หนังสือ : อัล อิ๊อฺ ติ กอ ด๊าต เรียบเรียงโดย เชคศอดูก
คำนำจากเว็บมาสเตอร์
หลังจากท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)วะฟาต ชีอะฮ์ได้ยึดถือคัมภีร์กุรอ่านและวจนะของบรรดาอิม่ามเป็นหลักฐานด้านศาสนามาโดยตลอด
นับจากอิม่ามที่ 1 คือท่านอะลี 2,ฮาซัน 3,ฮูเซน 4,ซัยนุลอาบิดีน 5,มุฮัมมัดบาเก็ร 6,ญะอ์ฟัรศอดิก 7,มูซากาซิม 8,อะลีริฎอ 9,มุฮัมมัดญะวาด 10,อะลีฮาดี เป็นเช่นนี้เรื่อยมาจนถึงสมัยอิม่ามฮาซันอัสการี
เมื่ออิม่ามคนที่ 11 นี้สิ้นชีพในปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 260 บุตรชายคนเดียวของเขาชื่อ อัลมะฮ์ดี ตอนนั้นมีอายุ 5 ปีได้ปรากฏตัวอย่างกระทันหันแล้วนมาซญะนาซะฮ์ให้แก่ร่างของบิดาเพื่อยืนยันต่อหน้าสาธารณชนว่า บิดาท่านมีบุตรชายสืบทอดตำแหน่งอิม่ามผู้นำคนที่ 12
หลังจากนั้นอิม่ามมะฮ์ดีได้ “ ฆ็อยบะตุซ-ซุฆรอ “ เก็บซ่อนตัวเองจากสายตาผู้คนเป็นระยะเวลา 70 ปี
ช่วงเวลาดังกล่าวปรากฏว่าอิม่ามมะฮ์ดีได้แต่งตั้งตัวแทนพิเศษ (นาอิบุล ค็อศ) ไว้ 4 คนคือ :
1, อุษมาน บินสะอีด อัลอัมรี มรณะฮ.ศ. 265
2, อบูญะอ์ฟัร มุฮัมมัด บินอุษมาน มรณะฮ.ศ. 304-305
3, อบุลกอสิม ฮูเซน บินรู๊ห์ อันเนาบัคตี มรณะฮ.ศ. 326
4, อบุลฮาซัน อะลี บินมุฮัมมัด อัสสะมะรี มรณะฮ.ศ. 329
ตัวแทนทั้งสี่มีหน้าที่ติดต่อสื่อสารระหว่างอิม่ามมะฮ์ดีกับประชาชนทั่วไป
บรรดาชีอะฮ์สามารถติดต่อสอบถามเรื่องอะกีดะฮ์,ฟิกฮ์และปัญหาต่างๆได้โดยผ่านตัวแทนทั้งสี่นี้
ปีฮ.ศ.ที่ 329
อะลี บินมุฮัมมัด ตัวแทนคนที่ 4 สิ้นชีพลง ซึ่งถือว่าเป็นการสิ้นสุดการติดต่อสื่อสารระหว่างอิม่ามมะฮ์ดีกับประชาชน
เข้าสู่ช่วง “ฆ็อยบะตุลกุบรอ “ การหายตัวครั้งใหญ่ เป็นระยะยาวไม่มีที่สิ้นสุด จนกว่าอัลลอฮ์จะทรงอนุมัติให้อิม่ามมะฮ์ดีปรากฏ
เข้าสู่ยุคนาอิบุลอาม คือตัวแทนอิม่ามมะฮ์ดี ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ ซึ่งตัวแทนชุดที่สองนี้เป็นที่รู้จักกันนาม
ฟะกีฮฺ (ฟุเกาะฮาอ์) หรือ มัรญิ๊อฺ (มะรอญิ๊อฺ )
อิม่ามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์นบีได้มอบอำนาจให้ฟะกีฮฺหรือมัรญิ๊อฺทำหน้าที่ชี้แจงเรื่องอะกีดะฮ์ ,ฟิกฮ์และปัญหาต่างๆได้ ด้วยหลักฐานดังต่อไปนี้
ท่านอิม่ามศอดิก(อ)กล่าวกับฮิช่าม บินซาลิมว่า :
إِنَّمَا عَلَيْنَا أَنْ نُلْقِيَ إِلَيْكُمُ الْأُصُولَ وَ عَلَيْكُمْ أَنْ تُفَرِّعُوا
หน้าที่ของพวกเราคือ ถ่ายทอดอุศูล (เรื่องหลักของศาสนา)แก่พวกท่าน
ส่วนพวกท่านมีหน้าที่ทำการจำแนกเป็นหัวย่อยๆเอาเอง
สถานะฮะดีษ : ซอฮี๊ฮฺ
ดูวะซาอิลุชชีอะฮ์ โดยอัลฮุรรุลอามีลี เล่ม 27 : 62 ฮะดีษที่ 33201,33202
عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ يَعْقُوبَ عَنْ إِسْحَاقَ بْنِ يَعْقُوبَ قَالَ سَأَلْتُ مُحَمَّدَ بْنَ عُثْمَانَ الْعَمْرِيَّ أَنْ يُوصِلَ لِي كِتَاباً قَدْ سَأَلْتُ فِيهِ عَنْ مَسَائِلَ أَشْكَلَتْ عَلَيَّ فَوَرَدَ التَّوْقِيعُ بِخَطِّ مَوْلَانَا صَاحِبِ الزَّمَانِ ع أَمَّا مَا سَأَلْتَ عَنْهُ أَرْشَدَكَ اللَّهُ وَ ثَبَّتَكَ إِلَى أَنْ قَالَ وَ أَمَّا الْحَوَادِثُ الْوَاقِعَةُ فَارْجِعُوا فِيهَا إِلَى رُوَاةِ حَدِيثِنَا فَإِنَّهُمْ حُجَّتِي عَلَيْكُمْ وَ أَنَا حُجَّةُ اللَّهِ
มุฮัมมัด บินยะอ์กูบ รายงานจากอิสฮ๊าก บินยะอ์กูบเล่าว่า :
ฉันได้ขอร้องท่านมุฮัมมัด บินอุษมาน(นาอิบุลคอศ คนที่ 2 ) ให้นำจดหมายไปส่ง(ให้อิม่ามมะฮ์ดี)แทนฉัน ในจดหมายฉันได้ถามถึงปัญหาต่างๆที่คลุมเครือแก่ฉัน
แล้วได้มีจดหมายเป็นลายเซ็นด้วยลายมือของผู้ปกครองของพวกเรา คือท่านศอฮิบุซซะมาน(อิม่ามมะฮ์ดีได้)ตอบมาว่า :
ส่วนสิ่งที่เจ้าได้ถามถึงนั้น ขออัลลอฮ์ชี้นำเจ้าและทำให้เจ้ามั่นคง จนท่านกล่าวว่า :
ส่วนกรณีเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ( ในยุคที่ฉันยังไม่ปรากฏตัว ) พวกเจ้าจงย้อนกลับไปยังบรรดานักรายงานฮะดีษของเรา เกี่ยวปัญหาเหล่านั้น
เพราะพวกเขาคือหลักฐานของฉันที่มีต่อพวกเจ้า
และฉันคือหลักฐานของอัลลอฮ์
อ้างอิงจากหนังสือ
วะซาอิลุชชีอะฮ์ โดยอัลฮุรรุลอามีลี เล่ม 27 : 140 ฮะดีษที่ 33424
ท่านอิม่ามฮาซันอัสการี(อ)กล่าวว่า :
فَأَمَّا مَنْ كَانَ مِنَ الْفُقَهَاءِ صَائِناً لِنَفْسِهِ حَافِظاً لِدِينِهِ مُخَالِفاً عَلَى هَوَاهُ مُطِيعاً لِأَمْرِ مَوْلَاهُ فَلِلْعَوَامِّ أَنْ يُقَلِّدُوهُ
ส่วนหนึ่งจากบรรดาฟะกีฮ์ ( ที่มีคุณสมบัติดังนี้ )
1,เป็นผู้รักษาตัวเอง(มิให้มีมลทิน)
2,ปกป้องรักษาศาสนาของเขา
3,ไม่คล้อยตามอารมณ์ต่ำของตัวเอง
4,ปฏิบัติตามคำสั่งอิม่ามผู้นำของเขา(อย่างเคร่งครัด)
ดังนั้นจำเป็นสำหรับประชาชนจะต้องปฏิบัติตามเขา (เรียกว่า การตักลีด)
สถานะฮะดีษ : ซอฮี๊ฮฺ
ดูวะซาอิลุช-ชีอะฮ์ โดยอัลฮุรรุล อามิลี
เล่ม 27 : 131 ฮะดีษที่ 33401
ตรวจทานโดยมัรกะซุล บุฮูซ คอมพิวเตอร์ ลิลอุลูมิลอิสลามียะฮ์ เมืองกุม อิหร่าน
หลังจากนาอิบุลคอศเสียชีวิตหมด ฟุเกาะฮาอ์ชีอะฮ์จึงได้แต่งตำราอะกีดะฮ์ไว้หลายรูปแบบเช่น
1. หนังสืออะกีดะฮ์แนวที่อ้างอิงนัศ คือมีอายะฮ์กุรอ่านและหะดีษกำกับ
2. หนังสืออะกีดะฮ์แนวอิลมุลกะลาม คือนำหลักการทางตรรกะและปรัชญามาใช้อธิบาย
หนังสือ : อัล อิ๊อฺ ติ กอ ด๊าต ( الاعتقادات )
เรียบเรียงโดย :
الشيخ محمد بن علي بن بابويه القمي ( الصدوق )
เชคมุฮัมมัด บินอะลี บินบาบะวัยฮฺ อัลกุมมี
