Q4wahabi.com (Question for Wahabi)

หมวดหมู่ทั่วไป => อะลุ้ลบัยต์ อ. ในทัศนะของวาฮาบี ซุนนี่ และชีอะฮ์ => หัวข้อที่ตั้งโดย: L-umar เมื่อ พฤศจิกายน 02, 2009, 09:01:50 ก่อนเที่ยง

ชื่อ: วิจัย ความหมายของ “ เมาลา “ และ “ วะลี “
โดย: L-umar เมื่อ พฤศจิกายน 02, 2009, 09:01:50 ก่อนเที่ยง

สืบเนื่องจากกระทู้นี้


http://www.q4sunni.com/believe/index.php?option=com_kunena&Itemid=71&func=view&catid=2&id=1136&limit=6&limitstart=36#1173


เมื่อเราได้พิสูจน์ให้ท่านได้ทราบแล้วว่า หะดีษษะเกาะลัยน์ + หะดีษเฆาะดีร  นั้นมีสายรายงานเชื่อถือได้ และถูกต้อง



ประเด็นที่จะต้องพิสูจน์กันต่อไปคือ      


คำถามที่    2      คำว่า " เมาลา " และ " วะลี " แปลว่า อะไร  ?
ชื่อ: Re:วิจัย ความหมายของ “ เมาลา “ และ “ วะลี “
โดย: L-umar เมื่อ พฤศจิกายน 02, 2009, 12:02:48 หลังเที่ยง

بسم الله الرحمن الرحيم الحمد لله و صلواته على سيدنا محمد و آله الطاهرين

ยุคปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่า ความเชื่อของชีอะฮ์อะลีหลายอย่าง กำลังเป็นสิ่งท้าทายและพิสูจน์ความเป็นมุสลิมของผู้ปฏิบัติตามมัซฮับอะฮ์ลุลบัยต์ อะลัยฮิมุสสลาม  


ในขณะที่พวกวาฮาบีและอะชาอิเราะฮ์บางส่วนหันมาศึกษาค้นคว้าตำราชีอะฮ์อย่างขะมักเขม้น จุดประสงค์หลักของพวกเขาคือ นำเนื้อหาสาระจากตำราชีอะฮ์ออกมาโจมตีทุกรูปแบบ


พวกเขามีนักวิชาการมากกว่า มีเวลามากกว่า มีงบประมาณมากกว่าชีอะฮ์หลายร้อยหลายพันเท่า  ดังนั้นท่านจะเห็นได้ว่า พวกเขาได้สร้างเวบไซต์มากมายนำสู่สายตาประชาชน เพื่อทำลายมัซฮับชีอะฮ์  พวกเขาสร้างบทความเป็นรูปภาพมีการตัดต่อเติมแต่งอย่างชำนาญและโลดได้ฟรี   อีกทั้งบทความมากมายทั้งไฟล์เสียง ไฟล์ภาพและในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิก  พูดง่ายๆพวกเขาทุ่มสุดตัวเพื่อทำให้ชีอะฮ์เสียโฉม  


ในฐานะที่ท่านเป็นชีอะฮ์อะลีคนหนึ่ง     ฉะนั้นสิ่งที่ท่านต้องให้ความสำคัญคือ  ควรศึกษาทำความเข้าใจความเชื่อของมัซฮับชีอะฮ์ ตามความสามารถเท่าที่จะทำได้  เพราะทุกเรื่องที่ท่านเชื่อ โปรดทราบว่า วาฮาบีและอะชาอิเราะฮ์เขาเอาไปแก้ไขบิดเบือนมันหมดแล้ว  ยิ่งกว่านั้นเขายังได้เขียนบทความตอบโต้และสร้างคำถามไว้มากมายสำหรับชีอะฮ์



ตัวอย่างเช่น


เรื่องที่ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ)ได้แต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์ที่เฆาะดีรคุม ทั้งๆทีมีตัฟสีรและหะดีษบันทึกไว้มากมายชัดเจนถูกต้อง

แต่หลายครั้งที่เราต้องพบกับการบิดเบือนความหมายของคำ " เมาลา "  และ " วะลี "  ในหะดีษเฆาะดีร  ชนิดจงใจและไม่จงใจ  ฉะนั้นสิ่งที่ท่านควรได้ตระหนักคือ



1.   ต้องศึกษาเรื่องการแต่งตั้งอิม่ามอะลีเป็นผู้นำในทางประวัติศาสตร์

2.   ต้องแสวงหาหลักฐานเรื่องการแต่งตั้งอิม่ามอะลีจากตัฟสีรและหะดีษ แม้ว่าจะเป็นหะดีษเพียงหนึ่งบท แต่ขอให้หะดีษนั้นถูกต้องก็เพียงพอ เพราะชีอะฮ์บางคนยังยกหะดีษเศาะหิ๊หฺสักบทหนึ่งมาเป็นสรณะในความเชื่อที่ตนยึดยังไม่ได้เลย และนี่คือความล้าหลังในทางวิชาการ  

3.   ต้องทำความเข้าใจต่อความหมายของตัวบทหลักฐาน ในแง่มุมต่างๆ เท่าที่ทำได้



ประเภทของคำ  เมาลา ในทางภาษาศาสตร์


أقسام المولى في اللسان

หากถามว่า  เมาลา  มีรากศัพท์มาอย่างไร ?


คำเมาลา มาจากคำกริยาสามอักษรคือ

วะลิย่ะ – ยะลี – วิลายะตัน

وَلِيَ ←يَلِي← وِلاَيَةً

แปลว่า  ปกครอง  เขาปกครอง ดูแล


เมาลา ในทางภาษายังแปลได้ถึง  10 ความหมาย คือ :


หนึ่ง -  الاولي อัลเอาลา = ผู้เหมาะสมที่สุด (ต่อเรื่องนั้นหรือกิจการนั้นๆ)  
หมายถึง อัศล์ – أصل = รากเดิมและอิมาด – عماد  = รากฐาน
อัลลอฮ์ตะอาลาตรัสว่า

فَالْيَوْمَ لَا يُؤْخَذُ مِنْكُمْ فِدْيَةٌ وَلَا مِنَ الَّذِينَ كَفَرُوا مَأْوَاكُمُ النَّارُ هِيَ مَوْلَاكُمْ وَبِئْسَ الْمَصِيرُ

ดังนั้น วันนี้การไถ่บาปจะไม่ถูกรับจากพวกเจ้า และจากบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา ที่พำนักของพวกเจ้าคือไฟนรก
มันคือ  เมาลา ( สถานที่อันเหมาะสมที่สุด) ของพวกเจ้า และมันเป็นทางกลับที่ชั่วร้ายยิ่ง
บท 57 : 15

เมาลาในอายัตนี้อัลลอฮ์ทรงหมายถึง นรกคือสถานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับกาเฟ็ร ตามที่นักตัฟสีรและนักภาษาศาสตร์ได้อธิบายไว้

สอง – มาลิกุล ริก – مالك الرق =  นาย หรือ เจ้าของทาส

อัลลอฮ์ตรัสว่า

ضَرَبَ اللَّهُ مَثَلًا عَبْدًا مَمْلُوكًا لَا يَقْدِرُ عَلَى شَيْءٍ وَمَنْ رَزَقْنَاهُ مِنَّا رِزْقًا حَسَنًا فَهُوَ يُنْفِقُ مِنْهُ سِرًّا وَجَهْرًا هَلْ يَسْتَوُونَ الْحَمْدُ لِلَّهِ بَلْ أَكْثَرُهُمْ لَا يَعْلَمُونَ

อัลลอฮ์ทรงยกอุทาหรณ์ถึงบ่าวผู้เป็นทาสไม่มีอำนาจในสิ่งใด กับผู้ที่เราได้ให้ปัจจัยยังชีพที่ดีจากเราแก่เขา แล้วก็เขาบริจาคมันโดยทางลับและเปิดเผย พวกเขาจะเท่าเทียมกันละหรือ? บรรดาการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮ์ แต่ทว่าส่วนมากของพวกเขาไม่รู้

وَضَرَبَ اللَّهُ مَثَلًا رَجُلَيْنِ أَحَدُهُمَا أَبْكَم لَا يَقْدِرُ عَلَى شَيْءٍ وَهُوَ كَلٌّ عَلَى مَوْلَاهُ

และอัลลอฮ์ทรงยกอุทาหรณ์ถึงชายสองคน หนึ่งในสองคนเป็นใบ้ เขาไม่สามารถในสิ่งใด และเขาเป็นภาระแก่เมาลา (นาย )ของเขาอีกด้วย
บท 16 : 75,76

อายัตนี้หมายถึง  นายของทาส หรือผู้เป็นเจ้าของ  ผู้ครอบครอง...

สาม – ผู้ให้อิสระ (แก่คนอื่น) - الْمُعْتِقُ

สี่ - ผู้ที่ได้รับการปล่อยให้เป็นอิสระ - الْمُعْتَقُ

ห้า -  อิบนุ อัม  - اِبْنُ الْعَمِّ =  ลูกของลุง  ดังกลอนที่กล่าวว่า
 
مهلا بني عمنا مهلا موالينا لا تنشروا بيننا ما كان مدفونا

ช้าก่อน บนีแห่งลุงของพวกเรา  ช้าก่อนบรรดาบุตรของลุงของเรา...

หก -  นาศิร  -  النَّاصِرُ = ผู้ช่วยเหลือ   อัลลอฮ์ตะอาลาตรัสว่า

ذَلِكَ بِأَنَّ اللَّهَ مَوْلَى الَّذِينَ آَمَنُوا وَأَنَّ الْكَافِرِينَ لَا مَوْلَى لَهُمْ

ทั้งนี้เพราะว่า อัลลอฮ์ เป็นเมาลา (ผู้ทรงคุ้มครอง) บรรดาผู้ศรัทธา และแน่นอนพวกปฏิเสธศรัทธาไม่มีผู้คุ้มครองสำหรับพวกเขา
บท 47 : 11

หมายถึง  จะไม่มีผู้ให้การช่วยเหลือ สำหรับพวกกาเฟ็ร

เจ็ด - อัลมุตะวัลลี - الْمُتَوَلِّي = ผู้ได้รับมอบหมาย เช่น มีหน้าที่ดูแลมรดกหรือเรื่องอื่นๆ

แปด – อัลหะลีฟ - الْحَلِيْفُ =  ผู้ที่เป็นพันธมิตร

เก้า – อัลญารุ – الْجَارُ  =  ผู้เป็น เพื่อนบ้าน

สิบ – อัลอิหม่าม อัสสัยยิด อัลมุฏ๊ออ์  -  الْإِماَمُ السَيِّدُ الْمُطاَعُ = ผู้นำ ,  หัวหน้า และ ผู้ที่ได้รับการเชื่อฟัง

ถ้าท่านสังเกตและพิจารณาความหมายที่ 2 – 10 ให้ดี จะพบว่า ความหมายของมันทั้งหมดจะย้อนกลับไปยังความหมายที่หนึ่ง และทั้งหมดล้วนเอามาจากความหมายแรกทั้งสิ้น

ทำไม  ? เพราะว่า
เจ้าของทาส   เขาย่อมมีสิทธิมากที่สุดต่อการควบคุมทาสของเขา มากกว่าผู้อื่น เนื่องจากเขาเป็นนาย
ผู้ให้อิสระ(แก่ทาส) เขาย่อมมีสิทธิมากที่สุดต่อมรดกของผู้ถูกปล่อยให้เป็นอิสระ มากกว่าผู้อื่น เนื่องจากเขาเป็นนาย

ลูกของลุง  ย่อมมีสิทธิมากที่สุดต่อการรับมรดก มากกว่าญาติคนอื่นๆ ผู้มีเชื้อสายสืบหลังจากเขา และผู้มีเชื้อสายสืบหลังจากเขา ก็ควรให้การช่วยเหลือต่อลูกของลุง มากกว่าคนอื่นที่ไม่ใช่ญาติ เพราะเขาคือคนใกล้ชิดมากที่สุดกว่าคนอื่น
ผู้ให้การช่วยเหลือ ถูกเจาะจงด้วยการให้ความช่วยเหลือ เขาจึงมีความสิทธิต่อคำนี้มากกว่าผู้อื่น
ผู้ได้รับมอบหมาย เช่น มีหน้าที่ดูแลมรดกหรือเรื่องอื่นๆ เขาย่อมมีสิทธิมากที่สุดในหน้าที่ๆได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติ
ผู้ที่เป็นพันธมิตรกับอีกฝ่ายหนึ่ง เขาย่อมต้องให้การพิทักษ์ดูแลและช่วบเหลือพันธมิตรของเขามากกว่าผุ้ที่ไม่ใช่พันธมิตรของเขา
ผู้เป็น เพื่อนบ้าน ก็ย่อมสมควรได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนข้างบ้านของเขาก่อนใครๆ เพราะเขาอยู่ใกล้ชิดกันมากกว่า บ้านหลังอื่นๆ

ผู้นำ ผู้ที่ได้รับการเชื่อฟัง  เนื่องจากเขามีสิทธิต้องได้รับการเชื่อฟังจากผู้อยู่ภายใต้การดูและควบคุมของเขา
ดังนั้นการปฏิบัติตามผู้นำจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อผู้อยู่ภายใต้การดูแล และผู้นำมีสิทธิมากที่สุดในการออกคำสั่ง
ความหมายทั้งหมดจึงย้อนกลับไปสู่ความหมายประการแรก

ผลลัพท์ที่เราได้จากการศึกษาคำเมาลาในเชิงภาษาคือ  ทำให้เราทราบความจริงว่า  มุสลิมบางส่วนได้ให้ความหมายของคำ " เมาลา "  ไปในทางมะญ๊าซ คืออุปมาอุปมัย เนื่องจากพวกเขามีอคติและความดื้อดึง

ถึงแม้ว่าพวกเขาจะแปลคำเมาลาไปในทางอุปมาอุปมัยก็ตาม  แต่ที่สุดแล้วพวกเขาก็ไม่อาจเลี่ยงหนีไปจากความหมายที่แท้จริงของมันได้เลย


สรุป  

เมาลา  แม้จะให้ความหมายได้มากมาย แต่ความหมายหลักของมันก็คือ  ผู้มีสิทธิมากที่สุดต่อ...นั่นเอง.
ชื่อ: Re:วิจัย ความหมายของ “ เมาลา “ และ “ วะลี “
โดย: L-umar เมื่อ พฤศจิกายน 02, 2009, 03:46:13 หลังเที่ยง


การแสดงเหตุผลถึงตำแหน่งอิมามัตของท่านอะลีที่เฆาะดีรคุม


อัลลอฮ์ ตะอาลาตรัสว่า

وَإِذْ أَخَذَ رَبُّكَ مِنْ بَنِي آَدَمَ مِنْ ظُهُورِهِمْ ذُرِّيَّتَهُمْ وَأَشْهَدَهُمْ عَلَى أَنْفُسِهِمْ أَلَسْتُ بِرَبِّكُمْ قَالُوا بَلَى شَهِدْنَا

และจงรำลึกขณะที่พระเจ้าของเจ้าได้เอาจากลูกหลานของอาดัม ซึ่งลูก ๆ ของพวกเขาจากหลังของพวกเขา และให้พวกเขา ยืนยันแก่ตัวของเขาเอง(โดยตอบคำถามที่ว่า)

ข้ามิใช่พระเจ้าของพวกเจ้าดอกหรือ ?

พวกเขากล่าวว่า    ใช่ขอรับ พวกข้าพระองค์ขอยืนยัน
บท 7 : 172



วันที่  18 เดือนซุลฮิจญะฮ์ ฮ.ศ.ที่  10  นักรายงานหะดีษมากมายเล่าว่า  

ท่านนบี(ศ)ได้รวบรวมฮุจญ๊าจญ์ที่เดินทางกลับจากหัจญะตุลวิดาอ์  ณ.เฆาะดีรคุม   ได้ทำนมาซซุฮ์ริเป็นญะมาอัต  หลังนมาซเสร็จสิ้นท่านนบี(ศ)ได้ปราศรัยกับประชาชนโดยถามพวกเขาว่า

أَلَسْتُ أَوْلَى بِالْمُؤْمِنِينَ مِنْ أَنْفُسِهِمْ

ฉัน มิใช่ผู้มีสิทธิมากที่สุดต่อบรรดาผู้ศรัทธา ยิ่งกว่าตัวของพวกเขาเอง ดอกหรือ ?

قَالُوا بَلَى


พวกเขากล่าวว่า  : หามิได้    ใช่แล้วครับ (คือยืนยัน)

قَالَ مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ

ท่านจึงกล่าวทันทีว่า  : บุคคลใดที่ฉันมีสิทธิมากที่สุดต่อเขา ดังนั้นอะลีก็มีสิทธิมากที่สุดต่อเขา

(แล้วท่านวิงวอนว่า )

اللَّهُمَّ وَالِ مَنْ وَالَاهُ وَعَادِ مَنْ عَادَاهُ وَانْصُرْ مَنْ نَصَرَهُ وَاخْذُلْ مَنْ خَذَلَهُ

โอ้อัลลอฮ์ โปรดเป็นมิตรกับผู้ที่เป็นมิตรกับเขา โปรดเป็นศัตรูต่อผู้เป็นศัตรูต่อเขา และโปรดช่วยผู้ที่ช่วยเขา โปรดทอดทิ้งผู้ที่ทอดทิ้งเขา

ท่านนบี(ศ)ได้กำหนดฟัรฎูหนึ่งต่อพวกเขาคือ ต้องเชื่อฟังอะลี ซึ่งเห็นได้ชัดเจนในคำพูดของท่าน  ลองมาดูกันใหม่อีกครั้ง ท่านนบี(ศ)กล่าวว่า  :

مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ

บุคคลใดที่ฉันมีสิทธิมากที่สุดต่อเขา ดังนั้นอะลีก็มีสิทธิมากที่สุดต่อเขา

การใช้อักษัร " ฟาอ์ – ฟะ อะลียุน เมาลาฮุ " เชื่อมต่อจากประโยค มันกุนตุ เมาลาฮุ ทันที โดยไม่มีประโยคใดเข้ามาแทรกกลางนั้น
เพื่อต้องการแสดงให้เห็นว่า ท่านอะลีเป็นผู้ที่ " เอาลา – أولي " คือ ผู้เหมาะสมที่สุดและมีสิทธิมากที่สุดต่อบรรดาผู้ศรัทธา สืบต่อจากท่านนบี(ศ)


ฮิกมัตของวจนะของท่านนบี(ศ)ที่กล่าวเช่นนี้คือ เพื่ออธิบายให้ชัดเจนว่า เมื่อพวกเขายืนยันว่า รอซูลุลลอฮ์(ศ)คือ ผู้มีสิทธิมากที่สุดต่อบรรดาผู้ศรัทธา  ต่อจากนั้นอะลีคือผู้มีสิทธิมากที่สุดต่อบรรดาผู้ศรัทธา ต่อจากฉัน


วิธีเบี่ยงเบนคำพูดของท่านนบี(ศ)ที่ชัดเจนให้สับสน พวกเขาทำดังนี้

1.   เขาจะไม่กล่าวถึงตอนนบีมุฮัมมัด(ศ)ถามซอฮาบะฮ์เรื่อง อำนาจสูงสุดของท่านก่อนที่จะกล่าวหะดีษ มันกุนตุเมาลาฮุ ฟะอะลียุนเมาลาฮ์
2.   แปลคำเมาลาว่า มิตรสหาย , คนรัก ,ผู้ช่วยเหลือ ไม่ใช่ผู้ปกครอง


พฤติกรรมเบี่ยงเบนเช่นนี้  วิเคราะห์ได้ดังนี้

1.   ไม่เข้าใจภาษาอาหรับอย่างแท้จริงหรือเข้าใจแต่ยอมรับความจริงไม่ได้
2.   ไม่ใช้สติปัญญาวิเคราะห์ความต่อเนื่องของหะดีษ
3.   ต้องการทำให้ผู้ฟังหลงประเด็นสาระสำคัญของหะดีษ


ไม่ว่าจะบิดเบือนคำ" เมาลา "ไปในทางใดก็ตาม แต่เราอธิบายไปแล้วแต่ต้นว่า  เมาลามีความหมายถึงสิบด้าน แต่ทั้งหมดจะย้อนกลับไปยังความหมายเดิมของมันคือ  " เอาลา "



สรุป

หากนบีมุฮัมมัด  คือ เอาลา ของบรรดามุอ์มิน

ฉะนั้น อะลีคือ เอาลา ของบรรดามุอ์มิน



ทำไมเราจึงกล่าวเช่นนั้น ? เพราะอัลลอฮ์ตะอาลาตรัสว่า



النَّبِيُّ أَوْلَى بِالْمُؤْمِنِينَ مِنْ أَنْفُسِهِمْ

นบี (มุฮัมมัดนั้นคือ) ผู้ที่ "เอาลา " มากที่สุดต่อบรรดาผู้ศรัทธา ยิ่งกว่าตัวของพวกเขาเองเสียอีก
บท 33 : 6


หากถามว่า  " เอาลา "  ในที่นี้ควรแปลว่าอะไร ?


1.   เหมาะสมมากที่สุด
2.   มิตรสหาย
3.   ผู้เป็นที่รักยิ่ง
4.   ผู้ช่วยเหลือ
5.   ผู้นำสูงสุดทั้งเรื่องดีนและดุนยา
6.   หรือหมายถึงทั้งห้า


ก่อนตอบคำถาม  ท่านคงต้องถามตัวท่านเองให้ดีเสียก่อนว่า บุรุษที่ชื่อ  มุฮัมมัด  อยู่ในฐานะอะไรสำหรับท่าน ?


คัมภีร์อัลกุรอ่านได้บ่งบอกสถานะของ มุฮัมมัด ไว้ดังนี้


مَا كَانَ مُحَمَّدٌ أَبَا أَحَدٍ مِنْ رِجَالِكُمْ وَلَكِنْ رَسُولَ اللَّهِ وَخَاتَمَ النَّبِيِّينَ وَكَانَ اللَّهُ بِكُلِّ شَيْءٍ عَلِيمً

มุฮัมมัดมิได้เป็นบิดาของผู้ใดในหมู่บุรุษของพวกเจ้า  แต่เขาเป็นรอซูลุลลอฮ์และเป็น(นบี)คนสุดท้ายแห่งบรรดานะบี

บท 33 : 40

อัลลอฮ์ตะอาลาตรัสชัดว่า  หลังมุฮัมมัด(ศ)สิ้นชีพ จะไม่มีผู้นำที่อยู่ในฐานะนบี อีกแล้ว
นบีมุฮัมมัด(ศ)ได้กล่าวกับท่านอะลีว่า

أَنْتَ مِنِّى بِمَنْزِلَةِ هَارُونَ مِنْ مُوسَى إِلاَّ أَنَّهُ لاَ نَبِىَّ بَعْدِى

เจ้าจากฉัน มีฐานะเหมือนกับมูซาและฮารูน ยกเว้นว่า จะไม่มีนบีหลังจากฉันอีกแล้ว

ซอฮีฮุลมุสลิม  หะดีษ 6370



นบีมูซาวิงวอนกับอัลลอฮ์เรื่องนบีฮารูน

قَالَ رَبِّ اشْرَحْ لِي صَدْرِي (25) وَيَسِّرْ لِي أَمْرِي (26) وَاحْلُلْ عُقْدَةً مِنْ لِسَانِي (27) يَفْقَهُوا قَوْلِي (28) وَاجْعَلْ لِي وَزِيرًا مِنْ أَهْلِي (29) هَارُونَ أَخِي (30) اشْدُدْ بِهِ أَزْرِي (31) وَأَشْرِكْهُ فِي أَمْرِي (32)

เขา (มูซา) กล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงโปรดเปิดอกของข้าพระองค์ให้แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด
และทรงโปรดทำให้การงานของข้าพระองค์ง่ายดายแก่ข้าพระองค์ด้วย
และทรงโปรดแก้ปม จากลิ้นของข้าพระองค์ด้วย
เพื่อให้พวกเขาเข้าใจคำพูดของข้าพระองค์
และทรงโปรดให้คนในครอบครัวของข้าพระองค์ เป็นผู้ช่วยข้าพระองค์ด้วย
ฮารูนพี่ชายของข้าพระองค์
ได้โปรดให้เขาเพิ่มความเข้มแข็งแก่ข้าพระองค์ด้วย(คือให้เป็นกำลังสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่)
และให้เขามีส่วนร่วมในกิจการของข้าพระองค์ด้วย(คือให้เขามีหุ้นส่วนกับข้าพระองค์ ในการเป็นนะบีและการเผยแพร่สาส์น)

บท 20 : 25 -32


หน้าที่ๆนบีฮารูนสืบทอดต่อจากนบีมูซาเมื่อท่านเดินทางไปรับคัมภีร์เตารอตบนเขา

وَوَاعَدْنَا مُوسَى ثَلَاثِينَ لَيْلَةً وَأَتْمَمْنَاهَا بِعَشْرٍ فَتَمَّ مِيقَاتُ رَبِّهِ أَرْبَعِينَ لَيْلَةً وَقَالَ مُوسَى لِأَخِيهِ هَارُونَ اخْلُفْنِي فِي قَوْمِي وَأَصْلِحْ وَلَا تَتَّبِعْ سَبِيلَ الْمُفْسِدِينَ

และเราได้สัญญาแก่มูซาสามสิบคืน และเราได้ให้มันครบอีกสิบ ดังนั้นกำหนดเวลาแห่งพระเจ้าของเราจึงครบสี่สิบคืน และมูซาได้กล่าวแก่ฮารูนพี่ชายของเขาว่า จงทำหน้าที่แทนฉันในหมู่ชนของฉัน  และจงปรับปรุงแก้ไข และจงอย่าปฏิบัติตามทางของผู้ก่อความเสียหาย

บท 7 : 142


เมื่อนบีมุฮัมมัด(ศ)จากไปอย่างไม่กลับ  อะลีก็คือ คอลีฟะฮ์ นั่นเอง


แต่ด้วยเหตุการณ์ทางการเมืองหลังท่านนบี(ศ)วะฟาตมันผันแปรไปเป็นอื่น กล่าวคือท่านอบูบักรได้รับเลือกตั้งให้ขึ้นมาเป็นคอลีฟะฮ์เสียแล้ว  ดังนั้นอะฮ์ลุสสุนนะฮ์จึงต้องแปลหะดีษมันกุนตุเมาลาฮุ ฟะอะลียุนเมาลาฮุ ให้เป็นอื่นเสีย มิเช่นนั้นหะดีษนี้มันจะมาทำลายอะกีดะฮ์ของพวกเขานั่นเอง


หากท่านอะลีได้รับเลือกให้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ์ตั้งแต่วันแรกที่ท่านนบี(ศ)วะฟาต
แน่นอนอะฮ์ลุสสุนนะฮ์คงต้องแปลหะดีษมันกุนตุเมาลาฮุ ฟะอะลียุนเมาลาฮุว่า
ผู้ใดก็ตามที่ฉันเป็นผู้ปกครองของเขา ดังนั้นอะลีก็คือผู้ปกครองของเขาเช่นกันوالحمد لله وصلي الله علي محمد وآله
ชื่อ: Re:วิจัย ความหมายของ “ เมาลา “ และ “ วะลี “
โดย: L-umar เมื่อ พฤศจิกายน 02, 2009, 05:13:11 หลังเที่ยง

เรามาทดลองเปรียบเทียบความหมายหะดีษ

 " มันกุนตุเมาลาฮุ    ฟะอะลียุนเมาลาฮุ "      



ทีละความหมาย ตามที่อะฮ์ลุสสุนนะฮ์อธิบาย  


ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)กล่าวที่เฆาะดีรคุมว่า  :

مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ


1.   ผู้ใดที่ฉันคือนายทาสของเขา ดังนั้นอะลีคือนายทาสของเขา

2.   ผู้ใดที่ฉันคือทาสของเขา ดังนั้นอะลีคือทาสของเขา

3.   ผู้ใดที่ฉันคือผู้ปล่อยอิสระของเขา ดังนั้นอะลีคือผู้ปล่อยอิสระของเขา

4.   ผู้ใดที่ฉันคือผู้ถูกให้อิสระของเขา ดังนั้นอะลีคือผู้ถูกให้อิสระของเขา

5.   ผู้ใดที่ฉันคือลูกของลุงของเขา ดังนั้นอะลีคือลูกของลุงของเขา

6.   ผู้ใดที่ฉันคือผู้ให้การช่วยเหลือของเขา ดังนั้นอะลีคือผู้ให้การช่วยเหลือของเขา

7.   ผู้ใดที่ฉันคือผู้ได้รับมอบหมายของเขา ดังนั้นอะลีคือผู้ได้รับมอบหมายของเขา

8.   ผู้ใดที่ฉันคือพันธมิตรของเขา ดังนั้นอะลีคือพันธมิตรของเขา

9.   ผู้ใดที่ฉันคือเพื่อนบ้านของเขา ดังนั้นอะลีคือเพื่อนบ้านของเขา

10.   ผู้ใดที่ฉันคือมิตรของเขา ดังนั้นอะลีคือมิตรของเขา

11.   ผู้ใดที่ฉันคือที่รักยิ่งของเขา ดังนั้นอะลีคือที่รักยิ่งของเขา


ลองไตร่ตรองดูให้ดีสิครับว่า  

ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ออกคำสั่งให้ประชาชนนับแสนคนแวะพักลงที่เฆาะดีรคุม เวลาเที่ยง มีแสงแดดอันร้อนระอุ ท่ามกลางทะเลทราย  เพียงแค่อยากบอกกับประชาชนว่า

ใครก็ตามที่ฉันคือมิตรคือคนรักของเขา ดังนั้นอะลีก็คือมิตรคือคนรักของเขา กระนั้นจริงหรือ ???  


เราขอความคุ้มครองจากอัลลอฮ์ให้พ้นจากความคิดตื้นๆแบบนี้ด้วยเถิด


สมมุติว่า

ท่านนบี(ศ)เจตนาทำเช่นนั้นจริงๆ ท่านมิได้มีประโยชน์อื่นใดมากไปกว่านี้  แล้วอะไรทำให้ท่านถึงกับต้องสั่งประชาชนให้มารวมตัวกันต่อหน้าท่าน  จากนั้นก็ให้พวกเขายืนยันว่า พวกเขายังตออัต(เชื่อฟัง)ท่านและยอมรับว่าท่านมีสิทธิสูงสุดต่อชีวิตของพวกเขา แน่นอนมันจึงไม่เหลือเจตนาอื่นใดอีก นอกจากท่านนบี(ศ)มีเจตนาที่จะบอกว่า
 
مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ

ผู้ใดที่ฉันคือ" ผู้ปกครอง " ของเขา ดังนั้นอะลีคือ" ผู้ปกครอง "ของเขา


มันต้องเป็นเรื่องผู้นำ – อิมามะฮ์   ที่บางครั้งท่านใช้คำ " เอาลา - ผู้เหมาะสมที่สุด "

มาอธิบายให้เราได้เห็นภาพชัดเจนขึ้นว่า ท่านได้กำหนดเรื่องการตออะฮ์ต่ออะลีเป็นฟัรฎูสุดท้ายสำหรับประชาชาติแล้ว
ชื่อ: Re:วิจัย ความหมายของ “ เมาลา “ และ “ วะลี “
โดย: L-umar เมื่อ พฤศจิกายน 03, 2009, 11:23:42 ก่อนเที่ยง


เยามุล เราะห์บะฮ์  -  يَوْمُ الرَّحْبَة

วันที่ซอฮาบะฮ์มาแสดงความยินกับท่านอะลีในการเป็นคอลีฟะฮ์


หลังจากท่านคอลีฟะฮ์อุษมานถูกสังหาร  ประชาชนได้หันมามอบสัตยาบันกับท่านอะลีให้เข้ารับตำแหน่งคอลีฟะฮ์ ในช่วงเวลาดังกล่าวมีวันหนึ่ง ท่านอะลีได้ปราศรัยบนมิมบัรที่มัสญิดกูฟะฮ์ โดยท่านได้ทวงถามสิทธิของท่านต่อหน้าบรรดาซอฮาบะฮ์ถึงหะดีษมันกุนตุเมาลาฮุ ฟะอะลียุนเมาลาฮุ ที่เฆาะดีรคุม ซึ่งเรื่องราวมีดังนี้


حَدَّثَنَا حُسَيْنُ بْنُ مُحَمَّدٍ وَأَبُو نُعَيْمٍ الْمَعْنَى قَالَا ثَنَا فِطْرٌ عَنْ أَبِي الطُّفَيْلِ قَالَ :
جَمَعَ عَلِيٌّ رَضِيَ اللَّهُ تَعَالَى عَنْهُ النَّاسَ فِي الرَّحَبَةِ ثُمَّ قَالَ لَهُمْ أَنْشُدُ اللَّهَ كُلَّ امْرِئٍ مُسْلِمٍ سَمِعَ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُولُ يَوْمَ غَدِيرِ خُمٍّ مَا سَمِعَ لَمَّا قَامَ فَقَامَ ثَلَاثُونَ مِنْ النَّاسِ وَقَالَ أَبُو نُعَيْمٍ فَقَامَ نَاسٌ كَثِيرٌ فَشَهِدُوا حِينَ أَخَذَهُ بِيَدِهِ فَقَالَ لِلنَّاسِ أَتَعْلَمُونَ أَنِّي أَوْلَى بِالْمُؤْمِنِينَ مِنْ أَنْفُسِهِمْ قَالُوا نَعَمْ يَا رَسُولَ اللَّهِ قَالَ مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَهَذَا مَوْلَاهُ اللَّهُمَّ وَالِ مَنْ وَالَاهُ وَعَادِ مَنْ عَادَاهُ
قَالَ فَخَرَجْتُ وَكَأَنَّ فِي نَفْسِي شَيْئًا فَلَقِيتُ زَيْدَ بْنَ أَرْقَمَ فَقُلْتُ لَهُ إِنِّي سَمِعْتُ عَلِيًّا رَضِيَ اللَّهُ تَعَالَى عَنْهُ يَقُولُ كَذَا وَكَذَا قَالَ فَمَا تُنْكِرُ قَدْ سَمِعْتُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُولُ ذَلِكَ لَهُ

تعليق شعيب الأرنؤوط : إسناده صحيح رجاله ثقات رجال الشيخين غير فطر بن خليفة فمن رجال أصحاب السنن وروى له البخاري مقرونا
مسند أحمد بن حنبل ج 4 / ص 370  ح 19321


ฮูเซน บินมุฮัมมัด กับอบูนุอัยม์ อัลมะอ์นา ได้เล่าให้เราฟัง ทั้งสองกล่าวว่า ฟิฏรุนได้เล่าให้เราฟังจาก   ท่านอบูตุฟัยล์(อามิรบินวาษิละฮ์) เล่าว่า :

ท่านอะลีได้รวบรวมประชาชนในวันเราะห์บะฮ์(แสดงความยินดี) จากนั้นท่านกล่าวกับพวกเขาว่า   ขอให้ท่านสุภาพบุรุษมุสลิมทุกคนสาบานต่ออัลลอฮ์ว่า

ใครได้ยินท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวในวันที่เฆาะดีรคุมสิ่งที่เขาได้ยินมา  ก็ขอให้เขายืนขึ้น แล้วประชาชนราว 30 คนได้ยืนขึ้น

อบูนุอัยม์เล่าว่า : มีประชาชนมากมายยืนขึ้น แล้วพวกเขาได้เป็นพยานว่า ขณะที่ท่าน(รอซูลฯ)จับมือเขา(อะลีชูขึ้น) ท่าน(รอซูลฯ)ได้กล่าวต่อประชาชนว่า

พวกท่านรู้หรือไม่ว่า : แท้จริงฉันคือผู้มีสิทธิมากที่สุดต่อบรรดาผู้ศรัทธา ยิ่งกว่าตัวของพวกเขาเอง ?

