَا إِنْ أَخَذْتُمْ بِهِ لَنْ تَضِلُّوا كِتَابَ اللَّهِ وَعِتْرَتِى أَهْلَ بَيْتِى ».

ญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด จากบิดาเขา(มุฮัมมัดบินอะลี) จากญาบิร บินอับดุลลอฮฺ เล่าว่า :

ฉันได้เห็นท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ในการประกอบพิธีฮัจญ์ของท่านในวันอะเราะฟะฮ์ ซึ่งท่านอยู่บนหลังอูฐกำลังปราศรัย แล้วฉันได้ยินท่านกล่าวว่า
โอ้ประชาชนทั้งหลาย แท้จริงฉัน ทิ้งไว้ให้แก่พวกท่านถึงสิ่งซึ่งหากพวกท่านยึดมั่นต่อสิ่งนั้น  พวกท่านจะไม่หลงทางโดยเด็ดขาด สิ่งนั้นคือ

1.   คัมภีร์ของอัลลอฮฺ(อัลกุรอาน) และ

2.   อิตเราะตี คืออะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน

สถานะหะดีษ  :   เศาะหิ๊หฺ  

ดูซอฮีฮุต-ติรมีซี  หะดีษที่ 2978    ตรวจทานโดยเชคอัลบานี

อธิบาย

1.   ท่านรอซูล(ศ)กล่าวว่า : หากยึดมั่นต่ออัลกุรอานกับอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน  ท่านจะไม่หลงทางเด็ดขาด  
2.   คัมภีร์กุรอานกับอะฮ์ลุลบัยต์จะไม่แยกจากกันตราบจนถึงวันกิยามะฮ์
3.   ท่านรอซูล(ศ) ไม่ได้บอกชื่อญะมาอะฮ์ใดๆในหะดีษนี้  ท่านบอกเพียงว่า  คนใดกลุ่มใดยึดคัมภีร์อัลกุรอ่าน และยึดอะฮ์ลุลบัยต์ของฉันเป็นสรณะ  คนกลุ่มนั้นจะไม่หลงทาง

ทีนี้มาดูหะดีษอีกบทหนึ่ง  ท่านเซด บินอัรก็อมเล่าว่า :
ท่านรอซูลุลลอฮฮ์ (ศ)กล่าวว่า :

إِنِّى تَارِكٌ فِيكُمْ مَا إِنْ تَمَسَّكْتُمْ بِهِ لَنْ تَضِلُّوا بَعْدِى أَحَدُهُمَا أَعْظَمُ مِنَ الآخَرِ كِتَابُ اللَّهِ حَبْلٌ مَمْدُودٌ مِنَ السَّمَاءِ إِلَى الأَرْضِ وَعِتْرَتِى أَهْلُ بَيْتِى وَلَنْ يَتَفَرَّقَا حَتَّى يَرِدَا عَلَىَّ الْحَوْضَ فَانْظُرُوا كَيْفَ تَخْلُفُونِى فِيهِمَا

แท้จริงฉันได้มอบไว้ให้กับพวกท่าน หากพวกท่านยึดมั่นต่อสิ่งนั้นแล้ว  พวกท่านจะไม่หลงทางหลังจากฉันเด็ดขาด  สิ่งแรกใหญ่กว่าอีกสิ่งหนึ่งนั่นคือ
1.   กิตาบุลเลาะฮ์(อัลกุรอาน)คือเชือกที่ทอดจากชั้นฟ้ามายังโลกและ
2.   อิตเราะตี คืออะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน  
และทั้งสองสิ่งจะไม่แยกจากกัน จนกว่าจะกลับมาหาฉันที่อัลเฮาฎ์(สระเกาษัร)  
ดังนั้นพวกท่านจงดูเถิดว่า พวกท่านจะขัดแย้งกับฉันในสองสิ่งที่ฉันมอบไว้ให้อย่างไร  

สถานะหะดีษ  : เศาะหิ๊หฺ  ดูซอฮีฮุต-ติรมีซี  หะดีษ 2980 ตรวจทานโดยเชคอัลบานี

ท่านลองพิจารณาคำที่ท่านรอซูล(ศ)กล่าวว่า (( หากพวกท่านยึดมั่นต่อสิ่งนั้นแล้ว  พวกท่านจะไม่หลงทาง ))

ในหะดีษระบุว่า  (( หากพวกท่านยึดมั่นต่อสิ่งนั้นแล้ว  -  إِنْ تَمَسَّكْتُمْ بِهِ ))
นั่นหมายถึง  การปฏิบัติตามแนวทางของอะฮ์ลุลบัยต์นบี  ไม่มีวันหลงทางเด็ดขาด

มันจึงไม่ใช่เป็นเพียงแค่ การแสดงความรักและให้การยกย่องต่ออะฮ์ลุลบัยต์  ตามที่ชาวซุนนี่ชอบอ้างว่า เราก็รักอะฮ์ลุลบัยต์เหมือนกัน

เราไม่ได้ตำหนิชาวซุนนี่ว่า  พวกท่านไม่รักอะฮ์ลุลบัยต์นบี  แต่เราขอบอกท่านว่า ท่านไม่ได้ดำเนินชีวิตตามแนวทางของอะฮ์ลุลบัยต์นบี เต็มร้อยเปอร์เซ็น  พวกท่านไม่เข้าใจนิยามของอัลลอฮ์ในคำว่ารักอย่างแท้จริง  ทำไม  ???  เพราะอัลลอฮ์ ตะอาลาตรัสว่า

قُلْ إِنْ كُنْتُمْ تُحِبُّونَ اللَّهَ فَاتَّبِعُونِي يُحْبِبْكُمُ اللَّهُ وَيَغْفِرْ لَكُمْ ذُنُوبَكُمْ وَاللَّهُ غَفُورٌ رَحِيمٌ

จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ว่า หากพวกท่านรักอัลลอฮ์ ก็จงปฏิบัติตามฉัน (มุฮัมมัด)
อัลลอฮ์ก็จะทรงรักพวกท่าน และจะทรงอภัยให้แก่พวกท่านซึ่งโทษทั้งหลายของพวกท่าน และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ
บท 3 : 31
 พวกท่านต้องแยกแยะให้ออกว่ามันมีความแตกต่างระหว่าง

การแสดงความรักต่ออะฮ์ลุลบัยต์   กับ

การดำเนินตามแนวทางของอะฮ์ลุลบัยต์

หากท่านมีเพื่อนคนหนึ่ง เขาบอกกล่าวกับท่านเสมอว่า  เขารักท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ) แต่เขามิได้ดำเนินชีวิตตามแนวทางของท่านรอซูล(ศ) นอกจากเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

แน่นอนเพื่อนของท่านคนนั้น คงเป็นได้แค่เพียงคนมุสาเท่านั้นเอง


คำถามสำหรับอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ วัลญะมาอะฮ์

ทั้งๆที่ท่านรอซูล(ศ)รับรองว่า การยึดมั่นต่อแนวทางของอะฮ์ลุลบัยต์ จะไม่หลงทาง
ในขณะที่พวกท่านไม่ได้ยึดมั่นต่อแนวทางของอะฮ์ลุลบัยต์ นอกจากเพียงเล้กน้อย  แล้วทำไมพวกท่านจึงกล้าออกมาหลอกลวงพี่น้องมุสลิมว่า  อะฮ์ลุสสุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ คือกลุ่มที่ถูกต้อง  ?
[/b][/size]
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 19, 2009, 11:49:06 ก่อนเที่ยง

กรณีที่ยกหะดีษษะเกาะลัยน์มาพิสูจน์ว่า   ท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ)สั่งให้มุสลิมปฏิบัติตาม
1.   กิตาบุลเลาะฮ์
2.   อะฮ์ลุลบัยต์นบี

ซึ่งมุสลิมคนใดดำเนินชีวิตตามสองสิ่งดังกล่าวเขาจะไม่หลงทางออกจากอัลอิสลามได้เลย



ฝ่ายซุนนี่อาจโต้แย้งหะดีษบทนี้ด้วยโองการนี้

وَالسَّابِقُونَ الْأَوَّلُونَ مِنَ الْمُهَاجِرِينَ وَالْأَنْصَارِ وَالَّذِينَ اتَّبَعُوهُمْ بِإِحْسَانٍ
رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمْ وَرَضُوا عَنْهُ وَأَعَدَّ لَهُمْ جَنَّاتٍ تَجْرِي تَحْتَهَا الْأَنْهَارُ خَالِدِينَ فِيهَا أَبَدًا ذَلِكَ الْفَوْزُ الْعَظِيمُ

อัสซาบิกูนัลเอาวะลูน ( กลุ่มคนรุ่นแรกที่เข้ารับอิสลาม ) จากชาวมุฮาญิรีน( ผู้อพยพจากมักกะฮฺ ) และจากชาวอันศ็อร ( ผู้ให้ความช่วยเหลือจากมะดีนะฮฺ )  และบรรดาผู้ดำเนินตามพวกเขาด้วยการทำดีนั้น  อัลลอฮฺทรงพอพระทัยในพวกเขา และพวกเขาก็พอใจในพระองค์ด้วย  และพระองค์ทรงเตรียมไว้ให้พวกเขาแล้ว ซึ่งบรรดาสวนสวรรค์ที่มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านอยู่ทางเบื้องล่าง  พวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล นั่นคือชัยชนะอันยิ่งใหญ่   

บทที่  9 : 100

ฝ่ายซุนนี่กล่าวว่า  
อัลลอฮ์ทรงแจ้งให้พวกเขาทราบว่า  พระองค์จะทรงพอใจต่อบรรดาผู้ที่ดำเนินชีวิตตามอัสซาบิกูนัลเอาวะลูน คือกลุ่มคนรุ่นแรกที่เข้ารับอิสลาม จากชาวมุฮาญิรีน( ผู้อพยพจากมักกะฮฺ ) และจากชาวอันศ็อร ( ผู้ให้ความช่วยเหลือจากมะดีนะฮฺ )
ดังนั้นถ้าพวกเขาปฏิบัติตามบุคคลดังกล่าว พวกเขาจะหลงทางได้อย่างไรกัน ?
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 19, 2009, 11:52:33 ก่อนเที่ยง

ขออธิบายความหายของโองการดังกล่าว  ดังต่อไปนี้


อัลเลาะฮ์  ญัลละ ญะลาล๊ะฮฺ ทรงตรัสว่า

وَالسَّابِقُونَ الْأَوَّلُونَ مِنَ الْمُهَاجِرِينَ وَالْأَنْصَارِ وَالَّذِينَ اتَّبَعُوهُمْ بِإِحْسَانٍ
رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمْ وَرَضُوا عَنْهُ وَأَعَدَّ لَهُمْ جَنَّاتٍ تَجْرِي تَحْتَهَا الْأَنْهَارُ خَالِدِينَ فِيهَا أَبَدًا ذَلِكَ الْفَوْزُ الْعَظِيمُ

อัสซาบิกูนัลเอาวะลูน ( กลุ่มคนรุ่นแรกที่เข้ารับอิสลาม ) จากชาวมุฮาญิรีน( ผู้อพยพจากมักกะฮฺ ) และจากชาวอันศ็อร ( ผู้ให้ความช่วยเหลือจากมะดีนะฮฺ )  และบรรดาผู้ดำเนินตามพวกเขาด้วยการทำดีนั้น  อัลลอฮฺทรงพอพระทัยในพวกเขา และพวกเขาก็พอใจในพระองค์ด้วย  และพระองค์ทรงเตรียมไว้ให้พวกเขาแล้ว ซึ่งบรรดาสวนสวรรค์ที่มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านอยู่ทางเบื้องล่าง  พวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล นั่นคือชัยชนะอันยิ่งใหญ่   

บทที่  9 : 100

อธิบาย :

เนื้อหาของอายะฮ์นี้มิใช่จะระบุว่า ใครก็ตามที่เคยได้ชื่อว่าเป็น
มุฮาญิรีน
อันศ็อร
ตาบิอีน

แล้วอัลลอฮฺจะทรงพอพระทัยต่อพวกเขาหมดทุกคน โดยที่หลังจากนั้นพระองค์จะไม่ทรงพิโรธต่อพวกเขาอีกไปตลอดกาล และส่งผลให้พวกเขาได้รับการอภัยและได้เข้าสวรรค์ ไม่ว่าเขาคนนั้นจะเป็นคนดีมีตักวา หรือเป็นคนชั่วคนฟาซิกภายหลังจากนั้นก็ตาม

ฮุก่ม(กฎ)ของอายะฮ์นี้ถูกจำกัดไว้กับอีหม่านและอามั้ลศอและห์เท่านั้น
หมายความว่า อัลลอฮฺ(ซบ.)นั้นจะทรงให้การยกย่องเฉพาะชาวมุฮาญิรีน ชาวอันศ็อรและบรรดาตาบิอี ที่มีอีหม่านอย่างแท้จริงและได้ประกอบอามั้ลศอและห์จวบจนวาระสุดท้ายของชีวิตเท่านั้น
หากชาวมุฮาญิรีน ชาวอันศ็อรหรือตาบิอีนคนใดก็ตาม ไม่สามารถรักษาอีหม่านของเขาไว้ได้ อีกทั้งมีอามั้ลที่ไม่ศอและห์ และก่อนสิ้นชีวิตก็ไม่ได้เตาบะฮ์สำนึกผิดในสิ่งที่เขาก่อเอาไว้

เพราะฉะนั้นคนประเภทนี้จะได้รับความพอพระทัยจากอัลลอฮฺได้อย่างไร  ?
แน่นอนอัลลอฮฺจะทรงพิโรธเขา ส่วนการให้อภัยเป็นสิทธิของพระองค์ หรือมิเช่นนั้นเขาก็จะต้องได้รับการลงโทษตามสิ่งที่ก่อไว้  


เมื่อท่านอ่านโองการต่อมา อัลลอฮฺ ตะอาลาได้ตรัสถึงชาวเมืองมะดีนะฮ์และนอกเมืองมะดีนะฮ์ว่า มีส่วนหนึ่งเป็นพวก " มุนาฟิก "


وَمِمَّنْ حَوْلَكُمْ مِنَ الْأَعْرَابِ مُنَافِقُونَ وَمِنْ أَهْلِ الْمَدِينَةِ مَرَدُوا عَلَى النِّفَاقِ لَا تَعْلَمُهُمْ نَحْنُ نَعْلَمُهُمْ سَنُعَذِّبُهُمْ مَرَّتَيْنِ ثُمَّ يُرَدُّونَ إِلَى عَذَابٍ عَظِيمٍ

และส่วนหนึ่งจากผู้ที่อยู่รอบๆพวกท่าน ที่เป็นชาวอาหรับชนบทนั้นเป็นพวกมุนาฟิก(กลับกลอก)
และส่วนหนึ่งจากชาวมะดีนะฮ์ก็เป็นเช่นเดียวกัน  พวกเขาเหล่านั้นดื้อรั้นในการกลับกลอก เจ้า(มุฮัมมัด)ไม่รู้จักธาตุแท้ของพวกเขาดอก เรา(อัลลอฮฺ)รู้จักพวกเขาดี เราจะลงโทษพวกเขาสองครั้ง แล้วพวกเขาจะถูกนำกลับไปสู่การลงโทษอันยิ่งใหญ่ต่อไป

บทที่  9 : 101

อธิบายความหมาย :อายะฮ์นี้ได้ระบุว่า สังคมในเมืองมะดีนะฮ์และนอกเมืองนั้นมีคนส่วนหนึ่ง ที่ภายนอกแสแสร้งทำตัวเป็นมุสลิมแต่กลับซ่อนเร้นความกุโฟ้รเอาไว้ภายในใจ พวกเขาหาได้เป็นมุอ์มินที่แท้จริง  แม้แต่ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)เองก็ยังไม่รู้จักธาตุแท้ของคนพวกนี้ และอัลลอฮ์ตรัสว่า จะลงโทษคนพวกนี้สองครั้ง

ท่านจะคิดเห็นเช่นไร ที่มีคนจำพวกนี้ใช้ชีวิตอยู่รอบๆตัวท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ทั้งด้านขวาและซ้าย พวกเขาไปมาหาสู่ นั่งร่วมวงสนทนา กินดื่มกับท่านนบี(ศ) และได้รับฟังแก่นแท้ของอิสลามจากปากท่าน(ศ) แต่กลับทำตัวเป็นคนมุนาฟิกกลับกลอกปลิ้นปล้อนมิได้มีศรัทธาต่อท่านนบี(ศ)และอัลอิสลามเลยสักนิด  จนอัลลอฮฺต้องประทานโองการนี้ลงมา
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 19, 2009, 11:53:56 ก่อนเที่ยง

เพราะฉะนั้นจะเป็นไปได้อย่างไร

ที่พี่น้องซุนนี่ชอบหยิบยกเอาซูเราะฮ์ที่ 9 อายะฮ์ที่ 100 มาอธิบายว่า บรรดาซอฮาบะฮ์ที่เป็นชาวมุฮาญิรีนและชาวอันศ็อร  รวมทั้งบรรดาตาบิอีนจะได้เข้าสวรรค์กันหมดทุกคนอย่างถ้วนหน้า ?

ซึ่งถือว่าเป็นการอธิบายที่ขัดกับโองการถัดมาคืออายะฮ์ที่ 101 ในซูเราะฮ์เดียวกัน ขนาดคนที่ใช้ชีวิตใกล้ชิดกินดื่ม พูดคุยอยู่กับท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)เป็นประจำ ยังมีส่วนหนึ่งทำตัวมุนาฟิก และรับประสาอะไรกับผู้คนในสมัยนั้นที่ไม่ได้อยู่ในเมืองมะดีนะฮ์อันเป็นแหล่งเพาะพันธุ์บ่มอีหม่านเช่น ที่เมืองมักกะฮฺ ที่เยเมน ในคาบสมุทรอาหรับหรือที่อันห่างไกลออกไปย่อมจะต้องมีบุคคลที่ทำตัวหลุดออกนอกกรอบอิสลามบ้างซึ่งถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาและกินกับสติปัญญาด้วย  
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 19, 2009, 12:00:18 หลังเที่ยง

หากซอฮาบะฮ์ในยุคนั้นได้เข้าสวรรค์กันหมดทุกคนจริง

ทำไม ? โองการถัดมา คืออายะฮ์ที่ 102 ในซูเราะฮ์เดียวกัน  อัลลอฮ์ตะอาลาได้เล่าถึงซอฮาบะฮ์ส่วนหนึ่งที่สารภาพต่อความผิดต่างๆที่พวกเขาก่อไว้

อัลเลาะฮ์  ญัลละ ญะลาล๊ะฮฺ ทรงตรัสว่า

وَآَخَرُونَ اعْتَرَفُوا بِذُنُوبِهِمْ خَلَطُوا عَمَلًا صَالِحًا وَآَخَرَ سَيِّئًا عَسَى اللَّهُ أَنْ يَتُوبَ عَلَيْهِمْ إِنَّ اللَّهَ غَفُورٌ رَحِيمٌ

และมีชนกลุ่มอื่นที่สารภาพต่อความผิดต่างๆของพวกเขา โดยที่พวกเขาทำอามั้ลศอและห์ปะปนไปกับอามั้ลชั่ว  
หวังว่าอัลลอฮฺจะทรงอภัยโทษให้แก่พวกเขา
แท้จริงอัลลอฮฺนั้นคือ ผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ

บทที่  9 : 102

อธิบายความหมาย :

1.   โองการนี้ระบุว่ามีซอฮาบะฮ์กลุ่มหนึ่งทำความผิด
2.   ความผิดที่พวกเขาก่อไว้ มิใช่หนึ่งกระทง แต่มีมากมาย เพราะในอายะฮ์นี้อัลลอฮ์ใช้คำว่า ซุนู๊บ – ذُنُوْبٌ เป็นพหูพจน์ของซัมบุน - ذَنْبٌ แปลว่า الإِثْمُ والمَعْصِيَةُ คือบาปหรือการทรยศฝ่าฝืน
3.   พวกเขาได้สารภาพต่อความผิดต่างๆที่ได้กระทำลงไป
4.   อายะฮ์ยังกล่าวว่า พวกเขาได้ทำอามั้ลศอและห์ผสมปะปนไปกับอามั้ลชั่ว นั่นย่อมแสดงว่า ซอฮาบะฮ์เหล่านั้นมีสภาพเหมือน

มุสลิมทั่วไป ที่บ้างครั้งทำดี และในบางครั้งก็ทำบาปคละเคล้ากันไป ซึ่งเป็นเรื่องปกติของมนุษย์  แต่สิ่งที่ไม่ปกติก็คือ ซอฮาบะฮ์อยู่ในสมัยนบี(ศ)  
5.   หวังว่าอัลลอฮฺจะทรงอภัยโทษ หากพวกเขาบางส่วนอื่นจากนี้ ที่ได้กระทำความผิดไว้และได้เตาบัตตัวก่อนเสียชีวิต


เมื่อท่านได้อ่านสามโองการดังกล่าว คงเข้าใจดีว่า  

ไม้บรรทัดที่ใช้วัดคนคือ  อีหม่านและอามั้ลศอและห์

มนุษย์จะได้เข้าสววรค์ของอัลลอฮฺ ก็ต่อเมื่อเขาเป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริงและได้ประกอบอามั้ลศอและห์เอาไว้


เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็น  

อะฮ์ลุลบัยต์นบี  

ภรรยานบี  

ซอฮาบะฮ์  

ตาบิอีน  

ตาบิ๊อฺ-ตาบิอีน

หรือแม้แต่มุสลิมคนใดก็ตาม


หากใครสามารถรักษามาตรฐานทั้งสอง ( คืออีหม่าน + อามั้ลศอและห์ ) เอาไว้ได้จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต เขาผู้นั้นก็คือ ชาวสวรรค์

นี่คือหลักการของอัลลอฮ์ (ซบ.)ที่ทรงวางเอาไว้  

แต่เราจะเห็นซุนนี่บางกลุ่มเช่น พวกวาฮาบีที่มีความคลั่ง    ใคล้ต่อบรรดาซอฮาบะฮ์จนเกินขอบเขตความเป็นจริง พวกเขาได้มอบตำแหน่ง" มะอ์ซูม " ให้กับบรรดาซอฮาบะฮ์ทุกคน  โดยพวกเขาได้สร้างอะกีดะฮ์ตะอัซซุบว่า

ซอฮาบะฮ์จะได้เข้าสวรรค์ หมดทุกคน

ซึ่งอะกีดะฮ์นี้ถือว่าค้านกับคัมภีร์อัลกุรอ่าน  และนั่นคือดีนของพวกเขา

อัลเลาะฮ์  ญัลละ ญะลาล๊ะฮฺ ทรงตรัสว่า

لَا تَغْلُوا فِي دِينِكُمْ

สูเจ้าจงอย่ามีความฆูล๊าตในดีน(ศาสนา)ของพวกเจ้า

บทที่  4 : 171



วาฮาบีหรือพวกที่มีความคิดแบบนี้ จึงถูกนับเป็นพวกที่มีความฆูล๊าตในดีนชนิดที่เรียกว่า الغلو : مجاوزة الحد คือเชื่อเกินเลยขอบเขตที่อัลลอฮ์ทรงวางเอาไว้นั่นเอง.
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 19, 2009, 12:03:47 หลังเที่ยง

ใครคือ อัสซาบิกูน (คนรุ่นแรกที่เข้ารับอิสลาม) ?

เรากลับมาที่อัสบาบุลนุซูลของบทที่  9 : 100  หรือโองการ  อัส – ซาบิกูน กันอีกครั้ง  

وَالسَّابِقُونَ الْأَوَّلُونَ مِنَ الْمُهَاجِرِينَ وَالْأَنْصَارِ وَالَّذِينَ اتَّبَعُوهُمْ بِإِحْسَانٍ
رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمْ وَرَضُوا عَنْهُ وَأَعَدَّ لَهُمْ جَنَّاتٍ تَجْرِي تَحْتَهَا الْأَنْهَارُ خَالِدِينَ فِيهَا أَبَدًا ذَلِكَ الْفَوْزُ الْعَظِيمُ

อัสซาบิกูนัลเอาวะลูน ( กลุ่มคนรุ่นแรกที่เข้ารับอิสลาม ) จากชาวมุฮาญิรีน( ผู้อพยพจากมักกะฮฺ ) และจากชาวอันศ็อร ( ผู้ให้ความช่วยเหลือจากมะดีนะฮฺ )  และบรรดาผู้ดำเนินตามพวกเขาด้วยการทำดีนั้น  อัลลอฮฺทรงพอพระทัยในพวกเขา และพวกเขาก็พอใจในพระองค์ด้วย  และพระองค์ทรงเตรียมไว้ให้พวกเขาแล้ว ซึ่งบรรดาสวนสวรรค์ที่มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านอยู่ทางเบื้องล่าง  พวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล นั่นคือชัยชนะอันยิ่งใหญ่   

บทที่  9 : 100

สิ่งที่ต้องศึกษาคือ :

โองการนี้อัลลอฮฺ(ซบ.)ทรงประทานให้ซอฮาบะฮ์คนใดหรือกลุ่มใดเป็นการเฉพาะ
และอัสซาบิกูนที่แท้จริง คือใคร ?


คัมภีร์อัลกุรอ่านย่อมจะให้คำอธิบายซึ่งกันและกันอยู่แล้ว  ดังนั้นขอให้ท่านมาดูโองการนี้

وَالسَّابِقُونَ السَّابِقُونَ    أُولَئِكَ الْمُقَرَّبُونَ

และกลุ่มอัสซาบิกูนคือชนรุ่นแรก (ที่เข้ารับอิสลาม) เขาเหล่านั้นคือบรรดาผู้ใกล้ชิด  

บทที่ 56 : 10-11   



สาเหตุการประทานโองการ (อัสบาบุลนุซูล )

ญะลาลุดดีน อัสสิยูตี รายงาน

وأخرج ابن مردويه عن ابن عباس في قوله : { والسابقون السابقون } قال : نزلت في حزقيل مؤمن آل فرعون ، وحبيب النجار الذي ذكر في يس ، وعلي بن أبي طالب ، وكل رجل منهم سابق أمته ، وعليّ أفضلهم سبقاً .
الدر المنثور - (ج 9 / ص 382

อิบนุมุรดะวัยฮฺนำออกรายงาน จากท่านอิบนิอับบาส ในพระดำรัสของพระองค์ ( อัสซาบิกูนัส – ซาบิกูน ) เขากล่าวว่า  โองการนี้ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับ
ท่านหัซกีล ผู้ศรัทธาแห่งอาลิฟิรอูน  ,
ท่านหะบีบ ช่างไม้ที่กล่าวไว้ในซูเราะฮ์ยาซีน และ
ท่านอะลี บินอบีตอลิบ ทั้งหมดทุกคนคือผู้คนรุ่นแรก(ที่มีศรัทธา)แห่งประชาชาติของเขา
และอะลีนั้นล้ำหน้ามากที่สุดของพวกเขาในเรื่องความศรัทธา

ตัฟสีรอัด-ดุรรุลมันษูร โดยสิยูตี เล่ม 9 : 382 บทที่ 56 : 10

อัลอะลูซี รายงาน

وأخرج ابن مردويه عن ابن عباس قال : نزلت في حزقيل مؤمن آل فرعون . وحبيب النجار الذي ذكر في يس . وعليّ بن أبي طالب كرم الله تعالى وجهه وكل رجل منهم سابق أمته وعليّ أفضلهم ،
تفسير الألوسي - (ج 20 / ص 203

อิบนุมุรดะวัยฮฺนำออกรายงาน จากท่านอิบนิอับบาสกล่าวว่า  โองการ(บทที่ 56 : 10)นี้ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับ
ท่านหัซกีล ผู้ศรัทธาแห่งอาลิฟิรอูน  ,
ท่านหะบีบ ช่างไม้ที่กล่าวไว้ในซูเราะฮ์ยาซีน และ
ท่านอะลี บินอบีตอลิบ ทั้งหมดทุกคนคือผู้คนรุ่นแรก(ที่มีศรัทธา)แห่งประชาชาติของเขา
และอะลีนั้นล้ำหน้ามากที่สุดของพวกเขาในเรื่องความศรัทธา

ตัฟสีรอัลอะลูซี  เล่ม 20 : 203 บทที่ 56 : 10

อับฮักกี กล่าวว่าسباق الامم ثلاثة لم يكفروا بالله طرفة عين حزقيل مؤمن آل فرعون وحبيب النجار صاحب يس وعلى بن ابى طالب كرم الله وجهه وهو رضى الله عنه افضلهم
تفسير حقي - (ج 12 / ص 381

บรรดาผู้ล้ำหน้ารุ่นแรกๆแห่งประชาชาติทั้งหลาย มีสามคน พวกเขาไม่เคยปฏิเสธความศรัทธาต่ออัลลอฮฺแม้ชั่วกระพริบตาเลยคือ 1,ท่านหัซกีล ผู้ศรัทธาแห่งอาลิฟิรอูน  2, ท่านหะบีบ ช่างไม้ที่กล่าวไว้ในซูเราะฮ์ยาซีน และ3,ท่านอะลี บินอบีตอลิบ ทั้งหมดทุกคนคือผู้คนรุ่นแรก(ที่มีศรัทธา)แห่งประชาชาติของเขาและอะลีนั้นล้ำหน้ามากที่สุดของพวกเขาในเรื่องความศรัทธา

ตัฟสีรอัลฮักกี  เล่ม 12 : 381 บทที่ 56 : 10

มุฮัมมัดอะลี อัชเชากานี บันทึกว่า

وأخرج ابن أبي حاتم ، وابن مردويه عنه أيضاً في قوله : { والسابقون السابقون } قال : يوشع بن نون سبق إلى موسى ، ومؤمن آل ياسين سبق إلى عيسى ، وعليّ بن أبي طالب سبق إلى رسول الله صلى الله عليه وسلم .

