Q4wahabi.com (Question for Wahabi)

หมวดหมู่ทั่วไป => ไม่เข้าหมวด => หัวข้อที่ตั้งโดย: L-umar เมื่อ กันยายน 01, 2009, 10:34:09 ก่อนเที่ยง

ชื่อ: หนึ่งวัน หนึ่งอายัต 8
โดย: L-umar เมื่อ กันยายน 01, 2009, 10:34:09 ก่อนเที่ยง

หนึ่งวัน  หนึ่งอายัต 8


อัลเลาะฮ์ ญัลละ ญะลาล๊ะฮฺ ทรงตรัสว่า

يَا أَيُّهَا الرَّسُولُ بَلِّغْ مَا أُنْزِلَ إِلَيْكَ مِنْ رَبِّكَ وَإِنْ لَمْ تَفْعَلْ فَمَا بَلَّغْتَ رِسَالَتَهُ وَاللَّهُ يَعْصِمُكَ مِنَ النَّاسِ إِنَّ اللَّهَ لَا يَهْدِي الْقَوْمَ الْكَافِرِينَ

โอ้รอซูลเอ๋ย จงเผยแพร่ สิ่งที่ถูกประทานลงมายังเจ้า จากพระผู้อภิบาลของเจ้า

และหากเจ้าไม่ทำ เจ้าก็ไม่ได้เผยแพร่สาส์นของพระองค์เลย

และอัลลอฮฺจะทรงปกป้องเจ้าให้พ้นจากมนุษย์

แท้จริงอัลลอฮฺ จะไม่นำทางกลุ่มชนที่ปฏิเสธศรัทธา


อัลมาอิดะห์ บทที่  5 : 67



ชีอะฮ์เชื่อว่า  อัลลอฮฺตะอาลาได้ประทานโองการนี้ลงแก่ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ให้ทำการแต่งตั้งท่านอิม่ามอะลี(อ)เป็นคอลีฟะฮ์สืบต่อจากท่าน  เพราะมีหลักฐานดังนี้



عَنْ أَبِي جَعْفَرٍ (عليه السلام)  قَالَ :
أَمَرَ اللَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ رَسُولَهُ بِوَلَايَةِ عَلِيٍّ  وَ أَنْزَلَ عَلَيْهِ
إِنَّما وَلِيُّكُمُ اللَّهُ وَ رَسُولُهُ وَ الَّذِينَ آمَنُوا الَّذِينَ يُقِيمُونَ الصَّلاةَ وَ يُؤْتُونَ الزَّكاةَ (المائدة -: 55 -)
وَ فَرَضَ وَلَايَةَ أُولِي الْأَمْرِ فَلَمْ يَدْرُوا مَا هِيَ فَأَمَرَ اللَّهُ مُحَمَّداً (ص) أَنْ يُفَسِّرَ لَهُمُ الْوَلَايَةَ كَمَا فَسَّرَ لَهُمُ الصَّلَاةَ وَ الزَّكَاةَ وَ الصَّوْمَ وَ الْحَجَّ


ท่านอบูญะอ์ฟัร ( อิม่ามบาเก็ร อะลัยฮิสสลาม ) กล่าวว่า :
อัลลอฮฺ อัซซะวะญัล ได้รับสั่งให้ท่านรอซูลของพระองค์ด้วยเรื่องการเป็นผู้ปกครองของท่านอะลี(สืบต่อจากท่าน)  และพระองค์ทรงประทานลงมาแก่รอซูลของพระองค์ว่า

แท้จริงผู้ปกครองของพวกเจ้ามีเพียง อัลลอฮฺ และรอซูลของพระองค์ และบรรดาผู้ศรัทธา ขณะที่พวกเขากำลังนมาซและจ่ายทานซะกาต  
( อัลมาอิดะฮฺ : 5 )  

พระองค์ได้กำหนดฟัรฎูเรื่องอำนาจการปกครองของอูลุลอัมริ(ลงมาแก่ประชาชน)  แต่แล้วพวกเขาไม่รู้ว่ามันคืออะไร   ดังนั้นอัลลอฮ์ได้รับสั่งให้ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ) ทำการอธิบายเรื่องอัลวิลายะฮ์(อำนาจการปกครอง)แก่พวกเขา เหมือนที่ท่านเคยอธิบายแก่พวกเขามาแล้วเรื่องการทำนมาซ การจ่ายซะกาต การถือศีลอด และการประกอบพิธีหัจญ์
 
فَلَمَّا أَتَاهُ ذَلِكَ مِنَ اللَّهِ ضَاقَ بِذَلِكَ صَدْرُ رَسُولِ اللَّهِ (ص) وَ تَخَوَّفَ أَنْ يَرْتَدُّوا عَنْ دِينِهِمْ وَ أَنْ يُكَذِّبُوهُ

เมื่อเรื่องนั้นได้มาถึงท่าน จากอัลลอฮฺ   ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)รู้สึกคับอกคับใจต่อสิ่งนั้น และท่านหวั่นเกรงว่า พวกเขาจะหันหลังกลับออกจากศาสนาของพวกเขา และจะปฏิเสธมัน  

فَضَاقَ صَدْرُهُ وَ رَاجَعَ رَبَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ فَأَوْحَى اللَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ إِلَيْهِ

อกของท่านรู้สึกอึดอัด และท่านได้วิงวอนต่อพระผู้อภิบาลของท่านให้ทรงทบทวน(ในเรื่องนี้)  ดังนั้นอัลลอฮฺ อัลซซะวะญัล จึงทรงมีวะฮีมายังท่านว่า

يا أَيُّهَا الرَّسُولُ بَلِّغْ ما أُنْزِلَ إِلَيْكَ مِنْ رَبِّكَ وَ إِنْ لَمْ تَفْعَلْ فَما بَلَّغْتَ رِسالَتَهُ وَ اللَّهُ يَعْصِمُكَ مِنَ النَّاسِ (المائدة -: 67 -)

โอ้รอซูลเอ๋ย จงเผยแพร่สิ่ง ที่ถูกประทานลงมายังเจ้า จากพระผู้อภิบาลของเจ้า  และหากเจ้าไม่ทำ เจ้าก็ไม่ได้เผยแพร่สาส์นของพระองค์เลย และอัลลอฮฺจะทรงปกป้องเจ้าให้พ้นจากมนุษย์  

( อัลมาอิดะห์ บทที่ 5 : 67 )

فَصَدَعَ بِأَمْرِ اللَّهِ تَعَالَى ذِكْرُهُ فَقَامَ بِوَلَايَةِ عَلِيٍّ (ع) يَوْمَ غَدِيرِ خُمٍّ
 
ดังนั้นท่านจึงได้ทำการประกาศคำสั่งของอัลลอฮฺ ตะอาลา  ท่านได้ลูกขึ้น(ประกาศ)ถึงการเป็นผู้ปกครองของท่านอะลี(สืบต่อจากท่าน) ในวันที่เฆาะดีรคุม

فَنَادَى الصَّلَاةَ جَامِعَةً وَ أَمَرَ النَّاسَ أَنْ يُبَلِّغَ الشَّاهِدُ الْغَائِبَ
 
แล้วมีการประกาศให้ทำการนมาซรวมกัน แล้วท่านได้สั่งประชาชนให้ผู้ที่อยู่(จงนำข่าวนี้ไปบอก)แก่ผู้ที่ไม่มา

قَالَ أَبُو جَعْفَرٍ ع وَ كَانَتِ الْفَرِيضَةُ تَنْزِلُ بَعْدَ الْفَرِيضَةِ الْأُخْرَى وَ كَانَتِ الْوَلَايَةُ آخِرَ الْفَرَائِضِ فَأَنْزَلَ اللَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَ أَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي (المائدة -: 3 -)

ท่านอิม่ามบาเก็ร(อ)กล่าวว่า  ปรากฏว่า เรื่องวิลายะฮ์นั้นเป็นฟัรฎูที่ถูกประทานลงหลังฟัรฎุครั้งสุดท้าย และเรื่องวิลายะฮ์(การเป็นผู้ปกครองของท่านอะลีนั้น)คือ ฟัรฎุสุดท้าย  แล้วอัลลออฺ อัซซะวะญัลจึงทรงประทานโองการลงมาว่า  

วันนี้ข้า ได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้ว และข้าได้ทำให้นิ๊อฺมะฮ์ของข้าครบถ้วนแล้วสำหรับพวกเจ้า (อัลมาอิดะฮฺ : 3)

قَالَ أَبُو جَعْفَرٍ ع يَقُولُ اللَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ لَا أُنْزِلُ عَلَيْكُمْ بَعْدَ هَذِهِ فَرِيضَةً قَدْ أَكْمَلْتُ لَكُمُ الْفَرَائِضَ
الكافي ج : 1  ص :  290  ح 4  
مركز البحوث الكومبيوترية للعلوم الإسلامية قم ايران : صحيح  

ท่านอิม่ามบาเก็ร(อ)เล่าว่า  อัลลอฮฺ อัซซะวะญัล ทรงตรัสว่า  หลังจากฟัรฎูนี้ ข้าจะไม่ประทาน(ฟัรฎูใด)ลงแก่พวกเจ้าอีกแล้ว  แท้จริงข้าได้ทำให้ฟัรฎูต่างๆนั้นสมบูรณ์หมดแล้ว


สถานะหะดีษ  :  เศาะหิ๊หฺ   ดูอัลกาฟี โดยเชคกุลัยนี  เล่ม 1 : 290 หะดีษที่ 4  

ตรวจทานโดยมัรกะซุล บุฮูซ คอมพิวเตอร์ ลิลอุลูมิลอิสลามียะฮ์ เมืองกุม อิหร่าน
ชื่อ: Re:หนึ่งวัน หนึ่งอายัต 8
โดย: L-umar เมื่อ กันยายน 01, 2009, 11:33:58 ก่อนเที่ยง

ทีนี้ขอเชิญท่านกลับมาดูความปลิ้นปล้อนโกหกของอาจารย์ฟารีดกันบ้าง   ท่านสามารถเข้าไปอ่านบทความได้ที่

http://www.fareedfendy.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=137


อ้างอิงจากอาจารย์ฟารีด

อายะห์อัตตับลีฆ ซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ที่ 67
นี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการบิดเบือนอัลอิสลามที่กลุ่มชีอะฮ์อิหม่ามสิบสองได้นำเอาอายะห์อัลกุรอานจากซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ที่ 67 ไปอ้างว่าเป็นคำสั่งของพระองค์อัลลอฮ์ที่ใช้ให้ท่านนบีประกาศแต่งตั้งท่านอาลี ณ.ที่ฆ่อดีรคุม ให้เป็นผู้สืบการปกครองจากท่านโดยพลัน


ชีอะฮ์ตอบ :

ท่านคงได้อ่านหะดีษเศาะหิ๊หฺของท่านเชคกุลัยนี เรื่องอัสบาบุลนุซูลของบทที่ 5 : 67 ว่าถูกประทานลงมาเรื่องการแต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์สืบต่อจากท่านนบีมุฮัมมัด (ศ)  เพราะฉะนั้นวาฮาบีจึงไม่มีสิทธิมาตำหนิความเชื่อชีอะฮ์ในเรื่องนี้ เนื่องจากชีอะฮ์มีหลักฐานถูกต้องระบุเอาไว้แล้ว  
ชื่อ: Re:หนึ่งวัน หนึ่งอายัต 8
โดย: L-umar เมื่อ กันยายน 01, 2009, 11:41:29 ก่อนเที่ยง

อ้างอิงจากอาจารย์ฟารีด
เราไปติดตามดูข้อเท็จจริงกันดังนี้    พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงกล่าวว่า

يَا أَيُّهَا الرَّسُولُ بَلِّغْ مَا أُنْزِلَ إِلَيْكَ مِنْ رَبِّكَ وَإِنْ لَمْ تَفْعَلْ فَمَا بَلَّغْتَ رِسَالَتَهُ وَاللَّهُ يَعْصِمُكَ مِنَ النَّاسِ إِنَّ اللَّهَ لَا يَهْدِي الْقَوْمَ الْكَافِرِينَ

"โอ้รอซูลเอ๋ย จงเผยแพร่สิ่งที่ถูกประทานลงมายังเจ้าจากองค์อภิบาลของเจ้า และหากเจ้าไม่ทำ เจ้าก็ไม่ได้เผยแพร่สาสน์ของพระองค์

และแท้จริงพระองค์ จะปกป้องเจ้าให้พ้นจากมนุษย์ แท้จริงอัลลอฮ์นั้นจะไม่นำทางกลุ่มชนที่ปฏิเสธการศรัทธา" ซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ที่ 67


วิจารณ์

ขอให้ท่านสังเกตุความักง่ายของอาจารย์ฟารีดนะครับว่า  ชุ่ยต่อกะลามุลเลาะฮ์ขนาดไหน


อาจารย์ฟารีดแปลวรรคนี้ว่า ((และแท้จริงพระองค์จะปกป้องเจ้าให้พ้นจากมนุษย์ ))


ซึ่งที่ถูกต้องแปลว่า  และแท้จริง " อัลลอฮฺ " จะปกป้องเจ้าให้พ้นจากมนุษย์

อาจารย์ฟารีด ได้ตัดคำว่า " อัลลอฮฺ "  ซึ่งเป็นลัฟซุลญะลาละฮฺออกไปจากอายะฮ์กุรอ่านเฉยเลย  อย่างนี้ถ้าไม่เรียกว่ามักง่ายจะเรียกว่าอะไรดี
ชื่อ: Re:หนึ่งวัน หนึ่งอายัต 8
โดย: L-umar เมื่อ กันยายน 01, 2009, 12:00:20 หลังเที่ยง


อ้างอิงจากอาจารย์ฟารีด


ประการที่หนึ่ง  

คำพูดที่ว่า "บรรดาญุมฮูร ทั้งนักตัฟซีร,ฮะดีษ,และนักประวัติศาสตร์ รานงานว่าอายะห์นี้ถูกประทานมาเกี่ยวกับท่านอาลี" คำว่า ญุมฮูร หมายถึงบรรดาปวงปราชญ์โดยส่วนใหญ่ในแวดวงของนักวิชาการ ซึ่งหากเป็นการอ้างว่าบรรดาปวงปราชญ์ของชาวซุนนะห์เข้าใจเช่นนั้นก็เป็นการใส่ไคล้อย่างหาที่เปรียบมิได้ เพราะไม่ได้เป็นไปตามที่พวกเขาได้กล่าวอ้างเลยเช่น
ท่านอิบนุญะรีร อัตตอบารีย์ ได้กล่าวว่า "นี่คือคำสั่งที่พระองค์อัลลอฮ์ได้กล่าวแก่นบีของพระองค์ มูฮัมหมัดศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ให้เผยแพร่แก่บรรดาชาวยะฮูดและนะศอรอจากชาวคัมภีร์ทั้งสอง ซี่งพระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงเล่าเรื่องราวของพวกเขาไว้ในอายะห์นี้........." ตัฟซีรอัตตอบารี เล่มที่ 6 หน้าที่ 307  
                ส่วนในตัฟซีรอิบนิกะษีร ได้กล่าวว่า "พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงใช้ให้ท่านนบีเผยแพร่เรื่องราวทั้งหมดที่ถูกประทานลงมายังท่าน" ตัฟซีรอิบนิกะษีร เล่มที่ 3 หน้าที่ 141
                และในตัฟซีรอัลกุรตุบีย์ ได้กล่าวว่า "หมายถึงให้เผยแพร่โดยเปิดเผย เพราะในช่วงแรกของอิสลามนั้น ต้องหลซ่อนเนื่องจากกลัวการคุกคามของบรรดามุชรีกีน ต่อมาได้ใช้ให้เปิดเผยตามที่ระบุในอายะห์นี้ และอัลลอฮ์ได้บอกแก่ท่านนบีว่า พระองค์อัลลอฮ์ปกป้องท่านจากอันตรายของมุนุษย์" ตัฟซีรอัลกุรตุบีย์ เล่มที่ 6 หน้าที่ 342


วิจารณ์

ชีอะฮ์กล่าวว่า  อุละมาอ์ซุนนี่มากมายได้กล่าวว่า อายะฮ์ ยาอัยยุฮัล เราะซูล บัลลิฆ...นี้ถูกประทานลงมาเรื่องการแต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮฺสืบต่อจากท่านรอซุลุลลอฮฺ(ศ)

แต่อาจารย์ฟารีดปฏิเสธ และกล่าวหาชีอะฮ์ว่า โกหก   เพื่อพิสูจน์ว่าชีอะฮ์ไม่ได้โกหก แค่คนที่โกหกคืออาจารย์ฟารีดที่หมกเม็ดในเรื่องนี้  เราจะมาพิสูจน์ความจริงไปพร้อมๆกันดังนี้  
ชื่อ: Re:หนึ่งวัน หนึ่งอายัต 8
โดย: L-umar เมื่อ กันยายน 01, 2009, 12:04:01 หลังเที่ยง

รายชื่ออุละมาอ์อะฮ์ลุสสุนนะฮฺ

ที่กล่าวว่า อายะฮ์นี้ถูกประทานลงมาที่ฆ่อดีรคุมเรื่องแต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์  
ชื่อ: Re:หนึ่งวัน หนึ่งอายัต 8
โดย: L-umar เมื่อ กันยายน 01, 2009, 02:14:04 หลังเที่ยง

รายชื่ออุละมาอ์อะฮ์ลุสสุนนะฮฺ
ที่กล่าวว่า อายะฮ์นี้ถูกประทานลงมาที่ฆ่อดีรคุมเรื่องแต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์