พวกเขา(ประชาชน)กล่าวว่า :  ใช่แล้วครับ  โอ้ท่านรอซูลุลลอฮ์

ท่านจึงกล่าวว่า : บุคคลใดที่ฉันเป็นเมาลาของเขา ดังนั้นอะลีก็เป็นเมาลาของเขา

(แล้วท่านขอดุอาอ์ว่า)  โอ้อัลลอฮ์ โปรดเป็นมิตรกับผู้ที่เป็นมิตรกับเขา โปรดเป็นศัตรูต่อผู้เป็นศัตรูต่อเขา


อบูตุฟัยล์เล่าว่า :  

ฉันเดินออกมา(จากมัสญิด) อย่างกับในตัวฉันนั้นมีบางสิ่ง(ติดใจว่าทำไมประชาชนไม่ยอมปฏิบัติตามอะลีหลังนบีวะฟาต) แล้วฉันได้พบกับท่านเซด บินอัรกอม  

ฉันจึงกล่าวกับเขาว่า :  แท้จริงฉันได้ยินท่านอะลี กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้

ท่านเซดกล่าวว่า  : แล้วอะไรล่ะที่ทำให้ท่านต้องปฏิเสธ ? แท้จริงฉันได้ยินท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) กล่าวสิ่งนั้นกับเขาจริง


สถานะหะดีษ  : เศาะหิ๊หฺ  

ดูมุสนัดอิหม่ามอะหมัด  หะดีษ 19321 ฉบับตรวจทานโดยเชคชุเอบ อัลอัรนะอูฏี


เชคชุเอบ อัลอัรนะอูฏี กล่าวว่า  :    อิสนาดของหะดีษนี้  ถูกต้อง  บรรดานักรายงานหะดีษบทนี้ เชื่อถือได้

ซึ่งเป็นบรรดานักรายงานของท่านเชคทั้งสอง (บุคอรีและมุสลิม) ยกเว้น ฟิฏรุน บินคอลีฟะฮ์ เขาเป็นหนึ่งจากนักรายงานของอัศฮาบุส-สุนัน



วิเคราะห์


1.   เมื่อสะนัดหะดีษเชื่อถือได้ มะตั่น(ตัวบท)ก็ถูกต้อง แต่ทำไมอุละมาอ์ซุนนี่บางส่วนจึงกล่าวว่า หะดีษมันกุนตุเมาลาฮ์นี้เป็นหะดีษเมาฎู๊อฺ  หรือว่าพวกเขายอมรับความจริงไม่ได้ในเรื่องนี้

2.   ตัวบทหะดีษเล่าว่า  มีซอฮาบะฮ์ 30 คนยืนยันต่อหน้าผู้คนในมัสญิดกูฟะฮ์วันนั้นว่า พวกเขาได้ยินท่านรอซูล(ศ) กล่าวหะดีษมันกุนตุเมาลาฮ์กับท่านอะลีจริง  นั่นแสดงว่า  หะดีษนี้มีซอฮาบะฮ์รายงานอย่างต่ำสามสิบคน

3.   วันนั้นประชาชนมาเพื่อแสดงความยินต่อการเป็นคอลีฟะฮ์ของท่านอะลี  ฉะนั้นท่านอะลีจึงขอให้พวกเขาสาบานว่า เมื่อ 25 ปีที่แล้ว ท่านรอซูล(ศ)ได้แต่งตั้งเขาเป็นคอลีฟะฮ์ไว้แล้วใช่ไหม  ฉะนั้นคำเมาลาจึงจะแปลความหมายเป็นมิตร เป็นที่รักหรือผู้ช่วยเหลือตามที่อุละมาอ์ซุนนี่บิดเบือนไม่ได้ นอกจากต้องแปลว่า ผู้ปกครองหรือผู้นำ ถึงจะเข้ากับสถานการณ์ที่ท่านอะลีกำลังสนทนากับประชาชนอยู่ในวันนั้น

4.   ท่านอะลีต้องการย้ำต่อหน้าประชาชนอีกครั้งว่า ตำแหน่งคอลีฟะฮ์มิใช่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน  แต่ต้องมาจากการแต่งตั้งโดยท่านรอซูล(ศ)เท่านั้น

5.   ท่านอะลีได้ทำให้ประชาชนในวันนั้นได้รับรู้ความจริงอย่างชัดเจนต่อเรื่องตำแหน่งผู้นำของท่านและอะฮ์ลุลบัยต์ในหะดีษมันกุนตุเมาลาฮ์ว่า  มันไม่ใช่เป็นเรื่องของมะฮับบัตและนุซเราะฮ์(ความรักหรือการให้ความช่วยเหลือ) อย่างที่อาเล่มซุนนี่เอามาเล่นลิ้นกันอยู่ในปัจจุบัน

6.   เรื่องความรักและการให้ความช่วยเหลือต่ออะฮ์ลุลบัยต์นั้นถือเป็นหน้าที่ของมุสลิมที่รู้กันดีอยู่แล้วในยุคนั้น แต่นี่มันเป็นเรื่องที่ท่านนบี(ศ)ได้มอบอำนาจปกครองให้ท่านอะลี ไม่ใช่มาขอความรักความช่วยเหลือจากประชาชนกลางทะเลอันร้อนระอุ

7.   ท่านอะลีต้องการชี้แจงให้ประชาชนทราบว่า อำนาจการปกครอง(วิลายะฮ์)ของท่านนั้นได้รับมาจากอำนาจการปกครองของท่านรอซูล(ศ) และอำนาจการปกครองของท่านรอซูล(ศ)นั้นได้มาจากอำนาจวิลายะฮ์ของอัลเลาะฮ์

8.   ส่วนอำนาจวิลายะฮ์ของอัลลอฮ์นั้น มิใช่ยืนอยู่บนเรื่องของความรักและการให้ความช่วยเหลือต่อพระองค์  แต่มันตั้งอยู่บนการเชื่อฟังและการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ในคำสั่งใช้และคำสั่งห้ามของพระองค์ในยามมีชีวิตจนถึงวันตาย  และนี่คือสิ่งที่อบูตุฟัยล์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของหะดีษมันกุนตุเมาลาฮุฟะอะลียุนเมาลาฮุ ในวันนั้นว่า ทำไมประชาชนถึงได้ปล่อยปละละเลยคำพูดของท่านรอซูล(ศ)มาถึง 25 ปีเต็ม

9.   ด้วยเหตุนี้ซอฮาบะฮ์ที่ชื่ออบูตุฟัยล์หรืออามิร บินวาษิละฮ์จึงยืนอยู่เคียงข้างท่านอิม่ามอะลีมาโดยตลอด เพราะเขาคือชีอะฮ์ผู้ปฏิบัติตามท่านอะลีคนหนึ่งนั่นเอง

10.   แม้ดูภายนอกท่านอะลีต้องฝืนใจยอมให้ท่านอบูบักรเป็นคอลีฟะฮ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ตามกระแสประชาชนในวันนั้น มันเป็นการทำเพื่อความสงบสุขของอุมมัตอิสลาม แต่ท่านอะลีได้กล่าวถึงความขืนข่มในใจที่มิอาจทำหน้าตามที่ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)สั่งเสียเอาไว้ได้  ซึ่งท่านอิม่ามอะลีได้ปราศัยไว้ดังนี้ :



أَمَا وَ اَللَّهِ لَقَدْ تَقَمَّصَهَا ؟ اِبْنُ أَبِي قُحَافَةَ ؟ وَ إِنَّهُ لَيَعْلَمُ أَنَّ مَحَلِّي مِنْهَا مَحَلُّ اَلْقُطْبِ مِنَ اَلرَّحَى يَنْحَدِرُ عَنِّي اَلسَّيْلُ وَ لاَ يَرْقَى إِلَيَّ اَلطَّيْرُ فَسَدَلْتُ دُونَهَا ثَوْباً وَ طَوَيْتُ عَنْهَا كَشْحاً وَ طَفِقْتُ أَرْتَئِي بَيْنَ أَنْ أَصُولَ بِيَدٍ جَذَّاءَ أَوْ أَصْبِرَ عَلَى طَخْيَةٍ عَمْيَاءَ يَهْرَمُ فِيهَا اَلْكَبِيرُ وَ يَشِيبُ فِيهَا اَلصَّغِيرُ وَ يَكْدَحُ فِيهَا مُؤْمِنٌ حَتَّى يَلْقَى رَبَّهُ فَرَأَيْتُ أَنَّ اَلصَّبْرَ عَلَى هَاتَا أَحْجَى فَصَبَرْتُ وَ فِي اَلْعَيْنِ قَذًى وَ فِي اَلْحَلْقِ شَجًا أَرَى تُرَاثِي نَهْبا


ท่านอิม่ามอะลีกล่าวว่า :  

ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮ์ว่า แท้จริง(ท่านอบูบักร)บุตรชายของอบีกุฮาฟะฮ์ได้สวมตำแหน่งคอลีฟะฮ์ไปแล้ว  ทั้งๆที่ความจริงเขารู้ดีว่า

แท้จริงฐานะถาพของฉันกับตำแหน่งคอลีฟะฮ์นั้น มีความสัมพันธ์กันเฉกเช่นเพลากลางของโม่กับโม่หิน

เขารู้ดีถึง (ความประเสริฐและกระแสคลื่นแห่งความรู้)ที่ไหลหลากออกจากฉัน ฝูงนก (ที่โบยบินโฉบเฉียววนรอบความรู้และวิสัยทัศน์อันทรงคุณค่ายิ่งของฉัน) มันไม่สามารถบินมาถึงฉันได้

ฉะนั้น ฉันจึงปล่อยเสื้อแห่งคิลาฟะฮฺไปและลดตัวเองสวมอาภรณ์อีกผืนหนึ่ง ฉันครุ่นคิดด้วยความปวดร้าวว่า ฉันควรกระโจนลงไปยึดสิ่งนั้นกลับมาด้วยมือเปล่า (ปราศจากผู้ช่วยเหลือ)

หรือว่าจะอดทนอยู่กับความมืดมิดที่เข้าปกคลุมอยู่อย่างนี้ต่อไป และอยู่ในสภาพเช่นนั้นจนผู้ใหญ่ผ่านวัยสู่ความร่วงโรยและเด็กผ่านเข้าสู่วัยหนุ่ม   และผู้ศรัทธาคนหนึ่งต้องอดทนกล้ำกลืนอย่างเจ็บปวดจนกระทั่งกลับคืนสู่พระผู้อภิบาลของตน

ดังนั้น ฉันพิจารณาแล้วเห็นว่า การอดทนกับสภาพทั้งสองย่อมเหมาะสมมากกว่า ด้วยเหตุนี้ ฉันจึงยอมอดทนทั้งที่ในดวงตาเต็มไปด้วยเศษหนาม และในลำคอมีกระดูกทิ่มติดอยู่ (ฉันรู้สึกเศร้าใจที่สุดที่ท่านอบูบักรเป็นคอลีฟะฮ์) ฉันได้เห็นมรดกของฉันถูกปล้นสะดมไป


อ้างอิงจาก

นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ เล่ม  1 : 30 คุฏบะฮ์ ชักชะกียะฮ์


و الله الموفق للصواب
ชื่อ: Re:วิจัย ความหมายของ “ เมาลา “ และ “ วะลี “
โดย: L-umar เมื่อ พฤศจิกายน 04, 2009, 04:50:35 หลังเที่ยง


ความหมาย ของ (( วะลี  ))  


ท่านอะหมัด บินฮัมบัล บันทึกว่า

حَدَّثَنَا عَبْد اللَّهِ حَدَّثَنَا يَحْيَى بْنُ حَمَّادٍ حَدَّثَنَا أَبُو عَوَانَةَ حَدَّثَنَا أَبُو بَلْجٍ حَدَّثَنَا عَمْرُو بْنُ مَيْمُونٍ قَالَ :

إِنِّي لَجَالِسٌ إِلَى ابْنِ عَبَّاسٍ إِذْ أَتَاهُ تِسْعَةُ رَهْطٍ فَقَالُوا يَا بْنَ عَبَّاسٍ إِمَّا أَنْ تَقُومَ مَعَنَا وَإِمَّا أَنْ يُخْلُونَا هَؤُلَاءِ قَالَ فَقَالَ ابْنُ عَبَّاسٍ بَلْ أَقُومُ مَعَكُمْ قَالَ وَهُوَ يَوْمَئِذٍ صَحِيحٌ قَبْلَ أَنْ يَعْمَى قَالَ فَابْتَدَءُوا فَتَحَدَّثُوا فَلَا نَدْرِي مَا قَالُوا قَالَ فَجَاءَ يَنْفُضُ ثَوْبَهُ وَيَقُولُ أُفْ وَتُفْ وَقَعُوا فِي رَجُلٍ لَهُ عَشْرٌ وَقَعُوا فِي رَجُلٍ قَالَ لَهُ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لَأَبْعَثَنَّ رَجُلًا لَا يُخْزِيهِ اللَّهُ أَبَدًا يُحِبُّ اللَّهَ وَرَسُولَهُ قَالَ فَاسْتَشْرَفَ لَهَا مَنْ اسْتَشْرَفَ قَالَ أَيْنَ عَلِيٌّ قَالُوا هُوَ فِي الرَّحْلِ يَطْحَنُ قَالَ وَمَا كَانَ أَحَدُكُمْ لِيَطْحَنَ قَالَ فَجَاءَ وَهُوَ أَرْمَدُ لَا يَكَادُ يُبْصِرُ قَالَ فَنَفَثَ فِي عَيْنَيْهِ ثُمَّ هَزَّ الرَّايَةَ ثَلَاثًا فَأَعْطَاهَا إِيَّاهُ فَجَاءَ بِصَفِيَّةَ بِنْتِ حُيَيٍّ قَالَ ثُمَّ بَعَثَ فُلَانًا بِسُورَةِ التَّوْبَةِ فَبَعَثَ عَلِيًّا خَلْفَهُ فَأَخَذَهَا مِنْهُ قَالَ لَا يَذْهَبُ بِهَا إِلَّا رَجُلٌ مِنِّي وَأَنَا مِنْهُ قَالَ وَقَالَ لِبَنِي عَمِّهِ أَيُّكُمْ يُوَالِينِي فِي الدُّنْيَا وَالْآخِرَةِ قَالَ وَعَلِيٌّ مَعَهُ جَالِسٌ فَأَبَوْا فَقَالَ عَلِيٌّ أَنَا أُوَالِيكَ فِي الدُّنْيَا وَالْآخِرَةِ قَالَ أَنْتَ وَلِيِّي فِي الدُّنْيَا وَالْآخِرَةِ قَالَ فَتَرَكَهُ ثُمَّ أَقْبَلَ عَلَى رَجُلٍ مِنْهُمْ فَقَالَ أَيُّكُمْ يُوَالِينِي فِي الدُّنْيَا وَالْآخِرَةِ فَأَبَوْا قَالَ فَقَالَ عَلِيٌّ أَنَا أُوَالِيكَ فِي الدُّنْيَا وَالْآخِرَةِ فَقَالَ أَنْتَ وَلِيِّي فِي الدُّنْيَا وَالْآخِرَةِ قَالَ وَكَانَ أَوَّلَ مَنْ أَسْلَمَ مِنْ النَّاسِ بَعْدَ خَدِيجَةَ قَالَ وَأَخَذَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ثَوْبَهُ فَوَضَعَهُ عَلَى عَلِيٍّ وَفَاطِمَةَ وَحَسَنٍ وَحُسَيْنٍ فَقَالَ { إِنَّمَا يُرِيدُ اللَّهُ لِيُذْهِبَ عَنْكُمْ الرِّجْسَ أَهْلَ الْبَيْتِ وَيُطَهِّرَكُمْ تَطْهِيرًا }  قَالَ وَشَرَى عَلِيٌّ نَفْسَهُ لَبِسَ ثَوْبَ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ثُمَّ نَامَ مَكَانَهُ قَالَ وَكَانَ الْمُشْرِكُونَ يَرْمُونَ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَجَاءَ أَبُو بَكْرٍ وَعَلِيٌّ نَائِمٌ قَالَ وَأَبُو بَكْرٍ يَحْسَبُ أَنَّهُ نَبِيُّ اللَّهِ قَالَ فَقَالَ يَا نَبِيَّ اللَّهِ قَالَ فَقَالَ لَهُ عَلِيٌّ إِنَّ نَبِيَّ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَدْ انْطَلَقَ نَحْوَ بِئْرِ مَيْمُونٍ فَأَدْرِكْهُ قَالَ فَانْطَلَقَ أَبُو بَكْرٍ فَدَخَلَ مَعَهُ الْغَارَ قَالَ وَجَعَلَ عَلِيٌّ يُرْمَى بِالْحِجَارَةِ كَمَا كَانَ يُرْمَى نَبِيُّ اللَّهِ وَهُوَ يَتَضَوَّرُ قَدْ لَفَّ رَأْسَهُ فِي الثَّوْبِ لَا يُخْرِجُهُ حَتَّى أَصْبَحَ ثُمَّ كَشَفَ عَنْ رَأْسِهِ فَقَالُوا إِنَّكَ لَلَئِيمٌ كَانَ صَاحِبُكَ نَرْمِيهِ فَلَا يَتَضَوَّرُ وَأَنْتَ تَتَضَوَّرُ وَقَدْ اسْتَنْكَرْنَا ذَلِكَ قَالَ وَخَرَجَ بِالنَّاسِ فِي غَزْوَةِ تَبُوكَ قَالَ فَقَالَ لَهُ عَلِيٌّ أَخْرُجُ مَعَكَ قَالَ فَقَالَ لَهُ نَبِيُّ اللَّهِ لَا فَبَكَى عَلِيٌّ فَقَالَ لَهُ أَمَا تَرْضَى أَنْ تَكُونَ مِنِّي بِمَنْزِلَةِ هَارُونَ مِنْ مُوسَى إِلَّا أَنَّكَ لَسْتَ بِنَبِيٍّ إِنَّهُ لَا يَنْبَغِي أَنْ أَذْهَبَ إِلَّا وَأَنْتَ خَلِيفَتِي قَالَ وَقَالَ لَهُ رَسُولُ اللَّهِ أَنْتَ وَلِيِّي فِي كُلِّ مُؤْمِنٍ بَعْدِي وَقَالَ سُدُّوا أَبْوَابَ الْمَسْجِدِ غَيْرَ بَابِ عَلِيٍّ فَقَالَ فَيَدْخُلُ الْمَسْجِدَ جُنُبًا وَهُوَ طَرِيقُهُ لَيْسَ لَهُ طَرِيقٌ غَيْرُهُ قَالَ وَقَالَ مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَإِنَّ مَوْلَاهُ عَلِيٌّ قَالَ وَأَخْبَرَنَا اللَّهُ عَزَّ وَجَلَّ فِي الْقُرْآنِ أَنَّهُ قَدْ رَضِيَ عَنْهُمْ عَنْ أَصْحَابِ الشَّجَرَةِ فَعَلِمَ مَا فِي قُلُوبِهِمْ هَلْ حَدَّثَنَا أَنَّهُ سَخِطَ عَلَيْهِمْ بَعْدُ قَالَ وَقَالَ نَبِيُّ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لِعُمَرَ حِينَ قَالَ ائْذَنْ لِي فَلْأَضْرِبْ عُنُقَهُ قَالَ أَوَكُنْتَ فَاعِلًا وَمَا يُدْرِيكَ لَعَلَّ اللَّهَ قَدْ اطَّلَعَ إِلَى أَهْلِ بَدْرٍ فَقَالَ اعْمَلُوا مَا شِئْتُمْ
حَدَّثَنَا أَبُو مَالِكٍ كَثِيرُ بْنُ يَحْيَى قَالَ حَدَّثَنَا أَبُو عَوَانَةَ عَنْ أَبِي بَلْجٍ عَنْ عَمْرِو بْنِ مَيْمُونٍ عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ نَحْوَهُ
مسند أحمد  ج 6 ص 436  ح 2903


คำแปล


อับดุลลอฮ์ บินอะหมัดบินฮัมบัลรายงานจาก → ยะห์ยา บินฮัมมาดรายงานจาก → อบูอิวานะฮ์รายงานจาก → อบูบัลญินรายงานจาก → อัมรู บินมัยมูนเล่าว่า :

แท้จริงฉันนั่งอยู่กับท่านอิบนุอับบาส ทันใดนั้นมีกลุ่มชน 9 กลุ่มเข้ามาหาเขา

พวกเขากล่าวว่า : โอ้ท่านอิบนิอับบาส (ท่านมีทางเลือกสองทางคือ) ต้องลุกไปกับพวกเรา หรือไม่ท่านก็บอกเขาเหล่านี้ให้ปล่อยพวกเราอยู่ตามลำพังกับท่าน

ท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่า  แต่ฉันจะลุกไป(คุยกับ)พวกท่านตามลำพังเอง  ตอนนั้นท่านอิบนุอับบาสยังตาดีอยู่ ก่อนที่เขาจะตาบอด
อัมรู บินมัยมูนเล่าว่า : แล้วพวกเขาได้เริ่มสนทนากัน ฉันไม่รู้ว่า พวกเขาพูดอะไร

อัมรู บินมัยมูนเล่าว่า :
ท่านอิบนุอับบาสได้(กลับมาที่พวกเรา) เขาปัดเสื้อผ้าของเขา(เป็นอุปมาให้เห็นว่าท่านไม่ขอเกี่ยวข้องกับคำพูดของคนพวกนั้น)  และอุทานออกมาว่า " อุฟ " คือหยุดเดี๋ยวนี้นะ  คนพวกนั้นได้ต่อว่าเกี่ยวกับชายคนหนึ่ง ซึ่งสำหรับชายคนนั้น(มีฟะดีลัตถึง) 10 ประการ  พวกเขาได้ตำหนิต่อว่าถึงชายคนหนึ่ง ซึ่งท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)เคยกล่าวกับชายคนนั้นว่า :

(หนึ่ง)แน่นอนฉันจะส่งชายคนหนึ่งออกไป อัลลอฮ์จะไม่ทรงทำให้เขาต้องอับอายไปตลอดกาล เขา(ชายคนนั้น)รักอัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์

ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : แล้วท่านนบี(ศ)ได้เพ่งมองผู้ที่ท่านค้นหาอยู่ ท่านกล่าวว่า อะลีอยู่ที่ไหน ? พวกเขากล่าวว่า : เขา(อะลี)กำลังบดแป้งอยู่ที่โม่หินครับ
ท่านนบี(ศ)กล่าวว่า : ไม่มีใครสักคนในหมู่พวกท่านที่จะไปบดแป้ง(แทนอะลีหน่อยหรือ) ?
ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : แล้วท่านอะลีได้ถูกพาตัวมาหาในสภาพตาเจ็บ เกือบมองอะไรไม่เห็น
ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ท่านนบี(ศ)ได้เป่าไปที่ดวงตาทั้งสองของอะลี ต่อจากนั้นท่านได้สะบัดธงรบสามครั้ง แล้วมอบธงนั้นให้อะลี
เขา(อะลีถูก)พามาโดยนางซอฟียะฮ์ บินติหุยัย

(สอง)เขา(อิบนุอับบาส)เล่าว่า :
จากนั้นท่านนบี(ศ)ได้ส่งชายคนหนึ่งไปพร้อมกับซูเราะฮ์อัตเตาบะฮ์ แล้วท่านนบี(ศ)ได้ส่งท่านอะลีตามหลังเขาไปเอาซูเราะฮ์นั้นจากเขาคืนมา โดยท่านนบี(ศ)กล่าวว่า จะไม่มีใครนำซูเราะฮ์นั้น(ไปประกาศได้) นอกจากชายที่มาจากฉัน และฉันมาจากเขาเท่านั้น

(สาม)ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า :
ท่านนบี(ศ)ได้กล่าวกับตระกูลของลุงของท่านว่า คนใดในหมู่พวกท่านจะมาช่วยเหลือฉันทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮ์บ้าง ?

ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ตอนนั้นมีท่านอะลีนั่งอยู่กับท่านนบี(ศ) พวกเขา(บรรดาลุงนบี)ได้ปฏิเสธ แล้วท่านอะลีกล่าวว่า ฉันจะให้ความช่วยเหลือท่านเองทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮ์
ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ท่านนบีได้ปล่อยเขาไว้ จากนั้นท่านหันมาหาชายคนหนึ่งในหมู่พวกเขา แล้วท่านกล่าวว่า คนใดในหมู่พวกท่านจะมาช่วยเหลือฉันทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮ์บ้าง ? พวกเขา(บรรดาลุงนบี)ได้ปฏิเสธอีก
ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ตอนนั้นมีท่านอะลีนั่งอยู่กับท่านนบี(ศ) พวกเขา(บรรดาลุงนบี)ได้ปฏิเสธ แล้วท่านอะลีกล่าวว่า ฉันจะให้ความช่วยเหลือท่านเองทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮ์

(สี่)ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ปรากฏว่าเขา(อะลี)คือบุคคลแรกที่เข้ารับอิสลามจากผู้คนทั้งหลาย หลังจากท่านหญิงคอดีญะฮ์(นางรับอิสลามก่อนท่านอะลี)

(ห้า)ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) เอาผ้า(กีซา)คลุมบนท่านอะลี ฟาติมะฮ์ ฮาซันและฮูเซนพลางอ่านโองการว่า

อันที่จริง อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ที่จะขจัดความโสมมออกจากพวกเจ้า โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ของนบี และ(ทรงประสงค์ที่จะ)ชำระพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์ )
บท 33 : 33

(หก)ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ท่านอะลีได้ยอมแลกชีวิตของตัวเอง เขาได้สวมเสื้อผ้าของท่านนบี(ศ) แล้วได้นอนแทนที่ท่าน
ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ตอนนั้นพวกมุชริกกำลังขว้างปาใส่ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)อยู่ แล้วท่านอบูบักรได้มาหา ในขณะที่ท่านอะลีนอนอยู่ ท่านอบูบักรนึกว่าอะลีคือท่านศาสดาแห่งอัลลอฮ์

ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : เขาจึงกล่าวว่า โอ้ท่านศาสดาแห่งอัลลอฮ์ ท่านอะลีได้กล่าวกับเขาว่า แท้จริงท่านศาสดาแห่งอัลลอฮ์ได้ออกไปที่บ่อน้ำมัยยมูนแล้ว ท่านอบูบักรได้ออกติดตามไปหาท่าน
ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ท่านอบูบักรได้ตามไปจนได้เข้าไปหลบในถ้ำพร้อมกับท่านนบี(ศ)
ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ท่านอะลีจึงโดนขว้างด้วยก้อนหินเหมือนที่ท่านศาสดาแห่งอัลลอฮ์โดนขว้าง และท่านได้รับบาดเจ็บ ท่านได้เอาผ้าคลุมศรีษะท่านไว้ ท่านไม่ยอมโผล่ศรีษะออกมาจนรุ่งเช้า จากนั้นท่านได้โผล่ศรีษะออกมา พวกมุชริกจึงกล่าวว่า แท้จริงท่านคือผู้คลุมผ้า สหายของท่านคือคนที่เราจะขว้างเขา แต่เขากลับไม่ได้รับอันตราย ส่วนท่านต้องเป็นผู้ได้รับบาดเจ็บ แน่นอนพวกเราไม่รู้สิ่งนั้น

(เจ็ด)ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ท่านนบี(ศ)ออกไปพร้อมกับประชาชนในสงครามตะบู๊ก ท่านอะลีได้กล่าวกับท่านว่า ฉันจะออกไป(รบ)กับท่านด้วย ท่านศาสดาแห่งอัลลอฮ์ได้กล่าวกับเขาว่า ไม่ได้ ท่านอะลีจึงร้องไห้ ท่านจึงกล่าวกับเขาว่า ท่านไม่พอใจดอกหรือที่ท่านกับฉัน มีฐานะเหมือนนบีมูซากับนบีฮารูน ยกเว้นว่าท่านไม่ใช่นบีเท่านั้น เพราะไม่สมควรที่ฉันออกไป ยกเว้นว่า ท่านจะต้องเป็นคอลีฟะฮ์ตัวแทนของฉัน
ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า :

(แปด)ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวกับเขาว่า ท่านคือวะลีของฉัน (คนที่รักยิ่งของฉัน)ในมุอ์มินทุกคนหลังจากฉัน


(เก้า)และท่าน(ศ)กล่าวว่า พวกท่านจงปิดประตูบ้านทุกบาน(ที่เชื่อมไปยัง)มัสญิด ยกเว้นประตูบ้านของอะลี
ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : แล้วเขา(อะลี)จะผ่านเข้าไปในมัสญิดขณะที่มีญุนุบ เพราะมันคือทางเดินของเขา ซึ่งเขาไม่มีทางอื่นอีกนอกจากทางนี้

(สิบ)ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ท่าน(ศ)กล่าวว่า บุคคลใดที่ฉันคือเมาลาของเขา เพราะฉะนั้นแท้จริงอะลีก็คือเมาลาของเขา



สถานะหะดีษ  : เศาะหิ๊หฺ  

ดูมุสนัด อิหม่ามอะหมัด  เล่ม  6 : 436 หะดีษ 2903
ชื่อ: Re:วิจัย ความหมายของ “ เมาลา “ และ “ วะลี “
โดย: L-umar เมื่อ พฤศจิกายน 04, 2009, 04:57:55 หลังเที่ยง


วิเคราะห์สายรายงานหะดีษ


عَبْد اللَّهِ ← يَحْيَى بْنُ حَمَّادٍ ← أَبُو عَوَانَةَ ← أَبُو بَلْجٍ ← عَمْرُو بْنُ مَيْمُونٍ

อับดุลลอฮ์ → ยะห์ยา บินฮัมมาด → อบูอิวานะฮ์  → อบูบัลญิน → อัมรู บินมัยมูน



1,อับดุลลอฮ์ - عَبْد اللَّهِ
เขาคือบุตรชายของอิหม่ามอะหมัด บินฮัมบัล
 


2,ยะห์ยา บินฮัมมาด - يَحْيَى بْنُ حَمَّادٍ

อิบนิฮิบบาน นับว่า : ยะห์ยา บินฮัมมาด   เชื่อถือได้ในการรายงาน
 
يحيى بن حماد الشيباني كنيته أبو بكر من أهل البصرة يروى عن شعبة وأبى عوانة روى عنه بندار وأهل البصرة مات سنة خمس عشرة ومائتين
ดูอัษ ษิกอต โดยอิบนิฮิบบาน  อันดับที่ 16307


อัลอิจญ์ลี กล่าวว่า : ยะห์ยา บินฮัมมาด  ชาวเมืองบัศเราะฮ์  เชื่อถือได้ในการรายงาน

يحيى بن حماد بصرى ثقة وكان من أروى الناس عن أبي عوانة

ดูอัษ ษิกอต โดยอัลอิจญ์ลี  อันดับที่ 1971

อิบนิ อบีอาติมอัลรอซีกล่าวว่า :
يحيى بن حماد أبو بكر البصري
روى عن شعبة وحماد بن سلمة وأبى عوانة ورجاء أبى يحيى
روى عنه محمد بن المثنى وبندار بن بشار ويوسف بن موسى التستري والحسن بن على الحلواني نا عبد الرحمن سمعت أبى يقول ذلك ويقول سمعت منه قراءة عليه وسألته عنه فقال ثقة

อับดุลเราะห์มาน เล่าว่า : ฉันได้ยินบิดาฉันกล่าวเช่นนั้น และเขากล่าวว่า ฉันได้ฟังจากเขาว่า เขาเรียนอ่านกับเขา และฉันได้ถามเขาถึงเขา(ยะห์ยาบินฮัมมาด) เขากล่าวว่า  เชื่อถือได้ในการรายงาน
ดูอัลญัรฮุ วัต ตะอ์ดีล โดยอิบนิอบีฮาติมอัลรอซี  อันดับที่ 583

อิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานี กล่าวว่า :

يحيى بن حماد بن أبي زياد الشيباني مولاهم البصري ختن أبي عوانة ثقة عابد من صغار التاسعة مات سنة خمس عشرة

ยะห์ยา บินฮัมมาด บินอบีซิยาด อัชชัยบานี คนรับใช้ของพวกเขา ชาวบัศเราะฮ์ เขาเป็นลูกเขยของอบูอิวานะฮ์   : เขาเชื่อถือได้ในการรายงาน
ดูตักรีบุต – ตักรีบ  อันดับที่ 7535



3.อบูอิวานะฮ์ - أَبُو عَوَانَةَ
 
อิบนิฮิบบาน นับว่า : อบูอิวานะฮ์ ชื่ออัลวัฎฎ๊อห์   เชื่อถือได้ในการรายงาน

أبو عوانة اسمه الوضاح مولى يزيد بن عطاء الليثي من أهل البصرة يروى عن قتادة والبصريين روى عنه أهل العراق وكان مولده سنة اثنتين وعشرين ومائة ومات في شهر ربيع

ดูอัษ ษิกอต โดยอิบนิฮิบบาน  อันดับที่ 11483

อัลอิจญ์ลี กล่าวว่า :  อัลวัฎฎ๊อห์ อบูอิวานะฮ์  ชาวเมืองบัศเราะฮ์ เชื่อถือได้

وضاح أبو عوانة بصرى ثقة مولى يزيد بن عطاء الواسطي

ดูอัษ ษิกอต โดยอัลอิจญ์ลี  อันดับที่ 1937

อัซ ซะฮะบี กล่าวว่า :

أبو عوانة هو الامام الحافظ، الثبت، محدث البصرة، الوضاح بن عبد الله، مولى يزيد بن عطاء اليشكري، الواسطي، البزاز...
وكان من أركان الحديث.
قال عفان: أبو عوانة أصح حديثا عندنا من شعبة.
وقال أحمد بن حنبل: هو صحيح الكتاب، وإذا حدث من حفظه، ربما يهم.
وقال عفان بن مسلم: كان أبو عوانة صحيح الكتاب ثبتا، كثير العجم، والنقط.
وقال يحيى بن سعيد القطان: ما أشبه حديثه بحديث سفيان، وشعبة.
وقال عفان: سمعت شعبة يقول: إن حدثكم أبو عوانة عن أبي هريرة فصدقوه.