 อิบนิอบีหาติมและอิบนุมุรดะวัยฮฺนำออกรายงาน จากเขา(ทอิบนิอับบาส)  ในโองการ(อัสซาบิกูนัสซาบิกูน)เขากล่าวว่า ยูช๊ะฮฺบินนูนคือคนแรกที่ศรัทธาต่อนบีมูซา , มุอ์มินแห่งอาลิยาซีนคือคนแรกที่ศรัทธาต่อนบีอีซา และอะลีบินอบีตอลิบคือคนแรกที่ศรัทธาต่อท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)

وأخرج ابن مردويه عنه أيضاً في الآية قال : نزلت في حزقيل مؤمن آل فرعون؛ وحبيب النجار الذي ذكر في يس ، وعليّ بن أبي طالب ، وكل رجل منهم سابق أمته ، وعليّ أفضلهم سبقاً .

อิบนุมุรดะวัยฮฺนำออกรายงาน จากท่านอิบนิอับบาสกล่าวว่า  โองการ(บทที่ 56 : 10)นี้ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับท่านหัซกีล ผู้ศรัทธาแห่งอาลิฟิรอูน  , ท่านหะบีบ ช่างไม้ที่กล่าวไว้ในซูเราะฮ์ยาซีน และท่านอะลี บินอบีตอลิบ ทั้งหมดทุกคนคือผู้คนรุ่นแรก(ที่มีศรัทธา)แห่งประชาชาติของเขาและอะลีนั้นล้ำหน้ามากที่สุดของพวกเขาในเรื่องความศรัทธา

ตัฟสีรฟัตฮุลเกาะดีร  เล่ม 7 : 125 บทที่ 56 : 10

อิบนุหะญัร อัลฮัยษะมี กล่าวว่า

الحديث 29 :  أخرج الديلمي أيضا عن عائشة والطبراني وابن مردويه عن ابن عباس أن النبي قال السبق ثلاثة فالسابق إلى موسى يوشع بن نون والسابق إلى عيسى صاحب يس والسابق إلى محمد علي بن أبي طالب
الصواعق المحرقة - (ج 2 / ص 364

หะดีษที่ 29 : อัดดัยละมีนำออกรายงานเช่นกัน จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ และอัฏฏ็อบรอนีกับอินิมุรดะวัยฮฺรายงานจากท่านอิบนิอับบาสว่า แท้จริงท่านนบี(ศ)กล่าวว่า ผู้ลำหน้าสุดมีสามคนคือ ผู้ที่ลำหน้า(มีอีหม่าน)ต่อนบีมูซา คือยูช๊ะอ์บินนูน
ผู้ที่ลำหน้า(มีอีหม่าน)ต่อนบีอีซา คือซอฮิบยาซีน(หมายถึงหะบีบนัจญาร)และ
ผู้ที่ลำหน้า(มีอีหม่าน)ต่อนบีมุฮัมมัด คืออะลี บินอบีตอลิบ

อัศ เศาะวาอิกุลมุหฺริเกาะฮ์ เล่ม 2 : 364  

อัลก็อนดูซี อัลฮะนะฟี กล่าวว่าأخرج الديلمي عن عائشة، والطبراني وابن مردويه عن ابن عباس: إن النبي صلى الله عليه وآله وسلم قال: السابقون  ثلاثة: فالسابق الى موسى يوشع بن نون، والسابق الى عيسى صاحب يس، والسابق الى محمد علي بن أبي طالب.
ينابيع المودة لذوي القربى - (ج 2 / ص 382

อัดดัยละมีนำออกรายงานเช่นกัน จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ และอัฏฏ็อบรอนีกับอินิมุรดะวัยฮฺรายงานจากท่านอิบนิอับบาสว่า แท้จริงท่านนบี(ศ)กล่าวว่า ผู้ลำหน้าสุดมีสามคนคือ ผู้ที่ลำหน้า(มีอีหม่าน)ต่อนบีมูซา คือยูช๊ะอ์บินนูน
ผู้ที่ลำหน้า(มีอีหม่าน)ต่อนบีอีซา คือซอฮิบยาซีน(หมายถึงหะบีบนัจญาร)และ
ผู้ที่ลำหน้า(มีอีหม่าน)ต่อนบีมุฮัมมัด คืออะลี บินอบีตอลิบ

ยะนาบุอุลมะวัดดะฮฺ เล่ม 2 : 382


อัลมุตกีฮินดีรายงาน

السبق ثلاثة : فالسابق إلى موسى يوشع بن نون والسابق إلى عيسى يس والسابق إلى محمد علي بن أبي طالب  ( طب وابن مردويه - عن ابن عباس )

(ท่านนบี ศ.กล่าวว่า )ผู้ลำหน้าสุดมีสามคนคือ ผู้ที่ลำหน้า(มีอีหม่าน)ต่อนบีมูซา คือยูช๊ะอ์บินนูน
ผู้ที่ลำหน้า(มีอีหม่าน)ต่อนบีอีซา คือซอฮิบยาซีน(หมายถึงหะบีบนัจญาร)และ
ผู้ที่ลำหน้า(มีอีหม่าน)ต่อนบีมุฮัมมัด คืออะลี บินอบีตอลิบ
อิบนิมุรดะวัยฮฺ ได้รายงานจากท่านอิบนุอับบาส

กันซุลอุมม้าล เล่ม 11 : 891  หะดีษที่ 32896
 

ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องที่ท่านอะลีคือชายคนแรกที่เข้ารับอิสลาม และมีคนเข้ารับอิสลามราวห้าสิบคนก่อนท่านอบูบักร ได้ที่กระทู้นี้

http://www.q4sunni.com/believe/index.php?option=com_kunena&Itemid=71&func=view&catid=2&id=812


ทำไมท่านอบูบักร ท่านอุมัรและท่านอุษมานจึงไม่ใช่ อัสซาบิกูน อัลเอาวะลูน ?

เพราะ อัสซาบิกูน อัลเอาวะลูน คือพวกมุฮาญิรีน(ผู้อพยพ)ชุดแรกที่อพยพไปอยู่กับท่านนบีมุฮัมมัด ตอนที่ท่าน(ศ)กับบนีฮาชิมถูกพวกมุชริกแห่งมักกะฮ์ปิดล้อมพวกเขาไว้ที่หุบเขาอบูตอลิบเป็นเวลา4 ปี ซึ่งเป็นเรื่องที่ทราบกันดีว่า ในตอนนั้นท่านอบูบักรกับท่านอุมัรมิได้อยู่ร่วมกับท่านนบี(ศ)ในสถานที่แห่งนั้น
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 19, 2009, 12:07:09 หลังเที่ยง

เชคศอดูกรายงาน


حَدَّثَنَا أَبِي ، و مُحَمَّدُ بْنُ الْحَسَنِ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمَا قَالاَ: حدثنا سَعْدُ بْنُ عبدالله قال: حدثنا يَعْقُوبُ بْنُ يزيد، عن حَمَّادِ بْنِ عِيسَى ، عَنْ عُمَرَ بْنِ اذينة،(ثقة) عَنْ أَبَانَ بْنِ أَبِي عَيَّاشٍ ، عَنْ سُلَيْمِ بْنِ قَيْسٍ الْهِلَالِيِّ قَالَ :

จากบิดาฉันได้เล่าให้ฟัง  และมุฮัมมัด บินอัลฮาซัน (รฎ.)ทั้งสองได้กล่าว่า  สะอัดบินอับดุลลอฮฺได้เล่าให้เราฟัง เขากล่าวว่า ยะอ์กูบ บินยะซีดได้เล่าให้เราฟัง หัมมาด บินอีซาได้เล่าให้เราฟัง จากอุมัร บินอัลอุซัยนะฮฺ จากอะบาน บินอบีอัยย๊าช จากสุลัยมฺ บินก๊อยสฺ อัลฮิลาลี เล่าว่า
 
رَأَيْتُ عَلِيًّا عليه السلام فِي مَسْجِدِ رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وآله فِي خِلَافَةِ عُثْمَانَ

ฉันได้เห็นท่านอะลี (อ) อยู่ในมัสญิดท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ) ในยุคการปกครองของท่านอุษมาน

وَجَمَاعَةٌ يَتَحَدَّثُونَ وَ يَتَذَاكَرُونَ الْعِلْمَ وَالْفِقْهَ

และมีคนกลุ่มหนึ่ง พวกเขากำลังสนทนาและทบทวนวิชาความรู้และเรื่องฟิกฮฺ

فَذَكَرْ نَا قُرَيْشًا وَشَرَفَهَا وَفَضْلَهَا وَسَوَابِقَهَا وَهِجْرَتَهَا وَمَاقَالَ فِيْهَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وآله مِنْ الْفَضْلِ مِثْلَ قَوْلِهِ \\\" الْأَئِمَّةُ مِنْ قُرَيْشٍ \\\" وَ...

แล้วพวกเราได้กล่าวถึงชนเผ่ากุเรช ถึงเกียรติ ความประเสริฐ การลำหน้าทางด้านอีหม่านและการอพยพของชนเผ่านี้ และสิ่งที่ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวไว้ถึงชนเผ่านี้เกี่ยวกับความประเสริฐ เช่นท่านกล่าวว่า  ผู้นำต้องมาจากเผ่ากุเรช .... (หะดีษยาวมากขอตัดมาที่วรรคต่อไปนี้ )

ثُمَّ قَالَ ( عَلِيٌّ ) : أَنْشُدُكُمْ اللَّهَ أَتَعْلَمُونَ إِنَّ اللَّهَ عزوجل فَضَّلَ فِي كِتاَبِهِ السَّابِقَ عَلَى الْمَسْبُوْقِ فِي غَيْرِ آيَةٍ

ต่อจากนั้นท่านอะลีได้กล่าว ( กับซอฮาบะฮ์ที่เป็นชาวมุฮาญิรีน ชาวอันศ็อรที่อยู่ในมัสญิด ) ว่า  : ฉันขอให้พวกท่านสาบานกับอัลลอฮฺได้ไหมว่า  พวกท่านทราบดีใช่ไหมว่า แท้จริงอัลลอฮฺ อัซซะวะญัลได้ให้การยกย่องซาบิก(ผู้ที่เข้ารับอิสลามรุ่นแรกๆ)เหนือมัสบู๊ก(ผู้ที่เข้ารับอิสลามรุ่นหลังๆ) ไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ อื่นจากอายะฮ์ (คือมีมากกว่าหนึ่งอายะฮ์)

وَإِنِّىْ لَمْ يَسْبِقْنِيْ إِلَى اللهِ عزوجل وَإِلَى رَسُوْلِهِ صلى الله عليه وآله أَحَدٌ مِنْ هَذِهِ الْاُمَّةِ ؟

แท้จริงฉัน(อะลี) ไม่เคยมีผู้ใดจากประชาชาตินี้ที่(มีศรัทธา)ต่ออัลลอฮฺอัซซะวะญัล และรอซูลของพระองค์(ศ)ก่อนหน้าฉัน

قَالُوا : اللَّهُمَّ نَعَمْ.

พวกเขาทั้งหลายกล่าวว่า   : โอ้อัลลอฮ์  ใช่แล้ว

قَالَ : أَنْشُدُكُمْ اللَّهَ أَتَعْلَمُونَ حَيْثُ نَزَلَتْ \\\" وَالسَّابِقُونَ الْأَوَّلُونَ مِنَ الْمُهَاجِرِينَ وَالْأَنْصَارِ \\\"

ท่านอะลีได้กล่าวว่า : ฉันขอให้พวกท่านสาบานกับอัลลอฮฺได้ไหมว่า  พวกท่านทราบดีใช่ไหมว่า  ตามที่มีโองการได้ประทานลงมาว่า

อัสซาบิกูนัลเอาวะลูน ( กลุ่มคนรุ่นแรกที่เข้ารับอิสลาม ) จากชาวมุฮาญิรีน( ผู้อพยพจากมักกะฮฺ ) และจากชาวอันศ็อร ( ผู้ให้ความช่วยเหลือจากมะดีนะฮฺ )  

บทที่  9 : 100

และอายะฮ์

وَ \\\" وَالسَّابِقُونَ السَّابِقُونَ  أُولَئِكَ الْمُقَرَّبُونَ \\\"

และกลุ่มอัสซาบิกูนคือชนรุ่นแรก (ที่เข้ารับอิสลาม) เขาเหล่านั้นคือบรรดาผู้ใกล้ชิด  

บทที่ 56 : 10-11   

سُئِلَ عَنْهَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وآله وَسَلَّمَ فَقَالَ :

ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้ถูกถามถึง(ความหมาย)ของโองการนี้  แล้วท่านจึงกล่าวว่า :

\\\" أَنْزَلَهَا اللَّهُ تَعَالَى فِي الْأَنْبِيَاءِ وَأَوْصِيَائِهِمْ، فَأَنَا أَفْضَلُ أَنبِياَءِ الله وَرُسُلِهِ وَعَلِيُّ بْنُ أَبِي طَالِبٍ وَصِيِّيْ أَفْضَلُ الْاَوْصِيَاءِ \\\" ؟

อัลลอฮฺ ตะอาลาทรงประทานโองการนี้ลงมาเกี่ยวกับบรรดานบีและบรรดาวะซีของพวกเขา  ดังนั้นฉัน(รอซูล)คือผู้ประเสริฐสุดในบรรดานบีของอัลลอฮ์และบรรดารอซูลของพระองค์  ส่วนอะลี บินอบีตอลิบนั้นคือ วะซี (ผู้สืบทอดเจตนารมณ์)ของฉัน ที่ประเสริฐสุดกว่าบรรดาวะซีทั้งหลาย

قَالُوا : اللَّهُمَّ نَعَمْ.

พวกเขาทั้งหลายกล่าวว่า   :  โอ้อัลลอฮ์  ใช่แล้ว

อ้างอิงจากหนังสือ

กะมาลุดดีน วะตะมามุน-นิ๊อมะฮฺ  โดยเชคศอดูก เล่ม 42 : 26 หะดีษที่ 25

ฟะรออิดุซ- สัมต็อยนฺ  โดยอัลฮาฟิซ หะมูวัยนี เล่ม 1 : 312
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 19, 2009, 12:13:41 หลังเที่ยง


ประวัติศาสตร์อิสลามบันทึกว่า ชาวมุฮาญิรีนกลุ่มแรกที่เข้ารับอิสลามนั้นมีดังต่อไปนี้

1.   ท่านหญิงคอดียะฮฺ  ภรรยาของท่านรอซูล(ศ)
2.   ท่านอะลี บินอบีตอลิบ
3.   ท่านอบูตอลิบ
4.   ท่านฮัมซะฮฺ
5.   ท่านญะอ์ฟัร
6.   ท่านอบูษัร
7.   ท่านมิกด๊าด
8.   ท่านซัลมาน
9.   ท่านอัมมาร
10.   เซด บินหาริษะฮฺ
11.   ค็อบบ๊าบ บินอัลอะรอตติ

ชาวมุฮาญิรีนอัลเอาวะลีนนั้น มีเพียงไม่กี่คนดังรายชื่อข้างต้น

ถ้านับจากวันที่ท่านนบี(ศ)ประกาศอิสลาม ซึ่งเรียกว่า อัลบิ๊อฺษะฮฺ
ท่านอะลี คือ อัส-ซาบิกูนัลเอาวะลูน อย่างแท้จริง
ท่านนบี(ศ)ได้อิสรอและขึ้นมิ๊อฺรอจญ์หลังบิ๊อฺษะฮ์ในปีที่ 2 ก่อนที่จะมีผู้คนเข้ารับอิสลาม  40 คน    
ท่านอบูบักร เข้ารับอิสลามหลังบิ๊อฺษะฮฺประมาณปีที่ 5
ท่านอุมัร  เข้ารับอิสลามหลังบิ๊อฺษะฮ์ประมาณปีที่ 6  
ดังนั้นท่านทั้งสองจึงไม่ได้เป็นบุคคลที่จัดอยู่ในอายะฮ์ " อัส-ซาบิกูนัลเอาวะลูน "  


เชคเศาะฟียุลเราะหฺมาน อัลมุบารอกเฟารี มรณะปีฮ.ศ. 1427 ได้กล่าวไว้ในหนังสืออันโด่งดังของเขาว่า
جَمْعٌ عُرِفوا في التاريخ الإسلامى بالسابقين الأولين،

มีคนส่วนหนึ่งอันเป็นที่ทราบกันดีในประวัติศาสตร์อิสลามด้วยนาม  " อัสซาบิกูนัลเอาวะลูน "

وفي مقدمتهم زوجة النبي صلى الله عليه وسلم أم المؤمنين خديجة بنت خويلد، ومولاه زيد بن حارثة بن شراحيل الكلبي وابن عمه علي بن أبي طالب ـ وكان صبيًا يعيش في كفالة الرسول صلى الله عليه وسلم ـ

และในคนรุ่นแรกของพวกเขาคือ ภรรยาท่านนบี(ศ) อุมมุลมุอฺมินีน คอดียะฮ์ บินติคุวัยลิด และคนรับใช้ของท่านคือ เซดบินหาริษะฮฺ บินชะรอฮีลอัลกัลบี และบุตรของลุงของท่านคือ อะลี บินอบีตอลิบ และเขายังเป็นเด็กใช้ชีวิตอยู่ในการอุปการะของท่านรอซูล(ศ)

وصديقه الحميم أبو بكر الصديق . أسلم هؤلاء في أول يوم الدعوة .

และสหายของท่านคือ อบูบักร อัศซิดดี๊ก พวกเขาเหล่านี้ได้เข้ารับอิสลามในช่วงแรกของวันที่ประกาศเชิญชวน
 
كتاب : الرحيق المختوم لصفي الرحمن المباركفوري   ج 1 / ص 56

อ้างอิงจากหนังสือ  เราะฮีกุม มัคตูม โดยเศาะฟียุลเราะหฺมาน อัลมุบารอกเฟารี  เล่ม 1 : 56

หมายเหตุ
หนังสือเราะฮีกุมมัคตูมคือหนังสือชีวประวัติของท่านนบี(ศ)ที่ได้ด้ถูกส่งไปประกวดแข่งขันในปีฮ.ศ.1396  และทางองค์กรรอบิเฏาะฮ์ อัลอาละมุลอิสลามีได้คัดเลือกให้เป็นหนังสือที่ได้รับรางวัลที่หนึ่ง



วิเคราะห์

1.   ผู้เขียนยอมรับว่า ท่านอะลีคือ อัสซาบิกูนัลเอาวะลูน
2.   ผู้เขียนได้บิดเบือนข้อมูลว่า ท่านอะลีเข้ารับอิสลามตอนเป็นเด็ก ทั้งๆที่มีหะดีษรายงานว่า เขาเข้ารับอิสลามตอนอายุ 16 ปี
3.   ผู้เขียนยังได้บิดเบือนว่า ท่านอบูบักรคือหนึ่งจาก อัสซาบิกูนัลเอาวะลูน ทั้งๆที่ตามจริงไม่ใช่ เนื่องอิบนุญะรีรได้รายงานไว้ในตารีคฏ็อบรีว่า มีคนเข้ารับอิสลามราว 50 คน ก่อนท่านอบูบักรเข้ารับอิสลาม




บทสรุปสำหรับอายะฮ์ " อัสซาบิกูนัลเอาวะลูน "  คือ

ถ้าต้องการตีความหมายแบบ " อุมูม " ไปยังบรรดาซอฮาบะฮ์ บรรทัดฐานหลักที่กล่าวไว้แต่ต้นคือ  ซอฮาบะฮ์คนนั้นต้องรักษาอีหม่านและมีอามั้ลศอและห์จวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต


ถ้าต้องการความหมายแบบ " คุศู๊ศ " ไปยังซอฮาบะฮ์ที่สมควรได้รับสมญานามว่า " อัสซาบิกูนัลเอาวะลูน "  ก็เห็นจะมีซอฮาบะฮ์สิบกว่าคนดังที่ได้กล่าวรายชื่อของพวกเขาไปแล้วนั่นเอง


เพราะฉะนั้นโองการ  " อัสซาบิกูนัลเอาวะลูน "  


จึงไม่ใช่อายะฮ์ที่มุสลิมคนใดก็ตาม จะยกมาอ้างว่า  หมายถึง ซอฮาบะฮ์ทั้งหมดทุกคน ที่จะได้เข้าสู่สวรรค์ของอัลลอฮ์ อย่างที่พวกมุสลิมฆูล๊าตบางส่วนเข้าใจตามความตะอัซซุบที่เกินเลยในดีนของพวกเขา

ดังนั้นก็ตามปฏิบัติตามอะฮ์ลุลบัยต์นบี จึงมีความปลอดภัยกว่านั่นเอง.
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 19, 2009, 12:22:59 หลังเที่ยง


เรากลับมาที่เรื่องผู้นำ(คอลีฟะฮ์)ที่สืบต่อจากท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กันต่อ  

คำถามสำคัญคือ

ก่อนท่านรอซูล(ศ)จะวะฟาต   ท่านได้ทำการแต่งตั้งคอลีฟะฮ์แทนท่านเอาไว้หรือไม่ ?


ตอบ

ก่อนท่านรอซูล(ศ)จะวะฟาต   ท่านได้ทำการแต่งตั้งคอลีฟะฮ์ไว้แล้วต่อหน้าประชาชน



จะได้กล่าวถึงหลักฐานต่อไป
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 19, 2009, 01:57:09 หลังเที่ยง

ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) ได้แต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์ต่อหน้าบรรดาซอฮาบะฮ์เมื่อไหร่ ???