หนึ่ง -  อัลวาฮิดี อันนัยซาบูรี   มรณะ ฮ.ศ. 468



أَخْبَرَنَا أَبُو سَعِيدٍ مُحَمَّدُ بْنُ عَلِيٍّ الصَّفَّارُ قَالَ : أخبرنا الْحَسَنُ بْنُ أحمد المخلدي قَالَ : أخبرنا مُحَمَّدُ بْنُ حمدون بْنُ خَالِدٍ قَالَ : حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ إبراهيم الخلوتي قَالَ : حَدَّثَنَا الْحَسَنُ بْنُ حماد سجادة قَالَ : حَدَّثَنَا عَلِيُّ بْنُ عَابِسٍ ، عَنِ الْأَعْمَشِ وَأَبِي حِجَابٍ،
عَنْ عَطِيَّةَ (الْعَوْفِيِّ) عَنْ أَبِي سَعِيدٍ الْخُدْرِيِّ قَالَ : نَزَلَتْ هَذِهِ الْآيَةُ (يا أَيُّها الرَسولُ بَلِّغ ما أُنزِلَ إِلَيكَ مِن رَّبِّكَ) يَوْمَ غَدِيرِ خُمٍّ فِيْ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ

أسباب نزول القرآن ج 1 / ص 71  انظر سورة المائدة : 67
الشيخ الإمام أبو الحسن علي بن أحمد الواحدي النيسابوري


อะฏียะฮ์ (อัลเอาฟี) รายงานจากท่านอบูสะอีด อัลคุดรี กล่าวว่า โองการนี้ได้ประทานลงมา

( โอ้รอซูลเอ๋ย จงเผยแพร่สิ่ง สิ่งที่ถูกประทานลงมายังเจ้า จากพระผู้อภิบาลของเจ้า )  ในวันเฆาะดีรคุม เกี่ยวกับท่านอะลี บินอบีตอลิบ


อ้างอิงจากหนังสือ

อัสบาบุลนุซูล  ของอัลวาฮิดี อันนัยซาบูรี  เล่ม 1 หน้า 71 ดูซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ  อายะฮ์ที่ 67

http://www.al-eman.com/islamlib/viewchp.asp?BID=153&CID=5#s1


ชัยคุลอิม่าม อบุลฮาซัน อะลี บินอะหมัด อัลวาฮิดี อันนัยซาบูรี อุละมาอ์แห่งมัซฮับชาฟิอี
مفسر، نحوي، لغوي، فقيه شاعر، اخباري.
บุคคลผู้นี้เป็นทั้ง นักตัฟสีร, นักไวยากรณ์อรับ, นักภาษาศาสตร์, ฟะกีฮฺ, นักกวี และอัคบารี เป็นคนเมืองสาเวะฮฺ ลูกพ่อค้า เสียชีวิตที่เมืองนัยซาบูรีเดือนญุมาดิลอาคิเราะฮฺ  เจ้าของตัฟสีรชื่ออัสบาบุลนุซูลอัลวาฮิดี  ในยุคของเขานั้นเป็นอาจารย์สอนวิชาตัฟสีรกุรอ่านและวิชานะฮู  เขียนตำราไว้หลายชนิดหลายเล่มด้วยกัน  ประชาชนมีมติว่าเขาเป็นคนดี บรรดานักวิชาการกล่าวขานถึงเขาไว้ในบทเรียนของพวกเขาทั้งยาว ปานกลางและสั้นๆ  ท่านอิหม่ามเฆาะซาลี กล่าวว่า สำหรับอัลวาฮิดีมีตำราดังๆเช่น อัสบาบุลนุซูล  
ท่านษะอ์ละบี มรณะ ฮ.ศ. 427 เจ้าของตัฟสีรอัลกัชฟุวัลบะยานคืออาจารย์ที่ถ่ายทอดวิชาตัฟสีรกุรอ่านให้กับอัลวาฮิดี

ดูวิเคราะห์ผู้รายงานหะดีษที่ชื่อ  อะตียะฮ์ อัลเอาฟีได้ที่เว็บ
 
http://www.yahosein.org/vb/showthread.php?t=87033



คำถามสำหรับอาจารย์ฟารีด

ไหนบอกว่า  ไม่มีอุละมาอ์ซุนนี่คนใดกล่าวว่า  บทที่ 5 : 67 ลงที่ฆอดีรคุมเกี่ยวกับท่านอะลี แล้วนี่อะไร ?

อย่างนี้เรียกว่าโกหกหรือไม่  
ชื่อ: Re:หนึ่งวัน หนึ่งอายัต 8
โดย: L-umar เมื่อ กันยายน 01, 2009, 03:45:39 หลังเที่ยง


สอง – อัษ-ษะอ์ละบี มรณะ ฮ.ศ. 427


{يا أيها الرَّسُولُ بَلِّغْ مَآ أُنزِلَ إِلَيْكَ} . إختلفوا في تنزيل هذه الآية وتأويلها...

โอ้รอซูลเอ๋ย จงเผยแพร่สิ่ง สิ่งที่ถูกประทานลงมายังเจ้า จากพระผู้อภิบาลของเจ้า  ( อัลมาอิดะห์ บทที่  5 : 67 )
(อิหม่ามษะอ์ละบีกล่าวว่า บรรดามุฟัสสิร ) มีความเห็นขัดแย้งกันในเรื่องการประทานของโองการนี้และการตะอ์วีลของมัน...


وقال أبو جعفر محمد بن علي : معناه : بلّغ ما أنزل إليك في فضل علي بن أبي طالب،
 فلما نزلت الآية أخذ (عليه السلام) بيد علي،
 فقال : «من كنت مولاه فعلي مولاه».

อบูญะอ์ฟัร มุฮัมมัด บินอะลีกล่าวว่า ความหมายของอายะฮ์นี้หมายถึง จงเผยแพร่สิ่ง สิ่งที่ถูกประทานลงมายังเจ้า เกี่ยวกับอะลี บินอบีตอลิบ  ดังนั้นเมื่ออายะฮืนี้ได้ประทานลงมา ท่าน(รอซูล ศ.)ได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้น) แล้วกล่าวว่า  บุคคลใดที่ฉันเป็นผู้ปกครองของเขา ดังนั้นอะลีก็คือผู้ปกครองของเขา

(หมายเหตุ อบูญะอ์ฟัร มุฮัมมัด บินอะลีในที่นี้คือ ท่านอิม่ามมุฮัมมัดบาเก็ร อิม่ามที่ห้าของชีอะฮ์นั่นเอง ผู้แปล.)
   
أبو القاسم يعقوب بن أحمد السري، أبو بكر بن محمد بن عبد اللّه بن محمد، أبو مسلم إبراهيم ابن عبد اللّه الكعبي،
 الحجاج بن منهال، حماد عن عَلِيِّ بْنِ زَيْدٍ عَنْ عَدِيِّ بْنِ ثَابِتٍ عَنِ الْبَرَاءِ (بْنِ عَازِبٍ) قَالَ:
لما نزلنا مع رسول اللّه {صلى الله عليه وسلم} في حجة الوداع كنّا بغدير خم فنادى إن الصلاة جامعة وكسح رسول اللّه عليه الصلاة والسلام تحت شجرتين وأخذ بيد علي،
 فقال : «ألست أولى بالمؤمنين من أنفسهم»؟
 قالوا : بلى يا رسول اللّه،
 قال : «ألست أولى بكل مؤمن من نفسه»؟
 قالوا : بلى يا رسول اللّه،
 قال : «هذا مولى من أنا مولاه اللهم والِ من والاه وعاد من عاداه».
قال : فلقيه عمر فقال : هنيئاً لك يا ابن أبي طالب أصبحت وأمسيت مولى كل مؤمن ومؤمنة.

อะดี บินษาบิตรายงานจาก ท่านอัลบัรรออ์ กล่าวว่า เมื่อพวกเรากับท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)ได้แวะพัก ในการประกอบพิธีหัจญ์ครั้งสุดท้าย พวกเราอยู่ที่เฆาะดีรคุม แล้วได้มีการประกาศ(อะซาน) แท้จริงการนมาซนั้นคือการรวมกัน และถูกกวาด(ลาน)ให้ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)อยู่ใต้ต้นไม้สองต้น  และท่านได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้น) พลางกล่าวว่า  : ฉันมีสิทธิต่อบรรดามุอ์มินทั้งหลายมากยิ่งกว่าตัวของพวกเขาเองใช่ไหม ?  
พวกเขากล่าวว่า  : หามิได้ ใช่แล้วครับ โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ  
ท่าน(ศ)กล่าวว่า : ฉันมีสิทธิต่อบมุอ์มินทุกคนมากยิ่งกว่าตัวของเขาเองใช่ไหม ?
พวกเขากล่าวว่า  : หามิได้ ใช่แล้วครับ โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ
ท่าน(ศ)กล่าวว่า :  ชายคนนี้(อะลี) คือผู้ปกครองของผู้ที่ฉันเป็นผู้ปกครองของเขา  โอ้อัลลอฮฺโปรดรักผู้ที่เป็นมิตรต่อเขา และโปรดเป็นศัตรูต่อผู้ที่เป็นปรปักษ์กับเขาด้วยเถิด
อัลบัรรออ์เล่าว่า  ท่านอุมัรได้เข้ามาหาเขา(อะลี) แล้วกล่าวว่า  ขอแสดงความยินดีด้วยนะ โอ้บุตรของอบูตอลิบ ทั้งยามเช้ายามเย็นท่านได้กลายเป็นเมาลา(ผู้ปกครอง)ของมุอ์มินทั้งชายหญิงแล้ว  
   
روى أبو محمد عبداللّه بن محمد القايني نا أبو الحسن محمد بن عثمان النصيبي نا : أبو بكر محمد ابن الحسن السبيعي نا علي بن محمد الدّهان، والحسين بن إبراهيم الجصاص قالانا الحسن بن الحكم نا الحسن بن الحسين بن حيان عن الكلبي
عَنْ أَبِي صَالِحٍ عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ في قوله {الرَّسُولُ بَلِّغْ} قال : نزلت في علي (رضي الله عنه) أمر النبي {صلى الله عليه وسلم} أن يبلغ فيه فأخذ (عليه السلام) بيد علي،
 وقال : «من كنت مولاه فعلي مولاه اللهم والِ من والاه وعادِ من عاداه».
تفسير الكشف والبيان  للثعلبى  ج 5 / ص 131

อบูศอและห์รายงานจาก ท่านอิบนุอับบาส ในพระดำรัสของพระองค์ ( โอ้รอซูล จงเผยแพร่ )  เขากล่าวว่า อายะฮ์นี้ได้ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับท่านอะลี  ท่านนบี(ศ)ถูกสั่งให้ทำการประกาศเรื่องเกี่ยวกับเขา(อะลี) ดังนั้นท่านจึงจับมือท่านอะลี(ชูขึ้น) และกล่าวว่า  บุคคลใดที่ฉันเป็นผู้ปกครองของเขา ดังนั้นอะลีก็คือผู้ปกครองของเขา โอ้อัลลอฮฺโปรดรักผู้ที่เป็นมิตรต่อเขา และโปรดเป็นศัตรูต่อผู้ที่เป็นปรปักษ์กับเขาด้วยเถิด


อ้างอิงจาก ตัฟสีรอัลกัชฟุวัลบะยาน โดยอัษษะอ์ละบี เล่ม 5 : 131



อัซ-ซะฮะบีได้กล่าวยกย่องบุคคลผู้นี้ไว้ว่า

الثعلبي * الامام الحافظ العلامة، شيخ التفسير، أبو إسحاق، أحمد بن محمد
سير أعلام النبلاء  للذهبي ج 17 / ص 435  رقم 291

อัษษะอ์ละบี คือ อิหม่าม, ฮาฟิซกุรอ่าน, อัลลามะฮ์, ชัยคุต-ตัฟสีร  ชื่ออบูอิสฮ๊าก อะหมัด บินมุฮัมมัด
ดูสิยัร อะอ์ลามุน-นุบุลาอ์  อันดับที่ 291
 
مفسّر كبير، فقيه شافعي، لغوي نحوي،

ท่านอิหม่ามษะอ์ละบี ผู้นี้เป็นทั้ง นักตัฟสีรผู้ยิ่งใหญ่, ฟะกีฮฺ  สังกัดมัซฮับชาฟิอี,  เป็นนักภาษาศาสตร์และนักไวยากรณ์อรับ


คำถามสำหรับอาจารย์ฟารีด

ไหนบอกว่า  ไม่มีอุละมาอ์ซุนนี่คนใดกล่าวว่า  บทที่ 5 : 67 ลงที่ฆอดีรคุมเกี่ยวกับท่านอะลี แล้วนี่อะไร ?

อย่างนี้เรียกว่าโกหกหรือไม่    
ชื่อ: Re:หนึ่งวัน หนึ่งอายัต 8
โดย: L-umar เมื่อ กันยายน 02, 2009, 09:56:11 ก่อนเที่ยง

สาม- ท่านอิบนุญะรีร อัฏ-ฏ็อบรี เกิดฮ.ศ. 224- 310


ต้องขอเกริ่นให้ท่านผู้อ่านเข้าใจก่อนว่า มีอุละมาอ์ชีอะฮ์ที่ใช้ชื่อนี้เหมือนกันเช่น  อัฏ-ฏ็อบรีเจ้าของหนังสืออัลมุสตัรชิด และอัฏ-ฏ็อบรีอัลรัสตัมเจ้าของหนังสือดะลาอิลุลอิมามะฮ์ ทั้งสองเป็นชีอะฮ์

ส่วนเจ้าของตัฟสีรฏ็อบรีและหนังสือตารีคฏ็อบรีที่ชื่อท่านอิบนุญะรีร อัฏ-ฏ็อบรีนั้นเป็นอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ ซึ่งท่านญะลาลุดดีนอัสสิยูตีกล่าวถึงเขาว่า

مُحَمَّدُ بْنُ جَرِيرٍ بْنُ يَزِيدَ بْنُ كَثِيرٍ بْنُ غَالِبٍ الطَّبَرِيُّ الإِمام أبو جعفر، رأس المفسرين على الإطلاق، أحد الأئمة،جمع من العلوم ما لم يشاركه فيه أحد من أهل عصره، فكان حافظاً لكتاب الله، بصيراً بالمعاني، فقيهاً في أحكام القرآن، عالماً بالسنن وطرقها، صحيحها وسقيمها، ناسخها ومنسوخها،عالماً بأحوال الصحابة والتابعين، بصيراً بأيام الناس وأخبارهم. أصله من آمل طبرستان،
طبقات المفسرين  لليسوطي  ج 1 / ص 16 رقم 93

มุฮัมมัด บินญะรีร บินยะซีด บินกะษีร บินฆอลิบ อัฏ-ฏ็อบรี อัลอิหม่ามอบูญะอ์ฟัร  หัวหน้าแห่งบรรดามุฟัสสิรทั้งหลาย หนึ่งในอิหม่าม  ผู้รวบรวมไว้ซึ่งอิลมูต่างๆซึ่งไม่มีใครจากสมัยของเขามีส่วนร่วมกับเขาเลย  เป็นนักท่องจำคัมภีร์กุรอ่าน มีความแตกฉานต่อความหมาย  เป็นฟะกีฮฺ(ผู้รู้ทางฟิกฮฺ)ในอะหฺกามต่างๆของอัลกุรอ่าน  เป็นผู้รอบรู้ต่อซุนนะฮ์(หะดีษ)ต่างๆและสายรายงานต่างๆของมัน ทั้งที่เศาะหิ๊หฺและดออีฟ   นาซิคและมันซูค  ผู้มีความรู้ต่อสภาพของบรรดาซอฮาบะฮฺ  ตาบิอีนและเป็นผู้หยั่งรู้ถึงวันเวลาของมนุษย์และเรื่องราวของพวกเขา เดิมเป็นคนเมืองอามุล ฏ็อบริสตาน


อ้างอิงจากหนังสือฏ็อบกอตุลมุฟัสสิรีน  โดยสิยูตี เล่ม 1 : 16 อันดับที่ 93


ช่วงที่อุละมาอ์ซุนนี่ผู้ยิ่งใหญ่นามอิบนุญะรีรอัฏฏ็อบรีคนนี้ อยู่ที่เมืองแบกแดด เขาได้เผชิญหน้ากับพวกฮะนาบะละฮฺที่มีความตะอัซซุบค่อนข้างรุนแรง ชาวมัซฮับฮัมบะลีกลุ่มนี้ได้สืบทอดมรดกความชิงชังของพวกราชวงศ์อุมัยยะฮ์ที่มีต่อท่านอิม่ามอะลีเป็นพิเศษ จนถึงขั้นกล้าปฏิเสธหะดีษที่รายงานเกี่ยวกับฟะฎออิล(ความประเสริฐของ)ท่านอะลีอย่างเปิดเผย  
เราไม่ทราบว่า ด้วยสาเหตุนี้หรือไม่ ที่เป็นแรงบันดาลใจผลักดันให้ท่านอิบนุ อัฏฏ็อบรี จำต้องเขียนหนังสือชื่อว่า " อัลวิลายะฮฺ "    เพราะมันเป็นหนังสือรวบรวมหะดีษทุกสายรายงานที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์แต่งตั้งท่านอะลีที่เฆาะดีรคุมเอาไว้โดยเฉพาะ เหมือนกับเป็นการท้าทายต่ออุละมาอ์ใหญ่แห่งมัซฮับฮัมบะลีในเวลานั้นชื่อ อบูบักร บินอบีดาวูด อัสสิญิสตานี  มรณะฮ.ศ. 316 ที่กล่าวว่า หะดีษเฆาะดีรคุมนั้นเป็นเรื่องโกหก


ท่านอิบนุญะรีรอัฏฏ็อบรีจึงได้รายงานหะดีษเฆาะดีรด้วยสายรายงานของตัวเองไว้ในหนังสืออัลวิลายะฮฺว่า