อบูอิวานะฮ์ คือ : อิหม่าม อัลฮาฟิซ ษะบัต(มั่นคง)  เป็นนักรายงานหะดีษแห่งบัศเราะฮ์  ชื่อคือ อัลวัฎฎ๊อห์ บินอับดุลลอฮ์ คนรับใช้ของยะซีด บินอะฏออ์...
เขาคือหนึ่งจากอัรกานุลหะดีษ
อัฟฟานกล่าวว่า  : อบูอิวานะฮ์  มีหะดีษเศาะหิ๊หฺที่สุดในทัศนะของเรา จากชุอ์บะฮ์
อิหม่ามอะหมัดกล่าวว่า  : เขาการบันทึกของเขาถูกต้อง เมื่อเขารายงานจากความจำของเขา มีบางครั้งผิดพลาด
และอัฟฟาน บินมุสลิม กล่าวว่า : อบูอิวานะฮ์ เป็นผู้ที่มีการบันทึกถูกต้อง มั่นคง  เขาใส่จุดบนตัวอักษรไว้มากมาย
ยะห์ยา บินสะอีด อัลก็อฏฏอนกล่าวว่า : หะดีษของเขาช่างคล้ายกับหะดีษของสุฟยานและชุอ์บะฮ์
และอัฟฟานกล่าวว่า : ฉันได้ยินชุอ์บะฮืกล่าวว่า หากอบูอิวานะฮ์เล่าหะดีษจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ให้พวกท่านฟัง จงเชื่อเขา
ดูสิยัร อะอ์ลามุน - นุบะลาอ์   อันดับที่ 39



4.อบูบัลญิน - أَبُو بَلْجٍ

อิบนุ อบีฮาติมกล่าวว่า :  

يحيى بن أبى سليم أبو بلج الواسطي الْفَزَارِيُّ
روى عن محمد بن حاطب الجمحي وعمرو بن ميمون
روى عنه سفيان وشعبة وزهير بن معاوية وأبو عوانة وهشيم وأبو حمزة السكري وسويد بن عبد العزيز
عن يحيى بن معين انه قال أبو بلج ثقة
عبد الرحمن قال سألت أبى عن أبى بلج يحيى بن أبى سليم فقال هو صالح لا بأس به

มีชื่อว่า : ยะห์ยา บินอบีสุลัยม์ อบูบัลญิน อัลวาสิฏี อัลฟะรอซี
รายงานหะดีษจาก  : มุฮัมมัด บินฮาติบ , อัมรู บินมัยมูน
ผู้ที่รายงานหะดีษจากเขา  : สุฟยาน , ชุอ์บะฮ์, ซุเฮร บินมุอาวียะฮ์,อบูอิวานะฮ์
ยะห์ยาบินมะอีนกล่าวว่า   : อบูบัลญิน เชื่อถือได้
อับดุลเราะห์มานเล่าว่า : ฉันได้ถามบิดาฉันถึงอบูบัลญิน ท่านกล่าวว่า เขาเป็นคนดี ไม่เป็นไร(ในการรายงาน)
ดูอัลญัรฮุ วัต ตะอ์ดีล โดยอิบนิอบีฮาติมอัลรอซี  อันดับที่ 634

อัซ ซะฮะบี กล่าวว่า :  

يحيى بن سليم أو ابن أبى سليم  أبو بلج الفزارى الواسطي
عن عمرو بن ميمون الاودى،
وثقه ابن معين، وغيره، ومحمد بن سعد، والنسائي، والدارقطني.
وقال أبو حاتم: صالح الحديث، لا بأس به.
وقال يزيد بن هارون: رأيته كان يذكر الله كثيرا.
وقال البخاري: فيه نظر.
وقال أحمد: روى حديثا منكرا.
وقال ابن حبان: كان يخطئ.
وقال الجوزجانى: غير ثقة.

ยะห์ยา บินสุลัยม์ หรืออิบนิ อบีสุลัยม์  ยาอบูบัลญิน อัลฟะรอซี อัลวาสิฏี
รายงานหะดีษจาก :  อัมรู บินมัยมูน อัลเอาดี

ยะห์ยาบินมะอีน และคนอื่นๆเช่น มุฮัมมัดบินสะอ์ดฺ , อันนะซาอี, อัดดาร่อกุฏนี  : ให้ความเชื่อต่อเขา(ในการรายงานหะดีษ)
อบูอาติมอัลรอซี กล่าวว่า   : เขาซอและห์ ในการรายงานหะดีษ ไม่เป็นไร
ยะซีด บินฮารูนกล่าวว่า : ฉันเห็นเขาได้ทำการซิกรุลเลาะฮ์อย่างมากมาย
อัลบุคอรีกล่าวว่า : ในรายงานของเขาต้องพิจารณา
อิหม่ามอะหมัดกล่าวว่า  : เขารายงานหะดีษมุงกัร
อิบนิฮิบบานกล่าวว่า  : เขาเคยผิดพลาด (ในการรายงาน)
อัลเญาซะญานีกล่าวว่า  : เขาไม่น่าเชื่อถือ
ดูมีซานุลอิ๊อฺติดาล  โดยอัซซะฮะบี  อันดับที่ 9539

อิบนุหะญัรกล่าวว่า :

أبو بلج الفزاري الكوفي ثم الواسطي الكبير اسمه يحيى ابن سليم  صدوق ربما أخطأ

อบูบัลญิน อัลฟะรอซี อัลวาสิฏี ชื่อของเขาคือ ยะห์ยาบินสุลัยม์  : เขาศอดูก คือเชื่อได้ แต่บางครั้งก็ผิดพลาด
ดูตักรีบุต ตะฮ์ซีบ  อันดับที่ 8003



5. อัมรู บินมัยมูน - عَمْرُو بْنُ مَيْمُونٍ

อิบนิฮิบบาน นับว่า : อัมรู บินมัยมูน   เชื่อถือได้ในการรายงาน

عمرو بن ميمون الأودي من أود كنيته أبو عبد الله أدرك الجاهلية دخل مكة خمسا وخمسين مرة بين حج وعمرة سكن الشام ثم انتقل إلى الكوفة يروى عن بن مسعود ومعاذ بن جبل روى عنه

ดูอัษ ษิกอต โดยอิบนิฮิบบาน  อันดับที่ 43398

อัลอิจญ์ลี กล่าวว่า :  อัมรู บินมัยมูน   เชื่อถือได้ในการรายงาน

عمرو بن ميمون الأودي كوفي تابعي ثقة جاهلي أسلم في حياة النبي صلى الله عليه و سلم ولم ير النبي صلى الله عليه و سلم من أصحاب عبد الله ثقة

ดูอัษ ษิกอต โดยอัลอิจญ์ลี  อันดับที่ 1412

ยะห์ยา บินมะอีน กล่าวว่า :  อัมรู บินมัยมูน   เชื่อถือได้ในการรายงาน

عن يحيى بن معين انه قال عمرو بن ميمون يعنى الأودي ثقة

ดูอัลญัรฮุ วัต ตะอ์ดีล โดยอิบนิอบีฮาติมอัลรอซี  อันดับที่ 1422

อิบนุหะญัรกล่าวว่า :

عمرو بن ميمون الأودي  مشهور ثقة عابد نزل الكوفة مات سنة أربع وسبعين وقيل بعدها

อัมรู บินมัยมูน   อัลเอาดี  :  มัชฮูร  เชื่อถือได้ในการรายงาน  มรณะฮ.ศ. 74
ดูตักรีบุต ตะฮ์ซีบ  อันดับที่ 5122


มีต่อ
ชื่อ: Re:วิจัย ความหมายของ “ เมาลา “ และ “ วะลี “
โดย: L-umar เมื่อ พฤศจิกายน 04, 2009, 05:04:42 หลังเที่ยง


อัลฮากิม อันนัยซาบูรี  รายงานว่า


أخبرنا أبو بكر أحمد بن جعفر بن حمدان القطيعي ، ببغداد من أصل كتابه ، ثنا عبد الله بن أحمد بن حنبل ، حدثني أبي ، ثنا يحيى بن حماد ، ثنا أبو عوانة ، ثنا أبو بلج ، ثنا عمرو بن ميمون ، قال : إني لجالس عند ابن عباس ، إذ أتاه تسعة رهط ، فقالوا : يا ابن عباس ، إما أن تقوم معنا ، وإما أن تخلو بنا من بين هؤلاء ، قال : فقال ابن عباس : بل أنا أقوم معكم ، قال : وهو يومئذ صحيح قبل أن يعمى ، قال : فابتدءوا فتحدثوا فلا ندري ما قالوا : قال : فجاء ينفض ثوبه ويقول : أف وتف وقعوا في رجل له بضع عشرة فضائل ليست لأحد غيره ، وقعوا في رجل قال له النبي صلى الله عليه وسلم : « لأبعثن رجلا لا يخزيه (1) الله أبدا ، يحب الله ورسوله ، ويحبه الله ورسوله » فاستشرف لها مستشرف فقال : « أين علي ؟ » فقالوا : إنه في الرحى (2) يطحن ، قال : « وما كان أحدهم ليطحن » ، قال : فجاء وهو أرمد لا يكاد أن يبصر ، قال : فنفث في عينيه ، ثم هز الراية ثلاثا فأعطاها إياه ، فجاء علي بصفية بنت حيي ، قال ابن عباس : ثم بعث رسول الله صلى الله عليه وسلم فلانا بسورة التوبة ، فبعث عليا خلفه فأخذها منه ، وقال : « لا يذهب بها إلا رجل هو مني وأنا منه » ، فقال ابن عباس : وقال النبي صلى الله عليه وسلم لبني عمه : « أيكم يواليني في الدنيا والآخرة ؟ » قال : وعلي جالس معهم ، فقال رسول الله صلى الله عليه وسلم وأقبل على رجل منهم ، فقال : « أيكم يواليني في الدنيا والآخرة ؟ » فأبوا ، فقال لعلي : « أنت وليي في الدنيا والآخرة » ، قال ابن عباس : وكان علي أول من آمن من الناس بعد خديجة رضي الله عنها ، قال : وأخذ رسول الله صلى الله عليه وسلم ثوبه فوضعه على علي وفاطمة وحسن وحسين وقال : « ( إنما يريد الله ليذهب عنكم الرجس أهل البيت ويطهركم تطهيرا (3) ) ، قال ابن عباس : » وشرى علي نفسه ، فلبس ثوب النبي صلى الله عليه وسلم ، ثم نام في مكانه « ، قال : ابن عباس ، » وكان المشركون يرمون رسول الله صلى الله عليه وسلم ، فجاء أبو بكر رضي الله عنه وعلي نائم ، قال : وأبو بكر يحسب أنه رسول الله صلى الله عليه وسلم ، قال : فقال : يا نبي الله ، فقال له علي : إن نبي الله صلى الله عليه وسلم قد انطلق نحو بئر ميمون فأدركه ، قال : فانطلق أبو بكر فدخل معه الغار ، قال : وجعل علي رضي الله عنه يرمي بالحجارة كما كان رمي نبي الله صلى الله عليه وسلم وهو يتضور ، وقد لف رأسه في الثوب لا يخرجه حتى أصبح ، ثم كشف عن رأسه فقالوا : إنك للئيم وكان صاحبك لا يتضور ونحن نرميه ، وأنت تتضور وقد استنكرنا ذلك « ، فقال ابن عباس : وخرج رسول الله صلى الله عليه وسلم في غزوة تبوك وخرج بالناس معه ، قال : فقال له علي : أخرج معك ؟ قال : فقال النبي صلى الله عليه وسلم » لا « . فبكى علي فقال له : » أما ترضى أن تكون مني بمنزلة هارون من موسى إلا أنه ليس بعدي نبي ، إنه لا ينبغي أن أذهب إلا وأنت خليفتي « ، قال ابن عباس : وقال له رسول الله صلى الله عليه وسلم : » أنت ولي كل مؤمن بعدي ومؤمنة « ، قال ابن عباس : » وسد رسول صلى الله عليه وسلم أبواب المسجد غير باب علي فكان يدخل المسجد جنبا ، وهو طريقه ليس له طريق غيره « ، قال ابن عباس : وقال رسول الله صلى الله عليه وسلم : » من كنت مولاه ، فإن مولاه علي...
 
هذا حديث صحيح الإسناد ، ولم يخرجاه بهذه السياقة

 المستدرك على الصحيحين للحاكم   ج 10 / ص 457



อับดุลลอฮ์รายงานจาก → ยะห์ยา บินฮัมมาดรายงานจาก → อบูอิวานะฮ์รายงานจาก  → อบูบัลญินรายงานจาก → อัมรู บินมัยมูนเล่าว่า   :


แท้จริงฉันนั่งอยู่กับท่านอิบนุอับบาส ทันใดนั้นมี 9 กลุ่มชนได้เข้ามาหาเขา

พวกเขากล่าวว่า : โอ้ท่านอิบนิอับบาส (ท่านมีทางเลือกสองทางคือ) ต้องลุกไปกับพวกเรา หรือไม่ท่านก็บอกเขาเหล่านี้ให้ปล่อยพวกเราอยู่ตามลำพังกับท่าน

ท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่า  แต่ฉันจะลุกไป(คุยกับ)พวกท่านตามลำพังเอง  ตอนนั้นท่านอิบนุอับบาสยังตาดีอยู่ ก่อนที่เขาจะตาบอด
อัมรู บินมัยมูนเล่าว่า : แล้วพวกเขาได้เริ่มสนทนากัน ฉันไม่รู้ว่า พวกเขาพูดอะไร

อัมรู บินมัยมูนเล่าว่า :
ท่านอิบนุอับบาสได้(กลับมาที่พวกเรา) เขาปัดเสื้อผ้าของเขา(เป็นอุปมาให้เห็นว่าท่านไม่ขอเกี่ยวข้องกับคำพูดของคนพวกนั้น)  และอุทานออกมาว่า " อุฟ " คือหยุดเดี๋ยวนี้นะ  คนพวกนั้นได้ต่อว่าเกี่ยวกับชายคนหนึ่ง ซึ่งสำหรับชายคนนั้น(มีฟะดีลัตถึง) 10 ประการ  พวกเขาได้ตำหนิต่อว่าถึงชายคนหนึ่ง ซึ่งท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)เคยกล่าวกับชายคนนั้นว่า :

(หนึ่ง)แน่นอนฉันจะส่งชายคนหนึ่งออกไป อัลลอฮ์จะไม่ทรงทำให้เขาต้องอับอายไปตลอดกาล เขา(ชายคนนั้น)รักอัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์

ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : แล้วท่านนบี(ศ)ได้เพ่งมองผู้ที่ท่านค้นหาอยู่ ท่านกล่าวว่า อะลีอยู่ที่ไหน ? พวกเขากล่าวว่า : เขา(อะลี)กำลังบดแป้งอยู่ที่โม่หินครับ
ท่านนบี(ศ)กล่าวว่า : ไม่มีใครสักคนในหมู่พวกท่านที่จะไปบดแป้ง(แทนอะลีหน่อยหรือ) ?
ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : แล้วท่านอะลีได้ถูกพาตัวมาหาในสภาพตาเจ็บ เกือบมองอะไรไม่เห็น
ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ท่านนบี(ศ)ได้เป่าไปที่ดวงตาทั้งสองของอะลี ต่อจากนั้นท่านได้สะบัดธงรบสามครั้ง แล้วมอบธงนั้นให้อะลี
เขา(อะลีถูก)พามาโดยนางซอฟียะฮ์ บินติหุยัย

(สอง)เขา(อิบนุอับบาส)เล่าว่า :
จากนั้นท่านนบี(ศ)ได้ส่งชายคนหนึ่งไปพร้อมกับซูเราะฮ์อัตเตาบะฮ์ แล้วท่านนบี(ศ)ได้ส่งท่านอะลีตามหลังเขาไปเอาซูเราะฮ์นั้นจากเขาคืนมา โดยท่านนบี(ศ)กล่าวว่า จะไม่มีใครนำซูเราะฮ์นั้น(ไปประกาศได้) นอกจากชายที่มาจากฉัน และฉันมาจากเขาเท่านั้น

(สาม)ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า :
ท่านนบี(ศ)ได้กล่าวกับตระกูลของลุงของท่านว่า คนใดในหมู่พวกท่านจะมาช่วยเหลือฉันทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮ์บ้าง ?

ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ตอนนั้นมีท่านอะลีนั่งอยู่กับท่านนบี(ศ) พวกเขา(บรรดาลุงนบี)ได้ปฏิเสธ แล้วท่านอะลีกล่าวว่า ฉันจะให้ความช่วยเหลือท่านเองทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮ์
ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ท่านนบีได้ปล่อยเขาไว้ จากนั้นท่านหันมาหาชายคนหนึ่งในหมู่พวกเขา แล้วท่านกล่าวว่า คนใดในหมู่พวกท่านจะมาช่วยเหลือฉันทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮ์บ้าง ? พวกเขา(บรรดาลุงนบี)ได้ปฏิเสธอีก
ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ตอนนั้นมีท่านอะลีนั่งอยู่กับท่านนบี(ศ) พวกเขา(บรรดาลุงนบี)ได้ปฏิเสธ แล้วท่านอะลีกล่าวว่า ฉันจะให้ความช่วยเหลือท่านเองทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮ์

(สี่)ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ปรากฏว่าเขา(อะลี)คือบุคคลแรกที่เข้ารับอิสลามจากผู้คนทั้งหลาย หลังจากท่านหญิงคอดีญะฮ์(นางรับอิสลามก่อนท่านอะลี)

(ห้า)ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) เอาผ้า(กีซา)คลุมบนท่านอะลี ฟาติมะฮ์ ฮาซันและฮูเซนพลางอ่านโองการว่า

อันที่จริง อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ที่จะขจัดความโสมมออกจากพวกเจ้า โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ของนบี และ(ทรงประสงค์ที่จะ)ชำระพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์ )
บท 33 : 33

(หก)ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ท่านอะลีได้ยอมแลกชีวิตของตัวเอง เขาได้สวมเสื้อผ้าของท่านนบี(ศ) แล้วได้นอนแทนที่ท่าน
ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ตอนนั้นพวกมุชริกกำลังขว้างปาใส่ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)อยู่ แล้วท่านอบูบักรได้มาหา ในขณะที่ท่านอะลีนอนอยู่ ท่านอบูบักรนึกว่าอะลีคือท่านศาสดาแห่งอัลลอฮ์

ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : เขาจึงกล่าวว่า โอ้ท่านศาสดาแห่งอัลลอฮ์ ท่านอะลีได้กล่าวกับเขาว่า แท้จริงท่านศาสดาแห่งอัลลอฮ์ได้ออกไปที่บ่อน้ำมัยยมูนแล้ว ท่านอบูบักรได้ออกติดตามไปหาท่าน
ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ท่านอบูบักรได้ตามไปจนได้เข้าไปหลบในถ้ำพร้อมกับท่านนบี(ศ)
ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ท่านอะลีจึงโดนขว้างด้วยก้อนหินเหมือนที่ท่านศาสดาแห่งอัลลอฮ์โดนขว้าง และท่านได้รับบาดเจ็บ ท่านได้เอาผ้าคลุมศรีษะท่านไว้ ท่านไม่ยอมโผล่ศรีษะออกมาจนรุ่งเช้า จากนั้นท่านได้โผล่ศรีษะออกมา พวกมุชริกจึงกล่าวว่า แท้จริงท่านคือผู้คลุมผ้า สหายของท่านคือคนที่เราจะขว้างเขา แต่เขากลับไม่ได้รับอันตราย ส่วนท่านต้องเป็นผู้ได้รับบาดเจ็บ แน่นอนพวกเราไม่รู้สิ่งนั้น

(เจ็ด)ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ท่านนบี(ศ)ออกไปพร้อมกับประชาชนในสงครามตะบู๊ก ท่านอะลีได้กล่าวกับท่านว่า ฉันจะออกไป(รบ)กับท่านด้วย ท่านศาสดาแห่งอัลลอฮ์ได้กล่าวกับเขาว่า ไม่ได้ ท่านอะลีจึงร้องไห้ ท่านจึงกล่าวกับเขาว่า ท่านไม่พอใจดอกหรือที่ท่านกับฉัน มีฐานะเหมือนนบีมูซากับนบีฮารูน ยกเว้นว่าท่านไม่ใช่นบีเท่านั้น เพราะไม่สมควรที่ฉันออกไป ยกเว้นว่า ท่านจะต้องเป็นคอลีฟะฮ์ตัวแทนของฉัน
ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า :

(แปด)ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวกับเขาว่า ท่านคือวะลีของฉัน (คนที่รักยิ่งของฉัน)ในมุอ์มินทุกคนหลังจากฉัน


(เก้า)และท่าน(ศ)กล่าวว่า พวกท่านจงปิดประตูบ้านทุกบาน(ที่เชื่อมไปยัง)มัสญิด ยกเว้นประตูบ้านของอะลี
ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : แล้วเขา(อะลี)จะผ่านเข้าไปในมัสญิดขณะที่มีญุนุบ เพราะมันคือทางเดินของเขา ซึ่งเขาไม่มีทางอื่นอีกนอกจากทางนี้

(สิบ)ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ท่าน(ศ)กล่าวว่า บุคคลใดที่ฉันคือเมาลาของเขา เพราะฉะนั้นแท้จริงอะลีก็คือเมาลาของเขา




และท่านอัลฮากิม อันนัยซาบูรี กล่าวว่า :  

هذا حديث صحيح الإسناد ، ولم يخرجاه بهذه السياقة

หะดีษนี้  สายรายงานถูกต้อง แต่ทานเชคทั้งสองมิได้นำหะดีษนี้ออกรายงานตามเนื้อหานี้


สถานะหะดีษ : เศาะหิ๊หฺ

ดูอัลมุสตักร็อก อะลัซ ซ่อฮีฮัยนิ  เล่ม 10 : 457 หะดีษ 4627
ชื่อ: Re:วิจัย ความหมายของ “ เมาลา “ และ “ วะลี “
โดย: L-umar เมื่อ พฤศจิกายน 04, 2009, 05:13:16 หลังเที่ยง

อัซ ซะฮะบี  

ได้ตรวจสอบสายรายงานหะดีษที่ท่านอิหม่ามอะหมัดและท่านฮากิมอันนัยซาบูรีรายงานคือ  



أخبرنا أبو بكر أحمد بن جعفر بن حمدان القطيعي ببغداد من أصل كتابه ثنا عبد الله بن أحمد بن حنبل حدثني أبي ثنا يحيى بن حماد ثنا أبو عوانة ثنا أبو بلج ثنا عمرو بن ميمون قال : إني لجالس عند ابن عباس إذ أتاه تسعة رهط فقالوا : يا ابن عباس :

تعليق الذهبي قي التلخيص : صحيح


อับดุลลอฮ์รายงานจาก → ยะห์ยา บินฮัมมาดรายงานจาก → อบูอิวานะฮ์รายงานจาก  → อบูบัลญินรายงานจาก → อัมรู บินมัยมูนเล่าว่า   :


แท้จริงฉันนั่งอยู่ที่ท่านอิบนุอับบาส ทันใดนั้นมีกลุ่มชน 9 กลุ่มเข้ามาหาเขา
พวกเขากล่าวว่า  :  โอ้ท่านอิบนิอับบาส...

ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า  : ท่าน(ศ)กล่าวว่า  บุคคลใดที่ฉันคือเมาลาของเขา แท้จริงเมาลาของเขาก็คืออะลี เช่นกัน...


อัซ ซะฮะบี  ตรวจทานสายรายงานหะดีษนี้และกล่าวว่า  :  เศาะหิ๊หฺ

ดูอัลมุสตัดร็อก เล่ม 3 : 143 หะดีษ  4652   ฉบับตรวจทานโดยอัซซะฮะบี


มีต่อ
ชื่อ: Re:วิจัย ความหมายของ “ เมาลา “ และ “ วะลี “
โดย: L-umar เมื่อ พฤศจิกายน 05, 2009, 09:01:13 ก่อนเที่ยง

อัน นะซาอี  รายงานว่า


أخبرنا محمد بن المثنى قال حدثنا يحيى بن حماد قال حدثنا الوضاح وهو أبو عوانة قال حدثنا يحيى قال حدثنا عمرو بن ميمون قال :
اني لجالس إلى بن عباس إذ أتاه تسعة رهط فقالوا إما أن تقوم معنا وإما أن تخلونا يا هؤلاء وهو يومئذ صحيح قبل أن يعمى قال أنا أقوم معكم فتحدثوا فلا أدري ما قالوا فجاء وهو ينفض ثوبه وهو يقول أف وتف يقعون في رجل له عشر وقعوا في رجل قال رسول الله صلى الله عليه وسلم لابعثن رجلا يحب الله ورسوله لا يخزيه الله أبدا فأشرف من استشرف فقال أين علي هو في الرحا يطحن وما كان أحدكم ليطحن فدعاه وهو أرمد ما يكاد أن يبصر فنفث في عينيه ثم هز الراية ثلاثا فدفعها إليه فجاء بصفية بنت حيي وبعث أبا بكر بسورة التوبة وبعث عليا خلفه
فأخذها منه فقال لا يذهب بها إلا رجل هو مني وأنا منه ودعا رسول الله صلى الله عليه وسلم الحسن والحسين وعليا وفاطمة فمد عليهم ثوبا فقال اللهم هؤلاء أهل بيتي فأذهب عنهم الرجس وطهرهم تطهيرا وكان أول من أسلم من الناس بعد خديجة ولبس ثوب رسول الله صلى الله عليه وسلم ونام فجعل المشركون يرمون كما يرمون رسول الله صلى الله عليه وسلم وهم يحسبون أنه نبي الله صلى الله عليه وسلم فجاء أبو بكر فقال يا نبي الله فقال علي إن نبي الله صلى الله عليه وسلم قد ذهب نحو بئر ميمون فاتبعه فدخل معه الغار وكان المشركون يرمون عليا حتى أصبح وخرج بالناس في غزوة تبوك فقال علي أخرج معك فقال لا فبكى فقال أما ترضى أن تكون مني بمنزلة هارون من موسى إلا أنك لست بنبي ثم قال أنت خليفتي يعني في كل مؤمن من بعدي قال وسد أبواب المسجد غير باب علي فكان يدخل المسجد وهو جنب وهو في طريقه ليس له طريق غيره وقال من كنت وليه فعلي وليه
السنن الكبرى للنسائي  ج 5 / ص 112 ح 8409


เนื้อหาของหะดีษบทนี้อาจแตกต่างเล็กน้อยกับหะดีษของท่านอิหม่ามอะหมัดและท่านอัลฮากิม แต่พอสรุปได้ดังนี้คือ



มุฮัมมัด บินอัลมุษันนาได้เล่าให้เราฟัง เขากล่าวว่า ยะห์ยา บินฮัมมาดเล่าให้เราฟัง เขากล่าวว่า อัลวัฎฎ๊อห์ เขาคืออบูอิวานะฮ์เล่าให้เราฟัง เขากล่าวว่า ยะห์ยาเล่าให้เราฟัง เขากล่าวว่า  อัมรู บินมัยมูนเล่าให้เราฟัง เขาเล่าว่า :


แท้จริงฉันนั่งอยู่กับท่านอิบนุอับบาส ทันใดนั้นมีชนกลุ่มหนึ่งประมาณ 9 คนเข้ามาหาเขา

พวกเขากล่าวว่า : โอ้ท่านอิบนิอับบาส (ท่านมีทางเลือกสองทางคือ) ต้องลุกไปกับพวกเรา หรือไม่ท่านก็บอกเขาเหล่านี้ให้ปล่อยพวกเราอยู่ตามลำพังกับท่าน

ท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่า  แต่ฉันจะลุกไป(คุยกับ)พวกท่านตามลำพังเอง  ตอนนั้นท่านอิบนุอับบาสยังตาดีอยู่ ก่อนที่เขาจะตาบอด
อัมรู บินมัยมูนเล่าว่า : แล้วพวกเขาได้เริ่มสนทนากัน ฉันไม่รู้ว่า พวกเขาพูดอะไร

อัมรู บินมัยมูนเล่าว่า :
ท่านอิบนุอับบาสได้(กลับมาที่พวกเรา) เขาปัดเสื้อผ้าของเขา(เป็นอุปมาให้เห็นว่าท่านไม่ขอเกี่ยวข้องกับคำพูดของคนพวกนั้น)  และอุทานออกมาว่า " อุฟ " คือหยุดเดี๋ยวนี้นะ  คนพวกนั้นได้ต่อว่าเกี่ยวกับชายคนหนึ่ง ซึ่งเขามีความดีงามถึง 10 ประการ  พวกเขาได้ตำหนิต่อว่าถึงชายคนหนึ่ง ซึ่งท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)เคยกล่าวกับชายคนนั้นว่า :

(หนึ่ง)แน่นอนฉันจะส่งชายคนหนึ่งออกไป อัลลอฮ์จะไม่ทรงทำให้เขาต้องอับอายไปตลอดกาล เขา(ชายคนนั้น)รักอัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์

ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : แล้วท่านนบี(ศ)ได้เพ่งมองผู้ที่ท่านค้นหาอยู่ ท่านกล่าวว่า อะลีอยู่ที่ไหน ? พวกเขากล่าวว่า : เขา(อะลี)กำลังบดแป้งอยู่ที่โม่หินครับ
ท่านนบี(ศ)กล่าวว่า : ไม่มีใครสักคนในหมู่พวกท่านที่จะไปบดแป้ง(แทนอะลีหน่อยหรือ) ?
ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : แล้วท่านอะลีได้ถูกพาตัวมาหาในสภาพตาเจ็บ เกือบมองอะไรไม่เห็น
ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ท่านนบี(ศ)ได้เป่าไปที่ดวงตาทั้งสองของอะลี ต่อจากนั้นท่านได้สะบัดธงรบสามครั้ง แล้วมอบธงนั้นให้อะลี
เขา(อะลีถูก)พามาโดยนางซอฟียะฮ์ บินติหุยัย

(สอง)เขา(อิบนุอับบาส)เล่าว่า :
จากนั้นท่านนบี(ศ)ได้ส่งท่านอบูบักรไปพร้อมกับซูเราะฮ์อัตเตาบะฮ์ แล้วท่านนบี(ศ)ได้ส่งท่านอะลีตามหลังเขาไปเอาซูเราะฮ์นั้นจากเขาคืนมา โดยท่านนบี(ศ)กล่าวว่า จะไม่มีใครนำซูเราะฮ์นั้น(ไปประกาศได้) นอกจากชายที่มาจากฉัน และฉันมาจากเขาเท่านั้น

(สาม)ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า :
ท่านนบี(ศ)ได้กล่าวกับตระกูลของลุงของท่านว่า คนใดในหมู่พวกท่านจะมาช่วยเหลือฉันทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮ์บ้าง ?

ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ตอนนั้นมีท่านอะลีนั่งอยู่กับท่านนบี(ศ) พวกเขา(บรรดาลุงนบี)ได้ปฏิเสธ แล้วท่านอะลีกล่าวว่า ฉันจะให้ความช่วยเหลือท่านเองทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮ์
ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ท่านนบีได้ปล่อยเขาไว้ จากนั้นท่านหันมาหาชายคนหนึ่งในหมู่พวกเขา แล้วท่านกล่าวว่า คนใดในหมู่พวกท่านจะมาช่วยเหลือฉันทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮ์บ้าง ? พวกเขา(บรรดาลุงนบี)ได้ปฏิเสธอีก
ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ตอนนั้นมีท่านอะลีนั่งอยู่กับท่านนบี(ศ) พวกเขา(บรรดาลุงนบี)ได้ปฏิเสธ แล้วท่านอะลีกล่าวว่า ฉันจะให้ความช่วยเหลือท่านเองทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮ์

(สี่)ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ปรากฏว่าเขา(อะลี)คือบุคคลแรกที่เข้ารับอิสลามจากผู้คนทั้งหลาย หลังจากท่านหญิงคอดีญะฮ์(นางรับอิสลามก่อนท่านอะลี)

(ห้า)ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) เอาผ้า(กีซา)คลุมบนท่านอะลี ฟาติมะฮ์ ฮาซันและฮูเซนพลางอ่านโองการว่า

อันที่จริง อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ที่จะขจัดความโสมมออกจากพวกเจ้า โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ของนบี และ(ทรงประสงค์ที่จะ)ชำระพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์ )
บท 33 : 33

(หก)ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ท่านอะลีได้ยอมแลกชีวิตของตัวเอง เขาได้สวมเสื้อผ้าของท่านนบี(ศ) แล้วได้นอนแทนที่ท่าน
ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ตอนนั้นพวกมุชริกกำลังขว้างปาใส่ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)อยู่ แล้วท่านอบูบักรได้มาหา ในขณะที่ท่านอะลีนอนอยู่ ท่านอบูบักรนึกว่าอะลีคือท่านศาสดาแห่งอัลลอฮ์

ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : เขาจึงกล่าวว่า โอ้ท่านศาสดาแห่งอัลลอฮ์ ท่านอะลีได้กล่าวกับเขาว่า แท้จริงท่านศาสดาแห่งอัลลอฮ์ได้ออกไปที่บ่อน้ำมัยยมูนแล้ว ท่านอบูบักรได้ออกติดตามไปหาท่าน
ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ท่านอบูบักรได้ตามไปจนได้เข้าไปหลบในถ้ำพร้อมกับท่านนบี(ศ)
ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ท่านอะลีจึงโดนขว้างด้วยก้อนหินเหมือนที่ท่านศาสดาแห่งอัลลอฮ์โดนขว้าง และท่านได้รับบาดเจ็บ ท่านได้เอาผ้าคลุมศรีษะท่านไว้ ท่านไม่ยอมโผล่ศรีษะออกมาจนรุ่งเช้า จากนั้นท่านได้โผล่ศรีษะออกมา พวกมุชริกจึงกล่าวว่า แท้จริงท่านคือผู้คลุมผ้า สหายของท่านคือคนที่เราจะขว้างเขา แต่เขากลับไม่ได้รับอันตราย ส่วนท่านต้องเป็นผู้ได้รับบาดเจ็บ แน่นอนพวกเราไม่รู้สิ่งนั้น

(เจ็ด)ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ท่านนบี(ศ)ออกไปพร้อมกับประชาชนในสงครามตะบู๊ก ท่านอะลีได้กล่าวกับท่านว่า ฉันจะออกไป(รบ)กับท่านด้วย ท่านศาสดาแห่งอัลลอฮ์ได้กล่าวกับเขาว่า ไม่ได้ ท่านอะลีจึงร้องไห้ ท่านจึงกล่าวกับเขาว่า ท่านไม่พอใจดอกหรือที่ท่านกับฉัน มีฐานะเหมือนนบีมูซากับนบีฮารูน ยกเว้นว่าท่านไม่ใช่นบีเท่านั้น เพราะไม่สมควรที่ฉันออกไป ยกเว้นว่า ท่านจะต้องเป็นคอลีฟะฮ์ตัวแทนของฉัน
ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า :

(แปด)ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวกับเขาว่า ท่านคือวะลีของฉัน (คนที่รักยิ่งของฉัน)ในมุอ์มินทุกคนหลังจากฉัน


(เก้า)และท่าน(ศ)กล่าวว่า พวกท่านจงปิดประตูบ้านทุกบาน(ที่เชื่อมไปยัง)มัสญิด ยกเว้นประตูบ้านของอะลี
ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : แล้วเขา(อะลี)จะผ่านเข้าไปในมัสญิดขณะที่มีญุนุบ เพราะมันคือทางเดินของเขา ซึ่งเขาไม่มีทางอื่นอีกนอกจากทางนี้

(สิบ)ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ท่าน(ศ)กล่าวว่า บุคคลใดที่ฉันคือเมาลาของเขา เพราะฉะนั้นแท้จริงอะลีก็คือเมาลาของเขา


ดูสุนัน อัลกุบรอ โดยนะซาอี เล่ม 5 : 112 หะดีษ 8409
ชื่อ: Re:วิจัย ความหมายของ “ เมาลา “ และ “ วะลี “
โดย: L-umar เมื่อ พฤศจิกายน 05, 2009, 09:39:27 ก่อนเที่ยง


บทสรุป


มีอุละมาอ์ซุนนี่  สองคนที่ รับรองว่า  หะดีษนี้มีสายรายงาน   เศาะหิ๊หฺ คือ

1.   อัลฮากิม อันนัยซาบูรี

2.   อัซ ซะฮะบี


และหะดีษทำนองนี้ยังถูกบันทึกอยู่ในตำราฝ่ายซุนนี่อีกดังต่อไปนี้


1.   มุชกิลุล อาษ้าร โดยอัฏ เฏาะฮาวี  เล่ม 8 : 123 หะดีษ 3054  และเล่ม 9 : 85 หะดีษ 3449

2.   ฆอยะตุลมักศ็ฮด ฟีซะวาอิดิลมุสนัด  โดยอัลฮัยษะมี  เล่ม 2 : 1319

3.   ฟะฎออิลุซ ซอฮาบะฮ์  โดยอิหม่ามอะหมัด  เล่ม 2 : 682 หะดีษ 1168 และเล่ม 9 : 85 หะดีษ 3449

4.   คอซออิซ อะลี  โดยอัน นะซาอี  เล่ม 1 : 47 หะดีษ 24

5.   อัช ชะรีอะฮ์ โดยอัลอาญุรรี  เล่ม 4 : 141 หะดีษ 1444
ชื่อ: Re:วิจัย ความหมายของ “ เมาลา “ และ “ วะลี “
โดย: L-umar เมื่อ พฤศจิกายน 05, 2009, 11:17:48 ก่อนเที่ยง

พินิจ ใจความหะดีษ



ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้ขอพรให้ท่านอับดุลเลาะฮ์ บินอับบาสว่า


اللَّهُمَّ فَقِّهْهُ فِي الدِّينِ وَعَلِّمْهُ التَّأْوِيلَ


โอ้อัลลอฮ ได้โปรดให้เขาเข้าใจในศาสนาและได้โปรดสอนการตะอ์วีลให้แก่เขา


เศาะหิ๊หฺ บุคอรี  หะดีษ  143

บิฮารุลอันวาร โดยอัลลามะฮ์มัจญ์ลิซี เล่ม 18 : 18



ท่านอิบนุอับบาส เกิดก่อนฮิจเราะฮ์ 3 ปี และเสียชีวิตปีฮ.ศ.ที่68  ที่เมืองตออิฟ รวมอายุได้ 71 ปี
ในวันที่ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) วะฟาต  ท่านอิบนุอับบาสมีอายุได้สิบสี่ปี  เป็นซอฮาบะฮ์ที่มีความรู้อย่างมากมายคนหนึ่ง จนได้สมญานามว่า ฮิบรุลอุมมะฮ์
ดวงตาทั้งสองของท่านต้องบอดลงเพราะ ได้ร่ำไห้เสียใจให้กับมุซีบัตของท่านอิม่ามอะลี ฮาซันและฮูเซน



ท่านอิหม่ามอะหมัดและมุฮัดดิษคนอื่นๆได้เล่าว่า  ก่อนที่ท่านอิบนุอับบาสจะตาบอด มีบุคคล 9 กลุ่มเข้ามาพบท่าน  พวกเขาขอคุยธุระกับท่านอิบนุอับบาสเป็นการส่วนตัว

เรื่องที่บุคคลเก้ากลุ่มมาพูดคุยกับอิบนุอับบาสคือ ตำหนิต่อว่าท่านอะลี บินอบีตอลิบ
เมื่อท่านอิบนุอับบาสได้ฟังคำของพวกเขา ท่านจึงเดินแยกตัวออกมาจากบุคคลเหล่านั้นอย่างไม่พอใจและไม่ต้องการฟัง เพื่อแสดงให้เห็นว่า ท่านไม่ขอเกี่ยวข้องกับคำพูดของคนพวกนั้น  พร้อมกับขอร้องให้พวกเขายุติการตำหนิท่านอะลีด้วย  

ท่านอิบนุอับบาสเดินกลับมานั่งที่เดิม ซึ่งมีอัมรูบินมัยมูนนั่งอยู่กับท่านก่อนหน้านี้แล้ว

ท่านอิบนุอับบาสได้กล่าวว่า  คนพวกนั้นได้มาต่อว่าท่านอะลีกับฉัน  ซึ่งตัวฉันนั้นรู้ดีว่า ท่านอะลีนั้นมีฟะดีลัต(ความดีงาม)ถึง 10 ประการ

โดยที่ฉันมีแค่เพียงหนึ่งประการจากฟะดีลัตเหล่านั้น  


ซึ่งเรื่องราวความดีงามของท่านอิม่ามอะลีทั้งสิบประการ ที่ท่านอิบนุอับบาสได้เล่าให้เราฟังมีดังนี้
ชื่อ: Re:วิจัย ความหมายของ “ เมาลา “ และ “ วะลี “
โดย: L-umar เมื่อ พฤศจิกายน 05, 2009, 11:59:22 ก่อนเที่ยง

ฟะดีลัตที่ หนึ่ง -

สงครามค็อยบัร

หรือวาดีค็อยบัร ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของนครมะดีนะฮ์ ห่างจากมะดีนะฮ์ประมาณ 32 ฟัรซัค เป็นเขตพื้นที่สำคัญของพวกยิว ที่คอยสร้างความรำคาญและรบกวนอิสลามโดยตลอด

ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)จึงตัดสินใจว่า ต้องปราบปรามพวกยิว ที่ชอบแสดงตนเป็นพวกหน้าไหว้หลังหลอก และจำกัดขอบเขตให้อยู่ในพื้นที่  ท่านจึงสั่งให้บรรดาซอฮาบะฮ์เตรียมตัวเคลื่อนพลไปที่ค็อยบัรเพื่อทำสงคราม
ฝ่ายมุสลิมได้ยืนหยัดต่อสู้อยู่นาน แต่ไม่สามารถตีป้อมสุดท้ายอันแข็งแกร่งของพวกยิวให้แตกลงได้

ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ได้กล่าวต่อหน้ากองทัพว่า :  พรุ่งนี้เช้าฉันจะส่งชายคนหนึ่งออกไปรบกับพวกยิว  ซึ่งอัลลอฮ์จะไม่ทรงทำให้เขาต้องอับอายเพราะต้องได้รับความพ่ายแพ้กลับมาอีก ชายคนนั้นมีความรักอัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์
แน่นอนทหารมุสลิมทุกคนต่างปรารถนาที่จะได้รับเกียรติอันนั้น  พวกเขาทุกคนต่างวิงวอนในใจว่า  ยาอัลเลาะฮ์ พรุ่งนี้เช้าขอให้ท่านนบี(ศ) เลือกฉันเป็นคนนำทัพออกไปรบกับพวกยิวด้วยเถิด ดังนั้นคืนนั้นจึงเป็นคืนที่ระทึกใจสำหรับทุกคน

เช้าวันรุ่งขึ้น ท่านนบี(ศ)ออกมาต่อหน้ากองทัพ ท่านได้กวาดสายตามองหาคนที่ท่านต้องการตัว แต่หาไม่เจอ ท่านจึงถามว่า อะลีอยู่ที่ไหน ?

พวกทหารตอบว่า :  อะลีกำลังบดแป้งนวดแป้งอยู่ครับ  ท่านนบี(ศ)ได้ถามว่า :  มีใครสักคนจะอาสาไปบดแป้งแทนอะลีบ้างไหมและช่วยตามเขามาพบฉันด้วย

ต่อมามีคนพาอะลีมาพบท่านนบี(ศ)ในสภาพตาเจ็บเกือบมองอะไรไม่เห็น ท่านนบี(ศ)จึงได้เป่าไปที่ดวงตาทั้งสองของอะลี จากนั้นท่านนบี(ศ)ได้สะบัดธงรบสามครั้ง แล้วมอบธงแม่ทัพให้กับอะลี
ท่านนบี(ศ)ได้บัญชาว่า จงนำทัพออกไปตีป้อมคามูสแห่งเมืองค็อยบัรบัดเดี๋ยวนี้  

ท่านอะลีได้นำทัพออกรบ ในที่สุดป้อมปราการอันแข็งแกร่งของพวกยิวก็ถูกตีจนแตกพ่าย ท่านอะลีได้นำชัยชนะมาสู่อิสลาม


เรื่องที่ท่านอิบนิอับบาสเล่านี้ ถูกบันทึกอยู่ในตำราเศาะหิ๊หฺบุคอรี หะดีษที่ 2942,2975,3009,3701,3702,4209
และเศาะหิ๊หฺมุสลิม  หะดีษที่ 4779,6373,6377


وَسَمِعْتُهُ(رَسُولُ اللَّهِ) يَقُولُ يَوْمَ خَيْبَرَ « لأُعْطِيَنَّ الرَّايَةَ رَجُلاً يُحِبُّ اللَّهَ وَرَسُولَهُ وَيُحِبُّهُ اللَّهُ وَرَسُولُهُ ». قَالَ فَتَطَاوَلْنَا لَهَا فَقَالَ « ادْعُ لِى عَلِيًّا ». فَأَتَاهُ وَبِهِ رَمَدٌ فَبَصَقَ فِى عَيْنِهِ فَدَفَعَ الرَّايَةَ إِلَيْهِ فَفَتَحَ اللَّهُ عَلَيْهِ.

(พรุ่งนี้)ฉันจะมอบธงรบให้กับชายคนหนึ่งที่เขารักอัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ และอัลลอฮ์กับรอซูลของพระองค์ก็รักเขา ท่านสะอัดเล่าว่า (รุ่งเช้าทุกคนมารวมตัวกันที่กระโจมท่านนบี) พวกเราพยายามยืนตัวให้สูง(ท่านนบีจะได้มองเห็น) เพื่อจะได้รับธงรบนั้น ท่านนบีกล่าวว่า พวกท่านจงไปเรียกอะลีมาหาฉันที แล้วก็มีคนพาเขามา ซึ่งตาเขาเจ็บ ท่านได้เอาน้ำลายป้ายไปที่ดวงของเขา และมอบธงรบกับเขา แล้วอัลลอฮ์ได้ประทานชัยชนะให้กับเขา

เศาะหิ๊หฺมุสลิม  หะดีษ 6373



ตำราเศาะหิ๊หฺทั้งสองเล่มคือพยานทั้งยืนยัน และนอนยันว่า เรื่องที่ท่านอิบนุอับบาสเล่าเป็นเรื่องจริง   สิ่งที่ได้รับจากเรื่องนี้และชวนวิเคราะห์คือ


1.   มีซอฮาบะฮ์ในกองทัพตั้งมากมาย แต่ทำไมท่านนบี(ศ)เจาะจงมอบธงแม่ทัพให้กับท่านอะลีเพียงคนเดียว ?

2.   ท่านนบี(ศ)อธิบายลักษณะของท่านอะลีว่า เขาเป็นคนรักอัลลอฮฺและรอซูล

3.   ท่านนบี(ศ)บอกกับกองทัพว่า อัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์ก็รักอะลี

4.   ทำไมทุกคนในกองทัพอยากได้รับมอบธงรบในตอนเช้า

5.   เช้าวันนั้นทหารทุกคนมีสุขภาพปกติดี แต่อะลีตาเจ็บ ถึงกระนั้นท่านนบี(ศ)ก็ให้คนไปพาตัวมาและเยียวยาเขาจนหาย จากนั้นก็มอบธงรบให้เขานำทัพไปรบ  ทำไมคนตาดีมีเยอะแยะ ท่านนบี(ศ)ไม่เลือกพวกเขาให้เป็นแม่ทัพออกไปรบ แต่ส่งคนตาเจ็บออกไป ?

6.   คนอื่นนำทัพออกไปรบกับยิวแต่พ่ายแพ้  ส่วนอะลีนำทัพออกไปแต่นำชัยชนะกลับมา

7.   อะลีทำความดีนำพาชัยชนะมาสู่อิสลาม แต่ทำไมคนสมัยนั้นยังด่าทอต่อว่า คนอย่างอะลีได้ ?


เพราะฉะนั้น

เราสามารถกล่าวได้ไหมว่า  อัลลอฮ์ตะอาลารักอะลีมาก จึงทรงประทานบะร่อกัตให้อะลีชนะ และตัวอะลีเองก็มุ่งมั่นที่จะเอาชนะมาให้ได้ด้วยเพื่ออิสลาม


เพราะความดีของอะลีอันนี้ใช่ไหม ที่ทำให้คนเก้ากลุ่มซึ่งอาจมีใครสักคนหนึ่งอยู่ร่วมในสงครามคอยบัรเกิดอิจฉาอะลีมาตลอด จนต้องมาด่าว่าอะลีกับท่านอิบนิอับบาส ?
จนอิบนุอับบาสต้องเตือนสติพวกเขาและพวกเราอีกครั้งหนึ่งถึงความดีของอะลี
ชื่อ: Re:วิจัย ความหมายของ “ เมาลา “ และ “ วะลี “
โดย: L-umar เมื่อ พฤศจิกายน 05, 2009, 01:39:15 หลังเที่ยง
ท่านอิม่ามอะลียังได้ถ่ายทอดอุดมการณ์และความมุ่งมั่นของท่านไว้กับชีอะฮ์อะลี

ท่านจะเห็นได้ว่า  

สัยยิดอะลีคาเมเนอีผู้นำอิหร่านและประชาชนอิหร่านมุ่งมั่นที่จะต่อสู้กับอิสราเอล เพราะยิวไซออนิสต์คือศัตรูหมายเลขหนึ่งของอิสลาม

สัยยิดฮาซันนัซุรลเลาะฮ์ผู้นำฮิซบุลเลาะฮ์และชาวเลบานอน ได้สร้างความอับยศให้กับกองทัพอิสราเอลมาแล้ว


เพราะเมาลาของพวกเขาคือ  อะลี

แต่ถึงกระนั้นก็ตามเราจะพบชาววาฮาบีผู้อ่อนแอได้พยายามด่าว่า ประณามใส่ร้ายต่างๆนานาต่อสัยยิดอะลีคาเมเนอีกับชาวอิหร่านและสัยยิดฮาซันนัซุรลกับฮิซบุลเลาะฮ์  ด้วยเหตุผลประการเดียวกันกับคนเก้ากลุ่มที่ไปรุมด่าท่านอะลีต่อหน้าท่านอิบนุอับบาส นั่นคือ  


 " อิจฉาในสิ่งที่พวกเขา ไม่มี   และริษยาในสิ่งที่ตนทำไม่ได้ นั่นเอง "
ชื่อ: Re:วิจัย ความหมายของ “ เมาลา “ และ “ วะลี “
โดย: L-umar เมื่อ พฤศจิกายน 06, 2009, 11:16:52 ก่อนเที่ยง

ฟะดีลัตที่ สอง –



ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า  :

ปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 9  
ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ) มีเจตนาที่จะนำซูเราะฮ์เตาบะฮ์ไปประกาศที่นครมักกะฮ์ในช่วงเทศกาลหัจญ์ว่า ห้ามมิให้มุชริก(ผู้ตั้งภาคี)มาทำหัจญ์และห้ามคนเปลือยกายมาเดินต่อวาฟที่บัยตุลลอฮ์อีกต่อไป แต่ท่านนบี(ศ)ไม่อยากไปทำหัจญ์โดยมีพวกมุชริกปะปนอยู่ในการทำหัจญ์ของท่าน ท่านจึงเปลี่ยนใจให้ท่านอบูบักรนำซูเราะฮ์เตาบะฮ์ไปประกาศแทน   แต่แล้วท่านญิบรออีล(อ)ได้ลงมาแจ้งให้ท่านนบี(ศ)ทราบว่า  จะไม่มีใครทำหน้าที่ประกาศโองการอัลกุรอ่านแทนตัวท่านได้ นอกจากตัวท่านเองหรือชายที่มาจากอะฮ์ลุลบัยต์ของท่านเท่านั้น

เมื่อท่านนบี(ศ)รับทราบ ท่านจึงได้เรียกท่านอะลีมาพบและสั่งให้รีบติดตามไปพบท่านอบูบักรในระหว่างทางเพื่อขอซูเราะฮ์เตาบะฮ์คืนจากเขา หลังจากท่านอบูบักรมอบซูเราะฮ์เตาบะฮ์ให้ท่านอะลี ตัวเขาได้ย้อนกลับมาที่นครมะดีนะฮ์ด้วยความเสียใจ ฝ่ายท่านอะลีได้นำซูเราะฮ์เตาบะฮ์ไปประกาศแก่ชาวเมืองมักกะฮ์ในฐานะตัวแทนของรอซูลุลลอฮ์    เรื่องมัชฮูรนี้ได้ถูกบันทึกไว้ในตำราซุนนี่มากมาย เช่น


อัต-ติรมิซี รายงาน

حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ بَشَّارٍ حَدَّثَنَا عَفَّانُ بْنُ مُسْلِمٍ وَعَبْدُ الصَّمَدِ بْنُ عَبْدِ الْوَارِثِ قَالاَ حَدَّثَنَا حَمَّادُ بْنُ سَلَمَةَ عَنْ سِمَاكِ بْنِ حَرْبٍ عَنْ أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ قَالَ :
بَعَثَ النَّبِىُّ -صلى الله عليه وسلم- بِبَرَاءَةَ مَعَ أَبِى بَكْرٍ ثُمَّ دَعَاهُ فَقَالَ « لاَ يَنْبَغِى لأَحَدٍ أَنْ يُبَلِّغَ هَذَا إِلاَّ رَجُلٌ مِنْ أَهْلِى ». فَدَعَا عَلِيًّا فَأَعْطَاهُ إِيَّاهَا.

قَالَ (الترمذي) هَذَا حَدِيثٌ حَسَنٌ غَرِيبٌ
قال الشيخ الألباني : حسن الإسناد انظر الكتاب : صحيح وضعيف سنن الترمذي  ح 3090

สะนัดหะดีษ -

มุฮัมมัด บินบัชช้ารจาก→ อัฟฟาน บินมุสลิมและอับดุลซ่อมัดจาก→ฮัมมาด บินสะละมะฮ์จาก →สิม๊าก บินหัรบ์จาก→ท่านอะนัส บินมาลิกเล่าว่า :

ตัวบท -

ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ได้ส่งซูเราะฮ์บะรออะฮ์ไป(ประกาศที่นครมักกะฮ์)พร้อมกับท่านอบูบักร ต่อมาท่านนบีเรียกท่านอบูบักรกลับมา ท่านกล่าวว่า : ไม่ควรที่ใครคนใดจะทำหน้าที่ประกาศซูเราะฮ์บะรออะฮ์ นอกจากชายที่มาจากครอบครัวของฉัน แล้วท่านนบีได้เรียกท่านอะลีมาหา  ดังนั้นท่านได้มอบซูเราะฮ์บะรออะฮ์ให้อะลี(นำไปประกาศแก่บรรดาฮุจญ๊าจญ์)


สถานะหะดีษ  :  ฮาซัน

ดูสุนันติรมิซี  หะดีษ  3370  ฉบับตรวจทานโดยเชคอัลบานี  หะดีษที่ 3090


อัน-นะซาอี รายงาน

أَخْبَرَناَ مُحَمَّدُ بْنُ بَشَّارٍ قاَلَ حَدَّثَنَا عَفَّانُ وَعَبْدُ الصَّمَدِ قَالَا حَدَّثَنَا حَمَّادُ بْنُ سَلَمَةَ عَنْ سِمَاكِ بْنِ حَرْبٍ عَنْ أَنَسِ قَالَ : بَعَثَ النَّبِيُّ صلى الله عليه وسلم بِبَرَاءَةٌ مَعَ أَبِي بَكْرٍ ثُمَّ دَعاَهُ فَقاَلَ لاَ يَنْبَغِي أَن يُبَلِّغَ هَذاَ عَنِّيْ إِلاَّ رَجُلٌ مِنْ أَهْلِيْ فَدَعاَ عَلِياًّ فَأَعْطاَهُ إِياَّهُ


มุฮัมมัด บินบัชช้ารจาก→ อัฟฟาน บินมุสลิมและอับดุลซ่อมัดจาก→ฮัมมาด บินสะละมะฮ์จาก →สิม๊าก บินหัรบ์จาก→ท่านอะนัสเล่าว่า :

ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ได้ส่งซูเราะฮ์บะรออะฮ์ไป(ประกาศที่นครมักกะฮ์)พร้อมกับท่านอบูบักร ต่อมาท่านนบีเรียกท่านอบูบักรกลับมา ท่านกล่าวว่า : ไม่ควรที่ใครคนใดจะทำหน้าที่ประกาศซูเราะฮ์บะรออะฮ์แทนฉัน นอกจากชายที่มาจากครอบครัวของฉัน แล้วท่านนบีได้เรียกท่านอะลีมาหา  ดังนั้นท่านได้มอบซูเราะฮ์บะรออะฮ์ให้อะลี(นำไปประกาศแก่บรรดาฮุจญ๊าจญ์)

ดูสุนันอัลกุบรอ โดยอันนะซาอี  หะดีษ  8460

เป็นสายรายงานเดียวกันกับที่ท่านติรมิซีและเชคอัลบานีให้การรับรองว่า ฮาซัน(ดี)


อิหม่ามอะหมัด บันทึกว่า

حَدَّثَنَا عَبْدُ الصَّمَدِ وَعَفَّانُ قَالَا حَدَّثَنَا حَمَّادٌ الْمَعْنَى عَنْ سِمَاكٍ عَنْ أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ
أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بَعَثَ بِبَرَاءَةٌ مَعَ أَبِي بَكْرٍ الصِّدِّيقِ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ فَلَمَّا بَلَغَ ذَا الْحُلَيْفَةِ قَالَ عَفَّانُ لَا يُبَلِّغُهَا إِلَّا أَنَا أَوْ رَجُلٌ مِنْ أَهْلِ بَيْتِي فَبَعَثَ بِهَا مَعَ عَلِيٍّ

อับดุลซ่อมัดและอัฟฟานจาก→ฮัมมาด บินสะละมะฮ์จาก →สิม๊าก บินหัรบ์จาก→ท่านอะนัสบิมาลิกเล่าว่า :

ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ได้ส่งซูเราะฮ์บะรออะฮ์ไป(ประกาศที่นครมักกะฮ์)พร้อมกับท่านอบูบักร อัศศิดดีก เมื่อเขาเดินทางมาถึงที่ซุลหุลัยฟะฮ์  
อัฟฟานเล่าว่า  ท่านนบี(ศ)กล่าวว่า : ไม่มีใครจะทำหน้าที่ประกาศซูเราะฮ์นั้นแทนฉันได้ นอกจากตัวฉัน หรือชายที่มาจากอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน
แล้วท่านได้ส่งซูเราะฮ์บะรออะฮ์ไป(ประกาศที่นครมักกะฮ์)พร้อมกับท่านอะลี (เพื่อนำไปประกาศแก่บรรดาฮุจญาจญ์)

حَدَّثَنَا عَفَّانُ حَدَّثَنَا حَمَّادٌ قَالَ أَخْبَرَنَا سِمَاكُ بْنُ حَرْبٍ عَنْ أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ
أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بَعَثَ بِبَرَاءَةٌ مَعَ أَبِي بَكْرٍ إِلَى أَهْلِ مَكَّةَ قَالَ ثُمَّ دَعَاهُ فَبَعَثَ بِهَا عَلِيًّا قَالَ لَا يُبَلِّغُهَا إِلَّا رَجُلٌ مِنْ أَهْلِي

อัฟฟานจาก→ฮัมมาด บินสะละมะฮ์จาก →สิม๊าก บินหัรบ์จาก→ท่านอะนัสบิมาลิกเล่าว่า :

ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ได้ส่งซูเราะฮ์บะรออะฮ์ไปพร้อมกับท่านอบูบักร(เอาไปประกาศ)แก่ชาวเมืองมักกะฮ์  
ต่อมาท่านนบี(ศ)เรียกเขากลับมา แล้วส่งซูเราะฮ์บะรออะฮ์ไปกับท่านอะลี  ท่านกล่าวว่า ไม่มีใครจะทำหน้าที่ประกาศซูเราะฮ์นั้นได้ นอกจากชายที่มาจากครอบครัวของฉัน

ดูมุสนัดอิหม่ามอะหมัด  หะดีษ 12737 , 13508

เป็นสายรายงานเดียวกันกับที่ท่านติรมิซีและเชคอัลบานีให้การรับรองว่า ฮาซัน(ดี)




เชคชุเอบ อัลอัรนะอูฏี วิจารณ์หะดีษสองบทในมุสนัดอะหมัดว่า ดออีฟ


قال الشيخ شعيب الأرنؤوط : إسنادُهُ ضَعِيْفٌ لنكارة متنه سماك بن حرب ليس بذاك القوي

เชคชุเอบกล่าวว่า สายรายงานของมัน  ดออีฟ เพราะตัวบทหะดีษนั้นมุงกัร (และนักรายงานที่ชื่อ) สิม๊าก บินหัรบ์นั้นไม่แข็งแรงในการรายงาน


วิจารณ์ทัศนะของเชคชุเอบ

การที่เชคชุเอบออกมาวิจารณ์ว่า หะดีษทั้งสองที่อิหม่ามอะหมัดบันทึกนั้น ดออีฟ  ต้องถือผิดพลาดมากๆเพราะว่า


1.ท่านติรมิซีกับเชคอัลบานีวิจารณ์ว่า สะนัดหะดีษนี้ " ฮาซัน (ดี) " เพราะฉะนั้นสองคะแนนเสียง ย่อมมีน้ำหนักกว่าเชคชุเอบเพียงคนเดียว

2.อิบนุหะญัร รับรองว่า สะนัดหะดีษที่อิหม่ามอะหมัดบันทึกนั้น ฮาซัน  

وَأَخْرَجَ أَحْمَدُ بِسَنَدٍ حَسَن عَنْ أَنَس \\\" أَنَّ النَّبِيّ صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بَعَثَ بِبَرَاءَةٍ مَعَ أَبِي بَكْر ، فَلَمَّا بَلَغَ ذَا الْحُلَيْفَةِ قَالَ : لَا يُبَلِّغُهَا إِلَّا أَنَا أَوْ رَجُل مِنْ أَهْل بَيْتِي ، فَبَعَثَ بِهَا مَعَ عَلِيّ
فتح الباري لابن حجر ج 13 ص 88 ح 4289

อิบนุหะญัรกล่าวว่า ท่านอะหมัดได้นำออกรายงานด้วยสายรายงานที่ฮาซัน(ดี) รายงานจากท่านอะนัสว่า  ท่านนบี(ศ)ได้ส่งซูเราะฮ์บะรออะฮ์ไปพร้อมกับท่านอบูบักร เมื่อเขาเดินทางมาถึงที่ซุลหุลัยฟะฮ์  ท่านนบี(ศ)กล่าวว่า : ไม่มีใครจะทำหน้าที่ประกาศซูเราะฮ์นั้น นอกจากตัวฉันหรือชายที่มาจากอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน แล้วท่านได้ส่งซูเราะฮ์บะรออะฮ์ไปพร้อมกับท่านอะลี ( ดูฟัตฮุลบานี เล่ม 13 : 88 หะดีษ 4289 ) ฉะนั้นคำวิจารณ์ของเชคชุเอบก็ค้านกับทัศนะของท่านอิบนุหะญัรอีกคนหนึ่งรวมเป็นสามคนแล้ว

3.มุสลิมบินหัจญ๊าจ ยอมรับว่า รายงานของสิม๊าก เศาะหิ๊หฺ  รายงานหะดีษของสิม๊ากบินหัรบ์ถูกบันทึกไว้ในเศาะหิ๊หฺมุสลิมประมาณ 37 บท
เช่นหะดีษที่  557,558,1007,1055,1140,1400,1435,1557,2041,2282   เป็นต้น  ซึ่งนักวิชาการโดยส่วนมากยอมรับว่า เศาะหิ๊หฺมุสลิมเป็นตำราหะดีษที่มีสายรายงานถูกต้อง
แต่เชคชุเอบกลับกล่าวว่า " สิม๊าก บินหัรบ์" มีสถานะไม่แข็งแรง  ซึ่งคำวิจารณ์ของเขาถือว่า ขัดแย้งกับท่านมุสลิมและทัศนะของอุละมาอ์โดยส่วนมาก

4.หะดีษที่ท่านนบี(ศ)มอบหน้าที่ให้ท่านอะลีนำซูเราะฮ์เตาบะฮ์ไปประกาศแก่ชาวมักกะฮ์ในปีฮ.ศ.ที่ 9 นี้มีบรรดามุหัดดิษได้บันทึกไว้ในตำราของพวกเขามากมายจนถึงขั้น " มุตะวาติร "  เพราะฉะนั้นทำไมเชคชุเอบจึงมองข้ามตำราอื่นๆที่เล่าว่าท่านนบี(ศ)มอบหน้าที่ให้ท่านอะลีนำซูเราะฮ์เตาบะฮ์ไปประกาศที่มักกะฮ์

5. ที่เรากล่าวว่า หะดีษนี้มีสถานะมุ " ตะวาติร "  เพราะเราพบว่ามีซอฮาบะฮ์ 12 คนได้รายงานว่า ท่านนบี(ศ)ได้มอบหน้าที่ให้ท่านอะลีนำซูเราะฮ์เตาบะฮ์ไปประกาศไม่ใช่ท่านอบูบักร   รายชื่อซอฮาบะฮ์ดังกล่าวคือ :
1.   อะลี บินอบีตอลิบ
2.   อบูบักร
3.   อิบนุอับบาส
4.   ญาบิร บินอับดุลลอฮ์อัลอันศอรี
5.   อะนัสบินมาลิก
6.   อบู สะอีดอัลคุดรี
7.   สะอัด บินอบีวักกอศ
8.   อบูฮุร็อยเราะฮ์
9.   อับดุลลอฮ์ บินอุมัร
10.   ฮับชี บินญุนาดะฮ์
11.   อิมรอน บินฮุศ็อยนฺ
12.   อบูซัร อัลฆ็อฟฟารี


ส่วนตัวบทหะดีษทั้งสิบที่ซอฮาบะฮ์เล่า ท่านสามารถเปิดอ่านได้ที่เวบนี้
http://www.haydarya.com/maktaba_moktasah/3/book_15/sorat_baraaha.html


ส่วนเหตุผลต่างๆเกี่ยวกับหะดีษนี้ท่านสามารถศึกษาวิจัยได้ที่เวบนี้
http://www.rafed.net/books/olom-quran/mafahim-al-quran-7/48.html


สรุปหะดีษนี้จึงอยู่ในระดับ" มุตะวาติร " เพราะมีซอฮาบะฮ์มากกว่าเกิน 9 คนรายงาน

เพราะฉะนั้นคำวิจารณ์ของเชคชุเอบอัรนะอูฏีจึงตกไป  

แต่ถ้าถามว่าทำไมเชคชุเอบต้องออกมาวิจารณ์เหะดีษมุตะวาติรว่าดออีฟ ?