อัลเลาะฮ์ ญัลละ ญะลาล๊ะฮฺ ทรงตรัสว่า

يَا أَيُّهَا الرَّسُولُ بَلِّغْ مَا أُنْزِلَ إِلَيْكَ مِنْ رَبِّكَ وَإِنْ لَمْ تَفْعَلْ فَمَا بَلَّغْتَ رِسَالَتَهُ وَاللَّهُ يَعْصِمُكَ مِنَ النَّاسِ إِنَّ اللَّهَ لَا يَهْدِي الْقَوْمَ الْكَافِرِينَ

โอ้รอซูลเอ๋ย จงเผยแพร่ สิ่งที่ถูกประทานลงมายังเจ้า จากพระผู้อภิบาลของเจ้า
และหากเจ้าไม่ทำ เจ้าก็ไม่ได้เผยแพร่สาส์นของพระองค์เลย
และอัลลอฮฺจะทรงปกป้องเจ้าให้พ้นจากมนุษย์
แท้จริงอัลลอฮฺ จะไม่นำทางกลุ่มชนที่ปฏิเสธศรัทธา

ซูเราะฮ์ อัลมาอิดะห์ บทที่  5  โองการที่  67


สาเหตุของการประทานโองการ(อัสบาบุลนุซูล)

อัลลอฮฺตะอาลาได้บัญชาให้ท่านญิบรออีล(อ)นำโองการข้างต้นนี้ลงมามอบให้แก่ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)เพื่อประกาศแต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์ต่อหน้าบรรดาซอฮาบะฮ์

เชคกุลัยนี่ได้บันทึกเรื่องราวเอาไว้ดังนี้

عَنْ أَبِي جَعْفَرٍ (عليه السلام)  قَالَ :
أَمَرَ اللَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ رَسُولَهُ بِوَلَايَةِ عَلِيٍّ  وَ أَنْزَلَ عَلَيْهِ
إِنَّما وَلِيُّكُمُ اللَّهُ وَ رَسُولُهُ وَ الَّذِينَ آمَنُوا الَّذِينَ يُقِيمُونَ الصَّلاةَ وَ يُؤْتُونَ الزَّكاةَ (المائدة -: 55 -)
وَ فَرَضَ وَلَايَةَ أُولِي الْأَمْرِ فَلَمْ يَدْرُوا مَا هِيَ فَأَمَرَ اللَّهُ مُحَمَّداً (ص) أَنْ يُفَسِّرَ لَهُمُ الْوَلَايَةَ كَمَا فَسَّرَ لَهُمُ الصَّلَاةَ وَ الزَّكَاةَ وَ الصَّوْمَ وَ الْحَجَّ

ท่านอบูญะอ์ฟัร ( อิม่ามบาเก็ร อะลัยฮิสสลาม ) กล่าวว่า :
อัลลอฮฺ อัซซะวะญัล ได้รับสั่งให้ท่านรอซูลของพระองค์ด้วยเรื่องการเป็นผู้ปกครองของท่านอะลี(สืบต่อจากท่าน)  และพระองค์ทรงประทานลงมาแก่รอซูลของพระองค์ว่า
แท้จริงผู้ปกครองของพวกเจ้ามีเพียง อัลลอฮฺ และรอซูลของพระองค์ และบรรดาผู้ศรัทธา ขณะที่พวกเขากำลังนมาซและจ่ายทานซะกาต  ( อัลมาอิดะฮฺ : 5 )  พระองค์ได้กำหนดฟัรฎูเรื่องอำนาจการปกครองของอูลุลอัมริ(ลงมาแก่ประชาชน)  แต่แล้วพวกเขาไม่รู้ว่ามันคืออะไร   ดังนั้นอัลลอฮ์ได้รับสั่งให้ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ) ทำการอธิบายเรื่องอัลวิลายะฮ์(อำนาจการปกครอง)แก่พวกเขา เหมือนที่ท่านเคยอธิบายแก่พวกเขามาแล้วเรื่องการทำนมาซ การจ่ายซะกาต การถือศีลอด และการประกอบพิธีหัจญ์
 
فَلَمَّا أَتَاهُ ذَلِكَ مِنَ اللَّهِ ضَاقَ بِذَلِكَ صَدْرُ رَسُولِ اللَّهِ (ص) وَ تَخَوَّفَ أَنْ يَرْتَدُّوا عَنْ دِينِهِمْ وَ أَنْ يُكَذِّبُوهُ

เมื่อเรื่องนั้นได้มาถึงท่าน จากอัลลอฮฺ   ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)รู้สึกคับอกคับใจต่อสิ่งนั้น และท่านหวั่นเกรงว่า พวกเขาจะหันหลังกลับออกจากศาสนาของพวกเขา และจะปฏิเสธมัน  

فَضَاقَ صَدْرُهُ وَ رَاجَعَ رَبَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ فَأَوْحَى اللَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ إِلَيْهِ

อกของท่านรู้สึกอึดอัด และท่านได้วิงวอนต่อพระผู้อภิบาลของท่านให้ทรงทบทวน(ในเรื่องนี้)  ดังนั้นอัลลอฮฺ อัลซซะวะญัล จึงทรงมีวะฮีมายังท่านว่า

يا أَيُّهَا الرَّسُولُ بَلِّغْ ما أُنْزِلَ إِلَيْكَ مِنْ رَبِّكَ وَ إِنْ لَمْ تَفْعَلْ فَما بَلَّغْتَ رِسالَتَهُ وَ اللَّهُ يَعْصِمُكَ مِنَ النَّاسِ

โอ้รอซูลเอ๋ย จงเผยแพร่สิ่ง สิ่งที่ถูกประทานลงมายังเจ้า จากพระผู้อภิบาลของเจ้า  และหากเจ้าไม่ทำ เจ้าก็ไม่ได้เผยแพร่สาส์นของพระองค์เลย และอัลลอฮฺจะทรงปกป้องเจ้าให้พ้นจากมนุษย์  ( อัลมาอิดะห์ บทที่ 5 : 67 )

فَصَدَعَ بِأَمْرِ اللَّهِ تَعَالَى ذِكْرُهُ فَقَامَ بِوَلَايَةِ عَلِيٍّ (ع) يَوْمَ غَدِيرِ خُمٍّ
 
ดังนั้นท่านจึงได้ทำการประกาศคำสั่งของอัลลอฮฺ ตะอาลา  ท่านได้ลูกขึ้น(ประกาศ)ถึงการเป็นผู้ปกครองของท่านอะลี(สืบต่อจากท่าน) ในวันที่เฆาะดีรคุม

فَنَادَى الصَّلَاةَ جَامِعَةً وَ أَمَرَ النَّاسَ أَنْ يُبَلِّغَ الشَّاهِدُ الْغَائِبَ
 
แล้วมีการประกาศให้ทำการนมาซรวมกัน แล้วท่านได้สั่งประชาชนให้ผู้ที่อยู่(จงนำข่าวนี้ไปบอก)แก่ผู้ที่ไม่มา

قَالَ أَبُو جَعْفَرٍ ع وَ كَانَتِ الْفَرِيضَةُ تَنْزِلُ بَعْدَ الْفَرِيضَةِ الْأُخْرَى وَ كَانَتِ الْوَلَايَةُ آخِرَ الْفَرَائِضِ فَأَنْزَلَ اللَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَ أَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي (المائدة -: 3 -)

ท่านอิม่ามบาเก็ร(อ)กล่าวว่า  ปรากฏว่า เรื่องวิลายะฮ์นั้นเป็นฟัรฎูที่ถูกประทานลงหลังฟัรฎุครั้งสุดท้าย และเรื่องวิลายะฮ์(การเป็นผู้ปกครองของท่านอะลีนั้น)คือ ฟัรฎุสุดท้าย  แล้วอัลลออฺ อัซซะวะญัลจึงทรงประทานโองการลงมาว่า  

วันนี้ข้า ได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้ว และข้าได้ทำให้นิ๊อฺมะฮ์ของข้าครบถ้วนแล้วสำหรับพวกเจ้า (อัลมาอิดะฮฺ : 3)

قَالَ أَبُو جَعْفَرٍ ع يَقُولُ اللَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ لَا أُنْزِلُ عَلَيْكُمْ بَعْدَ هَذِهِ فَرِيضَةً قَدْ أَكْمَلْتُ لَكُمُ الْفَرَائِضَ
الكافي ج : 1  ص :  290  ح 4  
مركز البحوث الكومبيوترية للعلوم الإسلامية قم ايران : صحيح  

ท่านอิม่ามบาเก็ร(อ)เล่าว่า  อัลลอฮฺ อัซซะวะญัล ทรงตรัสว่า  หลังจากฟัรฎูนี้ ข้าจะไม่ประทาน(ฟัรฎูใด)ลงแก่พวกเจ้าอีกแล้ว  แท้จริงข้าได้ทำให้ฟัรฎูต่างๆนั้นสมบูรณ์หมดแล้ว

สถานะหะดีษ  :  เศาะหิ๊หฺ   ดูอัลกาฟี โดยเชคกุลัยนี  เล่ม 1 : 290 หะดีษที่ 4  

ตรวจทานโดยมัรกะซุล บุฮูซ คอมพิวเตอร์ ลิลอุลูมิลอิสลามียะฮ์ เมืองกุม อิหร่าน


จากหลักฐานดังกล่าว  

ชาวซุนนี่จะมาตำหนิมุสลิม มัซฮับชีอะฮ์ มิได้ว่า  พวกเขากล่าวอย่างลอยๆไร้หลักฐานในเรื่องที่ ท่านรอซูล(ศ)แต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 19, 2009, 02:03:24 หลังเที่ยง

หากฝ่ายซุนนี่แย้งว่า  

มันเป็นหลักฐานที่อยู่ในตำราชีอะฮ์เท่านั้น แต่ไม่มีอยู่ในตำราของอะฮ์ลุสซุนนะฮ์


ตอบ

อุละมาอ์ซุนนี่มากมายได้กล่าวว่า อายะฮ์ ยาอัยยุฮัล เราะซูล บัลลิฆ...นี้ถูกประทานลงมาเรื่องการแต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์


แต่ฝ่ายซุนนี่ต่างหากที่พยายามปฏิเสธ และกล่าวหาว่า ชีอะฮ์โกหก   ฉะนั้นทางที่ดีเราจะมาพิสูจน์ความจริงไปพร้อมๆกันดังนี้  
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 19, 2009, 02:07:28 หลังเที่ยง

รายชื่อนักวิชาการฝ่ายอะฮ์ลุสสุนนะฮฺที่กล่าวว่า

ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์  อายะฮ์ที่ 67 ถูกประทานลงมาที่ฆ่อดีรคุมเรื่องแต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์


หนึ่ง -  
อัลวาฮิดี อันนัยซาบูรี   มรณะ ฮ.ศ. 468

أَخْبَرَنَا أَبُو سَعِيدٍ مُحَمَّدُ بْنُ عَلِيٍّ الصَّفَّارُ قَالَ : أخبرنا الْحَسَنُ بْنُ أحمد المخلدي قَالَ : أخبرنا مُحَمَّدُ بْنُ حمدون بْنُ خَالِدٍ قَالَ : حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ إبراهيم الخلوتي قَالَ : حَدَّثَنَا الْحَسَنُ بْنُ حماد سجادة قَالَ : حَدَّثَنَا عَلِيُّ بْنُ عَابِسٍ ، عَنِ الْأَعْمَشِ وَأَبِي حِجَابٍ،
عَنْ عَطِيَّةَ (الْعَوْفِيِّ) عَنْ أَبِي سَعِيدٍ الْخُدْرِيِّ قَالَ : نَزَلَتْ هَذِهِ الْآيَةُ (يا أَيُّها الرَسولُ بَلِّغ ما أُنزِلَ إِلَيكَ مِن رَّبِّكَ) يَوْمَ غَدِيرِ خُمٍّ فِيْ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ

أسباب نزول القرآن ج 1 / ص 71  انظر سورة المائدة : 67
الشيخ الإمام أبو الحسن علي بن أحمد الواحدي النيسابوري

อะฏียะฮ์ (อัลเอาฟี) รายงานจากท่านอบูสะอีด อัลคุดรี กล่าวว่า โองการนี้ได้ประทานลงมา
( โอ้รอซูลเอ๋ย จงเผยแพร่สิ่ง ที่ถูกประทานลงมายังเจ้า จากพระผู้อภิบาลของเจ้า )  ในวันเฆาะดีรคุม เกี่ยวกับท่านอะลี บินอบีตอลิบ


อ้างอิงจากหนังสือ
อัสบาบุลนุซูล  ของอัลวาฮิดี อันนัยซาบูรี  เล่ม 1 หน้า 71 ดูซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ  อายะฮ์ที่ 67

http://www.al-eman.com/islamlib/viewchp.asp?BID=153&CID=5#s1


ชัยคุลอิม่าม อบุลฮาซัน อะลี บินอะหมัด อัลวาฮิดี อันนัยซาบูรี อุละมาอ์แห่งมัซฮับชาฟิอี

مفسر، نحوي، لغوي، فقيه شاعر، اخباري.

บุคคลผู้นี้เป็นทั้ง นักตัฟสีร, นักไวยากรณ์อรับ, นักภาษาศาสตร์, ฟะกีฮฺ, นักกวี และอัคบารี เป็นคนเมืองสาเวะฮฺ ลูกพ่อค้า เสียชีวิตที่เมืองนัยซาบูรีเดือนญุมาดิลอาคิเราะฮฺ  เจ้าของตัฟสีรชื่ออัสบาบุลนุซูลอัลวาฮิดี  ในยุคของเขานั้นเป็นอาจารย์สอนวิชาตัฟสีรกุรอ่านและวิชานะฮู  เขียนตำราไว้หลายชนิดหลายเล่มด้วยกัน  ประชาชนมีมติว่าเขาเป็นคนดี บรรดานักวิชาการกล่าวขานถึงเขาไว้ในบทเรียนของพวกเขาทั้งยาว ปานกลางและสั้นๆ  ท่านอิหม่ามเฆาะซาลี กล่าวว่า สำหรับอัลวาฮิดีมีตำราดังๆเช่น อัสบาบุลนุซูล  
ท่านษะอ์ละบี มรณะ ฮ.ศ. 427 เจ้าของตัฟสีรอัลกัชฟุวัลบะยานคืออาจารย์ที่ถ่ายทอดวิชาตัฟสีรกุรอ่านให้กับอัลวาฮิดี


คำถามสำหรับซุนนี่คือ

ทำไมท่านจึงบอกว่า  ไม่มีอุละมาอ์ซุนนี่คนใดกล่าวว่า  บทที่ 5 : 67 ลงที่ฆอดีรคุมเกี่ยวกับท่านอะลี  ?

อย่างนี้เรียกว่าโกหกหรือไม่    
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 19, 2009, 02:10:27 หลังเที่ยง

สอง –

อัษ-ษะอ์ละบี มรณะ ฮ.ศ. 427

{يا أيها الرَّسُولُ بَلِّغْ مَآ أُنزِلَ إِلَيْكَ} . إختلفوا في تنزيل هذه الآية وتأويلها...

โอ้รอซูลเอ๋ย จงเผยแพร่สิ่ง สิ่งที่ถูกประทานลงมายังเจ้า จากพระผู้อภิบาลของเจ้า  ( อัลมาอิดะฮ์ บทที่  5 : 67 )
(อิหม่ามษะอ์ละบีกล่าวว่า บรรดามุฟัสสิร ) มีความเห็นขัดแย้งกันในเรื่องการประทานของโองการนี้และการตะอ์วีลของมัน...

وقال أبو جعفر محمد بن علي : معناه : بلّغ ما أنزل إليك في فضل علي بن أبي طالب،
 فلما نزلت الآية أخذ (عليه السلام) بيد علي،
 فقال : «من كنت مولاه فعلي مولاه».

อบูญะอ์ฟัร มุฮัมมัด บินอะลีกล่าวว่า ความหมายของอายะฮ์นี้หมายถึง จงเผยแพร่สิ่ง สิ่งที่ถูกประทานลงมายังเจ้า เกี่ยวกับอะลี บินอบีตอลิบ  ดังนั้นเมื่ออายะฮืนี้ได้ประทานลงมา ท่าน(รอซูล ศ.)ได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้น) แล้วกล่าวว่า  บุคคลใดที่ฉันเป็นผู้ปกครองของเขา ดังนั้นอะลีก็คือผู้ปกครองของเขา

( หมายเหตุ อบูญะอ์ฟัร มุฮัมมัด บินอะลีในที่นี้คือ ท่านอิม่ามมุฮัมมัดบาเก็ร อิม่ามที่ห้าของชีอะฮ์นั่นเอง ผู้แปล.)
   
أبو القاسم يعقوب بن أحمد السري، أبو بكر بن محمد بن عبد اللّه بن محمد، أبو مسلم إبراهيم ابن عبد اللّه الكعبي،
 الحجاج بن منهال، حماد عن عَلِيِّ بْنِ زَيْدٍ عَنْ عَدِيِّ بْنِ ثَابِتٍ عَنِ الْبَرَاءِ (بْنِ عَازِبٍ) قَالَ:
لما نزلنا مع رسول اللّه {صلى الله عليه وسلم} في حجة الوداع كنّا بغدير خم فنادى إن الصلاة جامعة وكسح رسول اللّه عليه الصلاة والسلام تحت شجرتين وأخذ بيد علي،
 فقال : «ألست أولى بالمؤمنين من أنفسهم»؟
 قالوا : بلى يا رسول اللّه،
 قال : «ألست أولى بكل مؤمن من نفسه»؟
 قالوا : بلى يا رسول اللّه،
 قال : «هذا مولى من أنا مولاه اللهم والِ من والاه وعاد من عاداه».
قال : فلقيه عمر فقال : هنيئاً لك يا ابن أبي طالب أصبحت وأمسيت مولى كل مؤمن ومؤمنة.

อะดี บินษาบิตรายงานจาก ท่านอัลบัรรออ์ เล่าว่า :

เมื่อพวกเรากับท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)ได้แวะพัก ในการประกอบพิธีหัจญ์ครั้งสุดท้าย พวกเราอยู่ที่เฆาะดีรคุม แล้วได้มีการประกาศ(อะซาน) แท้จริงการนมาซนั้นคือการรวมกัน และถูกกวาด(ลาน)ให้ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)อยู่ใต้ต้นไม้สองต้น  และท่านได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้น) พลางกล่าวว่า  : ฉันมีสิทธิต่อบรรดามุอ์มินทั้งหลายมากยิ่งกว่าตัวของพวกเขาเองใช่ไหม ?  
พวกเขากล่าวว่า  : หามิได้ ใช่แล้วครับ โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ  
ท่าน(ศ)กล่าวว่า : ฉันมีสิทธิต่อบมุอ์มินทุกคนมากยิ่งกว่าตัวของเขาเองใช่ไหม ?
พวกเขากล่าวว่า  : หามิได้ ใช่แล้วครับ โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ
ท่าน(ศ)กล่าวว่า :  ชายคนนี้(อะลี) คือผู้ปกครองของผู้ที่ฉันเป็นผู้ปกครองของเขา  โอ้อัลลอฮฺโปรดรักผู้ที่เป็นมิตรต่อเขา และโปรดเป็นศัตรูต่อผู้ที่เป็นปรปักษ์กับเขาด้วยเถิด
อัลบัรรออ์เล่าว่า  ท่านอุมัรได้เข้ามาหาเขา(อะลี) แล้วกล่าวว่า  ขอแสดงความยินดีด้วยนะ โอ้บุตรของอบูตอลิบ ทั้งยามเช้ายามเย็นท่านได้กลายเป็นเมาลา(ผู้ปกครอง)ของมุอ์มินทั้งชายหญิงแล้ว  
   
روى أبو محمد عبداللّه بن محمد القايني نا أبو الحسن محمد بن عثمان النصيبي نا : أبو بكر محمد ابن الحسن السبيعي نا علي بن محمد الدّهان، والحسين بن إبراهيم الجصاص قالانا الحسن بن الحكم نا الحسن بن الحسين بن حيان عن الكلبي
عَنْ أَبِي صَالِحٍ عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ في قوله {الرَّسُولُ بَلِّغْ} قال : نزلت في علي (رضي الله عنه) أمر النبي {صلى الله عليه وسلم} أن يبلغ فيه فأخذ (عليه السلام) بيد علي،
 وقال : «من كنت مولاه فعلي مولاه اللهم والِ من والاه وعادِ من عاداه».
تفسير الكشف والبيان  للثعلبى  ج 5 / ص 131

อบูศอและห์รายงานจาก ท่านอิบนุอับบาส ในพระดำรัสของพระองค์ ( โอ้รอซูล จงเผยแพร่ )  เขากล่าวว่า อายะฮ์นี้ได้ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับท่านอะลี  ท่านนบี(ศ)ถูกสั่งให้ทำการประกาศเรื่องเกี่ยวกับเขา(อะลี) ดังนั้นท่านจึงจับมือท่านอะลี(ชูขึ้น) และกล่าวว่า  บุคคลใดที่ฉันเป็นผู้ปกครองของเขา ดังนั้นอะลีก็คือผู้ปกครองของเขา โอ้อัลลอฮฺโปรดรักผู้ที่เป็นมิตรต่อเขา และโปรดเป็นศัตรูต่อผู้ที่เป็นปรปักษ์กับเขาด้วยเถิด

อ้างอิงจาก

ตัฟสีรอัลกัชฟุวัลบะยาน โดยอัษษะอ์ละบี เล่ม 5 : 131


อัซ-ซะฮะบีได้กล่าวยกย่องบุคคลผู้นี้ไว้ว่า

الثعلبي * الامام الحافظ العلامة، شيخ التفسير، أبو إسحاق، أحمد بن محمد
سير أعلام النبلاء  للذهبي ج 17 / ص 435  رقم 291

อัษษะอ์ละบี คือ อิหม่าม, ฮาฟิซกุรอ่าน, อัลลามะฮ์, ชัยคุต-ตัฟสีร  ชื่ออบูอิสฮ๊าก อะหมัด บินมุฮัมมัด
ดูสิยัร อะอ์ลามุน-นุบุลาอ์  อันดับที่ 291
 
مفسّر كبير، فقيه شافعي، لغوي نحوي،

ท่านอิหม่ามษะอ์ละบี ผู้นี้เป็นทั้ง นักตัฟสีรผู้ยิ่งใหญ่, ฟะกีฮฺ  สังกัดมัซฮับชาฟิอี,  เป็นนักภาษาศาสตร์และนักไวยากรณ์อรับ
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 19, 2009, 02:36:47 หลังเที่ยง

สาม-

ท่านอิบนุญะรีร อัฏ-ฏ็อบรี เกิดฮ.ศ. 224- 310


ต้องขอเกริ่นให้ท่านผู้อ่านเข้าใจก่อนว่า มีอุละมาอ์ชีอะฮ์ที่ใช้ชื่อนี้เหมือนกันเช่น  อัฏ-ฏ็อบรีเจ้าของหนังสืออัลมุสตัรชิด และอัฏ-ฏ็อบรีอัลรัสตัมเจ้าของหนังสือดะลาอิลุลอิมามะฮ์ ทั้งสองเป็นชีอะฮ์

ส่วนเจ้าของตัฟสีรฏ็อบรีและหนังสือตารีคฏ็อบรีที่ชื่อท่านอิบนุญะรีร อัฏ-ฏ็อบรีนั้นเป็นอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ ซึ่งท่านญะลาลุดดีนอัสสิยูตีกล่าวถึงเขาว่า

مُحَمَّدُ بْنُ جَرِيرٍ بْنُ يَزِيدَ بْنُ كَثِيرٍ بْنُ غَالِبٍ الطَّبَرِيُّ الإِمام أبو جعفر، رأس المفسرين على الإطلاق، أحد الأئمة،جمع من العلوم ما لم يشاركه فيه أحد من أهل عصره، فكان حافظاً لكتاب الله، بصيراً بالمعاني، فقيهاً في أحكام القرآن، عالماً بالسنن وطرقها، صحيحها وسقيمها، ناسخها ومنسوخها،عالماً بأحوال الصحابة والتابعين، بصيراً بأيام الناس وأخبارهم. أصله من آمل طبرستان،
طبقات المفسرين  لليسوطي  ج 1 / ص 16 رقم 93

มุฮัมมัด บินญะรีร บินยะซีด บินกะษีร บินฆอลิบ อัฏ-ฏ็อบรี อัลอิหม่ามอบูญะอ์ฟัร  หัวหน้าแห่งบรรดามุฟัสสิรทั้งหลาย หนึ่งในอิหม่าม  ผู้รวบรวมไว้ซึ่งอิลมูต่างๆซึ่งไม่มีใครจากสมัยของเขามีส่วนร่วมกับเขาเลย  เป็นนักท่องจำคัมภีร์กุรอ่าน มีความแตกฉานต่อความหมาย  เป็นฟะกีฮฺ(ผู้รู้ทางฟิกฮฺ)ในอะหฺกามต่างๆของอัลกุรอ่าน  เป็นผู้รอบรู้ต่อซุนนะฮ์(หะดีษ)ต่างๆและสายรายงานต่างๆของมัน ทั้งที่เศาะหิ๊หฺและดออีฟ   นาซิคและมันซูค  ผู้มีความรู้ต่อสภาพของบรรดาซอฮาบะฮฺ  ตาบิอีนและเป็นผู้หยั่งรู้ถึงวันเวลาของมนุษย์และเรื่องราวของพวกเขา เดิมเป็นคนเมืองอามุล ฏ็อบริสตาน

อ้างอิงจาก
หนังสือฏ็อบกอตุลมุฟัสสิรีน  โดยสิยูตี เล่ม 1 : 16 อันดับที่ 93


ช่วงที่อุละมาอ์ซุนนี่ผู้ยิ่งใหญ่นามอิบนุญะรีรอัฏฏ็อบรีคนนี้ อยู่ที่เมืองแบกแดด เขาได้เผชิญหน้ากับพวกฮะนาบะละฮฺที่มีความตะอัซซุบค่อนข้างรุนแรง ชาวมัซฮับฮัมบะลีกลุ่มนี้ได้สืบทอดมรดกความชิงชังของพวกราชวงศ์อุมัยยะฮ์ที่มีต่อท่านอิม่ามอะลีเป็นพิเศษ จนถึงขั้นกล้าปฏิเสธหะดีษที่รายงานเกี่ยวกับฟะฎออิล(ความประเสริฐของ)ท่านอะลีอย่างเปิดเผย  
เราไม่ทราบว่า ด้วยสาเหตุนี้หรือไม่ ที่เป็นแรงบันดาลใจผลักดันให้ท่านอิบนุ อัฏฏ็อบรี จำต้องเขียนหนังสือชื่อว่า " อัลวิลายะฮฺ "    เพราะมันเป็นหนังสือรวบรวมหะดีษทุกสายรายงานที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์แต่งตั้งท่านอะลีที่เฆาะดีรคุมเอาไว้โดยเฉพาะ เหมือนกับเป็นการท้าทายต่ออุละมาอ์ใหญ่แห่งมัซฮับฮัมบะลีในเวลานั้นชื่อ อบูบักร บินอบีดาวูด อัสสิญิสตานี  มรณะฮ.ศ. 316 ที่กล่าวว่า หะดีษเฆาะดีรคุมนั้นเป็นเรื่องโกหก


ท่านอิบนุญะรีรอัฏฏ็อบรีจึงได้รายงานหะดีษเฆาะดีรด้วยสายรายงานของตัวเองไว้ในหนังสืออัลวิลายะฮฺว่า

أَخْرَجَ اِبْنُ جَرِيرٍ الطَّبَرِيُّ عَنْ زَيْدِ بْنِ أَرْقَمَ قَالَ لَمَّا نَزَلَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِغَدِيرِ خُمٍّ فِي رُجُوعه مِنْ حَجَّةِ اَلْوَدَاعِ وَكَانَ فِي وَقْتِ الضُّحَى وَ حَرٍّ شَدِيدٍ أمر بالدوحات فقمت و نَادَى الصَّلَاةَ جَامِعَةً فَاجْتَمَعْنَا فَخَطَبَ خُطْبَةً بالغة ثُمَّ قَالَ: إِنَّ اللَّهَ تَعَالَى اَنْزَلَ إِلَيَّ :
بَلِّغْ مَا أُنْزِلَ إِلَيْكَ مِنْ رَبِّكَ وَإِنْ لَمْ تَفْعَلْ فَمَا بَلَّغْتَ رِسَالَتَهُ وَاللَّهُ يَعْصِمُكَ مِنَ النَّاسِ ، وَقَدْ أَمَرَنِي جَبْرَئِيلُ عَنْ رَبِّيْ أَنْ أَقُوْمَ فِي هَذَا الْمَشْهَد وَاعْلَمْ كُلَّ أَبْيَضَ وَأَسْوَدَ : أَنَّ عَلِيَّ بْنَ أَبِي طَالِبٍ أَخِي وَوَصِيِّي وَخَلِيْفَتِي وَالْاِمَامُ بَعْدِي


จากเซด บิน อัรก็อมเล่าว่า :  

ตอนที่ท่านนบี(ศ)แวะพักที่เฆาะดีรคุม  ในการกลับจากการทำฮัจญะตุลวิดาอ์ ปรากฏว่าตอนนั้นเป็นเวลาสายและอากาศร้อนจัด  ท่าน(ศ)ได้สั่งให้เคลียพื้นที่  และประกาศให้ทำนมาซญะมาอะฮ์  เมื่อพวกเรามารวมตัวกัน ท่านได้กล่าวคุฏบะฮ์ด้วยวาทะอันลึกซึ้ง จากนั้นท่านกล่าวว่า :   แท้จริงอัลลอฮ์ตะอาลาได้ประทาน(โองการลง)มายังฉันว่า  :
(( จงประกาศ สิ่งที่ถูกประทานลงมายังเจ้า จากพระผู้อภิบาลของเจ้า และหากเจ้าไม่ทำ เจ้าก็ไม่ได้เผยแพร่สาส์นของพระองค์เลย และอัลลอฮฺจะทรงปกป้องเจ้าให้พ้นจากมนุษย์ )) และแท้จริงท่านญิบรออีลได้นำคำสั่งจากพระผู้อภิบาลของฉันมายังฉัน โดยให้ฉันปฏิบัติ(ภารกิจนั้น)ในสถานที่แห่งนี้ และคนขาวกับคนดำทุกคนจงรับรู้ไว้ด้วยว่า  แท้จริงอะลี บินอบีตอลิบคือ พี่น้องของฉัน  คือวะซีของฉัน  คือคอลีฟะฮ์(สืบต่อจาก)ฉัน และเป็นอิหม่ามผู้นำภายหลังจากฉัน
 
อ้างอิงจากหนังสือ

อัลวิลายะฮ์  โดยมุฮัมมัด อิบนิ ญะรีร อัฏ-ฏ็อบรีย์


เพราะหนังสืออัลวิลายะฮ์เล่มนี้จึงเป็นเหตุทำให้ชาวซุนนี่บางกลุ่มเช่นพวกวาฮาบีกล่าวหาอุละมาอ์ท่านนี้ว่าท่านอิบนุญะรีรอัฏ-ฏ็อบรีเป็นตะชัยยุ๊อฺ ( تَشَـيُّعٌ ) คือมีความฝักใฝ่ในมัซฮับชีอะฮ์  เพราะหนังสือเล่มนี้ได้กลายเป็นหลักฐานสำคัญอันหนึ่งสำหรับพวกชีอะฮฺที่จะเอามาอ้างงอิงกับพวกวาฮาบีเรื่องการแต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์