أَخْرَجَ اِبْنُ جَرِيرٍ الطَّبَرِيُّ عَنْ زَيْدِ بْنِ أَرْقَمَ قَالَ لَمَّا نَزَلَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِغَدِيرِ خُمٍّ فِي رُجُوعه مِنْ حَجَّةِ اَلْوَدَاعِ وَكَانَ فِي وَقْتِ الضُّحَى وَ حَرٍّ شَدِيدٍ أمر بالدوحات فقمت و نَادَى الصَّلَاةَ جَامِعَةً فَاجْتَمَعْنَا فَخَطَبَ خُطْبَةً بالغة ثُمَّ قَالَ: إِنَّ اللَّهَ تَعَالَى اَنْزَلَ إِلَيَّ :
بَلِّغْ مَا أُنْزِلَ إِلَيْكَ مِنْ رَبِّكَ وَإِنْ لَمْ تَفْعَلْ فَمَا بَلَّغْتَ رِسَالَتَهُ وَاللَّهُ يَعْصِمُكَ مِنَ النَّاسِ ، وَقَدْ أَمَرَنِي جَبْرَئِيلُ عَنْ رَبِّيْ أَنْ أَقُوْمَ فِي هَذَا الْمَشْهَد وَاعْلَمْ كُلَّ أَبْيَضَ وَأَسْوَدَ : أَنَّ عَلِيَّ بْنَ أَبِي طَالِبٍ أَخِي وَوَصِيِّي وَخَلِيْفَتِي وَالْاِمَامُ بَعْدِي

จากเซด บิน อัรก็อมเล่าว่า :  

 ตอนที่ท่านนบี(ศ)แวะพักที่เฆาะดีรคุม  ในการกลับจากการทำฮัจญะตุลวิดาอ์ ปรากฏว่าตอนนั้นเป็นเวลาสายและอากาศร้อนจัด  ท่าน(ศ)ได้สั่งให้เคลียพื้นที่  และประกาศให้ทำนมาซญะมาอะฮ์  เมื่อพวกเรามารวมตัวกัน ท่านได้กล่าวคุฏบะฮ์ด้วยวาทะอันลึกซึ้ง จากนั้นท่านกล่าวว่า :   แท้จริงอัลลอฮ์ตะอาลาได้ประทาน(โองการลง)มายังฉันว่า  :
(( จงประกาศ สิ่งที่ถูกประทานลงมายังเจ้า จากพระผู้อภิบาลของเจ้า และหากเจ้าไม่ทำ เจ้าก็ไม่ได้เผยแพร่สาส์นของพระองค์เลย และอัลลอฮฺจะทรงปกป้องเจ้าให้พ้นจากมนุษย์ )) และแท้จริงท่านญิบรออีลได้นำคำสั่งจากพระผู้อภิบาลของฉันมายังฉัน โดยให้ฉันปฏิบัติ(ภารกิจนั้น)ในสถานที่แห่งนี้ และคนขาวกับคนดำทุกคนจงรับรู้ไว้ด้วยว่า  แท้จริงอะลี บินอบีตอลิบคือ พี่น้องของฉัน  คือวะซีของฉัน  คือคอลีฟะฮ์(สืบต่อจาก)ฉัน และเป็นอิหม่ามผู้นำภายหลังจากฉัน
 

อ้างอิงจากหนังสือ อัลวิลายะฮ์  โดยมุฮัมมัด อิบนิ ญะรีร อัฏ-ฏ็อบรีย์
ชื่อ: Re:หนึ่งวัน หนึ่งอายัต 8
โดย: L-umar เมื่อ กันยายน 02, 2009, 10:41:06 ก่อนเที่ยง

เพราะหนังสืออัลวิลายะฮ์เล่มนี้จึงเป็นเหตุทำให้พวกวาฮาบีกล่าวหาว่า ท่านอิบนุญะรีรอัฏ-ฏ็อบรีเป็นตะชัยยุ๊อฺ ( تَشَـيُّعٌ ) คือมีความนิยมฝักใฝ่ในมัซฮับชีอะฮ์  เพราะหนังสือเล่มนี้ได้กลายเป็นหลักฐานสำคัญอันหนึ่งสำหรับพวกชีอะฮฺที่จะเอามาอ้างงอิงกับพวกวาฮาบีเรื่องการแต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์


ดังนั้นอุละมาอ์อะฮ์ลุสสุนนะฮ์โดยส่วนมากจึงไม่นิยมเขียนหนังสือที่รวบรวมหะดีษและสายรายงานหะดีษเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เฆาะดีรคุม เนื่องจากพวกเขาไม่มีอะกีดะฮ์ว่า อะลีคือคอลีฟะฮฺที่สืบต่อจากท่านรอซูล(ศ)  อย่างไรก็ตาม  ช้างตายทั้งตัวใบบัวย่อมปิดไม่มิด หรือสัจธรรมย่อมเป็นสัจธรรมอยู่เสมอ  เราพบว่าเชคมุฮัมมัด นาศิรุดดีน อัลบานี อุละมาอ์วาฮาบีผู้นี้ได้ให้การรับรองหะดีษเฆาะดีรไว้หลายบทด้วยกันในหนังสือชื่อซิลซิละตุซ – ซ่อฮีฮะฮฺ  เช่นหะดีษ

عَنْ أَبِي الطُّفَيْلِ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ :
لَمَّا دَفَعَ النَّبِيُّ صَلَّي اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّم مِنْ حَجَّةِ الْوِدَاعِ وَنَزَلَ غَدِيْرَ خُمٍّ أَمَرَ بِدَوْحَاتٍ فَقُمِمْنَ ثُمَّ قَالَ : كَأَنِّيْ دُعِيْتُ فَأَجِبْتُ وَإِنِّيْ تَارِكٌ فِيْكُمُ الثَّقَلَيْنِ أَحَدَهُمَا أَكْبَرُ مِنَ الْآخَرِ : كِتَابُ اللهِ وَعِتْرَتِيْ أَهْلُ بَيْتِيْ فَانْظُرُوْا كَيْفَ تُخْلِفُوْنِيْ فِيْهِمَا  فَإِنَّهُمَا لَنْ يَتَفَرَقَا حَتَّي يَرِدَا عَلَيَّ الْحَوْضَ     ثُمَّ قَالَ : إِنَّ اللهَ مَوْلاَيَ وَأَنَا وَلِيُّ كُلِّ مُؤْمِنٍ  ثُمَّ إِنَّهُ أَخَذَ بِيَدِ عَلِيٍّ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ فَقَالَ : مَنْ كُنْتُ وَلِيَّهُ فَهَذَا وَلِيَّهُ  اللّهُمَّ وَالِ مَنْ وَالاَهُ وَعَادِ مَنْ عَادَاهُ

سِلْسِلَةُ الْأَحَادِيْثِ الصَّحِيْحَةِ  ج : 4 ص: 330  ح : 1750  مُحَمَّد نَاصِرُ الدِّيْنِ الأَلْبَانِيّ نَوْعُ الْحَدِيْثِ : صَحِيْح

อบู ตุเฟลรายงาน :  

เมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กลับจากการทำฮัจญ์ครั้งสุดท้าย ท่านได้แวะพักที่เฆาะดีรคุม ท่านสั่งให้(พักตรง)ต้นไม้ใหญ่ แล้วสั่งให้กวาด(ลานให้สะอาด)  แล้วท่านได้ปราศัยว่า : ดูเหมือนว่าฉันถูกเรียก(กลับแล้ว) และฉันได้ตอบรับแล้ว แท้จริงฉันได้มอบไว้แก่พวกท่านสิ่งหนักสองสิ่ง สิ่งแรกใหญ่กว่าอีกสิ่งหนึ่งคือ

1.   คัมภีร์ของอัลลอฮ์ (อัลกุรอาน)และ

2.   อิตเราะตี คืออะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน  

ดังนั้นพวกท่านจงดูเถิดว่า พวกท่านจะขัดแย้งกับฉันในสองสิ่งนี้อย่างไร เพราะแท้จริงสองสิ่งนี้จะไม่แยกจากกัน จนกว่าทั้งสองจะกลับมาหาฉันที่อัลเฮาฎ์(สระเกาษัร)

จากนั้นท่าน(ศ็อลฯ)ได้กล่าวว่า :
แท้จริงอัลลอฮ์ทรงเป็นผู้คุ้มครองของฉัน  และฉันเป็นผู้ปกครองของผู้ศรัทธาทุกคน  จากนั้นท่านนบีได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้นเหนือศรีษะ) แล้วกล่าวว่า :

บุคคลใดก็ตามที่ฉันเป็นผู้ปกครองของเขา  ดังนั้นอะลีก็เป็นผู้ปกครองของเขา  

โอ้อัลลอฮ์โปรดรักผู้ที่เป็นมิตรต่อเขา และโปรดชิงชังผู้ที่เป็นศัตรูต่อเขา  


สถานะหะดีษ : เศาะหิ๊หฺ    
ดูซิลซิละตุลอะฮาดีษิซ-ซอฮีฮะฮ์ เล่ม 4 : 330   หะดีษที่ 1750   ตรวจทานโดยเชคอัลบานี


ท่านทราบไหมว่า อุละมาอ์ซุนนี่ในอดีตโดยส่วนมากทั้งในไทยและต่างประเทศปฏิเสธเสียงแข็งว่า หะดีษเฆาะดีรคุมนั้นเป็นเรื่องเมาฎู๊อฺโกหกพกลมทั้งเพ  

อิบนุตัยมียะฮฺชัยคุลอิสลามของวาฮาบีฟันธงว่าหะดีษ " มันกุนตุเมาลาฮุ ฟะอะลียุนเมาลา  " ที่ท่านนบี(ศ)กล่าวกับท่านอะลีต่อหน้าซอฮาบะฮ์ที่เฆาะดีรคุมนั้นเป็นหะดีษเก๊(เมาฎู๊อฺ ) เป็นเรื่องโกหกทั้งนั้น  

แต่พอมายุคปัจจุบันเชคอัลบานีได้ออกมาวิจารณ์ท่านอิบนิตัยมียะฮ์ในเรื่องนี้ว่าفقد كان الدافع لتحرير الكلام على الحديث و بيان صحته أنني رأيت شيخ الإسلام بن تيمية ، قد ضعف الشطر الأول من الحديث ، و أما الشطر الآخر ، فزعم أنه كذب  ! و هذا من مبالغته الناتجة في تقديري من تسرعه
في تضعيف الأحاديث قبل أن يجمع طرقها و يدقق النظر فيها . و الله المستعان .

แท้จริงสิ่งที่ผลักดันให้ทำการวิจัยคำพูดต่อหะดีษ(เฆาะดีรคุม)และชี้แจงถึงความเศาะหิ๊หฺของมันนั้น เป็นเพราะว่าผมได้เห็นท่านเชคอิบนิตัยมียะฮฺได้ทำการตัฏอี๊ฟ(ฮุก่มว่า ดออีฟ)ในวรรคแรกของหะดีษ(เฆาะดีร) ส่วนวรรคอื่นๆท่านก็ได้กล่าวว่ามันโกหก  ผลลัพท์นี้มีผลมาจากความเลยเถิดของท่าน ในตักดีรของผมเนื่องจากท่าน(อิบนิตัยมียะฮฺ)มีนิสัยรวดเร็วเกินไปในการตัฏอี๊ฟหะดีษต่างๆ ก่อนที่ท่านจะรวบรวมสายรายงานต่างๆของมันและพิจารณาในมันให้ถี่ถ้วนเสียก่อน

อ้างอิงจากหนังสือ ซิลซิละตุลอะฮาดีษิซ-ซอฮีฮะฮ์ โดยเชคอัลบานี เล่ม 4 : 249   หะดีษที่ 1750


เราจึงอยากขอยืมถ้อยคำของเชคอัลบานีนี้มาใช้กับคนอย่างอาจารย์ฟารีดเฟ็นดี้เช่นกัน  
ชื่อ: Re:หนึ่งวัน หนึ่งอายัต 8
โดย: L-umar เมื่อ กันยายน 02, 2009, 11:29:31 ก่อนเที่ยง

เชคกอนดูซี อุละมาอ์ฮะนาฟี เกิดฮ.ศ.1220-1294   บันทึกไว้ว่า


عَنِ الْبَرَاءِ بْنِ عَازِبٍ رضى الله عنه فِي قَوْلِهِ تَعَالَى: (يَا أَيُّهَا الرَّسُولُ بَلِّغْ مَا أُنْزِلَ إِلَيْكَ مِنْ رَبِّكَ): أي بَلِّغْ مِنْ فَضَائِلِ عَلِيٍّ، نُزِلَتْ فِي غَدِيرِ خُمٍّ ، فَخَطَبَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَهذا عَلِيٌّ مَوْلَاهُ.

ينابيع المودة لذوي القربى  ج 2 ص 243  ح 56
للشيخ سليمان بن ابراهيم القندوزي الحنفي
.
รายงานจากท่านอัลบัรรออฺ บินอาซิบ ในพระดำรัสของพระองค์

يَا أَيُّهَا الرَّسُولُ بَلِّغْ مَا أُنْزِلَ إِلَيْكَ مِنْ رَبِّكَ

เขากล่าวว่า  หมายถึง  จงประกาศเกี่ยวกับฟะฎออิลของอะลี โองการนี้ถูกประทานลงมาที่เฆาะดีรคุม  ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)ได้ทำการคุฏบะฮ์  ท่านได้กล่าวว่า  บุคคลใดที่ฉันคือผู้ปกครองของเขา ดังนั้นอะลีคนนี้คือผู้ปกครองของเขา


อ้างอิงจากหนังสือ ยะนาบีอุลมะวัดดะฮฺ  เล่ม 2 : 243 หะดีษที่ 56
ชื่อ: Re:หนึ่งวัน หนึ่งอายัต 8
โดย: L-umar เมื่อ กันยายน 02, 2009, 11:56:24 ก่อนเที่ยง

ท่านชะฮ์รอสตานี เกิดฮ.ศ. 479 – 548 เล่าว่า


حين نزل قوله تعالى : (يَا أَيُّهَا الرَّسُولُ بَلِّغْ مَا أُنْزِلَ إِلَيْكَ مِنْ رَبِّكَ وَإِنْ لَمْ تَفْعَلْ فَمَا بَلَّغْتَ رِسَالَتَهُ) فلما وصل غدير خم أمر بالدرجات فقمن ونادوا الصلاة جامعة ثم قال عليه الصلاة و السلام وهو على الرحال : من كنت مولاه فعلي مولاه اللهم وال من والاه وعاد من عاداه وانصر من نصره واخذل من خذله وأدر الحق معه حيث دار ألا هل بلغت ثلاثا
الكتاب : الملل والنحل  ج 1 ص 161
المؤلف : محمد بن عبد الكريم بن أبي بكر أحمد الشهرستاني


ตอนที่โองการ

يَا أَيُّهَا الرَّسُولُ بَلِّغْ مَا أُنْزِلَ إِلَيْكَ مِنْ رَبِّكَ وَإِنْ لَمْ تَفْعَلْ فَمَا بَلَّغْتَ رِسَالَتَهُ

ประทานลงมานั้น เมื่อท่าน(รอซูล ศ.)ได้มาถึงที่เฆาะดีรคุม ท่านสั่งให้ปัดกวาดเคลียพื้นที่ และพวกเขาได้ประกาศการนมาซญะมาอะฮฺ  ต่อจากนั้นท่านได้กล่าวปราศรัยโดยท่านอยู่บนอานพาหนะว่า   บุคคลใดที่ฉันคือผู้ปกครองของเขา ดังนั้นอะลีคือผู้ปกครองของเขา

อ้างอิงจาก หนังสืออัลมิลัล วันนิฮัล เล่ม 1 : 161

 
ท่านชะฮฺรอสตานีนั้นเป็นอุละมาอ์ซุนนี่ที่มีความเชี่ยวด้านสาขาอิลมุลกะลาม  ศาสนาต่างๆ และสำนักคิดของพวกนักปรัชญา  เขาเกิดที่เมืองชะฮ์ริสตาน ตั้งอยู่ระหว่างเมืองนัยซาบูรกับค่อวาริซม์ ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองแบกแดดในปีฮ.ศ.510 สามปีแล้วหวลกลับมาอยู่บ้านเกิดและเสียชีวิตที่นั่น.
ชื่อ: Re:หนึ่งวัน หนึ่งอายัต 8
โดย: L-umar เมื่อ กันยายน 02, 2009, 12:25:09 หลังเที่ยง

ท่านมุบาร็อก เฟารีรายงานว่า


أَخْرَجَهُ أَبُو نُعَيْمٍ فِي مَعْرِفَةِ الصَّحَابَةِ مِنْ رِوَايَةِ إِسْمَاعِيلَ بْنِ عَيَّاشٍ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ بِشْرٍ عَنْ عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ عَدِيٍّ الْبَهْرَانِيِّ عَنْ أَخِيهِ عَبْدِ الْأَعْلَى بْنِ عَدِيٍّ : أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ دَعَا عَلِيَّ بْنَ أَبِي طَالِبٍ يَوْمَ غَدِيرِ خُمٍّ فَعَمَّمَهُ

الكتاب : تحفة الأحوذي بشرح جامع الترمذي  ج 4 ص 429
المؤلف : محمد عبد الرحمن بن عبد الرحيم المباركفوري أبو العلا

อบูนุอัยมฺนำออกรายงานไว้ในหนังสือมะอฺริฟะตุซ-ซอฮาบะฮฺ จากรายงานของอิสมาอีลบินอัยย๊าช จากอับดุลลอฮฺบินอับดุลเราะหฺมานบินอะดีอัลบะฮ์รอนี จากพี่ชายเขาคืออับดุลอะอ์ลา บินอะดี เล่าว่า
แท้จริงท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)ได้เรียกท่านอะลี บินอบีตอลิบมาหาในวันที่เฆาะดีรคุม แล้วท่าน(ศ)ได้โพกอะมาม่า(ผ้าสะระบั่น)ให้เขา..