คำตอบคือ มันคงเป็นเหตุผลเดียวกันกับกลุ่มชนเก้ากลุ่มที่มาด่าทอท่านอะลีให้ท่านอิบนุอับบาสฟัง ด้วยความอคติที่มีต่อฟะดีลัตของท่านอิม่ามอะลีแค่นั้นเอง


คำถาม  ทำไมท่านอิบนุอับบาสจึงนับว่าเรื่องนี้คือฟะดีลัตประการหนึ่งของอิม่ามอะลี  ?

ตอบ
หนึ่ง- เพราะญิบรออีลลงมาบอกท่านนบี(ศ)ว่า ถ้าท่านนบี(ศ)ไม่ไปประกาศซูเราะฮ์เตาบะฮ์ด้วยตัวเอง  คนที่เหมาะสมที่สุดที่จะทำหน้าที่ประกาศซูเราะฮืนี้แทนท่านได้คือ อะลี  

สอง- คำพูดของท่านนบี(ศ)ได้ทิ่มแทงใจดำคนในยุคนั้นจนมาถึงคนในยุคนี้ว่า

لَا يُبَلِّغُهَا إِلَّا أَنَا أَوْ رَجُلٌ مِنْ أَهْلِ بَيْتِي فَبَعَثَ بِهَا مَعَ عَلِيٍّ

ไม่มีใครจะทำหน้าที่ประกาศซูเราะฮ์นั้น นอกจากตัวฉันหรือชายที่มาจากอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน แล้วท่านได้ส่งซูเราะฮ์บะรออะฮ์ไปพร้อมกับท่านอะลี

หรือ

لاَ يَنْبَغِى لأَحَدٍ أَنْ يُبَلِّغَ هَذَا إِلاَّ رَجُلٌ مِنْ أَهْلِى  فَدَعَا عَلِيًّا فَأَعْطَاهُ إِيَّاهَا.

ไม่สมควรที่ใครคนใดจะทำหน้าที่ประกาศซูเราะฮ์นี้ นอกจากชายที่มาจากครอบครัวของฉัน แล้วท่านได้เรียกอะลีมาหา ดังนั้นท่านอบูบักรได้มอบซูเราะฮ์บะรออะฮ์ให้ท่านอะลี(นำไปประกาศ)


อย่างไรก็ตามท่านต้องทราบว่า ท่านนบี(ศ)ไม่เคยพูดหรือทำสิ่งใดตามนัฟซูตัวเอง แต่ท่านทำตามวะห์ยูเท่านั้น ดังที่อัลลอฮ์ ตะอาลาตรัสว่า

وَمَا يَنْطِقُ عَنِ الْهَوَى  إِنْ هُوَ إِلَّا وَحْيٌ يُوحَى

และเขา(มุฮัมมัด)มิได้พูดตามอารมณ์  มิใช่อื่นใดนอกจากเป็นวะห์ยูที่ถูกประทานลงมา
บท 53 : 3 -4

มีต่อ
ชื่อ: Re:วิจัย ความหมายของ “ เมาลา “ และ “ วะลี “
โดย: L-umar เมื่อ พฤศจิกายน 06, 2009, 11:33:40 ก่อนเที่ยง


หลักฐานที่ยืนยันว่า  ท่านอบูบักรเดินทางไปไม่ถึงนครมักกะฮ์  แต่คนที่นำซูเราะฮ์เตาบะฮ์ไปประกาศคือท่านอะลี  


อัน นะซาอี รายงาน

أَخْبَرَناَ الْعَبَّاسُ بْنُ مُحَمَّدٍ الدُّورِىُّ قَالَ حَدَّثَنَا أَبُو نُوحٍ وَاسْمُهُ عَبْدُ الرَّحْمَنِ بْنُ غَزْوَانَ قُرَادٌ عَنْ يُونُسَ بْنِ أَبِي إِسْحَاقَ عَنْ أَبِي إِسْحَاقَ عَنْ زَيْدِ بْنِ يُثَيْعٍ عَنْ عَلِيٍّ أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ بَعَثَ بِبَرَاءَةٌ إِلَى أَهْلِ مَكَّةَ مَعَ أَبِي بَكْرٍ ثُمَّ أَتْبَعَهُ بِعَلِيٍّ فَقاَلَ لُهُ خُذِ الْكِتاَبَ فَأمْضِ بِهِ إِلَى أَهْلِ مَكَّةَ قاَلَ فَلَحِقْتُهُ فَأَخَذْتُ الْكُتُبَ مِنْهُ فَأنْصَرَفَ أَبُو بَكْرٍ وَهُوَ كَئِيْبٌ فَقاَلَ ياَ رَسُوْلَ اللهِ أُنْزِلَ فِيَّ شَيْءٌ قاَلَ لاَ إِلاَّ إِنِّيْ أُمِرْتُ أَن أُبَلِّغَهُ أَناَ أَوْ رَجُلٌ مِنْ أَهْلِ بَيْتِيْ


อัลอับบาส บินมุฮัมมัด อัด-ดูรี เล่าให้เราฟัง เขากล่าวว่า อบูนู๊หฺ ชื่อของเขาคือ อับดุลเราะห์มาน บินฆ็อซวาน กุรอด เล่าให้เราฟัง จากยูนุส บินอบีอิสฮ๊าก จากอบีอิสฮ๊าก จากเซด บินยุษัยอ์ จากท่านอะลีเล่าว่า :


แท้จริงท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้ส่งซูเราะฮ์บะรออะฮ์ไปยังชาวเมืองมักกะฮ์กับท่านอบูบักร  
ต่อมาท่านได้ให้ท่านอะลีออกตามไปหาท่านอบูบักร โดยท่านได้กล่าวกับท่านอะลีว่า : ท่านจงนำสาส์นนั้น(จากอบูบักรคืนมา) แล้วจงเดินทางไปพร้อมกับสาส์นนั้น(เพื่อประกาศแก่)ชาวเมืองมักกะฮ์

ท่านเซดบินยุษัยอ์เล่าว่า :
ท่านอะลีได้ตามไปพบท่านอบูบักรแล้วขอเอาสาส์นจากเขาคืน  แล้วท่านอบูบักรได้กลับมา(ยังนครมะดีนะฮ์)ในสภาพเสียใจ   เขากล่าวว่า โอ้ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) : มีสิ่งใดประทานลงมาเกี่ยวกับตัวฉันกระนั้นหรือ ? ท่านนบี(ศ)ตอบว่า : ไม่มีสิ่งใดหรอก นอกจากว่า ฉันได้รับบัญชาว่า จะต้องประกาศ(สาส์นนั้น)ด้วยตัวเอง หรือไม่ก็ให้ชายที่มาจากอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน(ประกาศ)

สถานะหะดีษ  : เศาะหิ๊หฺ  

ดูหนังสือค่อซออิซอิม่ามอะลี โดยนะซาอี หะดีษที่ 71 ฉบับตรวจทานโดยเชคอบูอิสฮ๊าก อัลฮุวัยนี


ท่านสามารถโลดหนังสือตะห์กี๊กหะดีษค่อซออิซ อิม่ามอะลี โดยนะซาอี ได้ที่เวบ
http://mareb.org/showthread-t_4016.html


หะดีษบทนี้ทำให้เราเข้าใจชัดเจนว่า  หลังจากท่านอบูบักรมอบซูเราะฮ์เตาบะฮ์ให้ท่านอะลีแล้ว   ท่านอบูบักรด้วยความน้อยใจจึงเดินทางกลับเข้ามาที่นครมะดีนะฮ์ เขาได้เข้ามาสอบถามกับท่านรอซูล(ศ)ว่า  

มีเหตุอันใดหรือ ทำไมจึงต้องยกเลิกภารกิจที่มอบให้เขาทำ    ?

ท่านรอซูล(ศ)ตอบท่านอบูบักรว่า :
ไม่มีสิ่งใดหรอกลงมาตำหนิท่านดอก แต่ว่า ฉันได้รับบัญชาว่า จะต้องประกาศ(สาส์นนั้น)ด้วยตัวเอง หรือไม่ก็ให้ชายที่มาจากอะฮ์ลุลบัยต์ของฉันประกาศ

เราไม่ต้องการตำหนิซอฮาบะฮ์คนหนึ่งและยกย่องอีกคนหนึ่ง

แต่เรากำลังพิสูจน์ว่า  คนที่นำซูเราะฮ์เตาบะฮ์ไปประกาศที่มักกะฮ์คือ ท่านอะลี  ไม่ใช่ท่านอบูบักรตามที่หะดีษกำกับไว้

มีต่อ
ชื่อ: Re:วิจัย ความหมายของ “ เมาลา “ และ “ วะลี “
โดย: L-umar เมื่อ พฤศจิกายน 06, 2009, 02:47:32 หลังเที่ยง

ท่านอบูบักรยืนยันว่า  ได้ส่งซูเราะฮ์เตาบะฮ์คืนให้กับท่านอะลี  


อิหม่ามอะหมัด รายงาน


حَدَّثَنَا وَكِيعٌ قَالَ قَالَ إِسْرَائِيلُ قَالَ أَبُو إِسْحَاقَ عَنْ زَيْدِ بْنِ يُثَيْعٍ  عَنْ أَبِي بَكْرٍ  :
أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بَعَثَهُ بِبَرَاءَةٌ لِأَهْلِ مَكَّةَ لَا يَحُجُّ بَعْدَ الْعَامِ مُشْرِكٌ وَلَا يَطُوفُ بِالْبَيْتِ عُرْيَانٌ وَلَا يَدْخُلُ الْجَنَّةَ إِلَّا نَفْسٌ مُسْلِمَةٌ مَنْ كَانَ بَيْنَهُ وَبَيْنَ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مُدَّةٌ فَأَجَلُهُ إِلَى مُدَّتِهِ وَاللَّهُ بَرِيءٌ مِنْ الْمُشْرِكِينَ وَرَسُولُهُ قَالَ فَسَارَ بِهَا ثَلَاثًا ثُمَّ قَالَ لِعَلِيٍّ رَضِيَ اللَّهُ تَعَالَى عَنْهُ الْحَقْهُ فَرُدَّ عَلَيَّ أَبَا بَكْرٍ وَبَلِّغْهَا أَنْتَ قَالَ فَفَعَلَ قَالَ فَلَمَّا قَدِمَ عَلَى النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَبُو بَكْرٍ بَكَى قَالَ يَا رَسُولَ اللَّهِ حَدَثَ فِيَّ شَيْءٌ قَالَ مَا حَدَثَ فِيكَ إِلَّا خَيْرٌ وَلَكِنْ أُمِرْتُ أَنْ لَا يُبَلِّغَهُ إِلَّا أَنَا أَوْ رَجُلٌ مِنِّي


วะกี๊อฺ เล่าให้เราฟัง เขากล่าวว่า  อิสรออีลเล่าว่า  อบูอิสฮ๊ากเล่าว่า  เซด บินยุษัยอ์เล่าว่า ท่านอบูบักร เล่าว่า :

แท้จริงท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ) ได้ส่งเขาออกไปพร้อมกับซูเราะฮ์บะรออะฮ์ เพื่อไปประกาศแก่ชาวเมืองมักกะฮ์ว่า    : หลังจากปีนี้เป็นต้นไป  ห้ามมุชริก(ผู้สักการะเจว็ด)เข้ามาประกอบพิธีหัจญ์อีก และห้ามคนเปลือยกายเข้ามาต่อวาฟที่บัยตุลลอฮ์อีก และจะไม่ได้เข้าสวรรค์ ยกเว้นชีวิต(ของ)ผู้เข้ารับอิสลาม
เป็น(พันธะสัญญา)ระหว่างบุคคล(มุชริก)กับท่านรอซูล(ศ)ในช่วงเวลาหนึ่ง ดังนั้นระยะเวลาของเขาจะดำเนินไปจนถึงวาระของเขา(คือหมดเวลา) และ(นี่คือประกาศ)การพ้นข้อผูกพันธ์ใดๆ จากอัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์แด่บรรดาผู้สักการะเจว็ด (มุชริกีน)

แล้วท่านอบูบักรได้ออกเดินทางไปพร้อมกับสาส์นนั้น(มุ่งหน้าสู่นครมักกะฮ์)

ต่อมาท่านนบี(ศ)ได้กล่าวกับท่านอะลีว่า  จงตามไปพบอบูบักรแล้วเอาสาส์นจากอบูบักรคืนมาให้ฉัน  และท่านจงไปประกาศสาส์นนั้นด้วยตัวท่านเอง  แล้วเขา(อะลี)ได้ปฏิบัติตามนั้น

เมื่อท่านอบูบักรได้กลับเข้ามาพบท่านนบี (ที่มะดีนะฮ์) เขาร้องไห้แล้วกล่าวว่า โอ้ท่านรอซูลุลลอฮ์  มีสิ่งใดเกิดขึ้นกับฉันหรือ ?
ท่านนบีกล่าวว่า : ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นกับท่านดอก นอกจากความดี แต่ว่า ฉันได้รับคำสั่งว่า ไม่ให้ใครประกาศสาส์นนั้น นอกจากตัวฉัน หรือชายที่มาจากตัวฉัน  

อ้างอิงจาก

มุสนัดอิหม่ามอะหมัด หะดีษที่ 4



อบู ยะอ์ลา ( เกิดฮ.ศ. 211 – 307 ) รายงาน

حَدَّثَنَا إِسْحَاقُ بْنُ إِسْمَاعِيلَ ، حَدَّثَنَا وَكِيعٌ ، حَدَّثَنَا إِسْرَائِيلُ ، عَنْ أَبِي إِسْحَاقَ ، عَنْ زَيْدِ بْنِ يُثَيْعٍ ، عَنْ أَبِي بَكْرٍ الصِّدِّيقِ ،
النَّبِيَّ صلى الله عليه وسلم بَعَثَهُ بِبَرَاءَةَ إِلَى أَهْلِ مَكَّةَ : لا يَحُجَّ بَعْدَ الْعَامِ مُشْرِكٌ ، وَلا يَطُوفَنَّ بِالْبَيْتِ عُرْيَانُ ، وَلا يَدْخُلُ الْجَنَّةَ إِلا نَفْسٌ مُسْلِمَةٌ ، وَمَنْ كَانَ بَيْنَهُ وَبَيْنَ رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم مُدَّةٌ فَأَجَلُهُ إِلَى مُدَّتِهِ ، وَاللَّهُ بَرِيءٌ مِنَ الْمُشْرِكِينَ وَرَسُولُهُ ، قَالَ : فَسَارَ بِهَا ثَلاثًا ، ثُمَّ قَالَ لِعَلِيٍّ : الْحَقْهُ ، فَرُدَّ عَلَيَّ أَبَا بَكْرٍ وَبَلِّغْهَا ، قَالَ : فَفَعَلَ ، قَالَ : فَلَمَّا قَدِمَ عَلَى النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم أَبُو بَكْرٍ بَكَى ، وَقَالَ : يَا رَسُولَ اللَّهِ ، أَحَدَثَ فِيَّ شَيْءٌ ؟ قَالَ ، ثُمَّ قَالَ : مَا حَدَثَ فِيكَ إِلا خَيْرٌ ، إِلا أَنِّي أُمِرْتُ بِذَلِكَ : أَنْ لا يُبَلِّغَ إِلا أَنَا أَوْ رَجُلٌ مِنِّي

قال حسين سليم أسد : رجاله ثقات

الكتاب : مسند أبي يَعلى  ج 1 ص 100 ح 104
المؤلف : أحمد بن علي بن المثنى أبو يعلى الموصلي التميمي
الأحاديث مذيلة بأحكام حسين سليم أسد عليها


วะกี๊อฺ เล่าให้เราฟัง เขากล่าวว่า  อิสรออีลเล่าว่า  อบูอิสฮ๊ากเล่าว่า  เซด บินยุษัยอ์เล่าว่า ท่านอบูบักร เล่าว่า :

แท้จริงท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ) ได้ส่งเขาออกไปพร้อมกับซูเราะฮ์บะรออะฮ์ เพื่อไปประกาศแก่ชาวเมืองมักกะฮ์ว่า    : หลังจากปีนี้เป็นต้นไป  ห้ามมุชริก(ผู้สักการะเจว็ด)เข้ามาประกอบพิธีหัจญ์อีก และห้ามคนเปลือยกายเข้ามาต่อวาฟที่บัยตุลลอฮ์อีก และจะไม่ได้เข้าสวรรค์ ยกเว้นชีวิต(ของ)ผู้เข้ารับอิสลาม
เป็น(พันธะสัญญา)ระหว่างบุคคล(มุชริก)กับท่านรอซูล(ศ)ในช่วงเวลาหนึ่ง ดังนั้นระยะเวลาของเขาจะดำเนินไปจนถึงวาระของเขา(คือหมดเวลา) และ(นี่คือประกาศ)การพ้นข้อผูกพันธ์ใดๆ จากอัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์แด่บรรดาผู้สักการะเจว็ด (มุชริกีน)  แล้วท่านอบูบักรได้ออกเดินทางไปพร้อมกับสาส์นนั้น(มุ่งหน้าสู่นครมักกะฮ์) ต่อมาท่านนบี(ศ)ได้กล่าวกับท่านอะลีว่า  จงตามไปพบอบูบักรแล้วเอาสาส์นจากอบูบักรคืนมาให้ฉัน  และท่านจงไปประกาศสาส์นนั้นด้วยตัวท่านเอง  แล้วเขา(อะลี)ได้ปฏิบัติตามนั้น  เมื่อท่านอบูบักรได้กลับเข้ามาพบท่านนบี (ที่มะดีนะฮ์) เขาร้องไห้แล้วกล่าวว่า โอ้ท่านรอซูลุลลอฮ์  มีสิ่งใดเกิดขึ้นกับฉันหรือ ?
ท่านนบีกล่าวว่า : ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นกับท่านดอก นอกจากความดี แต่ว่า ฉันได้รับคำสั่งว่า ไม่ให้ใครประกาศสาส์นนั้น นอกจากตัวฉัน หรือชายที่มาจากตัวฉัน

เชคฮูเซน สะลีม อะสัด กล่าวว่า

قال حسين سليم أسد : رجاله ثقات

บรรดานักรายงานของหะดีษ (บทนี้ )  เชื่อถือได้ในการรายงาน

ดูมุสนัด อบียะอ์ลา   หะดีษที่  104   ฉบับตรวจทานโดย เชคฮูเซน สะลีม อะสัด



สอง -  อัลฮัยษะมี ( เกิดฮ.ศ. 735 – 807 )

حَدَّثَنَا عَبْدُ اللَّه، حَّدَثَنِى أَبِى، حَدَّثَنَا وَكِيعٌ، قَالَ: قَالَ إِسْرَائِيلُ: قَالَ أَبُو إِسْحَاقَ: عَنْ زَيْدِ بْنِ يُثَيْعٍ، عَنْ أَبِى بَكْرٍ

أَنَّ النَّبِىَّ صلى الله عليه وسلم بَعَثَهُ بِبَرَاءَةٌ لأَهْلِ مَكَّةَ: \\\"لاَ يَحُجُّ بَعْدَ الْعَامِ مُشْرِكٌ، وَلاَ يَطُوفُ بِالْبَيْتِ عُرْيَانٌ، وَلاَ يَدْخُلُ الْجَنَّةَ إِلاَّ نَفْسٌ مُسْلِمَةٌ مَنْ كَانَ بَيْنَهُ، وَبَيْنَ رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم مُدَّةٌ فَأَجَلُهُ إِلَى مُدَّتِهِ، وَاللَّهُ بَرِىءٌ مِنَ الْمُشْرِكِينَ وَرَسُولُهُ. قَالَ: فَسَارَ بِهَا ثَلاثًا ثُمَّ قَالَ لِعَلِىٍّ عليه السلام: \\\"الْحَقْهُ، فَرُدَّ عَلَىَّ أَبَا بَكْرٍ وَبَلِّغْهَا أَنْتَ، قَالَ: فَفَعَلَ، قَالَ: فَلَمَّا قَدِمَ عَلَى النَّبِىِّ صلى الله عليه وسلم أَبُو بَكْرٍ بَكَى، قَالَ: يَا رَسُولَ اللَّهِ، حَدَثَ فِىَّ شَىْءٌ، قَالَ: \\\"مَا حَدَثَ فِيكَ إِلاَّ خَيْرٌ، وَلَكِنْ أُمِرْتُ أَنْ لا يُبَلِّغَهُ إِلاَّ أَنَا أَوْ رَجُلٌ مِنِّى.
قُلْتُ :  فى الصحيح بعضه.
الكتاب : غاية المقصد فى زوائد المسند  ج 1 ص 2145
المؤلف : للحافظ علي بن أبي بكر بن سليمان الهيثمي


วะกี๊อฺ เล่าให้เราฟัง เขากล่าวว่า  อิสรออีลเล่าว่า  อบูอิสฮ๊ากเล่าว่า  เซด บินยุษัยอ์เล่าว่า ท่านอบูบักร เล่าว่า :

แท้จริงท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ) ได้ส่งเขาออกไปพร้อมกับซูเราะฮ์บะรออะฮ์ เพื่อไปประกาศแก่ชาวเมืองมักกะฮ์ว่า : หลังจากปีนี้เป็นต้นไป  ห้ามมุชริก(ผู้สักการะเจว็ด)เข้ามาประกอบพิธีหัจญ์อีก และห้ามคนเปลือยกายเข้ามาต่อวาฟที่บัยตุลลอฮ์อีก และจะไม่ได้เข้าสวรรค์ ยกเว้นชีวิต(ของ)ผู้เข้ารับอิสลาม เป็น(พันธะสัญญา)ระหว่างบุคคล(มุชริก)กับท่านรอซูล(ศ)ในช่วงเวลาหนึ่ง ดังนั้นระยะเวลาของเขาจะดำเนินไปจนถึงวาระของเขา(คือหมดเวลา) และ(นี่คือประกาศ)การพ้นข้อผูกพันธ์ใดๆ จากอัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์แด่บรรดาผู้สักการะเจว็ด (มุชริกีน)  แล้วท่านอบูบักรได้ออกเดินทางไปพร้อมกับสาส์นนั้น(มุ่งหน้าสู่นครมักกะฮ์)
ต่อมาท่านนบี(ศ)ได้กล่าวกับท่านอะลีว่า  จงตามไปพบอบูบักรแล้วเอาสาส์นจากอบูบักรคืนมาให้ฉัน  และท่านจงไปประกาศสาส์นนั้นด้วยตัวท่านเอง  แล้วเขา(อะลี)ได้ปฏิบัติตามนั้น   เมื่อท่านอบูบักรได้กลับเข้ามาพบท่านนบี (ที่มะดีนะฮ์) เขาร้องไห้แล้วกล่าวว่า โอ้ท่านรอซูลุลลอฮ์  มีสิ่งใดเกิดขึ้นกับฉันหรือ ?
ท่านนบีกล่าวว่า : ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นกับท่านดอก นอกจากความดี แต่ว่า ฉันได้รับคำสั่งว่า ไม่ให้ใครประกาศสาส์นนั้น นอกจากตัวฉัน หรือชายที่มาจากตัวฉัน  


อ้างอิงจาก

ฆอยะตุลมักศอด ฟีซะวาอิดิลมุสนัด  เล่ม 1 : 2145

อัลฮัยษะมีกล่าวว่า  อยู่ในเศาะหิ๊หฺ  




เซด บินยุษัยอ์   ตาบิอี  การรายงานหะดีษ  เชื่อถือได้  จริงหรือ ???


เชคชุเอบอัลอัรนะอูฏี กล่าวว่า

قال الشيخ شعيب الأرنؤوط : إسناده ضعيف رجاله ثقات رجال الشيخين غير زيد بن يثيع

อิสนาด(สายรายงาน)ของหะดีษนี้  " ดออีฟ "   บรรดานักรายงานหะดีษนี้เชื่อถือได้(หมด) เป็นนักรายงานของเชคทั้งสอง(บุคอรี/มุสลิม)  ยกเว้น " เซด บินยุษัยอ์ "  ( หมายถึงเซดไม่ษิเกาะฮ์ ผู้แปล.)

อ้างอิงจาก

มุสนัดอิหม่ามอะหมัด หะดีษที่ 4 ฉบับตรวจทานโดยเชคชุเอบ


ภาพเชคชุเอบอัลอัรนะอูฏี
http://arabia-it.com/images/News/arnaaot2.jpg



แต่เชคมุฮัมมัด นาซิรุดดีน อัลบานี ท่านกลับวิจารณ์ว่า


قال الألباني في \\\"السلسلة الصحيحة  ج 2 ص 487 ح 824

زَيْدُ بْنُ يُثَيْعٍ وَ هُوَ ثِقَةٌ

เซด บินยุษัยอ์  เขาษิเกาะฮ์  (คือเชื่อถือได้ในการรายงานหะดีษ)

อ้างอิงจาก

ซิลซิละตุซ – ซ่อฮีฮะฮ์  เล่ม 2 : 487 หะดีษ 824

ภาพเชคมุฮัมมัด นาซิรุดดีน อัลบานี
http://talal33.jeeran.com/t_2_albani.jpg



คำวิจารณ์ที่ว่า เซด บินยุษัยอ์  เชื่อถือไม่ได้ของเชคชุเอบ อัลอัรนะอูฏ ยังไปค้านกับทัศนะของอุละมาอ์ผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์อิลมุลริญาลอีกหลายท่านดังนี้


หนึ่ง- อัลอิจญ์ลี กล่าวว่า

زيد بن يثيع كوفى ثقة تابعي
เซด บินยุษัยอ์   ชาวกูฟะฮ์  : ษิเกาะฮ์ (เชื่อถือได้) เป็นตาบิอี
ดูอัษ ษิกอต  โดยอัลอิจญ์ลี อันดับที่ 535

สอง – อิบนุหิบบาน นับว่า  เซด บินยุษัยอ์ เป็นหนึ่งจากนักรายงานที่เชื่อถือได้
زيد بن يثيع الهمداني كوفى يروى عن على  

ดูอัษ ษิกอต  โดยอิบนิหิบบาน อันดับที่ 2763


สาม – อิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานี กล่าวว่า

زيد بن يثيع الهمداني الكوفي ثقة

เซด บินยุษัยอ์ อัลฮะมาดานี อัลกูฟี  เชื่อถือได้  

ดู ตักรีบุต ตะฮ์ซีบ   โดยอิบนิหะญัร อันดับที่ 2160


เมื่อทัศนะของเชคชุเอบเพียงคนเดียว วิจารณ์ค้านกับทัศนะของ

1.   เชคอัลบานี
2.   เชคฮูเซน สะลีมอะสัด
3.   อิบนิหิบบาน
4.   อัจอิจญ์ลีและ
5.   อิบนิหะญัร ที่กล่าวว่า  ท่านเซด บินยุษัยอ์  เชื่อถือได้

เราจึงขอถามว่า  พวกท่านยังจะตัดสินว่า  มุสนัดอิหม่ามอะหมัด หะดีษที่ 4   นั้น ดออีฟ อีกหรือ ?


หากท่านเชื่อคำวิจารณ์ของเชคชุเอบ อัลอัรนะอูฏ    ผมว่า ท่านก็คงเป็นอีกคนหนึ่งที่มีอคติต่อฟะดีลัตของท่านอะลี เหมือนเช่นคนรุ่นก่อนๆและเช่นเชคชุเอบนั่นเอง ทั้งๆที่มีอุละมาอ์ห้าคนรับรองว่า สะนัดนี้ถูกต้อง.


มีต่อ...
ชื่อ: Re:วิจัย ความหมายของ “ เมาลา “ และ “ วะลี “
โดย: L-umar เมื่อ พฤศจิกายน 06, 2009, 04:07:58 หลังเที่ยง

อัลลอฮ์ ตะอาลาตรัสว่า


يُرِيدُونَ أَنْ يُطْفِئُوا نُورَ اللَّهِ بِأَفْوَاهِهِمْ وَيَأْبَى اللَّهُ إِلَّا أَنْ يُتِمَّ نُورَهُ وَلَوْ كَرِهَ الْكَافِرُونَ

พวกเขาต้องการเพื่อจะดับ " รัศมีของอัลลอฮ์ " ด้วยปากของพวกเขา และอัลลอฮ์นั้นไม่ทรงยินยอม นอกจากจะทรงให้รัศมีของพระองค์สมบูรณ์เท่านั้น และแม้ว่าบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาจะชิงชังก็ตาม

ซูเราะฮ์ อัต – เตาบะฮ์ : 32


ในขณะที่ท่านอิบนุอับบาส นับว่า การที่ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)มอบหมายให้ท่านอะลีนำซูเราะฮ์เตาบะฮ์ไปประกาศที่นครมักกะฮ์แทนท่านอบูบักรนั้น  คือ ฟะดีลัตหนึ่งของท่านอะลี  



แต่อัลบุคอรีกลับใช้กลเม็ดลดรัศมีของท่านอะลี ด้วยการดับฟะดีลัตของท่านอิม่ามอะลี อย่างแยบยลดังนี้

 
أَنَّ أَبَا هُرَيْرَةَ قَالَ بَعَثَنِى أَبُو بَكْرٍ فِى تِلْكَ الْحَجَّةِ فِى مُؤَذِّنِينَ يَوْمَ النَّحْرِ نُؤَذِّنُ بِمِنًى أَنْ لاَ يَحُجَّ بَعْدَ الْعَامِ مُشْرِكٌ ، وَلاَ يَطُوفَ بِالْبَيْتِ عُرْيَانٌ . قَالَ حُمَيْدُ بْنُ عَبْدِ الرَّحْمَنِ ثُمَّ أَرْدَفَ رَسُولُ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - عَلِيًّا ، فَأَمَرَهُ أَنْ يُؤَذِّنَ بِبَرَاءَةَ قَالَ أَبُو هُرَيْرَةَ فَأَذَّنَ مَعَنَا عَلِىٌّ فِى أَهْلِ مِنًى يَوْمَ النَّحْرِ لاَ يَحُجُّ بَعْدَ الْعَامِ مُشْرِكٌ ، وَلاَ يَطُوفُ بِالْبَيْتِ عُرْيَانٌ

อัลบุคอรีเล่าว่า :

แท้จริงท่านอบูฮูร็อยเราะฮ์เล่าว่า :  ท่านอบูบักรได้ส่งฉันไปในเทศกาลประกอบพิธีหัจญ์ในปีนั้นด้วย ในการเป็นผู้ทำหน้าที่ประกาศในวันเชือดกุรบ่าน  พวกเราประกาศ(สาส์น)ที่มินาว่า  นับหลังจากปีนี้เป็นต้นไป ห้ามมุชริก(ผู้ตั้งภาคี)มาทำหัจญ์อีก และห้ามคนเปลือยกายมาเดินต่อวาฟที่บัยตุลลอฮ์อีก

หุมัยด์บินอับดุลเราะห์มานเล่าว่า :
แล้วต่อมาท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้ส่งท่านอะลีมาสมทบ ท่านสั่งให้อะลีประกาศ(แก่ฮุจญ๊าจญ์)ด้วยซูเราะฮ์บะรออะฮ์  

ท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์เล่าว่า :
แล้วท่านอะลีได้ประกาศ(สาส์น)พร้อมกับพวกเรา แก่ชาวมินา ในวันเชือดว่า ห้ามมิให้มุชริก(ผู้ตั้งภาคี)มาทำหัจญ์อีก และห้ามคนเปลือยกายมาเดินต่อวาฟที่บัยตุลลอฮ์อีก

อ้างอิงจาก

เศาะหิ๊หฺบุคอรี  หะดีษที่  369


วิจารณ์ความไม่ชอบมาพากลของหะดีษนี้


1.   ข้ออ้างที่ว่า ท่านอบูบักรไปประกอบพิธีหัจญ์ในปีฮ.ศ.ที่ 9 นั้นโกหกชัดเจน  เพราะอิหม่ามอะหมัดและมุหัดดิษคนอื่นๆก่อนหน้านี้รายงานว่า  ท่านนบี(ศ)ได้ยกเลิกคำสั่งให้ท่านอบูบักรนำซูเราะฮ์เตาบะฮ์ไปประกาศและได้มอบหมายให้ท่านอะลีไปทำแทน  ส่วนท่านอบูบักรไม่ไปมักกะฮ์ แต่ได้ย้อนกลับมาพบท่านนบี(ศ)ที่มะดีนะฮ์   ฉะนั้นจะเป็นไปได้อย่างไร ที่ท่านอบูบักรจะไปเป็นอมีรุลหัจญ์ในครั้งนั้น

2.   บุคอรีเล่าว่า ท่านอบูบักรกับท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ได้ประกาศสาส์นนั้นไปแล้ว  ต่อมาท่านอะลีได้ตามมาสมทบช่วยประกาศสาส์นนั้นร่วมกับท่านทั้งสองอีกครั้งหนึ่ง     ราวกับบุคอรีลืมไปว่า ท่าน นบี(ศ)กล่าวชัดเจนว่า " ไม่มีใครจะทำหน้าที่ประกาศซูเราะฮ์นั้นแทนฉันได้ นอกจากตัวฉัน หรือชายที่มาจากอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน "  แล้วจะเป็นไปได้อย่างไรที่บุคคลทั้งสองกล้าชิงประกาศสาส์นของท่านนบี(ศ)ก่อนท่านอะลี เพราะทั้งสองไม่ได้รับมอบหมายให้ประกาศ

3.   การที่ท่านนบี(ศ)ปลดท่านอบูบักรออกจากหน้าที่ประกาศ และแต่งตั้งท่านอะลีให้ไปประกาศนั้น เป็นคำสั่งจากท่านญิบรออีล  ตามที่หะดีษเล่าไว้ ดังนั้นมันจึงเป็นพระประสงค์จากอัลลอฮ์โดยตรง

4.   ฝ่ายซุนนี่อาจแย้งว่า เป็นธรรมเนียมปกติของชาวอาหรับที่ต้องมอบหมายหน้าที่ให้ญาติสนิทไปประกาศพันธะหรือทำสัญญาแทน  ดังนั้นท่านนบี(ศ)จึงใช้ให้ท่านอะลีไปประกาศแทน  งั้นเราก็ขอถามว่า ทำไมท่านอบูบักรกับท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์จึงชิงประกาศสาส์นนั้นก่อนท่านอะลี ?  ในเมื่อท่านทั้งสองไม่ใช่ญาติสนิทของท่านนบี(ศ)  ซึ่งเห็นได้ชัดว่า ข้ออ้างของซุนนี่นี้ขัดแย้งกันเองและสับสน

5.   บรรดาผู้ที่รายงานหะดีษในลักษณะที่ว่า  มีซอฮาบะฮ์เช่นท่านอบูบักร หรือท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์นำซูเราะฮ์เตาบะฮ์ไปประกาศกับฮุจญ๊าจญ์ก่อนหน้าท่านอะลี   พวกเขามิได้มีจุดประสงค์อื่นใดเลย นอกจากต้องดับรัศมี ลดความประเสริฐของท่านอะลีที่ได้รับจากอัลลอฮ์และรอซูลเท่านั้นเอง

6.   และด้วยเหตุนี่ท่านอิบนุอับบาส จึงถือว่าเรื่องที่ท่านอะลีทำหน้าที่ประกาศซูเราะฮ์เตาบะฮ์ในฐานะตัวแทนท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)คือ  ฟะดีลัตประการหนึ่ง.  
ชื่อ: Re:วิจัย ความหมายของ “ เมาลา “ และ “ วะลี “
โดย: L-umar เมื่อ พฤศจิกายน 09, 2009, 01:08:30 หลังเที่ยง


ฟะดีลัตที่ สาม


ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า :

ช่วงเริ่มประกาศศาสนาอิสลามใหม่ๆ  ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ได้เชิญตระกูลของท่านมารัปทานอาหารร่วมกัน หลังจากทานอาหารเสร็จ  
ท่านนบี(ศ)ได้ถามบรรดาลุงๆของท่านว่า   คนใดในหมู่พวกท่านจะมาช่วยเหลือฉันทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮ์บ้าง ?