ดังนั้นอุละมาอ์อะฮ์ลุสสุนนะฮ์โดยส่วนมากจึงไม่นิยมเขียนหนังสือที่รวบรวมหะดีษและสายรายงานหะดีษเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เฆาะดีรคุม
เนื่องจากพวกเขาไม่มีอะกีดะฮ์ว่า   : อะลีคือคอลีฟะฮฺที่สืบต่อจากท่านรอซูล(ศ)
แต่พวกเขามีอะกีดะฮ์ว่า   :   ซอฮาบะฮ์มีมติให้ท่านอบูบักรขึ้นดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ์


เพราะฉะนั้นเมื่ออะกีดะฮ์ของซุนนี่เรื่องตำแหน่งคอลีฟะฮ์ของท่านอบูบักรที่ได้มาจากมติของซอฮาบะฮ์ ต้องเผชิญกับตำแหน่งคอลีฟะฮ์ของท่านอะลีที่มีรายงานจากตัฟสีรและหะดีษ  
ทางออกของพวกเขาคือ

1.   กล่าวหาว่า  พวกชีอะฮ์โกหก
2.   กล่าวหาว่า  พวกชีอะฮ์ กุหลักฐานขึ้นมาเอง
3.   หรือหลักฐานในตำราซุนนี่ทั้งหมดที่บอกเล่าเรื่องการแต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์ที่ฆ่อดีรคุมนั้น เมาฏู๊อฺ -  กุขึ้น
4.   หรือตัฟสีรและหะดีษซุนนี่ที่รายงานเรื่องดังกล่าวมีจริง และสะนัดถูกต้อง  แต่คำว่า  " เมาลา " ในหะดีษดังกล่าวนั้นแปลว่า  เพื่อน  , คนรัก ,ผู้ช่วยเหลือ หรือ... ไม่ได้แลปว่า " ผู้ปกครอง "  


ประเด็นเรื่องความหมายของคำ" เมาลา " ทีทแท้จริงนั้นเราจะอธิบายอย่างละเอียดในตอนต่อไป   แต่เวลานี้เราต้องการพิสูจน์ให้ท่านทราบเสียก่อนว่า  หลักฐานในตำราซุนนี่ที่กล่าวถึงเรื่องการแต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์นั้นมีจริงแน่นอน เราไม่ได้กุขึ้น และเราไม่ได้ยกมาอย่างลอยๆไร้หลักฐาน
แต่ฝ่ายซุนนี่พยายามปฏิเสธหะดีษเหล่านั้นมาโดยตลอด  เพื่อพิทักษ์อะกีดะฮ์ของตนเอง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา
ปัญหาคือ เราจะค้นหาความจริง และอยู่กับความจริงเท่านั้น  ดังที่อัลลอฮ์  ตะอาลาตรัสว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آَمَنُوا اتَّقُوا اللَّهَ وَكُونُوا مَعَ الصَّادِقِينَ

โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย  จงมีความตักวาต่ออัลลอฮ์  และสูเจ้าจงอยู่กับบรรดาผู้สัจจริง

ซูเราะฮ์ อัตเตาบะฮ์  อายะฮ์ 119
 
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 19, 2009, 02:48:20 หลังเที่ยง

อย่างไรก็ตาม  ช้างตายทั้งตัวใบบัวย่อมปิดไม่มิด หรือสัจธรรมย่อมเป็นธรรมอยู่เสมอ  

กล่าวคือแม้ว่า อุละมาอ์ซุนนี่ทั้งอดีตและปัจจุบันบางส่วน พยายามปฏิเสธหลักฐานเรื่องการแต่งตั้งท่านอะลีเท่าไหร่ แต่ดูเหมือนว่า ยิ่งนานวันเข้า อัลลอฮ์ตะอาลาทรงประสงค์จะให้ผู้ปฏิเสธหลักฐานเรื่องการแต่งตั้งอะลี ได้ประกาศให้การรับรองเรื่องดังกล่าวด้วยตัวของพวกเขาเอง  อัลฮัมดูลิลลาฮฺ  

เราพบว่า

ท่านเชคมุฮัมมัด นาศิรุดดีน อัลบานี อุละมาอ์ซุนนี่ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบความถูกต้องของหะดีษ ได้ออกมาให้การรับรองว่า

" หะดีษเฆาะดีรคุม " นั้นมีสายรายงาน  " เศาะหิ๊หฺ – ถูกต้อง "  ดังนี้


عَنْ أَبِي الطُّفَيْلِ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ

لَمَّا رَجَعَ النَّبِيُّ صَلَّي اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّم مِنْ حَجَّةِ الْوِدَاعِ وَنَزَلَ غَدِيْرَ خُمٍّ أَمَرَ بِدَوْحَاتٍ فَقُمِمْنَ ثُمَّ قَالَ : كَأَنِّيْ دُعِيْتُ فَأَجِبْتُ وَإِنِّيْ تَارِكٌ فِيْكُمُ الثَّقَلَيْنِ أَحَدَهُمَا أَكْبَرُ مِنَ الْآخَرِ : كِتَابُ اللهِ
 وَعِتْرَتِيْ أَهْلُ بَيْتِيْ فَانْظُرُوْا كَيْفَ تُخْلِفُوْنِيْ فِيْهِمَا  فَإِنَّهُمَا لَنْ يَتَفَرَقَا حَتَّي يَرِدَا عَلَيَّ الْحَوْضَ     ثُمَّ قَالَ : إِنَّ اللهَ مَوْلاَيَ وَأَنَا وَلِيُّ كُلِّ مُؤْمِنٍ  ثُمَّ إِنَّهُ أَخَذَ بِيَدِ عَلِيٍّ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ فَقَالَ : مَنْ كُنْتُ وَلِيَّهُ فَهَذَا وَلِيَّهُ  اللّهُمَّ وَالِ مَنْ وَالاَهُ وَعَادِ مَنْ عَادَاهُ

سِلْسِلَةُ الْأَحَادِيْثِ الصَّحِيْحَةِ  ج : 4 ص: 330  ح : 1750  مُحَمَّد نَاصِرُ الدِّيْنِ الأَلْبَانِيّ نَوْعُ الْحَدِيْثِ : صَحِيْح

ท่านอบู ตุเฟลเล่าว่า :  

เมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กลับจากการทำฮัจญ์ครั้งสุดท้าย ท่านได้แวะพักที่ " เฆาะดีรคุม "

ท่านสั่งให้(พักตรง)ต้นไม้ใหญ่ แล้วสั่งให้กวาด(ลานให้สะอาด)  แล้วท่านได้ปราศัยว่า :

ดูเหมือนว่าฉันถูกเรียก(กลับแล้ว) และฉันได้ตอบรับแล้ว

แท้จริงฉันได้มอบไว้แก่พวกท่านสิ่งหนักสองสิ่ง สิ่งแรกใหญ่กว่าอีกสิ่งหนึ่งคือ

1.   คัมภีร์ของอัลลอฮ์ (อัลกุรอาน)และ

2.   อิตเราะตี คืออะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน  

ดังนั้นพวกท่านจงดูเถิดว่า พวกท่านจะขัดแย้งกับฉันในสองสิ่งนี้อย่างไร เพราะแท้จริงสองสิ่งนี้จะไม่แยกจากกัน จนกว่าทั้งสองจะกลับมาหา

ฉันที่อัลเฮาฎ์(สระเกาษัร)

จากนั้นท่าน(รอซูล ศ.) ได้กล่าวว่า :

แท้จริงอัลลอฮ์ทรงเป็น" ผู้คุ้มครอง " ของฉัน  และฉันเป็น" ผู้ปกครอง " ของผู้ศรัทธาทุกคน  

จากนั้นท่านนบีได้จับมือท่านอะลี ( ชูขึ้นเหนือศรีษะ) แล้วกล่าวว่า :

บุคคลใดก็ตามที่ฉันเป็น" ผู้ปกครอง " ของเขา  ดังนั้น อะลี ก็เป็น"ผู้ปกครอง "ของเขา  

โอ้อัลลอฮ์โปรดรักผู้ที่เป็นมิตรต่อเขา และโปรดชิงชังผู้ที่เป็นศัตรูต่อเขา  


สถานะหะดีษ : เศาะหิ๊หฺ    

ดูซิลซิละตุลอะฮาดีษิซ-ซอฮีฮะฮ์ เล่ม 4 : 330   หะดีษที่ 1750   ตรวจทานโดยเชคอัลบานี
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 19, 2009, 03:28:02 หลังเที่ยง

ท่านทราบไหมว่า

อุละมาอ์ซุนนี่ในอดีตโดยส่วนมาก ทั้งในไทยและต่างประเทศปฏิเสธเสียงแข็งว่า หะดีษเฆาะดีรคุมเป็นเรื่องโกหกพกลม  


ด้วยความที่ท่านอิบนุตัยมียะฮ์มีอคติต่อชีอะฮ์และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีอะฮ์  แม้กระทั่งหะดีษที่ถูกต้องในตำราของตัวเองก็ไม่ตรวจทานไม่ค้นคว้าให้ถ้วนถี่เสียก่อน  ท่านอิบนุตัยมียะฮฺถึงกับฟันธงว่าหะดีษ " มันกุนตุเมาลาฮุ ฟะอะลียุนเมาลา  " ที่เฆาะดีรคุมนั้นเป็นหะดีษเก๊ทั้งหมด


ทีนี้เรามาฟังคำวิจารณ์อีกมุมหนึ่งในเรื่องนี้

เชคมุฮัมมัด นาซิรุดดีนอัลบานี ได้ออกมาวิจารณ์ท่านอิบนิตัยมียะฮ์ในเรื่องนี้ว่า

فقد كان الدافع لتحرير الكلام على الحديث و بيان صحته أنني رأيت شيخ الإسلام بن تيمية ، قد ضعف الشطر الأول من الحديث ، و أما الشطر الآخر ، فزعم أنه كذب  ! و هذا من مبالغته الناتجة في تقديري من تسرعه
في تضعيف الأحاديث قبل أن يجمع طرقها و يدقق النظر فيها . و الله المستعان .

แท้จริงสิ่งที่ผลักดันให้ทำการวิจัยคำพูดต่อหะดีษ(เฆาะดีรคุม)และชี้แจงถึงความเศาะหิ๊หฺของมันนั้น

เป็นเพราะว่าผมได้เห็นท่านเชคอิบนิตัยมียะฮฺได้ทำการตัฏอี๊ฟ(ฮุก่มว่า ดออีฟ)ในวรรคแรกของหะดีษ(เฆาะดีร)

ส่วนวรรคอื่นๆท่านก็ได้กล่าวว่ามันโกหก  ผลลัพท์นี้มีผลมาจากความเลยเถิดของท่าน ในตักดีรของผม

เนื่องจากท่าน(อิบนิตัยมียะฮฺ)มีนิสัยรวดเร็วเกินไปในการตัฏอี๊ฟหะดีษต่างๆ ก่อนที่ท่านจะรวบรวมสายรายงานต่างๆของมัน
และพิจารณาในมันให้ถี่ถ้วนเสียก่อน


อ้างอิงจากหนังสือ
 
ซิลซิละตุลอะฮาดีษิซ-ซอฮีฮะฮ์ โดยเชคอัลบานี เล่ม 4 : 249   หะดีษที่ 1750
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 19, 2009, 03:55:40 หลังเที่ยง

เมื่อท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ได้ประกาศการแต่งตั้งท่านอะลีเสร็จสิ้น

อัลลอฮ์ตะอาลาก็ได้ประทานอัลกุรอานลงมาปิดท้ายเรื่องการแต่งตั้งท่านอะลีที่เฆาะดีรคุมว่า

الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ الْإِسْلَامَ دِينًا


"วันนี้ข้าได้ให้ศาสนาของพวกเจ้าครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว และความเมตตาของข้าที่มีต่อพวกเจ้าเปี่ยมล้น และข้าพอใจที่ให้อิสลามเป็นศาสนาแก่พวกเจ้า"

ซูเราะห์อัลมาอิดะฮ์ อายะฮ์ที่ 3


ฝ่ายซุนนี่จึงโต้แย้งว่า

1.   บรรดานักวิชาการซุนนี่ต่างยืนยันตรงว่าอายัตที่ 3 นี้ ถูกประทานลงมาในวันศุกร์ที่ 9 เดือนซุลฮิจญะห์ ปีที่ 10 ฮิจเราะห์ศักราช  ขณะที่ท่านนบีกำลังวุกูฟอยู่ที่ทุ่งอะรอฟะห์ในการทำฮัจญะห์ครั้งอำลาของท่าน และเป็นอายัตสุดท้ายของอัลกุรอานที่ถูกประทานลง
2.   แต่เหตุการณ์ที่ฆ่อดีรคุมนั้น เกิดขึ้นในวันที่ 18 เดือนซุลฮิจญะห์ หลังจากทำฮัจญ์เรียบร้อยแล้ว จึงเป็นข้อพิสูจน์ความโกหกของชีอะฮ์   ในเมื่ออัลลอฮ์ได้ลงอัลกุรอานอายะห์สุดท้ายมายืนยันว่าอิสลามครบถ้วนสมบูรณ์ไปแล้ว และเช่นไรเล่าที่ชีอะฮ์ได้อ้างว่าคำสั่งแต่งตั้งอายะห์ที่ 67 ถูกประทานลงมาที่ฆ่อดีรคุมหลังจากนั้น หมายถึงหลังจากอิสลามครบถ้วนไปแล้วกระนั้นหรือ  
3.   โองการ " ยาอัยยุฮัลรอซูล "   คือซูเราะห์อัลมาอิดะฮ์ อายะฮ์ที่  67  ส่วน  โองการ " อัลเยาม่ะ อักมัลตุ " คือซูเราะห์อัลมาอิดะฮ์ อายะฮ์ที่  3   คำถามคือ จะเป็นไปได้อย่างไรที่   อายัตที่ 3  จะถูกประทานลงมา หลังอายัตที่  67  ?


วิจารณ์


พี่น้องซุนนี่ต้องการจะปฏิเสธว่า โองการนี้

วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้ว และข้าได้ทำให้นิอฺมะฮ์ของข้าครบถ้วนแก่พวกเจ้าแล้ว  และข้าพึงพอใจที่ให้อิสลามเป็นศาสนาแก่พวกเจ้า  ( ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ  โองการที่ 3 )

ไม่มีอุละมาอ์ซุนนี่คนใดได้รายงานหะดีษหรือกล่าวว่า มันถูกประทานลงมาทีเฆาะดีรคุมเกี่ยวกับท่านอะลี
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 19, 2009, 03:59:05 หลังเที่ยง

เราหักล้างการปฏิเสธคำพูดของพวกเขาด้วย หะดีษ เศาะหิ๊หฺ  ดังต่อไปนี้  
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 19, 2009, 03:59:43 หลังเที่ยง

เราหักล้างการปฏิเสธคำพูดของพวกเขาด้วย หะดีษ เศาะหิ๊หฺ  ดังต่อไปนี้  
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 19, 2009, 04:00:19 หลังเที่ยง

เราหักล้างการปฏิเสธคำพูดของพวกเขาด้วย หะดีษ เศาะหิ๊หฺ  ดังต่อไปนี้  
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 19, 2009, 04:03:25 หลังเที่ยง


ท่านอัลเคาะฏีบ อัลบัฆดาดี


เกิดฮ.ศ.392 – 463 ได้ บันทึกหะดีษไว้บทหนึ่งว่า


حَبْشُوْنُ بْنُ مُوسَى بْنُ أَيُّوبَ أَبُو نَصْرٍ الخَلاَّلُ سَمِعَ عَلِيَّ بْنَ سَعِيدِ بْنِ قُتَيْبَةَ الرَّمْلِيُّ وَالْحَسَنُ بْنُ عَرَفَةَ الْعَبْدِيُّ وَ عَلِيُّ بْنُ عَمْرٍو الْأَنْصَارِيُّ وَ عَلِيُّ بْنُ الْحُسَيْنِ بْنِ إِشْكَابٍ وَ عَبْدُ اللَّه بْن أَيُّوب الْمُخَرِّمِيُّ وَ سُلَيْمَانُ بْنُ تَوْبَةَ النَّهْرَوَانِيّ وَ حَنْبَلُ بْن إِسْحَاق الشَّيْبَانِيُّ

رَوى عَنْهُ أَبُو بَكْر بْن شَاذَان وَ أَبُو الْحَسَن الدَّارَقُطْنِيُّ وَ أَبُو حَفْصٍ بْن شَاهِين وَ أَحْمَدُ بْنُ الْفَرَجِ بْنُ الْحَجَّاجِ وَ أَبُو الْقَاسِمِ بْنُ الثَّلاَّج وَغَيْرُهُمْ وَكاَنَ ثِقَةً يَسْكُنُ باَبَ الْبَصْرَة

أَنْبَأَنَا عَبْدُ اللَّهِ بن علي بن محمد بْن بَشْرَانِ أَنْبَأَنَا عَلِيّ بْن عُمَر الْحَافِظُ حَدَّثَنَا أَبُوْ نَصْرٍ حَبْشوْن بْنُ مُوْسَى بْنُ أَيُّوْبَ الْخلاَلُ حَدَّثَنَا عَلِيُّ بْنَ سَعِيْدِ الرَّمْلِيّ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ القرشي

عَنِ بْنِ شَوْذَبٍ عَنْ مَطَرٍ الْوَرَّاقِ عَنْ شَهْرِ بْنِ حَوْشَبٍ عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ قَالَ :

مَنْ صَامَ يَوْمَ ثَمَانِ عَشْرَةَ مِنْ ذِي الْحِجَّةِ كُتِبَ لَهُ صِيَامُ سِتِّيْنَ شَهْرًا وَهُوَ يَوْمَ غَدِيرِ خُمٍّ

لَمَّا أَخَذَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِيَدِ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ فَقَالَ أَلَسْتُ وَلِيُّ الْمُؤْمِنِينَ

قَالُوْا بَلَى يَا رَسُوْلَ اللهِ قاَلَ مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ

فَقَالَ عُمَرُ بْنُ الْخَطَّابِ بَخٍ بَخٍ لَكَ ياَ بْنَ أَبِي طَالِبٍ أَصْبَحْتَ مَوْلاَيَ وَمَوْلَى كُلِّ مُسْلِمٍ

فَأَنْزَلَ اللَّهُ  اَلْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ


الكتاب : تاريخ بغداد   ج 8 / ص 289  رقم الحديث : 4392
المؤلف : أحمد بن علي أبو بكر الخطيب البغدادي
الناشر : دار الكتب العلمية – بيروت  عدد الأجزاء : 14
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 19, 2009, 04:07:56 หลังเที่ยง

คำแปล


ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺเล่าว่า :
 
บุคคลใดได้ถือศีลอดในวันที่ 18 เดือนซุลหิจญะฮฺ   จะถูกบันทึกสำหรับเขา(ว่าเขา)ได้ถือศีลอดถึง 60 เดือน

และมัน( วันที18 )คือวันที่เฆาะดีรคุม  ตอนที่ท่านนบี(ศ)ได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้น) แล้วกล่าวว่า :

ฉันคือผู้ปกครองของบรรดามุอฺมินทั้งหลายใช่หรือไม่ ?

พวกเขา(บรรดาซออาบะฮฺ)กล่าวว่า :    หามิ ได้ ใช่แล้วครับ   โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ

ท่าน(ศ)จึงกล่าวว่า :  บุคคลใดที่ฉันคือผู้ปกครองของเขา  ดังนั้นอะลีก็คือผู้ปกครองของเขา

ท่านอุมัร บินคอตตอบ ได้กล่าวว่า :

ขอแสดงความยินดีกับท่านด้วย  โอ้บุตรของอบูตอลิบ (บัดนี้)ท่านได้กลายเป็นเมาลาผู้ปกครองของฉัน

และผู้ปกครองของมุสลิมทุกคนแล้ว  

ดังนั้นอัลลอฮ์จึงทรงประทานโองการนี้ลงมา

الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ

วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้ว ... (ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 3 )


อ้างอิงจากหนังสือ

ตารีคบัฆด๊าด โดยอัลเคาะฏีบอัลบัฆดาดี เล่ม 8 : 289 หะดีษที่ 4392
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 19, 2009, 04:11:19 หลังเที่ยง

หลังจากเรายกหะดีษที่รายงานว่า ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์  อายัตที่  3 ถูกประทานลงมาที่เฆาะดีรคุม

หลังจากที่ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ) ทำการแต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์สืบแทนเสร็จแล้ว  

คำถามที่จะตามมาอย่างติดๆจากฝ่ายซุนนี่คือ  แล้วหะดีษนี้ มัน " เศาะหิ๊หฺ "   หรือ " ดออีฟ " ?

ตอนต่อไปเราจะมาศึกษา สะนัด ( สายรายงานหะดีษ ) บทนี้ว่า เศาะหิ๊หฺ  หรือ  ดออีฟ  อินชาอัลลอฮฺ
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 19, 2009, 04:43:15 หลังเที่ยง

วิเคราะห์ สายรายงานหะดีษ

เรื่องซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ อายัตที่ 3 ถูกประทานลงมาในวันที่ 18  เดือนซุลฮิจญะฮ์

หลังท่านรอซูล(ศ)กลับจากหัจญะตุลวิดาอ์  


อุละมาอ์ซุนนี่ สาขาอัลญัรฮุวัตตะอ์ดีล(วิจารณ์ชีวประวัตินักรายงานหะดีษ)ต้องตกอยู่ในภาวะอึดอัดใจกับหะดีษของท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ที่รายงานว่า " ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ  โองการที่ 3 ถูกประทานลงมาที่ เฆาะดีรคุม "  

ตอนที่ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)กลับจากการประกอบพิธีหัจญะตุลวิดาอฺ ท่านแวะพักลงที่นั่น ได้นมาซญะมาอะฮ์ร่วมกันและได้ปราศรัยจนจบลงด้วยวะซียัตครั้งสุดท้ายของท่านที่มีต่อประชาชาติว่า ให้ยึดมั่นต่อคัมภีร์กุรอ่านและอะฮ์ลุลบัยต์ หลังจากนั้นท่านได้ให้ท่านอะลีขึ้นมาอยู่บนมิมบัรกับท่าน และได้จับมือท่านอะลีชูขึ้นพร้อมทั้งประกาศว่า  อะลีคือคอลีฟะฮฺสืบต่อจากท่าน


สาเหตุ

ที่ทำให้อุละมาอ์ซุนนี่สาขาอัลญัรฮุวัตตะอ์ดีล ต้องงุนงง และรู้สึกยุ่งยากลำบากใจกับหะดีษบทนี้คือ

พวกเขาไม่สามารถหาข้อตำหนิต่อสะนัด(สายรายงาน) หะดีษบทนี้ได้ ทำไม ?

เพราะ  บรรดานักรายงานหะดีษบทนี้ เป็นนักรายงานหะดีษ(รอวี) ที่อยู่ในระดับ " เชื่อถือได้ทั้งหมด "

ชื่อของพวกเขาโดยส่วนมากยังปรากฏอยู่ในตำราซอฮีฮุบุคอรีและซอฮีฮุมุสลิม

ดังนั้นหากนักรายงานหะดีษบทนี้ถูกตำหนิ ก็เท่ากับได้ตำหนิตำราเศาะหิ๊หฺ เช่นท่านบุคอรีและมุสลิมด้วยเช่นกัน

ในอีกด้านหนึ่ง อุละมาอ์ซุนนี่ก็ไม่อาจยอมรับหะดีษบทนี้ได้ด้วยเช่นเดียวกัน ทำไม ?

เพราะว่า  ท่านอุมัรได้ถูกถามถึงที่มาของอายะฮ์นี้ แล้วเจ้าตัวได้ปฏิเสธว่า อายะฮ์นี้ไม่ได้ถูกประทานในวันเฆาะดีรคุม
โดยท่านอุมัรกล่าวว่า อายะฮ์นี้ถูกประทานลงมาก่อนหน้านั้นในช่วงเวลาการประกอบพิธีหัจญะตุลวิดาอฺ

ดังนั้นการยอมรับหะดีษของท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ เท่ากับตำหนิว่า ท่านอุมัรพูดโกหก

เพราะเขากล่าวว่า อัสบาบุลนุซูลอายะฮ์นี้ ไม่ได้ประทานลงมาที่ " เฆาะดีรคุม "  

แท้จริงการแต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮฺได้ถูกประทานลงมาจากอัลลอฮฺตะอาลา โดยท่านนบี(ศ)เป็นผู้ประกาศต่อหน้าบรรดามุสลิมทั้งหลาย และท่านอุมัรยังได้ออกมาแสดงความยินดีกับท่านอะลี

เราถือว่า เป็นเรื่องปกติสำหรับพี่น้องซุนนี่ที่ดื้อรั้นต่อหลักฐาน จะต้องหาวิธีการปฏิเสธหะดีษบทนี้ทุกรูปแบบ ทำไม ? เพราะ หะดีษนี้มันไปขัดแย้งต่ออะกีดะฮ์ซุนนี่นั่นเอง  


ทางออกต่อหะดีษบทนี้คือ กล่าวแบบไร้หลักฐานว่า เป็นหะดีษ" มุงกัร "  หรือหะดีษ " เมาฎู๊อฺ - เก๊ "
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 19, 2009, 04:47:39 หลังเที่ยง

ประการแรก
เราได้พิสูจน์ให้ท่านเห็นแล้วว่า อายะฮ์นี้

الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ الْإِسْلَامَ دِينًا

วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้ว และข้าได้ทำให้นิอฺมะฮ์ของข้าครบถ้วนแก่พวกเจ้าแล้ว  และข้าพึงพอใจที่ให้อิสลามเป็นศาสนาแก่พวกเจ้า

ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ อายะฮ์ 3 ถูกประทานลงมาในวันที่ 18 ซุลหิจญะฮ์ ณ.เฆาะดีรคุม

โดยอัสบาบุลนุซูลของอายะฮ์นี้ได้ถูกบันทึกอยู่ไว้ในหนังสืออะฮ์ลุสสุนนะฮ์ สองเล่มคือ

1.   ตารีคบัฆด๊าด โดยอัลเคาะฏีบอัลบัฆดาดี (ฮ.ศ.392 – 463) เล่ม 8 : 289 หะดีษที่ 4392

2.   ตารีคดามัสกัส โดยอิบนิอะซากิร (ฮ.ศ. 499-571) เล่ม 42 : 233


อันดับต่อไป

เราจะพิสูจน์ความถูกต้องของสะนัด (สายรายงานหะดีษ)   ว่า นักรายงานหะดีษบทนี้ เชื่อถือได้ หรือไม่ ?