อ้างอิงจากหนังสือ ตุหฺฟะตุลอะหฺวะซี  เล่ม 4 :429


สรุป

ความจริงเรายังมีหลักฐานอีกมาก แต่คิดว่า เท่านี้คงพอทำให้ท่านได้ทราบว่า คำพูดที่อาจารย์ฟารีดกล่าวว่า อุละมาอ์อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ไม่เคยกล่าวว่า บทที่ 5 :67 ถูกประทานลงมาที่เฆาะดีรคุมเกี่ยวกับท่านอะลีนั้น
แท้จริงอาจารย์ฟารีดได้โกหกอย่างเห็นได้ชัด.
ชื่อ: Re:หนึ่งวัน หนึ่งอายัต 8
โดย: L-umar เมื่อ กันยายน 02, 2009, 02:17:10 หลังเที่ยง


อ้างอิงบทความจากอาจารย์ฟารีด

ประการที่สอง  


                 นอกจากชีอะฮ์จะโกหกว่าอายะห์นี้ถูกประทานมาเกี่ยวกับท่านอาลีแล้ว ชีอะฮ์ยังโกหกต่อไปอีกว่า เรื่องนี้รายงานมาในลักษณะ มุตะวาเต็ร หมายถึงมหาชนรายงาน ซึ่งคำว่า มุตะวาเต็รในแวดวงของนักวิชาการฮะดีษนั้นหมายถึงบรรดาผู้รายงานในทุกระดับมีจำนวนมาก โดยเป็นไปไม่ได้ที่พวกเขาจะรวมหัวกันโกหก แต่เราก็ไม่พบรายงานสักบทเดียวที่ศอเฮียะห์จะยืนยันว่า อายะห์นี้ถูกประทานมาเกี่ยวกับท่านอาลี แต่เหล่าชีอะฮ์ใช้วิธีอ้างมั่วว่าอายะห์นี้ถูกประทานทีฆ่อดีรคุม แล้วนำไปประกบกับฮะดีษที่รายงานเหตุการณ์คุตบะห์ของท่านนบีที่ฆ่อดีรคุม แล้วก็หลอกผู้คนว่า นี่แหละหลักฐานทั้งจากอัลกุรอานและฮะดีษเรื่องการแต่งตั้งท่านอาลี




วิจารณ์

ในบางครั้งการนำเสนอหลักฐานซ้ำแล้วซ้ำเล่ากับคนประเภทนี้ ถือว่าไม่ส่งผลอันใด

แต่ถ้าเพื่อพิสูจน์ให้สาธารณชนได้ประจักษ์อันนี้ถือว่า จำเป็น

ต่อไปนี้คือรายชื่อของอุละมาอ์อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ และรายชื่อหนังสือที่บันทึกว่า บทที่ 5 โองการที่ 67 ได้ถูกประทานลงมาที่เฆาะดีรคุมเกี่ยวกับท่านอะลี   มีดังนี้


الحافظ ابو بكر الشيرازي في كتابه ما نزل من القرآن في أمير المؤمنين،
ฮาฟิซ อบูบักร อัชชีรอซี
وابن مردويه كما في الدر المنثور 2 / 298،
อิบนุมุรดะวัยฮฺ
والثعلبي في الكشف والبيان،
อัษษะอ์ละบี
وابو نعيم الاصفهاني في ما نزل من القرآن في علي كما في الخصائص: 29،
อบูนุอัยมฺ อัลอิศฟะฮานี
والواحدي النيسابوري في اسباب النزول: 150،
อัลวาฮิดี อันนัยซาบูรี
وابو سعيد السجستاني فى كتاب الولاية،
อบูสะอีด อัสสิญิสตานี
والحاكم الحسكاني في شواهد التنزيل كما في مجمع البيان 2 / 223،
อัลฮากิม อัลหัสกานี
وابن عساكر كما في الدر المنثور 2 / 298،
อิบนุอะซากิร
وابو الفتح الطنزي في الخصائص العلوية،
อบุลฟัตฮฺ
والفخر الرازي في التفسير الكبير 3 / 636،
อัลฟัครุล รอซี
والنصيبي فى مطالب السؤول: 16،
อันนะศี
والرسعني في تفسيره كما فى شرح المواهب 7 / 14،
อัลรอสอะนี
وشيخ الاسلام الحمويني في فرائد السمطين،
ชัยคุลอิสลาม อัลหะมูวัยนี
وعلي الهمداني في مودة القربى،
อะลี อัลฮะมะดานี
وابن العيني في عمدة القاري في شرح البخاري 8 / 584،
อิบนุ อัยนี
وابن الصباغ المالكي في الفصول المهمة: 27،
อิบนุศ-ศ็อบ บ๊าฆ อัลมาลิกี
ونظام الدين النيسابوري في تفسيره السائر الدائر 6 / 170،
นิซอมุดดีน อันนัยซาบูรี
وكمال الدين الميبذي في شرح ديوان امير المؤمنين: 415،
กะมาลุดดีน
وجلال الدين السيوطي في الدر المنثور 2 / 298،
ญะลาลุดดีน อัสสิยูตี
والشوكاني في فتح القدير 3 / 57،
อัช-เชากานี
والالوسي في روح المعاني 2 / 348،
อัลอะลูซี
والقندوزي في ينابيع المودة: 120،
อัลกอนดูซี
ومحمد عبده في المنار 6 / 463.
มุฮัมมัด  อับดุฮฺ


อุละมาอ์เหล่านี้ได้บันทึกอัสบาบุลนุซูลนี้ไว้ในตำราของพวกเขา   แต่ว่าพวกเขาไม่ยอมรับว่าเป็นเรื่องที่ท่านรอซูล(ศ)ทำการแต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮฺ  พวกเขาได้อธิบายว่า มันเป็นหะดีษที่กล่าวถึงฟะดีลัตของท่านอะลีบ้าง เมาลาหรือวะลีแปลว่า คนรักบ้าง ผู้ช่วยเหลือบ้าง แน่นอนถ้าพวกเขายอมรับพวกเขาก็คงเป้นชีอะฮ์ไปหมดแล้ว และคงถูกพวกวาฮาบีประนามเหมือนที่ประณามท่านอิบนุญะรีรที่เขียนหนังสืออัลวิลายะฮ์.
ชื่อ: Re:หนึ่งวัน หนึ่งอายัต 8
โดย: L-umar เมื่อ กันยายน 02, 2009, 05:10:47 หลังเที่ยง

อ้างอิงจากบทความอาจารย์ฟารีด

ประการที่สาม  


พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงประทานอัลกุรอานลงมาว่า

الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ الْإِسْلَامَ دِينًا


"วันนี้ข้าได้ให้ศาสนาของพวกเจ้าครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว และความเมตตาของข้าที่มีต่อพวกเจ้าเปี่ยมล้น และข้าพอใจที่ให้อิสลามเป็นศาสนาแก่พวกเจ้า"


ซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ที่ 3


               บรรดานักวิชาการต่างยืนยันตรงว่าอายะห์ที่ 3 นี้ถูกประทานลงมาในวันศุกร์ที่ 9 เดือนซุลฮิจญะห์ ปีที่ 10 ฮิจเราะห์ศักราช  ขณะที่ท่านนบีกำลังวุกูฟอยู่ที่ทุ่งอะรอฟะห์ในการทำฮัจญะห์ครั้งอำลาของท่าน และเป็นอายะห์สุดท้ายของอัลกุรอานที่ถูกประทานลง  

แต่เหตุการณ์ที่ฆ่อดีรคุมนั้น เกิดขึ้นในวันที่ 18 เดือนซุลฮิจญะห์ หลังจากทำฮัจญ์เรียบร้อยแล้ว จึงเป็นข้อพิสูจน์ความโกหกของชีอะฮ์อีกประการหนึ่งคือ ในเมื่ออัลลอฮ์ได้ลงอัลกุรอานอายะห์สุดท้ายมายืนยันว่าอิสลามครบถ้วนสมบูรณ์ไปแล้ว และเช่นไรเล่าที่ชีอะฮ์ได้อ้างว่าคำสั่งแต่งตั้งอายะห์ที่ 67 ถูกประทานลงมาที่ฆ่อดีรคุมหลังจากนั้น หมายถึงหลังจากอิสลามครบถ้วนไปแล้วกระนั้นหรือ
ซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ที่ 67 นี้ถูกประทานลงมาที่ฆ่อดีรคุม จึงเป็นเรื่องมดเท็จอย่างไม่ต้องสงสัย
ชื่อ: Re:หนึ่งวัน หนึ่งอายัต 8
โดย: L-umar เมื่อ กันยายน 02, 2009, 05:18:45 หลังเที่ยง

วิจารณ์ความโกหกของอาจารย์ฟารีด



สรุป  อาจารย์ฟารีดได้ปฏิเสธว่า โองการนี้

الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ الْإِسْلَامَ دِينًا

วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้ว และข้าได้ทำให้นิอฺมะฮ์ของข้าครบถ้วนแก่พวกเจ้าแล้ว  และข้าพึงพอใจที่ให้อิสลามเป็นศาสนาแก่พวกเจ้า

ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ  โองการที่ 3

ไม่มีอุละมาอ์ซุนนี่คนใดได้รายงานหะดีษหรือกล่าวว่า มันถูกประทานลงมาทีเฆาะดีรคุมเกี่ยวกับท่านอะลี



เชิญท่านอ่านหะดีษที่อุละมาอ์ซุนนี่รายงานเรื่องนี้เองเถิด...


ท่านอัลเคาะฏีบ อัลบัฆดาดี เกิดฮ.ศ.392 – 463 บันทึกหะดีษไว้บทหนึ่งว่า


حَبْشون بْنُ مُوسَى بْنُ أَيُّوبَ أَبُو نَصْرٍ الخلاَلُ سَمِعَ عَلِيَّ بْنَ سَعِيدِ بْنِ قُتَيْبَةَ الرَّمْلِيُّ وَالْحَسَنُ بْنُ عَرَفَةَ الْعَبْدِيُّ وَ عَلِيُّ بْنُ عَمْرٍو الْأَنْصَارِيُّ وَ عَلِيُّ بْنُ الْحُسَيْنِ بْنِ إِشْكَابٍ وَ عَبْدُ اللَّه بْن أَيُّوب الْمُخَرِّمِيُّ وَ سُلَيْمَانُ بْنُ تَوْبَةَ النَّهْرَوَانِيّ وَ حَنْبَلُ بْن إِسْحَاق الشَّيْبَانِيُّ
رَوى عَنْهُ أَبُو بَكْر بْن شَاذَان وَ أَبُو الْحَسَن الدَّارَقُطْنِيُّ وَ أَبُو حَفْصٍ بْن شَاهِين وَ أَحْمَدُ بْنُ الْفَرَجِ بْنُ الْحَجَّاجِ وَ أَبُو الْقَاسِمِ بْنُ الثَّلاَّج وَغَيْرُهُمْ وَكاَنَ ثِقَةً يَسْكُنُ باَبَ الْبَصْرَة أَنْبَأَنَا عَبْدُ اللَّهِ بن علي بن محمد بْن بَشْرَانِ أَنْبَأَنَا عَلِيّ بْن عُمَر الْحَافِظُ حَدَّثَنَا أَبُوْ نَصْرٍ حَبْشوْن بْنُ مُوْسَى بْنُ أَيُّوْبَ الْخلاَلُ حَدَّثَنَا عَلِيُّ بْنَ سَعِيْدِ الرَّمْلِيّ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ القرشي عَنِ بْنِ شَوْذَبٍ عَنْ مَطَرٍ الْوَرَّاقِ عَنْ شَهْرِ بْنِ حَوْشَبٍ عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ قَالَ :
مَنْ صَامَ يَوْمَ ثَمَانِ عَشْرَةَ مِنْ ذِي الْحِجَّةِ كُتِبَ لَهُ صِيَامُ سِتِّيْنَ شَهْرًا وَهُوَ يَوْمَ غَدِيرِ خُمٍّ لَمَّا أَخَذَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِيَدِ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ فَقَالَ أَلَسْتُ وَلِيُّ الْمُؤْمِنِينَ قَالُوْا بَلَى يَا رَسُوْلَ اللهِ قاَلَ مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ فَقَالَ عُمَرُ بْنُ الْخَطَّابِ بَخٍ بَخٍ لَكَ ياَ بْنَ أَبِي طَالِبٍ أَصْبَحْتَ مَوْلاَيَ وَمَوْلَى كُلِّ مُسْلِمٍ فَأَنْزَلَ اللَّهُ الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ

الكتاب : تاريخ بغداد   ج 8 / ص 289  رقم الحديث : 4392
المؤلف : أحمد بن علي أبو بكر الخطيب البغدادي
الناشر : دار الكتب العلمية - بيروت
عدد الأجزاء : 14

อ้างอิงจากหนังสือ

ตารีคบัฆด๊าด โดยอัลเคาะฏีบอัลบัฆดาดี เล่ม 8 : 289 หะดีษที่ 4392
ชื่อ: Re:หนึ่งวัน หนึ่งอายัต 8
โดย: L-umar เมื่อ กันยายน 02, 2009, 05:32:20 หลังเที่ยง


ความหมายหะดีษ

จากชะฮ์ริ บินเหาชับ จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺกล่าวว่า  บุคคลใดได้ถือศีลอดในวันที่ 18 เดือนซุลหิจญะฮฺ   จะถูกบันทึก

สำหรับเขา(ว่าเขา)ได้ถือศีลอดถึง 60 เดือน และมัน( วันที18 )คือวันที่เฆาะดีรคุม  ตอนที่ท่านนบี(ศ)ได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้น) แล้วกล่าวว่า :

ฉันคือผู้ปกครองของบรรดามุอฺมินทั้งหลายใช่หรือไม่ ?

พวกเขา(บรรดาซอฮาบะฮฺ)กล่าวว่า : หามิได้ ใช่แล้วครับ โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ

ท่าน(ศ)จึงกล่าวว่า : บุคคลใดที่ฉันคือผู้ปกครองของเขา ดังนั้นอะลีก็คือผู้ปกครองของเขา

ท่านอุมัรบินคอตตอบได้กล่าวว่า : ขอแสดงความยินดีกับท่านด้วย โอ้บุตรของอบูตอลิบ (บัดนี้)ท่านได้กลายเป็นเมาลาผู้ปกครองของฉันและผู้

ปกครองของมุสลิมทุกคนแล้ว  ดังนั้นอัลลอฮ์จึงทรงประทานโองการนี้ลงมา

الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ

วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้ว ... (ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 3 )



เป็นไงครับ ท่านอาจารย์ฟารีดบอกว่า ไม่เคยมีอุละมาอ์ซุนนี่รายงานไว้แบบนี้  แล้วหะดีษบทนี้มันเป้นของใครครับอาจารย์ ?

สรุปง่ายๆตัวท่านอาจารย์ฟารีดเองนั่นแหล่ะที่เป็นคนโกหก ไม่ใช่ชีอะฮ์

ตอนต่อไปเราจะมาศึกษา สะนัด ( สายรายงานหะดีษ ) บทนี้ว่า เศาะหิ๊หฺ  หรือ  ดออีฟ  อินชาอัลลอฮฺ
ชื่อ: Re:หนึ่งวัน หนึ่งอายัต 8
โดย: L-umar เมื่อ กันยายน 03, 2009, 09:03:44 ก่อนเที่ยง

อุละมาอ์ซุนนี่สาขาอัลญัรฮุวัตตะอ์ดีล(วิจารณ์ชีวประวัตินักรายงานหะดีษ)ต้องตกอยู่ในภาวะอึดอัดใจกับหะดีษของท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ที่รายงานว่าซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ  โองการที่ 3 นี้ถูกประทานลงมาที่เฆาะดีรคุม ตอนที่ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)กลับจากการประกอบพิธีหัจญะตุลวิดาอฺ ท่านแวะพักลงที่นั่น ได้นมาซญะมาอะฮ์ร่วมกันและได้ปราศรัยจนจบลงด้วยวะซียัตครั้งสุดท้ายของท่านที่มีต่อประชาชาติว่า ให้ยึดมั่นต่อคัมภีร์กุรอ่านและอะฮ์ลุลบัยต์ หลังจากนั้นท่านได้ให้ท่านอะลีขึ้นมาอยู่บนมิมบัรกับท่าน และได้จับมือท่านอะลีชูขึ้นพร้อมทั้งประกาศว่า  อะลีคือคอลีฟะฮฺสืบต่อจากท่าน

ท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ยังได้รายงานอีกว่า ท่านนบี(ศ)ได้สั่งซอฮาบะฮฺให้ถือศีลอดในวันนั้นเพื่อเป็นการขอบคุณ(ชูโก้ร)ต่ออัลลอฮฺตะอาลา และรางวัลของผู้ที่ถือศีลอดในวันนั้นเทียบเท่ากับการถือศีลอดถึง 60 เดือน  


عن شهر بن حوشب عن ابي هريرة قال من صام يوم ثماني عشرة من ذي الحجة كتب له صيام ستين شهرا وهو يوم غدير خم لما اخذ النبي ( صلى الله عليه و سلم ) بيد علي بن أبي طالب فقال ألست ولي المؤمنين قالوا بلى يا رسول الله قال من كنت مولاه فعلي مولاه فقال عمر بن الخطاب بخ بخ لك يا ابن أبي طالب أصبحت مولاي ومولى كل مسلم فأنزل الله عز و جل \\\" اليوم أكملت لكم دينكم \\\"
تاريخ دمشق  لابن عساكر ( 499- 571هـ.)    ج 42 / ص 233

ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺกล่าวว่า  : บุคคลใดได้ถือศีลอดในวันที่ 18 เดือนซุลหิจญะฮฺ   จะถูกบันทึกสำหรับเขา(ว่าเขา)ได้ถือศีลอดถึง 60 เดือน และมัน( วันที่18 )คือวันที่เฆาะดีรคุม  ตอนที่ท่านนบี(ศ)ได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้น) แล้วกล่าวว่า : ฉันคือผู้ปกครองของบรรดามุอฺมินทั้งหลายใช่หรือไม่ ?
พวกเขา(บรรดาซออาบะฮฺ)กล่าวว่า : หามิใช่แล้วครับ โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ
ท่าน(ศ)จึงกล่าวว่า : บุคคลใดที่ฉันคือผู้ปกครองของเขา ดังนั้นอะลีก็คือผู้ปกครองของเขา
ท่านอุมัรบินคอตตอบได้กล่าวว่า : ขอแสดงความยินดีกับท่านด้วย โอ้บุตรของอบูตอลิบ (บัดนี้)ท่านได้กลายเป็นเมาลาผู้ปกครองของฉันและผู้ปกครองของมุสลิมทุกคนแล้ว  ดังนั้นอัลลอฮ์จึงทรงประทานโองการนี้ลงมา

الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ

วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้ว ... (ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 3 )


อ้างอิงจากหนังสือ ตารีคดามัสกัส โดยอิบนิอะซากิร (ฮ.ศ. 499-571) เล่ม 42 : 233


สาเหตุที่ทำให้อุละมาอ์ซุนนี่สาขาอัลญัรฮุวัตตะอ์ดีล ต้องงุนงงและรู้สึกยุ่งยากลำบากใจกับหะดีษบทนี้คือ พวกเขาไม่สามารถหาข้อตำหนิในสายรายงานของหะดีษบทนี้ได้ เพราะบรรดานักรายงานหะดีษบทนี้ เป็นรอวีที่อยู่ในตำราซอฮีฮุบุคอรีและซอฮีฮุมุสลิม ดังนั้นหากนักรายงานหะดีษบทนี้ถูกตำหนิ ก็เท่ากับเป็นการตำหนิตำราเศาะหิ๊หฺ เช่นท่านบุคอรีและมุสลิมด้วยเช่นกัน

และพวกเขาก็ไม่อาจยอมรับหะดีษบทนี้ได้ด้วยเช่นเดียวกัน เพราะว่าท่านอุมัรได้ถูกถามถึงที่มาของอายะฮ์นี้แล้วเจ้าตัวได้ปฏิเสธว่า อายะฮืนี้ไม่ได้ถูกประทานในวันเฆาะดีรคุม โดยท่านอุมัรกล่าวว่าอายะฮ์นี้ถูกประทานลงมาก่อนหน้านั้นในช่วงเวลาแห่งหัจญะตุลวิดาอฺ
การยอมรับหะดีษของท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ เท่ากับเป็นการตำหนิว่าท่านอุมัรพูดโกหก เพราะเขากล่าวว่าอัสบาบุลนุซูลอายะฮ์นี้ไม่ประทานลงมาที่เฆาะดีรคุม

แท้จริงการแต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮฺได้ถูกประทานลงมาจากอัลลอฮฺตะอาลา โดยท่านนบี(ศ)เป็นผู้ประกาศต่อหน้าบรรดามุสลิมทั้งหลาย และท่านอุมัรยังได้ออกมาแสดงความยินดีกับท่านอะลี

เราถือว่าเป็นเรื่องปกติสำหรับพวกวาฮาบีที่ดื้อรั้นต่อหลักฐานจะต้องหาวิธีการปฏิเสธหะดีษนบีบทนี้ทุกรูปแบบ เพราะมันขัดแย้งต่ออะกีดะฮฺของพวกเขานั่นเอง  

ทางออกของพวกวาฮาบีต่อหะดีษบทนี้คือ กล่าวแบบไร้หลักฐานว่า เป็นหะดีษมุงกัร หรือหะดีษเก๊
ชื่อ: Re:หนึ่งวัน หนึ่งอายัต 8
โดย: L-umar เมื่อ กันยายน 03, 2009, 10:30:08 ก่อนเที่ยง

ประการแรก

เราได้พิสูจน์ต่อพวกวาฮาบีแล้วว่า อายะฮ์นี้

الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ الْإِسْلَامَ دِينًا

วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้ว และข้าได้ทำให้นิอฺมะฮ์ของข้าครบถ้วนแก่พวกเจ้าแล้ว  และข้าพึงพอใจที่ให้อิสลามเป็นศาสนาแก่พวกเจ้า

ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ อายะฮ์ 3 ถูกประทานลงมาในวันที่ 18 ซุลหิจญะฮ์ ณ.เฆาะดีรคุม


โดยหะดีษอัสบาบุลนุซูลของอายะฮ์นี้ได้ถูกบันทึกอยู่ไว้ในหนังสืออะฮ์ลุสสุนนะฮ์ สองเล่มคือ

1.   ตารีคบัฆด๊าด โดยอัลเคาะฏีบอัลบัฆดาดี (ฮ.ศ.392 – 463) เล่ม 8 : 289 หะดีษที่ 4392

2.   ตารีคดามัสกัส โดยอิบนิอะซากิร (ฮ.ศ. 499-571) เล่ม 42 : 233




อันดับต่อไป

เราจะพิสูจน์ความถูกต้องของสะนัด (สายรายงานหะดีษ)   ว่า นักรายงานหะดีษบทนี้ เชื่อถือได้ หรือไม่ ?


หากเชื่อถือไม่ได้  ย่อมแสดงว่า หะดีษบทนี้  มีสถานะ  ดออีฟ  เป็นอันว่า อาจารย์ฟารีดพูดจริง

หากเชื่อถือได้  ย่อมแสดงว่า หะดีษบทนี้  มีสถานะ  เศาะหิ๊หฺ  แสดงว่า ชีอะฮ์พูดจริง



สะนัดหะดีษ

อัลเคาะฏีบ อัลบัฆดาดีรายงานสะนัดหะดีษไว้ดังนี้คือ

أخرج الخطيب البغدادي :

أَنْبَأَنَا عَبْدُ اللَّهِ بْنُ عَلِيِّ بْنُ مُحَمَّدِ بْنِ بَشْرَانِ أَنْبَأَنَا عَلِيُّ بْنُ عُمَرَ الْحَافِظُ
 
حَدَّثَنَا أَبُوْ نَصْرٍ حَبْشُونُ بْنُ مُوسَى بْنُ أَيُّوْبَ الْخَلاَّلُ
 
حَدَّثَنَا عَلِيُّ بْنَ سَعِيْدِ الرَّمْلِيّ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ القرشي عَنِ بْنِ شَوْذَبٍ
 
عَنْ مَطَرٍ الْوَرَّاقِ عَنْ شَهْرِ بْنِ حَوْشَبٍ عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ قَالَ  :
 
مَنْ صَامَ يَوْمَ ثَمَانِ عَشْرَةَ مِنْ ذِي الْحِجَّةِ كُتِبَ لَهُ صِيَامُ سِتِّيْنَ شَهْرًا وَهُوَ يَوْمَ غَدِيرِ خُمٍّ


ส่วนอิบนุอะซากิรได้รายงานสะนัดหะดีษนี้มาจากอัลเคาะฏีบ อัลบัฆดาดีอีกทีหนึ่งดังนี้


أخرج إبن عساكر عن الخطيب البغدادي :

عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ عَلِيِّ بْنِ مُحَمَّدِ بْنِ بَشْرَانِ ، عَنْ عَلِيِّ بْنِ عُمَرَ الدَّارُ قُطْنِيّ ،

عَنْ أَبِيْ نَصْرٍ حَبْشُوْنَ الْخَلاَّلِ ، عَنْ عَلِيِّ بْنِ سَعِيْدِ الرَّمْلِيّ ،

عن ضَمْرَةِ بْنِ رَبِيعَةَ ، عَنْ عَبْدِاللهِ بْنِ شَوْذَبٍ،

عَنْ مَطَرٍ الْوَرَّاقِ عَنْ شَهْرِ بْنِ حَوْشَبٍ عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ قَالَ  :

من صام يوم ثمان عشر من ذي الحجة كتب له صيام ستين شهراً ، وهو يوم غدير خم...
ชื่อ: Re:หนึ่งวัน หนึ่งอายัต 8
โดย: L-umar เมื่อ กันยายน 03, 2009, 10:35:53 ก่อนเที่ยง

วิจารณ์นักรายงาน รายบุคลล


عَبْدُ اللَّهِ بْنُ عَلِيِّ بْنُ مُحَمَّدِ بْنِ بَشْرَان ِ←  

عَلِيُّ بْنُ عُمَرَ الدَّارُ قُطْنِيّ ←

أَبُوْ نَصْرٍ حَبْشُونُ بْنُ مُوسَى بْنُ أَيُّوْبَ الْخَلاَّلُ ←  

عَلِيُّ بْنَ سَعِيْدِ الرَّمْلِيّ ←

ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ القرشي ←

عَبدُ الله بْنِ شَوْذَبٍ ←

مَطَرٍ الْوَرَّاقِ ←

شَهْرِ بْنِ حَوْشَبٍ ←

أَبو هُرَيْرَةَ


1.อับดุลลอฮฺ บินอะลี บินมุฮัมมัด บินบัชรอน →

2.อะลี บินอุมัร อัดดารุกุฏนี →

3.อบูนัศรฺ หับชูน บินมูซา บินอัยยูบ อัลค็อลล้าล →

4.อะลี บินสะอีด อัลร็อมลี →

5.เฎาะมะเราะฮฺ บินเราะบีอะฮฺ อัลกุเราะชี →

6.อับดุลลอฮฺ  บิน เชาซับ →

7.มะฏ็อร อัลวัรรอก →

8.ชะฮ์รุ บินเหาชับ →

9.อบูฮุร็อยเราะฮ์
ชื่อ: Re:หนึ่งวัน หนึ่งอายัต 8
โดย: L-umar เมื่อ กันยายน 03, 2009, 10:43:23 ก่อนเที่ยง

บุคคลแรกที่รายงานหะดีษนี้คือ


1. อบูฮุร็อยเราะฮ์ →   เป็นเศาะหาบะฮฺ

เชิญท่านอ่านชีวประวัติบุคคลท่านนี้ได้ที่เว็บ

http://www.azsunnah.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=9
ชื่อ: Re:หนึ่งวัน หนึ่งอายัต 8
โดย: L-umar เมื่อ กันยายน 03, 2009, 12:15:56 หลังเที่ยง

2.   ชะฮ์รุ บินเหาชับ  เป็นตาบิอี มรณะฮ.ศ. 100 →



หะดีษที่อัลบุคอรีบันทึกรายงานของชะฮ์รุ บินเหาชับไว้ในหนังสืออะดับมุฟร็อด มีดังนี้

عن شهر بن حوشب عن أم الدرداء عن أبى الدرداء قال : أوصانى رسول الله صلى الله عليه و سلم بتسع لا تشرك بالله شيئا وإن قطعت أو حرقت ولا تتركن الصلاة المكتوبة متعمدا ومن تركها متعمدا برئت منه الذمة ولا تشربن الخمر فإنها مفتاح كل شر وأطع والديك وإن أمراك أن تخرج من دنياك فاخرج لهما ولا تنازعن ولاة الأمر وإن رأيت أنك أنت ولا تفرر من الزحف وإن هلكت وفر أصحابك وأنفق من طولك على أهلك ولا ترفع عصاك على أهلك وأخفهم في الله عز و جل
قال الشيخ الألباني : حسن


عن شهر بن حوشب عن أسماء بنت يزيد قالت قال النبي صلى الله عليه و سلم : ألا أخبركم بخياركم قالوا بلى قال الذين إذا رءوا ذكر الله أفلا أخبركم بشراركم قالوا بلى قال المشاءون بالنميمة المفسدون بين الأحبة الباغون البرآء العنت
قال الشيخ الألباني : حسن


ดูหนังสืออะดับมุฟร็อด الأدب المفرد หะดีษที่ 18 , 323



ท่านมุสลิม ได้บันทึกรายงานของชะฮ์รุ บินเหาชับไว้ในหนังสือเศาะหิ๊หฺมุสลิม หะดีษที่ 5469


حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ شَبِيبٍ قَالَ سَمِعْتُهُ مِنْ شَهْرِ بْنِ حَوْشَبٍ فَسَأَلْتُهُ فَقَالَ سَمِعْتُهُ مِنْ عَبْدِ الْمَلِكِ بْنِ عُمَيْرٍ قَالَ فَلَقِيتُ عَبْدَ الْمَلِكِ فَحَدَّثَنِى عَنْ عَمْرِو بْنِ حُرَيْثٍ عَنْ سَعِيدِ بْنِ زَيْدٍ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ -


เชคอัลบานีกล่าวว่า หะดีษนี้  เศาะหิ๊หฺ


حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ بَشَّارٍ حَدَّثَنَا أَبُو عَبْدِ الصَّمَدِ حَدَّثَنَا مَطَرٌ الْوَرَّاقُ عَنْ شَهْرِ بْنِ حَوْشَبٍ عَنْ أَبِى هُرَيْرَةَ قَالَ كُنَّا نَتَحَدَّثُ عِنْدَ رَسُولِ اللَّه
ِ
ดูเศาะหิ๊หฺ อิบนิมาญะฮฺ  หะดีษที่ 2783


อัลอิจญ์ลีกล่าวว่า :

شهر بن حوشب شامي تابعي ثقة
الثقات للعجلي ج 1 / ص 461 رقم 741

ชะฮ์รุ บินเหาชับ  ชาวเมืองช่าม เป็นตาบิอี  เชื่อถือได้ในการรายงาน  

ดูอัษ-ษิกอต อันดับที่ 741


อิบนุหะญัรกล่าวว่า :

อัลบุคอรีรายงานหะดีษของชะฮ์รุไว้ในหนังสืออัลอะดับมุฟาร็อด และมุสลิมรายงานหะดีษของเขาไว้ในเศาะหิ๊หฺของเขา และอัศหาบุสสุนันทั้งสี่รายงานหะดีษของเขา

ชะฮ์รุรายงานหะดีษจาก :
นางอัสมา บินติยะซีด,ท่านหญิงอุมมุสะละมะฮฺ, อบูฮุร็อยเราะฮฺ,ท่านหญิงอาอิชะฮฺ, อุมมุหะบีบะฮฺ, บิล้าล มุอัซซิน, ตะมีมีอัดดารี,เษาบาน,ซัลมาน,อบูซัร,อบูมาลิก อัลอัชอะรีและอบูสะอีด

ดูตะฮ์ซีบุต-ตะฮ์ซีบ อันดับที่ 635
تهذيب التهذيب - (ج 4 / ص 324 رقم 635



ท่านบัดรุดดีน อัลอัยนี สังกัดมัซฮับฮะนะฟี (ฮ.ศ.762-855)ได้บันทึกคำวิจารณ์ถึงชะฮ์รุไว้ดังนี้


قال موسى بن هارون: ضعيف
มูซาบินฮารูน กล่าวว่า   เขาดออีฟ

قال النسائى: ليس بالقوى
อัน-นะซาอี กล่าวว่า  เขาไม่แข็งในการรายงาน

كان يحيى بن سعيد لا يحدث عن شهر
ยะห์ยา บินก็อฏฏอน ไม่รายงานหะดีษจากชะฮ์รุ

عن أحمد ابن حنبل: ما أحسن حديثه، ووثقه
อิหม่ามอะหมัดบินหัมบัล กล่าวว่า หะดีษของเขาช่างดีจริง และยังได้ให้ความน่าเชื่อแก่ชะฮ์รุ

قال الترمذى، عن البخارى: شهر حسن الحديث، وقوى أمره،
อัต-ติรมิซี เล่าจากอัลบุคอรีว่า ชะฮ์รุ หะดีษดี เรื่องของเขาแข็งแกร่ง

وقال: إنما تكلم فيه ابن عون
และติรมิซีกล่าวว่า แท้จริงอิบนุอูนพูดวิจารณ์เกี่ยวกับเขาไว้

عن يحيى بن معين: ثقة. وعنه: ثبت
จากยะห์ยา บินมะอีน กล่าวว่า เขาเชื่อถือได้ในการรายงาน และเขามั่นคง

قال يعقوب بن شيبة: ثقة، على أن بعضهم قد طعن فيه.
ยะอ์กูบ บินชัยบะฮฺ กล่าวว่า เขาเชื่อถือได้ในการรายงาน มีบางส่วนที่ตำหนิในตัวชะฮ์รุ


ดูหนังสือมะฆอนีลอัคยาร ฟีชัรฮิ ริญาลิ มะอานิลอาษ้าร เล่ม 2 : 36 อันดับที่ 1040

الكتاب : مغانى الأخيار فى شرح أسامى رجال معانى الآثار  ج 2 ص 36 رقم 1040
المؤلف : أبو محمد محمود بن أحمد بن وسى بن أحمد بن حسين الغيتابى الحنفى بدر الدين العينى



อัซซะฮะบีกล่าวว่า :

شهر بن حوشب الأشعري الشاميّ. قرأ القرآن على ابن عباس. وكان عالماً كثير الرواية الحديث.
العبر في خبر من غبر  للذهبي  ج 1 / ص 21

ชะฮ์รุ บินเหาชับ อัลอัชอะรี ชาวเมืองช่าม เรียนคัมภีร์กุรอ่านกับท่านอิบนุอับบาส และเขาเป็นผู้รู้คนหนึ่ง รายงานหะดีษไว้มากมาย

ดูอัลอิบะรุ ฟีเคาะบะริน มินฆุบัร  เล่ม 1 : 21



อัซ-ซะฮะบีได้ให้บทสรุปเกี่ยวกับการรายงานหะดีษของ " ชะฮ์รุ บินเหาชับ "  ว่า

أ - أقوال الأئمة فيه:
أقوالهم فيه كثيرة، ومتعارضة، فقد وثقه كثير، وضعفه كثير، وبعضهم عَدّ حديثه من مرتبة الحسن، كالإمام البخاري، وقَالَ النَّضْرُ بْنُ شُمَيْلٍ الْمَازِنِيُّ: \\\"...وإنما طعنوا فيه لأنه ولي أمر السلطان\\\" انظر لزاماً سنن الترمذي: 5/58 وانظر ترجمته في الميزان: 2/283، والتهذيب: 4/369-372، والجرح والتعديل: 4/382.

