Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

พฤษภาคม 09, 2024, 11:09:33 หลังเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 2,673
  • หัวข้อทั้งหมด: 651
  • Online today: 137
  • Online ever: 153
  • (เมษายน 26, 2024, 05:40:09 ก่อนเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 118
Total: 118

หนึ่งวัน หนึ่งอายัต 7

เริ่มโดย L-umar, สิงหาคม 28, 2009, 04:45:28 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar


หนึ่งวัน  หนึ่งอายัต  7


อัลเลาะฮ์  ญัลละ ญะลาล๊ะฮฺ ทรงตรัสว่า


فَمَنْ حَآجَّكَ فِيهِ مِن بَعْدِ مَا جَاءكَ مِنَ الْعِلْمِ فَقُلْ تَعَالَوْاْ نَدْعُ أَبْنَاءنَا وَأَبْنَاءكُمْ وَنِسَاءنَا وَنِسَاءكُمْ وَأَنفُسَنَا وأَنفُسَكُمْ ثُمَّ نَبْتَهِلْ فَنَجْعَل لَّعْنَةَ اللّهِ عَلَى الْكَاذِبِينَ


ดังนั้นผู้ใดที่โต้เถียงเจ้า(มุฮัมมัด)ในเรื่องของอีซา(ว่าเป็นบุตรของพระเจ้า) หลังจากที่ได้มีความรู้มายังเจ้าแล้ว

จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด)ว่า ท่านทั้งหลาย ( ชาวคริสต์ ) จงมาเถิด

เราก็จะเรียกลูกๆของเรา และลูกของพวกท่าน

และเรียกบรรดาผู้หญิงของเรา และบรรดาผู้หญิงของพวกท่าน

และตัวของเรา   และตัวของพวกท่าน    

และเราจะมาทำมุบาฮะละฮฺ( ต่อพระเจ้า )กันด้วยความนอบน้อม โดยที่เราจะขอให้อัลลอฮ์ทรงลงโทษทัณฑ์แก่บรรดาผู้โกหก



บทที่ 3 : 59 – 61



เรื่องมุบาฮะละฮ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 ซุลฮิจญะฮ์  ฮ.ศ.  9
  •  

L-umar


1-เกร็ดประวัติศาสตร์


ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ได้ส่งสารไปยังผุ้ปกครองและกษัตริย์ในดินแดนต่างๆเพื่อเชิญชวนสู่อัลอิสลาม  มีสารฉบับหนึ่งส่งมาที่เมืองนัจญ์รอน ประเทศซาอุดิอารเบีย เป็นที่อยู่อาศัยของชาวนะซอรอและยะฮูดี
อบูฮาริษะฮ์ ดำรงตำแหน่งอุสกุฟ ( พระสังฆนายก ) แห่งเมืองนัจญ์รอนได้รับสารจากท่านนบี
หลังจากท่านอุสกุฟได้อ่านสารแล้ว จึงสั่งประชุมทันที มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้นำศาสนา,นักการเมืองและผู้สูงศักดิ์ ในที่ประชุมมีมติว่า ให้ส่งคณะผู้แทนจากนัจญ์รอนไปที่เมืองมะดีนะฮ์ เพื่อตรวจสอบความจริงเกี่ยวกับการเป็นศาสดาของมุฮัมมัด  ที่ประชุมคัดเลือกตัวแทนได้ 60 คนโดยมี 3 บุคคลต่อไปนี้เป็นหัวหน้าคณะคือ

1- สังฆราชชื่ออบู ฮาริษะฮ์)  
2- อัลอากิ๊บ ( อับดุลมะซีห์ ) เป็นกุนซือ  
3- อัลอัยฮัม ผู้อาวุโสและมีสมณศักดิ์สูง


เมื่อคณะทูตเดินทางมาถึงมะดีนะฮ์  พวกเขาได้เข้าพบท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ที่มัสญิด ขณะนั้นท่านพึ่งนมาซอัศริเสร็จ  ชาวคริสต์ทุกคนสวมเครื่องแบบนักบุญ ทอจากไหม สวมแหวนทอง พาดไม้กางเขนไว้ที่บ่า งดงามตระการตา พวกเขาให้สลามท่านนบี ท่านตอบรับสลามและให้การต้อนรับพวกเขาอย่างสมเกียรติ  
อัศริเป็นเวลาสวดมนต์ของชาวคริสต์  พวกเขาจึงขออนุญาตท่านนบี(ศ)สวดมนต์ในมัสญิด   ซอฮาบะฮ์ต้องการขัดขวาง แต่ท่านนบี(ศ)อนุญาติให้สวดได้  ท่านนบี(ศ)บอกกับซอฮาบะฮ์ว่า ปล่อยให้พวกเขาสวดเถิด  หลังจากสวดเสร็จ  การสนทนาจึงเริ่มขึ้น

นบี(ศ)กล่าวกับอุสกุฟและอากิ๊บว่า  :    ขอให้ท่านจงเข้ารับอิสลามเถิด

ทั้งสองตอบว่า  :  แท้จริงพวกเราได้เข้ารับอิสลามมาก่อนท่าน

นบี(ศ)  :  ยังมีบางสิ่งขัดขวางวพกท่านทั้งสองมิให้เข้ารับอิสลาม  เพราะพวกท่านอ้างว่าพระเจ้ามีบุตร  พวกท่านกราบไหว้ไม้กางเขน  และทานเนื้อสุกร    

อุสกุฟถามท่านนบี(ศ)ว่า  :   ท่านมีความเชื่ออย่างไรเกี่ยวกับพระเยซู (นบีอีซา)  
นบี(ศ)  :  ท่านเป็นบ่าวคนหนึ่งของอัลลอฮ์  พระองค์ทรงคัดเลือกเขาให้เป็นศาสดา  

อุสกุฟถาม  :   พระเยซูมีบิดาหรือไม่ ?
นบี(ศ)ตอบ :   มารดาของเขา ไม่เคยสมรสกับชายใด แล้วเขาจะมีบิดาได้อย่างไร ?

อุสกุฟ :  แล้วท่านบอกว่า เขาเป็นบ่าวคนหนึ่งได้อย่างไร  ท่านเคยเห็นมนุษย์คนใดที่เกิดมาโดยไม่มีบิดาบ้าง ?