หากเชื่อถือไม่ได้  แสดงว่า หะดีษบทนี้  มีสถานะ  ดออีฟ  เป็นอันว่า อุละมาอ์ซุนนี่พูดจริง

หากเชื่อถือได้  ย่อมแสดงว่า หะดีษบทนี้  มีสถานะ  เศาะหิ๊หฺ  

และแสดงว่า  อุละมาอ์ชีอะฮ์ พูดจริง
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 19, 2009, 05:33:43 หลังเที่ยง

สะนัดหะดีษ

อัลเคาะฏีบ อัลบัฆดาดี

รายงานสะนัดหะดีษไว้ดังนี้คือ

أخرج الخطيب البغدادي :

أَنْبَأَنَا عَبْدُ اللَّهِ بْنُ عَلِيِّ بْنُ مُحَمَّدِ بْنِ بَشْرَانِ أَنْبَأَنَا عَلِيُّ بْنُ عُمَرَ الْحَافِظُ
 
حَدَّثَنَا أَبُوْ نَصْرٍ حَبْشُونُ بْنُ مُوسَى بْنُ أَيُّوْبَ الْخَلاَّلُ
 
حَدَّثَنَا عَلِيُّ بْنَ سَعِيْدِ الرَّمْلِيّ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ القرشي عَنِ بْنِ شَوْذَبٍ
 
عَنْ مَطَرٍ الْوَرَّاقِ عَنْ شَهْرِ بْنِ حَوْشَبٍ عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ قَالَ  :
 
مَنْ صَامَ يَوْمَ ثَمَانِ عَشْرَةَ مِنْ ذِي الْحِجَّةِ كُتِبَ لَهُ صِيَامُ سِتِّيْنَ شَهْرًا وَهُوَ يَوْمَ غَدِيرِ خُمٍّ


อิบนุอะซากิร

ได้รายงานสะนัดหะดีษนี้ต่อจาก อัลเคาะฏีบ อัลบัฆดาดี อีกทีหนึ่งคือ

أخرج إبنُ عساكر عن الخطيب البغدادي :

عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ عَلِيِّ بْنِ مُحَمَّدِ بْنِ بَشْرَانِ ، عَنْ عَلِيِّ بْنِ عُمَرَ الدَّارُ قُطْنِيّ ،

عَنْ أَبِيْ نَصْرٍ حَبْشُوْنَ الْخَلاَّلِ ، عَنْ عَلِيِّ بْنِ سَعِيْدِ الرَّمْلِيّ ،

عن ضَمْرَةِ بْنِ رَبِيعَةَ ، عَنْ عَبْدِاللهِ بْنِ شَوْذَبٍ،

عَنْ مَطَرٍ الْوَرَّاقِ عَنْ شَهْرِ بْنِ حَوْشَبٍ عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ قَالَ  :

مَنْ صَامَ يَوْمَ ثَمَانِ عَشْرَةَ مِنْ ذِي الْحِجَّةِ كُتِبَ لَهُ صِيَامُ سِتِّيْنَ شَهْرًا وَهُوَ يَوْمَ غَدِيرِ خُمٍّ


พิเคราะห์รายชื่อ นักรายงานเป็นรายบุคคล ดังนี้


عَبْدُ اللَّهِ بْنُ عَلِيِّ بْنُ مُحَمَّدِ بْنِ بَشْرَان ِ←  

عَلِيُّ بْنُ عُمَرَ الدَّارُ قُطْنِيّ ←

أَبُوْ نَصْرٍ حَبْشُونُ بْنُ مُوسَى بْنُ أَيُّوْبَ الْخَلاَّلُ ←  

عَلِيُّ بْنَ سَعِيْدِ الرَّمْلِيّ ←

ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ القرشي ←

عَبدُ الله بْنِ شَوْذَبٍ ←

مَطَرٍ الْوَرَّاقِ ←

شَهْرِ بْنِ حَوْشَبٍ ←

أَبو هُرَيْرَةَ  ←

1.อับดุลลอฮฺ บินอะลี บินมุฮัมมัด บินบัชรอน →

2.อะลี บินอุมัร อัดดารุกุฏนี →

3.อบูนัศรฺ หับชูน บินมูซา บินอัยยูบ อัลค็อลล้าล →

4.อะลี บินสะอีด อัลร็อมลี →

5.เฎาะมะเราะฮฺ บินเราะบีอะฮฺ อัลกุเราะชี →

6.อับดุลลอฮฺ บิน เชาซับ →

7.มะฏ็อร อัลวัรรอก →

8.ชะฮ์รุ บินเหาชับ →

9.อบูฮุร็อยเราะฮ์
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 19, 2009, 05:45:25 หลังเที่ยง

บุคคลแรกที่รายงานหะดีษนี้คือ




1. อบูฮุร็อยเราะฮ์ →   เป็นเศาะหาบะฮฺ


เชิญท่านอ่านชีวประวัติบุคคลท่านนี้ได้ที่เว็บ

http://www.azsunnah.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=9

ตาบิอีนที่ถ่ายทอดหะดีษบทนี้เป็นคนที่สองคือ



2. ชะฮ์รุ บินเหาชับ  มรณะฮ.ศ. 100 →


อัลอิจญ์ลีกล่าวว่า :

شهر بن حوشب شامي تابعي ثقة
الثقات للعجلي ج 1 / ص 461 رقم 741

ชะฮ์รุ บินเหาชับ  ชาวเมืองช่าม เป็นตาบิอี  เชื่อถือได้ในการรายงาน   ดูอัษ-ษิกอต อันดับที่ 741

อิบนุหะญัรกล่าวว่า :

อัลบุคอรีรายงานหะดีษของชะฮ์รุไว้ในหนังสืออัลอะดับมุฟาร็อด และมุสลิมรายงานหะดีษของเขาไว้ในเศาะหิ๊หฺของเขา และอัศหาบุสสุนันทั้งสี่รายงานหะดีษของเขา

ชะฮ์รุรายงานหะดีษจาก :
นางอัสมา บินติยะซีด,ท่านหญิงอุมมุสะละมะฮฺ, อบูฮุร็อยเราะฮฺ,ท่านหญิงอาอิชะฮฺ, อุมมุหะบีบะฮฺ, บิล้าล มุอัซซิน, ตะมีมีอัดดารี,เษาบาน,ซัลมาน,อบูซัร,อบูมาลิก อัลอัชอะรีและอบูสะอีด

ดูตะฮ์ซีบุต-ตะฮ์ซีบ อันดับที่ 635
تهذيب التهذيب - (ج 4 / ص 324 رقم 635

ท่านบัดรุดดีน อัลอัยนี สังกัดมัซฮับฮะนะฟี (ฮ.ศ.762-855)ได้บันทึกคำวิจารณ์ถึงชะฮ์รุไว้ดังนี้

قال موسى بن هارون: ضعيف

มูซาบินฮารูน กล่าวว่า   เขาดออีฟ

قال النسائى: ليس بالقوى

อัน-นะซาอี กล่าวว่า  เขาไม่แข็งในการรายงาน

كان يحيى بن سعيد لا يحدث عن شهر

ยะห์ยา บินก็อฏฏอน ไม่รายงานหะดีษจากชะฮ์รุ

عن أحمد ابن حنبل: ما أحسن حديثه، ووثقه

อิหม่ามอะหมัดบินหัมบัล กล่าวว่า หะดีษของเขาช่างดีจริง และยังได้ให้ความน่าเชื่อถือแก่ชะฮ์รุ

قال الترمذى، عن البخارى: شهر حسن الحديث، وقوى أمره،

อัต-ติรมิซี เล่าจากอัลบุคอรีว่า ชะฮ์รุ หะดีษดี เรื่องของเขาแข็งแกร่ง

وقال: إنما تكلم فيه ابن عون

และติรมิซีกล่าวว่า แท้จริงอิบนุอูนพูดวิจารณ์เกี่ยวกับเขาไว้

عن يحيى بن معين: ثقة. وعنه: ثبت

จากยะห์ยา บินมะอีน กล่าวว่า เขาเชื่อถือได้ในการรายงาน และเขามั่นคง

قال يعقوب بن شيبة: ثقة، على أن بعضهم قد طعن فيه.

ยะอ์กูบ บินชัยบะฮฺ กล่าวว่า เขาเชื่อถือได้ในการรายงาน มีบางส่วนที่ตำหนิในตัวชะฮ์รุ


ดูหนังสือ

มะฆอนีลอัคยาร ฟีชัรฮิ ริญาลิ มะอานิลอาษ้าร เล่ม 2 : 36 อันดับที่ 1040

الكتاب : مغانى الأخيار فى شرح أسامى رجال معانى الآثار  ج 2 ص 36 رقم 1040
المؤلف : أبو محمد محمود بن أحمد بن وسى بن أحمد بن حسين الغيتابى الحنفى بدر الدين العينى

อัซซะฮะบีกล่าวว่า :

شهر بن حوشب الأشعري الشاميّ. قرأ القرآن على ابن عباس. وكان عالماً كثير الرواية الحديث.
العبر في خبر من غبر  للذهبي  ج 1 / ص 21

ชะฮ์รุ บินเหาชับ อัลอัชอะรี  ชาวเมืองช่าม เรียนคัมภีร์กุรอ่านกับท่านอิบนุอับบาส และเขาเป็นผู้รู้คนหนึ่ง รายงานหะดีษไว้มากมาย

ดูอัลอิบะรุ ฟีเคาะบะริน มินฆุบัร  เล่ม 1 : 21

อัซ-ซะฮะบีได้ให้บทสรุปเกี่ยวกับการรายงานหะดีษของ " ชะฮ์รุ บินเหาชับ "  ว่า

أ - أقوال الأئمة فيه:
أقوالهم فيه كثيرة، ومتعارضة، فقد وثقه كثير، وضعفه كثير، وبعضهم عَدّ حديثه من مرتبة الحسن، كالإمام البخاري، وقَالَ النَّضْرُ بْنُ شُمَيْلٍ الْمَازِنِيُّ: \\\"...وإنما طعنوا فيه لأنه ولي أمر السلطان\\\" انظر لزاماً سنن الترمذي: 5/58 وانظر ترجمته في الميزان: 2/283، والتهذيب: 4/369-372، والجرح والتعديل: 4/382.

หนึ่ง - ทัศนะของบรรดาอะอิมมะฮ์เกี่ยวกับชะฮ์รุ
นักวิชาการได้วิจารณ์เกี่ยวกับเขาไว้มากมาย และต่างฝ่ายต่างค่อนข้างขัดแย้งกัน  แท้จริงส่วนมากถือว่าเขาเชื่อถือได้ในการรายงาน และส่วนมากถือว่าเขาดออีฟในการรายงาน   และอีกบางส่วนนับว่าเขาอยู่ในระดับฮาซัน(ดี)เช่นอิหม่ามบุคอรี เป็นต้น  และอันนัฎรุ บินชุมัยลิน อัลมาซินีกล่าวว่า และอันที่จริงที่พวกเขาตำหนิเกี่ยวกับชะฮ์รุ เหตุเพราะว่าชะฮ์รุนั้นเป็น วะลียุ อัมร์ของซุลตอน นั่นเอง

ب- حاصل الأقوال فيه:
الحاصل أنه مختلف فيه، والعمل على تحسين حديثه عند علماء الحديث، والله أعلم.

สอง - ผลสรุปของคำวิจารณ์ต่างๆ(ของนักวิชาการ)เกี่ยวกับชะฮ์รุ
ผลคือ (นักวิชาการ)มีความขัดแย้งกับเกี่ยวเขา และให้ดำเนินการไปบนการถือว่า หะดีษของเขานั้น ฮาซัน ตามทัศนะบรรดาอุละมาอ์หะดีษ วัลลอฮุ อะอ์ลัม.

อ้างอิงจากหนังสือ

มันตุกุลลิมะ ฟีฮิ วะฮุวะ มุวัษษัก เอาศอลิฮุลหะดีษ โดยอัซซะฮะบี  เล่ม 1 : 177 อันดับที่ 4

كتاب : مَنْ تُكُلِّمَ فِيْهِ وهو موثق أو صالح الحديث  للذهبي  - (ج 1 / ص 177 رقم 4

หะดีษที่อัลบุคอรีบันทึกรายงานของชะฮ์รุ บินเหาชับไว้ในหนังสืออะดับมุฟร็อด มีดังนี้

عن شهر بن حوشب عن أم الدرداء عن أبى الدرداء قال : أوصانى رسول الله صلى الله عليه و سلم بتسع لا تشرك بالله شيئا وإن قطعت أو حرقت ولا تتركن الصلاة المكتوبة متعمدا ومن تركها متعمدا برئت منه الذمة ولا تشربن الخمر فإنها مفتاح كل شر وأطع والديك وإن أمراك أن تخرج من دنياك فاخرج لهما ولا تنازعن ولاة الأمر وإن رأيت أنك أنت ولا تفرر من الزحف وإن هلكت وفر أصحابك وأنفق من طولك على أهلك ولا ترفع عصاك على أهلك وأخفهم في الله عز و جل
قال الشيخ الألباني : حسن


عن شهر بن حوشب عن أسماء بنت يزيد قالت قال النبي صلى الله عليه و سلم : ألا أخبركم بخياركم قالوا بلى قال الذين إذا رءوا ذكر الله أفلا أخبركم بشراركم قالوا بلى قال المشاءون بالنميمة المفسدون بين الأحبة الباغون البرآء العنت
قال الشيخ الألباني : حسن

ดูหนังสือ

อะดับมุฟร็อด الأدب المفرد หะดีษที่ 18 , 323

ท่านมุสลิม ได้บันทึกรายงานของชะฮ์รุ บินเหาชับไว้ในหนังสือเศาะหิ๊หฺมุสลิม หะดีษที่ 5469

حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ شَبِيبٍ قَالَ سَمِعْتُهُ مِنْ شَهْرِ بْنِ حَوْشَبٍ فَسَأَلْتُهُ فَقَالَ سَمِعْتُهُ مِنْ عَبْدِ الْمَلِكِ بْنِ عُمَيْرٍ قَالَ فَلَقِيتُ عَبْدَ الْمَلِكِ فَحَدَّثَنِى عَنْ عَمْرِو بْنِ حُرَيْثٍ عَنْ سَعِيدِ بْنِ زَيْدٍ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ -

เชคอัลบานีกล่าวว่า หะดีษนี้  เศาะหิ๊หฺ

حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ بَشَّارٍ حَدَّثَنَا أَبُو عَبْدِ الصَّمَدِ حَدَّثَنَا مَطَرٌ الْوَرَّاقُ عَنْ شَهْرِ بْنِ حَوْشَبٍ عَنْ أَبِى هُرَيْرَةَ قَالَ كُنَّا نَتَحَدَّثُ عِنْدَ رَسُولِ اللَّه
ِ
ดูเศาะหิ๊หฺ อิบนิมาญะฮฺ  หะดีษที่ 2783

 
สรุปสั้นๆว่า  การรายงานหะดีษของ ชะฮ์รุ บินเหาชับ เชื่อถือได้
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 19, 2009, 05:49:44 หลังเที่ยง

3. มะฏ็อร บินเฏาะฮ์มาน อัลวัรรอก เป็นตาบิอี มรณะฮ.ศ. 129 →


อัซ-ซะฮะบีได้ให้บทสรุปเกี่ยวกับการรายงานหะดีษของ " มะฏ็อร อัลวัรรอก "  ว่า

مَطَرُ الْوَرَّاقُ : صَدُوْق  مَشْهُوْر، ضَعُفَ فِي عَطاَء.

มะฏ็อร อัลวัรรอก นั้น เศาะดู๊ก คือเชื่อถือได้  มัชฮูร คือมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกัน  เขา"ดออีฟ "ในรายงานที่มาจากอะฏออ์

مَطَرُ بْنُ طَهْمَانَ الْوَرَّاقُ أَبُو رَجَاءَ الْخُرَسَانِيُّ ، سكن البصرة، قيل توفى سنة 129هـ،

มะฏ็อร บินเฎาะฮ์มาน อบูเราะญาอ์ อัลคูรอซานี  อาศัยอยู่ที่เมืองบัศเราะฮ์  มรณะฮ.ศ. 129

أ - أقوال الأئمة فيه:
قال بعض الأئمة: \\\"لا بأس به\\\"، وقال بعضهم: \\\"صالح\\\"، وقال بعضهم: \\\"صدوق\\\"، وضعفوه في عطاء خاصة.

หนึ่ง – ทัศนะของบรรดาอะอิมมะฮ์เกี่ยวกับมะฏ็อร
อะอิมมะฮ์(นักวิชาการ) บางส่วนกล่าวว่า  ไม่เป็นไรในการรายงานของเขา  และนักวิชาการบางส่วนกล่าวว่า  ศอและห์ คือการรายงานของเขาดี  และอีกบางส่วนกล่าวว่า  ศอดู๊ก คือเชื่อถือได้ และพวกเขาได้ถือว่ารายงานของมะฏ็อรที่มาจากอะฏออ์ " ดออีฟ " โดยเฉพาะ

ب- الحاصل: الحاصل أنه حسن الحديث، وأنه ضعيف في عطاء.

สอง - ผลสรุปของคำวิจารณ์ต่างๆ(ของนักวิชาการ)เกี่ยวกับมะฏ็อร
แท้จริงเขา(มะฏ็อร)  หุสนุลหะดีษ คือมีสถานะรายงานหะดีษ ดี และเขาดออีฟในรายงานของอะฏออ์

อ้างอิงจากหนังสือ
 
มันตุกุลลิมะ ฟีฮิ วะฮุวะ มุวัษษัก เอาศอลิฮุลหะดีษ โดยอัซซะฮะบี  เล่ม 1 : 332 อันดับที่ 329
كتاب : من تكلم فيه وهو موثق أو صالح الحديث   ج 1 / ص 332  رقم 329


รายงานมะฏ็อรในเศาะหิ๊หฺบุคอรี หะดีษที่ 54

باب قَوْلِ اللَّهِ تَعَالَى ( وَلَقَدْ يَسَّرْنَا الْقُرْآنَ لِلذِّكْرِ ) . ( 54 ) وَقَالَ النَّبِىُّ - صلى الله عليه وسلم - « كُلٌّ مُيَسَّرٌ لِمَا خُلِقَ لَهُ » . يُقَالُ مُيَسَّرٌ مُهَيَّأٌ . وَقَالَ مَطَرٌ الْوَرَّاقُ ( وَلَقَدْ يَسَّرْنَا الْقُرْآنَ لِلذِّكْرِ فَهَلْ مِنْ مُدَّكِرٍ ) قَالَ هَلْ مِنْ طَالِبِ عِلْمٍ فَيُعَانَ عَلَيْهِ

รายงานมะฏ็อรในเศาะหิ๊หฺมุสลิม เรียงลำดับเลขที่หะดีษดังนี้  103, 3997, 3998, 4357

عَنْ مَطَرٍ الْوَرَّاقِ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ بُرَيْدَةَ عَنْ يَحْيَى بْنِ يَعْمَرَ قَالَ لَمَّا تَكَلَّمَ مَعْبَدٌ بِمَا تَكَلَّمَ بِهِ فِى شَأْنِ الْقَدَرِ أَنْكَرْنَا ذَلِكَ.

عَنْ مَطَرٍ الْوَرَّاقِ عَنْ عَطَاءٍ عَنْ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ

حَدَّثَنَا مَطَرٌ الْوَرَّاقُ عَنْ عَطَاءٍ عَنْ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ

حَدَّثَنَا مَطَرٌ الْوَرَّاقُ حَدَّثَنَا زَهْدَمٌ الْجَرْمِىُّ قَالَ دَخَلْتُ عَلَى أَبِى مُوسَى وَهُوَ يَأْكُلُ لَحْمَ دَجَاجٍ وَسَاقَ الْحَدِيثَ بِنَحْوِ حَدِيثِهِمْ وَزَادَ فِيهِ قَالَ « إِنِّى وَاللَّهِ مَا نَسِيتُهَا ».

ข้อสังเกต :
ในขณะที่อัซซะฮะบีกล่าวว่า นักวิชาการถือรายงานของมะฏ็อรที่มาจากอะฏออ์นั้น " ดออีฟ "  แต่ท่ามุสลิมกลับยอมรับว่า " เศาะหิ๊หฺ  " ดังที่ท่านได้เห็นข้างต้น

รายงานมะฏ็อรในสุนันอบีดาวูด หะดีษที่ 2192

حَدَّثَنَا مَطَرٌ الْوَرَّاقُ عَنْ عَمْرِو بْنِ شُعَيْبٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ جَدِّهِ أَنَّ النَّبِىَّ -صلى الله عليه
قال الألباني : حسن

รายงานมะฏ็อรในเศาะหิ๊หฺอิบนิมาญะฮฺ หะดีษที่ 1878

عَنْ حُسَيْنٍ الْمُعَلِّمِ عَنْ مَطَرٍ الْوَرَّاقِ عَنْ نَافِعٍ عَنِ ابْنِ عُمَرَ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ

หะดีษที่ 1958

عَنْ حُسَيْنٍ الْمُعَلِّمِ عَنْ مَطَرٍ الْوَرَّاقِ عَنْ نَافِعٍ عَنِ ابْنِ عُمَرَ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ


สรุปสั้นๆว่า  การรายงานหะดีษของ มะฏ็อร อัลวัรรอก เชื่อถือได้
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 19, 2009, 05:52:53 หลังเที่ยง


4. อับดุลลอฮฺ บินเชาซับ (เกิดฮ.ศ.86-156) →


ถือว่าเพียงพอแล้วที่ มุหัดดิษอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ ดังต่อไปนี้ได้บันทึหะดีษของอิบนิเชาซับไว้ในตำราของพวกเขา

1.   บุคอรี
2.   อบูดาวูด
3.   ติรมิซี
4.   นะซาอี
5.   อิบนิมาญะฮฺ
ยกเว้น " มุสลิม " เท่านั้น

และที่สำคัญเชคมุฮัมมัด นาศิรุดดีนอัลบานี ได้ให้การรับรองของหะดีษของ อิบนิเชาซับ ว่าอยุ่ในระดับ ฮาซัน เศาะหิ๊หฺ  ไว้ดังนี้
 
อัลบุคอรี รายงานหะดีษของอิบนิเชาซับไว้ในหนังสืออะดับมุฟร็อด หะดีษที่ 346

عن بن شوذب قال سمعت مالك بن دينار يحدث عن أبى غالب عن أم الدرداء قالت : زارنا سلمان من المدائن إلى الشام ماشيا وعليه كساء واندرورد قال يعنى سراويل مشمرة قال بن شوذب رؤى سلمان وعليه كساء مطموم الرأس ساقط الأذنين يعنى أنه كان أرفش فقيل له شوهت نفسك قال ان الخير خير الآخرة
قال الشيخ الألباني : حسن

เชคอัลบานีกล่าวว่า  เป็นหะดีษ  ฮาซัน

รายงานหะดีษของอิบนิเชาซับ ในสุนันอบีดาวูด หะดีษที่ 2714

عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ شَوْذَبٍ قَالَ حَدَّثَنِى عَامِرٌ - يَعْنِى ابْنَ عَبْدِ الْوَاحِدِ - عَنِ ابْنِ بُرَيْدَةَ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ عَمْرٍو قَالَ كَانَ رَسُولُ اللَّهِ    قال الألباني : حسن

เชคอัลบานีกล่าวว่า  เป็นหะดีษ  ฮาซัน

รายงานหะดีษของอิบนิเชาซับ ในสุนันติรมิซี หะดีษที่ 4066

حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ إِسْمَاعِيلَ حَدَّثَنَا الْحَسَنُ بْنُ وَاقِعٍ الرَّمْلِىُّ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ
عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ شَوْذَبٍ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ الْقَاسِمِ عَنْ كَثِيرٍ مَوْلَى عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ سَمُرَةَ عَنْ عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ سَمُرَةَ قَالَ جَاءَ عُثْمَانُ إِلَى النَّبِىِّ
قَالَ أَبُو عِيسَى هَذَا حَدِيثٌ حَسَنٌ غَرِيبٌ مِنْ هَذَا الْوَجْهِ.

รายงานหะดีษของอิบนิเชาซับ ในซอฮีฮุวะดออีฟ สุนันนะซาอี หะดีษที่ 3877

أَخْبَرَنَا عِيسَى بْنُ مُحَمَّدٍ - وَهُوَ أَبُو عُمَيْرِ بْنُ النَّحَّاسِ - وَعِيسَى بْنُ يُونُسَ - هُوَ الْفَاخُورِىُّ - قَالاَ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ عَنِ ابْنِ شَوْذَبٍ عَنْ مَطَرٍ عَنْ عَطَاءٍ عَنْ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ قَالَ خَطَبَنَا رَسُولُ اللَّهِ
قال الألباني : صحيح

เชคอัลบานีกล่าวว่า  เป็นหะดีษ  เศาะหิ๊หฺ

หะดีษที่ 4730

أَخْبَرَنَا عِيسَى بْنُ يُونُسَ قَالَ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ شَوْذَبٍ عَنْ ثَابِتٍ الْبُنَانِىِّ عَنْ أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ أَنَّ رَجُلاً أَتَى بِقَاتِلِ وَلِيِّهِ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- فَقَالَ النَّبِىُّ
قال الألباني : صحيح الإسناد

เชคอัลบานีกล่าวว่า  เป็นหะดีษที่มีสะนัด เศาะหิ๊หฺ

รายงานหะดีษของอิบนิเชาซับ ในเศาะหิ๊หฺอิบนิมาญะฮฺ หะดีษที่ 1987

حَدَّثَنَا عَمْرُو بْنُ عُثْمَانَ بْنِ سَعِيدِ بْنِ كَثِيرِ بْنِ دِينَارٍ الْحِمْصِىُّ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ عَنِ ابْنِ شَوْذَبٍ عَنْ مَطَرٍ عَنْ عَطَاءٍ عَنْ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ قَالَ خَطَبَنَا رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- فَقَالَ « مَنْ كَانَتْ لَهُ أَرْضٌ فَلْيَزْرَعْهَا أَوْ لِيُزْرِعْهَا وَلاَ يُؤَاجِرْهَا ».

เชคอัลบานีกล่าวว่า  เป็นหะดีษ  เศาะหิ๊หฺ

หะดีษที่ 2179

حَدَّثَنَا أَبُو عُمَيْرٍ عِيسَى بْنُ مُحَمَّدٍ النَّحَّاسُ وَعِيسَى بْنُ يُونُسَ وَالْحُسَيْنُ بْنُ أَبِى السَّرِىِّ الْعَسْقَلاَنِىُّ قَالُوا حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ عَنِ ابْنِ شَوْذَبٍ عَنْ ثَابِتٍ الْبُنَانِىِّ عَنْ أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ قَالَ أَتَى رَجُلٌ بِقَاتِلِ وَلِيِّهِ إِلَى رَسُولِ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- فَقَالَ النَّبِىُّ

เชคอัลบานีกล่าวว่า  เป็นหะดีษ  เศาะหิ๊หฺ

หะดีษที่ 3460

حَدَّثَنَا عِيسَى بْنُ مُحَمَّدِ بْنِ النَّحَّاسِ الرَّمْلِىُّ وَأَيُّوبُ بْنُ مُحَمَّدٍ الرَّقِّىُّ قَالاَ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ عَنِ ابْنِ شَوْذَبٍ عَنْ بَهْزِ بْنِ حَكِيمٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ جَدِّهِ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ

เชคอัลบานีกล่าวว่า  เป็นหะดีษ  ฮาซัน


อิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานี บันทึกคำวิจารณ์ถึงอิบนิเชาซับ ไว้ว่า

อับดุลลอฮฺ บินเชาซับ อัลคูรอซานี  อบูอับดุลเราะหฺมาน อัลบัลคี อาศัยอยู่ที่เมืองบัศเราะฮ์ ต่อจากนั้นไปที่บัยตุลมักดิส

รายงานหะดีษจาก  :
ษาบิต อัลบะนานี, ฮาซันอัลบัศรี่, อิบนิซีรีน, บะฮ์ซุ บินหะกีม, สะอีดบินอบีอะรูบะฮฺ,อามิรบินอับดุลวาฮิด,อับดุลลอฮฺบินอัลกอสิม,มาลิกบินดีนาร,มุฮัมมัด บินญุหาดะฮฺ และมะฏ็อร อัลวัรรอก คนอื่นๆ

ผู้ที่รายงานหะดีษจากเขา  :
เฎาะมะเราะฮฺ บินเราะบีอะฮ์, อบูอิสฮ๊ากอัลฟะรอซี, อิบนุมุบารอก,อีซา บินยูนุส,มุฮัมมัดบินกะษีรอัลมะศีศี และคนอื่นๆ


عن أحمد ابن شوذب كان من الثقات

อิหม่ามอะหมัด กล่าวว่า อิบนิเชาซับ คือนักรายงานที่เชื่อถือได้คนหนึ่ง

وقال سفيان كان بن شوذب من ثقات مشائخنا

สุฟยาน กล่าวว่า อิบนิเชาซับ คือนักรายงานที่เชื่อถือได้จากบรรดาอาจารยืคนหนึ่งของเรา
 
قال بن معين وابن عمار والنسائي ثقة

อิบนุมะอีน ,อิบนุอัมมารและอันนะซาอี กล่าวว่า  เขาเชื่อถือได้ในการรายงาน

قال أبو حاتم لا بأس به

อบูหาติม กล่าวว่า (การายงานของ)เขาไม่เป็นไร
 
وذكره بن حبان في الثقات

อิบนิหิบบานกล่าวถึงเขาไว้ในหนังสืออัษษิกอต

ووثقه العجلي أيضا

และอัลอิจญ์ลี ให้ความเชื่อถือต่อเขาเช่นกัน

ดูตะฮ์ซีบุต-ตะฮ์ซีบ อันดับที่ 448

تهذيب التهذيب   ج 5 / ص 225 رقم 448


สรุปความว่า  การรายงานหะดีษของ  อับดุลลอฮฺ บินเชาซับ  เชื่อถือได้
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 19, 2009, 05:55:43 หลังเที่ยง

5. ฏ็อมเราะฮฺ บินเราะบีอะฮฺ  มรณะฮฺ.ศ. 182 →


อัซ-ซะฮะบีกล่าวว่า

ضمرة بن ربيعة الرملي  مشهور ما فيه مغمز.
وَثَّقَهُ أحمدُ، ويحيى بن معين.
وقال أبو حاتم: صاَلِحُ الحديث.
ميزان الاعتدال ج 2 / ص 330 رقم 3959

ฏ็อมเราะฮฺ บินเราะบีอะฮ์ อัลรอมลี  นั้นมัชฮูร คือเป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดังอันเป็นที่รู้จักดี  ในตัวเขาไม่มีข้อตำหนิใด

อิหม่ามอะหมัด และยะห์ยา บินมะอีน ถือว่า เขาเชื่อถือได้ในการรายงาน

อบูหาติมกล่าวว่า   เขา  ศอและห์ในหะดีษ( คือ หะดีษดี)

ดูมีซานุลอิ๊อฺติดาล อันดับที่ 3959


อิบนุหะญัรกล่าวว่า(البخاري في الادب المفرد والاربعة) ضمرة بن ربيعة الفلسطيني أبو عبد الله الرملي.