หนึ่ง - ทัศนะของบรรดาอะอิมมะฮ์เกี่ยวกับชะฮ์รุ
นักวิชาการได้วิจารณ์เกี่ยวกับเขาไว้มากมาย และต่างฝ่ายต่างค่อนข้างขัดแย้งกัน  แท้จริงส่วนมากถือว่าเขาเชื่อถือได้ในการรายงาน และส่วนมากถือว่าเขาดออีฟในการรายงาน   และอีกบางส่วนนับว่าเขาอยู่ในระดับฮาซัน(ดี)เช่นอิหม่ามบุคอรี เป็นต้น  และอันนัฎรุ บินชุมัยลิน อัลมาซินีกล่าวว่า และอันที่จริงที่พวกเขาตำหนิเกี่ยวกับชะฮ์รุ เหตุเพราะว่าชะฮ์รุนั้นเป็น วะลียุ อัมร์ของซุลตอน นั่นเอง

ب- حاصل الأقوال فيه:
الحاصل أنه مختلف فيه، والعمل على تحسين حديثه عند علماء الحديث، والله أعلم.

สอง - ผลสรุปของคำวิจารณ์ต่างๆ(ของนักวิชาการ)เกี่ยวกับชะฮ์รุ
ผลคือ (นักวิชาการ)มีความขัดแย้งกับเกี่ยวเขา และให้ดำเนินการไปบนการถือว่า หะดีษของเขานั้น ฮาซัน ตามทัศนะบรรดาอุละมาอ์หะดีษ วัลลอฮุ อะอ์ลัม.

อ้างอิงจากหนังสือ
มันตุกุลลิมะ ฟีฮิ วะฮุวะ มุวัษษัก เอาศอลิฮุลหะดีษ โดยอัซซะฮะบี  เล่ม 1 : 177 อันดับที่ 4
كتاب : مَنْ تُكُلِّمَ فِيْهِ وهو موثق أو صالح الحديث  للذهبي  - (ج 1 / ص 177 رقم 4
 


สรุปสั้นๆว่า  การรายงานหะดีษของ ชะฮ์รุ บินเหาชับ เชื่อถือได้
ชื่อ: Re:หนึ่งวัน หนึ่งอายัต 8
โดย: L-umar เมื่อ กันยายน 03, 2009, 01:10:44 หลังเที่ยง

3. มะฏ็อร บินเฏาะฮ์มาน อัลวัรรอก เป็นตาบิอี มรณะฮ.ศ. 129 →



อัซ-ซะฮะบีได้ให้บทสรุปเกี่ยวกับการรายงานหะดีษของ " มะฏ็อร อัลวัรรอก "  ว่า


مَطَرُ الْوَرَّاقُ : صَدُوْق  مَشْهُوْر، ضَعُفَ فِي عَطاَء.
มะฏ็อร อัลวัรรอก นั้น เศาะดู๊ก คือเชื่อถือได้  มัชฮูร คือมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกัน  เขา"ดออีฟ "ในรายงานที่มาจากอะฏออ์

مَطَرُ بْنُ طَهْمَانَ الْوَرَّاقُ أَبُو رَجَاءَ الْخُرَسَانِيُّ ، سكن البصرة، قيل توفى سنة 129هـ،
มะฏ็อร บินเฎาะฮ์มาน อบูเราะญาอ์ อัลคูรอซานี  อาศัยอยู่ที่เมืองบัศเราะฮ์  มรณะฮ.ศ. 129

أ - أقوال الأئمة فيه:
قال بعض الأئمة: \\\"لا بأس به\\\"، وقال بعضهم: \\\"صالح\\\"، وقال بعضهم: \\\"صدوق\\\"، وضعفوه في عطاء خاصة.

หนึ่ง – ทัศนะของบรรดาอะอิมมะฮ์เกี่ยวกับมะฏ็อร

อะอิมมะฮ์(นักวิชาการ) บางส่วนกล่าวว่า  ไม่เป็นไรในการรายงานของเขา  และนักวิชาการบางส่วนกล่าวว่า  ศอและห์ คือการรายงานของเขาดี  และอีกบางส่วนกล่าวว่า  ศอดู๊ก คือเชื่อถือได้ และพวกเขาได้ถือว่ารายงานของมะฏ็อรที่มาจากอะฏออ์ " ดออีฟ " โดยเฉพาะ


ب- الحاصل: الحاصل أنه حسن الحديث، وأنه ضعيف في عطاء.
สอง - ผลสรุปของคำวิจารณ์ต่างๆ(ของนักวิชาการ)เกี่ยวกับมะฏ็อร

แท้จริงเขา(มะฏ็อร)  หุสนุลหะดีษ คือมีสถานะรายงานหะดีษ ดี และเขาดออีฟในรายงานของอะฏออ์


อ้างอิงจากหนังสือ

มันตุกุลลิมะ ฟีฮิ วะฮุวะ มุวัษษัก เอาศอลิฮุลหะดีษ โดยอัซซะฮะบี  เล่ม 1 : 332 อันดับที่ 329كتاب : من تكلم فيه وهو موثق أو صالح الحديث   ج 1 / ص 332  رقم 329


รายงานมะฏ็อรในเศาะหิ๊หฺบุคอรี หะดีษที่ 54

باب قَوْلِ اللَّهِ تَعَالَى ( وَلَقَدْ يَسَّرْنَا الْقُرْآنَ لِلذِّكْرِ ) . ( 54 ) وَقَالَ النَّبِىُّ - صلى الله عليه وسلم - « كُلٌّ مُيَسَّرٌ لِمَا خُلِقَ لَهُ » . يُقَالُ مُيَسَّرٌ مُهَيَّأٌ . وَقَالَ مَطَرٌ الْوَرَّاقُ ( وَلَقَدْ يَسَّرْنَا الْقُرْآنَ لِلذِّكْرِ فَهَلْ مِنْ مُدَّكِرٍ ) قَالَ هَلْ مِنْ طَالِبِ عِلْمٍ فَيُعَانَ عَلَيْهِ


รายงานมะฏ็อรในเศาะหิ๊หฺมุสลิม เรียงลำดับเลขที่หะดีษดังนี้  103, 3997, 3998, 4357

عَنْ مَطَرٍ الْوَرَّاقِ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ بُرَيْدَةَ عَنْ يَحْيَى بْنِ يَعْمَرَ قَالَ لَمَّا تَكَلَّمَ مَعْبَدٌ بِمَا تَكَلَّمَ بِهِ فِى شَأْنِ الْقَدَرِ أَنْكَرْنَا ذَلِكَ.

عَنْ مَطَرٍ الْوَرَّاقِ عَنْ عَطَاءٍ عَنْ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ

حَدَّثَنَا مَطَرٌ الْوَرَّاقُ عَنْ عَطَاءٍ عَنْ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ

حَدَّثَنَا مَطَرٌ الْوَرَّاقُ حَدَّثَنَا زَهْدَمٌ الْجَرْمِىُّ قَالَ دَخَلْتُ عَلَى أَبِى مُوسَى وَهُوَ يَأْكُلُ لَحْمَ دَجَاجٍ وَسَاقَ الْحَدِيثَ بِنَحْوِ حَدِيثِهِمْ وَزَادَ فِيهِ قَالَ « إِنِّى وَاللَّهِ مَا نَسِيتُهَا ».

ข้อสังเกต : ในขณะที่อัซซะฮะบีกล่าวว่า นักวิชาการถือรายงานของมะฏ็อรที่มาจากอะฏออ์นั้น " ดออีฟ "  แต่ท่ามุสลิมกลับยอมรับว่า " เศาะหิ๊หฺ  " ดังที่ท่านได้เห็นข้างต้น


รายงานมะฏ็อรในสุนันอบีดาวูด หะดีษที่ 2192

حَدَّثَنَا مَطَرٌ الْوَرَّاقُ عَنْ عَمْرِو بْنِ شُعَيْبٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ جَدِّهِ أَنَّ النَّبِىَّ -صلى الله عليه
قال الألباني : حسن


รายงานมะฏ็อรในเศาะหิ๊หฺอิบนิมาญะฮฺ หะดีษที่ 1878

عَنْ حُسَيْنٍ الْمُعَلِّمِ عَنْ مَطَرٍ الْوَرَّاقِ عَنْ نَافِعٍ عَنِ ابْنِ عُمَرَ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ

หะดีษที่ 1958
عَنْ حُسَيْنٍ الْمُعَلِّمِ عَنْ مَطَرٍ الْوَرَّاقِ عَنْ نَافِعٍ عَنِ ابْنِ عُمَرَ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ


สรุปสั้นๆว่า  การรายงานหะดีษของ มะฏ็อร อัลวัรรอก เชื่อถือได้
ชื่อ: Re:หนึ่งวัน หนึ่งอายัต 8
โดย: L-umar เมื่อ กันยายน 03, 2009, 03:30:11 หลังเที่ยง


4. อับดุลลอฮฺ บินเชาซับ (เกิดฮ.ศ.86-156) →


ถือว่าเพียงพอแล้วที่ มุหัดดิษอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ ดังต่อไปนี้ได้บันทึหะดีษของอิบนิเชาซับไว้ในตำราของพวกเขา


1.   บุคอรี

2.   อบูดาวูด

3.   ติรมิซี

4.   นะซาอี

5.   อิบนิมาญะฮฺ

ยกเว้น " มุสลิม " เท่านั้น


และที่สำคัญเชคมุฮัมมัด นาศิรุดดีนอัลบานี ได้ให้การรับรองของหะดีษของ อิบนิเชาซับ ว่าอยุ่ในระดับ ฮาซัน เศาะหิ๊หฺ  ไว้ดังนี้

 
อัลบุคอรี รายงานหะดีษของอิบนิเชาซับไว้ในหนังสืออะดับมุฟร็อด หะดีษที่ 346

عن بن شوذب قال سمعت مالك بن دينار يحدث عن أبى غالب عن أم الدرداء قالت : زارنا سلمان من المدائن إلى الشام ماشيا وعليه كساء واندرورد قال يعنى سراويل مشمرة قال بن شوذب رؤى سلمان وعليه كساء مطموم الرأس ساقط الأذنين يعنى أنه كان أرفش فقيل له شوهت نفسك قال ان الخير خير الآخرة
قال الشيخ الألباني : حسن
เชคอัลบานีกล่าวว่า  เป็นหะดีษ  ฮาซัน

รายงานหะดีษของอิบนิเชาซับ ในสุนันอบีดาวูด หะดีษที่ 2714

عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ شَوْذَبٍ قَالَ حَدَّثَنِى عَامِرٌ - يَعْنِى ابْنَ عَبْدِ الْوَاحِدِ - عَنِ ابْنِ بُرَيْدَةَ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ عَمْرٍو قَالَ كَانَ رَسُولُ اللَّهِ    قال الألباني : حسن
เชคอัลบานีกล่าวว่า  เป็นหะดีษ  ฮาซัน

รายงานหะดีษของอิบนิเชาซับ ในสุนันติรมิซี หะดีษที่ 4066

حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ إِسْمَاعِيلَ حَدَّثَنَا الْحَسَنُ بْنُ وَاقِعٍ الرَّمْلِىُّ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ
عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ شَوْذَبٍ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ الْقَاسِمِ عَنْ كَثِيرٍ مَوْلَى عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ سَمُرَةَ عَنْ عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ سَمُرَةَ قَالَ جَاءَ عُثْمَانُ إِلَى النَّبِىِّ
قَالَ أَبُو عِيسَى هَذَا حَدِيثٌ حَسَنٌ غَرِيبٌ مِنْ هَذَا الْوَجْهِ.

รายงานหะดีษของอิบนิเชาซับ ในซอฮีฮุวะดออีฟ สุนันนะซาอี หะดีษที่ 3877

أَخْبَرَنَا عِيسَى بْنُ مُحَمَّدٍ - وَهُوَ أَبُو عُمَيْرِ بْنُ النَّحَّاسِ - وَعِيسَى بْنُ يُونُسَ - هُوَ الْفَاخُورِىُّ - قَالاَ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ عَنِ ابْنِ شَوْذَبٍ عَنْ مَطَرٍ عَنْ عَطَاءٍ عَنْ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ قَالَ خَطَبَنَا رَسُولُ اللَّهِ
قال الألباني : صحيح
เชคอัลบานีกล่าวว่า  เป็นหะดีษ  เศาะหิ๊หฺ

หะดีษที่ 4730

أَخْبَرَنَا عِيسَى بْنُ يُونُسَ قَالَ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ شَوْذَبٍ عَنْ ثَابِتٍ الْبُنَانِىِّ عَنْ أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ أَنَّ رَجُلاً أَتَى بِقَاتِلِ وَلِيِّهِ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- فَقَالَ النَّبِىُّ
قال الألباني : صحيح الإسناد
 เชคอัลบานีกล่าวว่า  เป็นหะดีษที่มีสะนัด เศาะหิ๊หฺ

รายงานหะดีษของอิบนิเชาซับ ในเศาะหิ๊หฺอิบนิมาญะฮฺ หะดีษที่ 1987

حَدَّثَنَا عَمْرُو بْنُ عُثْمَانَ بْنِ سَعِيدِ بْنِ كَثِيرِ بْنِ دِينَارٍ الْحِمْصِىُّ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ عَنِ ابْنِ شَوْذَبٍ عَنْ مَطَرٍ عَنْ عَطَاءٍ عَنْ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ قَالَ خَطَبَنَا رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- فَقَالَ « مَنْ كَانَتْ لَهُ أَرْضٌ فَلْيَزْرَعْهَا أَوْ لِيُزْرِعْهَا وَلاَ يُؤَاجِرْهَا ».
เชคอัลบานีกล่าวว่า  เป็นหะดีษ  เศาะหิ๊หฺ

หะดีษที่ 2179
حَدَّثَنَا أَبُو عُمَيْرٍ عِيسَى بْنُ مُحَمَّدٍ النَّحَّاسُ وَعِيسَى بْنُ يُونُسَ وَالْحُسَيْنُ بْنُ أَبِى السَّرِىِّ الْعَسْقَلاَنِىُّ قَالُوا حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ عَنِ ابْنِ شَوْذَبٍ عَنْ ثَابِتٍ الْبُنَانِىِّ عَنْ أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ قَالَ أَتَى رَجُلٌ بِقَاتِلِ وَلِيِّهِ إِلَى رَسُولِ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- فَقَالَ النَّبِىُّ
เชคอัลบานีกล่าวว่า  เป็นหะดีษ  เศาะหิ๊หฺ

หะดีษที่ 3460
حَدَّثَنَا عِيسَى بْنُ مُحَمَّدِ بْنِ النَّحَّاسِ الرَّمْلِىُّ وَأَيُّوبُ بْنُ مُحَمَّدٍ الرَّقِّىُّ قَالاَ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ عَنِ ابْنِ شَوْذَبٍ عَنْ بَهْزِ بْنِ حَكِيمٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ جَدِّهِ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ

เชคอัลบานีกล่าวว่า  เป็นหะดีษ  ฮาซัน



อิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานี บันทึกคำวิจารณ์ถึงอิบนิเชาซับ ไว้ว่า


อับดุลลอฮฺ บินเชาซับ อัลคูรอซานี  อบูอับดุลเราะหฺมาน อัลบัลคี อาศัยอยู่ที่เมืองบัศเราะฮ์ ต่อจากนั้นไปที่บัยตุลมักดิส

รายงานหะดีษจาก  :

ษาบิต อัลบะนานี, ฮาซันอัลบัศรี่, อิบนิซีรีน, บะฮ์ซุ บินหะกีม, สะอีดบินอบีอะรูบะฮฺ,อามิรบินอับดุลวาฮิด,อับดุลลอฮฺบินอัลกอสิม,มาลิกบินดีนาร,มุฮัมมัด บินญุหาดะฮฺ และมะฏ็อร อัลวัรรอก คนอื่นๆ


ผู้ที่รายงานหะดีษจากเขา  :

เฎาะมะเราะฮฺ บินเราะบีอะฮ์, อบูอิสฮ๊ากอัลฟะรอซี, อิบนุมุบารอก,อีซา บินยูนุส,มุฮัมมัดบินกะษีรอัลมะศีศี และคนอื่นๆ

عن أحمد ابن شوذب كان من الثقات
อิหม่ามอะหมัด กล่าวว่า อิบนิเชาซับ คือนักรายงานที่เชื่อถือได้คนหนึ่ง

وقال سفيان كان بن شوذب من ثقات مشائخنا
สุฟยาน กล่าวว่า อิบนิเชาซับ คือนักรายงานที่เชื่อถือได้จากบรรดาอาจารยืคนหนึ่งของเรา

 
قال بن معين وابن عمار والنسائي ثقة
อิบนุมะอีน ,อิบนุอัมมารและอันนะซาอี กล่าวว่า  เขาเชื่อถือได้ในการรายงาน

قال أبو حاتم لا بأس به
อบูหาติม กล่าวว่า (การายงานของ)เขาไม่เป็นไร
 
وذكره بن حبان في الثقات
อิบนิหิบบานกล่าวถึงเขาไว้ในหนังสืออัษษิกอต

ووثقه العجلي أيضا
และอัลอิจญ์ลี ให้ความเชื่อถือต่อเขาเช่นกัน


ดูตะฮ์ซีบุต-ตะฮ์ซีบ อันดับที่ 448

تهذيب التهذيب   ج 5 / ص 225 رقم 448


สรุปความว่า  การรายงานหะดีษของ  อับดุลลอฮฺ บินเชาซับ  เชื่อถือได้
ชื่อ: Re:หนึ่งวัน หนึ่งอายัต 8
โดย: L-umar เมื่อ กันยายน 03, 2009, 04:50:21 หลังเที่ยง

5. ฏ็อมเราะฮฺ บินเราะบีอะฮฺ  มรณะฮฺ.ศ. 182 →


อัซ-ซะฮะบีกล่าวว่า

ضمرة بن ربيعة الرملي  مشهور ما فيه مغمز.
وَثَّقَهُ أحمدُ، ويحيى بن معين.
وقال أبو حاتم: صاَلِحُ الحديث.
ميزان الاعتدال ج 2 / ص 330 رقم 3959

ฏ็อมเราะฮฺ บินเราะบีอะฮ์ อัลรอมลี  นั้นมัชฮูร คือเป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดังอันเป็นที่รู้จักดี  ในตัวเขาไม่มีข้อตำหนิใด
อิหม่ามอะหมัด และยะห์ยา บินมะอีน ถือว่าเขาเชื่อถือได้ในการรายงาน
อบูหาติมกล่าวว่า   เขา  ศอและห์ในหะดีษ( คือ หะดีษดี)

ดูมีซานุลอิ๊อฺติดาล อันดับที่ 3959


อิบนุหะญัรกล่าวว่า

(البخاري في الادب المفرد والاربعة) ضمرة بن ربيعة الفلسطيني أبو عبد الله الرملي.