ท่านนบี(ศ)นิ่งเงียบไม่ตอบสิ่งใด  จนอัลลอฮ์ทรงประทานโองการลงมาว่า

إِنَّ مَثَلَ عِيسَى عِنْدَ اللَّهِ كَمَثَلِ آَدَمَ خَلَقَهُ مِنْ تُرَابٍ ثُمَّ قَالَ لَهُ كُنْ فَيَكُونُ
الْحَقُّ مِنْ رَبِّكَ فَلَا تَكُنْ مِنَ الْمُمْتَرِينَ
فَمَنْ حَاجَّكَ فِيهِ مِنْ بَعْدِ مَا جَاءَكَ مِنَ الْعِلْمِ فَقُلْ تَعَالَوْا نَدْعُ أَبْنَاءَنَا وَأَبْنَاءَكُمْ وَنِسَاءَنَا وَنِسَاءَكُمْ وَأَنْفُسَنَا وَأَنْفُسَكُمْ ثُمَّ نَبْتَهِلْ فَنَجْعَلْ لَعْنَةَ اللَّهِ عَلَى الْكَاذِبِينَ

แท้จริงอุปมาเรื่องอีซา ณ.อัลลอฮ์ เปรียบดั่งอาดัม  พระองค์ทรงสร้างเขามาจากดิน แล้วทรงตรัสกับเขาว่า  จงเป็นแล้วเขาก็เป็นขึ้นมา
อันสัจธรรมนั้นมาจากองค์อภิบาลของเจ้า ดังนั้นจงอย่างเป็นหนึ่งจากบรรดาผู้สงสัย
ดังนั้นผู้ใดที่โต้เถียงเจ้า(มุฮัมมัด)ในเรื่องของอีซา(ว่าเป็นบุตรของพระเจ้า) หลังจากที่ได้มีความรู้มายังเจ้าแล้ว จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด)ว่า ท่านทั้งหลาย(ชาวคริสต์)จงมาเถิด เราก็จะเรียกลูกๆของเรา และลูกของพวกท่านและเรียกบรรดาผู้หญิงของเรา และบรรดาผู้หญิงของพวกท่านและตัวของเรา และตัวของพวกท่าน    และเราจะมาการมุบาฮะละฮฺ( ต่อพระเจ้า) กันด้วยความนอบน้อม โดยที่เราจะขอให้อัลลอฮ์ทรงลงโทษทัณฑ์แก่บรรดาผู้โกหก

บทที่  3 : 59 – 61

ท่านนบีได้อ่านโองการดังกล่าวให้ชาวคริสต์ฟัง และได้ท้าพวกเขาให้ทำมุบาฮะละฮ์
นบี(ศ)กล่าวว่า : อัลลอฮ์ทรงแจ้งแก่ฉันว่า อะซาบจะลงมายังผู้อยู่กับความเท็จหลังจากทำมุบาฮะละฮ์   เพื่อแสดงให้เห็นว่า ฝ่ายใดถูก และฝ่ายใดผิด
ชาวคริสต์ได้ขอพลัดไปทำมุบาฮะละฮ์ในวันพรุ่งนี้  จากนั้นพวกเขาได้กลับไปปรึกษาหารือกัน  
อุสกุฟได้กล่าวกับชาวคริสต์ว่า :  พวกเจ้าจงดูว่าพรุ่งนี้  หากมุฮัมมัดพาอะฮ์ลุลบัยต์ของเขาออกมามุบาฮะละฮ์  ก็อย่ามุบาฮะละฮ์กับเขา
 
รุ่งเช้าท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ได้พาท่านอะลี  ฮาซันและฮูเซน มาโดยมีท่านหญิงฟาติมะฮ์เดินอยู่ข้างหลัง

อุสกุฟเดินนำหน้าคณะมา พอแลเห็นท่านนบี(ศ)เดินตรงมาหา เขาจึงถามว่า : ท่านพาใครมาทำมุบาฮะละฮ์กับพวกเรา ?

ท่านนบี(ศ)ตอบ :  นี่อะลี ลูกของลุงฉันและเป็นบุตรเขยของฉัน  เขาเป็นบิดาของหลานชายทั้งสองของฉัน เขาคือคนที่ฉันรักมากที่สุด  เด็กสองคนนี้เป็นบุตรของลูกสาวฉันที่เกิดจากอะลี ทั้งสองเป็นที่รักยิ่งของฉัน  
ส่วนสตรีคนนี้ชื่อฟาติมะฮ์ เธอเป็นสตรีที่มีเกียรติมากที่สุดและเป็นญาติสนิทที่สุดของฉัน

อุสกุฟได้หันมามองอากิ๊บกับพรรคพวกพลางกล่าวว่า : จงดูเถิด มุฮัมมัดพาอะฮ์ลุลบัยต์ออกมาทำมุบาฮะละฮ์กับพวกเราเพื่อปกป้องสัจธรรมของเขา
   
ชาวคริสต์จึงเกิดความหวั่นกลัวว่า จะเกิดเพทภัยขึ้นกับพวกเขาเลยไม่กล้ามุบาฮะละฮ์ด้วย แต่ขอเป็นฝ่ายจ่ายญิซยะฮ์ให้แทน  

ท่านนบี(ศ)ได้ยอมรับข้อเสนอจากฝ่ายคริสต์ จากนั้นชาวคริสต์จึงได้ขอลากลับไป
  •  

L-umar


2-ทำมุบาฮะละฮ์ที่ไหน

ที่บริเวณนอกเมืองมะดีนะฮ์ กลางทะเลทราย ท่านนบี(ศ)ได้พาคนไปทำมุบาฮะละฮฺกับท่านมีเพียงสี่คนเท่านั้น โดยไม่มีผู้ใดมีส่วนร่วมในครั้งนี้
  •  

L-umar


หลักฐาน


บังเอิญเรื่องนี้วาฮาบีคงบอกว่าเป็นเรื่องเท็จไม่ได้เพราะ


ท่านสะอัด บินอบีวักกอศ รายงานว่า

وَلَمَّا نَزَلَتْ هَذِهِ الآيَةُ ( فَقُلْ تَعَالَوْا نَدْعُ أَبْنَاءَنَا وَأَبْنَاءَكُمْ) دَعَا رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- عَلِيًّا وَفَاطِمَةَ وَحَسَنًا وَحُسَيْنًا فَقَالَ « اللَّهُمَّ هَؤُلاَءِ أَهْلِى ».


เมื่ออายะฮ์นี้ได้ประทานลงมา ( จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า ท่านทั้งหลาย(ชาวคริสต์)จงมาเถิด เราก็จะเรียกลูกๆของเรา และลูกของพวกท่าน...)  

 ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)ได้เรียกท่านอะลี  ฟาติมะฮ์ ฮาซันและฮูเซนมาหา แล้วท่านได้กล่าวว่า  โอ้อัลลอฮฺ  พวกเขาเหล่านี้คือ ครอบครัวของฉัน



อ้างอิงจาก เศาะหิ๊หฺมุสลิม หะดีษที่ 6373
  •  

L-umar



ก่อนที่เราจะทำการอธิบายถึงความสำคัญของอายะฮ์นี้   ต้องขอให้ท่านได้คลิกเข้าไปอ่านบทความของวาฮาบีว่า  พวกเขาได้ใส่ร้ายว่าชีอะฮ์ได้ทำการล่วงเกินต่อท่านนบีมุฮัมมัด (ศ)  ตลอดจนการอธิบายที่บิดเบือนของ อ. ฟารีด ได้ที่เวบนี้

 http://www.fareedfendy.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=135


แล้วเราจะมาศึกษาเรื่องนี้ ในคราวต่อไป  อินชาอัลลอฮฺ
  •  

L-umar


อ้างอิงบทความจาก อ.ฟารีด

อุละมาอ์ชีอะฮ์ชื่อ อัลลามะฮ์ฮิลลี่  (นะครับ อาจารย์ ไม่ใช่ ฮุลลีย์ ) อ้างว่า
"บรรดามุฟัซซีรีนได้มีมติว่า (2) คำว่า  ลูกๆ ของพวกเรานั้นหมายถึงท่านฮะซัน และท่านฮุเซน ส่วนคำว่า ตัวของพวกเรา หมายถึงท่านอาลี อลัยฮิสสลาม โดยพระองค์อัลลอฮ์ได้ทำให้อาลีคือตัวของมูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะอาลีฮี"  