อัลบุคอรีได้รายงานหะดีษของเขา (ฏ็อมเราะฮฺ)ไว้ในหนังสืออะดับมุฟร็อด  และทั้งสี่(คืออบูดาวูด, ติรมีซี,นะซาอีและอิบนิมาญาญะฮฺ รายงานหะดีษเขาไว้ในตำราสุนันของพวกเขา)

เขารายงานหะดีษจาก :
อิบรอฮีม อิบนิอบีอับละฮฺ, อัลเอาซาอี, บิล้าล บินกะอับ, อัสสะรี บินยะห์ยา อัชชัยบานี, อัษเษารี,ชุร็อยหุ บินอุบัยดิน, ยะห์ยา บินอบีอัมรู อัชชัยบานี, อับดุลลอฮฺ บินเชาซับ, อุษมาน บินอะฏออ์ อัลคูรอซานี, อิสมาอีล บินอัยย๊าช และคนอื่นๆ

قال عبدالله ابن أحمد عن أبيه رجل صالح صالح الحديث من الثقات المأمونين لم يكن بالشام رجل يشبهه وهو أحب إلينا من بقية

อับดุลลอฮฺ บุตรอิหม่ามอะหมัด เล่าจากบิดาเขา กล่าวว่า  (ฎ็อมเราะฮฺ)เป็นคนดี และหะดีษดี เป็นหนึ่งจากนักรายงานที่เขื่อถือได้ มีความปลอดภัย ไม่เคยมีคนใดในเมืองช่ามเหมือนกับเขาเลย และเขาเป็นที่รักยิ่งของเรามากกว่าคนที่เหลือ

قال ابن معين والنسائي ثقة

อิบนิมะอีนและอันนะซาอี กล่าวว่า  เขาเชื่อถือได้

قال ابن سعد كان ثقة مأمونا خيرا لم يكن هناك أفضل منه

อิบนุสะอัดกล่าวว่า  เขาเชื่อถือได้ ปลอดภัย เป็นคนดี ไม่มีใครที่นั่นจะดีไปกว่าเขาอีกแล้ว
 
قلت: وذكره ابن حبان في الثقات

ฉัน(อิบนุหะญัร)กล่าวว่า
อิบนิหิบบานได้กล่าวถึงเขา (ว่าเชื่อถือได้ดูอัษ-ษิกอต  เล่ม 8 : 324อันดับที่ 13687)

قال العجلي ثقة

อัลอิจญ์ลี กล่าวว่า เขา(ฎ็อมเราะฮฺ) เชื่อถือได้ ( ดูอัษ-ษิกอต อัลอิจญ์ลี  อันดับที่ 782 )

ดูตะฮ์ซีบุต-ตะฮ์ซีบ  อันดับที่ 804
تهذيب التهذيب  ج 4 / ص 403 رقم 804


เชคอัลบานี
ให้การรับรองหะดีษของฎ็อมเราะฮ์บางบทว่า ฮาซันและซอฮิ๊ฮฺ ไว้ในหนังสือของเขาดังนี้

حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ إِسْمَاعِيلَ حَدَّثَنَا الْحَسَنُ بْنُ وَاقِعٍ الرَّمْلِىُّ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ شَوْذَبٍ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ الْقَاسِمِ عَنْ كَثِيرٍ مَوْلَى عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ سَمُرَةَ عَنْ عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ سَمُرَةَ قَالَ جَاءَ عُثْمَانُ إِلَى النَّبِىِّ -صلى الله عليه وسلم- بِأَلْفِ دِينَارٍ
تحقيق الألباني : حسن

ซอฮีฮุวะดออีฟสุนันติรมิซี หะดีษที่ 3701

เศาะหิ๊หฺอิบนิมาญะฮฺ  ดูหะดีษที่ 1987,2179,2601,3460,


สรุป  ฏ็อมเราะฮฺ บินเราะบีอะฮ์ เชื่อถือได้ในการรายงาน
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 19, 2009, 06:04:23 หลังเที่ยง

6. อะลี  บินสะอีด อัลร็อมลี →

ชื่อเต็มของเขาคือ  อะลี บินสะอีด บินกุตัยบะฮฺ อัลรอมลี

عَلِىُّ بْنُ سَعِيدِ بْنِ قُتَيْبَةَ الرَّمْلِىُّ

อัซ-ซะฮะบี กล่าวว่า

عَلِيُّ بْنَ سَعِيْدِ الرَّمْلِيّ   : عن ضمرة بن ربيعة.  يثبت في أمره، كأنه صدوق.
ميزان الاعتدال  ج 3 / ص 131 رقم 5851

อะลี บินสะอีด อัลรอมลี   รายงานหะดีษจาก ฎ็อมเราะฮฺ บินเราะบีอะฮฺ  มีความมั่นคงในเรื่องของเขา เหมือนกับว่าเขา(อยู่ในระดับ)  เศาะดู๊ก คือเชื่อถือได้

ดูมีซานุลอิ๊อฺติดาล  อันดับที่ 5851    

อิบนุหะญัร กล่าวว่า

علي بن سعيد الرملي عن ضمرة بن ربيعة يثبت في أمره كأنه صدوق انتهى
لسان الميزان ج 4 / ص 232 رقم 616

อะลี บินสะอีด อัลรอมลี   รายงานหะดีษจาก ฎ็อมเราะฮฺ บินเราะบีอะฮฺ  มีความมั่นคงในเรื่องของเขา เหมือนกับว่าเขา(อยู่ในระดับ) ที่เชื่อถือได้ จบ.

ดูลิซานุลมีซาน อันดับที่ 616

หะดีษที่อะลี บินสะอีดรายงานจากฏ็อมเราะฮฺเช่น

حَدَّثَنَا عَلِىُّ بْنُ سَعِيدِ بْنِ قُتَيْبَةَ الرَّمْلِىُّ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ عَنِ ابْنِ عَطَاءٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ عَمْرِو بْنِ شُعَيْبٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ جَدِّهِ أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- قَالَ :

ดูสุนันบัยฮะกี หะดีษที่ 15691

حَدَّثَنَا عَلِىُّ بْنُ سَعِيدِ بْنِ قُتَيْبَةَ الرَّمْلِىُّ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ عَنِ ابْنِ عَطَاءٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ عَمْرِو بْنِ شُعَيْبٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ جَدِّهِ أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- قَالَ

ดูสุนันดารุกุฏนี หะดีษที่ 3384


ثنا علي بن سعيد بن قتيبة النسائي ، ثنا ضمرة بن ربيعة ، عن العلاء بن هارون ، عن ابن عون ، عن حفصة بنت سيرين ، عن الرباب عن سلمان بن عامر ، أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال : « صدقتك على المسكين صدقة ، وصدقتك على ذي رحمك ثنتان ، صدقة ، وصلة »
معجم ابن المقرئ ج 1 / ص 472

ดูมุอ์ญัม อิบนิมุกริอฺ หะดีษที่ 470


เมื่อไม่มีอุละมาอ์ซุนนี่ที่เชี่ยวชาญด้านอิลมุลริญาลวัดดิรอยะฮฺคนใดได้วิจารณ์ถึงอะลี บินสะอีดในทางลบ

และผนวกกับท่านซะฮะบีกับท่านอิบนุหะญัรอัลอัสเกาะลานีได้ให้คำยกย่องถึงเขาไว้

นั่นย่อมแสดงว่าอะลี บินสะอีดอยู่ในสถานะที่ดี เชื่อถือได้ในการรายงาน ถึงแม้ว่าท่านบุคอรี,มุสลิม,อบูดาวูด,ติรมิซี,นะซาอีและอิบนิมาญะฮฺจะไม่ได้รายงานหะดีษของอะลีบินสะอีดไว้ก็ตาม แต่เขาก็ได้รับคำชมเชยว่า เศาะดู๊ก (เชื่อถือได้) และไม่มีนักวิชาการคนใดได้ตำหนิเขาไว้

เพราะฉะนั้น
เราจะจัดระดับการรายงานหะดีษของอะลีบินสะอีดว่า อยู่ในหมู่บรรดานักรายงานหะดีษดออีฟ ได้อย่างไร ?

นั่นคือเหตุผลที่แสดงว่า  อะลี บินสะอีด อัลรอมลี  เชื่อถือได้ในการรายงานหะดีษ.  
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 19, 2009, 06:07:44 หลังเที่ยง

7. อบูนัศรฺ  หับชูน บินมูซา บินอัยยูบ อัลค็อลล้าล (ฮ.ศ.234-331) →


أَبُوْ نَصْرٍ حَبْشُونُ بْنُ مُوسَى بْنُ أَيُّوْبَ الْخَلاَّلُ

อัซ-ซะฮะบี กล่าวว่า

حبشون ابن موسى بن أيوب الشيخ، أبو نصر البغدادي الخلال
سمع من: الحسن بن عرفة، وعلي بن إشكاب، وعلي بن سعيد
الرملي، وحنبل بن إسحاق وغيرهم.
حدث عنه: أبو بكر بن شاذان، وعمر بن شاهين، وأبو الحسن الدارقطني، وأحمد بن الفرج بن الحجاج، وابن جميع الصيداوي، وآخرون.
وكان أحد الثقات .
توفي في شعبان سنة إحدى وثلاثين وثلاث مئة. وله سبع وتسعون سنة.
سير أعلام النبلاء للذهبي  ج 15 / ص 316  رقم 155

หับชูน อิบนิมูซา บินอัยยูบ อัช-ชัยคฺ  อบูนัศริน อัลบัฆดาดี อัลค็อลล้าล

เขารายงานหะดีษจาก  :  
อัลฮาซัน บินอะเราะฟะฮฺ, อะลี บินอิชกาบ, อะลี บินสะอีด อัลรอมลี, หันบัล บินอิสฮ๊าก และคนอื่นๆ

ผู้ที่รายงานหะดีษจากเขาคือ  :  
อบูบักร บินชาซาน, อุมัร บินชาฮัยนฺ , อบุลฮาซัน อัดดาร่อกุฏนี , อะหมัด บินอัลฟะร็อจญ์ บินอัลหัจญ๊าจญ์, อิบนุญะมี๊อฺ อัศ-ศ็อยดาวี และคนอื่นๆ

เขาเป็นบุคคลหนึ่งที่เชื่อถือได้ในการรายงาน
มรณะในเดือนชะอ์บาน  ปีฮ.ศ. 331  รวมอายุได้ 97 ปี

ดู สิยัร อะอ์ลามุน-นุบะลาอ์ อันดับที่ 155


อัด-ดารุกุฎนีกล่าวว่า

حبشون بن موسى بن أيوب الخلال صدوق كتبنا عنه عن علي بن سعيد بن قتيبة الرملي والحسن بن عرفة وعبد الله بن أيوب المخرمي وحنبل بن إسحاق وغيرهم .
كتاب : الْمُؤْتَلِف وَالْمُخْتَلِف للدارقطني ج 2 / ص 92

หับชูน อิบนิมูซา บินอัยยูบ อัลค็อลล้าลนั้น  เศาะดู๊ก คือเชื่อถือได้  
เราได้บันทึกรายงานหะดีษของเขาที่มาจากทางอะลี บินสะอีด บินกุตัยบะฮฺ อัลรอมลี... และคนอื่นๆ

อ้างอิงจาก หนังสืออัลมุอ์ตะลิฟ วัลมุคตะลิฟ  เล่ม 2 : 92


อัลเคาะฏีบ อัลบัฆดาดีกล่าวว่า

حبشون بن موسى بن أيوب أبو نصر الخلال
 
หับชูน อิบนิมูซา บินอัยยูบ อบูนัศริน อัลค็อลล้าล
 
سمع علي بن سعيد بن قتيبة الرملي والحسن بن عرفة العبدي وعلي بن عمرو الأنصاري وعلي بن الحسين بن أشكاب وعبد الله بن أيوب المخرمي وسليمان بن توبة النهرواني وحنبل بن إسحاق الشيباني

เขารายงานหะดีษจาก : อะลี บินสะอีด บินกุตัยบะฮฺ อัลรอมลี และ...

روى عنه أبو بكر بن شاذان وأبو الحسن الدارقطني وأبو حفص بن شاهين وأحمد بن الفرج بن الحجاج وأبو القاسم بن الثلاج وغيرهم

 ผู้ที่รายงานหะดีษจากเขาคือ :  อบูบักร บินชาซาน , อบุลฮาซัน อัด-ดาร่อกุฏนี...

وكان ثقة يسكن باب البصرة

 เขาเป็นผู้ที่เชื่อถือได้ (ในการรายงาน) อาศัยอยู่ที่ประตูเมืองบัศเราะฮฺ

أنبأنا الأزهري أنبأنا علي بن عمر الحافظ قال حبشون بن موسى بن أيوب الخلال صدوق

อัลอัซฮะรีเล่าให้เราฟัง อะลี บินอุมัร อัลฮาฟิซเล่าให้เราฟังว่า  หับชูน บินมูซา บินอัยยูบอัลค็อลล้าล นั้น เศาะดู๊ก เชื่อถือได้

ดูหนังสือ  ตารีคแบกแดด โดยอัลคอเตบ อัลบัฆดาดี  เล่ม 8 : 289 อันดับที่ 4392
تاريخ بغداد  المؤلف : أحمد بن علي أبو بكر الخطيب البغدادي ج 8 / ص 289 رقم 4392


สรุป

นักวิชาการสามท่านดังต่อไปนี้คือ ท่านซะฮะบี ท่านอัด-ดาร่อกุฏนีและท่านคอเตบอัลบัฆดาดี ได้กล่าวว่า
อบูนัศรฺ  หับชูน บินมูซา บินอัยยูบ อัลค็อลล้าล  นั้นษิเกาะฮ์  เศาะดู๊ก คือมีความเชื่อถือได้ในการรายงาน
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 19, 2009, 06:10:16 หลังเที่ยง

8. อะลี บินอุมัร อัด-ดาร่อกุฏนี สังกัดมัซฮับชาฟิอี ( ฮ.ศ. 306 - 385) →


عَلِيُّ بْنُ عُمَرَ الدَّارُ قُطْنِيّ

เจ้าของหนังสือหะดีษชื่อ " สุนัน ดาเราะกุฏนี - سنن الدارقطنى "

ชื่อเต็มคือ :

أَبُو الْحَسَنِ أَبُو الْحَسَنِ عَلِىُّ بْنُ عُمَرَ بْنِ أَحْمَدَ بْنِ مَهْدِىٍّ بن مسعود بن النعمان بن دينار البغدادي

อบุลฮาซัน อะลี บินอุมัร บินอะหมัด บินมะฮ์ดี บินมัสอู๊ด บินอัน-นุอ์มาน บินดีน้าร อัลบัฆดาดี

เกิดที่ ดารุลกุฏนิ ย่านหนึ่งของเมืองแบกแดด  ด้วยเหตุนี้จึงมีฉายาว่า " อัด-ดาเราะ กุฏนี "

ชีวประวัติของ อัด- ดาเราะกุฏนี ได้รับการยกย่องชมเชยไว้อย่างสูงส่งจากตำราต่อไปนี้

1.   สิยัร อะอ์ลามุน-นุบะลาอ์ ของซะฮะบี  เล่ม 16 : 449 อันดับที่ 332
2.   ตัซกิเราะตุลฮุฟฟาซ ของอิบนิหะญัร เล่ม 3 : 186
3.   วะฟะยาตุล อะอ์ยาน ของอิบนิค็อลกาน เล่ม 2 : 459
4.   ตารีคบัฆด๊าด ของอัลคอฏีบบัฆดาดี  เล่ม 12 : 34
5.   อัลบิดายะฮ์ วันนิฮายะฮ์ ของอิบนิกะษีร เล่ม 11 : 317

อิบนุกะษีร (เจ้าของตัฟสีรอิบนิกะษีร ) กล่าวว่า
 
علي بن عمر بن أحمد بن مهدي بن مسعود بن دينار بن عبدالله

อะลี บินอุมัร บินอะหมัด บินมะฮ์ดี บินมัสอู๊ด บินดีน้าร บินอับดุลลอฮฺ
 
الحافظ الكبير أستاذ هذه الصناعة وقبله بمدة وبعده إلى زماننا هذا سمع الكثير وجمع وصنف وألف وأجاد وأفاد وأحسن النظر والتعليل والانتقاد والاعتقاد

คือนักท่องจำกุรอ่านผู้ยิ่งใหญ่ คือปรมาจารย์แห่งศาสตร์นี้ในช่วงเวลาทั้งก่อนหน้าเขาและหลังจากเขา จนถึงยุคของพวกเรา
เขาได้ฟัง(หะดีษ)มาจากมุหัดดิษมากมาย  ได้ทำการรวบรวมไว้และเรียบเรียง(เป็นตำรา) และได้ทำไว้ไว้อย่างดี ได้ให้ประโยชน์(แก่ผู้อื่น)  และเขายังมีความเยี่ยมยอดต่อการให้ทัศนะ  ให้คำอธิบาย ให้คำวิพากษ์วิจารณ์และเรื่องอิ๊อฺติกอด  

وكان فريد عصره ونسيج وحده وإمام دهره في أسماء الرجال وصناعة التعليل والجرح والتعديل
وحسن التصنيف والتأليف واتساع الرواية والاطلاع التام في الدراية له كتابه المشهور من أحسن المصنفات في بابه

เขายอดเยี่ยมที่สุดใน ยุคของเขา มีเพียงคนเดียวที่เขียนเป็นเรื่องเป็นราว  เป็นอิหม่ามแห่งยุคนั้นในศาสตร์เกี่ยวกับรายชื่อนักรายงานหะดีษ  การให้คำอธิบายถึงอิลละฮ์ต่างๆเกี่ยวหะดีษ  วิชาญะเราะห์วัตตะอ์ดีล   แต่งและเรียงเรียงตำรับตำราดี  มีความรู้อย่างกว้างขวางเรื่องริวายะฮ์ และรอบรู้อย่างมบูรณ์แบบในวิชาดิรอยะฮ์   ซึ่งหนังสือของเขามีชื่อเสียงที่สุดในประเด็นนี้

لم يسبق إلى مثله و لا يلحق في شكله إلا من استمد من بحره وعمل كعمله وله كتاب العلل بين فيه الصواب من الدخل والمتصل من المرسل والمنقطع والمعضل وكتاب الافراد الذي لا يفهمه فضلا عن أن ينظمه إلا من هو من الحفاظ الأفراد والأئمة النقاد والجهابدة الجياد

ไม่มีใครเหมือนเขามาก่อน และมีใครตามติดมาในแบบเขาด้วย ยกเว้นผู้ที่ได้รับมาจากความรู้ของเขา และได้ทำเช่นการกระทำของเขา   สำหรับเขามีหนังสือ(ดังต่อไปนี้)  กิตาบ อิลัล, กิตาบ อิฟรอด ที่ไม่มีใครค่อยเข้าใจมัน อย่าว่าแต่จะทำการเรียบเรียงมันใหม่เลย  นอกจาก บุคคลที่เป็นหนึ่งจากนักท่องจำ และเป็นผู้นำแห่งการวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งถือได้ว่าสุดยอดจริงๆ  

وكان من صغره موصوفا بالحفظ الباهر والفهم الثاقب

ตอนเขายังเด็กนั้นมีคุณสมบัติต่อเรื่องความจำเป็นเลิศ  และมีความเข้าใจอันแหลมคม

وقال ابن الجوزي وقد اجتمع له مع معرفة الحديث والعلم بالقراءات والنحو والفقه والشعر مع الإمامة والعدالة وصحة العقيدة
البداية والنهاية ج 11 / ص 317

อิบนุลเญาซีกล่าวว่า  สำหรับตัวเขานั้นได้รวบรวมไว้ด้วยวิชาหะดีษ   วิชาว่าด้วยเรื่องการอ่านกุรอ่านในกิระอะฮ์ต่างๆ  วิชานะฮู  ฟิกฮฺ  บทกวี พร้อมทั้งเป็นอิหม่าม มีอะดาละฮฺ และมีอะกีดะฮ์ที่ถูกต้อง
 
อ้างอิงจากหนังสือ
อันบิดายะฮ์ วันนิฮาบะฮ์ ของอิบนิกะษีร เล่ม 11 : 317

อัซ-ซะฮะบี กล่าวว่า
 
الدَّارَقُطْنِيُّ الإِمَامُ الْحَافِظُ المجود، شيخ الاسلام، علم الجهابذة، أَبُو الْحَسَنِ ، عَلِىُّ بْنُ عُمَرَ بْنِ أَحْمَدَ بْنِ مَهْدِىٍّ بْنُ مَسْعُودٍ بْنُ النُّعْمَانِ بْنُ دِينَارٍ بْنُ عَبْدِ اللَّهِ البغدادي المقرئ المحدث،

อัด-ดาเราะกุฏนี  (เขาเป็นทั้ง) อิหม่าม  นักท่องจำอัลกุรอ่าน  นักตัจญ์วีด  ชัยคุลอิสลาม  นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ
ชื่อคือ อบุลฮาซัน อะลี บินอุมัร บินอะหมัด บินมะฮ์ดี บินมัสอูด บินอัน-นุอฺมาน บินดีนาร บินอับดุลลอฮฺ ชาวเมืองแบกแดด เป็นนักอ่านกุรอ่าน และนักรายงานหะดีษ
 
ومن أئمة الدنيا، انتهى إليه الحفظ ومعرفة علل الحديث ورجاله، مع التقدم في القراءات وطرقها، وقوة المشاركة في الفقه، والاختلاف، والمغازي، وأيام الناس، وغير ذلك.

เป้นหนึ่งในบรรดาอิหม่ามผู้นำ(ศาสนา)ทางโลก  เรื่องความจดจำ  ความเข้าใตสาเหตุต่างๆของหะดีษ และนักรายงานหะดีษ สิ้นสุดที่เขา  พร้อมทั้งล้ำหน้าในวิชาการอ่านกุรอ่านด้วยกิรออะฮ์ต่างๆ และสายรายงานต่างๆของมัน  มีความแข็งแกร่งร่วมอยู่ในวิชาฟิกฮฺ และ(ฟิกฮฺ)ที่แตกต่างกัน  เรื่องมะฆอซี(สงคราม) เรื่องราววันเวลาของมนุษย์ และเรื่องอื่นๆ

เขารายงานหะดีษจากนักรายงานหะดีษจำนวนมากมาย
และผู้ที่รายงานหะดีษจากเขา ก็มีจำนวนมากมาย

เช่น อบูบักร มุฮัมมัด บินอับดุลมะลิก บิน บัชรอน
أبو بكر محمد بن عبدالملك بْن بَشْرَانِ
อ้างอิงจากหนังสือ สิยัร อะอ์ลามุน-นุบะลาอฺ  เล่ม 16 : 449  อันดับที่ 332

 سير أعلام النبلاء  ج 16 / ص 449 رقم 332


สรุป  

จากคำยกย่องของท่านอิบนุกะษีรและท่านซะฮะบีคงพียงพอแล้ว

สำหรับฐานะภาพความน่าเชื่อถือในการรายงานหะดีษของ  

อะลี  บิน อุมัร   อัด-ดาเราะ กุฏนี.
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 19, 2009, 06:16:44 หลังเที่ยง

9 .อับดุลลอฮฺ บินอะลี บินมุฮัมมัด บินบัชรอน (ฮ.ศ.355 - 429) →


عَبْدُ اللَّهِ بْنُ عَلِيِّ بْنُ مُحَمَّدِ بْنِ بَشْرَانِ

อัลฮาฟิซ อบูบักร อัลเคาะฏีบ อัลบัฆดาดีกล่าวว่า

عبد الله بن على بن محمد بن عبد الله بن بشران أبو محمد الشاهد سمع أبا بكر بن مالك القطيعي وأبا محمد بن ماسي ومحمد بن الحسن اليقطيني ومخلد بن جعفر ومن بعدهم كتبت عنه وكان سماعه صحيحا وسمعته يقول ولدت في يوم الأربعاء الحادي والعشرين من جمادى الآخر سنة خمس وخمسين وثلاثمائة ومات في ليلة الجمعة الثاني والعشرين من شوال سنة تسع وعشرين وأربعمائة ودفن في صبيحة تلك الليلة بباب حرب

الكتاب : تاريخ بغداد  ج 10 ص 14 رقم 5130
المؤلف : أحمد بن علي أبو بكر الخطيب البغدادي
الناشر : دار الكتب العلمية – بيروت

คำแปล :

อับดุลลอฮฺ บินอะลี บินมุฮัมมัด บินอับดุลลอฮฺ บินบัชรอน  ฉายา อบูมุฮัมมัด อัชชาฮิด

ได้ฟัง(หะดีษจาก) อบูบักร บินมาลิก อัลเกาะฏีอี, อบูมุฮัมมัด บินมาซี, มุฮัมมัด บินอัลฮาซัน อัลยักฏีนี, มัคลัด บินญะอ์ฟัร และผู้ที่มาหลังจากพวกเขา

(อัลเคาะฏีบ) กล่าวว่า : ฉันบันทึก(รายงานหะดีษ)จากเขา และการรับฟัง(หะดีษ)ของเขานั้น" เศาะหิ๊หฺ " คือถูกต้อง

ฉันได้ยินเขาเล่าว่า  เขาเกิดในวันพุธ ที่ 21 เดือนญุมาดิลอาคิร ปีฮ.ศ. 355
และเสียชีวิตในคืนวันศุกร์ที่ 22  เดือนเชาวาล ปีฮ.ศ.429  
เขาถูกฝังในตอนเช้าของคืนนั้นที่ประตู " บาบุ หัรบ์ "

อ้างอิงจากหนังสือ

ตารีคบัฆด๊าด  เล่ม 10 หน้า 14 อันดับที่ 5130

ดูภาพหน้าปกหนังสือได้ที่เวบ
http://www.neelwafurat.com/itempage.aspx?id=lbb78090-38561&search=books


บทสรุป :

เมื่อนักวิชาการอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ได้ให้คำวิจารณ์ถึงนักรายงานนับตั้งแต่

อับดุลลอฮฺ บินอะลีบินมุฮัมมัดบินบัชรอน จนถึง→ เศาะหาบะฮ์ที่ชื่อ " อบูฮูร็อยเราะฮ์ " ว่า

" มีความเชื่อถือ ได้ในการรายงานหะดีษ "  

ดังนั้นหะดีษบทนี้   จึงอยู่ในสถานะที่  " ที่เชื่อถือได้ "
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 19, 2009, 06:25:09 หลังเที่ยง


เราขอทบทวนตัวหะดีษอีกครั้งนะครับ

ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺกล่าวว่า  :
 
บุคคลใดได้ถือศีลอดในวันที่ 18 เดือนซุลหิจญะฮฺ   จะถูกบันทึกสำหรับเขา(ว่าเขา)ได้ถือศีลอดถึง 60 เดือน

และมัน( วันที18 )คือวันที่เฆาะดีรคุม  ตอนที่ท่านนบี(ศ)ได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้น) แล้วกล่าวว่า :

ฉันคือผู้ปกครองของบรรดามุอฺมินทั้งหลายใช่หรือไม่ ?