อัลบุคอรีได้รายงานหะดีษของเขา (ฏ็อมเราะฮฺ)ไว้ในหนังสืออะดับมุฟร็อด  และทั้งสี่(คืออบูดาวูด, ติรมีซี,นะซาอีและอิบนิมาญาญะฮฺ รายงานหะดีษเขาไว้ในตำราสุนันของพวกเขา)

เขารายงานหะดีษจาก :
อิบรอฮีม อิบนิอบีอับละฮฺ, อัลเอาซาอี, บิล้าล บินกะอับ, อัสสะรี บินยะห์ยา อัชชัยบานี, อัษเษารี,ชุร็อยหุ บินอุบัยดิน, ยะห์ยา บินอบีอัมรู อัชชัยบานี, อับดุลลอฮฺ บินเชาซับ, อุษมาน บินอะฏออ์ อัลคูรอซานี, อิสมาอีล บินอัยย๊าช และคนอื่นๆ

قال عبدالله ابن أحمد عن أبيه رجل صالح صالح الحديث من الثقات المأمونين لم يكن بالشام رجل يشبهه وهو أحب إلينا من بقية

อับดุลลอฮฺ บุตรอิหม่ามอะหมัด เล่าจากบิดาเขา กล่าวว่า  (ฎ็อมเราะฮฺ)เป็นคนดี และหะดีษดี เป็นหนึ่งจากนักรายงานที่เขื่อถือได้ มีความปลอดภัย ไม่เคยมีคนใดในเมืองช่ามเหมือนกับเขาเลย และเขาเป็นที่รักยิ่งของเรามากกว่าคนที่เหลือ

قال ابن معين والنسائي ثقة
อิบนิมะอีนและอันนะซาอี กล่าวว่า  เขาเชื่อถือได้

قال ابن سعد كان ثقة مأمونا خيرا لم يكن هناك أفضل منه
อิบนุสะอัดกล่าวว่า  เขาเชื่อถือได้ ปลอดภัย เป็นคนดี ไม่มีใครที่นั่นจะดีไปกว่าเขาอีกแล้ว
 
قلت: وذكره ابن حبان في الثقات
ฉัน(อิบนุหะญัร)กล่าวว่า
อิบนิหิบบานได้กล่าวถึงเขา (ว่าเชื่อถือได้ดูอัษ-ษิกอต  เล่ม 8 : 324อันดับที่ 13687)

قال العجلي ثقة
อัลอิจญ์ลี กล่าวว่า เขา(ฎ็อมเราะฮฺ) เชื่อถือได้ ( ดูอัษ-ษิกอต อัลอิจญ์ลี  อันดับที่ 782 )

ดูตะฮ์ซีบุต-ตะฮ์ซีบ  อันดับที่ 804
تهذيب التهذيب  ج 4 / ص 403 رقم 804



เชคอัลบานี

ให้การรับรองหะดีษของฎ็อมเราะฮ์บางบทว่า ฮาซันและซอฮิ๊ฮฺ ไว้ในหนังสือของเขาดังนี้

حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ إِسْمَاعِيلَ حَدَّثَنَا الْحَسَنُ بْنُ وَاقِعٍ الرَّمْلِىُّ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ شَوْذَبٍ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ الْقَاسِمِ عَنْ كَثِيرٍ مَوْلَى عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ سَمُرَةَ عَنْ عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ سَمُرَةَ قَالَ جَاءَ عُثْمَانُ إِلَى النَّبِىِّ -صلى الله عليه وسلم- بِأَلْفِ دِينَارٍ
تحقيق الألباني : حسن

ซอฮีฮุวะดออีฟสุนันติรมิซี หะดีษที่ 3701

เศาะหิ๊หฺอิบนิมาญะฮฺ  ดูหะดีษที่ 1987,2179,2601,3460,


สรุป  ฏ็อมเราะฮฺ บินเราะบีอะฮ์ เชื่อถือได้ในการรายงาน    
ชื่อ: Re:หนึ่งวัน หนึ่งอายัต 8
โดย: L-umar เมื่อ กันยายน 04, 2009, 09:49:01 ก่อนเที่ยง


6. อะลี บินสะอีด อัลร็อมลี →



ชื่อเต็มของเขาคือ อะลี บินสะอีด บินกุตัยบะฮฺ อัลรอมลี


عَلِىُّ بْنُ سَعِيدِ بْنِ قُتَيْبَةَ الرَّمْلِىُّ



อัซ-ซะฮะบี กล่าวว่า

عَلِيُّ بْنَ سَعِيْدِ الرَّمْلِيّ   : عن ضمرة بن ربيعة.  يثبت في أمره، كأنه صدوق.
ميزان الاعتدال  ج 3 / ص 131 رقم 5851

อะลี บินสะอีด อัลรอมลี   รายงานหะดีษจาก ฎ็อมเราะฮฺ บินเราะบีอะฮฺ  มีความมั่นคงในเรื่องของเขา เหมือนกับว่าเขา(อยู่ในระดับ)  เศาะดู๊ก คือเชื่อถือได้


ดูมีซานุลอิ๊อฺติดาล  อันดับที่ 5851    


อิบนุหะญัร กล่าวว่า

علي بن سعيد الرملي عن ضمرة بن ربيعة يثبت في أمره كأنه صدوق انتهى
لسان الميزان ج 4 / ص 232 رقم 616

อะลี บินสะอีด อัลรอมลี   รายงานหะดีษจาก ฎ็อมเราะฮฺ บินเราะบีอะฮฺ  มีความมั่นคงในเรื่องของเขา เหมือนกับว่าเขา(อยู่ในระดับ) ที่เชื่อถือได้ จบ.

ดูลิซานุลมีซาน อันดับที่ 616



หะดีษที่อะลี บินสะอีดรายงานจากฏ็อมเราะฮฺเช่น


حَدَّثَنَا عَلِىُّ بْنُ سَعِيدِ بْنِ قُتَيْبَةَ الرَّمْلِىُّ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ عَنِ ابْنِ عَطَاءٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ عَمْرِو بْنِ شُعَيْبٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ جَدِّهِ أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- قَالَ :

ดูสุนันบัยฮะกี หะดีษที่ 15691

حَدَّثَنَا عَلِىُّ بْنُ سَعِيدِ بْنِ قُتَيْبَةَ الرَّمْلِىُّ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ عَنِ ابْنِ عَطَاءٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ عَمْرِو بْنِ شُعَيْبٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ جَدِّهِ أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- قَالَ

ดูสุนันดารุกุฏนี หะดีษที่ 3384


ثنا علي بن سعيد بن قتيبة النسائي ، ثنا ضمرة بن ربيعة ، عن العلاء بن هارون ، عن ابن عون ، عن حفصة بنت سيرين ، عن الرباب عن سلمان بن عامر ، أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال : « صدقتك على المسكين صدقة ، وصدقتك على ذي رحمك ثنتان ، صدقة ، وصلة »
معجم ابن المقرئ ج 1 / ص 472
ดู
มุอ์ญัม อิบนิมุกริอฺ หะดีษที่ 470


บทสรุป


เมื่อไม่มีอุละมาอ์ซุนนี่ที่เชี่ยวชาญด้านอิลมุลริญาลวัดดิรอยะฮฺคนใดได้วิจารณ์ถึงอะลี บินสะอีดในทางลบ และผนวกกับท่านซะฮะบีกับท่านอิบนุหะญัรอัลอัสเกาะลานีได้ให้คำยกย่องถึงเขาไว้ นั่นย่อมแสดงว่าอะลี บินสะอีดอยู่ในสถานะที่ดี เชื่อถือได้ในการรายงาน ถึงแม้ว่าท่านบุคอรี,มุสลิม,อบูดาวูด,ติรมิซี,นะซาอีและอิบนิมาญะฮฺจะไม่ได้รายงานหะดีษของอะลีบินสะอีดไว้ก็ตาม แต่เขาก็ได้รับคำชมเชยว่า เศาะดู๊ก (เชื่อถือได้) และไม่มีนักวิชาการคนใดได้ตำหนิเขาไว้

เพราะฉะนั้นเราจะจัดระดับการรายงานหะดีษของอะลีบินสะอีดว่า อยู่ในหมู่บรรดานักรายงานหะดีษดออีฟ ได้อย่างไร ?

นั่นคือเหตุผลที่แสดงว่า  อะลี บินสะอีด อัลรอมลี  เชื่อถือได้ในการรายงานหะดีษ.  
ชื่อ: Re:หนึ่งวัน หนึ่งอายัต 8
โดย: L-umar เมื่อ กันยายน 04, 2009, 10:38:47 ก่อนเที่ยง

7. อบูนัศรฺ  หับชูน บินมูซา บินอัยยูบ อัลค็อลล้าล (ฮ.ศ.234-331) →


أَبُوْ نَصْرٍ حَبْشُونُ بْنُ مُوسَى بْنُ أَيُّوْبَ الْخَلاَّلُ


อัซ-ซะฮะบี กล่าวว่า

حبشون ابن موسى بن أيوب الشيخ، أبو نصر البغدادي الخلال
سمع من: الحسن بن عرفة، وعلي بن إشكاب، وعلي بن سعيد
الرملي، وحنبل بن إسحاق وغيرهم.
حدث عنه: أبو بكر بن شاذان، وعمر بن شاهين، وأبو الحسن الدارقطني، وأحمد بن الفرج بن الحجاج، وابن جميع الصيداوي، وآخرون.
وكان أحد الثقات .
توفي في شعبان سنة إحدى وثلاثين وثلاث مئة. وله سبع وتسعون سنة.
سير أعلام النبلاء للذهبي  ج 15 / ص 316  رقم 155

หับชูน อิบนิมูซา บินอัยยูบ อัช-ชัยคฺ  อบูนัศริน อัลบัฆดาดี อัลค็อลล้าล

เขารายงานหะดีษจาก  :  
อัลฮาซัน บินอะเราะฟะฮฺ, อะลี บินอิชกาบ, อะลี บินสะอีด อัลรอมลี, หันบัล บินอิสฮ๊าก และคนอื่นๆ

ผู้ที่รายงานหะดีษจากเขาคือ  :  
อบูบักร บินชาซาน, อุมัร บินชาฮัยนฺ , อบุลฮาซัน อัดดาร่อกุฏนี , อะหมัด บินอัลฟะร็อจญ์ บินอัลหัจญ๊าจญ์, อิบนุญะมี๊อฺ อัศ-ศ็อยดาวี และคนอื่นๆ

เขาเป็นบุคคลหนึ่งที่เชื่อถือได้ในการรายงาน

มรณะในเดือนชะอ์บาน  ปีฮ.ศ. 331  รวมอายุได้ 97 ปี


ดู สิยัร อะอ์ลามุน-นุบะลาอ์ อันดับที่ 155



อัด-ดารุกุฎนีกล่าวว่า

حبشون بن موسى بن أيوب الخلال صدوق كتبنا عنه عن علي بن سعيد بن قتيبة الرملي والحسن بن عرفة وعبد الله بن أيوب المخرمي وحنبل بن إسحاق وغيرهم .
كتاب : الْمُؤْتَلِف وَالْمُخْتَلِف للدارقطني ج 2 / ص 92

หับชูน อิบนิมูซา บินอัยยูบ อัลค็อลล้าลนั้น  เศาะดู๊ก คือเชื่อถือได้  

เราได้บันทึกรายงานหะดีษของเขาที่มาจากทางอะลี บินสะอีด บินกุตัยบะฮฺ อัลรอมลี... และคนอื่นๆ


อ้างอิงจาก หนังสืออัลมุอ์ตะลิฟ วัลมุคตะลิฟ  เล่ม 2 : 92



อัลเคาะฏีบ อัลบัฆดาดีกล่าวว่า


حبشون بن موسى بن أيوب أبو نصر الخلال
 
หับชูน อิบนิมูซา บินอัยยูบ อบูนัศริน อัลค็อลล้าล
 
سمع علي بن سعيد بن قتيبة الرملي والحسن بن عرفة العبدي وعلي بن عمرو الأنصاري وعلي بن الحسين بن أشكاب وعبد الله بن أيوب المخرمي وسليمان بن توبة النهرواني وحنبل بن إسحاق الشيباني

เขารายงานหะดีษจาก : อะลี บินสะอีด บินกุตัยบะฮฺ อัลรอมลี และ...

روى عنه أبو بكر بن شاذان وأبو الحسن الدارقطني وأبو حفص بن شاهين وأحمد بن الفرج بن الحجاج وأبو القاسم بن الثلاج وغيرهم

 ผู้ที่รายงานหะดีษจากเขาคือ :  อบูบักร บินชาซาน , อบุลฮาซัน อัด-ดาร่อกุฏนี...

وكان ثقة يسكن باب البصرة

 เขาเป็นผู้ที่เชื่อถือได้ (ในการรายงาน) อาศัยอยู่ที่ประตูเมืองบัศเราะฮฺ


أنبأنا الأزهري أنبأنا علي بن عمر الحافظ قال حبشون بن موسى بن أيوب الخلال صدوق

อัลอัซฮะรีเล่าให้เราฟัง อะลี บินอุมัร อัลฮาฟิซเล่าให้เราฟังว่า  หับชูน บินมูซา บินอัยยูบอัลค็อลล้าล นั้น เศาะดู๊ก เชื่อถือได้


ดูหนังสือ  ตารีคแบกแดด โดยอัลคอเตบ อัลบัฆดาดี  เล่ม 8 : 289 อันดับที่ 4392

تاريخ بغداد  المؤلف : أحمد بن علي أبو بكر الخطيب البغدادي ج 8 / ص 289 رقم 4392


สรุป

นักวิชาการสามท่านดังต่อไปนี้คือ ท่านซะฮะบี ท่านอัด-ดาร่อกุฏนีและท่านคอเตบอัลบัฆดาดี ได้กล่าวว่า

อบูนัศรฺ  หับชูน บินมูซา บินอัยยูบ อัลค็อลล้าล  นั้นษิเกาะฮ์  เศาะดู๊ก คือมีความเชื่อถือได้ในการรายงาน
ชื่อ: Re:หนึ่งวัน หนึ่งอายัต 8
โดย: L-umar เมื่อ กันยายน 04, 2009, 02:30:17 หลังเที่ยง

8. อะลี บินอุมัร อัด-ดาร่อกุฏนี สังกัดมัซฮับชาฟิอี ( ฮ.ศ. 306 - 385) →


عَلِيُّ بْنُ عُمَرَ الدَّارُ قُطْنِيّ

เจ้าของหนังสือหะดีษชื่อ " สุนัน ดาเราะกุฏนี - سنن الدارقطنى "

ชื่อเต็มคือ :

أَبُو الْحَسَنِ أَبُو الْحَسَنِ عَلِىُّ بْنُ عُمَرَ بْنِ أَحْمَدَ بْنِ مَهْدِىٍّ بن مسعود بن النعمان بن دينار البغدادي

อบุลฮาซัน อะลี บินอุมัร บินอะหมัด บินมะฮ์ดี บินมัสอู๊ด บินอัน-นุอ์มาน บินดีน้าร อัลบัฆดาดี


เกิดที่ ดารุลกุฏนิ ย่านหนึ่งของเมืองแบกแดด  ด้วยเหตุนี้จึงมีฉายาว่า " อัด-ดาเราะ กุฏนี "


ชีวประวัติของ อัด- ดาเราะกุฏนี ได้รับการยกย่องชมเชยไว้อย่างสูงส่งจากตำราต่อไปนี้

1.   สิยัร อะอ์ลามุน-นุบะลาอ์ ของซะฮะบี  เล่ม 16 : 449 อันดับที่ 332
2.   ตัซกิเราะตุลฮุฟฟาซ ของอิบนิหะญัร เล่ม 3 : 186
3.   วะฟะยาตุล อะอ์ยาน ของอิบนิค็อลกาน เล่ม 2 : 459
4.   ตารีคบัฆด๊าด ของอัลคอฏีบบัฆดาดี  เล่ม 12 : 34
5.   อัลบิดายะฮ์ วันนิฮายะฮ์ ของอิบนิกะษีร เล่ม 11 : 317