และเมื่อเราตามไปดูก็พบว่า เขาอ้างชื่อตำราหลายเล่มโดยไม่แสดงตัวบท ไม่ว่าจะเป็นศอเฮียะห์มุสลิม,มุสนัดอิหม่ามอะห์หมัด,สุนันอัตติรมีซีย์, มุสตัดร็อกของท่านอัลฮากิ, สุนันอัลบัยฮะกีย์, ตัฟซีรอัตตอบารีย์, ตัฟซีรอัลบัยฏอวีย์,อัลฟุครุดรอซีย์, และอัลกัซซาฟ เป็นต้น





ตอบโต้ อาจารย์ฟารีด ดังนี้


อาจารย์ฟารีดครับ ไม่ใช่ชีอะฮ์เท่านั้นที่กล่าวแบบนี้  แต่นักตัฟสีรซุนนี่เป็นคนบอกเองครับเชิญอ่านเองดังนี้


ท่านญาลาลุดดีน อัสสิยูตีกล่าวว่า


وأخرج مسلم والترمذي وابن المنذر والحاكم والبيهقي في سننه عن سعد بن أبي وقاص قال : « لما نزلت هذه الآية { فقل تعالوا ندع أبناءنا وأبناءكم } دعا رسول الله صلى الله عليه وسلم علياً ، وفاطمة ، وحسناً ، وحسيناً ، فقال » اللهم هؤلاء أهلي « » .
الدر المنثور - (ج 2 / ص 354

(เรื่องมุบาฮะละฮ์นี้) ท่านมุสลิม  ท่านติรมิซี  ท่านอิบนุลมุนซิร  ท่านฮากิม และท่านบัยฮะกี ได้รายงานไว้ในตำราสุนันของเขา   จากท่านสะอัด บินอบีวักกอศเล่าว่า เมื่ออายะฮ์นี้ได้ประทานลงมา ( จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า ท่านทั้งหลาย(ชาวคริสต์)จงมาเถิด เราก็จะเรียกลูกๆของเรา และลูกของพวกท่าน...)   ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)ได้เรียกท่านอะลี  ฟาติมะฮ์ ฮาซันและฮูเซนมาหา แล้วท่านได้กล่าวว่า  โอ้อัลลอฮฺ  พวกเขาเหล่านี้คือ ครอบครัวของฉัน.

ดูตัฟสีรอัดดุรรุลมันษูร เล่ม 2 : 354


ท่านมุฮัมมัด บินอะลี อัชเชากานีกล่าวว่า


وأخرج مسلم ، والترمذي ، وابن المنذر ، والحاكم ، والبيهقي ، عن سعد بن أبي وقاص : قال لما نزلت هذه الآية : { قُلْ تَعَالَوْاْ } دعا رسول الله صلى الله عليه وسلم علياً ، وفاطمة ، وحسناً ، وحسيناً ، فقال : « اللهم هؤلاء أهلي » .
فتح القدير - (ج 1 / ص 475

(เรื่องมุบาฮะละฮ์นี้) ท่านมุสลิม  ท่านติรมิซี  ท่านอิบนุลมุนซิร  ท่านฮากิม และท่านบัยฮะกี ได้รายงานไว้(ในตำราของเขา)   จากท่านสะอัด บินอบีวักกอศเล่าว่า เมื่ออายะฮ์นี้ได้ประทานลงมา ( จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า ท่านทั้งหลาย(ชาวคริสต์)จงมาเถิด เราก็จะเรียกลูกๆของเรา และลูกของพวกท่าน...)   ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)ได้เรียกท่านอะลี  ฟาติมะฮ์ ฮาซันและฮูเซนมาหา แล้วท่านได้กล่าวว่า  โอ้อัลลอฮฺ  พวกเขาเหล่านี้คือ ครอบครัวของฉัน.

ดูตัฟสีรฟัตฮุลเกาะดีร เล่ม 1 : 475
 


ท่านอะลูซี กล่าวว่า


وقد أخرج مسلم والترمذي وغيرهما عن سعد بن أبي وقاص قال : «لما نزلت هذه الآية { قُلْ تَعَالَوْاْ * نَدْعُ } الخ دعا رسول الله صلى الله عليه وسلم علياً وفاطمة وحسناً وحسيناً فقال : اللهم هؤلاء أهلي»
تفسير الألوسي - (ج 3 / ص 76

(เรื่องมุบาฮะละฮ์นี้) ท่านมุสลิม และท่านติรมิซี และบุคคลอื่นจากทั้งสองท่านนี้ได้นำออกรายงาน  จากท่านสะอัด บินอบีวักกอศเล่าว่า เมื่ออายะฮ์นี้ได้ประทานลงมา ( จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า ท่านทั้งหลาย(ชาวคริสต์)จงมาเถิด เราก็จะเรียกลูกๆของเรา และลูกของพวกท่าน...)   ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)ได้เรียกท่านอะลี  ฟาติมะฮ์ ฮาซันและฮูเซนมาหา แล้วท่านได้กล่าวว่า  โอ้อัลลอฮฺ  พวกเขาเหล่านี้คือ ครอบครัวของฉัน.


ดูตัฟสีรอัลอะลูซี  เล่ม 3 : 76




ท่านอิบนุลเญาซี กล่าวว่า


قال المفسرون : أراد بأبنائنا : فاطمة والحسن ، والحسين . وروى مسلم في «صحيحه» من حديث سعد بن أبي وقاص قال : لما نزلت هذه الآية { تعالوا ندعُ أبناءَنا وأبناءَكم } \\\" دعا رسول الله صلى الله عليه وسلم ، علياً وفاطمة وحسناً وحسيناً فقال : «اللهم هؤلاء أهلي» \\\"
زاد المسير - (ج 1 / ص 353

บรรดามุฟัสสิรูน กล่าวว่าคำ  " อับนาอะนา "  นั้นหมายถึง ท่านหญิงฟาติมะฮ์ ท่านฮาซันและท่านฮูเซน   และท่านมุสลิมยังได้รายงานไว้ในหนังสือเศาะหิ๊หฺของเขาจากหะดีษของท่านสะอัด บินอบีวักกอศเล่าว่า เมื่ออายะฮ์นี้ได้ประทานลงมา ( จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า ท่านทั้งหลาย(ชาวคริสต์)จงมาเถิด เราก็จะเรียกลูกๆของเรา และลูกของพวกท่าน...)   ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)ได้เรียกท่านอะลี  ฟาติมะฮ์ ฮาซันและฮูเซนมาหา แล้วท่านได้กล่าวว่า  โอ้อัลลอฮฺ  พวกเขาเหล่านี้คือ ครอบครัวของฉัน.

ดูตัฟสีรซาดุลมะสีร  เล่ม 1 : 353



ابن الجوزي، أبو الفرج (508هـ - 597، 1116 - 1201؟م).
الشيخ الإمام، العلامة، الحافظ، المفسِّر، المحدث، المؤرخ ، شيخ الإسلام عالم العراق.