บรรดาลุงนบีมิได้ขานรับคำขอจากท่านนบี(ศ)เลยสักคน ยกเว้นท่านอะลีที่ลุกขึ้นกล่าวว่า   ฉันจะช่วยเหลือท่านทั้งดุนยาและอาคิเราะฮ์



ท่านอิบนุญะรีร อัฎฎ็อบรี(ฮ.ศ.224-310)

ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้และได้บันทึกรายละเอียดเอาไว้ในตำราของเขาดังนี้


ตำราอธิบายอัลกุรอ่านชื่อ ตัฟสีรฏ็อบรี

ดูซูเราะฮ์ที่ 26 อัช-ชุอะรออ์  อายะฮ์ที่ 214

حدثنا ابن حميد، قال: ثنا جرير، عن عمرو: أنه كان يقرأ:( وَأَنْذِرْ عَشِيرَتَكَ الأقْرَبِينَ ) ورهطك المخلصين.
قال: ثنا سلمة، قال: ثني محمد بن إسحاق، عن عبد الغفار بن القاسم، عن المنهال بن عمرو، عن عبد الله بن الحارث بن نوفل بن الحارث بن عبد المطلب، عن عبد الله بن عباس، عن عليّ بن أبي طالب: لما نزلت هذه الآية على رسول الله صلى الله عليه وسلم( وَأَنْذِرْ عَشِيرَتَكَ الأقْرَبِينَ ) دعاني رسول الله صلى الله عليه وسلم، فقال لي: \\\"يا عليُّ، إنَّ الله أمَرَنِي أنْ أُنْذِرْ عَشِيرَتِي الأقْرَبِين\\\"، قال: \\\"فضقت بذلك ذرعا، وعرفت أنى متى ما أنادهم بهذا الأمر أَرَ منهم ما أكره، فصمتُّ حتى جاء جبرائيل، فقال: يا محمد، إنك إلا تفعل ما تؤمر به يعذّبك ربك. فاصنع لنا صاعا من طعام، واجعل عليه رجل شاة، واملأ لنا عسا من لبن، ثم اجمع لي بني عبد المطلب، حتى أكلمهم، وأبلغهم ما أمرت به\\\"، ففعلت ما أمرني به، ثم دعوتهم له، وهم يومئذ أربعون رجلا يزيدون رجلا أو ينقصونه، فيهم أعمامه: أبو طالب، وحمزة، والعباس، وأبو لهب; فلما اجتمعوا إليه دعاني بالطعام الذي صنعت لهم، فجئت به. فلما وضعته تناول رسول الله صلى الله عليه وسلم حِذْية من اللحم فشقها بأسنانه، ثم ألقاها في نواحي الصحفة، قال: \\\"خذوا باسم الله\\\"، فأكل القوم حتى ما لهم بشيء حاجة، وما أرى إلا مواضع أيديهم; وايم الله الذي نفس علي بيده إن كان الرجل الواحد ليأكل ما قدمت لجميعهم، ثم قال: \\\"اسْقِ النَّاسَ\\\"، فجِئْتُهُمْ بذلك العس، فشربوا حتى رووا منه جميعا، وايم الله إن كان الرجل الواحد منهم ليشرب مثله; فلما أراد رسول الله صلى الله عليه وسلم أن يكلمهم، بدره أبو لهب إلى الكلام، فقال: لَهَدَّ ما سحركم به صاحبكم، فتفرّق القوم ولم يكلمهم رسول الله صلى الله عليه وسلم، فقال: \\\"الغد يا عليّ، إن هَذَا الرَّجُل قدْ سَبَقَنِي إلى ما
قَدْ سَمِعْتَ مِنَ القَوْلِ، فَتفرّق القوم قبلَ أنْ أُكَلِّمَهُمْ فأعِدَّ لَنا مِنَ الطَّعَامِ مِثْلَ الَّذِي صَنَعْتَ، ثُمَّ اجْمَعْهُمْ لِي\\\"، قال: ففعلت ثم جمعتهم، ثم دعاني بالطعام، فقرّبته لهم، ففعل كما فعل بالأمس، فأكلوا حتى ما لهم بشيء حاجة، قال: \\\"اسقهم\\\"، فجئتهم بذلك العس فشربوا حتى رووا منه جميعًا، ثم تكلم رسول الله صلى الله عليه وسلم، فقال: \\\"يا بَنِي عَبْدِ المُطَّلِبِ، إنِّي والله ما أعْلَمُ شابا فِي العَرَبِ جَاءَ قَوْمَهُ بأفْضَلَ ممَّا جئْتُكُمْ بِهِ، إنّي قَدْ جِئْتُكُمْ بِخَيْرِ الدُّنْيَا والآخِرَةِ، وَقَدْ أمَرَنِي الله أنْ أدْعُوكُمْ إلَيْهِ، فَأيُّكُمْ يُؤَازِرُني عَلى هَذَا الأمْرِ، عَلى أنْ يَكُونَ أخِي\\\"وكَذَا وكَذَا؟ قال: فأحجم القوم عنها جميعا، وقلت وإني لأحدثهم سنا، وأرمصهم عينا، وأعظمهم بطنا، وأخمشهم ساقا. أنا يا نبيّ الله أكون وزيرك، فأخذ برقبتي، ثم قال: \\\"إن هذا أخي\\\"وكذا وكذا، \\\"فاسمعوا له وأطيعوا\\\"، قال: فقام القوم يضحكون، ويقولون لأبي طالب: قد أمرك أن تسمع لابنك وتطيع!.
تفسير الطبري  ج 19 / ص 409

ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า  โอ้บนีอับดุลมุฏลิบ  ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ แท้จริงฉันไม่เคยรู้มาก่อนว่า จะมีชายหนุ่มคนใดในอาหรับได้นำมายังหมู่ชนของเขา ด้วยสิ่งที่ประเสริฐสุดมากไปกว่าสิ่งที่ฉันได้มันมาให้พวกท่าน  ฉันได้นำมายังพวกท่านด้วยความดีงามทั้งดุนยาและอาคิเราะฮ์ และอัลลอฮ์ ตะอาลาได้บัญชาให้ฉันเชิญชวนพวกท่านไปยังพระองค์
ดังนั้น(ขอถามว่า) พวกท่านคนใดจะช่วยเหลือฉันบนภารกิจนี้  โดยเขาจะได้มาเป็น" พี่น้องของฉัน  วะซีของฉัน และคอลีฟะฮ์ของฉัน(ภายหลังจากฉัน)ในหมู่พวกท่าน "   หมู่ชนนั้นได้ทยอยออกไปจากท่านทั้งหมด
(ท่านอะลี)เล่าว่า ตอนนั้นฉันอายุน้อยที่สุด...(ได้กล่าวว่า )  ฉันเอง โอ้ท่านนบีแห่งอัลลอฮ์ ฉันจะเป็นผู้ช่วยเหลือท่านบนภารกิจนั้น   ท่านนบีได้จับที่ต้นคอของฉันแล้วกล่าวว่า

บุคคลนี้คือ  " พี่น้องของฉัน  วะซีของฉัน และคอลีฟะฮ์ของฉัน(ภายหลังจากฉัน)ในหมู่พวกท่าน "  

ดังนั้นขอให้พวกท่านจงเชื่อฟังและปฏิบัติตามเขาเถิด

หมู่ชนนั้นลุกขึ้นไป พวกเขาหัวเราะ และกล่าวกับอบูตอลิบว่า  เขา(มุฮัมมัด)สั่งให้ท่านเชื่อฟังและปฏิบัติลูกชายของท่านเอง



ตำราหะดีษ ชื่อ  ตะฮ์ซีบุลอาษ้ารโดยอิบนุญะรีร  เล่ม 4 : 59  หะดีษที่  1368

حدثنا ابن حميد ، قال : حدثنا سلمة بن الفضل ، قال : حدثني محمد بن إسحاق ، عن عبد الغفار بن القاسم ، عن المنهال بن عمرو ، عن عبد الله بن الحارث بن نوفل بن الحارث بن عبد المطلب ، عن عبد الله بن عباس ، عن علي بن أبي طالب ، قال : قال رسول الله صلى الله عليه وسلم : يا بني عبد المطلب ، إنّي قَدْ جِئْتُكُمْ بِخَيْرِ الدُّنْيَا والآخِرَةِ، وَقَدْ أمَرَنِي الله أنْ أدْعُوكُمْ إلَيْهِ ، فَأيُّكُمْ يُؤَازِرُني عَلى هَذَا الأمْرِ عَلَى أَن يَكُوْنَ أَخِيْ ، وَوَصِيِّيْ ، وَخَلِيْفَتِيْ فِيْكُمْ ؟ قاَلَ : « فَأَحْجَمَ الْقَوْمُ عَنْهاَ جَمِيْعاً » وَقُلْتُ : أَناَ ياَ نَبِيَّ اللهِ ، أَكُوْنُ وَزِيْرَكَ عَلَيْهِ ، فأخذ برقبتي ، وقال : « هَذَا أَخِيْ ، وَوَصِيِّيْ ، وَخَلِيْفَتِيْ فِيْكُمْ ، فَاسْمَعُوْا لَهُ وَأَطِيْعُوْا »
تهذيب الآثار للطبري  ج 4  ص 59 ح 1368

ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า  โอ้บนีอับดุลมุฏลิบ  ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ แท้จริงฉันไม่เคยรู้มาก่อนว่า จะมีชายหนุ่มคนใดในอาหรับได้นำมายังหมู่ชนของเขา ด้วยสิ่งที่ประเสริฐสุดมากไปกว่าสิ่งที่ฉันได้มันมาให้พวกท่าน  ฉันได้นำมายังพวกท่านด้วยความดีงามทั้งดุนยาและอาคิเราะฮ์ และอัลลอฮ์ ตะอาลาได้บัญชาให้ฉันเชิญชวนพวกท่านไปยังพระองค์
ดังนั้น(ขอถามว่า) พวกท่านคนใดจะช่วยเหลือฉันบนภารกิจนี้  โดยเขาจะได้มาเป็น" พี่น้องของฉัน  วะซีของฉัน และคอลีฟะฮ์ของฉัน(ภายหลังจากฉัน)ในหมู่พวกท่าน "   หมู่ชนนั้นได้ทยอยออกไปจากท่านทั้งหมด
(ท่านอะลี)เล่าว่า ตอนนั้นฉันอายุน้อยที่สุด...(ได้กล่าวว่า )  ฉันเอง โอ้ท่านนบีแห่งอัลลอฮ์ ฉันจะเป็นผู้ช่วยเหลือท่านบนภารกิจนั้น   ท่านนบีได้จับที่ต้นคอของฉันแล้วกล่าวว่า
บุคคลนี้คือ  " พี่น้องของฉัน  วะซีของฉัน และคอลีฟะฮ์ของฉัน(ภายหลังจากฉัน)ในหมู่พวกท่าน "  ดังนั้นขอให้พวกท่านจงเชื่อฟังและปฏิบัติตามเขาเถิด
หมู่ชนนั้นลุกขึ้นไป พวกเขาหัวเราะ และกล่าวกับอบูตอลิบว่า  เขา(มุฮัมมัด)สั่งให้ท่านเชื่อฟังและปฏิบัติลูกชายของท่านเอง


ตำราประวัติศาสตร์ชื่อ ตารีคฏ็อบรี โดยอิบนุญะรีร เล่ม 1  หน้า 542-543

فأكلوا حتى ما لهم بشيء حاجة ثم قال اسقهم فجئتهم بذلك العس فشربوا حتى رووا منه جميعا ثم تكلم رسول الله صلى الله عليه و سلم فقال يا بني عبد المطلب إني والله ما أعلم شابا في العرب جاء قومه بأفضل مما قد جئتكم به إني قد جئتكم بخير الدنيا والاخرة وقد أمرني الله تعالى أدعوكم إليه فَأيُّكُمْ يُؤَازِرُني عَلى هَذَا الأمْرِ على أن يكون أخي ووصيي وخليفتي فيكم قال فأحجم القوم عنها جميعا
وَقُلْتُ وإني لأحدثهم سنا وأرمصهم عينا وأعظمهم بطنا وأحمشهم ساقا أنا يا نبي الله أكون وزيرك عليه فأخذ برقبتي ثم قال « هَذَا أَخِيْ ، وَوَصِيِّيْ ، وَخَلِيْفَتِيْ فِيْكُمْ ، فَاسْمَعُوْا لَهُ وَأَطِيْعُوْا »قال فقام القوم يضحكون ويقولون لأبي طالب قد أمرك أن تسمع لابنك وتطيع
تاريخ الطبري ج 1 ص 542-543

ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า  โอ้บนีอับดุลมุฏลิบ  ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ แท้จริงฉันไม่เคยรู้มาก่อนว่า จะมีชายหนุ่มคนใดในอาหรับได้นำมายังหมู่ชนของเขา ด้วยสิ่งที่ประเสริฐสุดมากไปกว่าสิ่งที่ฉันได้มันมาให้พวกท่าน  ฉันได้นำมายังพวกท่านด้วยความดีงามทั้งดุนยาและอาคิเราะฮ์ และอัลลอฮ์ ตะอาลาได้บัญชาให้ฉันเชิญชวนพวกท่านไปยังพระองค์
ดังนั้น(ขอถามว่า) พวกท่านคนใดจะช่วยเหลือฉันบนภารกิจนี้  โดยเขาจะได้มาเป็น" พี่น้องของฉัน  วะซีของฉัน และคอลีฟะฮ์ของฉัน(ภายหลังจากฉัน)ในหมู่พวกท่าน "   หมู่ชนนั้นได้ทยอยออกไปจากท่านทั้งหมด
(ท่านอะลี)เล่าว่า ตอนนั้นฉันอายุน้อยที่สุด...(ได้กล่าวว่า )  ฉันเอง โอ้ท่านนบีแห่งอัลลอฮ์ ฉันจะเป็นผู้ช่วยเหลือท่านบนภารกิจนั้น   ท่านนบีได้จับที่ต้นคอของฉันแล้วกล่าวว่า
บุคคลนี้คือ  " พี่น้องของฉัน  วะซีของฉัน และคอลีฟะฮ์ของฉัน(ภายหลังจากฉัน)ในหมู่พวกท่าน "  ดังนั้นขอให้พวกท่านจงเชื่อฟังและปฏิบัติตามเขาเถิด
หมู่ชนนั้นลุกขึ้นไป พวกเขาหัวเราะ และกล่าวกับอบูตอลิบว่า  เขา(มุฮัมมัด)สั่งให้ท่านเชื่อฟังและปฏิบัติลูกชายของท่านเอง.



วิเคราะห์

ท่านอิบนุอับบาสภูมิใจกับสิ่งท่านนบี(ศ)กล่าวว่า  อะลีคือพี่น้องของฉัน  วะซีของฉัน และคอลีฟะฮ์ของฉัน

ด้วยเหตุนี้ท่านอิบนุอับบาสจึงนับว่ามันเป็นฟะดีลัตประการหนึ่งของท่านอะลี
ชื่อ: Re:วิจัย ความหมายของ “ เมาลา “ และ “ วะลี “
โดย: L-umar เมื่อ พฤศจิกายน 09, 2009, 01:21:53 หลังเที่ยง

ฟะดีลัตที่  สี่


ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า :

ท่านอะลี คือชายคนแรกที่เข้ารับอิสลาม
โดยท่านหญิงคอดีญะฮ์เข้ารับอิสลามก่อนท่านอะลี

เชิญอ่านหลักฐานได้ที่กระทู้นี้

http://www.q4sunni.com/believe/index.php?option=com_kunena&Itemid=71&func=view&catid=2&id=812


ท่านอิบนุอับบาสถือว่า การที่ท่านอะลีเข้ารับอิสลามกับท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)เป็นชายคนแรกคือฟะดีลัตหนึ่งที่บ่งบอกว่า เขามีความเข้าใจสัจธรรมเร็วกว่าชาวอาหรับทั้งหลายในยุคนั้น
ชื่อ: Re:วิจัย ความหมายของ “ เมาลา “ และ “ วะลี “
โดย: L-umar เมื่อ พฤศจิกายน 09, 2009, 01:28:39 หลังเที่ยง


ฟะดีลัตที่ ห้า


ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า :

ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) เอาผ้ากีซาคลุมบนท่านอะลี ฟาติมะฮ์ ฮาซันและฮูเซน  พลางท่านได้อ่านอายะฮ์ที่ถูกประทานลงมายังพวกเขาว่า

إِنَّمَا يُرِيدُ اللَّهُ لِيُذْهِبَ عَنْكُمُ الرِّجْسَ أَهْلَ الْبَيْتِ وَيُطَهِّرَكُمْ تَطْهِيرًا

อันที่จริง อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ที่จะขจัดความโสมมออกจากพวกเจ้า โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ของนบี  และ(ทรงประสงค์ที่จะ)ชำระพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์ )  

บทที่ 33 โองการที่ 33


เป็นที่รู้กันดีว่าโองการนี้พูดถึง อะฮ์ลุลบัยต์ของนบีมุฮัมมัด แต่เราต้องการทำความเข้าใจว่าอะฮ์ลุลบัยต์นบีในโองการนี้เป็น

อะฮ์ลุลบัยต์ คอศ (พิเศษ)

หรือ

อะฮ์ลุลบัยต์ อาม (ธรรมดา) ?


โดยเราจะให้ท่านนบีมุฮัมมัดเป็นผู้อธิบายความหมายของคำว่าอะฮ์ลุลบัยต์ที่กล่าวอยู่ในโองการนี้เอง
ชื่อ: Re:วิจัย ความหมายของ “ เมาลา “ และ “ วะลี “
โดย: L-umar เมื่อ พฤศจิกายน 09, 2009, 01:34:00 หลังเที่ยง

หะดีษที่ 1

ซูเราะตุลอะห์ซาบ บทที่ 33 โองการที่ 33  ถูกประทานลงมาที่บ้านของท่านหญิงอุมมุ สะละมะฮ์  

عَنْ عُمَرَ بْنِ أَبِيْ سَلَمَة رَبِيْبِ النَّبِيّ ( ص ) قَالَ : لمَاَّ نَزَلَتْ هذِهِ الْآيَةُ عَلَى النَّبِيِّ ( ص )   : { ... إِنَّمَا يُرِيدُ اللَّهُ لِيُذْهِبَ عَنكُمُ الرِّجْسَ أَهْلَ الْبَيْتِ وَيُطَهِّرَكُمْ تَطْهِيرًا }  فِيْ بَيْتِ أُمِّ سِـلَمَة ،
فَدَعَا فَاطِمَةَ وَ حَسَناً وَ حُسَيْناً ، وَ عَلِيٌّ خَلْفَ ظَهْرِهِ ، فَجَلَلَّهُمْ بِكِسَاءٍ ،
ثُمَّ قَالَ : \\\" اللّهُمَّ هَؤُلاءِ أهْلُ بَيْتِيْ ، فَأذْهِبْ عَنْهُمُ الرِّجْسَ وَ طَهِّرْهُمْ تَطْهِيْراً \\\" .
قَالَتْ أُمُّ سَلَمَة : وَ أنَا مَعَهُمْ يَا نَبِيَّ اللهِ ؟  قَالَ : \\\" أنْتِ عَلَى مَكَانِكِ وَ أنْتِ عَلَى خَيْرٍ \\\"
صحيح الترمذي  ح : 2562 نوع الحديث : صحيح

ท่านอุมัร บุตรอบีสะละมะฮ์ บุตรบุญธรรมของท่านนบี(ศ็อลฯ)เล่าว่า :

 ตอนที่โองการนี้ได้ประทานลงมาแก่ท่านนบี(ศ) คือ  :  อันที่จริง อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ที่จะขจัดความโสมมออกจากพวกเจ้า โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ของนบี  และ(ทรงประสงค์ที่จะ)ชำระพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์ )  
ณ.ที่บ้านของท่านหญิงอุมมุ สะละมะฮ์ (ร.ฎ.)  
ท่านนบีฯได้เรียกท่านหญิงฟาติมะฮ์  ฮาซันและฮูเซนมาและท่านอะลีอยู่ข้างหลังท่าน แล้วท่านได้คลุมพวกเขาด้วยผ้ากีซาอ์จากนั้นท่านกล่าวว่า :

" โอ้อัลลอฮ์  พวกเขาคืออะฮ์ลุลบัยต์ของข้าพเจ้า "

ขอพระองค์โปรดขจัดความโสมมให้พ้นไปจากพวกเขา และได้โปรดชำระพวกเขาให้บริสุทธิ์อย่างแท้จริง
ท่านหญิงอุมมุ สะละมะฮ์(ร.ฎ)กล่าวว่า : ขอให้ข้าพเจ้าได้อยู่พร้อมกับพวกเขาด้วยเถิด  โอ้ท่านศาสดาแห่งอัลเลาะฮ์   ท่านตอบว่า :  เธออยู่บนที่ของเธอและเธออยู่บนความดี

สถานะของหะดีษ : ซอฮี๊ฮฺ  ดูหนังสือซอฮีฮุต-ติรมิซี  

ตรวจทานโดยเชคมุฮัมมัด นาศิรุดดีน อัลบานี  หะดีษที่ 2562



หะดีษที่ 2


ท่านอะลี ฟาติมะฮ์ ฮาซันและฮูเซนคือ อะฮ์ลุลบัยต์ คอศ

عَنْ أُمِّ سَلَمَةَ أَنَّ النَّبِىَّ -صلى الله عليه وسلم- جَلَّلَ عَلَى الْحَسَنِ وَالْحُسَيْنِ وَعَلِىٍّ وَفَاطِمَةَ كِسَاءً ثُمَّ قَالَ « اللَّهُمَّ هَؤُلاَءِ أَهْلُ بَيْتِى وَخَاصَّتِى أَذْهِبْ عَنْهُمُ الرِّجْسَ وَطَهِّرْهُمْ تَطْهِيرًا ».
فَقَالَتْ أُمُّ سَلَمَةَ وَأَنَا مَعَهُمْ يَا رَسُولَ اللَّهِ قَالَ « إِنَّكِ إِلَى خَيْرٍ ».
صحيح الترمذي  ح : 3038 نوع الحديث : صحيح

ท่านหญิงอุมมุ สะละมะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮาเล่าว่า : แท้จริงท่านนบีฯได้เอาผ้ากีซาอ์คลุมบนตัวอัลฮาซัน ,อัลฮูเซน,อะลีและฟาติมะฮ์ จากนั้นท่านกล่าวว่า  :

โอ้อัลลอฮ์บุคคลเหล่านี้คืออะฮ์ลุลบัยต์ของฉันและเป็น(อะฮ์ลุลบัยต์)พิเศษของฉัน

โปรดขจัดความโสมมออกจากพวกเขา และโปรดชำระพวกเขาให้สะอาดบริสุทธิ์ด้วยเถิด
ท่านหญิงอุมมุ สะละมะฮ์กล่าวว่า : ขอให้ข้าพเจ้าได้อยู่พร้อมกับพวกเขาด้วยเถิด  โอ้ท่านรอซูลุลลอฮ์     ท่านตอบว่า :  เธอไปยังความดี

สถานะของหะดีษ : ซอฮี๊ฮฺ  ดูหนังสือซอฮีฮุต-ติรมิซี  

ตรวจทานโดยเชคมุฮัมมัด นาศิรุดดีน อัลบานี  หะดีษที่ 3038



หะดีษที่ 3


ท่านหญิงอาอิชะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮาได้รายงานหะดีษกิซาไว้สั้นๆว่า

عَنْ عَائِشَة قَالَتْ : \\\" خَرَجَ النَّبِيُّ صلَّى الله عليه وسلم غَدَاةً وَ عَلَيْهِ مِرْطٌ  مُرَحِّلٌ  مِنْ شَعْرٍ أَسْوَد فَجَاءَ الْحَسَنُ بْنُ عَلِيٍّ فَأَدْخَلَهُ ، ثُمَّ جَاءَ الْحُسَيْنُ فَدَخَلَ مَعَهُ ، ثُمَّ جَاءَتْ فَاطِمَةُ فَأَدْخَلَهَا ، ثُمَّ جَاءَ عَلِيٌّ فَأَدْخَلَهُ ، ثُمَّ قَالَ :{ ... إِنَّمَا يُرِيدُ اللَّهُ لِيُذْهِبَ عَنكُمُ الرِّجْسَ أَهْلَ الْبَيْتِ وَيُطَهِّرَكُمْ تَطْهِيرًا }.

ท่านหญิงอาอิชะฮ์เล่าว่า :  ท่านนบี (ศ)ได้ออกมาในตอนเช้าวันหนึ่ง ที่ท่านมีผ้าห่ม(กีซาอ์)สีดำปักลายรูปการเดินทางของอูฐ เมื่อฮาซันบุตรของอะลีมาถึงท่านก็ให้เข้าไปอยู่ในผ้าห่ม หลังจากนั้นฮูเซนมาถึงก็เข้าไปอยู่ด้วย จากนั้นฟาติมะฮ์ได้มาถึง ท่านก็ได้ให้เข้าไปอยู่ด้วย เมื่ออาลีมาถึงท่านก็ให้เข้าไปอยู่ในผ้าห่มกับท่านด้วย แล้วท่านนบี(ศ)ได้กล่าวว่า : ( อันที่จริง อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ที่จะขจัดความโสมมออกจากพวกเจ้า โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ของนบี  และ(ทรงประสงค์ที่จะ)ชำระพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์ )              

อ้างอิงจาก ซอฮีฮุ มุสลิม   หะดีษที่ 4450



สรุป

1.   โองการนี้มีชื่อว่า อายะตุฏ-ตัฏฮีร - โองการแห่งความบริสุทธิ์
2.   บทที่ 33 : 33 ถูกประทานลงมาที่บ้านของท่านหญิงอุมมุ สะละมะฮ์
3.   หะดีษนี้มีชื่อว่า หะดีษ กีซาอ์ - ผ้าคลุมกีซาอ์
4.   ท่านนบีฯเรียก อะลี ฟาติมะฮ์ ฮาซันและฮูเซนว่า อะฮ์ลุลบัยต์คอศ  ดังที่ตัวบทหะดีษระบุว่า ( هؤُلاَءِ أَهْلُ بَيْتِيْ وَخَاصَّتِيْ ) พวกเขาเหล่านี้คืออะฮ์ลุลบัยต์พิเศษของฉัน
5.   หะดีษกีซาอ์ได้กำหนดว่า " อะฮ์ลุลบัยต์คอศ "  คือ
1.   อะลี บุตร อบู ตอลิบ อะลัยฮิสสลาม
2.   ฟาติมะฮ์ บุตรีรอซูลุลเลาะฮ์ อะลัยฮัสสลาม
3.   ฮาซัน บุตรอะลี อะลัยฮิสสลาม
4.   ฮูเซน บุตรอะลี อะลัยฮิสสลาม


ความจริงเกี่ยวกับอายะฮ์ตัฏฮีร


ในช่วงบั้นปลายชีวิตของท่านนบีมุฮัมมัด(ศ) มีวันหนึ่งท่านอยู่ที่บ้านภรรยาของท่านชื่อท่านหญิงอุมมุ สะละมะฮ์ (ร.ฎ.)    มีโองการหนึ่งได้ประทานลงมา   ท่านจึงให้ไปเรียกท่านอะลี,ฟาติมะฮ์,ฮาซันและฮุเซน(อ)มาพบ  แล้วท่านได้เอาผ้ากีซาอ์คลุมพวกเขาทั้งสี่คน  จากนั้นท่านกล่าวว่า : ( اللهم هؤلاء أهل بيتي )  อัลลอฮุมมะ ฮาอุลาอิ อะฮ์ลุ บัยตี แปล โอ้อัลเลาะฮ์ พวกเขาเหล่านี้คือ อะฮ์ลุลบัยต์ของข้าพเจ้า  
ชื่อ: Re:วิจัย ความหมายของ “ เมาลา “ และ “ วะลี “
โดย: L-umar เมื่อ พฤศจิกายน 09, 2009, 01:45:05 หลังเที่ยง

บรรดาบุคคลที่ยืนยันว่า อะฮ์ลุลบัยต์พิเศษคือท่านอะลี,ฟาติมะฮ์,ฮาซันและฮุเซนคือ :

ศาสดามุฮัมมัด (ศ)

ฟาติมะฮ์ บุตรี ศาสดามุฮัมมัด

ภรรยาศาสดามุฮัมมัด  มีสองคน

1, ท่านหญิงอาอิชะฮ์  
2,ท่านหญิงอุมมุ สะละมะฮ์


ซอฮาบะฮ์ท่านนบี มี 17 คน

1.อบู สะอีด อัลคุดรี
2.อบู บะร่อซะฮ์
3.อบุล ฮัมรอห์
4.อบู ลัยลา อัลอันซอรี
5.อะนัส บิน มาลิก
6.อัลบัรรออ์ บิน อาซิบ
7.เษาบาน
8.ญาบิร บิน อับดุลลอฮ์ อัลอันศอรี
9.เซด บิน อัรก็อม
10.ซัยนับ บินติ อบี สะละมะฮ์
11.สะอัด บิน อบี วักก็อศ
12.ซอเบี๊ยะห์ คนรับใช้อุมมุ สะละมะฮ์
13.อับดุลลอฮ์ บิน ญะอ์ฟัร
14.อัลดุลลอฮ์ บิน อับบาส
15.อุมัร บิน อบี สะมะมะฮ์
16.อุมัร บิน ค็อฏฏ็อบ
17.วาษิละฮ์  บิน อัลอัสเกาะอ์   