อิบนุกะษีร (เจ้าของตัฟสีรอิบนิกะษีร ) กล่าวว่า
 
علي بن عمر بن أحمد بن مهدي بن مسعود بن دينار بن عبدالله

อะลี บินอุมัร บินอะหมัด บินมะฮ์ดี บินมัสอู๊ด บินดีน้าร บินอับดุลลอฮฺ
 
الحافظ الكبير أستاذ هذه الصناعة وقبله بمدة وبعده إلى زماننا هذا سمع الكثير وجمع وصنف وألف وأجاد وأفاد وأحسن النظر والتعليل والانتقاد والاعتقاد

คือนักท่องจำกุรอ่านผู้ยิ่งใหญ่ คือปรมาจารย์แห่งศาสตร์นี้ในช่วงเวลาทั้งก่อนหน้าเขาและหลังจากเขา จนถึงยุคของพวกเรา
เขาได้ฟัง(หะดีษ)มาจากมุหัดดิษมากมาย  ได้ทำการรวบรวมไว้และเรียบเรียง(เป็นตำรา) และได้ทำไว้ไว้อย่างดี ได้ให้ประโยชน์(แก่ผู้อื่น)  และเขายังมีความเยี่ยมยอดต่อการให้ทัศนะ  ให้คำอธิบาย ให้คำวิพากษ์วิจารณ์และเรื่องอิ๊อฺติกอด  

وكان فريد عصره ونسيج وحده وإمام دهره في أسماء الرجال وصناعة التعليل والجرح والتعديل
وحسن التصنيف والتأليف واتساع الرواية والاطلاع التام في الدراية له كتابه المشهور من أحسن المصنفات في بابه

เขายอดเยี่ยมที่สุดใน ยุคของเขา มีเพียงคนเดียวที่เขียนเป็นเรื่องเป็นราว  เป็นอิหม่ามแห่งยุคนั้นในศาสตร์เกี่ยวกับรายชื่อนักรายงานหะดีษ  การให้คำอธิบายถึงอิลละฮ์ต่างๆเกี่ยวหะดีษ  วิชาญะเราะห์วัตตะอ์ดีล   แต่งและเรียงเรียงตำรับตำราดี  มีความรู้อย่างกว้างขวางเรื่องริวายะฮ์ และรอบรู้อย่างมบูรณ์แบบในวิชาดิรอยะฮ์   ซึ่งหนังสือของเขามีชื่อเสียงที่สุดในประเด็นนี้

لم يسبق إلى مثله و لا يلحق في شكله إلا من استمد من بحره وعمل كعمله وله كتاب العلل بين فيه الصواب من الدخل والمتصل من المرسل والمنقطع والمعضل وكتاب الافراد الذي لا يفهمه فضلا عن أن ينظمه إلا من هو من الحفاظ الأفراد والأئمة النقاد والجهابدة الجياد

ไม่มีใครเหมือนเขามาก่อน และมีใครตามติดมาในแบบเขาด้วย ยกเว้นผู้ที่ได้รับมาจากความรู้ของเขา และได้ทำเช่นการกระทำของเขา   สำหรับเขามีหนังสือ(ดังต่อไปนี้)  กิตาบ อิลัล, กิตาบ อิฟรอด ที่ไม่มีใครค่อยเข้าใจมัน อย่าว่าแต่จะทำการเรียบเรียงมันใหม่เลย  นอกจาก บุคคลที่เป็นหนึ่งจากนักท่องจำ และเป็นผู้นำแห่งการวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งถือได้ว่าสุดยอดจริงๆ  

وكان من صغره موصوفا بالحفظ الباهر والفهم الثاقب

ตอนเขายังเด็กนั้นมีคุณสมบัติต่อเรื่องความจำเป็นเลิศ  และมีความเข้าใจอันแหลมคม

وقال ابن الجوزي وقد اجتمع له مع معرفة الحديث والعلم بالقراءات والنحو والفقه والشعر مع الإمامة والعدالة وصحة العقيدة
البداية والنهاية ج 11 / ص 317

อิบนุลเญาซีกล่าวว่า  สำหรับตัวเขานั้นได้รวบรวมไว้ด้วยวิชาหะดีษ   วิชาว่าด้วยเรื่องการอ่านกุรอ่านในกิระอะฮ์ต่างๆ  วิชานะฮู  ฟิกฮฺ  บทกวี พร้อมทั้งเป็นอิหม่าม มีอะดาละฮฺ และมีอะกีดะฮ์ที่ถูกต้อง
 
อ้างอิงจากหนังสือ

อันบิดายะฮ์ วันนิฮาบะฮ์ ของอิบนิกะษีร เล่ม 11 : 317



อัซ-ซะฮะบี กล่าวว่า
 
الدَّارَقُطْنِيُّ الإِمَامُ الْحَافِظُ المجود، شيخ الاسلام، علم الجهابذة، أَبُو الْحَسَنِ ، عَلِىُّ بْنُ عُمَرَ بْنِ أَحْمَدَ بْنِ مَهْدِىٍّ بْنُ مَسْعُودٍ بْنُ النُّعْمَانِ بْنُ دِينَارٍ بْنُ عَبْدِ اللَّهِ البغدادي المقرئ المحدث،

อัด-ดาเราะกุฏนี  (เขาเป็นทั้ง) อิหม่าม  นักท่องจำอัลกุรอ่าน  นักตัจญ์วีด  ชัยคุลอิสลาม  นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ
ชื่อคือ อบุลฮาซัน อะลี บินอุมัร บินอะหมัด บินมะฮ์ดี บินมัสอูด บินอัน-นุอฺมาน บินดีนาร บินอับดุลลอฮฺ ชาวเมืองแบกแดด เป็นนักอ่านกุรอ่าน และนักรายงานหะดีษ
 
ومن أئمة الدنيا، انتهى إليه الحفظ ومعرفة علل الحديث ورجاله، مع التقدم في القراءات وطرقها، وقوة المشاركة في الفقه، والاختلاف، والمغازي، وأيام الناس، وغير ذلك.

เป้นหนึ่งในบรรดาอิหม่ามผู้นำ(ศาสนา)ทางโลก  เรื่องความจดจำ  ความเข้าใตสาเหตุต่างๆของหะดีษ และนักรายงานหะดีษ สิ้นสุดที่เขา  พร้อมทั้งล้ำหน้าในวิชาการอ่านกุรอ่านด้วยกิรออะฮ์ต่างๆ และสายรายงานต่างๆของมัน  มีความแข็งแกร่งร่วมอยู่ในวิชาฟิกฮฺ และ(ฟิกฮฺ)ที่แตกต่างกัน  เรื่องมะฆอซี(สงคราม) เรื่องราววันเวลาของมนุษย์ และเรื่องอื่นๆ


อ้างอิงจากหนังสือ สิยัร อะอ์ลามุน-นุบะลาอฺ  เล่ม 16 : 449  อันดับที่ 332

 سير أعلام النبلاء  ج 16 / ص 449 رقم 332



สรุป  


จากคำยกย่องของท่านอิบนุกะษีรและท่านซะฮะบีคงพียงพอแล้ว

สำหรับฐานะภาพความน่าเชื่อถือในการรายงานหะดีษของ  

อะลี  บิน อุมัร   อัด-ดาเราะ กุฏนี.
ชื่อ: Re:หนึ่งวัน หนึ่งอายัต 8
โดย: L-umar เมื่อ กันยายน 04, 2009, 05:09:46 หลังเที่ยง

9 .อับดุลลอฮฺ บินอะลี บินมุฮัมมัด บินบัชรอน (ฮ.ศ.355 - 429) →


عَبْدُ اللَّهِ بْنُ عَلِيِّ بْنُ مُحَمَّدِ بْنِ بَشْرَانِ


อัลฮาฟิซ อบูบักร อัลเคาะฏีบ อัลบัฆดาดีกล่าวว่า

عبد الله بن على بن محمد بن عبد الله بن بشران أبو محمد الشاهد سمع أبا بكر بن مالك القطيعي وأبا محمد بن ماسي ومحمد بن الحسن اليقطيني ومخلد بن جعفر ومن بعدهم كتبت عنه وكان سماعه صحيحا وسمعته يقول ولدت في يوم الأربعاء الحادي والعشرين من جمادى الآخر سنة خمس وخمسين وثلاثمائة ومات في ليلة الجمعة الثاني والعشرين من شوال سنة تسع وعشرين وأربعمائة ودفن في صبيحة تلك الليلة بباب حرب

الكتاب : تاريخ بغداد  ج 10 ص 14 رقم 5130
المؤلف : أحمد بن علي أبو بكر الخطيب البغدادي
الناشر : دار الكتب العلمية – بيروت


คำแปล :

อับดุลลอฮฺ บินอะลี บินมุฮัมมัด บินอับดุลลอฮฺ บินบัชรอน  ฉายา อบูมุฮัมมัด อัชชาฮิด
ได้ฟัง(หะดีษจาก) อบูบักร บินมาลิก อัลเกาะฏีอี, อบูมุฮัมมัด บินมาซี, มุฮัมมัด บินอัลฮาซัน อัลยักฏีนี, มัคลัด บินญะอ์ฟัร และผู้ที่มาหลังจากพวกเขา

(อัลเคาะฏีบ) กล่าวว่า : ฉันบันทึก(รายงานหะดีษ)จากเขา และการรับฟัง(หะดีษ)ของเขานั้น" เศาะหิ๊หฺ " คือถูกต้อง

ฉันได้ยินเขาเล่าว่า  เขาเกิดในวันพุธ ที่ 21 เดือนญุมาดิลอาคิร ปีฮ.ศ. 355
และเสียชีวิตในคืนวันศุกร์ที่ 22  เดือนเชาวาล ปีฮ.ศ.429  
เขาถูกฝังในตอนเช้าของคืนนั้นที่ประตู " บาบุ หัรบ์ "


อ้างอิงจากหนังสือ

ตารีคบัฆด๊าด  เล่ม 10 หน้า 14 อันดับที่ 5130


ดูภาพหน้าปกหนังสือได้ที่เวบ
http://www.neelwafurat.com/itempage.aspx?id=lbb78090-38561&search=books



บทสรุป :

เมื่อนักวิชาการอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ได้ให้คำวิจารณ์ถึงนักรายงานนับตั้งแต่อับดุลลอฮฺ บินอะลีบินมุฮัมมัดบินบัชรอน จนถึง→ เศาะหาบะฮ์ที่ชื่อ " อบูฮูร็อยเราะฮ์ " ว่า

" มีความเชื่อถือ ได้ในการรายงานหะดีษ "  

ดังนั้นหะดีษบทนี้จึงอยู่ในสถานะที่  " ที่เชื่อถือได้ "





อาจารย์ฟารีดเฟ็นดี้ ได้ประณามชีอะฮ์ว่า โกหก  ดังนี้

ประการที่สาม

ชีอะฮ์อ้างว่า อายะห์นี้ถูกประทานลงมาที่ ฆ่อดีรคุม ซึ่งเราจะตามไปดูการอ้างเท็จของพวกเขาดังนี้
คำว่า "ฆ่อดีรคุม" เป็นชื่อแอ่งน้ำที่อยู่ระหว่างมักกะห์กับมะดีนะห์ ซึ่งในขณะที่ท่านนบีได้กลับจากการทำฮัจญ์ ถูกเรียกว่าฮัจญะตุ้ลวะดาอ์ หมายถึงฮัจญ์ครั้งอำลาของท่านนบี  เมื่อมาถึงที่ฆ่อดีรคุม ท่านนบีได้สั่งให้แวะพัก โดยให้บรรดาศอฮาบะห์เก็บกวาดหนามโดยรอบบริเวณ แล้วท่านก็คุตบะห์ (เราจะได้นำเรื่องนี้มาคุยกันในหัวข้อถัดไป)
เหตุการณ์ที่ฆ่อดีรคุมนั้น ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 18 เดือนซุลฮิจญะห์  

แต่ก่อนหน้านี้ 9 วัน คือวันศุกร์ที่ 9 เดือนเดียวกันนี้ ขณะที่ท่านนบีกำลังวูกุฟอยู่ที่ทุ่งอะรอฟะห์ในช่วงเวลาประมาณอัศร์ พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงประทานอัลกุรอานลงมาว่า

الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ الْإِسْلَامَ دِينًا

"วันนี้ข้าได้ให้ศาสนาของพวกเจ้าครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว และความเมตตาของข้าที่มีต่อพวกเจ้าเปี่ยมล้น และข้าพอใจที่ให้อิสลามเป็นศาสนาแก่พวกเจ้า" ซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ที่ 3

บรรดานักวิชาการต่างยืนยันตรงว่าอายะห์ที่ 3 นี้ถูกประทานลงมาในวันศุกร์ที่ 9 เดือนซุลฮิจญะห์ ปีที่ 10 ฮิจเราะห์ศักราช  ขณะที่ท่านนบีกำลังวุกูฟอยู่ที่ทุ่งอะรอฟะห์ในการทำฮัจญะห์ครั้งอำลาของท่าน และเป็นอายะห์สุดท้ายของอัลกุรอานที่ถูกประทานลง  แต่เหตุการณ์ที่ฆ่อดีรคุมนั้น เกิดขึ้นในวันที่ 18 เดือนซุลฮิจญะห์ หลังจากทำฮัจญ์เรียบร้อยแล้ว จึงเป็นข้อพิสูจน์ความโกหกของชีอะฮ์อีกประการหนึ่งคือ ในเมื่ออัลลอฮ์ได้ลงอัลกุรอานอายะห์สุดท้ายมายืนยันว่าอิสลามครบถ้วนสมบูรณ์ไปแล้ว และเช่นไรเล่าที่ชีอะฮ์ได้อ้างว่าคำสั่งแต่งตั้งอายะห์ที่ 67 ถูกประทานลงมาที่ฆ่อดีรคุมหลังจากนั้น หมายถึงหลังจากอิสลามครบถ้วนไปแล้วกระนั้นหรือ...

การกล่าวอ้างของกลุ่มชีอะฮ์ที่ว่า ซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ที่ 67 นี้ถูกประทานลงมาที่ฆ่อดีรคุม จึงเป็นเรื่องมดเท็จอย่างไม่ต้องสงสัย

อ้างอิงบทความจากเวบไซต์ ฟารีด เฟ็นดี้
http://www.fareedfendy.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=137


เราชีอะฮ์จึงขอหักล้างคำพูดของอาจารย์ฟารีดด้วยหะดีษบทนี้

ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺกล่าวว่า  :
บุคคลใดได้ถือศีลอดในวันที่ 18 เดือนซุลหิจญะฮฺ   จะถูกบันทึกสำหรับเขา(ว่าเขา)ได้ถือศีลอดถึง 60 เดือน และมัน( วันที18 )คือวันที่เฆาะดีรคุม  ตอนที่ท่านนบี(ศ)ได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้น) แล้วกล่าวว่า : ฉันคือผู้ปกครองของบรรดามุอฺมินทั้งหลายใช่หรือไม่ ?
พวกเขา(บรรดาซออาบะฮฺ)กล่าวว่า : หามิใช่แล้วครับ โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ
ท่าน(ศ)จึงกล่าวว่า : บุคคลใดที่ฉันคือผู้ปกครองของเขา ดังนั้นอะลีก็คือผู้ปกครองของเขา
ท่านอุมัรบินคอตตอบได้กล่าวว่า : ขอแสดงความยินดีกับท่านด้วย โอ้บุตรของอบูตอลิบ (บัดนี้)ท่านได้กลายเป็นเมาลาผู้ปกครองของฉันและผู้ปกครองของมุสลิมทุกคนแล้ว  ดังนั้นอัลลอฮ์จึงทรงประทานโองการนี้ลงมา (الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ  )  วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้ว ... (ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 3 )

อ้างอิงจากหนังสือ
ตารีคบัฆด๊าด โดยอัลเคาะฏีบอัลบัฆดาดี เล่ม 8 : 289  หะดีษที่ 4392

บัดนี้พวกท่านทั้งซุนนี่และชีอะฮ์ คงประจักษ์แล้วนะครับว่า   คนที่ปลิ้นปล้อนอำพลางศาสนาตัวจริงคือ อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้
และที่ต่ำทรามหนักลงไปอีกคือ เขายังได้ใส่ร้ายชีอะฮ์ว่า โกหกมดเท็จ.

สมจริงดังที่อัลลอฮฺตะอาลาที่ตรัสว่า

فَمَنْ أَظْلَمُ مِمَّنِ افْتَرَى عَلَى اللَّهِ كَذِبًا أَوْ كَذَّبَ بِآَيَاتِهِ إِنَّهُ لَا يُفْلِحُ الْمُجْرِمُونَ

ดังนั้น ผู้ใดเล่าจะอธรรมยิ่งไปกว่า  ผู้กล่าวเท็จต่อัลลอฮฺ หรือปฏิเสธต่อบรรดาโองการของพระองค์  แท้จริงบรรดาผู้ทำผิดนั้นย่อมไม่บรรลุความสำเร็จได้

บทที่ 10 : 17  


คนอย่างอาจารย์ฟารีด คือ อาชญากรทางศาสนา ตามที่อัลลอฮฺตรัสไว้นั่นเอง.

ทางสุดท้ายที่อาจารย์ฟารีดจะเล่นลิ้นในเรื่องนี้ต่อได้คือ เขาจะสร้างคำถามต่อพวกชีอะฮ์ว่า

ท่านมายกหลักฐานของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ทำไม ?   แล้วหลักฐานในเรื่องนี้จากตำราชีอะฮ์ล่ะมีไหม ?

ตอนต่อไป เราจะนำเสนอหลักฐานในเรื่องนี้จากตำราหะดีษชีอะฮ์ ซึ่งเป็นหะดีษบทเดียวกันให้ท่านได้ดู

อินชาอัลลอฮฺ ตะอาลา.