อิบนุลเญาซี อบุลฟะรัจญ์ เกิดฮ.ศ. 508 มรณะ 597  ชัยคุลอิหม่าม  อัลลามะฮฺ  ฮาฟิซกุรอ่าน  มุฟัสสิร  มุหัดดิษ  นักประวัติศาสตร์  ชัยคุลอิสลาม อาเล่มแห่งอิรัก


ขอให้ท่านสังเกตคำพูดของท่านอิบนุลเญาซี ดังนี้

(( บรรดามุฟัสสิรูน กล่าวว่าคำ  " อับนาอะนา "...  ))



นั่นแสดงว่า   นักตัฟสีรซุนนี่โดยส่วนมาก ได้ลงความเห็นว่า ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ได้พา ท่านอะลี ฟาติมะฮฺ ฮาซันและฮูเซนเท่านั้น

ออกไปทำมุบาฮะละฮฺกับพวกนะศอรอ  



อยากถามอาจารย์ฟารีดและวาฮาบีว่า   ไอ้คำว่า  บรรดานักตัฟสีร คือคนจำนวนมาก ในที่นี้  ยังไม่พอที่จะละลายความอคติต่อ ฟะดีลีตของอะฮ์
ลุลบัยต์ออกไปจากจิตใจของพวกท่านอีกหรือ      



ทีนี้ท่านคงเห็นหลักฐานจริงๆแล้วนะครับว่า  คนที่ปลิ้นปล้อนโกหกตัวจริงคืออาจารย์ฟารีด ไม่ใช่อัลลามะฮ์ฮิลลี่
  •  

L-umar


อ้างอิงบทความจาก อ.ฟารีด

ถ้าผู้อ่านไม่สะกิดใจและไม่ได้ติดตามไปดูตำราที่เขาอ้าง ก็จะเข้าใจไปตามข้อความที่เขาเขียน แต่ในข้อเท็จจริงแล้ว ตำราที่เขาอ้างชื่อมานั้นระบุไว้คนละประเด็นกับที่เขาอ้างคือ
لَمَّا أنْزَلَ اللهُ هَذِهِ الآيَةَ  تَعَالَوا نَدْعُ أبْنَاءَ نَا وَأبْنَاءَ كُمْ وَنِسَاءَ نَا وَنِسَاءَ كُمْ....دَعَا رَسُوْلُ اللهِ صَلى  اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ عَلِيًّا وَفَاطِمَةَ
وَحَسَنًا وَحُسَيْنًا فَقَال اللهُمَّ هَؤلاءِ أهْلِيَ

"หลังจากที่พระองค์อัลลอฮ์ได้ประทานอายะห์นี้มาว่า "จงประกาศเถิดมูอัมหมัดว่า พวกท่านมาพิสูจน์กันเถิด เราจะเรียกลูกๆของเราและลูกหลานของพวกเท่าน บรรดาสตรีของพวกเราและบรรดาสตรีของท่าน" ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัมได้เรียกท่านอาลี,ท่านหญิงฟาติมะห์,ท่านฮะซัน และท่านฮุเซนมา แล้วกล่าวว่า โอ้พระองค์อัลลอฮ์ พวกเขาคือครอบครัวของฉัน"
(อาจารย์ฟารีดยังกล่าวอีกว่า ) หมายเหตุ แม้เนื้อความในฮะดีษบทนี้จะกล่าวว่า ท่านอาลี,ท่านหญิงฟาติมะห์,ท่านฮะซัน และท่านฮุเซน เป็นหนึ่งในครอบครัวของท่านนบี แต่ก็ไม่ได้เป็นหลักฐานที่ขีดกรอบว่าครอบครัวของท่านมีแค่สี่ท่านนี้เท่านั้น ฉะนั้นจึงไม่ค้านกับฮะดีษในบทอื่นๆที่ว่า บรรดาภรรยาของท่าน,วงศ์วานของท่านอาลี,วงศ์วานของอะกี๊ล,วงศ์วานของญะอ์ฟัร และวงศ์วานของอับบาสก็คือหนึ่งในอะฮ์ลุ้ลบัยต์ด้วยตามที่ได้นำเสนอและทำความเข้าใจในตัวบทกันมาแล้ว





ตอบโต้ อาจารย์ฟารีด ดังนี้


ท่านจะเห็นได้ชัดว่า  อาจารย์วาฮาบีคนนี้ เริ่มมั่ว และเริ่มสร้างความไขว้เขว เบี่ยงเบนประเด็น อย่างเห็นได้ชัด  ทำไมเราจึงกล่าวเช่นนี้

เพราะ  หัวข้อเรื่องที่ตัวอาจารย์ฟารีดต้องการพูดในบทความนี้คือเรื่อง" มุบาฮะละฮฺ "  

และเจ้าตัวได้แจกแจงรายละเอียดเองว่า  บทที่  3 : 59   นั้นอัลลอฮฺตะอาลาได้ประทานลงมาโดยสั่งให้ท่านนบี(ศ)ท้าพวกนะศอรอทำมุบาฮะละฮฺ โดยให้แต่ละฝ่ายคัดเลือกตัวแทนออกมาทำมุบาฮะละฮฺ  ในอายะฮ์นี้  อัลลอฮ์สั่งให้ท่านนบีพาลูกๆ บรรดาสตรี และบรรดาตัวของท่านเองออกไปเพื่อภารกิจนี้ ซึ่งนักตัฟสีรและมุหัดดิษได้กล่าวว่า ตัวแทนฝ่ายมุสลิมที่ได้รับการเลือกสรรให้ออกไปในครั้งนี้คือ ท่านอะลี ฟาติมะฮฺ  ฮาซันและฮูเซน


แต่อยู่ดีๆอาจารย์ฟารีดไปโผล่เรื่องที่ว่า

(( แม้เนื้อความในฮะดีษบทนี้จะกล่าวว่า ท่านอาลี,ท่านหญิงฟาติมะห์,ท่านฮะซัน และท่านฮุเซน เป็นหนึ่งในครอบครัวของท่านนบี แต่ก็ไม่ได้เป็นหลักฐานที่ขีดกรอบว่าครอบครัวของท่านมีแค่สี่ท่านนี้เท่านั้น ))




วิจารณ์

ขอถามท่านอาจารย์ฟารีดว่า

วันที่ท่านนบี(ศ)ออกไปทำมุบาฮะละฮฺ  นอกเหนือจากบุคคลทั้งสี่ตามที่กล่าวรายชื่อมาแล้วนั้น  อย่าว่าแต่คนอื่นเลย  วงศาคณาญาติของท่านนบี(ศ) คนไหนที่ได้ออกไปทำมุบาฮะละฮฺ  เอาที่มีรายงานเศาะหิ๊หฺมาแสดงด้วยนะครับ   หาไปถึงวันกิยามะฮิก็คงไม่หรอก เพราะไม่มีครับ