บรรดาอิม่ามที่มาจากอะฮ์ลุลบัยต์นบี


1,อิม่ามอะลี บิน อบีตอลิบ

2,อิม่ามฮาซัน บิน อะลี

3,อิม่ามฮุเซน บิน อะลี

4,อิม่ามอะลี บิน ฮุเซน

5,อิม่ามมุฮัมมัด บิน อะลี

6,อิม่ามญะอ์ฟัร บิน มุฮัมมัด

7,อิม่ามมูซา บิน ญะอ์ฟัร

8,อิม่ามอะลี บิน มูซา

9,อิม่ามมุฮัมมัด บิน อะลี

10,อิม่ามอะลี บิน มุฮัมมัด

11,อิม่ามฮาซัน บิน อะลี

12,อิม่ามมุฮัมมัดมะฮ์ดี บิน ฮาซัน อัสการี


ทุกคนมักจะกล่าวเสมอว่า - نحن أهل بيت النبتي – พวกเราคืออะฮ์ลุลบัยต์นบี
ชื่อ: Re:วิจัย ความหมายของ “ เมาลา “ และ “ วะลี “
โดย: L-umar เมื่อ พฤศจิกายน 09, 2009, 01:46:45 หลังเที่ยง

รายชื่อ 40 มุฟัสสิรชีอะฮ์ที่กล่าวว่า : อะอ์ลุลบัยต์ในอายัตตัฏฮีรนั้นหมายถึง : ท่านนบีมุฮัมมัด,อะลี,ฟาติมะฮ์,ฮาซันและฮุเซน (อ) :



1.   ตัฟสีรฟุรอต กูฟีย์ เล่ม1หน้า331 โดยฟุรอต บินอิบรอฮีมอัลกูฟีย์ (ฮศ.255-300)
2.   ตัฟสีรอัลฮิบรีย์ เล่ม1หน้า297 โดยอบู อัลดุลลอฮ์ อัลกูฟี อัลฮุเซนบินอัลฮะกัม(ฮศ.286)
3.   ตัฟสีรอัลกุมมีย์ เล่ม2หน้า189โดยอบุลฮาซัน อาลี บินอิบรอฮีม บินฮาชิม อัลกุมมีย์(มรณะฮศ.307)
4.   ตัฟสีรอัลอะยาชีย์ เล่ม1หน้า215โดยอัลอะยาชีย์(มรณะฮศ.320)
5.   ตัฟสีรอัต-ติบยาน เล่ม8หน้า338 โดยอบู ญะอ์ฟัร มุฮัมมัดบินฮเซนบินอาลีอัฏ-ฏูซีย์(เกิดฮศ.460)
6.   ตัฟสีรญะวามิอุล ญามิ๊อ์ เล่ม3หน้า313 โดยอะมีนุดดีน อบูอาลี อัลฟัฎล์ บินฮาซัน อัฏ-ฏ็อบรอซีย์ (เกิดฮศ.549)
7.   ตัฟสีรเราฎุล ญินาน วะรูฮุล ญินาน เล่ม 15หน้า414  โดยฮุเซน บินอะลี มุฮัมมัดบินอะหมัด อัลคุซาอี อันนัยซาบูรีย์(เกิดฮศ.552)
8.   ตัฟสีรมุตะชาบิฮุลกุรอาน เล่ม2หน้า52  โดยอิบนุ ชะฮัร ออชูบ มาซินดะรอนีย์(ฮศ.489-588)
9.   ตัฟสีรกาซัร  เล่ม 8หน้า 5    โดยอบุล มะฮาซิน อัลฮุเซนบินฮาซัน อัลญุรญานีย์(เกิดปลายศตวรรษฮศ.ที่900)
10.   ตัฟสีรตะอ์วีลุลอาย๊าต ซอฮิรอต หน้า439 โดยสัยยิดชะรอฟุดดีน ฮุซัยนี อิสติร ออบอดีย์ (มรณะฮศ.940)
11.   ตัฟสีรมะวาฮิบ อะลัยฮิ  เล่ม 3หน้า477 โดยกะมาลุดดีน ฮุเซน วาอิซ กาชีฟีย์ (เกิดฮศ.910)
12.   ตัฟสีรมันฮะญุซ-ซอดิกีน  เล่ม 7หน้า315 โดยมุลลา ฟัตฮุลลอฮ์ อัลกาชานีย์ (เกิดฮศ.977-988)

13.   ตัฟสีรชะรีฟ ลาฮีญีย์ เล่ม 3หน้า 63 โดยเชคอาลี ชะรีฟ อัลลาฮีญีย์ (เกิดฮศ.1088)
14.   ตัฟสีรอิษนา อะชัร เล่ม 10หน้า439 โดยฮุเซน บินอะหมัด อัลฮุซัยนี ชาฮ์ อัลดุลอะซีมีย์ (เกิดฮศ.1384)
15.   ตัฟสีรอันวารุ ดิรัคชอน เล่ม13หน้า103 โดยสัยยิดมุฮัมมัด อัลฮุซัยนีอัลฮะมะดานีย์
16.   ตัฟสีรญามิ๊อ์  เล่ม5หน้า351 โดยสัยยิด อิบรอฮีม อัลบุรูญัรดีย์
17.   ตัฟสีรฮุจญะตุต-ตะฟาสีร เล่ม5หน้า217  โดยอัลดุลฮุจญะฮ์ อัลบะลาฆีย์
18.   ตัฟสีรกัชฟุล ฮะกออิก เล่ม2หน้า885 โดยมุฮัมมัดกะรีม อัลอะละวี อัลฮุซัยนีย์
19.   ตัฟสีรคุส รูว์ เล่ม7หน้า29 โดยชาฮ์ซอเดะฮ์ อาลี เรซ่า มีรซาคุสรูวานีย์(เกิดฮศ.1386)
20.   ตัฟสีรอามิลีย์ เล่ม7หน้า179 โดยอิบรอฮีม อัลอามิลีย์
21.   ตัฟสีรอะห์สะนุลฮะดีษ เล่ม8 หน้า352 โดยสัยยิดอาลี อักบัร กุเรชีย์
22.   ตัฟสีรอัซ-ซอฟีย์ เล่ม4หน้า186 โดยเมาลามุห์ซิน เฟซกาชานีย์(เกิดฮศ.1091)
23.   ตัฟสีรอัลบุรฮาน เล่ม4หน้า307โดยสัยยิดฮาชิม อัลบะห์รอนีย์(เกิดฮศ.1107)
24.   ตัฟสีรนูรุษ-ษะก่อลัยน์ เล่ม4หน้า268 โดยเชคอับดุ อาลี บินญุมอะฮ์ อัลอะรูซี อัลฮุวัยซีย์ (เกิดฮศ.1112)
25.   ตัฟสีรอัลมุอีน เล่ม2หน้า111 โดยเมาลานูรุดดีน มุฮัมมัด บินมุรตะฎอ อัลกาชานีย์(มรณะหลังฮศ.ที่1115)
26.   ตัฟสีรกันซุล ดะกออิก เล่ม10หน้า371 โดยเชคมุฮัมมัดบินมุฮัมมัด ริฎอ อัลกุมมี อัลมัชฮะดีย์ (อาลิมในยุคศตวรรษที่12ฮศ.)
27.   ตัฟสีรอัลเญาฮะรุษ-ษะมีน เล่ม5หน้า145 โดยสัยยิดอับดุลลอฮ์ ชุบบัร(เกิดฮศ.1242)
28.   ตัฟสีรบะยานุสสะอาดะฮ์ เล่ม3หน้า245 โดยฮัจญีซุลตอน มุฮัมมัด อัลญะนาบิซีย์(เกิดฮศ.1327)
29.   ตัฟสีรมุกตะนียาตุด-ดุร็อร เล่ม7หน้า300โดยมีรสัยยิด อาลี อัลฮาอิรี อัฏเตฮฺรอนีย์(เกิดฮศ.1340)
30.   ตัฟสีรตักรีบุลกุรอาน เล่ม22หน้า12 โดยสัยยิดมุฮัมมัด อัลฮุเซน อัช-ชีรอซีย์  
31.   ตัฟสีรอัลมุนีร เล่ม6หน้า293 โดยมุฮัมมัด อัลกัรมีย์
32.   ตัฟสีรอัลกาชิฟ เล่ม6หน้า215 โดยมุฮัมมัด ญะวาด มุฆนียะฮ์(เกิดฮศ.1400)
33.   ตัฟสีรอัลมีซาน เล่ม16หน้า327 โดยสัยยิดอัลลามะฮ์ตะบาตะบาอีย์(เกิดฮศ.1402)
34.   ตัฟสีรมัคซะนุล อิรฟาน เล่ม8หน้า223 โดยบอนูเย่ อิศฟะฮานีย์(เกิดฮศ.1404)
35.   ตัฟสีรอัลญะดีด เล่ม5หน้า435 โดยเชคมุฮัมมัด ซับซะวอรีย์ อัน-นะญะฟีย์(เกิดฮศ.1410)
36.   ตัฟสีรอัฏยะบุลบะยาน เล่ม10หน้า500โดยสัยยิดอับดุลฮุเซน ต็อยยิบ(เกิดฮศ.1411)
37.   ตัฟสีรมิน ฮุดา อัลกุรอาน เล่ม10หน้า322 โดยอยาตุลลอฮ์สัยยิดมุฮัมมัด ตะกี อัลมุดัรริซีย์
38.   ตัฟสีรอัลบะซออิร เล่ม32หน้า25โดยยะอ์ซูบุด-ดีน รัตเตะก็อร ญูเยบอรีย์
39.   ตัฟสีรมิน วะห์ยิล กุรอาน เล่ม18หน้า315โดยอยาตุลลอฮ์สัยยิดมุฮัมมัด ฮุเซนฟัฎลุลลอฮ์
40.   ตัฟสีรอัลอัมษัล เล่ม13หน้า221 โดยอยาตุลลอฮ์ นาศิร มะการิม อัช-ชีรอซีย์

เมื่อท่านเปิดดูซูเราะฮ์ที่ 33 อายะฮ์ที่ 33 ทุกตัฟสีรจะกล่าวตรงกันว่า : อะอ์ลุลบัยต์ใน

อายัตตัฏฮีรนั้นคือ : ท่านนบีมุฮัมมัด,อะลี,ฟาติมะฮ์,ฮาซันและฮุเซน (อ)
ชื่อ: Re:วิจัย ความหมายของ “ เมาลา “ และ “ วะลี “
โดย: L-umar เมื่อ พฤศจิกายน 09, 2009, 01:51:57 หลังเที่ยง


รายชื่อ 10 มุฟัสสิรซุนนี่ที่กล่าวว่า ว่า : อะอ์ลุลบัยต์ในอายัตตัฏฮีรนั้นหมายถึง : ท่านนบีมุฮัมมัด,อะลี,ฟาติมะฮ์,ฮาซันและฮุเซน (อ) :


1- ตัฟสีรอัฏ-ฏ็อบรีย์ โดยอิบนุ ญะรีร อัฏ-ฏ็อบรีย์(มรณะฮศ.310)

2 - ตัฟสีรอิบนุ อะตียะฮ์  โดยอิบนุ อะตียะฮ์  ( มรณะฮศ.542 )

3 - ตัฟสีรอันนุกัต วัลอุยูน โดยอัลมาวัรดีย์(ฮศ.450)

4 – ตัฟสีรมะอาลิมุต-ตันซีล โดยอัลบะฆ่อวีย์ (มรณะฮศ.510)

5 - ตัฟสีรุลกุรอาน โดยอิบนุ อับดุสลาม(มรณะฮศ.660)

6 – ตัฟสีร ลุบาบุต-ตันซีล ฟีมะอานิต-ตันซีล โดยอัลคอซิน (มรณะฮศ.741)

7- ตัฟสีรบะห์รุลมุฮีฏ โดยอบู ฮัยยาน(มรณะฮศ.745)

8 - ตัฟสีรอัลญะวาฮิรุล ฮิซาน โดยอัษ-ษะอาละบีย์(มรณะฮศ.875)

9 - ตัฟสีรอัดดุรรุล มันษูร  โดยสิยูตีย์(ฮศ.911)

10 - ตัฟสีรฟัตฮุลกอดีร  โดยอัช-เชากานีย์(มรณะฮศ.1250)



เราจึงเข้าใจเหมือนที่ท่านนบี(ศ),บุตรสาวนบี,ภรรยานบีและซอฮาบะฮ์,เข้าใจว่า
อะฮ์ลุลบัยต์พิเศษ  ในหะดีษหมายถึง ท่านอะลี ฟาติมะฮ์ ฮาซันและฮูเซน

ด้วยเหตุนี้ท่านอิบนุอับบาส จึงนับว่าเหตุการณ์ณืที่ท่านนบี(ศ)เอาผ้ากีซาคลุมท่านอะลีและครอบครัวคือฟะดีลัตประการหนึ่ง  ที่บ่งบอกถึงความบริสุทธิ์ในอะกีดะฮ์และอามั้ลของพวกเขา.
 
ชื่อ: Re:วิจัย ความหมายของ “ เมาลา “ และ “ วะลี “
โดย: L-umar เมื่อ พฤศจิกายน 09, 2009, 04:38:13 หลังเที่ยง


ฟะดีลัตที่ หก


ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า :

ค่ำคืนแห่งการฮิจเราะฮ์ -  لَيْلَةُ الْهِجْرَةِ   ( อพยพจากมักกะฮ์ไปมะดีนะฮ์)    


ท่านอะลีได้เอาชีวิตตัวเองเสียสละแทนท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)  เขาได้สวมใส่เสื้อผ้าของนบี(ศ)แล้วนอนบนที่นอนของท่าน   เพื่ออำพรางพวกมุชริกที่เฝ้าซุ่มทำร้ายอยู่รอบบ้านท่านนบี(ศ)   ทำให้พวกมุชริกคิดว่า ผู้ที่นอนอยู่คือท่านนบี(ศ) แต่ความจริงท่าน นบี(ศ)ได้เดินทางไปออกไปจากนครมักกะฮ์แล้ว  ส่วนคนที่นอนอยู่บนที่นอนคืออะลี

พวกมุชริกพยายามเอาก้อนหินขว้างใส่คนที่นอนคลุมโปง เพื่อให้ทนเจ็บไม่ไหว จะได้โผล่หน้าออกมาให้พวกเขาเห็นว่าเป็นใคร  แต่ปรากฏว่า ท่านอะลียอมทนเจ็บนอนคลุมโปงอยู่อย่างนั้นจนเช้า  เมื่อพวกมุชริกบุกเข้ามาในบ้าน  จึงประจักษ์ว่า  พวกเขาถูกหลอกเสียแล้ว

มุสลิมทุกคนย่อมปรารถนาที่จะญิฮ๊าดเสีลสละเพื่ออัลเลาะฮ์และรอซูล
และการเสียสละชีวิตของท่านอะลี เพื่อปกป้องรักษาชีวิตของท่านศาสดาแห่งอิสลามในครั้งนี้ นับได้ว่า เป็นฟะดีลัตที่มีค่ายิ่ง  



นักวิชาการได้บันทึกเรื่องราวของท่านอะลีไว้ดังนี้

อัสบาบุลนุซูลของซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์ อายะฮ์ที่  207 มีดังนี้


وَمِنَ النَّاسِ مَنْ يَشْرِي نَفْسَهُ ابْتِغَاءَ مَرْضَاةِ اللَّهِ وَاللَّهُ رَءُوفٌ بِالْعِبَادِ

และในหมู่มนุษย์นั้น  มีผู้ที่ขายตัวของเขาเอง เพื่อแสวงหาความพอพระทัยของอัลลอฮ์

และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงปรานีแก่ปวงบ่าวทั้งหลาย



หนึ่ง- อัลกุรตุบี กล่าวว่า  

نزلت في علي رضي الله عنه حين تركه النبي صلى الله عليه و سلم على فراشه ليلة خرج إلى الغار
تفسير القرطبي  ج 3 ص 23

โองการนี้ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับท่านอะลี ตอนท่านนบี(ศ)ทิ้งเขาให้นอนบนที่นอนของท่าน ในคืนที่ท่านได้ออกไปยังถ้ำ             ดูตัฟสีรกุรตุบี  เล่ม 3 : 23  


สอง - อัลฟัครุล รอซี  กล่าวว่า

والرواية الثالثة : نزلت في علي بن أبي طالب بات على فراش رسول الله صلى الله عليه وسلم ليلة خروجه إلى الغار
تفسير الرازي  ج 3 ص 222

รายงานที่ สาม กล่าวว่า  โองการนี้ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับท่านอะลี  เขาได้นอนบนที่นอนของท่านรอซูล(ศ)ในคืนที่ท่านได้ออกไปยังถ้ำ             ดูตัฟสีรอัลรอซี เล่ม 3 : 222


สาม - อิบนุอาดิล กล่าวว่า

وقيل : نزلت في عليِّ بن أبي طالبٍ - رضي اللَّهُ عنه - باتَ على فِراشِ رسُول اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - ليلةً خُروجهِ لى الغار .
تفسير اللباب لابن عادل ج 2  ص 479
กล่าวว่า  โองการนี้ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับท่านอะลี  เขาได้นอนบนที่นอนของท่านรอซูล(ศ)ในคืนที่ท่านได้ออกไปยังถ้ำ             ดูตัฟสีรอัลลุบาบ เล่ม 2 : 479


สี่ - นิซอมุดดีน อันัยซาบูรี กล่าวว่า

وقيل : نزلت في علي رضي الله عنه بات على فراش رسول الله صلى الله عليه وسلم ليلة خروجه إلى الغار . تفسير النيسابوري ج 2 ص 8

กล่าวว่า  โองการนี้ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับท่านอะลี  เขาได้นอนบนที่นอนของท่านรอซูล(ศ)ในคืนที่ท่านได้ออกไปยังถ้ำ             ดูตัฟสีรอันนัยซาบูรี เล่ม 3 : 8


ห้า - อัลอะลูซี กล่าวว่า

الشيخ النجدي : القول ما قال الرجل هو هذا الرأي لا أرى غيره فتفرقوا على ذلك ، فأتى جبريل عليه السلام رسول الله صلى الله عليه وسلم فقال : لا تبت هذه الليلة على فراشك الذي كنت تبيت عليه فلما كانت عتمة من الليل اجتمعوا على بابه يرصدونه متى ينام فيثبون عليه فلما رأى رسول الله صلى الله عليه وسلم مكانهم قال لعلي كرم الله تعالى وجهه نم على فراشي
تفسير الألوسي - (ج 7 / ص 65

ท่านญิบรีล อะลัยฮิสลามได้มาหาท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) ท่านกล่าวว่า จงอย่านอนบนที่นอนของท่านในคืนนี้ ที่ๆท่านเคยนอนเป็นประจำ  พอค่ำลง  พวกเขา(มุชริก)ได้รวมกันอยู่ตรงประตูบ้านท่าน(ศ)  พวกเขาเฝ้ารอดูว่า ท่าน(ศ)จะเข้านอนเมื่อไหร่ พวกเขาก็จะบุกเข้าหาท่านทันที   เมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้เห็นสถานที่ของพวกเขาแล้ว   ท่านได้กล่าวกับท่านอะลี บินอบีตอลิบว่า  ท่านจงนอนบนที่นอนของฉันที
ดูตัฟสีร อัลอะลูซี  เล่ม 7 : 65



ตำราซีเราะตุน-นบี (ชีวประวัติของท่านนบีมุฮัมมัด ศ.)

มีตำราซีเราะฮ์นบีมากมายได้บันทึกเหตุการณ์คืนที่ท่านนบี(ศ)ฮิจเราะฮ์ออกจากมักกะฮ์ไปมะดีนะฮ์และให้ท่านอะลีนอนบนที่นอนแทนตัวท่าน  ดังนี้


หก - เจ้าของหนังสือเราฎุลอันฟิ  กล่าวว่า

مِمّا يُقَالُ عَنْ لَيْلَةِ الْهِجْرَةِ
فَأَتَى جِبْرِيلُ عَلَيْهِ السّلَامُ رَسُولَ اللّهِ صَلّى اللّهُ عَلَيْهِ وَسَلّمَ فَقَالَ لَا تَبِتْ هَذِهِ اللّيْلَةَ عَلَى فِرَاشِك الّذِي كُنْت تَبِيتُ عَلَيْهِ . قَالَ فَلَمّا كَانَتْ عَتَمَةٌ مِنْ اللّيْلِ اجْتَمَعُوا عَلَى بَابِهِ يَرْصُدُونَهُ مَتَى يَنَامُ فَيَثِبُونَ عَلَيْهِ فَلَمّا رَأَى رَسُولُ اللّهِ صَلّى اللّهُ عَلَيْهِ وَسَلّمَ مَكَانَهُمْ قَالَ لِعَلِيّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ \\\" نَمْ عَلَى فِرَاشِي
الروض الأنف - (ج 2 / ص 308

สิ่งที่กล่าวเกี่ยวกับคืนแห่งการฮิจเราะฮ์
ท่านญิบรีล อะลัยฮิสลามได้มาหาท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) ท่านกล่าวว่า จงอย่านอนบนที่นอนของท่านในคืนนี้ ที่ๆท่านเคยนอนเป็นประจำ  พอค่ำลง  พวกเขา(มุชริก)ได้รวมกันอยู่ตรงประตูบ้านท่าน(ศ)  พวกเขาเฝ้ารอดูว่า ท่าน(ศ)จะเข้านอนเมื่อไหร่ พวกเขาก็จะบุกเข้าหาท่านทันที   เมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้เห็นสถานที่ของพวกเขาแล้ว   ท่านได้กล่าวกับท่านอะลี บินอบีตอลิบว่า  ท่านจงนอนบนที่นอนของฉันที
ดูอัลเราฎุลอันฟิ  เล่ม 2 : 308


เจ็ด - อิบนุฮิชาม กล่าวว่า


[ خُرُوجُ النّبِيّ صَلّى اللّهُ عَلَيْهِ وَسَلّمَ وَاسْتِخْلَافُهُ عَلِيّا عَلَى فِرَاشِهِ ]
فَأَتَى جِبْرِيلُ عَلَيْهِ السّلَامُ رَسُولَ اللّهِ صَلّى اللّهُ عَلَيْهِ وَسَلّمَ فَقَالَ لَا تَبِتْ هَذِهِ اللّيْلَةَ عَلَى فِرَاشِك الّذِي كُنْت تَبِيتُ عَلَيْهِ . قَالَ فَلَمّا كَانَتْ عَتَمَةٌ مِنْ اللّيْلِ اجْتَمَعُوا عَلَى بَابِهِ يَرْصُدُونَهُ مَتَى يَنَامُ فَيَثِبُونَ عَلَيْهِ فَلَمّا رَأَى رَسُولُ اللّهِ صَلّى اللّهُ عَلَيْهِ وَسَلّمَ مَكَانَهُمْ قَالَ لِعَلِيّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ نَمْ عَلَى فِرَاشِي
سيرة ابن هشام - (ج 1 / ص 482

ท่านนบี(ศ)ออกเดินทาง และให้ท่านอะลีนอนบนที่นอนอของท่าน :
ท่านญิบรีล อะลัยฮิสลามได้มาหาท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) ท่านกล่าวว่า จงอย่านอนบนที่นอนของท่านในคืนนี้ ที่ๆท่านเคยนอนเป็นประจำ  พอค่ำลง  พวกเขา(มุชริก)ได้รวมกันอยู่ตรงประตูบ้านท่าน(ศ)  พวกเขาเฝ้ารอดูว่า ท่าน(ศ)จะเข้านอนเมื่อไหร่ พวกเขาก็จะบุกเข้าหาท่านทันที   เมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้เห็นสถานที่ของพวกเขาแล้ว   ท่านได้กล่าวกับท่านอะลี บินอบีตอลิบว่า  ท่านจงนอนบนที่นอนของฉันที
ดูซีเราะฮ์ อิบนิฮิชาม  เล่ม 1 : 482


แปด - เจ้าของหนังสืออุยูนุลอะษัรกล่าวว่า

فتفرق القوم على ذلك وهم مجمعون له فأتى جبريل رسول الله صلى الله عليه وسلم فقال لا تبت هذه الليلة على فراشك الذى كنت تبيت عليه قال فلما كانت عتمة من الليل اجتمعوا على بابه يرصدونه حتى ينام فيثبون عليه فلما رأى رسول الله صلى الله عليه وسلم مكانهم قال لعلى بن أبى طالب نم على فراشي
عيون الأثر - (ج 1 / ص 235

ท่านญิบรีล อะลัยฮิสลามได้มาหาท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) ท่านกล่าวว่า จงอย่านอนบนที่นอนของท่านในคืนนี้ ที่ๆท่านเคยนอนเป็นประจำ  พอค่ำลง  พวกเขา(มุชริก)ได้รวมกันอยู่ตรงประตูบ้านท่าน(ศ)  พวกเขาเฝ้ารอดูว่า ท่าน(ศ)จะเข้านอนเมื่อไหร่ พวกเขาก็จะบุกเข้าหาท่านทันที   เมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้เห็นสถานที่ของพวกเขาแล้ว   ท่านได้กล่าวกับท่านอะลี บินอบีตอลิบว่า  ท่านจงนอนบนที่นอนของฉันที
ดูอุยูนุลอะษัร   เล่ม 1 : 235


เก้า - อิบนุกะษีร กล่าวว่า


 فتفرق القوم على ذلك وهم مجمعون له.
فأتى جبرائيل رسول الله صلى الله عليه وسلم فقال له: لا تبت هذه الليلة على فراشك الذى كنت تبيت عليه.
قال: فلما كانت عتمة من الليل اجتمعوا على بابه يرصدونه حتى ينام فيثبون عليه، فلما رأى رسول الله صلى الله عليه وسلم مكانهم قال لعلى بن أبى طالب: نم على فراشي
السيرة النبوية لابن كثير - (ج 2 / ص 229

ท่านญิบรีล อะลัยฮิสลามได้มาหาท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) ท่านกล่าวว่า จงอย่านอนบนที่นอนของท่านในคืนนี้ ที่ๆท่านเคยนอนเป็นประจำ  พอค่ำลง  พวกเขา(มุชริก)ได้รวมกันอยู่ตรงประตูบ้านท่าน(ศ)  พวกเขาเฝ้ารอดูว่า ท่าน(ศ)จะเข้านอนเมื่อไหร่ พวกเขาก็จะบุกเข้าหาท่านทันที   เมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้เห็นสถานที่ของพวกเขาแล้ว   ท่านได้กล่าวกับท่านอะลี บินอบีตอลิบว่า  ท่านจงนอนบนที่นอนของฉันที
ดูซีเราะตุน นะบะวียะฮ์  เล่ม 2 : 229


สิบ - มุฮัมมัด บินยูสุฟ อัส ซอลิฮี อัชชามี  กล่าวว่า

فأتى جبريل رسول الله صلى الله عليه وسلم فقال: لا تبت هذه الليلة على فراشك الذي كنت تبيت عليه، وأخبره بمكر القوم وإذن الله تعالى له بالخروج.
فلما كانت العتمة من الليل اجتمعوا على بابه يرصدونه متى ينام فيثبون عليه، فلما رأى رسول الله صلى الله عليه وسلم مكانهم قال لعلي بن أبي طالب نم على فراشي
سبل الهدى والرشاد في سيرة خير العباد - (ج 3 / ص 232
المؤلف : محمد بن يوسف الصالحي الشامي

ท่านญิบรีล อะลัยฮิสลามได้มาหาท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) ท่านกล่าวว่า จงอย่านอนบนที่นอนของท่านในคืนนี้ ที่ๆท่านเคยนอนเป็นประจำ  พอค่ำลง  พวกเขา(มุชริก)ได้รวมกันอยู่ตรงประตูบ้านท่าน(ศ)  พวกเขาเฝ้ารอดูว่า ท่าน(ศ)จะเข้านอนเมื่อไหร่ พวกเขาก็จะบุกเข้าหาท่านทันที   เมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้เห็นสถานที่ของพวกเขาแล้ว   ท่านได้กล่าวกับท่านอะลี บินอบีตอลิบว่า  ท่านจงนอนบนที่นอนของฉันที
ดูสุบุลุลฮุดา วัลร่อชาด  เล่ม 3 : 232


11 - อบู เราะบี๊อฺ อัลอันดุลิซี กล่าวว่า

فتفرق القوم على ذلك وهم مجمعون له
فأتي جبريل رسول الله {صلى الله عليه وسلم} فقال لا تبت هذه الليلة على فراشك الذي كنت تبيت عليه
فلما كانت عتمة من الليل اجتمعوا على بابه يرصدونه حتى ينام فيثبون عليه فلما رأى رسول الله {صلى الله عليه وسلم} مكانهم قال لعلي بن أبي طالب نم على فراشي
الاكتفاء بما تضمنه من مغازي رسول الله والثلاثة الخلفاء - (ج 1 / ص 259
المؤلف أبو الربيع سليمان بن موسى الكلاعي الأندلسي

ท่านญิบรีล อะลัยฮิสลามได้มาหาท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) ท่านกล่าวว่า จงอย่านอนบนที่นอนของท่านในคืนนี้ ที่ๆท่านเคยนอนเป็นประจำ  พอค่ำลง  พวกเขา(มุชริก)ได้รวมกันอยู่ตรงประตูบ้านท่าน(ศ)  พวกเขาเฝ้ารอดูว่า ท่าน(ศ)จะเข้านอนเมื่อไหร่ พวกเขาก็จะบุกเข้าหาท่านทันที   เมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้เห็นสถานที่ของพวกเขาแล้ว   ท่านได้กล่าวกับท่านอะลี บินอบีตอลิบว่า  ท่านจงนอนบนที่นอนของฉันที
ดูอัลอิกติฟาอ์ บิมาตะดอมมะนะฮู มินมะฆอซี รอซูลิลละฮ์ วะษะลาษะฮ์คุละฟาอ์  เล่ม 1 : 259


12 - อิบนุล อะษีร กล่าวว่า

فأتى جبرائيل النبي، صلى الله عليه وسلم، فقال: لا تبت الليلة على فراشك. فلما كان العتمة اجتمعوا على بابه يرصدونه متى ينام فيثبون عليه، فلما رآهم رسول الله، صلى الله عليه وسلم، قال لعلي بن أبي طالب: نم على فراشي
الكامل في التاريخ - (ج 1 / ص 276  المؤلف : ابن الأثير

ท่านญิบรีล อะลัยฮิสลามได้มาหาท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) ท่านกล่าวว่า จงอย่านอนบนที่นอนของท่านในคืนนี้ ที่ๆท่านเคยนอนเป็นประจำ  พอค่ำลง  พวกเขา(มุชริก)ได้รวมกันอยู่ตรงประตูบ้านท่าน(ศ)  พวกเขาเฝ้ารอดูว่า ท่าน(ศ)จะเข้านอนเมื่อไหร่ พวกเขาก็จะบุกเข้าหาท่านทันที   เมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้เห็นสถานที่ของพวกเขาแล้ว   ท่านได้กล่าวกับท่านอะลี บินอบีตอลิบว่า  ท่านจงนอนบนที่นอนของฉันที
ดูอัลกามิล ฟิต ตารีค  เล่ม 1 : 276


13 - อิบนุลเญาซี กล่าวว่า

فتفرق القوم على ذلك وهم مجتمعون له، فأتى جبريل عليه السلام النبي صلى الله عليه وسلم فقال: لا تبِتْ هذه الليلة على فراشك الذي كنت تبيت عليه. فلمَا كانت العَتْمة، اجتمعوا على بابه ثم ترصَدوه متى ينام فيثبون عليه: فلما رأى رسول الله صلى الله عليه وسلم مكانهم، قال لعلي بن أبي طالب رضي الله عنه، \\\" نمْ على فراشي
المنتظم - (ج 1 / ص 276  المؤلف : ابن الجوزي

ท่านญิบรีล อะลัยฮิสลามได้มาหาท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) ท่านกล่าวว่า จงอย่านอนบนที่นอนของท่านในคืนนี้ ที่ๆท่านเคยนอนเป็นประจำ  พอค่ำลง  พวกเขา(มุชริก)ได้รวมกันอยู่ตรงประตูบ้านท่าน(ศ)  พวกเขาเฝ้ารอดูว่า ท่าน(ศ)จะเข้านอนเมื่อไหร่ พวกเขาก็จะบุกเข้าหาท่านทันที   เมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้เห็นสถานที่ของพวกเขาแล้ว   ท่านได้กล่าวกับท่านอะลี บินอบีตอลิบว่า  ท่านจงนอนบนที่นอนของฉันที
ดูอัลมุนตะซิม  เล่ม 1 : 276


14 - อิบนุ ญะรีร อัฏฏ็อบรี กล่าวว่า


فتفرق القوم على ذلك وهم مجمعون له، فأتى جبريل رسول الله صلى الله عليه وسلم، فقال : لا تبت هذه الليلة على فراشك الذي كنت تبيت عليه ! قال : فلما كان العتمة من الليل، اجتمعوا على بابه فترصدوه متى ينام ، فيثبون عليه. فلما رأى رسول الله صلى الله عليه وسلم مكانهم، قال لعلي بن أبي طالب: نم على فراشي
تاريخ الرسل والملوك (تاريخ الطبري) - (ج 1 / ص 420

ท่านญิบรีล อะลัยฮิสลามได้มาหาท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) ท่านกล่าวว่า จงอย่านอนบนที่นอนของท่านในคืนนี้ ที่ๆท่านเคยนอนเป็นประจำ  พอค่ำลง  พวกเขา(มุชริก)ได้รวมกันอยู่ตรงประตูบ้านท่าน(ศ)  พวกเขาเฝ้ารอดูว่า ท่าน(ศ)จะเข้านอนเมื่อไหร่ พวกเขาก็จะบุกเข้าหาท่านทันที   เมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้เห็นสถานที่ของพวกเขาแล้ว   ท่านได้กล่าวกับท่านอะลี บินอบีตอลิบว่า  ท่านจงนอนบนที่นอนของฉันที
ดูตารีคฏ็อบรี  เล่ม 1 : 420