พวกเขา(บรรดาซอฮาบะฮฺ)กล่าวว่า :   หามิได้  ใช่แล้วครับ โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ

ท่าน(ศ)จึงกล่าวว่า : บุคคลใดที่ฉันคือผู้ปกครองของเขา ดังนั้นอะลีก็คือผู้ปกครองของเขา

ท่านอุมัร บินคอตตอบได้กล่าวว่า :

ขอแสดงความยินดีกับท่านด้วย โอ้บุตรของอบูตอลิบ (บัดนี้)ท่านได้กลายเป็นเมาลาผู้ปกครองของฉัน

และผู้ปกครองของมุสลิมทุกคนแล้ว  ดังนั้นอัลลอฮ์จึงทรงประทานโองการนี้ลงมา

(الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ  )  วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้ว ...
(ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 3 )


อ้างอิงจากหนังสือ

ตารีคบัฆด๊าด โดยอัลเคาะฏีบอัลบัฆดาดี เล่ม 8 : 289  หะดีษที่ 4392


ฝ่ายซุนนี่คงไม่เลิกโต้แย้งกับหลักฐานการแต่งตั้งท่านอะลีง่ายๆหรอกครับ ผมเชื่อ

คาดว่าหลังจากเราได้พิสูจน์ ด้านสายรายงานหะดีษไปเรียบร้อยแล้ว  คำถามต่อมาที่พวกเขาจะถามคือ

ทำไม พวกชีอะฮ์จึงมาอ้างอิงหลักฐานการแต่งตั้งท่านอะลี จากตำราของฝ่ายอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ ล่ะ ?

แล้วหะดีษบทนี้ในตำราของฝ่ายชีอะฮ์เอง  มีรายงานไว้บ้างหรือปล่าว  ?


อินชาอัลลอฮ์  เราจะมาดูหะดีษบทนี้ที่บันทึกไว้ในตำราชีอะฮ์กันต่อไปว่า มีหรือไม่ ????.....
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 20, 2009, 10:21:31 ก่อนเที่ยง

ตำราหะดีษฝ่ายชีอะฮ์

ที่รายงานตรงกับหะดีษฝ่ายซุนนี่ ที่รายงานว่าซูเราะฮ์อลัมาอิดะฮ์ อายะฮ์ที่ 3 ถูกประทานลงมาที่เฆาะดีรคุม

หลังจากท่านนบี(ศ)ได้ประกาศให้ท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์สืบต่อจากท่าน



เชคศอดูก (ฮ.ศ.305 - 381) บันทึกว่า


حَدَّثَنَا الْحَسَنُ بْنُ مُحَمَّدُ بْنُ الْحَسَنِ بْنِ إِسْمَاعِيلَ السَّكُونِيِّ فِي مَنْزِلِهِ باِلْكُوْفَة قاَلَ :

حَدَّثَنِي إِبْرَاهِيمُ بْنُ مُحَمَّدِ بْنِ يَحْيَى النَّيْسَابُورِيّ قاَلَ :

حَدَّثَنَا أَبُو جَعْفَرٍ بْنُ السَّرِيِّ وَ أَبُو نَصْرٍ بْنُ مُوسَى بْنُ أَيُّوبَ الْخَلاَّل قاَلَ :

حَدَّثَنَا عَلِيُّ بْن سَعِيْد قاَلَ : حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ شَوْذَبٍ ، عَنْ مَطَرٍ (الوَرَّاقِ)، عَنْ شَهْرِ بْنِ حَوْشَبٍ ،

عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ قَالَ  :

مَنْ صَامَ يَوْمَ ثَمَانِ عَشْرَةَ مِنْ ذِي الْحِجَّةِ كُتِبَ لَهُ صِيَامُ سِتِّيْنَ شَهْرًا وَهُوَ يَوْمَ غَدِيرِ خُمٍّ  ،

لَماَّ أَخَذَ رَسُوْلُ الله صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَآلِهِ بِيَدِ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ وَقاَلَ :

يَا أَيُّهَا النَّاسُ ، أَلَسْتُ أَوْلَى بِالْمُؤْمِنِينَ ؟ قاَلُوْا: نَعَمْ ياَ رَسُوْلَ الله،

قاَلَ : مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ ،

فَقَالَ لَهُ عُمَرُ: بَخٍ بَخٍ ياَ بْنَ أَبِي طاَلِبٍ ، أَصْبَحْتَ مَوْلاَيَ وَمَوْلَى كُلِّ مُسْلِمٍ ،

فَأَنْزَلَ اللهُ عَزَّ وَجَلَّ  :  ( الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ ) .

كتاب : الأمالي للشيخ الصدوق  ص 50


คำแปล

อัลฮาซัน บินมุฮัมมัด บินอัลฮาซัน บินอิสมาอีล อัสสะกูนี ได้เล่าให้เราฟังในบ้านของเขาที่เมืองกูฟะฮ์ เขากล่าวว่า

อิบรอฮีม บินมุฮัมมัด บินยะห์ยา อัน-นัยซาบูรี เล่าให้ฉันฟัง  เขากล่าวว่า

อบูญะอ์ฟัร บินอัส-สะรี และอบูนัศร์ บินมูซา บินอัยยูบ อัลค็อลล้าล เล่าให้เราฟัง เขากล่าวว่า

อะลี บินสะอีด เล่าให้เราฟัง เขากล่าวว่า  ฎ็อมเราะฮ์ บินเชาซับ เล่าให้เราฟัง จาก มะฏ็อร จากชะฮ์รุ บินเฮาชับ

ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ กล่าวว่า  :

บุคคลใดได้ถือศีลอดในวันที่ 18 เดือนซุลหิจญะฮฺ   จะถูกบันทึกสำหรับเขา(ว่าเขา)ได้ถือศีลอดถึง 60 เดือน

และมัน( วันที่18 )คือวันที่เฆาะดีรคุม  ตอนที่ท่านนบี(ศ)ได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้น) แล้วกล่าวว่า :

ฉันคือผู้ปกครองของบรรดามุอฺมินทั้งหลายใช่หรือไม่ ?

พวกเขา(บรรดาซออาบะฮฺ)กล่าวว่า :  หามิได้  ใช่แล้วครับ โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ

ท่าน(ศ)จึงกล่าวว่า :  บุคคลใดที่ฉันคือผู้ปกครองของเขา ดังนั้นอะลีก็คือผู้ปกครองของเขา

ท่านอุมัรบินคอตตอบได้กล่าวว่า :

ขอแสดงความยินดีกับท่านด้วย โอ้บุตรของอบูตอลิบ (บัดนี้)ท่านได้กลายเป็นเมาลาผู้ปกครองของฉันและผู้ปกครองของมุสลิมทุกคนแล้ว  

ดังนั้นอัลลอฮ์จึงทรงประทานโองการนี้ลงมา

الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ

วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้ว ... (ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 3 )


อ้างอิงจากหนังสือ

อัลอะมาลี  โดยเชคศอดูก  หน้าที่ 50
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 20, 2009, 10:34:24 ก่อนเที่ยง

เราอยากให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า

ทุกครั้งที่ชีอะฮ์ได้อ้างอิงหะดีษของฝ่ายซุนนี่บทใดออกไป เกี่ยวกับความเชื่อของชีอะฮ์

หะดีษในเรื่องนั้น จะต้องมีบันทึกไว้ในตำราของชีอะฮ์อย่างแน่นอน

แต่ที่ต้องยกหะดีษจากตำราซุนนี่ออกมาแสดงกับชาวอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ก่อน ก็เพื่อให้ฝ่ายซุนนี่ได้ยอมรับในสิ่งที่พวกเขาให้ความไว้วางใจเสียก่อน

แต่สิ่งที่น่าแปลกใจก็คือ  ฝ่ายซุนนี่จะไม่สามารถนำเสนอความเชื่อของพวกเขาจากตำราของฝ่ายชีอะฮ์ได้เลย  

เรากกลับมาที่เรื่องการแต่งตั้งท่านอะลี กันต่อ
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 20, 2009, 11:01:31 ก่อนเที่ยง

อัลคอเตบ อัลบัฆดาดี มุหัดดิษซุนนี่ ได้รับหะดีษบทนี้มาจาก


1.อับดุลลอฮฺ บินอะลี บินมุฮัมมัด บินบัชรอน →

2.อะลี บินอุมัร อัดดารุกุฏนี →

3.อบูนัศรฺ หับชูน บินมูซา บินอัยยูบ อัลค็อลล้าล →

4.อะลี บินสะอีด อัลร็อมลี →

5.เฎาะมะเราะฮฺ บินเราะบีอะฮฺ อัลกุเราะชี →

6.อับดุลลอฮฺ บิน เชาซับ →

7.มะฏ็อร อัลวัรรอก →

8.ชะฮ์รุ บินเหาชับ →

9.อบูฮุร็อยเราะฮ์


และนักวิชาการซุนนี่ได้ให้คำวิจารณ์บรรดารอวี เหล่านี้ว่า เชื่อถือได้ในการรายงาน
ดังนั้นหะดีษบทนี้ จึงมีสถานะ  ซอฮีฮุล อิสนาด คือ ถูกต้อง



เชคศอดูก มุหัดดิษชีอะฮ์ได้รับหะดีษบทนี้มาจาก


1.อัลฮาซัน บินมุฮัมมัด บินอัลฮาซัน บินอิสมาอีล อัสสะกูนี →

2.อิบรอฮีม บินมุฮัมมัด บินยะห์ยา อัน-นัยซาบูรี →

3.อบูญะอ์ฟัร บินอัส-สะรี  → และ

4.อบูนัศร์ บินมูซา บินอัยยูบ อัลค็อลล้าล →

5.อะลี บินสะอีด (อัลรอมลี) →

6.ฎ็อมเราะฮ์ บินเชาซับ →

7.มะฏ็อร จากชะฮ์รุ บินเฮาชับ →

8.ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 20, 2009, 11:10:56 ก่อนเที่ยง

วิเคราะห์สะนัดหะดีษ


1- อัลฮาซัน บินมุฮัมมัด บินอัลฮาซัน บินอิสมาอีล อัสสะกูนี


ผู้นี้คือเชค (อาจารย์)คนหนึ่งของเชคศอดูก


สัยยิดอัลคูอี กล่าวว่า

الحسن بن محمد بن الحسن السكوني :
الكوفي : يكنى أبا القاسم ، روى عنه التلعكبري وسمع منه في داره في
الكوفة سنة 344 ،  ...وهو من مشايخ الصدوق - قدس سره - حدثه بالكوفة سنة 354

อัลฮาซัน บินมุฮัมมัด บินอัลฮาซัน อัสสะกูนี เป็นชาวกูฟะฮ์ มีกุนยะฮ์ว่า อบุลกอสิม  

ตัลอักบะรี รายงานหะดีษจากเขา และได้ฟังหะดีษจากเขาในบ้านของเขาที่เมืองกูฟะฮ์ ปีฮ.ศ. 344

และเขา( หมายถึงอัลฮาซัน บินมุฮัมมัด บินอัลฮาซัน อัสสะกูนี) คืออาจารย์คนหนึ่งของเชคศอดูก ได้ถ่ายทอดหะดีษให้เขาที่กูฟะฮ์ในปีฮ.ศ. 354

ดูหนังสือ  มุอ์ญัม ริญาลุลหะดีษ เล่ม 6 : 95 อันดับที่ 3105
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 20, 2009, 12:05:58 หลังเที่ยง

2- อิบรอฮีม บินมุฮัมมัด บินยะห์ยา อัน-นัยซาบูรี

إِبْرَاهِيمُ بْنُ مُحَمَّدِ بْنِ يَحْيَى النَّيْسَابُورِيّ


อัซ ซะฮะบีกล่าวว่า

ابن المزكي  الامام القدوة الرباني، أبو حامد، أحمد بن الشيخ المزكي أبي إسحاق إبراهيم بن محمد بن يحيى النيسابوري. ولد سنة بضع وعشرين وثلاث مئة
قال الحاكم : وتوفي في شعبان سنة ست وثمانين وثلاث مئة.
وكان عابدا مجتهدا، صام الدهر نيفا وعشرين سنة.
سير أعلام النبلاء للذهبي   ج 16   ص 497 رقم : 366


อิบนุล มุซักกี  เป็นอิมาม อัลกุดวะฮ์ อัลร็อบบานี   (ชื่อ) อบูฮามิด อะหมัด บินอัชชัยคฺ อัลมุซักกี  อบีอิสฮ๊าก  

อิบรอฮีม บินมุฮัมมัด บินยะห์ยา อัน-นัยซาบูรี

อัลฮากิมกล่าวว่า  เขา ( เกิดฮ.ศ. 323 ) มรณะฮ.ศ. 386   เป็น อาบิ๊ด มุจญ์ตะฮิด ถือศีลอดตลอดยี่สิบกว่าปี

ดูสิยัร อะอ์ลาบุน-นุบะลาอ์ โดยซะฮะบี เล่ม 16 : 497 อันดับ 366



อัศ ศ่อฟะดี กล่าวว่า

إبراهيم بن محمد بن يحيى بن سَخْتُوَيْهِ النيسابوري الشيخ أبو إسحاق المزكي، قال الحاكم: هو شيخ نيسابور في عصره وكان من العباد المجتهدين المنفقين على الفقهاء والفقراء، سمع ابن خزيمة وغيره وروى عنه الحاكم وغيره،
قال الخطيب: كان ثبتاً ثقة مكثراً، وهو والد علي ويحيى ومحمد وعبد الرحمن وقد رووا الحديث،
كتاب : الوافي بالوفيات  للصلاح الصفدي  ج 2 ص 262


อิบรอฮีม บินมุฮัมมัด บินยะห์ยา สัคตูวัยฮิ อัน นัยซาบูรี  อัช ชัยค์ อบูอิสฮ๊าก อัลมุซักกี  

อัลฮากิมกล่าวว่า  เขาคือ ปรมาจารย์แห่งเมืองนัยซาบูรในสมัยของเขา  และเป็นบุคคลหนึ่งที่คงแก่การทำอิบาดัต เป็นมุจญ์ตะฮิด และเป็นผู้ที่คอยแจกจ่าย(ปัจจัย)แก่บรรดาอุละมาอ์และคนยากจน  
เขาฟัง(รับหะดีษจาก)   อิบนุคุซัยมะฮ์ และคนอื่นๆ
คนที่รายงานหะดีษจากเขาคือ  อัลฮากิมและคนอื่นๆ

อัลคอเตบกล่าวว่า เขามีความมั่น เชื่อถือได้ในการรายงาน รายงานไว้มากมาย

เขาเป็นบิดาของอะลี  , ยะห์ยา ,มุฮัมมัด และอับดุลเราะห์มาน บุตรทั้งหมดรายงานหะ

ดูอัลวาฟี บิลวะฟะย๊าต โดยศ่อฟะดี  เล่ม 2 : 262  
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 20, 2009, 12:41:02 หลังเที่ยง


ส่วนคำวิจารณ์สถานะความน่าเชื่อถือในการรายงานหะดีษของ
 
อบูนัศร์ บินมูซา บินอัยยูบ อัลค็อลล้าล → อะลี บินสะอีด อัลรอมลี→

ฎ็อมเราะฮ์ บินเชาซับ → มะฏ็อร อัลวัรรอก →ชะฮ์รุ บินเฮาชับ→  ท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์

ขอให้ท่านโปรดย้อนกลับไปอ่านได้ที่

http://www.q4sunni.com/believe/index.php?option=com_kunena&Itemid=71&func=view&catid=2&id=1082&limit=6&limitstart=24


ท่านก็จะทราบว่า  พวกเขาเป็นนักรายงานหะดีษที่ อยู่ในระดับเชื่อถือได้ ทุกคน



สรุป  

หะดีษเศาะหิ๊หฺทั้งซุนนี่และชีอะฮ์ ที่บอกเล่าให้เราได้ทราบถึงเหตุการณ์ในวันที่ 18 เดือนซุลฮิจญะฮ์ ณ.สถานที่ๆมีชื่อว่า  เฆาะดีรคุม  

นั่นก็คือ    เรื่องที่ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้ประกาศแต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์  


عَنْ أَبِي الطُّفَيْلِ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ :
لَمَّا دَفَعَ النَّبِيُّ صَلَّي اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّم مِنْ حَجَّةِ الْوِدَاعِ وَنَزَلَ غَدِيْرَ خُمٍّ أَمَرَ بِدَوْحَاتٍ فَقُمِمْنَ ثُمَّ قَالَ : كَأَنِّيْ دُعِيْتُ فَأَجِبْتُ وَإِنِّيْ تَارِكٌ فِيْكُمُ الثَّقَلَيْنِ أَحَدَهُمَا أَكْبَرُ مِنَ الْآخَرِ : كِتَابُ اللهِ وَعِتْرَتِيْ أَهْلُ بَيْتِيْ فَانْظُرُوْا كَيْفَ تُخْلِفُوْنِيْ فِيْهِمَا  فَإِنَّهُمَا لَنْ يَتَفَرَقَا حَتَّي يَرِدَا عَلَيَّ الْحَوْضَ     ثُمَّ قَالَ : إِنَّ اللهَ مَوْلاَيَ وَأَنَا وَلِيُّ كُلِّ مُؤْمِنٍ  ثُمَّ إِنَّهُ أَخَذَ بِيَدِ عَلِيٍّ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ فَقَالَ : مَنْ كُنْتُ وَلِيَّهُ فَهَذَا وَلِيَّهُ  اللّهُمَّ وَالِ مَنْ وَالاَهُ وَعَادِ مَنْ عَادَاهُ

سِلْسِلَةُ الْأَحَادِيْثِ الصَّحِيْحَةِ  ج : 4 ص: 330  ح : 1750  مُحَمَّد نَاصِرُ الدِّيْنِ الأَلْبَانِيّ نَوْعُ الْحَدِيْثِ : صَحِيْح

อบู ตุเฟลเล่าว่า :  

เมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กลับจากการทำฮัจญ์ครั้งสุดท้าย ท่านได้แวะพักที่เฆาะดีรคุม ท่านสั่งให้(พักตรง)ต้นไม้ใหญ่ แล้วสั่งให้กวาด(ลานให้สะอาด)  แล้วท่านได้ปราศัยว่า : ดูเหมือนว่าฉันถูกเรียก(กลับแล้ว) และฉันได้ตอบรับแล้ว แท้จริงฉันได้มอบไว้แก่พวกท่านสิ่งหนักสองสิ่ง สิ่งแรกใหญ่กว่าอีกสิ่งหนึ่งคือ
1.   คัมภีร์ของอัลลอฮ์ (อัลกุรอาน)และ
2.   อิตเราะตี คืออะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน  
ดังนั้นพวกท่านจงดูเถิดว่า พวกท่านจะขัดแย้งกับฉันในสองสิ่งนี้อย่างไร เพราะแท้จริงสองสิ่งนี้จะไม่แยกจากกัน จนกว่าทั้งสองจะกลับมาหาฉันที่อัลเฮาฎ์(สระเกาษัร)

จากนั้นท่าน(ศ)ได้กล่าวว่า :
แท้จริงอัลลอฮ์ทรงเป็นผู้คุ้มครองของฉัน  และฉันเป็นผู้ปกครองของผู้ศรัทธาทุกคน  จากนั้นท่านนบีได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้นเหนือศรีษะ) แล้วกล่าวว่า :
บุคคลใดก็ตามที่ฉันเป็นผู้ปกครองของเขา  ดังนั้นอะลีก็เป็นผู้ปกครองของเขา  

โอ้อัลลอฮ์โปรดรักผู้ที่เป็นมิตรต่อเขา และโปรดชิงชังผู้ที่เป็นศัตรูต่อเขา  

สถานะหะดีษ : เศาะหิ๊หฺ    

ดูซิลซิละตุลอะฮาดีษิซ-ซอฮีฮะฮ์ เล่ม 4 : 330   หะดีษที่ 1750   ตรวจทานโดยเชคอัลบานี



ท่านอัลเคาะฏีบ อัลบัฆดาดี เกิดฮ.ศ.392 – 463 บันทึกหะดีษไว้ว่า


عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ قَالَ :
مَنْ صَامَ يَوْمَ ثَمَانِ عَشْرَةَ مِنْ ذِي الْحِجَّةِ كُتِبَ لَهُ صِيَامُ سِتِّيْنَ شَهْرًا وَهُوَ يَوْمَ غَدِيرِ خُمٍّ لَمَّا أَخَذَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِيَدِ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ فَقَالَ أَلَسْتُ وَلِيُّ الْمُؤْمِنِينَ قَالُوْا بَلَى يَا رَسُوْلَ اللهِ قاَلَ مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ فَقَالَ عُمَرُ بْنُ الْخَطَّابِ بَخٍ بَخٍ لَكَ ياَ بْنَ أَبِي طَالِبٍ أَصْبَحْتَ مَوْلاَيَ وَمَوْلَى كُلِّ مُسْلِمٍ فَأَنْزَلَ اللَّهُ الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ

الكتاب : تاريخ بغداد   ج 8 / ص 289  رقم الحديث : 4392
المؤلف : أحمد بن علي أبو بكر الخطيب البغدادي
الناشر : دار الكتب العلمية – بيروت   عدد الأجزاء : 14


ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺเล่าว่า  :

บุคคลใดได้ถือศีลอดในวันที่ 18 เดือนซุลหิจญะฮฺ   จะถูกบันทึกสำหรับเขา(ว่าเขา)ได้ถือศีลอดถึง 60 เดือน และมัน( วันที18 )คือวันที่เฆาะดีรคุม  ตอนที่ท่านนบี(ศ)ได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้น) แล้วกล่าวว่า : ฉันคือผู้ปกครองของบรรดามุอฺมินทั้งหลายใช่หรือไม่ ?
พวกเขา(บรรดาซอฮาบะฮฺ)กล่าวว่า : หามิใช่แล้วครับ โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ

ท่าน(ศ)จึงกล่าวว่า : บุคคลใดที่ฉันคือผู้ปกครองของเขา ดังนั้นอะลีก็คือผู้ปกครองของเขา

ท่านอุมัรบินคอตตอบได้กล่าวว่า : ขอแสดงความยินดีกับท่านด้วย โอ้บุตรของอบูตอลิบ (บัดนี้)ท่านได้กลายเป็นเมาลาผู้ปกครองของฉันและผู้ปกครองของมุสลิมทุกคนแล้ว  ดังนั้นอัลลอฮ์จึงทรงประทานโองการนี้ลงมา

 ( اَلْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ  ) วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้ว ... (ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 3 )

สถานะหะดีษ  :  นักรายงานทุกคน เชื่อถือได้

ดูหนังสือตารีคบัฆด๊าด โดยอัลเคาะฏีบอัลบัฆดาดี เล่ม 8 : 289 หะดีษที่ 4392


เราได้แสดงหะดีษเศาะหิ๊หฺให้ซุนนี่รับรู้ไปแล้ว ว่า เรื่องการแต่งตั้งท่านอะลี ไม่ใช่เรื่องโคมลอยอย่างที่อุละมาอ์ของพวกเขาใส่ร้ายเรา


ยังเหลืออีกหนึ่งเรื่องคือ  


ความหมายของคำว่า

วะลี -  وَلِيٌّ   และ   เมาลา -  مَوْلَي

เราจะชี้แจงความหมายสองคำนี้กันต่อไป อินชาอัลลอฮ์
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 21, 2009, 09:57:41 ก่อนเที่ยง


สาเหตุหลักแห่งการแตกแยกในสังคมมุสลิม สามารถแบ่งออกได้เป็นสองเรื่องคือ

หนึ่ง -   อิมามะฮ์    เรื่องผู้นำ สืบต่อจากท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)


สอง -  อุศูล (อะกีดะฮ์)   เรื่องความเชื่อความศรัทธา



ทั้งสองเรื่องมีความสำคัญ  ไม่แพ้กัน  


เรื่องหนึ่งก็มีความสำคัญ   مهـم  ส่วนอีกเรื่องหนึ่ง  สำคัญกว่า  أهــم


ฉะนั้นเราขอกล่าวถึงเรื่อง  ที่สำคัญที่สุดก่อน  นั่นคือเรื่อง  ผู้นำ



เพราะนักวิชาการกล่าวกันว่า  เป็นเรื่องที่มุสลิมหลั่งเลือดกันเอง มากที่สุดในประวัติศาสตร์อิสลาม
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 21, 2009, 10:02:44 ก่อนเที่ยง


เราไม่มีจุดประสงค์จะไปฮุก่ม(ตัดสิน) มุสลิมกลุ่มใดเป็นชาวนรกเหมือนที่พวกลัทธิตักฟีรวาฮาบียะฮ์กระทำ  


แต่เราต้องการให้ข้อคิดกับทุกท่านว่า  


มุสลิมกลุ่มใด  น่าจะเป็นกลุ่มปลอดภัยที่สุด  ที่เราควรดำเนินชีวิตตามพวกเขา  ???
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 21, 2009, 10:59:17 ก่อนเที่ยง

สมมุติว่า  ท่านอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และต้องการเดินทางไปประเทศมาเลเซีย  

และท่านกำลังใช้ความคิดว่า ควรจะเดินทางไปให้ถึงที่นั่นอย่างปลอดภัยด้วยวิธีดีที่สุด เช่น
1.   ขึ้นเครื่องบินไป
2.   นั่งเรือไป
3.   นั่งรถบัสไป

ประการแรก ท่านต้องปรึกษากับผู้ชำนาญเส้นทาง

ประการสอง  ท่านต้องหาข้อมูลจากผู้ที่มีประสบการในการเดินทาง

ประการที่สาม   ท่านต้องกลั่นกรองถึงปลอดภัยเป็นประการสำคัญที่สุด



ถ้าเราไปถามชาวอะฮ์ลุสสุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ว่า

มุสลิมกลุ่มใด ที่ดูแล้วน่าจะปลอดภัยที่สุด  ???