และนี่คือการพูดแบบเบี่ยงเบนประเด็นของอาจารย์ฟารีด   สรุปง่ายๆว่า  พูดนอกเรื่อง

 
  •  

L-umar



อ้างอิงจากบทความของอาจารย์ ฟารีด

ข้อความที่แสดงนี้จากสุนันอัตติรมีซีย์ ส่วนในศอเฮียะห์มุสลิม,มุสนัดอิหม่ามอะฮ์หมัด และบันทึกอื่นๆ ก็สอดคล้องกัน แต่สิ่งที่เราได้เห็นก็คือในตัวบทฮะดีษระบุว่าท่านบีเรียกท่านอาลี,ท่านหญิงฟาติมะห์,ท่านฮะซัน และท่านฮุเซนมา

แต่อุลามาอ์ชีอะฮ์กลับพูดว่า
"ลูกๆ ของพวกเรานั้นหมายถึงท่านฮะซัน และท่านฮุเซน ส่วนคำว่า

ตัวของพวกเรา หมายถึงท่านอาลี อลัยฮิสสลาม โดยพระองค์อัลลอฮ์ได้ทำให้อาลีคือตัวของมูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะอาลีฮี" แล้วก็อ้างว่าพวกเขามีมติอย่างนี้  นี่คือการบิดเบือนและการแอบอ้างที่ไร้ยางอาย

                ข้ออ้างของเหล่าชีอะฮ์ที่ว่า "ตัวของพวกเราหมายถึงท่านอาลี อลัยฮิสสลาม โดยพระองค์อัลลอฮ์ได้ทำให้อาลีคือตัวของมูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะอาลีฮี" คำพูดนี้เป็นการบังอาจล่วงเกินท่านนบีและใส่ร้ายท่านอาลีอย่างหาที่เปรียบมิได้





ตอบโต้อาจารย์ฟารีดดังนี้




แสดงว่า อาจารย์ฟารีด มีปัญหากับคำสามคำนี้คือ

أَبْنَاءَنَا وَأَبْنَاءَكُمْ
وَنِسَاءَنَا وَنِسَاءَكُمْ
وَأَنْفُسَنَا وَأَنْفُسَكُمْ



เชิญอาจารย์ฟารีดและวาฮาบี ฟังคำอธิบายจาก นักตัฟสีรซุนนี่เองก็แล้วกัน



ท่านสิยูตีกล่าวว่า


قال جابر : فيهم نزلت { تعالوا ندع أبناءنا وأبناءكم . . . } الآية . قال جابر : أنفسنا وأنفسكم رسول الله صلى الله عليه وسلم وعلي ، وأبناءنا الحسن والحسين ، ونساءنا فاطمة « .
الدر المنثور - (ج 2 / ص 352

ท่านญาบิร กล่าวว่า  ในพวกเขา ถูกประทานลงมาว่า

تَعَالَوْا نَدْعُ أَبْنَاءَنَا وَأَبْنَاءَكُمْ

ท่านญาบิรกล่าวว่า  
คำ   أَنْفُسَنَا وَأَنفُسَكُمْ

หมายถึงท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ) และท่านอะลี
คำ  أَبْنَاءَنَا وَأَبْنَاءَكُمْ
หมายถึง  ท่านฮาซันและฮูเซน
คำ نِسَاءَنَا
หมายถึง  ท่านหญิงฟาติมะฮ์

ดูตัฟสีรอัดดุรรุลมันษูร  เล่ม 2 : 352



อัลบะเฆาะวี กล่าวว่า


{ أَبْنَاءَنَا وَأَبْنَاءَكُمْ وَنِسَاءَنَا وَنِسَاءَكُمْ وَأَنْفُسَنَا وَأَنْفُسَكُمْ } قيل: أبناءنا أراد الحسن والحسين، ونساءنا فاطمة. وأنفسنا عنى نفسه وعليا رضي الله عنه
تفسير البغوي - (ج 2 / ص 48

กล่าวกันว่า  
คำ  أَبْنَاءَنَا
หมายถึง  ท่านฮาซันและฮูเซน
คำ نِسَاءَنَا
หมายถึง  ท่านหญิงฟาติมะฮ์
คำ   أَنْفُسَنَا

หมายถึงตัวท่านเอง(ศ) และท่านอะลี

ดูตัฟสีรอัลบะเฆาะวี  เล่ม 2 : 48



อัลคอซิน กล่าวว่า

{ ونساءنا ونساءكم وأنفسنا وأنفسكم } قيل : أراد بالأبناء الحسن والحسين وبالنساء فاطمة وبالنفس صلى الله عليه وسلم وعلياً رضي الله عنه
تفسير الخازن - (ج 1 / ص 387)
กล่าวกันว่า  
คำ  أَبْنَاءَنَا
หมายถึง  ท่านฮาซันและฮูเซน
คำ نِسَاءَنَا
หมายถึง  ท่านหญิงฟาติมะฮ์
คำ   أَنْفُسَنَا

หมายถึงตัวท่านเอง(ศ) และท่านอะลี

ดูตัฟสีรอัลคอซิน เล่ม 1 : 387


มุฮัมมัด บินอะลี อัชเชากานีกล่าวว่า

قال جابر : فيهم نزلت : { تَعَالَوْاْ نَدْعُ أَبْنَاءنَا وأبناءكم } الآية . قال جابر : { أَنفُسَنَا وأَنفُسَكُمْ } رسول الله صلى الله عليه وسلم ، وعليّ ، وأبناءنا الحسن ، والحسين ، ونساءنا فاطمة .
فتح القدير - (ج 1 / ص 475)
ท่านญาบิร กล่าวว่า  ในพวกเขา ถูกประทานลงมาว่า
تَعَالَوْا نَدْعُ أَبْنَاءَنَا وَأَبْنَاءَكُمْ

ท่านญาบิรกล่าวว่า  
คำ   أَنْفُسَنَا وَأَنفُسَكُمْ

หมายถึงท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ) และท่านอะลี
คำ  أَبْنَاءَنَا وَأَبْنَاءَكُمْ
หมายถึง  ท่านฮาซันและฮูเซน
คำ نِسَاءَنَا
หมายถึง  ท่านหญิงฟาติมะฮ์

ดูตัฟสีรฟัตฮุลเกาะดีร  เล่ม 1 : 387


อัลกุรตุบีกล่าวว่า

الثالثة : قال كثير من العلماء : إن قوله عليه السلام في الحسن والحسين لما باهل ندع أبناءنا وأبناءكم وقوله في الحسن :
 أن ابني هذا سيد مخصوص بالحسن والحسين أن يسمياه ابني النبي صلى الله عليه و سلم دون غيرهما لقوله عليه السلام : [ كل سبب ونسب ينقطع يوم القيامة إلا نسبي وسببي
تفسير القرطبي - (ج 4 / ص 104)

หัวข้อที่สาม  อุละมาอ์โดยส่วนมากกล่าวว่า  แท้จริงคำพูดของท่าน(รอซูล ศ.) เกี่ยวกับท่านฮาซันและฮูเซน เมื่อตอนที่ได้ทำการมุบาฮะละฮฺ (ที่ว่า)  เราจะเรียกลูกๆของเรา และลูกๆขอพวกท่าน  และคำพูดของท่านที่กล่าวเกี่ยวกับท่านฮาซันว่า
أن ابني هذا سيد
แท้จริง ลูกชายขอบฉันคนนี้นั้นคือ สัยยิด (หัวหน้า ) เป็นคำที่ถูกใช้เฉพาะกับท่านฮาซันและท่านฮูเซนเท่านั้น  โดยที่ท่านนบี(ศ)จะใช้เรียกเขาทั้งสองว่า ลูกชายของฉัน โดยจะไม่ใช้กับคนอื่นจากทั้งสองนี้  เนื่องจากมีหะดีษที่ท่าน(นบี ศ.) กล่าวว่า
ทุกสะบับและทุกเชื้อสายจะสิ้นสุดลงในวันกิยามะฮ์ ยกเว้นเชื้อสายของฉันและสะบับของฉันเท่านั้น