15 - อิบนุลมุเฏาะฮัร กล่าวว่า


فتفرقوا على هذا وجمعوا من فتيان قريش أربعين شابا وأعطوهم السيوف وأمروهم أن يغتالوا النبي صلعم ويقتلوه، ذكر ليلة الدار قالوا فأتوا داره وأحاطوا به يرصدونه حتى ينام فيبيتون به وأتاه الخبر من السماء فثبت حتى أمسى ثم اضطجع على فراشه وتجلل ريطة له خضراء والرصد يرون ما صنعه ويترقبون نومه فدعا عليا وقال نم على فراشي
البدء والتاريخ - (ج 1 / ص 236
المؤلف : ابن المطهر

ท่านญิบรีล อะลัยฮิสลามได้มาหาท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) ท่านกล่าวว่า จงอย่านอนบนที่นอนของท่านในคืนนี้ ที่ๆท่านเคยนอนเป็นประจำ  พอค่ำลง  พวกเขา(มุชริก)ได้รวมกันอยู่ตรงประตูบ้านท่าน(ศ)  พวกเขาเฝ้ารอดูว่า ท่าน(ศ)จะเข้านอนเมื่อไหร่ พวกเขาก็จะบุกเข้าหาท่านทันที   เมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้เห็นสถานที่ของพวกเขาแล้ว   ท่านได้กล่าวกับท่านอะลี บินอบีตอลิบว่า  ท่านจงนอนบนที่นอนของฉันที
ดูอัลบัดอุ วัลตารีค  เล่ม 1 : 236


16-  อัชชิบลี กล่าวว่า

فأتى جبريل رسول الله - صلى الله عليه وسلم - فقال لا تبيت الليلة على فراشك الذي كنت تبيت عليه قال فلما كانت عتمة من الليل اجتمعوا على بابه يرصدونه حتى ينام فيثبوا عليه فلما رأى رسول الله - صلى الله عليه وسلم - مكانهم قال لعلي بن أبي طالب نم على فراشي
آكام المرجان فى احكام الجان للشبلي - (ج 1 / ص 267

ท่านญิบรีล อะลัยฮิสลามได้มาหาท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) ท่านกล่าวว่า จงอย่านอนบนที่นอนของท่านในคืนนี้ ที่ๆท่านเคยนอนเป็นประจำ  พอค่ำลง  พวกเขา(มุชริก)ได้รวมกันอยู่ตรงประตูบ้านท่าน(ศ)  พวกเขาเฝ้ารอดูว่า ท่าน(ศ)จะเข้านอนเมื่อไหร่ พวกเขาก็จะบุกเข้าหาท่านทันที   เมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้เห็นสถานที่ของพวกเขาแล้ว   ท่านได้กล่าวกับท่านอะลี บินอบีตอลิบว่า  ท่านจงนอนบนที่นอนของฉันที
ดูอากามุลมัรญาน ฟีอะห์กามิลญาน   เล่ม 1 : 267


17- ชัมซุดดีน อบุลบะร่อกาต อัชชาฟิอี กล่าวว่า


فأتى جبرئيل النبي صلى الله عليه وسلم فقال: لا تبيت الليلة على فراشك الذي تبيت عليه. فلما كان العتمة من الليل اجتمعوا على بابه يرصدونه متى ينام فيثبون عليه فلما رآى رسول الله صلى الله عليه وسلم مكانهم قال لعلي: نم على فراشي
جواهر المطالب في مناقب الإمام علي (ع) - (ج 1 / ص 240
المؤلف : شمس الدين ابي البركات محمد بن احمد الدمشقي الباعوني الشافعي

ท่านญิบรีล อะลัยฮิสลามได้มาหาท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) ท่านกล่าวว่า จงอย่านอนบนที่นอนของท่านในคืนนี้ ที่ๆท่านเคยนอนเป็นประจำ  พอค่ำลง  พวกเขา(มุชริก)ได้รวมกันอยู่ตรงประตูบ้านท่าน(ศ)  พวกเขาเฝ้ารอดูว่า ท่าน(ศ)จะเข้านอนเมื่อไหร่ พวกเขาก็จะบุกเข้าหาท่านทันที   เมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้เห็นสถานที่ของพวกเขาแล้ว   ท่านได้กล่าวกับท่านอะลี บินอบีตอลิบว่า  ท่านจงนอนบนที่นอนของฉันที
ดูญะวาฮิรุลมะตอลิบ    เล่ม 1 : 240


18- อบูนุอัยมฺ อัศบะฮานี กล่าวว่า


فأتاه جبريل فقال : لا تبت هذه الليلة على فراشك الذي كنت تبيت عليه فلما كان عتمة من الليل اجتمعوا على بابه يرصدونه (3) حتى ينام فيثبون عليه فلما رأى رسول الله صلى الله عليه وسلم مكانهم قال لعلي : نم على فراشي
دلائل النبوة لأبي نعيم الأصبهاني - (ج 1 / ص 175

ท่านญิบรีล อะลัยฮิสลามได้มาหาท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) ท่านกล่าวว่า จงอย่านอนบนที่นอนของท่านในคืนนี้ ที่ๆท่านเคยนอนเป็นประจำ  พอค่ำลง  พวกเขา(มุชริก)ได้รวมกันอยู่ตรงประตูบ้านท่าน(ศ)  พวกเขาเฝ้ารอดูว่า ท่าน(ศ)จะเข้านอนเมื่อไหร่ พวกเขาก็จะบุกเข้าหาท่านทันที   เมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้เห็นสถานที่ของพวกเขาแล้ว   ท่านได้กล่าวกับท่านอะลี บินอบีตอลิบว่า  ท่านจงนอนบนที่นอนของฉันที
ดูดะลาอิลุน นุบูวะฮ์   เล่ม 1 : 175


19 - อัลอิศอมี กล่าวว่า

فلما رأى رسول الله صلى الله عليه وسلم اجتماعهم ومكانهم قال لعلي: نم على فراشي
سمط النجوم العوالي في أنباء الأوائل والتوالي - (ج 1 / ص 145

เมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้เห็นสถานที่ของพวกเขาแล้ว   ท่านได้กล่าวกับท่านอะลี บินอบีตอลิบว่า  ท่านจงนอนบนที่นอนของฉันที
ดูซัมตุน นุญูมิล อะวาลี   เล่ม 1 : 145


20 - มุฮิบบุต ต็อบรี กล่าวว่า


فأتى جبريل عليه السلام النبي صلى الله عليه وسلم فقال: لا تبت هذه الليلة على فراشك الذي كنت تبيت عليه قال فلما كانت عتمة من الليل اجتمعوا على بابه يرصدونه متى ينام فيثبون عليه فلما رأى رسول الله صلى الله عليه وسلم مكانهم قال لعلي نم على فراشي
الرياض النضرة في مناقب العشرة - (ج 1 / ص 272

ท่านญิบรีล อะลัยฮิสลามได้มาหาท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) ท่านกล่าวว่า จงอย่านอนบนที่นอนของท่านในคืนนี้ ที่ๆท่านเคยนอนเป็นประจำ  พอค่ำลง  พวกเขา(มุชริก)ได้รวมกันอยู่ตรงประตูบ้านท่าน(ศ)  พวกเขาเฝ้ารอดูว่า ท่าน(ศ)จะเข้านอนเมื่อไหร่ พวกเขาก็จะบุกเข้าหาท่านทันที   เมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้เห็นสถานที่ของพวกเขาแล้ว   ท่านได้กล่าวกับท่านอะลี บินอบีตอลิบว่า  ท่านจงนอนบนที่นอนของฉันที
ดูดะลาอิลุน นุบูวะฮ์   เล่ม 1 : 272


นักวิชาการซุนนี่  20 ท่าน ได้บันทึกว่า  ในคืนที่ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ฮิจเราะฮ์นั้น  ท่าน(ศ)ได้บอกให้ท่านอะลี นอนบนที่นอนของท่าน  และท่านอะลีก็ยอมนอนบนที่นอนของท่าน เพื่อปกป้องชีวิตท่านนบี(ศ)จริง

หากท่านใดไม่ยอมรับเรื่องนี้ว่าเป็นจริง  เท่ากับเขาได้ปฏิเสธคำพูดจากอุละมาอ์ของพวกเขาเอง
และเขาก็คือหนึ่งจากบรรดาผู้ที่อิจฉาท่านอะลี เหมือนคนเก้ากลุ่มที่มาด่าทอท่านอะลีกับท่านอิบนุอับบาส

ด้วยเหตุนี้ท่านอิบนุอับบาสจึงยอมรับว่า  การเสียสละชีวิตของท่านอะลีครั้งนี้คือ ฟะดีลัตประการหนึ่ง  
 
ชื่อ: Re:วิจัย ความหมายของ “ เมาลา “ และ “ วะลี “
โดย: L-umar เมื่อ พฤศจิกายน 10, 2009, 04:30:51 หลังเที่ยง


ฟะดีลัตที่  เจ็ด


ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า :

ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ได้กล่าวกับท่านอะลีว่า

أَنْتَ مِنِّي بِمَنْزِلَةِ هَارُونَ مِنْ مُوسَى إِلاَّ أَنَّهُ نَبِيَّ بَعْدِي

ท่านกับฉัน มีสถานะดั่งมูซากับฮารูน  นอกจากว่า ไม่มีนบีหลังจากฉันเท่านั้น

ดูมะอานี อัลอัคบาร  โดยเชคศอดูก  เล่ม 1 : 82 หะดีษ 1


 
สะนัดและมะตั่นหะดีษโดยสมบูรณ์มีดังนี้


حَدَّثَنَا الْحَسَنُ بْنُ محمد بن سعيد الهاشمي بالكوفة، قال: حَدَّثَنَا فُرَاتُ بْنُ إبراهيم بن فرات الكوفي، قال حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ عَلِيِّ بن معمر، قال: حَدَّثَنَا أَحْمَد بْن علي الرملي، قال: حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ مُوسَى ، قال: حَدَّثَنَا يَعْقُوبُ بْنُ إِسْحَاقَ المروزي، قال: حَدَّثَنَا عَمْرُو بْنُ منصور، قال : حَدَّثَنَا إِسْمَاعِيلُ بْنُ أَبَانَ ، عَنْ يَحْيَى بْنِ كَثِيرٍ ، عَنْ أَبِيهِ ، عَنْ أَبِي هَارُونَ الْعَبْدِيِّ (عُمَارة بن جُوَين)، قاَلَ : سَأَلْتُ جَابِرَ بْنَ عَبْدِ اللَّهِ الْأَنْصَارِيَّ عَنْ مَعْنَى قَوْلِ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وآلِهِ وَسَلَّمَ لِعَلِيٍّ :

أَنْتَ مِنِّي بِمَنْزِلَةِ هَارُونَ مِنْ مُوسَى إِلاَّ أَنَّهُ نَبِيَّ بَعْدِي  
قاَلَ : اسْتَخْلَفَهُ بِذَلِكَ وَاللهِ عِلَى اُمَّتِهِ فِيْ حَياَتِهِ وَبَعْدَ وَفاَتِهِ وَفَرَضَ عَلَيْهِمْ طاَعَتَهُ

كتاب : مَعاَنِي الْاَخْباَرِ لِلشَّيْخِ الصَّدُوْق  ج 93 ص 1 ح 1

คำแปล

อบูฮารูน อัลอับดีเล่าว่า : ฉันได้ถามท่านญาบิร บินอับดุลลอฮ์ อัลอันศอรีถึงความหมายคำพูดของท่านนบี(ศ)ที่กล่าวกับท่านอะลีว่า :

أَنْتَ مِنِّي بِمَنْزِلَةِ هَارُونَ مِنْ مُوسَى إِلاَّ أَنَّهُ نَبِيَّ بَعْدِي

ท่านกับฉัน มีสถานะดั่งมูซากับฮารูน  นอกจากว่าไม่มีนบีหลังจากฉันเท่านั้น

ท่านญาบิร บินอับดุลลอฮ์ กล่าวว่า : ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ว่า ท่านนบี(ศ)ได้แต่งตั้งเขาเป็นคอลีฟะฮ์ไว้บนอุมมะฮ์ของท่านในตอนที่ท่านมีชีวิต และหลังจากท่านวะฟาต และท่านได้กำหนดต่อพวกเขาว่า ต้องเชื่อฟังเขา(อะลี)

ดูมะอานี อัลอัคบาร  โดยเชคศอดูก  เล่ม 1 : 82 หะดีษ 1



ชะเราะห์ความหมาย

รากฐานการเชิญชวนประชาชนสู่พระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว  เราต่างทราบดีว่าอุศูล(รากฐาน)นี้คือ ผู้เชิญชวนจะต้องมีอิลมู(วิชา,ความรู้)ที่เชี่ยวชาญเป็นพิเศษต่อภาวะความเป็นพระเจ้าของอัลเลาะฮ์ (มะอ์ริฟะตุลลอฮ์)  ซึ่งถือว่าอิลมูนี้คือสุดยอดแห่งศาสตร์ทั้งหลาย
เพราะการมะอ์ริฟะตุลลอฮ์คือ ศาสตร์อันประเสริฐสุด ซึ่งไม่มีศาสตร์ใดจะเลอเลิศมากไปกว่านี้อีกแล้ว

อิลมู(ศาสตร์)นี้ย่อมมิอาจถ่ายทอดเคล็ดลับสุดยอด(อัสรอร)ของมันให้กับคนธรรมทั่วไปได้ นอกจากผู้ที่มีความเหมาะสมกับมันจริงๆเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้อัลลอฮ์ ตะอาลาจึงทรงคัดเลือกท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ให้เป็นศาสดาคนสุดท้ายของโลก  เพื่อทำหน้าที่อธิบายศาสตร์สุดยอดนี้  และท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ได้มอบอิลมู(ความรู้)นี้ไว้กับท่านอะลีและอะฮ์ลุลบัยของเขา
เพื่อพวกเขาจะได้พิทักษ์รักษาดีน(ศาสนาอิสลามอันบริสุทธิ์)ให้พ้นจากพวกมุนาฟิก  บรรดาปุโรหิตยิวและคริสต์ และบรรดานักวิชาการโฉดทั้งหลาย

เราพบว่า คัมภีร์เตารอตในยุคปัจจุบัน บันทึกว่า  นบีมูซาได้มอบอิลมู(ศาสตร์)ที่ว่านี้เอาไว้กับนบีฮารูนและบุตรชายทั้งหลายของเขา  โดยนบีมูซามิได้มอบความรู้นี้ให้กับผู้ใด อื่นจากเขาเหล่านี้เลย

ฉะนั้นนบีฮารูนและบุตรชายทั้งหลายของเขาเท่านั้น ที่สามารถทำหน้าที่อรรถาธิบายพระบัญญัตศาสนาด้วยความเชี่ยวชาญแก่ประชาชาติ  ดูพระคัมภีร์ไบเลิล  บทที่ชื่อ เลวีนิติ   9 :1    

ต่อมาเมื่อพวกบนีอิสรออีลได้ละเมิดฝ่าฝืนต่อนบีฮารูนและบุตรชายทั้งหลายของเขา (ซึ่งอยู่ในฐานะรอซิคูนฟิลอิลมิ - ผู้มั่นคงเชี่ยวชาญต่อชะรีอัตของโมเสส) พวกเขาจึงหลงทางและทำให้คนอื่นหลง

อัลอิสลาม ดีนสุดท้ายของโลกก็ดูท่าจะไม่แตกต่างไปจากกฏเกณฑ์ดังกล่าวเท่าไหร่นัก
เพราะนบีมูซาได้เชิญชวนผู้คนสู่พระเจ้าองค์เดียว ส่วนนบีมุฮัมมัด(ศ)ก็ได้เชิญชวนผู้คนสู่พระเจ้าองค์เดียวเช่นกัน  จึงเป็นการดะอ์วะฮ์อันเดียวกัน


ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ได้กล่าวกับท่านอะลีหลายครั้งว่า


أَمَا تَرْضَى أَنْ تَكُونَ مِنِّي بِمَنْزِلَةِ هَارُونَ مِنْ مُوسَى إِلَّا أَنَّكَ لَسْتَ بِنَبِيٍّ إِنَّهُ لَا يَنْبَغِي أَنْ أَذْهَبَ إِلَّا وَأَنْتَ خَلِيفَتِي قَالَ وَقَالَ لَهُ رَسُولُ اللَّهِ أَنْتَ وَلِيِّي فِي كُلِّ مُؤْمِنٍ بَعْدِي

ท่านไม่พอใจดอกหรือที่ท่านกับฉัน มีฐานะเหมือนนบีมูซากับนบีฮารูน ยกเว้นว่าท่านไม่ใช่นบีเท่านั้น เพราะไม่สมควรที่ฉันจะไป ยกเว้นว่า ท่านจะต้องเป็นคอลีฟะฮ์ตัวแทนของฉัน  และท่านรอซูล(ศ)ยังได้กล่าวกับท่านอะลีว่า  ท่านคือวะลีของฉันในมุอ์มินทุกคน ภายหลังจากฉัน

ดูมุสนัดอะหมัด หะดีษ 2903

อัลมุสตัดร็อก  หะดีษ 4627 ซึ่งท่านซะฮะบีรับรองว่า เศาะหิ๊หฺ



เชคอัลบานี รับรองว่าสายรายงานหะดีษนี้ ฮาซัน คือ


ثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ الْمُثَنَّى حَدَّثَنَا يَحْيَى بْنُ حَمَّادٍ عَنْ أَبِي عَوَانَةَ عَنْ يَحْيَى ابْنِ سُلَيْمٍ أَبِي بَلْجٍ عَنْ عَمْرِو بْنِ مَيْمُونٍ عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لِعَلِيٍّ
 أَنْتَ مِنِّي بِمَنْزِلَةِ هَارُونَ مِنْ مُوسَى إِلَّا أَنَّكَ لَسْتَ بِنَبِيٍّ إِنَّهُ لَا يَنْبَغِي أَنْ أَذْهَبَ إِلَّا وَأَنْتَ خَلِيفَتِي فِي كُلِّ مُؤْمِنٍ بَعْدِي
الكتاب : ظلال الجنة في تخريج السنة لابن أبي عاصم  ج 2 ص 337 ح 1188
المؤلف : محمد ناصر الدين الألباني    نوع الحديث : حسن

มุฮัมมัด บินอัลมุษันนาเล่าให้เราฟัง  ยะห์ยา บินหัมม๊าดเล่าให้เราฟัง  จากอบูอิวานะฮ์ จากยะห์ยา อิบนิสุลัยม์ อบีบัลญิน จากอัมรู บินมัยมูน จากอิบนิอับบาสเล่าว่า  ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวกับท่านอะลีว่า
ท่านกับฉัน มีสถานะดั่งมูซากับฮารูน  ยกเว้นว่าท่านไม่ได้เป็นนบีเท่านั้น  แท้จริงไม่สมควรที่ฉันจะไป ยกเว้นว่า ท่านคือคอลีฟะฮ์ของฉันในบรรดามุอ์มินทุกคน ภายหลังจากฉัน


สถานะหะดีษ  :  ฮาซัน

ดูซิลาลุลญันนะฮ์  ฟีตัครีญิส-สุนนะฮ์ หะดีษที่  1188 ตรวจทานโดยเชคมุฮัมมัด นาศิรุดดีน อัลบานี



โปรดทราบด้วยว่า

ท่านอะลีมีส่วนสำคัญต่อการรบในสงครามต่างๆ   แต่ทำไมในสงครามตะบู๊ก ท่านนบี(ศ)ตัดสินใจให้ท่านอะลีอยู่รักษาการแทนท่านในมะดีนะฮ์  

นั่นย่อมแสดงว่า ท่านนบี(ศ)ต้องการให้ท่านอะลีอยู่ระวังหลังให้ท่าน เผื่อว่าพวกมุนาฟิกจะก่อความวุ่นวายขึ้นในนครมะดีนะฮ์ ท่านอะลีจะได้จัดการได้

ท่านนบี(ศ)คงไม่ได้แต่งตั้งท่านอะลีไว้ในนครมะดีนะฮ์ แค่ให้เป็นโต๊ะอิหม่ามนำนมาซบรรดาสตรีและเด็กๆอย่างที่คนเบาปัญญาคิดหรอก  

เพราะถ้าท่านนบี(ศ)ให้เขาอยู่เพื่อคอยนำนมาซจริงๆ ท่านนบี(ศ)คงให้ซอฮาบะฮ์สักคนหนึ่งทำหน้าที่นี้เหมือนที่ท่านเคยใช้ให้ท่านอับดุลเลาะฮ์ อิบนิอุมมิมักตูมเป็นโต๊ะอิหม่ามมาแล้ว ทั้งๆที่เขาตาบอด
เรื่องอะไรที่ท่านนบี(ศ)ต้องยอมเสียทหารมือดีในการรบไปหนึ่งคน

แต่อย่างว่า  พวกอคติต่อฟะดีลัตของท่านอะลีได้อธิบายหะดีษมันซิลัตนี้ว่า  ไม่มีอะไรก็แค่ท่านนบี(ศ)ต้องการให้ท่านอะลีอยู่เพื่อทำหน้าที่เป้นโต๊ะอิหม่ามนำนมาซให้กับสตรีและเด็กๆเท่านั้นเอง  

แต่ท่านญาบิร บินอับดุลลอฮ์ อัลอันศอรีมองว่า นี่คือการที่ท่านนบี(ศ)ได้แต่งตั้งเขาเป็นคอลีฟะฮ์ไว้บนประชาชาติของท่านในตอนที่ท่านมีชีวิต และหลังจากท่านวะฟาต และท่านได้กำหนดต่อพวกเขาว่า ต้องเชื่อฟังต่ออะลี


ด้วยเหตุนี้ท่านอิบนุอับบาส จึงนับว่าหะดีษนี้คือฟะดีลัตประการหนึ่งของท่านอะลี
ชื่อ: Re:วิจัย ความหมายของ “ เมาลา “ และ “ วะลี “
โดย: L-umar เมื่อ พฤศจิกายน 11, 2009, 09:34:40 ก่อนเที่ยง

ฟะดีลัตที่ แปด  


ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า :


ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวกับท่านอะลีว่า

أَنْتَ وَلِيِّي فِي كُلِّ مُؤْمِنٍ بَعْدِي

ท่านคือ " วะลี " ของฉันในบรรดามุอ์มินทุกคน ภายหลังจากฉัน

ดูมุสนัดอะหมัด  หะดีษ 2903  และอัลอะมาลี โดยเชคมุฟีด  เล่ม 1 : 110 หะดีษ 4  




หากเราแปลคำ  วะลี  ว่า คนรัก   หะดีษจึงหมายถึงท่าน(ศ)กล่าวว่า  อะลีคือคนรักของฉัน และหลังจากฉันจากไป อะลีก็คือวะลีของบรรดามุอ์มินทุกคน    เราดูอีกหะดีษหนึ่ง ท่าน(ศ)กล่าวว่า


ممَا تُرِيدُونَ مِنْ عَلِىٍّ إِنَّ عَلِيًّا مِنِّى وَأَنَا مِنْهُ وَهُوَ وَلِىُّ كُلِّ مُؤْمِنٍ بَعْدِى

سنن الترمذى   ح : 4077 والسنن الكبرى للنسائي  ح : 8474 والمستدرك على الصحيحين للحاكم  ح : 4558
مسند أبي يعلى الموصلي  ح : 339 وصحيح ابن حبان  ح : 7055 و مصنف ابن أبي شيبة ح : 32121
السلسلة الصحيحة لمحمد ناصر الدين الألباني  ح : 2223


พวกเจ้าต้องการอะไรจากอะลีๆๆ แท้จริงอะลีมาจากฉันและฉันมาจากเขา และเขาคือวะลีของมุอ์มินทุกคน ภายหลังจากฉัน


ดูสุนันติรมิซี, สุนันกุบรอของนะซาอี,อัลมุสตัดร็อกของอัลฮากิม,มุสนัดอบียะอ์ลา,เศาะหิ๊หฺอิบนิฮิบบาน,มุศ็อนนัฟอิบนิอบีชัยบะฮ์และซิลซิละตุซ –ซ่อฮีฮะฮ์ ของอัลบานี หะดีษที่ 2223


สิ่งที่สำคัญที่หะดีษนี้ถูกท่านอิบนุอับบาสนับว่าเป็นฟะดีลัตประการหนึ่งมีสองประการคือคำว่า

1.   วะลี ( ولي ) คนรักของฉันและของมุอ์มิน
2.   บะอ์ดี (بعدي ) ภายหลังจากฉันจากไปแล้ว


เราทราบว่า  

อะลีคือคนที่ท่านนบี(ศ)รัก และขอให้มุอ์มินทุกคนให้ความรักต่ออะลี  และท่านนบี(ศ)ยังย้ำว่า แม้ว่าท่านจากโลกนี้ไปแล้ว มุอ์มินทั้งหลายยังจะต้องมอบความรักให้กับอะลี    ท่านลองย้อนไปมองดูประชาชาติมุสลิมหลงัท่านนบี(ศ)วะฟาตสิว่า พวกเขายังให้ความรักต่อท่านอะลีจริงหรือไม่  ป่าวเลย ทำไม ??? เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมา  มุสลิมส่วนมากไม่เคยเข้าใจนิยามคำว่ารักตามทัศนะของอัลกุรอ่านเท่าไหร่นัก  

อัลลอฮ์ตะอาลาตรัสว่า

قُلْ إِنْ كُنْتُمْ تُحِبُّونَ اللَّهَ فَاتَّبِعُونِي يُحْبِبْكُمُ اللَّهُ

จงกล่าวเถิด ( มุฮัมมัด ) ว่า  หากพวกท่าน" รัก " อัลลอฮ์  ก็จง " ปฏิบัติตามฉัน "   อัลลอฮ์ก็จะทรงรักพวกท่าน
บท 3 : 31


หากพวกท่าน" รัก " รอซูลุลลอฮ์(ศ)จริง  ก็จง " ปฏิบัติตามอะลี "   อัลลอฮ์ก็จะทรงรักพวกท่าน

หากพวกท่าน" รัก " อะลีจริง  ก็จง " ปฏิบัติตามอะลีและแนวทางของเขา "   อัลลอฮ์ก็จะทรงรักพวกท่าน


แต่จะมีสักกี่คนที่เข้าใจนิยามคำว่า " รัก " ตามทัศนะของอัลลอฮ์และรอซูล

หรือเขาเข้าใจดี แต่มิได้นำพามาปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม.
ชื่อ: Re:วิจัย ความหมายของ “ เมาลา “ และ “ วะลี “
โดย: L-umar เมื่อ พฤศจิกายน 11, 2009, 11:20:50 ก่อนเที่ยง

ฟะดีลัตที่ เก้า


ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า :


عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ (ص) أَمَرَ بِسَدِّ الأَبْوَابِ إِلاَّ بَابَ عَلِىٍّ.
صحيح الترمذي ج 3 ص 215 ح 2935


แท้จริงท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้สั่งให้ปิดประตูบ้านทุกหลัง(ที่เชื่อมไปสู่มัสญิด)  ยกเว้น ประตูบ้านอะลี


สถานะหะดีษ  : เศาะหิ๊หฺ

ดูซอฮีฮุต – ติรมิซี  หะดีษ 2935  ตรวจทานโดยเชคอัลบานี



ท่านอิบนุอับบาสยังเล่าว่า :  

ท่านอะลีจะผ่านเข้าไปในมัสญิดขณะที่มีญุนุบ  เพราะทางเข้าบ้านของเขาจำเป็นต้องผ่านมัสญิดก่อน ซึ่งไม่มีทางอื่นจากนี้



ท่านเซด บินอัรกอมเล่าว่า :


عَنْ زَيْدِ بْنِ أَرْقَمَ ، قَالَ : كَانَ لِنَفَرٍ مِنْ أَصْحَابِ رَسُولِ اللهِ (ص) ، أَبْوَابٌ شَارِعَةٌ فِي الْمَسْجِدِ ، قَالَ : فَقَالَ يَوْمًا : سُدُّوا هَذِهِ الأَبْوَابَ ، إِلاَّ بَابَ عَلِيٍّ ، قَالَ : فَتَكَلَّمَ فِي ذَلِكَ أُنَاسٌ ، قَالَ : فَقَامَ رَسُولُ اللهِ (ص) ، فَحَمِدَ اللهَ ، وَأَثْنَى عَلَيْهِ ، ثُمَّ قَالَ : أَمَّا بَعْدُ ، فَإِنِّي أَمَرْتُ بِسَدِّ هَذِهِ الأَبْوَابِ ، إِلاَّ بَابَ عَلِيٍّ ، وَقَالَ فِيهِ قَائِلُكُمْ ، وَإِنِّي وَاللهِ ، مَا سَدَدْتُ شَيْئًا وَلاَ فَتَحْتُهُ ، وَلَكِنِّي أُمِرْتُ بِشَيْءٍ فَاتَّبَعْتُهُ

قال الحاكم : « هذا حديث صحيح الإسناد ولم يخرجاه »
المستدرك على الصحيحين للحاكم  ج 10 ص 437 ح 4607
قال الذهبي : صحيح  انظر : المستدرك بتعليق الذهبي  ج 3 / ص 135 ح 4631


ปรากฏว่า สำหรับซอฮาบะฮ์กลุ่มหนึ่งของท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)นั้นมีประตูบ้านเป็นทาง(เชื่อมไปถึง)มัสญิด
แล้ววันหนึ่ง ท่านรอซูล(ศ)กล่าวว่า  :  พวกท่านจงปิดประตูเหล่านี้ให้หมด  ยกเว้นประตูบ้านอะลี

ท่านเซดเล่าว่า :  ผู้คนได้พูดคุยถึงเรื่องนั้นกัน   แล้วท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้ลุกขึ้นไป(หาพวกเขา) ท่านได้สรรเสริญและยกย่องอัลลอฮ์  ต่อจากนั้นท่านกล่าวว่า  : อัมมาบะอ์ดุ  

แท้จริงฉันได้สั่งให้ปิดประตูเหล่านี้  ยกเว้นประตูบ้านของอะลี   พวกท่านจึงได้กล่าวเกี่ยวกับเขา  ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮ์ว่า  ฉันไม่ได้ปิดสิ่งใดหรือเปิดมัน(เองตามใจ)  แต่ฉันถูกสั่งให้ทำสิ่งนั้น  ฉันจึงได้ปฏิบัติตามพระองค์


อัลฮากิม กล่าวว่า : เป็นหะดีษเศาะหิ๊หฺ  แต่ท่านเชคทั้งสองมิได้นำมันออกรายงาน
ดูอัลมุสตัดร็อก อะลัซ ซ่อฮีฮัยนิ  หะดีษ 4607

อัซ ซะฮะบี รับรองว่า  : เป็นหะดีษเศาะหิ๊หฺ
ดูอัลมุสตัดร็อก อะลัซ ซ่อฮีฮัยนิ  หะดีษ 4631 ฉบับตรวจทานโดยซะฮะบี



อิบนุหะญัรได้รับรองว่า หะดีษที่อัลฮากิมบันทึกไว้ข้างต้นนั้น นักรายงานทั้งหมดเชื่อถือได้ ดังนี้

قال ابن حجر : أَخْرَجَهُ أَحْمَد وَالنَّسَائِيّ وَالْحَاكِم وَرِجَاله ثِقَات
فتح الباري لابن حجر  ج 10 ص 451 ح 3381

อิบนุหะญัรกล่าวว่า  : หะดีษนี้ท่านอิหม่ามอะหมัด ท่านนะซาอีและท่านฮากิมได้นำออกรายงาน และบรรดานักรายงานหะดีษนี้  เชื่อถือได้  

ดูฟัตฮุลบารี เล่ม 10 : 451 หะดีษ 3381



ท่านลองหลับตาวาดภาพสิว่า   ขณะที่ประตูบ้านทุกหลังที่เชื่อมต่อไปยังมัสญิดมะดีนะฮ์ในวันนั้น ถูกท่านนบี(ศ)สั่งปิดหมดทุกบาน  หากพวกเขาจะเข้ามัสญิด ก็ให้เดินไปเข้าที่ประตูมัสญิด

แต่ประตูบ้านของท่านอะลีกลับได้รับการยกเว้น  แน่นอนคำสั่งนี้มิได้มาจากนัฟซูของท่านนบี(ศ)เอง แต่ท่านได้อธิบายกับบรรดาซอฮาบะฮ์ว่า มันคือบัญชาของอัลลอฮ์ ตะอาลาที่ทรงให้เกียรติแก่ท่านอะลี

แต่เกียรติที่อะลีได้รับนี้ กลายเป็นที่อิจฉาของคนรุ่นก่อนเก้ากลุ่มในอดีตจึงต้องเดินมาด่าว่าอะลีกับท่านอิบนุอับบาส
และกลายเป็นความอคติของคนรุ่นหลังที่พยายามกล่าวว่า หะดีษบทนี้พวกชีอะฮ์กุขึ้น หะดีษบทนี้มีสะนัดดออีฟ  และสุดท้ายหะดีษบทนี้เมาฎู๊อฺ


ด้วยเหตุนี้ ท่านอิบนุอับบาสจึงนับว่าเรื่องนี้คือฟะดีลัตประการหนึ่งของท่านอะลี
ชื่อ: Re:วิจัย ความหมายของ “ เมาลา “ และ “ วะลี “
โดย: L-umar เมื่อ พฤศจิกายน 11, 2009, 11:31:53 ก่อนเที่ยง

ท่านสามารถติดตามอ่าน  ฟะดีลัตที่สิบ ของท่านอะลี ได้ที่นี้


http://www.q4sunni.com/believe/index.php?option=com_kunena&Itemid=71&func=view&catid=2&id=1211
ชื่อ: Re:วิจัย ความหมายของ “ เมาลา “ และ “ วะลี “
โดย: L-umar เมื่อ พฤศจิกายน 25, 2009, 09:41:49 ก่อนเที่ยง
ท่านสามารถติดตามอ่าน ฟะดีลัตที่สิบ ของท่านอะลี ได้ที่นี้


www.q4sunni.com/believe/index.php?option...;catid=2&id=1211