เขาก็ให้คำตอบว่า  พวกเรานี่แหล่ะปลอดภัยที่สุด   เพราะพวกเราคือ  " อัลญะมาอะฮ์ "    และพวกเราทำตาม " ซอฮาบะฮ์ "    แถมยังยกหลักฐานให้ท่านดูอีกว่า

ท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ)กล่าวว่า  :

« افْتَرَقَتِ الْيَهُودُ عَلَى إِحْدَى وَسَبْعِينَ فِرْقَةً فَوَاحِدَةٌ فِى الْجَنَّةِ وَسَبْعُونَ فِى النَّارِ وَافْتَرَقَتِ النَّصَارَى عَلَى ثِنْتَيْنِ وَسَبْعِينَ فِرْقَةً فَإِحْدَى وَسَبْعُونَ فِى النَّارِ وَوَاحِدَةٌ فِى الْجَنَّةِ وَالَّذِى نَفْسُ مُحَمَّدٍ بِيَدِهِ لَتَفْتَرِقَنَّ أُمَّتِى عَلَى ثَلاَثٍ وَسَبْعِينَ فِرْقَةً فَوَاحِدَةٌ فِى الْجَنَّةِ وَثِنْتَانِ وَسَبْعُونَ فِى النَّارِ ». قِيلَ يَا رَسُولَ اللَّهِ مَنْ هُمْ قَالَ « الْجَمَاعَةُ ».

พวกยะฮูดได้แตกออกเป็น 71 ฟิรเกาะฮ์ มีหนึ่งฟิรเกาะฮ์จะอยู่ในสวรรค์อีกเจ็ดสิบจะอยู่ในไฟนรก
และพวกนะศอรอได้แตกออกเป็น 72 ฟิรเกาะฮ์  มีหนึ่งฟิรเกาะฮ์จะอยู่ในสวรรค์อีกเจ็ดสิบเอ็ดจะอยู่ในไฟนรก
และขอสาบานต่อผู้ที่ชีวิตของมุหัมมัดอยู่ในอำนาจของพระองค์ว่า  แน่นอนอุมมะฮ์ของฉันจะแตกออกเป็น 73 ฟิรเกาะฮ์   มีหนึ่งฟิรเกาะฮ์จะอยู่ในสวรรค์อีกเจ็ดสิบสองจะอยู่ในไฟนรก
มีคนถามว่า โอ้ท่านรอซูลุลเลาะฮ์ พวกเขาคือใคร ?  ท่านกล่าวว่า คือ " อัลญะมาอะฮ์ "

สุนันอิบนุมาญะฮ์  หะดีษที่ 4127

ท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ)กล่าวว่า  :

« وَإِنَّ بَنِى إِسْرَائِيلَ تَفَرَّقَتْ عَلَى ثِنْتَيْنِ وَسَبْعِينَ مِلَّةً وَتَفْتَرِقُ أُمَّتِى عَلَى ثَلاَثٍ وَسَبْعِينَ مِلَّةً كُلُّهُمْ فِى النَّارِ إِلاَّ مِلَّةً وَاحِدَةً قَالُوا وَمَنْ هِىَ يَا رَسُولَ اللَّهِ قَالَ مَا أَنَا عَلَيْهِ وَأَصْحَابِى ».

แท้จริงบนีอิสรออีลได้แตกออกเป็น 72 มิลละฮ์ และอุมมะฮ์ของฉํนจะแตกออกเป็น73 มิลละฮ์  พวกเขาทั้งหมดจะอยู่ในไฟนรก ยกเว้นหนึ่งมิลละฮ์  พวกเขากล่าวว่า และมิลละฮ์ที่ว่านั้นคือใคร โอ้ท่านรอซูลุลเลาะฮ์ ?   ท่านกล่าวว่า สิ่งที่ฉันและเศาะหาบะฮ์ของฉันดำรงอยู่

สุนัน อัต ติรมิซีย์  หะดีษที่ 2853


วิจารณ์

หะดีษสองบทข้างต้น เป็นตำราของฝ่ายอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ฯ  แน่นอนเขาต้องว่าของเขาถูกเป็นธรรมดา



ถ้าท่านไปถามฝ่ายชีอะฮ์บ้างว่า

มุสลิมกลุ่มใด ที่ดูแล้วน่าจะปลอดภัยที่สุด   ???

ชาวชีอะฮ์ก็จะตอบว่า  ก็เรานี่แหล่ะ คือกลุ่มที่ปลอดภัยที่สุด  ทำไม ?

เพราะมีรายงานจากอะฮ์ลุลบัยต์ว่า

عَنْ عَلِيٍّ عليه السلام قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صلي الله عليه وآله وسلم سَتَفْتَرِقُ أُمَّتِي عَلَى ثَلَاثٍ وَ سَبْعِينَ فِرْقَةً فِرْقَةٌ مِنْهَا نَاجِيَةٌ وَ الْبَاقُونَ هَالِكُونَ وَ النَّاجُونَ الَّذِينَ يَتَمَسَّكُونَ بِوَلَايَتِكُمْ وَ يَقْتَبِسُونَ مِنْ عِلْمِكُمْ وَ لَا يَعْمَلُونَ بِرَأْيِهِمْ

ท่านอะลี บินอบีตอลิบ(อ)เล่าว่า :  ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุ อะลัยฮิวะอาลิฮีกล่าวว่า :  
(ในอนาคต)ประชาชาติของฉันจะแตกออกเป็น 73 กลุ่ม มีกลุ่มเดียวเท่านั้นที่รอด และที่เหลือจะเป็นผู้หายนะ
ส่วนพวกที่จะรอดคือ บรรดาผู้ที่ยึดอยู่กับอำนาจการปกครองของพวกเจ้า(หมายถึงท่านอะลีและอะฮ์ลุลบัยต์) และรับเอาความรู้มาจากพวกเจ้าและไม่ปฏิบัติสิ่งใด(ในศาสนา)ตามทัศนะของพวกเขาเอง

ดูหนังสือ

วะซาอิลุชชีอะฮ์  โดยอัลฮุรรุลอามิลี เล่ม 27 : 50  หะดีษ 33180



วิจารณ์
หะดีษข้างต้น เป็นตำราของฝ่ายชีอะฮ์  แน่นอนเขาต้องว่าของเขาถูกเป็นธรรมดา



สรุป

สิ่งที่ท่านพบในหะดีษของทั้งสองฝ่ายคือ  ทั้งสองฝ่ายล้วนเป็นอุมมะฮ์ของท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)

เพราะท่านนบี(ศ)กล่าวว่า  อุมมะฮ์(ประชาชาติ)ของฉันจะแตกออกออกเป็น 73 กลุ่ม

มีต่อ...  
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 21, 2009, 11:12:28 ก่อนเที่ยง


ความแตกแยกในประชาชาติมุสลิมเกิดขึ้นเมื่อไร


ในสมัยที่ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ยังมีชีวิตอยู่ คำพูดของท่านคือคำอธิบายอัลกุรอาน และท่านคือผู้ตัดสินทุกปัญหา ดังนั้นความขัดแย้งในหมู่ซอฮาบะฮ์จึงจบลงด้วยการชี้ขาดของท่าน
   
แต่หลังจากท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)วะฟาต บรรดาซอฮาบะฮ์มีความขัดแย้งกันในเรื่องผู้นำกล่าวคือพวกเขาได้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม :

กลุ่มหนึ่ง    
เลือกท่านอบูบักรขึ้นเป็นคอลีฟะฮ์  ปัจจุบันคนกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า อะฮ์ลุสซุนนะฮ์วัลญาอะฮ์  

กลุ่มที่สอง
ถือว่าท่านนบี(ศ)ได้แต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์ไว้แล้ว คนกลุ่มนี้ท่านนบีมุฮัมมัดตั้งชื่อให้ว่า ชีอะฮ์



คำถามที่สำคัญคือ


1.   อัลกุรอ่านและหะดีษได้ระบุเอาไว้หรือไม่ว่า   บุคคลใดไม่ยอมรับท่านอบูบักรเป็นคอลีฟะฮ์ต่อจากท่านนบี(ศ)   บุคคลนั้นเป็น " กาเฟ็ร "  

2.   อัลกุรอ่านและหะดีษได้ระบุเอาไว้หรือไม่ว่า   บุคคลใดไม่ยอมรับท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์ต่อจากท่านนบี(ศ)   บุคคลนั้นเป็น " กาเฟ็ร "    

ถ้าฝ่ายใดพบหลักฐานดังกล่าวก็กรุณานำเสนอด้วยนะครับเช่น

ท่านรอซูล(ศ)กล่าวว่า   บุคคลใดไม่ยอมรับท่านอบูบักรเป็นคอลีฟะฮ์ต่อจากฉัน  
บุคคลนั้นเป็น " กาเฟ็ร "

แต่ถ้าไม่มีหลักฐานจากกิตาบ/ซุนนะฮ์ว่าไว้ดังตัวอย่าง   คำถามที่ตามมาคือ

1.   ตามทัศนะของอะฮ์ลุสสุนะฮ์ฯ  เรื่อง ผู้นำ เป็นเรื่อง  อุศูล หรือ ฟุรู๊อฺ  ?
2.   ทำไมอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ฯ จึงฮุก่มมุสลิมที่ไม่ยอมรับท่านอบูบักรเป็นคอลีฟะฮ์ว่า  กาเฟ็ร ?
3.   ถ้าเรื่องผู้นำมีความสำคัญสำหรับอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ฯ แล้วทำไมท่านไม่มองว่า คนกลุ่มอื่นเขาก็ให้ความสำคัญต่อเรื่องผู้นำเช่นเดียวกับท่านล่ะ ?
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 21, 2009, 11:31:26 ก่อนเที่ยง

คำ  " เลือกตั้ง " กับ  " แต่งตั้ง "    แตกต่างกันอย่างไร ?


เลือกตั้งคือ ซอฮาบะฮ์ได้เลือกตั้งท่านอบูบักรเป็นคอลีฟะฮ์

แต่งตั้งคือ ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้แต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์      



คำถาม

ซอฮาบะฮ์มีสิทธิเลือกผู้นำเองได้หรือไม่ ?

ตอบ  ไม่มีสิทธิ

เพราะ อัลลอฮ์ตะอาลาตรัสว่า
 
وَمَا كَانَ لِمُؤْمِنٍ وَلَا مُؤْمِنَةٍ إِذَا قَضَى اللَّهُ وَرَسُولُهُ أَمْرًا أَن يَكُونَ لَهُمُ الْخِيَرَةُ مِنْ أَمْرِهِمْ وَمَن يَعْصِ اللَّهَ وَرَسُولَهُ فَقَدْ ضَلَّ ضَلَالًا مُّبِينًا

ไม่ใช่สิทธิสำหรับมุอ์มินทั้งชายและหญิง เมื่ออัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์ได้กำหนดตัดสินกิจการงานใด(ในเรื่องชะรีอะฮ์)ลงไปแล้ว พวกเขาจะเอามาเลือก(หรือพิจารณากันเองใน)กิจการของพวกเขา และบุคคลใดละเมิดฝ่าฝืน(คำสั่งของ)อัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์ แน่นอนเขาได้หลงทางแล้วอย่างชัดเจน    
ซูเราะฮ์อัลอะห์ซาบ : 36

โองการนี้ระบุชัดว่า

ซอฮาบะฮ์ ไม่มีสิทธิเลือกตั้งคอลีฟะฮ์กันเอง  ยกเว้นว่า  ถ้าท่านรอซูล(ศ)ไม่ได้แต่งตั้งท่านอะลีเอาไว้

ซึ่งเรานำเสนอหะดีษเศาะหิ๊หฺสองบทให้ท่านได้อ่านแล้วว่า  วันที่ 18เดือนซุลฮิจญะฮ์ ฮ.ศ.ที่ 10 ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ได้ประกาศแต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์ต่อหน้าซอฮาบะฮ์ไว้ที่ เฆาะดีรคุม

แต่ปัญหาคือ
ฝ่ายซุนนี่ พยายามเลี่ยงว่าคำ " วะลี " และ " เมาลา " ในหะดีษดังกล่าวว่า คำทั้งสองนี้ ไม่ได้แปลว่า  " ผู้ปกครอง "    ซึ่งเราจะอธิบายอย่างละเอียดต่อไป อินชาอัลลอฮ์


ฝ่ายซุนนี่ยังถามอีกว่า

หากท่านรอซูล(ศ)ได้แต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์จริง

ทำไมจึงมีคนตามท่านอะลี " เพียงน้อยนิด "  


ตอบ :

ตามหลักอิสลาม จำนวนคนไม่ใช่บรรทัดฐานวัดความถูกต้องนะครับ  


เพราะอัลลอฮ์ตะอาลาตรัสว่า  :

-   وَلَكِنَّ أَكْثَرَهُمْ يَجْهَلُونَ
-   แต่ส่วนมากพวกเขาโง่เขลา  ( อัลอันอาม : 111)
-   أَكْثَرُهُمْ لَا يَعْقِلُونَ
-   ส่วนมากพวกเขาไม่ใช้ปัญญา ( อัลอันกะบูต : 63 )
-   وَلَكِنَّ أَكْثَرَهُمْ لَا يَعْلَمُونَ
-   แต่ส่วนมากพวกเขาไม่รู้ ( อัลอันอาม : 37 )
-   وَكَثِيرٌ مِنْهُمْ فَاسِقُونَ
-   ส่วนมากจากพวกเขาเป็นคนชั่วช้า (อัลหะดีด : 16,26,27)
-   وَلَقَدْ ذَرَأْنَا لِجَهَنَّمَ كَثِيرًا مِنَ الْجِنِّ وَالْإِنْسِ
-   และโดยแน่นอนเราได้บังเกิดสำหรับนรก ซึ่งมากมายจากญินและมนุษย์ (อัลอะอ์รอฟ :179 )
-   أَكْثَرَهُمْ لَفَاسِقِينَ
-   และแน่นอนเราได้พบว่าส่วนมากของพวกเขานั้นเป็นผู้ละเมิด (อัลอะอ์รอฟ : 102 )
-   وَإِنَّ كَثِيرًا مِنَ النَّاسِ عَنْ آَيَاتِنَا لَغَافِلُونَ
-   แท้จริงมนุษย์ส่วนใหญ่เฉยเมยต่อสัญญาณต่างๆของเรา (ยูนุส : 92 )


อัลลอฮ์ยกย่องคนกลุ่มน้อย :

-   وَقَلِيلٌ مِنْ عِبَادِيَ الشَّكُورُ
-   และส่วนน้อยจากปวงบ่าวของเราที่เป็นผู้ขอบคุณ (สะบะอ์ : 13 )
-   وَمَا آَمَنَ مَعَهُ إِلَّا قَلِيلٌ
-   แต่ไม่มีผู้ศรัทธาร่วมกับเขา นอกจากจำนวนน้อยนิด ( ฮูด : 40 )

คัมภีร์กุรอ่านเล่าว่า

อัลลอฮ์ตะอาลาทรงส่งบรรดานบีไปยังหมู่ชนต่างๆ มีคนจำนวนน้อยนิดที่ศรัทธาต่อบรรดานบี แต่ส่วนมากไม่เชื่อฟังบรรดานบี
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 21, 2009, 11:39:40 ก่อนเที่ยง

ในทางตรงกันข้าม

อัลลอฮ์ตะอาลา ทรงตำหนิการตามคนหมู่มาก  :

-   وَمَا يَتَّبِعُ أَكْثَرُهُمْ إِلَّا ظَنًّا إِنَّ الظَّنَّ لَا يُغْنِي مِنَ الْحَقِّ شَيْئًا إِنَّ اللَّهَ عَلِيمٌ بِمَا يَفْعَلُونَ
-   และส่วนใหญ่ของพวกเขามิได้ปฏิบัติตามสิ่งใด นอกจากการเดา แท้จริงการเดาเอานั้น ไม่อาจจะแทนความจริงได้แต่อย่างใด (ยูนุส : 36 )
-   وَإِنْ تُطِعْ أَكْثَرَ مَنْ فِي الْأَرْضِ يُضِلُّوكَ عَنْ سَبِيلِ اللَّهِ إِنْ يَتَّبِعُونَ إِلَّا الظَّنَّ وَإِنْ هُمْ إِلَّا يَخْرُصُونَ
-   และหากพวกเจ้าเชื่อฟังส่วนมากของผู้คนในแผ่นดินแล้ว พวกเขาก็จะทำให้เจ้าหลงออกจากหนทางของอัลลอฮ์ พวกเขาจะไม่ปฏิบัติตามนอกจากการเดาเอาเอง และพวกเขามิได้ตั้งอยู่บนสิ่งใด นอกจากการเดาคาดคะเนเท่านั้น (อัลอันอาม : 116 )
-   فَلَوْلَا كَانَ مِنَ الْقُرُونِ مِنْ قَبْلِكُمْ أُولُو بَقِيَّةٍ يَنْهَوْنَ عَنِ الْفَسَادِ فِي الْأَرْضِ إِلَّا قَلِيلًا مِمَّنْ أَنْجَيْنَا مِنْهُمْ
-   ไฉนกี่ชั่วคนแล้วก่อนหน้าพวกเจ้า จึงมิมีปัญญาชนห้ามปรามการก่อความเสียหายในแผ่นดิน  เว้นแต่จำนวนน้อยในหมู่พวกเขาเท่านั้นที่เราได้ช่วยให้รอด (ฮูด : 116 )



เพราะฉะนั้นขอให้เราอย่าได้นำประเด็น การตามคนหมู่มาก มาเป็นเหตุผลนะครับ

เพราะไม่ใช่หลักการที่อัลลอฮ์ตะอาลาวางเอาไว้สำหรับมุสลิม



หากฝ่ายซุนนี่ถามว่า  :

มีอัลกุรอานสักอายัตหนึ่งไหม  ที่อัลลอฮ์แต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์  ?

ชีอะฮ์ขอตอบว่า :  

แล้วมีอัลกุรอานสักหนึ่งอายัตไหม  ที่อัลลอฮ์แต่งตั้งท่านอบูบักรเป็นคอลีฟะฮ์ ?

ผลสรุปออกมาเหมือนกันคือ  ไม่มี



แต่ฝ่ายชีอะฮ์

มีหลักฐานที่เป็นอัสบาบุลนุซูลว่า  ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์  อายะฮ์ที่   67  ถูกประทานลงมาเรื่องการแต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์
และซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์  อายะฮ์ที่   3  ได้ลงกำกับปิดท้ายเรื่องการแต่งตั้งท่านอะลีจริง



 
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 21, 2009, 11:42:24 ก่อนเที่ยง

หลักฐานการแต่งตั้งท่านอบูบักรจากกิตาบและซุนนะฮ์นั้นไม่มีแน่นอน  เพราะ


1.   ฝ่ายซุนี่ยืนยันเองว่า นบีมุฮัมมัดวะฟาตโดยไม่ได้แต่งตั้งผู้ใดเป็นคอลีฟะฮ์

ดังนั้นถ้าใครยกกุรอ่านหรือฮะดีษมาอ้างสิทธิในการเป็นคอลีฟะฮ์ของท่านอบูบักรย่อมถือว่าโมฆะทั้งสิ้น

2.   ตำแหน่งคอลีฟะฮ์ของท่านอบูบักรได้จากการเลือกของซอฮาบะฮ์ที่สะกีฟะฮ์

3.   ตำแหน่งคอลีฟะฮ์ของท่านอุมัรได้จากท่านอบูบักรเป็นผู้แต่งตั้งเขา

4.   ตำแหน่งคอลีฟะฮ์ของท่านอุษมานได้จากคณะชูรอที่ท่านอุมัรจัดตั้งไว้ก่อนตาย
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 21, 2009, 11:47:52 ก่อนเที่ยง


วะซียะฮ์ ( คำสั่งเสีย )  ในทัศนะของอัลกุรอานและฮะดีษ  


อัลลอฮ์ตะอาลาตรัสว่า
   
كُتِبَ عَلَيْكُمْ إِذَا حَضَرَ أَحَدَكُمُ الْمَوْتُ إِن تَرَكَ خَيْرًا الْوَصِيَّةُ

ถูกกำหนดแก่พวกเจ้า เมื่อความตายได้มายังคนหนึ่งคนใดในพวกเจ้า ถ้าเขาทิ้งสมบัติ(ไว้)ให้ทำพินัยกรรมสั่งเสียไว้    


ซูเราะฮ์  อัลบะเกาะเราะฮ์ : 180

 
อัลลอฮ์ทรงรับสั่งกับมุสลิมว่า

ก่อนตายพวกเขาจะต้องสั่งเสียพินัยกรรมไว้ให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันมิให้ทายาทในครอบครัวต้องแตกแยกกันในเรื่องแบ่งมรดก


แล้วจะกินกับปัญญาหรือ

ที่อัลลอฮ์จะไม่ทรงรับสั่งให้ท่านรอซูล(ศ)สั่งเสียเรื่องผู้นำเอาไว้ก่อนท่านจะวะฟาต ?


สิ่งที่เราแปลกใจคือ
ทำไมฝ่ายซุนนี่ได้ยืนยันว่า ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)วะฟาตโดยไม่ได้สั่งเสียเรื่องคอลีฟะฮ์เอาไว้ ทั้งๆที่เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดสำหรับประชาชาติอิสลาม ?
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 21, 2009, 11:51:46 ก่อนเที่ยง


พินัยกรรมฉบับสำคัญของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)คือ     หะดีษ  ษะเกาะลัยน์
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 21, 2009, 01:57:58 หลังเที่ยง


วะซียะฮ์ของนบีมุฮัมมัด(ศ)

   
ก่อนที่ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ็อลฯ)จะอำลาจากโลกนี้ไป  ท่านได้ทำการสั่งเสียอุมมัตของท่าน

หลายครั้ง

หลายวาระ

หลายสถานที่


ว่าท่านได้มอบสิ่งมีค่ายิ่ง  และสำคัญมากไว้แก่ประชาชาติอิสลาม สองประการ  

ซึ่งท่านนบี(ศ)ได้ย้ำเสมอว่า

สองสิ่งอันมีค่านี้จะต้องอยู่คู่กันเสมอตราบถึงวันกิยามะฮ์  

หากมุสลิมคนใดยึดมั่น ปฏิบัติตามสองสิ่งอันมีค่านี้ไว้อย่างมั่นคง   ท่าน(ศ)ได้รับรองว่า  บุคคลนั้นจะไม่หลงทางอย่างเด็ดขาด ซึ่งนั่นหมายถึง เขาจะปลอดภัย  

สิ่งหนักสองประการที่ว่านั้นคือ

1.   คัมภีร์ของอัลลอฮ์   คืออัลกุรอาน

2.   อิตเราะฮ์  คืออะฮ์ลุลบัยต์ของท่านนบีมุฮัมมัด

เพื่อย้ำเตือนประชาชาติอิสลาม อันเป็นการสนองเจตนารมณ์ของท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ที่มีความห่วงใยต่อพวกเราทุกคน    

เราจะนำเสนอ


หะดีษ อัษ – ษะเกาะลัยนฺ   حديث الثقلين

และ

หะดีษ  มันกุนตุเมาฮุ  ฟะอะลียุน เมาลาฮู -   من كنت مولاه فعلي مولاه  



ให้ท่านได้ศึกษา เพื่อทราบว่า  แนวทางของอะฮ์ลุลบัยต์

คือแนวทางที่ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ได้ให้การรับรองไว้อย่างแท้จริงและชัดเจน



ตัวอย่างหะดีษ  ษะก่อลัยน์


رِوَايَةُ زَيْدِ بْنِ أَرْقَمَ :

ثُمَّ قَالَ قَامَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- يَوْمًا فِينَا خَطِيبًا بِمَاءٍ يُدْعَى خُمًّا بَيْنَ مَكَّةَ وَالْمَدِينَةِ

 فَحَمِدَ اللَّهَ وَأَثْنَى عَلَيْهِ وَوَعَظَ وَذَكَّرَ ثُمَّ قَالَ

« أَمَّا بَعْدُ أَلاَ أَيُّهَا النَّاسُ فَإِنَّمَا أَنَا بَشَرٌ يُوشِكُ أَنْ يَأْتِىَ رَسُولُ رَبِّى فَأُجِيبَ

وَأَنَا تَارِكٌ فِيكُمْ ثَقَلَيْنِ أَوَّلُهُمَا كِتَابُ اللَّهِ فِيهِ الْهُدَى وَالنُّورُ فَخُذُوا بِكِتَابِ اللَّهِ وَاسْتَمْسِكُوا بِهِ ».

فَحَثَّ عَلَى كِتَابِ اللَّهِ وَرَغَّبَ فِيهِ ثُمَّ قَالَ

« وَأَهْلُ بَيْتِى أُذَكِّرُكُمُ اللَّهَ فِى أَهْلِ بَيْتِى أُذَكِّرُكُمُ اللَّهَ فِى أَهْلِ بَيْتِى أُذَكِّرُكُمُ اللَّهَ فِى أَهْلِ بَيْتِى »


เซด บิน อัรกอมเล่าว่า :

ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้ยืนปราศรัยในหมู่พวกเราวันหนึ่งที่แหล่งน้ำชื่อว่า (เฆาะดีร) คุม อยู่ระหว่างเมืองมักกะฮ์กับเมืองมะดีนะฮ์ ท่านได้สรรเสริญอัลลอฮ์ สดุดีพระองค์ และได้ตักเตือน ย้ำให้ระลึก จากนั้นท่านกล่าวว่า :

อัมมาบะอ์ดุ  พึงทราบเถิดท่านทั้งหลาย  อันที่จริงฉันเป็นมนุษย์คนหนึ่ง รอซูลแห่งพระผู้อภิบาลของฉัน(คือมลาอิกัลมูต)นั้นใกล้จะมา(รับชีวิตฉันไป)แล้ว และฉันก็ตอบรับแล้ว  

และฉันได้มอบสิ่งหนักสองสิ่งไว้ในหมู่พวกท่าน  

สิ่งแรกคือกิตาบุลเลาะฮ์(อัลกุรอาน)ในนั้นคือทางนำและแสงสว่าง  ดังนั้นพวกท่านจงจับคัมภีร์ของอัลลอฮ์ไว้ และจงยึดมันให้มั่น   แล้วท่านได้แนะนำให้ปฏิบัติตามคัมภีร์   ถัดจากนั้นท่านกล่าวว่า  

และ(สอง)อะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน  ฉันขอเตือนพวกท่านให้รำลึกถึงอัลลอฮ์ในอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน  ฉันขอเตือนพวกท่านให้รำลึกถึงอัลลอฮ์ในอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน   ฉันขอเตือนพวกท่านให้รำลึกถึงอัลลอฮ์ในอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน  


อ้างอิงจาก

ซอฮีฮุลมุสลิม กิตาบฟะฎออิลุซ-ซอฮาบะฮ์   บาบมิน ฟะฎออิลิอะลี หะดีษที่ 4425


والحمد لله، والصلاة والسلام على محمد وآله


เพื่อความสะดวกในการอ่าน   เราจะตัดแบ่งบทความนี้ ไปไว้ในบทความใหม่ในหัวข้อ


( ( วิจัย มะตั่นและสะนัด วะซียะฮ์ของนบีมุฮัมมัด (ศ) ))


เชิญท่านอ่านบทความต่อได้ที่

http://www.q4sunni.com/believe/index.php?option=com_kunena&Itemid=71&func=view&catid=2&id=1136
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ พฤศจิกายน 25, 2009, 09:36:29 ก่อนเที่ยง
เพื่อความสะดวกในการอ่าน เราจะตัดแบ่งบทความนี้ ไปไว้ในบทความใหม่ในหัวข้อ


( ( วิจัย มะตั่นและสะนัด วะซียะฮ์ของนบีมุฮัมมัด (ศ) ))


เชิญท่านอ่านบทความต่อได้ที่

www.q4sunni.com/believe/index.php?option...;catid=2&id=1136
ชื่อ: Re:คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 26, 2010, 11:17:48 ก่อนเที่ยง
B)