ดูตัฟสีรอัลกุรตุบี เล่ม 4 : 104
  •  

L-umar


อาจารย์ฟารีดมีปัญหาหนักกับคำนี้

{ أَنفُسَنَا وأَنفُسَكُمْ }

โดยอาจารย์ฟารีดกล่าวว่า

ข้ออ้างของเหล่าชีอะฮ์ที่ว่า "ตัวของพวกเราหมายถึงท่านอาลี อลัยฮิสสลาม โดยพระองค์อัลลอฮ์ได้ทำให้อาลีคือตัวของมูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะอาลีฮี"
คำพูดนี้เป็นการบังอาจล่วงเกินท่านนบีและใส่ร้ายท่านอาลีอย่างหาที่เปรียบมิได้






ตอบโต้อาจารย์ฟารีด


นักตัฟสีรซุนนี่ที่กล่าวว่า คำ อันฟุสะนา -  ตัวของพวกเรา ในที่นี้หมายถึง ท่านอาลี คือ

1.   ท่านสิยูตี
2.   ท่านบะเฆาะวี
3.   ท่านคอซิน
4.   ท่านมุฮัมมัดบินอะลี อัชเชากานี
5.   ท่านญาบิร


เพราะฉะนั้นแสดงว่า

นักตัฟสีรซุนนี่เหล่านี้บังอาจล่วงเกินท่านนบีและใส่ร้ายท่านอาลีอย่างหาที่เปรียบมิได้ หรือครับท่านอาจารย์ฟารีด  ?

หรือว่า  
อะกีดะฮ์ของท่านอาจารย์ฟารีด  แหกคอกแหวกแนวไปจากบรรดาอุละมาอ์ซุนนี่เหล่านั้น ?

หรือว่า
อาจารย์ฟารีดไม่เคยดูตาม้าตาเรือเลยว่า  นักตัฟสีรซุนนี่ เขาก็อธิบายเอาไว้เช่นเดียวกับชีอะฮฺ


อันนี้สิน่าคิด  
  •  

L-umar



อ้างอิงจากบทความอาจารย์ฟารีด

ส่วนฮะดีษที่เหล่าชีอะฮ์นำมาแสดงว่า

     عَلِىٌّ مِنِّى وَأَنَا مِنْهُ

 "อาลีมาจากฉันและฉันก็มาจากอาลี"

สุนันอิบนิมาญะห์ ฮะดีษเลขที่ 116

ก็มิได้เป็นหลักฐานว่าท่านอาลีคือคนๆเดียวกับท่านนบี เพราะคำพูดนี้ชาวอาหรับจะใช้แสดงความเป็นเครือญาติ หรือหมายถึงบุคคลที่มีสายเลือดเดียวกัน
เช่นท่านรอซูลกล่าวว่า

حُسَيْنٌ مِنِّي وَأَنَا مِنْ حُسَيْنٍ
                                                       
"ฮุเซนมาจากฉันและฉันก็มาจากฮุเซน"  

มุสนัดอิหม่ามอะห์หมัด ฮะดีษเลขที่ 16903

فَإِنَّ الْعَبَّاسَ مِنِّي وَأَنَا مِنْهُ
                                                         
"อับบาสมาจากฉันและฉันก็มาจากอับบาส"  

มุสนัดอิหม่ามอะห์หมัด ฮะดีษเลขที่ 2598







ตอบโต้อาจารย์ฟารีด


หนึ่ง -   ท่านอาจารย์ยกตัวอย่างมาให้ชม สามหะดีษ คือ

อาลีมาจากฉันและฉันก็มาจากอาลี
عَلِىٌّ مِنِّى وَأَنَا مِنْه
สุนันอิบนิมาญะห์ ฮะดีษเลขที่ 116


ฮูเซนมาจากฉันและฉันมาจากฮูเซน
حُسَيْنٌ مِنِّي وَأَنَا مِنْ حُسَيْنٍ

มุสนัดอิหม่ามอะห์หมัด ฮะดีษเลขที่ 16903



สองหะดีษแรกผ่านการตรวจสอบว่า  ยึดถือเป็นหลักฐานได้ว่า อยู่ในระดับ ฮาซัน




แต่ปัญญหาคือ  หะดีษบทที่สามนี้   ดอดีฟ

فَإِنَّ الْعَبَّاسَ مِنِّي وَأَنَا مِنْهُ

อับบาสมาจากฉันและฉันก็มาจากอับบาส
มุสนัดอิหม่ามอะห์หมัด ฮะดีษเลขที่ 2598

เราได้ไปตรวจสอบหนังสือมุสนัดอิหม่ามอะหมัด ฉบับที่เชคชุเอบ อัลอัรนะอูฏตรวจทานสายรายงาน หะดีษที่ 2734   ท่านกล่าวว่า

تعليق شعيب الأرنؤوط : إسناده ضعيف

อิสนาด (สายรายงาน)ของหะดีษนี้   " ดออีฟ "

เชคอัลบานีก็ได้กล่าวว่า  หะดีษนี้ ดออีฟ เช่นกัน

ดูซิลซิละตุฎ - เฎาะอีฟะฮฺ  หะดีษที่ 2315


ไม่น่าเชื่อว่า ระดับอาจารย์ฟารีดจะมั่วยกหะดีษดออีฟมาอ้างอิงเป็นหลักฐานเฉยเลย



ทีนี้เราจะมาเจาะลึกถึงความหมายหะดีษสองบทแรกกันดังต่อไปนี้
  •  

L-umar


อ้างอิงจากบทความอาจารย์ฟารีด


ถ้อยความเหล่านี้ล้วนแต่เป็นการแสดงถึงความเป็นเครือญาติทั้งสิ้นมิได้หมายถึงความเป็นตัวตนเป็นคนๆเดียวกัน มิเช่นนั้นแล้วเราก็ต้องกล่าวด้วยว่า คือฮุเซนคือหรือเท่ากับนบี และท่านอับบาสคือนบีหรือเท่ากับนบี ซึ่งอย่าว่าแต่ชาวซุนนะห์จะรับไม่ได้เลย ชาวชีอะฮ์เองก็รับไม่ได้เช่นกัน หรือชีอะฮ์จะยอมรับว่า ท่านอับบาสคือคนๆเดียวกับท่านนบีด้วย อย่างนี้เอาไหม





ตอบโต้อาจารย์ฟารีด

นึกไม่ถึงว่า อาจารย์ฟารีด จะสำแดงความปัญญานิ่มออกมาได้ขนาดนี้  โดยกล่าวว่า
 
((ถ้อยความเหล่านี้ล้วนแต่เป็นการแสดงถึงความเป็นเครือญาติทั้งสิ้น))