รู้จักกันนาม : เชคศอดูก เกิดฮ.ศ. 305 มรณะ 381 รวมอายุ 76 ปี
อิบนุ บาบะวัยฮฺ ( บุตรชายของบาบะวัยฮฺ ) หรือที่รู้จักกันในนาม เชคศอดูก
เกิดที่เมืองกุม อิหร่าน ปีฮ.ศ.308 ด้วยดุอาอ์ของท่านอิม่ามมะฮ์ดี อะลัยฮิสสลาม จึงเป็นบุคคลที่ได้รับความประเสริฐและมีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง เริ่มศึกษาวิชาการศาสนาที่เมืองกุมกับบิดาและบรรดาเชค จากนั้นเดินทางไปแสวงหาความรู้จากแหล่งวิชาการต่างๆมากมายเช่น เมืองนัยซาบูรี แบกแดด กูฟะฮ์ คูรอซาน และเมืองบุคอรอ จนบรรลุถึงขั้นมัรญิอฺสูงสุดของชีอะฮฺ
เขาเขียนตำราไว้ราวสามร้อยกว่าเล่ม และตำราเหล่านั้นยังคงอยู่มาถึงปัจจุบัน มีความเชี่ยวชาญเรื่องหะดีษและอิลมุลริญาล เป็นอาจารย์ของเชคมุฟีด (มุฮัมมัด บินมุฮัมมัด อัน-นุอฺมาน) และอะละมุลฮุดาชะรีฟริฎอ
ในยุคนั้นไม่มีอุละมาอ์ในเมืองกุมคนใดมีความจำและความรู้เทียบเท่าเชคศอดูกได้เลย เสียชีวิตในปีฮ.ศ.381 ที่เมืองเรย์ ประเทศอิหร่าน ร่างของเขาถูกฝังอยู่ใกล้กับสุสานของสัยยิดอับดุลอะซีม อัลฮาซานี ปัจจุบันคือเมืองตะหฺราน อิหร่าน.
หนังสืออะกีดะฮ์ของเชคศอดูกเล่มนี้ นับเป็นมรดกอันเก่าแก่ทางวิชาการเล่มหนึ่งสำหรับชีอะฮ์ ซึ่งได้แต่งขึ้นในยุคศตวรรษที่สามร้อยปีแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช
โดยท่านเชคศอดูกได้แบ่งเรื่องหัวข้ออะกีดะฮ์อิสลามออกเป็น 45 หัวข้อ พร้อมทั้งอ้างอิงหลักฐานจากอัลกุรอ่านและหะดีษบรรดาอิม่าม
ในเวลาต่อมาเชคมุฟีด ลูกศิษษ์ของเชคศอดูกได้นำหนังสือเล่มนี้มาตรวจทานใหม่ พร้อมทั้งให้คำอธิบายมากขึ้นกว่าเก่า โดยเขาได้ให้ชื่อหนังสือเล่มนี้ใหม่ว่า
تصحيح إعتقادات الإمامية
تأليف
الإمام الشيخ المفيد
محمد بن محمد بن النعمان ابن المعلم
أبي عبد الله، العكبري، البغدادي
ตัศฮีฮุ อิ๊อฺติกอดาติล อิมามียะฮ์
เรียบเรียงโดย เชคมุฟีด
ชื่อจริงคือ มุฮัมมัด บินมุฮัมมัด บินอัน-นุอ์มาน ชาวเมืองแบกแดด ประเทศอิรัค เกิดวันที่ 11 ซุลกิอ์ดะฮ์ ฮ.ศ.336 มรณะคืนวันศุกร์ที่ 3 รอมฎอน ฮ.ศ. 413 รวมอายุ 95 ปี สัยยิดมุรตะฏอเป็นอิม่ามนำ นมาซญะนาซะฮ์ให้ มีทั้งซุนนี่และชีอะฮ์มาร่วมนมาซญะนาซะฮ์ให้เขาอย่างเนืองแน่น เดิมร่างถูกฝังไว้ที่บ้านสองปี ต่อมาได้ย้ายไปฝังไว้ที่เมืองกาซิมัยน์ เคียงข้างกับอาจารย์ของเขาคือเชคศอดูก ตรงบิรเวณด้านล่างสุสานของท่านอิม่ามญะวาด อะลัยฮิสสลาม
เชคมุฟีดนับได้ว่าเป็นนักวิชาการที่มีความรู้สูงสุดในยุคที่เขามีชีวิตอยู่ มีความฉลาดหลักแหลมในการตอบคำถามและเชี่ยวชาญวิชาฟิกฮ์ ,ริวายะฮ์และอิลมุลกะลาม เขาแต่งตำราไว้สองร้อยกว่าเล่ม ซึ่งคนรุ่นหลังล้วนได้รับประโยชน์จากเขาอย่างมากมาย