คำถามคือ

อาจารย์คิดว่า ซอฮาบะฮ์ส่วนมากในยุคนั้น ไม่รู้ว่า ท่านอะลี ฟาติมะฮ์ ฮาซันและฮูเซน คือครอบครัวที่ใกล้ชิดของท่านนบีมุฮัมมัด(ศ) ดอกหรือ ???  
จนต้องมาคอยบอกกับซอฮาบะฮ์ว่า  


عَلِىٌّ مِنِّى وَأَنَا مِنْه
อะลีคือหรือเครือญาติของฉัน  

حُسَيْنٌ مِنِّي وَأَنَا مِنْ حُسَيْنٍ
ฮูเซนคือหรือเครือญาติของฉัน


หรือว่า ท่านนบี(ศ) ได้กล่าวสองหะดีษนี้ อย่างมีจุดประสงค์ที่สำคัญ ???
  •  

L-umar


การให้ความสำคัญต่อความหมายของตัวบทหะดีษที่ถูกต้อง



อัลลอฮ์ ตะอาลา ตรัสว่า

وَمَا يَنطِقُ عَنِ الهوى إِنْ هُوَ إِلاَّ وَحْيٌ يوحى

และเขา(มุฮัมมัด) มิได้พูดตามอารมณ์  สิ่ง(ที่เขาพูด)นั้น มิใช่อื่นใดนอกจากเป็นวะฮีที่ถูกประทานลงมา

บทที่ 53 : 3 - 4



ท่านรอซูล(ศ) กล่าวว่า

فَوَالَّذِي نَفْسِي بِيَدِهِ مَا خَرَجَ مِنِّي إِلَّا حَقٌّ

ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ว่า  ไม่มีสิ่งใดออกมาจาก(ปาก) ฉัน นอกจาก มันคือสัจธรรม

สถานะหะดีษ : เศาะหิ๊หฺ  ดูมุสนัดอะหมัด หะดีษที่ 6510 ตรวจทานโดยเชคชุเอบอัลอัรนะอูฏ





หะดีษ  (عَلِيٌّ مِنِّي وَأَنَا مِنْهُ )นี้ มีรายงานชนิดที่เรียกว่า ชัดเจนยิ่งกว่าแสงแดดตอนเที่ยงตรงเสียอีกเช่น

أَنْتَ مِنِّى وَأَنَا مِنْكَ

ท่านรอซูล(ศ)กล่าวกับท่านอะลีว่า  ท่านมาจากฉัน และฉันมาจากท่าน

เศาะหิ๊หฺ บุคอรี หะดีษที่ 2699



ท่านรอซูล(ศ)กล่าวว่า

إِنَّ عَلِيًّا مِنِّي وَأَنَا مِنْهُ وَهُوَ وَلِيُّ كُلِّ مُؤْمِنٍ بَعْدِي

แท้จริงอะลีมาจากฉัน และฉันมาจากเขา และเขาคือ ผู้ปกครองของมุอ์มินทุกคน ภายหลังจากฉัน

สถานะหะดีษ : เศาะหิ๊หฺ  ดูซิลซิละตุซ-ซ่อฮีฮะฮฺ  หะดีษที่ 2223 ตรวจทานโดยเชคอัลบานี

และ

عَلِيٌّ مِنِّي وَأَنَا مِنْهُ وَلَا يُؤَدِّي عَنِّي إِلَّا أَنَا أَوْ عَلِيٌّ

แท้จริงอะลีมาจากฉัน และฉันมาจากเขา และจะไม่มีใครทำหน้าที่แทนฉันได้ นอกจากตัวฉันหรืออะลี

สถานะหะดีษ :  ฮาซัน   ดูซอฮีฮุอิบนิมาญะฮฺ  หะดีษที่ 97  ตรวจทานโดยเชคอัลบานี



เพราะฉะนั้นตัวอาจารย์ฟารีดนั่นแหล่ะ คือคนที่ชอบดูเหยียดหยามคำพูดของท่านนบี(ศ)ว่า มันๆไม่มีอะไรหรอก แค่ท่านต้องการบอกว่า ท่านอะลีกับท่านฮูเซนเป็นญาติของท่านก็เท่านั้นเอง    


อาจารย์ฟารีดเป็นคนที่จัดอยู่ในประเภทที่ว่า แปลอาหรับเป็นไทยได้ก็เท่านั้น แต่ไร้สมอง ขาดวิจารณญาณในการศึกษาวจนะของท่านรอซูล(ศ) ซึ่งคนทำนองนี้มีอยู่เยอะในหมู่พวกวาฮาบี
  •  

L-umar


คำถามสำหรับวาฮาบี


ท่านรอซูล(ศ)เคยกล่าวเช่นนี้กับซอฮาบะฮ์คนไหนในลักษณะเช่นนี้บ้างไหมคือ

แท้จริง(      )มาจากฉัน และฉันมาจากเขา และเขาคือ ผู้ปกครองของมุอ์มินทุกคน ภายหลังจากฉัน

แท้จริง(      )มาจากฉัน และฉันมาจากเขา และจะไม่มีใครทำหน้าที่แทนฉันได้ นอกจากตัวฉันหรืออะลี

ถ้าไม่มีย่อมแสดงว่า หะดีษที่ท่านรอซูล(ศ)กล่าวกับท่านอะลีทั้งสองบทนี้ เป็นคุซูซียัตพิเศษเฉพาะท่านอะลีเท่านั้น ใช่ไหม ?
  •  

L-umar



ท่านคิดว่า การที่ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ได้คัดเลือกพาบุคคลทั้งสี่คือท่านอะลี ฟาติมะฮฺ ฮาซันและฮูเซนออกไปทำมุบาฮะละฮฺกับตัวแทน 60 คนที่เป็นชาวคริสต์แห่งนัจญ์รอนนั้น  เป็นความประเสริฐของบุคคลทั้งสี่หรือไม่  ?


หรือท่านคิดว่า เป็นธรรมเนียมปกติที่ชาวอาหรับเขาทำกัน ตามที่พวกวาฮาบีอ้างไว้ ?


หากเป็นเรื่องปกติ ทำไมท่านมุสลิม บินหัจญ๊าจญ์ถึงได้บันทึกเรื่องนี้ไว้ใน

หัวข้อเรื่อง   فضائل الصحابة  คือ ความประเสริฐของบรรดาซอฮาบะฮ์

หมวดว่าด้วยเรื่อง  باب من فضائل علي بن أبي طالب ความประเสริฐของท่านอะลี บินอบีตอลิบ


ขอให้ท่านลองพิจารณาความหมายหะดีษนี้ให้ดี


عَنْ عَامِرِ بْنِ سَعْدِ بْنِ أَبِى وَقَّاصٍ عَنْ أَبِيهِ قَالَ أَمَرَ مُعَاوِيَةُ بْنُ أَبِى سُفْيَانَ سَعْدًا فَقَالَ مَا مَنَعَكَ أَنْ تَسُبَّ أَبَا التُّرَابِ

ท่านสะอัด บินอบีวักกอศเล่าว่า  :

มุอาวียะฮ์ บินอบีสุฟยานได้ออกคำสั่งต่อสะอัด  เขากล่าวว่า สิ่งใดขัดขวางเจ้ามิให้ทำการด่าทอต่ออบูตูรอบ(ฉายาที่นบีตั้งให้ท่านอะลี)


فَقَالَ أَمَّا مَا ذَكَرْتُ ثَلاَثًا قَالَهُنَّ لَهُ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- فَلَنْ أَسُبَّهُ لأَنْ تَكُونَ لِى وَاحِدَةٌ مِنْهُنَّ أَحَبُّ إِلَىَّ مِنْ حُمْرِ النَّعَمِ


สะอัดตอบว่า : เพราะฉันนึกถึงสามประการที่ท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ)ได้กล่าวถึงมันกับเขา(อะลี) ดังนั้นมันจึงทำให้ฉันไม่มีวันที่จะด่าทอเขา(อะลี)

ได้เลย  เพราะถ้าหนึ่งจากสามสิ่งนั้นได้เป็นของฉัน ฉันจะรักมันยิ่งกว่าได้อูฐแดงเสียอีก



سَمِعْتُ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- يَقُولُ لَهُ خَلَّفَهُ فِى بَعْضِ مَغَازِيهِ فَقَالَ لَهُ عَلِىٌّ يَا رَسُولَ اللَّهِ خَلَّفْتَنِى مَعَ النِّسَاءِ وَالصِّبْيَانِ فَقَالَ لَهُ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- « أَمَا تَرْضَى أَنْ تَكُونَ مِنِّى بِمَنْزِلَةِ هَارُونَ مِنْ مُوسَى إِلاَّ أَنَّهُ لاَ نُبُوَّةَ بَعْدِى ».


(ประการที่ 1 )ฉันได้ยินท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวกับเขา(ตอนที่ท่าน)ทิ้งเขาไว้(ในเมืองมะดีนะฮ์เพื่อทำหน้าที่ดูแลแทนท่าน)ในบางสงครามที่

ท่านออกรบ  ท่านอะลีได้กล่าวกับท่านว่า โอ้ท่านรอซูลุลลอฮ์ ท่านจะปล่อยฉันไว้กับสตรีและเด็กๆกระนั้นหรือ ? ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้กล่าวกับเขาว่า  เจ้าไม่พอใจหรือที่เจ้ากับฉันนั้นมีตำแหน่งเหมือนนบีฮารูนกับนบีมูซา ยกเว้นว่าหลังจากฉันจะไม่มีนบีอีกต่อไปแล้ว



وَسَمِعْتُهُ يَقُولُ يَوْمَ خَيْبَرَ « لأُعْطِيَنَّ الرَّايَةَ رَجُلاً يُحِبُّ اللَّهَ وَرَسُولَهُ وَيُحِبُّهُ اللَّهُ وَرَسُولُهُ ». قَالَ فَتَطَاوَلْنَا لَهَا فَقَالَ « ادْعُوا لِى عَلِيًّا ». فَأُتِىَ بِهِ أَرْمَدَ فَبَصَقَ فِى عَيْنِهِ وَدَفَعَ الرَّايَةَ إِلَيْهِ فَفَتَحَ اللَّهُ عَلَيْهِ

(ประการที่ 2 ) ฉันได้ยินท่านกล่าวในวันคอยบัรว่า  ฉันจะมอบธงรบให้ชายคนหนึ่ง ที่เขารักอัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์ และอัลลอฮ์และรอ

ซูลของพระองค์ก็รักเขา  สะอัดเล่าว่า(พอรุ่งเช้า) พวกเราต่างพยายามชูโตให้สูง เพื่อจะได้รับธง  ท่าน(ศ)กล่าวว่า พวกท่านจงไปเรียกอะลีให้

ฉันที   แล้วเขาถูกพามาหา(ในสภาพ)ตาเจ็บ  ท่าน(ศ)จึงเอาน้ำลายป้ายไปที่ตาเขา และมอบธงรบให้เขา

จากนั้นอัลลอฮ์ทรงเปิดให้เขา(คือเขาสามารถพิชิตป้อมคอยบัรของยิวได้สำเร็จ)



وَلَمَّا نَزَلَتْ هَذِهِ الآيَةُ ( فَقُلْ تَعَالَوْا نَدْعُ أَبْنَاءَنَا وَأَبْنَاءَكُمْ) دَعَا رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- عَلِيًّا وَفَاطِمَةَ وَحَسَنًا وَحُسَيْنًا فَقَالَ « اللَّهُمَّ هَؤُلاَءِ أَهْلِى ».


(ประการที่ 3) ตอนโองการนี้ فَقُلْ تَعَالَوْا نَدْعُ أَبْنَاءَنَا وَأَبْنَاءَكُمْ   บทที่ 3 : 61 ประทานลงมา ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้เรียกอะลี ฟาติมะฮ์ อาซันและฮูเซน

มาหา แล้วท่านกล่าวดุอาอ์ว่า โอ้อัลลอฮ์พวกเขาเหล่านี้คือ ครอบครัวของข้าพเจ้า.



อ้างอิงจาก เศาะหิ๊หฺมุสลิม หะดีษที่ 6373




วิเคราะห์


คุณค่าของอูฐแดง


ท่านอิบนุหะญัรอธิบายถึงคุณค่าของอุฐแดงว่า

قَوْله : ( حُمْرِ النَّعَمِ )
وَهُوَ مِنْ أَلْوَان الْإِبِل الْمَحْمُودَة ، ...وَكَانَتْ مِمَّا تَتَفَاخَر الْعَرَب بِهَا
فتح الباري لابن حجر - (ج 12 / ص 30  ح 3888

คำ  ( อูฐแดง )  คือ อูฐประเภทหนึ่งที่ได้รับการยกย่องว่าดี... และปรากฏว่าชาวอาหรับนั้นมีความภาคภูมิใจต่ออูฐแดง

ฟัตฮุลบารี   โดยอิบนิหะญัร   เล่ม 12 : 30 หะดีษที่ 3888


อาจารย์ฟารีดคงไม่รู้จักคุณค่าของอูฐแดง เหมือนท่านสะอัดบินอบีวักกอศกระมัง จึงกล่าวว่า หะดีษนี้ไม่มีอะไร นบี(ศ)แค่ต้องการบอกว่า อะลีเป็ฯญาติเท่านั้น  

อย่างนี้ต้องเรียกว่า ตามซอฮาบะฮ์ไม่จริง
  •  

L-umar



ในสมัยก่อน  อูฐแดงนั้น เป็นสัตว์ที่เรียกได้ว่า  สุดยอดที่สุดของชาวอาหรับ  ถ้าบ้านเราก็เปรียบเหมือนช้างเผือก อันเป็นสัตว์ที่กษัตริย์ไทยในอดีตจนปัจจุบันถือว่า ใครได้ครอง คนนั้นมีบุญบารมี  และเป็นความภูมิใจของเขา


แต่อาจารย์ฟารีดกลับไม่เห็นคุณค่าของหะดีษ    บทนี้    นั่นแสดงว่า  อาจารย์ฟารีดไม่ได้เห็นคุณค่าของคำพูดของท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)นั่นเอง


แล้วเราจะไปสนใจทำไมกับคนที่ดูหมิ่นดูแคลนวจนะนบี(ศ)      
  •  

118 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้